มติกบง. (121)
กบง.ครั้งที่74 -วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 27/2561 (ครั้งที่ 74)
วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เวลา 13.30 น.
1. สถานการณ์พลังงานและแนวโน้มราคาพลังงานในตลาดโลก
2. รายงานการตรวจสอบงบการเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประจำปีงบประมาณ 2560
3. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
4. ข้อกำหนดพื้นที่ตั้งโครงการโรงไฟฟ้าขยะของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP)
5. การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ชีวมวล
7. แนวทางการดำเนินโครงการโซลาร์ภาคประชาชน
8. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการการจัดหา ราคา และความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ
9. ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับใหม่
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายศิริ จิระพงษ์พันธ์)
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายเพทาย หมุดธรรม)
แทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน
เรื่องที่ 1 สถานการณ์พลังงานและแนวโน้มราคาพลังงานในตลาดโลก
สรุปสาระสำคัญ
สนพ. ได้รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้ (1) ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ และดับบิวทีไอ มีทิศทางปรับตัวลดลง ปัจจัยหลักมาจากการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าประเทศรัสเซียและประเทศซาอุดิอาระเบีย ประกอบกับความกังวลในสงครามการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศจีน และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นร้อยละ 2.50 ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวและมีความต้องการใช้น้ำมันลดลง ทั้งนี้ปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้แก่ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) และประเทศนอกกลุ่มโอเปค ได้ทำข้อตกลงว่าจะปรับลดกำลังการผลิตลงอีกอย่างน้อย 1.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยข้อตกลงนี้จะเริ่มดำเนินการในเดือนมกราคม 2562 เป็นต้นไป ส่วนมาตรการคว่ำบาตรประเทศอิหร่านของประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าประเทศสหรัฐฯ จะมีมาตรการผ่อนปรนให้หลายประเทศสามารถนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศอิหร่านได้ แต่ยังไม่ส่งผลให้อิหร่านส่งออกน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้น ในระยะสั้นคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบในเดือนธันวาคม 2561 ถึงเดือนมกราคม 2562 จะยังคงทรงตัวในทิศทางที่ลดลง (2) ราคาก๊าซ LPG มีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้ภูมิภาคเอเชียเหนือมีอากาศอุ่นขึ้นในช่วงฤดูหนาวส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซ LPG เพื่อให้ความอบอุ่นลดลง โดยราคา CP ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2561 อยู่ที่ 409.50 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ลดลงจากเดือนก่อน 123 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน สำหรับปัจจัยที่ต้องจับตามอง ได้แก่ สงครามการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อความต้องการใช้น้ำมันและราคาก๊าซ LPG (3) ราคา LNG เดือนธันวาคม 2561 คาดการณ์ว่าจะยังคงปรับตัวลดลงจากปัจจัยข้างต้น ส่วนปัจจัยที่ต้องจับตามองที่คาดว่าจะส่งผลต่อราคา LNG ที่อาจปรับตัวลดลง ได้แก่ โครงการผลิต LNG ใหม่ของประเทศรัสเซียซึ่งคาดว่าจะผลิตได้เร็วขึ้นกว่าแผน 1 ปี และการคาดการณ์สภาพอากาศที่จะหนาวเย็นลงของประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้คาดการณ์ว่าราคา LNG ยังคงปรับตัวลดลง และ (4) โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 21 ธันวาคม 2561 โดยมีโครงสร้างราคา ดังนี้ ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ 2.72 บาทต่อลิตร สูงกว่าค่าการตลาดที่เหมาะสมอยู่ 0.92 บาทต่อลิตร ส่วนค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 อยู่ที่ 2.77 บาทต่อลิตร สูงกว่าค่าการตลาดที่เหมาะสมอยู่ 0.92 บาทต่อลิตร โดยค่าการตลาดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 2.75 บาทต่อลิตร อยู่ในระดับสูงกว่าค่าการตลาดเฉลี่ยที่เหมาะสมประมาณ 0.90 บาทต่อลิตร
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 รายงานการตรวจสอบงบการเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประจำปีงบประมาณ 2560
สรุปสาระสำคัญ
1. กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นทุนหมุนเวียนตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติการบริหาร
ทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 และตามมาตรา 29 กองทุนน้ำมันฯ ต้องจัดทำรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ
จัดส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือบุคคลที่ สตง. ให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของ
กองทุนน้ำมันฯ ทุกรอบปีบัญชี ให้ผู้สอบบัญชีของทุนหมุนเวียนที่ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลทำรายงานการสอบบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการบริหารภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ให้คณะกรรมการบริหารนำส่งรายงานการเงินพร้อมด้วยรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต่อกระทรวงการคลังภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานจากผู้สอบบัญชี
2. เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2560 สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.)
ได้จัดส่งรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ให้ สตง. เพื่อตรวจสอบงบการเงินดังกล่าว และเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 สตง. ได้มีหนังสือถึงประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเพื่อจัดส่งรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของกองทุนน้ำมันฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2560 ที่ สตง. ตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งถูกต้องตามมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังประกาศใช้และไม่มีประเด็นที่เป็นข้อสังเกตจากการตรวจสอบงบการเงิน เพื่อเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ทราบก่อนนำส่งรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินฯ ต่อกระทรวงการคลังต่อไป
มติของที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สรุปสาระสำคัญ 1. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 21 ธันวาคม 2561 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 53.56 56.64 และ 65.76 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 21 ธันวาคม 2561 อยู่ที่ 32.8047 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ราคาไบโอดีเซลช่วงวันที่ 17 - 23 ธันวาคม 2561 อยู่ที่ลิตรละ 21.36 บาท และราคาเอทานอล ณ เดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ลิตรละ 23.31 บาท ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2561 มีสินทรัพย์รวม 43,329 ล้านบาท หนี้สินรวม 13,829 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิ 29,500 ล้านบาท แยกเป็นบัญชีน้ำมัน 34,198 ล้านบาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 4,698 ล้านบาท
2. โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2561 ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 เป็นดังนี้ (1) อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ อยู่ที่ 8.5800 2.6200 2.6200 -0.2800 -5.8800 0.7000 และ -4.0000 บาทต่อลิตร ตามลำดับ (2) ค่าการตลาด อยู่ที่ 3.9938 2.7684 2.9302 2.4869 2.7417 2.7175 และ 2.7149 บาทต่อลิตร ตามลำดับ และ (3) ราคาขายปลีก อยู่ที่ 34.56 27.15 26.88 24.14 19.94 26.29 และ 21.29 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ประมาณการสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ ในเดือนธันวาคม 2561 มีรายรับ
ในกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอลประมาณ 1,808 ล้านบาทต่อเดือน มีรายรับจากกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็วประมาณ 1,282 ล้านบาทต่อเดือน และภาพรวมกองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 3,102 ล้านบาทต่อเดือน
3. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่มีแนวโน้มราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดค่าใช้จ่ายระหว่างการเดินทางช่วงปีใหม่เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอให้ปรับลดเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลและกลุ่มน้ำมันดีเซล ลงในอัตรา 0.50 บาทต่อลิตร โดยส่งผลให้ราคาขายปลีกลดลงประมาณ 1 บาทต่อลิตร ซึ่งจะส่งผลให้ค่าการตลาดเฉลี่ยของกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล และ
ค่าการตลาดเฉลี่ยของน้ำมันทั้งหมด อยู่ที่ 2.37 และ 2.31 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ซึ่งจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ทุกผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับลดลง 630 ล้านบาทต่อเดือน จาก 3,102 ล้านบาทต่อเดือน เป็นมีรายรับ 2,472 ล้านบาทต่อเดือน
มติของที่ประชุม เห็นชอบปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลและกลุ่มน้ำมันดีเซล ดังนี้
น้ำมันเบนซิน 8.08 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 2.12 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 2.12 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 -0.78 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 -6.38 บาท/ลิตร น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 0.20 บาท/ลิตร น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 -4.50 บาท/ลิตร ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 4 ข้อกำหนดพื้นที่ตั้งโครงการโรงไฟฟ้าขยะของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) สรุปสาระสำคัญ 1. เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบหลักการและเหตุผลในการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ FiT สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ดังนี้
(1) กำลังผลิตติดตั้งไม่เกิน 50 เมกะวัตต์ การส่งเสริมเป็นลักษณะ Non-Firm โดยอัตรา FiT สำหรับ SPP จากเชื้อเพลิงขยะชุมชนไม่ควรสูงกว่าเพดานของอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการประเภท SPP Hybrid Firm ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 และการรับซื้อไฟฟ้าไม่ต้องผ่านกระบวนการแข่งขันด้านราคา (Competitive Bidding) สอดคล้องตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2558 โดยจะต้องเป็นโครงการที่สอดคล้องกับ Roadmap หรือแผนแม่บทระดับชาติของรัฐบาล และกำหนดให้มีการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายในปี 2563 (2) เห็นชอบอัตราและเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ FiT สำหรับ SPP กำลังผลิตติดตั้งมากกว่า 10-50 เมกะวัตต์ โดย FiTF FiTV,2560 และ FiT(1) เป็น 1.81 1.85 และ 3.66 บาทต่อหน่วย ระยะเวลาสนับสนุน 20 ปี (โดยอัตรา FiT จะใช้สำหรับโครงการที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายในปี 2560 โดยภายหลังจากปี 2560 นั้น อัตรา FiTv จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามอัตราเงินเฟ้อขั้นพื้นฐาน (Core Inflation)) โดยต้องเป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีหรือเป็นโครงการภายใต้แผน Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าต้องมีสัญญาในการรับขยะชุมชนเป็นเชื้อเพลิงหรือเชื้อเพลิง RDF จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เป็นต้น เพื่อยืนยันปริมาณที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการผลิตไฟฟ้าตลอดอายุโครงการ สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของ อปท. หรือ อปท. รูปแบบพิเศษ นอกจากนี้ มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไปดำเนินการออกระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ FiT สำหรับ SPP และมอบให้ กกพ. และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กำหนดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า โดยคำนึงถึงแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ และนำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาก่อนออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ FiT สำหรับ SPP
2. เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย
ได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ FiT เพิ่มเติม ในโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของ อปท. ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้นำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเพื่อพิจารณากรณีกรรมสิทธิ์ที่ดินของสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าในการรับซื้อไฟฟ้า
จากขยะชุมชนในรูปแบบ FiT สำหรับ SPP เนื่องจากมติ กพช. เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 ได้กำหนดเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าว่าสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของ อปท. หรือ อปท.รูปแบบพิเศษ แต่ปัจจุบันโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตไฟฟ้าที่มีแผนงานมอบหมายให้เอกชนดำเนินการ มีข้อจำกัดในเรื่องขนาดพื้นที่ดินที่เป็นบ่อขยะเดิมซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ อปท. มีขนาดพื้นที่ไม่เพียงพอ ทำให้มีความจำเป็นในการจัดหาที่ดินของภาคเอกชนเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว จึงเห็นควรกำหนดเพิ่มเติมให้สถานที่ตั้งโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2561 กระทรวงพลังงานได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย สถ. สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และได้มีมติมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสำนักงาน กกพ. ประสาน สถ. จัดทำหลักการและเหตุผลในการขอปรับปรุงเงื่อนไขเรื่องสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า โดยให้นำเสนอ กบง. เพื่อทราบและเพื่อพิจารณานำเสนอ กพช. ต่อไป
3. สถ. ได้มีหนังสือเสนอหลักการและเหตุผลในการขอปรับปรุงเงื่อนไขเรื่องสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าดังกล่าว สรุปได้ดังนี้ (1) หากสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของ อปท. หรือ อปท. รูปแบบพิเศษ จะส่งผลให้มีข้อจำกัดในเรื่องขนาดพื้นที่ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ อปท. มีขนาดพื้นที่ไม่เพียงพอในการสร้างโรงกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า จำเป็นต้องจัดหาที่ดินของภาคเอกชนเพื่อดำเนินโครงการ (2) การพิจารณาให้ความเห็นชอบให้เอกชนดำเนินการหรือร่วมดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยกับ อปท. กระทรวงมหาดไทยจะพิจารณาเงื่อนไขเบื้องต้นของโรงกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าคือ ต้องใช้เชื้อเพลิงจากขยะเท่านั้น ไม่ใช้เชื้อเพลิงประเภทอื่น และต้องใช้เชื้อเพลิงจากการรวมกลุ่มพื้นที่ในการจัดการมูลฝอย (Clusters) ในลำดับต้น ซึ่งต้องมีการทำความตกลง (MOU) กันอย่างชัดเจน หากจำเป็นต้องนำขยะจากนอกกลุ่มพื้นที่ฯ มาเป็นเชื้อเพลิงต้องเสนอคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจังหวัดที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน ดังนั้น แม้สถานที่ตั้งโรงกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจะอยู่ในที่ดินของเอกชน อปท. ก็สามารถควบคุมการใช้เชื้อเพลิงจากขยะได้ และ (3) สถ. ได้เสนอรูปแบบการลงทุนโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ดังนี้ (3.1) แบบ BOO (Build Own and Operate) โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างและเป็นผู้ประกอบการโรงกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าโดยไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้กับ อปท. ดังนั้น หากก่อสร้างโรงกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าบนที่ดิน อปท. ก็อาจมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ในอนาคต และ (3.2) แบบ BOT (Build Operate and Transfer) และ BOOT (Build Own Operate and Transfer) โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างและเป็นผู้ประกอบการโรงกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้กับ อปท. เมื่อสิ้นสุดสัญญาการดำเนินโครงการ การโอนกรรมสิทธิ์รวมถึงสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินอื่นๆ ในที่ดิน ซึ่งจะทำให้ราชการได้รับประโยชน์จากรูปแบบการลงทุนดังกล่าว จึงเห็นควรกำหนดเพิ่มเติมให้สถานที่ตั้งโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนได้
มติของที่ประชุม เห็นชอบการปรับปรุงเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมขนในรูปแบบ Feed in Tariff (FiT) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ให้สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (อปท. รูปแบบพิเศษ) หรือเอกชน โดยมีแนวทางการดำเนินโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าดังนี้ 1. กรณีที่มีรูปแบบการลงทุนแบบ BOT (Build Operate and Transfer) และ BOOT (Build Own Operate and Transfer) ให้ดำเนินการโครงการในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ อปท. หรือ อปท. รูปแบบพิเศษ
2. กรณีที่มีรูปแบบการลงทุนแบบ BOO (Build Own and Operate) ให้ดำเนินการโครงการ
ในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน
โดยการดำเนินโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้พิจารณารูปแบบการลงทุน
ในแบบ BOT เป็นลำดับแรก หากไม่สามารถดำเนินการโครงการในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ อปท.หรือ อปท. รูปแบบพิเศษได้แล้ว จึงพิจารณารูปแบบการลงทุนในแบบ BOO ต่อไปโดยการดำเนินโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้พิจารณารูปแบบการลงทุนในแบบ BOT เป็นลำดับแรก หากไม่สามารถดำเนินการโครงการในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ อปท.หรือ อปท. รูปแบบพิเศษได้แล้ว จึงพิจารณารูปแบบการลงทุนในแบบ BOO ต่อไป
เรื่องที่ 5 การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ชีวมวล สรุปสาระสำคัญ 1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 ได้มีมติเห็นชอบแนวทาง
การบรรเทาความเดือดร้อนของ SPP ชีวมวล โดยให้สามารถสมัครใจในรูปแบบสัญญาเดิมต่อไปตามเงื่อนไขเดิม หรือให้สามารถเลือกเปลี่ยนรูปแบบเป็น Feed-in Tariff (FiT) ได้ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ร่วมกับการไฟฟ้าคู่สัญญา พิจารณาดำเนินการเพื่อให้สามารถปรับรูปแบบการรับซื้อไฟฟ้าเป็น FiT ได้ และเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 กบง. ได้มีมติมอบหมายให้ กกพ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนหลักการพร้อมทั้งเสนอราคารับซื้อไฟฟ้าและแนวทางการบรรเทาความเดือดร้อนของ SPP ชีวมวลอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้า และเสนอ กพช. เพื่อพิจารณาต่อไป และ กบง. เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงาน กกพ. เสนอโดยให้ใช้หลักการ Net Present Value (NPV) ตามมติ กบง. เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 และขอแก้ไขมติดังกล่าว ใน 3 ประเด็น ดังนี้ (1) ปรับปรุงการคำนวณในตารางระยะเวลาที่ปรับลดอายุสัญญาจากที่ กบง. มีมติเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 (2) ภายหลังสิ้นสุดอายุสัญญาในรูปแบบ FiT แล้ว ไม่ควรที่จะมีการต่ออายุสัญญาอีก และ (3) ขอเพิ่มกรณีโครงการที่ยังไม่ได้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ เมื่อเปลี่ยนสัญญาไปใช้อัตรา FiT (ประเภท Firm) ให้มีผลตั้งแต่วันที่เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงาน กกพ. ไปตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของ SPP ที่ได้รับผลกระทบจริงตามข้อร้องเรียนเป็นรายโครงการ รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบต่อเนื่องที่อาจเกิดขึ้นจากการรับซื้อไฟฟ้าของ SPP Hybrid Firm และให้นำเสนอ กบง. พิจารณาอีกครั้ง
2. เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 กกพ. มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อนำเสนอสรุปผลการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของ SPP ที่ได้รับผลกระทบจริงตามข้อร้องเรียนเป็นรายโครงการ รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบต่อเนื่องที่อาจเกิดขึ้นจากการรับซื้อไฟฟ้าของ SPP Hybrid Firm โดยสรุปได้ดังนี้
2.2 ผลการตรวจสอบรายโครงการของสำนักงาน กกพ. มีดังนี้ (1) ผู้ประกอบการ 9 โครงการมีงบขาดทุน ซึ่งใช้เชื้อเพลิงจำพวกแกลบ เปลือก/เศษไม้ และทะลายปาล์ม ยกเว้น 1 ราย ที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นน้ำมันยางดำที่มีผลกำไร (2) ผู้ประกอบการแจ้งความเดือดร้อนเนื่องจากได้รับผลกระทบจาก VSPP ที่ได้เปลี่ยนสัญญาเป็นแบบ FiT แล้ว (อัตรา 4.24 - 4.54 บาทต่อหน่วย) สามารถซื้อเชื้อเพลิงชีวมวลได้ในราคาที่สูงกว่า โดยผู้ประกอบการ
ที่เดือดร้อนได้รับค่าไฟฟ้าตามหลักการ Avoided cost ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่อ้างอิงราคาเชื้อเพลิงต่างๆ โดยในปี 2560 มีค่าไฟฟ้าเฉลี่ย ดังนี้ อ้างอิงราคาก๊าซธรรมชาติประมาณ 2.7 - 2.8 บาทต่อหน่วย อ้างอิงราคาถ่านหิน ประมาณ 2.7 บาทต่อหน่วย อ้างอิงราคาน้ำมันเตาและก๊าซฯ ประมาณ 3.3 - 3.5 บาทต่อหน่วย และราคาขายส่งกรณี VSPP Non-Firm เฉลี่ยช่วง Peak และ Off - peak ประมาณ 2.73 บาทต่อหน่วย และ (3) มีความแข่งขันสูงขึ้นในการจัดหาและซื้อเชื้อเพลิงชีวมวลที่ต้องแข่งขันกับ VSPP แบบ FiT ไม่มีสัญญาระยะยาว และราคาเชื้อเพลิงชีวมวลมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้ทำให้ SPP สัญญา Firm บางรายถูกปรับตามสัญญา เนื่องจากไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตามปริมาณพลังไฟฟ้าตามสัญญา (Contracted Capacity) 2.2 ผลการตรวจสอบรายโครงการของสำนักงาน กกพ. มีดังนี้ (1) ผู้ประกอบการ 9 โครงการมีงบขาดทุน ซึ่งใช้เชื้อเพลิงจำพวกแกลบ เปลือก/เศษไม้ และทะลายปาล์ม ยกเว้น 1 ราย ที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นน้ำมันยางดำที่มีผลกำไร (2) ผู้ประกอบการแจ้งความเดือดร้อนเนื่องจากได้รับผลกระทบจาก VSPP ที่ได้เปลี่ยนสัญญาเป็นแบบ FiT แล้ว (อัตรา 4.24 - 4.54 บาทต่อหน่วย) สามารถซื้อเชื้อเพลิงชีวมวลได้ในราคาที่สูงกว่า โดยผู้ประกอบการที่เดือดร้อนได้รับค่าไฟฟ้าตามหลักการ Avoided cost ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่อ้างอิงราคาเชื้อเพลิงต่างๆ โดยในปี 2560 มีค่าไฟฟ้าเฉลี่ย ดังนี้ อ้างอิงราคาก๊าซธรรมชาติประมาณ 2.7 - 2.8 บาทต่อหน่วย อ้างอิงราคาถ่านหิน ประมาณ 2.7 บาทต่อหน่วย อ้างอิงราคาน้ำมันเตาและก๊าซฯ ประมาณ 3.3 - 3.5 บาทต่อหน่วย และราคาขายส่งกรณี VSPP Non-Firm เฉลี่ยช่วง Peak และ Off - peak ประมาณ 2.73 บาทต่อหน่วย และ (3) มีความแข่งขันสูงขึ้นในการจัดหาและซื้อเชื้อเพลิงชีวมวลที่ต้องแข่งขันกับ VSPP แบบ FiT ไม่มีสัญญาระยะยาว และราคาเชื้อเพลิงชีวมวลมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้ทำให้ SPP สัญญา Firm บางรายถูกปรับตามสัญญา เนื่องจากไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตามปริมาณพลังไฟฟ้าตามสัญญา (Contracted Capacity)
2.3 ข้อวิเคราะห์ผลกระทบต่อเนื่องที่อาจเกิดขึ้นจากการรับซื้อไฟฟ้าของ SPP Hybrid Firm ดังนี้ (1) ผู้ประกอบการ SPP Hybrid Firm ส่วนใหญ่มีแหล่งเชื้อเพลิงตนเองซึ่งเป็นชีวมวลและขยะ ได้แก่ โรงงานน้ำตาล โรงคัดแยกขยะและกำจัดขยะมูลฝอย ดำเนินธุรกิจปลูกไม้โตเร็วและเป็นผู้ผลิต Woodchip (2) ภาครัฐหยุดรับซื้อไฟฟ้าแบบ Adder มาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 และก่อนหน้านั้นมีบางพื้นที่ที่ติดปัญหาศักยภาพระบบไฟฟ้า (Grid Capacity) ของ กฟผ. ไม่รองรับ เช่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ไม่มีการรับซื้อไฟฟ้าตั้งแต่ในช่วงปี 2556 เป็นต้นมา ส่งผลให้ผู้ยื่นข้อเสนอโดยเฉพาะผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลซึ่งมีความพร้อมของโรงไฟฟ้าและมีแหล่งเชื้อเพลิงของตนเองเสนออัตราค่าไฟฟ้าที่ต่ำ รวมทั้งในพื้นที่ที่มีเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าสูงมีการแข่งขันสูง เช่น ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ (3) ผู้ประกอบการ SPP Hybrid Firm ได้รับทราบปัญหาและนโยบายของรัฐที่ให้สิทธิ VSPP ชีวมวลได้เปลี่ยนอัตราเป็นแบบ FiT ในปี 2559 ตั้งแต่ก่อนการประกาศรับซื้อไฟฟ้าโครงการ SPP Hybrid Firm ในเดือนสิงหาคม 2560 โดยผู้ประกอบการเป็นฝ่ายตัดสินใจเข้าร่วมยื่นการประมูลแข่งขันราคาโครงการ SPP Hybrid Firm และเป็นฝ่ายยื่นเสนอราคาส่วนลดจากราคาเพดานที่รัฐตั้งไว้ (3.66 บาทต่อหน่วย) ซึ่งต่างกับกรณีการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP และ VSPP ในอดีตที่รัฐเป็นฝ่ายกำหนดราคาไว้ โดยสัญญา Firm มีโครงสร้างราคาตามหลักการ Avoided cost ของ กฟผ. ซึ่งอ้างอิงราคาก๊าซธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ และสัญญา Non-Firm อ้างอิงราคาค่าไฟฟ้าขายส่งและ Ft ขายส่ง
3. เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ประชุมหารือร่วมกับสำนักงาน กกพ. และชมรม SPP ชีวมวล และได้มอบหมายให้ ชมรม SPP ชีวมวลสอบถามสมาชิก SPP ว่ามีรายใดบ้าง
ที่ประสงค์จะเปลี่ยนเป็น FiT ภายใต้สมมติฐานเริ่มได้รับอัตรา FiT วันที่ 1 มกราคม 2562 และให้สำนักงาน กกพ. มีหนังสือถึงผู้ที่ผ่านการคัดเลือกโครงการ SPP Hybrid Firm ที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล เพื่อขอรับทราบความคิดเห็นกรณีที่ SPP ชีวมวลที่มีสัญญาเดิม จะเปลี่ยนแปลงอัตรารับซื้อไฟฟ้าเป็นรูปแบบ FiT 4.24 บาทต่อหน่วย (ไม่เกิน 10 เมกะวัตต์) และ 3.66 บาทต่อหน่วย (มากกว่า 10 เมกะวัตต์) โดยจะต้องเปลี่ยนเป็นสัญญาแบบ Firm เมื่อได้รับอัตราแบบ FiT และจะไม่มีการต่ออายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายหลังครบอายุสัญญา
4. เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561 สำนักงาน กกพ. มีหนังสือถึงผู้ผ่านการคัดเลือกโครงการ SPP Hybrid Firm ที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลตามข้อสั่งการดังกล่าว จำนวน 15 โครงการ ซึ่งต่อมาได้มีหนังสือตอบแจ้งความเห็นมายังสำนักงาน กกพ. สรุปได้ดังนี้ (1) SPP ชีวมวลที่มีสัญญาเดิมไม่ได้ขอเปลี่ยนแปลงในช่วงที่สามารถแจ้งความประสงค์เปลี่ยนเป็น FiT ได้ จึงไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบสัญญา (2) การปรับราคา SPP ชีวมวลที่มีสัญญาเดิม เป็น FiT จะทำให้ความต้องการเชื้อเพลิงชีวมวลและความสามารถในการซื้อเชื้อเพลิงชีวมวลสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาชีวมวลและส่งผลต่อต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าของโครงการสูงขึ้น (3) โครงการ SPP ชีวมวลที่มีสัญญาเดิมและโครงการ SPP Hybrid Firm มีต้นทุนค่าเชื้อเพลิงไม่แตกต่างกัน การปรับราคา SPP ชีวมวลที่มีสัญญาเดิมให้ได้รับ FiT 3.66 บาทต่อหน่วย มีราคาสูงกว่าราคารับซื้อไฟฟ้าของ SPP Hybrid Firm ทำให้ SPP ชีวมวลที่มีสัญญาเดิม มีความสามารถในการซื้อเชื้อเพลิงมากกว่า ดังนั้น หากปรับ FiT ให้ SPP ชีวมวลที่มีสัญญาเดิม ก็ควรปรับ FiT ให้โครงการ SPP Hybrid Firm ด้วย (4) การเลือกปรับ SPP ชีวมวลที่มีสัญญาเดิมเป็น FiT อาจเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและอาจเกิดความเสียหายต่อ SPP รายอื่น และ (5) รัฐควรปรับราคารับซื้อไฟฟ้า SPP ที่มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายมากกว่า 10 เมกะวัตต์ให้ทุกโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ส่งเสริมให้เกิดความเป็นธรรมและส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงาน และเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2561 ชมรม SPP ชีวมวลมีหนังสือแจ้งว่า SPP ชีวมวลจำนวนรวม 42 โครงการ ประสงค์จะเปลี่ยนรูปแบบสัญญาเป็น FiT 18 โครงการ ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 356.3 เมกะวัตต์ เลือกอยู่สัญญาเดิม 16 โครงการ 281.3 เมกะวัตต์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ (1) COD แล้ว สัญญา Firm จำนวน 17 โครงการ เลือกเปลี่ยนเป็น FiT 12 โครงการ เลือกอยู่สัญญาเดิม 5 โครงการ (2) COD แล้ว สัญญา Non-Firm จำนวน 19 โครงการ เลือกเปลี่ยนเป็น FiT 5 โครงการ เลือกอยู่สัญญาเดิม 8 โครงการ ไม่ตอบแบบสอบถาม 6 โครงการ (3) ยังไม่ COD สัญญา Firm จำนวน 1 โครงการ เลือกอยู่สัญญาเดิม และ (4) ยังไม่ COD สัญญา Non-Firm จำนวน 5 โครงการ เลือกเปลี่ยนเป็น FiT 1 โครงการ เลือกอยู่สัญญาเดิม 2 โครงการ ไม่ตอบแบบสอบถาม 2 โครงการ
มติของที่ประชุม มอบหมายสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานไปพิจารณาทางเลือกอื่นในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ชีวมวล กรณีไม่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับซื้อไฟฟ้าเป็นแบบ Feed-in Tariff (FiT) ได้ และให้นำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานพิจารณาต่อไป
สรุปสาระสำคัญ 1. เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบหลักการ อัตรา และเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ออกระเบียบการรับซื้อไฟฟ้า โดยให้ กกพ. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กำหนดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า โดยคำนึงถึงแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ และนำเสนอให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาก่อนออกประกาศรับซื้อไฟฟ้า นอกจากนี้ กพช. ได้มีมติ มอบให้ กบง. สามารถพิจารณาปรับปรุงแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (ทั้ง SPP และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP)) จากเดิมที่ กพช. ได้มีมติเห็นชอบได้ โดยสามารถพิจารณาเปิดรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติมจนครบเป้าหมายตามที่ กพช. กำหนดไว้ สามารถพิจารณากำหนดปริมาณรับซื้อโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นรายพื้นที่ภายใต้กรอบเป้าหมายที่ กพช. กำหนดไว้ และสามารถพิจารณาปรับแผนการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรายปีให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 (AEDP 2015) และปริมาณของแต่ละเชื้อเพลิงที่อาจเปลี่ยนแปลงไป
2. เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี (อบจ.นนทบุรี) มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและประธาน กกพ. ขอให้พิจารณาสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะชุมชน สำหรับ SPP และได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการว่า ได้ดำเนินโครงการตามขั้นตอนแห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 แล้วเสร็จ โดยมีผลการพิจารณาคัดเลือกให้กลุ่มบริษัท เอสพีพี ซิค จำกัด และบริษัท ซุปเปอร์ เอิร์ธ เอนเนอร์ยี 1 จำกัด เป็นผู้ผ่านการคัดเลือกให้ร่วมลงทุน และได้สรุปผลการคัดเลือกเอกชนเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจพิจารณาและเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้ อบจ.นนทบุรี ลงนามในสัญญาต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมดได้ภายในปี 2561 ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2561 พพ. มีหนังสือถึงสำนักงาน กกพ. ว่าเห็นควรให้พิจารณาประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนตามปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งที่คงเหลือจากแผน AEDP 2015 จำนวน 52.52 เมกะวัตต์ (จากเป้าหมาย 500 เมกะวัตต์) โดยแจ้งว่าสถานภาพโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะที่ผูกพันกับภาครัฐแล้ว ณ เดือนพฤษภาคม 2561 จำนวน 43 แห่ง กำลังผลิตติดตั้งรวม 361.08 เมกะวัตต์ เมื่อรวมโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการในระยะแรก (Quick Win Projects) (VSPP) จำนวน 12 แห่ง กำลังผลิตติดตั้งรวม 86.40 เมกะวัตต์ รวมทั้งสิ้น 447.48 เมกะวัตต์
3. เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย มีหนังสือแจ้งยืนยันรายละเอียดโครงการและการจัดเรียงลำดับโครงการตามความก้าวหน้า จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
(1) โครงการให้เอกชนลงทุนก่อสร้างและบริหารจัดการระบบกำจัดขยะมูลฝอย ของ อบจ.นนทบุรี กำลังผลิตติดตั้ง 20 เมกะวัตต์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2559 ปัจจุบันได้ผลการคัดเลือกเอกชนแล้ว (2) โครงการกำจัดมูลฝอยด้วยระบบเตาเผาขนาดไม่น้อยกว่า 1,000 ตันต่อวัน ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม กำลังผลิตติดตั้ง 30 เมกะวัตต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 ปัจจุบันอยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชน (3) โครงการกำจัดมูลฝอยด้วยระบบเตาเผาขนาดไม่น้อยกว่า 1,000 ตันต่อวัน ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช กำลังผลิตติดตั้ง 30 เมกะวัตต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เห็นชอบเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 ปัจจุบันอยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชน และ (4) โครงการสร้างระบบการจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF ของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช กำลังผลิตติดตั้ง 19.8 เมกะวัตต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย เห็นชอบโครงการเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำร่างขอบเขตของงาน (TOR)
4.สำนักงาน กกพ. ได้วิเคราะห์ผลกระทบค่าไฟฟ้าในปี 2563 จากโครงการผลิตไฟฟ้าจาก
ขยะชุมชนในรูปแบบ FiT สำหรับ SPP ตลอดอายุสัญญาโครงการ 20 ปี คำนวณเป็นค่าปัจจุบันสุทธิ ณ ปี 2563 โดยวิธี Levelized Cost of Electricity (LCOE) สรุปได้ดังนี้ (1) กรณีที่ 1 Plant Factor ร้อยละ 70 กรณีรับซื้อ 52.52 เมกะวัตต์ และ 99.8 เมกะวัตต์ ผลกระทบค่าไฟฟ้า +0.45 และ +0.85 สตางค์ต่อหน่วย ตามลำดับ โดยใช้สมมติฐานการวิเคราะห์อัตรารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ FiT สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ กำลังการผลิตติดตั้งมากกว่า 3 เมกะวัตต์ ของ สนพ. (2) กรณีที่ 2 Plant Factor ร้อยละ 60 กรณีรับซื้อ 52.52 เมกะวัตต์ และ 99.8 เมกะวัตต์ ผลกระทบค่าไฟฟ้า +0.38 และ +0.73 สตางค์ต่อหน่วย ตามลำดับ คำนวณจากปริมาณที่มีการขายไฟฟ้าเข้าระบบจริงของโรงไฟฟ้า VSPP ที่ใช้เชื้อเพลิงขยะ กำลังการผลิตติดตั้งมากกว่า 6 เมกะวัตต์ ของเทศบาลนครขอนแก่นและ (3) กรณีที่ 3 Plant Factor ร้อยละ 36.53 กรณีรับซื้อ 52.52 เมกะวัตต์ และ 99.8 เมกะวัตต์ ผลกระทบค่าไฟฟ้า +0.23 และ +0.44 สตางค์ต่อหน่วย ตามลำดับ คำนวณตามรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการศึกษาความเหมาะสมการกำจัดมูลฝอยด้วยระบบเตาเผาขนาดไม่น้อยกว่า 1,000 ตันต่อวัน ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช กำลังการผลิตติดตั้งมากกว่า 30 เมกะวัตต์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (กรกฎาคม 2560)
5.กกพ. ได้มีความเห็นว่าโครงการของกระทรวงมหาดไทยที่ สถ. แจ้งมา เป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและอยู่ภายใต้แผน Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย หากสามารถเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จก็จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ FiT สำหรับ SPP ซึ่งมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่ถูกกว่า VSPP (Quick Win Projects) ช่วยลดภาระการสนับสนุนทางการเงินที่จะส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าโดยตรง และเมื่อพิจารณาปริมาณเมกะวัตต์คงเหลือตามแผน AEDP โครงการของ อบจ.นนทบุรี มีความเหมาะสมเป็นลำดับแรก เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบและได้ผลการคัดเลือกเอกชนแล้ว และเป็นโครงการลำดับแรกตามที่ สถ. ยืนยันการจัดเรียงลำดับโครงการ โดยโครงการมีกำลังผลิตติดตั้ง 20 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นไปตามปริมาณเมกะวัตต์ติดตั้งคงเหลือตามแผน AEDP สำหรับ 3 โครงการที่เหลือให้พิจารณาตามความพร้อมในโอกาสต่อไป ทั้งนี้ให้พิจารณาตามความพร้อมในเรื่องการจัดหาเอกชนร่วมลงทุนและปริมาณรับซื้อไฟฟ้าต้องอยู่ภายใต้กรอบตามแผน PDP และแผน AEDP
6.สำนักงาน กกพ. อยู่ระหว่างการจัดทำประกาศรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ FiT สำหรับ SPP โดยคาดว่าจะสามารถประกาศรับซื้อไฟฟ้าได้ภายในปี 2562 โดยมติ กพช. กำหนดให้มีการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (วัน SCOD) ภายในปี 2563 แต่เนื่องจากการพัฒนาโครงการมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดําเนินการในกิจการของรัฐ และกฎหมายสิ่งแวดล้อม ที่จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งการพัฒนาโครงการกำจัดขยะที่ใช้เทคโนโลยีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนซึ่งต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี ดังนั้น สำนักงาน กกพ. จึงเห็นว่าควรเลื่อนกำหนดวัน SCOD ตามที่มติ กพช. กำหนดไว้ จากภายในปี 2563 เป็นภายในปี 2565 โดยยังคงอัตรารับซื้อไฟฟ้าตามมติเดิม และระยะเวลาสนับสนุน 20 ปี นับจากวันจ่ายไฟฟ้าเข้าเชิงพาณิชย์ (วัน COD)
มติของที่ประชุม 1. เห็นชอบให้กำหนดปริมาณรับซื้อไฟฟ้าของโครงการให้เอกชนลงทุนก่อสร้างและบริหารจัดการระบบกำจัดขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 20 เมกะวัตต์ ในประกาศรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ในระยะแรก และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเร่งดำเนินการประกาศรับซื้อไฟฟ้าสำหรับโครงการที่มีความพร้อมในระยะถัดไป ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามแผน PDP และแผน AEDP
2. เห็นชอบให้เลื่อนกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ FiT สำหรับ SPP ที่มีกำหนดวัน SCOD ภายในปี 2563 เป็นภายในปี 2565 โดยยังคงอัตรารับซื้อไฟฟ้าตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 และระยะเวลาสนับสนุน 20 ปี นับจากวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD)
เรื่องที่ 7 แนวทางการดำเนินโครงการโซลาร์ภาคประชาชน สรุปสาระสำคัญ 1. วันที่ 6 กันยายน 2561 คณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อรายงานสรุปผลการประชุม กขร. ครั้งที่ 5/2561 โดยมีการติดตามเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล 5 เรื่อง มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงพลังงานคือ โครงการโซลาร์ภาคประชาชน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ส่วนราชการรับประเด็นความเห็นและมติของที่ประชุม กขร. เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561 กขร. ได้นำสรุปผลการประชุมดังกล่าวรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อติดตามเร่งรัดการดำเนินการโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าใช้เองในภาคประชาชนอย่างเสรี สามารถขายไฟฟ้าได้ในอัตรารับซื้อที่ไม่เป็นภาระค่าไฟฟ้า สร้างรายได้แก่ภาคประชาชนในรูปแบบการออมเงิน พัฒนา Platform การซื้อขายที่อำนวยความสะดวกในการดำเนินการแก่ประชาชน รวมทั้งมีระบบติดตามการผลิตและการใช้เพื่อติดตามข้อมูลในอนาคต
2. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ได้จัดทำนโยบายโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ควบคู่กับการจัดทำแผน PDP2018 โดยจะนำหลักการจากแผน PDP มาใช้กำหนดนโยบายต่อไป เช่น รูปแบบการซื้อขาย ราคารับซื้อ ระเบียบหลักการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีข้อเสนอดังนี้ (1) ต้องศึกษาราคารับซื้อที่จะก่อให้เกิดการแข่งขันและสนับสนุนให้เกิดการซื้อขายกันเอง (ควรรับซื้อที่ราคาขายส่งของ กฟผ. และมีส่วนลด) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
(การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)/การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)) มีทางเลือกในการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคประชาชนได้โดยไม่ต้องมีข้อผูกพันที่จะรับซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในราคาสูง และ (2) ปัจจุบันยังไม่มีระบบซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ใช้ไฟฟ้า (Peer to Peer) ดังนั้น การขายไฟฟ้าและซื้อไฟฟ้าระหว่างผู้ใช้ไฟฟ้า จำเป็นต้องมีระบบสำหรับการซื้อขาย รวมถึงการปรับข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง กพข. ได้มีความเห็น ดังนี้ (1) โครงการโซลาร์ภาคประชาชน เน้นการผลิตไฟฟ้าใช้เองในบ้านและอาคารเป็นหลัก จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกสำรองเพื่อการเตรียมการรองรับการขาดแคลนพลังงานในอนาคต นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่ภาคประชาชน (2) ควรพิจารณาประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ราคาซื้อขายไฟฟ้า ความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ต้นทุนการติดตั้งและความคุ้มค่า การใช้ Battery Storage ร่วมกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (3) ควรให้กระทรวงมหาดไทย (กรมโยธาธิการและผังเมือง) ศึกษากรณีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ว่าจะขัดกับพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรือไม่ และอาจต้องมีการแก้ไขกฎหมายหรืแอระเบียบที่เกี่ยวข้อง และ (4) ควรมีหน่วยงานกลางในการเป็นศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service: OSS) ทั้งนี้ กขร. มีมติเห็นควรให้กระทรวงพลังงานเป็นเจ้าภาพหารือร่วมกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการจัดทำโครงการโซลาร์ภาคประชาชนในส่วนที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในแผน PDP เพื่อนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในปี 2561 ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้สั่งการให้ประธาน กกพ. เร่งดำเนินการตามข้อสั่งการ
3. สถานะรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ตามแผน AEDP ณ เดือนกันยายน 2561 จากเป้าหมาย 6,000 เมกะวัตต์ มีพันธะผูกพันกับภาครัฐแล้ว 6,704 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 3,250 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น (1) โซลาร์ฟาร์ม 474 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 2,694 เมกะวัตต์ (2) โซลาร์รูฟท๊อป 3,131 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 130 เมกะวัตต์ และ (3) โซลาร์ราชการฯ 99 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 130 เมกะวัตต์ โดยมีข้อมูลการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar PV Rooftop) ในปัจจุบัน จาก 6,810 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 336.58 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น (1) การรับซื้อ Solar PV Rooftop แบบ FiT ปี 2556 จำนวน 1,619 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 93.69 เมกะวัตต์ กำหนดวัน COD ภายใน 31 ธันวาคม 2556 (2) การรับซื้อ Solar PV Rooftop แบบ FiT ปี 2558 (รับซื้อเพิ่มให้ครบ 100 เมกะวัตต์) จำนวน 4,513ราย กำลังผลิตติดตั้ง 35.89 เมกะวัตต์ กำหนดวัน COD ภายใน 31 ธันวาคม 2558 รวมข้อ (1) และ (2) ปริมาณรับซื้อไฟฟ้า 129.58 เมกะวัตต์และ (3) Solar PV Rooftop (Pilot Project) ปี 2559 (ไม่ขายเข้าระบบ-พพ.) จำนวน 184 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 6 เมกะวัตต์ (4) Solar PV Rooftop (Self Consumptions) จำนวน 461 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 161 เมกะวัตต์ และ (5) Solar PV Rooftop (Private PPA) จำนวน 33 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 40 เมกะวัตต์ รวมปริมาณไฟฟ้าที่ไม่ขายเข้าระบบตามข้อ (3) – (5) 207 เมกะวัตต์
4. โครงการโซลาร์ภาคประชาชนตามข้อเสนอของกระทรวงพลังงาน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การรับซื้อไฟฟ้าจากภาคครัวเรือนที่ติดแผงโซลาร์บนหลังคาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองเป็นหลัก และขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการใช้เข้าสู่ระบบได้ และ ระยะที่ 2 การซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ใช้ไฟฟ้า (Peer to Peer) โดยผ่านระบบสำหรับการซื้อขายไฟฟ้า ทั้งนี้ กกพ. ได้มีความเห็นว่าควรดำเนินการตามอำนาจของ กกพ. ในประเด็นราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับโครงการโซลาร์ภาคประชาชนที่ไม่เป็นภาระต่อค่าไฟฟ้าโดยได้พิจารณาจากสมมติฐานที่สำนักงาน กกพ. ได้นำเสนอที่อัตรารับซื้อไฟฟ้า 1.8, 2.0, 2.8 และ 3.8 บาทต่อหน่วย และมีมติเห็นชอบราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในอัตราไม่เกิน 1.68 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งเป็นอัตรารับซื้อที่ไม่กระทบต่อค่าไฟฟ้าในปี 2562 เนื่องจากการซื้อไฟฟ้าจากโครงการฯ จะนำไปทดแทนต้นทุนการผลิตไฟฟ้าหน่วยสุดท้ายระยะสั้น (Short Run Marginal Cost : SRMC) ตามข้อมูลของ กฟผ. สำหรับการจัดตั้งหน่วยงานกลางการเป็นศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service: OSS) ได้สั่งการให้สำนักงาน กกพ. ศึกษาและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการดำเนินการเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยมีกรอบแนวคิดในการดำเนินโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ระยะที่ 1 ดังนี้ (1) กลุ่มเป้าหมายเป็นภาคครัวเรือน (ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านที่อยู่อาศัย ติดตั้งน้อยกว่า 10 kVA หรือกำลังผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 kWp) สามารถติดแผงโซลาร์บนหลังคาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองเป็นหลักและขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการใช้เข้าสู่ระบบได้ (2) ปริมาณรับซื้อไม่เกิน 100 MWp โดยแบ่งเป็นพื้นที่ กฟน. 30 เมกะวัตต์ และ กฟภ. 70 เมกะวัตต์ ในปี 2562 (3) ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในอัตราไม่เกิน 1.68 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งเป็นอัตรารับซื้อที่ไม่กระทบต่อค่าไฟฟ้าในปี 2562 และ (4) ระยะเวลารับซื้อ 10 ปี
มติของที่ประชุม เห็นชอบกรอบแนวคิดในการดำเนินโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ระยะที่ 1 ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเสนอ ดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมายเป็นภาคครัวเรือน (ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านที่อยู่อาศัย ติดตั้งน้อยกว่า 10 kVA หรือกำลังผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 kWp) สามารถติดแผงโซลาร์บนหลังคาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองเป็นหลักและขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการใช้เข้าสู่ระบบได้
2. ปริมาณรับซื้อไม่เกิน 100 MWp โดยแบ่งเป็นพื้นที่การไฟฟ้านครหลวง 30 MW และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 70 MW ในปี 2562
3. ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในอัตราไม่เกิน 1.68 บาท/kWh ซึ่งเป็นอัตราต้นทุนการผลิตไฟฟ้าหน่วยสุดท้ายระยะสั้น (Short Run Marginal Cost : SRMC) ตามข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
4. ระยะเวลารับซื้อ 10 ปี
เรื่องที่ 8 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการการจัดหา ราคา และความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ สรุปสาระสำคัญ 1. เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ดังนั้น การกำกับดูแลเรื่องการจัดหา ราคา และอัตราค่าบริการก๊าซฯ จากแหล่งต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะจะกระทบไปยังผู้บริโภคปลายทาง ดังนั้น เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 กระทรวงพลังงาน ในการประชุมหารือร่วมกัน
โดยมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน และมีสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมประชุม ได้เห็นควรให้แต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการบริหารจัดการการจัดหา ราคา และความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ” ภายใต้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อทำหน้าที่รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติ ปริมาณการจัดหา ราคาและความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศ
ในระยะสั้นและระยะยาว พัฒนาฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ในอนาคต รวมทั้งกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการบริหารจัดการการเรียกรับก๊าซธรรมชาติ
จากแหล่งในประเทศ การนำเข้าจากประเทศเมียนมาและก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เหลว (LNG) ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
2. ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอให้แต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการบริหารจัดการการจัดหา ราคา และความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ภายใต้ กบง. โดยมีปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายปิโตรเลียมและปิโตรเคมี สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และอนุกรรมการประกอบด้วย ดังนี้ (1) อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติหรือผู้แทน (2) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือผู้แทน (3) ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานหรือผู้แทน (4) ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ประกอบด้วย ดังนี้ (1) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และ (2) ผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ โดยคณะอนุกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้ (1) รวบรวม วิเคราะห์ปริมาณการจัดหา ราคาและความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ในอนาคต (2) กำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการบริหารจัดการในเรื่องการเรียกรับก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศ การนำเข้าจากประเทศเมียนมาและการนำเข้าก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เหลว (LNG) ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ (3) รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (4) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น (5) เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง จัดส่ง รวมถึงการให้ข้อมูลหรือเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม และ (6) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานมอบหมาย
มติของที่ประชุม เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการการจัดหา ราคา และความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ภายใต้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานลงนามในคำสั่งแต่งตั้งต่อไป
เรื่องที่ 9 ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับใหม่ สรุปสาระสำคัญ 1. เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2561 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้รับทราบเหตุผลและความจำเป็นในการปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า รวมทั้งรับทราบหลักการสำคัญและแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับใหม่ โดยกระทรวงพลังงาน (พน.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาทบทวนและปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ต่อมา พน. ได้มอบหมายให้ สนพ. ดำเนินการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับใหม่ ในภูมิภาคต่างๆ จำนวน 5 ครั้ง ในเดือนธันวาคม 2561 โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 1,873 คน ทั้งนี้ สนพ. ได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นใน 5 ภูมิภาคมาปรับปรุงร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับใหม่ และเสนอต่อคณะอนุกรรมการพยากรณ์และจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (คณะอนุกรรมการฯ) เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2561 โดยคณะอนุกรรมการฯ เห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับใหม่ พร้อมข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการฯ นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน พิจารณาให้ความเห็นชอบ
2. ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ดังนี้ (1) ความต้องการไฟฟ้า
ในระบบ 3 การไฟฟ้า (System demand) เป็นภาพรวมการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดของผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของประเทศไทย ไม่รวมถึงผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองหรือขายตรง ทั้งนี้ คาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าในระบบ 3 การไฟฟ้า ณ ปี 2580 อยู่ที่ประมาณ 53,997 เมกะวัตต์ (2) ความต้องการไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าไทย (Country demand) เป็นการขยายกรอบของผู้ใช้ไฟฟ้าให้กว้างขึ้นกว่าระบบ 3 การไฟฟ้า โดยรวมถึงผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองหรือขายตรง ซึ่งมีอัตราการเติบโตของการใช้ไฟฟ้าเท่ากับอัตราการเติบโตของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอุตสาหกรรม ทั้งนี้ คาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าไทย ณ ปี 2580 อยู่ที่ประมาณ 61,965 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ สถานะกำลังผลิตไฟฟ้าและความต้องการไฟฟ้า ในปี 2580 มีกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัญญา (Existing contract capacity) รวมเท่ากับ 37,154 เมกะวัตต์ หากนำมาพิจารณาถึงกำลังผลิตที่เชื่อถือได้แล้ว (Reliable) จะอยู่ที่ประมาณ 27,229 เมกะวัตต์ ซึ่งจะพบว่ากำลังผลิตไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ต่ำกว่าความต้องการไฟฟ้าที่คาดการณ์ไว้ 53,997 เมกะวัตต์ อยู่ประมาณ 26,768 เมกะวัตต์ ที่จะต้องมีการจัดสรรโรงไฟฟ้าให้เพียงพอต่อไป
3. การจัดทำร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับใหม่ สรุปได้ดังนี้
3.1 แนวทางการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับใหม่ จะจัดสรรกำลังผลิตไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ ได้แก่ (1) โรงไฟฟ้าหลักประเภทฟอสซิลใหม่และโรงไฟฟ้าตามข้อผูกพันการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ จัดสรรโรงไฟฟ้าหลักในแต่ละภูมิภาค โดยคำนึงถึงการใช้ศักยภาพเชื้อเพลิงและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในแต่ละภูมิภาคเพื่อลดการลงทุนเพิ่มเติม ไม่เพิ่มภาระข้อผูกพันของโรงไฟฟ้าหลักในระยะยาว รวมทั้งคำนึงถึงความเสี่ยงที่จะเกิดจาก Disruptive Technology รักษาระดับกำลังผลิตไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าหลักไม่ให้น้อยลงกว่าเดิม และพิจารณาเพิ่มโรงไฟฟ้าหลักในพื้นที่เขตนครหลวง เพื่อลดการพึ่งพากำลังผลิตไฟฟ้าจากภาคอื่นๆ และ (2) โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนและการอนุรักษ์พลังงาน จะพิจารณาจัดหากำลังผลิตไฟฟ้าเพื่อให้สามารถรองรับรูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของ Disruptive Technology ด้านพลังงานไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้น และยังคงสอดคล้องกับข้อตกลงในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 (COP21)
3.2 การจัดสรรกำลังผลิตที่เชื่อถือได้เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในปี 2580 ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) โรงไฟฟ้าตามนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ โดยส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ ขยะชุมชน เป็นต้น และโรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) โรงไฟฟ้าหลักประเภทเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยจัดสรรโรงไฟฟ้าหลักเพื่อความมั่นคงรายภูมิภาคแบ่งเป็น 7 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง ภาคใต้ และเขตนครหลวง ทั้งนี้ กฟผ. ยังเป็นผู้รักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้า (3) โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ประกอบด้วย ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ โซล่าร์ภาคประชาชน โซล่าร์ลอยน้ำและพลังน้ำ รวมทั้งพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ โดยมีเป้าหมายการรับซื้อเป็นรายปีตามแผน AEDP และรักษาระดับราคาไฟฟ้าขายปลีกไม่ให้สูงขึ้น และ (4) การอนุรักษ์พลังงานตามแผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) สามารถพิสูจน์ความเชื่อมั่นด้วยคุณภาพและสามารถแข่งขันด้วยราคาไม่เกินกว่า Grid Parity
3.3 สรุปสาระสำคัญร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ฉบับใหม่ ดังนี้ (1) จัดทำข้อมูลความต้องการไฟฟ้าทั้งในระบบ 3 การไฟฟ้า และความต้องการไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าไทย โดยข้อมูลที่ใช้จัดทำร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ฉบับใหม่ คือ ข้อมูลความต้องการไฟฟ้าในระบบ 3 การไฟฟ้า (2) ต้นทุนการอนุรักษ์พลังงานต้องสามารถแข่งขันกับโรงไฟฟ้าได้และสามารถพิสูจน์ได้ถึงผลประหยัด (3) คำนึงถึงความมั่นคงในทุกภูมิภาคและเขตนครหลวงมีความสมดุลทางไฟฟ้ามากขึ้น (4) มีกำลังผลิตที่เชื่อถือได้ (Reliable Capacity) เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้า ครอบคลุมกรณีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่สุดของแต่ละภูมิภาคหยุดเดินเครื่องฉุกเฉิน (5) กำลังผลิตไฟฟ้า ณ สิ้นปี 2560 อยู่ที่ 46,090 เมกะวัตต์ กำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ในช่วงปี 2561 – 2580 อยู่ที่ 56,431 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ ในช่วงปี 2561 – 2580 มีกำลังผลิตไฟฟ้าที่ปลดออกจากระบบ 25,310
เมกะวัตต์ รวมกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้นถึงปี 2580 อยู่ที่ 77,211 เมกะวัตต์ (6) สัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าแยกตามประเภทเชื้อเพลิง ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติมีสัดส่วนมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 53 รองลงมาคือ พลังงานหมุนเวียน ถ่านหินและลิกไนต์ พลังน้ำต่างประเทศ การอนุรักษ์พลังงาน และเชื้อเพลิงอื่นๆ อยู่ที่ร้อยละ 20 12 9 6 และ 0.06 ตามลำดับ (7) การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ณ ปี 2580 อยู่ที่ 103,845 พันตัน หรือ 0.287 กิโลกรัม CO2 ต่อหน่วย และ (8) ค่าไฟฟ้าขายปลีก ณ ปี 2580 อยู่ที่ 3.61 บาทต่อหน่วย
4. เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 ฝ่ายเลขานุการฯ ได้นำเสนอร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ฉบับใหม่ ต่อคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน โดยคณะกรรมการปฏิรูปฯ ได้เห็นชอบ
ในหลักการของร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับใหม่ โดยมีข้อสังเกตให้ไปดำเนินการจัดทำแผนพลังงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนต่อไป
มติของที่ประชุม เห็นชอบร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับใหม่ และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
กบง.ครั้งที่73 -วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 26/2561 (ครั้งที่ 73)
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 256 เวลา15.00 น.
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายศิริ จิระพงษ์พันธ์)
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายเพทาย หมุดธรรม)
แทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 64.45 67.78 และ 82.78 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับลดลงจากวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ 6.19 6.57 และ 5.61 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ 33.0740 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ราคาไบโอดีเซลช่วงวันที่ 12 - 18 พฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ลิตรละ 21.81 บาท และราคาเอทานอล ณ เดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ลิตรละ 23.31 บาท ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2561 มีสินทรัพย์รวม 39,770 ล้านบาท หนี้สินรวม 16,369 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิ 23,401 ล้านบาท แยกเป็นบัญชีน้ำมัน 28,428 ล้านบาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 5,027 ล้านบาท
2. โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 เป็นดังนี้ (1) อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ อยู่ที่ 8.0800 2.1200 2.1200 -0.7800 -6.3800 0.2000 และ -2.5000 บาทต่อลิตร ตามลำดับ (2) ค่าการตลาด อยู่ที่ 3.2706 2.5534 2.7195 2.5250 3.2630 2.4728 และ 2.7842 บาทต่อลิตร ตามลำดับ และ (3) ราคาขายปลีก อยู่ที่ 35.96 28.85 28.58 25.84 20.64 29.29 และ 26.29 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ประมาณการสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2561 มีรายรับในกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอลประมาณ 1,289 ล้านบาทต่อเดือน มีรายรับจากกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็วประมาณ 340 ล้านบาทต่อเดือน ภาพรวมกองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 1,639 ล้านบาทต่อเดือน และกลุ่มก๊าซ LPG มีรายจ่ายประมาณ 522 ล้านบาทต่อเดือน
3. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่มีแนวโน้มราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันเริ่มขยับสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันอยู่ในระดับที่เหมาะสม และราคาขายปลีกน้ำมันสะท้อนกับแนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลง ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอแนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังนี้ (1) แนวทางที่ 1 ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมัน ในช่วงระยะเวลาน้ำมันขาลง ให้ส่งผ่านไปยังประชาชนโดยลดราคาขายปลีกน้ำมันทั้งหมด และหากราคาขายปลีกน้ำมันยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ควรมีการกำหนดราคาขายปลีกขั้นต่ำในระดับที่เหมาะสมไว้ หากราคาขายปลีกต่ำกว่าราคาขั้นต่ำที่กำหนดไว้ ให้เริ่มเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ต่อไป และ (2) แนวทางที่ 2 เก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ทั้งหมด ในช่วงระยะเวลาน้ำมันขาลง และหากราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ควรมีการกำหนดระดับเพดานเงินกองทุนสูงสุดหรืออัตราเงินส่งเข้ากองทุนเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์สูงสุดที่เหมาะสมไว้ หากเงินกองทุนหรืออัตราเงินส่งเข้ากองทุนเฉลี่ยสูงกว่าที่กำหนดไว้ ให้เริ่มลดราคาขายปลีกน้ำมันต่อไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล และกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ดังนี้
น้ำมันเบนซิน เดิม 8.08 บาท/ลิตร ใหม่ 8.58 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.50 บาท/ลิตร
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 เดิม 2.12 บาท/ลิตร ใหม่ 2.62 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.50 บาท/ลิตร
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 เดิม 2.12 บาท/ลิตร ใหม่ 2.62 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.50 บาท/ลิตร
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 เดิม -0.78 บาท/ลิตร ใหม่ -0.28 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.50 บาท/ลิตร
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 เดิม -6.38 บาท/ลิตร ใหม่ -5.88 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.50 บาท/ลิตร
เฉลี่ยถ่วงน้ำหนักกลุ่มน้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล เดิม 1.43 บาท/ลิตร ใหม่ 1.93 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.50 บาท/ลิตร
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เดิม 0.20 บาท/ลิตร ใหม่ 0.70 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.50 บาท/ลิตร
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 เดิม -2.50 บาท/ลิตร ใหม่ -2.00 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.50 บาท/ลิตร
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
กบง.ครั้งที่72 -วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 25/2561 (ครั้งที่ 72)
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 13.30 น.
1. สถานการณ์พลังงานและแนวโน้มราคาพลังงานในตลาดโลก
3. โครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
4. แนวทางการส่งเสริมน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20
5. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายศิริ จิระพงษ์พันธ์)
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายเพทาย หมุดธรรม)
แทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน
เรื่องที่ 1 สถานการณ์พลังงานและแนวโน้มราคาพลังงานในตลาดโลก
สรุปสาระสำคัญ
สนพ. ได้รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้ (1) ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ มีทิศทางปรับตัวลดลง ปัจจัยหลักมาจากการที่รัฐมนตรีพลังงานประเทศซาอุดิอาระเบียได้ให้สัมภาษณ์ว่าพร้อม ที่จะผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนปริมาณน้ำมันดิบที่หายไปจากมาตรการคว่ำบาตรประเทศอิหร่าน ของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ประเทศสหรัฐฯ มีมาตรการผ่อนปรนให้หลายประเทศสามารถนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศอิหร่านได้ โดยประเทศจีนและอินเดียสามารถนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศอิหร่านได้ประมาณร้อยละ 50 จากปริมาณที่เคยนำเข้า ประกอบกับสงครามทางการค้าระหว่างประเทศจีนและประเทศสหรัฐฯ มีแนวโน้มผ่อนคลายลง เนื่องจากผลการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร กลางเทอมของสหรัฐฯ ซึ่งพรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากในสภาฯ ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องจับตามองคือการที่ประเทศซาอุดิอาระเบียได้หารือกับประเทศรัสเซียเกี่ยวกับการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลงในปีหน้า อย่างไรก็ดี ในระยะสั้นคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบในเดือนพฤศจิกายน 2561 จะปรับตัวลดลง (2) ราคาก๊าซ LPG มีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยราคา CP เดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ 532.50 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 122.50 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน (3) ราคา LNG เดือนตุลาคม 2561 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากมีแหล่งผลิตใหม่จากประเทศออสเตรเลีย และมีแหล่งผลิตที่อยู่ระหว่างดำเนินการในประเทศสหรัฐฯ อีก 2 แหล่ง ส่วนราคา LNG เดือนพฤศจิกายน 2561 คาดการณ์ว่าจะยังคงปรับตัวลดลงจากปัจจัยข้างต้น (4) ราคาถ่านหินเดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ 109 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจากเดือนก่อน แต่ทั้งนี้ ราคาถ่านหินในช่วงปลายปีมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปัจจัย อาทิ เหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ในเมืองเฉินตูประเทศจีนเกิดอุบัติเหตุ ประกอบกับธนาคารโลกไม่อนุมัติงบประมาณสนับสนุนการก่อสร้างเหมืองถ่านหินในประเทศโคโซโว รวมถึงนโยบายการควบคุมมลพิษของประเทศจีนทำให้มีการส่งออกถ่านหินลดลง และเข้าใกล้ฤดูหนาวทำให้หลายประเทศมีความต้องการถ่านหินมากขึ้น และ (5) โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ 1.92 บาทต่อลิตร สูงกว่าค่าการตลาดที่เหมาะสมซึ่งอยู่ที่ 1.80 บาทต่อลิตร ส่วนค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 อยู่ที่ 2.42 บาทต่อลิตร สูงกว่าค่าการตลาดที่เหมาะสมซึ่งอยู่ที่ 1.85 บาทต่อลิตร โดยค่าการตลาดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 2.15 บาทต่อลิตร อยู่ในระดับสูงกว่าค่าการตลาดเฉลี่ยที่เหมาะสมประมาณ 0.30 บาทต่อลิตร
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 ได้มีมติเห็นชอบ ขอความร่วมมือให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบโครงการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน (ครัวเรือนรายได้น้อย ร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร และอื่นๆ) ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีแนวทางอื่นมาทดแทน และการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการจัดประชารัฐสวัสดิการตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้ ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในวงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าตามที่กระทรวงพลังงานกำหนดจำนวน 45 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน (ใช้ 1 ครั้งต่อ 3 เดือน) กำหนดเริ่มใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ซึ่งการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวซ้ำซ้อนกับแนวทางการให้ความช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยในโครงการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน ที่ ปตท. ให้ความช่วยเหลืออยู่ กระทรวงพลังงานจึงได้มีหนังสือแจ้ง ปตท. ยกเลิกการช่วยเหลือและระงับการใช้สิทธิ์เฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย (18 กิโลกรัมต่อ 3 เดือน) ในโครงการบรรเทาผลกระทบฯ ส่วนการช่วยเหลือร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร (150 กิโลกรัมต่อเดือน) ปตท. ยังคงดำเนินการตามเดิมในอัตรากิโลกรัมละ 2.50 บาท ผลจากการช่วยเหลือชดเชยส่วนต่างจากโครงการดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 คิดเป็นปริมาณก๊าซ LPG 510.94 ล้านกิโลกรัม จำนวนเงินชดเชย 1,546.94 ล้านบาท และต่อมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ปตท. ได้มีหนังสือแจ้งว่าคณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้มีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการสนับสนุนช่วยเหลือโครงการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน เฉพาะกลุ่มร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ภายในวงเงิน 500 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 โครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
สรุปสาระสำคัญ
1. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกมีความผันผวน ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพ ของประชาชน รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงานศึกษาแนวทาง การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ และเป็นผู้มีรายได้น้อยที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ขึ้นทะเบียนกับกรมบัญชีกลาง ต่อมากรมการขนส่งทางบกได้แจ้งจำนวนผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะทั่วประเทศ จำนวน 183,896 ราย แยกเป็น กรุงเทพฯ 101,391 ราย (ร้อยละ 55) และภูมิภาค 82,525 ราย (ร้อยละ 45) โดยกรมบัญชีกลางตรวจสอบจำนวนผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะทั่วประเทศ จำนวน 183,896 ราย เป็นผู้ที่มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 40,096 ราย แบ่งเป็นในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 8,660 ราย คิดเป็นร้อยละ 22 ของผู้ได้รับสิทธิ์ (หรือร้อยละ 8.5 ของผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะในเขตกรุงเทพฯ) และส่วนภูมิภาค จำนวน 31,436 ราย คิดเป็นร้อยละ 78 ของผู้ได้รับสิทธิ์ (หรือร้อยละ 37.8 ของผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะในส่วนภูมิภาค) แนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ โดยให้ส่วนลดราคาน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอลหรือน้ำมันเบนซิน จำนวนลิตรละ 3 บาท ไม่เกิน 5 ลิตรต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 150 ลิตรต่อคนต่อเดือน วงเงินช่วยเหลือไม่เกิน 450 บาทต่อคนต่อเดือน โดยผู้ใช้สิทธิ์จะต้องใช้เครื่องรูดบัตร (EDC) ณ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่เข้าร่วมโครงการโดยต้องชำระค่าน้ำมันราคาปกติเต็มจำนวนไปก่อน จึงจะได้เงินช่วยเหลือคืนตามที่จ่ายจริง (Cashback) ไม่เกิน 450 บาท ณ ต้นเดือนถัดไป 1.5em;"> 2. กรมธุรกิจพลังงานได้เสนอแนวทางการดำเนินการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ประกอบอาชีพ ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ดังนี้ (1) ขอความร่วมมือให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สนับสนุนโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2561 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2562 โดยประเมินจำนวนเงินให้ความช่วยเหลืออยู่ที่ประมาณ 18 ล้านบาทต่อเดือน และ (2) กรมธุรกิจพลังงานจะหารือกรมบัญชีกลางเพื่อขอใช้เงินงบประมาณในโครงการประชารัฐสวัสดิการ ให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แทนการช่วยเหลือจาก ปตท.
มติของที่ประชุม
มอบหมายกรมธุรกิจพลังงานหารือกระทรวงการคลังเพื่อหาแนวทางการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และรายงานความคืบหน้าให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานทราบต่อไป
เรื่องที่ 4 แนวทางการส่งเสริมน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2561 ได้มีมติเห็นชอบ เรื่อง การส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ดังนี้ (1) สนับสนุนการผลิตและการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 (ที่มีสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลไม่น้อยกว่าร้อยละ 19 และไม่เกินร้อยละ 20 โดยปริมาตร) ให้มีราคาต่ำ เพื่อลดภาระต้นทุนค่าบริการขนส่งและค่าโดยสารสาธารณะ จึงมีมติให้กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง พิจารณาเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ในอัตรา 5.152 บาทต่อลิตร โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับน้ำมัน
แก๊สโซฮอลซึ่งจัดเก็บภาษีเฉพาะน้ำมันที่ผลิตจากฟอสซิล ในส่วนน้ำมันที่ได้รับจากเชื้อเพลิงชีวภาพจะยกเว้นภาษี
(2) เพื่อลดผลกระทบของการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ต่อประมาณการรายรับของงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2561 และ 2562 จึงมีมติให้กรมสรรพสามิตพิจารณาเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 0.13 บาทต่อลิตร เป็น 5.980 บาทต่อลิตร และ (3) เพื่อไม่ให้ผู้ใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วได้รับผลกระทบจากการเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิต จึงมีมติให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จ่ายเงินชดเชยราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มขึ้น 0.13 บาทต่อลิตร ต่อมาการประชุม กบง. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2561 ได้มีมติเห็นชอบเรื่องโครงสร้างราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ดังนี้ (1) หลักเกณฑ์การกำหนดราคา
ณ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 และ (2) การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ถูกกว่าราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 3 บาทต่อลิตร
2. การดำเนินการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ที่ผ่านมามี ดังนี้ (1) ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 จำนวน 8 ราย ได้จำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ให้ผู้ประกอบการขนส่ง จำนวน 80 แห่ง โดยมีรถขนส่งจำนวน 2,100 คัน และเรือจำนวน 64 ลำ โดยมีปริมาณที่ได้รับความเห็นชอบจำหน่าย 13.105 ล้านลิตร
ต่อเดือน (2) ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2561 มีปริมาณการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 10.446 ล้านลิตร ดูดซับไบโอดีเซล 2.088 ล้านลิตร เทียบเท่าน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) 1,816 ตัน คิดเป็นจำนวนเงินชดเชย 32.467 ล้านบาท และ (3) การขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มรถโดยสารสาธารณะขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ได้มีการเปิดตัวการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ในรถของ ขสมก. และ บขส. เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2561 โดยเป็นการทดลองใช้ในรถของ ขสมก. จำนวน 5 คัน และ บขส. จำนวน 3 คัน ระยะเวลาในการทดลอง 1 เดือน ซึ่งหลังจากพ้นระยะการทดลองใช้แล้วจะขยายฐานการใช้ในรถสาธารณะ ดังนี้ (1) รถ ขสมก. จำนวน 2,105 คัน (รถโดยสารธรรมดา รถโดยสารปรับอากาศ สีน้ำเงิน และรถโดยสาร EURO) ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 อยู่ที่ 5,040,000 ลิตรต่อเดือน ดูดซับไบโอดีเซลปริมาณ 1.008 ล้านลิตรต่อเดือน เทียบเท่า CPO 877,000 ตันต่อเดือน และ (2) รถ บขส. จำนวน 515 คัน
(ยังไม่รวมรถร่วมโดยสารปรับอากาศ) ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 อยู่ที่ 2,100,000 ลิตรต่อเดือน
ดูดซับไบโอดีเซลปริมาณ 0.420 ล้านลิตรต่อเดือน เทียบเท่า CPO 365,000 ตันต่อเดือน ปัจจุบันการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ในปี 2561 เฉลี่ย 63.03 ล้านลิตรต่อวัน ใช้ไบโอดีเซลอยู่ที่ 4.22 ล้านลิตรต่อวัน เทียบเท่า CPO 110,000 ตันต่อเดือน
3. ปัจจุบันมีมาตรการที่กำหนดให้ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 มีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 3 บาทต่อลิตร ในขณะที่ผู้ประกอบการขนส่งซื้อน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในราคาที่ได้ส่วนลดอยู่แล้ว ซึ่งหากเปลี่ยนมาใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20 จะได้ส่วนลดเพิ่มขึ้นประมาณ 1.00 - 1.50 บาทต่อลิตร และการเปลี่ยนมาใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20 ในช่วงแรกจะมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 10,000 บาทต่อคัน ดังนั้น หากมีการเพิ่มส่วนต่างราคาเป็น 5 บาทต่อลิตร เป็นเวลา 3 เดือน จะทำให้ผู้ประกอบการได้รับส่วนลดเพิ่มขึ้น ประมาณ 18,000 บาทต่อคันต่อ 3 เดือน (จากการใช้ประมาณ 3,000 ลิตรต่อคันต่อเดือน) ซึ่งจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการมากยิ่งขึ้น
มติของที่ประชุม เห็นชอบปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 จากชดเชย
2.50 บาทต่อลิตร เป็นชดเชย 4.00 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ต่ำกว่าราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 5 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลา 3 เดือน และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ออกประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2561 ถึงวันที่
28 กุมภาพันธ์ 2562
เรื่องที่ 5 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สรุปสาระสำคัญ 1. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 70.64 74.35 และ 88.39 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับลดลงจากวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 2.76 4.09 และ 3.52 เหรียญสหรัฐฯ
ต่อบาร์เรล ตามลำดับ อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ 33.0779 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ราคาไบโอดีเซลช่วงวันที่ 5 พฤศจิกายน - 11 พฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ลิตรละ 22.30 บาท และราคาเอทานอล
ณ เดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ลิตรละ 23.31 บาท ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 มีสินทรัพย์รวม 39,582 ล้านบาท หนี้สินรวม 16,388 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิ 23,194 ล้านบาท แยกเป็นบัญชีน้ำมัน 28,105 ล้านบาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 4,911 ล้านบาท
2. โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 เป็นดังนี้ (1) อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ อยู่ที่ 7.6800 1.7200 1.7200 -1.1800 -6.7800 0.2000 และ -2.5000 บาทต่อลิตร ตามลำดับ (2) ค่าการตลาด อยู่ที่ 3.2961 2.4250 2.5914 2.5163 3.6441 1.9198 และ 2.2762 บาทต่อลิตร ตามลำดับ และ (3) ราคาขายปลีก อยู่ที่ 36.84 29.45 29.18 26.44 20.94 29.59 และ 26.59 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ประมาณการสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2561 มีรายรับ
ในกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอลประมาณ 929 ล้านบาทต่อเดือน มีรายรับจากกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็วประมาณ 340 ล้านบาทต่อเดือน และภาพรวมกองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 1,279 ล้านบาทต่อเดือน
3. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่มีแนวโน้มราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กองทุนน้ำมันฯ
มีเงินสะสมสำหรับสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันตลาดโลกมีความผันผวน ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะส่งผลให้ค่าการตลาดเฉลี่ยของกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล และค่าการตลาดเฉลี่ยของน้ำมันทั้งหมด อยู่ที่ 2.27 และ 2.04 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ซึ่งจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล ดังกล่าวจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับเพิ่มขึ้น 279 ล้านบาทต่อเดือน จาก 1,311 ล้านบาทต่อเดือน เป็นมีรายรับ 1,590 ล้านบาทต่อเดือน
มติของที่ประชุม เห็นชอบปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล ดังนี้
น้ำมันเบนซิน เดิม 7.68 บาท/ลิตร ใหม่ 8.08 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.40 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 เดิม 1.72 บาท/ลิตร ใหม่ 2.12 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.40 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 เดิม 1.72 บาท/ลิตร ใหม่ 2.12 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.40 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 เดิม -1.18 บาท/ลิตร ใหม่ -0.78 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.40 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 เดิม -6.78 บาท/ลิตร ใหม่ -6.38 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.40 บาท/ลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
กบง.ครั้งที่71 -วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 24/2561 (ครั้งที่ 71)
วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 13.00 น.
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายศิริ จิระพงษ์พันธ์)
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายเพทาย หมุดธรรม)
แทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 73.40 78.44 และ 91.91 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับลดลง 1.55 2.84 และ 1.95 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ 33.2028 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ราคาไบโอดีเซลช่วงวันที่ 29 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ลิตรละ 22.52 บาท และราคาเอทานอล ณ เดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ลิตรละ 23.31 บาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2561 มีสินทรัพย์รวม 39,099 ล้านบาท หนี้สินรวม 15,745 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิ 23,354 ล้านบาท แยกเป็นบัญชีน้ำมันที่ 28,128 ล้านบาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบที่ 4,774 ล้านบาท
2. โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 เป็นดังนี้ (1) อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ อยู่ที่ 7.0800 1.1200 1.1200 -1.7800 -7.3800 -0.6000 และ -3.1000 บาทต่อลิตร ตามลำดับ (2) ค่าการตลาด อยู่ที่ 3.2402 2.4618 2.6302 2.6561 4.1736 2.1448 และ 2.3764 บาทต่อลิตร ตามลำดับ และ (3) ราคาขายปลีก อยู่ที่ 37.24 29.85 29.58 26.84 21.14 29.89 และ 26.89 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ประมาณการสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2561 มีรายรับ ในกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอลประมาณ 401 ล้านบาทต่อเดือน มีรายจ่ายจากกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็วประมาณ 1,064 ล้านบาทต่อเดือน ภาพรวมกองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่าย 652 ล้านบาทต่อเดือน
3. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่มีแนวโน้มราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กองทุน น้ำมันฯ มีเงินสะสมสำหรับสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันตลาดโลกมีความผันผวน ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 น้ำมัน แก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 ปรับเพิ่มขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะส่งผลให้ค่าการตลาดเฉลี่ยของกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล และค่าการตลาดเฉลี่ยของน้ำมันฯ ทุกชนิดอยู่ที่ 2.25 และ 1.98 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 1.8448 บาทต่อลิตร ซึ่งจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าวจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับเพิ่มขึ้น 903 ล้านบาทต่อเดือน จากติดลบ 652 ล้านบาทต่อเดือน เป็นมีรายรับ 251 ล้านบาทต่อเดือน โดยแยกเป็นกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอลมีรายรับเพิ่มขึ้น 372 ล้านบาทต่อเดือน จาก 401 ล้านบาทต่อเดือนเป็น 773 ล้านบาทต่อเดือน และกลุ่มดีเซลหมุนเร็ว มีรายจ่ายลดลง 531 ล้านบาทต่อเดือน จากมีรายจ่าย 1,064 ล้านบาทต่อเดือน เป็นมีรายจ่าย 533 ล้านบาทต่อเดือน
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
น้ำมันเบนซิน เดิม 7.08 บาท/ลิตร ใหม่ 7.68 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.60 บาท/ลิตร
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 เดิม 1.12 บาท/ลิตร ใหม่ 1.72 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.60 บาท/ลิตร
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 เดิม 1.12 บาท/ลิตร ใหม่ 1.72 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.60 บาท/ลิตร
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 เดิม -1.78 บาท/ลิตร ใหม่ -1.18 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.60 บาท/ลิตร
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 เดิม -7.38 บาท/ลิตร ใหม่ -6.78 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.60 บาท/ลิตร
เฉลี่ยถ่วงน้ำหนักกลุ่มเบนซิน และแก๊สโซฮอล เดิม 0.43 บาท/ลิตร ใหม่ 1.03 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.60 บาท/ลิตร
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เดิม -0.60 บาท/ลิตร ใหม่ 0.01 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.61 บาท/ลิตร
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วB20 เดิม -3.10 บาท/ลิตร ใหม่ -2.50 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.60 บาท/ลิตร
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) รับไปดำเนินการออกประกาศ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
2. มอบหมายให้ สนพ. พิจารณาค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 หากสูงกว่า 2.00 บาทต่อลิตร ให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเป็น 0.20 บาทต่อลิตร และให้ออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
กบง.ครั้งที่70 -วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 23/2561 (ครั้งที่ 70)
วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 11.30 น.
1. หลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายศิริ จิระพงษ์พันธ์)
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายเพทาย หมุดธรรม)
แทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน
เรื่องที่ 1 หลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2561 เห็นชอบหลักเกณฑ์ การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดย ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บาทต่อลิตร) เท่ากับ (1-X) ของราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วอ้างอิงราคากลางของตลาดภูมิภาคเอเชีย บวก (X) ของราคาไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน โดยที่ ค่า X เท่ากับร้อยละโดยปริมาตรไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์อัตราต่ำของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) และราคาไบโอดีเซล (บาทต่อลิตร) คือ ราคาอ้างอิง ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ตามหลักเกณฑ์ที่ กบง. เห็นชอบ ที่ผ่านมา ธพ. ได้ออกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กําหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2560 โดยให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีสัดส่วนไบโอดีเซลอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ถึง 7.0 ซึ่งปัจจุบันผู้ค้าน้ำมันผสมไบโอดีเซลอยู่ที่ร้อยละ 6.6 โดยปริมาตร ทั้งนี้ ปัจจุบัน ธพ. ได้จัดทำประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กําหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล โดยให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีสัดส่วนไบโอดีเซลอยู่ที่ร้อยละ 6.6 ถึง 7.0 โดยอยู่ในขั้นตอนการประกาศลง ราชกิจจานุเบกษา โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
2. สถานการณ์ผลผลิตปาล์ม ปี 2561 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้ประมาณการว่าจะมีปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมัน 15.389 ล้านตัน ขณะที่ผลการตรวจสอบของคณะทำงานตรวจสอบสต๊อกน้ำมันปาล์มคงเหลือทั้งระบบระดับจังหวัด ณ สิ้นเดือนกันยายน 2561 ปรากฏว่ามีสต๊อกน้ำมันปาล์มคงเหลือ 375,591 ตัน สูงกว่าระดับสต๊อกปกติของประเทศที่ควรจะมีที่ 250,000 ตัน ซึ่งทำให้ราคาผลปาล์มน้ำมันเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ต่ำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการดูดซับสต๊อกส่วนเกินจำนวน 125,591 ตัน เพื่อให้ปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบให้กลับอยู่ในภาวะสมดุล
3. เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับเพิ่มสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามประกาศ กรมธุรกิจพลังงาน ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยขอปรับปรุงค่า X จากเดิมเท่ากับ “ร้อยละโดยปริมาตรไบโอดีเซลประเภทเมทิล เอสเตอร์อัตราต่ำของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน” ขอแก้ไขเป็น “ร้อยละโดยปริมาตรไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์อัตราเฉลี่ยการใช้จริงของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน” โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป และมอบหมายให้ ธพ. ติดตามตรวจสอบการใช้ไบโอดีเซลผสมในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.8 ด้วยวิธีการและมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้มีปริมาณการใช้ ไบโอดีเซลสูงสุด ทั้งนี้ การเพิ่มสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วจากร้อยละ 6.5 ถึง 7.0 เป็นร้อยละ 6.6 ถึง 7.0 จะส่งผลให้อัตราเฉลี่ยการใช้จริงของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามประกาศ ธพ. อยู่ที่ร้อยละ 6.8 ซึ่งจะช่วย ดูดซับสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นประมาณ 62,000 ตันต่อปี และทำให้ต้นทุนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มขึ้นประมาณ 0.01 บาทต่อลิตร
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ดังนี้
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว = (1-X) ของราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วอ้างอิงราคากลางของตลาดภูมิภาคเอเชีย + (X) ของราคาไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
โดยที่ X = ร้อยละโดยปริมาตรไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์อัตราเฉลี่ยของน้ำมันดีเซล หมุนเร็วตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ไบโอดีเซล = ราคาอ้างอิงไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเห็นชอบ (บาทต่อลิตร)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วอ้างอิงราคากลางของตลาดภูมิภาคเอเชีย = (MOPS Gasoil 50 ppm + พรีเมียม) ที่ 600F x อัตราแลกเปลี่ยน /158.984
โดยที่ พรีเมียม = ค่าขนส่ง World Scale ด้วยเรือขนาด LR1 แบบ Long Term Charter (สิงคโปร์ – ศรีราชา) + ค่าขนส่งทางท่อ (ศรีราชา – กรุงเทพฯ) + ค่าประกันภัยร้อยละ 0.084 ของ C&F +ค่าสูญเสียร้อยละ 0.3 ของ CIF + ค่าสำรองน้ำมัน เพื่อความมั่นคง 0.68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
2. มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน ติดตามตรวจสอบการใช้ไบโอดีเซลผสมในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.8 ด้วยวิธีการและมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้มีปริมาณการใช้ไบโอดีเซลสูงสุด
กบง.ครั้งที่69 -วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 22/2561 (ครั้งที่ 69)
วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เวลา 08.00 น.
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายศิริ จิระพงษ์พันธ์)
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายเพทาย หมุดธรรม)
แทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วันที่ 20 เมษายน 2561 ได้มีมติเห็นชอบ ค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมาะสมที่ 1.85 บาทต่อลิตร และเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2561 กบง. มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลให้มีค่าใกล้ศูนย์สุทธิ ต่อมา กบง. เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2561 ได้มีมติเห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ ในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ในอัตราไม่เกิน 1.00 บาทต่อลิตร ในวงเงินไม่เกิน 6,000 ล้านบาท โดยสามารถชดเชยเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ ชดเชยในอัตรา 0.30 บาทต่อลิตร และมอบหมายให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (สบพน.) จัดทำรายงาน รายรับ/รายจ่าย และฐานะกองทุนน้ำมันฯ รายงาน กบง. ทราบทุกเดือน และเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561 กบง. มีมติเห็นชอบแนวทางการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ดังนี้ (1) กรณีราคาน้ำมันดิบดูไบไม่เกิน 87.5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ให้ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ ในการรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลงอีก 0.50 บาทต่อลิตร จากเดิมชดเชยไม่เกิน 1.00 บาทต่อลิตร เป็นชดเชยไม่เกิน 1.50 บาทต่อลิตร (2) กรณีราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ในช่วง 87.5 -92.5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ให้ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ ในการรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลงอีก 0.50 บาทต่อลิตร จากเดิมชดเชยไม่เกิน 1.50 บาทต่อลิตร เป็นชดเชยไม่เกิน 2.00 บาทต่อลิตร และ/หรือปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วขึ้นอีก 0.50 บาทต่อลิตร และ/หรือปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
2. สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2561 มีดังนี้ (1) น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 74.95 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (2) น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 81.28 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (3) น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 93.86 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (4) อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2561 อยู่ที่ 33.0969 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ (5) ราคาไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันวันที่ 22 - 26 ตุลาคม 2561 ลิตรละ 22.68 บาท และ (6) ราคาเอทานอล ณ เดือนตุลาคม 2561 ลิตรละ 23.31 บาท โดยฐานะกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมัน ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2561 มีสินทรัพย์รวม 38,534 ล้านบาท หนี้สินรวม 14,793 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิ 23,741 ล้านบาท โดยแยกเป็นบัญชีน้ำมัน 28,359 ล้านบาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 4,618 ล้านบาท จากสถานการณ์ราคาดังกล่าวข้างต้น ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2561 เป็นดังนี้ (1) ค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 อยู่ที่ 3.3302 2.5797 2.7468 2.8050 4.4961 1.9563 และ 2.1916 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนราคาขายปลีก อยู่ที่ 37.24 29.85 29.58 26.84 21.14 29.89 และ 26.89 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ปัจจุบันน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20 และน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E85 รัฐยังคงชดเชยราคา โดยกลุ่มของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลมีรายรับประมาณ 41 ล้านบาทต่อเดือน กลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีรายจ่ายประมาณ 1,122 ล้านบาทต่อเดือน และภาพรวมกองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่าย 1,071 ล้านบาทต่อเดือน
3. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่มีแนวโน้มราคาลดลงอย่างต่อเนื่องฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอแนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้มีเงินสะสมไว้ใช้ในสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกมีความผันผวน โดยมีหลักการ ดังนี้ (1) กรอบล่าง สำหรับน้ำมันกลุ่มเบนซิน และแก๊สโซฮอลให้ใช้อัตราปัจจุบัน ดังนี้ น้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 และน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 อยู่ที่ 6.68 0.72 0.72 -2.18 และ -7.78 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วให้ใช้กรอบล่างชดเชยที่อัตราไม่เกิน1.00 บาทต่อลิตร และ (2) กรอบบน สำหรับน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล ในช่วงราคาน้ำมันปรับตัวลดลงสามารถปรับเพิ่มอัตราส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มขึ้นจากกรอบล่างได้ไม่เกิน 1.00 บาทต่อลิตร ดังนี้ น้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 และน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 มีกรอบบนอยู่ที่ 7.68 1.72 1.72 -1.18 และ -6.78 ตามลำดับ ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วกรอบบนอยู่ที่ไม่เกิน 1.00 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ ในการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ให้ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ บริหารราคาน้ำมันเชื้อเพลิง การปรับเพิ่มหรือลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ให้ยึดหลักเกณฑ์ค่าการตลาดเฉลี่ยที่เหมาะสม ตามมติ กบง. วันที่ 20 เมษายน 2561 และมอบหมายให้ สบพน. จัดทำรายงาน รายรับ/รายจ่าย และฐานะกองทุนน้ำมันฯ ของบัญชีน้ำมัน เพื่อรายงาน กบง. ทราบทุกครั้ง
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบกรอบการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
กลุ่มน้ำมันเบนซิน และน้ำมันแก๊สโซฮอล* กรอบล่าง = 0.00 บาท/ลิตร กรอบบน = 1.00 บาท/ลิตร
- น้ำมันเบนซิน กรอบล่าง = 6.68 บาท/ลิตร กรอบบน = 7.68 บาท/ลิตร
- น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 กรอบล่าง = 0.72 บาท/ลิตร กรอบบน = 1.72บาท/ลิตร
- น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 กรอบล่าง = 0.72 บาท/ลิตร กรอบบน = 1.72บาท/ลิตร
- น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 กรอบล่าง = -2.18 บาท/ลิตร กรอบบน = -1.18 บาท/ลิตร
- น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 กรอบล่าง = -7.78 บาท/ลิตร กรอบบน = -6.78 บาท/ลิตร
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว กรอบล่าง = -1.50 บาท/ลิตร กรอบบน = 1.00 บาท/ลิตร
หมายเหตุ * อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการใช้แต่ละชนิดน้ำมันในกลุ่มน้ำมันเบนซิน และน้ำมันแก๊สโซฮอล
2. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบริหารราคาน้ำมันเชื้อเพลิงโดยปรับเพิ่มหรือลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามกรอบข้อ 1 โดยสามารถปรับได้โดยการรักษาระดับค่าการตลาดที่เหมาะสมและส่วนต่างราคาขายปลีก ที่คำนึงถึงค่าความร้อนของชนิดเชื้อเพลิง และมอบหมายให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) จัดทำรายงาน รายรับ/รายจ่าย และฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อรายงานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ทราบทุกครั้ง
กบง. ครั้งที่68 -วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2561 พ.ศ. 2561
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 21/2561 (ครั้งที่ 68)
วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2561 เวลา 13.30 น.
1. สถานการณ์พลังงานและแนวโน้มราคาพลังงานในตลาดโลก
2. การขอนำส่งเงินและขอรับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากโรงโอเลฟินส์
3. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
4. การขอผ่อนผันนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงฝากกระทรวงการคลัง
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายศิริ จิระพงษ์พันธ์)
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายเพทาย หมุดธรรม)
แทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน
เรื่องที่ 1 สถานการณ์พลังงานและแนวโน้มราคาพลังงานในตลาดโลก
สรุปสาระสำคัญ
สนพ. ได้รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้ (1) ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น ปัจจัยหลักมาจากการที่ประเทศสหรัฐฯ ประกาศมาตรการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันดิบของประเทศอิหร่านในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 ทำให้หลายประเทศเริ่มลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน เช่น ประเทศจีนลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบน้ำมันดิบจากจีนลงร้อยละ 50 และประเทศอินเดียหยุดการซื้อน้ำมันดิบจากอิหร่านทั้งหมด ประกอบกับปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศเวเนซุเอลาส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ ประเทศซาอุดิอาราเบียและประเทศรัสเซียได้ประกาศปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบเพื่อทดแทนปริมาณน้ำมันดิบที่หายไปจากมาตรการคว่ำบาตรประเทศอิหร่าน ทำให้มีการคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบในเดือนตุลาคม 2561 จะยังทรงตัวอยู่ที่ 83 – 88 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (2) ราคาก๊าซ LPG มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรประเทศอิหร่านและสงครามทางการค้าระหว่างประเทศจีนและประเทศสหรัฐฯ โดยราคา CP เดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ 655 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน เพิ่มขึ้น 37.5 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน จากเดือนก่อนหน้า (3) ราคา LNG เดือนกันยายน 2561 ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากหลายประเทศเพิ่มปริมาณการสำรองเพื่อรองรับความต้องการใช้ในช่วงฤดูหนาว ประกอบกับแหล่งผลิตก๊าซ LNG Asgard และ Sakhalin ของประเทศรัสเซียและประเทศบรูไนหยุดผลิตฉุกเฉิน ส่วนราคาก๊าซ LNG เดือนตุลาคม 2561 คาดการณ์ว่าจะยังคงปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากประเทศจีนปรับเพิ่มภาษีนำเข้าก๊าซ LNG จากสหรัฐอเมริกา (4) ราคาถ่านหินมีทิศทางปรับตัวลดลง โดยเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ 113.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เนื่องจากค่าเงินของประเทศผู้ผลิตถ่านหิน เช่น อินโดนีเซีย และจีน การอ่อนค่าลง รวมทั้งประเทศสหรัฐฯ ประสบปัญหาพายุเฮอร์ริเคนส่งผลกระทบต่อการส่งออกถ่านหิน รวมถึงนโยบายการควบคุมมลพิษของประเทศจีนทำให้มีส่งออกถ่านหินลดลง ทั้งนี้ ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อราคาถ่านหินในช่วงปลายปี คือ การเจรจาระหว่างผู้ผลิตถ่านหินจากประเทศออสเตรเลีย กับโรงไฟฟ้าประเทศญี่ปุ่น และ (5) โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2561 ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ 1.24 บาทต่อลิตร ต่ำกว่าค่าการตลาดที่เหมาะสมซึ่งอยู่ที่ 1.80 บาทต่อลิตร ส่วนค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อยู่ที่ 1.83 บาทต่อลิตร อยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าการตลาดที่เหมาะสม ซึ่งอยู่ที่ 1.85 บาทต่อลิตร โดยค่าการตลาดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 1.53 บาทต่อลิตร อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าการตลาดเฉลี่ยที่เหมาะสมประมาณ 0.32 บาทต่อลิตร
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2559 มีมติเห็นชอบ การดำเนินงานเพื่อเปิดเสรีธุรกิจก๊าซ LPG โดยกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรือชดเชยสำหรับก๊าซที่ผลิตในราชอาณาจักรโดยโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก เท่ากับส่วนต่างระหว่างราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่น และราคาโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก และกำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก จาก CP-20 เป็น CP เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (บริษัท PTTGC) ได้มีหนังสือสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) แจ้งว่า บริษัท PTTGC นำบิวทาไดอีนเหลว จากโรงโอเลฟินส์มาทำการผลิตเป็นก๊าซ LPG จำนวน 5,000 ตัน ในเดือนมิถุนายนและเดือนกรกฎาคม 2560 เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าเป็นครั้งแรก และขอสอบถามว่าบริษัท PTTGC เข้าข่ายที่จะต้องนำส่งเงินกองทุนน้ำมันฯ และได้รับเงินชดเชยเงินจากกองทุนน้ำมันฯ ตามประกาศ กบง. ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2560 หรือไม่ ทั้งนี้บริษัท PTTGC ได้นำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ไปก่อนตามประกาศ กบง. ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2560 ข้อ 3 (2) และขอสงวนสิทธิ์ในการขอคืนเงินจากกองทุนน้ำมันฯ หากทราบความชัดเจนว่าไม่ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ
2. เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 กบง. ได้มีมติเห็นชอบการนำส่งเงินและขอรับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ กรณีการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากโรงโอเลฟินส์ ดังนี้ (1) กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงโอเลฟินส์ เท่ากับ CP เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยสำหรับก๊าซที่ผลิต ในราชอาณาจักรจากโรงโอเลฟินส์ เท่ากับส่วนต่างระหว่างราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นและโรงโอเลฟินส์ ทั้งนี้มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. ฉบับที่ 17/2560 เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนและอัตราเงินชดเชยสำหรับก๊าซที่ผลิตในราชอาณาจักร จากโรงโอเลฟินส์ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 และ (2) มอบหมายให้ สนพ. หารือประเด็นปัญหาข้อกฎหมายไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เกี่ยวกับการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนและอัตราเงินชดเชยสำหรับก๊าซที่ผลิตในราชอาณาจักรจากโรงโอเลฟินส์ โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2560 ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 อันมีผลทำให้โรงโอเลฟินส์มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมีสิทธิได้รับเงินชดเชยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวได้หรือไม่
3. เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2560 สนพ. ได้มีหนังสือถึง สคก. เพื่อหารือประเด็นข้อกฎหมายดังกล่าว ซึ่ง สคก. ได้มีหนังสือแจ้งผลตามบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2561 ว่าโรงโอเลฟินส์ไม่มีหน้าที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนและไม่อาจได้รับเงินชดเชยในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2560 ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ตามประกาศ กบง. ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2560 และไม่มีเหตุที่ กบง.จะต้องออกประกาศให้โรงโอเลฟินส์นำส่งเงินเข้ากองทุนและมีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากกองทุนในช่วงเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่3 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วันที่ 28 กันยายน 2561 ได้มีมติเห็นชอบแนวทาง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยให้ฝ่ายเลขานุการฯ ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ในอัตราไม่เกิน 1.00 บาทต่อลิตร ในวงเงินไม่เกิน 6,000 ล้านบาท โดยสามารถชดเชยเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ ชดเชยในอัตรา 0.30 บาทต่อลิตร และมอบหมายให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.) จัดทำรายงาน รายรับ/รายจ่าย และฐานะกองทุนน้ำมันฯ ของบัญชีน้ำมัน เพื่อรายงาน กบง. ทราบทุกเดือน และต่อมาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2561 กบง. ได้มีมติมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำแนวทางบรรเทาผลกระทบของราคาน้ำมันดิบต่อราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยให้นำเสนอต่อ กบง. ในการประชุมครั้งถัดไป
2. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2561 มีดังนี้ (1) น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 82.98 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (2) น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 93.40 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (3) น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 99.70 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (4) อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2561 อยู่ที่ 33.0500 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ (5) ราคาไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันวันที่ 8-14 ตุลาคม 2561 ลิตรละ 22.69 บาท และ (6) ราคาเอทานอล ณ เดือนตุลาคม 2561 ลิตรละ 23.31 บาท โดยฐานะกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันฯ ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2561 มีสินทรัพย์รวม 38,852 ล้านบาท หนี้สินรวม 14,260 ล้านบาท ฐานะกองทุนสุทธิ 24,592 ล้านบาท โดยแยกเป็นบัญชีน้ำมัน 28,919 ล้านบาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 4,327 ล้านบาท จากสถานการณ์ราคาดังกล่าวข้างต้น ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2561 เป็นดังนี้ (1) ค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 อยู่ที่ 2.3601 1.8314 1.9988 2.3032 4.7209 1.2389 และ 1.2224 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 อยู่ที่ 38.84 31.45 31.18 28.44 22.04 29.89 และ 26.89 บาทต่อลิตร ตามลำดับ โดยสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ ปัจจุบันน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20 และน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E85 รัฐยังคงชดเชยราคา แต่เข้าใกล้ ศูนย์-สุทธิ ในกลุ่มของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลแล้ว ดังนั้น ประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันฯ ประจำเดือนตุลาคม 2561 มีรายรับในกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอลประมาณ 41 ล้านบาทต่อเดือน ในขณะที่กองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่ายจากกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็วประมาณ 1,869 ล้านบาทต่อเดือน โดยภาพรวมกองทุนน้ำมันฯ มีสภาพคล่องติดลบ 1,817 ล้านบาทต่อเดือน
3. ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอแนวทางการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นในวงเงินไม่เกิน 16,200 ล้านบาท ดังนี้ (1) เมื่อราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนก่อนหน้าไม่เกิน 85 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ ในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยปรับเพิ่มอัตราการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วอีก 0.50 บาทต่อลิตร จากเดิมชดเชย 1.00 บาทต่อลิตร เป็นชดเชยไม่เกิน 1.50 บาทต่อลิตร (2) เมื่อราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนก่อนหน้าอยู่ระหว่าง 85 – 87.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ โดยใช้อัตราการชดเชยที่ 1.50 บาทต่อลิตร และปรับเพิ่มราคาขายปลีกเพิ่มขึ้นอีก 0.50 บาทต่อลิตร จากเดิม 29.89 บาทต่อลิตร เป็น 30.39 บาทต่อลิตร (3) เมื่อราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนก่อนหน้าอยู่ระหว่าง 87.5 - 90 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ โดยใช้อัตราการชดเชยที่ 1.50 บาทต่อลิตร ปรับเพิ่มราคาขายปลีกเพิ่มขึ้นอีก 0.50 บาทต่อลิตร จากเดิม 29.89 บาทต่อลิตร เป็น 30.39 บาทต่อลิตร และปรับลดภาษีสรรพสามิตลง 0.50 บาทต่อลิตร จากเดิม 5.98 บาทต่อลิตร เป็น 5.48 บาทต่อลิตร และ (4) เมื่อราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนก่อนหน้าเกิน 90 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หากดำเนินการตามแนวทางข้อ (1) – (3) แล้ว และวงเงินการช่วยเหลือของกองทุนน้ำมันฯ หมดแล้ว และราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้กองทุนน้ำมันฯ ทำการกู้เงินเพิ่ม 20,000 ล้านบาท และใช้กลไกการบรรเทาผลกระทบตามแนวทางข้อ (1) – (3) ตามลำดับ
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบแนวทางการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ดังนี้
1.1 กรณีราคาน้ำมันดิบดูไบไม่เกิน 87.5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ให้ใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลงอีก 0.50 บาทต่อลิตร จากเดิมชดเชยไม่เกิน 1.00 บาทต่อลิตร เป็นชดเชยไม่เกิน 1.50 บาทต่อลิตร
1.2 กรณีราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ในช่วง 87.5 - 92.5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ให้ใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลงอีก 0.50 บาทต่อลิตร จากเดิมชดเชยไม่เกิน 1.50 บาทต่อลิตร เป็นชดเชยไม่เกิน 2.00 บาทต่อลิตร และ/หรือปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วขึ้นอีก 0.50 บาทต่อลิตร และ/หรือปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
2. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ หารือกับกระทรวงการคลัง กรณีมีความจำเป็นต้องปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
เรื่องที่4 การขอผ่อนผันนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงฝากกระทรวงการคลัง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 ได้ออกประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เรื่อง มาตรฐานการเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารพัสดุ การบัญชี การรายงานทางการเงิน และการตรวจสอบภายในของทุนหมุนเวียน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 กำหนดให้ทุนหมุนเวียนดำเนินการเปิดบัญชีและนำเงินฝากที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ซึ่งรวมถึงกองทุนน้ำมันฯ ด้วย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2561 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติมอบหมายให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.) ดำเนินการขอยกเว้นการเปิดบัญชีและนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปฝากที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และขอฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐต่อไป
2. เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กบง. ได้มีหนังสือถึงกรมบัญชีกลาง เพื่อขอยกเว้นการเปิดบัญชีและการนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปฝากที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และขอฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ตามมติ กบง. ต่อมา เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2561 กรมบัญชีกลางได้มีหนังสือถึง สนพ. แจ้งว่า เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2561 คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนได้พิจารณาในเรื่องดังกล่าว และได้มีมติเห็นชอบให้นำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปจัดหาผลประโยชน์ได้ในวงเงิน 3,000 ล้านบาท เพื่อไว้ใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนน้ำมันฯ สำหรับเงินส่วนที่เหลือให้นำฝากกระทรวงการคลัง ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนฯ
3. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้หารือกรมบัญชีกลางโดยแจ้งว่ามติคณะกรรมการนโยบายการบริหาร ทุนหมุนเวียนเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2561 นั้น ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ กบง. ที่ให้ขอยกเว้นการนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปฝากกระทรวงการคลัง โดยหากนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปจัดหาผลประโยชน์ได้ทั้งหมด จะสามารถนำดอกเบี้ยที่ได้มาช่วยเพิ่มกรอบวงเงินกองทุนน้ำมันฯ สำหรับใช้ในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งช่วยในส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนน้ำมันฯ ซึ่งต้องจัดสรรให้หน่วยงาน ที่ปฏิบัติงานสนับสนุนการบริหารกองทุนน้ำมันฯ ได้แก่ สนพ. กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และ สบพน. นอกจากนี้การรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ของกองทุนน้ำมันฯ จะผันแปรไปตามสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันมีความผันผวนและมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2561 อยู่ที่ 24,592 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ประมาณ 2,986 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งหากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงเกิน 80 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล คาดว่ากองทุนน้ำมันฯ จะสามารถรักษาเสถียรภาพราคาได้ประมาณ 8 เดือน ดังนั้น กรมบัญชีกลางจึงได้มีข้อเสนอว่าให้ กบง. ทำหนังสือขอผ่อนผันนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ฝากกระทรวงการคลัง ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนฯ เพื่อกรมบัญชีกลางจะได้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนพิจารณาในการประชุมช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2561
มติของที่ประชุม
มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำหนังสือถึงกรมบัญชีกลาง เพื่อขอผ่อนผันการเปิดบัญชีและนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปฝากที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง โดยให้สามารถฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
กบง. ครั้งที่67 -วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 20/2561 (ครั้งที่ 67)
วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เวลา 15.30 น. น.
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. รายงานสถานการณ์ก๊าซ LPG ในรอบเดือนกันยายน - ตุลาคม 2561
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายศิริ จิระพงษ์พันธ์)
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายเพทาย หมุดธรรม)
แทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2561 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เห็นชอบแนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วโดยให้ฝ่ายเลขานุการฯ ใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ในอัตราไม่เกิน 1.00 บาทต่อลิตร ในวงเงินไม่เกิน 6,000 ล้านบาท และหากเกินวงเงินที่กำหนดให้นำเสนอ กบง.พิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง รวมทั้งมอบหมายให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (สบพน.) จัดทำรายงาน รายรับ/รายจ่าย และฐานะกองทุนน้ำมันฯ ของบัญชีน้ำมัน เพื่อรายงาน กบง. ทราบทุกเดือน
2. เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2561 สนพ. ได้ดำเนินการออกประกาศ ดังนี้ (1) ประกาศ กบง. ฉบับที่ 62 ปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันดีเซลเป็น 0.60 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลยังคงเดิมที่ 29.89 บาทต่อลิตร โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2561 (2) ประกาศ กบง. ฉบับที่ 63 ปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันดีเซลเป็น 0.90 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลยังคงเดิมที่ 29.89 บาทต่อลิตร โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2561 และ (3) ประกาศ กบง. ฉบับที่ 64 ปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันดีเซลเป็น 1.00 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลยังคงเดิมที่ 29.89 บาทต่อลิตร โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2561 แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2561 มีดังนี้ (1) น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 84.40 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (2) น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 93.71 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (3) น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 100.63 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (4) อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2561 อยู่ที่ 32.7834 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ (5) ราคาไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันวันที่ 1-7 ตุลาคม 2561 ลิตรละ 22.97 บาท และ (6) ราคาเอทานอล ณ เดือน ตุลาคม 2561 ลิตรละ 23.31 บาท โดยฐานะกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันฯ ณ วันที่ 30 กันยายน 2561 มีสินทรัพย์รวม 25,142 ล้านบาท หนี้สินรวม 4,071 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิ 25,142 ล้านบาท แยกเป็นบัญชีน้ำมัน 29,213 บาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 4,071 ล้านบาท
3. ผลของสถานการณ์ราคาดังกล่าวข้างต้น ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2561 เป็นดังนี้ (1) ค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 อยู่ที่ 2.9181 2.3812 2.5441 2.8440 5.0239 1.2013 และ 1.1523 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 อยู่ที่ 39.34 31.95 31.68 28.94 22.34 29.89 และ 26.89 บาทต่อลิตร ตามลำดับ โดยสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ ปัจจุบันน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20 และน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E85 รัฐยังคงชดเชยราคา แต่เข้าใกล้ ศูนย์-สุทธิ ในกลุ่มของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลแล้ว ดังนั้น ประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันฯ ประจำเดือนตุลาคม 2561 มีรายรับในกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอลประมาณ 37 ล้านบาทต่อเดือน ในขณะที่กองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่ายจากกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็วประมาณ 1,809 ล้านบาทต่อเดือน โดยภาพรวมกองทุนมีสภาพคล่องติดลบ 1,761 ล้านบาทต่อเดือน
4. ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอแนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในหลักการ Half – Half Concept โดยปรับเพิ่มอัตราการชดเชยราคาน้ำมันดีเซล จากเดิมชดเชย 1.00 บาทต่อลิตร เป็นชดเชยไม่เกิน 2.00 บาทต่อลิตร ในวงเงินไม่เกิน 6,000 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (1) แบบที่ 1 กองทุนช่วยก่อนในครั้งแรก ต่อไปหากราคายังสูงขึ้นให้ปรับราคาขายปลีกขึ้นสลับกันไป โดยปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชย 0.40 บาทต่อลิตร จากชดเชย 1.00 บาทต่อลิตร เป็นชดเชย 1.40 บาทต่อลิตร ราคาขายปลีกคงเดิมที่ 29.89 บาทต่อลิตร และปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยกองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 จาก 3.10 บาทต่อลิตร เป็น 3.55 บาทต่อลิตร เพื่อรักษาส่วนต่างราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ให้ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 3 บาทต่อลิตร ซึ่งจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น 723 ล้านบาทต่อเดือน จากติดลบ 1,761 ล้านบาทต่อเดือน เป็นติดลบ 2,484 ล้านบาทต่อเดือน (2) แบบที่ 2 กองทุนช่วยครึ่งหนึ่ง และราคาขายปลีกปรับขึ้นครึ่งหนึ่งทุกครั้ง โดยปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชย 0.20 บาทต่อลิตร จากชดเชย 1.00 บาทต่อลิตร เป็นชดเชย 1.20 บาทต่อลิตร และราคาขายปลีกเพิ่มขึ้น 0.20 บาทต่อลิตร จาก 29.89 บาทต่อลิตร เป็น 30.09 บาทต่อลิตร และปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยกองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 จาก 3.10 บาทต่อลิตร เป็น 3.35 บาทต่อลิตร ซึ่งจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น 361 ล้านบาทต่อเดือน จากติดลบ 1,761 ล้านบาทต่อเดือน เป็นติดลบ 2,123 ล้านบาทต่อเดือน
มติของที่ประชุม
มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำข้อเสนอแนวทางบรรเทาผลกระทบของราคาน้ำมันดิบต่อราคา ขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานในการประชุมครั้งต่อไป
เรื่องที่ 2 รายงานสถานการณ์ก๊าซ LPG ในรอบเดือนกันยายน - ตุลาคม 2561
สรุปสาระสำคัญ
1. จากแนวโน้มสถานการณ์ราคาก๊าซ LPG Cargo และค่าใช้จ่ายนำเข้า (X) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคานำเข้าก๊าซ LPG ที่ใช้คำนวณราคา ณ โรงกลั่น ช่วงวันที่ 25 กันยายน – 8 ตุลาคม 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 21.8774 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่นที่อ้างอิงราคานำเข้า ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (Import Parity) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6663 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 21.7078 บาทต่อกิโลกรัม (660.0887 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) เป็น 22.3741 บาทต่อกิโลกรัม (681.9661 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) ทั้งนี้ จากสถานการณ์ราคาก๊าซ LPG ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น กองทุนน้ำมันฯ ได้มีการปรับเพิ่มการชดเชยจาก 6.9153 บาทต่อกิโลกรัม เป็นชดเชย 7.5816 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG (ก๊าซหุงต้ม) ขนาดถัง 15 กิโลกรัม อยู่ที่ 363 บาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่ายที่ 36.38 ล้านบาทต่อวัน
2. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 30 กันยายน 2561 มีฐานะสุทธิ 25,142 ล้านบาท แยกเป็นบัญชีน้ำมัน 29,213 ล้านบาท บัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 4,071 ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนการผลิตและจัดหา (กองทุนน้ำมันฯ#1) มีรายรับ 48.36 ล้านบาทต่อวัน และในส่วนการจำหน่ายภาคเชื้อเพลิง (กองทุนน้ำมันฯ #2) มีรายจ่าย 84.74 ล้านบาทต่อวัน ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่าย 36.38 ล้านบาทต่อวัน
3. ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ที่ผู้ค้ามาตรา 7 แจ้งต่อ สนพ. โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เปลี่ยนแปลงราคาจำหน่ายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง (ก๊าซหุงต้ม) ขนาด 15 กิโลกรัม ดังนี้ (1) เมื่อวันที่ 4 - 10 พฤษภาคม 2561 ราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ 353 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อถัง ในขณะที่ราคาก๊าซ LPG Cargo อยู่ที่ 490.85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน (2) เมื่อวันที่ 11 – 15 พฤษภาคม 2561 ราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ 364 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ปรับเพิ่มขึ้น 11 บาทต่อถัง ในขณะที่ราคาก๊าซ LPG Cargo อยู่ที่ 507.88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน (3) เมื่อวันที่ 16 - 21 พฤษภาคม 2561 ราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ 372 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ปรับเพิ่มขึ้น 8 บาทต่อถัง ในขณะที่ราคาก๊าซ LPG Cargo อยู่ที่ 519.40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน (4) เมื่อวันที่ 22 - 24 พฤษภาคม 2561 ราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ 395 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ปรับเพิ่มขึ้น 23 บาทต่อถัง ในขณะที่ราคาก๊าซ LPG Cargo อยู่ที่ 563.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน (5) เมื่อวันที่ 25 -27 พฤษภาคม 2561 ราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ 365 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ปรับลดลง 30 บาทต่อถัง ในขณะที่ราคาก๊าซ LPG Cargo อยู่ที่ 563.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน และ (6) ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม - 8 ตุลาคม 2561 ราคาขายปลีกก๊าซ LPG คงระดับอยู่ที่ 363 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ปรับลดลง 2 บาทต่อถัง ในขณะที่ราคาก๊าซ LPG Cargo ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2561 อยู่ที่ 559.00 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน และ ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561 อยู่ที่ 645.15 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
กบง. ครั้งที่66 - วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 19/2561 (ครั้งที่ 66)
วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 09.00 น.
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายศิริ จิระพงษ์พันธ์)
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายเพทาย หมุดธรรม)
แทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 มีมติรับทราบหลักการ การใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการบริหารจัดการราคาน้ำมัน ดังนี้ (1) กองทุนน้ำมันฯ ช่วยครึ่งหนึ่งและปรับราคาขายปลีกครึ่งหนึ่ง (Half – Half Concept) เมื่อราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวสูงขึ้นจนกระทั่งแตะราคาเริ่มต้น (Trigger Point) ที่ 60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล (2) กองทุนน้ำมันฯ จะช่วยเหลือราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลและน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 สูงสุดที่ไม่เกิน 3 บาทต่อลิตร ขณะที่น้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลชนิดอื่น ให้กองทุนน้ำมันฯ รักษาระดับราคาขายปลีกเพื่อส่งเสริมการใช้เอทานอลต่อไป (3) กำหนดเพดานราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ไม่เกิน 29.99 บาทต่อลิตร แต่ไม่กำหนดเพดานราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล (4) กำหนดกรอบวงเงินการใช้เงินกองทุนในการรักษาเสถียรภาพราคาไว้ไม่เกิน 15,000 บาท แบ่งเป็น กลุ่มน้ำมันดีเซลที่ 10,000 ล้านบาท และกลุ่มน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ 5,000 ล้านบาท (5) ใช้การลดอัตราภาษีสรรพสามิตก็ต่อเมื่อ กองทุนน้ำมันฯ ช่วยเหลือราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลจนถึง 3 บาทต่อลิตร หรือระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลแตะ 29.99 บาทต่อลิตร หรือช่วยเหลือจนเต็มกรอบวงเงิน และต่อมาเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561 กบง. มีมติเห็นชอบแนวทางบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยมีเงื่อนไขว่า หากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วสูงเกินกว่า 30 บาทต่อลิตร ให้ฝ่ายเลขานุการฯ ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ บริหารราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร โดยปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลงอีก 0.15 บาทต่อลิตร จากเดิมชดเชยที่ 0.15 บาทต่อลิตร เป็นชดเชยที่ 0.30 บาทต่อลิตร
2. สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 27 กันยายน 2561 มีดังนี้ (1) น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 80.45 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (2) น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 91.87 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (3) น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 96.81 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (4) อัตราแลกเปลี่ยน อยู่ที่ 32.6129 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ (5) ราคาไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันวันที่ 24-30 กันยายน 2561 ลิตรละ 23.31 บาท (5) ราคาเอทานอล ณ เดือน กันยายน 2561 ลิตรละ 23.40 บาท โดยฐานะกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมัน ณ วันที่ 23 กันยายน 2561 มีสินทรัพย์รวม 36,565 ล้านบาท หนี้สินรวม 12,864 ล้านบาท ทั้งนี้ กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิ 25,462 ล้านบาท ซึ่งจากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีก จากมติ กบง. เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561 สนพ. ได้ออกประกาศ 2 ฉบับ ดังนี้ (1) ประกาศ กบง. ฉบับที่ 57 ปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันดีเซล 0.15 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 29.89 บาทต่อลิตร โดยให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561 และ (2) ประกาศ กบง. ฉบับที่ 61 ปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันดีเซลเป็น 0.30 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลยังคงเดิมที่ 29.89 บาทต่อลิตร โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2561
3. จากราคาน้ำมันเบนซินและราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลก อัตราแลกเปลี่ยน และราคาพลังงานทดแทน ส่งผลให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 28 กันยายน 2561 เป็นดังนี้ (1) ค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 อยู่ที่ 2.7142 2.1204 2.2808 2.5197 4.7185 1.3311 และ 1.8258 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 อยู่ที่ 38.54 31.15 30.88 28.14 21.94 29.89 และ 26.89 บาทต่อลิตร ตามลำดับ โดยสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ ปัจจุบันน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20 และน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E85 รัฐยังคงชดเชยราคา แต่เข้าใกล้ ศูนย์-สุทธิ ในกลุ่มของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลแล้ว ดังนั้น กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับในกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอลประมาณ 36 ล้านบาทต่อเดือน น้ำมันเตา 10 ล้านบาทต่อเดือน ในขณะที่กองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่ายจากกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็วประมาณ 265 ล้านบาทต่อเดือน โดยภาพรวมกองทุนในส่วนของน้ำมันฯ มีสภาพคล่องติดลบ 219 ล้านบาทต่อเดือน
4. ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอแนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในหลักการ Half – Half Concept ดังนี้ (1) แบบที่ 1 ถ้าราคาขึ้น 0.40 - 0.60 บาทต่อลิตร กองทุนช่วยก่อนในครั้งแรก ต่อไปหากราคายังสูงขึ้นให้ปรับราคาขายปลีกขึ้นสลับกันไป โดยปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชย 0.40 บาทต่อลิตร จากชดเชย 0.30 บาทต่อลิตร เป็นชดเชย 0.70 บาทต่อลิตร ซึ่งส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น 699 ล้านบาทต่อเดือน จากติดลบ 481 ล้านบาทต่อเดือน เป็นติดลบ 1,180 ล้านบาทต่อเดือน หรือแบบที่ 2 ถ้าราคาขึ้น 0.40 - 0.60 บาทต่อลิตร กองทุนช่วยครึ่งหนึ่ง และราคาขายปลีกปรับขึ้นครึ่งหนึ่งทุกครั้ง และขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชย 0.20 บาทต่อลิตร จากชดเชย 0.30 บาทต่อลิตร เป็นชดเชย 0.50 บาทต่อลิตร ซึ่งจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น 350 ล้านบาทต่อเดือน จากติดลบ 481 ล้านบาทต่อเดือน เป็นติดลบ 830 ล้านบาทต่อเดือน (2) ขอความเห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ บริหารราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยปรับเพิ่มหรือลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วได้ในกรอบไม่เกิน 1.30 บาทต่อลิตร (3) ขอความเห็นชอบใช้กองทุนน้ำมันฯ ในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ในส่วนของบัญชีน้ำมันได้ไม่เกิน 10,000 ล้านบาท และมอบหมายให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (สบพน.) จัดทำรายงาน รายรับ/รายจ่าย และฐานะกองทุนน้ำมันฯ ของบัญชีน้ำมัน เพื่อรายงาน กบง. ทราบทุกเดือน (4) ขอความเห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ดังนี้ แบบที่ 1 อัตรา 0.70 บาทต่อลิตร หรือแบบที่ 2 อัตรา 0.50 บาทต่อลิตร และ (5) ขอความเห็นชอบร่างประกาศ กบง. ฉบับที่ 62 พ.ศ. 2561 เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน อัตราเงินชดเชย อัตราเงินคืนกองทุน และอัตราเงินกองทุนคืนสำหรับน้ำมันฯ ทั้งนี้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานได้ดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2561 เป็นต้นไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบแนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ดังนี้
1. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในกรอบอัตราไม่เกิน 1.00 บาทต่อลิตร ในวงเงินไม่เกิน 6,000 ล้านบาท ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป และหากเกินวงเงินที่คณะกรรมการบริหารนโยบาย (กบง.) กำหนด ให้นำเสนอ กบง. เพื่อพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง
2. มอบหมายให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงานจัดทำรายงาน รายรับ/รายจ่าย และฐานะกองทุนน้ำมันฯ ของบัญชีน้ำมันเชื้อเพลิง และนำมารายงานให้ กบง. ทราบทุกเดือน
กบง. ครั้งที่65 - วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 18/2561 (ครั้งที่ 65)
วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 13.30 น.
1. สถานการณ์พลังงานและแนวโน้มราคาพลังงานในตลาดโลก
3. แผนการใช้จ่ายเงินบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปีงบประมาณ 2562
4. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
5. การปรับปรุงกลไกราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว
6. รายงานผลการดำเนินการช่วงหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติแหล่ง JDA-A18
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายศิริ จิระพงษ์พันธ์)
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายทวารัฐ สูตะบุตร)
เรื่องที่ 1 สถานการณ์พลังงานและแนวโน้มราคาพลังงานในตลาดโลก
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ดังนี้ (1) ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ และเวสต์เท็กซัสมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ปัจจัยหลักจากการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี มีปัจจัยสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนที่กดดันให้ราคาน้ำมันไม่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทั้งนี้คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบในเดือนกันยายน 2561 จะยังคงทรงตัวในระดับสูงที่ 78 – 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากการทยอยปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปค รวมทั้งผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของเวเนซุเอลาและตุรกี (2) ราคาก๊าซ LPG มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเวียดนามนำเข้า LPG เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และปริมาณโพรเพน (C3) คงคลังของสหรัฐอเมริกาที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 ปี รวมทั้งรัฐบาลอินเดียมีนโยบายสนับสนุนการใช้ก๊าซ LPG ในภาคครัวเรือนทำให้ปริมาณความต้องการใช้และนำเข้าก๊าซ LPG เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ราคาก๊าซ LPG เดือนกันยายน 2561 ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบและความต้องการในแต่ละภูมิภาค (3) ราคาก๊าซ LNG เดือนสิงหาคม 2561 ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน จากการที่หลายประเทศสำรองก๊าซ LNG เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้ช่วงฤดูหนาว ประกอบกับรัสเซียหยุดการผลิตก๊าซ LNG แหล่ง Sakhalin เนื่องจากปัญหาทางเทคนิค ทั้งนี้คาดการณ์ว่าในระยะสั้นราคาก๊าซ LNG ยังมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยมีปัจจัยจากจีนปรับเพิ่มภาษีนำเข้าก๊าซ LNG จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้นำเข้าของจีนไม่สามารถแบกรับต้นทุนได้ (4) ราคาถ่านหิน เดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ 118 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับลดลงจากเดือนก่อน 1.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เนื่องจากรัฐบาลเกาหลีใต้มีแผนปรับเพิ่มภาษีถ่านหิน และประเทศในทวีปยุโรปปรับเพิ่มราคาคาร์บอนเครดิตเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งนี้คาดการณ์ว่าในระยะสั้นราคาถ่านหินยังมีทิศทางปรับตัวลดลง และ (5) โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 5 กันยายน 2561 ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 1.26 บาทต่อลิตร ต่ำกว่าค่าการตลาดที่เหมาะสม ส่วนค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อยู่ที่ 1.83 บาทต่อลิตร อยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าการตลาดที่เหมาะสม โดยค่าการตลาดเฉลี่ยรายผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าการตลาดเฉลี่ยที่เหมาะสมประมาณ 0.30 บาทต่อลิตร
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
สรุปสาระสำคัญ
1. แผนอนุรักษ์พลังงานฯ กำหนดเป้าหมายผลการอนุรักษ์พลังงานจากการดำเนินงานทุกมาตรการในปี 2561 ได้แก่ EE1 มาตรการการจัดการโรงงานและอาคารควบคุม EE2 มาตรการใช้เกณฑ์มาตรฐานอาคาร EE3 มาตรการใช้เกณฑ์มาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์ EE4 มาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานการประหยัดพลังงานสำหรับผู้ผลิตและจำหน่ายพลังงาน (EERS) EE5 มาตรการสนับสนุนด้านการเงิน EE6 มาตรการส่งเสริมการใช้หลอด LED และ EE7 มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง รวมทั้งสิ้น 1,619 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) โดยแบ่งเป็นเป้าหมายที่ไม่รวมมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง (EE1 – EE6) ซึ่งเป็นมาตรการที่ไม่ได้อยู่ในส่วนการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานโดยตรง 823 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และเป้าหมายเฉพาะมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง (EE7) 797 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ
2. ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานฯ ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 2561 เฉพาะมาตรการที่ไม่รวมมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง มีผลการอนุรักษ์พลังงานรวม 151.45 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ คิดเป็นร้อยละ 18.40 ของเป้าหมายปี พ.ศ. 2561 โดยบางมาตรการอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้ หากรวมมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งซึ่งมีผลประหยัดอยู่ที่ 16.28 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ จะมีผลการอนุรักษ์พลังงานรวม 167.73 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากมาตรการติดฉลาก ECO-Sticker ยังมีจำนวนรถใหม่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด และมาตรการรถไฟทางคู่ ยังมีการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จจึงยังไม่เปิดใช้งาน เป็นต้น
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 แผนการใช้จ่ายเงินบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปีงบประมาณ 2562
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้จัดสรรเงินบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้กับ 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนน้ำมันฯ และจัดสรรงบค่าใช้จ่ายอื่นเป็นจำนวนเงินปีละ 300 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินสำรองกองกลาง โดยในปีงบประมาณ 2561 กบง. ได้อนุมัติแผนการใช้จ่ายเงินบริหารกองทุนน้ำมันฯ ดังนี้ (1) งบบริหาร ของ 4 หน่วยงาน เป็นจำนวนเงินรวม 10,063,800 บาท โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป และงบประมาณทุกรายจ่ายให้สามารถนำมาถัวจ่ายได้ทุกรายการ (2) งบค่าใช้จ่ายอื่น จำนวน 300,000,000 บาท เพื่อเป็นเงินสำรองกองกลาง และอนุมัติให้ดำเนินโครงการจำนวน 5 โครงการ จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 32,163,527 บาท ทั้งนี้ กรอบวงเงินคงเหลือของงบค่าใช้จ่ายอื่น มอบหมายให้คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (อบน.) เป็นผู้พิจารณาอนุมัติต่อไป
2. ผลการเบิกจ่ายเงินงบบริหาร ปีงบประมาณ 2561 ของ 4 หน่วยงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561เป็นจำนวนเงิน 5,525,884.91 บาท คิดเป็นร้อยละ 54.90 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติทั้งหมด และคาดว่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2561 จะมีผลการเบิกจ่ายรวม 8,367,800 บาท คิดเป็นร้อยละ 83.14 ส่วนเงินงบค่าใช้จ่ายอื่น ได้รับอนุมัติเงินจำนวน 5 โครงการ วงเงินรวม 29,915,157 บาท ได้แก่ (1) โครงการศึกษาสภาวะการแข่งขันในตลาดค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ของ สนพ. ได้ทำการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว 2 รอบ แต่ไม่มีผู้ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก ปัจจุบันอยู่ระหว่างประกาศจัดซื้อจัดจ้างรอบที่ 3 (2) โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสถานที่เก็บและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองของประเทศ ของกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเบิกจ่ายเงินงวดที่ 1 (3) โครงการจัดตั้งศูนย์สอบและทะเบียนผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ของ ธพ. มีการยกเลิกการประกวดราคาการจัดซื้อครุภัณฑ์ 2 ครั้ง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประกวดราคาการจัดซื้อครุภัณฑ์ฯ รอบใหม่ โดยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 อบน. ได้เห็นชอบให้ยกเลิกการดำเนินงานในส่วนที่ 2 และให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 19 มิถุนายน 2561 เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2561 (4) โครงการศึกษาการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทางยุทธศาสตร์ของประเทศไทย (Strategic Petroleum Reserve: SPR) ของ ธพ. ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเบิกจ่ายเงินงวดที่ 1 และ (5) โครงการศึกษาทบทวนค่าการตลาดก๊าซ LPG ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ของ สนพ. ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
3. เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561 อบน. ได้มีมติเห็นชอบแผนการใช้จ่ายเงินบริหารกองทุนน้ำมันฯ ปีงบประมาณ 2562 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป ดังนี้ (1) งบบริหาร ของ 4 หน่วยงาน เป็นจำนวนเงินรวม 16,597,000 บาท โดยงบประมาณทุกหมวดรายจ่ายให้สามารถนำมาถัวจ่ายได้ทุกรายการ ประกอบด้วย สนพ. จำนวน 4,601,000 บาท กรมสรรพสามิต จำนวน 5,905,100 บาท กรมศุลกากร จำนวน 1,001,900 บาท และ สบพน. จำนวน 5,089,000 บาท และ (2) งบค่าใช้จ่ายอื่น ในวงเงิน 300 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินสำรองกองกลาง ทั้งนี้ มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ กบง. พิจารณาต่อไป
มติของที่ประชุม
1. รับทราบผลการใช้จ่ายเงินบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปีงบประมาณ 2561
2. เห็นชอบแผนการใช้จ่ายเงินบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปีงบประมาณ 2562 ดังนี้
(1) งบบริหาร ของ 4 หน่วยงาน เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 16,597,000 บาท (สิบหกล้านห้าแสนเก้าหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป และงบประมาณทุกรายจ่ายให้สามารถนำมาถัวจ่ายได้ทุกรายการ ดังนี้
(2) งบค่าใช้จ่ายอื่น ในวงเงิน 300 ล้านบาท (สามร้อยล้านบาทถ้วน) เพื่อเป็นเงินสำรองกองกลาง
ทั้งนี้ มอบหมายให้หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกำกับดูแลให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
เรื่องที่ 4 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 กบง. มีมติเห็นชอบแนวทางบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันดีเซล โดยมีเงื่อนไขว่าหากราคาขายปลีกขยับสูงเกินกว่า 30 บาทต่อลิตร ให้ดำเนินการดังนี้ (1) กำหนดค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็วไม่เกิน 1.75 บาทต่อลิตร (2) ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ บริหารราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร (3) หากอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมากกว่า 1.00 บาทต่อลิตร ให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอต่อ กบง. เพื่อพิจารณาอัตราเงินชดเชยที่เหมาะสม
2. เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2561 กบง. มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล ดังนี้ (1) ระยะสั้น ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ เพื่อรักษาระดับค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสม และปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอลให้สภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ มีค่าใกล้ศูนย์ (กลยุทธ์ ศูนย์-สุทธิ) (2) ระยะยาว ปรับราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอลให้สะท้อนค่าความร้อน โดยการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ (ลดการชดเชย) ทั้งนี้ เมื่อวันที่8 มิถุนายน 2561 และวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 กบง. ได้มีมติเห็นชอบปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20 และน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E85 แล้วจำนวน 2 ครั้ง แต่ยังคงชดเชยราคาขายปลีกอยู่ ปัจจุบันสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันฯ ในกลุ่มของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลเข้าใกล้ ศูนย์-สุทธิแล้ว โดยมีรายรับประมาณ 2 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีรายรับประมาณ 19 ล้านบาทต่อเดือน ภาพรวมกองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 25 ล้านบาทต่อเดือน โดย ณ วันที่ 2 กันยายน 2561 กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิ 26,022 ล้านบาท
3. สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 4 กันยายน 2561 ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 76.87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 89.63 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 94.56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 32.9242 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ราคาไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันวันที่ 3-9 กันยายน 2561 ลิตรละ 24.49 บาท และราคาเอทานอล ณ เดือน กันยายน 2561 ลิตรละ 23.40 บาท โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 5 กันยายน 2561 มีค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20 อยู่ที่ 2.4432 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E85 อยู่ที่ 5.4637 บาทต่อลิตร ซึ่งอยู่ในระดับสูง ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเห็นควรปรับลดอัตราเงินชดเชยของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20 ลง 0.25 บาทต่อลิตร และน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E85 ลง 1.00 บาทต่อลิตร เพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันทั้งสองชนิดอยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นไปตามมติ กบง. เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2561 โดยจะส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับเพิ่มขึ้น 75 ล้านบาทต่อเดือน จาก 25 ล้านบาทต่อเดือน เป็น 100 ล้านบาทต่อเดือน
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20 เดิม -2.43 บาท/ลิตร ใหม่ -2.18 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +0.25 บาท/ลิตร
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E85 เดิม -8.78 บาท/ลิตร ใหม่ -7.78 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง +1.00 บาท/ลิตร
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เดิม 0.01 บาท/ลิตร ใหม่ -0.15 บาท/ลิตร เปลี่ยนแปลง -0.16 บาท/ลิตร
2. เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 57 พ.ศ. 2561 เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน อัตราเงินชดเชย อัตราเงินคืนกองทุน และอัตราเงินกองทุนคืนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2561 เป็นต้นไป
3. เห็นชอบแนวทางบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยมีเงื่อนไขว่า หากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วสูงเกินกว่า 30 บาทต่อลิตร ให้ฝ่ายเลขานุการฯ ใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบริหารราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร โดยปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลงอีก 0.15 บาทต่อลิตร จากเดิมชดเชยที่ 0.15 บาทต่อลิตร เป็นชดเชยที่ 0.30 บาทต่อลิตร
เรื่องที่ 5 การปรับปรุงกลไกราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 กบง. ได้มีมติเห็นชอบหลักการกำหนดอัตราเงินชดเชยของกองทุนน้ำมันฯ สำหรับก๊าซ LPG ที่จำหน่ายเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง เพื่อให้ราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ 363 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ต่อมาเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561 กบง. ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับกลไกราคาก๊าซ LPG โดยกำหนดกองทุนน้ำมันฯ บัญชีก๊าซ LPG ให้ติดลบได้ไม่เกิน 3,000 ล้านบาท ในการรักษาเสถียรภาพราคา และมอบหมายให้ สบพน. จัดทำรายงาน รายรับ/รายจ่าย และฐานะกองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG เพื่อรายงาน กบง. ทราบทุกเดือน และเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561 กบง. ได้เห็นชอบปรับหลักเกณฑ์ราคานำเข้า โดยราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (LPG Cargo) อ้างอิงข้อมูลจาก Platts ด้วยค่าเฉลี่ยของ Propane Cargo และ Butane Cargo (FOB Arab Gulf) ของสองสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ใช้ค่าเฉลี่ยเป็นรายสัปดาห์ โดยให้มีผล ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2561 สบพน. ได้มีหนังสือแจ้งว่าคณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 มีข้อสังเกตว่ามติ กบง. เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561 ยังขาดความชัดเจน และอาจก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ จึงขอให้ กบง. พิจารณาทบทวนมติเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561 เป็นดังนี้ “เห็นชอบการใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาเสถียรภาพราคาก๊าซ LPG โดยให้เงินกองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของบัญชีก๊าซ LPG ติดลบได้ไม่เกิน 3,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้นำเงินในส่วนของบัญชีน้ำมันสำเร็จรูปไปหมุนเวียนใช้ในบัญชีกลุ่มก๊าซ LPG และให้นำเงินส่งคืนบัญชีน้ำมันสำเร็จรูปในภายหลัง”
2. สถานการณ์ราคาก๊าซ LPG ในเดือนกันยายน 2561 ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) อยู่ที่ 617.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 30 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ราคาก๊าซ LPG Cargo ประจำวันที่ 13 – 24 สิงหาคม 2561 อยู่ที่ 583.00 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 5.2778 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ค่าใช้จ่ายนำเข้า (X) อยู่ที่ 57.2436 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.1701 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 33.2265 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลงจากเดือนก่อน 0.1949 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ และราคาก๊าซ LPG นำเข้า (LPG Cargo + X) อยู่ที่ 21.2731 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.0907 บาทต่อกิโลกรัม
3. สถานภาพกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 2 กันยายน 2561 มีฐานะสุทธิ 26,022 ล้านบาท แยกเป็นบัญชีน้ำมัน 29,359 ล้านบาท บัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 3,337 ล้านบาท ทั้งนี้ในส่วนการผลิตและจัดหา (กองทุนน้ำมันฯ#1) มีรายรับ 1,329 ล้านบาทต่อเดือน และในส่วนการจำหน่ายภาคเชื้อเพลิง (กองทุนน้ำมันฯ #2) มีรายจ่าย 2,133 ล้านบาทต่อเดือน ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่ายสุทธิ 804 ล้านบาทต่อเดือน โดย สบพน. ได้รายงานฐานะกองทุนน้ำมันฯ บัญชีก๊าซ LPG ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จาก 99 ล้านบาท ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เป็นติดลบ 3,337 ล้านบาท ณ วันที่ 2 กันยายน 2561 หรือมีรายจ่ายถึง 3,446 ล้านบาท ในระยะเวลาเพียง 2 เดือน ในขณะที่ สนพ. ประมาณรายจ่ายในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ที่ 1,305 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่ารายงานของ สบพน. ถึง 2,141 ล้านบาท ฝ่ายเลขานุการฯ จึงได้เสนอแนวทางรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีก ก๊าซ LPG ขนาดถัง 15 กิโลกรัม ให้อยู่ที่ 363 บาท ต่อไปตามมติ กบง. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 ดังนี้ (1) ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์โดยลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้า (X) ในส่วนของค่าคลังนำเข้า LPG โดยตัดค่าใช้จ่าย ในส่วนค่าคลังที่ประมาณ 20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันออก ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า X อยู่ในระดับประมาณ 35 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน จากเดือนสิงหาคมซึ่งอยู่ที่ประมาณ 55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน และทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่ายสุทธิลดลงประมาณ 100 ล้านบาทต่อเดือน เนื่องจากปัจจุบันไม่มีการนำเข้าผ่านคลัง เขาบ่อยาเพื่อจำหน่ายในประเทศ แต่ใช้เป็นคลังนำเข้าเพื่อส่งออกเท่านั้น โดยผู้นำเข้า LPG เหลือเพียงบริษัท สยามแก๊ส ซึ่งใช้วิธี Ship-to-Ship ในการนำเข้า และมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการนำเข้าผ่านคลังเนื่องจากไม่มีค่าลงทุนคลัง และ (2) ให้กองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของบัญชีก๊าซ LPG ติดลบเพิ่มอีก 3,500 ล้านบาท เป็นติดลบได้ไม่เกิน 6,500 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้นำเงินในส่วนของบัญชีน้ำมันสำเร็จรูปไปหมุนเวียนใช้ในบัญชีกลุ่มก๊าซ LPG และให้นำเงินส่งคืนบัญชีน้ำมันสำเร็จรูปในภายหลัง ซึ่งหากมีการปรับหลักเกณฑ์ลดค่าใช้จ่ายนำเข้าในส่วนค่าคลังลง 20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ตามข้อ (1) จะสามารถรักษาเสถียรภาพราคาได้อีกประมาณ 4 เดือน ถึงสิ้นปี 2561
เรื่องที่ 6 รายงานผลการดำเนินการช่วงหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติแหล่ง JDA-A18
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 เวลา 6.00 น. ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2561 เวลา 06.00 น. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แจ้งว่าจะหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง JDA – A18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย – มาเลเซีย ให้ภาคการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งดังกล่าวมีการทำงานตรวจสอบ Flare Tips ที่แหล่งผลิตก๊าซ คิดเป็นปริมาณก๊าซธรรมชาติที่หายไปจากระบบ 440 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (MMSCFD)
2. เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2561 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้รายงานผล การดำเนินการช่วงหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติแหล่ง JDA – A18 ว่าเหตุการณ์ได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว โดย ปตท. ได้แจ้งว่าการทำงานของผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561 เวลา 14.14 น. ซึ่งเร็วกว่ากำหนด และเริ่มเปิดวาล์วให้โรงไฟฟ้าจะนะใช้ก๊าซธรรมชาติได้ตามปกติเมื่อเวลา 21.00 น. พร้อมรายงานผลการดำเนินงานด้านระบบไฟฟ้า สรุปได้ดังนี้ (1) สภาพระบบไฟฟ้าภาคใต้ รวมถึงระบบสายส่งเชื่อมโยงระหว่างภาคกลาง และภาคใต้ของ กฟผ. อยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถผลิตและส่งจ่ายไฟฟ้าได้ตามมาตรฐานคุณภาพ โดยมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในเขตภาคใต้ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลาที่หยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ 2,397.1 เมกะวัตต์ ต่ำกว่าแผนที่คาดการณ์ไว้ที่ 2,550 เมกะวัตต์ และมีกำลังสำรองไฟฟ้าเหลืออยู่ 538.9 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตไฟฟ้าในเขตพื้นที่ภาคใต้ 2,936 เมกะวัตต์ (2) โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะนะ ไม่หยุดเดินเครื่องในช่วงเวลาที่หยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติแหล่ง JDA - A18 เนื่องจาก กฟผ. ได้ปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะนะชุดที่ 1 และ 2 ให้สามารถใช้น้ำมันดีเซลในการผลิตไฟฟ้าแทนก๊าซธรรมชาติได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 และเดือนมีนาคม 2561 ตามลำดับ (3) ช่วงหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติแหล่ง JDA - A18 มีการใช้น้ำมันดีเซลที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะนะชุดที่ 1 และ 2 รวม 7.9 ล้านลิตร มากกว่าแผนที่กำหนดไว้ที่ 6.1 ล้านลิตร (เฉพาะเครื่องกังหันก๊าซ 22) อยู่ 1.8 ล้านลิตร เนื่องจากมีการเดินเครื่องกังหันก๊าซ 12 เพิ่มเติมจากแผนในช่วงวันที่ 28 – 30 กรกฎาคม 2561 เพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ที่ไม่สามารถเดินเครื่องได้ตามแผน และมีการใช้น้ำมันเตาที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่รวม 2.6 ล้านลิตร ต่ำกว่าแผนที่กำหนดไว้ที่6.0 ล้านลิตร อยู่ 3.4 ล้านลิตร เนื่องจากไม่สามารถเดินเครื่องโรงไฟฟ้าได้ตามแผนตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2561 จากปัญหาระบบควบคุมโรงไฟฟ้า (Mark V) ขัดข้อง โดยสามารถแก้ไขปัญหาและขนานเครื่องเข้าระบบได้ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2561 เวลา 10.05 น. (4) มีการระบายน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา และเขื่อนบางลาง ช่วงที่หยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติแหล่ง JDA - A18 เฉลี่ยวันละ 14.2 และ 10.0 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนท้ายน้ำ
3. สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ได้คำนวณต้นทุนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าแทนก๊าซธรรมชาติจากการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติแหล่ง JDA - A18 ในการประมาณการค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2561 แล้ว โดยมีต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 180 ล้านบาท คิดเป็นผลกระทบต่อค่า Ft เพิ่มขึ้น 0.34 สตางค์ต่อหน่วย หรือ 0.0034 บาทต่อหน่วย
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ