
มติกบง. (348)
ครั้งที่ 18 - วันจันทร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 1/2550 (ครั้งที่ 18)
วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 เวลา 09.30 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1. การปรับปรุงโครงสร้างราคาเอทานอลเพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์
2. การปรับปรุงโครงสร้างราคาไบโอดีเซลเพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5
3. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (ปี 2549 - มกราคม 2550)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับปรุงโครงสร้างราคาเอทานอลเพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์
สรุปสาระสำคัญ
1. สถานการณ์การผลิตและจำหน่ายเอทานอลในปี 2550 เป็นต้นไป จะมีแนวโน้มปริมาณการผลิตมากกว่าปริมาณความต้องการ ทั้งในกรณีที่กำหนดให้มีการเปลี่ยนน้ำมันเบนซิน 95 เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ให้ได้ทั้งหมดและในกรณีที่มีการกำหนดให้ใช้เอทานอลใกล้เคียงกับความต้องการจริง และจากราคาเอทานอลที่อยู่ในระดับสูง ได้ส่งผลกระทบให้ค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ 0.3187 บาท/ลิตร และการที่น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีค่าการตลาดต่ำ ในขณะที่รัฐบาลยังไม่มีนโยบายยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 ทำให้ผู้ค้าน้ำมันไม่มีแรงจูงใจในการเร่งเพิ่มปริมาณการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 95 และยังคงจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 ในระดับเดิมต่อไป ประกอบกับ ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ถูกกว่า น้ำมันเบนซิน 91 เพียงลิตรละ 1 บาท ซึ่งยังไม่เป็นที่จูงใจให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้แก๊สโซฮอล์ 91 เพิ่มมากขึ้น
2. คณะอนุกรรมการเอทานอลได้มีการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีมติเห็นชอบการปรับหลักเกณฑ์การกำหนดราคาเอทานอลเพื่อให้สะท้อนราคาตลาดโลก ดังนี้
ราคาเอทานอล = ราคาเอทานอลตลาดบราซิล + Freight + Insurance + Loss + Survey
ราคาเอทานอล ตลาดบราซิล | = | อ้างอิงราคาเอทานอล FOB ตลาด Brazilian Commodity Exchange Sao Paulo ประเทศบราซิล จาก Reuters, Alcohol Fuel - Front Month Continuation ที่มีการซื้อขายในช่วงวันที่ 1 - 80 ในไตรมาสก่อน นำมาเฉลี่ยสำหรับกำหนดราคาในไตรมาสถัดไป |
Freight | = | 1) ค่าขนส่งเอทานอลภายในประเทศบราซิลจาก Sao Paulo ไป Santos คิดราคาตามที่เกิดขึ้นจริง (ราคา FOB Santos จาก JJ&A - FOB Sao Paulo ) โดยใช้ข้อมูลในช่วงวันที่ 1 - 80 ในไตรมาสก่อน นำมาเฉลี่ยสำหรับกำหนดราคาในไตรมาสถัดไป 2) ค่าขนส่งเอทานอลทางเรือจากประเทศบราซิลมาไทยคิดที่ขนาดบรรทุก 30,000 ตันใช้ข้อมูลจาก Ship brokers จำนวน 3 ราย โดยใช้ข้อมูลของไตรมาสก่อน นำมาเฉลี่ยสำหรับกำหนดราคาในไตรมาสถัดไป |
Insurance | = | ค่าประกันภัย 0.0134% ของมูลค่า CFR |
Loss | = | ค่า Loss 0.20 % ของมูลค่า CIF |
Survey | = | 0.008 บาท/ลิตร (คงที่) |
อัตราแลกเปลี่ยน | = | อัตราแลกเปลี่ยน Selling rate จาก 1) dollar real => US dollar เป็นรายวัน ในช่วงวันที่ 1 - 80 ในไตรมาสก่อน 2) US dollar => Baht เป็นรายวัน ในช่วงวันที่ 1 - 80 ในไตรมาสก่อน อ้างอิงธนาคารแห่งประเทศไทย นำมาเฉลี่ยสำหรับกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไตรมาสถัดไป |
การดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การตกลงราคาซื้อขายเอทานอลอ้างอิงตามหลักการข้างต้นโดยพิจารณาช่วงของไตรมาส เช่น ใช้ ข้อมูลไตรมาส 4 ปี 2549 สำหรับกำหนดราคาไตรมาส 1 ปี 2550
- การชำระเงินพิจารณาจากวันที่มีการส่งมอบของตามที่ระบุในสัญญา เช่น กรณีทำสัญญาซื้อขายในเดือนมีนาคม 2550 แต่กำหนดส่งมอบเดือนมีนาคม - เมษายน 2550 ดังนั้นสินค้าที่ส่งมอบเดือนมีนาคมใช้ราคาซื้อขายที่อ้างอิงข้อมูลไตรมาส 4 ปี 2549 สำหรับสินค้าที่ส่งมอบเดือนเมษายน 2550 ใช้ราคาซื้อขายที่อ้างอิงข้อมูลไตรมาส 1 ปี 2550
- หากไม่มีการส่งมอบสินค้า จะมีกำหนดบทปรับที่คู่สัญญาเห็นชอบร่วมกันแล้วแต่กรณี และกรณีฝากสินค้าโดยเลื่อนการส่งมอบให้มีการเจรจาเป็นกรณีๆ ไป
3. เพื่อส่งเสริมและจูงใจให้ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์มากขึ้น จึงควรกำหนดให้ค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล์อยู่ในระดับที่ไม่น้อยกว่าค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน โดยใช้อัตรากองทุนน้ำมันฯ เป็น กลไกในการรักษาระดับค่าการตลาดแก๊สโซฮอล์ โดยใช้หลักการ ดังนี้
3.1 กำหนดเพดานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ 1.50 บาท/ลิตร และฐานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ที่ 1.00 บาท/ลิตร
- กำหนดเพดานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ 1.50 บาท/ลิตร
3.2 กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของแก๊สโซฮอล์ ดังนี้
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของแก๊สโซฮอล์ 95 สัปดาห์นี้ |
= | อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของแก๊สโซฮอล์ 95 สัปดาห์ก่อน + [ค่าการตลาดแก๊สโซฮอล์ 95 สัปดาห์ก่อน - ค่าการตลาดเบนซิน 95 สัปดาห์ก่อน] |
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของแก๊สโซฮอล์ 91 สัปดาห์นี้ |
= | อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของแก๊สโซฮอล์ 91 สัปดาห์ก่อน + [ค่าการตลาดแก๊สโซฮอล์ 91 สัปดาห์ก่อน - ค่าการตลาดเบนซิน 91 สัปดาห์ก่อน] |
หมายเหตุ : | 1) ค่าการตลาดของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ได้มาจากการคำนวณราคาตามหลักเกณฑ์ ค่าการตลาด = ราคาขายปลีก - ราคา ณ โรงกลั่น - ภาษี - กองทุน 2) ราคาขายปลีก = ราคาขายปลีก ณ กทม. ของ ปตท. 3) สูตรราคา ณ โรงกลั่นไทย เป็นดังนี้ - ราคาเบนซินออกเทน 95 = (ราคา MOP ULG 95 + พรีเมียม) ที่ 600 F x อัตราแลกเปลี่ยน /158.984 ใช้ Conversion factor 600 F / 860F และ พรีเมียม ที่ประกาศโดยโรงกลั่นไทยออยล์ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปเป็น MOPS (Mean of Platt's Singapore) |
3.3 การกำหนดราคาขายปลีกแก๊สโซฮอล์ 91 เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้ จึงควรกำหนดให้ราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ถูกกว่าราคาน้ำมันเบนซิน 91 ลิตรละ 1.50 บาท เช่นเดียวกับ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95
4. จากการใช้กองทุนน้ำมันฯ รักษาระดับค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยใช้ประมาณการของปริมาณการผลิตเอทานอลที่ผลิตได้ในปี 2550 จะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับลดลงประมาณ 1,763 ล้านบาท มีผลทำให้กองทุนน้ำมันฯ ชำระหนี้ได้ช้าลงประมาณ 1 เดือน
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดราคาเอทานอล ดังนี้
ราคาเอทานอล = ราคาเอทานอลตลาดบราซิล + Freight + Insurance + Loss + Survey
โดย ราคาเอทานอล ตลาดบราซิล |
= | อ้างอิงราคาเอทานอล FOB ตลาด Brazilian Commodity Exchange Sao Paulo ประเทศบราซิล จาก Reuters, Alcohol Fuel - Front Month Continuation ที่มีการซื้อขายในช่วงวันที่ 1 - 80 ในไตรมาสก่อน นำมาเฉลี่ยสำหรับกำหนดราคาในไตรมาสถัดไป |
Freight | = | 1) ค่าขนส่งเอทานอลภายในประเทศบราซิลจาก Sao Paulo ไป Santos คิดราคาตามที่เกิดขึ้นจริง (ราคา FOB Santos จาก JJ&A FOB Sao Paulo) โดยใช้ข้อมูลในช่วงวันที่ 1 - 80 ในไตรมาสก่อน นำมาเฉลี่ยสำหรับกำหนดราคาในไตรมาสถัดไป |
2) ค่าขนส่งเอทานอลทางเรือจากประเทศบราซิลมาไทยคิดที่ขนาดบรรทุก 30,000 ตัน ใช้ข้อมูลจาก Ship brokers จำนวน 3 ราย โดยใช้ข้อมูลของไตรมาสก่อน นำมาเฉลี่ยสำหรับกำหนดราคาในไตรมาสถัดไป | ||
Insurance | = | ค่าประกันภัย 0.0134% ของมูลค่า CFR |
Loss | = | ค่า Loss 0.20 % ของมูลค่า CIF |
Survey | = | 0.008 บาท/ลิตร (คงที่) |
อัตราแลกเปลี่ยน | = | อัตราแลกเปลี่ยน Selling rate จาก 1) dollar real => US dollar เป็นรายวัน ในช่วงวันที่ 1 - 80 ในไตรมาสก่อน 2) US dollar => Baht เป็นรายวัน ในช่วงวันที่ 1 - 80 ในไตรมาสก่อน อ้างอิงธนาคารแห่งประเทศไทยนำมาเฉลี่ยสำหรับกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ไตรมาสถัดไป |
จากหลักเกณฑ์การกำหนดราคาเอทานอลดังกล่าว ให้นำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
2. เห็นชอบให้กำหนดเพดานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ 1.50 บาท/ลิตร และฐานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ที่ 1.00 บาท/ลิตร
3. เห็นชอบแนวทางการใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นกลไกในการรักษาระดับค่าการตลาดของน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 สัปดาห์นี้ |
= | อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 สัปดาห์ก่อน +[ค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 สัปดาห์ก่อน - ค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน 95 สัปดาห์ก่อน] |
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 สัปดาห์นี้ |
= | อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 สัปดาห์ก่อน +[ค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 สัปดาห์ก่อน - ค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน 91 สัปดาห์ก่อน] |
หมายเหตุ : | 1) ค่าการตลาดของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ได้มาจากการคำนวณราคาตามหลักเกณฑ์ ค่าการตลาด = ราคาขายปลีก - ราคา ณ โรงกลั่น - ภาษี - กองทุน 2) ราคาขายปลีก = ราคาขายปลีก ณ กรุงเทพมหานคร ของ ปตท. 3) สูตรราคา ณ โรงกลั่นไทย เป็นดังนี้ - ราคาเบนซินออกเทน 95 = (ราคา MOP ULG 95 + พรีเมียม) ที่ 600 F x อัตราแลกเปลี่ยน/158.984 - ราคาเบนซินออกเทน 91 = (ราคา MOP ULG 95 + พรีเมียม) ที่ 600 F x อัตราแลกเปลี่ยน/158.984 - ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 = 90% ของ[ราคาเบนซินออกเทน 95 + (1 $/BBLx อัตราแลกเปลี่ยน/158.984)] + 10%ของราคาเอทานอล - ราคาแก๊สน้ำมันโซฮอล์ 91 = 90% ของ[ราคาเบนซินออกเทน 91 + (1 $/BBL x อัตราแลกเปลี่ยน/158.984)] + 10%ของราคาเอทานอล |
|
ใช้ Conversion factor 600 F / 860F และ พรีเมียม ที่ประกาศโดยโรงกลั่นไทยออยล์ | ||
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปเป็น MOPS (Mean of Platt's Singapore) |
4. เห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นกลไกให้ราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ถูกกว่าราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 91 ลิตรละ 1.50 บาท
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
เรื่องที่ 2 การปรับปรุงโครงสร้างราคาไบโอดีเซลเพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 ได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ ไบโอดีเซลจากปาล์ม โดยกำหนดเป้าหมายใช้ไบโอดีเซลประมาณ 8.5 ล้านลิตรต่อวัน (สัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล 10 %) ในปี 2555 และให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล เพื่อ จัดทำแผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมไบโอดีเซลเสนอต่อรัฐมนตรี โดยมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน และเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติการพัฒนาและส่งเสริมไบโอดีเซลและให้ดำเนินการต่อไปได้ตามที่กระทรวงพลังงาน และคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ (กชช.) เสนอ ทั้งนี้ในหลักการควรกำหนดราคาไบโอดีเซล ณ โรงงาน (ไม่รวม VAT) ไว้ลิตรละ15.50 บาท เพื่อจูงใจผู้ประกอบการผลิตไบโอดีเซล สำหรับราคาจำหน่ายปลีกนั้นควรควบคุมราคาให้เหมาะสมตามกลไกตลาดและให้แข่งขันได้กับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปกติ
2. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2549 ได้มีมติเห็นชอบใน หลักการให้มีการกำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 จากหลักการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลิตรละ 0.50 บาท และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นควรให้ยกเลิก กชช. และให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไบโอดีเซลขึ้นภายใต้ กบง. เพื่อให้การบริหารและจัดการเชื้อเพลิงชีวภาพมีความเป็นเอกภาพ คล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไบโอดีเซล มีอำนาจหน้าที่เสนอนโยบาย แผนการพัฒนาและส่งเสริม ไบโอดีเซล รวมทั้ง เสนอแนะมาตรการด้านราคา การซื้อ การจำหน่ายไบโอดีเซลและปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ กบง.มอบหมาย และเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549 กพช. ได้มีมติเห็นชอบกรอบแผนอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี 2550 -2554 โดยการส่งเสริมการให้ใช้ไบโอดีเซล 4 ล้านลิตร/วัน ในปี 2554 (สัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล 5%)
3. ด้านการผลิตไบโอดีเซล ปัจจุบันมีโรงงานผลิตไบโอดีเซล (B100) ที่ผลิตได้คุณภาพตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) จำนวน 3 ราย มีกำลังผลิตติดตั้ง 590,000 ลิตร/วัน แต่ผลิตจริงเพียง 90,000 ลิตร/วัน เนื่องจากขาดวัตถุดิบ และโรงงานผลิตไบโอดีเซลที่อยู่ระหว่างพัฒนาคุณภาพตามประกาศ ธพ. จำนวน 5 ราย มีกำลังผลิตประมาณ 1,070,000 ลิตร/วัน นอกจากนั้นยังมีโรงงานผลิตไบโอดีเซลที่อยู่ระหว่างการขอ การส่งเสริมการลงทุนอีก 8 ราย รวมกำลังการผลิตประมาณ 2,380,000 ลิตร/วัน ในด้านการจำหน่ายไบโอดีเซล ปัจจุบันมีบริษัทน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 จำนวน 2 ราย คือ ปตท. และ บางจาก โดยมีสถานีบริการของ ปตท. 110 แห่ง และบางจาก 180 แห่ง รวมทั้งสิ้น 290 แห่ง รวมปริมาณการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 จำนวน 190,000 ลิตร/วัน หรือเทียบเท่าปริมาณไบโอดีเซล (B100) ประมาณ 9,500 ลิตร/วัน และด้านราคาขายปลีก จากการเปรียบเทียบโครงสร้างราคาพบว่าราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ถูกกว่า น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 0.50 บาท/ลิตร เนื่องจากอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 น้อยกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 0.87 บาท/ลิตร และส่วนหนึ่งเป็นการชดเชยต้นทุนราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ที่สูงกว่าราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
4. นโยบายของรัฐบาลได้มุ่งส่งเสริมให้มีการใช้ไบโอดีเซล เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศและใช้เป็นพลังงานทดแทนในเชิงพาณิชย์ แต่ยังมีปัญหาด้านหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซลที่ไม่สะท้อนราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ทำให้ผู้ประกอบการไม่มีความมั่นใจในผลตอบแทนการลงทุน และสร้างความลำบากในการหาแหล่งเงินลงทุน ดังนั้น รัฐจึงจำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดราคาน้ำมันไบโอดีเซลให้มีสะท้อนราคาวัตถุดิบหรือต้นทุนการผลิตที่แท้จริง ดังนั้น การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) จึงควรอ้างอิงราคาน้ำมันปาล์มดิบ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาราคาน้ำมันปาล์มดิบของไทยจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ในระดับราคา น้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียบวกอีกประมาณ 1 บาท/ลิตร
5. แนวทางการปรับโครงสร้างการกำหนดราคาน้ำมัน
5.1 หลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) โดยกระทรวงพลังงานได้มีการประชุมหารือกับผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ ผู้ค้าน้ำมัน ผู้ประกอบการผลิตไบโอดีเซล และหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 3 ครั้ง โดย ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) โดยให้สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงใน อุตสาหกรรมไบโอดีเซล ซึ่งขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันปาล์มดิบเป็นหลักคิดเป็นร้อยละ 76 ของต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
B100 = 0.97 CPO + 0.15 MtOH + 3.32
B100 คือ ราคาขายไบโอดีเซล (B100) ในกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/ลิตร
CPO คือ ราคาขายน้ำมันปาล์มดิบในเขตกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/กิโลกรัม
MtOH คือ ราคาขายเมทานอลในกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/กิโลกรัม
หมายเหตุ
1) CPO หรือราคาขายน้ำมันปาล์มดิบในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้ราคาขายส่งสินค้าเกษตร น้ำมันปาล์มดิบชนิดสกัดแยก (เกรดเอ) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศ แต่ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลก (ตลาดมาเลเซีย) บวก 1 บาท/กิโลกรัม โดยราคาขายน้ำมันปาล์มดิบเฉลี่ยในสัปดาห์ที่แล้วจะนำมาใช้กำหนดราคาในสัปดาห์หน้า เช่น ราคาขายน้ำมันปาล์มดิบเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 1 จะนำมาแทนค่าเพื่อกำหนดราคาไบโอดีเซลในสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้น ยกเว้นกรณีราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลกมาก จะนำมาพิจารณาร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
2) MtOH หรือราคาขายเมทานอลในกรุงเทพมหานคร ใช้ราคาขายเมทานอลเฉลี่ยจากผู้ค้าเมทานอลในประเทศจำนวน 3 ราย เช่น Thai M.C., I.C.P. Chemicals และ Itochu (Thailand) โดยราคาขายเมทานอลเฉลี่ยในสัปดาห์ที่แล้วจะนำมาใช้กำหนดราคาในสัปดาห์หน้า เช่น ราคาขายเมทานอลเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 1 จะนำมาแทนค่าเพื่อกำหนดราคาไบโอดีเซลในสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้น
หลักเกณฑ์ใหม่ข้างต้น จะทำให้ราคาซื้อขายไบโอดีเซล (B100) สูงขึ้นมาอยู่ที่ 24.54 บาท/ลิตร เพิ่มขึ้น 2.94 บาท/ลิตร ส่งผลให้ราคาดีเซลหมุนเร็วบี 5 ณ โรงกลั่นเพิ่มขึ้น 0.15 บาท/ลิตร หากไม่มีการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 จะมีผลให้ค่าการตลาดของดีเซลหมุนเร็วบี 5 ลดลงในระดับดังกล่าว ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่อการสนับสนุนการใช้น้ำมันไบโอดีเซล เพราะผู้ค้าน้ำมันได้รับค่าการตลาดลดลง
5.2 การใช้กองทุนน้ำมันฯ รักษาระดับค่าการตลาด เพื่อไม่ให้การกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) ใหม่ สร้างอุปสรรคให้แก่การจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ของผู้ค้าน้ำมัน จึงจำเป็นต้องใช้กลไกของเงินกองทุนน้ำมันฯ เพื่อรักษาระดับค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ให้อยู่ในระดับที่ผู้ค้า น้ำมันยอมรับได้ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่าค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติบวก 0.20 บาท/ลิตร โดยกำหนดเพดานและฐานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 และการคำนวณอัตราเงินส่งเข้า กองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ดังนี้
1) กำหนดเพดานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ที่ 0.55 บาท/ลิตรและฐานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ที่ 0.30 บาท/ลิตร หากราคาไบโอดีเซล (B100) ลดลง จะทำให้คำนวณอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ได้มากกว่า 0.55 บาท/ลิตร ผู้ค้าน้ำมันจะได้นำค่าการตลาดที่เพิ่มขึ้นไปปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ให้มีราคาต่ำกว่าราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติได้มากกว่า 0.50 บาท/ลิตร และการกำหนดฐานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ที่ 0.30 บาท/ลิตร โดยยอมให้ราคาไบโอดีเซล (B100) มีความแตกต่างหรือสูงกว่าราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ใช้ผสมเพิ่มขึ้นมากกว่าในปัจจุบันได้อีก 5 บาท/ลิตร ซึ่งเมื่อรวมความแตกต่างของราคาในปัจจุบัน ที่ประมาณ 8 บาท/ลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะรับภาระความแตกต่างของราคาไบโอดีเซล (B100) ที่สูงกว่าราคา น้ำมันดีเซลหมุนเร็วได้สูงสุดประมาณ 13 บาท/ลิตร
2) กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ดังนี้
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 สัปดาห์นี้ |
= | อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 สัปดาห์ก่อน+ [ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 สัปดาห์ก่อน - (ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว สัปดาห์ก่อน + ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ( 0.20 บาท/ลิตร)) ] |
หมายเหตุ | 1) ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ได้มาจากการคำนวณราคา ตามหลักเกณฑ์ ค่าการตลาด = ราคาขายปลีก - ราคา ณ โรงกลั่น - ภาษี - กองทุน 2) ราคาขายปลีก = ราคาขายปลีก ณ กทม. ของ ปตท. 3) สูตรราคา ณ โรงกลั่นไทย เป็นดังนี้ - ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว = (ราคา MOP GO 0.5% + พรีเมียม) ที่ 600 F x อัตราแลกเปลี่ยน / 158.984 - ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 = 95% ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว + 5%ของราคาไบโอดีเซล |
|
ใช้ Conversion factor 600 F / 860F และ พรีเมียม ที่ประกาศโดยโรงกลั่นไทยออยล์ | ||
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปเป็น MOPS (Mean of Platt's Singapore) |
6. ผลกระทบต่อกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาระดับค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 หากคำนวณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 จากความสามารถในการผลิตไบโอดีเซล (B100) ของปี 2550 ซึ่งอยู่ในระดับ 128 ล้านลิตร พบว่าจะกระทบให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับลดลงเพียง 640 ล้านบาท/ปี ซึ่งไม่มีผลให้การชำระหนี้ของกองทุนน้ำมันฯ ต้องล่าช้าออกไปจากกำหนดเดิม
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดราคาเอทานอล ดังนี้
ราคาเอทานอล = ราคาเอทานอลตลาดบราซิล + Freight + Insurance + Loss + Survey
โดย ราคาเอทานอล ตลาดบราซิล | = | อ้างอิงราคาเอทานอล FOB ตลาด Brazilian Commodity Exchange Sao Paulo ประเทศบราซิล จาก Reuters, Alcohol Fuel - Front Month Continuation ที่มีการซื้อขายในช่วงวันที่ 1 - 80 ในไตรมาสก่อน นำมาเฉลี่ยสำหรับกำหนดราคาในไตรมาสถัดไป |
Freight | = | 1) ค่าขนส่งเอทานอลภายในประเทศบราซิลจาก Sao Paulo ไป Santos คิดราคาตามที่เกิดขึ้นจริง (ราคา FOB Santos จาก JJ&A - FOB Sao Paulo) โดยใช้ข้อมูลในช่วงวันที่ 1 - 80 ในไตรมาสก่อน นำมาเฉลี่ยสำหรับกำหนดราคาในไตรมาสถัดไป 2) ค่าขนส่งเอทานอลทางเรือจากประเทศบราซิลมาไทยคิดที่ขนาด บรรทุก 30,000 ตัน ใช้ข้อมูลจาก Ship brokers จำนวน 3 ราย โดย ใช้ข้อมูลของไตรมาสก่อนนำมาเฉลี่ยสำหรับกำหนดราคาในไตรมาส ถัดไป |
Insurance | = | ค่าประกันภัย 0.0134% ของมูลค่า CFR |
Loss | = | ค่า Loss 0.20 % ของมูลค่า CIF |
Survey | = | 0.008 บาท/ลิตร (คงที่) |
อัตราแลกเปลี่ยน | = | อัตราแลกเปลี่ยน Selling rate จาก 1) dollar real => US dollar เป็นรายวัน ในช่วงวันที่ 1 - 80 ในไตรมาสก่อน 2) US dollar => Baht เป็นรายวัน ในช่วงวันที่ 1 - 80 ในไตรมาสก่อน |
อ้างอิงธนาคารแห่งประเทศไทยนำมาเฉลี่ยสำหรับกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไตรมาสถัดไป |
จากหลักเกณฑ์การกำหนดราคาเอทานอลดังกล่าว ให้นำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
2. เห็นชอบให้กำหนดเพดานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ 1.50 บาท/ลิตร และฐานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ที่ 1.00 บาท/ลิตร
3. เห็นชอบแนวทางการใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นกลไกในการรักษาระดับค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 สัปดาห์นี้ |
= | อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 สัปดาห์ก่อน+[ค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 สัปดาห์ก่อน - ค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน 95 สัปดาห์ก่อน] |
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 สัปดาห์นี้ |
= | อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 สัปดาห์ก่อน+[ค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 สัปดาห์ก่อน - ค่าการตลาดน้ำมัน เบนซิน 91 สัปดาห์ก่อน] |
หมายเหตุ : | 1) ค่าการตลาดของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ได้มาจากการคำนวณราคาตามหลักเกณฑ์ ค่าการตลาด = ราคาขายปลีก - ราคา ณ โรงกลั่น - ภาษี - กองทุน 2) ราคาขายปลีก = ราคาขายปลีก ณ กรุงเทพมหานคร ของ ปตท. 3) สูตรราคา ณ โรงกลั่นไทย เป็นดังนี้ - ราคาเบนซินออกเทน 95 = (ราคา MOP ULG 95 + พรีเมียม) ที่ 600 F xอัตราแลกเปลี่ยน/158.984 - ราคาเบนซินออกเทน 91 = (ราคา MOP ULG 95 + พรีเมียม) ที่ 600 F x อัตราแลกเปลี่ยน/158.984 - ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 = 90% ของ[ราคาเบนซินออกเทน 95 + (1 $/BBL x อัตราแลกเปลี่ยน/158.984)] + 10%ของราคาเอทานอล - ราคาแก๊สน้ำมันโซฮอล์ 91 = 90% ของ[ราคาเบนซินออกเทน 91 + (1 $/BBL x อัตราแลกเปลี่ยน/158.984)] + 10%ของราคาเอทานอล |
|
ใช้ Conversion factor 600 F / 860F และ พรีเมียม ที่ประกาศโดยโรงกลั่นไทยออยล์ | ||
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปเป็น MOPS (Mean of Platt's Singapore) |
4. เห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นกลไกให้ราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ถูกกว่าราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 91 ลิตรละ 1.50 บาท
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
เรื่องที่ 3 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (ปี 2549 - มกราคม 2550)
สรุปสาระสำคัญ
1. ในปี 2549 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 61.53 และ 65.73 เหรียญสหรัฐต่อ บาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2548 11.98 และ 10.88 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ สาเหตุจากความ ขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิหร่าน ในเรื่องที่สหรัฐอเมริกาคัดค้านการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์เพื่อผลิตพลังงานเชื้อเพลิงของอิหร่านอาจทำให้การส่งออกน้ำมันประมาณ 20% ของโลกจากตะวันออกกลางมีความเสี่ยงจากการสกัดเรือเดินน้ำมันโดยอิหร่าน ประกอบกับตลาดยังคงกังวลกับสถานการณ์ในตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลและกลุ่มขบวนการติดอาวุธเฮชบอลเลาะห์ นอกจากนั้นโรงกลั่นของสหรัฐอเมริกา 2 แห่ง ต้องปิดฉุกเฉินเนื่องจากกระแสไฟฟ้าขัดข้องจากผลกระทบของพายุ และในเดือนมกราคม 2550 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์ เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 51.69 และ 54.23 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากเดือนธันวาคม 2549 7.00 และ 8.07 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ เนื่องจากการพยากรณ์อุณหภูมิในสหรัฐอเมริกาจะยังคง อบอุ่นกว่าระดับปกติ และโอเปคยังไม่ลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมนอกเหนือจากมติลดกำลังการผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 และสหประชาชาติคาดการณ์ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกจะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ ร้อยละ 3.2 ในปีนี้ หลังจากที่ขยายตัวที่ระดับร้อยละ 3.8 ในปี 2549
2. ในตลาดจรสิงคโปร์ปี 2549 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 92 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 73.20 และ 72.38 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2548 10.82 และ 11.02 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ เนื่องจากโรงกลั่นในภูมิภาคเอเชียหลายแห่งปิดซ่อมบำรุง โดยคาดว่าจะกลับมาดำเนินการได้เพียง 90% ของกำลังการกลั่นทั้งหมดไปจนตลอดปี และตลาดยังคงมีความต้องการซื้อจากผู้ซื้อหลักในภูมิภาค ได้แก่ อินโดนีเซียและเวียดนาม ส่วนราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 76.79 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.44 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากมีความต้องการนำเข้าน้ำมันดีเซลเพิ่มเพื่อใช้ในโรงไฟฟ้าซึ่งเกิดปัญหาในระบบท่อส่งก๊าซ และในเดือนมกราคม 2550 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 61.59 และ 60.31 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากเดือนธันวาคม 2549 6.57 และ 6.71 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและจากอินโดนีเซียลดปริมาณนำเข้าน้ำมันเบนซินเดือนกุมภาพันธ์ลงร้อยละ 4.5 มาอยู่ที่ระดับ 3.82 ล้านบาร์เรล ประกอบกับการรายงานปริมาณสำรองน้ำมันสำเร็จรูปของสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 1.06 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 8.60 ล้านบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 66.07 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากเดือนธันวาคม 2549 3.86 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากจีนยังคงชะลอการเข้าซื้อในตลาดเพราะความต้องการใช้ในประเทศที่ลดลงโดยลดปริมาณการนำเข้าลงจากเดือนธันวาคม 2549 ประมาณ 10,000 ตัน มาอยู่ที่ระดับ 30,000 ตัน ในเดือนมกราคม 2550
3. ราคาขายปลีกในปี 2549 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และดีเซลหมุนเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 27.56, 26.76 และ 25.57 บาท/ลิตร ตามลำดับ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2548 อยู่ 3.65, 3.65 และ 5.53 บาท/ลิตร ตามลำดับ และในเดือนมกราคม 2550 ผู้ค้าน้ำมันปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินลดลง 3 ครั้ง และปรับราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลง 2 ครั้ง ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95 , 91 และดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 31 มกราคม 2550 อยู่ที่ระดับ 25.19, 24.39 และ 22.54 บาท/ลิตร ตามลำดับ
4. ราคาน้ำมันปี 2550 คาดว่ายังคงผันผวน โดยแนวโน้มราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์จะเฉลี่ย อ่อนตัวลงจากปี 2549 โดยเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 55 - 65 และ 62 - 70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ และคาดว่าราคาน้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในตลาดจรสิงคโปร์เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 65 - 75 และ 68 - 75 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคา คือ เศรษฐกิจของโลกอยู่ในช่วงชะลอตัว และความต้องการใช้น้ำมันลดลง ประกอบกับอุปทานน้ำมัน รวมถึงปริมาณสำรองน้ำมันดิบของโลก โดยเฉพาะของสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศ OECD อยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปริมาณการผลิตของกลุ่มประเทศโอเปคอยู่ที่ 33.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน และกลุ่มนอกโอเปคอยู่ที่ป 50 ล้านบาร์เรลต่อวัน รวมกำลังการผลิตประมาณ 83.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2550 ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา แม้ว่ากลุ่มโอเปค จะปรับลดกำลังการผลิตประมาณ 800,000 บาร์เรล/วัน ทั้งนี้อีกปัจจัยหนึ่งที่มีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อราคาได้แก่ ประเด็นการกำหนดปริมาณสำรองน้ำมันดิบของสหรัฐฯ
5. สถานการณ์ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกเดือนมกราคม 2550 ปรับตัวสูงขึ้น 61 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาอยู่ที่ระดับ 547 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากความต้องการซื้อในภูมิภาคมีมาก และอุปทานตึงตัวในแถบตะวันออกกลาง ประกอบกับอัตราค่าขนส่งปรับตัวเพิ่มขึ้น ราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นอยู่ในระดับ 11.8089 บาท/กิโลกรัม อัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่จำหน่ายในประเทศอยู่ในระดับ 1.7390 บาท/กิโลกรัม คิดเป็น 485.43 ล้านบาท/เดือน อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ส่งออกอยู่ที่ระดับ 3.9575 บาท/กิโลกรัม คิดเป็น 116.07 ล้านบาท/เดือน และแนวโน้มราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2550 คาดว่าราคาจะอ่อนตัวลงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 490 - 495 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากอุปทานในภูมิภาคมีมากเนื่องจากราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกเดือนมกราคม 2550 อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ความต้องการซื้อจากแถบตะวันตก ลดลง รวมทั้งสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยประมาณราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นอยู่ที่ระดับ 11.6983 -11.7080 บาท/กิโลกรัม อัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่จำหน่ายในประเทศอยู่ในระดับ 1.6284 - 1.6381 บาท/กิโลกรัม คิดเป็น 415.84 - 418.44 ล้านบาท/เดือน อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ส่งออกอยู่ที่ระดับ 2.9852 - 3.0705 บาท/กิโลกรัม คิดเป็น 87.56 - 90.06 ล้านบาท/เดือน ณ อัตราแลกเปลี่ยน 36.0585 บาท/เหรียญสหรัฐ
6. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 31 มกราคม 2550 มีเงินสดสุทธิ 4,017 ล้านบาท มีหนี้สินค้างชำระ 41,575 ล้านบาท แยกเป็นหนี้พันธบัตร 17,600 ล้านบาท หนี้เงินกู้สถาบันการเงิน 11,333 ล้านบาท หนี้เงินชดเชยตรึงราคาน้ำมันค้างชำระ 1,211 ล้านบาท หนี้ชดเชยราคาก๊าซ LPG 11,431 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิติดลบ 37,558 ล้านบาท โดยประมาณการรายได้สุทธิของกองทุนน้ำมันฯ เดือนกุมภาพันธ์ 2550 อยู่ที่ระดับ 3,923 ล้านบาท ซึ่งคาดว่ากองทุนน้ำมันฯ จะมีเงินสะสมเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้หมดประมาณเดือนธันวาคม 2550 แต่อย่างไรก็ตาม หนี้ในส่วนของพันธบัตรงวดที่ 2 จำนวน 8,800 ล้านบาท จะต้องไถ่ถอนตามกำหนดเวลาเดิมในเดือนตุลาคม 2551
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อคำนึงถึงแผนการดำเนินการตามโครงการ NGV ทั้งทางด้านการเพิ่มจำนวนรถแท็กซี่ที่ปรับเปลี่ยนการใช้ LPG ไปเป็น NGV การเพิ่มจำนวนสถานี NGV และราคา LPG ในตลาดโลกซึ่งคาดว่าในช่วงกลางปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนราคา LPG จะปรับตัวลดลงแล้วนั้น คาดว่าช่วงกลางปี 2550 เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินการยกเลิกการตรึงราคาก๊าซ LPG
2. กบง. เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 ได้มีมติให้มีการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากการส่งออกก๊าซ LPG โดยการปรับราคาเพดานของราคา ณ โรงกลั่นจาก 315 USD/ตัน ให้สูงขึ้นในระดับที่รายจ่ายของ กองทุนน้ำมันฯ ที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้เท่ากับรายรับของกองทุนน้ำมันฯ ที่ได้จากการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากการส่งออกก๊าซ LPG ส่งผลให้อัตราเงินชดเชยราคาก๊าซ LPG ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม ตามส่วนต่างของระดับราคาเพดานกับราคาตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งถ้าอัตราแลกเปลี่ยนในประเทศอ่อนตัวลง อาจจะทำให้อัตราเงิน ชดเชยเกิน 2 บาท/กก
3. เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธาน กบง. จึงได้ให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอของ สนพ. ดังนี้
3.1 เห็นชอบให้คงนโยบายราคาก๊าซ LPG ในปัจจุบันโดยขยายระยะเวลาการยกเลิกการจ่ายเงินชดเชยราคาก๊าซ LPG ต่อไปอีกจนถึงสิ้นปี 2550 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป
3.2 เห็นชอบในการขยายเวลาการกำหนดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซ LPG สูงกว่าระดับเพดานอัตราเงินชดเชยสูงสุด 2 บาท/กก. ต่อไปอีกจนถึงสิ้นปี 2550 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับข้อ 3.1
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
ครั้งที่ 17 - วันพุธ ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 6/2549 (ครั้งที่ 17)
วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1. การขยายระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP)
2. การกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
3. ข้อเสนอมาตรการป้องกันการขาดแคลนก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศ
6. การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (RPS)
7. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
8. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
9. ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการติดตั้งอุปกรณ์ NGV
10. การลดค่ากระแสไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายเมตตา บันเทิงสุข) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การขยายระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP)
สรุปสาระสำคัญ
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2549 ได้มีมติเห็นชอบร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานเชิงพาณิชย์ ระบบ Cogeneration และร่างระเบียบว่าด้วยการเดินเครื่องกำเนิด ไฟฟ้าขนานกับระบบของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย สำหรับปริมาณพลังไฟฟ้าขายเข้าระบบไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายเร่งดำเนินการออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจาก ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากต่อไป โดยมอบหมายให้ สนพ. และการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายพิจารณาในรายละเอียด (1) การคำนวณค่าปรับสำหรับ VSPP ที่ผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ Cogeneration (2) ค่าใช้จ่ายการเชื่อมโยงระบบ ไฟฟ้า สำหรับ VSPP ที่มีปริมาณไฟฟ้าเกินกว่า 6 เมกะวัตต์ โดยที่ VSPP ที่มีปริมาณพลังไฟฟ้าไม่เกิน 6 เมกะวัตต์ ค่าใช้จ่ายการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้ายังคงตามระเบียบเดิม (3) แนวทางในการทดสอบการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า และการกำหนดขั้นตอนและหลักการในการขออนุญาตเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า (4) แบบคำขอจำหน่ายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า และ (5) ต้นแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้แล้วเสร็จเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ให้ความเห็นชอบก่อนออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากต่อไป
ต่อมาเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2549 คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้าได้พิจารณาและหารือประเด็นที่ได้รับมอบหมายจาก กพช. และได้มีข้อสรุปดังนี้
2.1 การคำนวณสัดส่วนการประหยัดเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า (PES) โดยเห็นควรให้ ปรับปรุงสูตรการคำนวณสัดส่วนการประหยัดเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า (PES) โดยกำหนดค่าประสิทธิภาพทางความร้อนอ้างอิงของระบบผลิตความร้อนและประสิทธิภาพทางความร้อนอ้างอิงของระบบผลิตไฟฟ้า แตกต่างกันตามชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และน้ำมัน เป็นร้อยละ 45 และ 85, ร้อยละ 40 และ 80, และร้อยละ 40 และ 80 ตามลำดับ นอกจากนี้ เห็นชอบในหลักการการตรวจวัดประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าโดยการตรวจวัดพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งระบบ ส่วนการตรวจวัดพลังงานความร้อนที่นำไปใช้ประโยชน์จริง เห็นควรให้พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป โดยให้ผู้ผลิตไฟฟ้าจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อน โดยกำหนดในแบบคำขอจำหน่ายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า พร้อมทั้งมอบหมายให้ สนพ. และการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจัดทำคู่มือการตรวจวัดฯ
2.2 การคำนวณค่าปรับสำหรับ VSPP ที่ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานเชิงพาณิชย์ ระบบ Cogeneration เห็นควรกำหนดบทปรับสำหรับ VSPP ที่ไม่สามารถรักษาสัดส่วนการประหยัดเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า (PES) ตามที่กำหนดในระเบียบ โดยมีสูตรการคำนวณ ดังนี้
ค่าปรับ - [(PESที่กำหนด - PESจริง)/100] x รายได้ค่าพลังงานไฟฟ้าที่ซื้อในรอบปีนั้น
ทั้งนี้ ค่าปรับที่เรียกเก็บจาก VSPP ให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายนำไปลดค่าไฟฟ้าให้กับประชาชน ผ่านสูตร Ft
2.3 ค่าใช้จ่ายการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า สำหรับ VSPP ที่มีปริมาณพลังไฟฟ้าเกินกว่า 6 เมกะวัตต์ โดย กฟภ. จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับระบบป้องกัน อาทิ กรณีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 6 เมกะวัตต์ขึ้นไป โดยเฉพาะเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ Synchronous โดยให้ติดตั้ง Synchronizing Check Relay ที่สถานีไฟฟ้าของ กฟภ. และกรณีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเกิน 500 เมกะวัตต์ แต่ไม่เกิน 6 เมกะวัตต์ กฟภ. กำหนดเป็นเงื่อนไข ให้การคิดค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อ VSPP มีความประสงค์ต้องการติดตั้งเท่านั้น นอกจากนี้ กฟภ. ได้ขอเรียกเก็บค่าบริการทางวิศวกรรม ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่รับผิดชอบในการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ เห็นว่าการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายควรนำรายได้จากค่าดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP ร้อยละ 2 ของปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ขายเข้าระบบของ VSPP ที่ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเกินกว่า 1 เมกะวัตต์ ไปช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
2.4 คู่มือการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP โดยเห็นควรให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายปรับปรุงคู่มือการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP ให้ใช้ปฏิบัติได้กับผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และผู้ผลิตไฟฟ้าระบบ Cogeneration นอกจากนี้เพื่อเป็นการดูแลด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่ผู้ผลิตไฟฟ้ามีขนาดกำลัง การผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ เห็นควรให้ผู้ผลิตไฟฟ้าจะต้องนำใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ซึ่งได้รับอนุมัติจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ยื่นต่อการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ก่อนวันเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าตามสัญญาด้วย ซึ่งได้มีการกำหนดไว้ในคู่มือการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP แล้ว
2.5 แบบคำขอจำหน่ายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า และต้นแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมต้นแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้า สำหรับ VSPP 1 เมกะวัตต์ ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยให้ VSPP จะต้องจัดส่งปริมาณของเชื้อเพลิงที่ใช้ต่อปีและค่าความร้อนเฉลี่ยของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิต ไฟฟ้า ทั้งเชื้อเพลิงหลักและเชื้อเพลิงเสริม ขณะที่กรณี VSPP ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นเชื้อเพลิง หากพลังงานความร้อนที่ได้จากการใช้เชื้อเพลิงเสริมในแต่ละรอบปี เกินร้อยละ 25 ของพลังงานความร้อนทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าในรอบปีนั้น ให้เปลี่ยนไปใช้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าสำหรับ VSPP ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานเชิงพาณิชย์ ระบบ Cogeneration ส่วนสัญญาซื้อขายไฟฟ้าสำหรับ VSPP ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานเชิงพาณิชย์ ระบบ Cogeneration เห็นควรเพิ่มเติมรายละเอียดวิธีการคำนวณค่าปรับ การชำระเงินค่าปรับให้ VSPP พร้อมทั้งกำหนดให้ VSPP จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์สัดส่วนการประหยัดเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าเป็นประจำทุกเดือน และจัดส่งให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายเป็นประจำทุก 3 เดือน เพื่อใช้ในการพิจารณาคุณสมบัติ Cogeneration และ VSPP
2.6 ผู้ผลิตไฟฟ้าตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP เมื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในกระบวนการผลิตหรือใช้ในโรงไฟฟ้าแล้ว สามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ โดยไม่สามารถจำหน่ายให้กับผู้ใช้ไฟในบริเวณใกล้เคียงได้
2.7 เห็นควรให้ผู้ผลิตไฟฟ้าปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ หากมีปัญหาการร้องเรียนให้เร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบเอกสารประกอบการออกประกาศขยายการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP)
2. เห็นชอบให้ผู้ผลิตไฟฟ้าตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP เมื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในกระบวนการผลิต หรือใช้ในโรงไฟฟ้าแล้วสามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ โดยไม่สามารถจำหน่ายให้กับผู้ใช้ไฟในบริเวณใกล้เคียงได้
3. เห็นชอบให้ผู้ผลิตไฟฟ้าปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ หากมีปัญหาการร้องเรียนให้เร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว
4. มอบหมายให้ สนพ. และการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจัดทำคู่มือการตรวจวัดประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้เมื่อได้ข้อยุติแล้วให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายปรับปรุงคู่มือการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP ให้สอดคล้องกันต่อไป
เรื่องที่ 2 การกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
สรุปสาระสำคัญ
1. ในการประชุม กพช. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2549 ได้พิจารณาเรื่อง แนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ Cogeneration โดยมีมติให้มีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยใช้มาตรการจูงใจด้านราคาผ่านระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) โดยกำหนดส่วนเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้า (Adder) จากราคารับซื้อไฟฟ้าตามระเบียบ SPP หรือ VSPP ตามประเภทเชื้อเพลิงและเทคโนโลยี ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน
2. เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2549 กระทรวงพลังงานได้พิจารณาแนวทางส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานหมุนเวียน และได้เห็นชอบกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) จากราคารับซื้อไฟฟ้าตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้า แยกตามประเภทเชื้อเพลิง โดยมีแนวทางในการให้การสนับสนุน ได้แก่ 1) ผู้ผลิตไฟฟ้า ที่มีปริมาณพลังงานไฟฟ้าเสนอขาย ไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ซึ่งขายไฟฟ้าเข้าระบบตามระเบียบ VSPP ได้รับส่วนเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้าในอัตราคงที่ และ 2) ผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีปริมาณพลังงานไฟฟ้าเสนอขายตามสัญญา เกินกว่า 10 เมกะวัตต์ จะเปิดให้มีการประมูลแข่งขันส่วนเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้า
3. จากผลการศึกษาของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ และ สนพ. ในเรื่องต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน พบว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน มีความแตกต่างกันตามเทคโนโลยี ชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต รวมทั้งรายละเอียดในการลงทุนต่างๆ ทำให้ระดับ ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) มีความหลากหลาย ดังนั้น เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมากเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น จึงควรให้กำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) โดยพิจารณาจาก
3.1 ระยะเวลาการให้การสนับสนุน : ควรเป็นระยะเวลา 7 ปี นับจากวันเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าตามสัญญา
3.2 การบังคับใช้ : กำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) จากราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย ไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ซึ่งขายไฟฟ้าเข้าระบบตามระเบียบ VSPP โดยให้ การสนับสนุนเฉพาะโรงไฟฟ้าใหม่ที่ยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP ภายหลังวันที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายออกประกาศขยายระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP สำหรับปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายเข้าระบบไม่เกิน 10 เมกะวัตต์
3.3 ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) แยกตามประเภทเชื้อเพลิง เป็นดังนี้ 1) เชื้อเพลิงชีวมวล, 2) พลังน้ำขนาดเล็ก (50-200 กิโลวัตต์), 3) พลังน้ำขนาดเล็ก (< 50 กิโลวัตต์), 4) ขยะ, 5) พลังงานลม และ 6) พลังงานแสงอาทิตย์ ให้คิดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าในอัตรา 0.30, 0.40, 0.80, 2.50, 2.50 และ 8.00 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง) ตามลำดับ
3.4 ภาระค่าไฟฟ้า : มูลค่าการรับซื้อไฟฟ้าตามส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าดังกล่าว ให้ส่งผ่านค่า ไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)
มติของที่ประชุม
เห็นชอบการกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) จากราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ซึ่งขายไฟฟ้าเข้าระบบตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิต ไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ตามรายละเอียด ดังนี้
1. ระยะเวลาการให้การสนับสนุน : ให้การสนับสนุนเป็นระยะเวลา 7 ปีนับจากวันเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าตามสัญญา
2. การบังคับใช้ : กำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) จากราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ซึ่งขายไฟฟ้าเข้าระบบตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP โดยให้การสนับสนุนเฉพาะโรงไฟฟ้าใหม่ที่ยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าตามระเบียบรับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP ภายหลังวันที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายออกประกาศขยายระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP สำหรับปริมาณ พลังไฟฟ้าเสนอขายเข้าระบบไม่เกิน 10 เมกะวัตต์
3. ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) แยกตามประเภทเชื้อเพลิง เป็นดังนี้
เชื้อเพลิง/เทคโนโลยี | ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง) |
ชีวมวล | 0.30 |
พลังน้ำขนาดเล็ก (50-200 กิโลวัตต์) | 0.40 |
พลังน้ำขนาดเล็ก (< 50 กิโลวัตต์) | 0.80 |
ขยะ | 2.50 |
พลังงานลม | 2.50 |
พลังงานแสงอาทิตย์ | 8.00 |
4. ภาระค่าไฟฟ้า : มูลค่าการรับซื้อไฟฟ้าตามส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวในข้อ 3 ให้ส่งผ่านค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)
เรื่องที่ 3 ข้อเสนอมาตรการป้องกันการขาดแคลนก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศ
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 กบง. ได้มีมติเรื่องการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ดังนี้
1.1 กำหนดรายได้ของผู้ผลิตและผู้นำเข้าให้เท่ากับราคาประกาศเปโตรมิน (CP) ที่ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบีย เป็นสัดส่วนระหว่างโพรเพนกับบิวเทนเป็น 60 ต่อ 40 ลบ 16 USD/ตัน มีราคาต่ำสุดในระดับ 185 USD/ตัน และสูงสุดในระดับ 315 USD/ตัน
1.2 จำกัดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซ LPG สูงสุด เพื่อยุติการไหลออกของเงินกองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิง และให้กองทุนน้ำมันฯ สามารถชำระหนี้ได้หมดภายในปี 2547 โดย 1) เดือนกรกฎาคม 2546 จำกัดอัตราชดเชยไม่เกิน 3 บาท/กก. ซึ่งเป็นระดับไม่สูงกว่ารายได้ของกองทุนน้ำมันฯ 2) เดือนกรกฎาคม 2547 จำกัดอัตราชดเชยไม่เกิน 2 บาท/กก. 3) เดือนกรกฎาคม 2548 ให้ยกเลิกการจ่ายเงินชดเชยราคาก๊าซ LPG ยกเลิกการควบคุมราคาระบบ "ลอยตัวเต็มที่"
1.3 ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายให้ลูกค้าธนาคารทั่วไป ที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยใช้ค่าเฉลี่ยย้อนหลังวันทำการธนาคารแห่งประเทศไทยในสัปดาห์ผ่านมา
2. ต่อมา กบง. ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซ LPG และฐานะกองทุนน้ำมันฯ อย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2549 ได้มีมติให้คงนโยบายราคาก๊าซ LPG ในปัจจุบันต่อไปอีก 6 เดือน พร้อมทั้งให้ขยายเวลาการกำหนดอัตราเงินชดเชยสูงกว่าระดับเพดานอัตราเงินชดเชยสูงสุด 2 บาท/กก. โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 - 31 ธันวาคม 2549 เนื่องจากการใช้ LPG ในภาคการขนส่งโดยเฉพาะกลุ่มรถแท็กซี่มีแพร่หลายมากขึ้น แต่การใช้ NGV ตามนโยบายรัฐบาลทำได้อย่างจำกัด
3. เนื่องจากราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกได้ปรับสูงขึ้นกว่าระดับราคาเพดานที่ภาครัฐกำหนด ณ ระดับ 315 USD/ตัน ทำให้ผู้ผลิตและผู้ค้าก๊าซ LPG มีการส่งออกมากกว่าการจำหน่ายภายในประเทศ และประกอบกับประชาชนได้เปลี่ยนมาใช้ก๊าซ LPG ในรถยนต์มากขึ้นด้วยปัญหาราคาน้ำมันแพง ซึ่งทำให้ปริมาณความต้องการใช้ LPG ภายในประเทศมีปริมาณใกล้เคียงกับปริมาณการผลิต ซึ่งหากความต้องการใช้ก๊าซ LPG ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดการขาดแคลนก๊าซ LPG ได้ กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการจัดสรรให้ส่งออกได้เฉพาะผู้ผลิต โดยคำนวณปริมาณการส่งออกจากสัดส่วนปริมาณการผลิตและการส่งออกของก๊าซ LPG นอกจากนี้ได้กำหนดให้ผู้ที่มีปริมาณการผลิตมากจะต้องรับผิดชอบปริมาณการจำหน่ายในประเทศมากขึ้นตามสัดส่วนการผลิต ซึ่งมาตรการดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้และก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ค้าก๊าซ LPG และเกิดการร้องเรียนจากผู้บริโภคต่อภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
4. ส่วนแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนจึงควรจะต้องปรับเพิ่มราคา LPG ให้สูงขึ้นถึงระดับที่เป็นจริง และเร่งส่งเสริมการใช้ก๊าซ NGV ในรถยนต์ให้เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้ก๊าซ LPG โดยเร็วที่สุด โดยดำเนินการ ดังนี้ 1) ยกเลิกการจ่ายเงินชดเชยราคาก๊าซ LPG เพื่อให้สะท้อนกับต้นทุนตามเพดานราคาที่รัฐกำหนด 2) เร่งขยายโครงการ NGV เพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์มากกว่าการใช้ก๊าซ LPG และ 3) ยกเลิกการกำหนดรายได้ของผู้ผลิตและผู้นำเข้า (ราคาต่ำสุดในระดับ 185 USD/ตัน และสูงสุดในระดับ 315 USD/ตัน) เพื่อให้เป็นราคาที่แท้จริงตามราคาตลาดโลก โดยทั้งนี้การดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวจะต้องใช้เวลานานพอควรในการปรับราคา LPG เพิ่มขึ้น และหากปรับราคาทันทีอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการได้
5. เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้นด้านความเสี่ยงภัยการขาดแคลน LPG ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอให้มีการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากการส่งออก LPG ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกมีรายได้จากส่วนต่างด้านราคา น้อยลงและนำรายได้ในส่วนนี้ไปจ่ายชดเชยให้แก่ผู้ที่จำหน่าย LPG ในประเทศแทน เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้เกิดการจำหน่ายในประเทศและลดการส่งออก โดยการปรับราคาเพดานของราคา ณ โรงกลั่นจาก 315 USD/ตัน ให้สูงขึ้นในระดับที่รายจ่ายของกองทุนน้ำมันฯ ที่เพิ่มขึ้น ในส่วนนี้เท่ากับรายรับของกองทุนน้ำมันฯ ที่ได้จากการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของ LPG ส่งออก โดยให้ออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ดังนี้
1) หลักเกณฑ์การคำนวณราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ทำในราชอาณาจักรและนำเข้า โดยให้ใช้ราคา FOB ของราคาประกาศเปโตรมินที่ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบีย เป็นสัดส่วนระหว่างโพรเพนกับบิวเทนเป็น 60 ต่อ 40 ลบ 16 USD/ตัน และให้รับประกันราคา ณ โรงกลั่นและราคานำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว ณ รับประกันราคาต่ำสุดที่ระดับ 185 USD/ตัน และรับประกันราคาสูงสุดในระดับที่ได้จากการคำนวณตามสูตรต่อไปนี้
โดยที่
- Px หมายถึง ราคาส่งออกก๊าซปิโตรเลียมเหลวซึ่งกำหนดให้เท่ากับราคา FOB ของราคาประกาศเปโตรมินที่ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบีย เป็นสัดส่วนระหว่างโพรเพนกับบิวเทน เป็น 60 ต่อ 40
x หมายถึง ปริมาณการส่งออกก๊าซปิโตรเลียมเหลวของประเทศ ตามแผนที่ผู้ค้าแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน
c หมายถึง ปริมาณการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวของประเทศซึ่งคำนวณจากแผนการผลิต และส่งออกที่ผู้ค้าแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน
2) หลักเกณฑ์การคำนวณอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของก๊าซ LPG ส่งออก ให้เท่ากับครึ่งหนึ่งของส่วนต่างระหว่างราคาก๊าซ LPG ส่งออก และราคาก๊าซ LPG ที่ทำในราชอาณาจักร ตามที่กำหนดในข้อ 1)
3) ประกาศเปลี่ยนแปลงราคาจะมีการเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ โดยให้มีการประกาศใช้ทุกวันจันทร์ และวันที่ 1 ของเดือน
4) ข้อมูลที่ใช้ประกอบในการคำนวณ โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายให้ ลูกค้าธนาคารทั่วไป และปริมาณการใช้และการส่งออกก๊าซ LPG ของประเทศ จากกรมธุรกิจพลังงาน
6. เมื่อดำเนินการตามข้อ 5 อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิต คือ ราคา ณ โรงกลั่นจะเพิ่มขึ้นเป็น 11.77 บาท/กก. ซึ่งได้จากการเก็บเข้ากองทุนน้ำมันฯ ร้อยละ 50 ของรายได้จากการส่งออกประมาณ 78.6 ล้านบาท/เดือน
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้มีการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากการส่งออกก๊าซ LPG ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกมีรายได้จากส่วนต่างด้านราคาน้อยลงและนำรายได้ในส่วนนี้ไปจ่ายชดเชยให้แก่ผู้ที่จำหน่ายก๊าซ LPG ในประเทศแทนเพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้เกิดการจำหน่ายในประเทศและลดการส่งออก โดยการปรับราคาเพดานของราคา ณ โรงกลั่นจาก 315 USD/ตัน ให้สูงขึ้นในระดับที่รายจ่ายของกองทุนน้ำมันฯ ที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้เท่ากับ รายรับของกองทุนน้ำมันฯ ที่ได้จากการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากการส่งออกก๊าซ LPG
2. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงภัยการขาดแคลนก๊าซ LPG ในระยะสั้นโดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
2.1 หลักเกณฑ์การคำนวณราคาก๊าซ LPG ที่ทำในราชอาณาจักรและนำเข้า
(1) ให้ใช้ราคา FOB ของราคาประกาศเปโตรมินที่ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบีย เป็นสัดส่วนระหว่างโพรเทนกับบิวเทน เป็น 60 ต่อ 40 ลบ 16 USD/ตัน
(2) ให้รับประกันราคา ณ โรงกลั่น และราคานำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว ดังนี้
(2.1) รับประกันราคาต่ำสุดที่ระดับ 185 USD/ตัน
(2.2) รับประกันราคาสูงสุดในระดับที่ได้จากการคำนวณตามสูตรต่อไปนี้
- โดยที่
Px หมายถึง ราคาส่งออกก๊าซปิโตรเลียมเหลวซึ่งกำหนดให้เท่ากับราคา FOB ของราคาประกาศเปโตรมินที่ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบียเป็นสัดส่วนระหว่างโพรเพนกับบิวเทนเป็น 60 ต่อ 40
x หมายถึง ปริมาณการส่งออกก๊าซปิโตรเลียมเหลวของประเทศ ตามแผนที่ผู้ค้าแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน
c หมายถึง ปริมาณการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวของประเทศซึ่งคำนวณจากแผนการผลิตและส่งออกที่ผู้ค้าแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน
(3) ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายให้ลูกค้าธนาคารทั่วไป มีประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยใช้ค่าเฉลี่ยย้อนหลังวันทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 หลักเกณฑ์การคำนวณอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของก๊าซปิโตรเลียมเหลวส่งออก อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ส่งออกให้เท่ากับครึ่งหนึ่งของส่วนต่างระหว่างราคาก๊าซ LPG ส่งออก และราคาก๊าซ LPG ที่ทำในราชอาณาจักรตามที่กำหนดในข้อ 2.1
2.3 ประกาศเปลี่ยนแปลงราคา ให้มีการเปลี่ยนแปลงราคาทุกสัปดาห์ โดยให้มีการประกาศใช้ ทุกวันจันทร์และวันที่ 1 ของทุกเดือน
2.4 ข้อมูลที่ใช้ประกอบในการคำนวณ คือ อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ ขายให้ลูกค้าธนาคารทั่วไป
1. เห็นชอบให้แก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรองรับแนวทางและวิธีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการขาดแคลนก๊าซ LPG โดยเฉพาะประเด็นการเรียกเก็บเงินส่งเข้ากองทุนฯ จากการส่งออกก๊าซ LPG
2. เห็นชอบให้บังคับใช้มาตรการในข้อ 1 และ 2 หลังจากการแก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2547 ตามข้อ 3 เรียบร้อยแล้ว
3. เห็นชอบให้ สนพ. รับไปพิจารณาความเหมาะสมของช่วงเวลาเกี่ยวกับข้อมูลปริมาณการผลิต ปริมาณการส่งออก และปริมาณการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวของประเทศ ตามแผนที่ผู้ค้าแจ้งต่อกรมธุรกิจ พลังงาน
4. เห็นชอบให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน และติดตามผลการเปลี่ยนแปลงปริมาณการส่งออกและการจำหน่ายก๊าซ LPG ในประเทศ และหากพบว่าจำเป็นต้องมีการปรับสัดส่วนการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากร้อยละ 50 ของส่วนต่างระหว่างราคาส่งออกและจำหน่ายในประเทศให้สามารถปรับได้ตามความเหมาะสม โดยมอบหมายให้ประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบแทนคณะกรรมการฯ
สรุปสาระสำคัญ
1. ในการประชุม กบง. เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2549 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ "โครงการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์พลังงานสู่การปฏิบัติ" โดยมอบหมายให้ สนพ. จัดทำรายละเอียดโครงการ (TOR) ให้เป็นรูปธรรมและชัดเจนมากขึ้น พร้อมทั้งประมาณการงบประมาณดำเนินการเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการฯ อีกครั้ง
2. กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 ได้มีมติเห็นชอบนโยบายและแผนพัฒนา พลังงานของประเทศ โดยเน้นความสำคัญของแผนพัฒนาพลังงานระยะสั้นที่ต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในรัฐบาลชุดปัจจุบัน และเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเกิดความรวดเร็วในการดำเนินงาน สนพ. ได้ปรับแผนการดำเนินงานจาก การจัดตั้งศูนย์ประสานงานฯ เป็นการจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการด้านพลังงาน เพื่อดำเนินงานกับ สนพ. ในการผลักดันแผนพลังงานสู่การปฏิบัติและเป็นรูปธรรมภายใน 1 ปี ซึ่งจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน และมีการจัดกิจกรรมเชิงรุก อาทิ การประชาสัมพันธ์ การสัมมนาระดมความคิดเห็น การศึกษาวิจัย การติดตามเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อผลักดันสนับสนุนงานนโยบายด้านพลังงานไปสู่การปฏิบัติ โดยการปรับเปลี่ยนโครงการจัดตั้งศูนย์ประสานเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ฯ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ เป็นโครงการสนับสนุนการประสานผลักดันนโยบายและแผนพัฒนาพลังงานสู่การปฏิบัติ
3. โครงการสนับสนุนการประสานผลักดันฯ จะดำเนินงานระยะเวลา 12 เดือน โดยประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ (1) การจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน 4 คน นักวิชาการ 2 คน และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 คน (2) การจ้างศึกษาวิจัย และ (3) การจัดกิจกรรมเพื่อผลักดันนโยบาย เพื่อให้เกิดกิจกรรมเชิงรุกที่สอดรับต่อเป้าประสงค์ของนโยบายและแผนพัฒนาประเทศ เกิดการประสานงานระหว่างภาครัฐ เอกชน และยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ หน่วยงานภายใต้กระทรวงพลังงาน หน่วยงานราชการด้านการวางแผนบริหารราชการแผ่นดินและแผนงบประมาณ และด้านยุทธศาสตร์พลังงาน รวมทั้งหน่วยงานและองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการเงิน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาที่ปรึกษาฯ ผู้ประกอบการด้านพลังงาน นักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชน
4. งบประมาณดำเนินการโครงการฯ จำนวน 23.5 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจ้างบุคลากร 8.5 ล้านบาท ค่าจ้างศึกษาวิจัย 3.0 ล้านบาท และค่าจัดกิจกรรมเพื่อผลักดันนโยบาย 12.0 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
อนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการสนับสนุนการประสานผลักดันนโยบายและแผนพัฒนาพลังงานสู่การปฏิบัติ ให้กับ สนพ. เป็นวงเงิน 23,500,000 บาท (ยี่สิบสามล้านห้าแสนบาทถ้วน) โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน (ธันวาคม 2549 - พฤศจิกายน 2550)
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2549 กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้มีหนังสือถึงฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการดำเนิน "โครงการส่งเสริมผู้ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV" เพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV โดยใช้เงินงบประมาณรวม 27.811 ล้านบาท ต่อมา ธพ. ได้ขอปรับลดเงินสนับสนุนโครงการฯ ใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันโดยขอรับเงินสนับสนุนเหลือเพียงจำนวน 14.250 ล้านบาท
2. จากเป้าหมายการเพิ่มปริมาณรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV ของ ปตท. จำนวน 300,000 คัน ในปี 2551 และเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 คัน ในปี 2553 โดยมีรถที่ติดตั้งส่วนควบและอุปกรณ์เกี่ยวกับก๊าซ NGV ต้องได้รับการตรวจและทดสอบเพื่อความปลอดภัย ต้องตรวจสภาพรถยนต์ในครั้งแรกและครั้งต่อไปตามระยะเวลามีจำนวนมากขึ้น ทำให้ปริมาณงานการตรวจและทดสอบรถมีจำนวนมากขึ้นเช่นกัน แต่ปัจจุบันมีผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับอนุญาตเพียง 20 ราย ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการผู้ใช้ก๊าซ NGV โดยที่การตรวจและทดสอบส่วนใหญ่ จะอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ทำให้ไม่สามารถรองรับการให้บริการรถที่จะทำการติดตั้ง NGV ที่จะเกิดขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ และเพื่อให้มีการผลิตบุคลากรผู้ตรวจและทดสอบเพื่อรองรับการกระจายตัวของรถ NGV ที่จะเกิดขึ้น และเพิ่มจำนวนสถานที่ตรวจและทดสอบรับอนุญาตให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ธพ. จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างผู้ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV ขึ้น
3. ธพ. มีแนวทางในการดำเนินโครงการฯ โดยการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม จัดทำเอกสารคู่มือ จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์การฝึกอบรม จัดการฝึกอบรมให้แก่ข้าราชการและพนักงานของหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่ในการตรวจและทดสอบหรือบุคคลที่สนใจเป็นผู้ตรวจและทดสอบ จำนวนรวม 80 คน (4 รุ่นๆ ละ 20 คน) จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ให้กับหน่วยงานราชการที่จะประสงค์เป็นผู้ตรวจและทดสอบรับอนุญาต สถานที่ ฝึกอบรม ณ สถาบันพัฒนาเทคนิคพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน จ.ชลบุรี มีระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2549 - กันยายน 2550
มติของที่ประชุม
อนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับกรมธุรกิจพลังงานเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการเสริมสร้างผู้ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV ในวงเงิน 14,250,000 บาท (สิบสี่ล้านสองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2549 - เดือนกันยายน 2550)
เรื่องที่ 6 การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (RPS)
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 ได้มีมติอนุมัติเรื่อง แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2547 - 2558 (PDP 2004) โดยเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้า 4 โรง รวมกำลังผลิต 2,800 เมกะวัตต์ ทั้งนี้จะต้องมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามนโยบาย Renewable Portfolio Standard (RPS) ร้อยละ 5 ของกำลังผลิตโรงไฟฟ้าใหม่ที่จะสร้างขึ้นตามแผน PDP 2004 หรือปริมาณ 140 เมกะวัตต์ และต่อมาในการประชุม กพช. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2549 ได้มีมติเรื่อง แนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ Cogeneration โดยเห็นชอบการกำหนดสัดส่วนกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตามนโยบาย RPS ของ กฟผ. และมอบให้ กฟผ. เร่งดำเนินการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน กำลังการผลิตประมาณ 80 เมกะวัตต์ สำหรับกำลังการผลิตส่วนที่เหลืออีก 60 เมกะวัตต์ ให้ กฟผ. เร่งดำเนินการออกประกาศเชิญชวนให้ผู้ลงทุนยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้า โดยใช้วิธีประมูลแข่งขัน ส่วนราคาที่ได้จากการประมูลแข่งขันดังกล่าว ให้ สนพ. นำไปประกอบการพิจารณากำหนดส่วนเพิ่มอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนต่อไป
2. ต่อมากระทรวงพลังงานได้ขอให้ กฟผ. พิจารณาทบทวนสัดส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มี ต้นทุนสูง และ กฟผ. ได้มีหนังสือถึงปลัดกระทรวงพลังงานเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 เรื่องการทบทวนแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตามนโยบาย RPS สำหรับโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. เพื่อนำเสนอ สศช. ให้ความเห็นชอบและนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป
3. สาระสำคัญของการทบทวนแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน RPS สำหรับโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้ง 140.7 เมกะวัตต์ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กฟผ. ดำเนินการเอง ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กจำนวน 78.7 เมกะวัตต์ ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 1 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้ากังหันลมจำนวน 1 เมกะวัตต์ รวมทั้งสิ้น 80.7 เมกะวัตต์ 2) กฟผ. ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชน ได้แก่ ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 1 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้ากังหันลมจำนวน 3 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าขยะจำนวน 20 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าชีวมวลจำนวน 36 เมกะวัตต์ รวมทั้งสิ้น 60 เมกะวัตต์ ซึ่งมีกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในช่วงปี 2551 - 2553
4. ผลการวิเคราะห์ค่าไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าฯ พบว่าราคาไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กอยู่ที่ 2.21 บาท/หน่วย ส่วนราคาไฟฟ้าจากระบบพลังงานแสงอาทิตย์, โรงไฟฟ้ากังหันลม, โรงไฟฟ้าขยะ และโรงไฟฟ้าชีวมวล ราคาไฟฟ้าเป็น 20.20, 5.98, 4.63 และ 2.63 บาท/หน่วย ตามลำดับ หรือมีราคาไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 2.92 บาท/หน่วย ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของทั้งระบบสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2551 - 2554 เป็น 0.0001, 0.0021, 0.0045 และ 0.0044 บาท/หน่วยจำหน่าย ตามลำดับ
5. จากแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติมในมติ กพช. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2549 โดยให้มีการกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าในอัตราคงที่ สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีปริมาณ พลังไฟฟ้าเสนอขายไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ซึ่งขายไฟฟ้าเข้าระบบตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) และให้มีการเปิดประมูลแข่งขันส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้า ที่มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายตามสัญญาเกินกว่า 10 เมกะวัตต์ ดังนั้น จึงให้ กฟผ. ดำเนินการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน RPS สำหรับโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. กำลังการผลิต 80.7 เมกะวัตต์ ตามแผนที่ กฟผ. เสนอ และให้ กฟผ. ยุติการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนโดยวิธีการเปิดประมูลแข่งขันจำนวน 60 เมกะวัตต์ โดยให้มีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนผ่านมาตรการสนับสนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) จากราคารับซื้อไฟฟ้าตามระเบียบ VSPP หรือ SPP ที่จะมีการเปิดประมูลแข่งขันในอนาคต ทั้งนี้ ให้คงสัดส่วนการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเท่ากับร้อยละ 5 ของกำลังการผลิตตามเดิม
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ กฟผ. ดำเนินการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน RPS สำหรับโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. กำลังการผลิต 81.7 เมกะวัตต์ ดังนี้
โรงไฟฟ้า | กำลังการผลิตของโรงไฟฟ้า RPS หน่วยเมกะวัตต์) |
1. พลังน้ำขนาดเล็ก | 78.7 |
2. แสงอาทิตย์ | 1 |
3. กังหันลม | 2 |
รวม | 81.7 |
2. เห็นชอบให้ กฟผ. ยุติการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนโดยวิธีการเปิดประมูลแข่งขัน โดยส่งเสริม การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนผ่านมาตรการสนับสนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) และให้คง สัดส่วนการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเท่ากับร้อยละ 5 ของกำลังการผลิตใหม่ตามเดิม
เรื่องที่ 7 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
สรุปสาระสำคัญ
1. ในการประชุม กพช. ครั้งที่ 4/2549 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 ได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า พ.ศ. 2548 และให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการไฟฟ้าในช่วง เปลี่ยนผ่าน ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้เวียนหนังสือขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน และคณะกรรมการฯ ได้มีมติ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 ดังนี้ 1) เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน เพื่อดำเนินการยกร่างกฎหมายการประกอบกิจการพลังงาน 2) เห็นชอบการมอบอำนาจให้ประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเป็นผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการต่างๆ ภายใต้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
2. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 ประธาน กบง. ได้มีคำสั่งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ที่ 4/2549 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน โดยมีปลัดกระทรวงพลังงานหรือรองปลัดกระทรวงพลังงานที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานอนุกรรมการ และมีผู้เกี่ยวข้องด้าน พลังงานเป็นอนุกรรมการ รวม 23 คน โดยมีผู้แทน สนพ. เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 8 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
สรุปสาระสำคัญ
1. ในการประชุม กพช. เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 ได้พิจารณาเรื่อง แนวทางการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ และได้มีมติให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้ กบง. เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแล กิจการไฟฟ้าในช่วงเปลี่ยนผ่าน จำนวน 4 คณะ ได้แก่ 1) คณะอนุกรรมการกำกับดูแลอัตราค่าไฟฟ้าและ ค่าบริการ 2) คณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า 3) คณะอนุกรรมการพิจารณาระเบียบการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า และ 4) คณะอนุกรรมการประเมินและคัดเลือกข้อเสนอการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน
2. เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 ประธาน กบง. ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้ กบง. ขึ้น จำนวน 3 คณะ คือ 1) คำสั่ง กบง. ที่ 5/2549 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลอัตราค่าไฟฟ้าและค่าบริการ 2) คำสั่ง กบง. ที่ 6/2549 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า และ 3) คำสั่ง กบง. ที่ 7/2549 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาระเบียบการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ซึ่งคณะอนุกรรมการทั้ง 3 คณะ จะมี สนพ. เป็นฝ่ายเลขานุการฯ
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 9 ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการติดตั้งอุปกรณ์ NGV
สรุปสาระสำคัญ
1. ในการประชุม กบง. ครั้งที่ 3/2549 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2549 ได้มีมติอนุมัติเงินสนับสนุนจาก กองทุนน้ำมันเชื่อเพลิงให้ ธพ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ในวงเงิน 2 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี
2. เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2549 ธพ. ได้มีหนังสือถึง สนพ. เรื่อง ขอหารือการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการรับรองมาตรฐานฯ ที่ได้รับอนุมัติแล้ว โดยขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการฯ ใน 3 ประเด็น ซึ่ง เกี่ยวกับ 1) วิธีดำเนินงานเรื่องการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2) การเปลี่ยนผู้รับผิดชอบโครงการ และ 3) การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดงบประมาณ โครงการ
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้กรมธุรกิจพลังงานเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการ ติดตั้งอุปกรณ์ NGV ที่ได้รับอนุมัติจาก กบง. ในการประชุมครั้งที่ 3/2549 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2549 โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1. เปลี่ยนวิธีการดำเนินงานเรื่องการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจาก "คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้ง โดยคณะกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีก๊าซธรรมชาติ" เป็น "คณะกรรมการที่ปลัดกระทรวงพลังงานแต่งตั้ง"
2. เปลี่ยนผู้รับผิดชอบโครงการจาก "คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีก๊าซธรรมชาติ" เป็น "กรมธุรกิจพลังงาน"
3. เปลี่ยนแปลงรายละเอียดงบประมาณจาก "ประกอบด้วย ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าพาหนะ ค่าจัดทำใบรับรอง ค่าจัดทำป้ายมาตรฐาน ค่าจ้างบุคลากรและค่าเอกสารอื่นๆ" เป็น "ประกอบด้วย ค่าเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการประชุม ค่าพาหนะ ค่าจัดทำใบรับรอง ค่าจัดทำป้ายมาตรฐาน ค่าจ้างบุคลากร ค่าวัสดุ และค่าเอกสารอื่นๆ"
เรื่องที่ 10 การลดค่ากระแสไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัย
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2549 กระทรวงมหาดไทย ได้เชิญผู้แทน กฟภ. เข้าร่วมการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาและการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ จันทร์เสนะ) เป็นประธานการประชุมฯ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้ กฟภ. พิจารณาแนวทางช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเนื่องจากน้ำท่วม
2. การดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเมื่อปี 2538 คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2538 ได้อนุมัติให้กำหนดส่วนลดค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทบ้านอยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็กที่ประสบอุทกภัยเนื่องจากน้ำท่วมขังจำนวน 500 บาท/ราย โดยให้ส่วนลดค่าไฟฟ้ารายละ 100 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 5 เดือน ซึ่งในกรณีที่ผู้ใช้ไฟรายใดใช้ไฟไม่เกินอัตราที่กำหนด สามารถลดค่าไฟฟ้าในเดือนถัดไปจนครบอัตราที่กำหนด โดยให้ 1) กฟผ. และ กฟน. แบ่งรับภาระที่เกิดจากการลดค่าไฟฟ้าในเขต กฟน. ฝ่ายละครึ่ง และ 2) กฟผ. และ กฟภ. แบ่งรับภาระที่เกิดจากการลดค่าไฟฟ้าในเขต กฟภ. ฝ่ายละครึ่ง ทั้งนี้ การให้ส่วนลด ค่าไฟฟ้าในเขต กฟภ. เมื่อปี 2538 คิดเป็นมูลค่า 833 ล้านบาท จำแนกเป็น กฟผ. และ กฟภ. รับภาระฝ่ายละ 416.5 ล้านบาท
3. กฟภ. ได้พิจารณาแนวทางช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในปี 2549 รวม 47 จังหวัด ซึ่งมีพื้นที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 32 จังหวัด และยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 15 จังหวัด โดยเสนอเรื่องการกำหนดส่วนลดค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ประสบอุทกภัยต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาลงนามถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบในหลักการกำหนดส่วนลดค่าไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย และกิจการ ขนาดเล็กที่ประสบอุทกภัย รายละ 100 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 5 เดือน ระหว่างเดือนธันวาคม 2549 - เมษายน 2550 ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 100 บาท/เดือน จะไม่สามารถนำส่วนลดค่าไฟฟ้าดังกล่าวมาลดค่าไฟฟ้าในเดือนถัดไปได้
2. เห็นชอบแนวทางการแบ่งรับภาระส่วนลดค่าไฟฟ้าให้กับผู้ประสบอุทกภัย โดยให้ (1) กฟผ. และ กฟน. แบ่งรับภาระที่เกิดจากการลดค่าไฟฟ้าในเขต กฟน. ฝ่ายละครึ่ง และ (2) กฟผ. และ กฟภ. แบ่งรับภาระ ที่เกิดจากการลดค่าไฟฟ้าในเขต กฟภ. ฝ่ายละครึ่ง
3. มอบหมายให้ กฟน. และ กฟภ. จัดทำประมาณการภาระส่วนลดค่าไฟฟ้าให้กับผู้ประสบอุทกภัย โดยพิจารณาถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็กที่ประสบอุทกภัยร่วมด้วย และจัดส่งให้ สนพ. เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อทราบ ต่อไป
ครั้งที่ 16 - วันพุธ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 5/2549 (ครั้งที่ 16)
วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (ตั้งแต่ กันยายน - 10 ตุลาคม 2549)
2. เสนอการปรับระดับเพดานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น
3. ขอลดระยะเวลาการบันทึกบัญชีรายได้รอการตรวจสอบเป็นรายได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายเมตตา บันเทิงสุข) กรรมการและเลขานุการ
ประธานได้กล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาร่วมงานกับข้าราชการกระทรวงพลังงาน พร้อมทั้งได้ชี้แจงให้ ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งประกอบด้วย นโยบายในระยะสั้น ซึ่งเป็นการจัดการปัญหาเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ และการวางนโยบายพัฒนาพลังงานในระยะยาว เพื่อให้การพัฒนาพลังงานของประเทศมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่างๆ ซึ่งควรจะต้องดำเนินการให้เสร็จในรัฐบาลชุดนี้
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (ตั้งแต่ กันยายน - 10 ตุลาคม 2549)
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์เฉลี่ยตั้งแต่ 1 กันยายน - 10 ตุลาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 59.15 และ 62.02 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งปรับตัวลดลงจากเดือนสิงหาคมลง 9.62 และ 11.70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ เนื่องจากการเทขายทำกำไรของนักลงทุนในตลาดซื้อขายล่วงหน้า และผู้ค้าคลายความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและสหประชาชาติ ประกอบกับปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลของสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี แม้ว่าโอเปคมีแผนที่จะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อพยุงราคาน้ำมัน
2. ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และดีเซลหมุนเร็วเฉลี่ยตั้งแต่ 1 กันยายน - 10 ตุลาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 65.13, 64.47 และ 74.77 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้ว 16.09, 15.89 และ 11.52 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบ ประกอบกับประเทศจีน ไต้หวัน และอินเดียได้ออกประมูลขายน้ำมันเบนซินที่ส่งมอบในเดือนตุลาคม 2549 รวมทั้งความต้องการใช้น้ำมันในภูมิภาคลดลงและสิ้นสุดฤดูกาลท่องเที่ยวในสหรัฐอเมริกา
3. ราคาขายปลีก ในช่วง 1 กันยายน - 10 ตุลาคม 2549 ผู้ค้าน้ำมันปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินลดลง 0.40 บาท/ลิตร จำนวน 6 ครั้ง ปรับราคาลดลง 0.50 บาท/ลิตร 1 ครั้ง และปรับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลง 0.40 บาท/ลิตร จำนวน 6 ครั้ง และลดลง 0.50 บาท/ลิตร 2 ครั้ง ดังนั้น ผู้ค้าน้ำมันปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินลดลงจากเดือนสิงหาคม 4.13 บาท/ลิตร และปรับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลดลง 3.40 บาท/ลิตร ซึ่งทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 25.59, 24.79 และ 24.14 บาท/ลิตร ตามลำดับ
4. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2549 มีเงินสดสุทธิจำนวน 14,441 ล้านบาท มีหนี้สินค้างชำระจำนวน 64,848 ล้านบาท หนี้พันธบัตรจำนวน 26,400 ล้านบาท หนี้เงินกู้สถาบันการเงินจำนวน 24,702 ล้านบาท หนี้เงินชดเชยตรึงราคาค้างชำระจำนวน 1,627 ล้านบาท หนี้ชดเชยราคาก๊าซ LPG จำนวน 11,510 ล้านบาท หนี้เงินคืนกรณีอื่นๆ จำนวน 159 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่ายประจำเดือน 450 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิติดลบ 50,407 ล้านบาท และคาดว่าจะมีเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในเดือนตุลาคมประมาณ 2,500 ล้านบาท และมีรายจ่ายมากกว่ารายรับจำนวน 8,944 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 ข้อเสนอการปรับระดับเพดานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และดีเซลเพิ่มขึ้นอีก 1 บาท/ลิตร จากระดับเพดานสูงสุดเป็น 1.50 บาท/ลิตร เป็น 2.50 บาท/ลิตร โดยมอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ในฐานะเลขานุการ กบง. เป็นผู้พิจารณาปรับเพิ่มหรือลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และดีเซล
2. จากปัญหาภาระหนี้สินในการตรึงราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ติดลบ 50,407 ล้านบาท และมีหนี้สินค้างชำระ 64,848 ล้านบาท ภาระหนี้สินจากเงินชดเชย LPG ประมาณ 500 ล้านบาท/เดือน ขณะที่รายได้ของกองทุนน้ำมันฯ ลดลง เนื่องจากปริมาณการใช้ลดลงและนโยบายการยกเลิกการใช้น้ำมันเบนซิน 95 ในวันที่ 1 มากราคม 2550 รวมทั้งภาระในการส่งเสริมพลังงานทดแทนที่สูงขึ้นทำให้ประมาณการเงินกองทุนน้ำมันฯ ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ในช่วงเดือนตุลาคม 2550 ถึงมีนาคม 2551 จำนวนเงิน 11,468 ล้านบาท
3. จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ จะขาดสภาพคล่องในการชำระหนี้ และแนวทางแก้ไขคือ ควรมีการปรับเพดานเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และดีเซล เพิ่มขึ้นอีก 0.50 บาท/ลิตร จากระดับเพดานสูงสุด 2.50 บาท/ลิตร เป็นระดับเพดานสูงสุด 3.00 บาท/ลิตร เพื่อให้กองทุนฯ มีเงินสดเพียงพอต่อการชำระหนี้ ในเดือนตุลาคม 2550 - มีนาคม 2551 และหากเมื่อดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขฯ จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันฯ ให้สามารถบริหารจัดการหนี้ได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยให้การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างประหยัดเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4.ฝ่ายเลขานุการฯ จึงมีความจำเป็นต้องขอความเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และดีเซลเพิ่มขึ้นอีก 0.50 บาท/ลิตร จากระดับเพดานสูงสุด 2.50 บาท/ลิตร เป็น 3.00 บาท/ลิตร และขอให้ประธาน กบง. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบให้ ผอ.สนพ. เป็นผู้ปรับขึ้นหรือลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันทั้ง 3 ชนิด
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ของน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และดีเซล เพิ่มขึ้นอีก 1.50 บาท/ลิตร จากระดับเพดานสูงสุด 2.50 บาท/ลิตร เป็น 4.00 บาท/ลิตร
2. เห็นชอบให้ประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบให้ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นผู้ปรับขึ้นหรือลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และดีเซล
เรื่องที่ 3 ขอลดระยะเวลาการบันทึกบัญชีรายได้รอการตรวจสอบเป็นรายได้
สรุปสาระสำคัญ
1. ในการประชุมคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ครั้งที่ 1/2542 (ครั้งที่ 27) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2542 ได้มีมติเรื่องผลการตรวจสอบบัญชีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงว่าในกรณีที่หน่วยงานต่างๆ ไม่ส่งเอกสารใบส่งเงินที่เป็นปัจจุบัน เป็นเหตุให้กรมบัญชีกลางไม่มีเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีภายใน 3 ปี ให้ถือว่ารายได้รอการตรวจสอบนั้นเป็นรายได้ของกองทุนน้ำมันฯ
2. สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพ.) ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงพลังงานให้เป็นผู้จัดการกองทุนฯ และ สบพ. ได้รับมอบงานการเบิกจ่ายเงินและการบัญชีกองทุนฯ จากกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2547 เป็นต้นมา ซึ่งจากการจัดทำบัญชีของ สบพ. พบว่า สบพ. ไม่ได้รับเอกสารใบนำส่งเงินจากการนำส่งเงินเข้ากองทุนฯ ของหน่วยงานต่างๆ เป็นจำนวนมาก และไม่อาจบันทึกเป็นรายได้ของกองทุนฯ ได้ จนกว่าจะครบ 3 ปี ไปแล้ว จึงสามารถปรับปรุงบัญชีรายได้รอการตรวจสอบนั้นเป็นรายได้ของกองทุนฯ
3. คณะกรรมการตรวจสอบ สบพ. ในการประชุมครั้งที่ 3/2549 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2549 ได้มีมติให้ สบพ. นำเสนอ กบง. พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับลดระยะเวลาการบันทึกรับรู้เป็นรายได้ของกองทุนน้ำมันฯ จาก 3 ปี เหลือ 1 ปี โดยคณะกรรมการ สบพ. ได้รับทราบมติของคณะกรรมการตรวจสอบฯ แล้ว ในการประชุมคณะกรรมการ สบพ. ครั้งที่ 5/2549 (ครั้งที่ 25) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2549
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดระยะเวลาการบันทึกบัญชีรายได้รอการตรวจสอบเป็นรายได้ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จาก 3 ปี เหลือ 1 ปี โดยให้มีผลบังคับใช้กับรายได้รอการตรวจสอบตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นไป
ครั้งที่ 35 - วันจันทร์ ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 10/2551 (ครั้งที่ 35)
วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551 เวลา 14.30 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ อาคาร 7 ชั้น 11 กระทรวงพลังงาน
1. การขอสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูก
2. ข้อเสนอเพิ่มเติมการจัดสรรน้ำมันเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย
3. การรักษาเสถียรภาพกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
4. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (สิงหาคม - 18 กันยายน 2551)
ปลัดกระทรวงพลังงาน (นายพรชัย รุจิประภา) กรรมการ เป็นประธานในที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
ปลัดกระทรวงพลังงาน (นายพรชัย รุจิประภา) ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าเนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในฐานะประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานติดราชการ จึงได้มอบให้ปลัดกระทรวงพลังงานทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
เรื่องที่ 1 : การขอสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูก
สรุปสาระสำคัญ
1. กลุ่มโรงกลั่นน้ำมันในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ช่วยเหลือสนับสนุนน้ำมันราคาถูกให้แก่ผู้เดือดร้อนกลุ่มต่างๆ จำนวน 122 ล้านลิตรต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน (มิถุนายน - พฤศจิกายน 2551) ซึ่งมีราคาถูกกว่าดีเซลปกติ 3 บาทต่อลิตร โดยให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เป็นผู้พิจารณาจัดสรรน้ำมันดังกล่าวแทนกระทรวงพลังงาน และเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2551 กบง. ได้มีมติรับทราบ และอนุมัติให้จัดสรรน้ำมันฯ จำนวน 30 ล้านลิตรต่อเดือน ให้กับรถหมวด 1 และหมวด 4 ของ ขสมก. และ รถร่วมบริการจำนวนประมาณ 14,600 คัน โดยให้จำหน่ายตั้งแต่วันเริ่มโครงการฯ จนกว่าจะได้ข้อยุติของ ศาลปกครองในกรณีขอปรับขึ้นค่าโดยสาร หรือเท่าที่จำนวนน้ำมันที่ได้รับการจัดสรรหมดลง แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน
2. วันที่ 1 สิงหาคม 2551 กบง. ได้มีมติเห็นชอบจัดสรรน้ำมันราคาถูกช่วยเหลือชาวประมงชายฝั่งจำนวน 15 ล้านลิตรต่อเดือน เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง จำนวน 7 ล้านลิตรต่อเดือน กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี จำนวน 1,500 ลิตรต่อเดือน และให้ขยายหลักเกณฑ์การช่วยเหลือครอบคลุมถึงหน่วยงานของรัฐ ที่มีความเดือดร้อน โดยหน่วยงานของรัฐที่สมควรได้รับความช่วยเหลือ ได้แก่หน่วยงานที่ดำเนินโครงการหรือแผนงานที่เกี่ยวกับการบริการสาธารณะ ซึ่งหากไม่ดำเนินการจะส่งผลกระทบต่อการบริการประชาชนโดยตรง
3. ต่อมา กบง. ในการประชุมเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2551 ได้รับทราบคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด ที่ 505/2551 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2551 กลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้ยกคำขอทุเลาการบังคับเฉพาะที่เกี่ยวกับการกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าโดยสารประจำทางหมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด 4 กรุงเทพมหานคร และ ปตท. ได้ดำเนินการยกเลิกการสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูก ให้กับ ขสมก./รถร่วมบริการ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2551 เป็นต้นไป ทำให้ในเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2551 ยังมีน้ำมันดีเซลราคาถูกสำหรับช่วยเหลือผู้เดือดร้อนต่างๆ ประมาณ 100ล้านลิตรต่อเดือน
4. เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้มีหนังสือเรื่อง การขอสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูกของกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ถึงฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อขอรับสนับสนุนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วราคาถูกใช้ในการขุดลอกร่องน้ำเพิ่มเติม โดยมีความต้องการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วในการขุดลอกร่องน้ำระหว่างเดือน กันยายน - พฤศจิกายน 2551 จำนวน 1,131,000 ลิตร พร้อมทั้งกรมประมง ได้มีหนังสือเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 เรื่อง หารือการขอรับการสนับสนุนน้ำมันราคาถูก ประจำปีงบประมาณ 2552 เพื่อขอรับสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูกใช้ในการขุดลอกหนองบึงและปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติ สำหรับใช้การประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ บึงบอระเพ็ด กว๊านพะเยา และหนองหาร โดยมีความต้องการใช้น้ำมันประมาณ 700,000 ลิตรต่อปี กรมประมงจึงขอสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูก จำนวน 36,000 ลิตรต่อเดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2551 รวม 3 เดือน
5. แต่ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ เห็นว่าควรจัดสรรน้ำมันราคาถูกให้กับกรมการขนส่งทางน้ำและ พาณิชยนาวี โดยจัดสรรน้ำมันดีเซลเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการขุดลอกร่องน้ำ รวมกับที่เคยจัดสรรไว้เดิมแล้ว 1,500 ลิตรต่อเดือน เป็นจำนวน 1,131,000 ล้านลิตร ในระยะเวลาเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2551 และกรมประมง ควรจัดสรรเพื่อใช้ในการขุดลอกหนองบึงและปรับปรุงแหล่งน้ำตามธรรมชาติ จำนวน 36,000 ลิตรต่อเดือน ในระยะเวลาเดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2551 ซึ่งทั้งสองหน่วยงานได้เสนอขอจัดสรรน้ำมันดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กบง. กำหนด
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้จัดสรรน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ได้รับการช่วยเหลือจากโรงกลั่นน้ำมัน ดังนี้
1. จัดสรรให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีเพื่อใช้ในการขุดลอกร่องน้ำ รวมกับน้ำมันที่เคยจัดสรรให้แล้ว 1,500 ลิตรต่อเดือน เป็นจำนวนรวม 1,131,000 ลิตร ในระยะเวลา 3 เดือน (กันยายน - พฤศจิกายน 2551)
2. จัดสรรให้กรมประมงเพื่อใช้ในการขุดลอกหนองบึงและแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 36,000 ลิตร ต่อเดือน ในระยะเวลา 3 เดือน (กันยายน - พฤศจิกายน 2551)
เรื่องที่ 2 : ข้อเสนอเพิ่มเติมการจัดสรรน้ำมันเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2551 กบง. ได้มีมติ เรื่องแนวทางการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบปัญหาราคาน้ำมันแพง โดยกระทรวงพลังงานได้รับความร่วมมือจาก 4 โรงกลั่นในเครือ ปตท. จัดสรรน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในปริมาณ 122 ล้านลิตรต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน รวม 732 ล้านลิตร ในราคาที่ต่ำกว่าราคาดีเซลหมุนเร็วปกติ 3 บาทต่อลิตร รวมเป็นมูลค่า 2,196 ล้านบาท และ กบง. ได้พิจารณาจัดสรรน้ำมันราคาถูกให้กลุ่มผู้เดือดร้อนไปแล้วดังนี้ 1) รถหมวด 1 และ หมวด 4 ในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จำนวนประมาณ 14,600 คัน ได้รับการสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูกตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2551 ถึง กันยายน 2551 เป็นจำนวน 35.5 ล้านลิตร 2) กลุ่มประมงชายฝั่งและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง ได้รับการสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูกจำนวน 15 ล้านลิตรต่อเดือน และ 7 ล้านลิตรต่อเดือน ตามลำดับ 3) กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้รับการสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูก เพื่อนำไปใช้ในการขุดลอกร่องน้ำระหว่างเดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2551 จำนวน 1,131,000 ลิตร 4) กรมประมงขอรับการสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูก จำนวน 108,000 ลิตร เพื่อนำไปใช้ในการขุดลอกหนองบึงและปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติ
2. น้ำมันดีเซลราคาถูกต่ำกว่าราคาดีเซลหมุนเร็วปกติ 3 บาทต่อลิตร จำนวน 732 ล้านลิตรได้รับการจัดสรรไปแล้วจนถึงวันที่ 19 กันยายน 2551 ปริมาณ 37.3 ล้านลิตร และจะมีการจัดสรรในช่วงวันที่ 19 กันยายน - 30 พฤศจิกายน 2551 อีกประมาณ 61.239 ล้านลิตร ซึ่งจะมีน้ำมันดีเซลเหลืออีกประมาณ 633.461 ล้านลิตร เพื่อรอรับการจัดสรร
3. คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2551 เห็นชอบให้ความช่วยเหลือจังหวัดที่ประสบอุทกภัยในจังหวัดต่างๆ ซึ่งจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สระบุรี ลพบุรี และนครราชสีมา เป็นต้น และเพื่อรองรับกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว กระทรวงพลังงานเห็นควรให้มีข้อเสนอเพิ่มเติมแนวทางการจัดสรรน้ำมันดีเซลราคาถูกกว่าปกติ 3 บาทต่อลิตร ให้ครอบคลุมถึงการจัดสรรน้ำมันดีเซลให้เปล่า โดยมีหลักการดังนี้ โดยนำน้ำมันดีเซลที่มีราคาถูกกว่าปกติ 3 บาทต่อลิตร ที่เหลืออยู่ในปริมาณ 633.461 ล้านลิตร มาคำนวณเป็นน้ำมันดีเซลให้เปล่าในปริมาณเทียบเท่ากับ 59.38 ล้านลิตร
มติที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ความช่วยเหลือน้ำมันดีเซลให้เปล่าแก่จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยมาก 5 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร สระบุรี ลพบุรี และนครราชสีมา จังหวัดละไม่เกิน 100,000 ลิตร รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 500,000 ลิตร
2. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเป็นผู้ประสานงานกับกลุ่มโรงกลั่น เพื่อพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มผู้เดือดร้อนจากอุทกภัย โดยจัดสรรน้ำมันดีเซลให้เปล่า ตามข้อ 1 รวมทั้งการขยายระยะเวลาการช่วยเหลือเพิ่มเติม
3. เพื่อให้มีความคล่องตัวและทันเหตุการณ์ในการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยเห็นชอบในหลักการและมอบหมายให้ประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติแทนคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ในการจัดสรรน้ำมันดีเซลให้เปล่าให้แก่จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
4. การจัดสรรน้ำมันดีเซลให้เปล่าให้แก่จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยผ่านกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงานมอบหมายให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รับไปดำเนินการ
เรื่องที่ 3 : การรักษาเสถียรภาพกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2549 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล และดีเซล เพิ่มอีก 1.50 บาทต่อลิตร จากระดับเพดานสูงสุด 2.50 บาทต่อลิตร เป็น 4.00 บาทต่อลิตร และต่อมาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ได้เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นครั้งละไม่เกิน 0.50 บาทต่อลิตร เพื่อให้มีความคล่องตัวและทันเหตุการณ์ในการรักษาเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันฯ พร้อมทั้งมอบหมายให้ สนพ. นำเสนอประธานคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบแทนคณะกรรมการฯ
2. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ค่าการตลาดของ น้ำมันแก๊สโซฮอลต่ำกว่าค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน เนื่องจากต้นทุนน้ำมันเบนซินลดลงตามราคาน้ำมัน ในตลาดโลก แต่ต้นทุนของน้ำมันแก๊สโซฮอลไม่ได้ลดลงตามราคาตลาดโลกทั้งหมด เนื่องด้วยมีส่วนผสมของเอทานอล ซึ่งราคาเปลี่ยนแปลงเป็นรายไตรมาส (โดยที่ต้นทุนน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ลดลงร้อยละ 90 และต้นทุนน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 ลดลงร้อยละ 80) และราคาเอทานอลได้ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 18.01 บาทต่อลิตร ในไตรมาส 3 เป็น 22.12 บาทต่อลิตร ในไตรมาส 4 และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
3. เพื่อเป็นการจูงใจและส่งเสริมให้ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 ที่มีค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายสูงกว่า รวมทั้งให้ประชาชนตระหนักถึงการประหยัดพลังงาน และเพิ่มเงินสำรองสำหรับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการส่งเสริมพลังงานทดแทนและใช้ในการบริการจัดการ ตลอดจนเพื่อลดผลกระทบในช่วงราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเบนซิน 91 น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อี10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 น้ำมันดีเซล และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 เป็น 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1 : ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันเบนซิน 91 น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อี10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 น้ำมันดีเซล และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ในอัตรา 0.30 บาทต่อลิตร (น้ำมันเบนซิน 95 อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ อยู่ที่ระดับเพดาน) โดยจากการปรับส่งผลให้ค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 น้อยกว่าน้ำมันเบนซิน 91 เพียง 0.04 บาทต่อลิตร และกองทุนน้ำมันฯ มีรายรับสุทธิเพิ่มขึ้น 18.2 ล้านบาทต่อวัน จากระดับปัจจุบัน 52.4 ล้านบาทต่อวัน เป็น 70.6 ล้านบาทต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 546 ล้านบาทต่อเดือน จากระดับปัจจุบัน 1,572 ล้านบาทต่อเดือน เป็น 2,118 ล้านบาทต่อเดือน
กรณีที่ 2 : ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อี10 น้ำมัน แก๊สโซฮอล 91 น้ำมันดีเซล และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ในอัตรา 0.50 บาทต่อลิตร และในส่วนของน้ำมันเบนซิน 91 ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร เนื่องจากติดเพดานที่ กบง. เคยเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2549 (น้ำมันเบนซิน 95 อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ อยู่ที่ระดับเพดาน) และจากการปรับจะส่งผลให้ค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 สูงกว่าค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน 91 อยู่ 0.06 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับสุทธิเพิ่มขึ้น 29.5 ล้านบาทต่อวัน จากระดับปัจจุบัน 52.4 ล้านบาทต่อวัน เป็น 81.9 ล้านบาทต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 885 ล้านบาทต่อเดือน จากระดับปัจจุบัน 1,572 ล้านบาทต่อเดือน เป็น 2,457 ล้านบาทต่อเดือน
4. เพื่อส่งเสริมให้มีการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 เพิ่มมากขึ้น และเพิ่มเงินสำรองเพื่อใช้ในการส่งเสริมพลังงานทดแทนและลดผลกระทบในช่วงราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงควรปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อี10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 น้ำมันดีเซล และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ในอัตรา 0.50 บาทต่อลิตร และน้ำมันเบนซิน 91 ในอัตรา 0.40 บาทต่อลิตร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2551 เป็นต้นไป ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อราคาขายปลีก เนื่องจากค่าการตลาดอยู่ในระดับสูง
มติของที่ประชุม
เห็นชอบปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อี10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 น้ำมันดีเซล และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ในอัตรา 0.50 บาทต่อลิตร และน้ำมันเบนซิน 91 ในอัตรา 0.40 บาทต่อลิตร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2551 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 4 : สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (สิงหาคม - 18 กันยายน 2551)
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัสเฉลี่ยเดือนสิงหาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 112.86 และ 116.58 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้ว 18.42 และ 16.71 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโร และจากการคาดการณ์ว่ากลุ่มโอเปคจะไม่ลดปริมาณการผลิตน้ำมัน เนื่องจากราคาน้ำมันยังอยู่เหนือระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และต่อมาในช่วงวันที่ 1-18 กันยายน 2551 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัสเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 97.36 และ 102.11 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้ว 15.49 และ 14.47 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จาก IEA พิจารณาปรับลดอัตราเติบโตอุปสงค์น้ำมันโลกในปี 2551 และ 2552 ลง 100,000 และ 40,000 บาร์เรล ต่อวัน มาอยู่ที่ 690,000 และ 890,000 บาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ ประกอบกับรายงานปริมาณสำรองน้ำมัน ในเดือนกรกฎาคมของประเทศกลุ่มโอเปคเพิ่มขึ้น 46.9 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 2,646 ล้านบาร์เรล และอุปสงค์ด้านพลังงานในอนาคตลดลงท่ามกลางวิกฤตทางการเงินของโลกที่กำลังทรุดลงหลังการล้มละลายของ เลห์แมน บราเธอร์ส
2. ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลเฉลี่ยเดือนสิงหาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 115.49, 113.98 และ 132.17 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้ว 19.78, 20.72 และ 33.80 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและจากข่าวประเทศจีนงดนำเข้าน้ำมันเบนซินในเดือนกันยายน และเวียดนามลดการนำเข้าเช่นเดียวกัน ขณะที่เกาหลีใต้ได้ส่งออกน้ำมันเบนซินในเดือนกันยายน - ตุลาคม 2551 ปริมาณ 1.5-2.0 ล้านบาร์เรลต่อเดือนเนื่องจากอุปสงค์ในประเทสลดลง และต่อมาในช่วงวันที่ 1 - 18 กันยายน 2551 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 106.99, 104.95 และ 118.88 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้ว 8.50, 9.03 และ 13.29 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและจีนเพิ่มการส่งออกน้ำมันเบนซินในเดือนกันยายน 2551 มาอยู่ที่ระดับ 1.28 ล้านบาร์เรล ประกอบกับอินโดนีเซียและจีนชะลอการนำเข้าน้ำมันดีเซลเนื่องจากปริมาณสำรองอยู่ในระดับสูง
3. เดือนสิงหาคม 2551 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 ลดลง 0.70 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน 91 แก๊สโซฮอล 95 (อี10), (อี20), แก๊สโซฮอล 91 ลดลง 1.70 บาทต่อลิตร, น้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลง 4.90 บาทต่อลิตร และดีเซลหมุนเร็ว บี5 ลดลง 5.10 บาทต่อลิตร และในช่วงวันที่ 1-19 กันยายน 2551 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95, 91 แก๊สโซฮอล 95 (อี10), (อี20), แก๊สโซฮอล 91 ลดลง 1.10 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนเร็ว บี5 ลดลง 2.30 บาทต่อลิตร ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91, แก๊สโซฮอล 95 (อี10), (อี20), 91 ดีเซลหมุนเร็ว และดีเซลหมุนเร็ว บี 5 ณ วันที่ 19 กันยายน 2551 อยู่ที่ระดับ 37.59, 35.19, 27.69, 26.39, 26.89, 30.74 และ 30.04 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
4. แนวโน้มราคาน้ำมันเดือนกันยายน 2551 คาดว่าราคาน้ำมันยังคงผันผวนและแกว่งตัวขึ้นลงตามปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งราคาน้ำมันดิบจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 85-100 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และไตรมาส 4 จะอยู่ที่ระดับ 100-115 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากเข้าฤดูหนาวความต้องการสูงขึ้นและอุปทานน้ำมันเพิ่มขึ้นช้ากว่าอุปสงค์จากปัจจัยน้ำมันดิบในยุโรปอาจตึงตัวจากอุปสรรคการขนส่งน้ำมันจากประเทศ Azerbaijan ผ่านจอร์เจียไปยังยุโรป ประกอบกับค่าเงินดอลล่าห์ที่ผันผวนซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อราคา
5. สำหรับสถานการณ์ก๊าซ LPG ช่วงเดือนกันยายน 2551 ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกปรับตัวลดลง 56 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน มาอยู่ที่ระดับ 816 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ตามราคาน้ำมันดิบตลาดโลกและความต้องการในภูมิภาคลดลง อย่างไรก็ตามมีข่าวประเทศไทยมีแผนการนำเข้าก๊าซ LPG ในเดือนกันยายน 2551 ปริมาณ 150,000 ตัน ทั้งนี้ประเทศไทยได้นำเข้าก๊าซ LPG ในช่วงวันที่ 21-31 สิงหาคม 2551 ปริมาณ 22,087.11 ตัน ราคานำเข้าอยู่ที่ระดับ 30.6244 บาทต่อกิโลกรัม ราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นในประเทศไทย ณ วันที่ 1 กันยายน 2551 อยู่ที่ระดับ 10.9960 บาทต่อกิโลกรัม ราคาขายปลีกอยู่ที่ระดับ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับราคา ก๊าซ LPG ตลาดโลกในช่วงเดือนกันยายน 2551 คาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 850-860 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
6. สถานการณ์น้ำมันแก๊สโซฮอล เดือนสิงหาคม และช่วงวันที่ 1 - 9 กันยายน 2551 มีปริมาณจำหน่าย 9.1 และ 9.6 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ โดยมีสถานีบริการ 4,086 แห่ง ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และ 91 อยู่ที่ 27.69 และ 26.89 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 เดือนสิงหาคม 2551 มีปริมาณการจำหน่าย 101,000 ลิตรต่อวัน โดยมีสถานีบริการน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 จำนวน 110 แห่ง ราคาขายปลีกอยู่ที่ 26.39 บาทต่อลิตร และกำลังการผลิตและปริมาณการผลิตเอทานอลจริงเท่ากับ 1.57 และ 1.02 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ จากผู้ประกอบการที่ผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง 11 ราย แต่ผลิตเพียง 9 ราย โดยราคาเอทานอลแปลงสภาพไตรมาส 3 ในปี 2551 อยู่ที่ลิตรละ 18.01 บาท
7. สำหรับน้ำมันไบโอดีเซล เดือนสิงหาคม 2551 มีกำลังการผลิตรวม 2.18 ล้านลิตรต่อวัน จากผู้ผลิตไบโอดีเซลที่ได้คุณภาพตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน 9 ราย ปริมาณความต้องการไบโอดีเซลในเดือนสิงหาคมและวันที่ 1-19 กันยายน 2551 เฉลี่ยอยู่ที่ 1.37 และ 1.55 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ และราคาไบโอดีเซลในประเทศเฉลี่ยเดือนสิงหาคมและกันยายน 2551 อยู่ที่ 36.00 และ 30.31 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 เดือนสิงหาคมและวันที่ 1-19 กันยายน 2551 มีจำนวน 10.14 และ 12.20 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ณ วันที่ 19 กันยายน 2551 อยู่ที่ 30.04 บาทต่อลิตร ซึ่งต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 0.70 บาทต่อลิตร
8. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 17 กันยายน 2551 มีเงินสดในบัญชี 18,120 ล้านบาท มีหนี้สิน ค้างชำระ 17,325 ล้านบาท แยกเป็นหนี้พันธบัตร 8,800 ล้านบาท ภาระดอกเบี้ยพันธบัตร 129 ล้านบาท และหนี้ค้างชำระเงินชดเชย 8,070 ล้านบาท และงบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 326 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิ 795 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
ครั้งที่ 34 - วันศุกร์ ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 9/2551 (ครั้งที่ 34)
วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551 เวลา 9.30 น.
ณ ห้องประชุม 603 ชั้น 6 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1. การรักษาเสถียรภาพกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ปลัดกระทรวงพลังงาน (นายพรชัย รุจิประภา) กรรมการ เป็นประธานในที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
ปลัดกระทรวงพลังงาน (นายพรชัย รุจิประภา) ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าเนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในฐานะประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานติดราชการ จึงได้มอบให้ปลัดกระทรวงพลังงานทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม และประกอบกับปัจจุบันราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง กระทรวงพลังงานเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จึงได้ขอเชิญประชุมครั้งนี้
เรื่องที่ 1 การรักษาเสถียรภาพกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2549 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล และดีเซล เพิ่มอีก 1.50 บาทต่อลิตร จากระดับเพดานสูงสุด 2.50 บาทต่อลิตร เป็น 4.00 บาทต่อลิตร ต่อมาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 กบง. ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ครั้งละไม่เกิน 0.50 บาทต่อลิตร เพื่อให้มีความคล่องตัวและทันเหตุการณ์ในการรักษาเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันฯ และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) นำเสนอประธาน กบง. พิจารณาให้ความเห็นชอบแทนคณะกรรมการฯ
2. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วมาก ในขณะที่การปรับราคาขายปลีกลงไม่ทัน ส่งผลให้ค่าการตลาดน้ำมันฯ ในประเทศอยู่ในระดับที่สูง ทำให้สามารถดำเนินการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ 0.30 บาทต่อลิตร ได้โดยไม่ส่งผลต่อราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ (ยกเว้นน้ำมันเบนซิน 95 ปรับเพิ่มได้เพียง 0.25 บาทต่อลิตร เนื่องจากติดเพดานที่ กบง. เคยเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2549) และภายหลังเมื่อปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ จะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นเป็นประมาณวันละ 52.4 ล้านบาท หรือ 1,572 ล้านบาทต่อเดือน
3. เพื่อให้กองทุนน้ำมันฯ สามารถบริหารจัดการให้ปริมาณรายรับสมดุลกับรายจ่าย ฝ่ายเลขานุการฯขอเสนอให้มีการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้น 0.25 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน 91 น้ำมันแก๊สโซฮอลและน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2551 เป็นต้นไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้น 0.25 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน 91 น้ำมันแก๊สโซฮอล น้ำมันดีเซล และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 เพิ่มขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2551 เป็นต้นไป
ครั้งที่ 33 - วันจันทร์ ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 8/2551 (ครั้งที่ 33)
วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด-นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1. ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) จากกรณีที่พนักงานการรถไฟหยุดงาน
2. การยกเลิกการสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูกให้กับ ขสมก./รถร่วมบริการ
ปลัดกระทรวงพลังงาน (นายพรชัย รุจิประภา) กรรมการ เป็นประธานในที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
ปลัดกระทรวงพลังงาน (นายพรชัย รุจิประภา) ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าเนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในฐานะประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานติดราชการ จึงได้มอบให้ปลัดกระทรวงพลังงานทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
เรื่องที่ 1 ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) จากกรณีที่พนักงานการรถไฟหยุดงาน
สรุปสาระสำคัญ
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551 พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยได้หยุดงานและรถไฟได้หยุดการเดินรถทั่วประเทศ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ LPG ไปยังคลังภูมิภาค
1.1 เนื่องจากการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงไปยังคลังภูมิภาค และสถานีบริการต่างๆ ในเขตภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นการขนส่งทางเรือ สำหรับภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางจะเป็นการขนส่งทางท่อไปยังคลังลำลูกกาและคลังสระบุรีของบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย และคลังบางปะอินของบริษัทขนส่งน้ำมัน ทางท่อ โดยที่การขนส่งทางรถไฟจะส่งไปยังคลังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีปริมาณประมาณร้อยละ 15 ของความต้องการใช้ในภาคหรือประมาณ 2 ล้านลิตรต่อวัน โดยปริมาณน้ำมันสำรอง ณ คลังน้ำมันของผู้ค้าน้ำมันและสถานีบริการมีเพียงพอใช้ได้ประมาณ 3 - 5 วัน สำหรับการแก้ไขปัญหาการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถใช้การขนส่งทางรถยนต์แทนการขนส่งทางรถไฟได้ ซึ่งคิดเป็นจำนวนรถยนต์ที่ต้องใช้ประมาณ 55 คัน (รถยนต์ขนส่งน้ำมันความจุคันละ 36,000 ลิตร) ดังนั้น การหยุดเดินรถของการรถไฟฯ จะไม่ก่อให้เกิดการขาดแคลนน้ำมัน
1.2 การขนส่งก๊าซ LPG ไปยังคลังภาคกลางซึ่งเป็นการขนส่งทางรถยนต์ ส่วนภาคใต้จะเป็นการขนส่งทางเรือ และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดเดินรถไฟคือภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปัจจุบันมี ปตท. เพียงรายเดียวที่ดำเนินการขนส่งทางรถไฟไปยังพื้นที่ดังกล่าว แต่เนื่องจากนโยบายของรัฐ ที่ต้องการให้มีราคาขายส่งราคาเดียวกัน จึงกำหนดให้ ปตท. เป็นผู้ได้รับชดเชยการนำเข้าและขนส่งแต่เพียง ผู้เดียว ทำให้ผู้ค้าก๊าซ LPG รายอื่นต้องพึ่งพา ปตท. ในการจัดหาก๊าซ LPG และต้องรับก๊าซ LPG จากคลังภูมิภาคของ ปตท. สำหรับการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นได้ขอความร่วมมือให้ผู้ค้าก๊าซ LPG ที่มีรถบรรทุกช่วยขนส่งก๊าซ LPG ไปยังภูมิภาคแทนรถไฟ โดยจะสามารถเพิ่มศักยภาพการขนส่งได้ 755 ตันต่อวัน แต่ยังมีข้อจำกัดของขีดความสามารถในการจ่ายก๊าซ LPG ทางรถยนต์จากคลังต้นทาง คือ คลังบ้านโรงโป๊ะของ ปตท. ที่มี bay รับรถบรรทุกเพียง 5 bay ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทดแทนการขนส่งทางรถไฟ ทำให้การจัดส่งก๊าซ LPG ไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้อีกประมาณ 900 ตันต่อวัน แต่ ปตท. จะนำก๊าซ LPG จากแหล่งลานกระบือเข้ามาเสริมอีก 200 ตันต่อวัน จึงทำให้การขาดแคลนลดลงเหลือ 700 ตันต่อวัน
2. การดำเนินการในช่วงแรกสามารถนำก๊าซ LPG สำรอง ณ คลังนครสวรรค์และคลังลำปาง ออกมาจ่ายชดเชยในส่วนที่ขาด ซึ่งจะเพียงพอใช้ได้เพียง 3 วัน แต่หากการหยุดเดินรถของการรถไฟฯ ยืดเยื้อ ซึ่งอาจทำให้ภาคเหนือจะเริ่มเกิดการขาดแคลนได้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2551 สำหรับคลังขอนแก่นได้เริ่มเกิดปัญหาการขาดแคลนตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมา เนื่องจากกำลังซ่อมแซมถังก๊าซ LPG จำนวน 1 ถัง ทำให้ปริมาณสำรองอยู่ในระดับต่ำ 800 ตัน ขณะที่มีความต้องการจ่ายจากคลังแห่งนี้วันละ 1,000 ตัน ซึ่งได้แก้ปัญหาโดยประสานผู้ค้ารายอื่นให้ขนก๊าซ LPG ขึ้นไปด้วยตนเองบางส่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น
3. เพื่อแก้ไขปัญหาคอขวดในการจ่ายก๊าซที่คลังบ้านโรงโป๊ะ จังหวัดชลบุรี โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการจ่ายก๊าซทางรถยนต์ ซึ่งใช้คลังก๊าซของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เอกชนที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่ง เช่น คลังบางปะกง คลังบางจะเกร็ง และคลังในกรุงเทพฯ เพื่อขนส่งก๊าซ LPG ทางเรือไปที่คลังเอกชนและจ่ายก๊าซทางรถยนต์ไปยังภูมิภาค ซึ่งสามารถทำให้เกิดความเพียงพอที่จะทดแทนการขนส่งทางรถไฟได้ทั้งหมด แต่ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นคือการขนส่งก๊าซ LPG จากคลังต้นทางที่เป็นของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เอกชนรายอื่น จะไม่ได้รับชดเชยค่าขนส่งเช่นเดียวกับการขนส่งจากคลังต้นทางของ ปตท. ที่บ้านโรงโป๊ะไปยังคลังก๊าซ ปตท. ในภูมิภาค
4. ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่ใช้อยู่ปัจจุบันได้กำหนดให้จ่ายชดเชยได้เฉพาะกรณีการขนส่งที่คลังต้นทางของ ปตท. ในจังหวัดชลบุรีไปยังคลังปลายทางของ ปตท. เท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้สามารถจ่ายชดเชยค่าขนส่งจากคลังชายฝั่งของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 รายอื่นที่รับก๊าซ LPG ทางเรือจากคลังเขาบ่อยาเพื่อขนส่งทางรถยนต์ต่อไปยังคลังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ คลังบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา คลังบางจะเกร็ง จังหวัดสมุทรสงคราม และคลังในกรุงเทพฯ ได้ จึงจำเป็นต้องขอความเห็นชอบจาก กบง. ดังนี้
1) เห็นชอบให้มีการจ่ายชดเชยค่าขนส่งให้กับ ปตท. จากคลังต้นทางใน จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสมุทรสงครามและกรุงเทพฯ
2) เห็นชอบร่างประกาศ กบง. เรื่อง การกำหนดค่าขนส่งก๊าซไปยังคลังก๊าซต่างๆ ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2551 เป็นต้นไป และมอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศต่อไป
3) มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานเป็นผู้รับรองการจ่ายก๊าซ LPG จากคลังต้นทางและกำหนดให้รถขนส่งก๊าซ LPG ต้องไปแสดงตัว ณ คลังปลายทางของ ปตท. ที่จังหวัดขอนแก่น นครสวรรค์ และลำปาง (เช่นเดียวกับกรณีโอนคลัง)
4) เห็นชอบให้ประธาน กบง. เป็นผู้ประกาศกำหนดเวลาสิ้นสุดมาตรการ
5) มอบหมายให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงานรับไปดำเนินการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าขนส่ง
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้มีการจ่ายชดเชยค่าขนส่งก๊าซไปยังคลังก๊าซต่างๆ ให้กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จากคลังจังหวัดฉะเชิงเทรา คลังจังหวัดสมุทรสงครามและคลังในกรุงเทพมหานครโดยรถยนต์ เนื่องจากพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยหยุดงานประท้วงรัฐบาล ทำให้รถไฟทั่วประเทศไม่สามารถให้บริการได้และส่งผลกระทบต่อการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ไปยังคลังภูมิภาค
2. เห็นชอบให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เรื่อง การกำหนดค่าขนส่งก๊าซไปยังคลังก๊าซต่างๆ (เพิ่มเติม) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2551 เป็นต้นไป
3. เห็นชอบให้ประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เป็นผู้ประกาศกำหนดเวลาสิ้นสุดมาตรการเมื่อสถานการณ์การรถไฟแห่งประเทศไทยหยุดเดินรถไฟคลี่คลายลงและบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สามารถดำเนินการขนส่งทางรถไฟได้
เรื่องที่ 2 การยกเลิกการสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูกให้กับ ขสมก./รถร่วมบริการ
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2551 กบง. ได้มีมติจัดสรรน้ำมันดีเซลราคาถูกที่ได้รับการช่วยเหลือจาก โรงกลั่นน้ำมัน จำนวน 122 ล้านลิตรต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน (มิถุนายน - พฤศจิกายน 2551) โดยมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลปกติ 3 บาทต่อลิตร ให้กระทรวงคมนาคม จำนวน 1 ล้านลิตรต่อวัน เพื่อช่วยเหลือรถหมวด 1 (รถโดยสารในเมือง เช่น ขสมก. และรถร่วมบริการ) และหมวด 4 (รถโดยสารในเขตจังหวัด(ชานเมือง)) ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนประมาณ 14,600 คัน จำหน่ายผ่านจุดจำหน่ายน้ำมันของสถานีบริหารองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยให้การช่วยเหลือจนกว่าได้ข้อยุติของศาลปกครองในกรณีขอปรับขึ้นค่าโดยสารหรือจำนวนน้ำมันที่ได้รับการจัดสรรหมดลง แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน
2. ศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณากรณีนายบุญชัย รุ่งเรืองไพศาลสุข ยื่นฟ้องคดีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก เป็นจำเลยที่ 1 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นจำเลยที่ 2 และขออำนาจศาลปกครองชั้นต้นเพื่อคุ้มครองชั่วคราว ระงับการขึ้นค่าโดยสารของ ขสมก. ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ตามคดีดำหมายเลข 811/2551 เป็นต้นมา ต่อมาศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำสั่งที่ 505/2551 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2551 กลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้ยกคำขอทุเลาการบังคับเฉพาะที่เกี่ยวกับการกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าโดยสารประจำทางหมวด 1 ในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด 4 กรุงเทพมหานคร ทำให้ ขสมก. สามารถปรับขึ้นค่าโดยสารได้
3. ต่อมา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้มีหนังสือแจ้งว่าหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งข้างต้น ปตท. ได้ดำเนินการยกเลิกการสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูกให้กับ ขสมก./รถร่วมบริการ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2551 เป็นต้นไป
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
ครั้งที่ 32 - วันศุกร์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 7/2551 (ครั้งที่ 32)
วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด-นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
- 1. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (1- 18 สิงหาคม 2551)
- 2. การรักษาเสถียรภาพกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
- 3. การทบทวนการกำหนดประเภท ขนาด โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กและโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ หรือการชลประทานที่ต้องจัดทำ EIA ตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม
- 4. การกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติ (Code of Practice) เพื่อลดและติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อบนบก
ปลัดกระทรวงพลังงาน (นายพรชัย รุจิประภา) กรรมการ เป็นประธานในที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
ปลัดกระทรวงพลังงาน (นายพรชัย รุจิประภา) ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าเนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในฐานะประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานติดราชการ จึงได้มอบให้ปลัดกระทรวงพลังงานทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (1- 18 สิงหาคม 2551)
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัสเฉลี่ยวันที่ 1 - 18 สิงหาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 114.03 และ 116.96 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้ว 17.24 และ 16.33 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ เนื่องจากรัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันอิรักมีแผนเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบ 500,000 บาร์เรลต่อวัน ภายในระยะเวลา 2 ปี และ Energy Information Administration ได้รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบของสหรัฐฯ วันที่ 1 สิงหาคม 2551 เพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 296.9 ล้านบาร์เรล รวมทั้งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 1.4948 เหรียญสหรัฐฯต่อยูโร
2. ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลเฉลี่ยวันที่ 1 - 18 สิงหาคม อยู่ที่ระดับ 116.24, 114.77 และ 134.63 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้ว 19.04, 19.93 และ 31.34 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและอุปทานในตลาดมีปริมาณมากจากไต้หวัน เกาหลีใต้ และจีนส่งออก ประกอบกับข่าวโรงกลั่น Port Dickson (125,000 บาร์เรล/วัน) ของมาเลเซียกลับมาดำเนินการหลังจากเสร็จสิ้นการปิดซ่อมบำรุง นอกจากนี้ประเทศจีน อินโดนีเซียและชิลี ได้ลดปริมาณนำเข้าน้ำมันดีเซลในช่วงครึ่งหลังปี 2551 เนื่องจากความต้องการใช้ภายในประเทศชะลอตัว
3. วันที่ 1 - 19 สิงหาคม 2551 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95, 91 แก๊สโซฮอล 95 (E10), (E20), แก๊สโซฮอล 91 ลดลง 1.70 บาทต่อลิตร, น้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลง 4.90 บาทต่อลิตร และดีเซลหมุนเร็ว B5 ลดลง 5.10 บาทต่อลิตร ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 แก๊สโซฮอล 95 (E10), (E20), 91, ดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนเร็ว B5 ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 37.69, 36.29, 28.79, 27.49, 27.99, 33.04 และ 32.34 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
4. ช่วงเดือนสิงหาคม 2551 ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง 51.00 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน อยู่ที่ระดับ 872.00 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ตามราคาน้ำมันดิบและต้นทุนค่าขนส่งทางเรือจากตะวันออกกลางมายังภูมิภาคลดลง และซาอุดิอาระเบียมีแผนผลิต LPG ในปี 2552 ปริมาณ 50 ล้านตัน โดยได้เพิ่มปริมาณการส่งออกมายังภูมิภาค อยู่ที่ระดับ 25 ล้านตัน ส่วนราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกในช่วงเดือนกันยายน 2551 คาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 875 - 885 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน โดยที่ราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นวันที่ 1 สิงหาคม 2551 อยู่ในระดับ 10.9960 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ไทยได้นำเข้าก๊าซ LPG (วันที่ 10 - 31 กรกฎาคม 2551) ปริมาณ 84,941 ตัน โดยราคาก๊าซ LPG นำเข้าอยู่ที่ระดับ 34.3921 บาทต่อกิโลกรัม อัตราเงินชดเชยก๊าซ LPG นำเข้าอยู่ที่ระดับ 23.3961 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นเงินประมาณ 1,987.29 ล้านบาท ราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ระดับ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม และเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน จากเดิมในเดือนกรกฎาคมออกไปอีก 6 เดือน จนถึงเดือนมกราคม 2552
5. เดือนกรกฎาคม 2551 ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอลอยู่ที่ระดับ 8.0 ล้านลิตรต่อวัน โดยมีสถานีบริการ 4,079 แห่ง และราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และ 91 อยู่ที่ 28.79 และ 27.99 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 ในเดือนกรกฎาคม 2551 มีปริมาณการจำหน่าย 92,000 ลิตรต่อวัน สถานีบริการ 94 แห่ง และราคาขายปลีกอยู่ที่ระดับ 27.49 บาทต่อลิตร และกำลังการผลิตรวมและปริมาณการผลิตเอทานอลจริงเท่ากับ 1.57 และ 0.96 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ จากผู้ประกอบการที่ผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเพียง 9 ราย ราคาเอทานอลแปลงสภาพในไตรมาส 3 ปี 2551 อยู่ที่ลิตรละ 18.01 บาท
6. สำหรับน้ำมันไบโอดีเซล เดือนกรกฎาคม 2551 มีกำลังการผลิตรวม 2.18 ล้านลิตรต่อวัน จากผู้ผลิตไบโอดีเซลที่ได้คุณภาพตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน 9 ราย และราคาไบโอดีเซลในประเทศเฉลี่ยเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม อยู่ที่ 40.07 และ 42.35 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 เดือนมิถุนายนและกรกฎาคม 2551 จำนวน 10.69 และ 9.82 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 5 อยู่ที่ 32.34 บาทต่อลิตร ซึ่งต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 0.70 บาทต่อลิตร
7. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2551 มีเงินสดในบัญชี 17,237 ล้านบาท หนี้สิน ค้างชำระ 17,342 ล้านบาท แยกเป็นหนี้พันธบัตร 8,800 ล้านบาท ภาระดอกเบี้ยพันธบัตร 129 ล้านบาท และหนี้ค้างชำระเงินชดเชย 8,087 ล้านบาท และงบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 326 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิติดลบ 105 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 การรักษาเสถียรภาพกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. กองทุนน้ำมันฯ มีสภาพคล่องสุทธิประมาณวันละ 17 ล้านบาท โดยมีรายรับจากปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินที่ลดลง และรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลและน้ำมันดีเซล หมุนเร็ว บี5 ซึ่งส่งผลทำให้สภาพคล่องสุทธิของกองทุนน้ำมันฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2551 มีเงินสดในบัญชี 17,237 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 17,342 ล้านบาท และงบบริหารและโครงการที่ได้อนุมัติแล้ว 326 ล้านบาท และหนี้เงินชดเชยราคาจากการปรับลดภาษีสรรพสามิต 3,414 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิติดลบ 105 ล้านบาท
2. เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน โดยเฉพาะมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเพื่อทำให้ราคาขายปลีกไม่เพิ่มขึ้นตามตลาดโลกมากนักและจากมาตรการลดภาษีสรรพสามิตได้ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีภาระชดเชยส่วนต่างภาษีประมาณ 3,413 ล้านบาท โดยที่เรียกคืนไม่ได้ 2,168 ล้านบาท และเนื่องจากคำสั่งนายกรัฐมนตรีให้กองทุนน้ำมันฯ ต้องจ่ายชดเชยให้เสร็จภายใน 90 วัน ทำให้ในช่วง 3 เดือนข้างหน้ากองทุนน้ำมันฯจะประสบกับปัญหาการขาดสภาพคล่อง
3. ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปได้ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยที่ราคาน้ำมันดิบดูไบ ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 109 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง และราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลตลาดจรสิงคโปร์อยู่ที่ระดับ 112.71 และ 127.23 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยปรับตัวลดลง
4. เพื่อให้กองทุนน้ำมันฯ สามารถบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลของรายรับและรายจ่าย โดยเฉพาะรายจ่ายในการส่งเสริมและสนับสนุนพลังงานทดแทนเพื่อทดแทนการใช้น้ำมัน ดังนี้
4.1 การส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล โดยใช้อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เป็นกลไกในการรักษาระดับส่วนต่างราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอลให้ถูกกว่าน้ำมันเบนซิน ปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯ มีรายรับจากน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 ประมาณ 28.13 ล้านบาทต่อวัน ขณะที่รายจ่ายเงินชดเชยน้ำมันแก๊สโซฮอลประมาณ 0.66 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งในระยะต่อไปปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 คาดว่าจะลดลงเป็นลำดับ และปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 จะหมดไปประมาณสิ้นปี 2551 ส่วนน้ำมันเบนซิน 91 จะลดลงมาก จนทำให้รายรับของกองทุนน้ำมันฯ เพื่อมาชดเชยน้ำมันแก๊สโซฮอลไม่เพียงพอ
4.2 การส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 โดยใช้อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เป็นกลไกในการรักษาระดับส่วนต่างราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ให้ถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติ และการส่งเสริมการผลิตน้ำมันในประเทศให้มีคุณภาพตามมาตรฐานยูโร 4 โดยชดเชยส่วนต่างราคาให้แก่ผู้ผลิตที่ดำเนินการผลิตน้ำมันให้มีคุณภาพตามมาตรฐานยูโร 4 ก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ โดยปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯ มีรายรับจากน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี2 ประมาณ 3.08 ล้านบาทต่อวัน ขณะที่ต้องจ่ายเงินชดเชยประมาณ 12.76 ล้านบาทต่อวัน และจ่ายเงินชดเชยการส่งเสริมการผลิตน้ำมันตามมาตรฐานยูโร 4 อีกประมาณ 3.52 ล้านบาท ต่อวัน ทำให้กองทุนน้ำมันฯ ต้องจ่ายเงินชดเชยสุทธิประมาณ 16.28 ล้านบาทต่อวัน และในอนาคตคาดว่าการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 และการผลิตน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
5. จากรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมและสนับสนุนพลังงานทดแทนเพื่อทดแทนการใช้น้ำมัน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอขอความเห็นชอบให้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ 0.30 บาทต่อลิตร สำหรับน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอลและน้ำมันดีเซล เพื่อให้กองทุนน้ำมันฯ สามารถบริหารจัดการให้ปริมาณรายรับสมดุลกับรายจ่ายได้ จากการประมาณการ พบว่ากองทุนน้ำมันฯ จะมีสภาพคล่องสุทธิเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 17 ล้านบาท เป็นวันละ 34.4 ล้านบาท หรือ 1,031 ล้านบาทต่อเดือน โดยทั้งนี้ค่าการตลาดการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในปัจจุบันอยู่ในระดับสูงและเป็นในช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง ดังนั้น การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมัน และเพื่อให้การบริหารกองทุนน้ำมันฯ มีความคล่องตัวมากขึ้น บางครั้งอาจจำเป็นต้องปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว จึงเห็นควรให้ กบง. อนุมัติในหลักการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธาน กบง. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติแทนคณะกรรมการฯ ในการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม แล้วรายงานให้ กบง. ทราบในภายหลัง
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 0.30 บาทต่อลิตร สำหรับน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล
2. เพื่อให้มีความคล่องตัวและทันเหตุการณ์ในการรักษาเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินนำส่งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ครั้งละไม่เกิน 0.50 บาทต่อลิตร โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานนำเสนอประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานพิจารณาให้ความเห็นชอบ แล้วรายงานให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานทราบ
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2537 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม ต่อมาเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2551 ในการประชุมคณะอนุกรรมการประสานการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ครั้งที่ 1/2551 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้เสนอให้มีการทบทวน "การกำหนดประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องเสนอ EIA ตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม ที่กำหนดให้โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กประเภทเขื่อนกักเก็บน้ำ มีอ่างเก็บน้ำ และประเภทฝายน้ำล้นไม่มีอ่างเก็บน้ำที่มีวงเงินค่าก่อสร้างเกินกว่า 200 ล้านบาท (ไม่รวมค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า) ต้องจัดทำ EIA" เป็น "โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กที่มีกำลังผลิตไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ไม่ต้องจัดทำ EIA เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดขนาดของโครงการ VSPP" ซึ่งที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้ พพ. ประสานสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และกรมป่าไม้ พิจารณาให้ได้ข้อยุติและนำเสนอผลต่อที่ประชุมครั้งต่อไป ก่อนนำเสนอ กบง. เพื่อเสนอ ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบและกำหนดบังคับใช้ ต่อไป
2. ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 คณะอนุกรรมการประสานการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานได้พิจารณาเรื่อง ทบทวนการกำหนดประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมติ ครม. เมื่อวันที่13 กันยายน 2537 และได้มีมติ ดังนี้ 1) เห็นชอบในหลักการให้มีการปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (13 กันยายน 2537) เกี่ยวกับประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ 2) มอบหมาย พพ. และกรมชลประทานจัดทำรายละเอียดเหตุผลในการขอปรับปรุงมติ ครม. เกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (13 กันยายน 2537) ส่งให้กระทรวงพลังงานเพื่อรวบรวมเสนอ สผ. นำเสนอต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณาให้ความเห็น และส่งให้กระทรวงพลังงานนำเสนอ กบง. พิจารณาให้ความเห็นชอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย สผ. เป็นผู้นำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและ ครม. ตามขั้นตอน ต่อไป
3. ประเด็นและเหตุผลที่ขอปรับปรุงมติ ครม. เกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม
3.1 โครงการที่ต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้แก่
1) มติ ครม. ข้อ 1.1 จากเดิม "โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ หรือการชลประทานที่มีวงเงินค่าก่อสร้างเกินกว่า 200 ล้านบาท" แก้ไขเป็น "โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำหรืออ่างเก็บน้ำหรือการชลประทานที่มีปริมาตรเก็บกักตั้งแต่ 30 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือมีพื้นที่อ่างเก็บน้ำตั้งแต่ 3,500 ไร่ ขึ้นไป ทั้งนี้ ให้คิดสัดส่วนของพื้นที่ที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ไปด้วย" (ข้อเสนอกรมชลประทาน) และ
2) มติ ครม. ข้อ 1.5 จากเดิม "โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กประเภทเขื่อนกักเก็บน้ำ มีอ่างเก็บน้ำ และประเภทฝายน้ำล้นไม่มีอ่างเก็บน้ำ ที่มีวงเงินค่าก่อสร้างเกินกว่า 200 ล้านบาท (ไม่รวมค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า)" แก้ไขเป็น "โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กประเภทเขื่อนกักเก็บน้ำ มีอ่างเก็บน้ำ และประเภทฝาย น้ำล้นไม่มีอ่างเก็บน้ำที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป" (ข้อเสนอ พพ.)
3.2 โครงการที่ต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ได้แก่
1) มติ ครม. ข้อ 2.1 จากเดิม "โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ หรือการชลประทานที่มีวงเงินค่าก่อสร้างเกินกว่า 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท หรือมีระยะเวลาก่อสร้างเกิน 1 ปี" แก้ไขเป็น "โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ หรือการชลประทานที่มีปริมาตรเก็บกักตั้งแต่ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ไม่เกิน 30 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือมีพื้นที่พื้นที่อ่างเก็บน้ำตั้งแต่ 2,000 ไร่ แต่ไม่เกิน 3,500 ไร่ ทั้งนี้ ให้คิดสัดส่วนของพื้นที่ที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ไปด้วย" (ข้อเสนอกรมชลประทาน)
2) มติ ครม. ข้อ 2.5 จากเดิม "โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กประเภทเขื่อนกักเก็บน้ำ มีอ่างเก็บน้ำ และประเภทฝายน้ำล้นไม่มีอ่างเก็บน้ำ ที่มีวงเงินค่าก่อสร้างเกินกว่า 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท (ไม่รวมค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า)" แก้ไขเป็น "โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กประเภทเขื่อนกักเก็บน้ำ มีอ่างเก็บน้ำ และประเภทฝายน้ำล้นไม่มีอ่างเก็บน้ำ ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 200 กิโลวัตต์ แต่ไม่เกิน 10 เมกะวัตต์" (ข้อเสนอ พพ.)
3) มติ ครม. ข้อ 2.6 โครงการฝายน้ำล้นเพื่อการเกษตร กรมชลประทานขอเสนอให้ตัดออก
3.3 โครงการที่ต้องจัดทำรายการข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยจัดทำตามแบบฟอร์มที่กำหนด ได้แก่
1) มติ ครม. ข้อ 3.1 "โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ หรือการชลประทานที่มีวงเงินค่าก่อสร้างไม่เกิน 50 ล้านบาท หรือมีระยะเวลาก่อสร้างไม่เกิน 1 ปี" แก้ไขเป็น "โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ หรือการชลประทานที่มีปริมาตรเก็บกักต่ำกว่า 10 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือมีพื้นที่พื้นที่อ่างเก็บน้ำน้อยกว่า 2,000 ไร่ ทั้งนี้ ให้คิดสัดส่วนของพื้นที่ที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ไปด้วย" (ข้อเสนอกรมชลประทาน)
2) มติ ครม. ข้อ 3.5 "โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กประเภทเขื่อนกักเก็บน้ำ มีอ่างเก็บน้ำ ที่มีวงเงินค่าก่อสร้างไม่เกิน 50 ล้านบาท (ไม่รวมค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า)" แก้ไขเป็น "โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กประเภทเขื่อนกักเก็บน้ำ มีอ่างเก็บน้ำ ที่มีกำลังผลิตต่ำกว่า 200 กิโลวัตต์" (ข้อเสนอ พพ.) และเพิ่มข้อ 3.9 เป็น "โครงการฝายน้ำล้นเพื่อการเกษตร" (ข้อเสนอกรมชลประทาน)
4. เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ได้พิจารณาข้อเสนอการขอปรับปรุงมติ ครม. เกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (วันที่ 13 กันยายน 2537) เกี่ยวกับประเภทและขนาดโครงการที่ต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดย คชก. มีความเห็นว่าการขอปรับปรุงมติ ครม. เกี่ยวกับประเภทและขนาดของโครงการที่จะต้องจัดทำรายงานการศึกษาสิ่งแวดล้อมในระดับต่างๆ ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติมเป็นเรื่องระดับนโยบาย โดยไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ คชก. จึงไม่สามารถรับไว้พิจารณาได้และเห็นควรนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา
มติของที่ประชุม
เห็นชอบในหลักการการทบทวนการกำหนดประเภท ขนาด โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กฯ และมอบหมายให้กระทรวงพลังงานนำส่งผลการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
ทั้งนี้ มอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ รายงานผลการทบทวนฯ ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อทราบต่อไปด้วย
สรุปสาระสำคัญ
1. กระทรวงพลังงานได้มีนโยบายและมาตรการเร่งด่วนให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงเพื่อทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรมและภาคการขนส่ง ซึ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในการวางท่อก๊าซธรรมชาติไปยังโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ผู้ประกอบการจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการนาน และเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2549 ได้มีการประชุมการดำเนินโครงการด้านพลังงานที่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาปัญหาการส่งเสริมการใช้ NGV ของประเทศ และได้มีมติให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สผ. และ ธพ. ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำหลักเกณฑ์การปฏิบัติ (Code of Practice : COP) สำหรับโครงการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อเพื่อทดแทนการจัดทำวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยให้พิจารณาขนาดและความยาวท่อที่ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงประเภทและขนาดของท่อก๊าซธรรมชาติที่ควรทำรายงาน EIA และให้จัดตั้งคณะกรรมการกำกับการศึกษาเพื่อร่วมพิจารณาผลการศึกษาสำหรับเป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายในอนาคต โดยมี ธพ. สผ. ปตท. และผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านพลังงานร่วมเป็นกรรมการ
2. เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2551 คณะอนุกรรมการประสานการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ได้พิจารณาผลการศึกษาการจัดทำ COP เพื่อลดและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อบนบกเพื่อทดแทนการจัดทำรายงาน EIA และได้มีมติดังนี้ 1) เห็นชอบให้ ธพ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการอนุมัติโครงการที่ใช้ COP และบังคับใช้ COP และ 2) มอบหมายให้ ธพ. ร่วมกับ สผ. นำเสนอคณะกรรมการกำกับการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำ COP สำหรับโครงการระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ เพื่อพิจารณาทบทวนลักษณะของโครงการและพื้นที่ที่สามารถใช้ COP แทนการจัดทำ EIA ให้ได้ข้อยุติ ตลอดจนศึกษาการแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการประสานฯ ให้ความเห็นชอบ ก่อนให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ นำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาเพื่อให้สามารถนำไปใช้ภายในกลางปี 2551 ต่อไป
3. คณะกรรมการกำกับการศึกษาฯ พิจารณาทบทวนลักษณะของโครงการและพื้นที่ที่สามารถใช้ COP แทนการจัดทำ EIA และการแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อยุติเพื่อนำเสนอต่อการประชุมคณะอนุกรรมการประสานการจัดการสิ่งแวดล้อมฯ ครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการการใช้ COP เพื่อลดและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อบนบก และเห็นชอบการแก้ไขกฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยขอให้ปรับแก้รายละเอียดบางประการ พร้อมมอบหมาย สผ. นำเสนอร่าง COP ที่ได้รับความเห็นชอบแล้วต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณา ก่อนส่งให้กระทรวงพลังงานนำเสนอ กบง. พิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้ สผ. เป็นผู้นำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแก้กฎหมายและสามารถนำ COP ไปใช้ได้ภายในปี 2551 ต่อไป
4. หลักเกณฑ์การปฏิบัติ (COP) เพื่อลดและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อบนบก ซึ่งประกอบด้วย 1) หลักเกณฑ์การปฏิบัติในการป้องกันแก้ไข ลด และติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และ 2) หลักเกณฑ์การปฏิบัติในการลดผลกระทบด้านวิศวกรรม ซึ่งลักษณะโครงการและพื้นที่ที่สามารถนำ COP ไปใช้แทนการจัดทำรายงาน EIA โดยการจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Report ; ER) แทน ได้แก่
4.1 โครงการระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ที่มีความดันใช้งานสูงสุดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 บาร์ และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่าหรือเท่ากับ 16 นิ้ว ใช้ได้ทุกพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่ที่มีมติคณะรัฐมนตรีหรือกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
4.2 ระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่มีความดันใช้งานสูงสุดมากกว่า 20 บาร์ และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 16 นิ้ว ใช้ได้ในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยนิคมอุตสาหกรรม โดยเจ้าของโครงการจะต้องให้นิติบุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ ธพ. เป็นผู้จัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม (ER) เสนอ ธพ. ให้ความเห็นชอบแล้วจึงสามารถดำเนินการขออนุญาตเพื่อก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้
5 การจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม (ER) จะต้องแสดงรายละเอียดข้อมูลของโครงการซึ่งประกอบด้วย 1) ผลการศึกษาแนวทางเลือกในการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ 2) ข้อมูลการออกแบบท่อก๊าซฯ 3) แผนการก่อสร้างและดำเนินการโครงการ 4) โครงข่ายระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่มีอยู่เดิมในบริเวณใกล้เคียง 5) ตำแหน่งที่ตั้งโครงการ แนวระบบท่อ รวมทั้งต้องระบุพื้นที่ที่ไวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม 6) การประกันภัยบุคคลที่สาม ทั้งในระยะก่อสร้างและดำเนินการโครงการ และ 7) กำหนดเป็นมาตรการป้องกันแก้ไข ลด และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะก่อนก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ
6. การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการ (Monitoring Report ; MR) เจ้าของโครงการจะต้องให้นิติบุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ ธพ. (แต่ต้องไม่เป็นนิติบุคคลเดียวกับที่จัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการเสนอต่อ ธพ. เพื่อจัดส่งให้หน่วยงานผู้ให้อนุญาต นับจากวันที่เปิดใช้งานไม่เกิน 1 เดือน
7. COP สามารถทำการเปลี่ยนแปลงทบทวนให้เหมาะสมกับเทคโนโลยี มาตรฐานด้านความปลอดภัย ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สะดวกและมีประสิทธิภาพในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเห็นควรให้ศึกษาทบทวนทุก 3 ปี หรือตามความเหมาะสมใน 3 ประเด็น คือ ประเภทและขนาดโครงการ ประสิทธิภาพ และมาตรการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผู้มีสิทธิ์จัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงองค์ประกอบของรายงาน
8. การแก้ไขกฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยได้แก้ไข/เพิ่มเติมประกาศกระทรวงทรัพยากรฯ เพื่อขอให้ลักษณะโครงการและพื้นที่ที่กำหนดได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงาน EIA โดยจะต้องกำหนด บทเฉพาะกาลให้ใช้อำนาจตามกฎหมายของ สผ. ควบคุมกำกับดูแลไปจนกว่ากฎหมายกระทรวงพลังงานจะมีผลบังคับใช้ และประกาศใช้ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรฐานความปลอดภัยของระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ เพื่อกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่มีลักษณะโครงการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำ EIA ต้องจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้ COP แทนได้ โดยให้ ธพ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
9. เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 สผ. ได้นำเสนอการกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติฯ ในการประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณารายงาน EIA ด้านโครงการพลังงาน โดยได้มีมติรับทราบการจัดทำคู่มือการกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติ (Code of Practice) เพื่อลดและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อบนบก โดยมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้ 1) คำว่า "Code of Practice" สภาวิศวกรได้มีการบัญญัติคำในภาษาไทยไว้โดยให้ชื่อว่า "ประมวลหลักการปฏิบัติงาน" และ 2) การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการ (Monitoring Report ; MR) ธพ. ควรพิจารณาว่าจะเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด หรือจะดำเนินการโดยว่าจ้างในบางส่วนและดำเนินการในบางส่วนร่วมด้วย ซึ่งการดำเนินงานในส่วนนี้จะช่วยให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยลงและยังเพิ่มประสบการณ์ รวมทั้งเป็นการพัฒนาองค์กรด้วย
มติของที่ประชุม
เห็นชอบในหลักการต่อรายละเอียด COP เพื่อลดและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อบนบก และข้อเสนอของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณา EIA ด้านโครงการพลังงาน ในการเปลี่ยนคำแปลของ "Code of Practice : COP" เป็น "ประมวลหลักการปฏิบัติงาน" พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงพลังงานนำส่งผลการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแก้กฎหมายและสามารถนำ COP ไปใช้ได้ภายในปี 2551 ต่อไป
ทั้งนี้ มอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ รายงานผลการพิจารณา COP ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อทราบต่อไป
ครั้งที่ 31 - วันศุกร์ ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 6/2551 (ครั้งที่ 31)
วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เวลา 15.00 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด-นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1. การรักษาเสถียรภาพกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. การขอสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูก
3. การทบทวนบัญชีความแตกต่างของราคาขายปลีกระหว่างกรุงเทพมหานครกับส่วนภูมิภาค
4. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (มิถุนายน - กรกฎาคม 2551)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) เป็นกรรมการและเลขานุการ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าในช่วงที่ผ่านมาราคาน้ำมันตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สถานการณ์ปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศเริ่มคลี่คลาย ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ตรึงราคาไว้ก่อน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของคณะทำงานกระทรวงพลังงาน นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล อี85 แล้ว และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีรับที่จะเป็นประธานการประชุม กพช. ในเรื่องนี้ ขณะนี้กรมธุรกิจพลังงาน ปัจจุบันได้ออกประกาศกรมธุรกิจพลังงานเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล อี85 เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล พ.ศ. 2551 โดยได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป พร้อมทั้ง ปตท. และ บ.บางจาก ได้เตรียมการเพื่อรองรับเรื่องนี้ด้วย
เรื่องที่ 1 การรักษาเสถียรภาพกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 ได้มีมติเห็นชอบให้โอนอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ให้แก่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับแผนงานปกติ และเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบขนส่ง ดังนี้ 1) ให้เพิ่มอัตราเงิน ส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ สำหรับน้ำมันเบนซินและดีเซลจาก 0.07 บาทต่อลิตร เป็น 0.25 บาทต่อลิตร สำหรับแผนงานปกติ และประกาศลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันเบนซินและดีเซลลดลง 0.18 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2550 และ 2) ให้เพิ่มอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ อีก 0.50 บาทต่อลิตร สำหรับน้ำมันเบนซินและดีเซล เป็น 0.75 บาทต่อลิตร สำหรับโครงการลงทุนโครงการพัฒนาระบบการขนส่ง เมื่อหนี้สินสุทธิของกองทุนน้ำมันฯ ลดลงเป็น 0 แล้ว และให้เพิ่มการเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ อีก 0.20 บาทต่อลิตร เป็น 0.95 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 โดยให้มีการประกาศลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในอัตราเท่ากันและในวันเดียวกัน
2. สำหรับขั้นตอนการออกประกาศ กพช. กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ จะต้องนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งการดำเนินการอาจล่าช้ากว่ากำหนดเวลาบังคับในวันที่ 17 ธันวาคม 2550 ตามมติ กพช. ประกอบกับจากประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันฯ คาดว่าจะเป็นบวกและสามารถโอนอัตราเงินให้แก่กองทุนอนุรักษ์ฯ สำหรับโครงการพัฒนาระบบขนส่ง 0.50 บาท/ลิตร (ครั้งที่ 1) ได้ประมาณวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ดังนั้น เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2550 กพช. จึงได้เห็นชอบให้โอนอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปยังกองทุนอนุรักษ์ฯ สำหรับแผนงานปกติและเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการพัฒนาระบบขนส่ง ครั้งที่ 1 ไปพร้อมกัน ดังนี้ 1) ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ ของน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล ดีเซลและดีเซลหมุนเร็วบี 5 จาก 0.07 บาทต่อลิตร เป็น 0.75, 0.25, 0.75 และ 0.25 บาทต่อลิตร ตามลำดับ โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป และ 2) ให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ ของน้ำมันเบนซิน, แก๊สโซฮอล, ดีเซลและดีเซลหมุนเร็วบี 5 เพิ่มขึ้นอีก 0.20 บาทต่อลิตร เป็น 0.95, 0.45, 0.95 และ 0.45 บาทต่อลิตร ตามลำดับ เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
3. เพื่อการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ สำหรับแผนงานปกติและเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการพัฒนาระบบขนส่ง ตามมติ กพช. ในข้อ 1 ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้น เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังนี้ 1) เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน, แก๊สโซฮอล, ดีเซลและดีเซลหมุนเร็วบี 5 ลง 0.6800, 0.1870, 0.6800 และ 0.1835 บาทต่อลิตร ตามลำดับ โดยให้เริ่มมีผลบังคับใช้พร้อมกับการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ และ 2) เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน, แก๊สโซฮอล, ดีเซลและดีเซลหมุนเร็ว บี 5 ลงอีก 0.20 บาทต่อลิตร โดย ให้เริ่มมีผลบังคับใช้พร้อมกับการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ (ประมาณเดือนตุลาคม 2551) ทั้งนี้ มอบให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ ต่อไป
4. เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2551 กพช. ได้มติเห็นชอบมาตรการระยะสั้นในการแก้ไขผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยมอบให้กระทรวงพลังงานรับไปดำเนินการ ดังนี้ 1) เนื่องจากกองทุนน้ำมันฯ ในปัจจุบันยังมีรายรับสูงกว่ารายจ่ายอยู่ในระดับ 33 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งส่วนนี้เตรียมไว้เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลและไบโอดีเซล โดยสามารถนำรายได้จากกองทุนน้ำมันฯ มาใช้เพื่อบริหาร ซึ่งสามารถชะลอการขึ้นราคาน้ำมันดีเซลได้ 0.40 บาทต่อลิตร และ 2) ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ ของน้ำมันดีเซลในส่วนที่เก็บไว้สำหรับโครงการระบบขนส่งรางคู่ลง 0.50 บาทต่อลิตร เป็นการชั่วคราวจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2551 ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป และจากการดำเนินการดังกล่าวสามารถนำเงินของทั้ง 2 กองทุนมาชะลอการปรับราคาของน้ำมันดีเซลได้สูงสุด 0.90 บาทต่อลิตร และหากปรับลดลง 0.90 บาทต่อลิตร แล้วราคาน้ำมันยังปรับตัวสูงขึ้นอีก จะปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาดโลก โดยจะไม่มีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นเพื่อรักษาระดับราคาและจะไม่นำเงินคงเหลือที่อยู่ในกองทุนทั้ง 2 มาใช้รักษาระดับราคาอีกด้วย
5. ปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯ มีสภาพคล่องสุทธิประมาณวันละ 1.70 ล้านบาท ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินที่ลดลง แต่รายจ่ายจากการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลและน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 มีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งกระทบต่อเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันฯ โดยฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2551 มีเงินสดในบัญชี 16,868 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 13,614 ล้านบาท และงบบริหารและโครงการที่ได้อนุมัติแล้ว 326 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิ 3,254 ล้านบาท
6. ฝ่ายเลขานุการฯ มีความเห็นว่าควรปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล กลับไป ณ อัตราเดิมตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2551 ซึ่งจะทำให้กองทุนน้ำมันฯมีสภาพคล่องสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 1.70 ล้านบาทต่อวัน เป็น 16.10 ล้านบาทต่อวัน หรือ 484 ล้านบาทต่อเดือน และปัจจุบัน ค่าการตลาดการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในระดับสูงและอยู่ในช่วงราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง ดังนั้นการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมัน พร้อมทั้ง เห็นควรยกเลิกค่าใช้จ่ายสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบขนส่งฯ ของกองทุนอนุรักษ์ฯ และให้โอนอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ ในส่วนนี้ทั้งหมดคืนให้แก่กองทุนน้ำมันฯ เนื่องจากเงินสนับสนุนโครงการดังกล่าวยัง ไม่มีการนำไปใช้จ่าย และให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอต่อ กพช. เพื่อพิจารณาต่อไป
มติของที่ประชุม
1. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซล 0.40 บาทต่อลิตรกลับไปอยู่ในอัตราเดิมคือจาก -0.30 บาทต่อลิตร เป็น 0.10 บาทต่อลิตร และปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 0.20 บาทต่อลิตร จาก -1.50 บาทต่อลิตร เป็น -1.30 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ ได้คำนึงถึงการกำหนดให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วกับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 มีส่วนต่างจาก 0.50 บาทต่อลิตร เป็น 0.70 บาทต่อลิตร เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน
2. เนื่องจากเงินสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบขนส่ง จากเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้เรียกเก็บจากน้ำมันดีเซลและเบนซินในอัตรา 0.50 บาทต่อลิตร นั้น ทางภาครัฐยังไม่มีนโยบายนำไปใช้จ่ายแต่อย่างใด คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานจึงเห็นชอบให้ยกเลิกการค่าใช้จ่ายสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบขนส่งจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และให้โอนอัตราเงินส่งเข้ากองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนนี้ทั้งหมดคืนให้แก่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แต่เนื่องจากในการกำหนดอัตราเงินกองทุนดังกล่าวเป็นอำนาจของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จึงเห็นควรให้กระทรวงพลังงานนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
เรื่องที่ 2 การขอสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูก
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2551 กบง. ได้มีมติเรื่อง แนวทางการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบปัญหาราคาน้ำมันแพง ดังนี้ 1) รับทราบผลการช่วยเหลือที่กระทรวงพลังงานได้ขอความร่วมมือกับ 4 โรงกลั่น ในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้แก่ โรงกลั่นพีทีทีเออาร์ โรงกลั่นไออาร์พีซี โรงกลั่นไทยออยล์ และโรงกลั่นบางจาก ได้ร่วมกันบริจาคโดยจัดสรรน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปริมาณ 122 ล้านลิตรต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน (มิถุนายน - พฤศจิกายน 2551) รวม 732 ล้านลิตร ในราคาที่ต่ำกว่าราคาดีเซลหมุนเร็วปกติ 3 บาทต่อลิตร รวมเป็นมูลค่า 2,196 ล้านบาท โดย กบง. เป็นผู้พิจารณาจัดสรรแทนกระทรวงพลังงาน และให้การช่วยเหลือกลุ่มประชาชนหรือสาขาอาชีพที่มีรายได้ต่ำ และได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มประมง กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มผู้ใช้รถโดยสารประจำทาง เป็นต้น โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประสานงานกับโรงกลั่นทั้ง 4 แห่ง ในการจัดสรรน้ำมันดังกล่าว และ 2) เห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือประชาชน จากปัญหาราคาน้ำมันแพง โดยให้การช่วยเหลือกลุ่มประชาชนหรือสาขาอาชีพที่มีรายได้ต่ำ เช่น กลุ่มประมง เกษตรกร และผู้ใช้รถโดยสารประจำทาง เป็นต้น โดยกลุ่มประชาชนหรือสาขาอาชีพที่มีรายได้ต่ำ ที่ได้รับความเดือดร้อนติดต่อมาที่ สนพ. หรือหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ และให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเป็นผู้นำเสนอขอรับความช่วยเหลือต่อ กบง. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยข้อเสนอที่ได้รับความเห็นชอบไปแล้ว กบง. จะพิจารณาติดตามและประเมินผลทุกๆ เดือน
2. คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ได้มีมติรับทราบมติของ กบง. ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการช่วยเหลือกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง โดยให้ความช่วยเหลือ ดังนี้ 1) ให้กลุ่มผู้เดือดร้อนทำหนังสือร้องขอความช่วยเหลือผ่านกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากลั่นกรองและเสนอความเห็นต่อกระทรวงพลังงาน เพื่อนำเสนอต่อ กบง. พิจารณาต่อไป 2) ผู้ที่สมควรได้รับความช่วยเหลือ ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการที่ถูกรัฐบาลควบคุมรายได้ จนไม่สามารถปรับราคาได้ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันแพงได้ และกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ และได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และ 3) ต้องแสดงวิธีการจัดสรรน้ำมันให้ชัดเจนว่า น้ำมันราคาถูกจะต้องส่งผ่านไปถึงผู้เดือดร้อนจริง ไม่รั่วไหลไปทางอื่น
3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2551 ได้มีหนังสือถึงกระทรวงพลังงาน เรื่อง ขอการสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูกสำหรับเรือประมง เพื่อขอให้พิจารณาการสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูกสำหรับเรือประมง และต่อมาวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 ได้มีหนังสือเพื่อขอรับการสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูกสำหรับชาวประมงและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันแพง โดยที่ 1) กลุ่มประมงชายฝั่ง จากโครงการจำหน่ายน้ำมันม่วงได้จำหน่ายน้ำมันดีเซลในราคา ต่ำกว่าบนบก 2 บาทต่อลิตร แต่จากสภาวะวิกฤตราคาน้ำมันที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ชาวประมงประสบการขาดทุนอย่างต่อเนื่องและต้องหยุดกิจการ ปัจจุบันมีเรือประมงประเภทที่ใช้น้ำมันมาก หยุดทำการประมงแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 - 60 โดยชาวประมงขาดทุนสุทธิประมาณ 100,000 - 200,000 บาทต่อเดือนต่อลำ และ 2) กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งรายย่อย จากปัจจัยการผลิตทั้งด้านอาหารสัตว์น้ำ และน้ำมันเชื้อเพลิง มีราคาเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ราคากุ้งตกต่ำลง ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งประสบการขาดทุนต้นทุนด้านพลังงาน ถึงร้อยละ 15 - 20 และขาดทุนสุทธิไร่ละ 12,000 บาท
4. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการด้านการประมง และผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงเสนอมาตรการเพื่อให้ความช่วยเหลือดังนี้
4.1 การสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูกเพื่อใช้ในโครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่ง (น้ำมันม่วง) โดยให้สามารถลดราคาน้ำมันในโครงการฯ ได้ไม่ต่ำกว่า 5 บาทต่อลิตร (จากเดิมไม่ต่ำกว่า 2 บาทต่อลิตร) ปริมาณน้ำมันของโครงการช่วยเหลือชาวประมงที่ขอรับการสนับสนุนประมาณ 15 ล้านลิตรต่อเดือน เพื่อช่วยเหลือเรือประมงประมาณ 23,000 ลำ (ที่ใช้น้ำมันดีเซลและ ไม่สามารถออกไปซื้อน้ำมันเขียวได้) จำหน่ายผ่านสถานีบริการภายใต้การกำกับดูแลขององค์การสะพานปลาประมาณ 98 สถานี โดยมีการสมัครเข้าร่วมโครงการ และให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลยอดการจำหน่ายน้ำมันขององค์การสะพานปลาใน 2 ระดับ คือ 1) ส่วนกลาง ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 2) ระดับจังหวัด เป็นหน่วยงานภายในจังหวัด เพื่อป้องกันการรั่วไหล
4.2 การสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูกสำหรับผู้เพาะเลี้ยงกุ้งรายย่อยในราคาที่ต่ำกว่าราคาดีเซลปกติลิตรละ 3 บาท ปริมาณน้ำมันประมาณ 7 ล้านลิตรต่อเดือน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งรายย่อยประมาณ 25,000 ราย โดยจัดสรรน้ำมันจำนวน 160 ลิตรต่อเดือนต่อปริมาณลูกกุ้งที่ปล่อย 100,000 ตัว และจำหน่ายผ่านสถานีบริการน้ำมันขององค์การสะพานปลา จำนวน 98 สถานี มีคณะกรรมการกำกับดูแลการจำหน่ายน้ำมันให้ชาวประมงในส่วนกลางและระดับจังหวัด เพื่อดูแลยอดการจำหน่ายน้ำมันขององค์การสะพานปลา
5. กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2551 ได้มีหนังสือถึงกระทรวงพลังงานเรื่อง ขอรับการจัดสรรน้ำมันในราคาพิเศษ เพื่อขอสนับสนุนการจัดสรรน้ำมันดีเซลราคาถูกให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้น้ำมันในการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายจำนวนมาก แต่มีงบประมาณในการจัดซื้อน้ำมันจำนวนจำกัด คือ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วจำนวน 2,255,000 ลิตรต่อปี และน้ำมันเบนซินออกเทน 95 จำนวน 77,000 ต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจ
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้จัดสรรน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ได้รับการช่วยเหลือจากโรงกลั่นโดยมีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดีเซลปกติ 3 บาทต่อลิตร มาจำหน่ายให้ชาวประมงชายฝั่งจำนวน 15 ล้านลิตรต่อเดือน (แทนการจัดหาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในราคาต่ำกว่าราคาดีเซลปกติ 2 บาทต่อลิตร โดยใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นตัวบริหารและจัดการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2551) และเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งจำนวน 7 ล้านลิตรต่อเดือน รวมเป็น 22 ล้านลิตรต่อเดือน โดยให้มีมาตรการในการตรวจสอบและควบคุมเป็นไปตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด
2. เห็นชอบให้มีการขยายหลักเกณฑ์การช่วยเหลือกลุ่มผู้เดือดร้อนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ให้ครอบคลุมถึงหน่วยงานของรัฐที่มีความเดือดร้อน โดยหน่วยงานของรัฐที่สมควรได้รับความช่วยเหลือ ได้แก่หน่วยงานที่ดำเนินโครงการหรือแผนงานที่เกี่ยวกับการบริการสาธารณะซึ่งหากไม่ดำเนินการจะส่งผลกระทบต่อการบริการประชาชนโดยตรง
3. เห็นชอบให้มีการจัดสรรน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ได้รับการช่วยเหลือจากโรงกลั่นให้หน่วยงานของรัฐ คือ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีเป็นหน่วยงานนำร่อง เพื่อนำไปใช้ในการขุดลอกร่องน้ำ จำนวนประมาณ 1,500 ลิตรต่อเดือน และหากหน่วยงานราชการอื่นที่ได้รับความเดือดร้อนและมีแผนงานหรือโครงการในลักษณะดังกล่าวตามข้อ 2 สามารถขอรับการสนับสนุนน้ำมันราคาถูกจากคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานได้
เรื่องที่ 3 การทบทวนบัญชีความแตกต่างของราคาขายปลีกระหว่างกรุงเทพมหานครกับส่วนภูมิภาค
สรุปสาระสำคัญ
1. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในปัจจุบัน) ร่วมกับ กรมการค้าภายใน และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ได้จัดทำบัญชีความแตกต่างระหว่างราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่างกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค พ.ศ 2544 เพื่อใช้ในการกำกับดูแลการกำหนดราคาของสถานีบริการในต่างจังหวัดแทนบัญชีความแตกต่างฯ พ.ศ 2538 โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดและสำนักงานการค้าภายในจังหวัดใช้บัญชีความแตกต่างราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง กรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาคฯ เป็นคู่มือสำหรับคำนวณราคาขายปลีกที่เหมาะสมของจังหวัดนั้น โดยจะใช้ราคากรุงเทพฯ บวกด้วยความแตกต่างราคาฯของจังหวัดนั้น
2. เดือนพฤษภาคม 2548 ผู้ค้าน้ำมันได้ขอให้มีการทบทวนบัญชีความแตกต่างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่างกรุงเทพฯ กับส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2544 เนื่องจากการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงไม่สอดคล้องกับการกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่บัญชีความแตกต่างฯ พ.ศ. 2544 ใช้ราคาน้ำมันดีเซลที่ 12.5 บาทต่อลิตร แต่ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปรับสูงขึ้นจากเดิม อยู่ที่ระดับ 20 - 29 บาทต่อลิตร รวมทั้งต้นทุนค่าขนส่งที่สูงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางการขนส่ง ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ได้มีคำสั่งกระทรวงพลังงานที่ 34/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาทบทวนบัญชีความแตกต่างของราคาขายปลีกระหว่างกรุงเทพฯ กับส่วนภูมิภาค โดยมีหน้าที่กำกับศึกษาทบทวนบัญชีความแตกต่างฯ โดยมีรองปลัดกระทรวงพลังงาน (นายพรชัย รุจิประภา) เป็นประธานคณะทำงาน
3. คณะทำงานฯ ได้มอบให้สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยศึกษาบัญชีค่าความแตกต่างของราคาขายปลีกฯ เป็นการชั่วคราว โดยใช้สมมติฐาน ณ ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 24 บาทต่อลิตร และสัดส่วนของขนาดรถบรรทุกน้ำมันระหว่าง 15,000 ลิตร และ 30,000 ลิตร คือ 70:30 ในขณะที่ตัวแปรอื่นๆ คงที่เท่ากับบัญชีความแตกต่างฯ พ.ศ. 2544 และเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2549 สนพ. ร่วมกับกรมการค้าภายใน สถาบันปิโตรเลียมฯ และผู้ค้าน้ำมัน ได้เริ่มดำเนินการปรับเพิ่มอัตราบัญชีค่าความแตกต่างของราคาขายปลีกระหว่างกรุงเทพมหานครกับส่วนภูมิภาคที่ใช้เป็นอัตราความแตกต่างชั่วคราว โดยได้ดำเนินการปรับเพิ่มอัตราบัญชีค่าความแตกต่างของราคาฯ ในช่วงที่ราคาขายปลีกลดลง เพื่อไม่ทำให้ราคาขายปลีกโดยรวมเพิ่มขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
4. ต่อมาคณะทำงานฯ ได้มอบให้สถาบันปิโตรเลียมฯ ศึกษาบัญชีความแตกต่างราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่างกรุงเทพฯ กับส่วนภูมิภาคใหม่ โดยศึกษาระบบการขนส่งที่เป็นจริงในปัจจุบัน และสร้างแบบจำลองในการคำนวณค่าขนส่งที่ครอบคลุมปัจจัยหรือตัวแปรต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อต้นทุนค่าขนส่ง โดยเฉพาะการทบทวนข้อสมมติฐานราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่เดิมกำหนดไว้ในบัญชีความแตกต่างฯ ชั่วคราวที่ระดับราคา 24 บาทต่อลิตร เป็นระดับราคา 33 บาทต่อลิตร สำหรับบัญชีฯ ใหม่ ซึ่งเป็นการคำนวณตามมติคณะทำงานฯ ที่กำหนดให้ใช้ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี ต่อมาคณะทำงานฯ ได้เห็นชอบบัญชีความแตกต่างฯ ใหม่ เพื่อเป็นบัญชีที่ สนพ. และกรมการค้าภายใน จะใช้ประกอบการพิจารณาดำเนินการปรับส่วนต่างราคาขายปลีกระหว่างกรุงเทพฯ (ที่ปัจจุบัน สนพ.ประกาศเป็นราคาอ้างอิงที่ กทม.) และราคาขายปลีกต่างจังหวัดที่เปลี่ยนแปลงไป ตามราคาอ้างอิงที่ กทม.
5. ผลการปรับบัญชีค่าความแตกต่างฯ ส่งผลให้สะท้อนต้นทุนค่าขนส่งที่แท้จริง ลดปัญหาค่าการตลาดของสถานีบริการในส่วนภูมิภาคที่อยู่ในระดับต่ำจนขาดทุนและเลิกกิจการ ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำมันในบางพื้นที่ ขณะเดียวกันการปรับอัตราค่าขนส่งจะทำให้ประชาชนในพื้นที่บางอำเภอรับภาระค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจากค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น
มติของที่ประชุม
มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานทำการทบทวนบัญชีค่าความแตกต่างของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่างกรุงเทพมหานครกับส่วนภูมิภาคใหม่ และนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป
เรื่องที่ 4 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (มิถุนายน - กรกฎาคม 2551)
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัสเฉลี่ยเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ระดับ 127.82 และ 133.93เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 8.32 และ 8.55 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากเหตุสหภาพคนงานบริษัทน้ำมันไนจีเรีย (PENGASSAN) นัดหยุดงานประท้วงบริษัท Chevron ในไนจีเรียและประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปมีมติคว่ำบาตรอิหร่านหลังอิหร่านปฏิเสธข้อเสนอการปรับเปลี่ยนแผนโครงการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ตามที่สหประชาชาติเสนอ ทั้งนี้ประธานโอเปคแถลงว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันจะไม่เพิ่มการผลิตน้ำมันดิบรวมทั้งข่าวค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลง ต่อมาในช่วงวันที่ 1-15 กรกฎาคม 2551 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัสเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 137.83 และ 141.26 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากความต้องการใช้น้ำมันของประเทศจีนและอินเดียอยู่ในระดับสูง และหลังจากวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงวันที่ 16-30 กรกฎาคม 2551 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัสเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 125.45 และ 126.89 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จาก IEA ได้ปรับคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปี 2551 ลงประมาณร้อยละ 51 รวมทั้งข่าวอิหร่านกับกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกทั้ง 6 ประเทศอาจบรรลุข้อตกลงด้วยการยอมรับข้อเสนอของทั้งสองฝ่าย
2. ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลเฉลี่ยเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ระดับ 140.30, 138.78 และ 166.45 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 9.17, 8.72 และ 7.83 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและจากข่าวโรงกลั่นบริเวณ Port Dickson มาเลเซียมีแผนปิดซ่อมบำรุง ส่งผลให้มาเลเซียนำเข้าน้ำมันเบนซินปริมาณ 500,000 บาร์เรล ต่อมาในช่วงวันที่ 1-15 กรกฎาคม 2551 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 144.22, 143.63 และ 174.78 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบและความต้องการใช้จากจีนยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่อุปทานในภูมิภาคตึงตัว และหลังจากวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ราคาน้ำมันสำเร็จรูปได้ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบ โดยในช่วงวันที่ 16-30 กรกฎาคม 2551 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 127.32, 126.76 และ 158.45 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยปรับตัวลดลงจากต้นเดือน 16.90, 16.87 และ 16.33 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากอุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากไม่มีแรงซื้อจากประเทศจีนและเวียดนามที่มีการปรับขึ้นราคาขายปลีกร้อยละ 31 ทำให้อัตราการบริโภคในประเทศลดลง
3. เดือนมิถุนายน 2551 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้น 2.00 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล 95 (อี10), เบนซิน 91, แก๊สโซฮอล 91 เพิ่มขึ้น 2.80 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 (อี20) เพิ่มขึ้น 3.50 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนเร็ว บี5 เพิ่มขึ้น 3.60 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ครม. ได้มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือประชาชน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันแพงโดยการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 ถึง 31 มกราคม 2552 ประกอบด้วย (1) ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันแก๊สโซฮอล 95, 91 น้ำมันแก๊สโซฮอล อี20, อี85 จากเดิมเรียกเก็บในอัตรา 3.3165 บาทต่อลิตร ลดลงเหลือ 0.0165 บาทต่อลิตร ซึ่งมีผลทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอลทุกชนิดลดลง 3.88 บาทต่อลิตร (2) ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จากเดิม 2.3050 บาทต่อลิตร ลดลงเหลือ 0.005 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลง 2.71 บาทต่อลิตร และ (3) ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 จากเดิม 2.1898 บาทต่อลิตร ลดลงเหลือ 0.0898 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลง 2.47 บาทต่อลิตร จากการลดภาษีสรรพสามิตและสถานการณ์ราคาน้ำมันอยู่ในช่วงขาลงทำให้ผู้ค้าน้ำมันปรับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91, แก๊สโซฮอล 95 (อี10), (อี20), 91 ดีเซลหมุนเร็ว และดีเซลหมุนเร็ว บี 5 ณ วันที่ 131 กรกฎาคม อยู่ที่ระดับ 39.39, 37.99, 30.49, 29.19, 29.69, 37.94 และ 37.44 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
4. ช่วงเดือนกรกฎาคม 2551 ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 18.00 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน มาอยู่ที่ระดับ 923.00 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกประกอบกับความต้องการใช้ในภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะจากธุรกิจปิโตรเคมีและการใช้ก๊าซ LPG เพื่อเป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมัน โดยที่ราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นเดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 10.9960 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ไทยได้นำเข้า ก๊าซ LPG (วันที่ 10-30 กรกฎาคม 2551) ปริมาณ 84,941 ตัน โดยราคาก๊าซ LPG นำเข้าอยู่ที่ระดับ 34.3921 บาทต่อกิโลกรัม อัตราเงินชดเชยก๊าซ LPG นำเข้าอยู่ที่ระดับ 23.3961 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นเงินประมาณ 1,987.29 ล้านบาท ราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ระดับ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม และเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ครม. ได้มีมติเห็นชอบให้ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน จากเดิมในเดือนกรกฎาคมออกไปอีก 6 เดือนจนถึงเดือนมกราคม 2552
5. เดือนกรกฎาคม 2551 ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอลอยู่ที่ระดับ 7.7 ล้านลิตรต่อวัน โดยมีสถานีบริการ 4,079 แห่ง และราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และ 91 อยู่ที่ 30.49 และ 29.69 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 ในเดือนกรกฎาคม 2551 มีปริมาณการจำหน่าย 89,000 ลิตรต่อวัน สถานีบริการ 94 แห่ง และราคาขายปลีกอยู่ที่ระดับ 29.19 บาทต่อลิตร และกำลังการผลิตรวมและปริมาณการผลิตเอทานอลจริงเท่ากับ 1.57 และ 0.96 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ จากผู้ประกอบการที่ผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง 11 ราย โดยผลิตเพียง 9 ราย ราคาเอทานอลแปลงสภาพในไตรมาส 3 ปี 2551 อยู่ที่ลิตรละ 18.01 บาท
6. สำหรับน้ำมันไบโอดีเซล เดือนกรกฎาคม 2551 มีกำลังการผลิตรวม 2.18 ล้านลิตรต่อวัน จากผู้ผลิตไบโอดีเซลที่ได้คุณภาพตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน 9 ราย และราคาไบโอดีเซลในประเทศเฉลี่ยเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม อยู่ที่ 40.07 และ 42.35 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 เดือนมิถุนายนและกรกฎาคม 2551 จำนวน 10.69 และ 9.69 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 อยู่ที่ 37.44 บาทต่อลิตร ซึ่งต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 0.50 บาทต่อลิตร
7. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2551 มีเงินสดในบัญชี 16,868 ล้านบาท หนี้สิน ค้างชำระ 13,614 ล้านบาท แยกเป็นหนี้พันธบัตร 8,800 ล้านบาท ภาระดอกเบี้ยพันธบัตร 129 ล้านบาท และหนี้ค้างชำระเงินชดเชย 4,359 ล้านบาท และงบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 326 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิ 3,254 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
ครั้งที่ 30 - วันพฤหัสบดี ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 5/2551 (ครั้งที่ 30)
วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด-นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (พฤษภาคม - 13 มิถุนายน 2551)
2. แนวทางการจัดสรรน้ำมันเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) เป็นกรรมการและเลขานุการ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมฯ ทราบว่า ภายหลังจากการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) นัดพิเศษครั้งแรกไปได้ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือน้ำมันดีเซลหมุนเร็วราคาถูกให้กับรถโดยสารประจำทาง (ขสมก.) ซึ่งได้ช่วยคลี่คลายความเดือดร้อนของประชาชนได้ระดับหนึ่ง และในช่วงที่ผ่านมาได้มีหลายกลุ่มอาชีพที่ได้รับความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันแพงได้มาขอความช่วยเหลือเพื่อรับการจัดสรรน้ำมันราคาถูก จึงทำให้ต้องรบกวนเชิญประชุมครั้งนี้
อนึ่งฝ่ายเลขานุการฯ ได้ขอให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (นายเมตตา บันเทิงสุข) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อเสนอของกลุ่มรถบรรทุกที่มายื่นหนังสือต่อกระทรวงพลังงานเพื่อให้ช่วยเหลือเมื่อช่วงเช้าของวันนี้ โดยมีข้อเสนอ 3 ข้อ ดังนี้ 1) ให้ช่วยเหลือลดราคาขายน้ำมันดีเซลลิตรละ 3 บาท 2) เรื่องแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำสำหรับการเปลี่ยนไปใช้ NGV และ 3) เร่งรัดให้ ปตท.ดำเนินการติดตั้งสถานีบริการ NGV โดยที่ข้อเสนอ ในข้อ 2 และข้อ 3 จะมีคณะกรรมการที่ดูแลอยู่ ส่วนประเด็นราคาน้ำมันถูกจะเกี่ยวข้องหลายกระทรวง เห็นควรให้นำข้อเสนอดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาก่อน
เรื่องที่ 1. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (พฤษภาคม - 13 มิถุนายน 2551)
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัสเฉลี่ยเดือนพฤษภาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 119.5 และ 125.38 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 16.09 และ 12.75 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากไนจีเรียเลื่อนการส่งออกน้ำมันดิบ Qua lboe ปริมาณ 950,000 บาร์เรล จากเดือนมิถุนายนเป็นเดือนกรกฎาคม 2551 และจากข่าวชาวประมงฝรั่งเศสประท้วงปิดท่าขนส่งน้ำมัน Port-la-Nouvelle และ La Rochelle เพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้ความช่วยเหลือที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง และต่อมาในช่วงวันที่ 1-13 มิถุนายน 2551 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัสเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 124.92 และ 131.44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 5.43 และ 6.06 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากตลาด ที่ยังกังวลต่ออุปทานน้ำมันตึงตัวหลังกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 มิถุนายน 2551 ลดลง 4 สัปดาห์ต่อเนื่องปริมาณรวม 24 ล้านบาร์เรล ต่ำกว่าช่วงเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 14 ประกอบกับข่าวเหตุเพลิงไหม้แหล่งผลิตน้ำมันดิบ Oseberg A Oilfield ของนอร์เวย์ รวมทั้งข่าวการหยุดงานประท้วงการแปรรูปของคนงานท่าเรือ Fos-Lavera ในฝรั่งเศสส่งผลให้เรือบรรทุกน้ำมันจำนวน 17 ลำ ไม่สามารถขนส่งน้ำมันได้ตามปกติ
2. ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลเฉลี่ยเดือนพฤษภาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 131.13, 130.06 และ 158.62 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 13.05, 12.97 และ 20.29 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและจากข่าวบริษัทน้ำมันแห่งชาติของอินโดนีเซียมีแผนนำเข้าน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมัน Balongan มีแผนปิดซ่อมบำรุงและจากข่าวรัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศประมาณร้อยละ 16-22 และจากความต้องการใช้น้ำมันดีเซลในจีนในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค และต่อมาในช่วงวันที่ 1-13 มิถุนายน 2551 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 139.29, 137.63 และ 164.62 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 8.16, 7.57 และ 5.99 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและบริษัท Pak-Arab Refinery Co ของปากีสถานจะงดส่งออกน้ำมันเบนซินในเดือนมิถุนายน 2551 เป็นเดือนที่สองติดต่อกันเพื่อลดภาวะอุปทานตึงตัวจากโรงกลั่นภายในประเทศลดอัตราการกลั่นและความต้องการใช้ในประเทศอยู่ในระดับสูง รวมทั้งความต้องการจากจีนและอินโดนีเซียมีมาก
3. เดือนพฤษภาคม 2551 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอลและน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 3.50, 2.80 และ 5.10 บาทต่อลิตร ตามลำดับ และในช่วงวันที่ 1-16 มิถุนายน 2551 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอลและน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 2.00, 2.00 และ 2.80 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91, แก๊สโซฮอล 95 (E10), (E20), 91 ดีเซลหมุนเร็ว และดีเซลหมุนเร็ว บี 5 ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2551 อยู่ที่ระดับ 42.09, 40.99, 37.39, 36.09, 36.59, 41.84 และ 41.14 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
4. แนวโน้มราคาน้ำมันเดือนมิถุนายน 2551 คาดว่าราคาน้ำมันยังคงมีความผันผวนในทิศทางที่สูงขึ้น ซึ่งราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัสจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 125 - 135 และ 130 - 140 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของจีนและอินเดียที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความต้องการจากประเทศในตะวันออกกลาง และจากความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นในไนจีเรีย การเมืองในอิรักและกรณีพิพาทระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ เกี่ยวกับโครงการพัฒนานิวเคลียร์ สำหรับราคาน้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในตลาดจรสิงคโปร์เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 135 - 145 และ 160 - 170 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและการเข้ามาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าของกองทุนเก็งกำไร (Hedge Fund) ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าจากภาวะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
5. สำหรับสถานการณ์ก๊าซ LPG ช่วงเดือนมิถุนายน 2551 ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 54 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน มาอยู่ที่ระดับ 905 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ตามราคาน้ำมันดิบตลาดโลกและอุปทานในภูมิภาคตึงตัว ขณะที่ความต้องการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและเวียดนามต้องการนำเข้าก๊าซ LPG ในเดือนกรกฎาคม 2551 ปริมาณ 22,000 ตัน ตลอดจนประเทศไทยได้มีการสั่งนำเข้าก๊าซ LPG เพื่อรองรับความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งคาดการณ์ตัวเลขการนำเข้ารวมในปี 2551 ประมาณ 200,000 ตัน โดยที่ราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 10.9960 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ราคาขายปลีกอยู่ที่ระดับ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551 คาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 925 - 935 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
6. สถานการณ์น้ำมันแก๊สโซฮอล ในช่วงต้นปี 2551 มีปริมาณจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอลอยู่ที่ระดับ 7.4 ล้านลิตรต่อวัน ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2551 มีปริมาณจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็น 8.1 และ 7.6 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ โดยมีสถานีบริการ 4,022 แห่ง ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และ 91 อยู่ที่ 42.09 และ 36.59 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 เริ่มจำหน่ายเดือนมกราคม 2551 โดยบริษัทบางจาก และ ปตท. มีสถานีบริการจำนวน 20 แห่ง และ 66 แห่ง ตามลำดับ ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2551 ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนอยู่ที่ระดับ 63,000 ลิตรต่อวัน และราคาขายปลีกอยู่ที่ 36.09 บาทต่อลิตร และกำลังการผลิตและปริมาณการผลิตเอทานอลจริงเท่ากับ 1.57 และ 0.89 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ จากผู้ประกอบการที่ผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง 11 ราย แต่ผลิตเพียง 8 ราย โดยราคาเอทานอลแปลงสภาพไตรมาส 2 ในปี 2551 อยู่ที่ลิตรละ 17.54 บาท
7. สำหรับน้ำมันไบโอดีเซล เดือนพฤษภาคม 2551 มีกำลังการผลิตรวม 2.18 ล้านลิตรต่อวัน จากผู้ผลิตไบโอดีเซลที่ได้คุณภาพตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน 9 ราย และราคาไบโอดีเซลในประเทศเฉลี่ยช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม อยู่ที่ 40.94, 38.29 และ 37.59 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 เดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2551 มีจำนวน 7.52 8.30 และ 9.56 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 อยู่ที่ 41.14 บาทต่อลิตร ซึ่งต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 0.70 บาทต่อลิตร
8. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2551 มีเงินสดในบัญชี 16,557 ล้านบาท มีหนี้สินค้างชำระ 12,808 ล้านบาท แยกเป็นหนี้พันธบัตร 8,800 ล้านบาท ภาระดอกเบี้ยพันธบัตร 258 ล้านบาท และหนี้ค้างชำระเงินชดเชย 3,360 ล้านบาท และงบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 390 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิ 3,749 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 แนวทางการจัดสรรน้ำมันเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2551 ได้มีมติ เรื่องแนวทางการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบปัญหาราคาน้ำมันแพง โดยรับทราบผลการช่วยเหลือที่กระทรวงพลังงานได้ขอความร่วมมือกับ 4 โรงกลั่นในเครือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันบริจาค โดยการจัดสรรน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปริมาณ 122 ล้านลิตรต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน รวม 732 ล้านลิตร ในราคาที่ต่ำกว่าราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติ 3 บาทต่อลิตร รวมมูลค่า 2,196 ล้านบาท โดย กบง. เป็นผู้พิจารณาจัดสรรแทนกระทรวงพลังงาน และให้การช่วยเหลือกลุ่มประชาชนหรือสาขาอาชีพที่มีรายได้ต่ำและได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มประมง กลุ่มเกษตรกร และ กลุ่มผู้ใช้รถโดยสารประจำทาง เป็นต้น โดยให้ ปตท. เป็นผู้ประสานงานกับโรงกลั่นทั้ง 4 แห่ง ในการจัดหาน้ำมันดังกล่าว
นอกจากนี้ได้เห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือประชาชนจากปัญหาราคาน้ำมันแพง โดยให้การช่วยเหลือกลุ่มประชาชนหรือสาขาอาชีพที่มีรายได้ต่ำได้รับความเดือดร้อน ติดต่อมาที่ สนพ. หรือหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ และให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเป็นผู้นำเสนอขอรับความช่วยเหลือต่อ กบง. โดยข้อเสนอที่ได้รับความเห็นชอบไปแล้ว กบง. จะติดตามและประเมินผลทุกๆ เดือน
2. ความก้าวหน้าในการจัดสรรน้ำมัน สำหรับกลุ่มผู้เดือดร้อนที่ได้รับการพิจารณาจัดสรรแล้วเป็นกลุ่มผู้เดือดร้อนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม ซึ่งได้รับการจัดสรรเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2551 โดย กบง. ได้เห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมด้วยการช่วยเหลือลดราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วให้กับรถหมวด 1 และ หมวด 4 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนประมาณ 14,600 คัน ซึ่งมีปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วประมาณ 1 ล้านลิตรต่อวัน หรือประมาณ 30 ล้านลิตรต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน มีราคาถูกกว่าราคาจำหน่ายปกติ 3.00 บาทต่อลิตร โดยผ่านจุดจำหน่ายน้ำมันของสถานีบริการ ขสมก. นับตั้งแต่วันที่เริ่มจำหน่ายน้ำมันในโครงการฯ จนกว่าจะได้ข้อยุติของศาลปกครองในกรณีการขอปรับขึ้นค่าโดยสารหรือเท่ากับที่จำนวนน้ำมันที่ ขสมก. ได้รับการจัดสรรประมาณ 180 ล้านลิตรหมดลง แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน พร้อมทั้งได้มอบให้กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เป็นผู้ประสานกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามมติข้างต้น
3. กลุ่มผู้เดือดร้อนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ประกอบด้วยกลุ่มผู้เดือดร้อนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3.1 กลุ่มผู้เดือดร้อนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม ได้แก่ 1) สมาคมผู้ประกอบการรถบรรทุกสินค้าภาคอีสาน ได้มีหนังสือขอรับความช่วยเหลือเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2551 ในประเด็นให้ช่วยเหลือลดราคาขายน้ำมันดีเซลลิตรละ 3.00 บาท และเรื่องแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำสำหรับการเปลี่ยนไปใช้ NGV พร้อมทั้งเร่งรัดให้ ปตท. ดำเนินการติดตั้งสถานีบริการ NGV และ 2) กลุ่มแท็กซี่จากโครงการพัฒนาแท็กซี่ไทย (แท็กซี่เอื้ออาทร) เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2551 กลุ่มแท็กซี่ฯ จำนวนประมาณ 300 คัน ได้มีหนังสือขอรับความช่วยเหลือ โดยขอให้จัดสรรหาเชื้อเพลิงราคาถูกให้ตามสถานีบริการ ที่กำหนดให้ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และขอให้จัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์และติดตั้งเครื่องยนต์ NGV
3.2 นอกจากนั้น สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2551 โดยสมาชิกจำนวน 9 สมาคมฯ และ 4 ชมรม ได้มีหนังสือขอรับความช่วยเหลือ ดังนี้ คือ 1)ขอให้จัดหาน้ำมันราคาพิเศษให้ภาคขนส่งทางบกโดยเร่งด่วน ควรจะนำเข้าคณะรัฐมนตรีอนุมัติ 2) การแปลงทรัพย์สินเป็นทุน (รถบรรทุก) หลักทรัพย์ประกันสินเชื่อหรือเงินกู้ 3) ขอสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 0.5 ต่อปี เพื่อการใช้พลังงานทดแทน 4) การลดภาษีรถบรรทุกใหม่เครื่องยนต์ NGV เหลือร้อยละ 10 (นโยบายภาษี) มีกำหนดระยะเวลาและจำนวนรถ 5) ขอเงินสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน เพื่อใช้ปรับปรุงเครื่องยนต์หรือเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น NGV 6) ขอให้สร้างสถานี NGV ครอบคลุมแต่ละภูมิภาค และมีความเพียงพอสำหรับรถบรรทุก และ 7) ขอให้มีการปรับปรุงคุณภาพของ NGV ให้มีความสะอาดและมีมาตรฐานค่าความร้อนคงที่
3.3 กลุ่มผู้เดือดร้อนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ เกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้ง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 กรมประมงได้มีหนังสือเพื่อขอให้พิจารณาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยขอให้มีการนำน้ำมันในโครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่ง (น้ำมันม่วง) เพื่อมาจำหน่ายให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยขอให้ใช้หลักเกณฑ์ วิธีการเช่นเดียวกัน
4. เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ กบง. เรื่องแนวทางการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบปัญหาราคาน้ำมันแพงในข้อ 1 กระทรวงพลังงานได้มีหนังสือลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 ถึงกระทรวงที่รับผิดชอบทั้งกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรฯ เพื่อให้ดำเนินการพิจารณาประเด็นดังนี้คือ กลุ่มผู้ร้องดังกล่าวเป็นกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำซึ่งมีความเดือดร้อนที่สมควรได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐหรือไม่ หากกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ากลุ่มดังกล่าวมีความเดือนร้อนสมควรดำเนินการช่วยเหลือ ขอให้ทั้ง 2 กระทรวงจัดทำประมาณความต้องการน้ำมันดีเซลราคาถูก แนวทางการดำเนินการจัดสรรน้ำมัน รวมทั้งการกำหนดให้มีจุดจ่ายน้ำมันที่ชัดเจนในภาคการปฏิบัติ และการป้องกันการรั่วไหล รวมทั้งมอบหมายให้มีหน่วยงานรับผิดชอบในการติดตามและตรวจสอบ เพื่อนำเสนอ กบง. พิจารณาต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้กำหนดแนวทางในการช่วยเหลือกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันแพงในอนาคต โดยการให้ความช่วยเหลือจะพิจารณา ดังนี้
1.1 ให้กลุ่มผู้เดือดร้อนทำหนังสือร้องขอความช่วยเหลือผ่านกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณากลั่นกรองและเสนอความเห็นต่อกระทรวงพลังงาน เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานพิจารณาต่อไป
1.2 ผู้ที่สมควรได้รับความช่วยเหลือ ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการที่ถูกรัฐบาลควบคุมรายได้จนไม่สามารถปรับรายได้ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันแพงได้ และกลุ่มที่มีรายได้ต่ำและได้รับผลกระทบ จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
1.3 ต้องแสดงวิธีการจัดสรรน้ำมันให้ชัดเจนว่า น้ำมันราคาถูกจะต้องส่งผ่านไปถึงผู้เดือดร้อนจริง ไม่รั่วไหลไปทางอื่น
2. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ รายงานผลการช่วยเหลือประชาชนโดยใช้น้ำมันราคาถูกจากโรงกลั่นในบางสาขาอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันแพงเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
3. เห็นควรให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องพิจารณากลั่นกรองกลุ่มที่ควรได้รับความช่วยเหลือ และจัดทำกรอบระยะเวลาและจำนวนที่ต้องการให้การช่วยเหลือ รวมทั้งรายละเอียดการบริหารจัดการและตรวจสอบในการจัดสรรน้ำมันให้ชัดเจน แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้การช่วยเหลือได้ส่งผ่านถึงกลุ่มผู้เดือดร้อนจริง
ครั้งที่ 29 - วันจันทร์ ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 4/2551 (ครั้งที่ 29)
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด-นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1. แนวทางการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบปัญหาราคาน้ำมันแพง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) เป็นกรรมการและเลขานุการ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมฯ ทราบว่าการประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมนัดพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันแพง ทั้งนี้เนื่องจาก สนพ. ได้รายงานให้ทราบ เกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วกับราคาน้ำมันดิบ ในช่วงปี 2549 - 2550 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ จึงได้หารือกับโรงกลั่นในเครือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่าจะมีแนวทางช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างไร ซึ่งเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2551 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยรองปลัดกระทรวงพลังงาน (นายณอคุณ สิทธิพงศ์) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงของโรงกลั่นได้มาพบและรายงานให้ทราบถึงแนวทางการช่วยเหลือที่กลุ่มโรงกลั่นในเครือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สามารถช่วยเหลือกับประชาชน โดยมีรายละเอียดคือ โรงกลั่นทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ โรงกลั่นพีทีทีเออาร์ โรงกลั่นไออาร์พีซี โรงกลั่นไทยออยล์ และโรงกลั่นบางจาก จะร่วมกันบริจาคโดยจัดสรรน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในปริมาณ 122 ล้านลิตร/เดือน เป็นเวลา 6 เดือนรวม 732 ล้านลิตร ในราคาที่ต่ำกว่าราคาดีเซลหมุนเร็วปกติในอัตรา 3 บาท/ลิตร รวมเป็นมูลค่า 2,196 ล้านบาท โดยน้ำมันดังกล่าวจะช่วยเหลือกลุ่มประชาชนหรือสาขาอาชีพที่มีรายได้ต่ำ และได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มประมง กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มผู้ใช้รถโดยสารประจำทาง เป็นต้น ซึ่งในรายละเอียดของแนวทางการช่วยเหลือจะขอนำมาปรึกษาหารือในวันนี้ และในนามของกระทรวงพลังงาน ขอขอบคุณโรงกลั่นทั้ง 4 แห่งในเครือของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
เรื่องที่ 1 แนวทางการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบปัญหาราคาน้ำมันแพง
สรุปสาระสำคัญ
1. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนพฤษภาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 119.46 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาเฉลี่ยเดือนมกราคม 2551 จำนวน 32.1 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยครึ่งหนึ่งของจำนวนที่เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึง 16.05 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล สาเหตุจากประเทศจีนต้องนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนการใช้ถ่านหิน อันเนื่องจากเหมืองหลายแห่งปิดทำการด้วยเหตุแผ่นดินไหว ส่วนราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเฉลี่ยเดือนพฤษภาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 158.63 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาเฉลี่ยของเดือนมกราคม 2551 จำนวน 52.93 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล สูงกว่าน้ำมันดิบที่สูงขึ้นเพียง 32.1 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากจีนได้เพิ่มปริมาณการนำเข้าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมากขึ้นเพื่อใช้แทนน้ำมันเตาและถ่านหิน ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91, แก๊สโซฮอล 95, 91 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วของไทยปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับ 40.09, 38.99, 35.39, 34.59 และ 39.04 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
2. กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในบางสาขาอาชีพที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาราคาน้ำมันแพงแล้ว ดังนี้
2.1 กลุ่มเรือประมง โดยกลุ่มเรือประมงชายฝั่งจะใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อลดราคาน้ำมันม่วงให้ต่ำกว่าราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบนบกลิตรละ 2 บาท ส่วนกลุ่มเรือประมงน้ำลึกจะจำหน่ายน้ำมันเขียวในราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลบนบกสำหรับเรือประมงขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ในบริเวณเขตต่อเนื่องซึ่งห่างจากชายฝั่ง 12-24 ไมล์ทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ทั้งนี้ราคาน้ำมันเขียวจะได้รับการยกเว้นภาษีอากร และไม่เก็บเงินเข้ากองทุนต่างๆ ทำให้ราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินบนบกลิตรละ 5-6 บาท
2.2 กลุ่มธุรกิจการขนส่ง รถกระบะและรถตู้ที่ไม่สามารถดัดแปลงหรือปรับแต่งเครื่องยนต์ให้เปลี่ยนไปใช้ NGV ยังสามารถเลือกใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ได้ซึ่งกระทรวงพลังงานจะใช้การบริหารกองทุนน้ำมันฯ ทำให้ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ถูกกว่าน้ำมันดีเซลลิตรละ 0.70 บาท
2.3 กลุ่มเกษตรกร ส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลิตรละ 0.70 บาท ให้มีการจำหน่ายอย่างทั่วถึงในสถานีบริการของ ปตท. และ บางจาก รวมทั้งส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลชุมชนสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตรในพื้นที่ชนบททั่วไป
3. แนวทางการช่วยเหลือประชาชนจากปัญหาราคาน้ำมันแพง
3.1 แนวทางการจัดหาน้ำมัน จากสถานการณ์ราคาน้ำมันพบว่าราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและลดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงพลังงานได้ขอความร่วมมือกับ 4 โรงกลั่นในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้แก่ โรงกลั่นพีทีทีเออาร์ โรงกลั่นไออาร์พีซี โรงกลั่นไทยออยล์ และโรงกลั่นบางจาก ร่วมกันจัดสรรน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในปริมาณ 122 ล้านลิตรต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน (มิถุนายน - พฤศจิกายน 2551) รวม 732 ล้านลิตร ในราคาที่ต่ำกว่าราคาดีเซลหมุนเร็วปกติ 3 บาทต่อลิตร รวมเป็นมูลค่า 2,196 ล้านบาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือกลุ่มประชาชนหรือสาขาอาชีพที่มีรายได้ต่ำ เช่น กลุ่มประมง กลุ่มเกษตรกร และผู้ใช้รถโดยสารประจำทาง เป็นต้น
3.2 แนวทางดำเนินการช่วยเหลือกลุ่มประชาชนหรือสาขาอาชีพที่มีรายได้ต่ำที่ได้รับความเดือดร้อนโดยสามารถติดต่อมาที่ สนพ. หรือหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ และให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเป็นผู้นำเสนอขอรับความช่วยเหลือต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยข้อเสนอที่ได้รับความเห็นชอบจาก กบง. ไปแล้ว กบง. จะพิจารณาติดตามและประเมินผลทุกๆ เดือน และมอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) และ สนพ. เป็นผู้ประสานการดำเนินงาน
4. เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2551 ผู้แทนกระทรวงคมนาคมได้ยื่นข้อเสนอทางวาจาต่อกระทรวงพลังงาน เพื่อให้ กบง. พิจารณา ช่วยเหลือลดราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วให้กับรถหมวด 1 (รถโดยสารในเมือง เช่น ขสมก. และรถร่วมบริการ) และหมวด 4 (รถโดยสารในเขตจังหวัด (ชานเมือง)) ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 14,636 คัน ซึ่งมีปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วประมาณ 1 ล้านลิตรต่อวัน โดยผ่านจุดจำหน่ายน้ำมันของสถานีบริการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เท่านั้น อันเนื่องจากศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งให้ทุเลาการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารชั่วคราว จึงทำให้รถโดยสารหยุดเดินรถประท้วง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้รถโดยสาร
5. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้พิจารณาข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมข้างต้นแล้วเห็นควรให้ความช่วยเหลือ โดยมีแนวทางการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
5.1 การจัดหาน้ำมัน : กระทรวงพลังงานโดย ปตท. จัดหาน้ำมันดีเซลจำนวนประมาณ 1 ล้านลิตรต่อวัน ตามที่กระทรวงคมนาคมร้องขอ ให้กับรถหมวด 1 และ หมวด 4 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายเป็นน้ำมันดีเซลคุณภาพปกติที่จำหน่ายในสถานีบริการทั่วไป และถูกกว่าราคาจำหน่ายในสถานีบริการปกติ 3.00 บาท/ลิตร มีปริมาณการจำหน่ายประมาณ 1 ล้านลิตรต่อวัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มจำหน่ายน้ำมันในโครงการฯ จนกว่าจะได้ข้อยุติของศาลปกครองในกรณีการขอปรับขึ้นค่าโดยสาร
5.2 การจัดสรรน้ำมัน จะจัดสรรให้กับรถ ขสมก. และ รถร่วม ขสมก. เฉพาะรถหมวด 1 และ หมวด 4 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนประมาณ 14,636 คัน หรือคิดเป็นประชาชนที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 4 ล้านคน โดยมีปริมาณความต้องการใช้น้ำมันประมาณ 30 ล้านลิตรต่อเดือน โดยมอบให้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้ดำเนินงาน ติดตาม และกำกับดูแลการจำหน่ายน้ำมันของสถานีบริการของ ขสมก. ให้กับรถหมวด 1 และ หมวด 4 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนประมาณ 14,636 คัน
5.3 เนื่องจากจุดจำหน่ายน้ำมันในปัจจุบันของ ขสมก. มี 24 แห่งสามารถรองรับความต้องการใช้ได้น้ำมันดีเซลได้ 0.4 ล้านลิตรต่อวัน แต่จากการที่กระทรวงพลังงานมีแนวทางช่วยเหลือ รถหมวด 1 และ หมวด 4 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านลิตรต่อวัน และต้องมีรถขนส่งน้ำมันวิ่งในช่วงกลางวัน จึงมีความจำเป็นต้องขออนุญาตสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นกรณีพิเศษให้รถขนส่งน้ำมันสามารถวิ่งนอกช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดได้
มติของที่ประชุม
1. รับทราบผลการช่วยเหลือที่กระทรวงพลังงานได้ขอความร่วมมือกับ 4 โรงกลั่นในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้แก่ โรงกลั่นพีทีทีเออาร์ โรงกลั่นไออาร์พีซี โรงกลั่นไทยออยล์ และโรงกลั่นบางจาก ได้ร่วมกันบริจาค โดยการจัดสรรน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในปริมาณ 122 ล้านลิตรต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน (มิถุนายน - พฤศจิกายน 2551) รวม 732 ล้านลิตร ในราคาที่ต่ำกว่าราคาดีเซลหมุนเร็วปกติ 3 บาทต่อลิตร รวมเป็นมูลค่า 2,196 ล้านบาท โดยคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเป็นผู้พิจารณาจัดสรรแทนกระทรวงพลังงาน และให้การช่วยเหลือกลุ่มประชาชนหรือสาขาอาชีพที่มีรายได้ต่ำและได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มประมง กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มผู้ใช้รถโดยสารประจำทาง เป็นต้น โดยให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประสานงานกับโรงกลั่นทั้ง 4 แห่ง ในการจัดหาน้ำมันดังกล่าว
2. เห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือประชาชนจากปัญหาราคาน้ำมันแพง โดยให้การช่วยเหลือกลุ่มประชาชนหรือสาขาอาชีพที่มีรายได้ต่ำ เช่น ชาวประมง เกษตรกร และ ผู้ใช้รถโดยสารประจำทาง เป็นต้น โดยกลุ่มประชาชนหรือสาขาอาชีพที่มีรายได้ต่ำที่ได้รับความเดือดร้อนติดต่อมาที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานหรือหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ และให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเป็นผู้นำเสนอขอรับความช่วยเหลือต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยข้อเสนอที่ได้รับความเห็นชอบไปแล้ว คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานจะพิจารณาติดตามและประเมินผลทุกๆ เดือน
ทั้งนี้ มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานและสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเป็นผู้ประสานการดำเนินงาน
3. เห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงคมนาคม โดยให้ความช่วยเหลือลดราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วให้กับรถหมวด 1 (รถโดยสารในเมือง เช่น ขสมก. และรถร่วมบริการ) และหมวด 4 (รถโดยสารในเขตจังหวัด (ชานเมือง)) ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนประมาณ 14,600 คัน ซึ่งมีปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วประมาณ 1 ล้านลิตรต่อวัน โดยผ่านจุดจำหน่ายน้ำมันของสถานีบริการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ดังนี้
3.1 การจัดหาน้ำมัน : กระทรวงพลังงานโดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดหาน้ำมันจำนวนประมาณ 1 ล้านลิตรต่อวัน ตามที่กระทรวงคมนาคมร้องขอให้กับรถหมวด 1 และ หมวด 4 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
3.2 ราคาน้ำมันดีเซล : น้ำมันดีเซลที่จำหน่ายเป็นน้ำมันดีเซลคุณภาพปกติที่จำหน่ายในสถานีบริการทั่วไป และถูกกว่าราคาจำหน่ายในสถานีบริการปกติ 3.00 บาทต่อลิตร
3.3 ปริมาณการจำหน่าย : ประมาณ 1 ล้านลิตรต่อวัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มจำหน่ายน้ำมันในโครงการฯ จนกว่าจะได้ข้อยุติของศาลปกครองในกรณีการขอปรับขึ้นค่าโดยสารหรือเท่าที่จำนวนน้ำมันที่ได้รับการจัดสรรหมดลง แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน
3.4 การจัดสรรน้ำมัน : จัดสรรให้กับรถ ขสมก. และ รถร่วม ขสมก. เฉพาะรถหมวด 1 และ หมวด 4 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนประมาณ 14,600 คัน หรือคิดเป็นประชาชนที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 4 ล้านคน โดยมีปริมาณความต้องการใช้น้ำมันประมาณ 30 ล้านลิตรต่อเดือน
3.5 การบริหารจัดการ : มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้ดำเนินงาน ติดตาม และกำกับดูแลการจำหน่ายน้ำมันของสถานีบริการของ ขสมก. หรือสถานีบริการที่ ขสมก. รับรอง ให้กับรถหมวด 1 และหมวด 4 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนประมาณ 14,600 คัน
3.6 มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามมติข้างต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และให้นำผลการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานในการประชุมครั้งต่อไป