
มติกบง. (348)
กบง. ครั้งที่ 157 - วันอังคารที่ 2 กรกฏาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 23/2556 (ครั้งที่ 157)
วันอังคารที่ 2 กรกฏาคม พ.ศ. 2556 เวลา 15.00 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ปลัดกระทรวงพลังงาน นายณอคุณ สิทธิพงศ์ เป็นกรรมการและประธานที่ประชุม แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมัน แก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2556 กบง. ได้พิจารณาโครงสร้างราคาและค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร จากเดิมที่อัตรา 1.60 บาทต่อลิตร เป็นส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ 2.10 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกน้ำมันไม่เปลี่ยนแปลง ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ราคาปิดตลาดของน้ำมันตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่เปลี่ยนไป ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 99.02, 116.97 และ 120.20 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลง 0.18 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.13 และ 0.69 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 25 มิถุนายน 2556) ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 อยู่ที่ 31.2675 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง 0.1452 บาท ต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 25 มิถุนายน 2556 ซึ่งอยู่ที่ 31.1223 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ และผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกในวันที่ 27 มิถุนายน 2556 โดยปรับราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 91E10 และ E20 ลดลงชนิดละ 0.30 บาทต่อลิตร และน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ลดลง 0.20 บาทต่อลิตร
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 มีทรัพย์สินรวม 17,725 ล้านบาท หนี้สินรวม14,470 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิเป็นบวก 3,256 ล้านบาท
6. จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่าค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นเพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.49 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดเฉลี่ยกลุ่มเบนซินอยู่ที่ประมาณ 1.52 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.50 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 24.36 ล้านบาท จากมีรายรับวันละ 142.75 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 118.38 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร จาก 2.10 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 1.70 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและ แผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2556 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 158 - วันจันทร์ที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 24/2556 (ครั้งที่ 158)
วันจันทร์ที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ. 2556 เวลา 13.00 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 กบง. ได้พิจารณาโครงสร้างราคาและค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร จากเดิมที่อัตรา 2.10 บาทต่อลิตร เป็นส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ 1.70 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกน้ำมันไม่เปลี่ยนแปลง ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ราคาปิดตลาดของน้ำมันตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่เปลี่ยนไป ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 101.76, 120.02 และ 122.83 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.74, 3.05 และ 2.63 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 1 กรกฎาคม 2556) ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 5 กรกฎาคม 2556 อยู่ที่ 31.2643 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น 0.0032 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 ซึ่งอยู่ที่ 31.2675 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ และผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกในวันที่ 5 กรกฎาคม 2556 โดยปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 91E10 และ E20 ขึ้นชนิดละ 0.50 บาทต่อลิตร และน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 17,894 ล้านบาท หนี้สินรวม13,916 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิเป็นบวก 3,978 ล้านบาท
6. จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่าค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นเพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.51 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดเฉลี่ยกลุ่มเบนซินอยู่ที่ประมาณ 1.44 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.49 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 24.36 ล้านบาท จากมีรายรับวันละ 118.38 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 94.02 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร จาก 1.70 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 1.30 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและ แผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2556 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 159 - วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 25/2556 (ครั้งที่ 159)
วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เวลา 14.30 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. การมอบอำนาจให้ประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานดำเนินการ แทนคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานในการดำเนินคดีทางปกครอง
3. การปรับเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมัน แก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2556 กบง. ได้พิจารณาโครงสร้างราคา และค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร จากเดิมที่อัตรา 1.70 บาทต่อลิตร เป็นส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ 1.30 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกน้ำมันไม่เปลี่ยนแปลง ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ราคาปิดตลาดของน้ำมันตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อ่อนค่าลง ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 105.44, 116.27 และ 124.69 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.68 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซิน 95 ปรับตัวลดลง 3.75 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.86 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากการประชุมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 5 กรกฎาคม 2556) ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 5 สิงหาคม 2556 อยู่ที่ 31.4535 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง 0.1892 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 5 กรกฎาคม 2556 ซึ่งอยู่ที่ 31.2643 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ผู้ค้าได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น 3 ครั้ง ในวันที่ 10, 13 และ 17 กรกฎาคม 2556 และปรับลดลง 3 ครั้ง ในวันที่ 25, 26 กรกฎาคม 2556 และวันที่ 1 สิงหาคม 2556 ดังนี้
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 18,306 ล้านบาท หนี้สินรวม 12,051 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิเป็นบวก 6,254 ล้านบาท
6. จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น มีผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2556 พบว่าค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ในระดับสูง และน้ำมันแก๊สโซฮอล E20, E85 และน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากราคาเอทานอลอ้างอิงเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2.93 บาทต่อลิตร จากเดิม 26.24 บาทต่อลิตร เป็น 29.17 บาทต่อลิตร ดังนั้น เพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 95 ขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร และปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 กับ E85 และน้ำมันดีเซลลง 0.40, 0.60 และ 0.40 บาทต่อลิตรตามลำดับ ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.46 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดเฉลี่ยกลุ่มเบนซินอยู่ที่ประมาณ 1.84 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.57 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 22.79 ล้านบาท จากมีรายรับวันละ 78.36 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 55.57 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 และ น้ำมันดีเซล ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป
สรุปสาระสำคัญ
1. นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ กับพวกรวม 4 คน ได้ยื่นฟ้อง กบง. ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ 1 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 2 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ที่ 3 ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ที่ 4 คณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ 5 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่ 6 คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ 7 คณะกรรมการกลางว่าด้วยสินค้าและบริการ ที่ 8) ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1143/2555 และศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งเรียกให้ทำคำให้การ ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2556 พร้อมด้วยพยานหลักฐาน 1 ชุด และจัดทำคำให้การและสำเนาพยานหลักฐานที่มีการรับรองสำเนาถูกต้อง อีก 1 ชุด รวม 2 ชุด ยื่นต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้รับคำสั่งเรียกให้ทำคำให้การวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 ครบกำหนดยื่นคำให้การในวันที่ 8 สิงหาคม 2556
2. ข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับ กบง. ในข้อหาที่ 1 กล่าวหาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 7 ร่วมกันกำหนดราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่แพงเกินจริงและเอื้อประโยชน์ต่อเอกชน ทำให้การกำหนดราคาเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงขอให้หยุดขึ้นราคาน้ำมัน ราคาก๊าซธรรมชาติทั้งก๊าซ LPG และ NGV อันเนื่องมาจากการจ่ายเงินกองทุนชดเชยเพื่ออุดหนุนกลุ่มปิโตรเคมีและอุตสาหกรรม การผูกขาดการขายก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการคำนวณราคา และการกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าการตลาด ค่าขนส่ง การกำหนดอัตราราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นและคำนวณราคาขายปลีกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กบง. ดังนั้น การกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจึงเป็นการกระทำทางปกครองอย่างหนึ่ง เมื่อผู้ฟ้องคดีอ้างว่า การกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขอให้หยุดการกระทำการดังกล่าว กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
3. สนพ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ กบง. ได้รวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงประกอบคำให้การ แต่เนื่องจากเอกสารหลักฐานดังกล่าวมีปริมาณมาก ทำให้ไม่สามารถยื่นคำให้การได้ทันตามกำหนด เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 สนพ. ได้มีหนังสือถึงตุลาการศาลปกครอง (นายวุฒิชัย แสงสำราญ) เพื่อขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การต่อศาลปกครองไปอีก 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดเดิม รวมทั้งได้มีความเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินคดีปกครองเกิดประโยชน์ต่อทางราชการ เห็นควรมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองแทน กบง. ทั้งนี้ การแต่งตั้งพนักงานอัยการดำเนินการแก้ต่างคดีกรณีมีการฟ้องร้องในอนาคต ซึ่งเป็นกรณีเร่งด่วนและไม่อาจเรียกประชุม กบง. เพื่อแต่งตั้งพนักงานอัยการให้ดำเนินการแก้ต่างคดีได้ทัน ซึ่งอาจเกิดผลเสียหายในการต่อสู้คดี เห็นควรมอบหมายให้ประธาน กบง. มีอำนาจทำการแทน กบง. ตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2554 เรื่อง “การกำหนดหลักเกณฑ์และปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการดำเนินคดีปกครอง ในศาลปกครองกรณีคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ถูกฟ้องในคดีปกครอง” โดยมอบอำนาจในการดำเนินคดีปกครองในนาม กบง. ต่อศาลปกครอง ให้พนักงานอัยการเป็นผู้ว่าต่างแก้ต่างคดีกรณีที่ กบง. เป็นผู้ฟ้องคดีหรือถูกฟ้องคดีปกครองทุกศาลและทุกชั้นศาลปกครองจนกว่าคดี จะถึงที่สุด และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดได้ทุกประการไม่ว่าจะเป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิหรือไม่ก็ตาม เช่น การยอมรับตามที่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิหรือ ใช้สิทธิในการอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตลอดจนให้มีอำนาจในการมอบอำนาจช่วงให้นิติกรไปดำเนินการใดๆ แทน
มติของที่ประชุม
1. เห็นควรให้พนักงานอัยการเป็นผู้ว่าต่างแก้ต่างคดีกรณีที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เป็นผู้ฟ้องคดีหรือถูกฟ้องคดีปกครองทุกศาลและทุกชั้นศาลปกครองจนกว่าคดีจะถึงที่สุด และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ได้ทุกประการไม่ว่าจะเป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิหรือไม่ก็ตาม เช่น การยอมรับตามที่คู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์ ต่อศาลปกครองสูงสุด หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตลอดจนให้มีอำนาจในการมอบอำนาจช่วงให้นิติกร ไปดำเนินการใดๆ แทน
2. มอบหมายให้ประธาน กบง. มีอำนาจแทน กบง. ในการลงนามในใบมอบอำนาจและเอกสาร ที่เกี่ยวข้องเพื่อแต่งตั้งให้พนักงานอัยการเป็นผู้ว่าต่างแก้ต่างคดีปกครอง ในนาม กบง. ทุกคดี
เรื่อง การปรับเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมาย
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 กบง. ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายของภาคเอกชนจากปัจจุบันร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 6 และมอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) รับไปดำเนินการออกประกาศ ธพ. เพื่อปรับเพิ่มอัตราสำรอง โดยให้มีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน และกรณีมีผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ทันตามกำหนด ให้ขอผ่อนผันเป็นรายไป ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันของ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ส่งผลให้บริษัทฯ ต้องหยุดการผลิตไม่น้อยกว่า 3 เดือน ทั้งนี้ ในการประชุม กบง. เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2555 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ในฐานะประธานฯ กบง. ได้มีความเห็นว่า เห็นควรให้เลื่อนการออกประกาศดังกล่าวออกไปก่อน
2. ธพ. ได้หารือกับผู้ค้าน้ำมันฯ เกี่ยวกับการปรับเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงจากร้อยละ 5 เป็น ร้อยละ 6 และแนวทางการจัดตั้งการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทางยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) จำนวน 3 ครั้ง โดยมีผลสรุปว่า ผู้ค้าน้ำมันฯ เห็นด้วยกับการปรับอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นและได้เตรียมความพร้อมในระดับหนึ่งแล้ว แต่เสนอให้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 เพื่อเผื่อเวลาสำหรับการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงมาเก็บเพิ่มขึ้นหลังจากกฎกระทรวงคลังน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 ของกระทรวงพลังงาน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2556 ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวได้ผ่อนคลายข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัยของเขื่อนเก็บกักน้ำมัน ทำให้ผู้ค้าน้ำมันฯ บางรายจะมีพื้นที่ถังสำหรับเก็บน้ำมันเพิ่มขึ้นและเพียงพอจะรับฝากน้ำมันเชื้อเพลิง ของผู้ค้าน้ำมันฯ รายอื่นได้ด้วย รวมทั้งการเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงได้กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันฯ สามารถเก็บน้ำมันอีกชนิดแทนได้ (เลือกเก็บน้ำมันดิบแทนน้ำมันสำเร็จรูปหรือเก็บน้ำมันสำเร็จรูปแทนน้ำมันดิบ) ในอัตรา 1 : 1 เฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 แต่ในส่วนของร้อยละ 5 เดิม สามารถเก็บน้ำมันแทนกันได้ แต่ต้องใช้สูตรการกลั่นเป็นตัวคำนวณปริมาณน้ำมันที่จะต้องเก็บแทนกัน และผู้ค้าน้ำมันฯ ได้เห็นด้วยกับการจัดตั้ง SPR ที่จะเชื่อมโยงกับโครงการจัดตั้งสะพานเศรษฐกิจพลังงาน (Energy Land Bridge) และโครงการขยายท่อขนส่งน้ำมันทั่วประเทศและคลังน้ำมันชายแดน เพื่อเพิ่มความมั่นคงของประเทศ พร้อมทั้งมีความเห็นว่าเมื่อจัดตั้ง SPR ได้แล้ว ควรปรับลดอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงของภาคเอกชนลงบางส่วน
3. เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 ธพ. ได้ออกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง “กำหนดชนิด และอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556” สำหรับการปรับเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายของภาคเอกชนจากเดิมร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 6 โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 โดยได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ที่กำหนดให้ การประกาศกำหนดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองและประกาศเปลี่ยนแปลงการกำหนดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองซึ่งได้ประกาศไว้แล้วให้สูงขึ้น ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่กำหนดไว้ในประกาศนั้น แต่ต้องไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
กบง. ครั้งที่ 160 - วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 26/2556 (ครั้งที่ 160)
วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เวลา 14.30 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมัน แก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 กบง. ได้พิจารณาโครงสร้างราคา และค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 95 ขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 และน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ราคาปิดตลาดของน้ำมันตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อ่อนค่าลง ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 7 สิงหาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 103.89, 115.13 และ 122.43 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลง 1.55, 1.14 และ 2.26 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 5 สิงหาคม 2556) ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 12 สิงหาคม 2556 อยู่ที่ 31.3481 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น 0.1054 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 5 สิงหาคม 2556 ซึ่งอยู่ที่ 31.4535 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ โดยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2556 ผู้ค้าได้ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10, 91E10 และ E20 ลง 0.30 บาทต่อลิตร
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 19,538 ล้านบาท หนี้สินรวม 12,962 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิเป็นบวก 6,577 ล้านบาท
6. จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง มีผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2556 พบว่าค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับสูง ดังนั้นเพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.57 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดเฉลี่ยกลุ่มเบนซินอยู่ที่ประมาณ 1.90 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.67 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 22.29 ล้านบาท จากมีรายรับวันละ 55.50 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 77.79 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร จาก 0.90 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 1.30 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและ แผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 161 - วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 27/2556 (ครั้งที่ 161)
วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. แนวทางการปฏิบัติงานของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 กรณีปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ กรรมการและเป็นประธานที่ประชุม แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นางสาวจิระภาพร ไหลมา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมัน แก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2556 กบง. ได้พิจารณาโครงสร้างราคา และค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ราคาปิดตลาดของน้ำมันตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อ่อนค่าลง ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และ น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 106.39, 115.83 และ 123.25 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.50, 0.70 และ 0.82 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 12 สิงหาคม 2556) ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 20 สิงหาคม 2556 อยู่ที่ 31.7499 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง 0.4018 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 12 สิงหาคม 2556 ซึ่งอยู่ที่ 31.3481 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ โดยตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2556 ผู้ค้าน้ำมันฯ ไม่มีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 21,238 ล้านบาท หนี้สินรวม 14,341 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิเป็นบวก 6,897 ล้านบาท
6. จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง และอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง มีผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2556 พบว่าค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นเพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.44 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดเฉลี่ยกลุ่มเบนซินอยู่ที่ประมาณ 1.45 บาทต่อลิตร และ ค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.44 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 22.29 ล้านบาท จากมีรายรับวันละ 50.75 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 28.46 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร จาก 1.30 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 0.90 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและ แผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป
เรื่อง แนวทางการปฏิบัติงานของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 กรณีปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 ได้มีมติเห็นชอบให้ทยอยปรับราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนขึ้นเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 เป็นต้นไป จนสะท้อนต้นทุนโรงแยกก๊าซฯ ที่ 24.82 บาทต่อกิโลกรัม และกำหนดเกณฑ์การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซ LPG ไว้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ช่วยเหลือตามการใช้จริง แต่ไม่เกิน 18 กิโลกรัมต่อ 3 เดือน และกลุ่มร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ช่วยเหลือตามการใช้จริงไม่เกิน 150 กิโลกรัมต่อเดือน โดยใช้ถังขนาดใดก็ได้แต่ไม่เกินขนาดถัง 15 กิโลกรัม ซึ่งกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้รับมอบหมาย ให้จัดทำแนวทางการป้องกันการทุจริต และให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดทำระบบช่วยเหลือผ่านผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา 7
2. ธพ. ได้ประชุมร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (สบพน.) ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 สมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว และผู้ให้บริการเกี่ยวกับการจัดส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ (Service Provider) ในการจัดระบบช่วยเหลือให้กับผู้มีสิทธิ์ ซึ่งกำหนดขั้นตอนการเข้าใช้สิทธิ์ผ่านโทรศัพท์มือถือ และได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 กรณีปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน ดังนี้
2.1 ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 สำรองจ่ายเงินส่วนลดโดยโอนเงินเข้าบัญชีให้กับร้านจำหน่ายก๊าซ LPG เพื่อให้ผู้ได้รับสิทธิ์สามารถซื้อก๊าซ LPG ได้ในราคาเดิม การแบ่งความรับผิดชอบร้านจำหน่ายก๊าซ LPG ตามส่วนแบ่งการตลาดของผู้ค้าแต่ละราย ซึ่งมีร้านจำหน่ายก๊าซ LPG รวมทั้งสิ้นจำนวน 38,926 ร้านค้า2.2 การสำรองจ่ายของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ให้รับผิดชอบทั้งร้านจำหน่ายก๊าซ LPG กล่าวคือ ไม่ว่าผู้ใช้สิทธิ์จะซื้อก๊าซ LPG ยี่ห้อใด ร้านจำหน่ายก๊าซ LPG จะจำหน่ายให้ในราคาเดิม ในการนี้ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 จะโอนเงินเข้าบัญชีร้านจำหน่ายก๊าซ LPG ทุกเดือนและประมาณเดือนละ 2 ครั้ง2.3 ธพ. จะสรุปผลการจำหน่ายก๊าซ LPG จากระบบของร้านจำหน่ายก๊าซ LPG ส่งให้ผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา 7 เป็นรายสัปดาห์ทุกวันอังคารและรายเดือนทุกวันที่ 5 ของเดือนถัดไป ทาง E-mail เพื่อให้ผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา 7 ใช้ในการพิจารณาโอนเงินสำรองจ่ายให้แก่ร้านจำหน่ายก๊าซ LPG
มติของที่ประชุม
รับทราบแนวทางการปฏิบัติงานของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 กรณีปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน
ครั้งที่ 48 - วันอังคาร ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 11/2552 (ครั้งที่ 48)
เมื่อวันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13.00 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1. มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานต่อประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานต่อประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2552 นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้กระทรวงพลังงาน รับไปดำเนินการจัดทำมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานต่อประชาชน กระทรวงพลังงานจึงได้จัดทำมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานต่อประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลขึ้น ซึ่งครอบคลุมภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิต และภาคครัวเรือน โดยมุ่งเน้นการลดค่าครองชีพของประชาชนเป็นหลัก รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วย
2. ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบจากแหล่งเวสต์เท็กซัส เบรนท์ และดูไบ ในช่วงของต้นปี 2552 ได้ปรับตัวอยู่ระดับ 70 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 75 - 90 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล จนถึงสิ้นปี 2552 โดยมีเหตุผลมาจากกองทุนการเก็งกำไรที่คาดการณ์ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว และระดับราคาของน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 90 - 95 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล จนถึงสิ้นปี 2552 หรือเทียบเท่าราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และน้ำมันดีเซลในประเทศในระดับที่สูงขึ้นจากปัจจุบัน 31 และ 29 บาท/ลิตร ตามลำดับ เป็นประมาณ 32 - 34 บาท/ลิตร
3. ปัจจุบันโครงสร้างราคาน้ำมันมีการจัดเก็บภาษี และเก็บเงินส่งเข้ากองทุนประเภทต่างๆ ดังนี้ 1) ภาษีประเภทต่างๆ ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม และ 2) กองทุนประเภทต่างๆ ได้แก่ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และ กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่จัดเก็บเป็น 2 ส่วน คือ เก็บเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยจัดเก็บน้ำมันเบนซิน และดีเซลทุกชนิดอัตรา 0.25 บาท/ลิตร และ เก็บเพื่อส่งเสริมโครงการลงทุนพัฒนาระบบการขนส่ง โดยเก็บเฉพาะน้ำมันเบนซิน 95 น้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันดีเซล อัตรา 0.50 บาท/ลิตร
4. กระทรวงพลังงานอาศัยกลไกของกองทุนน้ำมันฯ ในการบริหารและจัดการตามนโยบายการส่งเสริมพลังงานทดแทนและนโยบายการส่งเสริมการผลิตพลังงานให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย โดยกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันประเภทต่างๆ ในระดับที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมและจูงใจ เช่น การส่งเสริมการใช้เอทานอลและไบโอดีเซล จะกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนของน้ำมันที่มีเอทานอลหรือไบโอดีเซลมากในระดับที่ต่ำกว่าน้ำมันที่มีเอทานอลหรือไบโอดีเซลน้อย
5. ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2552 กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะกองทุนสุทธิ 16,863 ล้านบาท (ไม่รวมเงินที่กระทรวงการคลังจะต้องจ่ายคืนให้แก่กองทุนน้ำมันฯ จากการดำเนินการตามนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน ของรัฐบาลประมาณ 2,166 ล้านบาท) และมีเงินสดหมุนเวียนสุทธิ 3,104 ล้านบาท/เดือน ส่วนกองทุนอนุรักษ์ฯ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2552 มีเงินสดเหลือ 14,856 ล้านบาท (แยกเป็น เงินสำหรับการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 7,260 ล้านบาท และเงินสำหรับโครงการพัฒนาระบบขนส่ง 7,596 ล้านบาท) มีเงินสดหมุนเวียนสุทธิ 1,026 ล้านบาท/เดือน (แยกเป็น เงินสดหมุนเวียนสุทธิสำหรับการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 537 ล้านบาท/เดือน และสำหรับโครงการลงทุนพัฒนาระบบขนส่ง 489 ล้านบาท/เดือน)
6. เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2552 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเรื่อง มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานต่อประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล ดังนี้
6.1 ปรับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลง 2.00 บาท/ลิตร โดยอาศัยกลไกของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานควบคู่ไปกับกลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ด้วยการบริหารและจัดการ ดังนี้
(1) ยกเลิกการจัดเก็บเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในส่วนที่เก็บเพื่อส่งเสริมโครงการลงทุนพัฒนาระบบการขนส่ง ของทั้งน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล ที่ปัจจุบันเก็บอยู่อัตรา0.50 บาท/ลิตร และให้โอนเงินที่ได้จัดเก็บไว้แล้วในส่วนนี้ประมาณ 7,596 ล้านบาท มาสมทบกับเงินสำหรับส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และลดอัตราจัดเก็บเงินกองทุนอนุรักษ์ฯ ของน้ำมันดีเซลสำหรับส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานจากที่เก็บอยู่ 0.25 บาท/ลิตร เหลือ 0.05 บาท/ลิตร เป็นระยะเวลา 1 ปี จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2553 หลังจากนั้นให้กลับมาจัดเก็บในอัตราเดิม คือ 0.25 บาท/ลิตร รวมลดอัตราเงินเก็บเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ ของน้ำมันดีเซล 0.70 บาท/ลิตร ซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลดลงได้ประมาณ 0.75 บาท/ลิตร
(2) ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ลง 1.17 บาท/ลิตร จากปัจจุบัน 1.70 บาท/ลิตร เป็น 0.53 บาท/ลิตร จะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลดลงประมาณ 1.25 บาท/ลิตร โดยที่การยกเลิกการจัดเก็บเงินส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ เพื่อทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลดลงได้ประมาณ 0.75 บาท/ลิตร ตามข้อ (1) ควบคู่ไปกับการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อทำให้ราคาขายปลีกลดลงประมาณ 1.25 บาท/ลิตร ตามข้อ (2) รวมกันแล้วจะทำให้สามารถลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลงได้ 2.00 บาท/ลิตร ทั้งนี้การดำเนินการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ลง 1.17 บาท/ลิตร จะส่งผลทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับลดลง ประมาณ 856 ล้านบาท/เดือน
(3) เพื่อจูงใจและส่งเสริมผู้ผลิต โดยให้มีค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 5 สูงกว่าน้ำมันดีเซล รวมทั้งจูงใจผู้ใช้น้ำมัน โดยทำให้ราคาขายปลีกของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 5 ต่ำกว่าน้ำมันดีเซล จึงจำเป็นต้องปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 5 อีก 0.58 บาท/ลิตร จากปัจจุบันซึ่งชดเชยอยู่ 0.23 บาท/ลิตร เป็นชดเชย 0.81 บาท/ลิตร ซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกดีเซลหมุนเร็ว บี 5 ต่ำกว่าน้ำมันดีเซล 1.20 บาท/ลิตร ทั้งนี้การดำเนินการปรับอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 5 ดังกล่าวทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับลดลงประมาณ 421 ล้านบาท/เดือน
(4) เพื่อไม่ให้การดำเนินการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันฯ จึงต้องปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของน้ำมันเบนซิน 95 จำนวน 0.50 บาท/ลิตร จากปัจจุบัน 7.00 บาท/ลิตร เป็น 7.50 บาท/ลิตร และน้ำมันเบนซิน 91 จำนวน 0.50 บาท/ลิตร จากปัจจุบัน 5.70 บาท/ลิตร เป็น 6.20 บาท/ลิตร ซึ่งจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับสูงขึ้นประมาณ 123 ล้านบาท/เดือน โดยที่การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันทั้ง 2 ประเภท จะไม่ส่งผลทำให้ราคาขายปลีกของน้ำมันดังกล่าวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการปรับเพิ่มจะทำพร้อมไปกันกับการยกเลิกการจัดเก็บเงินส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ ในส่วนที่เก็บเพื่อส่งเสริมโครงการลงทุนพัฒนาระบบการขนส่งของน้ำมันเบนซิน ในอัตรา 0.50 บาท/ลิตร เช่นเดียวกัน ทั้งนี้การดำเนินการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 5 และปรับเพิ่มเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 ดังกล่าว ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับรวมลดลงประมาณ 1,154 ล้านบาท/เดือน
6.2 ตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG เป็นระยะเวลา 1 ปี (สิงหาคม 2552 - สิงหาคม 2553 ) กระทรวงพลังงานได้อาศัยกลไกการกำหนดราคาขายส่งให้คงที่ในระดับ 330 เหรียญสหรัฐ/ตัน หรือเทียบเท่า 10.99 บาท/กก. เพื่อทำให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG คงที่ซึ่งส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ในประเทศต่ำกว่าต้นทุนการนำเข้าที่ปัจจุบันอยู่ในระดับประมาณ 550 เหรียญสหรัฐ/ตัน หรือเทียบเท่า 18.59 บาท/กก. ทำให้ผู้ผลิตและผู้ค้าก๊าซ LPG ขาดแรงจูงใจในการจัดหาและจำหน่ายก๊าซ LPG ในประเทศ และทำให้ปริมาณการผลิตก๊าซ LPG ในประเทศอยู่ที่ระดับ 350,000 ตัน/เดือน จะไม่เพียงพอต่อความต้องการที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้ต้องนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศ ในระดับประมาณ 74,000 ตัน/เดือน โดยเป็นภาระของกองทุนน้ำมันฯ ในการชดเชยราคาก๊าซ LPG จากการนำเข้าเฉลี่ยประมาณ 10.00 บาท/กก. ทั้งนี้การดำเนินการตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ต่อไปอีก 1 ปี คาดว่าจะเป็นภาระของกองทุนน้ำมันฯ ในการชดเชยการนำเข้าก๊าซ LPG ประมาณ 740 ล้านบาท/เดือน
6.3 มาตรการช่วยเหลือกลุ่มรถแท็กซี่ กระทรวงพลังงานได้จัดทำมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติ เพื่อเป็นทางเลือก โดยเฉพาะในกลุ่มของรถแท็กซี่ที่ใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิงมาเป็นการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) เป็นเชื้อเพลิงแทนเพื่อลดปริมาณการนำเข้าก๊าซ LPG ในปัจจุบัน จำนวนรถแท็กซี่ที่ยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนเป็น NGV ประมาณ 30,000 คัน โดยรถแท็กซี่ที่ยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนส่วนใหญ่เป็นรถแท็กซี่ LPG กระทรวงพลังงานจึงเห็นควรกำหนดให้มีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มรถแท็กซี่ โดยปรับเปลี่ยนรถแท็กซี่ที่เหลืออยู่จำนวนประมาณ 30,000 คัน ให้เปลี่ยนมาใช้ NGV ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณคันละ 40,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 1,200 ล้านบาท ทั้งนี้การดำเนินการปรับเปลี่ยนรถแท็กซี่ที่เหลืออยู่ให้มาใช้ NGV จะสามารถช่วยประเทศในการลดการใช้ก๊าซ LPG ได้ประมาณ 30,000 ตัน/เดือน คิดเป็นเงินที่สามารถช่วยลดภาระกองทุนน้ำมันฯ จากการชดเชยการนำเข้าก๊าซ LPG ได้ประมาณ 300 ล้านบาท/เดือน
6.4 ตรึงราคา NGV เป็นระยะเวลา 1 ปี (สิงหาคม 2552 - สิงหาคม 2553 ) กระทรวงพลังงานพิจารณาแล้วเห็นว่า NGV เป็นต้นทุนที่สำคัญต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชน และต้นทุนที่สำคัญต่อภาคขนส่ง และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับ ปัจจุบันราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จึงได้มอบหมายให้ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดและจัดทำแผนการขยายเครือข่ายรวมทั้งส่งเสริมการใช้ NGV อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ NGV เป็นทางเลือกของประชาชนอย่างยั่งยืน ซึ่งได้พิจารณาแล้วเห็นควรที่จะตรึงราคาขายปลีก NGV ไว้ที่ระดับ 8.50 บาท/กก. ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 1 ปี (ส.ค. 52 - ส.ค. 53)
เพื่อไม่ให้การดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว กระทบต่อแผนการขยายเครือข่ายและส่งเสริมการใช้ NGV ประกอบกับมติ กพช. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2550 ได้ให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดราคา NGV โดยขอความร่วมมือจาก ปตท. ให้มีการกำหนดราคา NGV ในปี 2550 - 2551 ในระดับ 8.50 บาท/กก. แล้วจึงปรับราคา NGV ขึ้นแบบขั้นบันไดให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยในปี 2552 ปรับได้ไม่เกิน 12 บาท/กก. ปี 2553 ปรับได้ไม่เกิน 13 บาท/กก. และ ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไปจึงปรับตามต้นทุนที่แท้จริง กระทรวงพลังงานพิจารณาแล้วเห็นควรมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธานรับไปดำเนินการชดเชยราคาขายปลีก NGV จากการที่ ปตท. ต้องขาย NGV ต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง ในลักษณะเดียวกันกับแนวทางการชดเชยราคาก๊าซ LPG จากการนำเข้า นอกจากนั้นในการดำเนินการชดเชยดังกล่าวจะต้องคำนึงถึงมติ กพช. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2550 ด้วย และมอบหมายให้ ปตท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการขยายเครือข่ายรวมทั้งส่งเสริมการใช้ NGV เพื่อให้ NGV เป็นทางเลือกของประชาชนโดยเร็ว ทั้งนี้การดำเนินการตรึงราคา NGV คาดว่าจะเป็นภาระต่อกองทุนน้ำมันฯ ในการชดเชยราคาขายปลีก NGV ที่ต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง ประมาณ 300 ล้านบาท/เดือน
6.5 มาตรการตรึงค่า Ft จนถึงเดือนสิงหาคม 2553 ปัจจุบันค่า Ft ที่ประชาชนต้องจ่ายจะอยู่ในระดับ 92.55 สตางค์/หน่วย ซึ่งประกอบด้วย ค่า Ft คงที่ 46.83 สตางค์/หน่วย และค่า Ft ที่เปลี่ยนแปลงไป (เดลต้า Ft) 45.72 สตางค์/หน่วย โดยปัจจุบัน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้รับภาระค่า Ft แทนประชาชนประมาณ 20,000 ล้านบาท กระทรวงพลังงานจึงเสนอให้มีมาตรการตรึงค่า Ft เพื่อเป็นการลดภาระของประชาชน และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมตามที่ภาคอุตสาหกรรมได้ร้องขอ โดยกระทรวงพลังงานจะประสานการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) รับไปดำเนินการในรายละเอียดกับ กฟผ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งในทางปฏิบัติก็สามารถดำเนินการได้โดยการขยายเวลาการจ่ายคืนภาระค่า Ft ให้กับ กฟผ. การดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวจะทำให้สามารถคงค่า Ft ในระดับ 92.55 สตางค์/หน่วย ได้จนถึงเดือนสิงหาคม 2553 ทั้งนี้การตรึงค่า Ft จนถึงเดือนสิงหาคม 2553 โดยการขยายเวลาการจ่ายคืนภาระค่า Ft ให้กับ กฟผ. คิดเป็นวงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท
6.6 การตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือ ณ คลังน้ำมันและสถานีบริการ การดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานต่อประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะในประเด็นการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และกองทุนอนุรักษ์ฯ เพื่อทำให้ราคาน้ำมันดีเซล และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 5 ลดลง 2 บาท/ลิตร และ 0.40 บาท/ลิตร ตามลำดับ จำเป็นต้องดำเนินการตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือ ณ คลังน้ำมัน และสถานีบริการ เนื่องจากการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และกองทุนอนุรักษ์ฯ ทำให้ราคาน้ำมันดีเซลและดีเซลหมุนเร็ว บี 5 ลดลง ผู้ผลิตจะส่งเงินเข้ากองทุนฯ พร้อมกับชำระภาษีสรรพสามิต ก่อนที่จะมีการขนส่งไปจำหน่ายในคลังน้ำมันและสถานีบริการทั่วประเทศ ดังนั้น น้ำมันที่จำหน่ายและคงเหลืออยู่ในคลังน้ำมันและสถานีบริการ จึงเป็นน้ำมันที่ส่งเงินเข้ากองทุนฯ แล้วทั้งสิ้น เมื่อมีการลดอัตราเงินกองทุนฯ จะไม่มีผลย้อนหลังไปยังน้ำมันที่จำหน่ายและคงเหลืออยู่ในคลังน้ำมัน และสถานีบริการ ซึ่งส่งเงินเข้ากองทุนฯ ไปแล้วในอัตราเดิม ทำให้ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการเกิดผลการขาดทุนจากน้ำมันคงเหลือที่ซื้อมาในราคาสูง มาลดราคาจำหน่ายตามอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ที่ลดลง ดังนั้น ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการจะลดปริมาณน้ำมันคงเหลือที่ซื้อมาในราคาเก่าให้เหลือน้อยที่สุด หรือหยุดจำหน่ายชั่วคราว อาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันได้
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จะต้องมีการตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือ ณ คลังน้ำมันและสถานีบริการ ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันก่อนที่ประกาศราคาขายปลีกใหม่มีผลบังคับใช้ และมีการชดเชยผลการขาดทุนให้แก่ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ โดยใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ซึ่งกรมธุรกิจพลังงาน ได้จัดทำร่างคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ../2552 เรื่องกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม และเพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับไปดำเนินการต่อไป
7. สรุปประมาณการวงเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวข้างต้น คาดว่าจะใช้วงเงินเพื่อการสนับสนุน ดังนี้ 1) กองทุนน้ำมันฯ จำนวนทั้งสิ้น 27,530 ล้านบาท แบ่งเป็น ลดราคาน้ำมันดีเซล 1,154 ล้านบาท/เดือน ตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG 740 ล้านบาท/เดือน ตรึงราคา NGV 300 ล้านบาท/เดือน และโครงการเปลี่ยนแท็กซี่ เป็น NGV 30,000 คัน ภายใน 4 เดือน 300 ล้านบาท/เดือน ซึ่งปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯ มีเงินหมุนเวียนสุทธิ 3,104 ล้านบาท/เดือน ในกรณีที่ต้องสนับสนุนมาตรการดังกล่าวข้างต้น ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับลดลง 2,494 ล้านบาท/เดือน เหลือเงินหมุนเวียนสุทธิ 610 ล้านบาท/เดือน และ 2) กฟผ. รับภาระการยืดเวลาการจ่ายคืนค่า Ft ของประชาชนประมาณ 10,000 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2552 กพช. ได้มีมติเห็นชอบเรื่อง มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานต่อประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล โดยให้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลง 2.00 บาท/ลิตร โดยอาศัยกลไกของกองทุนอนุรักษ์ฯ ควบคู่กับกลไกกองทุนน้ำมันฯ ในการบริหารและจัดการ ดังนี้
1.1 ยกเลิกการจัดเก็บเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในส่วนที่เก็บเพื่อส่งเสริมโครงการลงทุนพัฒนาระบบการขนส่งของทั้งน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล ที่ปัจจุบันเก็บอยู่ในอัตรา 0.50 บาท/ลิตร และลดอัตราจัดเก็บเงินกองทุนอนุรักษ์ฯ ของน้ำมันดีเซลสำหรับส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน เหลือ 0.05 บาท/ลิตร เป็นระยะเวลา 1 ปี จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2553 หลังจากนั้นให้กลับมาจัดเก็บในอัตราเดิม คือ 0.25 บาท/ลิตร
1.2 ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ลง 1.17 บาท/ลิตร จากปัจจุบัน 1.70 บาท/ลิตร เป็น 0.53 บาท/ลิตร
1.3 ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 5 อีก 0.58 บาท/ลิตร จากปัจจุบันซึ่งชดเชยอยู่ 0.23 บาท/ลิตร เป็นชดเชย 0.81 บาท/ลิตร
1.4 ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของน้ำมันเบนซิน 95 จำนวน 0.50 บาท/ลิตร จากปัจจุบัน 7.00 บาท/ลิตร เป็น 7.50 บาท/ลิตร และน้ำมันเบนซิน 91 จำนวน 0.50 บาท/ลิตร จากปัจจุบัน 5.70 บาท/ลิตร เป็น 6.20 บาท/ลิตร
1.5 มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับไปดำเนินการ ตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือ ณ คลังน้ำมันและสถานีบริการ ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันก่อนที่ประกาศราคาขายปลีกใหม่มีผลบังคับใช้ และมีการชดเชยผลการขาดทุนให้แก่ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการ
2. เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเห็นชอบระดับเพดานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และน้ำมันแก๊สโซฮอล อยู่ที่ 7 บาท/ลิตร ขณะที่มาตรการตามข้อ 1 กำหนดให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของน้ำมันเบนซิน 95 เป็น 7.50 บาท/ลิตร จึงไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้น เพื่อให้สามารถดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงาน ตามนโยบายของรัฐบาลได้ จึงเห็นควรปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 95 และเบนซิน 91 เพิ่มขึ้นชนิดละ 0.50 บาท/ลิตร เป็น 7.50 บาท/ลิตร ดังนั้น จากข้อ 1 และ ข้อ 2 อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จะเป็นดังนี้
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
หน่วย : บาท/ลิตร
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง +/- |
เบนซิน 95 | 7.00 | 7.50 | +0.50 |
เบนซิน 91 | 5.70 | 6.20 | +0.50 |
แก๊สโซฮอล 95 E10 | 2.27 | 2.27 | - |
แก๊สโซฮอล 91 | 1.67 | 1.67 | - |
แก๊สโซฮอล 95 E20 | -0.46 | -0.46 | - |
แก๊สโซฮอล 95 E85 | -7.13 | -7.13 | - |
ดีเซลหมุนเร็ว B2 | 1.70 | 0.53 | -1.17 |
ดีเซลหมุนเร็ว B5 | -0.23 | -0.81 | -0.58 |
3. จากการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และกองทุนอนุรักษ์ฯ ทำให้ราคาน้ำมันดีเซลและดีเซลหมุนเร็ว บี 5 ลดลง ส่งผลทำให้ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการเกิดผลการขาดทุนจากน้ำมันคงเหลือที่ซื้อมาในราคาก่อนปรับลดราคาขายปลีกมาจำหน่ายตามอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ที่ลดลง ดังนั้น ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการจะลดปริมาณน้ำมันคงเหลือที่ซื้อมาในราคาเก่าให้เหลือน้อยที่สุด หรือหยุดจำหน่ายชั่วคราว อาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมัน จึงเห็นควรให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ออกประกาศ กำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงทั่วประเทศ และอัตราเงินชดเชย ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็น 27.69, 2.00 และ 2.00 บาท/ลิตร ตามลำดับ และสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 5 เป็น 26.49, 0.40 และ 0.40 บาท/ลิตร ตามลำดับ
4. จากการชดเชยผลขาดทุนในปริมาณน้ำมันคงเหลือที่ได้มาในราคาก่อนปรับลดให้แก่ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการ ตามข้อ 3 คาดว่าจะส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีภาระในการชดเชยประมาณ 1,406 ล้านบาท
5. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้มีข้อเสนอดังนี้
5.1 เห็นควรปรับระดับเพดานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และน้ำมันแก๊สโซฮอล เพิ่มขึ้น 0.50 บาท/ลิตร จากเดิม 7.00 บาท/ลิตร เป็น 7.50 บาท/ลิตร และปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ตามข้อ 2
5.2 เห็นควรให้ชดเชยผลขาดทุนในปริมาณน้ำมันคงเหลือที่ได้มาในราคาก่อนปรับลดให้แก่ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการ จากมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานต่อประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล ตามข้อ 3 ให้มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันกับวันที่ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ โดยมอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการต่อไป
มติของที่ประชุม
1. รับทราบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2552 เรื่อง มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานต่อประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเห็นชอบให้ปรับระดับเพดานอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และน้ำมันแก๊สโซฮอล เพิ่มขึ้น 0.50 บาท/ลิตร จากเดิม 7.00 บาท/ลิตร เป็น 7.50 บาท/ลิตร และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานต่อไป
2. เห็นชอบอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
หน่วย : บาท/ลิตร
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง +/- |
เบนซิน 95 | 7.00 | 7.50 | +0.50 |
เบนซิน 91 | 5.70 | 6.20 | +0.50 |
แก๊สโซฮอล 95 E10 | 2.27 | 2.27 | - |
แก๊สโซฮอล 91 | 1.67 | 1.67 | - |
แก๊สโซฮอล 95 E20 | -0.46 | -0.46 | - |
แก๊สโซฮอล 95 E85 | -7.13 | -7.13 | - |
ดีเซลหมุนเร็ว B2 | 1.70 | 0.53 | -1.17 |
ดีเซลหมุนเร็ว B5 | -0.23 | -0.81 | -0.58 |
3. เห็นชอบในหลักการให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปชดเชยผลขาดทุนในปริมาณน้ำมันคงเหลือที่ได้มาในราคาก่อนการปรับลดราคาขายปลีก ให้แก่ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการ จากมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานต่อประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันกับวันที่ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2552 กพช. ได้มีมติเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานต่อประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งหนึ่งในมาตรการดังกล่าว คือ การลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 5 ลง โดยการลดเงินนำส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และกองทุนอนุรักษ์ฯ และให้ชดเชยผลการขาดทุนให้แก่ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการ โดยจะต้องมีการตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือ ณ คลังน้ำมันและสถานีบริการ ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันก่อนที่ประกาศราคาขายปลีกใหม่ มีผลบังคับใช้ โดยมอบหมายให้กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติรับไปดำเนินการ
2. กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อลงนามในคำสั่งนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ผู้ค้าน้ำมันและสถานีบริการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ ในน้ำมันคงเหลือที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่ราคาขายปลีกใหม่มีผลบังคับใช้ตามอัตราชดเชยที่ประกาศโดย สนพ. และเพื่อให้แน่ใจว่าปริมาณน้ำมันคงเหลือที่ได้รับเงินชดเชยเป็นปริมาณที่ถูกต้องตามความเป็นจริง จึงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือ ณ คลังน้ำมันและสถานีบริการทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันก่อนวันที่ราคาขายปลีกใหม่ตามประกาศ สนพ. มีผลใช้บังคับ ถึงเวลา 06.00 น. ของวันถัดมา ดังนี้
2.1 คลังน้ำมันทั่วประเทศ โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน
2.2 สถานีบริการน้ำมันในเขตกรุงเทพฯ โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ และตำรวจ
2.3 สถานีบริการน้ำมันในเขตต่างจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งคณะทำงานของแต่ละจังหวัด ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ และตำรวจ
ทั้งนี้ ในคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ได้มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เป็นผู้แจ้งให้ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการทราบถึงจำนวนเงินชดเชยที่พึงได้รับจากกองทุนน้ำมันฯ ซึ่งคำนวณจากปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิแต่ละชนิดคูณด้วยอัตราเงินชดเชยที่ประกาศโดย สนพ.
3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ เพื่อดำเนินการดังกล่าว จำนวนเงินรวม 6,153,420 บาทแบ่งเป็น (1) ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบน้ำมันคงเหลือในคลังน้ำมันในเขตกรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร ชลบุรี และระยอง (เจ้าหน้าที่ ธพ. ดำเนินการเอง) จำนวน 63,020 บาท (2) ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบน้ำมันคงเหลือในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วประเทศ และคลังน้ำมันในจังหวัดอื่นๆ นอกเหนือจากข้อ (1) จำนวน 5,522,400 บาท และ (3) ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือ จัดทำเอกสาร และส่งหนังสือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการ จำนวน 568,000 บาท
4. จากการดำเนินการตรวจสอบน้ำมันคงเหลือดังกล่าว ธพ. ได้มีข้อเสนอดังนี้
4.1 ขอความเห็นชอบอนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ ให้ ธพ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือจากการปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันในวงเงิน 6,153,420 บาท (หกล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นสามพันสี่ร้อยยี่สิบบาท)
4.2 ขอความเห็นชอบให้ ธพ. เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันฯ โดยให้สามารถเบิกถัวจ่ายระหว่างรายการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม และในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการให้เบิกจ่ายเป็นการเหมาได้ ตามอัตราในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ.2550 ภายในวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
มติของที่ประชุม
1. อนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปีงบประมาณ 2552 งบค่าใช้จ่ายอื่น ให้กรมธุรกิจพลังงานเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือจากการปรับลดราคาขายปลีกน้ำมัน ในวงเงิน 6,153,420 บาท (หกล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นสามพันสี่ร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
2. เห็นชอบให้กรมธุรกิจพลังงานเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้สามารถเบิกถัวจ่ายระหว่างรายการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม และในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการให้เบิกจ่ายเป็นการเหมาได้ ภายในวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
ครั้งที่ 26 - วันพฤหัสบดี ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2551
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 1/2551 (ครั้งที่ 26)
วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2551 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1. การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100)
2. แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปจากขยะเป็นน้ำมัน
4. การดำเนินงานตามนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP และ VSPP
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) ประธานกรรมการ
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายชวลิต พิชาลัย) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมฯ ทราบว่า ได้มีหนังสือจากผู้ตรวจการแผ่นดินเกี่ยวกับการร้องเรียนเรื่องการอนุญาตให้เปิดปั๊ม LPG ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่ว่า ไม่อนุญาตให้เปิดปั๊มจำหน่ายก๊าซ LPG และได้ขอให้กระทรวงพลังงานและกรุงเทพมหานคร ร่วมกันแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
เรื่องที่ 1 การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100)
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 ได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) โดยให้สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงในอุตสาหกรรม ไบโอดีเซล ซึ่งขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันปาล์มดิบเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 76 ของต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ B100 = 0.97CPO + 0.15 MtOH + 3.32
โดยที่ B100 คือ ราคาขายไบโอดีเซล (B100) ในกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/ลิตร
CPO คือ ราคาขายน้ำมันปาล์มดิบในเขตกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/กิโลกรัม ซึ่งใช้ราคาขายส่งสินค้าเกษตร น้ำมันปาล์มดิบชนิดสกัดแยก (เกรดเอ) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศ แต่ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลก (ตลาดมาเลเซีย) บวก 1 บาท/กิโลกรัม
MtOH คือ ราคาขายเมทานอลในกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/กิโลกรัม ซึ่งใช้ราคาขายเมทานอลเฉลี่ยจากผู้ค้าเมทานอลในประเทศจำนวน 3 ราย เช่น Thai M.C., I.C.P. Chemicals และ Itochu (Thailand) โดยราคาขายเมทานอลเฉลี่ยในสัปดาห์ที่แล้วจะนำมาใช้กำหนดราคาในสัปดาห์หน้า
2. ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550 กบง. ได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกการกำหนดอัตราเงินชดเชยราคาไบโอดีเซล (B100) ที่นำมาผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมไบโอดีเซลไม่เกินร้อยละ 2 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้พร้อมกับประกาศกำหนดคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงของกรมธุรกิจพลังงาน
3. สถานการณ์ไบโอดีเซล ในปี 2551 กระทรวงเกษตรฯ คาดว่าจะมีปริมาณผลปาล์ม 7.873 ล้านตัน สกัดเป็นน้ำมันปาล์มดิบได้ประมาณ 1.344 ล้านตันและคาดว่าความต้องการใช้ในการบริโภคและอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออกน้ำมันบริสุทธิ์รวม 990,000 ตัน/ปี หรือ 82,500 ตัน/เดือน คงเหลือน้ำมันปาล์มดิบ 354,000 ตัน ซึ่งส่วนหนึ่งนำไปผลิตไบโอดีเซล และตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 กบง. มีมติให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วต้องผสมไบโอดีเซล (B100) ร้อยละ 2 ส่งผลให้มีความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นและจากสภาวะการผลิตปาล์มน้ำมันในช่วงปลายปี-ต้นปีจะมีปริมาณผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อย คาดว่าช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2551 จะมีสต๊อคน้ำมันปาล์มดิบ 98,000 ตัน/เดือน และตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปจะมีน้ำมันปาล์มดิบมากขึ้น สู่ระดับปกติ 110,000-118,000 ตัน/เดือน ทั้งนี้ สต๊อคน้ำมันปาล์มดิบปกติที่ควรจะมีในระดับเท่ากับ 123,750 ตัน/เดือน (1.5 เท่าของความต้องการใช้ 82,500 ตัน/เดือน)
4. ในเดือนธันวาคม มีผู้ผลิตไบโอดีเซลที่ได้คุณภาพตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงานจำนวน 9 ราย โดยมีกำลังการผลิตรวม 2,185,800 ลิตร/วัน ราคาไบโอดีเซลเฉลี่ยในประเทศ เดือนธันวาคม 2550 และเดือนมกราคม 2551 อยู่ที่ 36.32 และ 38.36 บาท/ลิตร ตามลำดับ โดยการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ในเดือนธันวาคม 2550 จำนวน 3.83 ล้านลิตร/วัน หรือมีการใช้ไบโอดีเซล (B100) เฉลี่ย 191,500 ลิตร/วัน และในเดือนมกราคม 2551 จำนวน 4.22 ล้านลิตร/วัน หรือมีการใช้ไบโอดีเซล (B100) เฉลี่ย 211,000 ลิตร/วัน มีสถานีบริการรวม 975 แห่ง แบ่งเป็น ปตท. 264 แห่ง บางจาก 710 แห่ง และ ปตท.รีเทล (คอนอโค) 1 แห่ง และปัจจุบันอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 เป็นศูนย์ และราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 อยู่ที่ 27.94 บาท/ลิตร ซึ่งต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 1.00 บาท/ลิตร
5. ในปี 2550 ราคาน้ำมันปาล์มดิบสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเฉลี่ย 18.63 บาท/กิโลกรัมในเดือนมกราคม เป็น 31.47 บาท/กิโลกรัมในเดือนธันวาคม และตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมเป็นต้นมาระดับราคา สูงกว่าราคาในตลาดมาเลเซีย และ ณ วันที่ 1-21 มกราคม 2551 ราคาสูงกว่าประมาณ 3.54 บาท/กิโลกรัม โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย ด้านผลผลิตซึ่งเป็นช่วงที่ปริมาณผลปาล์ม ออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ความต้องการใช้ทั้งผู้บริโภค อุตสาหกรรมและพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นและภาวะราคาน้ำมันปาล์มตลาดมาเลเซียมีแนวโน้มสูงขึ้นในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งสามารถใช้น้ำมันปาล์มดิบทดแทนได้มีราคาสูงขึ้นด้วย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์คาดว่า สถานการณ์การผลิตและระดับราคาน้ำมันปาล์มดิบจะเข้าสู่ระดับปกติในเดือนมีนาคม 2551
6. จากหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) ได้กำหนดระดับเพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบไว้ที่ระดับราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลก(ตลาดมาเลเซีย) บวก 1 บาท/กิโลกรัม ดังนั้นราคาอ้างอิงในการจำหน่ายไบโอดีเซล (B100) ระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าตามมาตรา 7 อยู่ที่ระดับ 39.01 บาท/ลิตร แต่ปัจจุบันราคาขายน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าระดับเพดาน จึงทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตไบโอดีเซล (B100) อยู่ที่ระดับ 42.22 บาท/ลิตร ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตไบโอดีเซล (B100) จำหน่ายให้ผู้ค้าตามมาตรา 7 เพื่อนำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วได้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและเพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในอุตสาหกรรม ไบโอดีเซล จึงควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) โดยปรับเพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบเพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) ให้ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซีย บวก 3 บาท/กิโลกรัม โดยผลกระทบจากการปรับเพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบดังกล่าว จะทำให้ราคาไบโอดีเซล (B100) เพิ่มขึ้น 1.94 บาท/ลิตร และทำให้ต้นทุนราคาดีเซลหมุนเร็วบี 2 และบี 5 เพิ่มขึ้นประมาณ 0.038 และ 0.103 บาท/ลิตร ตามลำดับ และเมื่อยกเลิกการชดเชยราคาไบโอดีเซล ( B100) ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 จะทำให้ต้นทุนราคาดีเซลหมุนเร็วบี 2 และ บี 5 เพิ่มขึ้นประมาณ 0.38 และ 1.14 บาท/ลิตร ตามลำดับ
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) โดยให้ปรับเพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบเพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) ให้ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซีย บวก 3 บาท/กิโลกรัม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2551 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปจากขยะเป็นน้ำมัน
สรุปสาระสำคัญ
1. ในปี 2548 มีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ 14.3 ล้านตัน หรือ 39,221 ตันต่อวัน (ยังไม่รวมข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยก่อนนำมาทิ้งในถัง) เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ มีปริมาณขยะมูลฝอยที่เก็บขนได้วันละ 8,291 ตัน ซึ่งแนวคิดหลักในการจัดการขยะโดยทั่วไป ได้แก่ ทำการฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) การคัดแยกเพื่อแปรสภาพขยะอินทรีเป็นปุ๋ยหมัก (Organic Fertilizer) การคัดแยกเพื่อแปรสภาพขยะเป็นเชื้อเพลิง (Turn Waste into Energy) การคัดแยกเพื่อนำวัสดุไปแปรรูปในกระบวนการ รีไซเคิล (Recycle) และการใช้เตาเผา (Incineration) ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมด้านต่างๆ อาทิ ประเภทของขยะ สถานที่ที่ใช้ในการจัดการขยะ ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และความพร้อมด้านการลงทุน แต่ปรากฏว่ามีขยะประเภทพลาสติกตกค้างอยู่เป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบ
2. กระทรวงพลังงานได้มีนโยบายให้การสนับสนุนการแปรรูปขยะเป็นพลังงานในรูปแบบการกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) จากผู้ผลิตไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง ในอัตรา 2.50 บาท/หน่วย โดยที่ประเทศไทยยังไม่ได้มีการพิสูจน์ความสามารถในการใช้งานจริงและผลตอบแทนการลงทุนยังมีความเสี่ยงสูงมาก ทั้งด้านเทคโนโลยีและราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้ยังใช้ระยะเวลาคืนทุนนาน 5-10 ปี และเพื่อเร่งให้มีการตัดสินใจลงทุนนำเทคโนโลยีการแปรรูปขยะเป็นน้ำมันมาใช้ จึงเห็นควรเพิ่มแรงจูงใจให้กับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ โดยนำเงินจากกองทุนน้ำมันฯ มาใช้ในการช่วยเหลืออุดหนุนราคารับซื้อน้ำมันดิบที่ผลิตได้จากการแปรรูปจากขยะ
3. จากการประเมินเงินลงทุนการแปรรูปขยะเป็นน้ำมัน ซึ่งประกอบด้วย 1) ค่าลงทุนระบบจัดการ คัดแยก และการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel, RDF) จากขยะพลาสติก และ 2) ค่าลงทุนเครื่องจักรในกระบวนการ Pyrolysis Depolymerization ที่สามารถรองรับขยะพลาสติกได้ 6 ตัน/วัน พบว่ามีค่าลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท หากสามารถจำหน่ายน้ำมันที่ผลิตได้ในราคา 22 บาท/ลิตร จะทำให้ระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 5 ปี
4. หลักการคำนวณอัตราเงินอุดหนุนราคาน้ำมันจากการแปรรูปขยะ ได้ใช้ราคาน้ำมันดิบดูไบที่มีคุณภาพต่ำที่สุดเป็นเกณฑ์ ซึ่งปัจจุบันมีราคา 86.92 เหรียญสหรัฐฯ/บาเรล หรือ 18.18 บาท/ลิตร (ณ วันที่ 14 มกราคม 2551 ที่อัตราแลกเปลี่ยน 33.2618 บาท/เหรียญสหรัฐฯ) เมื่อเทียบกับการวิเคราะห์ต้นทุนราคาน้ำมันที่ได้จากแปรรูปขยะตามข้อ 3 ใช้ระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 5 ปี อัตราเงินอุดหนุนหรือเงินส่วนเพิ่มควรเริ่มตั้งแต่ 4 บาท/ลิตร ขึ้นไป แต่เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการตัดสินใจลงทุนในช่วงแรกและช่วยบรรเทาภาระความเสี่ยงของหน่วยงานหรือองค์กรที่จะลงทุนในด้านของเทคโนโลยีและคุณภาพของน้ำมันที่จะได้รับ สนพ. จึงเห็นควรกำหนดราคาส่วนเพิ่มที่อัตรา 7 บาท/ลิตร ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาคืนทุนลดลงเหลือเพียง 4 ปี
5. คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2551 ได้มีมติเรื่องการสนับสนุนการแปรรูปจากขยะเป็นน้ำมัน ดังนี้
5.1 เห็นชอบแนวทางส่งเสริมการแปรรูปจากขยะเป็นน้ำมันด้วยการสนับสนุนงานวิจัยและสาธิตเป็นโครงการนำร่อง โดยให้ สนพ. จัดสรรเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน แผนพลังงานทดแทน โครงการสนับสนุนการศึกษาวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ปีงบประมาณ 2551 ที่คณะกรรมการกองทุนฯ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2551 ได้จัดสรรให้ สนพ. ไว้แล้ว มาใช้สำหรับ "โครงการส่งเสริมการแปรรูป จากขยะเป็นน้ำมัน" ในวงเงิน 105 ล้านบาท โดยสนับสนุนเป็นเงินช่วยเหลือให้เปล่าในสัดส่วนร้อยละ 32 แต่ไม่เกิน 35 ล้านบาทต่อราย ประกอบด้วย
กระบวนการ | เงินลงทุน ล้านบาท) |
เงินสนับสนุน สูงสุด |
สัดส่วน |
(1) เงินลงทุนในส่วนระบบจัดการและคัดแยกขยะ * | 35 | 10 | 28% |
(2) เงินลงทุนสำหรับระบบแปรรูปขยะเป็นน้ำมัน ** | 65 | 15 | 23% |
(3) ค่าที่ปรึกษาออกแบบระบบและบริหารจัดการ | 10 | 10 | 100% |
รวม | 110 | 35 | 33% |
* เงินลงทุนระบบจัดการคัดแยะเทศบาลระยองซึ่งรองรับขยะขนาด 60 ตัน/วัน มีสัดส่วนขยะพลาสติกไม่เกิน 10 ตัน/วัน (คิดจากสัดส่วนขยะพลาสติกเฉลี่ยของประเทศไทยที่ 16.83%) และเครื่องผลิต RDF อ้างอิงจากเครื่องผลิต RDF ชีวมวลจากการประเมินของ ม.สุรนารี 3 ล้านบาท
** ข้อเสนอโครงการนำร่องการแปรรูปขยะเป็นพลังงานน้ำมันซึ่งรองรับขยะได้ 6 ตัน/วัน
5.2 เห็นชอบแนวทางส่งเสริมการแปรรูปจากขยะเป็นน้ำมันด้วยการจูงใจด้านราคา โดยนำเงินจากกองทุนน้ำมันฯ มาช่วยอุดหนุนราคารับซื้อน้ำมันดิบที่ผลิตได้จากการแปรรูปจากขยะในอัตรา 7 บาท ต่อลิตร และให้ สนพ. เสนอ กบง. เพื่อพิจารณาต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้แก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้สามารถจ่ายเงินชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่โรงกลั่นน้ำมันที่รับซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะ โดยมอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการแก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวต่อไป
2. เห็นชอบการกำหนดอัตราเงินชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่โรงกลั่นน้ำมันที่รับซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะในอัตราไม่เกิน 7 บาท/ลิตร เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยให้บังคับใช้หลังจากมีการแก้ไขคำสั่งนายกฯ ตามข้อ 1 เรียบร้อยแล้ว โดยมอบหมายให้ สนพ. เป็นผู้ดำเนินการ ออกประกาศกำหนดอัตราเงินชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะต่อไป ทั้งนี้ มอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ รับไปศึกษาในรายละเอียดการกำหนดอัตราชดเชยที่เหมาะสม โดยให้นำเสนอประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ต่อไป
3. มอบหมายให้ สนพ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้กำหนดรายละเอียดและวิธีการปฏิบัติในการจ่ายเงินชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่โรงกลั่นน้ำมันที่รับซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะต่อไป
4. มอบหมายให้ประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติแทนคณะกรรมการฯ ในการปรับปรุงอัตราเงินชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่โรงกลั่นน้ำมันที่รับซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะได้ตามความเหมาะสม
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 กบง. ได้มีมติอนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการเกี่ยวกับประชาสัมพันธ์ของ สนพ. จำนวน 5 โครงการ เป็นจำนวนเงินรวม 153 ล้านบาท ดังนี้ 1) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล ระยะที่ 3 ในวงเงิน 50 ล้านบาท 2) โครงการประชาสัมพันธ์การปรับโครงสร้างราคา LPG ในวงเงิน 40 ล้านบาท 3) โครงการประชาสัมพันธ์สนับสนุนประสานผลักดันนโยบายและแผนพัฒนาพลังงานสู่การปฏิบัติ ในวงเงิน 30 ล้านบาท 4) โครงการประชาสัมพันธ์พลังงานตามสถานการณ์ ในวงเงิน 30 ล้านบาท และ 5)การประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์ ปีงบประมาณ 2551 ในวงเงิน 3 ล้านบาท
2. ในช่วงปี 2550 ประเทศไทยต้องเผชิญวิกฤติราคาน้ำมันแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้กระทรวงพลังงานต้องเร่งดำเนินงานประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนผลักดันการใช้พลังงานทางเลือกแทนการใช้น้ำมัน และบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติราคาน้ำมันให้เห็นผลเป็นรูปธรรม สนพ. จึงมีความจำเป็นต้องปรับแผนประชาสัมพันธ์อย่างเร่งด่วน ด้วยการแบ่งแยกเป็นระยะหรือแบ่งเงินจากโครงการมาทำกิจกรรมเสริม ทั้งนี้การขอสนับสนุนที่ได้รับอนุมัติตามมติ กบง. สำหรับโครงการดังกล่าวไม่สามารถแยกรายการและทำสัญญาหรือหนังสือยืนยันได้หลายรายการตามความเหมาะสมได้ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติงานจัดจ้างต้องเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 22 วรรค 2 ที่กำหนดไว้ว่า "การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกันเพื่อให้วงเงินต่ำกว่าที่กำหนดโดยวิธีหนึ่งวิธีใด หรือเพื่อให้อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนไป จะกระทำมิได้"
3. ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่าการดำเนินโครงการเกี่ยวกับกิจกรรมประชาสัมพันธ์จำเป็นต้องปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยแบ่งการดำเนินโครงการออกเป็นระยะ พร้อมกับการแบ่งจ่ายเงินเพื่อทำกิจกรรมเสริม ซึ่งในทางปฏิบัติการจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้น เพื่อให้โครงการประชาสัมพันธ์ของ สนพ. ทั้ง 5 โครงการ (จำนวน 153 ล้านบาท) สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ขัดกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีข้างต้น ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเห็นควรให้นำเสนอ กบง. เพื่อขอความเห็นชอบให้ สนพ. สามารถเบิกถัวจ่ายและแยกดำเนินการโครงการประชาสัมพันธ์ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการสนับสนุนตามที่ใช้จ่ายจริงในการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ โดยให้มีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ สนพ. ดำเนินโครงการประชาสัมพันธ์ที่ได้รับอนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 ดังนี้
1. โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล ระยะที่ 3 ในวงเงิน 50 ล้านบาท (ห้าสิบล้านบาทถ้วน)
2. โครงการประชาสัมพันธ์การปรับโครงสร้างราคา LPG ในวงเงิน 40 ล้านบาท (สี่สิบล้านบาทถ้วน)
3. โครงการประชาสัมพันธ์สนับสนุนประสานผลักดันนโยบายและแผนพัฒนาพลังงานสู่การปฏิบัติ ในวงเงิน 30 ล้านบาท (สามสิบล้านบาทถ้วน)
4. โครงการประชาสัมพันธ์พลังงานตามสถานการณ์ ในวงเงิน 30 ล้านบาท (สามสิบล้านบาทถ้วน)
การประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์ ปีงบประมาณ 2551 ในวงเงิน 3 ล้านบาท (สามล้านบาทถ้วน)
5. โดยให้สามารถถัวจ่ายระหว่างรายการ และแยกดำเนินการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายตามที่ใช้จ่ายจริงภายในวงเงินที่ได้รับการสนับสนุน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่โครงการได้รับอนุมัติ
เรื่องที่ 4 การดำเนินงานตามนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP และ VSPP
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549 เห็นชอบให้ กฟผ. เปิดการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ทุกประเภทเชื้อเพลิงตามที่กำหนดในระเบียบการรับซื้อไฟฟ้า โดยให้ขยายปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากเดิม 3,200 เมกะวัตต์ เป็น 4,000 เมกะวัตต์ และต่อมาการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้ออกประกาศระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กฉบับ พ.ศ. 2550 และ กฟผ. ได้ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP โดยกำหนดปริมาณรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ประเภทสัญญา Firm ระบบ Cogeneration จำนวน 500 เมกะวัตต์ และ SPP ประเภทสัญญา Firm สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และ SPP ประเภทสัญญา Non-Firm รวม 530 เมกะวัตต์ รวมปริมาณพลังไฟฟ้าที่ประกาศรับซื้อในรอบนี้รวม 1,030 เมกะวัตต์
2. เนื่องจากมี SPP ประเภทสัญญา Firm ระบบ Cogeneration ยื่นคำร้องขอขายปริมาณไฟฟ้าสูงกว่าปริมาณพลังไฟฟ้าที่ประกาศรับซื้อไว้เป็นจำนวนมาก กพช. จึงมีมติเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2550 เห็นชอบให้ กฟผ. ยุติการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ระบบ Cogeneration ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2550 เป็นต้นไป และให้พิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากสัดส่วนการใช้ไอน้ำ กำหนดวันเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้า (SCOD) ตลอดจนความสามารถและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าที่จะรับได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ทั้งนี้ มี SPP ที่ยื่นข้อเสนอจำนวน 28 โครงการ รวมปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายตามสัญญาทั้งสิ้น 2,191 เมกะวัตต์ ซึ่งเกินกว่าที่ประกาศไว้ 1,691 เมกะวัตต์
3. การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้พิจารณาข้อจำกัดการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าของโครงการ SPP ระบบ Cogeneration ดังกล่าว พบว่าจะมีโครงการที่สามารถรับซื้อไฟฟ้าได้ 9 โครงการ ปริมาณพลังไฟฟ้า เสนอขาย 760 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ กพช. ได้มีมติเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 รับทราบผลการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าของ กฟผ. โดยพิจารณาตอบรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ระบบ Cogeneration ในรอบแรกตามข้อจำกัดของระบบไฟฟ้าและเห็นชอบให้ขยายปริมาณพลังไฟฟ้ารับซื้อจากโครงการใหม่ที่เป็น SPP ระบบ Cogeneration ได้เกินกว่า 500 เมกะวัตต์ แต่ทั้งนี้ ปริมาณการรับซื้อรวมจากโครงการ SPP ทั้งหมดจะไม่เกิน 4,000 เมกะวัตต์ ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549 ต่อมาเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550 กระทรวงพลังงานได้ประชุมหารือร่วมกับการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง และได้มีมติเห็นชอบผลการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าตามข้อจำกัดระบบไฟฟ้าเพิ่มเติมอีก 5 โครงการ ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย 390 เมกะวัตต์ รวมเป็นจำนวน 14 โครงการ ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 1,150 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ให้ กฟผ. แจ้งผลการพิจารณาตอบรับซื้อไฟฟ้า SPP ดังกล่าว โดยกำหนดเงื่อนไขว่า กฟผ. จะพิจารณาตอบรับซื้อไฟฟ้าจากรายที่มีความพร้อมมากกว่า และให้พิจารณากำหนดวัน COD ของ SPP แต่ละรายที่ได้รับการคัดเลือกต่อไปด้วย
4. กฟผ. ได้แจ้งผลการพิจารณาตอบรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ที่สามารถรับซื้อไฟฟ้าได้แล้ว รวมปริมาณพลังไฟฟ้าที่ระบบรับได้ 1,150 เมกะวัตต์ โดยในสถานีไฟฟ้าที่ไม่สามารถรับซื้อได้ทุกราย กฟผ. จะลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ SPP ที่มีความพร้อมในการลงนามสัญญาได้ก่อน ได้แก่ (1) ผลการพิจารณาเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) (2) เอกสารสิทธิ/ใบรับรองการใช้ที่ดินในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า (3) หนังสือแจ้งวันกำหนดเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้า (SCOD) ซึ่งสอดคล้องกับกำหนดการส่งมอบก๊าชธรรมชาติจาก ปตท.
5. เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 กพช. ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงการกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP และ VSPP สำหรับโครงการพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ โดยกำหนดให้เท่ากับ 3.50 บาทต่อหน่วย และ 8.00 บาท ต่อหน่วย ตามลำดับ และขยายระยะเวลาจาก 7 ปี เป็น 10 ปี นับจากวันเริ่มต้นจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบ (โครงการในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงได้รับส่วนเพิ่มพิเศษตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2550) และเห็นชอบการกำหนดเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP และ VSPP ให้มีความชัดเจน ดังนี้ 1) ผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ให้ยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP 2) ผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายเกินกว่า 10 เมกะวัตต์ ให้ยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ทั้งนี้ ยกเว้นในกรณี SPP รายเดิมที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. แล้ว 3) SPP รายเดิมที่มีสัญญาประเภท Firm หากจะยกเลิกสัญญากับ กฟผ. เพื่อเสนอขายไฟฟ้าตามระเบียบ VSPP ให้ กฟผ. พิจารณายกเว้นการยึดหลักค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า หลักค้ำประกันการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดอายุสัญญา การเรียกเก็บเงินค่าพลังไฟฟ้าคืน และการเรียกค่าปรับ ทั้งนี้ SPP Firm ที่ได้รับการยกเว้นนี้จะไม่รวมถึง SPP ประเภท Firm ที่ใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ และ 4) เห็นควรแก้ไขการกำหนดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้าสำหรับ SPP ประเภท Non Firm และ VSPP เป็นอายุสัญญา 5 ปี และต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ
6. ณ เดือนธันวาคม 2550 มี SPP ที่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้า 102 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้า เสนอขายรวม 3,802.32 เมกะวัตต์ โดยขายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว 75 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 2,355.32 เมกะวัตต์ จำแนกตามชนิดเชื้อเพลิงที่ผลิตไฟฟ้า มีโครงการที่ใช้พลังงานนอกรูปแบบ 52 ราย พลังงานเชิงพาณิชย์ 26 ราย และพลังงานผสม (พลังงานนอกรูปแบบ/พลังงานเชิงพาณิชย์) 4 ราย ปริมาณ พลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 479.9, 1670.20 และ 233.00 เมกะวัตต์ ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคารับซื้อไฟฟ้า จาก SPP ประเภท Non-Firm เฉลี่ย 2.21 บาทต่อหน่วย และราคารับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ประเภท Firm เฉลี่ย ทุกประเภทเชื้อเพลิง 2.53 บาทต่อหน่วย
7. ณ เดือนธันวาคม 2550 มีโครงการขอยื่นแบบคำขอจำหน่ายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย 264 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 837.8 เมกะวัตต์ เป็นโครงการที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟภ. 214 ราย และเป็นที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟน. 50 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 829.8 และ 8 เมกะวัตต์ ตามลำดับ ซึ่งมีโครงการที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายแล้ว 67 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 74.6 เมกะวัตต์ เป็นโครงการที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟภ. 36 ราย (73.5 เมกะวัตต์) และที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟน. 31 ราย (1.1 เมกะวัตต์)
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
ครั้งที่ 25 - วันศุกร์ ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 8/2550 (ครั้งที่ 25)
วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1. การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
2. มาตรการส่งเสริมให้มีการผลิตน้ำมันที่มีคุณภาพตามมาตรฐานยูโร 4
3. แนวทางการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี2
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2550 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงภายหลังการใช้หนี้หมด โดยให้โอนอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ให้แก่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงานปกติ ในระดับ 0.18 บาทต่อลิตร ค่าใช้จ่ายสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบขนส่ง 0.50 บาทต่อลิตร และลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ 0.50 บาทต่อลิตร เพื่อนำไปลดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อกองทุนน้ำมันฯ ได้สะสมเงินไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว ให้เพิ่มการโอนอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ สำหรับโครงการพัฒนาระบบขนส่งอีก 0.20 บาทต่อลิตร และต่อมา กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 ได้เห็นชอบให้เพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ และประกาศลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันเบนซินและดีเซล 0.25 และ 0.18 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2550 และให้เพิ่มอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ สำหรับน้ำมันเบนซินและดีเซลอีก 0.50 บาทต่อลิตร เมื่อหนี้สินสุทธิของกองทุนน้ำมันฯ ลดลงเป็นศูนย์แล้ว และให้เพิ่มการเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ อีก 0.20 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป โดยให้มีการประกาศลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในอัตราเท่ากันและในวันเดียวกัน
2. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2550 ได้มีมติเห็นชอบปรับอัตรากองทุนน้ำมันฯ ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 โดยให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน, แก๊สโซฮอล, ดีเซลและดีเซลหมุนเร็วบี 5 ลงเท่ากับอัตราเงิน ส่งเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ ที่เพิ่มขึ้น และให้มีผลในวันเดียวกับการปรับขึ้นอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
3. เนื่องจากขั้นตอนการออกประกาศ กพช. เกี่ยวกับการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จะต้องนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกอบกับจากประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันฯ คาดว่าจะเป็นบวกและสามารถโอนอัตราเงินให้แก่กองทุนอนุรักษ์ฯ สำหรับโครงการพัฒนาระบบขนส่งได้ประมาณวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ดังนั้น กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2550 จึงได้เห็นชอบให้โอนอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ไปยังกองทุนอนุรักษ์ฯ สำหรับแผนงานปกติและเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการพัฒนาระบบขนส่ง ครั้งที่ 1 ไปพร้อมกัน
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2550 มีเงินสดสุทธิ 12,566 ล้านบาท หนี้สินค้างชำระ 12>,967 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิติดลบ 401 ล้านบาท โดยคาดว่าฐานะกองทุนน้ำมันฯ จะเป็นบวกประมาณวันที่ 23 ธันวาคม 2550
5. เพื่อเป็นการดำเนินการตามมติ กพช. จึงควรมีการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน, แก๊สโซฮอล, ดีเซลและดีเซลหมุนเร็วบี 5 ลง 0.6800, 0.1870, 0.6800 และ 0.1835 บาทต่อลิตร ตามลำดับ โดยให้เริ่มมีผลบังคับใช้พร้อมกับการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป ให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน, แก๊สโซฮอล, ดีเซลและดีเซลหมุนเร็ว บี5 ลงอีก 0.20 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน, แก๊สโซฮอล, ดีเซลและดีเซลหมุนเร็ว บี 5 ลง 0.6800, 0.1870, 0.6800 และ 0.1835 บาทต่อลิตร ตามลำดับ โดยให้เริ่มมีผลบังคับใช้พร้อมกับการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
2. เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน, แก๊สโซฮอล, ดีเซลและดีเซลหมุนเร็ว บี5 ลงอีก 0.20 บาทต่อลิตร โดยให้เริ่มมีผลบังคับใช้พร้อมกับการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ประมาณเดือนตุลาคม 2551)
ทั้งนี้ มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานต่อไป
เรื่องที่ 2 มาตรการส่งเสริมให้มีการผลิตน้ำมันที่มีคุณภาพตามมาตรฐานยูโร 4
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบนโยบายและแผนพัฒนาพลังงานของประเทศ โดยได้กำหนดมาตรการด้านพลังงานสะอาดเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการพลังงานในรูปแบบต่างๆ คือกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำมันสำเร็จรูปให้สูงขึ้นอย่างเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ได้มีมติเห็นชอบตามมติ กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2549 โดยเห็นชอบให้มีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยในอนาคต ตามแนวทางของมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงยูโร 4 โดยการปรับปรุงจากมาตรฐานคุณภาพน้ำมันที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน และให้กำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้มาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงใหม่ ปรับลดปริมาณกำมะถันจากไม่สูงกว่า 500 ppm เป็นไม่สูงกว่า 50 ppm ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป ทั้งนี้การกำหนดมาตรฐานไอเสียของรถยนต์มาตรฐานยูโร 4 ของประเทศ จะมีการประกาศบังคับใช้ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้ดำเนินการออกประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับอนาคต เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2549 ให้มีผลบังคับใช้สำหรับน้ำมันตามมาตรฐานยูโร 4 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เพื่อให้โรงกลั่นน้ำมันมีระยะเวลาในการปรับปรุงการผลิต
3. ปัจจุบันคุณภาพอากาศของประเทศไทยพบว่าปัญหาหลักคือ มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM-10) และก๊าซโอโซนที่มีปริมาณสูงเกินกว่ามาตรฐานในหลายพื้นที่และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณริมถนนใหญ่ เนื่องจากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง โดยที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กจะเกิดจากการเผาไหม้น้ำมันดีเซลที่มีกำมะถันสูง และก๊าซโอโซนเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซไฮโดรคาร์บอนกับออกไซด์ของไนโตรเจนจากไอเสียรถยนต์โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่ง ดังนั้นกระทรวงพลังงานและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมประชุมหารือเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2550 เสนอให้กระทรวงพลังงานพิจารณาส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณลักษณะเป็นไปตามมาตรฐานยูโร 4 ก่อนวันที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้
4. โรงกลั่นน้ำมันที่สามารถผลิตน้ำมันยูโร 4 ได้ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2555 มีจำนวน 2 โรง คือ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) คาดว่าจะสามารถผลิตน้ำมันเบนซินและดีเซลมาตรฐานยูโร 4 ได้ประมาณเดือนเมษายน 2551 และ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) คาดว่าจะสามารถผลิตเฉพาะน้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร 4 ได้ประมาณเดือนตุลาคม 2551 และจากการศึกษาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการผลิตน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พบว่าต้นทุนการผลิตน้ำมันเบนซิน จะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.81 - 1.20 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซลประมาณ 0.40 - 1.01 บาทต่อลิตร และการประเมิน จากความแตกต่างของราคาขายในตลาดสากลพบว่าน้ำมันเบนซินมีส่วนต่างราคาประมาณ 0.24 - 0.45 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลประมาณ 0.25 - 0.65 บาทต่อลิตร
5. สนพ. ได้พิจารณาเปรียบเทียบราคาน้ำมันดีเซลตามมาตรฐานปัจจุบันกับน้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร 4 ในตลาดจรสิงคโปร์ เฉลี่ยตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 ถึง 14 ธันวาคม 2550 พบว่าราคาน้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร 4 สูงกว่าประมาณ 1.61 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล หรือประมาณ 0.35 บาทต่อลิตร (ที่อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 34.72 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ) ส่วนน้ำมันเบนซินมาตรฐานยูโร 4 ไม่มีการซื้อขายในตลาดจรสิงคโปร์ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาผลการศึกษาต้นทุนการผลิตโดยการประเมินจากความแตกต่างของราคาขายในตลาดยุโรปที่ได้จากการศึกษาของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 0.35 บาทต่อลิตร ซึ่งใกล้เคียงกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นของน้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร 4
6. สำหรับต้นทุนผันแปรในการผลิตน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ที่เพิ่มขึ้นจากหน่วยกำจัดกำมะถันในการผลิตน้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร 4 ประมาณ 0.24 บาทต่อลิตร ประกอบด้วยต้นทุนส่วนเพิ่มจากปริมาณการใช้ก๊าซไฮโดรเจนบริสุทธิ์ร้อยละ 1.2 เป็นร้อยละ 2.0 คิดเป็น 0.14 บาทต่อลิตร และต้นทุนส่วนเพิ่มจากอายุการใช้งานของสารเร่งปฏิกิริยาที่ลดลงจาก 2 ปี เป็น 1 ปี คิดเป็น 0.10 บาทต่อลิตร ส่วนต้นทุนผันแปรที่เพิ่มขึ้นจากการปรับลดกำมะถันและปรับลดสารเบนซีนในการผลิตน้ำมันเบนซินมาตรฐานยูโร 4 ประมาณ 0.65 บาทต่อลิตร ประกอบด้วยต้นทุนพลังงานที่ใช้เพิ่มขึ้นสำหรับการดึงสารเบนซีนออกจากน้ำมันเบนซิน คิดเป็น 0.10 บาทต่อลิตร และในส่วนของการปรับลดกำมะถันต้องจัดหาน้ำมันดิบที่มีกำมะถันต่ำเข้ามากลั่นทำให้มีต้นทุนผันแปรที่เพิ่มขึ้น 0.55 บาทต่อลิตร
7. การส่งเสริมให้มีการผลิตน้ำมันที่มีคุณภาพตามมาตรฐานยูโร 4 ก่อนวันมีผลบังคับใช้ โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินจะช่วยลดการระบายก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ได้ประมาณ 31,432 ตัน ก๊าซไฮโดรคาร์บอน 7,024 ตัน ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน 5,332 ตัน และฝุ่นละออง 2,064 ตัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน
8. ในการผลิตน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 โรงกลั่นน้ำมันจะมีต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้น ถ้าหากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐเพื่อให้สามารถแข่งขันกับน้ำมันมาตรฐานปัจจุบันที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าได้ โรงกลั่นน้ำมันอาจ ไม่ปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อผลิตน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ก่อนวันมีผลบังคับใช้ เนื่องจากขาดทุนจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการจำหน่ายน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ก่อนกำหนด จะช่วยให้สามารถนำรถยนต์มาตรฐานยูโร 4 เข้ามาใช้ในประเทศได้เร็วขึ้น จะทำให้ลดการระบายมลพิษออกสู่บรรยากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันต้องลงทุนเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำมันให้ได้ตามมาตรฐานยูโร 4 อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือเรื่องภาระการลงทุน แต่เพื่อให้โรงกลั่นน้ำมันควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้น้ำมันมาตรฐาน ยูโร 4 จึงเห็นควรกำหนดอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ในระดับเดียวกับต้นทุนผันแปรที่เพิ่มขึ้น โดยกำหนดอัตราชดเชยสำหรับน้ำมันดีเซลและเบนซินที่ได้ตามมาตรฐานยูโร 4 ในอัตราเดียวกันคือ 0.24 บาทต่อลิตร
9. ผลกระทบต่อกองทุนน้ำมันฯ จากประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันฯ หลังการดำเนินการโอนอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ให้แก่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับแผนงานปกติ และเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบการขนส่ง ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2550 พบว่า ประมาณการรายได้ของกองทุนน้ำมันฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป อยู่ที่ระดับ 845 ล้านบาท ต่อเดือน และเพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตน้ำมันที่มีคุณภาพตามมาตรฐานยูโร 4 กองทุนน้ำมันฯ ต้องจ่ายเงินชดเชยในส่วนของต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ให้แก่โรงกลั่นน้ำมันที่สามารถผลิตน้ำมันดีเซลและเบนซินตามมาตรฐานยูโร4 ได้ก่อนวันที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ โดยโรงกลั่นน้ำมันคาดว่าจะสามารถผลิตน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 เป็นต้นไป ซึ่งกองทุนน้ำมันฯ จะมีภาระจากการชดเชยในส่วนของต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ประมาณ 190 ล้านบาทต่อเดือน หรือเป็นจำนวนเงินชดเชยก่อนถึงวันบังคับใช้ประมาณ 8,718 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบในหลักการให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายเงินชดเชยให้แก่โรงกลั่นน้ำมันที่ผลิตน้ำมันดีเซลและเบนซินมาตรฐานยูโร 4 ได้ก่อนวันมีผลบังคับใช้ ในอัตราไม่เกิน 0.24 บาทต่อลิตร
2. มอบหมายให้กรมสรรพสามิต และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ร่วมกันจัดระบบการจ่ายเงินชดเชยและส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันดีเซลและเบนซินมาตรฐานยูโร 4 โดยให้ กรมสรรพสามิตเป็นผู้รับผิดชอบตรวจสอบปริมาณการผลิตน้ำมันดีเซลและเบนซินมาตรฐานยูโร 4 และให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงานเป็นผู้รับผิดชอบด้านการจ่ายเงินชดเชยและรับเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
3. มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานไปดำเนินการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพน้ำมันดีเซลและเบนซินให้ได้ตามมาตรฐานยูโร 4
4. มอบหมายให้ประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เป็นผู้ให้ความเห็นชอบแทนคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ในการทบทวนอัตราเงินชดเชยให้แก่โรงกลั่นน้ำมันที่ผลิตน้ำมันดีเซลและเบนซินมาตรฐานยูโร 4 ได้ก่อนวันมีผลบังคับใช้ ได้ตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
เรื่องที่ 3 แนวทางการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี2
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2550 กบง. ได้มีมติดังนี้ 1) เห็นชอบนโยบายการส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ โดย มอบหมายให้ ธพ. รับไปดำเนินการออกประกาศกำหนดคุณภาพของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วให้สามารถผสมไบโอดีเซลได้ในระดับไม่เกินร้อยละ 2 โดยปริมาตร โดยให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด และออกประกาศกำหนดคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็วให้ต้องผสมไบโอดีเซลร้อยละ 2 โดยปริมาตร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2551 พร้อมทั้งเร่งดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 เพื่อให้กลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์รับรองการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ตลอดจนตรวจสอบการผลิตของโรงงานผลิตไบโอดีเซล(B100) และพิจารณากำหนดให้ผู้ผลิตไบโอดีเซล (B100) ต้องจดทะเบียนหรือขอความเห็นชอบจาก ธพ. ก่อน จึงจะสามารถจำหน่ายไบโอดีเซลได้ และ 2) เห็นชอบให้ใช้กองทุนน้ำมันฯ จ่ายชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาไบโอดีเซล (B100) กับราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผสมสำหรับไบโอดีเซล (B100) ที่นำมาผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมไบโอดีเซลไม่เกินร้อยละ 2 และร้อยละ 5
2. สถานการณ์ของน้ำมันไบโอดีเซล เดือนพฤศจิกายน 2550 มีผู้ผลิตไบโอดีเซลที่ได้คุณภาพตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงานจำนวน 8 ราย กำลังการผลิตติดตั้งรวม 1,500,000 ลิตรต่อวัน และปริมาณการผลิตจริง ณ เดือนตุลาคม 2550 จากผู้ผลิตจำนวน 6 ราย อยู่ที่ระดับ 349,700 ลิตรต่อวัน ส่วนราคาไบโอดีเซลเฉลี่ยเดือนพฤศจิกายน 2550 อยู่ที่ระดับ 35.03 บาทต่อลิตร การจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 อยู่ที่ระดับ 3.11 ล้านลิตรต่อวัน หรือมีการใช้ไบโอดีเซล (B100) เฉลี่ย 155,500 ลิตรต่อวัน และเดือนธันวาคม 2550 ราคาไบโอดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่ 36.09 บาทต่อลิตร ในช่วงวันที่ 1 - 15 ธันวาคม การจำหน่ายอยู่ที่ระดับ 3.47 ล้านลิตรต่อวัน หรือมีการใช้ไบโอดีเซล 173,500 ลิตรต่อวัน โดยมีบริษัทน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 จำนวน 4 ราย ได้แก่ ปตท. บางจาก เชลล์ และ ปตท.รีเทล (คอนอคโค) สถานีบริการรวมทั้งสิ้น 900 แห่ง แบ่งเป็น ปตท. 220 แห่ง บางจาก 679 แห่ง และ ปตท.(รีเทล) 1 แห่ง ส่วนเชลล์จำหน่ายให้กับอุตสาหกรรม
3. ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ปัจจุบันใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ ชดเชยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 เท่ากับ 0.10 บาทต่อลิตร และราคาขายปลีกอยู่ที่ 27.94 บาทต่อลิตร ซึ่งต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 1.00 บาทต่อลิตร และกองทุนน้ำมันฯ ชดเชยราคาไบโอดีเซล (B100) 18.51 บาทต่อลิตร หรือคิดเป็นอัตราเงินชดเชย 0.37 บาทต่อลิตร ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี2 และ อัตราเงินชดเชย 0.93 บาทต่อลิตร ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5
4. เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2550 กบง. ได้มีมติเห็นชอบนโยบายส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ โดยกรมธุรกิจพลังงานได้ออกประกาศกำหนดคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็วให้ต้องผสมไบโอดีเซลร้อยละ 2 โดยปริมาตร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2551 เป็นต้นไป ซึ่งในปัจจุบันสามารถผลิตไบโอดีเซล (B100) ที่มีคุณภาพได้เพียงพอสำหรับการผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี2 ได้ทั้งหมด กระทรวงพลังงาน จึงเห็นควรเร่งการบังคับให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติต้องผสมไบโอดีเซล (B100) ในระดับร้อยละ 2 โดยปริมาตรให้เร็วขึ้นเป็นตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม โรงกลั่นและผู้ค้าน้ำมันยังมีข้อจำกัดของการผสมไบโอดีเซล (B100) ในน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยยังไม่มีความพร้อมของการใช้ระบบการผสมแบบอัตโนมัติ (Inline Blending) ดังนั้น ในช่วงแรกจึงจะอาจจะต้องให้มียืดหยุ่นในเรื่องการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
5. เมื่อการกำหนดคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติ เป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี2 มีผลบังคับใช้แล้ว การใช้มาตรการกองทุนน้ำมันฯ เพื่อจูงใจให้มีการผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี2 จึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป แต่เห็นควรให้คงเหลือการใช้กองทุนน้ำมันฯเป็นกลไกในการรักษาระดับค่าการตลาดและส่วนต่างของราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ให้ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เช่นเดียวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล โดยเห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และดีเซลหมุนเร็วบี 5 การรักษาระดับราคาขายปลีก และค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ดังต่อไปนี้
5.1 การกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และ
ดีเซลหมุนเร็ว บี5
ราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว | = | 98% ของราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว + 2% ของราคาไบโอดีเซล (B100) |
ราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 | = | 95% ของราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว + 5% ของราคาไบโอดีเซล (B100) |
โดยที่
- ราคาไบโอดีเซล (B100) อ้างอิงจากประกาศ กบง.
- ราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วคำนวณจาก
- (ราคา MOP GO 0.5% + พรีเมียม) ที่ 60° F x อัตราแลกเปลี่ยน / 158.984
- ใช้ Conversion factor 60° F / 86° F
- ราคาน้ำมันสำเร็จรูปเป็น MOPS (Mean of Platt's Singapore)
5.2 ให้ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ ในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในระดับ 0.50 - 1.00 บาทต่อลิตร
5.3 เพื่อส่งเสริมและจูงใจให้ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 มากขึ้น จึงควรกำกับดูแลค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ให้อยู่ในระดับที่ไม่น้อยกว่าค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยใช้กลไกอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ
6. จากนโยบายส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์โดยการจ่ายเงินชดเชยราคาไบโอดีเซล (B100) ที่นำมาผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมไบโอดีเซลไม่เกินร้อยละ 2 เมื่อถึงกำหนดวันบังคับใช้ จะทำให้ความต้องการใช้ไบโอดีเซล (B100) อยู่ที่ระดับประมาณ 1 ล้านลิตรต่อวัน และกองทุนน้ำมันฯ จะมีภาระจ่ายชดเชยประมาณ 540 ล้านบาทต่อเดือน ตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลเร็วใหม่ จะทำให้กองทุนน้ำมันฯ ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยในส่วนของไบโอดีเซล (B100) ที่นำมาผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมไบโอดีเซลร้อยละ 2 โดยปริมาตร อย่างไรก็ตาม ราคาไบโอดีเซล (B100) ที่นำมาผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมไบโอดีเซลร้อยละ 2 ได้ถูกส่งผ่านไปยังราคาขายปลีก ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมไบโอดีเซลร้อยละ 2 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.28 บาทต่อลิตร
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ยกเลิกการกำหนดอัตราเงินชดเชยราคาไบโอดีเซล (B100) ที่นำมาผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมไบโอดีเซลไม่เกินร้อยละ 2 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5
2. เห็นชอบการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และดีเซลหมุนเร็ว บี5 การรักษาระดับราคาขายปลีกและค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ดังต่อไปนี้
(1) การกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และดีเซลหมุนเร็วบี 5
ราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว | = | 98% ของราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว + 2% ของราคาไบโอดีเซล (B100) |
ราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 | = | 95% ของราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว + 5% ของราคาไบโอดีเซล (B100) |
โดยที่
- ราคาไบโอดีเซล (B100) อ้างอิงจากประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
- ราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วคำนวณจาก
- (ราคา MOP GO 0.5% + พรีเมียม) ที่ 60°F X อัตราแลกเปลี่ยน / 158.984
- ใช้ Conversion factor 60°F / 86°F
- ราคาน้ำมันสำเร็จรูปเป็น MOPS (Mean of Platt's Singapore)
(2) ให้ใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในระดับ 0.50 - 1.00 บาทต่อลิตร
(3) เพื่อส่งเสริมและจูงใจให้ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 มากขึ้น จึงเห็นควรกำกับดูแลค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ให้อยู่ในระดับที่ไม่น้อยกว่าค่าการตลาดน้ำมันดีเซล หมุนเร็วโดยใช้กลไกอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ทั้งนี้ มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อมีผลบังคับใช้พร้อมกับประกาศกำหนดคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงของกรมธุรกิจพลังงานต่อไป
ครั้งที่ 24 - วันจันทร์ ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 7/2550 (ครั้งที่ 24)
วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เวลา 15.00 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1.แนวทางในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
3. การเรียกเก็บค่าชดเชยพลังงานไฟฟ้าสูญเสีย (Energy Loss) ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
6. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (ตุลาคม - 28 พฤศจิกายน 2550)
8. รายงานผลการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
9. รายงานความก้าวหน้าการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล
10. รายงานความก้าวหน้าการส่งเสริมการใช้ NGV ในยานยนต์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการออกประกาศเกี่ยวกับการยกเลิกการชดเชยราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว เพื่อให้ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศสะท้อนราคาต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนโดยไม่มีผลกระทบต่อประชาชนมาก
เรื่องที่ 1 แนวทางในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2550 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบแนวทางบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงภายหลังการใช้หนี้หมด โดยให้โอนอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ให้แก่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงานปกติในระดับ 0.18 บาทต่อลิตร ค่าใช้จ่ายสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบขนส่ง 0.50 บาทต่อลิตร และเพื่อลดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง 0.50 บาทต่อลิตร และเมื่อกองทุนน้ำมันฯ ได้สะสมเงินไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในภาวะฉุกเฉินและเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงได้เพียงพอแล้ว ให้เพิ่มการโอนอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปยังกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับโครงการพัฒนาระบบขนส่งอีก 0.20 บาทต่อลิตร และต่อมา กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 ได้เห็นชอบการดำเนินการดังนี้
การโอนอัตราเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ให้แก่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
หน่วย : บาท/ลิตร
ชนิดน้ำมัน | แผนงานปกติ | โครงการพัฒนาระบบการขนส่ง | |
ครั้งที่ 1 | ครั้งที่ 2 | ||
1) เบนซิน | 0.1800 | 0.5000 | 0.2000 |
2) แก๊สโซฮอล | 0.1870 | - | 0.2000 |
3) ดีเซลหมุนเร็ว | 0.1800 | 0.5000 | 0.2000 |
4) ไบโอดีเซลบี 5 | 0.1835 | - | 0.2000 |
วันที่เริ่มมีผลบังคับใช้ | วันที่ 17 ธ.ค. 2550 | เมื่อหนี้กองทุนน้ำมันฯ เป็น 0(ประมาณ ธ.ค. 50 - ม.ค.51) | วันที่ 1 ต.ค. 2551 |
2. เนื่องจากราคาน้ำมันในเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2550 ได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก ดังนั้น เพื่อไม่ให้ราคาขายปลีกในประเทศปรับตัวสูงขึ้นมากตามต้นทุนราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนราคาสินค้า ประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) จึงได้นำอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ที่เตรียมไว้สำหรับลดราคาขายปลีกน้ำมันมาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันเบนซิน 91, แก๊สโซฮอล, ดีเซลและดีเซลหมุนเร็วบี 5 จำนวน 3 ครั้ง ลดลงรวม 0.40, 0.60, 0.80 และ 1.10 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
3. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 มีเงินสดสุทธิ 13,496 ล้านบาท มีหนี้สินค้างชำระ 15,639 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิติดลบ 2,143 ล้านบาท ประมาณการรายได้สุทธิของกองทุนน้ำมันฯ อยู่ที่ระดับ 2,178 ล้านบาทต่อเดือน โดยคาดว่า ฐานะกองทุนน้ำมันฯ จะเป็นบวกประมาณปลายเดือนธันวาคม 2550
4. เพื่อเป็นการดำเนินการตามมติ กพช. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้เสนอให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน, แก๊สโซฮอล, ดีเซลและดีเซลหมุนเร็วบี 5 ลง 0.1800, 0.1870, 0.1800 และ 0.1835 บาทต่อลิตร ตามลำดับ เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่17 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป และเมื่อหนี้สินสุทธิของกองทุนน้ำมันฯ เป็นศูนย์ให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและดีเซลลงอีก 0.50 บาทต่อลิตร โดยมอบอำนาจให้ ประธาน กบง. เป็นผู้พิจารณากำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินการ และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป ให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน, แก๊สโซฮอล, ดีเซลและดีเซลหมุนเร็วบี 5 ลงอีก 0.20 บาท/ลิตร ทั้งนี้ มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
มติของที่ประชุม
1. รับทราบการปรับลดอัตรากองทุนน้ำมันฯ เพื่อบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมัน
2. ให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน, แก๊สโซฮอล, ดีเซลและดีเซลหมุนเร็วบี 5 ลง 0.1800, 0.1870, 0.1800 และ 0.1835 บาทต่อลิตร ตามลำดับ โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป
3. ให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซินและดีเซลลง 0.50 บาทต่อลิตร เมื่อหนี้สินสุทธิของกองทุนน้ำมันฯ เป็นศูนย์ โดยมอบอำนาจให้ ประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เป็นผู้พิจารณากำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินการ
4. ให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน, แก๊สโซฮอล, ดีเซลและดีเซลหมุนเร็วบี 5 ลงอีก 0.20 บาทต่อลิตร เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานในการส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล โดยเพิ่มสัดส่วนการผสมเอทานอลจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 หรือมากกว่า และสนับสนุนให้อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันซึ่งมีส่วนผสมของ เอทานอลร้อยละ 20 หรือสัดส่วนที่มากกว่า และต่อมาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง และกระทรวงการคลังได้ออกประกาศลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน ประเภทใช้เชื้อเพลิงทดแทนที่มีกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
2. กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้ดำเนินการออกประกาศเรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล พ.ศ. 2549 โดยกำหนดให้ปริมาณสารอะโรมาติกในน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ออกเทน 95 ไม่สูงกว่าร้อยละ 35 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ต่อมากลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ได้มีหนังสือขอให้ ธพ. พิจารณาทบทวนผ่อนผันการกำหนดปริมาณสารอะโรมาติกในน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ออกเทน 95 ดังกล่าว เป็นไม่สูงกว่าร้อยละ 38 ในระหว่างปี 2551-2554 เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่โรงกลั่นกำลังดำเนินการปรับปรุงเพื่อเตรียมการผลิตน้ำมันตามมาตรฐานใหม่ (ยูโร 4) จึงเป็นเหตุให้โรงกลั่นน้ำมันบางแห่งยังไม่สามารถผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอลที่มีค่าอะโรมาติกไม่สูงกว่าร้อยละ 35 ได้ทันในวันที่ 1 มกราคม 2551
3. ธพ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรฐานน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 เพื่อรองรับรถยนต์ อี 20 ที่จะนำมาจำหน่ายในต้นปี 2551 และสนับสนุนให้มีการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 ในเชิงพาณิชย์ และพิจารณาผ่อนผันปริมาณสารอะโรมาติกในน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ออกเทน 95 โดย ธพ. ได้ดำเนินการออกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 โดยมีสาระสำคัญ คือ กำหนดมาตรฐานน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 และกำหนดมาตรฐานน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ออกเทน 95 เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 มีสารอะโรมาติกไม่สูงกว่าร้อยละ 35 และชนิดที่ 2 มีสารอะโรมาติกไม่สูงกว่าร้อยละ 38 และ ธพ. ขอให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) พิจารณาเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแก๊สโซฮอลที่มีสารอะโรมาติกไม่สูงกว่าร้อยละ 38 ให้สูงกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอลที่มีสารอะโรมาติกไม่สูงกว่าร้อยละ 35 เพื่อให้มีข้อแตกต่างกับโรงกลั่นที่สามารถผลิตน้ำมันที่มีปริมาณสารอะโรมาติกไม่สูงกว่าร้อยละ 35
4. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 สนพ. ธพ. และผู้ผลิตน้ำมัน ได้ร่วมหารือเพื่อให้สอดคล้องกับประกาศของ ธพ. โดยจากการประชุมดังกล่าว สนพ. พิจารณาแล้วเห็นควร ดังนี้
4.1 การกำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20
1) ให้กำหนดราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันพื้นฐานแก๊สโซฮอล อี20 เท่ากับราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันเบนซิน 95 + 1.7 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับราคาที่เหมาะสมและสามารถจูงใจให้มีการผลิตและจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20
2) เพื่อส่งเสริมและจูงใจให้ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 มากขึ้น โดยควรกำกับดูแลค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 ให้อยู่ในระดับที่ไม่น้อยกว่าค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน โดยใช้กลไกอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อสนับสนุนให้มีการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 ได้เร็วขึ้น โดยในช่วงแรกอาจให้ค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 สูงกว่าค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ได้ระดับหนึ่ง จึงเห็นควรกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 ให้เท่ากับน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ออกเทน 95 (ชนิดที่ 1)
4.2 การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ออกเทน 95 (ชนิดที่ 2) ที่มีปริมาณสารอะโรมาติกร้อยละ 38
1) ใช้หลักการกำหนดจากส่วนต่างระหว่างราคาน้ำมันเบนซินที่มีสารอะโรมาติกร้อยละ 50 กับน้ำมันเบนซินที่มีสารอะโรมาติกร้อยละ 35 ที่มีการซื้อขายจริงในตลาดสิงคโปร์ แล้วใช้วิธีคำนวณหาส่วนต่างของราคาน้ำมันเบนซินที่มีสารอะโรมาติกร้อยละ38 (ซึ่งไม่มีซื้อขายในตลาดสิงคโปร์)
2) จากข้อมูลราคาน้ำมันเบนซินที่มีการซื้อขายจริงในตลาดสิงคโปร์ในเดือนพฤศจิกายน 2550 พบว่า ราคาน้ำมันเบนซินที่มีสารอะโรมาติกร้อยละ 50 กับน้ำมันเบนซินที่มีสารอะโรมาติกร้อยละ 35 จะแตกต่างกันประมาณ 1 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นส่วนต่างของราคาน้ำมันเบนซินที่มีสารอะโรมาติกร้อยละ 35 กับน้ำมันเบนซินที่มีสารอะโรมาติกร้อยละ 38 จะอยู่ระดับ 0.20 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล หรือเท่ากับ 0.05 บาทต่อลิตร
5. การกำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 ดังนี้
1) ให้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 เท่ากับ 80% ของ [ราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันเบนซินออกเทน 95 + (1.7 $/BBL x อัตราแลกเปลี่ยน /158.984)] + 20% ของราคาเอทานอล
2) ให้ระดับราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล อี 20 ถูกกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ออกเทน 95 (ชนิดที่ 1) ไม่น้อยกว่า 0.50 บาทต่อลิตร
3) ให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ เพื่อเป็นกลไกในการรักษาระดับค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 ให้ไม่ต่ำกว่าค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน
4) ในช่วงแรกให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 เท่ากับน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ออกเทน 95 (ชนิดที่ 1) โดยมอบอำนาจให้ประธาน กบง. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบในการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม
6. ให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ออกเทน 95 (ชนิดที่ 2) ที่มีสารอะโรมาติกร้อยละ 38 สูงกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ออกเทน 95 (ชนิดที่ 1) ที่มีสารอะโรมาติกร้อยละ 35 เท่ากับ 0.05 บาท/ลิตร
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบการกำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 ดังนี้
1.1 ให้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 เท่ากับ 80% ของ [ราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันเบนซินออกเทน 95 + (1.7 $/BBL x อัตราแลกเปลี่ยน /158.984)] + 20% ของราคาเอทานอล
1.2 ให้ระดับราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 ถูกกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ออกเทน 95 (ชนิดที่ 1) ประมาณ 1.00 บาทต่อลิตร
1.3 ให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อเป็นกลไกในการรักษาระดับค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 ให้ไม่ต่ำกว่าค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน เช่นเดียวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10
1.4 ในช่วงแรกให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 เท่ากับน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ออกเทน 95 (ชนิดที่ 1) โดยมอบอำนาจให้ประธาน กบง. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบในการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ตามความเหมาะสม
2. ให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ออกเทน 95 (ชนิดที่ 2) ที่มีสารอะโรมาติกร้อยละ 38 สูงกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 ออกเทน 95 (ชนิดที่ 1) ที่มีสารอะโรมาติกร้อยละ 35 เท่ากับ 0.05 บาทต่อลิตร
ทั้งนี้ มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป
เรื่องที่ 3 การเรียกเก็บค่าชดเชยพลังงานไฟฟ้าสูญเสีย (Energy Loss) ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลได้มีนโยบายการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจการผลิตไฟฟ้า โดยได้ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) เมื่อปี 2535 เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สามารถรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ที่ผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนอกรูปแบบ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิง และการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ Cogeneration ซึ่งเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานนอกรูปแบบและแหล่งพลังงานภายในประเทศให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น และเป็นการลดการลงทุนของภาครัฐในระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า
2. การดำเนินงานตามนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ที่ผ่านมา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ทำสัญญาเชื่อมโยงระบบกับ SPP โดยมี SPP 2 ราย คือ บริษัท อมตะ เพาเวอร์ (บางปะกง) จำกัด และบริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จำกัด ที่ กฟภ. กำหนดให้ชำระค่าชดเชยการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า (Loss) ให้กับ กฟภ. ขณะที่ตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ไม่ได้กำหนดให้ SPP ต้องลงนามในสัญญาเพื่อจ่ายค่า Loss
3. เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2547 คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า ได้พิจารณาเรื่อง ผลกระทบของ SPP ต่อการสูญเสียพลังงานในระบบไฟฟ้า และได้มีมติเห็นควรให้การรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ไม่ต้องคิดค่าชดเชย Loss ยกเว้นในกรณี SPP จำนวน 2 ราย ที่ได้ทำสัญญาชดเชย Loss กับ กฟภ. แล้ว โดยให้ กฟภ. ปรับปรุงวิธีการคิดค่าชดเชย Loss เช่น กำหนดรูปแบบมาตรฐานการเก็บข้อมูลสำหรับการคำนวณให้ชัดเจน ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณควรใช้ค่าเฉลี่ยของความต้องการไฟฟ้า และข้อมูลกำลังการผลิตของ SPP โดยใช้ค่าเฉลี่ยรายเดือน นอกจากนี้ การคำนวณค่า Loss ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ให้ใช้ Single Line Diagram และใช้ข้อมูลป้อนรายเดือน เป็นต้น ทั้งนี้ กรณี SPP ที่ได้ทำสัญญาชดเชยค่า Loss กับ กฟภ. แล้ว หากต้องการยกเลิกสัญญาต้องเป็นการยินยอมจากทั้ง 2 ฝ่าย หรืออาจตกลงกันว่าเมื่อค่า Loss มีค่าเป็นศูนย์ ให้ยุติการคิดค่าชดเชย Loss
4. บริษัท อมตะ เพาเวอร์ (บางปะกง) จำกัด ได้มีหนังสือถึง รมว.พน. แจ้งให้ทราบว่าบริษัทฯ ได้ทำสัญญาเชื่อมโยงระบบกับ กฟภ. เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2544 และได้มีการจ่ายชดเชยค่า Loss ตั้งแต่เดือนกันยายน 2544 - กุมภาพันธ์ 2549 และต่อมา กฟภ. ได้แจ้งบริษัทฯ ว่า เดือนมีนาคม - มิถุนายน 2549 ไม่มีหน่วยสูญเสีย บริษัทฯ จึงได้มีหนังสือถึง กฟภ. ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2549 เพื่อขอแก้ไขสัญญาเชื่อมโยงระบบสำหรับ SPP โดยขอให้ กฟภ. พิจารณายกเลิกการเก็บค่าชดเชย Loss ซึ่ง กฟภ. ได้พิจารณาแล้วเห็นควรให้คงข้อความตามสัญญาเชื่อมโยงระบบสำหรับ SPP ของบริษัทฯ ไว้เหมือนเดิม
5. คณะอนุกรรมการฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2550 ได้พิจารณาเรื่อง การเรียกเก็บค่าชดเชยพลังงานไฟฟ้าสูญเสีย (Energy Loss) ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
5.1 คณะอนุกรรมการฯ มีความเห็นและข้อเสนอแนะดังนี้ (1) กระทรวงพลังงานยังคงนโยบายให้การรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ไม่ต้องคิดค่าชดเชย Loss เนื่องจากผลกระทบจากการเชื่อมโยงกับระบบของ SPP กับการไฟฟ้า จะขึ้นอยู่กับกำลังผลิตและตำแหน่งที่ตั้งของ SPP ซึ่งบางตำแหน่งอาจช่วยลด Loss ในระบบได้ โดยการไฟฟ้าสามารถกำหนดหลักเกณฑ์การเชื่อมโยงระบบ และวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดที่เหมาะสมของ SPP ก่อนอนุญาตให้เชื่อมโยงกับระบบได้อยู่แล้ว และ (2) ปัจจุบันได้มีการขยายการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP เพิ่มขึ้น และมีการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ทำให้ในบางตำแหน่งอาจกระทบกับระบบของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ ดังนั้น จึงเห็นควรพิจารณาทบทวนเรื่อง การเก็บค่าชดเชย Loss สำหรับ SPP และ VSPP โดยในกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายประสงค์ที่จะให้มีสัญญาเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าและต้องการคิดค่าชดเชย Loss ก็ให้มีการคิดค่าชดเชย Loss บนหลักเกณฑ์ที่ เท่าเทียมกัน กล่าวคือ ให้มีการคิดค่าชดเชย Loss ในระบบที่เพิ่มขึ้นจาก SPP และ VSPP และมีการจ่ายค่าชดเชย Loss ในระบบของการไฟฟ้าที่ลดลงให้กับ SPP และ VSPP ด้วย
5.2 คณะอนุกรรมการฯ มีมติดังนี้ (1) เห็นชอบในหลักการให้การรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP และ VSPP ไม่ต้องคิดค่าชดเชย Loss และ (2) เห็นควรให้ กฟภ. ยกเลิกการคิดค่าชดเชย Loss ตามสัญญาเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าของ SPP ที่มีปริมาณพลังงานไฟฟ้าสูญเสียมีค่าเป็นศูนย์แล้ว
6. เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 กพช. ได้มีมติมอบหมายให้ กบง. เป็นผู้วินิจฉัยปัญหาจากการปฏิบัติตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ในประเด็นที่ไม่ใช่ปัญหาด้านนโยบาย เพื่อให้การแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติที่มีลักษณะดังกล่าวสามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็ว และเสนอ กพช. เพื่อทราบต่อไป ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอให้พิจารณารับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า ดังรายละเอียดข้อ 5.1และขอความเห็นชอบมติของคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า ดังรายละเอียดข้อ 5.2
มติของที่ประชุม
1. รับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า ดังนี้
1.1 กระทรวงพลังงานยังคงนโยบายให้การรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ไม่ต้องคิดค่าชดเชยพลังงานไฟฟ้าสูญเสีย เนื่องจากผลกระทบจากการเชื่อมโยงกับระบบของ SPP กับการไฟฟ้า จะขึ้นอยู่กับกำลังผลิตและตำแหน่งที่ตั้งของ SPP ซึ่งบางตำแหน่งอาจช่วยลด Loss ในระบบได้ โดยการไฟฟ้าสามารถกำหนดหลักเกณฑ์การเชื่อมโยงระบบ และวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดที่เหมาะสมของ SPP ก่อนอนุญาตให้เชื่อมโยงกับระบบได้อยู่แล้ว
1.2 เห็นควรพิจารณาทบทวนเรื่อง การเก็บค่าชดเชย Loss สำหรับ SPP และ VSPP โดย ในกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายประสงค์ที่จะให้มีสัญญาเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าและต้องการคิดค่าชดเชย Loss โดยให้คิดค่าชดเชยพลังงานไฟฟ้าสูญเสียบนหลักเกณฑ์ที่เท่าเทียมกัน กล่าวคือ ให้คิดค่าชดเชยพลังงานไฟฟ้าสูญเสียในระบบที่เพิ่มขึ้นจาก SPP และ VSPP และจ่ายค่าชดเชยพลังงานไฟฟ้าสูญเสีย ในระบบของการไฟฟ้าที่ลดลงให้กับ SPP และ VSPP ด้วย
2. เห็นชอบตามมติของคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า ดังนี้
2.1 เห็นชอบในหลักการให้การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้า ขนาดเล็กมาก (VSPP) ไม่ต้องคิดค่าชดเชยพลังงานไฟฟ้าสูญเสีย
2.2 เห็นควรให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ยกเลิกการคิดค่าชดเชยพลังงานไฟฟ้าสูญเสีย ตามสัญญาเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่มีปริมาณพลังงานไฟฟ้าสูญเสียมีค่าเป็นศูนย์แล้ว
สรุปสาระสำคัญ
1. กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนน้ำมันฯ เพื่อดำเนินโครงการผลิตวิทยากรการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ในรถยนต์ (Training the Trainer) ในวงเงิน 8.39 ล้านบาท เพื่อผลิตวิทยากรที่จะไปอบรมติดตั้งอุปกรณ์ NGV ในรถยนต์ให้เพียงพอกับความต้องการในอนาคต โดย ธพ. ได้ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 150 คน แต่เนื่องจากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานไม่ได้จัดตั้งงบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดซื้อชุดเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรมช่างชำนาญการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ในรถยนต์ ให้กับหน่วยงานส่วนภูมิภาคและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน
2. วันที่ 19 พฤศจิกายน 2550 ธพ. ได้มีหนังสือถึงฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนน้ำมันฯ ในการดำเนินโครงการ "จัดซื้อชุดเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรมช่างชำนาญการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ในรถยนต์" เพื่อจัดซื้อชุดเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรมช่างชำนาญการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ในรถยนต์ให้กับส่วนภูมิภาค หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานที่เป็นศูนย์กลางประจำภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 4 ชุด ในวงเงินงบประมาณ 10.6 ล้านบาท โดยมีสำนักความปลอดภัยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธพ. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 เดือนนับจากวันที่ลงนามในสัญญา
มติของที่ประชุม
อนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่นๆ ประจำดยมีระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน ชอบโครงการ ใช้ก๊าซบอากาศหรับฝึกติดตั้งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวนรวม 4 ชุดปีงบประมาณ 2551 ให้กับกรมธุรกิจพลังงาน ในการดำเนินโครงการจัดซื้อชุดเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรมช่างชำนาญการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ในรถยนต์ ในวงเงิน 10,600,000 บาท (สิบล้านหกแสนบาทถ้วน) ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือนนับจากวันที่ลงนามในสัญญา
สรุปสาระสำคัญ
1. กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อดำเนินโครงการ เสริมสร้างผู้ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV ในวงเงิน 14.25 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2549 - 29 กุมภาพันธ์ 2551 มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตผู้ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV ให้เพียงพอกับความต้องการในอนาคต โดย ธพ. ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ในการจัดฝึกอบรมเพื่อผลิตผู้ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV รวมทั้งจัดหาชุดเครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV ให้กับวิทยาลัยเทคนิคในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการฯ เมื่อโครงการดำเนินการแล้วเสร็จจะมีสถานที่ตรวจและทดสอบที่ได้มาตรฐานทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 29 จังหวัด
2. เนื่องจากในปีงบประมาณ 2551 ตามแผนการขยายสถานีบริการ NGV ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) คาดว่าจะมีการกระจายของสถานีบริการฯ ในจังหวัดต่างๆ จำนวนกว่า 45 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อผลักดันยุทธศาสตร์การใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง ธพ. จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างผู้ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV ระยะที่ 2 ขึ้นโดยจัดฝึกอบรมเพื่อผลิตผู้ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV รวมทั้งจัดหาชุดเครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV ให้กับวิทยาลัยเทคนิคในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการฯ เพิ่มเติมอีก 16 จังหวัด
3. เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550 ธพ. ได้มีหนังสือถึงฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนน้ำมันฯ ในการดำเนินโครงการ "เสริมสร้างผู้ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV ระยะที่ 2" เพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรที่ทำหน้าที่ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และเพื่อเพิ่มสถานที่ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV ให้กระจายไปในจังหวัดที่มีสถานีบริการ NGV ให้ครบถ้วนทั่วทั้งประเทศ ดำเนินการโดยจัดซื้อชุดเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV จำนวน 16 ชุด และจัดฝึกอบรมบุคลากรจากวิทยาลัยเทคนิค จำนวน 16 จังหวัดๆ ละ 4 คน รวมทั้งหมด 64 คน ในวงเงินงบประมาณ 10.5 ล้านบาท โดยมีสำนักความปลอดภัยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธพ. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 เดือนนับจากวันลงนามในสัญญา
มติของที่ประชุม
อนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่นๆ ประจำดยมีระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน ชอบโครงการ ใช้ก๊าซบอากาศหรับฝึกติดตั้งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวนรวม 4 ชุดปีงบประมาณ 2551 ให้กับกรมธุรกิจพลังงาน ในการดำเนินโครงการเสริมสร้างผู้ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV ระยะที่ 2 ในวงเงิน 10,500,000 บาท (สิบล้านห้าแสนบาทถ้วน) ระยะเวลาดำเนินการ 9 เดือนนับจากวันลงนามในสัญญา
เรื่องที่ 6 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (ตุลาคม - 28 พฤศจิกายน 2550)
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์เฉลี่ยเดือนตุลาคม 2550 อยู่ที่ระดับ 77.12 และ 82.45 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 3.76 และ 5.63 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ เนื่องจากข่าวกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกาประกาศปริมาณสำรองน้ำมัน ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2550 ลดลงทุกชนิด ประกอบกับข่าวค่าเงินสกุลดอลล่าห์สหรัฐฯ อ่อนตัวลดลงต่ำสุด และต่อมาในช่วงวันที่ 1 - 28 พฤศจิกายน ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 86.99 และ 92.82 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐฯ อ่อนตัวลงมากและแผ่นดินไหวในอิหร่านที่อาจมีผลต่ออุตสาหกรรมน้ำมัน และญี่ปุ่นยังคงนำเข้าน้ำมันอย่างต่อเนื่องเพื่อทดแทนพลังงานนิวเคลียร์ ประกอบกับ PIRA คาดว่าปริมาณการใช้น้ำมันเพื่อความอบอุ่นจะเพิ่มขึ้น รวมทั้งเหตุเพลิงไหม้หลุมขุดเจาะ Thistle Alpha บริเวณทะเลเหนือได้ส่งผลให้ปริมาณการผลิตประมาณ 5,000 บาร์เรลต่อวันได้หยุดดำเนินการชั่วคราว
2. ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2550 อยู่ที่ระดับ 88.71, 87.46 และ 95.08 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 6.20, 6.11 และ 4.37 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและโรงกลั่น Dumai กำลังผลิต 120,000 บาร์เรลต่อวันของอินโดนีเซียจะปิดซ่อมบำรุงในช่วงเดือนพฤศจิกายน รวมทั้งข่าวเพลิงไหม้ที่โรงกลั่น S-Oil ของเกาหลีใต้และข่าว Chinese Petroleum Corp. ของไต้หวันลดการส่งออกน้ำมันดีเซลในเดือนธันวาคมอยู่ที่ระดับ 120,000 ตัน และในช่วงวันที่ 1 - 28 พฤศจิกายน ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 100.42, 99.10 และ 106.96 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและอุปทาน Heating Oil ในยุโรปตึงตัวจากโรงกลั่น Gonfreville ในฝรั่งเศสเลื่อนกำหนดเดินเครื่องใหม่ออกไปอีก 1 สัปดาห์ ประกอบกับโรงกลั่น Yokkaichi (175,000 บาร์เรลต่อวัน) ของประเทศญี่ปุ่นเลื่อนการเดินเครื่องใหม่ (13,500 บาร์เรลต่อวัน) ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันดีเซล 0.5%S ทำสถิติอยู่ในระดับสูงสุดอีกครั้งที่ 111.120 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
3. เดือนตุลาคม ผู้ค้าน้ำมันปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95, 91แก๊สโซฮอล 95, 91 เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น 0.40 บาท/ลิตร จำนวน 3 ครั้ง และปรับราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เพิ่มขึ้น 0.40 บาท/ลิตร จำนวน 2 ครั้ง ดีเซลหมุนเร็วบี 5 เพิ่มขึ้น 0.40 บาท/ลิตร จำนวน 1 ครั้ง และเพิ่มขึ้น 0.10 บาท/ลิตร จำนวน 1 ครั้งและในช่วงวันที่ 1 - 28 พฤศจิกายน ผู้ค้าน้ำมันปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95, 91แก๊สโซฮอล 95, 91, ดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนเร็วบี 5 เพิ่มขึ้น 0.50 บาท/ลิตร จำนวน 1 ครั้ง เพิ่มขึ้น 0.40 บาท/ลิตร จำนวน 1 ครั้ง และเพิ่มขึ้น 0.30 บาท/ลิตร จำนวน 1 ครั้ง ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 แก๊สโซฮอล 95, 91 ดีเซลหมุนเร็ว และดีเซลหมุนเร็วบี 5 ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 อยู่ที่ระดับ 32.89, 31.59, 28.89, 28.09, 29.34 และ 28.34 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
4. แนวโน้มราคาน้ำมันเดือนธันวาคม 2550 คาดว่าราคาน้ำมันยังคงมีความผันผวนและแกว่งตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์จะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 85 - 90 และ 90 - 95 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากปริมาณสำรองน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลงและเข้าเก็งกำไรในตลาดน้ำมันของกลุ่มเฮดฟันท์ รวมทั้งสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิต สำหรับราคาน้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในตลาดจรสิงคโปร์เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 100 - 105 และ 105 - 110 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและความต้องการใช้น้ำมันดีเซลที่เพิ่มมากขึ้นในฤดูหนาว และค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องและความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นของประเทศที่กำลังพัฒนา
5. สำหรับสถานการณ์ LPG ช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2550 ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 172.00 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน มาอยู่ที่ระดับ 740.00 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ตามต้นทุนราคาน้ำมันดิบและความต้องการในภูมิภาคเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและความอบอุ่น ขณะที่อุปทานในภูมิภาคตึงตัวจากโรงกลั่นในไทยปิดซ่อมบำรุงประจำปี อย่างไรก็ตามจากระดับราคาที่สูงส่งผลให้ปริมาณความต้องการเริ่มปรับตัวลดลง ราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นอยู่ในระดับ 10.9962 บาทต่อกิโลกรัม อัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่จำหน่ายในประเทศอยู่ในระดับ 0.9263 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็น 276.07 ล้านบาทต่อเดือน อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ส่งออก อยู่ที่ระดับ 7.1809 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็น 53.86 ล้านบาทต่อเดือน สำหรับราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกในช่วงเดือนธันวาคม 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 120.00 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน มาอยู่ที่ระดับ 860.00 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2550 กบง. ได้มีมติเห็นชอบยกเลิกการชดเชยราคาก๊าซ LPG ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่นอยู่ที่ระดับ 10.8964 บาทต่อกิโลกรัม และเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ 0.29 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายได้ประมาณ 89 ล้านบาท
6. สถานการณ์น้ำมันแก๊สโซฮอล เดือนตุลาคม 2550 การผลิตและจำหน่ายเอทานอลมีปริมาณรวม 0.67 และ 0.72 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ จากผู้ประกอบการที่ผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง 7 ราย โดยราคาเอทานอลแปลงสภาพไตรมาส 1 - 4 ในปี 2550 อยู่ที่ลิตรละ 19.33, 18.62, 16.82 บาท และ 15.29 บาท ตามลำดับ ขณะที่มีปริมาณเอทานอลสำรองของผู้ค้าน้ำมันรวม 24.22 ล้านลิตร ส่วนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 เดือนตุลาคมและในช่วงวันที่ 1 - 28 พฤศจิกายน 2550 มีปริมาณ 4.67 และ 4.95 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ จากบริษัทค้าน้ำมันที่จำหน่าย จำนวน 11 บริษัท และสถานีบริการ 3,661 แห่ง โดยที่ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 ในช่วงเวลาเดียวกันมีปริมาณ 0.93 และ 1.08 ล้านลิตรต่อวัน จากบริษัทค้าน้ำมันที่จำหน่ายจำนวน 3 บริษัท และสถานีบริการน้ำมัน 740 แห่ง ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และ 91 อยู่ที่ 28.89 และ 28.09 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ต่ำกว่าราคาน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 อยู่ที่ 4.00 และ 3.50 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
7. สำหรับน้ำมันไบโอดีเซล เดือนตุลาคมมีผู้ผลิตไบโอดีเซลที่ได้คุณภาพตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงานจำนวน 6 ราย มีกำลังการผลิตรวม 950,000 ลิตรต่อวัน และราคาไบโอดีเซลในประเทศเฉลี่ยเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2550 อยู่ที่ 31.17 และ 34.38 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 เดือนตุลาคม มีจำนวน 2.10 ล้านลิตรต่อวัน หรือมีการใช้ไบโอดีเซล (B100) เฉลี่ย 150,500 ลิตรต่อวัน โดยมีบริษัทน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 จำนวน 2 ราย คือ ปตท. และ บางจาก สถานีบริการรวม 819 แห่ง ปัจจุบันใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ ชดเชยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 เท่ากับ 0.10 บาทต่อลิตร ทำให้ราคาขายปลีกอยู่ที่ 28.34 บาทต่อลิตร ซึ่งต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 1.00 บาทต่อลิตร
8. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 มีเงินสดสุทธิ 13,496 ล้านบาท มีหนี้สิน ค้างชำระ 15,639 ล้านบาท แยกเป็นหนี้พันธบัตร 8,800 ล้านบาท หนี้เงินชดเชยตรึงราคาน้ำมันค้างชำระ 990 ล้านบาท หนี้ชดเชยราคาก๊าซ LPG 5,332 ล้านบาท ภาระดอกเบี้ย (ดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 3 ปี) 517 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันสุทธิติดลบ 2,143 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติอนุมัติเงินสนับสนุนในงบค่าใช้จ่ายอื่นๆ ประจำปีงบประมาณ 2551 ให้แก่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในการดำเนินโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านนโยบายพลังงาน ในวงเงิน 50 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม 2551 แต่โครงการฯ ดังกล่าวมีสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน (สป.พน.) เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสะดวก คล่องตัว และรวดเร็วในการดำเนินโครงการยิ่งขึ้น จึงควรให้ สป.พน.เป็นผู้เบิกจ่ายโดยตรงจากสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
2. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้มีหนังสือเวียนขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ ให้เปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยงานที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่นๆ ประจำปีงบประมาณ 2551 ในการดำเนินโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านนโยบายพลังงาน จาก "สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน" เป็น "สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน" ในวงเงินงบประมาณเดิมที่ได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 8 รายงานผลการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 กบง. ได้อนุมัติเงินจากกองทุนน้ำมันฯ ให้ สนพ. ในการดำเนินโครงการสนับสนุนการประสานผลักดันนโยบายแผนพัฒนาพลังงานสู่การปฏิบัติ โดยให้มีการศึกษา ดูงานและสัมมนาเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลในต่างประเทศ ต่อมา สนพ. ได้อนุมัติให้เจ้าหน้าที่ของ สนพ. และเจ้าหน้าที่จาก ธพ. เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อดูงานด้านการใช้แก๊สโซฮอล ในรถยนต์ และเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง Cellulosic Ethanol and 2nd Generation Biofuels Moving to industrial-Scale Production ในระหว่างวันที่ 12-22 ตุลาคม 2550 โดยมีรายละเอียดการสัมมนาดังนี้
1.1 การพัฒนาด้านการจัดหาเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดหาพลังงานจากสิ่งมีชีวิต ได้แก่ การผลิตเอทานอลจากเส้นใยพืชและส่วนเหลือใช้จากพืชนำมาย่อยสลายด้วยเอนไซม์ที่เหมาะสม ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและมีแหล่งวัตถุดิบให้เลือกใช้ได้มากขึ้น รวมทั้งสามารถลดต้นทุนการผลิต โดยคาดว่าจะเริ่มมีการผลิตใช้ในเชิงพาณิชย์ในปี ค.ศ. 2012
1.2 การวิจัยพัฒนาการผลิตบิวทานอลจากชีวมวลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนเอทานอลในอนาคต เนื่องจากมีคุณสมบัติดีกว่าเอทานอล มีความดันไอต่ำ ละลายในน้ำได้น้อยกว่า ให้พลังงานสูงกว่า และไม่มีปัญหาในการขนส่งทางท่อ
1.3 การวิจัยและพัฒนาการผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่าย โดยพบว่าในสาหร่ายจะมีสารคาร์บอนสูง ซึ่งเหมาะสมในการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง (ไบโอดีเซล) ขณะเดียวกันสามารถเพาะเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตรวดเร็วและได้ปริมาณมาก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาวิจัย คาดว่าต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 5 ปี จึงจะสามารถนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้
2. การส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลในรัฐ Minnesota มีหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงาน ที่รับผิดชอบการส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล คือ 1) กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่กำหนดและดูแลด้านมาตรฐานของน้ำมันชนิดต่างๆ 2) กระทรวงเกษตร มีหน้าที่ส่งเสริมการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในเชิงพาณิชย์ และ 3) ศูนย์ทดสอบเครื่องยนต์ ทำหน้าที่ทดสอบและวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบที่จะนำน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใหม่มาใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยมีขั้นตอนการบังคับใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล ดังนี้ 1) ค.ศ.1990 เริ่มการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล อี10 2) ค.ศ.1996 บังคับใช้ อี10 ทั่วมลรัฐและสถานีบริการที่จะขายน้ำมัน 3) ค.ศ.2000 เริ่มมีการใช้ อี85 4) ค.ศ.2007 เริ่มมีการใช้น้ำมัน อี20 5) ค.ศ.2013 ประกาศบังคับใช้ อี20 และ 6) ค.ศ.2015 ประกาศบังคับใช้ บี20
3. สรุปผลการสัมมนาและดูงาน ได้ดังนี้ 1) ประเทศต่างๆ ได้คิดค้นพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างแพร่หลายเพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล เช่น การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่าย การผลิตเอทานอลจากต้นพืช และคาดว่าจะสามารถนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี ค.ศ. 2012 โดยประเทศสหรัฐอเมริกา จะกลายเป็นผู้ผลิตเอทานอลรายใหญ่ของโลก ขณะเดียวกันจะเป็นผู้ใช้รายใหญ่ด้วยเช่นกัน ส่วนแนวทางการส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลในรัฐ Minnesota คือภาครัฐมีความเข้มแข็ง กำหนดนโยบายชัดเจนและมีการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน และภาคเอกชนมีการตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนมีการเตรียมการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 9 รายงานความก้าวหน้าการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล
สรุปสาระสำคัญ
1. กระทรวงพลังงานมีนโยบายส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าปิโตรเลียมจากต่างประเทศและช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศ โดยให้มีการใช้เอทานอลทดแทน MTBE ในน้ำมันเบนซิน 95 และเนื้อน้ำมันเบนซิน 91 บางส่วน โดยมีเป้าหมายปริมาณการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล วันละ 8 ล้านลิตร ณ สิ้นปี 2550 โดยได้กำหนดมาตรการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล ดังนี้
1.1 มาตรการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องยนต์ โดยบริษัทน้ำมันและบริษัทผลิตรถยนต์ได้ออกมารับประกันการซ่อมฟรี หากเกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์
1.2 มาตรการจูงใจด้านผู้บริโภค โดยส่งเสริมด้านราคาด้วยการใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ ปรับเพิ่มส่วนต่างของราคาน้ำมันเบนซินให้สูงกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล 1.50 บาทต่อลิตร ตั้งแต่ต้นปี 2548 ณ ปัจจุบันส่วนต่างราคาสำหรับออกเทน 95 อยู่ที่ระดับ 4 บาทต่อลิตร และออกเทน 91 อยู่ที่ระดับ 3.50 บาทต่อลิตร
1.3 มาตรการจูงใจด้านผู้จำหน่าย มีการปรับเพิ่มค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอลให้สูงกว่าน้ำมันเบนซิน โดยลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอลลง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันแพงและเพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล ณ ปัจจุบันค่าการตลาดน้ำมัน แก๊สโซฮอลสูงกว่าน้ำมันเบนซินประมาณลิตรละ 90 สตางค์
1.4 การเพิ่มสัดส่วนการใช้เอทานอลในน้ำมันแก๊สโซฮอล กระทรวงพลังงานได้ร่วมกับกระทรวงการคลัง ส่งเสริมการจำหน่ายรถยนต์ที่สามารถใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป โดยใช้มาตรการลดภาษีสรรพสามิต ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551
2. การส่งเสริมน้ำมันแก๊สโซฮอล อี 10 ในช่วงปลายปี 2547 มีปริมาณจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอลอยู่ที่ระดับวันละ 244,337 ลิตร หลังจากดำเนินการมาตรการส่งเสริมแก๊สโซฮอลตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอลขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับจนเดือนพฤศจิกายน 2550 มีปริมาณจำหน่ายวันละ 6.03 ล้านลิตร มีสถานีบริการที่จำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล จำนวน 3,743 แห่ง และคาดว่าปริมาณจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอลเดือนธันวาคม 2550 เป็นวันละ 6.57 ล้านลิตร และมีจำนวนสถานีบริการฯ เพิ่มขึ้นเป็น 3,911 แห่ง
3. แผนดำเนินการในอนาคต ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ ได้แก่ ปตท. และเจ็ท ที่มีหัวจ่ายน้ำมัน แก๊สโซฮอล 95 ครบทุกสถานีบริการแล้ว และมีแผนจะเพิ่มหัวจ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 ให้มากขึ้น รวมทั้ง บริษัทบางจาก จะเพิ่มหัวจ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 และมีแผนจะจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 เป็นรายแรกในต้นปีหน้า ส่วนเชฟรอนจะมีหัวจ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอลครบทุกสถานีบริการในเดือนธันวาคม 2550 สำหรับบางจาก เจ็ท และระยองเพียวฯ จะยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 ในเดือนมกราคม 2551 ส่วนเอสโซ่จะยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 ให้ได้ร้อยละ 80 ภายในปีนี้
4. เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 ธพ. ได้ออกประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมัน แก๊สโซฮอล อี20 ออกเทน 95 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่าง นำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยผู้ผลิตรถยนต์ได้ประมาณการว่าภายในปี 2551 จะจำหน่ายรถยนต์ อี 20 ได้ 60,000 คัน โดยรถยนต์อี 20 จะเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 5,000 คัน ปัจจุบันค่ายรถยนต์ฮอนด้าและฟอร์ดได้เปิดตัวรถยนต์อี 20 แล้ว ส่วนการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 บริษัทบางจาก จะเริ่มจำหน่ายตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 โดยจะมีสถานีบริการ 5 แห่ง และบริษัท ปตท. จะมีสถานีบริการในกรุงเทพฯ 5 - 10 แห่ง ต้นปี 2551 และจะทยอยเปิดให้ครบ 20 แห่งภายในปี 2551
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 10 รายงานความก้าวหน้าการส่งเสริมการใช้ NGV ในยานยนต์
สรุปสาระสำคัญ
1. กระทรวงพลังงาน มีมาตรการส่งเสริมการใช้ NGV ในภาคการขนส่ง 3 ส่วน ได้แก่ 1) การพัฒนาบุคลากร 2) การกำหนดกฎระเบียบ กฎหมาย และ 3) การส่งเสริมด้านธุรกิจ NGV
2. การพัฒนาบุคลากร ได้ดำเนินโครงการต่างๆ ประกอบด้วย
2.1 โครงการเสริมสร้างช่างชำนาญการติดตั้งอุปกรณ์ NGV เพื่อเพิ่มจำนวนช่างชำนาญการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้เพียงพอต่อความต้องการในอนาคต โดยจัดฝึกอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้ประชาชนที่สนใจ โดยการดำเนินงานที่ผ่านมามีผู้ผ่านการฝึกอบรมจำนวน 480 คน โดยในปี 2551 ตั้งเป้าหมายไว้ 400 คน
2.2 โครงการผลิตวิทยากรติดตั้งอุปกรณ์ NGV (Training the Trainer) โดยร่วมมือกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการฝึกอบรมข้าราชการ/พนักงานเพื่อเป็นวิทยากรสอนการฝึกอบรมช่างติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้กระจายไปทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายในปี 2551 ให้มีผู้ผ่านการฝึกอบรมจำนวน 150 คน
2.3 โครงการเสริมสร้างผู้ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV โดยร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาและกรมการขนส่งทางบก เพื่อเพิ่มจำนวนสถานที่ตรวจและทดสอบรถยนต์ NGV ไปทั่วประเทศ โดยฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยเทคนิค พร้อมทั้งจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจและทดสอบให้ ปัจจุบันมีสถานที่ตรวจและทดสอบ 40 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีเป้าหมายในปี 2551ที่จะพัฒนาวิทยาลัยเทคนิคเพิ่มขึ้นอีก 35 จังหวัด
3. การกำหนดกฎระเบียบและกฎหมาย โดยได้พัฒนากฎหมายเพื่อกำกับดูแลการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายที่ใช้ในการกำกับดูแล 1 ฉบับ คือ กฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของสถานีบริการ NGV ส่วนที่เหลืออยู่ในระหว่างดำเนินการ และเนื่องจากปัจจุบันก๊าซธรรมชาติที่ใช้มาจากแหล่งที่แตกต่างกัน ทำให้คุณภาพของก๊าซแตกต่างกันด้วย ดังนั้นจึงได้ดำเนินการกำหนดมาตรฐานคุณภาพของก๊าซธรรมชาติให้อยู่ในมาตรฐานที่สามารถยอมรับได้ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค โดยได้จัดตั้งศูนย์ทดสอบอุปกรณ์ NGV เพื่อทำหน้าที่ตรวจรับรองถังและอุปกรณ์ NGV ตามกฎหมาย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างอาคารและการจัดหาเครื่องมือของผู้รับจ้าง
4. การส่งเสริมด้านธุรกิจ NGV กระทรวงพลังงานร่วมมือกับ ปตท. ดำเนินการส่งเสริมการใช้ NGV ในภาคการขนส่งทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดโดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ใช้เชื้อเพลิงจำนวนมาก
4.1 ต่างจังหวัด มีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ รถบรรทุก หัวลากและรถโดยสาร บขส. โดยจัดเงินทุนหมุนเวียนให้กู้ยืมเพื่อดัดแปลงเครื่องยนต์มาใช้ NGV ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งปัจจุบันมีรถบรรทุกและรถโดยสารเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 3,000 คัน ทั้งนี้ ปตท. ได้ก่อสร้างสถานีบริการ NGV เพื่อให้บริการตามเส้นทางหลักทั่วประเทศกว่า 90 สถานี
4.2 กรุงเทพฯ และปริมณฑล รถยนต์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ รถโดยสาร ขสมก. รถร่วมบริการ รถแท็กซี่และรถตุ๊กตุ๊ก โดยมีรถที่เปลี่ยนแปลงเป็นรถ NGV แล้วกว่า 20,000 คัน และมีสถานีบริการ NGV ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลกว่า 100 สถานี
4.3 โครงการส่งเสริมการใช้ NGV ในรถแท็กซี่ เพื่อให้รถแท็กซี่ที่ใช้ LPG เปลี่ยนเป็น NGV มีเป้าหมายจำนวน 50,000 คัน ภายในปี 2552 โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในรถแท็กซี่ มีหน้าที่กำหนดมาตรการส่งเสริม สนับสนุนและเสนอแนะนโยบายเพื่อผลักดันให้รถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเปลี่ยนมาใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งได้กำหนดมาตรการต่างๆ ดังนี้ 1) มาตรการสนับสนุนด้านนโยบาย ได้แก่ การปรับเพิ่มราคา LPG, ให้สถานีบริการ LPG ของรถแท็กซี่เปลี่ยนเป็น NGV ฟรี, รถแท็กซี่ NGV ติดตั้งฟรี จำนวน 50,000 คัน และรถแท็กซี่จดทะเบียนใหม่ต้องใช้ NGV เป็นต้น 2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การเพิ่มสถานีบริการ NGV อีก 149 แห่งภายในปี 2552, เปลี่ยนสถานีบริการ LPG เป็นสถานีบริการ NGV, รับรองอู่ติดตั้งมาตรฐานฯ เพิ่มขึ้นอีก 26 แห่ง, เพิ่มรถขนส่งก๊าซ NGV อีก 660 คัน ภายในปี 2552
5. ผลการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน สรุปได้ดังนี้ 1) จำนวนรถ NGV รวม 51,121คัน 2) จำนวนสถานีบริการ NGV รวม 188 แห่ง 3) จำนวนสถานที่ตรวจและทดสอบฯ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 32 แห่ง ต่างจังหวัด 8 แห่ง รวมทั้งสิ้น 40 แห่ง และ 4) จำนวนอู่ติดตั้งมาตรฐาน ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 18 แห่ง ต่างจังหวัด 3 แห่ง รวมทั้งสิ้น 21 แห่ง
6. แผนการดำเนินงานในอนาคต มีดังนี้ 1) เพิ่มสถานีบริการ NGV ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจำนวน 149 แห่ง ภายในปี 2552 ส่วนต่างจังหวัดอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 33 แห่ง 2) เพิ่มจำนวนสถานที่ตรวจและทดสอบฯ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ปัจจุบันกำลังดำเนินการฝึกอบรมให้วิทยาลัยเทคนิค 20 จังหวัด และ 3) เพิ่มจำนวนอู่ติดตั้งมาตรฐานฯ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 26 แห่ง และกำหนดหลักเกณฑ์การรับรอง สำหรับศูนย์บริการติดตั้งสาขาและสำหรับอู่ติดตั้งรถยนต์ขนาดใหญ่
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
ครั้งที่ 23 - วันศุกร์ ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 6/2550 (ครั้งที่ 23)
วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เวลา 14.30 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1. การทบทวนงบประมาณค่าใช้จ่ายโครงการสนับสนุนประสานผลักดันนโยบาย และแผนพัฒนาพลังงานสู่การปฏิบัติ
2. โครงการสนับสนุนการปลูกปาล์มน้ำมันของกระทรวงพลังงานร่วมกับ ธ.ก.ส.
4. แนวทางการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว
5. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (กันยายน - 8 ตุลาคม 2550)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติอนุมัติเงินจากกองทุนน้ำมันฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการสนับสนุน ประสานผลักดันนโยบายและแผนพัฒนาพลังงาน สู่การปฏิบัติให้กับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จำนวนเงิน 23,500,000 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน โดยอนุมัติในส่วนงบรายจ่ายอื่นของโครงการให้เป็นค่าโครงการศึกษาวิจัย จำนวน 3,000,000 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2550 กบง. ได้มีมติให้ สนพ. แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณค่าใช้จ่ายของโครงการฯ ในส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการศึกษาวิจัยเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการศึกษาวิจัย จำนวนเงิน 2,224,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศึกษา ดูงานในต่างประเทศ จำนวนเงิน 776,000 บาท และเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2550 คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (อบน.) ได้อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการดำเนินงานและเบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันฯ เพื่อดำเนินโครงการฯ จากระหว่างเดือนธันวาคม 2549 - พฤศจิกายน 2550 เป็นระหว่างเดือนธันวาคม 2549 - มีนาคม 2551 ภายใต้วงเงินเดิมที่ได้รับอนุมัติ
2. ต่อมา กบง. ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 ได้เห็นชอบให้ สนพ. แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณค่าใช้จ่ายในโครงการฯ ในหมวดรายจ่ายอื่นจากเดิม "ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการศึกษาวิจัย จำนวน 2,224,000 บาท" เปลี่ยนเป็น "ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาดูงานในต่างประเทศ จำนวน 2,224,000 บาท" แต่เนื่องจากบริษัท Platt’s จะจัดให้มีการสัมมนาเรื่อง Cellulosic Ethanol and 2nd Generation Biofuels Moving to industrial-Scale Production ระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2550 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีค่าลงทะเบียน 1,195 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคน ซึ่ง สนพ. เห็นว่าการสัมมนาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้เอทานอลในประเทศไทย จึงเห็นควรให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าวโดยใช้งบค่าใช้จ่ายโครงการสนับสนุนประสานผลักดันนโยบายและแผนพัฒนาพลังงานสู่การปฏิบัติ ในหมวดงบรายจ่ายอื่น ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาและดูงานในต่างประเทศ แต่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวมิได้ระบุถึงการเข้าร่วมสัมมนาไว้ สนพ.จึงขอเสนอให้ทบทวนค่าใช้จ่ายในโครงการฯ ในหมวดรายจ่ายอื่น จาก "ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาและดูงานในต่างประเทศ" เป็น "ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษา ดูงานและสัมมนาในต่างประเทศ" จำนวน 2,224,000 บาท (สองล้านสองแสนสองหมื่นสี่พันบาทถ้วน) เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวได้ และหากมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดภายในหมวดค่าใช้จ่าย ขอให้ สนพ. สามารถพิจารณาเปลี่ยนแปลงได้
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายในโครงการสนับสนุนประสานผลักดันนโยบายและแผนพัฒนาพลังงานสู่การปฏิบัติ ในหมวดรายจ่ายอื่น ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาและดูงานในต่างประเทศ จำนวน 2,224,000 บาท (สองล้านสองแสนสองหมื่นสี่พันบาทถ้วน) เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษา ดูงาน และสัมมนาในต่างประเทศจำนวน จำนวน 2,224,000 บาท (สองล้านสองแสนสองหมื่นสี่พันบาทถ้วน) และให้หัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานสามารถพิจารณาเปลี่ยนแปลงรายการของงบประมาณดังกล่าวได้ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติตามความเหมาะสม โดยไม่เปลี่ยนแปลงหมวดค่าใช้จ่าย
เรื่องที่ 2 โครงการสนับสนุนการปลูกปาล์มน้ำมันของกระทรวงพลังงานร่วมกับ ธ.ก.ส.
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2550 กพช. ได้เห็นชอบเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล โดยการบังคับเติมน้ำมันไบโอดีเซล (B100) ผสมในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในอัตราร้อยละ 2 (B2) ภายในปี 2551 และจะเพิ่มจากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 5 (B5) ทั่วประเทศในปี 2554 นอกจากนี้ได้สนับสนุนส่งเสริมการผลิตและการใช้น้ำมันไบโอดีเซลทั้งระบบ ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การแปรรูป และการใช้น้ำมันไบโอดีเซลผสมกับน้ำมันดีเซลร้อยละ 2 และร้อยละ 5 ตามลำดับ
2. ปัจจุบันประเทศไทยปลูกปาล์มน้ำมันประมาณ 2 ล้านไร่ เพียงพอต่อการบริโภคและใช้ในประเทศ มีส่วนเกินเล็กน้อยสำหรับการส่งออก เมื่อรัฐมีนโยบายส่งเสริมการใช้น้ำมันไบโอดีเซล จึงต้องส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันขึ้นอีกประมาณ 2.5 ล้านไร่ ดังนั้น กระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันขึ้น ซึ่งหากการดำเนินงานเป็นไปตามแผนโดยเฉพาะหากสามารถปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มได้อีกประมาณ 2.5 ล้านไร่ จะทำให้การจัดหาน้ำมันปาล์มดิบสำหรับการผลิต B100 ในปี 2551 และปี 2554 เท่ากับ 0.80 และ 1.87 ล้านตัน ตามลำดับ
3. ผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการใช้น้ำมันไบโอดีเซลได้ผลดี เนื่องจากผู้ใช้น้ำมันให้ความสนใจในการใช้น้ำมันไบโอดีเซลผสมมากขึ้น ประกอบกับมาตรการกำหนดราคาช่วยจูงใจ สำหรับด้านการแปรรูปน้ำมันปาล์มดิบเป็นน้ำมันดีเซลได้ส่งเสริมการผลิตไบโอดีเซลในระดับการค้า โดยให้มีโรงงานขนาดใหญ่ที่สามารถผลิตไบโอดีเซลที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่รัฐกำหนดและมีกำลังการผลิตเพียงพอ ซึ่งโรงงานพร้อมเปิดดำเนินการได้ภายในปลายปี 2550 ส่วนการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันปรากฎว่าไม่ได้ผลตามเป้าหมาย เนื่องจากตั้งเป้าหมายไว้ที่ 2 ล้านไร่ แต่มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นเพียง 400,000 ไร่ ซึ่งน้ำมันปาล์มดิบใน stock มีเพียงพอที่จะผลิตน้ำมันไบโอดีเซลได้ประมาณ 3 ปี สาเหตุที่การปลูกปาล์มน้ำมันไม่ขยายตัวเท่าที่ควรเนื่องจาก 1) เกษตรกรขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการเลือกพื้นที่เพาะปลูก การจัดหาต้นพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เหมาะสม รวมทั้งแหล่งรับซื้อผลผลิตที่ให้ราคาที่เหมาะสมและรับซื้อปริมาณที่มากพอ และ 2) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่ทับซ้อนกับพื้นที่ปลูกยางพารา ขณะที่ยางพาราได้ราคาดีและได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอย่างจริงจัง แต่เกษตรกรที่จะปลูกปาล์มน้ำมันต้องลงทุนเองทั้งหมด ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่หันไปปลูกยางพารา
4. ด้านการแปรรูปน้ำมันปาล์มดิบเป็นไบโอดีเซล พบว่าไม่มีปัญหาทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณ เนื่องจากมีโรงงานดำเนินการ 9 ราย ขึ้นทะเบียนกับกรมธุรกิจพลังงาน 8 ราย และผลิตได้มาตรฐานกรมธุรกิจพลังงาน 6 ราย กำลังผลิตรวม 1.5 ล้านลิตรต่อวัน และโรงงานอยู่ระหว่างก่อสร้าง 26 ราย ส่วนด้านการส่งเสริมการใช้น้ำมันไบโอดีเซลผสมได้ผลดีพอสมควร เนื่องจากยังไม่เกิดปัญหาการไม่ยอมรับการใช้น้ำมันไบโอดีเซลในระดับที่จะมีผลกระทบต่อนโยบาย กลุ่มบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ไม่มีปฏิกิริยาในทางลบ ประกอบกับนักวิชาการส่วนใหญ่ให้การสนับสนุน ดังนั้นจึงคาดว่าปัญหาในการส่งเสริมให้ประชาชนหันใช้น้ำมันไบโอดีเซลผสมจะมีน้อยและอยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขได้
5. กระทรวงพลังงานและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะร่วมจัดทำโครงการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานทดแทน โดยจัดหาเงินทุนให้กู้ยืมแก่เกษตรกรเพื่อใช้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ที่เหมาะสม โดยมีข้อเสนอ ดังนี้ 1) กระทรวงพลังงานจะจัดหาเงินทุนเข้าฝากในบัญชี ธ.ก.ส. จำนวน 3,500 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. จะสมทบเงินทุนของ ธ.ก.ส. อีกจำนวน 3,500 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนให้กู้แก่เกษตรกรที่ต้องการเข้าร่วมโครงการนี้รวมเป็นเงิน 7,000 ล้านบาท 2) ธ.ก.ส. จะคิดดอกเบี้ยจากเกษตรกรในอัตราดอกเบี้ยต่ำคือ ร้อยละ 7 ต่อปี มีระยะเวลาปลอดต้นเงิน 3 ปี และในระยะเวลาปลอดต้นเงินนี้ให้ชำระดอกเบี้ยเพียงบางส่วน และ 3) กระทรวงพลังงานจะนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ฝากออมทรัพย์ไว้กับ ธ.ก.ส. เป็นจำนวน 3,500 ล้านบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อปี ระยะเวลา 10 ปี โดยมีเป้าหมายขยายการผลิตปาล์มน้ำมันในขั้นต้นอย่างต่ำ 700,000 ไร่ และเมื่อได้รับชำระเงินกู้บางส่วน ธ.ก.ส. สามารถนำหมุนเวียนกลับให้กู้ต่อไปอีกได้ ซึ่งจะทำให้พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันจริงเพิ่มสูงกว่า 700,000 ไร่
6. ส่วนการนำเงินกองทุนน้ำมันฯ เข้าฝากออมทรัพย์ไว้กับ ธ.ก.ส. สามารถดำเนินการได้ตามระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2549 ในข้อ 4 และข้อ 5 โดยกองทุนน้ำมันฯ จะคงทรัพย์สินไว้ในรูปลูกหนี้เงินฝากธนาคารจำนวน 3,500 ล้านบาทเป็นระยะเวลา 10 ปี ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ จากประมาณการกระแสเงินของกองทุนน้ำมันฯ พบว่าตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เป็นต้นมา กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 4,000 ล้านบาทต่อเดือน ขณะที่รายจ่าย (ชดเชยก๊าซ LPG และไบโอดีเซล (B100)) มีแนวโน้มลดลง โดยคาดว่าฐานะกองทุนน้ำมันฯ จะเป็นบวกประมาณกลางเดือนธันวาคม 2550 ทั้งนี้ ได้มีการสะสมเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับให้หนี้พันธบัตรงวดที่ 2 จำนวน 8,800 ล้านบาท ซึ่งมีกำหนดเวลาการจ่ายเงินคืนในเดือนตุลาคม 2551 ไว้ครบถ้วนแล้ว และมีการโอนเงินให้แก่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 3,000 ล้านบาทแล้ว การคงทรัพย์สินของกองทุนน้ำมันฯ ไว้ในรูปเงินฝากตามข้อ 5 จึงไม่กระทบต่อสถานะของกองทุนน้ำมันฯ
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนำเงินสด จำนวน 3,500 ล้านบาท (สามพันห้าร้อยล้านบาทถ้วน) เข้าฝากกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นระยะเวลา 10 ปี ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ 0.25 ต่อปี โดยที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจะนำเงินเข้าสมทบอีก 3,500 ล้านบาท (สามพันห้าร้อยล้านบาทถ้วน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,000 ล้านบาท (เจ็ดพันล้านบาทถ้วน) เพื่อเป็นทุนให้กู้แก่เกษตรกรที่ต้องการเข้าร่วมโครงการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานทดแทน
สรุปสาระสำคัญ
1. การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2535 จำนวน 300 เมกะวัตต์ และได้มีการขยายปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP เป็นลำดับ จนถึง 3,200 เมกะวัตต์ โดย กฟผ. จะรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนอกรูปแบบ กาก หรือเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิง และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานเชิงพาณิชย์ ด้วยระบบ Cogeneration ต่อมารัฐบาลได้ยุติการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ที่ใช้พลังงานเชิงพาณิชย์เป็นเชื้อเพลิง แต่ยังคงให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP พลังงานหมุนเวียน และ SPP ประเภท Non-Firm ต่อไป โดยไม่กำหนดระยะเวลาและปริมาณ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของระบบส่งและระบบจำหน่ายที่จะรับได้
2. กพช. ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549 เห็นชอบให้ กฟผ. เปิดการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP โดยให้ขยายปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากเดิม 3,200 เมกะวัตต์ เป็น 4,000 เมกะวัตต์ ต่อมา กพช. ได้มีมติเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2550 เห็นชอบร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ประเภทสัญญา Firm ระบบ Cogeneration ร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ประเภทสัญญา Firm สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ประเภทสัญญา Non-Firm และเห็นชอบแนวทางการกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายมากกว่า 10 เมกะวัตต์ ซึ่งขายไฟฟ้าเข้าระบบตามระเบียบ SPP ปริมาณพลังไฟฟ้ารับซื้อทั้งสิ้น 530 เมกะวัตต์ โดยกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับ SPP ในอัตราคงที่ จากพลังงานลมและขยะ เท่ากับ 2.50 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ปริมาณพลังไฟฟ้ารับซื้อ 115 และ 100 เมกะวัตต์ ตามลำดับ และพลังงานแสงอาทิตย์ เท่ากับ 8.00 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ปริมาณพลังไฟฟ้ารับซื้อ 15 เมกะวัตต์ สำหรับ SPP ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ให้ใช้วิธีประมูลแข่งขันในอัตราสูงสุดไม่เกิน 0.300 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ปริมาณพลังไฟฟ้ารับซื้อ 300 เมกะวัตต์ โดยกำหนดระยะเวลาสนับสนุน 7 ปี และกำหนดวันเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้า (COD) ภายในเดือนธันวาคม 2555
3. กฟผ. ได้ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2550 โดยกำหนดปริมาณรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ประเภทสัญญา Firm ระบบ Cogeneration จำนวน 500 เมกะวัตต์ และ SPP ประเภทสัญญา Firm สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และ SPP ประเภทสัญญา Non-Firm รวม 530 เมกะวัตต์ รวมปริมาณพลังไฟฟ้าที่ประกาศรับซื้อในรอบนี้ 1,030 เมกะวัตต์
4. เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 กบง. ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก เพื่อดำเนินการตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2549 ซึ่งเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก โดยวิธีประมูลแข่งขันส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า โดยมีผู้อำนวยการ สนพ. เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ผู้แทนการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง นักวิชาการ และผู้แทน สนพ. เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
5. การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก
5.1 คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดทำร่างประกาศเชิญชวนผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อยื่นข้อเสนอขอรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า และ สนพ. ได้ออกประกาศเชิญชวนผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อยื่นข้อเสนอส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า เปิดขายเอกสารเชิญชวนฯ วันที่ 1 พฤษภาคม - 15 มิถุนายน 2550 รับซองข้อเสนอโครงการ วันที่ 1 สิงหาคม 2550 โดยได้ประเมินข้อเสนอโครงการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2550
5.2 ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2550 ซึ่งเป็นวันปิดจำหน่ายเอกสารเชิญชวนฯ มีผู้สนใจซื้อเอกสาร เชิญชวนฯ จำนวน 11 ราย และเมื่อครบกำหนดการยื่นข้อเสนอโครงการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปรากฏว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอโครงการทั้งสิ้น 9 ราย รวมพลังไฟฟ้าที่เสนอขาย 435 เมกะวัตต์ และข้อเสนอส่วนเพิ่มราคา รับซื้อไฟฟ้าอยู่ระหว่าง 0.295 - 0.300 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง
5.3 จัดทำคู่มือการประเมินข้อเสนอโครงการ สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนโดยกลไกการแข่งขัน
5.4 ในการประเมินข้อเสนอโครงการ คณะอนุกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่สำรวจและเข้าเยี่ยมชมโครงการต่างๆ และนำความเห็นมาประกอบการพิจารณาประเมินโครงการ โดยพิจารณาถึงแนวทางการจัดหาเชื้อเพลิงและความเป็นไปได้ของโครงการ
6. หลักเกณฑ์การประเมินและคัดเลือกข้อเสนอโครงการ แบ่งเป็นการประเมินด้านเทคนิคและการเงิน โดยกำหนดสัดส่วนคะแนนและปัจจัยที่ประเมิน ดังนี้
6.1 การประเมินด้านเทคนิค (20 คะแนน) ประกอบด้วย 4 ปัจจัยๆ ละ 5 คะแนน ดังนี้ (1) ระบบการผลิตไฟฟ้า (2) ความพร้อมของแหล่งพลังงานหรือเชื้อเพลิง (3) ใบอนุญาตและการมีส่วนร่วมของชุมชน และ (4) ประสบการณ์ที่ผ่านมา
6.2 การประเมินด้านการเงิน (15 คะแนน) พิจารณาความเหมาะสมจากปัจจัยต่างๆ 3 ปัจจัยๆ ละ 5 คะแนน ดังนี้ (1) ความพร้อมด้านการเงิน (2) ความเสี่ยงด้านการเงิน และ (3) การวิเคราะห์ทางด้านการเงิน โดยพิจารณาจากอัตราส่วนทางการเงินที่เหมาะสม ได้แก่ NPV และ IRR เป็นต้น
6.3 การให้คะแนน แบ่งออกเป็น 6 ระดับ โดยจะขึ้นอยู่กับความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสาร และลักษณะหรือคุณภาพของโครงการทั้งด้านเทคนิคและการเงิน ในส่วนความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารจะแบ่งคะแนนเป็นระดับ "0" ถึง "5" คะแนน ระดับ 0 หมายถึง ความเป็นไปได้ของโครงการดังกล่าวอยู่ในระดับน้อยมาก คะแนนระดับ 1 หมายถึง ความเป็นไปได้ของโครงการดังกล่าวอยู่ในระดับน้อย คะแนนระดับ 2-4 หมายถึง โครงการมีความเป็นไปได้ระดับ ตั้งแต่ "พอใช้" ถึง "ดีมาก" และคะแนนระดับ 5 หมายถึง โครงการมีความเป็นไปได้แน่นอนการผ่านเกณฑ์การพิจารณาของโครงการ ต้องได้คะแนนด้านเทคนิคมากกว่าหรือเท่ากับ 12 คะแนน และด้านการเงินมากกว่าหรือเท่ากับ 9 คะแนน และไม่มีประเด็นใดในด้านเทคนิคหรือการเงินได้คะแนนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 คะแนน หลังจากนั้นจะคำนวณค่าเฉลี่ยของส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Average Levelized Adder : ALA) ของข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้างต้นเพื่อจัดเรียงลำดับตามค่า ALA จากต่ำสุดไปหาสูงสุด
7. ผลการประเมินข้อเสนอโครงการด้านเทคนิคและการเงิน
7.1 จากการตรวจสอบเอกสารของผู้ยื่นข้อเสนอโครงการแต่ละราย พบว่ามี 1 โครงการ คือ บริษัท อีโคเอนเนอร์จี พลัส จำกัด เอกสารยื่นข้อเสนอโครงการไม่ถูกต้อง โดยหนังสือรับรองของบริษัทระบุการลงนามต้องดำเนินการโดยกรรมการ 2 ท่าน พร้อมประทับตราของบริษัทเป็นสำคัญ แต่เอกสารที่บริษัท อีโคเอนเนอร์จี พลัส จำกัด ยื่นมีการลงนามโดยกรรมการเพียง 1 ท่าน และประทับตราของบริษัท โดยไม่มีการมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร จึงถือได้ว่าข้อเสนอโครงการไม่สมบูรณ์ สำหรับเอกสารข้อเสนอโครงการของรายอื่นๆ มีเอกสารครบถ้วน และการประเมินข้อเสนอโครงการทางเทคนิคและการเงินในรอบแรก ได้พิจารณาเอกสารตามที่ผู้ยื่นข้อเสนอโครงการนำเสนอ และรวบรวมข้อมูลที่ไม่ชัดเจน และจำเป็นต้องขอเพิ่มเติมจากผู้ยื่นข้อเสนอโครงการ โดยมีข้อเสนอโครงการที่ให้ข้อมูลไม่ชัดเจน จำนวน 8 โครงการ เมื่อได้รับข้อมูลเพิ่มเติมครบถ้วนแล้ว ได้พิจารณาปรับคะแนนและเปรียบเทียบคะแนนของแต่ละโครงการ รวมทั้งคณะอนุกรรมการฯ ได้ลงสำรวจพื้นที่ด้วย ซึ่งพบว่าโครงการของบริษัทไทยเพาเวอร์เจนเนอเรติ้ง 2 จำกัด ไม่ผ่านเงื่อนไขด้านเทคนิค เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ระบุไว้ยังไม่ชัดเจน และยังไม่มีวัตถุดิบของโครงการ ดังนั้น ผลการประเมินข้อเสนอโครงการ สามารถสรุปได้ดังนี้
ชื่อโครงการ | จังหวัดที่ตั้ง โรงไฟฟ้า | ปริมาณพลังงานไฟฟ้าเสนอขาย (MW) | เชื้อเพลิง | คะแนนด้านเทคนิค (> 12 คะแนน) | คะแนนด้านการเงิน (> 9 คะแนน) |
1. ไฟฟ้าชีวมวล | ปราจีนบุรี | 90 | ชิ้นไม้ยูคาสับ, แกลบ | 12 | 9 |
2. ภูเขียวไบโอ-เอ็นเนอร์ยี่ | ชัยภูมิ | 10 | ชานอ้อย | 17 | 13 |
3. อีโคเอนเนอร์จี พลัส | กำแพงเพชร | 30 | เศษไม้ | 6 | 0 |
4. ไทยเพาเวอร์ซัพพลาย | ฉะเชิงเทรา | 65 | ชิ้นไม้ยูคาสับ | 13 | 13 |
5. ด่านช้าง ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี่ | สุพรรณบุรี | 10 | ชานอ้อย | 17 | 13 |
6. ไทยเพาเวอร์เจนเนอเรติ้ง 1 | ปราจีนบุรี | 70 | น้ำมันยางดำ | 12 | 9 |
7. ไทยเพาเวอร์เจนเนอเรติ้ง 2 | บุรีรัมย์ | 70 | น้ำมันยางดำ | 11 | 9 |
8. แอ๊ดวานซ์ อะโกร | ปราจีนบุรี | 25 | น้ำมันยางดำ | 16 | 13 |
9. เนชั่นแนล เพาเวอร์ซัพพลาย | ปราจีนบุรี | 65 | ชิ้นไม้ยูคาสับ | 12 | 9 |
7.2 การจัดลำดับข้อเสนอโครงการที่ผ่านการประเมินคัดเลือก โดยจัดเรียงลำดับตามค่า ALA จากต่ำสุดไปหาสูงสุด ได้ดังนี้
ลำดับ | ชื่อโครงการ | วันเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้า (COD) | ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง) | ALA | ปริมาณพลังงานไฟฟ้าเสนอขาย (MW) | เมกะวัตต์สะสม |
1 | ภูเขียวไบโอ-เอ็นเนอร์ยี่ | ม.ค. 2552 | 0.295 | 0.136425 | 10 | 10 |
2 | ด่านช้าง ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี่ | ม.ค. 2552 | 0.295 | 0.136425 | 10 | 20 |
3 | เนชั่นแนล เพาเวอร์ซัพพลาย | ม.ค. 2553 | 0.300 | 0.138987 | 65 | 85 |
4 | ไฟฟ้าชีวมวล | เม.ย. 2553 | 0.300 | 0.139061 | 90 | 175 |
5 | ไทยเพาเวอร์เจนเนอเรติ้ง 1 | ก.ค. 2553 | 0.300 | 0.139167 | 70 | 245 |
6 | แอ๊ดวานซ์ อะโกร | ม.ค. 2554 | 0.300 | 0.139221 | 25 | 270 |
7 | ไทยเพาเวอร์ซัพพลาย | ม.ค. 2554 | 0.300 | 0.139531 | 65 | 335 |
8. คณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2550 ได้พิจารณาผลการประเมินข้อเสนอโครงการด้านเทคนิคและการเงิน และมีความเห็นว่าปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าที่เกินกว่ากำหนดมี 35 เมกะวัตต์ ประกอบกับกลุ่มโครงการที่เสนอส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าในอัตรา 0.300 บาท ต่อกิโลวัตต์ - ชั่วโมง เป็นกลุ่มเดียวกัน ดังนั้น หากสามารถเจรจาให้ลดราคาส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าลงได้ จะทำให้ประเทศได้ประโยชน์โดยรวมจากการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และลดภาระในการสนับสนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ จึงมีมติ ดังนี้
8.1 เห็นชอบผลการประเมินและคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอขอรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียนจำนวน 7 โครงการ มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 335 เมกะวัตต์
8.2 เห็นควรกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าของโครงการที่ผ่านการประเมินคัดเลือกทุกรายเท่ากับ 0.295 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการเจรจากับผู้ลงทุนต่อไป
8.3 เห็นชอบให้นำผลการประเมินคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอขอรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน เสนอ กบง. พิจารณาอนุมัติต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบผลการประเมินคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอขอรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียนจำนวน 7 โครงการ ปริมาณพลังไฟฟ้ารับซื้อรวม 335 เมกะวัตต์
2. เห็นชอบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าเท่ากับ 0.295 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง สำหรับโครงการ (1) บริษัท ภูเขียวไบโอ-เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (2) บริษัท ด่านช้าง ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด และ (3) บริษัทไทยเพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด และส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าเท่ากับ 0.300 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง สำหรับโครงการ (1) บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด (2) บริษัท ไฟฟ้าชีวมวล จำกัด (3) บริษัท ไทยเพาเวอร์เจนเนอเรติ้ง 1 จำกัด และ (4) บริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน)
3. มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กตามข้อ 2 ต่อไป
เรื่องที่ 4 แนวทางการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว
สรุปสาระสำคัญ
1. ระบบราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในปัจจุบันเป็นแบบ "กึ่งลอยตัว" โดยได้มีการยกเลิกควบคุมราคาขายปลีกก๊าซ LPG ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 เป็นต้นมา รัฐควบคุมเพียงราคาขายส่ง ส่วนราคาขายปลีกและค่าการตลาดผู้ค้าก๊าซเป็นผู้กำหนด โดย สนพ. และกรมการค้าภายใน มีหน้าที่กำกับดูแลมิให้มีการกำหนดราคาเพื่อเอาเปรียบผู้บริโภค ให้สอดคล้องกับต้นทุน รวมถึงส่งเสริมการแข่งขันเพื่อกดดันไม่ให้ราคาสูงขึ้นจนกระทบผู้บริโภคมากเกินไป
2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซ LPG โดยเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542 ได้เห็นชอบแนวทางและขั้นตอนการยกเลิกควบคุมราคาก๊าซ LPG และระบบการค้าและมาตรฐานความปลอดภัยก๊าซ LPG ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมการ 2) การยกเลิกควบคุมราคาขายปลีก 3) การดำเนินการภายหลังการยกเลิกควบคุมราคาขายปลีกและการเตรียมการสู่การลอยตัวเต็มที่ และ 4) การใช้ระบบ "ลอยตัวเต็มที่" โดยสมบูรณ์ และต่อมาเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 ได้เห็นชอบให้ใช้ระบบราคา "กึ่งลอยตัว" ดังนี้ 1) รัฐยกเลิกการควบคุมราคาขายปลีกแต่ยังคงควบคุมราคาในระดับขายส่ง 2) รัฐกำหนดราคา ณ โรงกลั่น/ราคานำเข้าให้สะท้อนสภาพตลาด 3) รัฐกำหนดระดับอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซ LPG คงที่ในระดับหนึ่ง 4) รัฐกำหนดราคาขายส่งให้เปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับราคาตลาดโลก มีผลให้ราคาขายปลีกเปลี่ยนแปลงตาม และ 5) ในระหว่างนี้จะมีการปรับปรุงระบบการค้าก๊าซ LPG และเพิ่มการแข่งขัน ในตลาดโดยเปิดเสรีในด้านการจัดหาของผู้ค้าและให้โอกาสผู้ค้าก๊าซฯ สามารถใช้บริการคลังก๊าซฯ และระบบขนส่งก๊าซฯ ของ ปตท. ได้ โดยให้ ปตท. เป็นผู้ให้บริการรับจ้าง
3. ในการประชุม กบง. เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 ได้มีมติเรื่องการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซ LPG ดังนี้ 1) เพื่อหยุดเงินไหลออกของกองทุนน้ำมันฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ราคา ณ โรงกลั่น/ราคานำเข้า เท่ากับราคาประกาศเปโตรมิน (CP) ที่ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบีย เป็นสัดส่วนระหว่างโพรเพนกับบิวเทนเป็น 60 ต่อ 40 ลบ 16 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน มีราคาต่ำสุดในระดับ 185 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน และสูงสุดในระดับ 315 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน 2) จำกัดภาระการจ่ายชดเชยไม่สูงกว่ารายได้ ดังนี้ เดือนกรกฎาคม 2546 จำกัดอัตราชดเชยไม่เกิน 3 บาทต่อกิโลกรัม เดือนกรกฎาคม 2547 จำกัดอัตราชดเชยไม่เกิน 2 บาทต่อกิโลกรัม และเดือนกรกฎาคม 2548 ให้ยกเลิกการจ่ายเงินชดเชยราคาก๊าซ LPG ยกเลิกการควบคุมราคาระบบ "ลอยตัวเต็มที่" อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2547 - 2549 ได้เกิดวิกฤติการณ์ปัญหาราคาน้ำมันแพง เพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าว กบง. ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซ LPG และฐานะกองทุนน้ำมันฯ 8 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2549 ได้พิจารณาเห็นชอบให้ขยายเวลาการจำกัดอัตราชดเชยราคาก๊าซ LPG ไม่เกิน 2 บาทต่อกิโลกรัม และการยกเลิกการจ่ายเงินชดเชยราคาก๊าซ LPG และการควบคุมราคาสู่ระบบ "ลอยตัวเต็มที่" จากเดือนกรกฎาคม 2548 เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 กบง. ได้พิจารณาเรื่อง ข้อเสนอมาตรการป้องกันการขาดแคลนก๊าซ LPG ในประเทศ และได้มีมติให้เก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากการส่งออกก๊าซ LPG เพื่อนำมาชดเชยให้แก่ก๊าซ LPG ที่จำหน่ายในประเทศ โดยการปรับราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่น/โรงแยกก๊าซฯ ที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศให้สูงขึ้น รายจ่ายของกองทุนน้ำมันฯ ที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้จะเท่ากับรายรับของกองทุนน้ำมันฯ ที่ได้จากการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากการส่งออกก๊าซ LPG
4. โครงสร้างราคาก๊าซ LPG ประกอบด้วยราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นและราคาขายปลีก ในส่วนของราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นประกอบด้วย ราคา ณ โรงกลั่นหรือราคา ณ โรงแยกก๊าซฯ/ราคานำเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล กองทุนน้ำมันฯ และภาษีมูลค่าเพิ่ม และในส่วนของราคาขายปลีก ประกอบด้วย ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น ค่าการตลาดและภาษีมูลค่าเพิ่ม และรัฐได้กำหนดให้ราคาขายส่ง ณ คลังก๊าซฯ ของ ปตท. มีราคาเท่ากัน ทั่วประเทศ โดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯ จ่ายชดเชยค่าขนส่งก๊าซฯ ไปยังคลังก๊าซฯ ซึ่งหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นและราคานำเข้า ปัจจุบัน กบง. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดราคาก๊าซฯ ที่ผลิตในประเทศและราคานำเข้าเป็นหลักเกณฑ์เดียวกัน และจะเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์และทุกวันที่ 1 ของเดือน ทั้งนี้ในส่วนค่าการตลาด ภาครัฐไม่ได้ควบคุมผู้ค้าก๊าซฯ มาตรา 7 โดยให้เป็นผู้กำหนดค่าการตลาดเอง ซึ่งกำกับดูแลโดยกรมการค้าภายใน
5. การผลิตการใช้และการส่งออกก๊าซ LPG ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2550 การผลิตก๊าซ LPG ผลิตได้ 2,754 ล้านกิโลกรัม แยกเป็นการผลิตจากโรงแยกก๊าซฯ ร้อยละ 56 โรงกลั่นร้อยละ39 และอื่นๆ ร้อยละ 5 ขณะที่ความต้องการใช้อยู่ที่ 2,369 ล้านกิโลกรัม แยกเป็นความต้องการใช้ในครัวเรือนร้อยละ 52 อุตสาหกรรมร้อยละ 16 รถยนต์ร้อยละ 16 และปิโตรเคมีร้อยละ 16 โดยที่ความต้องการใช้ในรถยนต์เพิ่มขึ้นมากสุดร้อยละ 31.8 เทียบจากช่วงเวลาเดียวกันในของปีที่ผ่านมา ในส่วนของปริมาณการส่งออกก๊าซ LPG อยู่ที่ 299 ล้านกิโลกรัม ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 46.7 เนื่องจากใช้มาตรการกำหนดปริมาณการส่งออก เพื่อป้องกันการขาดแคลนก๊าซ LPG ในประเทศ
6. ปัญหาจากราคาก๊าซ LPG ในประเทศไม่สะท้อนต้นทุน มีดังนี้ 1) ราคาก๊าซฯ ในตลาดโลกสูงกว่าในประเทศ 200 - 300 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน จูงใจให้มีการส่งออกมากกว่าขายภายในประเทศ ภาครัฐต้องจัดการการส่งออก 2) ราคา LPG ต่ำกว่าน้ำมันชนิดอื่น ทำให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ LPG แทน ซึ่งหากการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดการขาดแคลนก๊าซ LPG ในอนาคต โดยในภาคขนส่ง ผู้ใช้รถยนต์เปลี่ยนมาใช้ก๊าซ LPG แทนน้ำมันเบนซินเพิ่มมากขึ้นและภาคอุตสาหกรรมเปลี่ยนมาใช้ก๊าซ LPG แทนน้ำมันเตา 3) ราคา LPG ภายในประเทศต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเกิดการลักลอบส่งออก LPG ทำให้สูญเสียเงินเข้ากองทุนฯ 4) การใช้เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ขาดรายได้จากการส่งออกและสูญเสียโอกาสจากการนำไปใช้ในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี และ 5) กองทุนน้ำมันฯ รับภาระจ่ายชดเชยราคา LPG ปัจจุบันมีหนี้เงินชดเชยก๊าซ LPG ค้างชำระประมาณ 7,500 ล้านบาท
7. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2550 มีเงินสดสุทธิ 16,408 ล้านบาท มีหนี้สินค้างชำระ 26,919 ล้านบาท แยกเป็น 1) หนี้พันธบัตร 17,600 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 งวด ๆ ละ 8,800 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนตุลาคม 2550 และตุลาคม 2551 ตามลำดับ 2) หนี้เงินชดเชยตรึงราคาน้ำมันค้างชำระ 990 ล้านบาท 3) หนี้ชดเชยราคาก๊าซ LPG 7,568 ล้านบาท 4) ภาระดอกเบี้ย (ดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 2 และ 3 ปี) 761 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิติดลบ 7,511 ล้านบาท
8. แนวทางการแก้ไขปัญหา มีดังนี้ 1) ยกเลิกการชดเชยราคาก๊าซ LPG โดยปรับขึ้นราคาขายส่ง (โดยมีผลพร้อมกับการลดราคาขายปลีกเบนซินและดีเซล 0.50 บาทต่อลิตร) 2) ปรับหลักเกณฑ์การกำหนดราคา ณ โรงกลั่นก๊าซ LPG ให้สะท้อนต้นทุนการผลิตก๊าซ LPG ที่แท้จริง 3) ยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากการส่งออกก๊าซ LPG 4) ยังคงนโยบายราคาก๊าซ ณ คลังเท่ากันทั่วประเทศ โดยเก็บเงินเข้ากองทุนฯ จากก๊าซ LPG ในระดับหนึ่ง (0.24 บาทต่อกิโลกรัม) สำหรับชดเชยค่าขนส่งไปยังคลังก๊าซฯ ภูมิภาค
9. ข้อเสนอหลักเกณฑ์การกำหนดราคา ณ โรงกลั่นก๊าซ LPG ได้จากการคำนวณตามสูตร ดังนี้
ต้นทุนการผลิตจากโรงแยกก๊าซฯ < ราคา ณ โรงกลั่น < ต้นทุนการผลิตจากโรงแยกก๊าซฯ 60% + ราคาส่งออกก๊าซ LPG 40%
- พฤศจิกายน - ธันวาคม 2550
ราคา ณ โรงกลั่น = ราคา ณ โรงกลั่นของเดือนก่อนหน้า
- มกราคม - มีนาคม 2551
ราคา ณ โรงกลั่น = ต้นทุนการผลิตโรงแยกก๊าซ 95% + ราคาส่งออก 5%
- เมษายน - มิถุนายน 2551
ราคา ณ โรงกลั่น = ต้นทุนการผลิตโรงแยกก๊าซ 90% + ราคาส่งออก 10%
- กรกฎาคม - กันยายน 2551
ราคา ณ โรงกลั่น = ต้นทุนการผลิตโรงแยกก๊าซ 80% + ราคาส่งออก 20%
- ตุลาคม - ธันวาคม 2551
ราคา ณ โรงกลั่น = ต้นทุนการผลิตโรงแยกก๊าซ 70% + ราคาส่งออก 30%
- มกราคม 2552 เป็นต้นไป
ราคา ณ โรงกลั่น = ต้นทุนการผลิตโรงแยกก๊าซ 60% + ราคาส่งออก 40%
ถ้าราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกปรับลดลงมาก การปรับเปลี่ยนสัดส่วนสามารถทำได้เร็วขึ้น
โดยที่
1) ต้นทุนการผลิตจากโรงแยกก๊าซฯ = ราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับโรงแยกก๊าซฯ + ค่าใช้จ่ายของโรงแยกก๊าซฯ
1.1 ราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับโรงแยกก๊าซฯ ใช้ราคาเดือนก่อนหน้า 2 เดือน
1.2 ค่าความร้อน 1 ตันของก๊าซ LPG = 46.74 ล้านบีทียู
1.3 ค่าใช้จ่ายของโรงแยกก๊าซฯ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายการลงทุนโรงแยกก๊าซฯ ค่าเชื้อเพลิง (3% of Feed) ค่าบำรุงรักษา (3.5% of Investment) ค่าดำเนินการ (3% of Investment) ค่าประกันภัย (1% of Investment) และค่าขนส่งก๊าซ LPG จากโรงแยกก๊าซฯ มาบตาพุดไปคลังชลบุรี 11 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
2) ราคาส่งออกก๊าซ LPG = CP - 19
ราคา CP = ราคาประกาศเปโตรมิน ณ ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบียเป็นสัดส่วนระหว่างโพรเพนกับบิวเทน 60 ต่อ 40 เฉลี่ย 3 เดือนย้อนหลังจากเดือนปัจจุบัน
3) หน่วย : เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
4) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายให้ลูกค้าธนาคารทั่วไป ที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เฉลี่ยเดือนก่อนหน้า
5) ประกาศเปลี่ยนแปลงราคาทุกวันที่ 5 ของเดือน
10. ผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG 1.29 บาทต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 19 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ส่งผลทำให้รายจ่ายของกองทุนน้ำมันฯ ลดลง 324 ล้านบาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้นเป็น 347 ล้านบาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายของโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 57 ล้านบาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายของ รถแท็กซี่ (600 กิโลเมตรต่อ 25.92 ลิตร) 52 บาทต่อวัน ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน (1 เดือนต่อถัง 15 กิโลกรัม) 19 บาทต่อเดือน อาหารสำเร็จรูป (1,440 จานต่อถัง 48 กิโลกรัม) 0.04 บาทต่อจาน ผลกระทบค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือน กรณีที่ลดราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลลง 0.50 บาทต่อลิตร และปรับราคาก๊าซ LPG เพิ่มขึ้น 1.29 บาทต่อกิโลกรัม มีผลทำให้ค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนเฉลี่ยทั้งประเทศลดลง 9.45 บาทต่อเดือน
11. มาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ได้แก่ 1) กลุ่มอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงานได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนเป็นเตาประสิทธิภาพสูง วงเงินรวม 600 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็น เงินช่วยเหลือสำหรับค่าใช้จ่ายปรับปรุงเตาอบลำไย เตาเผาเซรามิค และเตาอบกุนเชียง ในอัตราร้อยละ 40, 30 และ 30 ซึ่งคิดเป็นวงเงิน 380 ล้านบาท 217 ล้านบาท และ 3 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ในโครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม ได้ส่งที่ปรึกษาให้คำแนะนำแก่โรงงานเรื่องการจัดการพลังงานและการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงาน และ 2) กลุ่มรถแท็กซี่ ได้ส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) ในรถแท็กซี่
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบการยกเลิกการชดเชยราคาก๊าซ LPG โดยให้ปรับขึ้นราคาขายส่งก๊าซ LPG ขึ้น (โดยให้ดำเนินการไปพร้อมกับการลดราคาขายปลีกเบนซินและดีเซลลง 0.50 บาทต่อลิตร เมื่อกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีฐานะเป็นบวกแล้ว ประมาณเดือนธันวาคม 2550) ด้วยการให้ยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากการส่งออกก๊าซ LPG และให้คงนโยบายราคาก๊าซ LPG ณ คลังเท่ากันทั่วประเทศ โดยให้จัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากก๊าซ LPG ในระดับที่เพียงพอและเหมาะสมสำหรับชดเชยค่าขนส่งไปยังคลังก๊าซภูมิภาค (0.24 บาทต่อกิโลกรัม)
2. เห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดราคา ณ โรงกลั่นก๊าซ LPG โดยกำหนดเพดานที่ต้นทุนการผลิตจากโรงแยกก๊าซฯ ร้อยละ 60 บวกราคาส่งออกก๊าซ LPG ร้อยละ 40 และราคาฐานที่ต้นทุนการผลิตจากโรงแยกก๊าซฯ ทั้งนี้ ให้ราคา ณ โรงกลั่นคำนวณจากสัดส่วนของต้นทุนการผลิตระหว่างโรงแยกก๊าซฯ และราคาส่งออกก๊าซ LPG โดยให้ทยอยปรับสัดส่วนการผลิตระหว่างโรงแยกก๊าซฯ และโรงกลั่นน้ำมันไปสู่ระดับจริง คือ 60 ต่อ 40 ซึ่งมีสูตรการคำนวณ ดังนี้
ต้นทุนการผลิตจากโรงแยกก๊าซฯ < ราคา ณ โรงกลั่น < ต้นทุนการผลิตจากโรงแยกก๊าซฯ 60% + ราคาส่งออกก๊าซ LPG 40%
- - พฤศจิกายน - ก่อนวันที่ปรับราคาขายส่ง
ราคา ณ โรงกลั่น = ราคา ณ โรงกลั่นของเดือนก่อนหน้า - - วันที่ปรับราคาขายส่ง - มีนาคม 2551
ราคา ณ โรงกลั่น = ต้นทุนการผลิตโรงแยกก๊าซ 95% + ราคาส่งออก 5% - - เมษายน - มิถุนายน 2551
ราคา ณ โรงกลั่น = ต้นทุนการผลิตโรงแยกก๊าซ 90% + ราคาส่งออก 10% - - กรกฎาคม - กันยายน 2551
ราคา ณ โรงกลั่น = ต้นทุนการผลิตโรงแยกก๊าซ 80% + ราคาส่งออก 20% - - ตุลาคม - ธันวาคม 2551
ราคา ณ โรงกลั่น = ต้นทุนการผลิตโรงแยกก๊าซ 70% + ราคาส่งออก 30% - - มกราคม 2552 เป็นต้นไป
ราคา ณ โรงกลั่น = ต้นทุนการผลิตโรงแยกก๊าซ 60% + ราคาส่งออก 40% - - (หมายเหตุ : ถ้าราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกปรับลดลงมาก การปรับเปลี่ยนสัดส่วนสามารถทำได้เร็วขึ้น)
โดยที่ - 1) ต้นทุนการผลิตจากโรงแยกก๊าซฯ = ราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับโรงแยกก๊าซฯ + ค่าใช้จ่ายของโรงแยกก๊าซฯ
- 1.1 ราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับโรงแยกก๊าซฯ ใช้ราคาเดือนก่อนหน้า 2 เดือน
- 1.2 ค่าความร้อน 1 ตันของก๊าซ LPG = 46.74 ล้านบีทียู
- 1.3 ค่าใช้จ่ายของโรงแยกก๊าซฯ
- - ค่าใช้จ่ายการลงทุนโรงแยกก๊าซฯ
- - ค่าเชื้อเพลิง (3 % of Feed)
- - ค่าบำรุงรักษา (3.5 % of Investment)
- - ค่าดำเนินการ (3 % of Investment)
- - ค่าประกันภัย (1 % of Investment)
- - ค่าขนส่งก๊าซ LPG จากโรงแยกก๊าซมาบตาพุดไปคลังชลบุรี 11 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
- 2) ราคาส่งออกก๊าซ LPG = CP - 19 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
ราคา CP = ราคาประกาศเปโตรมิน ณ ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบียเป็นสัดส่วนระหว่างโพรเพนกับบิวเทน 60 ต่อ 40 เฉลี่ย 3 เดือนย้อนหลัง จากเดือนปัจจุบัน - 3) หน่วย : เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
- 4) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายให้ลูกค้าธนาคารทั่วไป ที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เฉลี่ยเดือนก่อนหน้า
- 5) ประกาศเปลี่ยนแปลงราคาทุกวันที่ 5 ของเดือน
1. ในการดำเนินการตามข้อ 1 และ 2 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานได้มอบอำนาจให้ประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบในการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว ในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม
เรื่องที่ 5 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (กันยายน - 8 ตุลาคม 2550)
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์เฉลี่ยเดือนกันยายน 2550 อยู่ที่ระดับ 73.36 และ 76.82 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 5.98 และ 5.61 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ เนื่องจากข่าวโอเปคจำกัดการเพิ่มปริมาณการผลิตเพียง 500,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 27.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2550 รวมทั้งข่าวพายุเฮอริเคน Humberto ขึ้นฝั่งที่รัฐเท็กซัสส่งผลให้โรงกลั่น 3 แห่ง ปิดทำการฉุกเฉิน และต่อมาในช่วงวันที่ 1 - 8 ตุลาคม ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 73.72 และ 77.50 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากรัฐมนตรีน้ำมันของกาตาร์ได้กล่าวเกี่ยวกับการเพิ่มปริมาณการผลิตของโอเปคจะไม่ส่งผลต่อราคาน้ำมันให้ลดลง เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกาที่อ่อนตัวลงลงอย่างต่อเนื่องและมีค่าระดับต่ำสุดในสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งเป็นปัจจัยให้เงินทุนไหลเข้าในตลาดน้ำมันต่อไป โดยโอเปคยังไม่มีแผนที่จะเพิ่มปริมาณการผลิต รวมทั้งข่าวโรงกลั่น Schwedt (210,000 บาร์เรลต่อวัน) ในเยอรมันปิดฉุกเฉินจากปัญหาทางเทคนิค และข่าวบริษัท Gazprom ของรัสเซียกำหนดเส้นตายจะหยุดส่งออกให้ยูเครน หากยูเครนไม่ชำระหนี้ค่าก๊าซฯ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในสิ้นเดือนตุลาคม 2550
2. ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลเฉลี่ยเดือนกันยายน 2550 อยู่ที่ระดับ 82.51, 81.35 และ 90.72 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 5.35, 5.30 และ 7.72 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอินโดนีเซียและเวียดนามเพื่อรองรับเทศกาล Ramadan และ Eid al-Fitr ประกอบกับข่าวโรงกลั่น Pak-Arab Refinery Co. ของปากีสถานงดส่งออกน้ำมันเบนซินออกเทน 90 ปริมาณ 85,000 - 170,000 บาร์เรลต่อเดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน - ธันวาคม 2550 เนื่องจากปิดซ่อมบำรุง และในช่วงวันที่ 1 - 8 ตุลาคม ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 83.23, 82.03 และ 91.30 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและข่าวโรงกลั่น Yokkaichi ของประเทศญี่ปุ่นปิดซ่อมฉุกเฉิน (กำลังการผลิต 45,000 บาร์เรลต่อวัน) และข่าว Chinese Petroleum Corp. ของไต้หวันลดการส่งออกน้ำมันเบนซินเดือนตุลาคมจาก 90,000 ตัน มาอยู่ที่ 60,000 ตัน ในเดือนพฤศจิกายน
3. ในระหว่างเดือนกันยายนถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2550 ผู้ค้าน้ำมันปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95, 91แก๊สโซฮอล์ 95, 91 เพิ่มขึ้น 0.40 บาท/ลิตร จำนวน 4 ครั้ง และปรับราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนเร็วบี 5 เพิ่มขึ้น 0.40 บาท/ลิตร จำนวน 5 ครั้ง ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 แก๊สโซฮอล์ 95, 91 ดีเซลหมุนเร็ว และดีเซลหมุนเร็วบี 5 ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2550 อยู่ที่ระดับ 29.99, 29.19, 26.49, 25.69, 27.34 และ 26.64 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
4. แนวโน้มราคาน้ำมันเดือนตุลาคม 2550 คาดว่าราคาน้ำมันยังคงมีความผันผวนตามกระแสข่าวที่กระทบต่ออุปสงค์และอุปทานของน้ำมันในตลาดโลก โดยจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 70 - 75 และ 75 - 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองในประเทศผู้ผลิต/ส่งออก การเข้าสู่ช่วงฤดูมรสุมและสิ้นสุดฤดูท่องเที่ยวในสหรัฐอเมริกา สำหรับราคาน้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในตลาดจรสิงคโปร์เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 75 - 85 และ 85 - 95 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและความต้องการใช้น้ำมันดีเซลที่เพิ่มมากขึ้นในฤดูหนาว และสภาวะเศรษฐกิจที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมัน
5. สำหรับสถานการณ์ LPG ช่วงเดือนกันยายน 2550 ถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2550 ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 60.00 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน มาอยู่ที่ระดับ 650.00 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ตามต้นทุนราคาน้ำมันดิบและความต้องการในภูมิภาคเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและความอบอุ่น โดยเฉพาะจากประเทศจีน ขณะที่อุปทานในภูมิภาคตึงตัวจากโรงกลั่นในประเทศไทยปิดซ่อมบำรุงประจำปี อย่างไรก็ตามจากระดับราคาที่สูงส่งผลให้ปริมาณความต้องการเริ่มปรับตัวลดลง ราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นอยู่ในระดับ 11.0248 บาทต่อกิโลกรัม อัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่จำหน่ายในประเทศอยู่ในระดับ 0.9549 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็น 264.06 ล้านบาทต่อเดือน อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ส่งออก อยู่ที่ระดับ 5.6539 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็น 53.71 ล้านบาทต่อเดือน สำหรับการคาดการณ์ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2550 คาดว่าราคาจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 636 - 661 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลใช้ก๊าซ LPG เพื่อความอบอุ่น
6. สถานการณ์น้ำมันแก๊สโซฮอล์ เดือนกันยายน 2550 การผลิตและจำหน่ายเอทานอลมีปริมาณรวม 0.69 และ 0.57 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ จากผู้ประกอบการที่ผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง 7 ราย โดยราคา เอทานอลแปลงสภาพไตรมาส 1, 2, 3 และ 4 ในปี 2550 อยู่ที่ลิตรละ 19.33, 18.62, 16.82 บาท และ 15.29 บาท ตามลำดับ ขณะที่มีปริมาณเอทานอลสำรองของผู้ค้าน้ำมันรวม 21.38 ล้านลิตร ส่วนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เดือนกันยายนมีปริมาณ 4.29 ล้านลิตรต่อวัน จากบริษัทค้าน้ำมันที่จำหน่าย จำนวน 11 บริษัท และสถานีบริการ 3,592 แห่ง โดยที่ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ในช่วงเวลาเดียวกันมีปริมาณ 0.79 ล้านลิตรต่อวัน จากบริษัทค้าน้ำมันที่จำหน่ายจำนวน 3 บริษัท และสถานีบริการน้ำมัน 719 แห่ง ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 และ 91 อยู่ที่ 26.49 และ 25.69 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ต่ำกว่าราคาน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 อยู่ที่ 3.50 บาทต่อลิตร
7. สำหรับน้ำมันไบโอดีเซล เดือนกันยายนมีผู้ผลิตไบโอดีเซลที่ได้คุณภาพตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงานจำนวน 6 ราย มีกำลังการผลิตรวม 1,250,000 ลิตรต่อวัน และราคาไบโอดีเซลในประเทศเฉลี่ยเดือนกันยายนและช่วงวันที่ 1 - 8 ตุลาคม 2550 อยู่ที่ 27.99 และ 29.78 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 เดือนกันยายน มีจำนวน 1.92 ล้านลิตรต่อวัน หรือมีการใช้ไบโอดีเซล (B100) เฉลี่ย 96,000 ลิตรต่อวัน โดยมีบริษัทน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 จำนวน 2 ราย คือ ปตท. และบางจาก สถานีบริการรวม 801 แห่ง ปัจจุบันอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 เท่ากับ 1.00 บาทต่อลิตร และราคาขายปลีกอยู่ที่ 26.64 บาทต่อลิตร ซึ่งต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 0.70 บาทต่อลิตร
8. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2550 มีเงินสดสุทธิ 19,408 ล้านบาท มีหนี้สินค้างชำระ 26,919 ล้านบาท แยกเป็นหนี้พันธบัตร 17,600 ล้านบาท หนี้เงินชดเชยตรึงราคาน้ำมันค้างชำระ 990 ล้านบาท หนี้ชดเชยราคาก๊าซ LPG 7,568 ล้านบาท ภาระดอกเบี้ย (ดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 2 และ 3 ปี) 761 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันสุทธิติดลบ 7,511 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ