
มติกบง. (348)
กบง. ครั้งที่ 125 - วันอังคารที่ 11 กันยายน 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 28/2555 (ครั้งที่ 125)
วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. รายงานสถานการณ์การใช้น้ำมันภายในประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง.พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 10 กันยายน 2555
น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และดีเซลอยู่ที่ 112.91, 127.85 และ131.77 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ
โดยราคาน้ำมันดิบดูไบและดีเซลปรับตัวลดลง 0.60 และ 3.20 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ และราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.79 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากราคาปิดตลาด ณ วันที่ 4 กันยายน 2555 ดังนั้น โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 11 กันยายน 2555 คือ
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 9 กันยายน 2555 มีทรัพย์สินรวม 4,412 ล้านบาท หนี้สินรวม 21,525 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 17,114 ล้านบาท
5. จากค่าการตลาดของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลที่อยู่ในระดับต่ำ ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน และ แก๊สโซฮอลลง 0.20 บาท/ลิตร และจากค่าการตลาดน้ำมันดีเซลที่อยู่ในระดับสูง จึงขอปรับลดอัตราเงินชดเชยของน้ำมันดีเซลลง 0.20 บาท/ลิตร โดยมีอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังนี้
กองทุนน้ำมันฯ จะมีภาระเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 6 ล้านบาท จากติดลบวันละ 112 ล้านบาท เป็นติดลบวันละ 106 ล้านบาท
การพิจารณาของที่ประชุม
ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายสมชาย ศักดาเวคีอิศร) ได้ให้ความเห็นว่า ในส่วนของน้ำมันเบนซิน 91 และ น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 ไม่ควรมีการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ลง 0.20 บาท/ลิตร เพื่อเพิ่มส่วนต่างของราคาขายปลีกให้เพิ่มขึ้นและเป็นการส่งเสริมการใช้น้ำมัน แก๊สโซฮอล 91, E20 และ E85 ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ ได้ชี้แจงว่า หากไม่ดำเนินการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 91 และ น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 ลง ผู้ค้าน้ำมันอาจจะปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 91 และ น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2555 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 รายงานสถานการณ์การใช้น้ำมันภายในประเทศ
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) ได้รายงานสถานกาณ์การใช้น้ำมันภายในประเทศว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลโดยการเพิ่มส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้มากขึ้น ทำให้ในปัจจุบันปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน 91 มีแนวโน้มลดลงจากช่วงต้นปีมีการใช้ประมาณ 10 ล้านลิตรต่อวัน ลงมาอยู่ที่ 8 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนน้ำมันเบนซิน 95 ยังคงมีปริมาณการใช้คงที่ประมาณ 1 แสนลิตรต่อวัน แต่ทั้งนี้ปริมาณการใช้น้ำมันแก๊สโซอฮลมีแนวโน้มที่มากขึ้นโดย E20 ในช่วงต้นปีมีปริมาณการใช้อยู่ที่ประมาณ 7 แสนลิตรต่อวัน ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านลิตรต่อวัน ส่วน E85 ในช่วงต้นปีมีปริมาณการใช้อยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นลิตรต่อวัน ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 1 แสนลิตรต่อวัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าส่วนต่างของราคามีผลกระทบต่อปริมาณการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลโดยตรง เนื่องปัจจุบันยังมีสถานีจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 และ E85 เพียง 800 - 900 แห่ง แต่คาดว่าในช่วงสิ้นปีจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 แห่ง จะทำให้มีปริมาณการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 และ E85 เพิ่มขึ้นอีก
กบง. ครั้งที่ 126 - วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 29/2555 (ครั้งที่ 126)
วันอังคารที่ 20 กันยายน 2555 เวลา 15.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. โครงการแลกเปลี่ยนถังก๊าซคอมโพสิตใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 1
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง.พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 19 กันยายน 2555 น้ำมันดิบดูไบ เบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 110.80, 124.93 และ129.95 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ เบนซิน และดีเซลปรับตัวลดลง 2.11, 2.92 และ 1.82 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 10 กันยายน 2555) โดยมีโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 20 กันยายน 2555 ดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงณ วันที่ 20 กันยายน 2555
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 16 กันยายน 2555 มีทรัพย์สินรวม 4,829 ล้านบาท หนี้สินรวม 22,257 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 17,429 ล้านบาท
5. จากค่าการตลาดของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลที่อยู่ในระดับสูง ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน และ แก๊สโซฮอลเพิ่มขึ้น 0.50 บาท/ลิตร และดีเซลเพิ่มขึ้น 0.60 บาท/ลิตร โดยมีอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังนี้
กองทุนน้ำมันฯ จะมีภาระลดลงประมาณวันละ 43 ล้านบาท จากติดลบวันละ 106 ล้านบาท เป็นติดลบวันละ 63 ล้านบาท
การพิจารณาของที่ประชุม
1. รองปลัดกระทรวงพลังงาน (นายคุรุจิต นาครทรรพ) ได้ให้ความเห็นว่า เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซินในตลาดโลกได้มีการปรับตัวลดลงค่อนข้างมากถึง 1.82 และ 2.92 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จึงควรให้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จำนวนที่เท่ากันเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ควรพิจารณาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกเฉลี่ย 7 วัน ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ ได้ชี้แจงว่า เนื่องจากน้ำมันดีเซลมีปริมาณการใช้เป็นจำนวนมากหากเทียบกับน้ำมันเบนซิน รวมทั้งราคาน้ำมันดีเซลในตลาดโลกยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลง ดังนั้นการปปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลในอัตราที่ 0.60 บาทต่อลิตร จะทำให้ค่าการตลาดอยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด
2. ผู้แทนปลัดกระทรวงคมนาคม (นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ) ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า เนื่องจากปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 53 ล้านลิตรต่อวัน นับว่าเป็นปริมาณมาก หากเทียบกับน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลอยู่ที่ประมาณ 20 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้นการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลที่ 0.60 บาทต่อลิตร จะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.40 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นอัตราที่ผู้ค้าน่าจะยอมรับได้ และเป็นการลดภาระของกองทุนลงอีก
3. ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายภูมิใจ อัตตะนันทน์) ได้ให้ความเห็นว่า การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 ที่ 0.50 บาทต่อลิตร จะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 อยู่ที่ 1.59 และ 1.51 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ซึ่งยังเป็นอัตราที่สูงจึงเห็นควรให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 ให้มากขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ ได้ชี้แจงว่า การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จะพิจารณาจากค่าการตลาดเฉลี่ยรายเดือน และเฉลี่ย 7 วันย้อนหลัง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาค่าการตลาดเฉลี่ยของน้ำมันเบนซิน 95, 91 และดีเซลอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1.50 บาทต่อลิตร รวมถึงสถานการณ์ราคาน้ำมัน
ในตลาดโลกยังมีความผันผวนจึงอาจจะปรับตัวสูงขึ้นได้ จึงควรรักษาค่าการตลาดให้อยู่ที่ระดับ 1.50 บาทต่อลิตร
และดูสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกไปอีกระยะหนึ่ง
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
เรื่องที่ 2 โครงการแลกเปลี่ยนถังก๊าซคอมโพสิตใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 1
รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (นางพูนทรัพย์ สกุณี) ได้รายงานเกี่ยวกับโครงการแลกเปลี่ยนถังก๊าซ
คอมโพสิตใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 1 ว่า ปัจจุบันใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการใช้ถังแก๊สหุงต้มเหล็กอยู่ประมาณ 740.000 ใบ เป็นถังขนาด 4 กิโลกรัม จำนวน 237,000 ใบ ขนาด 13.5 กิโลกรัม จำนวน 467,000ใบ และขนาด 48 กิโลกรัม จำนวน 36,000 ใบ ซึ่งถังเหล็กบางส่วนได้ถูกนำมาใช้ในการก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงควรดำเนินการเปลี่ยนมาใช้ถังก๊าซคอมโพสิตซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่าถังเหล็ก ปัจจุบันมีบริษัท อุตสาหกรรมจอบไทย จำกัด เป็นผู้ผลิตถังคอมโพสิตเพียงแห่งเดียว มีกำลังการผลิตเต็มที่อยู่ที่ประมาณ 20,000
ใบต่อเดือน แต่คาดว่าในช่วงเดือนมีนาคม 2556 จะมีบริษัท ทีเจ คอมโพสิต จำกัด เพิ่มอีกแห่ง ซึ่งจะมีกำลังการผลิตประมาณ 20,000 ใบต่อเดือน จึงคาดว่าจะสามารถจัดหาถังได้ประมาณ 40,000 ใบต่อเดือน และในเบื้องต้น
จะดำเนินการเปลี่ยนถังขนาด 13.5 และ 15 กิโลกรัมก่อน โดยจะรับแลกเปลี่ยนถังแก๊สหุงต้มเหล็กที่มีราคาเฉลี่ย
ถังละประมาณ 800 บาท และภาครัฐต้องชดเชยในส่วนที่เหลืออีกประมาณ 480 บาท เนื่องจากต้นทุนราคาถัง
ก๊าซคอมโพสิตอยู่ที่ประมาณ 1,280 บาท ซึ่งคาดว่าในระยะแรกจะดำเนินการเปลี่ยนประมาณ 468,000 ใบ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ถึงไตรมาสที่ 4 ของปี 2556 โดยจะใช้เงินในการประชาสัมพันธ์และดำเนินการทั้งสิ้นประมาณ 234 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยน การขนส่ง และซ่อมแซมถังเหล็ก
ทางผู้ค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ปัจจุบันมีผู้ค้าที่รับดำเนินการเพียงแห่งเดียว คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เนื่องจากมีการซื้อขายถังคอมโพสิตกับบริษัท อุตสาหกรรมจอบไทย จำกัด อยู่แล้วในปัจจุบัน
การพิจารณาของที่ประชุม
1. ประธานฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า ในเบื้องต้น ปตท. ได้ประสานงานกับ บริษัท จอบไทยฯ และสั่งผลิตถังก๊าซคอมโพสิตครั้งแรกเป็นจำนวน 100,000 ใบ เพื่อดำเนินการเปลี่ยนถังแก๊สหุงต้มเหล็กเป็นถังก๊าซคอมโพสิตที่ใช้ภายในประเทศทั้งหมด และจากการหารือกันได้มีความเห็นว่า ควรดำเนินการเปลี่ยนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อน โดยทั้งนี้กระทรวงพลังงานควรหารือกับผู้ค้ารายอื่นด้วยเพื่อให้มีความเข้าใจและเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการนี้ต่อไป
2. ปลัดกระทรวงพลังงาน (นายณอคุณ สิทธิพงศ์) ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ควรศึกษารายละเอียดการใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ ในการดำเนินการเปลี่ยนถังแก๊สหุงต้มเหล็กเป็นถังก๊าซคอมโพสิตเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันฯ มากที่สุด และควรชักชวนให้ผู้ค้ารายอื่นๆ เข้าร่วมดำเนินการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันทางการตลาด เพราะการใช้ถังก๊าซคอมโพสิตจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เนื่องจากถังก๊าซคอมโพสิตมีน้ำหนักเบาและมีความปลอดภัยสูงกว่าถังเหล็ก
มติของที่ประชุม
เห็นชอบมอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานดำเนินการหารือกับผู้ค้าที่เกี่ยวข้อง ในด้านศักยภาพของการเตรียมความพร้อมและแนวทางในการดำเนินการเปลี่ยนถังแก๊สหุงต้มเหล็กเป็นถังก๊าซคอมโพสิตต่อไป
กบง. ครั้งที่ 127 - วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 30/2555 (ครั้งที่ 127)
วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. กรอบการใช้จ่ายเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประจำปีงบประมาณ 2556
3. โครงการบัตรเครดิตพลังงานสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง.พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 26 กันยายน 2555 น้ำมันดิบดูไบเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 107.65, 123.87 และ126.60 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ เบนซิน และดีเซลปรับตัวลดลง 3.15, 1.06 และ 3.35 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 19 กันยายน 2555) และโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 27 กันยายน 2555 ดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 27 กันยายน 2555
(กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 23 กันยายน 2555 มีทรัพย์สินรวม 4,162 ล้านบาท หนี้สินรวม 22,329 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 18,168 ล้านบาท
5. จากค่าการตลาดของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลที่อยู่ในระดับสูง ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของดีเซลเพิ่มขึ้น 0.20 บาท/ลิตร โดยมีอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังนี้
กองทุนน้ำมันฯ จะมีภาระลดลงประมาณวันละ 10 ล้านบาท จากติดลบวันละ 61 ล้านบาท เป็นติดลบ
วันละ 51 ล้านบาท
การพิจารณาของที่ประชุม
1. ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (นางสาวสุมาลี สถิตชัยเจริญ) ได้ให้ความเห็นว่า ในการประชุม กบง. เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2555 ราคาน้ำมันดีเซลในตลาดโลกลดลง 1.82 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯของดีเซล 0.60 บาทต่อลิตร โดยครั้งนี้ราคาน้ำมันดีเซลในตลาดโลกลดลงถึง 3.35 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ดังนั้นเพื่อให้ฐานะกองทุนดีขึ้นโดยเร็ว จึงควรให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นมากกว่า 0.20 บาทต่อลิตร ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ ได้ชี้แจงว่า ในการพิจารณาโครงสร้างราคาขายปลีกจะพิจารณาจากราคาน้ำมันดิบดูไบ ราคาตลาดสิงคโปร์ และอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 27 กันยายน 2555 อ่อนตัวลงกว่าครั้งที่ผ่านมาประมาณ 0.15 บาทต่อดอลล่าห์สหรัฐ
ทำให้ราคาขายปลีกสูงขึ้น 0.10 บาทต่อลิตร รวมทั้งผู้ค้าน้ำมันได้ลดราคาขายปลีกลงก่อนแล้ว 0.20 บาทต่อลิตร
หากครั้งนี้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯของน้ำมันดีเซลมากกว่า 0.20 บาทต่อลิตร จะส่งผลให้ค่าการตลาดต่ำกว่า 1.50 บาทต่อลิตรอย่างต่อเนื่อง และอาจส่งผลให้ผู้ค้ารายเล็กไม่สามารถประกอบกิจการต่อได้
2. ประธานฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ผู้ค้าน้ำมันหลายแห่งได้มีการเข้าชี้แจงกับกระทรวงพลังงานเกี่ยวกับค่าการตลาดที่เหมาะสมว่าควรอยู่ที่ 1.80 บาทต่อลิตร เนื่องจากปัจจุบันค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่
1.40 - 1.50 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ผู้ค้าบางรายไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ ดังนั้นจึงอาจจะต้องมีการศึกษาวิจัยเพื่อหาค่าการตลาดที่เหมาะสมอีกครั้ง
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2555 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 กรอบการใช้จ่ายเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประจำปีงบประมาณ 2556
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 กบง. ได้มีมติอนุมัติงบบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประจำปีงบประมาณ 2551–2555 ให้แก่หน่วยงานต่างๆ ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน (สป.พน.) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.)
รวมจำนวนเงิน 173,679,300 บาท พร้อมทั้งสนับสนุนเงินในงบค่าใช้จ่ายอื่น ในปีงบประมาณ 2551 เป็นเงิน
350 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2552 - 2555 จำนวนเงินปีละ 300 ล้านบาท โดยเงินเหลือจ่ายดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในปีถัดไปได้
2. เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2554 กบง. ได้อนุมัติงบบริหารกองทุนน้ำมันฯ ประจำปีงบประมาณ 2555
ให้หน่วยงานต่างๆ ข้างต้น เป็นจำนวนเงินรวม 41,345,200 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
3. สนพ. และกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้จัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ ปีงบประมาณ 2555 งบค่าใช้จ่ายอื่น จำนวนรวม 3 โครงการ ได้อนุมัติเงินรวม 35.084 ล้านบาท เป็นเงินสนับสนุน สนพ. จำนวน 2 โครงการ เป็นเงิน 21.50 ล้านบาท ได้แก่ โครงการศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) (วงเงิน 1.5 ล้านบาท) และโครงการประชาสัมพันธ์พลังงานตามสถานการณ์ (วงเงิน 20 ล้านบาท) และ ธพ. จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการป้องกันและปราบปรามการลักลอบจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวข้ามสาขา และการลักลอบส่งออกก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (วงเงิน 13.584 ล้านบาท)
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 23 กันยายน 2555 มีทรัพย์สินรวม 4,162 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 22,329 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 17,131 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว
148 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 5,050 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิติดลบ 18,168 ล้านบาท
5. เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2555 ฝ่ายเลขานุการฯ ได้มีหนังสือให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจัดทำคำขอแผนการใช้จ่ายเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันฯ ประจำปีงบประมาณ 2556 และหน่วยงานต่างๆได้ส่งคำขอรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 34,229,600 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรอบการใช้จ่ายเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันฯ ปีงบประมาณ 2556 สป.พน. และ สนพ. ได้ขอปรับลดเงินสนับสนุนจากปี 2555 จำนวน 23.0067 ล้านบาท และ 9.4903 เป็นปี 2556 จำนวน 16.540 และ 6.3604 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และ สบพน. ในปี 2556 ได้ขอปรับเงินสนับสนุนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามการเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามระเบียบกระทรวงการคลังเป็นจำนวน 7.7518, 1.2352 และ 2.3422 ล้านบาท ตามลำดับ
6. ในส่วนงบรายจ่ายอื่น ในปี 2556 ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ขอปรับลดเงินจาก 300 ล้านบาท เป็น 150 ล้านบาท เพื่อให้สอกคล้องกับสถานการณ์ของฐานะกองทุนน้ำมันฯ ที่ติดลบ
การพิจารณาของที่ประชุม
1. ประธานฯ ได้สอบถามเกี่ยวกับ การใช้ประโยชน์ของเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2556 ในวงเงิน 150 ล้านบาท ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ ได้ชี้แจงว่า เป็นวงเงินเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ใช้ในการดำเนินโครงการศึกษาวิจัยตามวัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันฯ เช่น สนพ. ใช้ในการศึกษาความเหมาะสมของค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
2. ปลัดกระทรวงพลังงาน (นายณอคุณ สิทธิพงศ์) ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า เดิมได้มีการวางกรอบวงเงินกองทุนน้ำมันฯ งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2551-2555 ในวงเงิน 300 ล้านบาทต่อปี ซึ่งหน่วยงานหลักที่มีการเบิกจ่าย ได้แก่ สนพ. กรมธุกิจพลังงาน และ สป.พน. ซึ่งได้มีการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายพลังงานในกรณีเร่งด่วน เช่น กรมธุรกิจพลังงานมีการปรับภาษีสรรพษามิตต้องมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบคลังน้ำมันค่าใช้จ่ายจะใช้ในส่วนนี้ ค่าใช้จ่ายเร่งด่วนที่ไม่สามารถตั้งงบประมาณขึ้นได้ทัน และที่ผ่านมาการใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ ในส่วนนี้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 120 ล้านบาทต่อปี จึงได้มีการปรับลดการขอกรอบวงเงินในส่วนนี้เหลือ 150 ล้านบาท โดยเงินส่วนนี้ กบง. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น เพื่อกลั่นกรองและอนุมัติเกี่ยวกับการใช้เงินในส่วนนี้
3. รักษาการผู้อำนวยการ สบพน. (นายชายน้อย เผื่อนโกสุม) ได้ให้ความเห็นว่า การเบิกเงินจากกองทุนน้ำมันฯ งบรายจ่ายอื่น ยังไม่มีระเบียบปฏิบัติในการติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินการที่ชัดเจน จึงเห็นควรให้มีการจัดทำระบบการติดตามผลการดำเนินการเพื่อให้การใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันฯ มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยขณะนี้ สบพน. กำลังศึกษารายละเอียดและจะนำผลเสนอ กบง. ต่อไป
มติของที่ประชุม
1. รับทราบผลการใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประจำปีงบประมาณ 2555 ของหน่วยงานต่างๆ
2. เห็นชอบกรอบการใช้จ่ายเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประจำปีงบประมาณ 2556 ของ 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) เป็นจำนวนเงินรวม 34.2296 ล้านบาท (สามสิบสี่ล้านสองแสนสองหมื่นเก้าพันหกร้อยบาทถ้วน) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป
3. เห็นชอบอนุมัติเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2556 ในวงเงิน 150 ล้านบาท (หนึ่งร้อยห้าสิบล้านบาทถ้วน) เพื่อเป็นเงินสำรองกองกลาง
เรื่องที่ 3 โครงการบัตรเครดิตพลังงานสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์) ได้ขอหารือเกี่ยวกับ โครงการบัตรเครดิตพลังงานสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลในรถจักรยานยนต์สาธารณะ โดยการให้ส่วนลดราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลให้กับรถจักรยานยนต์สาธารณะ 3 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมัน
แก๊สโซฮอลถูกกว่าน้ำมันเบนซิน 91 ประมาณ 10 บาทต่อลิตร แต่เนื่องจากมอเตอร์ไซด์บางรุ่นไม่สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลได้ หรือยังไม่มีความมั่นใจในการปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล ซึ่งควรมีมาตรการในการช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้ดังกล่าว โดยอาจจะปรับปรุงเครื่องยนต์ รวมทั้งต้องสร้างความมั่นใจด้วยการประชาสัมพันธ์หลายๆ ช่องทาง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจในนโยบายดังกล่าว เช่น การเผยแพร่ทางโฆษณา หรือติดตั้งป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ตามที่ต่างๆ เป็นต้น
มติของที่ประชุม
เห็นชอบมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานประสานงานและร่วมหารือกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อหาแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินการต่อไป
กบง. ครั้งที่ 128 - วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 31/2555 (ครั้งที่ 128)
วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 15.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. การเพิ่มสัดส่วนไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล
ปลัดกระทรวงพลังงาน (นายณอคุณ สิทธิพงศ์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคา ขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมัน แก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 111.00, 130.20 และ131.00 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ เบนซิน และดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.35, 6.33 และ 4.40 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 26 กันยายน 2555) จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้น และ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2555 ผู้ค้าน้ำมันปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล 0.50 บาทต่อลิตร ส่งผลให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2555 เป็นดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงณ วันที่ 12 ตุลาคม 2555
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 5,749 ล้านบาท หนี้สินรวม 24,379 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 18,630 ล้านบาท
5. กพช. เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2555 เห็นชอบมอบหมายให้ กบง. ปรับส่วนต่างราคาขายปลีกน้ำมัน แก๊สโซฮอล 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 เพื่อจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ให้มากขึ้น ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอเพิ่มแรงจูงใจอีกร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 8 หรือปรับส่วนต่าง เป็น 3 บาท/ลิตร โดยในครั้งนี้จะปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 และ E20 ลง 0.40 และ1.40 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างของราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 และ E20 อยู่ที่ 2 บาท/ลิตร และจะทยอยปรับส่วนต่างราคาขายปลีกให้เป็น 3 บาท/ลิตร พร้อมทั้งติดตามผลการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 เป็นระยะๆ ต่อไป
6. จากค่าการตลาดของน้ำมันเบนซินและดีเซลอยู่ในระดับต่ำ และเพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของเบนซิน 95, 91 น้ำมันแก๊สโซฮอล 95, 91 ลง 0.40 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ลง 1.40 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลปรับลด 0.30 บาทต่อลิตร โดยมีอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังนี้
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 7.40 | 7.00 | -0.40 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 6.10 | 5.70 | -0.40 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 1.70 | 1.30 | -0.40 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | -0.60 | -1.00 | -0.40 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -0.90 | -2.30 | -1.40 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -11.80 | -11.80 | - |
น้ำมันดีเซล | 0.20 | -0.10 | -0.30 |
กองทุนน้ำมันฯ จะมีภาระเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 20 ล้านบาท จากติดลบวันละ 20 ล้านบาท เป็นติดลบวันละ 40 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
(หน่วย : บาทต่อลิตร)
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ |
น้ำมันเบนซิน 95 | 7.40 | 7.00 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 6.10 | 5.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 1.70 | 1.30 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | -0.60 | -1.00 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -0.90 | -2.30 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -11.80 | -11.80 |
น้ำมันดีเซล | 0.20 | -0.10 |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 การเพิ่มสัดส่วนไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2554 กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้บังคับใช้ประกาศกำหนดคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้มีไบโอดีเซลผสมอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 5 (4.5 – 5%) โดยปริมาตร ต่อมา ธพ. ได้ออกประกาศปรับลดสัดส่วนไบโอดีเซล เหลือร้อยละ 4 (3.5 – 4%) โดยปริมาตร ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2555 เนื่องจากสต๊อคน้ำมันปาล์มดิบในเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2555 คงเหลือเพียง 176,030 ตัน และ 158,633 ตัน ตามลำดับ
2. สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน ได้รายงานปริมาณการผลิต การนำเข้า และส่งออกน้ำมันปาล์มดิบคงเหลือ เดือนสิงหาคม 2555 พบว่ามีปริมาณสูงถึง 218,564 ตัน โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้พยากรณ์ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบไว้ ดังนี้
ชนิดน้ำมัน | ปี 55 (พยากรณ์โดย สศก.) | ปี 56 (เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี) | |||||
ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | |
ผลผลิต | 182,631 | 182,685 | 185,361 | 169,430 | 117,864 | 137,269 | 173,819 |
คงเหลือ | 251,000 | 285,000 | 310,000 | 322,000 | 290,000 | 274,000 | 289,000 |
3. ความต้องการใช้ภายในประเทศ 132,500 ตันต่อเดือน ประมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบเพื่อการบริโภค 85,000 ตันต่อเดือน ใช้เพื่อการผลิตไบโอดีเซล (สัดส่วน 5%) 47,500 ตันต่อเดือน ดังนั้นสต๊อกปาล์มน้ำมันคงเหลือรายเดือนที่มีความมั่นคงสำหรับประเทศควรมีปริมาณที่พอเพียงสำหรับการใช้ 1.5 เดือน หรือ ประมาณ 200,000 ตัน/เดือน ปริมาณคงเหลือที่ต้องเฝ้าระวัง คือ ปริมาณใช้งานได้ 1.25 เดือน หรือประมาณ 170,000 ตัน/เดือน และปริมาณคงเหลือที่เข้าสู่วิกฤต คือ ปริมาณการใช้งาน 1 เดือน คือ 132,500 ตัน/เดือน
4. เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มดิบล้นตลาด ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอแนวทาง ดังนี้
4.1 เห็นควรมอบหมายให้ ธพ. ปรับเพิ่มสัดส่วนไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลเป็นร้อยละ 5 (4.5 – 5%) และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2555 เป็นต้นไป
4.2 กำหนดกรอบปริมาณน้ำมันปาล์มดิบคงเหลือ ไม่ต่ำกว่า 200,000 ตัน/เดือน และเมื่อใดปริมาณน้ำมันปาล์มดิบคงเหลือต่ำกว่า 200,000 ตัน/เดือน ให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องประชุมหารือเพื่อหาทางบริหารจัดการต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้กรมธุรกิจพลังงานปรับเพิ่มสัดส่วนไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลเป็นร้อยละ 5 (4.5 – 5%) และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 เป็นต้นไป
2. เห็นชอบให้กำหนดกรอบปริมาณน้ำมันปาล์มดิบคงเหลือ ไม่ต่ำกว่า 200,000 ตันต่อเดือน โดยทั้งนี้ เมื่อปริมาณน้ำมันปาล์มดิบคงเหลือต่ำกว่า 200,000 ตันต่อเดือนให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องประชุมหารือ เพื่อหาทางบริหารจัดการต่อไป
กบง. ครั้งที่ 129 - วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 32/2555 (ครั้งที่ 129)
วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ปลัดกระทรวงพลังงาน (นายณอคุณ สิทธิพงศ์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคา ขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมัน แก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 110.80, 124.32 และ129.18 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ เบนซิน และดีเซลปรับตัวลดลง 0.20, 5.88 และ 1.82 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาปิดตลาดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2555 เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้น และ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2555 ผู้ค้าน้ำมันปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอลลง 0.50 บาทต่อลิตร ส่งผลให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2555 เป็นดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2555
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 5,582 ล้านบาท หนี้สินรวม 24,607 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 19,025 ล้านบาท
5. จากค่าการตลาดของน้ำมันเบนซินและดีเซลอยู่ในระดับสูง ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95, 91 เพิ่มขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร 95, 91 ลง 0.40 บาทต่อลิตร และเพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20 จึงขอปรับอัตราเงินชดเชยเพิ่ม 0.50 บาท/ลิตร โดยมีอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังนี้
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 7.00 | 7.50 | +0.50 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 5.70 | 6.20 | +0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 1.30 | 1.80 | +0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | -1.00 | -0.50 | +0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -2.30 | -2.80 | -0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -11.80 | -11.80 | - |
น้ำมันดีเซล | -0.10 | +0.20 | +0.30 |
กองทุนน้ำมันฯ จะมีภาระเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 25.27 ล้านบาท จากติดลบวันละ 46.69 ล้านบาท เป็นติดลบวันละ 21.42 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
(หน่วย : บาทต่อลิตร)
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ |
น้ำมันเบนซิน 95 | 7.00 | 7.50 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 5.70 | 6.20 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 1.30 | 1.80 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | -1.00 | -0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -2.30 | -2.80 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -11.80 | -11.80 |
น้ำมันดีเซล | -0.10 | +0.20 |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 130 - วันพุธที่ 24 ตุลาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 23/2555 (ครั้งที่ 130)
วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคา ขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมัน แก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 107.25, 118.4 และ 124.45 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ เบนซิน และดีเซลปรับตัวลดลง 3.55, 6.18 และ 4.73 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 18 ตุลาคม 2555) จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2555 เป็นดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2555
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 4,454 ล้านบาท หนี้สินรวม 23,693 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 19,239 ล้านบาท
5. จากค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซลที่อยู่ในระดับสูง ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันทุกชนิด 0.50 บาท/ลิตร ยกเว้นน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ที่เก็บในอัตราเดิม โดยมีอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังนี้
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 7.50 | 8.00 | +0.50 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 6.20 | 6.70 | +0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 1.80 | 2.30 | +0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | -0.50 | 0.00 | +0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -2.80 | -2.30 | -+0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -11.80 | -11.80 | - |
น้ำมันดีเซล | 0.20 | 0.70 | +0.50 |
กองทุนน้ำมันฯ จะมีภาระลดลงประมาณวันละ 36.84 ล้านบาท จากติดลบวันละ 21.42 ล้านบาท เป็นบวกวันละ 15.42 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
(หน่วย : บาทต่อลิตร)
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ |
น้ำมันเบนซิน 95 | 7.50 | 8.00 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 6.20 | 6.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 1.80 | 2.30 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | -0.50 | 0.00 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -2.80 | -2.30 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -11.80 | -11.80 |
น้ำมันดีเซล | 0.20 | 0.70 |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 131 - วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 34/2555(ครั้งที่ 131)
วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 15.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ กรรมการและเลขานุการ
การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า วันนี้เป็นการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)ครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และได้แนะนำเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รายงานเกี่ยวกับ สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกว่า ปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก ได้แก่ ปริมาณความต้องการ ปริมาณการผลิต สภาพเศรษฐกิจ การเมือง และฤดูกาล ปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศจีน และทวีปยุโรป ยังอยู่ในสภาวะอ่อนแอ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันในตลาดโลก การคาดการณ์ความต้องการน้ำมันในปี 2013 จะเพิ่มขึ้นมากในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา (Non-OECD) ส่วนการจัดหาน้ำมันจะมาจาก 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มโอเปคจำนวน 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน และกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มโอเปคจำนวน 60 ล้านบาร์เรลต่อวัน สำหรับการกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกจะมาจาก 3 ส่วน ได้แก่ กลุ่มโอเปค ;กองทุนรวมในต่างประเทศ (Fund Flow) และปริมาณน้ำมันสำรองในตลาดโลก อย่างไรก็ตามกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้คาดการณ์ว่าในปี 2013 เศรษฐกิจโลกจะปรับตัวดีขึ้นโดยมี GDP อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.6 และทำให้มีการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นประมาณ 840,000 บาร์เรลต่อวัน ในปัจจุบันราคาน้ำมันดิบดูไบมีแนวโน้มที่ลดลงจากสภาวะเศรษฐกิจของยุโรป แหล่งผลิตน้ำมันในทะเลเหนือกลับมาดำเนินการผลิต และการเพิ่มปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปคกว่า 60,000 บาร์เรลต่อวัน ทำให้มีการจัดหาเพียงพอต่อความต้องการ ส่วนน้ำมันสำเร็จรูปเบนซินในตลาดสิงคโปร์มีแนวโน้มลดลง จากปริมาณการสำรองที่สูงขึ้นกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา และโรงกลั่นในประเทศเวียดนามเริ่มดำเนินการผลิตหลังการปิดปรับปรุง โดยราคาน้ำมันเบนซินในตลาดซื้อขายล่วงหน้าในเดือน ธันวาคม 2555 - กุมภาพันธ์ 2556 อยู่ที่ 112.67, 119.94 และ 110.00 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ ส่วนราคาน้ำมันดีเซลในตลาดซื้อขายล่วงหน้าในเดือน ธันวาคม 2555 อยู่ที่ประมาณ 121 - 122 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากความต้องการใช้ทำความร้อนในฤดูหนาวของหลายประเทศ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 น้ำมันดิบดูไบเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 103.35, 1124.48 และ 120.96 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ เบนซิน และดีเซลปรับตัวลดลง 3.90, 5.66 และ 3.49 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 23 ตุลาคม 2555) จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 เป็นดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน2555
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2555 มีทรัพย์สินรวม 4,592 ล้านบาท หนี้สินรวม 24,047 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 19,455 ล้านบาท
จากค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอลและน้ำมันดีเซลที่อยู่ในระดับสูง ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.50 บาท/ลิตร โดยมีอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังนี้
ชนิดน้ำมัน |
เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 8.00 | 8.00 | - |
น้ำมันเบนซิน 91 | 6.70 | 6.70 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.30 | 2.30 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.00 | 0.00 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอลE20 | -2.30 | -2.30 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอลE85 | -11.80 | -11.80 | - |
น้ำมันดีเซล | 0.70 | 1.20 | +0.50 |
กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 26.70 ล้านบาท จากวันละ 41.60 ล้านบาท เป็นวันละ 68.33 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
(หน่วย บาทต่อลิตร)
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ |
น้ำมันเบนซิน 95 | 8.00 | 8.00 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 6.70 | 6.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.30 | 2.30 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.00 | 0.00 |
น้ำมันแก๊สโซฮอลE20 | -2.30 | -2.30 |
น้ำมันแก๊สโซฮอลE85 | -11.80 | -11.80 |
น้ำมันดีเซล | 0.70 | 1.20 |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่พฤศจิกายน 2555 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 132 -วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 35/2555 (ครั้งที่ 132)
วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 13.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ นายณอคุณ สิทธิพงศ์ เป็นประธานที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. การกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเอทานอล
3. แผนปฏิบัติการการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกว่า ในช่วงที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 2 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากสถานการณ์การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส แม้ว่าจะเซ็นสัญญาหยุดยิงเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่ยังคงสู้รบกันอยู่ และปัจจัยอื่นคือความตรึงเครียดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และสถานการณ์ในประเทศอียิปต์ ซึ่งหลังจากประธานาธิบดีของอียิปต์ออกพระราชกฤษฎีกาเพิ่มอำนาจให้ตนเอง ทำให้เกิดการประท้วงของประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งข่วแท่นขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐฯ ระเบิดในอ่าวเม็กซิโกตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งภาพรวมราคาน้ำมันดิบยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ในส่วนของน้ำมันสำเร็จรูป โดยน้ำมันเบนซินมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ และโรงกลั่นมะละกาในมาเลเซียลดกำลังการผลิตลงเนื่องจากปัญหาทางด้านเทคนิค แต่ประเทศศรีลังกาและอินโดนีเซียยังคงนำเข้าน้ำมันเบนซินในปริมาณสูง ส่วนราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเฉลี่ย 2.30 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นมะละกาของมาเลเซียส่งออกน้ำมันดีเซลลดลงและประเทศญี่ปุ่นมีความต้องการใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มสูงขึ้นในฤดูหนาว
เรื่องที่ 1การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเอทานอล
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2555 น้ำมันดิบดูไบน้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 109.05, 121.33 และ 125.94 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ เบนซิน และดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.70 8.85 และ 4.98 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555) จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลง ผู้ค้าน้ำมันได้มีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล 4 ครั้ง โดยมีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลลง 0.50 บาทต่อลิตร และปรับเพิ่มขึ้นจำนวน 3 ครั้งที่อัตรา 0.50 0.60 และ 0.50 บาทต่อลิตร ส่งผลให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 เป็นดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555
4. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2555 มีทรัพย์สินรวม 5,673 ล้านบาท หนี้สินรวม 23,752 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 18,079 ล้านบาท
5. จากค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลที่อยู่ในระดับต่ำ ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.50 บาทต่อลิตร ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 26.70 ล้านบาท จากวันละ 68.33 ล้านบาทเป็นวันละ 41.63 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.50 บาทต่อลิตร จาก 1.20 บาทต่อลิตร เป็น 0.70 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2555 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 การกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเอทานอล
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 ได้มีมติเห็นชอบอนุมัติเป้าหมายในการรับจำนำมันสำปะหลังจำนวน 10 ล้านตัน ในปี 2555/56 โดยให้เริ่มดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2555 - 31 มีนาคม 2556 ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะสนับสนุนให้นำมันสำปะหลังไปผลิตเป็นเอทานอล ในปี 2556 โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล : มันสำปะหลัง คือร้อยละ 62 : 38 คิดเป็นปริมาณหัวมันสด 1.6 ล้านตันต่อปี ผลิตเอทานอลได้ 0.76 ล้านลิตรต่อวัน หรือ 255.60 ล้านลิตรต่อปี
2. กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ขอความร่วมมือจากผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 และผู้ผลิตเอทานอล ให้ใช้สัดส่วนการใช้เอทานอลที่ผลิตจากกากน้ำตาลต่อสัดส่วนการใช้เอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังเฉลี่ยเป็นร้อยละ 62 : 38 ซึ่งในไตรมาสแรกผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ได้ตกลงซื้อขายเอทานอลไปบางส่วนแล้ว จึงอาจทำให้สัดส่วนในไตรมาสแรกไม่เป็นไปตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด อย่างไรก็ตาม ธพ. เสนอว่าให้ใช้สัดส่วนการผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล : มันสำปะหลัง เป็น ร้อยละ 62 : 38 โดยเฉลี่ยตลอดทั้งปี
3. เนื่องจากสูตรการคำนวณราคาเอทานอลอ้างอิงที่ใช้ในปัจจุบันเป็นราคาจริงตามข้อมูลการซื้อขาย เอทานอลระหว่างผู้ผลิตเอทานอล กับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 จากกรมสรรพสามิต ซึ่งเป็นราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการซื้อขายจริง โดยใช้หลักเกณฑ์การกำหนดราคาเอทานอล ดังนี้
Eth คือ ราคาประกาศเอทานอลอ้างอิง (บาท/ลิตร) ประกาศทุกวันที่ 1 ของเดือนเช่น ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2555 จนถึงสิ้นเดือน มกราคม 2555
คือ ปริมาณการขายเอทานอลที่โรงงานผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังและกากน้ำตาลขายให้กับบริษัทผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 (ลิตร)
คือ ราคาขายเอทานอลที่โรงงานผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังและกากน้ำตาล ขายให้กับบริษัทผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 (บาท/ลิตร)
คือ จำนวนรายการการจำหน่ายเอทานอล
4. ในปี 2556 กระทรวงพลังงานกำหนดเป้าหมายส่งเสริมให้ใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านลิตรต่อวัน และขอความร่วมมือจากผู้ค้าน้ำมันให้นำเอทานอลผสมเป็นแก๊สโซฮอลโดยใช้เอทานอลจากกากน้ำตาลและมันสำปะหลังในสัดส่วนร้อยละ 62 : 38 เพื่อให้สะท้อนต้นทุนราคาเอทานอลที่แท้จริงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ดังนั้น ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเอทานอลโดยเป็นราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามสัดส่วนปริมาณที่กระทรวงพลังงานกำหนด ตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม 2556 ดังนี้
Eth = (0.62 x Pmol)+ (0.38 x Pcas)
โดยที่
Eth คือ ราคาประกาศเอทานอลอ้างอิง (บาทต่อลิตร) ประกาศทุกวันที่ 1 ของเดือน เช่น ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2555 จนถึงสิ้นเดือน มกราคม 2555
Pmol คือ ราคาขายเอทานอลที่โรงงานผู้ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลและไฮบริดขายให้กับบริษัทผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 (ลิตร)
Pcas คือ ราคาขายเอทานอลที่โรงงานผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังขายให้กับบริษัทผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 (ลิตร)
ทั้งนี้ มอบหมายให้ ธพ. ดำเนินการตรวจสอบสัดส่วนปริมาณการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาลและ มันสำปะหลังที่ใช้ผสมเป็นแก๊สโซฮอลรายเดือนของแต่ละบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายแก๊สโซฮอล เพื่อควบคุมให้ทุกบริษัทผู้ค้าน้ำมันฯ ผสมเอทานอลตามสัดส่วนที่กำหนด โดยเฉลี่ยในปี 2556 เป็นร้อยละ 62 : 38
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเอทานอลโดยเป็นราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามสัดส่วนปริมาณที่กระทรวงพลังงานกำหนด ตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม 2556 โดยหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเอทานอลเป็นดังนี้
Eth = (0.62 x Pmol) + (0.38 x Pcas)
โดยที่
Eth คือ ราคาประกาศเอทานอลอ้างอิง (บาท/ลิตร) ประกาศทุกวันที่ 1 ของเดือน
เช่น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 จนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2555
Pmol คือ ราคาขายเอทานอลที่โรงงานผู้ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลและไฮบริดขายให้กับบริษัทผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 (ลิตร)
Pcas คือ ราคาขายเอทานอลที่โรงงานผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังขายให้กับบริษัทผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 (ลิตร)
ทั้งนี้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำรายงานผลการดำเนินการ และรายงานให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานทราบเป็นรายไตรมาส
2. มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานดำเนินการตรวจสอบสัดส่วนปริมาณการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาลและมันสำปะหลังที่ใช้ผสมเป็นแก๊สโซฮอลรายเดือนของแต่ละบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายแก๊สโฮอล เพื่อควบคุมให้ทุกบริษัทผู้ค้าน้ำมันฯ ผสมเอทานอลตามสัดส่วนที่กำหนด โดยเฉลี่ยในปี 2556 เป็นร้อยละ 62 : 38 และแจ้งให้ฝ่ายเลขานุการฯ ทราบเป็นรายไตรมาส
3. มอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานประสานกรมการค้าภายในเพื่อตรวจสอบว่าผู้ผลิตเอทานอลใช้มันสำปะหลังในโครงการรับจำนำมันสำปะหลัง โดยผู้ผลิตเอทานอลจากมันเส้น ให้ใช้มันเส้นจากองค์การคลังสินค้า (อคส.) ผู้ผลิตเอทานอลจากมันสดให้เปิดจุดรับซื้อมันสดที่หน้าโรงงาน และ ผู้ผลิตเอทานอลจากน้ำอ้อยให้ถือว่าอยู่ในกลุ่มกากน้ำตาล พร้อมทั้งให้รวบรวมรายงานยอดการซื้อมันสำปะหลังของโรงงานเอทานอลรายเดือน และแจ้งให้ฝ่ายเลขานุการฯ ทราบเป็นรายไตรมาส
เรื่องที่ 3 แผนปฏิบัติการการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 โดยเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไปและมอบหมายให้กระทรวงพลังงานรับไปแก้ไขปัญหาการผลิตและการนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐาน (G-Base) และนำเสนอ กบง. พิจารณาต่อไป
2. ต่อมาเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2555 ซึ่งเห็นชอบให้เลื่อนการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเบนซินพื้นฐานที่ผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล ปัญหาจากโรงกลั่นน้ำมันบางโรงกลั่นหยุดการผลิต และปัญหาการนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐาน ดังนี้ (1) เลื่อนกำหนดการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ออกไปอีก 3 เดือน จากวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ไปเป็นวันที่ 1 มกราคม 2556 (2) มอบหมาย กบง. ปรับส่วนต่างราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 กับน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ให้มากขึ้น เพื่อจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ให้มากขึ้น (3) มอบหมายกระทรวงพลังงานเร่งประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้เกิดการยอมรับการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลในกลุ่มผู้ใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ให้มากขึ้นและ (4) มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพลังงานร่วมกันกำหนดทิศทางเกี่ยวกับพืชเกษตรที่สามารถนำมาเป็นพลังงานได้ โดยพิจารณาถึงศักยภาพและความเป็นไปได้ในการผลิต
3. กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และสำนักงานนโยบายพลังงาน (สนพ.) ได้ประชุมหารือเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 การเตรียมการยกเลิกเบนซิน 91 โดย ธพ. ได้ออกประกาศกำหนดมาตรฐานให้น้ำมันเบนซินเหลือเพียงชนิดเดียว (ยกเลิกเบนซิน 91) ให้มีผลบังคับใช้ ณ โรงกลั่นผู้ผลิต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป และได้ออกหนังสือแจ้งผู้ค้าเพื่อผ่อนผันน้ำมันเบนซิน 91 ที่เหลืออยู่ที่คลังและสถานีบริการ ระยะเวลา 3 เดือน ในการจำหน่ายน้ำมันดังกล่าวให้หมดไป รวมทั้งได้กำหนดฝึกซ้อมแผนเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการจัดหาน้ำมันเบนซินพื้นฐาน (G-base) ในภาวะฉุกเฉิน ต่อมา กบง. ได้มีมติเห็นชอบปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ เพื่อปรับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ให้ต่ำกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 จำนวน 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 13 และวันที่ 20 ตุลาคม 2555 โดยปัจจุบันราคาขายปลีกแก๊สโซฮอล E20 ต่ำกว่าแก๊สโซฮอล 91 อยู่ที่ลิตรละ 3 บาท
3.2 มาตรการบรรเทาผลกระทบ ดำเนินการดังนี้ (1) พพ. จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์บริการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลผ่านสถาบันการศึกษาของรัฐ จำนวน 400,000 เครื่อง (ระยะที่ 1) และ (2) สนพ. ได้หารือกับผู้ค้ามาตรา 7 เกี่ยวกับการบรรเทาผลกระทบหลังการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ได้ผลสรุปว่าหลังจากยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ในวันที่ 1 มกราคม 2556 จะยังคงมีปริมาณน้ำมันเบนซิน 91 ในสต๊อคที่คลังและสถานีบริการจำหน่ายได้อีกประมาณ 1 เดือน โดยจะค่อยๆ ทยอยลดลงจนหมด ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้น้ำมันเบนซิน 91 หันไปใช้น้ำมันเบนซิน 95 ซึ่งผู้ค้าน้ำมันเห็นว่าควรปล่อยให้การปรับราคาเป็นไปตามกลไกตลาด รัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซง โดยเมื่อน้ำมันเบนซิน 95 มีปริมาณการจำหน่ายมากขึ้นผู้ค้าน้ำมันจะปรับลดค่าการตลาดลงตามปริมาณการขายซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 ปรับลดลงจนอยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ ธพ. จะมีการติดตามประเมินผลการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลเป็นระยะและ พพ. จะเร่งรัดให้มีการปรับแต่งเครื่องยนต์เพื่อให้สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลได้โดยเร็ว
3.3 การประชาสัมพันธ์ ดำเนินการโดย (1) ประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลและการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 โดยผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 ถึงเดือนมกราคม 2556 (2) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนโดยการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 (เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการยกเลิกเบนซิน 91 และผลประโยชน์จากการเปลี่ยนไปใช้แก๊สโซฮอลผ่านทางสื่อต่างๆ รวมทั้งจัดงานเผยแพร่และสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน) และ (3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลในรถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ โดยใช้เงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
3.4 โครงการจัดตั้งศูนย์บริการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้ผ่านทางสถาบัน การศึกษาของรัฐ ดำเนินการโดย พพ. มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการยกเลิกจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 และเพื่อส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลให้เพิ่มขึ้น ลักษณะโครงการเป็นการฝึกอบรมผู้ดำเนินการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาจำนวน ไม่น้อยกว่า 100 คน และดำเนินการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้โดยบุคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษาโดยมีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์การเกษตรที่ได้รับการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ฯ จำนวนรวม 400,000 คัน/เครื่อง แบ่งเป็นรถยนต์ 100,000 คัน รถจักรยานยนต์ 100,000 คัน และเครื่องจักรกลการเกษตร 200,000 เครื่อง ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนน้ำมันฯ ในวงเงิน 124,000,000 บาท ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 10 เดือนนับจากวันที่ลงนามในหนังสือสัญญา
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบแผนปฏิบัติการการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91
2. เห็นชอบในหลักการให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์บริการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้ผ่านทางสถาบันการศึกษาของรัฐ ระยะที่ 1 โดยให้จัดทำข้อเสนอโครงการเสนอต่อคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต่อไป
กบง. ครั้งที่ 133 -วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 36/2555 (ครั้งที่ 133)
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เวลา 15.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ขอให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ชี้แจงเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก ซึ่ง ปตท. ได้รายงานเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจโลกว่า ในช่วงสัปดาห์นี้เศรษฐกิจโลกยังรอการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา Fiscal cliff ของสหรัฐอเมริกาว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งคาดว่าจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนขึ้นเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาถดถอย และในกลุ่มประเทศยุโรปมีแนวโน้มมีความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมากขึ้น ส่วนสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตลาดโลก ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.62 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลก และคาดว่าแนวโน้มจะปรับตัวลดลงเนื่องจากสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ประเทศที่นำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านสามารถดำเนินการได้อีก 6 เดือน และปัจจัยอื่นคือ ผลการประชุมโอเปคในวันที่ 12 ธันวาคม 2555 ซึ่งคาดว่าจะยังไม่มีการปรับระดับเพดานการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่ม ในส่วนของน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันเบนซินได้ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า 3.02 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากปริมาณน้ำมันเบนซินสำรองที่ตลาดสิงคโปร์มีปริมาณสูงขึ้นอีก 634,000 บาร์เรล ปัจจุบันอยู่ที่ 10.08 ล้านบาร์เรล และจีนได้ผลิตน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นจากปี 2554 คิดเป็นร้อยละ 15.8 ส่วนราคาน้ำมันดีเซลได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากจีนมีการส่งออกน้ำมันดีเซลในปริมาณสูงถึง 2.25 - 2.63 ล้านบาร์เรลต่อวัน ปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลในตลาดสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 1.55 ล้านบาร์เรล เป็น 11.48 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 14 เดือน ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลง
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมัน แก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 10 ธันวาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบน้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 104.57, 116.45 และ 121.71 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ เบนซิน และดีเซลปรับตัวลดลง 4.48 4.88 และ 4.23 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 27 พฤศจิกายน 2555) จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลง ผู้ค้าน้ำมันได้มีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลลง 0.50 บาทต่อลิตร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2555 ส่งผลให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 11 ธันวาคม 2555 เป็นดังนี้
4. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 4,499 ล้านบาท หนี้สินรวม 22,304 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 17,805 ล้านบาท
5. จากค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลที่อยู่ในระดับต่ำ ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร จากเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ 0.70 บาทต่อลิตร เป็น 1.20 บาทต่อลิตร ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 25.90 ล้านบาท จากติดลบวันละ 2.37 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 23.53 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 8.00 | 8.50 | +0.50 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 6.70 | 7.20 | +0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.30 | +0.50 | |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.00 | 0.50 | +0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -2.30 | -1.80 | +0.50 |
น้ำมันดีเซล | 0.70 | 1.50 | 80 |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2555 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 การอนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในการดำเนินงานโครงการจัดตั้งศูนย์บริการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้ ผ่านทางสถาบันการศึกษาของรัฐ (ระยะที่ 1) ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 และต่อมาเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยให้เลื่อนกำหนดการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ออกไปอีก 3 เดือน จากวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ไปเป็นวันที่ 1 มกราคม 2556 และให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ปรับส่วนต่างราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 กับน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ให้มากขึ้นเพื่อจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 รวมทั้งให้กระทรวงพลังงานเร่งประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้เกิดการยอมรับการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลในกลุ่มผู้ใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ให้มากขึ้น
2. เมื่อยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 จะทำให้มีการใช้แก๊สโซฮอลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ปริมาณการใช้เอทานอลซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตได้ในประเทศเพิ่มมากขึ้น แต่จะมีผู้ใช้น้ำมันเบนซิน 91 ที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากเครื่องยนต์ไม่สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มรถยนต์ที่ผลิตก่อนปี 2538 เป็นรถยนต์ที่ไม่รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล โดยจากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก มีรถยนต์ประมาณ 500,000 คัน ที่ยังคงใช้งานอยู่ในปัจจุบัน (2) กลุ่มรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ ที่ผลิตก่อนปี 2543 ประมาณ 500,000 คัน และ (3) กลุ่มเครื่องยนต์การเกษตรขนาดเล็กที่ใช้น้ำมันเบนซิน ประมาณ 500,000 - 1,000,000 เครื่อง
3. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้จัดทำ "โครงการจัดตั้งศูนย์บริการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้ผ่านทางสถาบันการศึกษาของรัฐ" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการยกเลิกจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงหลังการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 และเพื่อส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล ลักษณะโครงการเป็นการฝึกอบรมผู้ดำเนินการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาจำนวน ไม่น้อยกว่า 400 คน และดำเนินการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้โดยบุคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษา โดย พพ. จะขอรับเงินจัดสรรจากกองทุนน้ำมันฯ เพื่อสนับสนุนแก่เจ้าของรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์การเกษตร ที่ไม่สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้ผ่านทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเพื่อดำเนินโครงการ ดังนี้ (1) ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลในการดำเนินการ (2) ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเข้าร่วมโครงการ อย่างน้อย 200 แห่งทั่วประเทศ (3) จัดทำคู่มือการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้ รวมถึงรายการชิ้นส่วนที่ควรเปลี่ยนและการประมาณการค่าใช้จ่าย (4) จัดอบรมบุคลากรผู้ปฏิบัติของวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (5) กำกับการจัดตั้งศูนย์บริการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลในวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ และ (6) เสนอสรุปรายงานการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานรายงานต่อ พพ. ทุกเดือน
4. วิทยาลัยอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีหน้าที่ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือเครื่องยนต์การเกษตรที่ผู้ผลิตไม่รับรองว่าสามารถใช้แก๊สโซฮอลได้ ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้ โดยการสนับสนุนค่าแรงงานในการปรับเปลี่ยนแก่เจ้าของรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือเครื่องยนต์การเกษตร ส่วนเจ้าของรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือเครื่องยนต์การเกษตรจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าอุปกรณ์เอง ในช่วงระยะเวลา 1 เดือนหลังจากการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ หากมีปัญหาเนื่องจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว วิทยาลัยอาชีวศึกษาจะรับผิดชอบดำเนินการปรับเปลี่ยนให้จนใช้งานได้ตามปกติ ทั้งนี้ ทุกรายการสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามที่ พพ. เห็นสมควร ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ มีระยะเวลาดำเนินการ 10 เดือน นับจากวันที่ลงนามในหนังสือสัญญา โดยขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ ในวงเงิน 124,000,000 บาท
5. เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 กบง. ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ พพ. ดำเนินงานโครงการจัดตั้งศูนย์บริการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้ผ่านทางสถาบันการศึกษาของรัฐ ระยะที่ 1 โดยให้จัดทำโครงการเสนอคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (อบน.) เพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ ต่อไป ซึ่ง พพ. ได้ดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดโครงการและวงเงินงบประมาณให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และต่อมาเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2555 อบน. ได้มีมติอนุมัติเงินกองทุนน้ำมันฯ งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2556 ให้ พพ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน "โครงการจัดตั้งศูนย์บริการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้ ผ่านทางสถาบันการศึกษาของรัฐ (ระยะที่ 1)" ในวงเงิน 66,000,000 บาท (หกสิบหกล้านบาทถ้วน) ระยะเวลาดำเนินงาน 7 เดือน นับจากวันที่ลงนามในสัญญา โดยให้สามารถถัวจ่ายระหว่างรายการและแยกดำเนินการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม และให้เริ่มดำเนินโครงการภายในปีงบประมาณ 2556
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
กบง. ครั้งที่ 134 - วันพุธที่ 19 ธันวาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 37/2555 (ครั้งที่ 134) 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เวลา 15.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. แนวทางการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน
2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ
ประธานฯ ได้แจ้งที่ประชุมฯ ทราบว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายจะปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน ซึ่งกระทรวงพลังงานจะต้องมีแนวทางการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเชิญประชุม กบง. เพื่อหารือในเรื่องดังกล่าว
เรื่องที่ 1 แนวทางการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน
สรุปสาระสำคัญ
1. คำแถลงนโยบายรัฐบาล เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีราคาเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคาเชื้อเพลิง ส่วนการชดเชยราคาเชื้อเพลิงจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 เห็นชอบให้ตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน (18.13 บาทต่อกิโลกรัม) ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2555 ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงมีนโยบายในการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน ให้สะท้อนต้นทุนที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซในปี 2556 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้า หาบเร่ แผงลอย
3. จากการสำรวจของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) พบว่า โดยทั่วไปครัวเรือนจะใช้ก๊าซ ในการประกอบอาหารประมาณ 6 กิโลกรัมต่อเดือน ซึ่งการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ไปสะท้อนต้นทุนโรงแยกก๊าซจะทำให้ประชาชนจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพียงเดือนละประมาณ 60 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่น้อยมาก แต่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบร้านอาหารอาจฉวยโอกาสขึ้นราคาอาหาร ดังนั้น จึงได้กำหนดกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่ควรได้รับการช่วยเหลือ 2 กลุ่ม ดังนี้
3.1 กลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย: สามารถใช้ข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนผู้ที่ไม่มีไฟฟ้าจะใช้วิธีเปิดลงทะเบียนโดยใช้ท้องถิ่นเป็นจุดลงทะเบียน โดยการช่วยเหลือจะชดเชยในปริมาณ 6 กิโลกรัมต่อเดือน ในอัตราชดเชยระหว่างส่วนต่างราคา 18.13 บาทต่อกิโลกรัม กับราคาที่ปรับเพิ่มขึ้น
จำนวนครัวเรือนผู้ใช้ไฟฟ้าแยกตามปริมาณการใช้ไฟฟ้า
หน่วย : ราย
ปริมาณการใช้ไฟฟ้า | กฟน. | กฟภ. | ไม่มีไฟฟ้าใช้ | รวม |
ไม่เกิน 50 หน่วย | 140,961 | 3,337,742 | 194,907 | 3,673,610 |
ไม่เกิน 65 หน่วย | 482,39 | 5,191,835 | 194 ,907 | 5,869,139 |
ไม่เกิน 90 หน่วย | 671,766 | 7,470,472 | 194 ,907 | 8,337,145 |
เกิน 90 หน่วย | 1,947,215 | 9,699,640 | 194 ,907 | 11,841,762 |
จำนวนครัวเรือน | 2,618,981 | 17,170,112 | 194 ,907 | 19,984,000 |
3.2 กลุ่มร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร :ในเบื้องต้นคาดว่ามีผู้ประกอบการร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ประมาณ 500,000 ราย มีการใช้ก๊าซ LPG ในการประกอบอาหารเฉลี่ยร้านค้าละประมาณ 150 กิโลกรัมต่อเดือน ดังนั้น เพื่อให้การช่วยเหลือครอบคลุมและชัดเจนควรจัดให้มีการลงทะเบียนและจัดทำฐานข้อมูลร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในการประกอบอาหาร ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 77 จังหวัด
4. ประมาณการภาระการช่วยเหลือกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย และร้านค้า หาบเร่ แผงลอย
หน่วย : ล้านบาท/ปี | ภาระการช่วยเหลือ | รวม | |
ครัวเรือน | ร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร | ||
ไม่เกิน 50 หน่วย | 1,252 | 3,011 | 4,263 |
ไม่เกิน 65 หน่วย | 2,043 | 3 ,011 | 5,054 |
ไม่เกิน 90 หน่วย | 2,931 | 3 011 | 5,942 |
5. ฝ่ายเลขานุการได้เสนอการจัดทำฐานข้อมูล โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้
5.1 กลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย : การกำหนดครัวเรือนรายได้น้อยจะอ้างอิงจากฐานข้อมูลครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หรือ 90 หน่วยต่อเดือน ซี่งจะใช้ฐานข้อมูลของ กฟน. และ กฟภ. ตามโครงการของรัฐบาลในการช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยโดยจะให้ใช้ไฟฟ้าฟรี รวมถึงครัวเรือนรายได้น้อยที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ประมาณ 0.19 ล้านครัวเรือน ในส่วนนอกเขตเมืองจะใช้ฐานข้อมูลจากกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และเขตเมืองจะว่าจ้างผู้มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำฐานข้อมูลและลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิในการช่วยเหลือ
5.2 ร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร :เพื่อให้การจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มนี้มีความครอบคลุม ถูกต้อง ชัดเจน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอให้มีการจัดจุดลงทะเบียน โดยว่าจ้างผู้มีความเชี่ยวชาญจัดทำฐานข้อมูลและลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิในการช่วยเหลือ
6. ในการจัดทำฐานข้อมูลจะต้องมีการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อดำเนินการในการจัดทำฐานข้อมูลและลงทะเบียนสำหรับกลุ่มครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าในเขตเมืองและกลุ่มร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ทั่วประเทศจำนวน 77 จังหวัด ทั้งนี้ในการเตรียมการเพื่อให้มีการลงทะเบียนดังกล่าวจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้าถึงรายละเอียด หลักเกณฑ์ วัน เวลา สถานที่ลงทะเบียน และอื่นๆ ซึ่งได้มีการประมาณการค่าใช้จ่ายไว้เบื้องต้นในวงเงินประมาณ 50 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้กำหนดกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย โดยอิงจากฐานข้อมูลครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน จากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
2. อนุมัติเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2556 ให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานในการดำเนินงาน โครงการจัดทำฐานข้อมูลร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร และครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ เพื่อรองรับการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในวงเงิน 50 ล้านบาท (ห้าสิบล้านบาทถ้วน) โดยสามารถถัวจ่ายระหว่างรายการและแยกดำเนินการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
เรื่องที่ 2 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน
สรุปสาระสำคัญ
คำแถลงนโยบายรัฐบาล เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีราคาเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคาเชื้อเพลิง ส่วนการชดเชยราคาเชื้อเพลิงจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น
2. ตามคำสั่ง กพช. ครั้งที่ 4/2545 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานในข้อ 3 (8) ได้กำหนดให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานมีอำนาจและหน้าที่ในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการช่วยปฏิบัติงาน ในหน้าที่ตามความจำเป็น
3. เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา กระทรวงพลังงานจึงมีนโยบายในการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนให้สะท้อนต้นทุนที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซในปี 2556 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้า หาบเร่ แผงลอย ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงมีนโยบายบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซ ภาคครัวเรือน
4.เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ (1) ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานอนุกรรมการ (2) หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน (3) ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (4) ผู้แทนกรมการพัฒนาชุมชน (5) ผู้แทนกรมการค้าภายใน (6) ผู้แทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (7) ผู้แทนการไฟฟ้านครหลวง (8) ผู้แทนกรมธุรกิจพลังงาน (9) ผู้แทนธนาคารกรุงไทย (10) ผู้แทนสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ลำดับที่ (2) ถึง (10) เป็นอนุกรรมการ (11) ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ (12) รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (13) ผู้อำนวยการสำนักนโยบายปิโตรเลียมและปิโตรเคมี เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
โดยมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้ (1) กำหนดแนวทางการบรรเทาผลกระทบ หลักเกณฑ์และคุณสมบัติผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน (2) พิจารณาการจัดทำฐานข้อมูล การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน 3) มีอำนาจเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมพิจารณา รวมทั้งจัดหา รวบรวม จัดส่งหรือชี้แจงเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (4)ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
มติของที่ประชุม
เห็นชอบร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว> (LPG) ภาคครัวเรือน