
มติกบง. (348)
กบง. ครั้งที่ 8 - วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 8/2558 (ครั้งที่ 8)
วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558 เวลา 10.00 น.
1. โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนกันยายน 2558
2. แนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแก๊สโซฮอล
4. แผนระบบรับส่งและโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเพื่อความมั่นคง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ เป็นประธานที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายทวารัฐ สูตะบุตร เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนกันยายน 2558
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2558 เห็นชอบการคำนวณราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG โดยใช้ต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา (โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก และการนำเข้า) เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการผลิตและจัดหาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน โดยราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) เดือนกันยายน 2558 อยู่ที่ 327 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน 52 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนสิงหาคม 2558 อยู่ที่ 35.5744 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนกรกฎาคม 2558 ที่ 1.1217 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (LPG Pool) ปรับลดลง 0.6403 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 14.9022 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 14.2619 บาทต่อกิโลกรัม
2. จากราคาก๊าซ LPG Pool ของเดือนกันยายน 2558 ที่ปรับลดลง 0.6403 บาทต่อกิโลกรัม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG เป็น 2 แนวทาง ดังนี้ (1) ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่ 0.0141 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 0.9121 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 0.9262 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกลดลง 0.67 บาทต่อกิโลกรัม จาก 22.96 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 22.29 บาทต่อกิโลกรัม หรือลดลง 10 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ซึ่งจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 275 ล้านบาทต่อเดือน และ (2) ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่ 0.2943 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 0.9121 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 0.6178 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกลดลง 1.00 บาทต่อกิโลกรัม จาก 22.96 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 21.96 บาทต่อกิโลกรัม หรือลดลง 15 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ซึ่งจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 160 ล้านบาทต่อเดือนทั้งนี้ ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของก๊าซ LPG ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2558 มีฐานะกองทุนสุทธิ 8,095 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับก๊าซ LPG ที่ผลิตในราชอาณาจักรกิโลกรัมละ 0.9262 บาท โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2558 เป็นต้นไป
เรื่อง แนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแก๊สโซฮอล
สรุปสาระสำคัญ
1. มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 เห็นชอบแนวทางในการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้เก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทในอัตราที่ใกล้เคียงกันตามอัตราค่าความร้อน อย่างไรก็ตามในส่วนของแก๊สโซฮอล 95 และน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 ซึ่งมีค่าความร้อนใกล้เคียงกัน (30,920 และ 30,579 บีทียูต่อลิตร ตามลำดับ) แต่ยังมีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต่างกันถึง 0.50 บาทต่อลิตร จึงเห็นควรให้มีการปรับอัตราเงินเก็บเข้ากองทุนของน้ำมันทั้งสองประเภทในอัตราเดียวกัน
2. ปริมาณการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และ แก๊สโซฮอล 91 ในเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ 8.83 และ 10.94 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2557 0.88 และ 2.91 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการใช้เอทานอลเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ 3.52 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2557 1.37 ล้านลิตรต่อวัน
3. จากราคาน้ำมันตลาดสิงคโปร์ที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และ แก๊สโซฮอล 91 วันที่ 4 กันยายน 2558 อยู่ที่ 26.10 และ 25.28 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ซึ่งลดลงจากเดือนมกราคม 2557 14.60 และ 13.01 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ในขณะที่ราคาเอทานอลเดือนกันยายน 2558 อยู่ที่ 27.19 บาทต่อลิตร ลดลงจากเดือนมกราคม 2557 0.24 บาทต่อลิตร
4. สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (สบพน.) รายงานฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2558 ในส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง มีทรัพย์สินรวม 38,263 ล้านบาท หนี้สินรวม 3,008 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิ 35,255 ล้านบาท
5. ปัจจุบันอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันแก๊สโซฮอล E10 95 เท่ากับ 0.45 บาทต่อลิตรและ น้ำมัน แก๊สโซฮอล E10 91ชดเชย 0.05 บาทต่อลิตร ทำให้มีส่วนต่างของอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของทั้งสองประเภทอยู่ที่ 0.50 บาทต่อลิตร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเป็นไปตามมติ กพช. ที่ให้มีการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในอัตราใกล้เคียงกัน และให้อัตราเงินจ่ายเข้าออกกองทุนน้ำมันฯ มีค่าใกล้ศูนย์ ฝ่ายเลขานุการฯ มีความเห็นว่าควรปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ แก๊สโซฮอล E10 95 เท่ากับ แก๊สโซฮอล E10 91 ที่ 0.01 บาทต่อลิตร ซึ่งจะส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่าย 2.5 ล้านบาทต่อวันหรือ 75 ล้านบาทต่อเดือน
6. ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ตามข้อเสนอดังกล่าว จะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล E10 95 ลดลง 0.44 บาทต่อลิตร และแก๊สโซฮอล E10 91 เพิ่มขึ้น 0.06 บาทต่อลิตร และส่วนต่างราคาขายปลีกต่างกัน 0.29 บาทต่อลิตร รวมทั้งทำให้กองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันสำเร็จรูป มีสภาพคล่องลดลงประมาณ 95.79 ล้านบาทต่อเดือน (หรือ 3.19 ล้านบาทต่อวัน) จากมีรายรับ 20.70 ล้านบาทต่อเดือน (หรือ 0.69ล้านบาทต่อวัน) เป็นมีรายจ่าย 75 ล้านบาทต่อเดือน (หรือ 2.50 ล้านบาทต่อวัน)
มติของที่ประชุม
เห็นชอบอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงฯ ดังนี้
ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานได้ดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2558 เป็นต้นไป
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 ได้มีมติให้ปรับโครงสร้างราคาก๊าซ NGV ดังนี้ เป้าหมายคือราคาขายปลีกเป็นไปตามกลไกตลาดที่ 16.00 บาทต่อกิโลกรัม โดย (1) ปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ให้ปรับขึ้นราคาขายปลีก 1 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 11.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 และ (2) คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม
2. ต่อมาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 กบง. มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV โดยให้ปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลขึ้น 1.00 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิมอยู่ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม มาอยู่ที่ 11.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 และให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะที่ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม และขอความร่วมมือให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินการขยายสถานีบริการ และร่วมลงทุนขยายท่อส่งก๊าซ เพื่อให้การบริการทั่วถึงทุกภูมิภาค และ กบง. เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV โดยสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 1.00 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 11.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็นอยู่ที่ 12.50 บาทต่อกิโลกรัม และปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้น 1.00 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 8.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็นอยู่ที่ 9.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2557
3. เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2558 กบง. มีมติเห็นชอบการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลขึ้นในอัตรา 0.50 บาทต่อกิโลกรัมจากเดิม 12.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 13.00 บาทต่อกิโลกรัม และปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะขึ้นในอัตรา 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 9.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 10.00 บาทต่อกิโลกรัม โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2558
4. สถานการณ์ NGV ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2558 ปริมาณการจำหน่ายก๊าซฯ 8,649 ตันต่อวัน (หรือประมาณ 311 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน) มีสถานีบริการ NGV จำนวน 499 สถานี แบ่งเป็นสถานีแม่ 20 สถานี สถานีลูก 479 สถานี ครอ+บคลุม 54 จังหวัด และมีจำนวนรถ NGV สะสม 470,142 คัน แบ่งเป็น รถเบนซิน 259,391 คัน รถดีเซล 45,893 คัน และรถ OEM 164,858 คัน
5. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับลดลงตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2557 ส่งผลให้ราคา ก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะลดลงตามไปด้วย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงได้ประมาณการราคาก๊าซ NGV รายเดือนในปี 2558 ดังนี้
* หมายเหตุ : ต้นทุนราคาก๊าซฯ ประกอบด้วย ราคาเนื้อก๊าซธรรมชาติ (Pool Gas) ค่าใช้จ่าย ในการจัดหาและค้าส่ง และค่าบริการส่งก๊าซทางท่อ
6. เนื่องจากราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบันยังคงต่ำกว่าราคาต้นทุนของก๊าซ NGV ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV ดังนี้ ปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลขึ้นในอัตรา 0.50 หรือ 1.00 บาทต่อกิโลกรัมจากเดิม 13.00 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 13.50 หรือ 14.00 บาทต่อกิโลกรัม โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2558 ปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะขึ้น โดยให้ส่วนต่างระหว่างราคาขายปลีกรถยนต์ส่วนบุคคลกับรถโดยสารสาธารณะอยู่ที่ 3 บาทต่อกิโลกรัม โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2558 หรือ ให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะอยู่ที่ 10.00 บาทต่อกิโลกรัม
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลขึ้น 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 13.00 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 13.50 บาทต่อกิโลกรัม และให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะอยู่ที่ 10.00 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2558 เป็นต้นไป
เรื่อง แผนระบบรับส่งและโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเพื่อความมั่นคง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เรื่อง แผนระบบรับ-ส่งและโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเพื่อความมั่นคง ดังนี้ (1) เห็นชอบโครงการลงทุนในระยะที่ 1 ของโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas Pipeline Network จำนวน 3 โครงการ วงเงินลงทุนประมาณ 13,900 ล้านบาท โดยมอบหมายให้ ปตท. เป็นผู้ดำเนินการ และ (2) เห็นชอบในหลักการสำหรับการลงทุนในระยะที่ 2 และ 3 ของโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการจัดหา/นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Facilities) โดยมอบหมายให้ ปตท. ไปดำเนินการศึกษารายละเอียดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และให้นำผลการศึกษาเสนอต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอต่อ กพช. เพื่อทราบต่อไป
2. ประมาณการความต้องการก๊าซฯและการจัดหาก๊าซฯ ในระยะยาว (ปี 2558 - 2579) ของประเทศไทย พบว่าความต้องการใช้ก๊าซฯจะเพิ่มขึ้น ในระยะ 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2558 – 2562) ส่วนในระยะยาว (พ.ศ. 2563 - 2579) ความต้องการใช้ก๊าซฯจะลดลง แต่หากว่าแผน PDP 2015 ที่กำหนดให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน ไม่สามารถดำเนินการได้ รวมทั้ง แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan : AEDP) และแผนอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency Development Plan : EEDP) ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จะส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซฯเพื่อเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในระยะยาวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การจัดหาก๊าซฯของประเทศมาจาก 3 ส่วนคือ (1) แหล่งภายในประเทศ (บนบกและในทะเล) รวมถึงพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างประเทศ ซึ่งมีปริมาณจำกัดและลดลงตามอายุการผลิต (2) การนำเข้าทางท่อก๊าซฯจากประเทศเมียนมาร์ซึ่งมีนโยบายที่จะไม่ส่งก๊าซฯเพิ่มเติมให้ประเทศไทย และ (3) การนำเข้าในรูปก๊าซธรรมชาติเหลว
3. การประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีผลสรุปว่า การดำเนินโครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกเส้นที่ 5 จากระยองไปยังระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทรน้อย – โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ/พระนครใต้ ขอให้ลดขนาดท่อลงจากขนาด 48 นิ้ว เป็น 42 นิ้ว กำหนดแล้วเสร็จปี 2564 และโครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก จากสถานีควบคุมความดันก๊าซธรรมชาติราชบุรี - วังน้อยที่ 6 (RA#6) ไปยัง จ.ราชบุรี ขนาด 30 นิ้ว กำหนดแล้วเสร็จปี 2564 โดยโครงการทั้ง 2 ขอให้ ปตท. เป็นผู้ดำเนินการ นอกจากนี้ กฟผ. ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ FSRU สำหรับจัดส่งก๊าซฯ ให้แก่โรงไฟฟ้าพระนครใต้ และโรงไฟฟ้าบางปะกง และหากผลการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอให้เสนอ สนพ. และ สกพ. เพื่อพิจารณา เนื่องจากโครงการ ของ กฟผ. ดังกล่าวกระทบต่อการลงทุนในระยะที่ 3 ของโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและโครงการ LNG Receiving Terminal แห่งใหม่ จ.ระยอง (ขนาด 7.5 ล้านตันต่อปี) เพื่อรองรับการจัดหา LNG ในปริมาณที่มากกว่า 10 ล้านตันต่อปี จึงขอให้ชะลอการดำเนินการออกไปเพื่อรอผลการศึกษาจาก กฟผ. ซึ่งหากความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ปตท. ก็สามารถทบทวนรายละเอียดและกำหนดเวลาแล้วเสร็จของโครงการขึ้นใหม่ สำหรับโครงการ FSRU ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ (พื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา) กำหนดแล้วเสร็จในปี 2567 และโครงการ LNG receiving terminal แห่งใหม่ ควรให้ใช้วิธีการเปิดประมูลหาผู้ดำเนินโครงการเช่นเดียวกับการประมูลโรงไฟฟ้า IPP
4. ปตท. ได้มีการปรับปรุงโครงการฯ ตามความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการในระยะยาว ดังต่อไปนี้
(1) โครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซฯในระยะที่ 2 (ช่วงปี 2558 - 2564) จำนวน 2 โครงการ วงเงินลงทุน เดิม 117,100 ล้านบาท มีการลดวงเงินลงทุนเหลือ 110,100 ล้านบาท และกำหนดแล้วเสร็จปี 2564คือ (1) โครงการระบบท่อส่งก๊าซฯ บนบกเส้นที่ 5 จากระยอง ไปยัง ระบบท่อส่งก๊าซฯไทรน้อย – โรงไฟฟ้า พระนครเหนือ/พระนครใต้ ได้มีการลดขนาดท่อจาก 48 นิ้ว เหลือ 42 นิ้ว สามารถลดเงินลงทุนจาก 103,500 ล้านบาท เหลือเงินลงทุน 96,500 ล้านบาท และ(2) โครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ บนบก จากสถานีควบคุมความดันก๊าซฯ ราชบุรี-วังน้อย ที่ 6 (RA#6) ไปยัง จ.ราชบุรี เงินลงทุน 13,600 ล้านบาท(2) โครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซฯในระยะที่ 3 (ช่วงปี 2564 - 2570) จำนวน 2 โครงการ วงเงินการลงทุนรวม 12,000 ล้านบาท มีการเปลี่ยนแปลงเวลาดำเนินโครงการ คือ (1) โครงการสถานีเพิ่มความดันก๊าซฯ (Compressor) บนระบบท่อส่งก๊าซฯ ราชบุรี-วังน้อย เงินลงทุน 5,500 ล้านบาท เลื่อนกำหนดเวลาแล้วเสร็จจากปี 2564 เป็นปี 2574 และ (2) โครงการสถานีเพิ่มความดันก๊าซฯ (Compressor) กลางทางบนระบบท่อส่งก๊าซฯบนบกเส้นที่ 5 (Onshore #5 Midline Compressor) เงินลงทุน 6,500 ล้านบาท เลื่อนกำหนดเวลาแล้วเสร็จจากปี 2564 เป็นปี 2570(3) โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการจัดหา/นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG Receiving Facilities) จำนวน 2 โครงการ วงเงินการลงทุนรวม 65,500 ล้านบาท คือ (1) โครงการ LNG Receiving Terminal แห่งใหม่ จ.ระยอง เงินลงทุน 38,500 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จปี 2565 และ (2) โครงการ Floating Storage and Regasification Unit : FSRU ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ (พื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา) เงินลงทุน 27,000 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จปี 2567ทั้งนี้ ปตท.จะดำเนินการติดตามแนวโน้มความต้องการใช้ก๊าซฯในอนาคตอย่างใกล้ชิด และหากพบว่าความต้องการใช้ก๊าซฯมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ปตท.จะทำการปรับปรุงรายละเอียดโครงการและกำหนดแล้วเสร็จของโครงการในส่วนของผลการศึกษาเพิ่มเติมตามข้อเสนอของ กกพ. การเปรียบเทียบต้นทุนของราคาก๊าซธรรมชาติ จากการนำเข้าจากเมียนมาร์ในรูปแบบของ LNG ผ่านทางโครงการ Floating Storage and Regasification Unit (FSRU) ในเมียนมาร์ กับโครงการระบบท่อส่งก๊าซฯบนบกจากฝั่งตะวันออกไปยังฝั่งตะวันตก (โครงการระบบท่อส่งก๊าซฯ จากสถานีควบคุมความดัน ราชบุรี-วังน้อย ที่ 6 (RA#6) และ โครงการสถานีเพิ่มความดันในระบบท่อส่งก๊าซฯ ราชบุรี - วังน้อย รวมถึง โครงการสถานีเพิ่มความดันก๊าซฯระหว่างเส้นทางของท่อส่งก๊าซฯ บนบกเส้นที่ 5 (Onshore #5 Midline Compressor)) พบว่าอัตราค่าบริการทั้ง 2 ส่วน อยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกันการนำเข้าจากเมียนมาร์ในรูปแบบของ LNG มีอัตราค่าบริการรวมประมาณ 61.08 บาทต่อล้านบีทียู (เป็นการศึกษาอัตราค่าบริการในเบื้องต้น ทั้งนี้ยังไม่รวมภาษีอื่นๆ ที่ประเทศเมียนมาร์อาจจะมีการเรียกเก็บเพิ่มเติม) ในขณะที่การดำเนินโครงการระบบท่อส่งก๊าซฯบนบกจากฝั่งตะวันออกไปยังฝั่งตะวันตก นั้นมีอัตราค่าบริการรวมประมาณ 60.92 บาทต่อล้านบีทียู ซึ่งเป็นโครงการที่เหมาะสมกว่า
5. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีความเห็นว่าควรให้การสนับสนุนแผนฯ ดังกล่าว เนื่องจากสามารถช่วยเสริมสร้างความมั่นคงของระบบโครงข่ายพลังงานของประเทศในระยะยาว ตลอดจนช่วยให้เกิดการบริหารจัดการคุณภาพก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันออกและตะวันตกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้จะมีการปรับเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จของโครงการสถานีเพิ่มความดันก๊าซธรรมชาติบนระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติราชบุรี - วังน้อย และโครงการสถานีเพิ่มความดันก๊าซธรรมชาติกลางทางบนระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกเส้นที่ 5 ออกไปก็ตาม แต่ระบบยังคงมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับกับปริมาณความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้ ทั้งนี้ วงเงินลงทุนรวมของแผนฯ ที่ลดลงจากแผนฯ เดิม ทำให้การปรับเพิ่มของอัตราค่าบริการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อในอนาคตลดลง และส่งผลต่ออัตราค่าไฟฟ้าในอนาคตลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการ LNG Receiving Terminal แห่งใหม่ จังหวัดระยอง ที่จะมอบให้ ปตท. เป็นผู้ดำเนินโครงการนั้น ปตท. จะต้องเปิดให้บุคคลที่สาม สามารถใช้หรือเชื่อมต่อสถานี LNG (Third Party Access: TPA) เต็มรูปแบบ นอกจากนี้ การพิจารณาเลือกที่ตั้งของสถานี LNG ในอนาคตควรมีการพิจารณาสถานที่ตั้งในพื้นที่อื่น เพื่อให้เกิดการกระจายตัวของแหล่งพลังงาน ลดความเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์ และเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานด้วย
6. จากผลการศึกษาและผลการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงมีประเด็นที่เสนอเพื่อขอความเห็นชอบ ดังนี้
6.1 ขอความเห็นชอบให้ดำเนินโครงการในการลงทุนในระยะที่ 2 ของโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (ส่วนที่ 1) จำนวน 2 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 110,100 ล้านบาท โดยมอบหมายให้ ปตท. เป็นผู้ดำเนินโครงการ6.2 ขอความเห็นชอบให้ดำเนินโครงการ LNG Receiving Terminal แห่งใหม่ จ.ระยอง ของ โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการจัดหา/นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Facilities) (ส่วนที่ 2) ในวงเงินลงทุนรวม 38,500 ล้านบาท โดยมอบหมายให้บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (PTTLNG) เป็นผู้ดำเนินโครงการ6.3 ขอความเห็นชอบกรอบโครงการ FSRU ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ (พื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา) ของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการจัดหา/นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Facilities) (ส่วนที่ 2) ในวงเงินลงทุนรวม 27,000 ล้านบาท โดยมอบหมายให้ สนพ. และ กกพ. ร่วมกันศึกษา จัดทำและดำเนินการออกระเบียบและหลักเกณฑ์ในการจัดหาผู้ดำเนินโครงการ FSRU และออกประกาศเชิญชวนต่อไป ทั้งนี้ให้เสนอผลการคัดเลือกผู้ดำเนินโครงการ FSRU ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป6.4 มอบหมายให้ กฟผ. ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ FSRU สำหรับจัดส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่โรงไฟฟ้าพระนครใต้และโรงไฟฟ้าบางปะกง โดยเมื่อดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จ ให้นำผลการศึกษาเสนอต่อ สนพ. และ กกพ. เพื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับโครงการตามที่ระบุอยู่ในแผนระบบรับส่งและโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเพื่อความมั่นคง เพื่อพิจารณาดำเนินโครงการที่มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศในภาพรวมก่อนนำเสนอต่อ กบง. และ กพช. เพื่อพิจารณาต่อไป6.5 ขอความเห็นชอบกรอบโครงการในการลงทุนในระยะที่ 3 ของโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (ส่วนที่ 1) โดยมอบหมายให้ ปตท. ไปดำเนินการติดตามแนวโน้มความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในอนาคตอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้หากพบว่าความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ให้ ปตท. ดำเนินการทบทวนรายละเอียดโครงการและกำหนดแล้วเสร็จโครงการใหม่อีกครั้ง เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ รวมถึงเพื่อให้การลงทุนมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่ประเทศสูงสุด ทั้งนี้ เมื่อ ปตท. ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จให้นำเสนอผลการศึกษานำเสนอต่อ สนพ. ต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบโครงการลงทุนในส่วนที่ 1 ระยะที่ 2 ของโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas Pipeline Network) โดยมอบหมายให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการโครงการ จำนวน 2 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 110,100 ล้านบาท ให้เข้าระบบภายในปี 2564
2. เห็นชอบให้เลื่อนโครงการลงทุนในระยะที่ 3 ออกไป 6 - 10 ปี สำหรับโครงการสถานีเพิ่มความดันก๊าซธรรมชาติ จำนวน 2 โครงการ (ส่วนที่ 1 ระยะที่ 3) วงเงินลงทุนรวม 12,000 ล้านบาท โดยให้มีการติดตามและประเมินความจำเป็นของโครงการเป็นระยะๆ
3. ในส่วนของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการจัดหา/นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Facilities) (ส่วนที่ 2) จำนวน 2 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 65,500 ล้านบาท มอบหมายให้กระทรวงพลังงานโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ร่วมกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไปศึกษาเพิ่มเติมโดยให้คำนึงถึงแนวโน้มความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในอนาคตอย่างใกล้ชิด แล้วนำกลับมาเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานและคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติอีกครั้ง
กบง. ครั้งที่ 7 - วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 3/2558 (ครั้งที่ 7)
วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 11.00 น.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธานที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายชวลิต พิชาลัย เป็นกรรมการและเลขานุการ
สรุปสาระสำคัญ
1. คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในข้อ 6.9 ปฏิรูปโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ ให้สอดคล้องกับต้นทุนและให้มี ภาระภาษีที่เหมาะสมระหว่างน้ำมันต่างชนิดและผู้ใช้ต่างประเภท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ของประเทศและให้ผู้บริโภคระมัดระวังที่จะไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือย
2. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีมติให้ปรับโครงสร้างราคาก๊าซ NGV โดยมีเป้าหมายให้ราคาขายปลีกเป็นไปตามกลไกตลาด ดังนี้ (1) ราคาก๊าซ NGV สำหรับรถส่วนบุคคล จากเดิม 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ปรับขึ้น 1 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 11.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 และ (2) ให้คงราคาก๊าซ NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะอยู่ที่ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม
3. กบง. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV ดังนี้ (1) ปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลขึ้น 1.00 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิมอยู่ที่ 10.50 บาท ต่อกิโลกรัม มาอยู่ที่ 11.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 (2) ให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะที่ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม และ (3) ขอความร่วมมือให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ขยายสถานีบริการและร่วมลงทุนขยายท่อส่งก๊าซ เพื่อให้การบริการทั่วถึงทุกภูมิภาค และต่อมาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 ได้มติเห็นชอบแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV อีกครั้ง ดังนี้ (1) สำหรับรถยนต์ ส่วนบุคคล เพิ่มขึ้น 1.00 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิมอยู่ที่ 11.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็นอยู่ที่ 12.50 บาทต่อกิโลกรัม และ (2) ปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้น 1.00 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิมอยู่ที่ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็นอยู่ที่ 9.50 บาทต่อกิโลกรัม
4. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับลดลงตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2557 ส่งผลให้ราคา ก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้ สนพ. คาดว่าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในปี 2558 จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 40 – 50 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จึงได้ประมาณการราคาก๊าซ NGV รายเดือนสำหรับปี 2558 แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้ (1) กรณีราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปี 2558 อยู่ที่ 40 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จะทำให้ราคาขายปลีกก๊าซ NGV เฉลี่ยปี 2558 อยู่ที่ 14.56 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งประกอบด้วย ราคาเฉลี่ยของต้นทุนราคาก๊าซฯ และค่าใช้จ่ายดำเนินการอยู่ที่ 9.87 และ 3.74 บาทต่อกิโลกรัม และค่าภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 7 และ (2) กรณีราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปี 2558 อยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จะทำให้ราคาขายปลีกก๊าซ NGV เฉลี่ย ปี 2558 อยู่ที่ 14.87 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งประกอบด้วย ราคาเฉลี่ยของต้นทุนราคาก๊าซฯ และค่าใช้จ่ายดำเนินการอยู่ที่ 10.16 และ 3.74 บาทต่อกิโลกรัม และค่าภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 7
5. เนื่องจากราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบันยังคงต่ำกว่าต้นทุนของก๊าซ NGV จึงเห็นควรให้มีการทยอยปรับราคาเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนก๊าซ NGV มากขึ้น โดยปรับราคาขายปลีก ก๊าซ NGV สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลขึ้น 0.50 บาทต่อกิโลกรัมจากเดิม 12.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 13.00 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2558 และปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะขึ้น 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 9.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 10.00 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลขึ้นในอัตรา 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 12.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 13.00 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2558 และปรับราคา ขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะขึ้นในอัตรา 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 9.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 10.00 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2558
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลได้มีนโยบายในการส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก เพื่อให้ กฟผ. สามารถรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก (SPP) ที่ผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนอกรูปแบบกากหรือเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบผลิตพลังงานร่วม (Cogeneration) ซึ่งการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP จะเป็นการเพิ่มความมั่นคงในการจัดหาไฟฟ้าของประเทศ และเป็นการแบ่งเบาภาระการลงทุนของภาครัฐในระบบผลิตและระบบจำหน่าย ดังนั้นจึงได้มีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ระบบ Cogeneration เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
2. จากการดำเนินการตามนโยบายการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ระบบ Cogeneration ที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ผลิตไฟฟ้าที่ขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. ด้วยสัญญา Firm ระบบ Cogeneration จำนวนทั้งสิ้น 82 โครงการ คิดเป็นปริมาณไฟฟ้าเสนอขายตามสัญญา (Contracted Capacity) รวมทั้งสิ้น 6,901 เมกะวัตต์ และพบว่ามีอุปสรรคและปัญหาจากการดำเนินการ ดังนื้ (1) SPP ระบบ Cogeneration กลุ่มที่รับซื้อในรอบก่อนปี 2550 จำนวนทั้งสิ้น 25 โครงการ ปริมาณเสนอขายตามสัญญา 1,787 เมกะวัตต์ กำลังจะเริ่มทยอยสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2560-2568 จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจนกับ SPP กลุ่มดังกล่าว (2) พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมีความจำเป็นต้องการใช้ไฟฟ้าและไอน้ำอย่างต่อเนื่อง หากสัญญา SPP ระบบ Cogeneration ดังกล่าว สิ้นสุดอายุลงอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุนของประเทศได้ ดังนั้น กระทรวงพลังงาน จึงเสนอแนวทางในการส่งเสริม SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาให้สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานในภาคอุตสาหกรรมต่อไป
3. หลักการพิจารณาดำเนินการกับ SPP ประเภทสัญญา Firm ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2560-2568 ควรพิจารณาดำเนินการกับ SPP ประเภทสัญญา Firm ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2560-2568 ดังนี้ (1) โรงไฟฟ้าที่เป็นเทคโนโลยีเก่าและมีประสิทธิภาพต่ำควรเจรจาปรับปรุงอัตรารับซื้อไฟฟ้าใหม่ เนื่องจากผู้ประกอบการได้รับผลตอบแทนในส่วนของการลงทุนคืนแล้วทั้งหมด ดังนั้น ราคารับซื้อไฟฟ้าควรสะท้อนต้นทุนที่จากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าเท่านั้น (2) ในกรณีที่มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ควรส่งเสริมให้เกิดการผลิตไฟฟ้ารูปแบบกระจายศูนย์ (Distributed Generation) เพื่อลดความสูญเสียการส่งพลังงานไฟฟ้าในระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อให้การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วย SPP ระบบ Cogeneration เกิดประโยชน์สูงสุด โดยกำหนดให้โรงไฟฟ้า ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมีการใช้ไฟฟ้าและไอน้ำหรือน้ำเย็นปริมาณมากเท่านั้น รวมทั้งกำหนดปริมาณการขายไฟฟ้าเข้าระบบไม่ให้มากเกินความจำเป็น โดยกำหนดปริมาณการขายไฟฟ้าลงให้น้อยที่สุด และให้สอดคล้องกับความต้องการไฟฟ้าและไอน้ำของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม และควรมีระเบียบที่มีความรัดกุมสามารถกำกับดูแลโรงไฟฟ้าให้ดำเนินการผลิตไฟฟ้าและ ไอน้ำเป็นไปตามวัตถุประสงค์
4. กระทรวงพลังงานขอเสนอแนวทางการดำเนินการกับ SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญา ภายในปี 2560 – 2568 โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ (1) กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2560 – 2561 เห็นควรให้ได้รับการต่ออายุสัญญาเดิมออกไปอีก 3 - 5 ปี โดยรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือ จากการขายให้กับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบของ กฟผ. ในปริมาณที่น้อยสุด และเมื่อสิ้นสุดการขยายสัญญาแล้ว ให้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ในลักษณะเดียวกับกลุ่มที่ 2 และ (2) กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2562 – 2568 เห็นควรให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในพื้นที่เดิมหรือพื้นที่ใกล้เคียง เฉพาะโรงไฟฟ้าที่มีสถานที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม หรือกลุ่มโรงงานขนาดใหญ่ที่มีการใช้ไฟฟ้าและไอน้ำหรือน้ำเย็นปริมาณมากเท่านั้น โดยโรงไฟฟ้าใหม่จะต้องมีขนาดกำลังการผลิตเหมาะสมกับปริมาณความต้องการใช้ไอน้ำของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม และรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการขายให้กับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบของ กฟผ. ในปริมาณที่น้อยสุด ด้วยสัญญาที่เหมาะสมและเป็นธรรม
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบหลักการและแนวทางการดำเนินการกับ SPP ประเภทสัญญา Firm ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2560 - 2568 ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอในข้อ 3 และ ข้อ 4 และให้นำเสนอ กพช. เพื่อพิจารณาต่อไป
2. เห็นชอบให้เสนอ กพช. พิจารณามอบหมายให้ กบง. รับมาพิจารณาดำเนินการในรายละเอียดเพื่อให้เกิดผลทางปฏิบัติต่อไป
กบง. ครั้งที่ 7 - วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 7/2558 (ครั้งที่ 7)
วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เวลา 13.30 น.
1. โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนสิงหาคม 2558
2. แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง
3. แนวทางการแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธานที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายทวารัฐ สูตะบุตร เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนสิงหาคม 2558
สรุปสาระสำคัญ
1. กบง. เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 และเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2558 ได้เห็นชอบการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG โดยใช้ต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา (โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก และนำเข้า) เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการผลิตและจัดหาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน ทั้งนี้ให้มีการทบทวนราคาต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหาทุกๆ 3 เดือน สำหรับระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2558 ราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG ของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก และนำเข้า อยู่ที่ 498 CP-20 และ CP+85 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ตามลำดับ และบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด อยู่ที่ 13.90 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งทำให้ราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (LPG Pool) อยู่ที่ 15.6764 บาทต่อกิโลกรัม
2. เพื่อให้เป็นไปตามมติ กบง. เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 ฝ่ายเลขานุการฯ ได้มีการทบทวนต้นทุนราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG ระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2558 แล้ว สรุปได้ ดังนี้ (1) ต้นทุนจากโรงแยกฯ เดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2558 ลดลง 0.4018 บาทต่อกิโลกรัม จาก 16.3791 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 15.9773 บาทต่อกิโลกรัม (2) คงต้นทุนโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติกอ้างอิงราคาตลาดโลกที่ CP-20 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน เนื่องจากเป็นต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ราคาก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนสิงหาคม 2558 เท่ากับ 12.3685 บาทต่อกิโลกรัม (3) คงต้นทุนก๊าซ LPG จากการนำเข้าอยู่ที่ CP + 85 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ทำให้ต้นทุนการนำเข้าก๊าซ LPG เดือนสิงหาคม 2558 อยู่ที่ 15.9861 บาทต่อกิโลกรัม และ (4) ต้นทุนบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด อยู่ที่ 14.40 บาทต่อกิโลกรัม
3. จากราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) เดือนสิงหาคม 2558 อยู่ที่ 379 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2558 จำนวน 28 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนกรกฎาคม 2558 อยู่ที่ 34.4527 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนมิถุนายน 2558 จำนวน 0.5738 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (LPG Pool) ปรับลดลง 0.7742 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 15.6764 บาทต่อกิโลกรัม มาอยู่ที่ 14.9022 บาทต่อกิโลกรัม
4. จากราคาก๊าซ LPG Pool ของเดือนสิงหาคม 2558 ที่ปรับลดลง 0.7742 บาทต่อกิโลกรัม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG เป็น 3 แนวทาง ดังนี้ (1) คงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่ 1.0725 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกลดลง 0.83 บาท ต่อกิโลกรัม จาก 23.96 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 23.13 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 320 ล้านบาทต่อเดือน (2) ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่ 0.7742 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 1.0725 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 1.8467 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกคงเดิมที่ 23.96 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 602 ล้านบาทต่อเดือน และ (3) ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่ 0.1480 บาทต่อกิโลกรัม จาก 1.0725 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 1.2205 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ลดลงเหลือ 23.29 บาทต่อกิโลกรัม และจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 374 ล้านบาทต่อเดือน โดยฐานะกองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2558 มีฐานะกองทุนสุทธิ 7,816 ล้านบาm
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบการกำหนดราคาต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา ดังนี้
1.1 กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ณ ระดับราคา 15.9773 บาท ต่อกิโลกรัม
1.2 กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันและโรงอะโรเมติก เป็นราคาตลาดโลก (CP) ลบ 20 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
1.3 กำหนดราคาก๊าซ LPG จากการนำเข้า เป็นราคาตลาดโลก (CP) บวก 85 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
1.4 กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ณ ระดับราคา 14.40 บาทต่อกิโลกรัมโดยที่ CP = ราคาประกาศเปโตรมิน ณ ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบียของเดือนนั้น เป็นสัดส่วนระหว่างโปรเปน กับ บิวเทน 60 ต่อ 40ทั้งนี้ให้มีการทบทวนราคาต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหาทุกๆ 3 เดือน ซึ่งการทบทวนครั้งต่อไปจะเป็นในรอบเดือนตุลาคม 2558
2. เห็นชอบกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซ LPG ที่ผลิตและนำเข้ากิโลกรัมละ 0.9121 บาท โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป
เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2551 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้เห็นชอบการกำหนดอัตราเงินชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่โรงกลั่นน้ำมันที่รับซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะในอัตราไม่เกิน 7 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลา 5 ปี และมอบให้ สนพ. ไปศึกษารายละเอียดการกำหนดอัตราชดเชยที่เหมาะสม โดยให้นำเสนอประธาน กบง. ให้ความเห็นชอบก่อนออกประกาศ กบง. ต่อไป
2. ปี 2552 สนพ. ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตน้ำมันจากขยะ พบว่า จากการคำนวณผลตอบแทนโครงการที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.5 ราคาขยะที่ระดับ 2,000 บาทต่อตันขยะพลาสติก ระยะเวลาโครงการ 15 ปี และความสามารถผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกได้ 0.225 ล้านลิตรต่อตันต่อปี จะได้ราคาต้นทุนน้ำมันจากขยะพลาสติกที่ประมาณ 18 บาทต่อลิตร หรือประมาณ 87 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ดังนั้น เพื่อให้การผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกสามารถแข่งขันได้ในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกลดต่ำกว่า 18 บาทต่อลิตร กบง. ในการประชุมเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2552 จึงได้เห็นชอบอัตราเงินชดเชยให้แก่โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะ โดยให้อัตราเงินชดเชยเท่ากับ 18 ลบด้วยราคาน้ำมันดิบ และหากราคาน้ำมันดิบดูไบสูงกว่า 18 บาทต่อลิตร หรือ 87 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะไม่มีการชดเชย โดยให้มีระยะเวลาการชดเชย 5 ปี
3. ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้เริ่มดำเนินโครงการส่งเสริมการแปรรูปจากขยะเป็นน้ำมันตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 แต่ยังไม่มีการชดเชยเนื่องจากไม่มีผู้ผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกรายใดมาขอรับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ รวมทั้งบางช่วงราคาน้ำมันดิบดูไบได้ปรับสูงขึ้นเกิน 18 บาทต่อลิตร ทำให้ไม่ต้องมีการชดเชยตามมติ กบง. เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2552 ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 เป็นต้นมา ราคาน้ำมันดิบดูไบได้ลดต่ำลงมาอยู่ที่ประมาณ 11.79 บาทต่อลิตร หรือ 57 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกมีหนังสือถึง สนพ. เพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ ในการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติก แต่ระยะเวลาสนับสนุนได้สิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2558 เนื่องจากครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี
4. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รวบรวมข้อมูลต้นทุนการผลิตจากผู้ผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกจำนวน 7 ราย พบว่า น้ำมันที่ผลิตได้จากขยะพลาสติกมีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 11.27-17.76 บาทต่อลิตร หรือเทียบเท่าราคาน้ำมันดิบดูไบที่ประมาณ 54-85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งต้นทุนที่ลดต่ำลงมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติก ฝ่ายเลขานุการฯ จึงมีความเห็นว่า เพื่อให้สะท้อนต้นทุนการผลิตที่แท้จริงควรกำหนดต้นทุนการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกเฉลี่ยที่ 14.50 บาทต่อลิตร
5. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2558 อยู่ที่ประมาณ 11.93 บาทต่อลิตร ในขณะที่ต้นทุนจากการผลิตน้ำมันขยะอยู่ที่ประมาณ 14.50 บาทต่อลิตร ซึ่งไม่สามารถแข่งขันกับราคาน้ำมันดิบดูไบได้ ดังนั้น ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอให้มีการชดเชยราคาให้กับโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับซื้อน้ำมันจากขยะพลาสติก ในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบดูไบต่ำกว่าประมาณ 14.50 บาทต่อลิตร โดยให้อัตราเงินชดเชยเท่ากับ 14.50 ลบด้วยราคาน้ำมันดิบ และหากราคาน้ำมันดิบดูไบสูงกว่า 14.50 บาทต่อลิตร จะไม่มีการชดเชยต้นทุนการผลิตน้ำมันจากขยะ โดยให้มีระยะเวลาชดเชย 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2561 และให้ สนพ. พิจารณาทบทวนต้นทุนการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกทุกๆ 1 ปี
มติของที่ประชุม
เห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณอัตราเงินชดเชยให้แก่โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติก ดังนี้
ทั้งนี้หากราคาน้ำมันดิบสูงกว่า 14.50 บาทต่อลิตร จะไม่มีการชดเชยต้นทุนการผลิน้ำมัน จากขยะ โดยให้มีระยะเวลาชดเชย 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2561 แะให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานพิจารณาทบทวนต้นทุนการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกทุกๆ 1 ปี
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2561
เรื่อง แนวทางการแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
สรุปสาระสำคัญ
1. ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นระเบียบที่ประกาศใช้ก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยระเบียบได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งประกอบด้วย
(1) ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ฉบับ พ.ศ. 2550
(2) ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ประเภทสัญญา Non-Firm ฉบับ พ.ศ. 2550 และ
(3) ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน) และเพื่อเป็นการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และขนาดเล็กมาก (VSPP) กพช. เห็นชอบให้มีการสนับสนุนในรูปแบบการให้อัตราส่วนเพิ่มในการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Adder) ทั้งนี้การให้ Adder ไม่ได้อยู่ในระเบียบรับซื้อไฟฟ้า แต่เป็นประกาศแนบท้ายสัญญา
2. ต่อมา กพช. เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ได้มีมติเห็นชอบอัตรารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed in Tariff (FiT) โดยให้ประกาศหยุดรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Adder โดยมีผลถัดจากวันที่ กพช. มีมติ โดยให้โครงการที่ยื่นคำร้องขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder ก่อนวันที่ กพช. มีมติ ให้สามารถปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบ FiT ได้ ซึ่งภายหลัง กพช. มีมติดังกล่าวได้มีผู้ประกอบการบางส่วน ได้มีหนังสือหารือมายังกระทรวงพลังงาน เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการยื่นขอขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าโดยไม่ขอรับ Adder รวมถึงหารือแนวทางการปฏิบัติในการรับซื้อไฟฟ้า ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าการเปิดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ขอรับการสนับสนุนทั้งในรูปแบบ Adder หรือ FiT นั้น อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณ การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ที่กระทรวงพลังงานจะเปิดรับซื้อ ซึ่งจะพิจารณาถึงศักยภาพของระบบไฟฟ้าและศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนในแต่ละพื้นที่ จึงขอเสนอให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียน เพื่อทำหน้าที่เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎ/ระเบียบที่อาจไม่เอื้อให้เกิดการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการเปิดรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ FiT โดยไม่กระทบต่อระบบไฟฟ้า
มติของที่ประชุม
เห็นชอบการแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ภายใต้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
กบง. ครั้งที่ 6 - วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 6/2558 (ครั้งที่ 6)
วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 14.30 น.
ปลัดกระทรวงพลังงาน นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม กรรมการและเป็นประธานที่ประชุม
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ เป็นกรรมการและเลขานุการ(แทน)
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. กบง. ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.60 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 8 มกราคม 2558 อยู่ที่ 2.3378 บาทต่อลิตร
2. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 9 มกราคม 2558 เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 6 มกราคม 2558 พบว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลง 1.50 1.93 และ 1.74 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ มาอยู่ที่ระดับ 47.20 57.89 และ 64.57 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราวันที่ 9 มกราคม 2558 อยู่ที่ 33.0016 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น 0.0990 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ และราคาไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันของวันที่ 12 มกราคม 2558 อยู่ที่ 37.15 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้น 2.29 บาทต่อลิตร เมื่อเปรียบเทียบกับวันที่ 7 มกราคม 2558 ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2558 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 และ 91E10 ลง 0.60 บาทต่อลิตร และปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 และ E85 ลง 0.40 และ 0.20 บาทต่อลิตร ตามลำดับ จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 12 มกราคม 2558 อยู่ที่ 2.2209 บาทต่อลิตร ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าค่าการตลาดที่เหมาะสม
ดังนั้น เพื่อรักษาค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 ลง 0.40 บาทต่อลิตร และ ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้นลิตรละ 0.30 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ฝ่ายเลขานุการฯ จะประสานขอความร่วมมือกับผู้ค้าให้ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 ลง 1.00 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 91E10 และ E20 ลง 0.60 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลลง 0.30 บาท ต่อลิตร ซึ่งผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว จะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 2.3841 และ 1.6405 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีสภาพ คล่องเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 13.78 ล้านบาท หรือ 413 ล้านบาทต่อเดือนจากมีรายรับ 7,818 ล้านบาทต่อเดือน เป็นมีรายรับ 8,231 ล้านบาทต่อเดือน ทั้งนี้ ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 11 มกราคม 2558 มีทรัพย์สินรวม 30,179 ล้านบาท มีหนี้สินรวม 10,553 ล้านบาท โดยมีฐานะสุทธิเป็นบวก 19,625 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 6 - วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 6/2558 (ครั้งที่ 6)
วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 13.30 น.
1. โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนกรกฎาคม 2558
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธานที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายชวลิต พิชาลัย เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนกรกฎาคม 2558
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 เห็นชอบ การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG โดยใช้ต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา (โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก และการนำเข้า) เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ตามปริมาณการผลิตและจัดหาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน โดยโครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนกรกฎาคม 2558 มีปัจจัยที่สำคัญคือ ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) เดือนกรกฎาคม 2558 อยู่ที่ 407 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน 12 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ 33.8789 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนพฤษภาคม 2558 ที่ 0.1733 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (LPG Pool) ปรับลดลง 0.1205 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 15.7969 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 15.6764 บาทต่อกิโลกรัม
2. จากราคาก๊าซ LPG Pool ของเดือนกรกฎาคม 2558 ที่ปรับลดลง 0.1205 บาทต่อกิโลกรัม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG เป็น 2 แนวทาง ดังนี้ (1) คงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่ 0.9520 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกลดลง 0.1289 บาทต่อกิโลกรัม จาก 23.96 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 23.83 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้กองทุนมีรายรับ 271 ล้านบาทต่อเดือน (2) ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่ 0.1205 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 0.9520 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 1.0725 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกคงเดิมที่ 23.96 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 314 ล้านบาทต่อเดือน ทั้งนี้ ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2558 มีฐานะกองทุนสุทธิ 7,395 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับก๊าซ LPG ที่ผลิตและนำเข้ากิโลกรัมละ 1.0725 บาท โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) รับไปดำเนินการประกาศหยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder โดยให้มีผลนับถัดจากวันที่ กพช. มีมติ (ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2557) ซึ่งต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ได้มีหนังสือถึงการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อแจ้งมติ กกพ. ให้การไฟฟ้าดำเนินการออกประกาศหยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder โดยให้มีผลนับถัดจากวันที่ กพช. มีมติ และต่อมา กฟน. กฟผ. และ กฟภ. ได้ดำเนินการออกประกาศ เรื่อง การหยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder เมื่อวันที่ 23 29 และ 30 มกราคม 2558 ตามลำดับ โดยประกาศทั้งหมดให้มีผลนับแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2557
2. เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2558 กพช. ได้มีมติมอบหมายให้ กกพ. รับไปแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของโครงการพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Adder ที่หยุดรับซื้อไฟฟ้า ซึ่งมีผลถัดจากวันที่ กพช. มีมติซึ่งทำให้ผู้ยื่นขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder ไม่สามารถยื่นขอขายไฟฟ้าได้ทัน และเมื่อได้ข้อยุติแล้วให้นำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
3. โดยที่ผ่านมาสำนักงาน กกพ. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่ได้ยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้า ในรูปแบบ Adder ภายหลังจากที่ กพช. มีมติให้หยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder แต่เป็นการยื่นก่อนที่การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จะดำเนินการออกประกาศฯ จำนวน 8 ราย แบ่งออกเป็น VSPP จำนวน 5 ราย และ SPP จำนวน 3 ราย คิดเป็นปริมาณเสนอขายประมาณ 97.966 เมกะวัตต์ โดยผู้ผลิตไฟฟ้าได้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมและขอให้ทบทวนมติ กพช. เนื่องจากผู้ผลิตไฟฟ้าได้ยื่นคำขอขายไฟฟ้าตามหลักเกณฑ์ปฏิบัติ ประกอบกับได้ลงทุนและมีค่าใช้จ่ายคิดเป็นเงินจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีความเห็นว่าการออกประกาศของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งที่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
4. ในการประชุมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 กกพ. ได้มีมติว่าประกาศของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ไม่สามารถมีผลใช้บังคับย้อนหลังไปถึงวันถัดจากวันที่ กพช. มีมติได้ เนื่องจากเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คำวินิจฉัยและกลั่นกรองคำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนด ดังนั้น กกพ. จึงได้มอบหมายให้สำนักงาน กกพ. นำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อ กบง. เพื่อพิจารณาหาข้อยุติ ตามมติของ กพช. โดย กกพ. ได้มีหนังสือถึงการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง เพื่อให้จัดส่งข้อมูลการยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Adder ที่ได้รับระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2557 จนถึงวันที่การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จะดำเนินการออกประกาศฯ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานการยื่นคำร้องของผู้ยื่นคำร้องและข้อเสนอทุกราย รวมถึงผู้ยื่นคำร้องและข้อเสนอที่ถูกปฏิเสธ ซึ่งสำนักงาน กกพ. ได้รับหนังสือรายงานข้อมูลการยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าจากการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง รวมทั้งสิ้น 35 โครงการ มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายทั้งสิ้น 314.706 เมกะวัตต์ แบ่งออกเป็น (1) กฟผ. จำนวนทั้งสิ้น 4 โครงการ มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายทั้งสิ้น 131.866 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นเป็นเชื้อเพลิงขยะ และชีวมวลจำนวน 1 และ 3 โครงการ มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย 70 และ 61.866 เมกะวัตต์ ตามลำดับ (2) กฟภ. จำนวนทั้งสิ้น 31 โครงการ มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายทั้งสิ้น 182.840 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นเป็นเชื้อเพลิงขยะ ชีวภาพ ชีวมวล และน้ำจำนวน 13 5 12 และ 1 โครงการ มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย 67.600 8.840 106.300 และ 0.100 เมกะวัตต์ ตามลำดับ และ (3) กฟน. ไม่มีผู้เสนอขอ ทั้งนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาเทียบเคียง ได้แก่ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด อ.64–79/2551 และคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.66/2553 ได้มีคำวินิจฉัยว่า ประกาศเป็นการใช้อำนาจทางปกครองที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป จึงเป็นกฎ และต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า นิติกรรมทางปกครองไม่มีผลย้อนหลัง
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ประกาศการหยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder ของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดยให้มีผลใช้บังคับถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ดังนี้
(1) การไฟฟ้านครหลวง ให้มีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ 24 มกราคม 2558
(2) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ให้มีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ 30 มกราคม 2558
(3) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้มีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ 31 มกราคม 2558
โดยให้สิทธิแก่ผู้ผลิตไฟฟ้าที่ได้ยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2557 จนถึง วันที่ประกาศ เรื่อง การหยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder ของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง มีผลใช้บังคับตามข้อ (1) – (3) ทั้งนี้ ให้การไฟฟ้าพิจารณาคำร้องขอขายไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าที่ได้ยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าภายหลังจากที่ กพช. ได้มีมติให้หยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder และได้ยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าก่อนที่การไฟฟ้า ออกประกาศหยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้า แต่การไฟฟ้าได้ปฏิเสธการรับคำขอขายไฟฟ้าไว้ เนื่องจากเป็นการยื่นภายหลังวันที่ 16 ธันวาคม 2557
2. ให้การไฟฟ้าพิจารณาคำร้องขอขายไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าข้างต้น โดยคำนึงถึงศักยภาพของระบบไฟฟ้า (Grid Capacity) ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 ทั้งนี้ให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานดำเนินการแจ้งมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ทราบทันที
กบง. ครั้งที่ 5 - วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 5/2558 (ครั้งที่ 5)
วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 14.30 น.
2. แนวทางการปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG
3. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี กรรมการและเป็นประธานที่ประชุม
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ เป็นกรรมการและเลขานุการ(แทน)
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ได้มีมติเห็นชอบกรอบและแนวทางในการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้ (1) ราคาพลังงานต้องสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง (2) ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ขนส่งแต่ละประเภทควรจะมีอัตราภาษีสรรพสามิตที่ใกล้เคียงกัน (3) กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาและส่งเสริมพลังงานทดแทน (4) ลดการชดเชยข้ามประเภทเชื้อเพลิง (5) ค่าการตลาดควรอยู่ในระดับที่เหมาะสม (6) ช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และ (7) เก็บเงินกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเชื้อเพลิงในแต่ละประเภทในอัตราที่ใกล้เคียงกัน ตามค่าความร้อน
2. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลงให้เท่ากับภาษีสรรพสามิตน้ำมันและภาษีเทศบาลที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเท่ากับ 2.75 บาทต่อลิตร (ภาษีสรรพสามิตน้ำมันปรับเพิ่ม 2.50 บาทต่อลิตร และภาษีเทศบาลปรับเพิ่ม 0.25 บาทต่อลิตร) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2557 ซึ่งในวันที่ 17 ธันวาคม 2557 ได้มีการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มขึ้น จาก 0.75 บาทต่อลิตร เป็น 3.25 บาทต่อลิตร และภาษีเทศบาลเพิ่มขึ้นจาก 0.075 บาทต่อลิตร เป็น 0.325 บาทต่อลิตร รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเทศบาล ปรับเพิ่ม 2.75 บาทต่อลิตร ในขณะที่กองทุนน้ำมันฯ ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนลง 2.75 บาทต่อลิตร จาก 4.50 บาทต่อลิตร เป็น 1.75 บาทต่อลิตร ซึ่งจะเห็นว่าภาษีสรรพสามิตและภาษีเทศบาลที่ปรับขึ้นเท่ากับเงินกองทุนฯ ที่ปรับลดลง ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่เปลี่ยนแปลง
3. ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 10 ภายใต้บังคับมาตรา 11 วรรคสอง มาตรา 12 วรรคสอง และมาตรา 13 ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี ระบุว่ากรณีสินค้า ที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น ในเวลาที่นําสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ดังนั้น จากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2557 น้ำมันดีเซลที่ค้างอยู่ในโรงอุตสาหกรรมซึ่งได้เสียภาษีสรรพสามิตในอัตรา 0.75 บาทต่อลิตร ภาษีเทศบาลในอัตรา 0.075 บาทต่อลิตร และกองทุนน้ำมันฯ ในอัตรา 4.50 บาทต่อลิตร แล้ว เมื่อนำออกจาก โรงอุตสาหกรรม ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2557 จะต้องเสียภาษีในอัตราใหม่ คือ ภาษีสรรพสามิตในอัตรา 3.25 บาทต่อลิตร ภาษีเทศบาลในอัตรา 0.325 บาทต่อลิตร และกองทุนน้ำมันฯ ในอัตราเดิมที่ 4.50 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ผู้ผลิตต้องรับภาระส่วนต่างในอัตรา 2.75 บาทต่อลิตร ปัจจุบันมีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวน 6 ราย มีหนังสือถึงกระทรวงพลังงานเพื่อขอให้พิจารณาแนวทางบรรเทาผลกระทบจากการขาดทุนปริมาณน้ำมันคงเหลือ โดย ในเบื้องต้น มีประมาณปริมาณน้ำมันคงเหลือรวมจำนวน 745.01 ล้านลิตร และมีภาระขาดทุนรวมประมาณ 2,048.77 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่อง แนวทางการปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 มีมติเห็นชอบ แนวทางการปรับโครงสร้างก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) โดยให้ยกเลิกการกำหนดราคา ณ โรงกลั่นของโรงแยก ก๊าซธรรมชาติ ที่ระดับ 332.7549 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน และมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) รับไปกำหนดราคา ณ โรงกลั่นของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม กำหนดราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับการใช้ประเภทต่างๆ ให้อยู่ในระดับเดียวกัน และปรับเงินจ่ายเข้า/ออกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีค่าใกล้ศูนย์ โดยมอบหมายให้ กบง. รับไปดำเนินการปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ต่อไป
2. แนวทางการปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG มีดังนี้
2.1 ราคาก๊าซ LPG ของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ: เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2552 กบง. เห็นชอบให้กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ทำในราชอาณาจักรและนำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรอยู่ที่ระดับ 332.7549 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ทำให้โรงแยกก๊าซธรรมชาติต้องจำหน่ายก๊าซ LPG สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงที่ราคา 332.7549 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน แต่ต้นทุนการผลิตก๊าซ LPG ของโรงแยกก๊าซธรรมชาติในปัจจุบันอยู่ที่ 498 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ทำให้โรงแยกก๊าซธรรมชาติต้องแบกรับต้นทุนส่วนต่างที่ประมาณ 165 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน แนวทางดำเนินการคือเสนอให้ ปรับราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติให้สะท้อนต้นทุนการผลิตที่แท้จริงในปัจจุบันที่ระดับ 498 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
2.2 ราคาก๊าซ LPG ของโรงกลั่นน้ำมัน: เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2554 กบง. มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณราคาก๊าซ LPG ของโรงกลั่น เท่ากับ (0.24 x 333) + (0.76 x CP) มีหน่วยเหรียญสหรัฐฯต่อตัน โดยใช้ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) เป็นตัวแทนต้นทุนก๊าซ LPG ของโรงกลั่นน้ำมัน แนวทางดำเนินการคือ เสนอให้ปรับราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันให้สะท้อนราคาตลาดโลกมากขึ้น โดยอ้างอิงราคา ก๊าซ LPG ตลาดโลกลบด้วยค่าขนส่งจากประเทศไทยไปจีนใต้ (CP - 20 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน)
2.3 ราคาก๊าซ LPG นำเข้า: เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 กบง. มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณราคาก๊าซ LPG นำเข้าเท่ากับ (CP + Premium + ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ) มีหน่วยเหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน โดยที่ CP เท่ากับ ราคาประกาศเปโตรมิน ณ ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบีย เป็นสัดส่วนระหว่างโปรเปนกับ บิวเทนที่ 60 ต่อ 40 ณ เดือนที่มีการนำเข้า Premium เท่ากับ ค่าขนส่งและค่าธรรมเนียม ณ เดือนที่นำเข้า และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ได้แก่ Insurance, Loss, Demurrage, Import duty, Surveyor / witness fee & Lab, expenses, Management Fee, Depot Operating Expenses และ Adjust Demurrage (ส่วนต่างระหว่างค่า Demurrage ที่เกิดขึ้นจริงกับค่าประมาณการของเที่ยวเรือก่อนหน้าที่สามารถเจรจาจนได้ข้อยุติแล้ว) โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายให้ลูกค้าธนาคารทั่วไป ที่ประกาศโดยธนาคาร แห่งประเทศไทยเฉลี่ยเดือนก่อนหน้าเดือนที่นำเข้า แนวทางดำเนินการคือ เสนอให้ปรับราคาก๊าซ LPG นำเข้า เป็นราคาตลาดโลก (CP) บวก 85 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ซึ่งประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายสำหรับขนส่งโดยเรือขนาด 44,000 ตัน เท่ากับ 70 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน และค่าใช้จ่ายสำหรับคลังนำเข้าเท่ากับ 15 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
2.4 การกำหนดราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (LPG Pool) เพื่อให้ราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักสะท้อนต้นทุนการจัดหาก๊าซ LPG ของประเทศ จึงกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นของก๊าซ LPG เท่ากับ [0.48 x 498] + [0.25 x (CP -20)] + [0.27 x (CP + 85)] โดยที่ CP เท่ากับ ราคาประกาศเปโตรมิน ณ ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบียรายเดือนเป็นสัดส่วนระหว่างโปรเปนกับบิวเทนที่ 60 ต่อ 40 อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายให้ลูกค้าธนาคารทั่วไป ที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยเดือนก่อนหน้า โดยมีสัดส่วนแบ่งตามแหล่งจัดหาได้ดังนี้ (1) โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ปริมาณการจัดหา 299 พันตันต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 48 (2) โรงกลั่นน้ำมัน ปริมาณการจัดหา 155 พันตัน ต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 25 และ (3) นำเข้า ปริมาณการจัดหา 172 พันตันต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 27 จากหลักเกณฑ์ดังกล่าว ราคา ณ โรงกลั่นของก๊าซ LPG ของเดือนมกราคม 2558 จะเท่ากับ 488 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน หรือ 16.1156 บาทต่อกิโลกรัม (คิดจากราคา CP เดือนมกราคม 2558 ที่ 443 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเดือนธันวาคม 2557 เท่ากับ 33.0459 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ)
2.5 แนวทางการบริหารจัดการราคา ณ โรงกลั่นของก๊าซ LPG ให้เป็นราคาเดียวกัน ให้ใช้กองทุนน้ำมันฯ เป็นกลไกในการบริหารจัดการ โดยแหล่งจัดหาใดที่มีต้นทุนการจัดหาต่ำกว่าราคา ณ โรงกลั่นของ ก๊าซ LPG เฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ตามส่วนต่าง และแหล่งจัดหาใดที่มีต้นทุนการจัดหาสูงกว่าราคา ณ โรงกลั่นของก๊าซ LPG เฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก จะได้รับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ ตามส่วนต่าง
2.6 เปรียบเทียบโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ก่อนและหลังปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG พบว่ากองทุนน้ำมันฯจะมีรายรับลดลงประมาณ 70 ล้านบาทต่อวัน จากเดิม 76 ล้านบาทต่อวัน เป็น 6 ล้านบาทต่อวัน โดยจำนวนเงินดังกล่าวนำไปใช้ในการปรับราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (LPG Pool)
3. ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอดังนี้ (1) ยกเลิกการกำหนดราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม ให้เป็นไปตามต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน ตามมติ กบง. เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 และยกเลิกการกำหนดราคา ขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนและภาคขนส่งให้เป็นไปตามต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน ตามมติ กบง. เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 (2) กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ที่จำหน่ายก๊าซให้ผู้บรรจุก๊าซหรือร้านค้าก๊าซเพื่อจำหน่ายต่อให้ภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ 5.64 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 1 - 27 มกราคม 2558 เพื่อให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ 24.16 บาทต่อกิโลกรัม (3) กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 498 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันเป็นราคาตลาดโลก (CP) ลบ 20 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน กำหนดราคาก๊าซ LPG นำเข้า เป็นราคาตลาดโลก (CP) บวก 85 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (LPG Pool) เท่ากับ [0.48 x 498] + [0.25 x (CP -20)] + [0.27 x (CP + 85)] กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯสำหรับก๊าซ LPG ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในอัตรา 0.8203 บาทต่อกิโลกรัม ให้ใช้กองทุนน้ำมันฯ เป็นกลไกในการบริหารจัดการราคา ณ โรงกลั่นของก๊าซ LPG ให้เป็นราคาเดียวกัน โดยมอบหมายให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงานรับไปดำเนินการต่อไป และมอบหมายให้ ปตท. รับผิดชอบโครงการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน (ครัวเรือนรายได้น้อย) ทั้งหมด ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2558 และ (4) มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. ให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ยกเลิกการกำหนดราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 และ ยกเลิกการกำหนดราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนและภาคขนส่งให้เป็นไปตามต้นทุนโรงกลั่นน้ำมันตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558
2. เห็นชอบการกำหนดผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ที่ได้จำหน่ายก๊าซให้กับผู้บรรจุก๊าซหรือร้านค้าก๊าซ เพื่อจำหน่ายต่อให้กับภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม ต้องส่งเงินเข้ากองทุน 5.64 บาทต่อกิโลกรัม โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558
3. เห็นชอบให้ยกเลิกการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซ LPG ก๊าซโปรเปน และก๊าซบิวเทนที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือโรงแยกก๊าซธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในโรงอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียม 1 บาทต่อกิโลกรัม โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558
4. เห็นชอบการกำหนดราคาต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา ดังนี้
(1) กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ณ ระดับราคา 498 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
(2) กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก เป็นราคาตลาดโลก (CP) ลบ 20 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
(3) กำหนดราคาก๊าซ LPG จากการนำเข้า เป็นราคาตลาดโลก (CP) บวก 85 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน โดยที่ CP = ราคาประกาศเปโตรมิน ณ ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบียของเดือนนั้น เป็นสัดส่วนระหว่างโปรเปน กับ บิวเทน 60 ต่อ 40ทั้งนี้ ราคาต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหาจะมีการเปลี่ยนแปลงทุกเดือน และมีการทบทวนราคาต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหาทุก 3 เดือน
5. เห็นชอบการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG โดยใช้ต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา (โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก และ นำเข้า) เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการผลิตและจัดหาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน เท่าที่มีการรายงานจากกรมธุรกิจพลังงาน โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายให้ลูกค้าธนาคารทั่วไป ที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เฉลี่ยเดือนก่อนหน้า
ทั้งนี้ปริมาณการผลิตก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติกไม่รวมที่ใช้เองเป็นเชื้อเพลิง และในส่วนของการนำเข้าจะครอบคลุมเฉพาะปริมาณก๊าซ LPG จากการนำเข้าเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในประเทศเท่านั้น
ทั้งนี้อัตราแลกเปลี่ยนใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารขายให้ลูกค้าธนาคารทั่วไป ที่ประกาศ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยเดือนก่อนหน้า (บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ)
6. ใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นกลไกในการบริหารจัดการราคา ณ โรงกลั่นซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG ให้เป็นราคาเดียวกัน โดยให้ผู้ผลิตหรือผู้จัดหาก๊าซ LPG ที่มีต้นทุนสูงกว่าราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG ได้รับเงินชดเชย ในทางกลับกันผู้ผลิตหรือผู้จัดหาก๊าซ LPG ที่มีต้นทุนต่ำกว่าราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามปริมาณการผลิตและการจัดหา โดยมอบหมายให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงานรับไปดำเนินการต่อไป
หลักเกณฑ์การคำนวณอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมัน = ราคาก๊าซ LPG เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก- ราคาต้นทุนจากแหล่งผลิตหรือแหล่งจัดหา
7. ขอความร่วมมือให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบโครงการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน (ครัวเรือนรายได้น้อย) ทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีแนวทางอื่นมาทดแทน
8. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานให้มีผลบังคับใช้ต่อไป โดยการออกประกาศในแต่ละเดือนต้องออกภายใน 5 วันทำการแรกของเดือนนั้น
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. กบง. ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2557 ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 ขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลขึ้น 0.70 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ ค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 และน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2557 อยู่ที่ 1.8498 และ 1.6876 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
2. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 6 มกราคม 2558 เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2557 พบว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลง มาอยู่ที่ระดับ 48.70 59.82 และ 66.31 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราวันที่ 6 มกราคม 2558 อยู่ที่ 33.1006 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง 0.1057 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ และราคา ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันของวันที่ 7 มกราคม 2558 อยู่ที่ 34.86 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้น 1.32 บาทต่อลิตร เมื่อเปรียบเทียบกับวันที่ 23 ธันวาคม 2557 ทั้งนี้เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2557 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 และ E20 ลง 0.30 บาทต่อลิตร และเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2558 ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินลง 0.80 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอลลง 0.50 บาทต่อลิตร ยกเว้น E85 ปรับลง 0.20 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลปรับลง 0.50 บาทต่อลิตร จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 7 มกราคม 2558 อยู่ที่ 2.3703 บาทต่อลิตร ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่า ค่าการตลาดที่เหมาะสม
3. เพื่อให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.60 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 1.7703 บาทต่อลิตร ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 31.61 ล้านบาท หรือ 948 ล้านบาทต่อเดือน จากมีรายรับ 6,567 ล้านบาทต่อเดือน เป็นมีรายรับ 7,516 ล้านบาทต่อเดือน ทั้งนี้ ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 4 มกราคม 2558 มีทรัพย์สินรวม 29,022 ล้านบาท มีหนี้สินรวม 11,401 ล้านบาท โดยมีฐานะสุทธิเป็นบวก 17,622 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วขึ้น 0.60 บาท ต่อลิตร จาก 2.45 บาทต่อลิตร เป็นส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่อัตรา 3.05 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 5 - วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 5/2558 (ครั้งที่ 5)
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 10.00 น.
โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนมิถุนายน 2558
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธานที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายชวลิต พิชาลัย เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง รายงานการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนเมษายน 2558
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 เห็นชอบ การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG โดยใช้ต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา (โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก และการนำเข้า) เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ตามปริมาณการผลิตและจัดหาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน โดยราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) เดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ 419 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน 50 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ 33.7056 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนเมษายน 2558 ที่ 1.0479 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (LPG Pool) ปรับลดลง 0.3233 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 16.1202 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 15.7969 บาท ต่อกิโลกรัม
2. จากราคาก๊าซ LPG Pool ของเดือนมิถุนายน 2558 ที่ปรับลดลง 0.3233 บาทต่อกิโลกรัม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG เป็น 3 แนวทาง ดังนี้ (1) คงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของก๊าซ LPG ที่ 0.6287 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกลดลง 0.3459 บาทต่อกิโลกรัม จาก 23.96 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 23.61 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้กองทุนมีรายรับ 218 ล้านบาทต่อเดือน (ชดเชยค่าขนส่งไปยังคลังภูมิภาค 70 ล้านบาทต่อเดือน) (2) เพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของก๊าซ LPG ที่ 0.1644 บาทต่อกิโลกรัม และราคาขายปลีกลดลง 0.17 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของก๊าซ LPG เพิ่มขึ้นจาก 0.6287 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 0.7931 บาท ต่อกิโลกรัม และราคาขายปลีกลดลงจาก 23.96 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 23.79 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้กองทุนฯ มีรายรับ 275 ล้านบาทต่อเดือน (ชดเชยค่าขนส่งไปยังคลังภูมิภาค 70 ล้านบาทต่อเดือน) และ (3) เพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของก๊าซ LPG ที่ 0.3233 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกคงเดิมที่ 23.96 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของก๊าซ LPG ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2558 มีฐานะกองทุนสุทธิ 6,944 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซ LPG ที่ผลิตในราชอาณาจักรกิโลกรัมละ 0.952 บาท โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2558 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 4 - วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 4/2558 (ครั้งที่ 4)
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 14.00 น.
1. รายงานการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนเมษายน 2558
2. โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนพฤษภาคม 2558
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธานที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายชวลิต พิชาลัย เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง รายงานการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนเมษายน 2558
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2558 มีมติเห็นชอบในการมอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในฐานะประธานฯ สามารถพิจารณาปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุน น้ำมันฯ หรืออัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่เกิน 1 บาทต่อลิตร จากอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 17 เมษายน 2558 โดยกำหนดช่วงที่สามารถพิจารณาปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ หรืออัตรา เงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ ดังนี้ (1) น้ำมันเบนซิน อยู่ในช่วง 5.65 ถึง 7.65 บาทต่อลิตร (2) น้ำมัน แก๊สโซฮอล 95 อยู่ในช่วง -0.05 ถึง 1.95 บาทต่อลิตร (3) น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 อยู่ในช่วง -0.55 ถึง 1.45 บาทต่อลิตร (4) น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 อยู่ในช่วง -2.40 ถึง -0.40 บาทต่อลิตร (5) น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 อยู่ในช่วง -8.23 ถึง -6.23 บาทต่อลิตร และ (6) น้ำมันดีเซล อยู่ในช่วง -0.55 ถึง 1.45 บาทต่อลิตร
2. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 30 เมษายน 2558 เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 17 เมษายน 2558 พบว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.20 4.16 และ 3.90 มาอยู่ที่ระดับ 63.30 82.30 และ 77.45 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 91E10 E20 และน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 อยู่ที่ 0.8363 0.9597 0.9219 0.9460 และ 0.9836 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าการตลาดที่เหมาะสม
ดังนั้น เพื่อรักษาค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอความเห็นชอบจากประธานฯ ให้มีการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน และกลุ่มน้ำมัน แก๊สโซฮอล ยกเว้น น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ลง 0.50 บาทต่อลิตร และปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ น้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นไป ผลจากการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว จะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 91E10 E20 และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 1.3363 1.4597 1.4219 1.4460 และ 1.3836 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีสภาพคล่องลดลงประมาณ 1,071 ล้านบาทต่อเดือน จากมีรายรับ 1,093 ล้านบาทต่อเดือน เป็นมีรายรับ 22 ล้านบาทต่อเดือนดังนั้น เพื่อรักษาค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอความเห็นชอบจากประธานฯ ให้มีการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน และกลุ่มน้ำมัน แก๊สโซฮอล ยกเว้น น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ลง 0.50 บาทต่อลิตร และปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ น้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นไป ผลจากการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว จะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 91E10 E20 และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 1.3363 1.4597 1.4219 1.4460 และ 1.3836 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีสภาพคล่องลดลงประมาณ 1,071 ล้านบาทต่อเดือน จากมีรายรับ 1,093 ล้านบาทต่อเดือน เป็นมีรายรับ 22 ล้านบาทต่อเดือน
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่อง โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนพฤษภาคม 2558
สรุปสาระสำคัญ
1. กบง. เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 และวันที่ 3 เมษายน 2558 ได้เห็นชอบการคำนวณราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG โดยใช้ต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา (โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก และนำเข้า) เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการผลิตและจัดหาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน ทั้งนี้ให้มีการทบทวนราคาต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหาทุกๆ 3 เดือน โดยราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG ของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก และนำเข้า อยู่ที่ 498 CP-20 และ CP+85 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ตามลำดับ และบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด อยู่ที่ 13.90 บาทต่อกิโลกรัม
2. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ทบทวนต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2558 แล้ว สรุปว่ามีแหล่งที่ต้นทุนเปลี่ยนแปลงหนึ่งแหล่ง คือ ต้นทุนจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ส่วนต้นทุนจากอีก 3 แหล่งคงที่ จึงได้มีข้อเสนอ ดังนี้ (1) ต้นทุนจากโรงแยกฯ ลดลง 1 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน จาก 498 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน เป็น 497 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน (2) คงต้นทุนโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก อ้างอิงราคาตลาดโลกอยู่ที่ CP-20 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน (3) คงต้นทุนก๊าซ LPG จากการนำเข้าอยู่ที่ CP + 85 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน (4) คงต้นทุนบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด อยู่ที่ 13.90 บาทต่อกิโลกรัม
3. ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) เดือนพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ 469 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ปรับตัวเพิ่มจากเดือนเมษายน 2558 จำนวน 5 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ 32.6577 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นจากเดือนมีนาคม 2558 จำนวน 0.1221 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (LPG Pool) ปรับลดลง 0.0943 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 16.2145 บาทต่อกิโลกรัม มาอยู่ที่ 16.1202 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้น เพื่อให้โครงสร้างราคาสะท้อนกับต้นทุนก๊าซ LPG ที่ลดลง ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอให้คงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่ 0.5344 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายปลีกลดลง 0.10 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้กองทุนน้ำมันจะมีรายรับอยู่ที่ประมาณ 197 ล้านบาทต่อเดือน
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบการกำหนดราคาต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา ดังนี้
1.1 กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ณ ระดับราคา 497 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
1.2 กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันและโรงอะโรเมติก เป็นราคาตลาดโลก (CP) ลบ 20 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
1.3 กำหนดราคาก๊าซ LPG จากการนำเข้า เป็นราคาตลาดโลก (CP) บวก 85 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
1.4 กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ณ ระดับราคา 13.90 บาทต่อกิโลกรัมโดยที่ CP = ราคาประกาศเปโตรมิน ณ ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบียของเดือนนั้น เป็นสัดส่วน ระหว่างโปรเปน กับ บิวเทน 60 ต่อ 40ทั้งนี้ให้มีการทบทวนราคาต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหาทุกๆ 3 เดือน
2. เห็นชอบกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซ LPG ที่ผลิตในราชอาณาจักรกิโลกรัมละ 0.6287 บาท โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน
ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นไป
สรุปสาระสำคัญ
1. สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2557 ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอโครงการปฏิรูปเร็ว (Quick Win) ของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช. เรื่อง โครงการส่งเสริมการติดตั้งโซล่าร์รูฟอย่างเสรี โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) โครงการส่งเสริมฯ หมายถึง การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านและอาคาร โดยกำหนดให้นำไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปใช้ในบ้านหรืออาคารก่อน แล้วส่งไฟฟ้าที่เหลือไปขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ (2) เป้าหมาย ในช่วง พ.ศ. 2558 – 2563 จะมีโซล่าร์รูฟขนาด ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ อย่างน้อย 100,000 ชุด และในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีอย่างน้อย 1,000,000 ชุด รวมทั้ง 5,000 เมกะวัตต์ สำหรับอาคารขนาดกลางและใหญ่ (3) ให้กระทรวงพลังงาน ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พิจารณาออกระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ให้การเข้าร่วมโครงการส่งเสริมฯ เป็นไปอย่างสะดวก (4) ให้บรรจุโครงการส่งเสริมฯ ไว้ในแผนการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าระยะยาว (PDP 2558 - 2579) และ (5) ให้มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนในด้านภาษีนำเข้าและภาษีเงินได้ ซึ่ง สปช. จะได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และคณะรัฐมนตรี ต่อไป
2. เมื่อวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2558 และวันอังคารที่ 7 เมษายน 2558 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้จัดประชุมหารือ เรื่อง โครงการส่งเสริมฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงาน กกพ. กฟผ. กฟน. และ กฟภ. โดยที่ประชุมมีมติ ดังนี้ (1) เห็นด้วยกับข้อเสนอโครงการส่งเสริมฯ โดยที่ประชุมเน้นให้เป็นการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองเป็นหลัก แล้วจึงขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (2) การกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการส่งเสริมฯ จะต้องเป็นภาระค่าไฟฟ้าต่อประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าให้น้อยที่สุด และ (3) ควรมีการกำหนดพื้นที่ในการดำเนินโครงการ (Pilot Project) เพื่อพิจารณาถึง ผลดี/ผลเสีย โดยพื้นที่ทดลองจะต้องอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ กฟน. และ กฟภ. หน่วยงานละ 1 พื้นที่
3. ปัจจุบัน สำนักงาน กกพ. อยู่ระหว่างการดำเนินการโครงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar PV Rooftop) ในรูปแบบ FiT ซึ่งจะรับสมัครถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ดังนั้น เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้สนใจ ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอกรอบและหลักการในการดำเนินโครงการส่งเสริมฯ ในระยะแรก ดังนี้ (1) กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นดำเนินโครงการส่งเสริมฯ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป (2) กำหนดกรอบเป้าหมายโครงการนำร่องในพื้นที่ในความรับผิดชอบของ กฟน. และ กฟภ. ครอบคลุมการติดตั้งบนหลังคาบ้านอยู่อาศัยขนาดชุดละไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ และบนอาคารชุดละไม่เกิน 500 กิโลวัตต์ ภายในปี 2558 (3) มุ่งเน้นให้เป็นการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองในบ้านและอาคารเป็นหลัก แล้วจึงขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (4) การกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าต้องเป็นภาระค่าไฟฟ้าต่อประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าให้น้อยที่สุด (5) ระบบมิเตอร์ควรเป็นแบบมิเตอร์สุทธิ โดยควรเสนอกระทรวงการคลังให้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะปริมาณไฟฟ้าที่มีการขายสุทธิเท่านั้น (6) ให้ กฟภ. และ กฟน. คัดเลือกโครงการนำร่อง พร้อมทั้งให้ สนพ. และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ประเมินผลโครงการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาขยายการปฏิบัติไปทั่วประเทศต่อไป และ (7) เห็นควร มอบให้ กบง. พิจารณาโครงการส่งเสริมฯ ในรายละเอียดต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบหลักการการดำเนินโครงการส่งเสริมการติดตั้งโซล่าร์รูฟอย่างเสรี โดยเน้นให้เป็นการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองในบ้านและอาคารเป็นหลัก แล้วจึงขายไฟฟ้าส่วนที่เกินให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ให้น้อยที่สุด โดยราคารับซื้อไฟฟ้าจะต้องไม่ก่อภาระต่อประชาชน
2. มอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) รับไปดำเนินโครงการส่งเสริมการติดตั้งโซล่าร์รูฟอย่างเสรี โดยให้ดำเนินการในรูปแบบโครงการนำร่อง (Pilot Project) ก่อน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการดำเนินโครงการ และให้ กฟภ. และ กฟน. คัดเลือกพื้นที่ในการดำเนินโครงการ Pilot Project พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย พพ. สนพ. และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ประเมินผลโครงการ หากได้ผลดีสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดก็ขอให้พิจารณาแนวทางขยายผลการปฏิบัติไปทั่วทุกภูมิภาค ของประเทศ และรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ Solar เสรี ให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ทราบเป็นระยะต่อไป
3. เห็นควรให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm) ขนาดไม่เกิน 1,000 kWp สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4) ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ได้อย่างเสรียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการติดตั้ง ในสถานการศึกษา โรงพยาบาล และสถานที่อื่นๆ ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นปริมาณมาก
กบง. ครั้งที่ 3 - วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 3/2558 (ครั้งที่ 3)
วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 13.30 น.
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. การมอบอำนาจให้ประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานพิจารณาปรับอัตราเงิน ส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธานที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายชวลิต พิชาลัย เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. กบง. ในการประชุมเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2558 ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 91E10 และน้ำมันดีเซลลง 1.00 0.50 และ 1.00 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ รวมทั้งผู้ค้าน้ำมันปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 และน้ำมันดีเซลลง 1 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 91E10 และ E20 ปรับลดลง 0.50 บาทต่อลิตร และน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ปรับลดลง 0.80 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 91E10 E20 E85 และน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 4 เมษายน 2558 อยู่ที่ 2.2750 2.3977 2.3570 1.8822 3.2109 และ 1.9245 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
2. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 16 เมษายน 2558 เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 2 เมษายน 2558 พบว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.20 6.64 และ 3.97 มาอยู่ที่ระดับ 60.10 78.14 และ 73.55 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราวันที่ 16 เมษายน 2558 อยู่ที่ 32.5609 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น 0.0403 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ และราคาไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันของวันที่ 17เมษายน 2558 อยู่ที่ 30.18 บาทต่อลิตร ลดลง 0.40 บาทต่อลิตร ส่วนราคาเอทานอล ณ เดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ 25.56 บาทต่อลิตร จากราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 91E10 E20 และน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 17 เมษายน 2558 อยู่ที่ 0.9696 1.2232 1.1819 0.8383 3.0151 และ 0.9073 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าการตลาดที่เหมาะสม
ดังนั้น เพื่อรักษาค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินลง 0.50 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 และ 91E10 ปรับลดลง 0.30 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 และน้ำมันดีเซลปรับลดลง 0.60 บาทต่อลิตร ซึ่งผลจากการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว จะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 91E10 E20 และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 1.4696 1.5232 1.4819 1.4383 และ 1.5073 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีสภาพคล่องลดลงประมาณ 1,324 ล้านบาทต่อเดือน จากมีรายรับ 2,558 ล้านบาทต่อเดือน เป็นมีรายรับ 1,234 ล้านบาทต่อเดือน ทั้งนี้ ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 12 เมษายน 2558 มีทรัพย์สินรวม 45,497 ล้านบาท มีหนี้สินรวม 5,480 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิเป็นบวก 40,017 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2558 เป็นต้นไป
สรุปสาระสำคัญ
1. คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 4 (4) ระบุไว้ว่า ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้าเพื่อใช้ในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออก น้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายให้แก่เรือเพื่อใช้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ก๊าซที่จำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร และก๊าซที่ซื้อหรือได้มาจากผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมซึ่งผลิตได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติในราชอาณาจักร
2. ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานมีการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ส่งผลให้ราคาพลังงานส่วนใหญ่สะท้อนต้นทุนแท้จริงแล้ว และไม่มีการชดเชยข้ามประเภทเชื้อเพลิง (Cross Subsidy) แต่เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและผันผวนอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศผันผวนตาม ดังนั้น เพื่อให้การรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิงดำเนินการได้ทันกับสถานการณ์ โดยมีความคล่องตัวในการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในกรณีที่อัตราการปรับไม่มากอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่ต้องมีการจัดประชุม กบง. ทุกครั้ง ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณาแล้วขอเสนอให้ กบง. มอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในฐานะประธาน กบง. สามารถพิจารณาปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน กลุ่มน้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซลได้ไม่เกินครั้งละ 1 บาทต่อลิตร และพิจารณาปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG และ NGV ได้ไม่เกินครั้งละ 1 บาทต่อกิโลกรัม
มติของที่ประชุม
เห็นชอบในการมอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในฐานะประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน สามารถพิจารณาอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
กบง. ครั้งที่ 2 - วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 2/2558 (ครั้งที่ 2)
วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 13.00 น.
1. เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 55/2557
2. โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนเมษายน 2558
3. แนวทางการจัดสรรเงินประเดิมสำหรับกลุ่มน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซ LPG
4. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธานที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายชวลิต พิชาลัย เป็นกรรมการและเลขานุการ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 55/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2557 โดยมีรองหัวหน้า คสช. (หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ) เป็นประธานกรรมการ และมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งต่อมา เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2557 ได้มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อบริหารประเทศแทน คสช. ส่งผลทำให้คณะกรรมการตามคำสั่ง คสช. ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อน ดังนั้น การประชุม กบง. จึงเป็นไปตามคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 1/2557 เรื่อง แต่งตั้ง กบง. ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2557 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (รมว.พน.) เป็นประธานกรรมการ
2. เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้มีหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) แจ้งว่า หัวหน้า คสช. มีนโยบายให้คณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศหรือคำสั่งของ คสช. บางคณะยังคงสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้มอบหมายให้ สคก. ยกร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งต่อมา พระราชบัญญัติการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. 2558 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 ส่งผลให้ กบง. ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 55/2557 เป็น กบง. ที่ กพช. แต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วย กพช. ดังนั้น เพื่อให้ กบง. สามารถบริหารงานได้อย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับโครงสร้างการบริหารราชการในปัจจุบัน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ กบง. ตำแหน่งประธานกรรมการ จากรองหัวหน้า คสช. (หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ) เป็น รมว.พน. ซึ่งหัวหน้า คสช. ได้ลงนามในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 1/2558 เรื่อง เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ กบง. ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 55/2557 แล้ว เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่อง โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนมีนาคม 2558
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 เห็นชอบการคำนวณราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG โดยใช้ต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา (โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก และการนำเข้า) เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการผลิตและจัดหาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน โดยราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) เดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ 464 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน 20 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ 32.7798 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนมีนาคม 2558 ที่ 0.0602 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (LPG Pool) ปรับลดลง 0.3753 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 16.5898 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 16.2145 บาท ต่อกิโลกรัม
2. จากราคาก๊าซ LPG Pool ของเดือนเมษายน 2558 ที่ปรับลดลง 0.3753 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อให้ราคาสะท้อนต้นทุนการจัดหาที่ลดลง จึงขอคงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของก๊าซ LPG ที่ 0.3460 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ปรับลดลงจาก 24.16 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 23.79 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับ 131 ล้านบาทต่อเดือน
3. การกำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจาก บริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร จากมติ กบง. เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 ที่กำหนดให้ราคาต้นทุนก๊าซ LPG (LPG Pool) มาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ ต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง และการนำเข้า แต่เนื่องจากก๊าซ LPG ที่ผลิตได้จากโรงแยกก๊าซ บริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด สำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตีความว่า ไม่ได้เป็นก๊าซที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติจึงไม่สามารถคำนวณรวมกับโรงแยกก๊าซธรรมชาติได้ ดังนั้น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จึงได้คำนวณต้นทุนก๊าซ LPG ที่ผลิตได้จากแหล่ง ปตท.สผ.ฯ ให้ใหม่ โดยมีต้นทุนอยู่ที่ระดับ 13.90 บาทต่อกิโลกรัม (ประมาณ 420 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน)
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบกำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ณ ระดับราคา 13.90 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2558 เป็นต้นไป
2. เห็นชอบการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG โดยใช้ต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา (โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันและโรงอะโรเมติก นำเข้า และ ปตท.สผ.) เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการผลิตและจัดหาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือนเท่าที่มีการรายงานจากกรมธุรกิจพลังงาน โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายให้ลูกค้าธนาคารทั่วไป ที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เฉลี่ยเดือนก่อนหน้า
หลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (LPG Pool)
3. เห็นชอบกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซ LPG ที่ผลิตในราชอาณาจักรกิโลกรัมละ 0.5344 บาท โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2558 เป็นต้นไป
เรื่อง แนวทางการจัดสรรเงินประเดิมสำหรับกลุ่มน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซ LPG
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ได้มีมติเห็นชอบกรอบและแนวทางในการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้ลดการชดเชยข้ามประเภทเชื้อเพลิง (Cross Subsidy) เพื่อให้เป็นไปตามมติดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการจัดสรรเงินประเดิมจากกองทุนน้ำมันฯ ที่ 39,082 ล้านบาท ณ วันที่ 29 มีนาคม 2558 ให้กับกลุ่มน้ำมันสำเร็จรูปและกลุ่มก๊าซ LPG เพื่อใช้ในการรักษาระดับราคาในช่วงที่ราคาน้ำมันตลาดโลกผันผวน
2. แนวทางในการการจัดสรรเงินประเดิมมี 2 แนวทาง ดังนี้
2.1 การจัดสรรเงินประเดิมจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามสัดส่วนการใช้ โดยในปี 2557 มีความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซ LPG ประมาณ 104 ล้านลิตรต่อวัน แบ่งเป็นความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปประมาณ 79.65 ล้านลิตรต่อวัน หรือร้อยละ 76.57 และความต้องการใช้ก๊าซ LPG ประมาณ 24.38 ล้านลิตรต่อวัน หรือร้อยละ 23.43 ถ้าจัดสรรเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ 39,082 ล้านบาท ให้กับกลุ่มน้ำมันสำเร็จรูปและกลุ่มก๊าซ LPG ตามสัดส่วนการใช้ จะทำให้กลุ่มน้ำมันสำเร็จรูปมีเงินประเดิมที่ 29,924 ล้านบาท และกลุ่มก๊าซ LPG มีเงินประเดิมที่ 9,158 ล้านบาท
2.2 การจัดสรรเงินประเดิมจากกองทุนน้ำมันฯ ตามมูลค่าการใช้ที่ระดับราคา ณ โรงกลั่น ในปี 2557 มีมูลค่าการใช้น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซ LPG ที่ระดับราคา ณ โรงกลั่นประมาณ 1,493 ล้านบาทต่อวัน โดยแยกเป็นมูลค่าการใช้น้ำมันของสำเร็จรูปประมาณ 1,274 ล้านบาทต่อวัน หรือร้อยละ 85 และมูลค่าการใช้ก๊าซ LPG ประมาณ 218 ล้านบาทต่อวัน หรือร้อยละ 15 ถ้าจัดสรรเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ 39,082 ล้านบาท ให้กับกลุ่มน้ำมันสำเร็จรูปและกลุ่มก๊าซ LPG ตามมูลค่าการใช้ที่ระดับราคา ณ โรงกลั่น จะทำให้กลุ่มน้ำมันสำเร็จรูปมีเงินประเดิมที่ประมาณ 33,365 ล้านบาท และกลุ่มก๊าซ LPG มีเงินประเดิมที่ประมาณ 5,717 ล้านบาท
ดังนั้น เพื่อให้การจัดสรรเงินประเดิมจากกองทุนน้ำมันฯ เป็นไปอย่างเหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ควรใช้แนวทางที่ 2 เนื่องจากการจัดสรรเงินประเดิม โดยใช้สัดส่วนของมูลค่า ได้มีการคำนึงถึงปริมาณ และราคาของแต่ละชนิดน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้จัดสรรเงินประเดิมจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่กลุ่มน้ำมันสำเร็จรูปและกลุ่มก๊าซ LPG ตามมูลค่าการใช้ที่ระดับราคา ณ โรงกลั่นในปี 2557 โดยกลุ่มน้ำมันสำเร็จรูปมีเงินประเดิมที่ประมาณ 33,365 ล้านบาท และกลุ่มก๊าซ LPG มีเงินประเดิมที่ประมาณ 5,717 ล้านบาท โดยมอบหมายให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงานรับไปดำเนินการต่อไป ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2558
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ณ วันที่ 29 มีนาคม 2558 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีฐานะสุทธิอยู่ที่ 39,082 ล้านบาท หากพิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเชื้อเพลิงบางชนิดลง จะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันฯ ในประเทศปรับลดลงได้อีก ที่ประชุมฯ จึงเห็นสมควรพิจารณาปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและสอดคล้องกับกรอบและแนวทางในการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557
2. ข้อเสนอการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ มีดังนี้ (1) น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ปัจจุบันอยู่ที่ 2.05 บาทต่อลิตร หากปรับลดลง 1.00 บาทต่อลิตร จะทำให้ปรับลดราคา ขายปลีกน้ำมันลงได้ 1.00 บาทต่อลิตร (2) น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 ปรับลดลง 1.00 บาทต่อลิตร จากเดิม 2.25 บาทต่อลิตร เป็น 1.25 บาทต่อลิตร จะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันลดลง 1.00 บาทต่อลิตร และ (3) น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 ปรับลดลง 0.50 บาทต่อลิตร จากเดิม 1.25 บาทต่อลิตร เป็น 0.75 บาทต่อลิตร จะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันลดลง 0.50 บาทต่อลิตร โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ในส่วนของน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 และ E20 ปัจจุบันมีค่าการตลาดอยู่ในระดับที่ 3.9393 และ 2.2473 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ผู้ค้าน้ำมันควรพิจารณาปรับลดราคาขายปลีกลงเพื่อทำให้ค่าการตลาดอยู่ในระดับที่เหมาะสม
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2558 เป็นต้นไป