
มติกบง. (348)
กบง. ครั้งที่ 122 - วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 25/2555 (ครั้งที่ 122)
วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 13.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง.พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 111.28 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 131.12 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 132.3 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันดิบดูไบและดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 13 สิงหาคม 2555) 2.69 และ 3.40 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลง 0.63 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงตามไปด้วย โดยมีโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2555 ดังนี้
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 5,062 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 19,492 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 14,179 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 163
ล้านบาท และเงินกู้ยืม 5,150 ล้านบาท ดังนั้น กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 14,430 ล้านบาท
5. จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลก ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง ดังนั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล และดีเซล ดังนี้
ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 42 ล้านบาท จากติดลบวันละ 37 ล้านบาทเป็นติดลบวันละ 79 ล้านบาท
การพิจารณาของที่ประชุม
1. ประธานฯ ได้มีความเห็นว่า การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เป็นกลไกเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน โดยเฉพาะราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลซึ่งส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพ และการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในการประชุมครั้งนี้ ทำให้กองทุนน้ำมันฯ ติดลบเพิ่มมากขึ้น จากติดลบวันละ 37 ล้านบาท เป็นติดลบวันละ 79 ล้านบาท
2. รักษาการผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (นายชายน้อย เผื่อนโกสุม) ได้มีความเห็นว่า
จากการคาดการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง แต่หลังจากไตรมาส 3 ของปี 2555 ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงอาจจะมีแนวโน้มลดลง และเห็นด้วยกับการใช้กองทุนน้ำมันฯ เป็นกลไกในการอุดหนุนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้อยู่ระดับสูงเกินไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงราคาของน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน แต่ทั้งนี้ ในส่วนของการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินลง อาจเป็นการส่งสัญญาณที่
สวนทางกับนโยบายการยกเลิกการใช้น้ำมันเบนซิน 91 ซึ่งปลัดกระทรวงพลังงาน (นายณอคุณ สิทธิพงศ์) ได้ชี้แจงว่า ในช่วงนี้ราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลยังคงอยู่ในระดับสูง และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งสองชนิดมีปริมาณการใช้มาก จึงจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันทั้งสองชนิดอย่างใกล้ชิดรวมทั้งดูแลราคาขายปลีกให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าอีกประมาณ
1 – 2 สัปดาห์ ราคาน้ำมันเบนซินตลาดโลกอาจจะปรับตัวลดลง และ กบง. สามารถพิจารณาปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 121 - วันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 24/2555 (ครั้งที่ 121)
วันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2555 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
2. แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV และก๊าซ LPG ภาคขนส่ง
3. โครงการบัตรเครดิตพลังงานสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
4. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล และเรื่อง แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV และ ก๊าซ LPG ดังนี้
1.1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล
(1) น้ำมันดีเซล ให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควร ให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม และหากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลง ให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร และ (2) น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล ให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น รวมทั้งให้คำนึงถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกและภาวะเงินเฟ้อของประเทศ การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ประเมินผลการดำเนินงานตามการมอบหมายข้างต้น เสนอ กพช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจาณาทุกไตรมาส
1.2 แนวทางการปรับราคาก๊าซ NGV ให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ต่ออีก 3 เดือน (16 พฤษภาคม 2555 ถึง 15 สิงหาคม 2555) และตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2555 เห็นชอบมอบหมายให้ กบง. พิจารณาการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยพิจารณาจากผลการศึกษาต้นทุนราคาก๊าซ NGV ที่ศึกษาโดยสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.3 แนวทางการปรับราคาก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2555 เห็นชอบมอบหมายให้ กบง. พิจารณาการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม ให้ราคาไม่เกินต้นทุนก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน โดยกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในแต่ละเดือนได้ตามความเหมาะสม
1.4 แนวทางการปรับราคาก๊าซ LPG ภาคขนส่ง ให้คงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่งที่ 21.13 บาทต่อกิโลกรัม ต่ออีก 3 เดือน (16 พฤษภาคม 2555 ถึง 15 สิงหาคม 2555) และตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2555 มอบหมายให้ กบง. พิจารณาการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่งให้ราคาไม่เกินต้นทุนก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน โดยกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯในแต่ละเดือนได้ตามความเหมาะสม
ทั้งนี้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ประเมินผลการดำเนินงานตามข้อ 1.2 - 1.4 เสนอ กพช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาทุกไตรมาส
2. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดสิงคโปร์ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 ราคาน้ำมันดิบดูไบ เบนซิน 95 และดีเซล อยู่ที่ระดับ 108.6, 122.3 และ 123.3 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนที่มีความรุนแรงขึ้น ทำให้มีการคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนจะลดลงอยู่ที่ระดับติดลบร้อยละ 0.1 ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง กบง. ได้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ โดยในช่วงระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม 2555 - 30 มิถุนายน 2555 จำนวน 6 ครั้ง โดยอัตราที่เพิ่มขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดของน้ำมัน ทำให้อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555 ของน้ำมันเบนซิน 91 แก๊สโซฮอล 95 แก๊สโซฮอล 91 และดีเซล อยู่ที่ 7.10, 3.30, 1.70 และ 2.80 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
3. จากราคาน้ำมันตลาดสิงคโปร์ที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ค้าน้ำมันปรับลดราคาขายปลีกลงตามราคาตลาดโลก ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 ราคาขายปลีกเบนซิน 91 แก๊สโซฮอล 95 แก๊สโซฮอล 91 และดีเซล อยู่ที่ 41.65, 38.23, 36.48 และ 30.43 บาทต่อลิตร ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 มีฐานะติดลบ 22,787 ล้านบาท จากการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันสำเร็จรูปและราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง
4. จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ไว้ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2555 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นมา จึงยังไม่ได้ปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV ปัจจุบันราคาขายปลีกก๊าซ NGV อยู่ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำส่งผลการศึกษาทบทวนต้นทุนราคาก๊าซ NGV และเพื่อให้ผลการศึกษาเป็นที่ยอมรับ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้จัดให้มีการประชุมคณะทำงานศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคาก๊าซ NGV ซึ่งมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นผู้ประกอบการขนส่งโดยสารเป็นคณะทำงาน เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2555 โดยคณะทำงานฯ ได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน เพื่อพิจารณาหาข้อสรุปต้นทุนราคาก๊าซ NGV ที่เหมาะสมซึ่งสามารถสรุปผลการประชุม ได้ดังนี้
4.1 ต้นทุนเนื้อก๊าซ ที่ประชุมฯ มีความเห็นว่าไม่ควรแยกต้นทุน LNG ออกจากต้นทุนเฉลี่ยเนื้อก๊าซธรรมชาติ (Pool Gas) แต่ให้กำหนดเพดานต้นทุน LNG ในต้นทุนเฉลี่ยเนื้อก๊าซธรรมชาติไว้ที่ 0.25 บาทต่อกิโลกรัม จนกว่าจะมีแผนจัดหา LNG ออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันกระทรวงพลังงานกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ
4.2 ค่าบริการส่งก๊าซทางท่อ เนื่องจากขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) อยู่ระหว่างการทบทวนอัตราค่าบริการส่งก๊าซทางท่อ ดังนั้นที่ประชุมฯ จึงเห็นว่าควรใช้อัตราค่าบริการส่งก๊าซทางท่อในปัจจุบันไปก่อนและให้กำหนดอัตราค่าบริการส่งก๊าซทางท่อเป็นต้นทุนผันแปร โดยเมื่อ สกพ. ทำการศึกษาแล้วเสร็จจะได้สามารถนำอัตราค่าบริการส่งก๊าซทางท่อที่ทบทวนแล้วมาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง
4.3 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (ต้นทุนค่าสถานีและค่าขนส่ง) ให้กำหนดราคาขายปลีกก๊าซ NGV โดยใช้สมมติฐานว่าภาครัฐกำหนดนโยบายให้มีสัดส่วนของเอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการสถานี NGV มากขึ้นและก่อสร้างสถานีบนแนวท่อมากขึ้น
ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการไม่ขัดข้องเกี่ยวกับการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV แต่ขอให้มีก๊าซ NGV อย่างเพียงพอ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ ปตท. ไปจัดทำแผนการขยายสถานีบริการและการใช้ก๊าซ NGV ในอนาคต เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาครั้งต่อไป
5. การปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 กบง. เห็นชอบแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม โดยให้กำหนดราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมไว้ที่ 30.13 บาทต่อกิโลกรัม กรณีราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมากทำให้ต้นทุนราคาก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมันเกิน 30.13 บาทต่อกิโลกรัม ให้กำหนดราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมไว้ที่ 30.13 บาทต่อกิโลกรัม และให้กำหนดราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม เป็นไปตามต้นทุนโรงกลั่นน้ำมันกรณีราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกปรับตัวลดลงทำให้ต้นทุนราคาก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมันต่ำกว่า 30.13 บาทต่อกิโลกรัม ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2555 ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) อยู่ที่ 714 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ส่งผลให้ต้นทุนก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงกลั่นอยู่ที่ 27.89 บาทต่อกิโลกรัม ราคาขายปลีก LPG ภาคอุตสาหกรรมลดลงจากเดิม 30.13 บาทต่อกิโลกรัม เหลือ 27.89 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี สนพ. ได้ปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ราคาไม่เกินต้นทุนก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน โดยให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่จำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2555 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2555 ในอัตรา 9.12 บาทต่อกิโลกรัม
6. การปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่ง โดยมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้คงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่งไว้ที่ 21.13 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2555 โดยให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่จำหน่ายก๊าซ LPG ให้ภาคขนส่งต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2555 ในอัตราเดิมคือ 2.8036 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกอยู่ที่ 21.13 บาทต่อกิโลกรัม
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบรายงานประเมินผลการดำเนินงานการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล และการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV และก๊าซ LPG ไตรมาสที่ 2 (16 พฤษภาคม 2555 - 30 มิถุนายน 2555)
2. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำรายงานประเมินผลการดำเนินงานการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล และการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV และก๊าซ LPG ไตรมาสที่ 2 (16 พฤษภาคม 2555 - 30 มิถุนายน 2555) เสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
เรื่องที่ 2 แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV และก๊าซ LPG ภาคขนส่ง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV และก๊าซ LPG ดังนี้
1.1 ก๊าซ NGV โดยเห็นชอบให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ต่ออีก 3 เดือน
(16 พฤษภาคม 2555 ถึง 15 สิงหาคม 2555) และ ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2555 เห็นชอบมอบหมายให้ กบง. พิจารณาการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยพิจารณาจากผลการศึกษาต้นทุนราคาก๊าซ NGV ที่ศึกษาโดยสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.2 ก๊าซ LPG ภาคขนส่ง โดยเห็นชอบให้คงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่ง ที่ 21.13 บาทต่อกิโลกรัม ต่ออีก 3 เดือน (16 พฤษภาคม 2555 ถึง 15 สิงหาคม 2555) และตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2555 มอบหมายให้ กบง. พิจารณาการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่งให้ราคาไม่เกินต้นทุนก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน โดยกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯในแต่ละเดือนได้ตามความเหมาะสม
2. การปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ไว้ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2555 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นมา จึงยังไม่มีการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV แต่ประการใด ปัจจุบันราคาขายปลีก ก๊าซ NGV อยู่ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำส่งผลการศึกษาทบทวนต้นทุนราคาก๊าซ NGV และเพื่อให้ผลการศึกษาเป็นที่ยอมรับของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง สนพ. ได้จัดให้มีการประชุมคณะทำงานศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคาก๊าซ NGV ซึ่งมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นผู้ประกอบการขนส่งโดยสารเป็นคณะทำงาน เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2555 โดยคณะทำงานฯได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน เพื่อพิจารณาหาข้อสรุปต้นทุนราคาก๊าซ NGV ที่เหมาะสมซึ่งสามารถสรุปผลการประชุม ได้ดังนี้
2.1 ต้นทุนเนื้อก๊าซ ที่ประชุมฯ มีความเห็นว่าไม่ควรแยกต้นทุน LNG ออกจากต้นทุนเฉลี่ยเนื้อก๊าซธรรมชาติ (Pool Gas) แต่ให้กำหนดเพดานต้นทุน LNG ในต้นทุนเฉลี่ยเนื้อก๊าซธรรมชาติไว้ที่ 0.25 บาทต่อกิโลกรัม จนกว่าจะมีแผนจัดหา LNG ออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันกระทรวงพลังงานกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ
2.2 ค่าบริการส่งก๊าซทางท่อ เนื่องจากขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) อยู่ระหว่างการทบทวนอัตราค่าบริการส่งก๊าซทางท่อ ดังนั้นที่ประชุมฯ จึงเห็นว่าควรใช้อัตราค่าบริการส่งก๊าซทางท่อในปัจจุบันไปก่อนและให้กำหนดอัตราค่าบริการส่งก๊าซทางท่อเป็นต้นทุนผันแปร โดยเมื่อ สกพ. ทำการศึกษาแล้วเสร็จจะได้สามารถนำอัตราค่าบริการส่งก๊าซทางท่อที่ทบทวนแล้วมาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง
2.3 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (ต้นทุนค่าสถานีและค่าขนส่ง) ให้กำหนดราคาขายปลีกก๊าซ NGV โดยใช้สมมติฐานว่าภาครัฐกำหนดนโยบายให้มีสัดส่วนของเอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการสถานี NGV มากขึ้นและก่อสร้างสถานีบนแนวท่อมากขึ้น
ทั้งนี้กลุ่มผู้ประกอบการไม่ขัดข้องเกี่ยวกับการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV แต่ขอให้มีก๊าซ NGV อย่างเพียงพอ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ ปตท. ไปจัดทำแผนการขยายสถานีบริการและการใช้ก๊าซ NGV ในอนาคต เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาครั้งต่อไป
3. การปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่ง เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้คงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่งไว้ที่ 21.13 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2555 โดยให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่จำหน่ายก๊าซให้ภาคขนส่งต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2555 ในอัตราเดิมคือ 2.8036 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกคงอยู่ที่ 21.13 บาทต่อกิโลกรัม
4. เนื่องจากการพิจารณาหาข้อสรุปต้นทุนราคาก๊าซ NGV ที่เหมาะสมตามผลการศึกษาต้นทุนราคาก๊าซ NGV ของสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาหาข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนและรอผลการศึกษาอัตราค่าบริการทางท่อซึ่งเป็นเงื่อนไขข้อกำหนดในการพิจารณาปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ดังนั้น ในระหว่างรอหาข้อสรุปดังกล่าว จึงขอเสนอให้คงราคาขายปลีกก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ไปก่อนจนกว่า กบง. จะมีมติเห็นชอบให้มีการปรับราคาก๊าซ NGV ใหม่
5. เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้นและเพื่อบรรเทาผลกระทบค่าครองชีพของประชาชน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันสำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่งในอัตรา 0.2336 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 3.0374 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2555 ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ปรับเพิ่มขึ้น 0.25 บาทต่อกิโลกรัม จาก 21.13 บาทต่อกิโลกรัมเป็น 21.38 บาทต่อกิโลกรัม
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้คงราคาขายปลีกก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป จนกว่าจะได้ข้อสรุปต้นทุนราคาก๊าซ NGV ของสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. เห็นชอบกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันสำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่งในอัตรา 3.0374 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป
3. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
เรื่องที่ 3 โครงการบัตรเครดิตพลังงานสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
สรุปสาระสำคัญ
1. คำแถลงนโยบายของรัฐบาลเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ข้อ 1 นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก ข้อ 1.7 แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.2 จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานและบัตรคูปองสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน และ ข้อ 3 นโยบายเศรษฐกิจ ข้อ 3.5 นโยบายพลังงาน ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีราคาเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคาจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่ง และส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 กบง. ได้มีมติเห็นชอบโครงการบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะที่ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิง ประกอบด้วย รถแท็กซี่ รถตุ๊กตุ๊ก และรถตู้ร่วมโดยสาร ขสมก. ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัตรเครดิตพลังงานเพิ่มเติมสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะเพื่อนำไปใช้ในการเติมน้ำมันแก๊สโซฮอลในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน และเพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลในรถจักรยานยนต์สาธารณะ
3. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้เสนอโครงการบัตรเครดิตพลังงานสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ดังนี้
(1) กลุ่มเป้าหมาย : ผู้มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 240,000 คน
(2) หลักการการให้บัตรเครดิตพลังงานฯ : จัดทำบัตรเครดิตพลังงานให้กับผู้มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะเป็น "รายบุคคล" โดยพื้นที่ให้บริการประกอบด้วยสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 อื่นๆ ที่เข้าร่วมโครงการ
(3) เงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตพลังงาน : วงเงินเครดิต (เติมก่อน-จ่ายเงินทีหลัง) จำนวน 3,000 บาท
ต่อบัตร สำหรับเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 และแก๊สโซฮอล 95 ทุกชนิด เท่านั้น โดยมีระยะเวลาเครดิต 45 วัน โดยจ่ายเงินชำระหนี้ค่าใช้น้ำมันฯ จากการใช้บัตรเครดิตพลังงานสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะที่เคาน์เตอร์ เซอร์วิส ในร้านสะดวกซื้อ 7-11 และ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา แบ่งชำระเงินขั้นต่ำ 10% ของยอดคงค้าง (ไม่น้อยกว่า 100 บาท) ทั้งนี้ สิทธิ์ในการใช้วงเงินเครดิต จะกลับมาเท่ากับจำนวนเงินที่ชำระ (ชำระเงินคืนเท่าไหร่ ก็มีสิทธิใช้เงินเท่านั้น แต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน) ในกรณีที่ผู้ใช้บัตรไม่ชำระเงินตามกำหนดเกิน 60 วัน ธนาคารจะยกเลิกสิทธิการใช้บัตรดังกล่าว และขึ้นบัญชีไม่สามารถสมัครได้อีก
(4) เริ่มใช้บัตรเครดิตพลังงานสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป
(5) ประมาณการงบประมาณในการดำเนินการ วงเงินบัตรเครดิตพลังงาน 3,000 บาทต่อราย จากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
(6) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : ส่งเสริมให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะหันมาใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลมากขึ้น สามารถสร้างความเชื่อมั่นและขยายผลการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลไปยังผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ทั่วไปได้มากขึ้น และเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนนโยบายการยกเลิกการใช้น้ำมันเบนซิน 91
(7) ผู้รับผิดชอบโครงการ
- เจ้าของโครงการ : สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
- ผู้ดำเนินโครงการในระยะเริ่มต้น (15 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2555) : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สำหรับในระยะต่อไปให้หน่วยงานที่จะจัดตั้งขึ้นภายใต้สังกัดกระทรวงพลังงานเป็นผู้ดำเนินโครงการต่อไป
- ผู้ออกบัตรและเจ้าของกรรมสิทธิ์บัตรเครดิตพลังงาน : ธนาคารกรุงไทย
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการบัตรเครดิตพลังงานสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ
2. เห็นชอบให้ขอความร่วมมือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการโครงการบัตรเครดิตพลังงานสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะในระยะเริ่มต้น
เรื่องที่ 4 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้ กบง. พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 108.82 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 131.75เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 128.90 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 8 สิงหาคม 2555) 1.74, 3.22 และ 2.06 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลตามลำดับ จากราคาน้ำมันเบนซินตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศ เพิ่มสูงตามไปด้วย โดยมีโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2555 ดังนี้
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 5,062 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 19,492 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 14,179 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 163 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 5,150 ล้านบาท ดังนั้น กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 14,430 ล้านบาท
5. จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลก ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง ดังนั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังนี้
ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 22 ล้านบาท จากติดลบวันละ 15 ล้านบาท เป็นติดลบวันละ 37 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 120 - วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 23/2555 (ครั้งที่ 120)
วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม 2555 เวลา 15.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง.พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 106.85, 128.53 และ 126.84 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ น้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ วันที่ 6 สิงหาคม 2555) 2.44, 4.01 และ 2.89 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงตามไปด้วย โดยมีโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2555 ดังนี้
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ วันที่ 5 สิงหาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 5,419 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 19,921 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 13,607 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 163 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 6,150 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 14,502 ล้านบาท
5. จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลก ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง ดังนั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลงและน้ำมันเบนซิน 91 ปรับลดลง 0.30 และ 0.40 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10, 91E10 และ E20 ปรับลดลงชนิดละ 0.30 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับลดลงประมาณวันละ 23 ล้านบาท จากวันละ 8 ล้านบาท เป็นติดลบวันละ 15 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
(หน่วย : บาทต่อลิตร)
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ |
น้ำมันเบนซิน 95 | 7.10 | 7.10 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 7.10 | 6.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.10 | 1.80 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.50 | 0.20 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -0.70 | -1.00 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -12.50 | -12.50 |
น้ำมันดีเซล | 0.30 | 0.00 |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป
ที่ประชุมฯ ได้หารือเกี่ยวกับการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ซึ่งในปัจจุบันยังมีกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่ยังใช้น้ำมันเบนซิน 91 อยู่เป็นจำนวนมาก จึงควรมีแนวทางส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลในรถจักรยานยนต์ให้มากขึ้น ซึ่งที่ประชุมฯ ได้เห็นควรมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานไปศึกษาแนวทางดำเนินการดังกล่าว และให้กรมธุรกิจพลังงานประชุมหารือและเชิญชวนผู้ค้าน้ำมันที่สนใจเข้าร่วมโครงการบัตรเครดิตพลังงานสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลในกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ต่อไป
กบง. ครั้งที่ 119 - วันอังคารที่ 7 สิงหาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 22/2555 (ครั้งที่ 119)
วันอังคารที่ 7 สิงหาคม 2555 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
1.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
1.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
2. ราคาน้ำมันตลาดโลกยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 104.41, 124.52 และ 123.95 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ น้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 19 กรกฎาคม 2555) 1.52, 5.44 และ 2.47 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงตามไปด้วย โดยมีโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 7 สิงหาคม 2555 ดังนี้
3. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ วันที่ 5 สิงหาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 5,419 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 19,921 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 13,607 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 163 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 6,150 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 14,502 ล้านบาท
4. จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลก ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง ดังนั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.30 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10, 91E10, E20 และ E85 ปรับลดลงชนิดละ 0.50 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับลดลงประมาณวันละ 22 ล้านบาท จากวันละ 31 ล้านบาท เป็นวันละ 9 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
(หน่วย : บาทต่อลิตร)
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ |
น้ำมันเบนซิน 95 | 7.10 | 7.10 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 7.10 | 7.10 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.60 | 2.10 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 1.00 | 0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -0.20 | -0.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -12.00 | -12.50 |
น้ำมันดีเซล | 0.60 | 0.30 |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 118 - วันศุกร์ที่ 20 กรกฏาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 21/2555 (ครั้งที่ 118)
วันศุกร์ที่ 20 กรกฏาคม 2555 เวลา 16.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายนที ทับมณี) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
1.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
1.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
2. ราคาน้ำมันตลาดโลกยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 102.79, 119.08 และ 121.48 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ น้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 17 กรกฎาคม 2555) 1.94, 3.51 และ 3.20 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงตามไปด้วยโดยมีโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2555 ดังนี้
3. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 5,193 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 21,532 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 12,711 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 171 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 8,650 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 16,339 ล้านบาท
4. จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาดีเซลตลาดโลก ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง ดังนั้นเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้กระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 22 ล้านบาท จากวันละ 115 ล้านบาท เป็นวันละ 93 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
(หน่วย : บาทต่อลิตร)
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.90 | 2.60 | -0.30 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 1.30 | 1.00 | -0.30 |
น้ำมันดีเซล | 1.00 | 0.60 | -0.40 |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป
ปลัดกระทรวงคมนาคม (นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ) ได้มีความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลจะส่งผลกระทบโดยตรงต่ออัตราค่าโดยสารรถขนส่งสาธารณะ โดยเมื่อมีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล จะมีการปรับเพิ่มอัตราค่าบริการของรถโดยสารนอกระบบ ซึ่งกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างดำเนินการกำกับดูแลในส่วนนี้ ทั้งนี้ การที่รัฐบาลมีนโยบายรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้มีเสถียรภาพและราคาไม่สูงเกินไปจะส่งผลดีต่อประชาชน ซึ่งประธานฯ ได้ชี้แจงว่า ที่ผ่านมา กบง. ได้กำกับดูแลเกี่ยวกับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเป็นกรณีพิเศษ โดยในช่วงก่อนหน้านี้ที่ราคาน้ำมันตลาดโลกอยู่ในระดับสูง และกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะกองทุนติดลบ รวมทั้งมีการจ่ายเงินเพื่อชดเชยราคาน้ำมันและราคาก๊าซ LPG ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลปรับตัวสูงขึ้น แต่ในปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะกองทุนดีขึ้นและมีรายรับจากการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ทำให้สามารถใช้กลไกของกองทุนน้ำมันฯ กำกับดูแลราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน
กบง. ครั้งที่ 117 - วันพุธที่ 18 กรกฏาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 20/2555 (ครั้งที่ 117)
วันพุธที่ 18 กรกฏาคม 2555 เวลา 16.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ (นายณอคุณ สิทธิพงศ์) เป็นประธานที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
1.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
1.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
2. ราคาน้ำมันตลาดโลกยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 100.85, 115.57 และ 118.28 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ น้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 11 กรกฎาคม 2555) 4.40 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.00 และ 3.44 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลงและราคาไบโอดีเซลที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงตามไปด้วย โดยมีโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2555 ดังนี้
3. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 5,193 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 21,532 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 12,711 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 171 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 8,650 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 16,339 ล้านบาท
4. จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาดีเซลตลาดโลก ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลงและราคาไบโอดีเซลที่ปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง ดังนั้น เพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้กระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสาร และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ลง 0.50 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกยังคงอยู่ที่ 29.83 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 28 ล้านบาท จากวันละ 148 ล้านบาท เป็นวันละ 120 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
(หน่วย : บาทต่อลิตร)
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 3.30 | 2.90 | -0.40 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 1.70 | 1.30 | -0.40 |
น้ำมันดีเซล | 1.50 | 1.00 | -0.50 |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป
รองปลัดกระทรวงพลังงาน (นายคุรุจิต นาครทรรพ) ได้แจ้งให้ที่ประชุมฯ ทราบว่า ตามที่กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการตามแผนการดำเนินการสนับสนุนกลุ่มรถแท็กซี่ที่ใช้ก๊าซ LPG ให้เปลี่ยนมาเป็นรถแท็กซี่ NGV จำนวนประมาณ 15,000 คัน ในวงเงินประมาณ 248 ล้านบาท ปัจจุบันได้มีรถแท็กซี่เข้าร่วมโครงการประมาณ 4,800 คัน ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯ ประมาณ 120 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าอุปกรณ์ 79 ล้านบาท ค่าติดตั้ง 24 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการทำลายชุดอุปกรณ์ และถังก๊าซ LPG 12 ล้านบาท โดยประมาณ ซึ่งขณะนี้ได้มีการสั่งซื้อเพื่อจัดซื้อถัง NGV และอุปกรณ์ส่วนควบแล้วจำนวนประมาณ 3,000 ชุด ส่งมอบแล้วประมาณ 2,000 ชุด โดยมี รถแท็กซี่เข้ารับการติดตั้งแล้วประมาณ 1,100 คัน
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
กบง. ครั้งที่ 116 - วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฏาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 19/2555 (ครั้งที่ 116)
วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฏาคม 2555 เวลา 16.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. สถานการณ์การจัดหาน้ำมันเบนซินพื้นฐาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
1.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง.พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
1.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
2. ราคาน้ำมันตลาดโลกยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 96.45, 109.57 และ 114.84 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ น้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลงจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 5 กรกฎาคม 2555) 1.59 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.93 และ 0.34 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลงและราคาไบโอดีเซลที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงตามไปด้วย โดยมีโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2555 ดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2555
3. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 7,526 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 25,530 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 15,709 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 171 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 8,650 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 17,004 ล้านบาท
4. จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาดีเซลตลาดโลก ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลงและราคาไบโอดีเซลที่ปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง โดยค่าการตลาดเฉลี่ยน้ำมันดีเซล 5 วัน (8 - 12 กรกฎาคม 2555) อยู่ที่ 1.1816 บาทต่อลิตร ดังนั้น เพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้กระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสาร และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ลง 0.50 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกยังคงอยู่ที่ 29.83 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 29 ล้านบาท จากวันละ 177 ล้านบาท เป็นวันละ 148 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.50 บาทต่อลิตร จาก 2.00 บาทต่อลิตร เป็น 1.50 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 สถานการณ์การจัดหาน้ำมันเบนซินพื้นฐาน
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่โรงกลั่นบางจาก ส่งผลให้หน่วยกลั่นที่ 3 กำลังการผลิต 80,000 บาร์เรลต่อวัน ต้องหยุดการผลิตประมาณ 3 เดือน จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2555 และหน่วยกลั่นที่ 2 กำลังการผลิต 40,000 บาร์เรลต่อวัน ต้องหยุดผลิตถึงช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2555 และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จะหยุดซ่อมหน่วย FCC (หน่วยผลิตน้ำมันองค์ประกอบที่ใช้ผลิตเบนซินพื้นฐาน) ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม - วันที่ 7 กันยายน 2555 และหยุดซ่อมหน่วย CDU-1 HDT-1 และ HVU-1 ตั้งแต่วันที่ 5 - 29 สิงหาคม 2555 รวมทั้ง บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หยุดซ่อมหน่วย DCC (หน่วยผลิตเบนซิน) ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2555 ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการผลิตเบนซินพื้นฐานไม่เพียงพอตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2555
หมายเหตุ : น้ำมันเบนซิน 91 ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นน้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันที่จำหน่ายในประเทศ จึงต้องส่งออก
2. เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 ธพ. ได้เชิญประชุมผู้ผลิตและผู้จำหน่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล โดยสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาได้ดังนี้ (1) ให้ผู้ค้าน้ำมันนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐาน (ปตท. บางจาก เชลล์) (2) ให้โรงกลั่นน้ำมันผลิตเพิ่ม (SPRC) (3) ผ่อนผันคุณภาพน้ำมันบางตัวที่ไม่มีผลกระทบต่อเครื่องยนต์เป็นการชั่วคราว และ (4) ผ่อนผันการสำรองน้ำมันให้ผู้ค้าน้ำมันตามความจำเป็น โดยสรุปแนวทางการแก้ปัญหาได้ดังนี้
3. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและรับทราบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 โดยเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป และมอบหมายให้กระทรวงพลังงานรับไปแก้ไขปัญหาการผลิตและการนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐาน (G-Base) และนำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาต่อไป
4. จากปัญหาเพลิงไหม้โรงกลั่นบางจาก ในเบื้องต้นคาดว่าโรงกลั่นบางจากจะต้องหยุดผลิตประมาณ 3 เดือน ประกอบกับโรงกลั่นไทยออยล์ต้องหยุดซ่อมบำรุงตามแผน ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการจัดหาน้ำมันเบนซินพื้นฐาน ทำให้ต้องนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐาน และนำน้ำมันสำรองตามกฎหมายที่มีอยู่ออกมาจำหน่ายจนกว่าโรงกลั่นทุกโรงจะกลับมาผลิตได้ตามปกติ และหลังจากนั้น จะต้องใช้ระยะเวลาในการจัดหาน้ำมันมาเก็บสำรองตามกฎหมายให้ครบถ้วนตามเดิมอีกระยะหนึ่ง ดังนั้น จึงเห็นควรเลื่อนกำหนดเวลายกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ออกไปอีกระยะหนึ่งประมาณ 3 เดือนหลังจากที่โรงกลั่นบางจากกลับมาผลิตตามปกติ
มติของที่ประชุม
1. รับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดหาและการผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐาน
2. เห็นชอบในหลักการให้เลื่อนกำหนดการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ออกไปอีกระยะหนึ่งในเบื้องต้นประมาณ 3 เดือน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเบนซินพื้นฐานและใช้กลไกราคาในการปรับความต้องการน้ำมันกลุ่มเบนซินแต่ละเกรดให้สมดุลกับความสามารถในการผลิตของโรงกลั่นในประเทศ และนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป
กบง. ครั้งที่ 115 - วันศุกร์ที่ 6 กรกฏาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 18/2555 (ครั้งที่ 115)
วันศุกร์ที่ 6 กรกฏาคม 2555 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
1.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง.พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
1.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
ทั้งนี้ การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าวให้คำนึงถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก ภาวะเงินเฟ้อของประเทศ การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันฯ
2. กบง. ได้มีมติปรับเพิ่มอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปแล้ว 7 ครั้ง ดังนี้
ชนิดน้ำมัน/วันที่ประชุม | เดิม | 24 พ.ค.55 | 1 มิ.ย.55 | 5 มิ.ย.55 | 13 มิ.ย.55 | 21 มิ.ย.55 | 22 มิ.ย.55 | 4 ก.ค.55 |
น้ำมันเบนซิน 95 | 4.00 | 4.50 | 5.00 | 5.90 | 6.40 | 6.70 | 7.10 | 7.10 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 4.00 | 4.50 | 5.00 | 5.90 | 6.40 | 6.70 | 7.10 | 7.10 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.20 | 2.20 | 2.20 | 2.50 | 3.00 | 3.30 | 3.30 | 3.30 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.60 | 0.60 | 0.60 | 0.90 | 1.40 | 1.70 | 1.70 | 1.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -0.80 | -0.80 | -0.80 | -0.50 | -0.50 | -0.20 | -0.20 | -0.20 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -12.60 | -12.60 | -12.60 | -12.30 | -12.30 | -12.00 | -12.00 | -12.00 |
น้ำมันดีเซล | 0.60 | 0.90 | 1.20 | 2.10 | 2.10 | 2.40 | 2.80 | 2.30 |
มีผลบังคับใช้ | 25 พ.ค.55 | 2 มิ.ย.55 | 6 มิ.ย.55 | 14 มิ.ย.55 | 22 มิ.ย.55 | 23 มิ.ย.55 | 5 ก.ค.55 |
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 98.19, 108.64 และ 114.50 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ปรับเพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 3 กรกฎาคม 2555) เท่ากับ 2.83, 3.33 และ 2.49 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงตาม ซึ่งผู้ค้าน้ำมันได้ปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2555 โดยมีราคาขายปลีกน้ำมันและค่าการตลาด ตามโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2555 ดังนี้
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 7,457 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 25,418 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 15,247 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 171 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 10,000 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 17,961 ล้านบาท
5. เพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้กระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสาร ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ลง 0.30 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกยังคงอยู่ที่ 29.83 บาทต่อลิตร และกองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 17 ล้านบาท จากวันละ 192 ล้านบาท เป็นวันละ 175 ล้านบาท โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.30 บาทต่อลิตร จาก 2.30 บาทต่อลิตร เป็น 2.00 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 114 - วันพุธที่ 4 กรกฏาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 17/2555 (ครั้งที่ 114)
วันพุธที่ 4 กรกฏาคม 2555 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. รายงานสถานการณ์เพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันบางจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
1.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง.พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
1.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
ทั้งนี้ การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าวให้คำนึงถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก ภาวะเงินเฟ้อของประเทศ การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันฯ
2. กบง. ได้มีมติปรับเพิ่มอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปแล้ว 6 ครั้ง ดังนี้
ชนิดน้ำมัน/วันที่ประชุม | เดิม | 24 พ.ค. 55 | 1 มิ.ย. 55 | 5 มิ.ย. 55 | 13 มิ.ย. 55 | 21 มิ.ย. 55 | 22 มิ.ย. 55 |
น้ำมันเบนซิน 95 | 4.00 | 4.50 | 5.00 | 5.90 | 6.40 | 6.70 | 7.10 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 4.00 | 4.50 | 5.00 | 5.90 | 6.40 | 6.70 | 7.10 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.20 | 2.20 | 2.20 | 2.50 | 3.00 | 3.30 | 3.30 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.60 | 0.60 | 0.60 | 0.90 | 1.40 | 1.70 | 1.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -0.80 | -0.80 | -0.80 | -0.50 | -0.50 | -0.20 | -0.20 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -12.60 | -12.60 | -12.60 | -12.30 | -12.30 | -12.00 | -12.00 |
น้ำมันดีเซล | 0.60 | 0.90 | 1.20 | 2.10 | 2.10 | 2.40 | 2.80 |
มีผลบังคับใช้ | 25 พ.ค. 55 | 2 มิ.ย. 55 | 6 มิ.ย. 55 | 14 มิ.ย. 55 | 22 มิ.ย. 55 | 23 มิ.ย. 55 |
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 95.21, 105.31 และ 112.01 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ปรับเพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 21 มิถุนายน 2555) ที่ระดับ 4.54, 8.12 และ 4.94 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงตาม ซึ่งผู้ค้าน้ำมันได้ปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอลและน้ำมันดีเซล ขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 โดยมีราคาขายปลีกน้ำมันและค่าการตลาด ตามโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2555
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 7,457 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 25,418 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 15,247 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 171 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 10,000 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 17,961 ล้านบาท
5. เพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้กระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสาร ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ลง 0.50 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกยังคงอยู่ที่ 29.83 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 29 ล้านบาท จากวันละ 221 ล้านบาท เป็นวันละ 192 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซล 0.50 บาทต่อลิตร จาก 2.80 บาทต่อลิตร เป็น 2.30 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 รายงานสถานการณ์เพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันบางจาก
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 เวลาประมาณ 7.00 น. ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่หน่วยกลั่นที่ 3 ของโรงกลั่นน้ำมันบางจาก กำลังการผลิต 80,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ของโรงกลั่นสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้โดยไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้สั่งหยุดการผลิตของหน่วยกลั่นดังกล่าวเป็นเวลา 1 เดือน
2. จากกำลังการผลิตน้ำมันของโรงกลั่นในประเทศรวมทั้งสิ้น 1,100,000 บาร์เรลต่อวัน โรงกลั่นบางจากมีกำลังการผลิต 120,000 บาร์เรลต่อวัน ผลิตจริง 99,191 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 9.8 ของการผลิตทั้งหมดของประเทศ การที่โรงกลั่นบางจากต้องหยุดผลิต ทำให้กำลังการผลิตของประเทศหายไป 99,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งน้ำมันคงเหลือที่มีอยู่ทั้งสำรองตามกฎหมายและสำรองเพื่อการค้าของผู้ค้าน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และก๊าซ LPG สามารถใช้ได้ 22, 18, 42 และ 8 วัน ตามลำดับ และกรณีโรงกลั่นบางจากหน่วยที่ 3 หยุดการผลิต 1 เดือน กำลังการผลิตจะหายไป 80,000 บาร์เรลต่อวัน ยังคงเหลือกลั่นได้ประมาณ 40,000 บาร์เรลต่อวัน
ปริมาณน้ำมันที่ขาดไป 1 เดือน (ล้านลิตร) | Stock (ล้านลิตร) | ||
ชนิดน้ำมัน | ปริมาณ | บางจาก | ประเทศ |
เบนซิน | 27.0 | 11.2 | 161.0 |
แก๊สโซฮอล์ | 61.0 | 35.1 | 297.0 |
ดีเซล | 248.0 | 74.0 | 1061.0 |
Jet | 51.0 | 36.2 | 437.0 |
เตา | 71.0 | 56.0 | 300.0 |
LPG (ตัน) | 4,200.0 | 3,600.0 | 119,000.0 |
3. แนวทางการแก้ไขมีดังนี้ (1) บางจากจะนำสต๊อกน้ำมันที่มีอยู่มาใช้ โดยน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา จะสามารถใช้ได้ 16, 9 และ 24 วัน ตามลำดับ (2) ขอความร่วมมือโรงกลั่นอื่น เช่น ไทยออยล์ และ IRPC ให้เพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งในเบื้องต้นสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ประมาณ 35,000 บาร์เรลต่อวัน และ (3) ผู้ค้าน้ำมันรายอื่นที่รับน้ำมันจากโรงกลั่นบางจาก ได้แก่ ปตท. เชฟรอน และสยามเฆมี สามารถขอผ่อนผัน นำน้ำมันสำรองที่มีอยู่มาใช้ได้ ซึ่งจากแนวทางดำเนินงานดังกล่าว สามารถรองรับความต้องการใช้น้ำมันในช่วงที่หน่วยกลั่นที่ 3 ของโรงกลั่นบางจากต้องหยุดการผลิตประมาณ 1 เดือน โดยไม่กระทบกับการจัดหาและความต้องการใช้น้ำมันของประเทศ
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
กบง. ครั้งที่ 113 - วันจันทร์ที่ 2 กรกฏาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 16/2555 (ครั้งที่ 113)
วันจันทร์ที่ 2 กรกฏาคม 2555 เวลา 15.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. แนวทางและแผนงานการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทางยุทธศาสตร์ของประเทศ
2. การชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลัง
3. การปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 แนวทางและแผนงานการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทางยุทธศาสตร์ของประเทศ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2555 โดยรับทราบเหตุผล ความจำเป็นและแนวทางการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทางยุทธศาสตร์ของประเทศในเบื้องต้น และเห็นชอบในหลักการให้มีการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทางยุทธศาสตร์ และมอบหมายให้กระทรวงพลังงานดำเนินการศึกษาในรายละเอียดเพื่อจัดตั้งการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทางยุทธศาสตร์ของประเทศต่อไป
2. กระทรวงพลังงาน กำหนดแนวทางการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทางยุทธศาสตร์ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
(1) ภาคเอกชน ตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 มาตรา 20 กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันต้องสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ทุกขณะโดยต้องสำรองไม่เกินร้อยละ 30 ของปริมาณการค้าประจำปี ซึ่งปัจจุบัน มีอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงของภาคเอกชนอยู่ที่ร้อยละ 5 โดยได้พิจารณาให้เพิ่มอัตราสำรองตามกฎหมายเป็นร้อยละ 6 จะทำให้ประเทศไทยมีน้ำมันสำรองตามกฎหมายจากเดิม 36 วันของความต้องการใช้ในประเทศ หรือประมาณ 23.3 ล้านบาร์เรล เป็น 43 วันของความต้องการใช้ในประเทศ หรือประมาณ 28 ล้านบาร์เรล และ
(2) ภาครัฐ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยไม่มีการสำรองน้ำมันอื่นนอกเหนือไปจากการสำรองของภาคเอกชน แต่จากภาวะความผันผวนของราคาน้ำมันตลาดโลก จึงจำเป็นต้องมีการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ควรเพิ่มเติมการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงภาครัฐโดยจัดตั้งองค์กรเพื่อกำกับดูแล และบริหารจัดการน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ รวมทั้งจัดหาแหล่งเงินทุน
3. การพิจารณาเพิ่มอัตราสำรองตามกฎหมายจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 6 ส่งผลให้ภาคเอกชนจำเป็นต้องก่อสร้าง หรือจัดหาสถานที่สำหรับเก็บสำรองตามอัตราใหม่ และเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อผู้ที่มีหน้าที่เก็บสำรองน้ำมันจนกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน จึงเห็นควรให้ภาคเอกชนมีเวลาในการเตรียมความพร้อม โดยให้ออกประกาศการเพิ่มอัตราสำรองตามกฎหมายภายในเดือนกรกฎาคม 2555 และให้มีผลบังคับใช้ใน 2 ปี หรืออย่างช้าภายในเดือนกรกฎาคม 2557 รวมถึงควรชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของโรงกลั่นน้ำมันจากการเก็บสำรองเพิ่มขึ้น โดยปรับราคาหน้าโรงกลั่น เพื่อมิให้เป็นภาระของผู้ค้าน้ำมันมากเกินไป และในส่วนของภาครัฐให้พิจารณารูปแบบองค์กรและการบริหารจัดการที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย และนำเสนอต่อ กพช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ภายในเดือนกันยายน 2555 และยกร่างกฎหมายจัดตั้งสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงภาครัฐและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2555
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบในหลักการให้ปรับเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายของภาคเอกชนจากเดิมร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 6 และมอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศกรมธุรกิจพลังงานเพื่อปรับเพิ่มอัตราสำรอง โดยให้มีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน และกรณีมีผู้ค้าน้ำมันที่ไม่สามารถดำเนินการได้ทันตามกำหนด ให้ขอผ่อนผันเป็นรายไป
2. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปพิจารณากำหนดราคาหน้าโรงกลั่น ให้เหมาะสม เพื่อชดเชยภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับอัตราสำรอง
3. เห็นชอบ แผนงานการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทางยุทธศาสตร์ของประเทศ และมอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน และสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานรับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
เรื่องที่ 2 การชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลัง
สรุปสาระสำคัญ
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 มีมติเห็นชอบแนวทางการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลัง โดย (1) การชดเชยราคาแก๊สโซฮอลที่สูงขึ้นจากการใช้เอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังในโครงการมาผสม เมื่อเทียบกับเอทานอลที่ผลิตจากกากน้ำตาลให้แก่ผู้ค้ามาตรา 7 ที่เข้าร่วมโครงการ โดยคำนวณจากปริมาณเอทานอลที่ขอชดเชยแล้วจะไม่เกินกว่าปริมาณเอทานอลที่รับซื้อจากผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังที่ซื้อจากคลังกลาง (อคส.) (ปตท. ไม่เกิน 16.2 ล้านลิตร บางจาก ไม่เกิน 7.4 ล้านลิตร และไทยออยล์ไม่เกิน 0.8 ล้านลิตร) (2) อัตราการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล โดยใช้ราคามันเส้นที่โรงงานเอทานอล จากคลังกลางเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2555 เท่ากับ 7.3165 บาทต่อกิโลกรัม และ (3) อนุมัติเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลัง ในวงเงิน 180 ล้านบาท
2. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติในหลักการให้ระบายมันเส้นจากสต๊อคของรัฐบาลที่จำนำไว้ตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี 2554/55 เพื่อนำไปผลิตเอทานอลจำนวนประมาณ 65,000 ตัน ในราคาตันละ 7,947.90 บาท ซึ่งเป็นราคาตามที่คณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังได้มีมติเห็นชอบไว้ ในส่วนการชดเชยต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้พิจารณาดำเนินการตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอเพิ่มเติม ซึ่งกระทรวงพลังงานคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายสำหรับเป็นค่าชดเชยส่วนต่างราคาเอทานอล ในวงเงินประมาณ 180 ล้านบาท ส่วนการชดเชยต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เป็นส่วนต่างของราคา (7,947.90-7,316.50) คาดว่าจะต้องใช้เงินชดเชยเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 40 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงพลังงานจะพิจารณาใช้เงินชดเชยส่วนต่างดังกล่าวจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยให้กระทรวงพาณิชย์หารือในรายละเอียดกับกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วดำเนินการต่อไปได้ แล้วให้รายงานผลการดำเนินการให้ คณะรัฐมนตรี ทราบต่อไป
3. กบง. เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2555 มีมติเห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง ในวงเงินเดิม 180 ล้านบาท ตามมติ กบง. เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ซึ่งใช้ราคามันเส้นที่โรงงานเอทานอลซื้อจากคลังกลางในราคา 7,316.50 บาทต่อตัน ซึ่งต่อมา กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้มีหนังสือแจ้งให้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ทราบถึงมติคณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังในการประชุมครั้งที่ 8/2555 วันที่ 22 มิถุนายน 2555 เห็นชอบการจำหน่ายมันเส้นให้โครงการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง โดยใช้มันเส้นตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี 2554/2555 ในราคาตันละ 7,947.90 บาท เพื่อใช้ผลิตเอทานอลตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555
4. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ตรวจสอบระเบียบการใช้เงินของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานแล้ว พบว่า มีประเด็นข้อกฎหมายในการที่นำเงินกองทุนไปชดเชยราคามันสำปะหลังที่ใช้ในโครงการผลิตเอทานอล อาจผิดวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินของกองทุนอนุรักษ์พลังงานฯ จึงต้องพิจารณาขอรับสนับสนุนเงินกองทุนน้ำมันฯ ในการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นจากเดิมในวงเงิน 180 ล้านบาท เป็นวงเงิน 222 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
1. อนุมัติเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นจากเดิมในวงเงิน 180 ล้านบาท เป็นในวงเงิน 222 ล้านบาท (สองร้อยยี่สิบสองล้านบาทถ้วน) โดยใช้ราคามันเส้นที่โรงงานเอทานอลซื้อจากคลังกลางเฉลี่ยเท่ากับ 7.9479 บาทต่อกิโลกรัม
2. กำหนดระยะเวลาการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลังเป็นเวลา 5 เดือน นับตั้งแต่วันที่มีการซื้อขายมันเส้นจากคลังกลางขององค์การคลังสินค้า (อคส.)
เรื่องที่ 3 การปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 ได้เห็นชอบแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 ดังนี้ (1) เห็นชอบให้ยกเลิกมติ กพช. เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 ที่เห็นชอบให้ทยอยปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ในภาคอุตสาหกรรมให้สะท้อนต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป โดยปรับราคาขายปลีกไตรมาสละ 1 ครั้ง จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 3 บาทต่อกิโลกรัม และ (2) ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2555 เห็นชอบมอบหมายให้ กบง. พิจารณาการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม ให้ราคาไม่เกินต้นทุนก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน โดยกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในแต่ละเดือนได้ตามความเหมาะสม ภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมายที่ว่า การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมให้พิจารณาจากต้นทุนก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน
2. ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 คณะกรรมการบริการนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้เห็นชอบในส่วนแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ดังนี้ (1) ถ้าราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้ต้นทุนราคาก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมันเกิน 30.13 บาทต่อกิโลกรัม ให้กำหนดราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมไว้ที่ 30.13 บาทต่อกิโลกรัม และ (2) ถ้าราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกปรับตัวลดลง ทำให้ต้นทุนราคาก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน ต่ำกว่า 30.13 บาทต่อกิโลกรัม ให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมเป็นไปตามต้นทุนโรงกลั่น
3. เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามมติ กบง. ดังกล่าว สนพ. ได้ออกประกาศ กบง. เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้ (1) ฉบับที่ 86 เดือนมิถุนายน 2555 ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) อยู่ที่ 714 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ส่งผลให้ต้นทุนก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงกลั่นอยู่ที่ 27.89 บาทต่อกิโลกรัม สนพ. จึงออกประกาศกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่จำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 30 มิถุนายน 2555 ในอัตรา 9.12 บาทต่อกิโลกรัม และ (2) ฉบับที่ 90 เดือนกรกฎาคม 2555 ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) อยู่ที่ 593 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ส่งผลให้ต้นทุนก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงกลั่นอยู่ที่ 24.86 บาทต่อกิโลกรัม สนพ. จึงออกประกาศกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่จำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 กรกฎาคม 2555 ในอัตรา 6.29 บาทต่อกิโลกรัม
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ