
มติกบง. (348)
กบง. ครั้งที่ 170 - วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 36/2556 (ครั้งที่ 170)
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 15.30 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี กระทรวงพลังงาน
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ปลัดกระทรวงพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ กรรมการและเป็นประธานที่ประชุม แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซลการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอลการปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2556 กบง. ได้พิจารณาโครงสร้างราคา และค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และผู้ค้าน้ำมันปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95, 91 และ E20 ลงลิตรละ 0.20 บาท ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 107.56, 118.03 และ 125.66 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.86, 3.67 และ 2.23 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 18 ตุลาคม 2556) ในส่วนของ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 อยู่ที่ 31.9402 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง 0.77 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 21 ตุลาคม 2556 ที่ 31.1737 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ และผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเพิ่มขึ้น 2 ครั้ง คือวันที่ 18 และ 24 พฤศจิกายน 2556 โดยปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95, 91 และ E20 เพิ่มขึ้นชนิดละ 1.00 บาทต่อลิตร และน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 เพิ่มขึ้นรวม 0.60 บาทต่อลิตร
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 กองทุนน้ำมันฯ มีทรัพย์สินรวม 24,255 ล้านบาท หนี้สินรวม 18,895 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิเป็นบวก 5,360 ล้านบาท
6. จากราคาน้ำมันเบนซิน และดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง ประกอบกับผู้ค้าน้ำมันปรับราคาขายปลีกน้ำมันฯ มีผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 พบว่าค่าการตลาดน้ำมันดีเซล อยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น เพื่อให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 0.60 บาท ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จะทำให้ค่าการตลาดเฉลี่ยกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล อยู่ที่ประมาณ 1.65 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.26 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.38 บาทต่อลิตร ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับลดลงประมาณวันละ 29.79 ล้านบาท จากมีรายรับวันละ 1.06 ล้านบาท เป็นมีรายจ่ายวันละ 28.73 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.60 บาทต่อลิตร จาก 1.10 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 0.50 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 เป็นต้นไป
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556 ในการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 1/2556 มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงพลังงานเป็นเจ้าภาพประสานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการดำเนินการความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 กระทรวงพลังงานได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมยกร่างแผนปฏิบัติการความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพิจารณาให้ความเห็นชอบ และจัดส่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
2. เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 ในการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 2/2556 ได้มีการพิจารณาแผนปฏิบัติการความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้นำยุทธศาสตร์ตามที่เสนอลงพื้นที่จังหวัด ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายครั้ง จนได้ข้อสรุปร่วมกันเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 และได้สรุปนำเสนอนายกรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป
3. เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 ในการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 4/2556 นายกรัฐมนตรีได้พิจารณาผลการดำเนินการคณะทำงานด้านความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอดังนี้ (1) แนวทางดำเนินการเชิงพื้นที่ ประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเชิงพื้นที่ การพัฒนาเมืองสีเขียว (Green City) การจัดพื้นที่ (Zoning) พืชพลังงาน และการพัฒนาแหล่งพลังงาน (Source of Energy) ในจังหวัด (2) แผนปฏิบัติการความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ปรับปรุงใหม่ เห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ กรอบงบประมาณ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เกิดผลทางปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนดต่อไป และ (3) กลไกการดำเนินการ ให้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศด้านความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเจ้าภาพติดตามประเมินผลการดำเนินการและรายงานต่อรัฐบาลเป็นระยะ
4. เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ลงนามในคำสั่งคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศด้านความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินการนำเสนอรัฐบาลผ่าน กบง. และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อย่างต่อเนื่อง ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี และเนื่องจากมีการเพิ่มเติมโครงการพัฒนาพลังงานเชิงพื้นที่ กระทรวงพลังงานจึงเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเพื่อลงนามแต่งตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 โดยคณะอนุกรรมการฯ มีองค์ประกอบคือ มีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นรองประธานอนุกรรมการ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการและมีผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประสานงาน สนับสนุนการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการ ติดตามประเมินผล และรายงานผลดำเนินการต่อรัฐบาลผ่าน กบง. และ กพช. เป็นระยะ
5. เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 ในการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศด้านความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1/2556 ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะทำงานจำนวน 2 คณะ ดังนี้
5.1 คณะทำงานพัฒนาเมืองพลังงานสะอาดหรือเมืองคาร์บอนต่ำ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 มีรองปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นรองประธาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะทำงาน และมีผู้แทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นคณะทำงานและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ศึกษากำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการการพัฒนาต้นแบบเมืองพลังงานสะอาดหรือเมืองคาร์บอนต่ำ ประสานงานและดำเนินการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเมืองต้นแบบ พิจารณาผลดำเนินเพื่อปรับปรุงแนวทางการพัฒนาและกำหนดเกณฑ์และคัดเลือกเมืองพลังงานสะอาดในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม เพื่อให้อำนาจหน้าที่ของคณะทำงานเป็นไปอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ กบง. และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ใหม่5.2 คณะทำงานสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรวัสดุอุปกรณ์เพื่ออนุรักษ์พลังงานในอาคารและโรงงานควบคุม แต่งตั้งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2556 มีรองปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอนุรักษ์พลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะทำงาน และมีผู้แทนสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นคณะทำงานและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่กำหนดแนวทางดำเนินการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดนำร่องเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรวัสดุอุปกรณ์เพื่ออนุรักษ์พลังงานในอาคารและโรงงานควบคุมในพื้นที่นำร่องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสานงาน ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน พิจารณาผลดำเนินการจังหวัดนำร่องที่ดำเนินการในระยะแรก เพื่อปรับปรุงแนวทางการพัฒนาสำหรับขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม เพื่อให้อำนาจหน้าที่ของคณะทำงานเป็นไปอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ กบง. และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ใหม่
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศด้านความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ เพิ่มเติม เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ในการดำเนินการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ให้การดำเนินการที่ผ่านมาของคณะอนุกรรมการฯ มีผลตั้งแต่วันที่มีคำสั่งแต่งตั้ง
2. เห็นชอบการจัดตั้งคณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศด้านความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อบูรณาการดำเนินการในเรื่องสำคัญ ประกอบด้วย คณะทำงานพัฒนาเมืองพลังงานสะอาดหรือเมืองคาร์บอนต่ำ และคณะทำงานสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรวัสดุอุปกรณ์เพื่ออนุรักษ์พลังงานในอาคารและโรงงานควบคุม
กบง. ครั้งที่ 169 - วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 35/2556 (ครั้งที่ 169)
วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี กระทรวงพลังงาน
ปลัดกระทรวงพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ กรรมการและเป็นประธานที่ประชุม แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซลการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอลการปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2556 กบง. ได้พิจารณาโครงสร้างราคา และค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ราคาปิดตลาดของน้ำมันตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อ่อนค่าลง ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 106.70, 114.36 และ 123.43 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลง 1.43, 1.98 และ 2.52 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 11 ตุลาคม 2556) ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 18 ตุลาคม 2556 อยู่ที่ 31.1737 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น 0.30 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 11 ตุลาคม 2556 ซึ่งอยู่ที่ 31.4698 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 21,217 ล้านบาท หนี้สินรวม 15,682 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิเป็นบวก 5,535 ล้านบาท
6. จากราคาน้ำมันเบนซิน และดีเซลที่ปรับตัวลดลงและอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น มีผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2556 พบว่าค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับสูง ดังนั้น เพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้นลิตรละ 0.50 บาท ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จะทำให้ค่าการตลาดเฉลี่ยของกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลอยู่ที่ประมาณ 1.86 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.48 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.60 บาทต่อลิตร ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 26.18 ล้านบาท จากมีรายจ่ายวันละ 7.67 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 18.51 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร จาก 0.60 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 1.10 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและ แผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 168 - วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 34/2556 (ครั้งที่ 168)
วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 11.00 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. แผนการใช้จ่ายเงินบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2557- 2561)
2. การปรับปรุงการมอบอำนาจในการดำเนินคดีทางปกครอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล กรรมการและเป็นประธานที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง แผนการใช้จ่ายเงินบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2557 – 2561)
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 ได้มีมติอนุมัติเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปีงบประมาณ 2551 - 2555 ให้ 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน (สป.พน.) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.) เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 173,679,300 บาท พร้อมทั้งเงินสนับสนุนในงบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2551 เป็นเงิน 350 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2552 - 2555 จำนวนเงินปีละ 300 ล้านบาท ซึ่งต่อมาได้มีการทบทวนแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันฯ ทุกปี โดยสรุปผลการอนุมัติเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันฯ ปี 2551 – 2555 เป็นจำนวนเงินรวม 205,880,000 บาท
2. ผลการใช้จ่ายเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันฯ ปี 2551 – 2555 ของหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ สป.พน. สนพ. กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และ สบพน. เฉลี่ยร้อยละ 48.44, 36.26, 83.34, 67.39 และ 25.30 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพิจารณาผลการใช้จ่ายเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันฯ ปี 2551 – 2555 เปรียบเทียบกับวงเงินที่ได้รับอนุมัติ พบว่า สบพน. และ สนพ. มีผลการใช้จ่ายเงินอยู่ในระดับต่ำคิดเป็นร้อยละ 25.30 และ 36.26 ตามลำดับ เนื่องจาก (1) ปี 2552 - 2554 สบพน. มีค่าใช้จ่ายในหมวดค่าจ้างชั่วคราว เป็นเงินเดือนตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ วงเงินประมาณ 0.9 – 1.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60 - 70 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีการจ้างในตำแหน่งนี้ และ (2) ปี 2551 – 2555 สนพ. มีการตั้งงบประมาณในหมวดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ค่าเดินทางไปราชการต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในโครงการศึกษาวิจัย และเงินสำรอง จำนวนเงินรวมประมาณ 6.0 - 7.0 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 60 - 70 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งที่ผ่านมามีการเบิกจ่ายน้อยมากและเป็นการเบิกจ่ายในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปราชการต่างประเทศและในส่วนของเงินสำรองไม่มีการเบิกจ่าย
3. เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2555 กบง. ได้มีมติอนุมัติงบบริหารกองทุนน้ำมันฯ ปีงบประมาณ 2556 ให้ 5 หน่วยงาน ได้แก่ สป.พน. สนพ. กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และ สบพน. เป็นจำนวนเงิน 16.5400, 6.3604, 7.7518, 1.2352 และ 2.3422 ล้านบาท ตามลำดับ รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 34,229,600 บาท พร้อมทั้งสนับสนุนเงินในงบค่าใช้จ่ายอื่น ในปีงบประมาณ 2556 เป็นเงิน 150 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 5 หน่วยงาน ได้รายงานผลการ เบิกจ่ายเงิน ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2556 เป็นจำนวนเงินรวม 18,119,309.73 บาท คิดเป็นร้อยละ 52.93 นอกจากนี้กบง. ได้อนุมัติกรอบวงเงินกองทุนน้ำมันฯ งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2551 – 2555 เพื่อเป็นเงินสำรองกองกลางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ดำเนินงานโครงการตามวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันฯ สรุปผลการใช้จ่ายเงินปี 2551 – 2555 คิดเป็นร้อยละ 89.29, 87.63, 91.21, 49.09 และ 99.41 เมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่ได้รับ
4. ในปีงบประมาณ 2556 หน่วยงานภายใต้กระทรวงพลังงาน ได้แก่ สป.พน. สนพ. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้จัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ งบค่าใช้จ่ายอื่น จำนวนรวม 7 โครงการ ดังนี้ (1) สป.พน. จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการสร้างความรับรู้แนวทางปฏิบัติในการรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน วงเงินรวม 8 ล้านบาท (2) สนพ. จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการจัดทำฐานข้อมูลร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร และครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ เพื่อรองรับการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) โครงการการศึกษาค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ LPG (ภาคขนส่ง) โครงการประชาสัมพันธ์พลังงานตามสถานการณ์ ปีงบประมาณ 2556 และโครงการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 127.5 ล้านบาท (3) ธพ. จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการป้องกันและปราบปรามการลักลอบจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวข้ามสาขาและการลักลอบส่งออกก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปยังประเทศเพื่อนบ้าน จำนวนเงินรวม 5.1193 ล้านบาท และ (4) พพ. จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการจัดตั้งศูนย์บริการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้สามารถใช้แก๊สโซฮอลได้ ผ่านทางสถาบันการศึกษาของรัฐ (ระยะที่ 1) วงเงิน 16.5 ล้านบาท สรุปวงเงินที่ได้รับอนุมัติในปี 2556 จำนวนเงินรวม 157.1193 ล้านบาท ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2556 มีการเบิกจ่ายแล้วจำนวนเงิน 70.4313 ล้านบาท
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 21,532 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 15,872 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 15,724 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 148 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิเป็นบวก 5,660 ล้านบาท
6. เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 ฝ่ายเลขานุการฯ ได้มีหนังสือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำข้อเสนอแผนการใช้จ่ายเงินบริหารกองทุนน้ำมันฯ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2557 – 2561) ซึ่ง สป.พน. สนพ. กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และ สบพน. ได้จัดส่งคำขอแผนการใช้จ่ายเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2557 – 2561) เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 199,400,600 บาท และขออนุมัติกรอบวงเงินงบค่าใช้จ่ายอื่น ปี 2557 – 2571 จำนวนเงินปีละ 300 ล้านบาท และในปี 2557 สป.พน. สนพ. กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และ สบพน. ได้จัดทำคำขอรับการสนับสนุนเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันฯ ปีงบประมาณ 2557 เป็นเงินรวม 46,072,400 บาท
7. สรุปแผนการใช้จ่ายเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันฯ ปีงบประมาณ 2557 ของ 5 หน่วยงาน เปรียบเทียบกับปีงบประมาณ 2556 ดังนี้ (1) สป.พน. ขอรับการสนับสนุนจำนวนบุคลากรอัตราเดิม และปรับลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากร ทำให้จำนวนเงินขอรับการสนับสนุนลดลง 0.1276 ล้านบาท จากเดิมปี 2556 จำนวนเงิน 16.5400 ล้านบาท เป็นจำนวนเงิน 16.4124 ล้านบาท (2) สนพ. ขอรับการสนับสนุนจำนวนบุคลากรลดลงจาก 4 อัตรา เหลือ 3 อัตรา ปรับลดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมด้านปิโตรเคมีและค่าวารสารต่างประเทศ ปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ และขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทบทวนแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555 - 2559) ทำให้จำนวนเงินขอรับการสนับสนุนเพิ่มขึ้น 3.3650 ล้านบาท จากเดิมปี 2556 จำนวนเงิน 6.3604 ล้านบาท เป็นจำนวนเงิน 9.7254 ล้านบาท (3) กรมสรรพสามิต ปรับเพิ่มจำนวนบุคลากรจาก 21 อัตรา เป็น 23 อัตรา และขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายดำเนินงานโครงการจำนวน 5 โครงการ ทำให้จำนวนเงินที่ขอรับการสนับสนุนเพิ่มขึ้น 8.6959 ล้านบาท จากเดิมปี 2556 จำนวนเงิน 7.7518 ล้านบาท เป็นจำนวนเงิน 16.4477 ล้านบาท (4) กรมศุลกากร ขอรับการสนับสนุนจำนวนบุคลากรอัตราเดิม จำนวนเงินที่ขอรับการสนับสนุนลดลง 0.1005 ล้านบาท จากเดิมในปี 2556 จำนวนเงิน 1.2352 ล้านบาท เป็นจำนวนเงิน 1.1347 ล้านบาท และ (5) สบพน. ปรับลดจำนวนบุคลากรจาก 2 อัตรา เป็น 1 อัตรา และปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายในการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปควบคุมการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันฯ ทำให้จำนวนเงินที่ขอรับการสนับสนุน เพิ่มขึ้น 0.0100 ล้านบาท จากเดิมปี 2556 จำนวนเงิน 2.3422 ล้านบาท เป็นจำนวนเงิน 2.3522 ล้านบาท สรุปจำนวนเงินที่ขอรับการสนับสนุนตามแผนการใช้จ่ายเงิน งบบริหารกองทุนน้ำมันฯ ปีงบประมาณ 2557 ปรับเพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้น 11.8428 ล้านบาท จากเดิมปีงบประมาณ 2556 จำนวนเงินรวม 34.2296 ล้านบาท เป็นจำนวนเงินรวม 46.0724 ล้านบาท
8. เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2556 คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (อบน.) ได้พิจารณาเรื่อง แผนการใช้จ่ายเงินบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2557 – 2561) และได้มีมติดังนี้ (1) รับทราบ ผลการใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันฯ ปีงบประมาณ 2556 ของหน่วยงานต่างๆ (2) เห็นชอบแผนการใช้จ่ายเงิน งบบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2557 – 2561) ของ 5 หน่วยงาน ได้แก่ สป.พน. สนพ. กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และ สบพน. เป็นจำนวนเงินรวม 199,400,600 บาท และงบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2557 – 2561 จำนวนเงินปีละ 300 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินสำรองกองกลาง และ (3) อนุมัติเงิน งบบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปีงบประมาณ 2557 ของ 5 หน่วยงาน ได้แก่ สป.พน. สนพ. กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และ สบพน. เป็นจำนวนเงินรวม 46,072,400 บาท โดยงบประมาณทุกหมวดรายจ่ายให้สามารถนำมาถัวจ่ายได้ทุกรายการ และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป ทั้งนี้ มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ กบง. เพื่อพิจารณาต่อไป
มติของที่ประชุม
1. รับทราบผลการใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประจำปีงบประมาณ 2556 ของหน่วยงานต่างๆ
2. อนุมัติกรอบแผนการใช้จ่ายเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2557 – 2561) ของ 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) เป็นจำนวนเงินรวม 189,130,600 บาท (หนึ่งร้อยแปดสิบเก้าล้านหนึ่งแสนสามหมื่นหกร้อยบาทถ้วน) และงบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2557 – 2561 จำนวนเงิน ปีละ 300 ล้านบาท (สามร้อยล้านบาทถ้วน) เพื่อเป็นเงินสำรองกองกลาง
3. อนุมัติเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปีงบประมาณ 2557 ของ 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) เป็นจำนวนเงินรวม 35,802,400 บาท (สามสิบห้าล้านแปดแสนสองพันสี่ร้อยบาทถ้วน) โดยงบประมาณทุกหมวดรายจ่ายให้สามารถนำมาถัวจ่ายได้ทุกรายการ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป
4. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำข้อเสนอโครงการของกรมสรรพสามิต ในงบบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปีงบประมาณ 2557 หมวดค่าใช้จ่ายอื่นๆ จำนวน 4 โครงการ เสนอคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อพิจารณาอนุมัติงบประมาณในงบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2557 ต่อไป
เรื่อง การปรับปรุงการมอบอำนาจในการดำเนินคดีทางปกครอง
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2556 ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งเรียกให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ทำคำให้การพร้อมด้วยพยานหลักฐาน 1 ชุด และจัดทำคำให้การและสำเนาพยานหลักฐานที่มีการรับรองสำเนาถูกต้อง อีก 1 ชุด รวม 2 ชุด ยื่นต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งในคดีศาลปกครองกลาง หมายเลขดำที่ 1143/2555 กรณีนายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้อง กบง. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ 1 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่ 2 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่ 3 ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (ผอ.สนพ.) ที่ 4 คณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ 5 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่ 6 คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ 7 คณะกรรมการกลางว่าด้วยสินค้าและบริการ ที่ 8) โดยกล่าวหาว่าผู้ถูกฟ้องคดีร่วมกันกำหนดราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่แพงเกินจริงและเอื้อประโยชน์ต่อเอกชน ซึ่งการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการคำนวณราคา และการกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าการตลาด ค่าขนส่ง การกำหนดอัตราราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นและคำนวณราคาขายปลีกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กบง. จึงขอให้หยุดขึ้นราคาน้ำมัน ราคาก๊าซธรรมชาติรวมทั้งค่าไฟฟ้า เนื่องจากกำหนดราคาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่ง สนพ. ได้รับคำสั่งเรียกให้ทำคำให้การวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 ครบกำหนดยื่นคำให้การในวันที่ 8 สิงหาคม 2556
2. สนพ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ได้รวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงประกอบคำให้การ แต่เนื่องจากเอกสารหลักฐานมีปริมาณมาก ทำให้ไม่สามารถยื่นคำให้การได้ทันตามกำหนด เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 สนพ. ได้มีหนังสือขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การต่อศาลปกครองไปอีก 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดเดิม ต่อมาเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 กบง. ได้มีมติเห็นควรให้พนักงานอัยการเป็นผู้ว่าต่างแก้ต่างคดีกรณีที่ กบง. เป็นผู้ฟ้องคดีหรือถูกฟ้องคดีปกครองทุกศาลและทุกชั้นศาลปกครองจนกว่าคดีจะถึงที่สุด และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ได้ทุกประการไม่ว่าจะเป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิหรือไม่ก็ตาม ตลอดจนให้มีอำนาจในการมอบอำนาจช่วงให้นิติกรไปดำเนินการใดๆ แทน และได้มอบหมายให้ประธาน กบง. มีอำนาจแทน กบง. ในการลงนามในใบมอบอำนาจและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อแต่งตั้งให้พนักงานอัยการเป็นผู้ว่าต่างแก้ต่างคดีปกครองนาม กบง. ทุกคดี
3. สำนักงานศาลปกครองกลาง ได้มีหนังสือแจ้งคำสั่งศาล ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2556 และลงวันที่ 28 สิงหาคม 2556 แจ้งว่า ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (กพช.) และที่ 3 (กบง.) ขยายระยะเวลายื่นคำให้การออกไปถึงวันที่ 7 กันยายน 2556 และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (กพช.) และที่ 3 (กบง.) จัดส่งหนังสือมอบอำนาจและ/หรือมติคณะกรรมการที่มอบอำนาจให้ สนพ. เป็นผู้มีอำนาจในการดำเนินคดีปกครองแทนผู้ถูกฟ้องที่ 2 (กพช.) และที่ 3 (กบง.) มาพร้อมคำให้การด้วย ซึ่งเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556 สนพ. ได้มีหนังสือถึงสำนักงานคดีปกครอง สำนักงานอัยการสูงสุด ขอความอนุเคราะห์จัดพนักงานอัยการเพื่อแก้ต่างคดี โดยสำนักงานศาลปกครองกลาง ได้มีหนังสือแจ้งคำสั่งศาล ลงวันที่ 9 กันยายน 2556 ถึงร้อยเอกฉัตรชัย กันนิ่ม พนักงานอัยการ ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 (กบง. ที่ 3) แจ้งว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ขยายระยะเวลายื่นคำให้การออกไปถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2556 และต่อมาได้มีหนังสือแจ้งคำสั่งศาล ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2556 ถึงร้อยเอกฉัตรชัย กันนิ่ม พนักงานอัยการ ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 (กบง. ที่ 3) แจ้งว่า ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ขยายระยะเวลายื่นคำให้การออกไปถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556
4. เพื่อให้การดำเนินคดีปกครองเกิดประโยชน์ต่อทางราชการและมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ฝ่ายเลขานุการฯ ใคร่ขอเสนอให้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมดังนี้ (1) การมอบอำนาจ เดิม กบง. มอบหมายให้ประธาน กบง. มีอำนาจทำการแทน กบง. ในการลงนามในใบมอบอำนาจและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อแต่งตั้งให้พนักงานอัยการเป็นผู้ว่าต่างแก้ต่างคดีปกครองในนาม กบง. ทุกคดี ฝ่ายเลขานุการฯ เห็นควรเพิ่มเติมให้ กบง. มอบอำนาจให้กรรมการและเลขานุการ กบง. มีอำนาจทำการแทน กบง. ในกรณีดังกล่าวด้วย และรวมทั้งให้มีอำนาจในการ ไปให้ถ้อยคำต่อศาล ทำคำชี้แจงข้อเท็จจริง หรือมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการดังกล่าวทุกคดี และ (2) การยื่นขอขยายระยะเวลาจัดทำคำให้การ ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ ได้เป็นผู้ยื่นขอขยายระยะเวลาทำคำให้การต่อ ศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 โดยยังไม่ได้รับมอบหมายจาก กบง. ให้เป็นผู้มีอำนาจทำการ แทน กบง. ต่อมาศาลปกครองกลางได้มีหนังสืออนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นคำให้การออกไปถึงวันที่ 7 กันยายน 2556 โดยขอให้จัดส่งหนังสือมอบอำนาจและ/หรือมติคณะกรรมการที่มอบอำนาจให้กรรมการและเลขานุการ เป็นผู้มีอำนาจในการดำเนินคดีปกครองแทนผู้ถูกฟ้องที่ 2 (กพช.) และที่ 3 (กบง.) มาพร้อมคำให้การด้วย ฝ่ายเลขานุการฯเสนอขอความเห็นชอบกรณียื่นขอขยายระยะเวลาทำคำให้การต่อศาลปกครองกลางของกรรมการและเลขานุการฯ กบง. เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ต่อ กบง.
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบมอบหมายให้ปลัดกระทรวงพลังงานและ/หรือผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีอำนาจแทน กบง. ในการลงนามในใบมอบอำนาจและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อแต่งตั้งให้พนักงานอัยการเป็นผู้ว่าต่างแก้ต่างคดีปกครอง ในนาม กบง. ทุกคดี รวมทั้งให้มีอำนาจในการไปให้ถ้อยคำต่อศาล ทำคำชี้แจงข้อเท็จจริง หรือมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการดังกล่าวทุกคดี
2. เห็นชอบให้สัตยาบันในการที่ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เป็นผู้แทนในการยื่นขอขยายระยะเวลาทำคำให้การ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ในคดีศาลปกครองกลาง หมายเลขดำที่ 1143/2555
กบง. ครั้งที่ 167 - วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 33/2556 (ครั้งที่ 167)
วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 14.30 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
ปลัดกระทรวงพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ กรรมการและเป็นประธานที่ประชุม แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1.รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซลการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯเพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอลการปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของ น้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับ น้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2556 กบง. ได้พิจารณาโครงสร้างราคา และค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10, 91E10 และ E20 ขึ้น 0.30, 0.30 และ 0.20 บาทต่อลิตร ตามลำดับ และปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ราคาปิดตลาดของน้ำมันตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และ น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 108.13, 116.34 และ 125.95 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.97, 1.93 และ 2.12 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 4 ตุลาคม 2556) ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 11 ตุลาคม 2556 อยู่ที่ 31.4698 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง 0.03 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 4 ตุลาคม 2556 ซึ่งอยู่ที่ 31.4351 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 21,532 ล้านบาท หนี้สินรวม 15,872 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิเป็นบวก 5,660 ล้านบาท
6. จากราคาน้ำมันเบนซิน และดีเซลที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น มีผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2556 พบว่าค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น เพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 0.40 บาท ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จะทำให้ค่าการตลาดเฉลี่ยของกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลอยู่ที่ประมาณ 1.51 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.50 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.50 บาทต่อลิตร ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับลดลงประมาณวันละ 20.94 ล้านบาท จากมีรายรับวันละ 13.27 ล้านบาท เป็นมีรายจ่ายวันละ 7.67 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร จาก 1.00 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 0.60 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและ แผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 166 - วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 32/2556 (ครั้งที่ 166)
วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 14.30 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล กรรมการและเป็นประธานที่ประชุม
ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ เป็นกรรมการและเลขานุการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซลการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอลการปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2556 กบง. ได้พิจารณาโครงสร้างราคา และค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.60 บาทต่อลิตร ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ราคาปิดตลาดของน้ำมันตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 25 กันยายน 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 106.16, 114.41 และ 123.83 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ และน้ำมันเบนซิน 95 ปรับตัวลดลง 0.78 และ 1.48 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ น้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.17 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากการประชุมเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 23 กันยายน 2556) ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 4 ตุลาคม 2556 อยู่ที่ 31.4351 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง 0.20 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 23 กันยายน 2556 ซึ่งอยู่ที่ 31.2344 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 21,969 ล้านบาท หนี้สินรวม 16,328 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิเป็นบวก 5,641 ล้านบาท
6. จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง มีผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2556 พบว่าค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น เพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 0.40 บาท ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จะทำให้ค่าการตลาดเฉลี่ยของกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลอยู่ที่ประมาณ 2.04 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.50 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.66 บาทต่อลิตร ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับลดลงประมาณวันละ 20.94 ล้านบาท จากมีรายจ่ายวันละ 28.31 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 7.37 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 165 - วัน พุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 31/2556 (ครั้งที่ 165)
วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ กรรมการและเป็นประธานที่ประชุม แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายนที ทับมณี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซลการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอลการปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2556 กบง. ได้พิจารณาโครงสร้างราคา และค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 และ 91E10 ขึ้นชนิดละ 0.30 บาทต่อลิตร และน้ำมันแก๊สโซฮอล E20, E85 และดีเซลปรับขึ้นชนิดละ 0.60 บาทต่อลิตร ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ราคาปิดตลาดของน้ำมันตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่แข็งค่าขึ้น รวมทั้งเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2556 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10, 91E10 และ E20 ลงชนิดละ 0.30 บาทต่อลิตร ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 20 กันยายน 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 23 กันยายน 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 106.94, 115.89 และ 121.66 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้น 0.24, 3.32 และ 0.21 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 18 สิงหาคม 2556) ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 23 กันยายน 2556 อยู่ที่ 31.2344 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น 0.6056 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 18 กันยายน 2556 ซึ่งอยู่ที่ 31.8400 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 22 กันยายน 2556 มีทรัพย์สินรวม 20,864 ล้านบาท หนี้สินรวม 15,394 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิเป็นบวก 5,470 ล้านบาท
6. จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง และอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น มีผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 24 กันยายน 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 24 กันยายน 2556 พบว่าค่าการตลาดน้ำมันดีเซล อยู่ในระดับสูง ดังนั้น เพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้นลิตรละ 0.60 บาท ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จะทำให้ ค่าการตลาดเฉลี่ยกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล อยู่ที่ประมาณ 1.83 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.60 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.67 บาทต่อลิตร ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 31.41 ล้านบาท จากมีรายจ่ายวันละ 18.95 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 12.46 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.60 บาทต่อลิตร จาก 0.80 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 1.40 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและ แผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2556 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 164 - วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 30/2556 (ครั้งที่ 164)
วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล กรรมการและเป็นประธานที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซลการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอลการปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2556 กบง. ได้พิจารณาโครงสร้างราคา และค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10, 91E10, E20 และ E85 ลงชนิดละ 0.30 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลลง 0.50 บาทต่อลิตร ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ราคาปิดตลาดของน้ำมันตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อ่อนค่าลง ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 18 กันยายน 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และ น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 106.70, 112.57 และ 121.45 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลง 5.51, 8.70 และ 5.93 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 28 สิงหาคม 2556) ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 18 กันยายน 2556 อยู่ที่ 31.8416 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น 0.4966 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 28 สิงหาคม 2556 ซึ่งอยู่ที่ 32.3382 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ โดยผู้ค้าน้ำมันได้มีการปรับราคาขายปลีกรวม 3 ครั้ง เป็นการปรับเพิ่ม 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2556 และปรับลดลง 2 ครั้ง ในวันที่ 13 และ 18 กันยายน 2556
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 15 กันยายน 2556 มีทรัพย์สินรวม 20,811 ล้านบาท หนี้สินรวม 14,958 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิเป็นบวก 5,853 ล้านบาท
6. จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง และอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง มีผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 18 กันยายน 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 18 กันยายน 2556 พบว่าค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล อยู่ในระดับสูง ดังนั้น เพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอลขึ้นลิตรละ 0.30 บาท และน้ำมันดีเซลขึ้นลิตรละ 0.60 บาท ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จะทำให้ค่าการตลาดเฉลี่ยกลุ่มเบนซินและ แก๊สโซฮอล อยู่ที่ประมาณ 2.27 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.68 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.86 บาทต่อลิตร ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 36.70 ล้านบาท จากมีรายจ่ายวันละ 59.30 ล้านบาท เป็นมีรายจ่ายวันละ 22.60 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2556 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 163 - วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 29/2556 (ครั้งที่ 163)
วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. การใช้มันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอลส่วนที่เกินจากปริมาณ 1.6 ล้านตัน ตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2555/2556
ปลัดกระทรวงพลังงาน นายณอคุณ สิทธิพงศ์ กรรมการและเป็นประธานที่ประชุม แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซลการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอลการปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 กบง. ได้พิจารณาโครงสร้างราคา และค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินลง 0.30 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10, 91E10, E20 และ E85 ลงชนิดละ 0.50 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลลง 0.20 บาทต่อลิตร ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ราคาปิดตลาดของน้ำมันตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อ่อนค่าลง ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และ น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 112.21, 121.27 และ 127.38 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.76, 3.97 และ 3.98 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 26 สิงหาคม 2556) ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 28 สิงหาคม 2556 อยู่ที่ 32.3382 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง 0.2778 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 26 สิงหาคม 2556 ซึ่งอยู่ที่ 32.0604 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ โดยตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2556 ผู้ค้าน้ำมันฯ ไม่มีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 21,367 ล้านบาท หนี้สินรวม 14,355 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิเป็นบวก 7,032 ล้านบาท
6. จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง และอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง มีผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2556 พบว่าค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล อยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นเพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 0.50 บาท ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.19 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดเฉลี่ยกลุ่มเบนซินอยู่ที่ประมาณ 0.91 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.12 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 27.86 ล้านบาท จากมีรายรับวันละ 6.48 ล้านบาท เป็นมีรายจ่ายวันละ 21.38 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการโครงการแทรกแซงตลาด มันสำปะหลัง ปี 2555/56 กำหนดเป้าหมายการรับจำนำหัวมันสด 10 ล้านตัน และอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ครั้งที่ 16/2555 ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงพลังงานจัดทำแผนการใช้มันสำปะหลังในการผลิตเอทานอล และในปี 2556 กระทรวงพลังงานกำหนดเป้าหมายส่งเสริมให้ใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านลิตรต่อวัน และขอความร่วมมือจากผู้ค้าน้ำมันให้ใช้ เอทานอลจากกากน้ำตาลและเอทานอลจากมันสำปะหลังในสัดส่วนร้อยละ 62 : 38 ดังนั้น โรงงานเอทานอลใช้วัตถุดิบมันสำปะหลังจะผลิตเอทานอลเฉลี่ย 0.76 ล้านลิตรต่อวัน หรือ 255.60 ล้านลิตรต่อปี คิดเป็นปริมาณการใช้หัวมันสด 1.6 ล้านตันต่อปี
2. เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเห็นชอบการปรับสูตรราคาเอทานอลตามสัดส่วนการใช้เอทานอลมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้น โดยกำหนดสูตรราคาเอทานอลตามสัดส่วนการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาลต่อมันสำปะหลังเป็น 62 : 38 และมอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ประสานกรมการค้าภายในเพื่อตรวจสอบว่าผู้ผลิตเอทานอลที่ใช้ มันสำปะหลังในโครงการรับจำนำมันสำปะหลัง โดยผู้ผลิตเอทานอลจากมันเส้น ให้ใช้มันเส้นจากองค์การคลังสินค้า (อคส.) ผู้ผลิตเอทานอลจากมันสดให้เปิดจุดรับซื้อมันสดที่หน้าโรงงาน และผู้ผลิตเอทานอลจากน้ำอ้อยให้ถือว่าอยู่ในกลุ่มกากน้ำตาล พร้อมทั้งให้รวบรวมรายงานยอดการซื้อมันสำปะหลังของโรงงานเอทานอลรายเดือน และแจ้งให้ฝ่ายเลขานุการฯ ทราบเป็นรายไตรมาส
3. ปัจจุบันมีการใช้แก๊สโซฮอลเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2556 ไตรมาสที่ 1 และ 2 มีการใช้เอทานอลเฉลี่ย 2.33 และ 2.58 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ มีสัดส่วนการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาลต่อเอทานอลจากมันสำปะหลังเฉลี่ย 2 ไตรมาส เท่ากับ 75.5 ต่อ 24.5 หรือคิดเป็นเอทานอลจากกากน้ำตาลและจากมันสำปะหลังเฉลี่ยเท่ากับ 1.86 และ 0.60 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ โดยในปี 2556 มีผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังรวม 7 ราย ได้แก่ (1) บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จำกัด จังหวัดลพบุรี (2) บริษัท ไทยเอทานอล พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) จังหวัดขอนแก่น (3) บริษัท ไท่ผิงเอทานอล จำกัด จังหวัดสระแก้ว (4) บริษัท พี.เอส.ซี.สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) จังหวัดชลบุรี (5) บริษัท อี 85 จำกัด จังหวัดปราจีนบุรี (6) บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด จังหวัดอุบลราชธานี และ (7) บริษัท ราชบุรี เอทานอล จำกัด จังหวัดราชบุรี ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการ ผู้ผลิตเอทานอลได้ทำสัญญารับมอบมันสำปะหลัง ตามโครงการฯ จาก อคส. แล้วรวมคิดเป็นมันสำปะหลังสด 1.32 ล้านตัน และคาดว่าเมื่อสิ้นไตรมาส 3/2556 ผู้ผลิตเอทานอลจะสามารถทำสัญญารับมอบมันสำปะหลัง ได้ครบ 1.60 ล้านตัน
4. ในการประชุมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2556 คณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังได้อนุมัติกรอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี 2555/2556 เพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร โดยอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศในฐานะประธานคณะอนุกรรมการระบายมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ได้มีประกาศให้ใช้วิธียื่นซองเสนอซื้อมันเส้นตามโครงการฯ ซึ่งเก็บอยู่ในคลังสินค้าของ อคส. ปริมาณ 204,005 ตัน ในวันที่ 19 สิงหาคม 2556 ส่งผลให้ในไตรมาส 4/2556 จะไม่มีมันสำปะหลังจำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตเอทานอล ทั้งนี้ จากการประมาณการเบื้องต้น คาดว่าในไตรมาส 4/2556 ผู้ผลิตเอทานอลจะต้องการใช้มันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอลอีกประมาณ 300,000 ตัน
5. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556 สมาคมเอทานอลจากมันสำปะหลัง ได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอรับซื้อมันสำปะหลังโดยตรงจากเกษตรกรตามราคาตลาด ซึ่งไม่อยู่ในโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2555/56 เนื่องจากมันสำปะหลังที่เหลืออยู่ในโครงการฯ อยู่ห่างไกลจากพื้นที่ที่โรงงานตั้งอยู่ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการผลิต เอทานอลสูงขึ้น
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังสามารถใช้มันสำปะหลังที่เพาะปลูกในประเทศไทย ที่อยู่นอกโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2555/56 ในการผลิตเอทานอลได้ นับตั้งแต่ผู้ผลิตเอทานอลรับมอบมันสำปะหลังในโครงการฯ ครบ 1.6 ล้านตัน จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 ทั้งนี้ หากมีการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังในปีต่อไป ให้นำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานพิจารณาอีกครั้ง
2. มอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ประสานงานกับสำนักงานปลัด กระทรวงพลังงานและกรมการค้าภายใน เพื่อกำกับและตรวจสอบการดำเนินการของโรงงานเอทานอล ให้ใช้ มันสำปะหลังที่เพาะปลูกในประเทศไทยเท่านั้นในการผลิตเป็นเอทานอล
กบง. ครั้งที่ 162 - วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 28/2556 (ครั้งที่ 162)
วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เวลา 14.30 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. แนวทางและหลักเกณฑ์การดำเนินการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน
2. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
3. ประกาศกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคครัวเรือน
5. การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) นำเข้า
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง แนวทางและหลักเกณฑ์การดำเนินการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2556 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 โดยเห็นชอบให้ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจาก “โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน” (โครงการฯ) โดยมีเป้าหมายกำลังผลิตติดตั้งรวม 800 เมกะวัตต์ ซึ่งกำหนดให้จ่ายไฟฟ้า เชิงพาณิชย์ (COD) ภายในปี 2557 และมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) รับไปดำเนินการออกระเบียบหลักเกณฑ์ในการดำเนินการพัฒนาโครงการฯ รวมถึงดำเนินการคัดเลือกหมู่บ้านที่มีศักยภาพเพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ความสามารถรองรับของระบบส่ง และรายงานผลการคัดเลือกให้ กพช. ทราบ ต่อมา สนพ. ได้ประชุมหารือร่วมกับผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ซึ่งที่ประชุมฯ ได้มีมติมอบหมายให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ร่วมกันหารือเพื่อกำหนดพื้นที่ที่มี ความพร้อมของระบบสายส่งไฟฟ้าและสายจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับโครงการฯ ทั้งนี้ ปัจจุบันการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้จัดทำข้อมูลพื้นที่ที่มีความพร้อมดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาโครงการขั้นตอนต่อไปได้
2. แนวทางการพัฒนาโครงการ เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาโครงการฯ เกิดผลสัมฤทธิ์ตามมติ กพช. ควรให้ความสำคัญกับเรื่องต่างๆ ดังนี้ (1) ความสามารถในการพัฒนาโครงการให้แล้วเสร็จ และการดำเนินการ จ่ายไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 800 เมกะวัตต์ เข้าระบบภายในปี 2557 ตามกรอบระยะเวลาที่ กพช. กำหนด (2) การจัดทำกลไกการบริหารจัดการโครงการให้มีความคล่องตัว สามารถบริหารงานและบริหารสัญญาที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ (3) การกำหนดมาตรฐานการพัฒนาระบบทางวิศวกรรม ในด้านอุปกรณ์ การก่อสร้างและความปลอดภัย โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าที่ครอบคลุมตลอดอายุโครงการ 25 ปี รวมทั้งควรมีการรับประกันประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์
3. ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน ภายใต้ กบง. เพื่อทำหน้าที่ประสานดำเนินการโครงการฯ และเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์การคัดเลือกกองทุนฯ เข้าร่วมโครงการ เป็นต้น โดยมีผู้ว่าการ กฟภ. ทำหน้าที่ประธานคณะอนุกรรมการฯ เนื่องจาก กฟภ. เป็นหน่วยงานที่มีความสามารถและความพร้อมในการพัฒนาโครงการภายใต้กรอบแนวคิดข้างต้น และควรเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ โดยคณะอนุกรรมการฯ มีองค์ประกอบได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงพลังงาน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รองเลขาธิการสำนักงาน กกพ. ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และมีผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กฟผ. กฟน. และมีผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า กฟภ. ทำหน้าที่อนุกรรมการและเลขานุการฯ
4. ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอหลักเกณฑ์การพัฒนาโครงการฯ เพื่อให้ กบง.กำหนดหลักเกณฑ์ในการพัฒนาโครงการฯ ให้คณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชนที่จะแต่งตั้งขึ้นใช้เป็นแนวทาง ในการดำเนินการต่อไป ดังนี้ (1) ให้กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 เป็นเจ้าของโครงการ (2) ให้ กฟภ. และธนาคารออมสินเป็นผู้สนับสนุนและพัฒนาโครงการ จนโครงการฯ สามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ (3) ให้ กฟภ. เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการฯ 800 เมกะวัตต์ และเป็นผู้ดูแลบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า (Operation and Maintenance) ตลอดอายุโครงการฯ (4) การคัดเลือกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเข้าร่วมโครงการฯ ควรอยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสม และมีระบบจำหน่ายไฟฟ้ารองรับเพียงพอ ตามที่ กฟผ. กฟน. และ กฟภ. กำหนด และจะต้องไม่อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการประสบภัยพิบัติหรือภัยธรรมชาติ (5) โรงไฟฟ้าในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน ควรต้องมีมาตรฐานและคุณภาพทางวิศวกรรมการก่อสร้าง อุปกรณ์ และความปลอดภัย โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าครอบคลุมตลอดอายุโครงการ 25 ปี และ (6) ให้มีการรับประกันประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าตลอดอายุโครงการ โดยบริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์ในการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน ดังนี้
(1) ให้กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 เป็นเจ้าของโครงการ(2) ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและธนาคารออมสินเป็นผู้สนับสนุนและพัฒนาโครงการ จนโครงการฯสามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบได้(3) ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการฯ และเป็นผู้ดูแลบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า (Operation and Maintenance) ตลอดอายุโครงการฯ(4) การคัดเลือกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเข้าร่วมโครงการฯ ควรอยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสม และมีระบบจำหน่ายไฟฟ้ารองรับเพียงพอ ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กำหนด และจะต้องไม่อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่เสี่ยง ต่อการประสบภัยพิบัติหรือภัยธรรมชาติ(5) โรงไฟฟ้าในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน ควรต้องมีมาตรฐานและคุณภาพทางวิศวกรรมการก่อสร้างอุปกรณ์และความปลอดภัย โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าครอบคลุม ตลอดอายุโครงการ 25 ปี(6) ให้มีการรับประกันประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในการผลิตไฟฟ้าตลอดอายุโครงการ 25 ปี โดยสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย
2. เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน ภายใต้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อดำเนินการพัฒนาโครงการฯ ตามหลักเกณฑ์ในการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมัน แก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2556 กบง. ได้พิจารณาโครงสร้างราคา และค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ราคาปิดตลาดของน้ำมันตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อ่อนค่าลง ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และ น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 108.45, 117.30 และ 123.40 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.06, 1.47 และ 0.15 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการประชุมเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 20 สิงหาคม 2556) ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 26 สิงหาคม 2556 อยู่ที่ 32.0604 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง 0.3105 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 20 สิงหาคม 2556 ซึ่งอยู่ที่ 31.7499 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ โดยตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2556 ผู้ค้าน้ำมันฯ ไม่มีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 21,367 ล้านบาท หนี้สินรวม 14,355 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิเป็นบวก 7,032 ล้านบาท
6. จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง และอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง มีผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2556 พบว่าค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล อยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นเพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันเบนซิน กลุ่มน้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 0.30, 0.50 และ 0.20 บาท ตามลำดับ ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.44 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดเฉลี่ยกลุ่มเบนซินอยู่ที่ประมาณ 1.63 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.49 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 21.99 ล้านบาท จากมีรายรับวันละ 28.46 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 6.48 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป
เรื่อง ประกาศกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคครัวเรือน
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้พิจารณาเรื่อง แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน และได้มีมติดังนี้เห็นชอบแนวทางปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน โดยให้ปรับขึ้นเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 เป็นต้นไป จนสะท้อนต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 24.82 บาทต่อกิโลกรัม และเห็นชอบเกณฑ์การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน ทั้งในส่วนของครัวเรือนรายได้น้อย และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร โดยครัวเรือนรายได้น้อย ช่วยเหลือตามการใช้จริงแต่ไม่เกิน 18 กิโลกรัมต่อ 3 เดือน ส่วนร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ช่วยเหลือตามการใช้จริงไม่เกิน 150 กิโลกรัมต่อเดือน ทั้งนี้ ผู้ได้รับการช่วยเหลือสามารถเลือกใช้ถังขนาดใดก็ได้ แต่ไม่เกินขนาดถัง 15 กิโลกรัม
2. การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน ทั้งในส่วนของครัวเรือนรายได้น้อย และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร อาศัยอำนาจตามข้อ 5 ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงและข้อ 9/1 ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2554 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ กองทุนน้ำมันฯ ไม่สามารถจ่ายเงินตรงให้กับผู้ได้รับผลกระทบฯ ดังกล่าวได้ การช่วยเหลือต้องเป็นการดำเนินการผ่านผู้ค้ามาตรา 7 หรือผู้นำเข้าเท่านั้น
3. แนวทางการช่วยเหลือผ่านผู้ค้าตามมาตรา 7 ทำได้โดยการยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาตเกี่ยวกับการจำหน่ายก๊าซให้กลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย ได้แก่ ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพลังงาน ซึ่งผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ต้องจ่ายเงินให้กับร้านค้าก๊าซเพื่อจำหน่ายก๊าซให้ครัวเรือนรายได้น้อย และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ตามหลักเกณฑ์การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน ที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้จัดทำร่างประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคครัวเรือน และเพื่อให้สามารถดำเนินการตามแนวทางการช่วยเหลือผ่านผู้ค้าตามมาตรา 7 ดังกล่าวได้
4. ปัจจุบันโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงแบ่งเป็น 3 ภาค ได้แก่ ภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม โดยรัฐได้ทยอยลดการชดเชยภาระกองทุนน้ำมันฯ ในภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้สะท้อนต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน ทำให้ในปัจจุบันราคาขายปลีกก๊าซ LPG ของแต่ละภาคไม่เท่ากัน ในขณะที่ ภาคครัวเรือนยังคงตรึงราคาขายปลีกอยู่ การดำเนินการออกประกาศฯ ตามข้อ 3 จึงเป็นการดำเนินการเพื่อทยอยลดการชดเชยของกองทุนน้ำมันฯ ในภาคครัวเรือน เพื่อให้ราคาขายปลีกภาคครัวเรือนไปสู่ต้นทุนโรงแยกก๊าซ ในขณะที่ภาคครัวเรือนรายได้น้อยและร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร จะได้รับการช่วยเหลือให้ซื้อก๊าซ LPG ได้ในราคาเดิม โดยการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยลดภาระกองทุนน้ำมันฯ และแก้ไขปัญหาการลักลอบจำหน่ายก๊าซ LPG ข้ามสาขา รวมทั้งการลักลอบส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งโดยรวมจะช่วยแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ในระดับหนึ่ง
มติของที่ประชุม
เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคครัวเรือน โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 เป็นต้นไป
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2556 ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 ดังนี้
1.1 เห็นชอบการกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติจากแนวท่อสำหรับภาคขนส่ง เป็นดังนี้
1.2 มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เป็นผู้พิจารณาค่าบริหารจัดการในการขายส่งก๊าซธรรมชาติจากแนวท่อสำหรับภาคขนส่ง (X) ที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติจากแนวท่อสำหรับภาคขนส่ง
2. สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พิจารณาการคำนวณค่าบริหารจัดการในการขายส่งก๊าซธรรมชาติจากแนวท่อสำหรับภาคขนส่ง (X) โดยมีหลักเกณฑ์ คือ ค่าบริหารจัดการในการขายส่งก๊าซธรรมชาติจากแนวท่อสำหรับภาคขนส่ง (X) เท่ากับค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร บวกกับ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบท่อ สถานีควบคุมความดันและวัดปริมาตรก๊าซธรรมชาติ โดยที่ (1) ข้อมูลค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ในการคำนวณ ทั้งในส่วน การขายและบริหาร การบำรุงรักษาระบบท่อ สถานีควบคุมความดันและวัดปริมาตรก๊าซธรรมชาติ ต้องได้รับการตรวจสอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ (2) ให้ กบง. ทบทวนค่าบริหารจัดการในการขายส่งก๊าซธรรมชาติจากแนวท่อสำหรับภาคขนส่ง (X) เป็นระยะตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
3. สนพ. ได้นำข้อมูลค่าใช้จ่ายย้อนหลัง 3 ปี (ปี 2553 - 2555) ทั้งในส่วนของการขายและบริหาร และการบำรุงรักษาระบบท่อ สถานีควบคุมความดันและวัดปริมาตรก๊าซธรรมชาติ ที่ได้รับการตรวจสอบจาก สตง. แล้วมาคำนวณตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 แล้วได้ผลดังนี้ (1) ค่าบริหารจัดการในการขายส่งก๊าซธรรมชาติจากแนวท่อสำหรับภาคขนส่ง (X) เท่ากับ 3.7336 บาทต่อล้านบีทียู (2) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เท่ากับ 3.3900 บาทต่อล้านบีทียู และ (3) ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบท่อ สถานีควบคุมความดันและวัดปริมาตรก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 0.3436 บาทต่อล้านบีทียู
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณค่าบริหารจัดการในการขายส่งก๊าซธรรมชาติจากแนวท่อสำหรับ ภาคขนส่ง (X)
โดยที่(1) ข้อมูลค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ในการคำนวณ ทั้งในส่วนการขายและบริหาร การบำรุงรักษาระบบท่อสถานีควบคุมความดันและวัดปริมาตรก๊าซธรรมชาติ ต้องได้รับการตรวจสอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)(2) ให้ กบง. ทบทวนค่าบริหารจัดการในการขายส่งก๊าซธรรมชาติจากแนวท่อสำหรับภาคขนส่ง (X) เป็นระยะตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
2. เห็นชอบอัตราค่าบริหารจัดการในการขายส่งก๊าซธรรมชาติจากแนวท่อสำหรับภาคขนส่ง (X) ดังนี้
2.1 ค่าบริหารจัดการในการขายส่งก๊าซธรรมชาติจากแนวท่อสำหรับภาคขนส่ง (X) เท่ากับ 3.7336 บาทต่อล้านบีทียู2.2 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 3.3900 บาทต่อล้านบีทียู2.3 ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบท่อ สถานีควบคุมความดันและวัดปริมาตรก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ0.3436 บาทต่อล้านบีทียู
3. เห็นชอบในหลักการให้มีการทบทวนค่าบริหารจัดการในการขายส่งก๊าซธรรมชาติจากแนวท่อสำหรับภาคขนส่ง (X) เป็นระยะตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน จัดทำรายละเอียดเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานพิจารณา
เรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) นำเข้า
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 ได้พิจารณาเรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) นำเข้า และได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซ LPG จากการนำเข้า โดยให้อัตราเงินชดเชยราคาก๊าซ LPG จากการนำเข้า เท่ากับ ส่วนต่างระหว่างราคาก๊าซ LPG นำเข้าและราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นที่ทำในราชอาณาจักรและเห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณราคาก๊าซ LPG นำเข้า โดยกำหนดให้ราคาก๊าซ LPG นำเข้า เท่ากับราคา CP บวกค่า Premium บวกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยที่ (1) ราคา CP เท่ากับราคาประกาศเปโตรมิน ณ ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบีย เป็นสัดส่วนระหว่างโพรเพนกับบิวเทน 60 ต่อ 40 ณ เดือนที่มีการนำเข้า (2) ค่า Premium เท่ากับค่าขนส่งและค่าธรรมเนียม ณ เดือนที่นำเข้า (3) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ได้แก่ ค่า Insurance, Loss, Demurrage, Import duty, Surveyor/witness fee & Lab expenses, Management Fee และ Depot Operating Expenses และ (4) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายให้ลูกค้าธนาคารทั่วไป ที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยเดือนก่อนหน้าเดือนที่นำเข้า
2. เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2552 กบง. ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการนำเข้า ก๊าซ LPG ในรูป Refrigerated Propane และ Butane โดยการใช้คลังลอยน้ำ (Floating Storage Unit: FSU) โดย กบง. ได้เห็นชอบค่าใช้จ่ายในการเช่าเรือ Refrigerated มาใช้เป็นคลังลอยน้ำ FSU และค่าใช้จ่ายอื่นในการดำเนินการ โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) พิจารณาปรับเพิ่มหลักเกณฑ์การคำนวณอัตราการชดเชยราคาก๊าซ LPG จากการนำเข้าเพิ่มเติมให้ครอบคลุมภาระค่าใช้จ่ายและการลงทุน ในการดำเนินการนำเข้าโดยการใช้ FSU และการขนถ่ายระหว่างเรือ ตามที่เกิดขึ้นจริง
3. ค่าเสียเวลาเรือ (Demurrage) เป็นค่าใช้จ่ายที่คิดคำนวณหลังจากเรือนำเข้าทำการสูบถ่ายเสร็จสิ้น ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 - 6 เดือน เพื่อเจรจาให้ได้ข้อยุติ ดังนั้น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงได้ประมาณการค่าเสียเวลาเรือเป็นตัวเลขเบื้องต้นแจ้งแก่ สนพ. เพื่อใช้คำนวณอัตราชดเชยสำหรับก๊าซ LPG นำเข้า หลังจากที่ ปตท. เจรจาค่าเสียเวลากับผู้ขายจนได้ข้อยุติแล้ว ค่าเสียเวลาเรือในบางเที่ยวเรือที่ ปตท. แจ้ง สนพ. กับค่าเสียเวลาเรือจริง ไม่ตรงกัน ซึ่งมีทั้งประเมินไว้ต่ำกว่าหรือสูงกว่าความเป็นจริง
4. เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 ปตท. ได้มีหนังสือถึง สนพ. เพื่อคืนเงินส่วนต่างค่าเสียเวลาเรือจากการนำเข้าก๊าซ LPG ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 ถึงปัจจุบัน โดยเสนอแนวทาง ดังนี้ (1) เที่ยวเรือนำเข้าช่วงเดือนเมษายน 2551 ถึงเดือนกรกฎาคม 2555 จากเรือนำเข้าทั้งหมด 200 ลำเรือ ต้องปรับปรุงค่าเสียเวลาเรือจำนวน 88 ลำ (คำนวณเกิน 76 ลำ และคำนวณขาด 12 ลำ) สุทธิคิดเกินประมาณ 2.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปตท. จะนำมาหักออกจากเที่ยวเรือที่เป็นคลังลอยน้ำที่จะนำเข้าในอนาคต และ (2) เที่ยวเรือนำเข้าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2555 เป็นต้นไป ปตท. จะนำมาหักออกจากค่าเสียเวลาของเรือเที่ยวใหม่
5. สนพ. สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.) และกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้หารือกับ ปตท. จำนวน 3 ครั้ง เพื่อหาแนวทางดำเนินการคืนเงินส่วนต่างค่าเสียเวลาจากการนำเข้าก๊าซ LPG มีข้อสรุปผลการหารือ ดังนี้ (1) จำนวนเที่ยวเรือนำเข้าตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 ถึงเดือนธันวาคม 2555 จากเรือนำเข้าทั้งหมด 217 ลำเรือ ต้องปรับปรุงค่าเสียเวลาเรือจำนวน 102 ลำ (คำนวณเกิน 85 ลำ และคำนวณขาด 17 ลำ) สุทธิคิดเกินประมาณ 2.772 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 90,800,903 บาท (2) ให้ ปตท. คืนเงินส่วนต่างระหว่างค่า Demurrage ที่เกิดขึ้นจริงกับค่าประมาณการจากเที่ยวเรือที่นำเข้าช่วงในเดือนเมษายน 2551 ถึงธันวาคม 2555 โดยนำมาหักราคาก๊าซ LPG ในการนำเข้าในเดือนกันยายน 2556 และ (3) ให้ ปตท. คืนเงินส่วนต่างระหว่างค่า Demurrage ที่เกิดขึ้นจริงกับค่าประมาณการตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 เป็นต้นไป ที่สามารถเจรจาจนได้ข้อยุติแล้ว โดยนำมาหักราคาก๊าซ LPG นำเข้าในแต่ละเดือนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เป็นต้นไป
6. เพื่อให้การคืนเงินส่วนต่างค่าเสียเวลาจากการนำเข้าก๊าซ LPG เป็นไปตามแนวทางดำเนินการตาม ข้อ 4 ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) นำเข้า โดยหลักเกณฑ์การคำนวณราคาก๊าซ LPG นำเข้า ให้เพิ่มเติมค่า Adjust Demurrage (ส่วนต่างระหว่างค่า Demurrageที่เกิดขึ้นจริงกับค่าประมาณการของเที่ยวเรือก่อนหน้าที่สามารถเจรจาจนได้ข้อยุติแล้ว) ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) นำเข้า ดังนี้
1.1 อัตราเงินชดเชยราคาก๊าซ LPG จากการนำเข้า เท่ากับ ส่วนต่างระหว่างราคาก๊าซ LPG นำเข้าและราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นที่ทำในราชอาณาจักร
1.2 หลักเกณฑ์การคำนวณราคาก๊าซ LPG นำเข้า โดยที่
2. เห็นชอบแนวทางคืนเงินส่วนต่างค่าเสียเวลาเรือ (Demurrage) จากการนำเข้าก๊าซ LPG โดยมอบให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินการ ดังนี้
2.1 คืนเงินส่วนต่างระหว่างค่าเสียเวลาเรือที่เกิดขึ้นจริงกับค่าประมาณการจากเที่ยวเรือที่นำเข้าในช่วงเดือนเมษายน 2551 ถึงธันวาคม 2555 โดยนำมาหักราคาก๊าซ LPG ในการนำเข้าในเดือนกันยายน 25562.2 คืนเงินส่วนต่างระหว่างค่าเสียเวลาเรือ ที่เกิดขึ้นจริงกับค่าประมาณการตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 เป็นต้นไป ที่สามารถเจรจาจนได้ข้อยุติแล้ว โดยนำมาหักราคาก๊าซ LPG นำเข้าในแต่ละเดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เป็นต้นไป
สรุปสาระสำคัญ
1. มื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 กบง. ได้มีมติอนุมัติเงินกองทุนน้ำมันฯ งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2554 ให้ ธพ. ดำเนินงานโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคนิคพลังงาน กระทรวงพลังงานเพื่อก่อสร้างอาคารทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิง ในวงเงิน 67,217,500 บาท แบ่งเป็นวงเงินค่าก่อสร้าง 58,450,000 บาท และค่า K (Escalation Factor) ในวงเงิน 8,767,500 บาท มีระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา
2. ธพ. ได้จัดจ้าง บริษัท ไจแอ็นท คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิง ในวงเงิน 58,450,000 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 180 วัน คือตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2554 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 ต่อมา ธพ. ได้อนุมัติให้แก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างจำนวน 4 ครั้ง ดังนี้ (1) เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2555 โดยเปลี่ยนแปลงบัญชีการจ่ายเงินค่าจ้าง (2) เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2555 เนื่องจากบริษัท ไจแอ็นทฯ ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ทำให้การก่อสร้างอาคารล่าช้า ธพ. จึงได้อนุมัติให้ขยายเวลาดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2555 เรื่องมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย เพิ่มอีก 189 วัน เป็นสิ้นสุดวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 (3) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการก่อสร้าง 4 รายการ และขยายระยะเวลาก่อสร้างเป็นสิ้นสุดวันที่ 20 สิงหาคม 2555 และ (4) เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555 แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการก่อสร้าง 3 รายการ ทำให้ค่าก่อสร้างลดลง 1,796,655.55 บาท จากเดิม 58,450,000 บาท เป็น 56,653,344.45 บาท และขยายระยะเวลาก่อสร้างเพิ่มอีก 30 วัน เป็นสิ้นสุดวันที่ 19 กันยายน 2555
3. เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2555 ธพ. ได้มีหนังสือขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ เนื่องจากการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างในข้างต้น ทำให้เกินระยะเวลาดำเนินการที่ กบง. ได้อนุมัติไว้ คือสิ้นสุดการดำเนินงานวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 จึงได้ขอขยายเพิ่มอีก 9 เดือน ต่อมาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2555 คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (อบน.) ได้มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคนิคพลังงาน กระทรวงพลังงาน เพื่อใช้ก่อสร้างอาคารทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิง จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 เป็นสิ้นสุดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556
4. เนื่องจากผู้รับจ้างไม่สามารถก่อสร้างอาคารทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิง ให้แล้วเสร็จตามกำหนด ซึ่งได้สิ้นสุดสัญญาการก่อสร้างแล้วตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2555 โดยผู้รับจ้างยินยอมเสียค่าปรับตามสัญญา ดังนั้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2556 ธพ. ได้มีหนังสือขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ซึ่งเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2556 อบน. ได้มีมติให้นำเรื่องขอขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคนิคพลังงาน กระทรวงพลังงาน เพื่อใช้ก่อสร้างอาคารทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิง เสนอ กบง. เพื่อพิจารณาต่อไป
5. เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 ธพ. ได้มีหนังสือแจ้งว่า ธพ. ได้บอกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากผู้รับจ้างไม่สามารถปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ และ ธพ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทบทวนแบบและประมาณราคาค่าก่อสร้างใหม่ และปัจจุบันอยู่ระหว่างการประเมินปริมาณงานและราคาค่าก่อสร้างใหม่ ดังนั้น ธพ. จึงขอเปลี่ยนแปลงการขอขยายระยะเวลาดำเนินงานโครงการจากเดิมขอขยายเวลาเป็นสิ้นสุดโครงการวันที่ 31 สิงหาคม 2556 เป็นสิ้นสุดโครงการวันที่ 30 มิถุนายน 2557
6. เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2556 อบน. ได้มีมติรับทราบการบอกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิง ในโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคนิคพลังงาน และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเรื่องการขอเปลี่ยนแปลงการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคนิคพลังงาน กระทรวงพลังงาน เพื่อใช้ก่อสร้างอาคารทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิงเสนอ กบง. เพื่อพิจารณาต่อไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคนิคพลังงาน กระทรวงพลังงาน เพื่อใช้ก่อสร้างอาคารทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิง ดำเนินการโดยกรมธุรกิจพลังงาน จากเดิมสิ้นสุดโครงการวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นสิ้นสุดโครงการวันที่ 30 มิถุนายน 2557 ภายใต้กรอบวงเงินเดิมที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554
กบง. ครั้งที่ 151 - วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 17/2556 (ครั้งที่ 151)
วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. การกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเอทานอล
3. แนวทางการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2556 กบง. ได้มีการพิจารณาโครงสร้างราคาและค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และ 91 ลง 0.30 บาทต่อลิตร ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 และ E85 ลง 0.50 บาทต่อลิตร และปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่เปลี่ยนแปลง และโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 99.49, 114.55 และ 116.97 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบและน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.90 และ 0.83 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ น้ำมันเบนซินปรับตัวลดลง 1.43 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากการประชุมเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 27 พฤษภาคม 2556) ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 อยู่ที่ 30.3321 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง 0.2730 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 ซึ่งอยู่ที่ 30.0591 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ โดยตั้งแต่วันที่ 28 – 31 พฤษภาคม 2556 ผู้ค้าน้ำมันฯ ไม่มีการปรับราคาขายปลีก
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 12,313 ล้านบาท หนี้สินรวม 14,338 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 2,024 ล้านบาท
6. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อ่อนค่าลง และการปรับเพิ่มราคาขายปลีกของผู้ค้าน้ำมันภายในประเทศ ทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว พบว่าค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น เพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.49 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดเฉลี่ยกลุ่มเบนซินอยู่ที่ประมาณ 1.55 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.51 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 22.61 ล้านบาท จากมีรายรับวันละ 196.66 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 174.05 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร จาก 3.40 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 3.00 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและ แผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 การกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเอทานอล
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 เห็นชอบอนุมัติเป้าหมายในการรับจำนำมันสำปะหลังจำนวน 10 ล้านตัน ในปี 2555/56 โดยให้เริ่มดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2555 – 31 มีนาคม 2556 ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะสนับสนุนให้นำมันสำปะหลังไปผลิตเป็นเอทานอล ในปี 2556 โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล : มันสำปะหลัง คือร้อยละ 62 : 38 คิดเป็นปริมาณหัวมันสด 1.6 ล้านตันต่อปี ผลิตเอทานอลได้ 0.76 ล้านลิตรต่อวัน หรือ 255.60 ล้านลิตรต่อปี
2. เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 กบง. ได้เห็นชอบการปรับสูตรราคาเอทานอลตามสัดส่วนการใช้ เอทานอลจากมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้น โดยกำหนดสัดส่วนการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาลต่อมันสำปะหลัง เท่ากับ 62 : 38 พร้อมทั้งให้ พพ. ประสานกรมการค้าภายใน เพื่อตรวจสอบว่าผู้ผลิตเอทานอลใช้มันสำปะหลังในโครงการรับจำนำ โดยผู้ผลิตเอทานอลจากมันเส้นให้ใช้มันเส้นจากองค์การคลังสินค้า (อคส.) ส่วนผู้ผลิตจากมันสดให้เปิดจุดรับซื้อมันสดที่หน้าโรงงาน และผู้ผลิตจากน้ำอ้อยให้ถือว่าอยู่ในกลุ่มกากน้ำตาล และให้กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ดำเนินการตรวจสอบสัดส่วนปริมาณการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาลและมันสำปะหลังที่ใช้ผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอลรายเดือนของผู้ค้าน้ำมันแต่ละราย ให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนด โดยให้รวบรวมรายงานการซื้อมันสำปะหลังเป็นรายเดือน และแจ้งให้ฝ่ายเลขานุการฯ ทราบเป็นรายไตรมาส
3. จากการดำเนินโครงการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังในไตรมาสที่ 1/2556 มีการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาลต่อมันสำปะหลัง ในสัดส่วนร้อยละ 77.5 : 22.5 หรือเท่ากับ 157,721,430 ลิตร และ 45,732,235 ลิตร ตามลำดับ คิดเป็นปริมาณการใช้หัวมันสดจำนวน 286,227.45 ตัน แต่มีการใช้หัวมันสดในโครงการฯ เพียง 53,145.32 ตัน เนื่องจากมีเกษตรกรมาจำนำหัวมันสดในปริมาณน้อย ทำให้ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ผลิตเอทานอลที่เข้าร่วมโครงการฯ อีกทั้ง อคส. ยังไม่ส่งมอบมันเส้นในโครงการฯ ทำให้ผู้ผลิตเอทานอลจำเป็น ต้องใช้มันสดและมันเส้นในประเทศซึ่งอยู่นอกโครงการฯ ซึ่งมันสำปะหลังนอกโครงการฯ ดังกล่าวไม่นับรวมเป็นปริมาณมันสำปะหลังที่ต้องใช้ตามโครงการฯ ผลิตเอทานอลจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เพื่อผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอลจำหน่ายแก่ประชาชน
4. ต่อมาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 กบง. ได้รับทราบผลการดำเนินการ และเห็นว่าการกำหนดสูตรราคาเอทานอลตามสัดส่วนการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาลต่อมันสำปะหลังที่ 62 : 38 จะทำให้ประชาชนต้องรับภาระเกินต้นทุนที่แท้จริง จึงมอบหมายให้ สนพ. หารือกับ ธพ. และ พพ. เพื่อปรับสูตรโครงสร้างราคาเอทานอลให้เหมาะสม สะท้อนสัดส่วนการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาล และมันสำปะหลังที่ใช้ผสมในน้ำมันแก๊สโซฮอลจริงในแต่ละเดือนโดยใช้ราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามสัดส่วนปริมาณที่กระทรวงพลังงานกำหนดในสัดส่วนเอทานอลจากกากน้ำตาลและมันสำปะหลังร้อยละ 62 : 38 ดังนี้
5. สนพ. ได้หารือร่วมกับ พพ. และ ธพ. และได้มีความเห็นร่วมกันว่าเพื่อให้สะท้อนต้นทุนราคาเอทานอลที่แท้จริงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 จึงขอเสนอหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเอทานอล โดยเป็นราคาเฉลี่ย ถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการซื้อขายจริง ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป โดยใช้หลักเกณฑ์การกำหนดราคาเอทานอล ดังนี้
ทั้งนี้ให้ ธ.พ. แจ้งให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ให้จัดทำแผนการจัดซื้อเอทานอลรายไตรมาสในปี 2556 และดำเนินการตรวจสอบสัดส่วนปริมาณการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาลและมันสำปะหลังที่ใช้ผสมเป็นแก๊สโซฮอลรายเดือน เพื่อควบคุมให้ผู้ค้าน้ำมันทุกบริษัท ผสมเอทานอลตามสัดส่วนที่กำหนด โดยเฉลี่ยในปี 2556 เป็นร้อยละ 62 : 38 พร้อมทั้งให้ พพ. แจ้งผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง จัดทำแผนการผลิตเอทานอลและแผนการจัดซื้อมันสำปะหลังจากโครงการรับจำนำฯ รายไตรมาสในปี 2556 และตรวจสอบให้ผู้ผลิตเอทานอลดำเนินการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังในโครงการรับจำนำฯ คิดเป็นปริมาณหัวมันสด 1.6 ล้านตันต่อปี
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเอทานอล โดยเป็นราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการ ซื้อขายจริง ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป โดยใช้หลักเกณฑ์การกำหนดราคาเอทานอล ดังนี้
2. มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานแจ้งให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 จัดทำแผนการจัดซื้อเอทานอล รายไตรมาสในปี 2556 และดำเนินการตรวจสอบสัดส่วนปริมาณการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาลและมันสำปะหลังที่ใช้ผสมเป็นแก๊สโซฮอลรายเดือน เพื่อควบคุมให้ผู้ค้าน้ำมันทุกบริษัท ผสมเอทานอลตามสัดส่วนที่กำหนด โดยเฉลี่ยในปี 2556 เป็นร้อยละ 62 : 38
3. มอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานแจ้งผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง จัดทำแผนการผลิตเอทานอลและแผนการจัดซื้อมันสำปะหลังจากโครงการรับจำนำฯ รายไตรมาสในปี 2556 และตรวจสอบให้ผู้ผลิตเอทานอลดำเนินการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังในโครงการรับจำนำฯ คิดเป็นปริมาณหัวมันสด 1.6 ล้านตันต่อปี
เรื่องที่ 3 แนวทางการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 ในเรื่อง แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG โดยให้ตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน (18.13 บาทต่อกิโลกรัม) ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2555 ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555 กบง. ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน โดยเห็นชอบให้กำหนดกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย โดยอ้างอิงจากฐานข้อมูลครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน จากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และอนุมัติเงินกองทุนน้ำมันฯ งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2556 ให้ สนพ. ในการดำเนินงานโครงการจัดทำฐานข้อมูลร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร และครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ เพื่อรองรับการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซ LPG ในวงเงิน 50 ล้านบาท พร้อมทั้งเห็นชอบร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2556 เห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 เรื่อง แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน ดังนี้ (1) เห็นชอบให้ขยายเวลาตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2556 (2) เห็นชอบให้ปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนให้สะท้อนต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 24.82 บาทต่อกิโลกรัม ภายในปี 2556 โดยมอบหมายให้ กบง. พิจารณาแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน และการบรรเทาผลกระทบกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร และ (3) เห็นชอบมอบหมายให้ สนพ. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาดำเนินการแก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ครัวเรือนรายได้น้อย และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร สามารถรับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ และเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2556 กบง. มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2556
3. คณะอนุกรรมการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน ได้ประชุมหารือ 3 ครั้ง โดยมีความก้าวหน้าดำเนินงาน ดังนี้
3.1 การจัดทำฐานข้อมูล
3.2 แนวทางดำเนินการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน มีรายละเอียดดังนี้ (1) รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านผู้ใช้และผู้จำหน่ายก๊าซ LPG (2) จัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำกับดูแลระบบฐานข้อมูลกลาง (Data Center) และหน่วยงานการยืนยันสิทธิ์ (Call Center) (3) จัดทำข้อมูล ให้เป็นระบบฐานข้อมูลกลาง เพื่อให้ฐานข้อมูลอยู่ในรูปแบบเดียวกัน รวมทั้งกำหนดรหัส (Code) ของผู้ใช้และ ผู้จำหน่ายก๊าซ LPG (4) ออกแบบรายงานข้อมูลส่งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อประกาศรายชื่อ ผู้มีสิทธิ์และผู้ที่ต้องลงทะเบียนเพิ่มเติม (5) กฟน., กฟภ. แจ้งชื่อผู้มีสิทธิ์ผ่านบิลค่าไฟฟ้า และกิจการไฟฟ้าสวัสดิการ สัตหีบแจ้งชื่อผู้มีสิทธิ์ผ่านบัตรรับรองสิทธิ์ (6) ประชาชนสามารถตรวจสอบสิทธิ์ได้ 3 ทาง คือ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.) บิลค่าไฟฟ้า และร้านค้าก๊าซ LPG (7) กรมการค้าภายใน และ อปท. รับลงทะเบียนเพิ่มเติม โดยส่งต่อข้อมูลให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเพื่อปรับปรุงให้ครบถ้วน และส่งข้อมูลเข้าสู่ Data Center ต่อไป (8) เชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลกลางกับ Call Center เพื่อยืนยันสิทธิ์ระหว่างผู้ใช้และผู้จำหน่ายก๊าซ LPG (9) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดูแลระบบ Call Center เพื่อให้ผู้มีสิทธิ์สามารถซื้อก๊าซ LPG ได้ในราคาเดิม และ (10) ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 นำปริมาณจำหน่ายก๊าซ LPG ที่จำหน่ายให้ผู้มีสิทธิ์แจ้งกับกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) รับรองเพื่อลดเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ
4. แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน เมื่อคำนึงถึงความพร้อมข้อมูลเพื่อดูแล ผู้ได้รับผลกระทบแล้วสามารถแยกได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มที่ 1 : กลุ่มที่มีข้อมูลครบถ้วนถูกรวบรวมพร้อมอยู่ในระบบฐานข้อมูลกลาง (Data Center) ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2556 ได้แก่ ครัวเรือนรายได้น้อยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ครัวเรือนรายได้น้อยที่ไม่มีไฟฟ้าไช้ (เฉพาะที่มีข้อมูลครบถ้วน) และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร (เฉพาะที่มีข้อมูลครบถ้วน) และ (2) กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ยังไม่มีข้อมูลครบถ้วนถูกรวบรวมพร้อมอยู่ในระบบฐานข้อมูลกลาง (Data Center) โดยคาดว่าจะครบถ้วนภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ได้แก่ ครัวเรือนรายได้น้อย ที่ไม่มีไฟฟ้าไช้ (ข้อมูลยังไม่ครบถ้วน/ตกสำรวจต้องมีการลงทะเบียนเพิ่มเติม) และ ร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร (ข้อมูลยังไม่ครบถ้วน/ตกสำรวจต้องมีการลงทะเบียนเพิ่มเติม) ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขยายเวลาการในการปรับราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนไปอีก 1 เดือน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2556
5. เพื่อดำเนินตามแนวทางดำเนินการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ ในวงเงิน 93,897,100 บาท ในการดำเนินงานโครงการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน เพื่อให้มีการปรับราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 ตามความจำเป็น โดยให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร โดย (1) กลุ่มผู้มีรายได้น้อยให้สามารถใช้ก๊าซ LPG ได้ในราคาเดิมที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ไตรมาสละ 1 ถัง (ขนาดถังไม่เกิน 15 กิโลกรัม) สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนภูมิภาค กิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัตหีบ และผู้ไม่มีไฟฟ้าใช้ และ (2) สำหรับร้านค้าหาบเร่ แผงลอย มีสิทธิ์ได้รับตามการใช้จริงเดือนละไม่เกิน 10 ถัง (ขนาดถังไม่เกิน 15 กิโลกรัม) ดังนั้น จึงจำเป็นต้องจัดทำระบบฐานข้อมูลกลาง (Data Center) พร้อมทั้งจัดทำงานการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ งานประชาสัมพันธ์ งานลงทะเบียน งานอบรมชี้แจงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง งานจัดตั้งหน่วยงานการให้ข้อมูลกลาง (Hotline)
6. โครงการบรรเทาผลกระทบฯ แบ่งการทำงานเป็น 7 ส่วน ดังนี้
6.1 ส่วนงานการจัดทำระบบฐานข้อมูลกลาง (Data Center) เพื่อให้ข้อมูลครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ครัวเรือนไม่มีไฟฟ้า และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร จาก 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย กฟน. กฟภ. กิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัตหีบ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรมการพัฒนาชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และข้อมูลร้านขายปลีกของกรมธุรกิจพลังงาน อยู่ในรูปแบบเดียวกัน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลกลางในการประมวลผลข้อมูลการได้รับสิทธิ์บรรเทาผลกระทบฯ ฐานข้อมูลกลาง
6.2 ส่วนงานการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ (รอบแรก) ดำเนินการการจัดพิมพ์เอกสาร ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ จัดทำบัตรยืนยันสิทธิ์ และจัดส่งประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ สำหรับกลุ่มข้อมูลที่มีความครบถ้วนถูกรวบรวมพร้อมอยู่ในระบบฐานข้อมูลกลาง (Data Center) ไปยังองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ผ่านไปทางผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด
6.3 ส่วนงานการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ (รอบเพิ่มเติม) ดำเนินการจัดส่งประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ สำหรับกลุ่มที่ยังไม่มีข้อมูลครบถ้วนถูกรวบรวมพร้อมอยู่ในระบบฐานข้อมูลกลาง โดยเมื่อข้อมูลเพิ่มเติมดังกล่าวได้ถูกนำเข้าระบบฐานข้อมูลกลาง จะมีขั้นตอนการจัดส่งประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ เช่นเดียวกับการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ (รอบแรก)
6.4 ส่วนงานการประชาสัมพันธ์ โดยประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ เช่น การจัดทำและติดตั้งคัทเอาท์ แบนเนอร์ทั่วประเทศ จัดทำโปสเตอร์ สปอตวิทยุ สำหรับเผยแพร่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งการผลิตซีดี สปอตวิทยุ สำหรับ อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปเผยแพร่
6.5 ส่วนงานการปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วน หรือตกสำรวจ โดยสำรวจการยืนยันสิทธิ์ ร้านอาหาร หาบเร่ แผงลอยอาหาร และครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ในเขตเทศบาลทั้ง 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร 50 สำนักงานเขต
6.6 ส่วนงานการอบรมชี้แจงแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการบรรเทาผลกระทบฯ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เป็นหน่วยงานโดยตรงที่ผู้ได้รับสิทธิ์มายืนยัน หรือใช้สิทธิ์ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และร้านค้าก๊าซ
6.7 ส่วนงานจัดตั้งหน่วยงานการให้ข้อมูลกลาง (Hotline) จัดเตรียมสถานที่ บุคลากร เพื่อรองรับการพัฒนาระบบ Hotline พร้อมทั้งอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อสนับสนุนการให้บริการข้อมูลข่าวสาร รับเรื่องที่เกี่ยวข้อง เฉลี่ยจำนวน 20 คู่สายต่อเดือน โดยให้บริการ ตั้งแต่วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ในวัน และเวลาราชการ
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิมวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 เป็นวันที่ 30 มิถุนายน 2556
2. เห็นชอบแนวทางดำเนินการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน ดังนี้
(1) รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านผู้ใช้และผู้จำหน่ายก๊าซ LPG
(2) จัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำกับดูแลระบบฐานข้อมูลกลาง (Data Center) และหน่วยงานการยืนยันสิทธิ์ (Call Center)
(3) จัดทำข้อมูลให้เป็นระบบฐานข้อมูลกลาง เพื่อให้ฐานข้อมูลอยู่ในรูปแบบเดียวกัน รวมทั้งกำหนดรหัส (Code) ของผู้ใช้และผู้จำหน่ายก๊าซ LPG
(4) ออกแบบรายงานข้อมูลส่งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์และผู้ที่ต้องลงทะเบียนเพิ่มเติม
(5) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แจ้งชื่อผู้มีสิทธิ์ผ่านบิลค่าไฟฟ้า และกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัตหีบแจ้งชื่อผู้มีสิทธิ์ผ่านบัตรรับรองสิทธิ์
(6) ประชาชนสามารถตรวจสอบสิทธิ์ได้ 3 ทาง คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บิลค่าไฟฟ้า และร้านค้าก๊าซ LPG
(7) กรมการค้าภายใน และ อปท. รับลงทะเบียนเพิ่มเติม โดยส่งต่อข้อมูลให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเพื่อปรับปรุงให้ครบถ้วน และส่งข้อมูลเข้าสู่ Data Center ต่อไป
(8) เชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลกลางกับ Call Center และการยืนยันสิทธิ์ระหว่างผู้ใช้และผู้จำหน่าย ก๊าซ LPG
(9) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดูแลระบบการยืนยันสิทธิ์ เพื่อให้ผู้มีสิทธิ์สามารถซื้อก๊าซ LPG ได้ ในราคาเดิม
(10) ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 นำปริมาณจำหน่ายก๊าซ LPG ที่จำหน่ายให้ผู้มีสิทธิ์แจ้งกับกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) รับรองเพื่อลดเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
โดยมอบหมายให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานการยืนยันสิทธิ์ (ระบบ SMS ยืนยันสิทธิ์) รวมทั้งค่า SMS ยืนยันสิทธิ์ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พร้อมทั้งประสานผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เพื่อร่วมดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว และมอบหมายให้ ธพ. และพลังงานจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบกำกับดูแล ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 จัดทำระบบการช่วยเหลือผู้มีสิทธิ์สามารถซื้อก๊าซ LPG ได้ในราคาเดิม
3. อนุมัติเพิ่มกรอบวงเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2556 อีก 100 ล้านบาท จากเดิมในวงเงิน 150 ล้านบาท เป็นในวงเงิน 250 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินงานโครงการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน ทั้งนี้ ให้นำข้อเสนอโครงการดังกล่าวเสนอคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อพิจารณาต่อไป