
Super User
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 7-13 กรกฏาคม 2557
กพช. ครั้งที่ 92 - วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2545
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 5/2545 (ครั้งที่ 92)
วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล
1.สถานการณ์พลังงานของไทย
- สถานการณ์พลังงานของไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2545
- สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซปิโตรเลียมเหลว
2.องค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
3.คณะกรรมการและระเบียบที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแต่งตั้ง
4.รายงานผลการดำเนินงานของกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม ประจำปีงบประมาณ 2545
5.การปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว
6.การขอยกเลิกคณะกรรมการต่างๆ ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) แต่งตั้ง
7.การแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
8.การปรับปรุงคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันเถื่อนให้สอดคล้องกับการปรับระบบราชการ
9.การปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติว่าด้วยการบริหารกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม พ.ศ. 2535
10.การส่งเสริมและสนับสนุนการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคการขนส่ง
นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ เป็นประธานที่ประชุม
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ เป็นเลขานุการที่ประชุม
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ได้มีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และได้ ชี้ถึงแนวทางนโยบายด้านพลังงานที่จะดำเนินการต่อไป โดยขอให้มุ่งเน้น 4 ด้าน คือ 1) การพัฒนาพลังงานที่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ โดยต้องติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและพลังงานอย่างใกล้ ชิด โดยเฉพาะด้านราคาเชื้อเพลิง 2) การจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ทั้งภายในและภายนอกประเทศ 3) การจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการ และ 4) การพัฒนาด้านพลังงานที่มีความสมดุลย์กับสิ่งแวดล้อม
เรื่อง สถานการณ์พลังงานของไทย
เรื่องที่ 1-1 สถานการณ์พลังงานของไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2545
สรุปสาระสำคัญ
1. ภาพรวมการใช้ การผลิต การส่งออก และการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์
1.1 การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2545 อยู่ที่ระดับ 1,283 พันบาร์เรล น้ำมันดิบต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2544 ทั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นของ พลังงานทุกประเภท สำหรับสัดส่วนของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์แต่ละชนิด ประกอบด้วย น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินและลิกไนต์ และไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้าคิดเป็นร้อยละ 46 37 14 และ 3 ตามลำดับ
1.2 การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2545 อยู่ที่ระดับ 634 พันบาร์เรล น้ำมันดิบต่อวัน ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยที่การผลิตพลังงานทุกชนิด มีปริมาณเพิ่มขึ้น ยกเว้นคอนเดนเสทที่มีการผลิตลดลงเล็กน้อย สำหรับสัดส่วนของการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ แต่ละชนิด ประกอบด้วย การผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ลิกไนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 และไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9
1.3 การนำเข้า (สุทธิ) พลังงานเชิงพาณิชย์ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2545 อยู่ที่ระดับ 810 พันบาร์เรลน้ำมันดิบต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2544 เนื่องจากได้มีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่าปริมาณมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปซึ่งเป็นผลจาก การผลิตของโรงกลั่นที่มีปริมาณมากกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศ โดยที่มูลค่าการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ มีจำนวน 219,154 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 4.7
2. สถานการณ์พลังงานแต่ละชนิด สรุปได้ดังนี้
2.1 การใช้ก๊าซธรรมชาติในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2545 อยู่ที่ระดับ 2,617 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 อันเป็นผลจากนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้ใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนการใช้ น้ำมันเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานาและเยตากุนของพม่ามาใช้เป็นเชื้อ เพลิง ในการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ การใช้ก๊าซธรรมชาติที่ของโรงไฟฟ้า IPP ได้เพิ่มสูงขึ้นด้วย
2.2 ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2545 อยู่ที่ระดับ 74 พันบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยที่แหล่งผลิตน้ำมันดิบที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งเบญจมาศ แหล่งสิริกิติ์ และแหล่งทานตะวัน ได้ผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทคิดเป็นร้อยละ 15 ของความต้องการใช้เพื่อการกลั่นภายในประเทศ จึงทำให้ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวน 725 พันบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นมูลค่า 182,266 ล้านบาท
2.3 การผลิตลิกไนต์ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2545 อยู่ที่ระดับ 13 ล้านตัน ซึ่งผลิตได้จากเหมืองแม่เมาะและกระบี่ของ กฟผ. คิดเป็นร้อยละ 76 และร้อยละ 21 เป็นการผลิตจากเหมืองเอกชน ส่วนลิกไนต์ที่ผลิตได้ถูกนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จำนวน 9.7 ล้านตัน ซึ่งลดลงร้อยละ 5.8 จากปีที่ผ่านมา ส่วนการใช้ลิกไนต์ของภาคเอกชนมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 โดยส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ สำหรับการนำเข้าถ่านหินได้มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ซึ่งถูกนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ SPP จำนวนประมาณ 1.8 ล้านตัน และใช้ในภาคอุตสาหกรรม จำนวน 1.9 ล้านตัน
2.4 การใช้น้ำมันสำเร็จรูปในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2545 อยู่ที่ระดับ 621 พันบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยการใช้น้ำมันสำเร็จรูปทุกชนิดมีปริมาณ เพิ่มขึ้นเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ส่วนปริมาณการผลิตยังมีปริมาณที่สูงกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศ จึงส่งผลให้มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป (สุทธิ) เป็นจำนวน 81 พันบาร์เรลต่อวัน
2.5 ปริมาณการผลิตไฟฟ้าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2545 อยู่ที่ระดับ 74,008 ล้านหน่วย (Gwh) ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยที่การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติมี สัดส่วนของการผลิตสูงสุดคือ ร้อยละ 71.5 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศ สำหรับความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) อยู่ที่ระดับ 16,681 เมกะวัตต์ ขณะที่การใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ส่วนภาคธุรกิจ และที่อยู่อาศัยมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.9 และ 3.3 ตามลำดับ
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 1-2 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซปิโตรเลียมเหลว
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2545 ได้ปรับตัวลดลง 2.7 - 5.2 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามในตะวันออกกลางระหว่างสหรัฐอเมริกา และอิรักได้ผ่อนคลายลง โดยอิรักยินยอมปฏิบัติตามมติคณะความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการปลดอาวุธร้าย แรงอย่างไม่มีเงื่อนไข ประกอบกับมีอุปทานเพิ่มขึ้นจากอิรักส่งออกน้ำมันดิบมากขึ้น และกลุ่มโอเปคยังคงผลิตเกินโควต้า ราคาน้ำมันดิบ ดูไบและเบรนท์ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 อยู่ที่ระดับ 22.53 และ 23.85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
2. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2545 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 92 ได้ปรับตัวลดลง 1.5 และ 1.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากความต้องการใช้ ในภูมิภาคลดลง ในขณะที่ไต้หวันและจีนมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในเดือนตุลาคมได้ปรับตัวสูงขึ้น 1.84 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากประเทศต่างๆ ลดการส่งออกเพื่อใช้ในฤดูหนาว แต่ในเดือนพฤศจิกายนราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วได้อ่อนตัวลง 2.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดเบาบาง ในขณะที่อุปทานเพิ่มสูงขึ้นจากการส่งออกของจีน มาเลเซีย เกาหลี และอินเดีย โดยราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92, ก๊าด, ดีเซล และน้ำมันเตา ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 อยู่ที่ระดับ 27.9, 26.9, 28.3, 28.0 และ 21.1 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
3. ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2545 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และดีเซลหมุนเร็วได้ปรับลดลงสุทธิ 20, 20 และ 40 สตางค์/ลิตร ตามลำดับ ราคา ขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2545 อยู่ที่ระดับ 15.59, 14.59 และ 13.89 บาท/ลิตร ตามลำดับ ส่วนค่าการตลาดและค่าการกลั่นในเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ระดับ 1.45 บาท/ลิตร และ 1.44 บาท/ลิตร ตามลำดับ
4. ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกเดือนพฤศจิกายน 2545 ได้ปรับตัวสูงขึ้น 32 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาอยู่ในระดับ 327 เหรียญสหรัฐ/ตัน และราคาก๊าซ ณ โรงกลั่นอยู่ในระดับ 13.52 บาท/กก. อัตราเงินชดเชยจาก กองทุนน้ำมันฯ 5.32 บาท/กก. คิดเป็นเงิน 899 ล้านบาท/เดือน กองทุนฯ มีรายรับ 878 ล้านบาท/เดือน และ มีรายจ่ายในการชำระหนี้ตามข้อตกลงอีก 400 ล้านบาท/เดือน ทำให้กองทุนฯ มีเงินไหลออกสุทธิ 421 ล้านบาท/เดือน
5. กรมบัญชีกลาง ได้รายงานยอดคงเหลือกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 อยู่ในระดับ 6,135 ล้านบาท โดยมีเงินชดเชยค้างชำระ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2545 รวม 11,013 ล้านบาท และกรม สรรพสามิตได้รายงานว่า ในเดือนตุลาคม 2545 ไม่มีการชำระหนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่เจ้าหนี้ผู้ผลิต ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ทำให้ยอดหนี้ค้างชำระตามข้อตกลงยังคงอยู่ในระดับเดิมที่ 9,366 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
1.รับทราบสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซปิโตรเลียมเหลว
2.มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ รับไปศึกษามาตรการและแนวทางบรรเทาผลกระทบปัญหาราคาน้ำมันแพง โดยการใช้อัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และการสำรองน้ำมันโดยรัฐ
เรื่องที่ 2 องค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดให้มี คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน เป็นกรรมการ และเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อเสนอนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศต่อคณะรัฐมนตรี
2. เนื่องจากการกำหนดนโยบายการบริหารและพัฒนาของประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงโครง สร้างส่วนราชการใหม่ตามกฎหมายปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 โดยในส่วนของพระราชบัญญัติปรับปรุงฯ ได้มีการแก้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ใหม่ คือ ให้เปลี่ยนคำว่า "สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ" เป็น "สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน" คำว่า "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน" เป็น "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน" คำว่า "อธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน" เป็น "อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน" และคำว่า "เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ" เป็น "ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน" นอกจากนี้ ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 300/2545 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ดังนั้น องค์ประกอบของ กพช. จึงปรับเปลี่ยนไป โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน เป็นกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน เป็นกรรมการ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ
มติของที่ประชุม
- ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 คณะกรรมการและระเบียบที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแต่งตั้ง
สรุปสาระสำคัญ
1. ตามความในมาตรา 9 ของพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อาจแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงาน แห่งชาติมอบหมายได้ และปัจจุบันมีระเบียบและคณะกรรมการต่างๆ ที่สำคัญ ซึ่งออกและแต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงาน แห่งชาติ ทั้งหมด 6 คณะ และออกระเบียบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ 1 ฉบับ
2. ระเบียบและคณะกรรมการที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติออกและแต่งตั้ง ประกอบด้วยคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน คณะกรรมการประสานงานป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม คณะกรรมการอำนวยการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการป้องกันและปราบ ปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม คณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนใน การแปรสภาพ ปตท. คณะกรรมการศึกษาการกำหนดราคาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของโรงกลั่นน้ำมันไทย และคณะกรรมการเพื่อดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า และออกระเบียบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติว่าด้วยการบริหารกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม พ.ศ. 2535
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 4 รายงานผลการดำเนินงานของกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม ประจำปีงบประมาณ 2545
สรุปสาระสำคัญ
1. ตามระเบียบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติว่าด้วยการบริหารกองทุนเงินอุด หนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม พ.ศ. 2535 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียมทำ หน้าที่แทน กพช. ในการพิจารณาจัดระเบียบ วางแนวทางและพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนฯ พร้อมทั้งให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำงบแสดงผลการรับจ่ายเงินในระหว่างปี งบประมาณ และงบแสดงฐานะการเงินของกองทุน ณ วันสิ้นปีงบประมาณ เสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
2. คณะกรรมการกองทุนฯ ได้รายงานผลการดำเนินงานของกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม ประจำปีงบประมาณ 2545 ซึ่งเป็นไปตามมติ ของ กพช. เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2543 ที่เห็นชอบ แผนการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ 2544 - 2546 ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้น 66 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2545 คณะกรรมการกองทุนฯ ได้ปรับปรุงแผนการใช้จ่ายเงินตามหมวดรายจ่ายต่างๆ ตามความจำเป็นเร่งด่วนและความต้องการใช้งบประมาณของหน่วยงานต่างๆ โดยได้โอนค่าใช้จ่ายจากหมวดการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สำนักงานจำนวน 152,288 บาท และหมวดการโฆษณาเผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์ จำนวน 96,800 ล้านบาท ไปเป็นค่าใช้จ่ายในหมวดทุนการศึกษา และฝึกอบรม รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,649,088 บาท ส่วนแผนการใช้เงินในหมวดอื่นๆ ยังคงเดิม กล่าวคือ หมวดการค้นคว้า วิจัย และการศึกษา 4 ล้านบาท หมวดการเดินทางเพื่อศึกษา ดูงาน ประชุม อบรมและสัมมนา 5 ล้านบาท และหมวดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน 0.6 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 22 ล้านบาท
3. จากการปรับปรุงแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนดังกล่าว คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติเงินกองทุนเพื่อใช้จ่ายตามหมวดค่าใช้จ่ายต่างๆ สรุปได้ดังนี้ คือ
1) หมวดการค้นคว้า วิจัย และการศึกษา และหมวดการโฆษณาการเผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์ไม่ได้มีการอนุมัติงบ ประมาณ ทั้ง 2 หมวด ทำให้มีเงินคงเหลือเป็นเงิน 6,903,200 บาท
2) หมวดเงินทุนการศึกษาและฝึกอบรม ได้อนุมัติทุนการศึกษาระดับปริญญาโทในประเทศ จำนวน 9 ทุน ทุนฝึกอบรมภาษาอังกฤษในต่างประเทศ จำนวน 8 ทุน และทุนฝึกอบรมภาษาอังกฤษในประเทศ 61 ทุน รวมวงเงิน 5,636,800 บาท
3) หมวดการเดินทางเพื่อศึกษา ดูงาน ประชุม อบรม และสัมมนา ได้อนุมัติงบประมาณให้กับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับพลังงานและ ปิโตรเลียมจำนวน 5 โครงการ ในวงเงิน 1,554,200 บาท
4) หมวดการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สำนักงาน ได้อนุมัติงบประมาณในหมวดครุภัณฑ์สำนักงาน จำนวนเงิน 3,847,712 บาท
5) หมวดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ได้อนุมัติเงินจำนวน 600,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างลูกจ้างชั่วคราว ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ ให้ สนพ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนฯ ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระงบประมาณรายจ่ายจากสำนักงบประมาณ
4. ในส่วนการทบทวนแผนการใช้จ่ายเงินกองทุน ปีงบประมาณ 2546 คณะกรรมการกองทุนฯ ได้พิจารณาข้อมูลจากงบแสดงผลการรับ-จ่ายเงินในระหว่างปีงบประมาณ และงบแสดงฐานะการเงิน ของกองทุน ณ วันสิ้นปีงบประมาณ มีมติยืนยันแผนการใช้จ่ายเงินในปีงบประมาณ 2546 ตามแผนการใช้จ่ายที่กำหนดไว้เดิมจำนวน 22 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
รับทราบผลการดำเนินงานของกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม ประจำปีงบประมาณ 2545
เรื่องที่ 5 การปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวและหนี้สินกอง ทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้ใช้ระบบราคา "กึ่งลอยตัว" และมอบหมายให้คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.) เป็นผู้พิจารณาทางเลือกการดำเนินการใช้ระบบราคา "กึ่งลอยตัว" หรือปรับราคาโดยอัตโนมัติ
2. กพง. เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2544 ได้แจ้งยืนยันการชำระหนี้กองทุนน้ำมันฯ ว่าจะชำระหนี้ให้แก่ เจ้าหนี้ทุกรายตามสัดส่วนหนี้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 โดยรวมไม่ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาทต่อไตรมาส เริ่มมีผลตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2544 เป็นต้นไป และหากกองทุนชำระหนี้ไม่ควบถ้วน ให้จ่ายดอกเบี้ยในอัตรา ค่าเฉลี่ย MLRลบ 1 ต่อปี ของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ นับแต่วันถัดจากวันสิ้นไตรมาส โดยคำนวณจากเงินส่วนที่จ่ายขาดในแต่ละไตรมาส ไปจนถึงวันที่ชำระครบถ้วน
3. ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกเดือนตุลาคม 2545 ได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับ 295 เหรียญสหรัฐ/ตัน ทำให้ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 12.19 บาท/กก. อัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ 4.92 บาท/กก. หรือ 831 ล้านบาท/เดือน กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับจากน้ำมันชนิดอื่นในระดับ 878 ล้านบาท/เดือน มีรายจ่ายเพื่อชดเชยราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในระดับ 831 ล้านบาท/เดือน มีเงินไหลเข้ากองทุนฯ 47 ล้านบาท/เดือน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ที่ได้ตกลงไว้กับผู้ผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวใน ระดับ 400 ล้านบาท/เดือน
4. เพื่อลดภาระการจ่ายเงินชดเชยของกองทุนน้ำมันฯ และรักษาระดับรายได้สุทธิให้สามารถชำระหนี้ได้ตามข้อตกลง สนพ. ได้ดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ฉบับที่ 45 พ.ศ. 2545 ปรับราคาขายส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้น 0.9346 บาท/กก. เป็น 10.5878 บาท/กก. โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ทำให้ราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มรวมภาษี มูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้น 1 บาท/กก. เป็น 14.60 บาท/กก. หรือ เพิ่มขึ้น 15 บาท/ถัง (15 กก.) เป็น 219 บาท/ถัง (15 กก.)
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 6 การขอยกเลิกคณะกรรมการต่างๆ ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) แต่งตั้ง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่ชาติ (กพช.) ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานของ กพช. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน 2) คณะกรรมการอำนายการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการป้องกันและปราบ ปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม 3) คณะกรรมการประสานงานป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม 4) คณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท. 5) คณะกรรมการศึกษาการกำหนดราคาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของโรงกลั่นน้ำมันไทย และ 6) คณะกรรมการเพื่อดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า
2. เนื่องจากการกำหนดนโยบายการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศได้มีการปรับ เปลี่ยน โครงสร้างตามกฎหมายปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 โดยได้จัดตั้งกระทรวงพลังงานขึ้น อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการที่ กพช. ได้แต่งตั้งไว้ บางคณะกรรมการได้ปฏิบัติภารกิจแล้วเสร็จ และบางคณะกรรมการสมควรต้องเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการใหม่ตามนโยบาย ของกระทรวงพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน โดยความเห็นชอบจากปลัดกระทรวงพลังงานขอเสนอให้ยกเลิกคำสั่งการแต่งตั้งคณะ กรรมการต่างๆ ที่ กพช. ได้ออกคำสั่งไว้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพการณ์ปฏิบัติงานของกระทรวง พลังงาน ดังนี้ คือ
(1) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน
(2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการป้องกัน และปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม
(3) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับ ปิโตรเลียม
(4) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท.
(5) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาการกำหนดราคาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของโรงกลั่นน้ำมันไทย
(6) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากสภาพพม่า
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ยกเลิกคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ตามข้อเสนอของฝ่ายเลขานุการฯ
เรื่องที่ 7 การแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 ของพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานขึ้น ซึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (สั่งและปฏิบัติราชการในสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแทนนายก รัฐมนตรี) เป็นประธานกรรมการ และหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้าน พลังงานเป็นกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะนโยบายการบริหารและพัฒนา และมาตรการทางด้านพลังงาน รวมทั้ง เสนอ ความเห็นต่อ กพช. เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และมาตรการอื่นๆ ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน นอกจากนั้น ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ กพช. หรือประธาน กพช. มอบหมาย
2. เมื่อพิจารณาจากอำนาจหน้าที่ของ กพง. เห็นได้ว่าคณะกรรมการดังกล่าวยังมีความจำเป็น มีความสำคัญและมีบทบาทภารกิจที่ต่อเนื่อง สนพ. จึงขอเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.) เพื่อปฏิบัติภารกิจให้บรรลุเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการ กำหนดนโยบายการบริหารและพัฒนาของประเทศต่อไป โดยมีองค์ประกอบของคณะกรรมการ ดังนี้
2.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกรรมการ
2.2 ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นกรรมการ
2.3 ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ พร้อมทั้ง ผู้แทน สนพ. เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้แต่งตั้ง "คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน" เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานที่ยกเลิกไป โดยที่มีองค์ประกอบของคณะกรรมการจำนวน 11 คน
เรื่องที่ 8 การปรับปรุงคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันเถื่อนให้สอดคล้องกับการปรับระบบราชการ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2545 ได้มีมติรับทราบคำสั่งของนายก รัฐมนตรี ที่มีบัญชามอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) มีอำนาจในการกำหนดแนวทางปฏิบัติ กำกับ ดูแลและควบคุมการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง โดยไม่รวมถึงการบริหารงานบุคคล ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันทน์) ในฐานะประธานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จึงได้มีคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 1/2545 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการป้องกัน และปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2545 และคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่ 2/2545 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับ ปิโตรเลียม ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2545 โดยทั้ง 2 คณะมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) เป็นประธานกรรมการ
3. เนื่องจากพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และพระราชกฤษฎีกาโอน กิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับ ปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้โอนอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำกับ ดูแลงานด้านพลังงานในสำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้ไปอยู่ที่กระทรวงพลังงาน และได้มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของหน่วยงานเดิมที่เคยปฏิบัติงานที่เกี่ยว ข้องด้านพลังงาน โดยให้โอนอำนาจหน้าที่เฉพาะด้านพลังงานไปยังหน่วยใหม่ที่สังกัดกระทรวง พลังงานทำให้องค์ประกอบของคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในการป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมมีการเปลี่ยนแปลงไป สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงเสนอให้ยกเลิกคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 1/2545 และ ที่ 2/2545 ดังกล่าวในข้อ 2
4. ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 300/2545 เรื่องมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมเป็นไป อย่างมีระบบ จึงควรให้แต่งตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาเพื่อปฏิบัติงาน สนพ. จึงได้ดำเนินการยกร่างคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่ ..../2545 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม และคณะกรรมการประสานงานการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับ ปิโตรเลียม มาเพื่อพิจารณา
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนคณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมแทนคณะกรรมการ อำนวยการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจ แห่งชาติในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมและคณะ กรรมการประสานงานการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ที่ถูกยกเลิกไป โดยให้ฝ่ายเลขานุการฯ ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าวให้เหมาะสม แล้วนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเพื่อพิจารณา ก่อนเสนอให้ประธานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาลงนาม โดยถือเป็นมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นผู้ พิจารณาจัดสรร การใช้ประโยชน์เงินอุดหนุนจำนวน 350 ล้านบาท ที่บริษัท เอสโซ่แสตนดาร์ด ประเทศไทย จำกัด มอบให้แก่กระทรวงอุตสาหกรรม และตามข้อ 7 ของระเบียบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติว่าด้วยการบริหารกองทุนเงินอุด หนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง กำหนดให้นำเงินกองทุนนี้ไปใช้จ่ายได้เฉพาะดอกผล หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่เกิดจากกองทุน โดยให้ใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันโดยส่วนราชการที่เกี่ยวกับการพลังงานและ ปิโตรเลียม ดังนั้น รายได้ของกองทุน จึงได้มาจากดอกผล ที่ได้จากดอกเบี้ยของเงินต้น ซึ่งนำไปหาผลประโยชน์จากการฝากธนาคาร การซื้อพันธบัตรรัฐบาล และการซื้อตราสารการเงินอื่นๆ ที่กระทรวงการคลังเห็นชอบ และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2545 กองทุนมีเงินต้น 350 ล้านบาท และดอกเบี้ยของกองทุนจำนวนรวม 33,731,858.62 บาท
2. กพช. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ได้วางระเบียบคณะกรรมการนโยบายพลังงาน แห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นกรอบในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนทางด้านการเงินแก่ หน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านการพลังงานและปิโตรเลียม และตามความในข้อ 9 ของระเบียบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติว่าด้วยการบริหาร กองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วยเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นประธาน และผู้แทนจากกรมบัญชีกลาง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการ โดยมีผู้แทน สพช. เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ในการทำ หน้าที่แทนคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติในการจัดสรรเงินกองทุนตามวัตถุ ประสงค์ของกองทุน และกำหนดระเบียบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้เงินกองทุน รวมทั้ง จัดทำงบแสดงฐานะการเงิน งบรายรับ - จ่าย ทุกวันสิ้นปีงบประมาณ ตลอดจนรายงานผลการใช้จ่ายเงินกองทุนต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
3. เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มีการเปลี่ยนแปลงสังกัดจาก สำนักนายกรัฐมนตรีมาอยู่ภายใต้กระทรวงพลังงาน และได้เปลี่ยนแปลงชื่อสำนักงานเป็นสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นอกจากนั้นกระทรวงพลังงานได้รวบรวมหน่วยงานต่างๆ ที่ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับพลังงานและปิโตรเลียมมาไว้ภายใต้กระทรวงพลังงาน แล้ว จึงเห็นควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม พ.ศ. 2535 โดย สนพ. ขอเสนอให้ปรับปรุงระเบียบดังกล่าวเพียงความในข้อ 9 เพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุนฯ เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันของกระทรวงพลังงาน ดังนี้
"ข้อ 9 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ผู้แทนกรมธุรกิจพลังงาน ผู้แทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และผู้แทนกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการ และให้มีผู้แทน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเป็นกรรมการและเลขานุการ"
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้แก้ไขปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติว่าด้วย การบริหารกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม พ.ศ. 2535 เพื่อมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็น ผู้รับผิดชอบและพิจารณาจัดสรรการใช้ประโยชน์ ของกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม แทนคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พร้อมทั้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุน ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน
เรื่องที่ 10 การส่งเสริมและสนับสนุนการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคการขนส่ง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2543 ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการเร่งรัดการดำเนินการมาตรการปรับเปลี่ยนพลังงานจากการใช้น้ำมันเป็นก๊าซ ธรรมชาติมากขึ้นทั้งในการผลิตไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และภาคการขนส่ง โดยมอบหมายให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เร่งดำเนินการขยายการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดในยานพาหนะ (CNG หรือ NGV) โดยให้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในการดัดแปลงและเปลี่ยนเครื่องยนต์รถ ขสมก. ในวงเงิน 270 ล้านบาท และขอรับการสนับสนุนเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ ในการดัดแปลงรถขยะ กทม. ในวงเงิน 160 ล้านบาท รวมทั้งการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ ในการก่อสร้างสถานีบริการก๊าซธรรมชาติอัดของ ปตท. จำนวน 6 สถานี ในวงเงิน 180 ล้านบาท
2. คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2543 ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่เห็นชอบโครงการเร่งรัดการขยายการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคการขนส่ง โดยมอบหมายให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งในส่วนที่ให้ขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ประกอบด้วย การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์โดยสาร NGV จำนวน 82 คัน ในวงเงิน 65 ล้านบาท และการขยายจำนวนรถโดยสาร NGV แบบใช้ก๊าซธรรมชาติเพียงอย่างเดียว จำนวน 70 คัน ในวงเงิน 400-420 ล้านบาท รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์ใช้ก๊าซฯ ในรถแท็กซี่ จำนวน 1,000 คัน ในวงเงิน 20 ล้านบาท
3. ปตท. ได้จัดทำแผนการส่งเสริมการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคการขนส่ง ในช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2551 โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
3.1 การขยายจำนวนสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (สถานีบริการ NGV)
เพื่อรองรับปริมาณความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคการขนส่งที่จะเพิ่ม ขึ้นในอนาคต บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงได้เตรียมแผนการก่อสร้างสถานีบริการ NGV ดังนี้
1) ปตท. จะเร่งขยายจำนวนสถานีบริการ NGV ในเขตกรุงเทพฯ และตามแนวท่อก๊าซฯ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
2) ปตท. จะเร่งดำเนินโครงการท่อส่งก๊าซฯ ไทรน้อย-โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ/ใต้ ให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2547 และเร่งขยายสถานี NGV ตามแนวท่อควบคู่ไปด้วยกัน
3) ปตท. มีแผนเร่งรัดการก่อสร้างสถานีบริการ NGV ในช่วงปี 2545-2551 ดังนี้
ปี | 2545 | 2546 | 2547 | 2548 | 2549 | 2550 | 2551 |
จำนวนก่อสร้างสถานี (สถานี) | 8 | 20 | 20 | 20 | 20 | 20 | 12 |
จำนวนสถานีสะสม (สถานี) | 8 | 28 | 48 | 68 | 88 | 108 | 120 |
จำนวนเงินลงทุน (ล้านบาท) | 294 | 797 | 821 | 797 | 811 | 787 | 494 |
เงินลงทุนสะสม (ล้านบาท) | 294 | 1,091 | 1,911 | 2,708 | 3,519 | 4,306 | 4,800 |
ประมาณการเงินช่วยเหลือ (30%) | 88 | 239 | 246 | - | - | - | - |
ประมาณการเงินช่วยเหลือสะสม (ล้านบาท) | 88 | 327 | 573 | - | - | - | - |
หมายเหตุ : ปัจจุบัน ปตท. ได้ดำเนินการสร้างสถานี NGV แล้ว 8 สถานี และมี 5 สถานีที่เปิดให้บริการเรียบร้อยแล้ว โดยการก่อสร้างสถานีบริการ NGV ในช่วงปี 2545 - 2547 ปตท. จะขอรับการสนับสนุนจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในลักษณะเงินให้เปล่าจำนวนทั้งสิ้น 573 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการลงทุนประมาณร้อยละ 30 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพื่อใช้ในการสร้างสถานีบริการ NGV จำนวนทั้งสิ้น 48 สถานี (ซึ่งรวม 8 สถานีที่มีในปัจจุบันด้วย เนื่องจาก ปตท. ได้ออกค่าใช้จ่ายในส่วนดังกล่าวไปก่อน) ทั้งนี้เนื่องจากการลงทุนในช่วงแรกนี้ยังให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ค่อนข้างต่ำ หลังจากนั้น ปตท. จะรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
3.2 การขยายท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้ครอบคลุมรอบเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
เพื่อขยายการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรมและภาคคมนาคมขนส่ง ซึ่ง ปตท. จะดำเนินโครงการระบบท่อจำหน่ายก๊าซฯ รอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2548 ซึ่งจะทำให้สามารถต่อท่อจากระบบท่อส่งก๊าซฯ หลัก ไปยังสถานีบริการ NGV เป็นผลทำให้ค่าใช้จ่ายในการ ขนส่งถูกลงกว่าการขนส่งโดยการใช้รถขนส่งก๊าซฯ
3.3 การขยายจำนวนรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
การขยายจำนวนสถานีบริการ NGV ดังกล่าวในข้อ 3.1 มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับจำนวน รถที่ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน (ปัจจุบันมีรถที่ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงประมาณ 1,200 คัน ซึ่งแบ่งออกเป็น รถแท็กซี่ 1,100 คัน รถโดยสารประจำทาง ขสมก. 82 คัน และรถโดยสารส่วนตัว 18 คัน) โดย ปตท. คาดว่าในปี 2551 จะมีจำนวนรถที่ใช้ก๊าซ NGV เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 44,500 คัน โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและรถแท็กซี่ จำนวน 40,000 คัน และรถขนส่งมวลชน รถเก็บขยะ และรถบรรทุก จำนวน 4,500 คัน
ทั้งนี้การเพิ่มจำนวนรถยนต์ NGV ดังกล่าวในเบื้องต้น บางส่วนจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ พลังงาน และงบประมาณของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กทม. และ ขสมก. เป็นต้น ซึ่งประกอบด้วย
(1) การเพิ่มจำนวนรถยนต์ NGV ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2543 และวันที่ 5 กันยายน 2543
- การติดตั้งอุปกรณ์ใช้ก๊าซฯ (Conversion kit) ให้แก่รถแท็กซี่ จำนวน 1,000 คัน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ในวงเงินรวม 50 ล้านบาท โดยขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ พลังงาน จำนวน 20 ล้านบาท และ ปตท. ร่วมลงทุนอีก 30 ล้านบาท (เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม 2545 และ คาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จทั้ง 1,000 คัน ภายในสิ้นปี 2545)
- การจัดซื้อรถโดยสาร NGV ใหม่ให้กับ ขสมก. โดยขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ จำนวน 690 ล้านบาท และ ขสมก. สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาตลอดระยะเวลา 10 ปี ซึ่งคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 643 ล้านบาท (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ)
- การปรับปรุงและซ่อมแซมเครื่องยนต์รถโดยสาร NGV ของ ขสมก. จำนวน 44 คัน ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้งานเนื่องจากเสียใช้การไม่ได้ โดยขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ทั้งหมด จำนวน 50 ล้านบาท (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ)
- การจัดซื้อรถเก็บขยะ NGV ใหม่ให้แก่ กทม. จำนวน 69 คัน ในวงเงินรวม 244 ล้านบาท โดยขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจำนวน 160 ล้านบาท และ กทม. ร่วมลงทุน 84 ล้านบาท (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ)
(2) การเพิ่มจำนวนรถยนต์ NGV อื่นๆ
- โครงการรถแท็กซี่ใช้ก๊าซธรรมชาติ 10,000 คัน โดยผู้ประกอบการแท็กซี่จะขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ในลักษณะเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำผ่านสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการแท็กซี่สำหรับค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ NGV โดยจะติดตั้งปีละ 2,000 คัน และเริ่มดำเนินการในปี 2546 เป็นต้นไป
- โครงการปรับปรุงรถใช้งานของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ ให้เป็นรถ NGV จำนวน 600 คัน โดยใช้งบประมาณของ ปตท. ทั้งหมด
3.4 การกำหนดราคาจำหน่าย NGV
ปัจจุบันราคาจำหน่าย NGV อ้างอิงกับราคาขายปลีกของน้ำมันดีเซล โดยมีราคาที่ประมาณ ร้อยละ 50 ของราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งตั้งแต่ ปี 2546 เป็นต้นไป ปตท. จะปรับราคาจำหน่าย NGV ใหม่ โดยจะอ้างอิงกับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 91 ดังนี้
- ปี 2546 - 2548 (1 ม.ค. 46 - 31 ธ.ค. 48) : ราคา NGV = 50% ของราคาน้ำมันเบนซิน 91
- ปี 2549 (1 ม.ค. 49 - 31 ธ.ค. 49) : ราคา NGV = 55% ของราคาน้ำมันเบนซิน 91
- ปี 2550 (1 ม.ค. 50 - 31 ธ.ค. 50) : ราคา NGV = 60% ของราคาน้ำมันเบนซิน 91
- ปี 2551 เป็นต้นไป : ราคา NGV = 65% ของราคาน้ำมันเบนซิน 91
โดยราคาดังกล่าวนี้จะใช้กับผู้ใช้ก๊าซในภาคการขนส่งทั้งหมดทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ปตท. ได้กำหนดเพดานราคาขายปลีก NGV ไว้ที่ระดับไม่เกิน 11 บาท/กก. (หรือประมาณ 10.6 บาท/ลิตร เทียบเท่าเบนซิน 91) แม้ว่าน้ำมันจะมีการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นในระดับใดก็ตาม
3.5 การกำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิงในภาคการขนส่ง
1) การให้เงินสนับสนุนการติดตั้งอุปกรณ์ในรถแท็กซี่และรถส่วนบุคคล รวมทั้งการซื้อ รถโดยสารส่วนบุคคล NGV ในระยะ 5 ปีแรก ซึ่งเป็นเงินคันละ 10,000-15,000 บาท (คิดเป็นเงินประมาณ 400-600 ล้านบาทในช่วงปี 2546-2551)
2) การจัดหารถบริการสาธารณะใหม่ในเขต กทม. ที่ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิง เพื่อ ทดแทนรถเก่าที่หมดอายุการใช้งาน เช่น รถโดยสาร ขสมก. รถจัดเก็บขยะ กทม. เป็นต้น
3) หน่วยงานของรัฐต้องสนับสนุนการใช้รถ NGV เป็นอันดับแรก
3.6 มาตรการส่งเสริมการใช้รถ NGV ที่ต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ
1) กระทรวงคมนาคม :
การลดหย่อนภาษีทะเบียนรถประจำปี สำหรับรถ NGV โดยรถ NGV ชนิด Dedicated ได้รับส่วนลด 75% สำหรับรถ NGV ชนิด Bi-Fuel ได้รับส่วนลด 50%
การกำหนดสัดส่วนรถแท็กซี่ NGV ต่อรถใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่น โดยกำหนดให้ รถแท็กซี่ใหม่ต้องเป็นรถ NGV อย่างน้อย 25% ของจำนวนรถใหม่
การกำหนด Car Zone ที่ต้องใช้รถ NGV เท่านั้น เช่น สนามบินนานาชาติ เขตที่มีมลพิษสูง เป็นต้น
ให้กรมขนส่งทางบกเร่งรัดปรับปรุง แก้ไขกฏกระทรวงที่เกี่ยวกับรถ NGV ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับมาตรฐาน NGV ในต่างประเทศ
ให้กรมการขนส่งทางบกอนุญาตให้รถขนส่งก๊าซฯ NGV วิ่งได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในเขตกรุงเทพฯ
2) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม :
- จัดทำมาตรฐานไอเสียที่เข้มงวดสำหรับรถยนต์ รถโดยสาร และรถบรรทุก ในเขตกรุงเทพฯ
3) กระทรวงการคลัง :
ธนาคารของรัฐและสถาบันการเงิน ให้เงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ติดตั้งอุปกรณ์ก๊าซฯ NGV, ผู้ซื้อรถ NGV และผู้ประกอบการสถานีบริการ NGV
กรมศุลกากร/สรรพากร/สรรพสามิต
ลดหย่อนอากรนำเข้าของถังก๊าซฯ NGV (จากร้อยละ 10) และเครื่องอัดก๊าซฯ (จากร้อยละ 3) ให้เหลือร้อยละ 1
ลดหย่อนหรือยกเว้นอากรนำเข้าและภาษีสรรพสามิต CKD (Chasis with Engine and Accessories) ของรถ NGV ทั้ง รถยนต์, รถโดยสาร และรถบรรทุก
การนำค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ใช้ก๊าซฯ ถังก๊าซฯ และราคาส่วนเพิ่มของรถ NGV มาใช้ลดหย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคลได้
4) กระทรวงอุตสาหกรรม :
โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้สิทธิประโยชน์การลงทุนสูงสุดกับกิจการ ได้แก่ ผู้ผลิตถัง NGV ผู้ประกอบการ/ติดตั้งอุปกรณ์ NGV ผู้ผลิต/ประกอบรถ NGV และผู้ประกอบการสถานี NGV
5) กระทรวงพลังงาน :
โดยกรมธุรกิจพลังงาน ให้เร่งรัดจัดทำประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ความปลอดภัยของสถานีบริการ NGV โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐาน NGV ในต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการขยายจำนวนสถานีบริการ NGV ได้อย่างรวดเร็ว โดย
อนุญาตให้ติดตั้งอุปกรณ์ NGV ได้ในสถานีบริการน้ำมัน
ไม่นำมาตรฐานความปลอดภัยของ LPG มาใช้กับสถานี NGV
สร้างอาคารสองชั้นได้เช่นเดียวกับสถานีบริการน้ำมัน
6) กระทรวงมหาดไทย
- โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนดให้สามารถสร้างสถานีบริการ NGV ได้ในพื้นที่ที่อนุญาตให้ก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันได้
7) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ :
- อนุญาตให้รถขนส่งก๊าซฯ NGV วิ่งได้ตลอด 24 ชั่วโมงในเขตกรุงเทพฯ
3.7 ผลประโยชน์และผลกระทบที่ได้รับ
การใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง นอกจากจะเป็นการใช้พลังงานที่มีอยู่ ภายในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังเป็นการช่วยลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศซึ่งสามารถประหยัดเงินตราที่ ออกนอกประเทศ และช่วยลดผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงผลประโยชน์และผลกระทบที่ได้รับภายในระยะเวลา 10 ปี จากการดำเนินการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่งในข้อ 3.1 - 3.6 โดยเฉพาะการขยายจำนวนสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ 120 สถานี และการขยายจำนวนรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง จำนวน 44,500 คัน ภายในปี 2551 สามารถจำแนกได้ดังนี้
ผลประโยชน์ที่ได้รับ | ผลกระทบที่ได้รับ |
1. ภาครัฐ
|
1. ภาครัฐและผู้ประกอบการ
|
2. ผู้ประกอบการแท็กซี่
|
2. การสนับสนุนอื่นๆ จากภาครัฐ
|
หมายเหตุ :
(1) เฉพาะราคาเชื้อเพลิงไม่รวมภาษี
(2) จากการศึกษากรมควบคุมมลพิษ : ค่ารักษาพยาบาลจากปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ มีมูลค่า 15 บาท/กรัม/ปี, รถ NGV ทดแทนดีเซลช่วยลดฝุ่นละอองเฉลี่ยประมาณ 250 กรัม/คัน/วัน
(3) ณ ระดับน้ำมันดิบ 20-25 US$/BBL, อัตราแลกเปลี่ยน 42 บาท/ US$
3.8 การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง
เพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นไปในแนวทางที่ถูก ต้องและเหมาะสม สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน จึงขอเสนอให้มีการแต่งตั้ง "คณะกรรมการ ส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง" ขึ้นโดยมีองค์ประกอบและหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) องค์ประกอบ
ปลัดกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
ปลัดกรุงเทพมหานคร กรรมการ
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กรรมการ
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กรรมการ
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. กรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
ผู้อำนวยการ ขสมก. กรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรรมการ
นายกสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย กรรมการ
ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
ผู้แทนกระทรวงคมนาคม กรรมการ
ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
ผู้อำนวยการ สนพ. กรรมการและเลขานุการ
ผู้แทน สนพ. กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
(2) อำนาจหน้าที่
ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดในภาคขนส่ง
เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการส่งเสริมแ ละผลักดันการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดใน ภาคการขนส่ง
มีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการทำงานของคณะกรรมการฯ ตามที่เห็นสมควร
การพิจารณาของที่ประชุม
1. ประธานฯ ได้เสนอความเห็นว่าการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคการขนส่ง ควร คำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ความเหมาะสมทางด้านราคา ด้านมลภาวะ และด้านความปลอดภัย เป็นสำคัญ
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ได้เสนอข้อคิดเห็นว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ควรดำเนินการขยายท่อส่งก๊าซธรรมชาติรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้แล้วเสร็จตามที่ได้กำหนดไว้ ในประมาณกลางปี 2548 ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งก๊าซฯ และเป็นการส่งเสริมการใช้ก๊าซฯ เป็นเชื้อเพลิงในภาคการขนส่งและภาคอุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น ตลอดจน ช่วยบรรเทาปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสังคมด้วย อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้างแนวท่อฯ ปตท. ควรดำเนินการ ก่อสร้างสถานีบริการ NGV ชนิด Mother Station และ Daughter Station ขนานควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะช่วย ทำให้การขยายการใช้ก๊าซฯ เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น ผู้แทน ปตท. (นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์) ได้ชี้แจงว่า การดำเนินการขยายท่อส่งก๊าซฯ รอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะได้ดำเนินการให้ผลดีต้องขึ้นกับการปรับเปลี่ยนโรงไฟฟ้าพระนครเหนือและโรง ไฟฟ้าพระนครใต้มาใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และขณะนี้ ปตท. ได้ปรับแผนเร่งการดำเนินการขยายท่อส่งก๊าซฯ ให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นอีก 6 เดือนแล้ว
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ได้เสนอความเห็นว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ควรขยายระยะเวลาในการกำหนดราคาจำหน่าย NGV ที่อิงกับราคาน้ำมันดีเซลไปก่อนในเบื้องต้น เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่งมากยิ่งขึ้น โดยเห็นควรให้กำหนดราคาจำหน่าย
ปี 2546 - 2549 (1 ม.ค. 46 - 31 ธ.ค. 49) : ราคา NGV = 50% ของราคาน้ำมันดีเซล
ปี 2550 (1 ม.ค. 50 - 31 ธ.ค. 50) : ราคา NGV = 55% ของราคาน้ำมันเบนซิน 91
ปี 2551 (1 ม.ค. 51 - 31 ธ.ค. 51) : ราคา NGV = 60% ของราคาน้ำมันเบนซิน 91
ปี 2552 เป็นต้นไป : ราคา NGV = 65% ของราคาน้ำมันเบนซิน 91
นอกจากนี้ ได้เสนอให้กำหนดเพดานราคาขายปลีก NGV ไว้ที่ระดับไม่เกิน 10 บาท/ลิตรเทียบเท่าเบนซิน 91 (10.34 บาท/กก. NGV) เพิ่มเติมด้วย ซึ่งต่ำกว่าราคาที่ ปตท. เสนอมา (ปตท. เสนอเพดานราคา ขายปลีก NGV ไว้ที่ระดับ 11 บาท/กก. NGV) ตลอดจนเห็นควรให้ปรับแผนเร่งรัดการก่อสร้างสถานีบริการ ดังนี้
ปี | 2545 | 2546 | 2547 | 2548 | 2549 | 2550 | 2551 |
จำนวนก่อสร้างสถานี (สถานี) | 8 | 22 | 20 | 20 | 20 | 20 | 10 |
จำนวนสถานีสะสม (สถานี) | 8 | 30 | 50 | 70 | 90 | 110 | 120 |
จำนวนเงินลงทุน (ล้านบาท) | 294 | 891 | 821 | 797 | 810 | 787 | 400 |
เงินลงทุนสะสม (ล้านบาท) | 294 | 1,185 | 2,006 | 2,803 | 3,613 | 4,400 | 4,800 |
ประมาณการเงินช่วยเหลือ (30%) | 88 | 268 | 246 | - | - | - | - |
ประมาณการเงินช่วยเหลือสะสม (ล้านบาท) | 88 | 356 | 602 | - | - | - | - |
4. ผู้แทนกระทรวงการคลัง (นายสถิตย์ ลิ่มพงษ์พันธุ์) ได้มีข้อซักถามเกี่ยวกับความมั่นคงของแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติในประเทศ ซึ่งผู้แทน ปตท. (นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์) ได้ชี้แจงว่า ปริมาณสำรอง ก๊าซธรรมชาติที่เป็น Proved and Probable Reserves ขณะนี้มีประมาณการใช้ได้นานประมาณ 30 ปี โดยที่ โครงการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ในภาคขนส่งจะใช้ก๊าซประมาณร้อยละ 2 ของปริมาณสำรองที่มีอยู่ ส่วนความมั่นคงในการผลิต ขณะนี้มีท่อส่งก๊าซอยู่ 2 แนว และแหล่งผลิต 10 แห่ง โดยมีระบบท่อส่งก๊าซฯ ที่ต่อเชื่อมโยงกันอย่างครบวงจร อย่างไรก็ตาม การค้นพบก๊าซแหล่งใหม่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศ ดังนั้น ปริมาณสำรองก๊าซจะเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
5. ประธานฯ ได้มีข้อซักถามเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงใน ภาคการขนส่ง ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (นายวิโรจน์ คลังบุญครอง) ได้ชี้แจงว่า มาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการ NGV ขณะนี้ยังไม่พบปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากประเทศไทยได้ใช้มาตรฐานความปลอดภัยเช่นเดียวกับมาตรฐานของประเทศ มาเลเซีย ซึ่งเป็นมาตรฐานที่มีความปลอดภัยสูง เชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานที่ มาเลเซียใช้มากว่า 10 ปี จวบจนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ รัฐจึงควรจัดประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับเรื่องก๊าซ ธรรมชาติ (NGV) ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการต่อต้านจากประชาชนที่อาจยังไม่เข้าใจเรื่องก๊าซธรรมชาติดีพอ
6. ประธานฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า จากมาตรการส่งเสริมการใช้ก๊าซฯ ที่ กพช. ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อนำเสนอขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ขอให้เป็นไปตามระเบียบของกองทุนฯ
7. ผู้แทนกระทรวงการคลัง ได้เสนอความเห็นว่า ในส่วนการลดหย่อนหรือยกเว้นด้านภาษีอากร กระทรวงการคลังเห็นด้วยในหลักการ แต่ขอรับกลับไปพิจารณาในรายละเอียดก่อน โดยเฉพาะเรื่องลดหย่อน/ยกเว้นอากรนำเข้าและภาษีสรรพสามิต CKD ของรถ NGV ซึ่งผู้แทน ปตท. (นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์) ได้ ชี้แจงว่า ในระยะแรกขอให้กระทรวงการคลังยกเลิกอากรนำเข้าและภาษีสรรพสามิต CKD เฉพาะรถ NGV ที่จะมาทดแทนรถยนต์ดีเซลก่อนเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีจำนวนน้อยและใช้เงินลงทุนสูง สำหรับรถ NGV ที่จะมาทดแทนรถยนต์เบนซิน กระทรวงการคลังอาจนำไปพิจารณาในลำดับถัดไป
8. ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เสนอความเห็นว่า ภาครัฐควรให้การสนับสนุนในการดัดแปลง รถยนต์ที่เปลี่ยนมาใช้ก๊าซฯ เป็นเชื้อเพลิง เฉพาะรถสาธารณะ ได้แก่ รถแท็กซี่ รถโดยสารประจำทาง รถเก็บขยะ เป็นต้น สำหรับในส่วนของรถยนต์ส่วนบุคคลที่จะเปลี่ยนมาใช้ก๊าซฯ เป็นเชื้อเพลิง ภาครัฐไม่จำเป็นต้องให้การสนับสนุนแต่อย่างใด เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่จะได้รับผลประโยชน์จากรถสาธารณะมากกว่ารถส่วนบุคคล
9. ประธานฯ ได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการที่จะจัดตั้งขึ้นว่า สนพ. ควรเพิ่มเติมตัวแทนของกลุ่มผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้แทนของกลุ่มผู้ประกอบการแท็กซี่ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลัก ใน "คณะกรรมการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง" ที่จะจัดตั้งขึ้น และได้มอบหมายให้คณะกรรมการชุดนี้รับไปพิจารณารายละเอียดของมาตรการส่งเสริม การใช้ NGV ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ชี้แจงว่า การดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าวและการจัดทำรายละเอียดของมาตรการคาด ว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จภายใน 45 วัน
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบในหลักการของแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ เป็น เชื้อเพลิงในภาคการขนส่ง ตามที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เสนอมา โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ในส่วนที่ขอรับการสนับสนุนทางด้านการเงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการ อนุรักษ์พลังงาน จะต้องเป็นไปตามระเบียบของกองทุนฯ
2. เห็นชอบให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ปรับเร่งการสร้างสถานีบริการ NGV เพิ่มขึ้น ดังนี้
ปี | 2545 | 2546 | 2547 | 2548 | 2549 | 2550 | 2551 |
จำนวนก่อสร้างสถานี (สถานี) | 8 | 22 | 20 | 20 | 20 | 20 | 10 |
จำนวนสถานีสะสม (สถานี) | 8 | 30 | 50 | 70 | 90 | 110 | 120 |
จำนวนเงินลงทุน (ล้านบาท) | 294 | 891 | 821 | 797 | 810 | 787 | 400 |
เงินลงทุนสะสม (ล้านบาท) | 294 | 1,185 | 2,006 | 2,803 | 3,613 | 4,400 | 4,800 |
ประมาณการเงินช่วยเหลือ (30%) | 88 | 268 | 246 | - | - | - | - |
ประมาณการเงินช่วยเหลือสะสม (ล้านบาท) | 88 | 356 | 602 | - | - | - | - |
3. เห็นชอบให้กำหนดราคาขายปลีก NGV ที่จะใช้กับผู้ใช้ก๊าซในภาคการขนส่งทั้งหมดทั่วประเทศ ดังนี้
ปี 2546 - 2549 (1 ม.ค. 46 - 31 ธ.ค. 49) : ราคา NGV = 50% ของราคาน้ำมันดีเซล
ปี 2550 (1 ม.ค. 50 - 31 ธ.ค. 50) : ราคา NGV = 55% ของราคาน้ำมันเบนซิน 91
ปี 2551 (1 ม.ค. 51 - 31 ธ.ค. 51) : ราคา NGV = 60% ของราคาน้ำมันเบนซิน 91
ปี 2552 เป็นต้นไป : ราคา NGV = 65% ของราคาน้ำมันเบนซิน 91
รวมทั้งเห็นชอบให้กำหนดเพดานราคาขายปลีก NGV ไว้ที่ระดับไม่เกิน 10 บาท/ลิตรเทียบเท่าเบนซิน 91 (10.34 บาท/กก. NGV) แม้ว่าน้ำมันจะมีการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นในระดับใดก็ตาม
4. เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง โดยประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกรรมการ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตัวแทนจากผู้ประกอบการรถแท็กซี่ เป็นกรรมการ เพื่อทำหน้าที่ศึกษา และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการส่งเสริม และผลักดันการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง ก่อนนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อพิจารณาต่อไป และมอบหมายให้ ปตท. กลับไปจัดทำรายละเอียด "แผนการส่งเสริมและสนับสนุนการนำก๊าซธรรมชาติ มาใช้เป็นเชื้อเพลิง ในภาคการขนส่งในช่วงปี พ.ศ. 2546-2551" เพื่อนำเสนอคณะกรรมการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่งเพื่อพิจารณา และนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่งให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันต่อไป
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 26 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2558
กพช. ครั้งที่ 91 - วันพุธที่ 2 ตุลาคม 2545
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 4/2545 (ครั้งที่ 91)
วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล
1.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
2.มาตรการประหยัดพลังงานและสาธารณูปโภคในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ
3.มาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อรองรับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิรัก
4.แนวทางการกำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค
นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายเมตตา บันเทิงสุข รองเลขาธิการฯ รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกช่วงไตรมาสที่ 3 ได้ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ประมาณ 1.1 - 2.0 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากความต้องการใช้ที่เริ่มสูงขึ้นและจากความวิตกกังวลว่าอาจจะเกิดสงครามใน ตะวันออกกลางระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิรัก ประกอบกับกลุ่มโอเปคได้ตกลงที่จะคงปริมาณการผลิตสำหรับไตรมาสที่ 4 ถึงกลางปี 2546 ไว้ที่ระดับเดิม 21.7 ล้านบาร์เรล/วัน และสถาบันปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกา (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบสำรองของสหรัฐอเมริกาลดลง 2.19 ล้านบาร์เรล เหลือ 289.8 ล้านบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2545 อยู่ที่ระดับ 27.50 และ 28.85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
2. ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ในช่วงไตรมาสที่ 3 น้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 92 ได้ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยของไตรมาสที่ 2 ประมาณ 0.6 และ 0.8 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 28.94 และ 27.59 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากความต้องการใช้น้ำมันเบนซินใน ภูมิภาคเอเซียลดลง และปริมาณสำรองในตลาดโลกค่อนข้างสูง ส่วนน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาได้ปรับตัวสูงขึ้น 1.2 และ 1.7 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและความต้องการใช้ในภูมิภาคที่เพิ่ม สูงขึ้น ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 ก๊าด ดีเซล และน้ำมันเตา ณ วันที่ 30 กันยายน 2545 อยู่ที่ระดับ 31.2, 29.8, 33.5, 31.9, และ 26.8 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
3. ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ได้ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ 2 โดยราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 91 ได้ปรับตัวลดลง 46 สตางค์/ลิตร และดีเซลหมุนเร็วได้ปรับตัวลดลง 5 สตางค์/ลิตร ตามราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ที่อ่อนตัวลง และค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้น ทำให้ต้นทุนน้ำมันสำเร็จรูปของไทยลดลงประมาณ 20 - 27 สตางค์/ลิตร ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 30 กันยายน 2545 อยู่ที่ระดับ 16.29, 15.29 และ 14.29 บาท/ลิตร ตามลำดับ ส่วนค่าการตลาดและค่าการกลั่นในไตรมาสที่ 3 ได้ปรับตัวลดลงในระดับเดียวกัน 0.18 บาท/ลิตร โดยค่าการตลาดและค่าการกลั่นของเดือนกันยายนอยู่ที่ระดับ 1.15 และ 0.66 บาท/ลิตร ตามลำดับ
4. แนวโน้มราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น จากความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาว และการที่กลุ่มโอเปคกำหนดปริมาณการผลิตไว้เท่าเดิมที่ระดับ 21.7 ล้านบาร์เรล/วัน นอกจากนี้ ปัจจัยอื่นๆ ที่จะทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น คือ ภาวะสงครามที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิรัก ดังนั้น จึงคาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์จะปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 2 - 3 เหรียญสหรัฐ ต่อบาร์เรล โดยราคาจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 29 - 30 และ 30 - 31 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ ส่วนราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์จะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ซึ่งปริมาณความต้องการใช้ในฤดูหนาวจะเพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่า ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลหมุนเร็วในตลาดจรสิงคโปร์ช่วงไตรมาสที่ 4 จะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 31 - 33 และ 32 - 34 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และดีเซลหมุนเร็วจะอยู่ที่ระดับ 16 - 17, 15 - 16 และ 14 - 15 บาท/ลิตร ตามลำดับ
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 มาตรการประหยัดพลังงานและสาธารณูปโภคในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 ให้หน่วยงานราชการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน ดังต่อไปนี้
1) ให้หน่วยงานราชการระดับกรม จัดตั้งคณะทำงานที่มีหัวหน้าส่วนราชการเป็นประธาน เพื่อให้รับผิดชอบในคณะทำงานในการกำหนดแผนงาน นโยบาย และเป้าหมายในการลดพลังงานให้ได้อย่างน้อย ร้อยละ 5 ของปริมาณการใช้เดิมในปี 2544 และให้แจ้งผลการดำเนินงานให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ทราบเพื่อรวบรวมไว้เป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายต่อไป
2) ให้รถราชการที่ใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 91 ได้ ต้องใช้ออกเทน 91 โดยให้กรมบัญชีกลางออกเป็นระเบียบบังคับ และให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบการปฏิบัติของส่วนราชการอย่างเคร่งครัด และให้มีการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ของรถราชการให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ
3) ให้ปรับอุณหภูมิห้องปรับอากาศเป็น 25-26ºC และรณรงค์เลิกใส่เสื้อนอก โดยให้ข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำระดับสูง ทำเป็นตัวอย่าง
4) ให้ดูแลเรื่องการใช้ลิฟท์ของหน่วยงานราชการ โดยให้หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟท์กรณีขึ้นลงเพียง ชั้นเดียว หรือจัดการให้ระบบลิฟท์สามารถหยุดได้เว้นชั้น และควรหาวิธีปรับปรุงลิฟท์ให้สามารถตัดไฟได้อัตโนมัติหากไม่มีการใช้งานเป็น เวลานาน
2. สพช. มอบหมายให้มหาวิทยาลัยวิทยาลัยมหิดลดำเนินโครงการลดการใช้พลังงานในหน่วย งานราชการระดับกรมและรัฐวิสาหกิจ โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการการอนุรักษ์พลังงานตามมติคณะรัฐมนตรี (ศอม.) เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโครงการฯ กับ สพช. หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ในการให้คำแนะนำแนวทางการลดการใช้พลังงานแก่หน่วยงาน และการจัดกิจกรรมรณรงค์ลดการใช้พลังงานตามแผนงานที่ได้วางไว้ ขณะเดียวกันได้เพิ่มศักยภาพให้แก่คณะทำงานของหน่วยงานในการจัดทำแผนปฎิบัต ิการด้วยการจัดกิจกรรมค่ายฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งผลการดำเนินโครงการมีหน่วยงานที่รายงานข้อมูลการใช้พลังงานครบถ้วนจำนวน 130 แห่ง (จากหน่วยงานราชการระดับกรมและรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 248 แห่ง) และจากการประมวลข้อมูลรายงานการใช้พลังงานที่ ศอม. ได้รับสรุปได้ว่าในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2545 เปรียบเทียบกับ 2 ไตรมาสแรกของปี 2544 ทีหน่วยงานที่สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า-น้ำมันได้มากกว่าร้อยละ 5 จำนวน 32 หน่วยงาน
3. ฝ่ายเลขานุการฯ มีข้อเสนอแนะเห็นควรเร่งรัดให้หน่วยงานราชการระดับกรมและรัฐวิสาหกิจดำเนิน การตามมาตรการประหยัดพลังงานตามมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด โดยให้ สพช. แจ้งรายชื่อ หน่วยงานที่ไม่ให้ความร่วมมือให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาทุก 3 เดือน เพื่อให้คณะรัฐมนตรีสั่งการโดยตรงไปยังหน่วยงานนั้นๆ เพื่อถือปฏิบัติต่อไป อีกทั้งให้สำนักงาน กพ. กำหนดให้ใช้เป้าหมายในการลดการใช้พลังงานและสาธารณูปโภคร้อยละ 5 ของประมาณการใช้เฉลี่ยปีงบประมาณ 2543 - 2544 เป็นกรอบการวัดและการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานของส่วนราชการ เพื่อขอรับเงินรางวัลประจำปี โดยเริ่มจากปี งบประมาณ 2546 เป็นต้นไป และให้สำนักงบประมาณกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินงบประมาณ หมวดสาธารณูปโภค ในส่วนที่หน่วยงานสามารถประหยัดได้ เพื่อนำเป็นเงินสวัสดิการของหน่วยงานนั้นๆ
มติของที่ประชุม
เห็นชอบมาตรการประหยัดพลังงานและสาธารณูปโภคในหน่วยงานราชการและรัฐ วิสาหกิจ ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ ทั้งนี้ ให้ปรับแนวทางไปตามข้อพิจารณาของที่ประชุม
เรื่องที่ 3 มาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อรองรับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิรัก
สรุปสาระสำคัญ
1. รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้เชิญประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือ เรื่อง ผลกระทบของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกา และอิรัก เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2545 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้ สพช. รับไปจัดทำข้อเสนอมาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อ นำเสนอคณะรัฐมนตรีในการประชุมวันที่ 8 ตุลาคม 2545
2. สพช. ได้จัดทำข้อเสนอมาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อรองรับผลกระทบปัญหาราคาน้ำมันแพงและภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง อันเนื่องมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิรัก โดยแบ่งมาตรการเป็น 3 ระดับ ตามความรุนแรงของภาวะการขาดแคลนน้ำมันในประเทศ ดังนี้
1) มาตรการระดับต้น เมื่อราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูงแต่ยังไม่เกิดภาวะขาดแคลน ให้กำหนดเป็นมาตรการบังคับสำหรับส่วนราชการ ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฎิบัติตามจะมีโทษทางวินัย (ขัดมติคณะรัฐมนตรี) โดยให้ทุกส่วนราชการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 จากปริมาณการใช้เฉลี่ยต่อเดือนของปีงบประมาณ 2544 และลดค่าใช้จ่ายในส่วนน้ำมันเชื้อเพลิงลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 จากค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของปีงบประมาณ 2544 ส่วนมาตรการสำหรับประชาชนทั่วไป ให้เป็นการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณการใช้พลังงาน เช่น ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 - 26 องศาเซลเซียส การขอความร่วมมือจากภาคเอกชนในการปิดไฟป้ายโฆษณา และไฟส่องอาคารภายหลังเวลา 24.00 น. การปิดเปิดห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ในช่วงเวลา 22.00 - 10.00 น. เป็นต้น
ทั้งนี้ มาตรการในระดับต้น ให้ดำเนินการทันที เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
2) มาตรการระดับกลาง เป็นมาตรการบังคับเพื่อลดการใช้พลังงานให้อยู่ในระดับที่จัดหาได้ โดยจะใช้มาตรการนี้เมื่อเริ่มมีการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดขึ้น (การจัดหาอยู่ในระดับต่ำกว่าปริมาณการใช้แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80) และเป็นมาตรการชั่วคราวเฉพาะช่วงที่มีการขาดแคลนน้ำมันเท่านั้น โดยให้ทุกส่วน ราชการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จากปริมาณการใช้เฉลี่ยต่อเดือนของปีงบประมาณ 2544 และลดค่าใช้จ่ายในส่วนน้ำมันเชื้อเพลิงลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 จากค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของปีงบประมาณ 2544 ส่วนมาตรการสำหรับประชาชนทั่วไป เป็นมาตรการบังคับ เช่น การจำกัดความเร็วรถยนต์ไม่เกิน 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง การลดเวลาการเปิดปิดสถานีบริการน้ำมัน วันธรรมดาเปิดช่วง 05.00 - 21.00 น. และปิดบริการในวันอาทิตย์ การลดเวลาการใช้ไฟฟ้าในตึกสาธารณะและสถานที่บริการต่างๆ โดยให้ใช้ไฟส่องป้ายโฆษณาสินค้าหรือบริการ หรือประดับสถานที่ทำธุรกิจได้เฉพาะระหว่าง เวลา 18.00 - 21.00 น. และกำหนดช่วงระยะเวลาเปิด - ปิด ของห้างสรรพสินค้า และโรงภาพยนตร์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านพลังงาน เป็นผู้พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมกับสถานการณ์ หากเห็นว่าจำเป็นให้นำเสนอ ครม./กพช. อนุมัติการใช้มาตรการระดับกลาง บางมาตรการหรือทุกมาตรการแล้วแต่จะเห็นว่าเหมาะสมกับสถานการณ์
3) มาตรการระดับรุนแรง เมื่อมาตรการบังคับต่างๆ ไม่สามารถทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันลดลงได้จนกระทั่งการจัดหาอยู่ในระดับไม่ ถึงร้อยละ 80 ของปริมาณการใช้ จำเป็นต้องใช้มาตรการในการปันส่วน น้ำมัน เพื่อให้มีน้ำมันใช้อย่างทั่วถึงและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงมาตรการป้องกันการกักตุน การควบคุมการจำหน่าย และการปันส่วนน้ำมัน
มติของที่ประชุม
เห็นชอบมาตรการประหยัดพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่าง สหรัฐอเมริกาและอิรัก โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ รับไปดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้อง กับการพิจารณาของที่ประชุม เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
เรื่องที่ 4 แนวทางการกำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายเนวิน ชิดชอบ) ได้นำเสนอต่อที่ประชุมว่า รองนายก รัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์จัดทำแผนมาตรการในการกำกับดูแลราคาสินค้าและ บริการในกรณีเกิดวิกฤตขึ้น และให้นำเสนอในการประชุมครั้งนี้เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยแนบพร้อมกับมาตรการประหยัดพลังงาน และได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการกองรักษาสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค (นางผุสดี กำปั่นทอง) สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. กรมการค้าภายในได้กำหนดแนวทางการกำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคออกเป็น 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการจัดระบบราคาสินค้า มาตรการทางกฎหมาย และมาตรการเสริม
2. มาตรการจัดระบบราคาสินค้า จัดเป็นมาตรการทั่วไปเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมในราคาสินค้าแก่ ประชาชน และเพื่อให้มีสินค้าที่เพียงพอกับความต้องการไม่เกิดการขาดแคลน ทั้งนี้ ได้กำหนดวิธีดำเนินการ โดยติดตามภาวะราคาจำหน่ายอย่างใกล้ชิด ให้การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าสอดคล้องกับภาวะต้นทุนที่แท้จริง โดยเฉพาะสินค้า 73 รายการ ซึ่งเป็นสินค้าที่เฝ้าติดตาม (Watch List) และจัดระบบติดตามผลกระทบจากปัจจัยการผลิตสินค้าที่สำคัญที่จะมีผลต่อต้นทุน สินค้าและต่อราคาจำหน่าย รวมทั้ง กำหนดระบบการติดตามเพื่อเตือนภัย (Warning System) สำหรับสินค้าที่เฝ้าติดตาม (Watch List) โดยให้ความสำคัญด้านราคา ตรวจสอบติดตามกำกับดูแลให้ผู้ประกอบการค้าในแหล่งผลิต ตลาดสด แหล่งจำหน่ายเป็นประจำ เพื่อให้ปฏิบัติตามกฎหมาย และจัดระบบการกระจายสินค้าและประสานการดำเนินการค้าระบบการจัดการสินค้าส่ง ออก/นำเข้า เป็นต้น
3. มาตรการทางกฎหมาย ได้มีแนวทางการดำเนินการโดยการใช้อำนาจตามมาตรา 29 และ 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ในการป้องกันการฉวยโอกาสเอาเปรียบในด้านราคาต่อผู้บริโภคและการกักตุนสินค้า และใช้อำนาจตามมาตรา 25 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ในการกำหนดรายการสินค้าควบคุมเพิ่มเติม นอกจากนี้ โดยการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 ในการดูแลปริมาณสินค้าทั้งในด้าน ชั่ง ตวงวัด และการบรรจุหีบห่อให้ถูกต้อง พร้อมทั้ง เปิดช่องทางการร้องเรียนเรื่องราคาสินค้าและบริโภคที่ผู้บริโภคไม่ได้รับ ความเป็นธรรมโดยทางโทรศัพท์สายด่วน 1569 และให้มีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
4. มาตรการเสริมหรือมาตรการแทรกแซง ใช้ในกรณีที่จำเป็นเพื่อจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคเสริมให้กับประชาชน ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการโดยการจัดร้านค้าจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคธงฟ้า ราคาประหยัด และเชื่อมโยงให้ผู้จำหน่ายปลีกในท้องถิ่นรับสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิต/ผู้แทน จำหน่าย (กรณีสินค้าในท้องถิ่นขาดแคลน หรือมีราคาจำหน่ายสูงเกินสมควร) พร้อมทั้ง ประสานงานกับส่วนราชการอื่นเพื่อให้มีการปรับลดอัตราภาษี เพิ่ม - ลด ปริมาณการนำเข้า และสินค้าตามข้อตกลงของ WTO
มติของที่ประชุม
เห็นชอบแนวทางการกำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมอบหมายให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์รับไปดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกับการพิจารณา ของที่ประชุม
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 30 มิถุนายน - 6 กรกฏาคม 2557
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 19-25 ตุลาคม 2558
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 23-29 มิถุนายน 2557
กพช. ครั้งที่ 90 - วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2545
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 3/2545 (ครั้งที่ 90)
วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2545 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล
1.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
1.1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
1.2 สถานการณ์ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2.การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์
4.การผ่อนผันการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรม
5.การทบทวนการคืนหลักค้ำประกันของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก
7.สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้ากัมพูชา
นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายเมตตา บันเทิงสุข รองเลขาธิการฯ รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
เรื่อง สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
เรื่องที่ 1-1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบในช่วงเดือนกรกฎาคม - ต้นเดือนกันยายน 2545 ได้ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงไตรมาสที่ 2 ประมาณ 1.5 - 2.0 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 และความวิตกกังวลว่าจะเกิดสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิรัก รวมทั้ง ความไม่ชัดเจนว่ากลุ่มโอเปคจะเพิ่มปริมาณการผลิตหรือไม่ โดยซาอุดิอาระเบียมีความเห็นว่า ควรเพิ่มปริมาณการผลิตขึ้นอีก 800,000 - 900,000 บาร์เรล/วัน แต่คูเวต เวเนซุเอล่า และอิหร่าน ไม่ต้องการให้เพิ่มปริมาณการผลิต ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบและ เบรนท์ ณ วันที่ 11 กันยายน 2545 อยู่ที่ระดับ 27.0 และ 28.5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
2. ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ในช่วงเดือนกรกฎาคม - ต้นเดือนกันยายน ได้ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบทุกผลิตภัณฑ์ โดยน้ำมันเบนซินปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เล็กน้อย น้ำมันดีเซลได้ปรับตัวสูงขึ้น 1.7 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากการสำรองไว้ใช้ในฤดูหนาว น้ำมันเตาได้ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากความต้องการใช้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศจีน ราคาน้ำมัน ออกเทน 95, 92 ก๊าด ดีเซล และน้ำมันเตา ณ วันที่ 11 กันยายน 2545 อยู่ที่ระดับ 30.4, 29.1, 33.8, 30.8 และ 27.0 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
3. ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของไทย ช่วงเดือนกรกฎาคม - ต้นเดือนกันยายน โดยราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 ได้ปรับตัวลดลงจากช่วงไตรมาสที่ 2 รวม 33 สตางค์/ลิตร ดีเซลหมุนเร็วปรับตัวสูงขึ้น 21 สตางค์/ลิตร ทั้งนี้ เป็นการปรับตัวตามราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 10 กันยายน 2545 อยู่ที่ระดับ 15.69, 14.69 และ 13.69 บาท/ลิตร ตามลำดับ ส่วนค่าการตลาดได้ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1.21 บาท/ลิตร และค่าการกลั่นได้ปรับตัวสูงขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 0.57 บาท/ลิตร (2.2 เหรียสหรัฐต่อบาร์เรล)
4. แนวโน้มราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 2 - 3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากความต้องการใช้ที่จะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาว และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวขึ้น รวมทั้งภาวะอุปทานที่ถูกจำกัดจากโควต้าการผลิตของโอเปคที่อยู่ในระดับต่ำ โดยภาวะสงครามที่อาจเกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิรักเป็นปัจจัยเสริมที่ จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์จะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 27 - 28 และ 29 - 30 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ ส่วนราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์จะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ และความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาว โดยราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลหมุนเร็วในตลาดจรสิงคโปร์จะเคลื่อนไหวอยู่ที่ ระดับ 29 - 31 และ 31 - 33 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ ราคาขายปลีกของไทยน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และดีเซลหมุนเร็วจะ เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 16 - 17, 15 - 16 และ 14 - 15 บาท/ลิตร ตามลำดับ
5. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ประเมินสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาอิรักว่า หากเกิดสงครามขึ้นในอ่าวเปอร์เซีย ผลกระทบจะเกิดได้ใน 2 กรณี คือ สงครามจำกัดเขตเฉพาะกับอิรัก จะทำให้ น้ำมันดิบในตลาดโลกหายไปประมาณ 2.2 - 2.3 ล้านบาร์เรล และถ้าสงครามขยายตัวครอบคลุมพื้นที่ ตะวันออกกลาง จะทำให้น้ำมันดิบหายไปจากตลาดโลกประมาณ 19 ล้านบาร์เรล/วัน ความเป็นไปได้มากที่สุดคือกรณีแรก ส่วนผลกระทบต่อประเทศไทย คาดว่าจะเป็นผลกระทบด้านราคาเป็นส่วนใหญ่ โดยราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวสูงขึ้น 35 - 40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปของไทยปรับตัวสูงขึ้น 3 - 4 บาท/ลิตร โดยเบนซินออกเทน 95 และดีเซลหมุนเวียนเร็วอยู่ที่ระดับ 19 และ 17 บาท/ลิตร ตามลำดับ
6. ภาครัฐได้มีมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อ รองรับสถานการณ์ หากเกิดสงครามขึ้นในอ่าวเปอร์เซียไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2543 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1) การจัดหาน้ำมันดิบ รัฐบาลจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ในประเทศให้มากขึ้น ควบคุมการนำเข้าและส่งออกน้ำมันดิบอย่างรัดกุม เจรจากับมิตรประเทศเพื่อขอซื้อน้ำมันในลักษณะการค้าต่างตอบแทน และนำน้ำมันสำรองตามกฎหมายมาใช้
2) มาตรการด้านราคา จะให้ราคาน้ำมันในประเทศเป็นไปตามกลไกของตลาด โดยรัฐจะกำกับดูแลการกำหนดราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิดไม่ให้มีการเอาเปรียบผู้ บริโภค และนำระบบการควบคุมราคามาใช้ หากมีการขาดแคลนอย่างรุนแรง
3) การเปลี่ยนแปลงไปใช้เชื้อเพลิงอื่นที่ผลิตในประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงที่ผลิตได้ในประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนและลดการนำเข้า รวมทั้งส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงทดแทน เช่น เอทานอล และไบโอดีเซล เป็นต้น
4) มาตรการประหยัดพลังงานและการจัดการด้านการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นของการประหยัดน้ำมันและการบริหารปริมาณน้ำมันให้เพียงพอกับความต้องการใช้
5) มาตรการป้องกันการกักตุน การควบคุมการจำหน่าย และการปันส่วนน้ำมัน สำหรับกรณีสถานการณ์รุนแรง เป็นการจัดสรรน้ำมันการใช้น้ำมันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
มติของที่ประชุม
- ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 1-2 สถานการณ์ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในตลาดโลกเดือนกันยายน 2545 ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 27 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาอยู่ที่ระดับ 258 เหรียญสหรัฐ/ตัน และราคาก๊าซ LPG ในประเทศอยู่ที่ 10.25 บาท/กิโลกรัม โดยอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ อยู่ที่ 2.98 บาท/กิโลกรัม ส่วนกองทุนน้ำมันฯ มีรายรับจากน้ำมัน ชนิดอื่น 878 ล้านบาท/เดือน จึงมีเงินไหลเข้ากองทุนฯ สุทธิ 372 ล้านบาท/เดือน แนวโน้มของราคาก๊าซ LPG ช่วงไตรมาสที่ 4 จะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 260-300 เหรียญสหรัฐ/ตัน ทำให้อัตราเงินชดเชยอยู่ในระดับ 3.07 -5.62 บาท/กก. หรือ 520-947 ล้านบาท/เดือน
2. กรมบัญชีกลาง ได้รายงานยอดเงินคงเหลือกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2545 อยู่ในระดับ 5,170 ล้านบาท โดยมีเงินชดเชยค้างชำระ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2545 รวม 10,872 ล้านบาท ฐานะกองทุน น้ำมันฯ สุทธิติดลบ 5,702 ล้านบาท และกรมสรรพสามิต ได้รายงานการชำระหนี้กองทุนน้ำมันฯ ของเดือนสิงหาคม 2545 เป็นจำนวนเงิน 730 ล้านบาท ยอดหนี้ตามข้อตกลง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2545 เท่ากับ 9,855 ล้านบาท
3. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานถึงมาตรการช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบผู้ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว จากราคาก๊าซฯ ที่จะสูงขึ้นภายหลังการยกเลิกควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ดังนี้
1) กลุ่มอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้เปลี่ยนไปใช้ก๊าซธรรมชาติ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในแนวระบบท่อจำหน่ายก๊าซฯ วงแหวนรอบ กทม. (Bangkok Gas Ring) ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2550 ให้ เปลี่ยนไปใช้ก๊าซธรรมชาติที่มีราคาต่ำกว่าก๊าซ LPG รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพเตาเผาหรือเตาอบของโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง เพื่อให้เกิดการประหยัด ลดปริมาณการใช้ โดยใช้เงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
2) กลุ่มรถแท็กซี่ ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถแท็กซี่ (NGV) โดยติดตั้งอุปกรณ์สำหรับใช้ก๊าซ NGV จำนวน 1,000 คัน ภายใน 5 ปี ซึ่ง สพช. ร่วมกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) จะจัดหาโครงการเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้ง ส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งสถานีบริการจำหน่ายก๊าซ NGV โดย สพช. จะใช้เงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสนับสนุนค่าใช้จ่ายบาง ส่วนแก่ ปตท. และภาคเอกชนอื่นในการจัดตั้งสถานีจำหน่ายก๊าซฯ ให้ทั่วถึงในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
มติของที่ประชุม
1.รับทราบสถานการณ์ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2.รับทราบมาตรการช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบผู้ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ในส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรม และกลุ่มรถแท็กซี่ ดังต่อไปนี้
2.1 มาตรการส่งเสริมให้กลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่แนวระบบท่อส่งก๊าซ ธรรมชาติรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล (Bangkok Gas Ring) ให้เปลี่ยนไปใช้ก๊าซธรรมชาติที่มีราคาต่ำกว่าก๊าซปิโตรเลียมเหลว
2.2 มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพเตาเผาหรือเตาอบของโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซ ปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง เพื่อให้เกิดการประหยัด ลดปริมาณการใช้ โดยใช้เงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
2.3 มาตรกาส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถแท็กซี่ (NGV) โดยใช้เงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดมาตรการและวิธีการส่งเสริมให้ เกิดการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถแท็กซี่ รวมถึง มาตรการและแนวทางการส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งสถานีบริการจำหน่าย NGV ให้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และภาคเอกชนอื่นๆ เช่น ร่วมกับสถาบันการเงินจัดทำโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและชำระคืนเงินต้นระยะ ยาว เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ให้แก่ผู้ประกอบการแท็กซี่ เป็นต้น ทั้งนี้ การให้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จะต้องสอดคล้องกับระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
เรื่องที่ 2 การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2545 ได้อนุมัติตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เห็นชอบในหลักการให้มีการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตของเอทานอลหน้าโรง งานและภาษีสรรพสามิตในส่วนของเอทานอลที่เติมในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ตลอดไป และลดหย่อนอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและกองทุนเพื่อส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงานสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติไปดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ต่อไป
2. คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ ขอให้ สพช. ดำเนินการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิงและกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ตามมติคณะรัฐมนตรี
3. คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2545 ได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับ น้ำมันแก๊สโซฮอล์เท่ากับ 0.27 บาท/ลิตร โดยให้มีผลบังคับใช้พร้อมกับประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เรื่อง อัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับน้ำมันแก๊สโซ ฮอล์
4. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) เสนอให้กำหนดอัตราเงินส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยใช้หลักการเดียวกับภาษีสรรพสามิตและกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง คือให้ยกเว้นอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วน ของเอทานอล 10% โดยอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับน้ำมันแก๊ส โซฮอล์ จะเท่ากับ 0.036 บาท/ลิตร
มติของที่ประชุม
เห็นชอบข้อเสนอการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ พลังงานสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้เท่ากับ 0.036 บาท/ลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ รับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2539 ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2539 (ครั้งที่ 55) ให้นำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้ในการสนับสนุนการดำเนินการของหน่วย งานต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้
2. ต่อมาคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2544 (ครั้งที่ 87) ให้ยุติการนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ไปใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นไป โดยให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลัก รับผิดชอบดูแลงานด้านการกำหนดนโยบายและ มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมแทนสำนัก งานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.)
3. ในงบประมาณปี 2545 คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานได้อนุมัติเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 830.9 ล้านบาท เป็นงบผูกพันจากปี 2544 จำนวน 552.2 ล้านบาท และงบอนุมัติใหม่ 278.7 ล้านบาท หน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณได้รายงานผลการใช้เงินในปี 2545 ให้ทราบ ซึ่งทุกหน่วยงานมีภาระหนี้ผูกพันในการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง แต่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันในปีงบประมาณ 2545 เป็นจำนวนเงินรวม 579,639,450.94 บาท ซึ่งประกอบด้วย
3.1 กรมศุลกากร จำนวนเงิน 38,580,002.16 บาท (สามสิบแปดล้านห้าแสนแปดหมื่นสองบาทสิบหกสตางค์) สำหรับแผนป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้านำมันเชื้อเพลิงทางทะเล
- หมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ เป็นเงิน 27,338,502.16 บาท
- หมวดครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เป็นเงิน 11,241,500 บาท
3.2 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวนเงิน 29,843,550 บาท (ยี่สิบเก้าล้านแปดแสนสี่หมื่น สามพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
- หมวดครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
1) โครงการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นเงิน 21,963,000 บาท
2) โครงการป้องกันและปราบปรามการส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงทางทะเลโดยฉ้อฉลภาษี ของรัฐ เป็นเงิน 7,880,550 บาท
3.3 กรมสรรพสามิต จำนวนเงิน 489,442,349.78 บาท (สี่ร้อยแปดสิบเก้าล้านสี่แสนสี่หมื่น สองพันสามร้อยสี่สิบเก้าบาทเจ็ดสิบแปดสตางค์)
- หมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ จำนวนเงิน 20,428,323 บาท
1) โครงการเติมสาร Marker ในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ส่งออก และเติมสาร Marker ในน้ำมันดีเซลที่นำไปจำหน่ายให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร (Tanker) เป็นเงิน 19,260,000 บาท
2) โครงการการติดตั้งระบบควบคุมรายรับ - จ่าย ณ คลังน้ำมันชายฝั่งพร้อม เชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูล เป็นเงิน 369,000 บาท
3) โครงการปรับปรุงพัฒนาระบบมาตรวัดพร้อมอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ เป็นเงิน 799,323 บาท
- หมวดครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง จำนวนเงิน 469,014,026.78 บาท
1) โครงการการเติมสาร Marker ในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ส่งออก และการเติมสาร Marker ในน้ำมันดีเซลที่นำไปจำหน่ายให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร (TANKER) เป็นเงิน 39,395,773.12 บาท
2) โครงการการติดตั้งระบบควบคุมรายรับ - จ่าย ณ คลังน้ำมันชายฝั่งพร้อม เชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูล เป็นเงิน 427,077,003.66 บาท
3) โครงการจัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์ เพื่อจัดซื้อเครื่องหาความหนืดของน้ำมัน เป็นเงิน 2,541,250 บาท
3.4 กรมทะเบียนการค้า (หรือกรมธุรกิจพลังงานในการปรับโครงสร้างปี 2546) จำนวนเงิน 1,860,000 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนหกหมื่นบาทถ้วน)
- หมวดครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง โครงการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ ในการประเมินผลในการปฏิบัติงาน เพื่อจัดซื้อเครื่องกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงิน 1,860,000 บาท
3.5 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จำนวนเงิน 19,913,549 บาท (สิบเก้าล้านเก้าแสนหนึ่งหมื่นสามพันห้าร้อยสี่สิบเก้าบาทถ้วน)
- หมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ โครงการประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 14,975,499 บาท
- หมวดค่าใช้จ่ายอื่นโครงการจัดจ้างที่ปรึกษาพัฒนาระบบการป้องกันและปราบปราม การปลอมปนของสารละลายไฮโดรคาร์บอน (Solvent) เป็นเงิน 4,938,050 บาท
โดยค่าใช้จ่ายของกรมศุลกากรและสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นค่าซ่อมแซมเรือ ตรวจการณ์ กรมสรรพสามิตเป็นค่าใช้จ่ายโครงการติดตั้งมิเตอร์ โครงการเติมสาร Marker เป็นหลัก กรมทะเบียนการค้าเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อเครื่องกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง และ สพช. เป็นค่าใช้จ่ายในการทำประชาสัมพันธ์และ จัดจ้างที่ปรึกษา
4. คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานในการประชุมครั้งที่ 2/2545 (ครั้งที่ 39) เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2545 ได้พิจารณา เรื่อง การขอทบทวนการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันในการป้องกันและปราบปรามการ กระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม มีความเห็นดังนี้
4.1 การดำเนินการในโครงการที่ก่อหนี้ผูกพันเป็นโครงการใหญ่จำเป็นที่จะต้องเตรี ยมการอย่างรัดกุม จึงทำให้ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างล่าช้า นอกจากนี้ การดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ยังต้องใช้เวลานาน จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2545 โดยปกติในการดำเนินการทุกปีจะมีหนี้ผูกพัน และจะนำไปตั้งของบประมาณของปีถัดไปเพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบการใช้จ่ายเงิน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดินสามารถเบิกจ่ายเหลื่อมปีงบประมาณได้ หากมีหนี้ผูกพันค้างระหว่างปีงบประมาณ
4.2 แม้จะเป็นการดำเนินการตามปกติ แต่เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ยุติการนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ไปใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 การนำงบผูกพันไปตั้งเป็นงบประมาณปี 2546 ตามระเบียบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แม้จะไม่ได้เป็นการอนุมัติงบใหม่เพิ่มเติม แต่อาจจะเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี
5. คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน จึงเสนอให้มีการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ครอบคลุมการใช้จ่ายในส่วนของ หนี้ผูกพัน โดยนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อขอ ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าการให้ยุติการนำเงินจาก กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับปิโตรเลียม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นไปนั้น มิให้หมายความรวมถึง การสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนของหนี้ผูกพันที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2545 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถเบิกจ่ายเหลื่อมปีงบประมาณ 2546 ได้ เนื่องจากไม่ได้เป็นการจัดสรรงบประมาณใหม่แต่อย่างใด
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ในประเด็นการให้ยุติการนำเงิน จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด เกี่ยวกับปิโตรเลียม ตั้งแต่ปี งบประมาณ 2546 เป็นต้นไปนั้น ให้ยกเว้นการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของหนี้ ผูกพันที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2545 ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเบิกจ่ายหนี้ผูกพันเหลื่อมปี งบประมาณ 2546 ได้
เรื่องที่ 4 การผ่อนผันการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรม
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542 ได้อนุมัติตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 เรื่อง การผ่อนผันการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ สำหรับ ผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรม โดย (1) เห็นชอบให้ปรับปรุงลักษณะการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ โดยให้คำนวณจากความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา (สิ้นสุดในเดือนปัจจุบัน) คำนวณเฉพาะค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเดือนที่ระบบมีความต้องการ ใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Month) คือ ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน และ (2) เห็นชอบให้ผ่อนผันหลักเกณฑ์การคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำเป็นการชั่วคราว จากร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้าที่สูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ตามหลักเกณฑ์ในข้อ (1) เหลือเพียงร้อยละ 0 เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2542 เป็นต้นไป แต่ทั้งนี้ หากต่อไปในอนาคตกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองต่ำกว่าระดับมาตรฐาน ให้พิจารณาเพิ่มอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
2. ต่อมาคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 ได้อนุมัติตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2543 เรื่อง การปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า โดยในส่วนของการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ กำหนดให้อัตราค่าไฟฟ้าต่ำสุดในแต่ละเดือนต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา (สิ้นสุดในเดือนปัจจุบัน) ทั้งนี้ ให้มีการยกเว้นการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าขั้นต่ำตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542 จนถึงเดือนกันยายน 2545
3. การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ เนื่องจากการไฟฟ้าต้องลงทุนในด้านกำลังการผลิต ระบบสายส่ง และสายจำหน่าย เพื่อพร้อมจ่ายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา แม้ว่าผู้ใช้ไฟฟ้าจะใช้ไฟฟ้าเพียงระยะเวลาสั้นๆ ในเดือนใดเดือนหนึ่ง กล่าวคือ หากผู้ใช้ไฟฟ้าขอใช้ไฟฟ้าในระดับ 1,000 กิโลวัตต์ การไฟฟ้าก็จะลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง และระบบสายจำหน่าย เพื่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้าในระดับ 1,000 กิโลวัตต์ แม้ว่าต่อมาความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลงเหลือเพียง 500 กิโลวัตต์ การไฟฟ้ายังคงพร้อมจ่ายกระแสไฟฟ้าในระดับเดิม โดยไม่สามารถลดขนาดของโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง และระบบสายจำหน่ายลงได้ ทั้งนี้ ค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ จะเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลาง กิจการขนาดใหญ่ และกิจการเฉพาะอย่างที่มีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาที สูงสุดตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ขึ้นไป โดยคิดอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา (สิ้นสุดในเดือนปัจจุบัน)
4. เนื่องจากการผ่อนผันการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำที่จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2545 ทำให้มีผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนหนึ่ง ได้แก่ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค และชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดปัตตานี ร้องเรียนมายังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ขอให้พิจารณาขยายระยะเวลาผ่อนผันการคิดค่า ไฟฟ้าขั้นต่ำออกไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่ง คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ในการประชุมเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2545 ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าว และมีมติเห็นควรให้มีการขยายระยะเวลาการผ่อนผันการคิดค่า ไฟฟ้าขั้นต่ำออกไปอีก 1 ปี จนถึงเดือนกันยายน 2546 โดยมอบหมายให้ สพช. และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ร่วมกันดำเนินการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เสริมสร้างความเข้าใจต่อผู้ใช้ไฟฟ้า ถึงแนวนโยบายในการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ ตลอดจนแนวทางที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถร้องขอต่อการไฟฟ้าเพื่อแก้ไขปัญหาการคิด ค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ เช่น การตัดฝาก"มิเตอร์ ในเดือนที่ไม่มีการใช้ไฟฟ้า เพื่อมิให้เกิดปัญหาการร้องเรียนขอขยายระยะเวลาการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผันในเดือนกันยายน 2546
5. การขยายระยะเวลาการผ่อนผันการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ จากร้อยละ 70 เหลือร้อยละ 0 ต่อไปอีก 1 ปี จะทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีลักษณะการใช้ไฟฟ้าเป็นฤดูกาล หรือผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ เช่น ศูนย์นิทรรศการและการประชุม โรงแรมที่จัดการประชุมใหญ่เป็นครั้งคราว อุตสาหกรรมมันสำปะหลัง อุตสาหกรรมน้ำตาล เป็นต้น ได้ประโยชน์ ในขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะมีรายได้ลดลงประมาณ 21 ล้านบาท/เดือน หรือ 254 ล้านบาท/ปี กล่าวคือ รายได้ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จะลดลงประมาณ 36 ล้านบาท/ปี และรายได้ของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะลดลงประมาณ 218 ล้านบาท/ปี
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบให้มีการขยายระยะเวลาการผ่อนผันการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำออกไปอีก 1 ปี จนถึงเดือนกันยายน 2546
2.เห็นชอบให้ สพช. และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ร่วมกันดำเนินการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เสริมสร้างความเข้าใจต่อผู้ใช้ไฟฟ้า ถึงแนวนโยบายในการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ ตลอดจนแนวทางที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถร้องขอต่อการไฟฟ้าเพื่อแก้ไขปัญหาการคิด ค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ เช่น การตัดฝากมิเตอร์ ในเดือนที่ไม่มีการใช้ไฟฟ้า เพื่อมิให้เกิดปัญหาการร้องเรียนขอขยายระยะเวลาการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำเมื่อ สิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผันในเดือนกันยายน 2546
เรื่องที่ 5 การทบทวนการคืนหลักค้ำประกันของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก
สรุปสาระสำคัญ
1. การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2535 ได้ออกระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ออกประกาศ รับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก (Small Power Producers : SPP) งวดที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ กฟผ. สามารถรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ที่ผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนอกรูปแบบ กากหรือ เศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิง และการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ Cogeneration อันเป็นการใช้พลังงานนอกรูปแบบและต้นพลังงานพลอยได้ในประเทศให้เกิดประโยชน์ มากขึ้น รวมทั้งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระทางด้านการลงทุนของรัฐในระบบการผลิตและระบบ จำหน่ายไฟฟ้า
2. การดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ตั้งแต่ปี 2535 ถึงปัจจุบัน กฟผ. ได้รับข้อเสนอขายไฟฟ้า รวมทั้งสิ้น 108 ราย แต่มีบางรายที่ถูกปฏิเสธและขอถอนข้อเสนอ ในปัจจุบันมี SPP ที่ได้รับการตอบรับซื้อ ไฟฟ้ารวม 65 ราย โดย กฟผ. ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วจำนวน 60 ราย และอยู่ระหว่างการเจรจา 5 ราย ถ้าหากทุกโครงการแล้วเสร็จและสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ จะมีปริมาณรับซื้อไฟฟ้าทั้งสิ้นสูงถึง 2,240 เมกะวัตต์
3. ตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP SPP ประเภท Firm จะต้องยื่นหลักค้ำประกันให้กับ กฟผ. ดังนี้
3.1 หลักค้ำประกันการยื่นข้อเสนอ โดยยื่นพร้อมคำร้องการขายไฟฟ้าในวงเงินเท่ากับ 500 บาทต่อกิโลวัตต์ ตามปริมาณพลังไฟฟ้าที่เสนอขาย โดย กฟผ. จะคืนหลักค้ำประกันการยื่นข้อเสนอให้แก่ SPP ที่ ไม่ได้รับการคัดเลือกภายใน 30 วัน หลังแจ้งผลการคัดเลือก สำหรับ SPP ที่ได้รับการคัดเลือก กฟผ. จะคืน หลักค้ำประกันการยื่นข้อเสนอในวันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
3.2 หลักค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาฯ โดยยื่นในวันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ในวงเงิน-เท่ากับร้อยละ 5 ของมูลค่าปัจจุบันของค่าพลังไฟฟ้าที่จะได้รับทั้งหมดตามสัญญา โดยใช้อัตราส่วนลด (Discount Rate) เท่ากับอัตราดอกเบี้ยของเงินฝากประจำ 12 เดือน ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะคืนหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาฯ เมื่อ -SPP ได้เริ่มปฏิบัติตามสัญญาฯ ถูกต้องครบถ้วนโดยสมบูรณ์แล้ว
3.3 หลักค้ำประกันการยกเลิกสัญญาฯ โดยยื่นก่อนวันเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าตามสัญญาฯ ในวงเงินเท่ากับร้อยละ 10 ของค่าพลังไฟฟ้าที่ SPP จะได้รับในระยะเวลา 5 ปีแรกของสัญญาฯ โดยจะคืนหลัก ค้ำประกันดังกล่าวเมื่ออายุสัญญาสิ้นสุด หรือเมื่อการไฟฟ้าได้เรียกเงินค่าพลังไฟฟ้าครบถ้วนในกรณีที่สัญญาถูกยกเลิก ก่อนครบอายุสัญญาฯ
4. ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2540 เรื่องมาตรการการแก้ไขปัญหาของผู้ผลิตรายเล็ก โดยให้ กฟผ. แจ้งให้ SPP ยืนยันความประสงค์จะดำเนินโครงการ หาก SPP รายใดไม่ประสงค์จะดำเนินโครงการต่อไป ให้ กฟผ. คืนหลักค้ำประกันให้แก่ SPP ดังกล่าว โดยการเลื่อนหรือยกเลิกโครงการในช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ โดยรวม เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศลดลงอย่างมาก และมีปริมาณพลังไฟฟ้าสำรอง (Reserve Margin) อยู่ในระดับสูง แต่เพื่อให้การยกเลิกของ SPP มีความ เป็นไปได้จึงมีการพิจารณาคืนหลักค้ำประกันให้กับ SPP ด้วย ทั้งนี้ กฟผ. ได้ดำเนินการตามมติดังกล่าว โดย คืนหลักค้ำประกันให้กับ SPP ที่แจ้งยกเลิกโครงการรวม 7 ราย
ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2543 เห็นชอบตามมติ กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2543 เรื่องการคืนหลักค้ำประกันของ SPP โดยมอบหมายให้ สพช. และ กฟผ. ร่วมกันพิจารณาเลื่อนกำหนดวันเริ่มต้นจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบของโครงการ SPP โดยครอบคลุมถึงการเลื่อนกำหนดวันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และการยกเลิกโครงการของ SPP ด้วย และให้ กฟผ. คืนหลักค้ำประกันให้กับ SPP ที่ยกเลิกโครงการ โดยมีโครงการ SPP ที่ยกเลิกโครงการ และ กฟผ. ได้คืนหลักค้ำประกันแล้วจำนวน 3 ราย
5. กฟผ. ได้มีหนังสือถึง สพช. แจ้งว่าการคืนหลักค้ำประกันตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2543 ไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด รวมทั้งสถานการณ์ในปัจจุบัน กฟผ. ยังคงเปิดรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ที่ใช้พลังงาน หมุนเวียนเป็นเชื้อเพลิง และปรากฏว่ายังคงมีผู้มีความสามารถในการลงทุนและสนใจเสนอขายไฟฟ้ากับ กฟผ. ในลักษณะสัญญาประเภท Firm ซึ่งต้องมีหลักค้ำประกันต่างๆ อย่างต่อเนื่อง การให้การช่วยเหลือเรื่องการคืนหลักค้ำประกันดังกล่าวอาจไม่เหมาะสมกับ สถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งภาวะเศรษฐกิจของประเทศเริ่มทรงตัวได้แล้ว และผู้เสนอโครงการสามารถวิเคราะห์ความเหมาะสมโครงการบนพื้นฐานของสภาวะ เศรษฐกิจปัจจุบันได้อยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อให้เป็นการปฏิบัติตามระเบียบ SPP ปัจจุบัน กฟผ. จึงขอให้พิจารณาทบทวนยกเลิกการคืนหลักค้ำประกันให้กับผู้ที่ยกเลิกโครงการ ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โดยให้มีผลบังคับใช้ภายหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2545 เพื่อเปิดโอกาสให้ SPP สามารถพิจารณาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการต่อไป หรือยกเลิกโครงการก่อนถึงกำหนดที่มีผลบังคับใช้ใหม่นี้
6. สพช. พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันเริ่มทรงตัว ประกอบกับการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2543 ส่งผลกระทบต่อ กฟผ. เนื่องจากโครงการที่ยื่นข้อเสนอหรือลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้ถูกกำหนดไว้ ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งเป็นแผนที่ใช้ในการวางแผนการจัดหาไฟฟ้า และการคำนวณปริมาณกำลังการผลิตสำรองของประเทศ จึงเห็นควรยกเลิกการคืนหลักค้ำประกันให้กับ SPP ที่ยกเลิกโครงการ
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ยกเลิกการคืนหลักค้ำประกันให้กับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ที่ยกเลิกโครงการ โดยให้มีผลบังคับใช้ภายหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2545 เพื่อเปิดโอกาสให้ SPP สามารถพิจารณาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการต่อไป หรือยกเลิกโครงการ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบคำแถลงนโยบายการซื้อขายไฟฟ้าสำหรับการจัด ตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Policy Statement on Regional Power Trade) ตามมติ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง GMS ครั้งที่ 9 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2543 โดยกำหนดให้จัดทำร่างความตกลงว่าด้วยการซื้อขายไฟฟ้าและการสร้างเครือข่าย สายส่งระหว่างรัฐบาล 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (Inter-Governmental Agreement: IGA) เพื่อเป็นแนวทางในการจัดตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้า และการพัฒนาระบบเครือข่ายสายส่งเชื่อมโยงระหว่าง 6 ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต
2. คณะทำงานด้านการเชื่อมโยงเครือข่ายสายส่งและการซื้อขายไฟฟ้า 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (EGP) ธนาคารโลก (World Bank) และธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank) ได้ร่วมจัดทำและพิจารณาสาระสำคัญในรายละเอียดจนได้ร่าง IGA ขั้นสุดท้าย ซึ่งได้รับความเห็นชอบในการประชุม คณะทำงานด้านพลังงานของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 6 และการประชุมคณะทำงานระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 8 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อเดือนธันวาคม 2544 และการประชุมดังกล่าวมีมติให้ นำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบในการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 11 โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ที่ประเทศกัมพูชา ก่อนที่จะมีการลงนามร่างความ ตกลงฯ ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำ GMS (GMS Summit) ครั้งที่ 1 ในเดือนพฤศจิกายน 2545
3. ร่างความตกลงฯ ได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามคำแถลงนโยบายการซื้อขายไฟฟ้าที่รัฐมนตรี 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงได้ให้การรับรองร่วมกัน โดยจะมีการจัดตั้งองค์กรกลางให้ทำหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์-กำกับดูแลและ ประสานงานซื้อขายไฟฟ้าของกลุ่มประเทศ GMS ได้อย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งด้านการลดต้นทุนการผลิต การใช้วัตถุดิบและการจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพออย่างเต็มศักยภาพ และพิจารณาแบ่งสรรผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม โดยมีสาระสำคัญดังนี้
3.1 จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานการซื้อขายไฟฟ้า (Regional Power Trade Coordination Committee : RTPCC) มีภารกิจสำคัญคือการจัดทำข้อตกลงปฏิบัติการทางเทคนิคและทางธุรกิจเพื่อ ดำเนินการซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาคให้แก่ประเทศภาคีต่างๆ (Regional Power Trade Operating Agreement: PTOA) และกำหนดขั้นตอนที่จำเป็นของการดำเนินงานซื้อขายไฟฟ้า รวมทั้งแนวทางการบริหารจัดการทางการเงิน
3.2 ความตกลงจะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อผ่านกระบวนการให้สัตยาบันของแต่ละประเทศ ภาคี และนับตั้งแต่วันที่ได้แลกเปลี่ยนเอกสารการให้สัตยาบันจากประเทศภาคีอย่าง น้อย ประเทศ สำหรับช่วงระยะเวลาของความตกลงนี้จะมีผลใช้บังคับอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมี การปรับปรุงใหม่หรือยกเลิกโดยประเทศภาคีเดิม ทั้งหมด และสามารถจะถอนตัวได้ภายหลัง 2 ปี นับจากวันเริ่มบังคับใช้ โดยต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนล่วงหน้า 1 ปี
3.3 ความสัมพันธ์กับข้อตกลงอื่นๆ ที่รัฐบาลประเทศ GMS กระทำขึ้นจะไม่ถูกปิดกั้น หาก ประเทศหนึ่งประเทศใดจะทำข้อตกลงซื้อขายไฟฟ้ากับประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นภาคี GMS ในขณะที่ข้อตกลงหรือสัญญาใหม่ๆ จะต้องสอดคล้องกับ PTOA
3.4 การแก้ไขปัญหาข้อพิพาทให้ทำโดยสันติวิธี สามารถดำเนินการผ่านการประชุมหารือในกรณี ที่มีความเห็นแตกต่างในด้านการตีความ หรือการดำเนินงานตามความตกลงฯ นี้ หากไม่สามารถหาข้อยุติได้ให้ส่งให้รัฐบาลของแต่ละประเทศเป็นผู้ตัดสิน
4. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) พิจารณาแล้วเห็นควรให้การสนับสนุนร่างความตกลงฯ เนื่องจากร่างความตกลงฯ ฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นหลังจากรัฐบาลของประเทศสมาชิกใน GMS ได้ให้ความเห็นชอบใน Policy Statement ร่วมกันแล้ว และภายหลังจากที่มีการลงนามในร่างความตกลงฯ ร่วมกันแล้ว ก็จะนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานซื้อขายไฟฟ้า (Regional Power Trade Coordination Committee: RPTCC) และการจัดทำข้อตกลงด้านเทคนิคในการซื้อขายไฟฟ้า (Regional Power Trade Operating Agreement: PTOA) เพื่อให้การจัดตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายสายส่ง ระหว่างประเทศสมาชิกเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมต่อไป
นอกจากนี้ ร่างความตกลงฯ ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะทำงานระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของ GMS ในการประชุม The Subregional Electric Power Forum ครั้งที่ 8 ที่จัดขึ้น ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียตนาม เมื่อเดือนธันวาคม 2544 โดยร่างความตกลงฯ ฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาตรวจแก้ไขจากหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่พิจารณา กฎหมายและความตกลงระหว่างประเทศของแต่ละประเทศแล้ว ทั้งนี้ การสนับสนุนการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงให้ บังเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมจะส่งผลดีทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ การจัดหาพลังงานไฟฟ้าและการขยายความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการซื้อขายไฟฟ้าและการสร้างเครือข่ายสายส่งระหว่างรัฐบาล 6 ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
2.มอบหมายให้รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะและรับผิดชอบในการ เดินทางไปประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 11 โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ที่ประเทศกัมพูชา นำร่างความตกลงฯ ที่ได้รับความเห็นชอบแล้วนี้ไปนำเสนอในที่ประชุมดังกล่าว ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย แต่ทั้งนี้หากจำเป็นต้องมีการแก้ไขร่างความตกลงฯ ดังกล่าวในรายละเอียดปลีกย่อยซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญ เห็นควรให้รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายสามารถพิจารณาแก้ไขได้ โดยไม่ต้องนำกลับมาเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติอีก ครั้ง
3.มอบหมายให้รัฐมนตรีที่กำกับดูแลงานด้านนโยบายพลังงาน เป็นผู้ลงนามความตกลงฯ ที่ได้รับความเห็นชอบในการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 11 ตามข้อ 2 เป็นผู้ไปร่วมลงนามความตกลงฯ ในฐานะ ผู้แทนรัฐบาลไทยในการประชุมสุดยอดผู้นำ GMS (GMS Summit) ครั้งที่ 1 ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2545 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
เรื่องที่ 7 สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้ากัมพูชา
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลไทยและกัมพูชาได้มีการลงนามในบันทึกความตกลงโครงการความร่วมมือด้าน พลังงาน ไฟฟ้า เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2543 ที่จะสนับสนุนให้มีการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะการ เข้าร่วมและการรับซื้อไฟฟ้าในตลาดซื้อขายไฟฟ้า รวมทั้งจะร่วมมือกันวางแผนและก่อสร้างระบบส่งเชื่อมโยงไทย - กัมพูชา เพื่อนำไปสู่การขายไฟฟ้ากับประเทศที่สามในอนาคต ต่อมาทั้งสองฝ่ายได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อประสานความร่วมมือให้เป็นไปตาม สาระสำคัญของข้อตกลงดังกล่าว โดยฝ่ายไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่าง ไทยกับกัมพูชา (Thai Power Cooperation Committee : TPCC) ซึ่งมีผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธาน ฝ่ายกัมพูชาได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการความร่วมมือด้านพลังงานของกัมพูชา (Cambodia Power Cooperation Committee : CPCC) ซึ่งมีนายอิฐ ปรัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเหมืองแร่และพลังงาน เป็นประธาน
2. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2544 ได้มีมติเห็นชอบ ในหลักการให้ราคาค่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ). และ กฟผ. จำหน่ายให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ในแต่ละจุดเท่ากับอัตราค่าไฟฟ้าที่ กฟภ. จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในประเทศตามโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า รวมกับค่าชดเชยรายได้ต่อหน่วยจำหน่ายของ กฟภ. ทั้งนี้ ให้ กฟภ. และ กฟผ. มีความยืดหยุ่นที่จะสามารถเจรจาและกำหนดรูปแบบราคาจำหน่ายไฟฟ้าในลักษณะที่ อาจแตกต่างจากโครงสร้างค่าไฟฟ้าของประเทศได้ภายใต้หลักการดังกล่าว
3. TPCC ได้นำโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ เสนอต่อฝ่ายกัมพูชาและได้รับความเห็นชอบตามที่ฝ่ายไทยเสนอ โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการเจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้าร่วมกันจนได้ข้อยุติ กฟผ. จึงได้จัดทำสัญญาฯ ฉบับลงนามขึ้น โดยสัญญาฯ ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ กฟผ. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2544 และผ่านการพิจารณาตรวจร่างจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้วเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2545
4. เนื่องจากจังหวัดเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเร่งด่วน ฝ่ายกัมพูชาจึงเร่งให้มีการลงนามสัญญาฯ โดยเร็ว กฟผ. จึงได้ลงนามสัญญาฯ กับฝ่ายกัมพูชาเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2545 โดยมีเงื่อนไขว่า สัญญาฯ ฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้หลังจากได้รับความเห็นชอบจาก กพช. แล้ว โดย ในช่วงนี้จะยังไม่มีการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกันจนกว่าจะถึงกำหนดแล้วเสร็จของ ระบบส่งเชื่อมโยงไทย - กัมพูชา คือ ประมาณปี พ.ศ. 2547
5. สาระสำคัญของสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. และการไฟฟ้ากัมพูชา สรุปได้ดังนี้
5.1 อายุสัญญา 12 ปีนับจากวันที่ กฟผ. เริ่มขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้ากัมพูชา โดยมีจุดส่งมอบ บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา
5.2 โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าเป็นแบบคิดตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate) โดย ค่าพลังไฟฟ้า เท่ากับ 74.14 บาท/กิโลวัตต์/เดือน ค่าพลังงานไฟฟ้า ช่วง Peak เท่ากับ 2.7595 บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง และช่วง Off Peak เท่ากับ 1.3185 บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง สำหรับค่าบริการ เท่ากับ 228.17 บาท/เดือน และจะทำการทบทวนอัตราค่าไฟฟ้าทุกๆ 4 ปีนับจากวันที่ กฟผ. เริ่มขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้ากัมพูชา
5.3 การระงับข้อพิพาท หากมีข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทเกิดขึ้น ให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายแต่งตั้งผู้แทนเพื่อพิจารณาร่วมกัน หากไม่สามารถยุติข้อพิพาทได้ภายใน 60 วันให้ใช้กระบวนการพิจารณาของอนุญาโต ตุลาการ การพิจารณาคดีดำเนินการในประเทศสิงคโปร์ ใช้ภาษาอังกฤษและกฎหมายอังกฤษบังคับ ทั้งนี้ คำตัดสินของอนุญาโตตุลาการให้ถือเป็นที่สุด
5.4 การแก้ไขสัญญาฯ หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการปฏิบัติตามสัญญาฯ เกิดขึ้นในประเทศคู่สัญญา ฝ่ายที่ได้รับผลกระทบสามารถร้องขอให้มีการเจรจาแก้ไขเกี่ยวกับรายละเอียดและ เงื่อนไขในสัญญาฯ โดยทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมกันพิจารณาให้ได้ข้อยุติภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับการ ร้องขอ หากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ภายในช่วงเวลาที่กำหนด ให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาท
6. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เห็นว่า เนื่องจากสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับการไฟฟ้ากัมพูชา จะเป็นประโยชน์ร่วมของทั้ง 2 ประเทศ โดยกัมพูชาสามารถจัดหาไฟฟ้าให้กับ 3 จังหวัด ได้ในราคาที่ต่ำกว่าที่กัมพูชาจะผลิตเอง ขณะที่ไทยสามารถขายไฟฟ้าในปริมาณ 20 - 30 เมกะวัตต์ ได้ในราคาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองส่วนเกินในระยะ 5 ปีข้างหน้าได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ สัญญาดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ กฟผ. และการพิจารณาตรวจร่างจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว จึงเห็นควรให้ความเห็นชอบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าดังกล่าว เพื่อให้มีผลบังคับใช้และ กฟผ. สามารถจ่ายไฟฟ้าให้แก่ 3 จังหวัดของกัมพูชาในปี 2547 ต่อไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้ากัมพูชา