
Super User
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 23-29 พฤศจิกายน 2558
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 28 กรกฏาคม - 3 สิงหาคม 2557
กพช. ครั้งที่ 95 - วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน 2546
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 3/2546 (ครั้งที่ 95)
วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล
1.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
2.รายงานผลการดำเนินงานของกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม ประจำปีงบประมาณ 2546
3.แผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544 - 2554 (ปรับปรุง)
4.การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและแนวทางการกำกับดูแล
5.แผนการระดมทุนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
6.การแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP)
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับความก้าวหน้าและการดำเนินการทางยุทธศาสตร์ของกระทรวงพลังงาน ดังนี้
1. กระทรวงพลังงานร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดแนวทางการส่งเสริมการนำพืช ทางการเกษตรมาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้มากขึ้น ได้แก่ การผลิตเอทานอล ไบโอดีเซล เป็นต้น เพื่อช่วยลดการนำเข้าพลังงานและเป็นการสนับสนุนการใช้ผลิตผลทางเกษตรให้เกิด ประโยชน์อย่างเต็มที่ ซึ่งความคืบหน้าจะนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป
2. การดำเนินการด้านความปลอดภัยของประชาชนเกี่ยวกับคลังน้ำมันรอบกรุงเทพมหานคร ซึ่ง ขณะนี้ กระทรวงพลังงานได้มีการประสานงานกับบริษัทน้ำมันต่างๆ ที่มีคลังน้ำมันอยู่ในบริเวณกรุงเทพฯ เพื่อหาแนวทางย้ายคลังน้ำมันดังกล่าวออกไปในพื้นที่ห่างจากชุมชนเพื่อความ ปลอดภัยของประชาชน โดยเฉพาะบริเวณท่าเรือคลองเตยที่ได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นใกล้คลังน้ำมันในช่วง ที่ผ่านมา
3. การดำเนินการเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ Strategic Energy Landbrige ในภาคใต้ กระทรวงพลังงานได้ประสานงานกับกระทรวงการคลัง ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ด้านภาษีเพื่อให้เกิดเขตปลอดภาษีขึ้นในบริเวณดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2546
4. สำหรับความมั่นคงด้านพลังงานในโครงการวางท่อขนส่งน้ำมันเพื่อรองรับการ ลำเลียงน้ำมันที่จะขยายขึ้น โดยได้มีการศึกษาความเป็นไปได้แล้ว และพบว่าจะต้องนำผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของภูมิภาคเอเซีย เข้าร่วมกัน โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งขณะนี้มีบริษัทต่างประเทศที่เป็นผู้ค้าน้ำมันได้ให้ความสนใจที่จะเข้า ร่วมลงทุนและดำเนินการด้านนี้ด้วย ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 4 เดือน
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบในเดือนกันยายน 2546 ได้ปรับตัวลดลง 1.35 - 3.17 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานในช่วงฤดูหนาวผ่อนคลายลง หลังจากปริมาณสำรองน้ำมันดิบของโลกเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ในช่วงปลายเดือนกันยายน 2546 ราคาน้ำมันดิบได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้น หลังจากกลุ่มโอเปคมีมติปรับลดเพดานการผลิตมาอยู่ที่ระดับ 24.5 ล้านบาร์เรล/วัน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 ในเดือนตุลาคม 2546 ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น 1.99 - 2.60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากตลาดคาดว่าอุปทานน้ำมันดิบ จะตึงตัวในช่วงฤดูหนาว ประกอบกับมีปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ต่างๆ เช่น อิสราเอลและปาเลสไตน์ ปากีสถานและอินเดีย ในเดือนพฤศจิกายน 2546 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์ปรับตัว สูงขึ้น 0.10 - 0.37 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในอิรัก รวมทั้ง เหตุการณ์การก่อการร้ายอย่างต่อเนื่องในตะวันออกกลางและประเทศตุกี ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์และ WTI ได้ปรับตัวลดลง 0.27 - 0.56 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากการคาดว่ากลุ่มโอเปคจะผลิตเกินโควต้า อยู่ประมาณ 1 ล้านบาร์เรล/วัน ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2546 อยู่ที่ระดับ 28.19 และ 29.76 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
2. ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ในเดือนกันยายน 2546 ราคาน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 , 92 และดีเซลหมุนเร็ว ปรับตัวลดลง 4.19 , 3.81 และ 1.12 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ อุปสงค์น้ำมันเบนซินในสหรัฐอเมริกาลดลง หลังสิ้นสุดฤดูท่องเที่ยว ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วอุปทานเพิ่มขึ้นจากจีน ไต้หวัน และมีน้ำมันจากตะวันออกกลางเข้ามาในภูมิภาคเพิ่มขึ้น ในเดือนตุลาคม 2546 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 , 92 และดีเซลหมุนเร็วปรับตัวสูงขึ้น 2.41 , 2.32 และ 1.26 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ จีน เกาหลี และไต้หวันได้ลดการส่งออกลง ประกอบกับโรงกลั่นในสิงคโปร์และไทยปิดซ่อมบำรุง ในเดือนพฤศจิกายน 2546 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และดีเซลหมุนเร็วปรับตัวสูงขึ้น 0.13 และ 0.74 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากจีนลดการส่งออกลงและโรงกลั่นปิดซ่อมบำรุง และอุปทานน้ำมัน จากตะวันตกเข้ามาในภูมิภาคลดลง ประกอบกับความต้องการใช้ของออสเตรเลียเพิ่มขึ้น แต่ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 92 ปรับตัวลดลง 0.64 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากการส่งออกของไต้หวัน อินเดีย และประเทศในตะวันออกกลาง ประกอบกับออสเตรเลียชะลอการนำเข้า ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 , 92 , ก๊าด ดีเซลหมุนเร็ว และเตา ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2546 อยู่ที่ระดับ 36.15, 33.98, 36.33, 34.35 และ 26.52 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
3. ในเดือนกันยายน ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95 , 91 และดีเซลหมุนเร็วได้ปรับตัวลดลงรวม 1.20 , 1.10 และ 0.70 บาท/ลิตร ตามลำดับ ในเดือนตุลาคม ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และดีเซลหมุนเร็ว ปรับตัวเพิ่มขึ้นรวม 0.90, 0.90 และ 0.80 บาท/ลิตร ตามลำดับ ในเดือนพฤศจิกายน 2546 ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และดีเซลหมุนเร็วทรงตัว ส่วนน้ำมันเบนซินออกเทน 91 สุทธิได้ปรับ สูงขึ้น 0.10 บาท/ลิตร โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95 , 92 และดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 อยู่ที่ระดับ 16.69 , 15.89 และ 14.09 บาท/ลิตร ตามลำดับ
4. ค่าการตลาดในเดือนกันยายน ตุลาคม และพฤศจิกายน อยู่ที่ระดับ 1.2742, 1.1865 และ 1.1917 บาท/ลิตร ตามลำดับ ส่วนค่าการกลั่นเฉลี่ยของเดือนกันยายน ตุลาคม และพฤศจิกายน อยู่ที่ระดับ 0.7279, 0.4449 และ 0.6815 บาท/ลิตร ตามลำดับ
5. ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกเดือนพฤศจิกายน 2546 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 22 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาอยู่ที่ในระดับ 280 เหรียญสหรัฐ/ตัน ราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นอยู่ในระดับ 10.56 บาท/กก. อัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ อยู่ในระดับ 2.36 บาท/กก. กองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่าย 837 ล้านบาท/เดือน โดยกองทุนน้ำมันฯ มีรายรับจากน้ำมันชนิดอื่น 982 ล้านบาท/เดือน จึงมีเงินไหลเข้ากองทุนฯ สุทธิ 145 ล้านบาท/เดือน ยอดเงิน คงเหลือกองทุนน้ำมันฯ หลังหักภาระผูกพัน ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2546 อยู่ในระดับ 2,449 ล้านบาท โดยมีเงินชดเชยค้างชำระ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2546 รวม 5,292 ล้านบาท ฐานะ กองทุนน้ำมันฯ สุทธิติดลบ 2,843 ล้านบาท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ชี้แจงเพิ่มเติมต่อที่ประชุม ดังนี้
1. ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับสูง อันเป็นผลมาจากนโยบายของกลุ่มโอเปคในการบริหารปริมาณการผลิตเพื่อรักษาระดับ ราคาไว้ที่ระดับ 25 - 28 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมมากนัก เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ใช้ราคาน้ำมันในระดับนี้ในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
2. ในการเพิ่มความมั่นคงด้านการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงในอนาคตของประเทศ กระทรวงพลังงานได้พยายามประสานความร่วมมือกับประเทศนอกกลุ่มโอเปค โดยเฉพาะผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ได้แก่ รัสเซีย โอมาน และคาซักสถาน แล้ว
3. รัฐบาลมีนโยบายที่จะยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยได้กำหนดแผนการดำเนินการไว้ในช่วงกลางปี 2548 ซึ่งกระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะเร่งให้เร็วขึ้น เพื่อยุติการ นำเงินกองทุนน้ำมันฯ ที่เก็บจากผู้ใช้น้ำมันมาอุดหนุนผู้ใช้ก๊าซ LPG ซึ่งไม่เป็นธรรม และอาจทำให้สามารถ นำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปใช้เป็นกลไกในยุทธศาสตร์ด้านอื่น ๆ ต่อไป
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 รายงานผลการดำเนินงานของกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม ประจำปีงบประมาณ 2546
สรุปสาระสำคัญ
1. ตามระเบียบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติว่าด้วยการบริหารกองทุนเงินอุด หนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม เพื่อทำหน้าที่แทนรัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงานในการจัดสรรเงินกองทุนฯ และให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) จัดทำงบแสดงผลการรับจ่ายเงินในระหว่างปีงบประมาณ และงบแสดงฐานะการเงินของกองทุน ณ วันสิ้นปีงบประมาณ เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเพื่อทราบ และนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อทราบภายในสามสิบวันทำการนับ แต่วันสิ้นปีงบประมาณ
2. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2543 ได้มีมติเห็นชอบแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2544 - 2546 ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้น 66 ล้านบาท โดยแบ่งออกตามหมวดรายจ่ายต่างๆ ดังนี้ การค้นคว้า วิจัย และการศึกษา ปีละ 4 ล้านบาท การโฆษณา การเผยแพร่ข้อมูล และประชาสัมพันธ์ ปีละ 3 ล้านบาท ทุนการศึกษาและฝึกอบรม ปีละ 5.4 ล้านบาท การเดินทางเพื่อศึกษา ดูงาน ประชุม อบรมและสัมมนา ปีละ 5 ล้านบาท การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สำนักงาน ปีละ 4 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ปีละ 6 ล้านบาท
3. ในปีงบประมาณ 2546 มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและภารกิจของหน่วยงานต่างๆ ตามกฎหมายปฏิรูประบบราชการ และมีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม พ.ศ. 2535 จึงไม่สามารถอนุมัติงบประมาณฯ ตามแผนการใช้จ่ายเงินที่วางไว้ได้ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2546 คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในหมวดต่างๆ ณ วันที่ 30 กันยายน 2546 เป็นเงินทั้งสิ้น 1,802,414 บาท โดยแบ่งออกเป็น
(1) หมวดการค้นคว้า วิจัย และการศึกษา และหมวดการโฆษณาการเผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์ ซึ่งไม่มีหน่วยงานใดขอรับการสนับสนุน จึงมีงบประมาณทั้ง 2 หมวด คงเหลือเป็นเงิน 7,000,000 บาท
(2) หมวดทุนการศึกษาและฝึกอบรม ในปีงบประมาณ 2546 คณะกรรมการกองทุนได้อนุมัติทุนการศึกษาและฝึกอบรมให้กับผู้รับทุนแก่หน่วย งานที่ปฏิบัติงานด้านพลังงานและปิโตรเลียมเป็นค่าใช้จ่าย ในการศึกษาเพิ่มเติม และขยายระยะเวลาการศึกษา จำนวน 432,973 บาท ดังนี้
(3) หมวดการเดินทางเพื่อศึกษา ดูงาน ประชุม อบรมและสัมมนา ในปีงบประมาณ 2546 ได้อนุมัติค่าใช้จ่ายให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน จำนวน 1 โครงการ ในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการตามโครงการศึกษาเพื่อกำหนดบทบาทเป้าหมายและ ยุทธศาสตร์ของกระทรวงพลังงาน ในวงเงิน 695,000 บาท
(4) หมวดการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สำนักงาน ได้อนุมัติค่าใช้ จ่ายหมวดการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สำนักงาน โดยอนุมัติจ่ายเงินงบประมาณปีงบประมาณ 2546 จำนวน 74,441 บาท ให้แก่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อชดเชยเงินที่เบิกเกินในปีงบประมาณ 2545
(5) หมวดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ในปีงบประมาณ 2546 อนุมัติเงินจำนวน 600,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการบริหารงานฯ ได้แก่ เงินเดือนค่าจ้างของเจ้าหน้าที่ ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ ที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับกองทุนฯ มีความสะดวกรวดเร็ว
4. คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2546 ในหมวดต่างๆ ทั้ง 4 หมวด รวมเป็นเงิน 1,802,414 บาท โดยได้เบิกจ่ายเงินไปแล้วทั้งสิ้น 544,495.59 บาท และยอดคงเหลือผูกพันเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในหมวดทุนการศึกษาและฝึกอบรมไปปี 2547 เป็นจำนวนเงิน 432,973 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
หมวดรายจ่าย | อนุมัติ | การเบิกจ่าย ณ วันที่ 30 ก.ย. 46 |
ผูกพัน ปี 2547 |
คงเหลือ |
1. การค้นคว้า วิจัย และการศึกษา | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 |
2. การโฆษณา การเผยแพร่ข้อมูล และประชาสัมพันธ์ | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 |
3. เงินทุนการศึกษาและฝึกอบรม | 432,973 | 0.00 | 432,973 | 432,973 |
4. การเดินทางเพื่อศึกษา ดูงาน ประชุม อบรม และสัมมนา | 695,000 | 298,806.75 | 0.00 | 396,193.25 |
5. การจัดหาเครื่องมือ และอุปกรณ์สำนักงาน | 74,441 | 74,441 | 0.00 | 0.00 |
6. ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน | 600,000 | 171,247.84 | 0.00 | 428,752.16 |
รวม | 1,802,414 | 544,495.59 | 432,973 | 1,257,918.41 |
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 แผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544 - 2554 (ปรับปรุง)
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เรื่องแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาวและแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544 - 2554 ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ซึ่งปัจจุบันคือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.) เพื่อใช้เป็นกรอบในการลงทุนก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติจำนวน 8 โครงการ วงเงินลงทุน 93,060 ล้านบาท (ณ อัตราแลกเปลี่ยนที่ 45 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ) และจากความต้องการก๊าซธรรมชาติที่มีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ได้ประมาณ การไว้เดิม จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแผนการขยายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเพื่อให้สอด คล้องกับสถานการณ์
2. แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว จากการขยายตัวของเศรษฐกิจใน ช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซฯ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยคาดว่าความต้องการใช้ก๊าซฯ รวมในภาคการผลิตต่างๆ จะเพิ่มขึ้นจากระดับ 2,630 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 2546 เป็น 4,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี 2552 และจะมีความต้องการถึงระดับ 5,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 2559 โดยแยกตามกลุ่มผู้ใช้ ดังนี้
2.1 ประมาณการความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคการผลิตไฟฟ้า คาดว่าความต้องการก๊าซฯ ในภาคการผลิตไฟฟ้าจะมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อปี ในช่วงปี 2546 - 2559
2.2 ประมาณการความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรมและการขนส่ง คาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคตตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยอยู่ในระดับร้อยละ 8 ต่อปี
2.3 ประมาณการความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ เนื่องจาก ปตท. มีแผนที่จะก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 5 และโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 ทำให้มีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นเป็น 858 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 2553 และคาดว่าจะมีความต้องการอยู่ที่ระดับ 865 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 2559 โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี
3. การจัดหาก๊าซธรรมชาติ
3.1 ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ ณ สิ้นปี 2544 ประเทศไทยมีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proved Reserves) ปริมาณสำรองที่น่าจะเป็น (Probable Reserves) และปริมาณสำรองที่คาดว่าจะเป็น (Possible Reserves) เท่ากับ 52.21 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และหากมีการผลิตที่ระดับ 3,000 และ 4,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จะมีก๊าซฯ ใช้ได้อีกประมาณ 48 และ 36 ปี ตามลำดับ
3.2 การจัดหาก๊าซธรรมชาติในอดีต - ปัจจุบัน ปตท. มีสัญญาซื้อขายก๊าซฯ กับกลุ่มผู้ขายทั้ง ในประเทศและต่างประเทศรวม 9 ฉบับ มีปริมาณซื้อขายตามสัญญา (Daily Contract Quantity : DCQ) ประมาณ 2,587 - 2,828 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และสามารถเรียกรับก๊าซฯ เพิ่มขึ้นได้อีกร้อยละ 15 ของปริมาณ DCQ และร้อยละ 10 สำหรับสัญญาเจดีเอ รวมเป็นปริมาณซื้อขายทั้งหมดประมาณ 2,966 - 3,243 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
3.3 แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติในอนาคต คาดว่าจะมีศักยภาพในการจัดหาก๊าซฯ จากแหล่งใหม่ๆ เพิ่มเติม ได้อีกประมาณ 580 - 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจากแหล่งที่มีสัญญาอยู่ในปัจจุบันได้ อีกประมาณ 800 - 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
4. ปตท. ได้ทำการปรับปรุงแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2544 - 2554) ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 เพื่อให้สามารถรองรับกับความต้องการก๊าซฯ ที่เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่คาดการณ์ไว้ และจากความต้องการใช้ก๊าซฯ ในอนาคตที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้การลงทุนในระบบท่อส่งก๊าซฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีสาระสำคัญในการปรับปรุง ดังนี้
4.1 การเพิ่มขีดความสามารถของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันตก มีแผนการติดตั้ง Compressor ที่จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมทั้งการวางท่อจากท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ราชบุรี - วังน้อย บริเวณไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี (Main Line) ไปยังโรงไฟฟ้าพระนครใต้ จังหวัดสมุทรปราการ และวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Spur Line) เชื่อมต่อจาก Main Line บริเวณ อำเภอทวีวัฒนา ไปยังโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ จังหวัดนนทบุรี พร้อมกับการติดตั้ง Standby Compressor ที่จังหวัดราชบุรี
4.2 การเพิ่มขีดความสามารถของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันออก เป็นการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลเส้นที่ 3 จากแหล่งอาทิตย์ และพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ไปยังจังหวัดระยอง และวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกเส้นที่ 3 ต่อไปยังสถานีเพิ่มความดันก๊าซฯ บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และวางท่อ ส่งก๊าซฯ ต่อจากอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปยังอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และจะทำการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลเส้นที่ 3 บริเวณจุด KP 361 (Kilometer Post 361) ไปยังจังหวัดราชบุรี
5. การดำเนินโครงการตามแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544 - 2554 (ปรับปรุง) จะทำให้โครงข่ายระบบท่อจากอ่าวไทยจะมีกำลังส่งก๊าซฯ สูงสุด 3,680 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และกำลังส่งจากโครงข่ายท่อส่งก๊าซฯ จากสหภาพพม่าสูงสุด 1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งจะทำให้โครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซฯ โดยรวมมีกำลังส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดเป็น 5,020 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
6. แผนการลงทุนจะแบ่งเป็น 2 ระยะ และมีโครงการต่างๆ ที่จะดำเนินงานทั้งหมด 10 โครงการ โดยแบ่งเป็นโครงการในระยะที่ 1 จำนวน 4 โครงการ มีกำหนดเวลาเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติตั้งแต่กลางปี 2548 จนถึงต้นปี 2549 และโครงการลงทุนในระยะที่ 2 จำนวน 6 โครงการ มีกำหนดเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติตั้งแต่ต้นปี 2551 จนถึงปี 2555 ประมาณการเงินลงทุนที่จะต้องใช้ในกรณีที่ทุกโครงการได้รับสิทธิและประโยชน์ ในการ ยกเว้นอากรนำเข้าอุปกรณ์และเครื่องจักรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวมเป็นเงิน 98,495 ล้านบาท (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 40 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ) และหากโครงการไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน แล้ว วงเงินลงทุนทั้งหมดจะเท่ากับ 104,834 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว และแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544 - 2554 (ปรับปรุง) ตามที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เสนอ ดังรายละเอียดตามเอกสารแนบ 4.1.1 และเอกสารประกอบวาระ 4.1 เพื่อใช้เป็นกรอบในการลงทุนก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ โดยมีโครงการที่จะอนุมัติในช่วงปี 2544 - 2554 จำนวน 10 โครงการ วงเงินลงทุน 104,834 ล้านบาท (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 40 บาท/เหรียญสหรัฐฯ) แยกเป็นโครงการในระยะที่ 1 จำนวน 4 โครงการ และระยะที่ 2 จำนวน 6 โครงการ
2.เห็นชอบให้ใช้แผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ตามข้อ 1 เป็นกรอบของการพิจารณาในรายละเอียดของโครงการในช่วงปี 2544 - 2554 โดยไม่ต้องเสนอขออนุมัติในระดับนโยบายอีก ยกเว้นโครงการที่มีประเด็นนโยบายพิเศษ โดยมีโครงการที่จะขออนุมัติดำเนินการในช่วงปี 2544 - 2554 ดังนี้
โครงการในระยะที่ 1 | กำหนดวันเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติ |
1. โครงการติดตั้ง Compressor ที่จังหวัดกาญจนบุรี | กลางปี 2548 |
2. โครงการติดตั้ง Standby Compressor ที่จังหวัดราชบุรี | ปลายปี 2548 |
3. โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทรน้อย - โรงไฟฟ้าพระนครใต้/โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ | ปลายปี 2548/ต้นปี 2552 |
(เดิมคือโครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติรอบกรุงเทพและปริมณฑล) | |
4. โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลและบนบกเส้นที่ 3 | ต้นปี 2549 |
โครงการในระยะที่ 2 | กำหนดวันเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติ |
1. โครงการติดตั้ง Compressor บนบกและในทะเล | ต้นปี 2551 |
2. โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทยมาเลเซีย - แหล่งอาทิตย์ | ต้นปี 2551 |
3. โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจาก KP361 ในทะเล - ปท. 5 จังหวัดราชบุรี | ต้นปี 2551 |
4. โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากโรงไฟฟ้าวังน้อย - แก่งคอย จังหวัดสระบุรี | ต้นปี 2551 |
5. โครงการติดตั้ง Compressor ที่อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี | ต้นปี 2551 |
6. โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากท่อเส้นที่ 3 - ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | 2555 |
3.ให้ บมจ. ปตท. เสนอรายละเอียดของโครงการแต่ละโครงการที่จะดำเนินการในช่วงปี 2544 - 2554 ดังกล่าวข้างต้นต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยให้ สศช. รับพิจารณาเฉพาะโครงการที่อยู่ในแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ตามข้อ 1
4.ให้ บมจ. ปตท. ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการขยายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมเจ้าท่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร การรถไฟแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อให้โครงการสามารถแล้วเสร็จทันตามเป้าหมาย ในการสนองความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศ
5.ให้ บมจ. ปตท. ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในการพิจารณาอนุมัติให้การ ส่งเสริมการลงทุนในโครงการต่างๆ ตามแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติตามข้อ 1
เรื่องที่ 4 การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและแนวทางการกำกับดูแล
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2546 ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2546 ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และ 3 ตุลาคม 2543 เรื่องการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า ทั้งนี้กระทรวงพลังงานจะนำเสนอโครงสร้างกิจการไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อไป และเห็นชอบในหลักการให้ กฟผ. แปลงสภาพเป็นบริษัททั้งองค์กร โดยใช้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
2. กระทรวงพลังงาน ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษา Boston Consulting Group (Thailand) เพื่อทำการศึกษาการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนากิจการพลังงานของประเทศไทย และการปรับปรุงประสิทธิภาพ กิจการไฟฟ้า โดยมีคณะกรรมการกำกับโครงการศึกษาการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนากิจการ พลังงานของประเทศไทย และการปรับปรุงประสิทธิภาพกิจการไฟฟ้า ซึ่งมีปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานคณะกรรมการประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่กำกับดูแลการศึกษาดังกล่าว
3. ในการศึกษาได้มีการเปรียบเทียบรูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้า ในลักษณะต่างๆ ดังนี้ (1) รูปแบบFull Competition (2) รูปแบบ Competitive Bilateral Contract Model (3) รูปแบบ Super National Champion Model (4) รูปแบบ Enhanced Single Buyer Model (5) รูปแบบ Partial Competition Model
4. ในระหว่างการศึกษาได้มีการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยว ข้องในกิจการไฟฟ้าประกอบด้วย ผู้แทนจากการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง หน่วยราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง สหภาพแรงงานของ 3 การไฟฟ้า ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมาธิการการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน วุฒิสภา กรรมาธิการการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ
5. ลักษณะโครงสร้างกิจการไฟฟ้ารูปแบบ ESB ที่กระทรวงพลังงานนำเสนอมีลักษณะดังนี้
5.1 กิจการผลิตไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้า : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ดำเนินการผลิตและส่งไฟฟ้าเช่นเดียวกับในปัจจุบัน และเป็นผู้ซื้อไฟฟ้ารายเดียว (Single buyer) ส่งกระแสไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย คือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
5.2 ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า : การสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้า จะสั่งโดยศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า (System Operator) ซึ่งจะอยู่ภายใต้กิจการระบบส่งไฟฟ้า (Transmission) ของ กฟผ. โดยหน่วยงานกำกับ ดูแล (Regulator) จะทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าให้มีความโปร่งใสใน การสั่งจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านกระบวนการการแบ่งขอบเขตงาน (Ring Fence) ที่ชัดเจน
5.3 บทบาทของผู้ประกอบการเอกชน : การผลิตไฟฟ้าในอนาคตจะมีการเปิดประมูลแข่งขัน โดยหน่วยงานกำกับดูแลที่จะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์และเงื่อนไขการ ประมูล ให้มีความชัดเจน โปร่งใส ให้ความเป็นธรรมกับผู้ลงทุน
5.4 หน่วยงานกำกับดูแล : จะมีการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) ภายใต้กระทรวงพลังงาน เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการไฟฟ้า กำกับดูแลราคาค่าบริการ คุณภาพบริการ และการลงทุนให้มีความเหมาะสม พอเพียง รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งดูแลความเป็นธรรมกับนักลงทุน และ คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับคุณภาพการบริการที่ดี
6. ลักษณะโครงสร้างองค์กรของ 3 การไฟฟ้า
6.1 กฟผ. จะมีการแปลงสภาพเป็นบริษัททั้งองค์กร และจดทะเบียนกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 โดยมีการแบ่งแยกทางบัญชีระหว่างกิจการผลิตและกิจการระบบส่ง เพื่อสร้างความโปร่งใส และส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
6.2 การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะเป็นผู้ดำเนินการระบบจำหน่าย และการค้าปลีกไฟฟ้า ภายใน พื้นที่รับผิดชอบของตน จะมีการแบ่งแยกทางบัญชีระหว่างธุรกิจสายจำหน่ายและจัดหาไฟฟ้า เพื่อส่งเสริม ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน หน่วยงานกำกับดูแลสามารถตรวจสอบได้ และป้องกันการอุดหนุนระหว่างธุรกิจสายจำหน่ายที่มีลักษณะผูกขาดกับธุรกิจการ ค้าปลีกไฟฟ้า
7. องค์กรกำกับดูแล
7.1 จะมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าขึ้นภายใต้กระทรวงพลังงาน ดำเนินงานภายใต้นโยบายของกระทรวงพลังงานและรัฐบาล ทำหน้าที่ดูแลการประกอบกิจการไฟฟ้าให้ระบบมีความมั่นคง รักษาระดับราคาและคุณภาพของบริการให้มีความเหมาะสมเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และประสานงานให้มีการลงทุนอย่างเหมาะสมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและความมั่น คงของระบบไฟฟ้า พร้อมทั้งให้ความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการ และคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับบริการที่ดี
7.2 จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า ประกอบด้วย กรรมการ 7 ท่าน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าซึ่งเป็นหน่วยงานในกระทรวง พลังงานปฏิบัติหน้าที่เป็น หน่วยงานเลขานุการ มีงบประมาณจากผู้ประกอบการ/หรือเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้
7.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาขึ้น 1 ชุด เพื่อคัดเลือกกรรมการกำกับดูแลฯ 6 ท่าน โดยเมื่อคณะกรรมการทั้ง 6 ท่านได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการทั้ง 6 ท่าน จะเป็นผู้สรรหาหัวหน้าสำนักงานฯ อีกครั้งหนึ่ง
8. เพื่อเป็นแรงผลักดันให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพในกิจการไฟฟ้า ควรมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ ในโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าดังนี้ (1)ปรับหลักเกณฑ์ทางการเงินจากเกณฑ์ที่อิงทางด้านเงินสด เป็นเกณฑ์ที่อิงผลตอบแทนการลงทุน (2) ปรับปรุงกลไกให้การไฟฟ้ารับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น (3) สนับสนุนให้มีการบริหารจัดการเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ (4) กำหนดกลไกในการชดเชยรายได้ที่ชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยอาจจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อพัฒนาไฟฟ้า เป็นตัวกลางการชดเชยรายได้ระหว่างการ ไฟฟ้า (5) กำหนดมาตรการจูงใจให้กับผู้ประกอบการในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน
9. กระทรวงพลังงานจะต้องดำเนินการต่อไป ดังนี้ (1) ทำการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ขายส่ง ขายปลีก และการชดเชยรายได้ (2) กำหนดรายละเอียดการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า และดัชนีชี้วัดการดำเนินงานของการไฟฟ้า (3) ดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า ยกร่างกฎหมายหลัก และกฎหมายรองว่าด้วยการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า (4) เตรียมการด้านบุคลากร และการพัฒนาศักยภาพในการกำกับดูแล (5) ดำเนินการประชาสัมพันธ์ และการสร้างการรับรู้ของสาธารณชน
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบข้อเสนอการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและแนวทางการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าของกระทรวงพลังงาน
2.มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน กฟผ. กฟน. กฟภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลกิจการ ไฟฟ้าบังเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
3.เนื่องจาก กฟผ. อยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อแปรสภาพองค์กร ก่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในต้นปี 2547 เพื่อให้ กฟผ. สามารถแปรสภาพได้สอดคล้องกับโครงสร้างใหม่ ตามระยะเวลาที่กำหนด เห็นควรให้
3.1 ยกเว้นให้ กฟผ. ไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้น ที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504
3.2 ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดมทุนจากภาคเอกชน ประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด และ กฟผ. เพื่อทำหน้าที่พิจารณาประเมินราคาหุ้นที่เสนอขาย ขั้นตอน และวิธีการกระจายหุ้น
เรื่องที่ 5 แผนการระดมทุนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 ได้เห็นชอบแผนการเตรียมความพร้อมการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ ซึ่งกำหนดให้มีการจดทะเบียนและกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจ 18 แห่ง โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะจดทะเบียนและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 1 ไตรมาส 2 และไตรมาส 4 ปี 2547 ตามลำดับ
2. กฟภ. ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมองค์กรสำหรับแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัด โดยได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินและกฎหมาย เพื่อทำการศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการแปรรูปและการจัดทำแผนระดมทุนจากภาค เอกชนที่เหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการ กฟภ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2546 ได้ให้ความเห็นชอบแผนดังกล่าว และต่อมาคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้าในการประชุม ครั้งที่1/2546 (ครั้งที่ 46) เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2546 ได้มีมติรับทราบผลการศึกษาแผนการระดมทุนของ กฟภ. และเห็นชอบในหลักการให้ กฟภ. แปลงสภาพเป็นบริษัททั้งองค์กร โดยใช้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
3. สรุปสาระสำคัญของแผนระดมทุน
3.1 การจัดโครงสร้างบริษัท : ให้แปลงสภาพ กฟภ. ทั้งองค์กรเป็นบริษัท โดยโครงสร้างองค์กรแบ่งเป็น 5 หน่วยธุรกิจ แต่ในเบื้องต้น กฟภ. อาจพิจารณารวมหน่วยธุรกิจปฏิบัติการเครือข่ายและหน่วยธุรกิจจัดจำหน่ายภาย ใต้การกำกับดูแลไว้เป็นหน่วยธุรกิจเดียวกัน เนื่องจากหน่วยธุรกิจทั้งสองปัจจุบันมีการใช้ทรัพยากรและบุคลากรร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ควรแยกระบบบัญชีและสารสนเทศของแต่ละหน่วยธุรกิจโดยทันที และ เมื่อมีความพร้อมจึงแยกออกเป็นหน่วยธุรกิจ และในอนาคตสามารถจัดตั้งหน่วยธุรกิจทั้งสองเป็นบริษัทหากมีความเหมาะสม
3.2 การจัดการทรัพย์สิน หนี้สินและทุน
(1) การแปลงสภาพ กฟภ. ทั้งองค์กร และจัดตั้ง บมจ. กฟภ. ภายใต้ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ กำหนดให้ทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดของ กฟภ. โอนไปเป็นของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ณ วันจดทะเบียน โดยสามารถใช้มูลค่าทรัพย์สินตามมูลค่าตามบัญชีได้
(2) ขั้นตอนการประเมินราคาทรัพย์สินใหม่อาจสามารถดำเนินการในภายหลังได้เพื่อให้ บมจ. กฟภ. มี ROA และ/หรือ ROE ที่เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทเทียบเคียงเพื่อประโยชน์ในการเสนอขาย หุ้น
(3) กฟภ. จะต้องดำเนินการแยกระบบบัญชีระหว่างหน่วยธุรกิจปฏิบัติการเครือข่ายและหน่วย ธุรกิจจัดจำหน่ายภายใต้การกำกับดูแลเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ไฟฟ้า และเพื่อให้สามารถออกงบการเงินแยกตามหน่วยธุรกิจ
3.3 การวิเคราะห์ฐานะการเงินของ กฟภ. : รายได้ และ EBITDA ในประมาณการกรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า โครงสร้างทุน และวิธีดำเนินธุรกิจ ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม EBT (กำไรสุทธิก่อนภาษีและเงินนำส่งรัฐ) และ Earnings (กำไรสุทธิหลังหักภาษีและเงินนำส่งรัฐ) จะลดต่ำลงในปี 2547-2551 เนื่องจากมีภาระดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากการก่อหนี้เพิ่มเพื่อนำ ไปลงทุน ส่งผลให้อัตราส่วนกำไรต่อสินทรัพย์ (ROA) และอัตราส่วนกำไรต่อส่วนทุน (ROE) ของ กฟภ. อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.14 และ 3.82 ซึ่งค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของบริษัทในต่างประเทศ (ร้อยละ 3.1 และ 9.4 ตามลำดับ)
3.4 มูลค่าองค์กรของ กฟภ. : การประเมินมูลค่าโดยใช้วิธีการคำนวณ Discounted Cash Flow ได้จัดทำเป็น 3 กรณี ดังนี้
กรณี | มูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้น (ล้านบาท) (Equity Value) |
|
ฐาน | ไม่มีการปรับโครงสร้างการชดเชยค่าไฟฟ้า | 19,505-32,682 |
1 | ปรับโครงสร้างการชดเชยค่าไฟฟ้า โดยเพิ่มส่วนต่างค่าไฟฟ้า ขายปลีกและขายส่งร้อยละ 3.1 | 62,807-82,990 |
2 | ปรับโคสร้างสินทรัพย์โดย Write-down สินทรัพย์ และทุนลงร้อยละ 25 | 17,341-30,338 |
3.5 การชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้า
กลุ่มที่ปรึกษาได้นำเสนอแนวทางเลือกในการชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้าไว้ 4 แนวทาง คือ (1) กฟผ. ขายให้ กฟภ. ในราคาที่ต่ำกว่า กฟน. (2) กฟผ. ขายให้ กฟภ. และ กฟน. ในราคาเดียวกัน แต่การชดเชยเกิดขึ้นที่ระดับค่าส่งในรูปค่า Ft (3) จัดตั้งกองทุนไฟฟ้าเพื่อเป็นตัวกลางระหว่าง กฟภ. และ กฟน. และ (4) หน่วยงานของรัฐบาลเป็นผู้จ่ายเงินชดเชยให้ กฟภ.
ทั้งนี้ กลไกการชดเชยรายได้ที่นักลงทุนให้การยอมรับต้องมีการกำหนดสูตรการคำนวณ เงินชดเชยที่ชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีผลบังคับใช้ในระยะยาวมีหน่วยงานอิสระทำหน้าที่กำกับดูแล และกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน
3.6 การกำหนดทุนจดทะเบียน : จดทะเบียนบริษัทที่ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำที่ 7,000 ล้านบาท ก่อน และเมื่อได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการเงิน และมูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นของ กฟภ. แล้วจึงแปลงกำไรสะสมที่ยังมิได้จัดสรรเป็นทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระเพิ่ม เติมจนถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนการเสนอขายหุ้นของ บมจ. กฟภ. ให้แก่นักลงทุน
3.7 แนวทางการระดมทุน
3.7.1 การระดมทุนจะประสบความสำเร็จ กฟภ. ต้องดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หาข้อสรุปโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้า รวมทั้งนโยบายเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้าและการให้เงินสนับสนุน (2) ปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มโครงสร้างอุตสาหกรรมและสภาวะ การแข่งขัน (3) หาข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สิน ภาระหนี้และข้อตกลงสัญญาต่างๆ ระหว่าง กฟภ. กับหน่วยงานรัฐบาล และเอกชน (4) จัดทำแผนการขยายธุรกิจที่สอดคล้องกับสภาวะการแข่งขัน รวมทั้งมีแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไร (5) จัดให้มีบรรษัทภิบาล เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน
3.7.2 การกำหนดสัดส่วนการเสนอขายเบื้องต้นที่กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาแนะนำ ได้แก่ สัดส่วน 60:40 (ในประเทศ : ต่างประเทศ) ทั้งนี้จะต้องมีการกำหนดให้มีความยืดหยุ่นในการปรับสัดส่วนการเสนอขายให้ เหมาะสมกับความต้องการที่แท้จริงในขณะที่ทำการเสนอขาย
3.8 การจัดสรรผลประโยชน์พนักงาน
3.8.1 มูลค่าผลประโยชน์ทั้งหมดที่จัดสรรให้แก่พนักงานอาจจะกำหนดเป็น XX เท่าของเงินเดือนทั้งหมดของพนักงาน
3.8.2 ในเงื่อนไขการขายหุ้นให้กับพนักงานควรมีการกำหนดให้มีระยะเวลาห้ามขายหุ้น (Lock-up Period) ตามความเหมาะสม เช่น 3 ปี เพื่อลดผลกระทบต่อราคาหุ้นหลังจากเปิดให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
3.8.2 ในการจัดสรรหุ้นให้กับพนักงานจะต้องมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับจัด สรรหุ้นอย่างชัดเจนเพื่อลดความขัดแย้งในองค์กร โดย กฟภ. ควรเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว
3.9 กฟภ. จะต้องดำเนินการในประเด็นต่างๆ ให้แล้วเสร็จก่อนการจดทะเบียนเป็นบริษัท ดังนี้
3.9.1 การจัดทำแผนกลยุทธ์ธุรกิจ
3.9.2 การจัดโครงสร้างองค์กรและโครงสร้างบริษัทเพื่อการแปรรูป
3.9.3 การเตรียมความพร้อมด้านบัญชี, ด้านระบบภาษีบัญชี และด้านระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ
3.9.4 การขอความยินยอมจากคู่สัญญา/ผู้ให้กู้
3.9.5 การขอความสนับสนุนจากรัฐบาล
3.9.6 การจัดให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
3.9.7 การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (Public Hearing)
มติของที่ประชุม
1.รับทราบผลการศึกษาแผนการระดมทุนของ กฟภ.
2.เห็นชอบในหลักการให้ กฟภ. แปลงสภาพเป็นบริษัททั้งองค์กร โดยใช้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 และให้ กฟภ. ดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าต่อไป
เรื่องที่ 6 การแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP)
สรุปสาระสำคัญ
1. การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2535 ได้ออกระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ประกาศการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP งวดที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ กฟผ. สามารถรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ที่ผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนอกรูปแบบ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิง และการผลิตไฟฟ้าและ ไอน้ำร่วมกัน (Cogeneration) ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานนอกรูปแบบและต้นพลังงานพลอยได้ใน ประเทศให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระทางด้านการลงทุนของภาครัฐในระบบการผลิตและ ระบบจำหน่ายไฟฟ้า
ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP มีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะเพื่อให้ระเบียบมีความเหมาะสมและสามารถนำไป ปฏิบัติได้ ตลอดจนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการปรับปรุงครั้งสำคัญในปี 2540 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งเห็นชอบมาตรการในการแก้ไขปัญหาของผู้ผลิตรายเล็ก ได้แก่ การปรับโครงสร้างราคารับซื้อไฟฟ้า และสูตรการปรับค่าพลังงานไฟฟ้า การปฏิบัติตามบางส่วนของ Grid Code การผ่อนผันคุณสมบัติของ SPP โดยมาตรการดังกล่าวได้นำมาปรับปรุงในระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP และสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับ SPP และใช้ปฏิบัติมาถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติในช่วงที่ผ่านมา เงื่อนไขในทางปฏิบัติบางประเด็นไม่ได้ระบุไว้ในระเบียบฯ และสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กฟผ. จึงขอปรับปรุงระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดระเบียบปฏิบัติตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้า และการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ให้ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ การ แก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ได้กำหนดไว้ในระเบียบฯ ข้อ บ. ว่า "การแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าฯ ทุกครั้งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ"
2. คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า ได้เห็นชอบการแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP โดยสามารถสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
2.1 แก้ไขข้อกำหนดคุณสมบัติของ SPP ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ/น้ำมัน เป็นเชื้อเพลิงหลักหรือเชื้อเพลิงเสริม หากเกินกว่าร้อยละ 25 ของพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิงทั้งหมด จะถือเป็นคุณสมบัติการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ Cogeneration ซึ่งจะต้องมีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 45 เนื่องจากการกำหนดเงื่อนไขเดิม ไม่เหมาะสมกับโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินและพลังงานนอกรูปแบบกากหรือ เศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิงหลัก
2.2 แก้ไขรายละเอียดข้อมูลประกอบคำร้องและข้อเสนอการขายไฟฟ้า ให้ตรงกับแบบฟอร์มที่ กฟผ. ถือปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน และขยายระยะเวลาลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า จากเดิมภายใน 1 ปี เป็นภายใน 2 ปี หลังจากวันที่การไฟฟ้าแจ้งผลการพิจารณารับซื้อไฟฟ้า โดยกำหนดให้ SPP จะต้องแสดงรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) กับการไฟฟ้าก่อนลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
ทั้งนี้ เห็นควรให้ กฟผ. ทำหนังสือแจ้งผลการตอบรับซื้อไฟฟ้าและเงื่อนไขการแสดงรายงานผลกระทบสิ่งแวด ล้อม รวมทั้งแนบร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) เรื่อง การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กระหว่าง กฟผ. กับ SPP ว่าจะมีการ รับซื้อไฟฟ้าภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
2.3 กำหนดระยะเวลาการยื่นและคืนหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาก่อนการลงนามใน สัญญา 10 วันทำการ เพื่อความชัดเจนและให้ระยะเวลาตรวจสอบหลักประกันได้ในระยะเวลาหนึ่ง
2.4 SPP จะต้องผลิตไฟฟ้าให้มีคุณภาพตามระเบียบการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนานระบบของ การไฟฟ้า และเป็นไปตาม SPP Grid Code ทั้งนี้ ในการแก้ไข Grid Code และระเบียบการเดินเครื่องกำเนิด ไฟฟ้าขนานระบบของการไฟฟ้า ให้กำหนดไว้ในระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP โดยการแก้ไขจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาค รัฐ และนักวิชาการ และเสนอ กพช. ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ให้สอบถามความเห็นจากผู้ประกอบการในขั้นตอนการหารือด้วย
2.5 แก้ไขความหมายของเชื้อเพลิงเสริม โดยหมายความรวมถึงเชื้อเพลิงสำรองด้วย และ กำหนดจำนวนชั่วโมงที่ใช้คำนวณ Monthly Capacity Factor ให้หักลบด้วยจำนวนชั่วโมงที่ต้องหยุดซ่อมบำรุง ตามแผนบำรุงรักษารายปี จำนวนชั่วโมงในวันที่ กฟผ. สั่งการเดินเครื่องต่ำกว่าสัญญาในช่วง Peak วันที่ กฟผ. ไม่สามารถรับไฟได้ รวมถึงวันที่มีเหตุสุดวิสัยด้วย
2.6 เพิ่มเติมข้อกำหนดการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าและไอน้ำ Tie Bus และ Tie Steam โดยให้แยกระบบเชื่อมโยงเป็นอิสระในแต่ละสัญญา ไม่อนุญาตให้มีการนำระบบมาเชื่อมต่อกัน เว้นแต่ ได้รับอนุญาตจากการไฟฟ้า โดยให้ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมตามที่การไฟฟ้ากำหนด
2.7 ให้ผ่อนปรนการลดการจ่ายไฟฟ้าในช่วง Off-peak ของผู้ผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานนอกรูปแบบ โดยให้สามารถผลิตได้เต็มที่ในช่วงดังกล่าว เนื่องจากธรรมชาติของเชื้อเพลิงที่ใช้ ไม่สามารถควบคุมให้มีความสม่ำเสมอได้ นอกจากนี้ การผ่อนปรนเงื่อนไขดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบรวม เนื่องจากสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของผู้ผลิตกลุ่มนี้มีสัดส่วนที่ต่ำมาก (ประมาณ 1%) และมีปริมาณพลังไฟฟ้าตามสัญญาน้อย ทั้งนี้ หากในอนาคตปริมาณการผลิตไฟฟ้าจาก SPP พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นมาก จนส่งผลกระทบต่อการสั่งการเดินเครื่องของ กฟผ. กฟผ. สามารถเสนอขอทบทวนการผ่อนปรนเงื่อนไขดังกล่าวได้
2.8 ตามสูตรการคำนวณปริมาณพลังไฟฟ้าคิดเงินแต่ละเดือน หากผลการคำนวณมีค่าเป็นลบ ผู้ผลิตรายเล็กจะต้องชำระเงินให้การไฟฟ้าเป็นจำนวนเท่ากับปริมาณพลังไฟฟ้า คิดเงินที่มีค่าเป็นลบ คูณด้วยอัตราค่าพลังไฟฟ้าในเดือนนั้นๆ ทั้งนี้ ค่าปรับที่ กฟผ. เรียกเก็บจาก SPP ให้ส่งคืนประชาชนผ่านสูตร Ft ในการคำนวณค่า Ft แต่ละเดือน
2.9 ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าใหม่กำหนดให้บังคับใช้เฉพาะ SPP ที่จะยื่นคำร้องและข้อเสนอการขายไฟฟ้าภายหลังการออกระเบียบฉบับใหม่นี้ ทั้งนี้ SPP รายเดิม หากมีความประสงค์จะปฏิบัติตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าฯ ใหม่ สามารถยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเดิม และใช้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่แก้ไขใหม่ตามระเบียบใหม่ได้ โดยจะขอแก้ไขข้อกำหนดในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพียงบางข้อไม่ได้ ทั้งนี้ การยกเลิกสัญญา ดังกล่าว SPP ไม่ต้องคืนเงินค่าพลังไฟฟ้า
2.10 เห็นควรให้คงข้อกำหนดในการแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติตามระเบียบการรับซื้อ ไฟฟ้าฯ และการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าตามระเบียบฯ เดิม โดยให้ยื่นข้อพิพาทผ่านอนุญาโตตุลาการหากอนุญาโตตุลาการไม่สามารถวินิจฉัยหา ข้อยุติได้ ให้ยื่นต่อศาลไทยเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบการแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก รายละเอียดตามข้อ 2
2.มอบหมายให้การไฟฟ้าออกประกาศการรับซื้อไฟฟ้าตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้า จากผู้ผลิตรายเล็ก และจัดทำต้นแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตราย เล็กฉบับใหม่ ตามแนวทางและหลักการในข้อ 1
3.ให้แต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ และนักวิชาการ เป็นผู้พิจารณาการแก้ไขระเบียบว่าด้วยการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนานกับระบบ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (SPP Grid Code) และระบบของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
สรุปสาระสำคัญ
1. ปี 2522 เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันโลกครั้งที่ 2 ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ประเทศไทยในขณะนั้น ประสบปัญหาภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างรุนแรง จนต้องมีการปันส่วนน้ำมัน ดังนั้น รัฐบาล จึงได้ออก คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 10/2523 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2523 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบด้วย 5 มาตรการ ได้แก่ (1) มาตรการจำกัดเวลาการเปิดบริการของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง (2) มาตรการจำกัดเวลาการใช้ไฟฟ้าในการโฆษณาสินค้าและบริการ (3) มาตรการจำกัดเวลาเปิดทำการของสถานบริการ (4) มาตรการจำกัดเวลาของสถานีวิทยุ โทรทัศน์ (5) การให้คณะกรรมการเฉพาะกิจในภาวะฝนแล้ง กำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้ไฟฟ้าของผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม
2. ต่อมาภาวะวิกฤตการณ์น้ำมันได้คลี่คลายลง จึงได้มีการออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี เพื่อยกเลิก มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามข้อ (1) และ (2) ส่วนมาตรการในข้อ (3) (4) และ (5) ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
3. สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) พิจารณาแล้วว่าปัจจุบันประเทศไทยสามารถจัดหาน้ำมันและไฟฟ้าได้เพียงพอต่อ ความต้องการใช้ในประเทศ ทำให้มาตรการประหยัดน้ำมันและไฟฟ้า ตามข้อ (3) (4) และ (5) ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป สนพ. จึงได้เสนอให้ยกเลิกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 10/2523 ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2523 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ยกเลิกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 10/2523 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2523 เรื่อง การกำหนด มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการผลิตแอลกอฮอล์จากพืชเป็นเชื้อเพลิง ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปแต่งตั้งคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ และต่อมาในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2545 ได้มีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาข้อเสนอการขอ ตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิง โดยให้เป็นไปตามกรอบนโยบายที่คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติกำหนด และให้นำเสนอผลการพิจารณาตั้งโรงงานต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
2. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 2/2545 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2545 ได้มีการพิจารณาเรื่องการอนุญาตตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเพื่อใช้ เป็นเชื้อเพลิง และในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2545 ได้มีมติอนุมัติการขอตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อ เพลิงของผู้ประกอบการจำนวน 8 ราย ตามข้อเสนอของคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ
3. เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2545 คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ ได้ดำเนินการแจ้งผลการอนุญาตให้ผู้ประกอบการทั้ง 8 ราย ทราบ โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการทั้ง 8 รายจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ได้ยื่นไว้ตามประกาศคณะกรรมการ เอทานอลแห่งชาติ ลงวันที่20 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 อาทิเช่น ต้องดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อเป็นเชื้อเพลิงตามที่ได้รับ อนุมัติให้แล้วเสร็จภายในเวลา 2 ปี นับจากวันที่ ได้รับแจ้งการอนุญาต และต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมภายใน 180 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการอนุญาต เป็นต้น
4. คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติในการประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2546 ได้พิจารณาการดำเนินการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง และได้มีมติให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานและรายละเอียด ประกอบคำขอรับใบอนุญาตประกอบพิจารณาโรงงานต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ครบถ้วน ภายในเดือนกรกฎาคม2546 ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวปรากฎว่า มีผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจำนวน 7 ราย ยื่นเอกสารหลักฐานและรายละเอียดครบถ้วนตามที่กำหนด และมีผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจำนวน 1 ราย คือ บริษัท อัลฟ่า เอ็นเนอร์จี จำกัด ยื่นเอกสารหลักฐานและรายละเอียดไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด และกระทรวงอุตสาหกรรมได้ส่งคืนคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้กับ บริษัทฯ แล้ว
5. เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2546 ในการประชุมคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ ได้พิจารณาคำขอของบริษัท อัลฟ่า เอ็นเนอร์จี จำกัด โดยได้ขออนุญาตขยายระยะเวลาการปฎิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขออกไปอีก 180 วัน นับจากวันที่ 25 มิถุนายน 2546 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติไม่อนุญาตให้บริษัทฯ ขยายระยะเวลาการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด และให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาเพิกถอนการอนุญาตจัด ตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงของบริษัทฯ ต่อไป เนื่องจากบริษัทฯ ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดได้ภายในกำหนดเวลา ขณะที่ผู้ได้รับอนุญาตรายอื่นสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ได้ทุกราย ประกอบกับบริษัทฯ ยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็น เชื้อเพลิงตามที่รับอนุญาตแต่อย่างใด
มติของที่ประชุม
เห็นชอบตามมติคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ ในการพิจารณาไม่อนุญาตให้บริษัท อัลฟ่า เอ็นเนอร์จี จำกัด ขยายระยะเวลาการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด และให้เพิกถอนการอนุญาตจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงของ บริษัทฯ
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 16-22 พฤศจิกายน 2558
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 21-27 กรกฏาคม 2557
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 9-15 พฤศจิกายน 2558
กพช. ครั้งที่ 94 - วันจันทร์ที่ 1 กันยายน 2546
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 2/2546 (ครั้งที่ 94)
วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2546 เวลา 13.00 น.
ณ ห้องประชุมธำรงนาวาสวัสดิ์ ชั้น 3
อาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
1.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
2.ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า
4.สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ "ยุทธศาสตร์พลังงาน ครั้งที่ 1 : พลังงานเพื่อการแข่งขันของประเทศไทย"
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบเดือนกรกฎาคม 2546 ปรับตัวสูงขึ้น 0.14 - 1.29 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากสถานการณ์ความไม่สงบในอิรักและจากการประท้วงการปรับขึ้นราคาน้ำมันภายใน ประเทศไนจีเรีย ประกอบกับมีพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่สหรัฐอเมริกา รวมถึงผลการประชุมของกลุ่มโอเปคเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 ได้มีมติให้ คงปริมาณการผลิตไว้ที่ระดับ 25.4 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือนสิงหาคม ราคาน้ำมันดิบยังคงปรับตัวสูงขึ้น 0.90 - 2.05 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องใน อิรัก ได้แก่ เหตุระเบิดสถานฑูตจอร์แดนและสำนักงานองค์การสหประชาชาติในกรุงแบกแดด และความเสียหายที่เกิดจากการวางระเบิดและเพลิงไหม้ของท่อส่งน้ำมันที่เชื่อม ต่อระหว่างเมือง Kirkuk ทางตอนเหนือของประเทศอิรักและเมืองท่า Ceyhan ของประเทศตุรกี ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบ โดยอิรักมีแผน จะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเป็น 2.0 ล้านบาร์เรล/วัน ในช่วงสิ้นปี 2546 ราคาน้ำมันดิบดูไบ และเบรนท์ของเดือนสิงหาคม 2546 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 27.66 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และ 29.65 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ตามลำดับ
2. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ในเดือนกรกฎาคม 2546 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 92 ปรับตัวสูงขึ้น 2.87 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และ 2.44 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ตามลำดับ จากความต้องการของประเทศในภูมิภาคเอเซีย เริ่มสูงขึ้นหลังสามารถควบคุมโรค SARS ได้ ประกอบกับมีการนำน้ำมันเบนซินจากเอเซียไปขายยังสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ราคาน้ำมันในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้นในช่วงฤดูท่องเที่ยว ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปรับตัวสูงขึ้น 0.16 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อุปทานในตึงตัว จีนและเกาหลีใต้ลดการส่งออกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เนื่องจากความต้องการใช้ภายในประเทศสูงขึ้น และจากแรงซื้อที่เพิ่มขึ้นของเวียดนาม ในเดือนสิงหาคม 2546 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 92 ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2.88 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และ 2.65 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ตามลำดับ อุปทานลดลงจากจีนและไต้หวันลดการส่งออก เนื่องจากความต้องการใช้ภายในประเทศสูงขึ้น และโรงกลั่นน้ำมัน 3 แห่งของญี่ปุ่นปิดซ่อมบำรุง รวมปริมาณการผลิตหายไป 0.49 ล้านบาร์เรล/วัน แต่ปัจจุบันโรงกลั่น 1 แห่ง คือ Mishuzima กำลังการผลิต 0.25 ล้านบาร์เรล/วัน ได้เริ่มกลับมาดำเนินการแล้ว และคาดว่าโรงกลั่นอีก 1 แห่ง คือ Osaka จะสามารถกลับมาดำเนินการได้ในช่วง กลางเดือนกันยายน 2546 ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปรับตัวสูงขึ้น 3.21 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากอุปสงค์ เพิ่มขึ้นจากความต้องการซื้อของเวียดนาม ฮ่องกง และอินโดนีเซีย อุปทานลดลงจากโรงกลั่นน้ำมัน ของเกาหลีใต้ปิดซ่อมบำรุง ประกอบกับจีนลดการส่งออกเนื่องจากความต้องการใช้ภายในประเทศสูงขึ้น ราคาเฉลี่ยของน้ำมันเบนซินออกเทน 95 , 92 , น้ำมันก๊าด ดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเตา อยู่ที่ระดับ 37.46 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล, 36.05 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล, 33.51 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล, 32.16 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และ 27.44 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ตามลำดับ
3. ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนกรกฎาคม 2546 มีการปรับราคาน้ำมันเบนซินขึ้น 4 ครั้ง รวม 1.20 บาท/ลิตร น้ำมันดีเซลหมุนเร็วปรับขึ้น 3 ครั้ง ลดลง 1 ครั้ง สุทธิเพิ่มขึ้น 0.40 บาท/ลิตร เดือนสิงหาคมมีการปรับราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลหมุนเร็วขึ้น 2 ครั้ง รวม 0.60 และ 0.50 บาท/ลิตร โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95 , 92 และดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2546 อยู่ที่ระดับ 17.29 , 16.29 และ 13.69 บาท/ลิตร ตามลำดับ
4. ค่าการตลาดเดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2546 มาอยู่ที่ระดับ 0.9493 และ 0.9174 บาท/ลิตร ตามลำดับ ค่าการตลาดปรับตัวลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ปรับตัวสูงขึ้นมากผู้ค้า น้ำมันปรับราคาขายปลีกได้น้อยกว่าต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนค่าการกลั่นเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2546 มาอยู่ที่ระดับ 0.4167 และ 0.5387 บาท/ลิตร ตามลำดับ
5. ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกเดือนกันยายน 2546 ปรับตัวสูงขึ้น 3.8 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาอยู่ที่ระดับ 272.8 เหรียญสหรัฐ/ตัน ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ณ โรงกลั่นอยู่ในระดับ 10.63 บาท/กก. อัตราเงิน ชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ อยู่ในระดับ 2.43 บาท/กก. คิดเป็นเงิน 449 ล้านบาท/เดือน และมีรายจ่ายในการชำระหนี้ตามข้อตกลงกับผู้ผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว 400 ล้านบาท/เดือน รวมกองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่าย 849 ล้านบาท/เดือน โดยกองทุนน้ำมันฯ มีรายรับจากน้ำมันชนิดอื่น 982 ล้านบาท/เดือน จึงมีเงินไหลเข้ากองทุนฯ สุทธิ 133 ล้านบาท/เดือน ยอดเงินคงเหลือกองทุนน้ำมันฯ หลังหักภาระผูกพัน ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2546 อยู่ในระดับ 4,532 ล้านบาท โดยมีเงินชดเชยค้างชำระ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2546 รวม 7,128 ล้านบาท ฐานะ กองทุนน้ำมันฯ สุทธิติดลบ 2,596 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า
สรุปสาระสำคัญ
1. การปรับโครงสร้างและแปรรูปกิจการไฟฟ้าของประเทศไทย ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2539 เห็นชอบให้แยกกิจการผลิตไฟฟ้า กิจการระบบ สายส่งและกิจการระบบสายจำหน่ายออกจากกัน และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 เห็นชอบแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งใช้เป็นกรอบกำหนดขอบเขตและทิศทางการปรับโครงสร้างและการแปรรูปธุรกิจ หลัก 4 สาขา ซึ่งรวมสาขาพลังงานไว้ด้วย
2. ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และ 3 ตุลาคม 2543 เห็นชอบข้อเสนอและแผนการดำเนินงานในการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัด ตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) หรือสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในปัจจุบัน การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามแผนฯ
3. แผนการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า กำหนดให้มีการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าขึ้นในปี 2546 ทำหน้าที่สั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า กำหนดราคาค่าไฟฟ้าในตลาดกลาง และบริหารการชำระเงินค่าซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งจะมีการแข่งขันในกิจการผลิตไฟฟ้า โดยมีผู้ผลิตไฟฟ้าหลายรายเสนอราคาขายและปริมาณไฟฟ้าที่ตนจะผลิตเข้าสู่ตลาด กลางฯ ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะจัดตั้งเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้า 1 และ 2 จำกัด และแปรรูปออกไปในที่สุด เพื่อให้มีการแข่งขันเพียงพอและให้กิจการผลิตไฟฟ้าแยกเป็นอิสระจากธุรกิจ ระบบส่งไฟฟ้า ภายใต้ระบบดังกล่าว ผู้ใช้ไฟส่วนใหญ่จะซื้อไฟฟ้าจากบริษัทระบบจำหน่ายและจัดหาไฟฟ้า ซึ่งเป็นกิจการที่กำกับดูแลโดยรัฐ โดยมีการแข่งขันในระดับค้าปลีก เปิดให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเลือกซื้อไฟฟ้าได้
4. ในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ที่กำกับดูแลด้านพลังงาน ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาเรื่อง การปรับโครงสร้างกิจการ ไฟฟ้า เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 ในการประชุมดังกล่าวได้มอบหมายให้ สพช. พิจารณาปรับปรุงแผนการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อ ขายไฟฟ้า ให้ครอบคลุมประเด็นข้อห่วงใยต่างๆ ได้แก่ ความมั่นคงของระบบไฟฟ้า การเพิ่มการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า การดูแลช่วยเหลือผู้ใช้ไฟที่มีรายได้น้อย ความผันผวนของราคาค่าไฟฟ้า การขยายโครงข่ายไฟฟ้าไปสู่ชนบท การยึดครองกิจการไฟฟ้าโดยต่างชาติ
5. ในเดือนมีนาคม 2545 มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีและเปลี่ยนรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับ ดูแลด้านพลังงานเป็นนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา และภายหลังการปฏิรูประบบราชการเมื่อเดือนตุลาคม 2545 มีการจัดตั้งกระทรวงพลังงาน โดยย้ายโอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาสังกัดกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเสนอแนวทางการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า โดยมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน และ สนพ. ได้นำเสนอรูปแบบการแข่งขันใหม่โดยได้นำประเด็นข้อห่วงใยต่างๆ เรียกว่าระบบ New Electricity Supply Arrangement (NESA) ซึ่งกำหนดให้มีการซื้อขายไฟฟ้าในตลาดต่างๆ มีการแบ่งกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังความร้อนของ กฟผ. มากกว่า 2 กลุ่ม มีการแยกศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าออกเป็นอิสระ ทั้งนี้ จะมีการแข่งขันทั้งในระดับการค้าส่งและค้าปลีกไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้ามีทางเลือกในการซื้อไฟฟ้า
6. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 ได้เห็นชอบแผนเตรียมความพร้อม เพื่อนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกำหนดให้มีการจดทะเบียนและกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจ 18 แห่ง โดย กฟผ. การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะจดทะเบียนและ กระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 1 ไตรมาส 2 และไตรมาส 4 ปี 2547 ตามลำดับ
7. นายกรัฐมนตรีในการตรวจเยี่ยมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2546 ได้มีนโยบายการแปลงสภาพ กฟผ. โดย (1) ให้ชะลอการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า (Power Pool) (2) ให้แปลงสภาพ กฟผ. เป็นบริษัทมหาชนทั้งองค์กร (3) ให้นำทุนของ กฟผ. เข้าจดทะเบียนและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยภาครัฐยังคงถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
8. กฟผ. ได้มีหนังสือถึงปลัดกระทรวงพลังงาน ลงวันที่ 29 เมษายน 2546 ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) พิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 เรื่อง การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า และการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า และวันที่ 3 ตุลาคม 2543 เรื่อง แผนการดำเนินงานในการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า และการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า
9. ความคืบหน้าในการดำเนินงาน
9.1 เพื่อเป็นการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 และตามนโยบายนายกรัฐมนตรีในการตรวจเยี่ยม กฟผ. เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2546 กฟผ. ได้จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน 6 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท เมอร์ริล ลินช์ ภัทร บริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ บริษัท Tisco บริษัท Cittigroup บริษัท JP Morgan และ บริษัท Morgan Stanley และบริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมาย 2 บริษัท คือ บริษัท White & Case LLP และบริษัท Linklaters เพื่อเตรียมการจดทะเบียน กฟผ. เป็นบริษัทและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 1 ปี 2547 บริษัทที่ปรึกษาได้ให้ความเห็นว่า เพื่อให้การกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ประสบความสำเร็จ จะต้องมีความชัดเจนในประเด็นต่างๆ ก่อนดำเนินการกระจายหุ้น ดังนี้
9.1.1 โครงสร้างกิจการไฟฟ้าในอนาคต รูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้าในอนาคตจะกำหนดบทบาททางธุรกิจ และโอกาสในการลงทุนหรือขยายกิจการของการไฟฟ้า ซึ่งนักลงทุนให้ความสำคัญมาก เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงต่อทิศทางของธุรกิจไฟฟ้าว่าจะมีการแข่งขันหรือไม่ อย่างไร ดังนั้น หากไม่มีความชัดเจนในประเด็นดังกล่าว จะถือเป็นความเสี่ยงหลักที่นักลงทุนจะนำมาประเมินกำหนดราคาหุ้น
9.1.2 กรอบการกำกับดูแล หากมีการแปรรูปกิจการไฟฟ้าจากภาครัฐเป็นของเอกชน จะต้องมีการกำหนดกรอบการกำกับดูแลที่ชัดเจน เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการไฟฟ้า กำกับดูแลราคาค่าบริการ คุณภาพการบริการ และการลงทุนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมทั้งให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ลงทุน
นอกจากนี้ โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรายได้ของกิจการไฟฟ้าในอนาคต จะต้องมีความชัดเจนโปร่งใส รวมทั้ง แนวทางการชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้าจะต้องมีความชัดเจน โปร่งใส เช่นกัน ซึ่งจะมีผลต่อการแปรรูป กฟน. และ กฟภ. ในอนาคตด้วย
9.1.3 การกำหนดโครงสร้างองค์กร: โครงสร้างองค์กรของการไฟฟ้าที่จะนำเข้าจดทะเบียนและกระจายหุ้นในตลาดหลัก ทรัพย์ฯ ต้องมีความชัดเจน มีรูปแบบที่ส่งเสริมการบริหารงานอย่างมี ประสิทธิภาพ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าและนักลงทุนในหุ้นกิจการไฟฟ้า
9.1.4 การจัดหาไฟฟ้าในอนาคต การจัดหาไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จะให้ผู้ใดดำเนินการ กฟผ. หรือจะให้ภาคเอกชนดำเนินการด้วย จะรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่ จะกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกอย่างไร
10. บริษัทที่ปรึกษาได้จัดทำแผนการดำเนินงาน เพื่อให้การดำเนินงานปรับโครงสร้างองค์กรของ กฟผ. และการจดทะเบียน กฟผ. ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1 ปี 2547 โดย โครงสร้างกิจการไฟฟ้าที่ชัดเจนจะต้องได้ข้อสรุปภายในเดือนกันยายน 2546 จดทะเบียน กฟผ. เป็นบริษัท ในต้นเดือนมกราคม 2547 และกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ปลายเดือนมีนาคม 2547
11. เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้ชะลอการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า ชะลอการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า (Power Pool) และให้มีการแปลงสภาพ กฟผ. ทั้งองค์กรให้มีการจดทะเบียนกระจายหุ้นการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ภายในปี 2547 จึงต้องมีการศึกษาโครงสร้างกิจการไฟฟ้าใหม่ เพื่อให้ได้โครงสร้างกิจการไฟฟ้าที่ชัดเจน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา โครงการศึกษายุทธศาสตร์พลังงานของประเทศไทยและการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า ซึ่งจะศึกษารูปแบบการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าที่เหมาะสม โครงสร้างองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวทางการกำกับดูแลกิจการ ไฟฟ้าในการอนาคต เพื่อให้การจดทะเบียนและกระจายหุ้นการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งประสบผลสำเร็จสูงสุด โดย การศึกษาดังกล่าวมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2546
12. เพื่อให้ กฟผ. สามารถดำเนินการตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี มีการแปรรูป กฟผ. ทั้งองค์กรและจดทะเบียนกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเห็นควรให้ดำเนินการ ดังนี้
12.1 ให้ชะลอการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และวันที่ 3 ตุลาคม 2543 ออกไปก่อน
12.2 ให้ความเห็นชอบในหลักการให้ กฟผ. แปลงสภาพเป็นบริษัททั้งองค์กร โดยใช้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
12.3 ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทตามมาตรา 16 แห่ง พรบ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เพื่อดำเนินการตามมาตรา 19 แห่ง พรบ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
มติของที่ประชุม
1.เห็นควรให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และ 3 ตุลาคม 2543 เรื่อง การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะนำเสนอ โครงสร้างกิจการไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อไป
2.เห็นชอบในหลักการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แปลงสภาพเป็นบริษัท ทั้งองค์กร โดยใช้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2539 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1/2539 (ครั้งที่ 55) ให้นำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้ในการสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงาน ต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้
2. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติครั้งที่ 6/2544 (ครั้งที่ 87) ให้ยุติการนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้จ่ายในการ ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นไป ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2545 ได้มีมติเห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 ธันวาคม 2544 ให้สามารถเบิกจ่ายในส่วนของหนี้ผูกพันที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2545 ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเบิกจ่ายหนี้ผูกพันเหลื่อมปีงบประมาณ 2546 ได้ จำนวนเงิน 579,639,450.94 บาท
3. กรมสรรพสามิตได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ กค 0603/ 23980 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2546 เรื่อง ขอทบทวนการขยายเวลาการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการ ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม แจ้งว่ากรมสรรพสามิตไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณจากโครงการติดตั้งระบบควบคุม รายรับ - จ่าย ณ คลังน้ำมันชายฝั่งพร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูล จำนวนเงิน 427,077,003.66 บาท ได้ทันในปี 2546 โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) กรมสรรพสามิตได้ทำสัญญาซื้อขายระบบควบคุมการรับ - จ่ายน้ำมันสำหรับคลังน้ำมันชายฝั่งพร้อมติดตั้งกับบริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี (เนทเวอร์ค) จำกัด (มหาชน) ซึ่ง บมจ. ยูไนเต็ดฯ ได้ดำเนินการตามสัญญาจนครบกำหนดอายุสัญญา แต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามสัญญา ดังนั้น กรม สรรพสามิตจึงมีหนังสือแจ้งให้ บมจ.ยูไนเต็ดฯ ส่งมอบงานให้ครบถ้วนถูกต้องตามสัญญาต่อกรมสรรพสามิตภายใน 45 วัน ซึ่งหากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว กรมสรรพสามิต ถือว่าหนังสือฉบับนี้เป็นการบอกเลิกสัญญาซื้อขายดังกล่าวข้างต้นทันที และกรมสรรพสามิตขอสงวนสิทธิเรียกค่าปรับและสิทธิเรียกร้องต่างๆ ตามสัญญาและกฎหมายไว้ด้วย (ครบกำหนดวันที่ 3 สิงหาคม 2546)
(2) บมจ. ยูไนเต็ดฯ ได้มีหนังสือแจ้งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2546 ว่าบริษัทฯได้ดำเนิน โครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ยกเว้นคลังที่มีปัญหาจึงขอส่งงานที่เสร็จก่อนและขอสงวนสิทธิเรียกเก็บเงิน ตามสัญญา ซึ่งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุของกรมสรรพสามิต ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ระบบควบคุมการรับ - จ่าย น้ำมันสำหรับคลังน้ำชายฝั่งยังไม่สมบูรณ์จึงมีความเห็นว่าไม่รับงาน
(3) กรมสรรพสามิตกำลังดำเนินการแจ้งให้บริษัทฯ ชำระค่าปรับและค่าเสียหายต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะมีการโต้แย้งจากบริษัทฯ เกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญา และการเรียกชำระค่าปรับและค่าเสียหายต่างๆ ต่อไป ดังนั้นเรื่องดังกล่าวจึงไม่อาจจะดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ทันภายในปีงบ ประมาณ 2546
4. กรมสรรพสามิตจึงขอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติทบทวนการขยายเวลาการ สนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการป้องกันและปราบปรามการ กระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมที่ก่อหนี้ผูกพันไว้ คือ โครงการติดตั้งระบบควบคุมการรับ - จ่ายน้ำมันสำหรับคลังน้ำมันชายฝั่งเป็นเงิน 427,077,003.66 บาท (สี่ร้อยยี่สิบเจ็ดล้านเจ็ดหมื่นเจ็ดพันสามบาทหกสิบหกสตางค์) จากปีงบประมาณ 2546 ไปจนกว่าเรื่องดังกล่าวจะยุติ
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ทบทวนขยายเวลาการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันเชื้อ เพลิงในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมแก่กรมสรรพ สามิตที่ก่อหนี้ผูกพันไว้ ในโครงการติดตั้งระบบ ควบคุมการรับ - จ่ายน้ำมันสำหรับคลังน้ำมันชายฝั่ง เป็นเงิน 427,077,003.66 บาท (สี่ร้อยยี่สิบเจ็ดล้าน เจ็ดหมื่นเจ็ดพันสามบาทหกสิบหกสตางค์) จากปีงบประมาณ 2546 ไปจนกว่าเรื่องดังกล่าวจะยุติ แต่ทั้งนี้ให้กรมสรรพสามิตร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางที่ จะเร่งรัดให้โครงการสามารบรรลุเป้าหมายโดยเร็วที่สุด เพื่อรักษาและป้องกันการกระทำผิดมิให้เกิดความเสียหายจากกลุ่มที่ต้องดำเนิน การทางกฎหมาย ซึ่งความล่าช้าทำให้เกิดปัญหาและสร้างความเสียหายมากกว่าการได้เปรียบ เสียเปรียบทางคดีความ
สรุปสาระสำคัญ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2546 กระทรวงพลังงานได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านยุทธศาสตร์พลังงาน ครั้งที่ 1 ขึ้น โดยมีหัวข้อว่า พลังงานเพื่อการแข่งขันของประเทศไทย โดยมีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. กำหนดให้เป้าหมายการใช้พลังงานของประเทศด้วยการลดสัดส่วนอัตราเติบโตของการ ใช้พลังงานต่ออัตราการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ (GDP) จาก 1.4 ต่อ 1 เป็น 1 ต่อ 1 ในระยะเวลา 5 ปี ภายใน ปี พ.ศ. 2550 ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานได้ถึง 3.1 ล้านล้านบาท ในระยะเวลา 10 ปี
2. สำหรับยุทธศาสตร์ด้านพลังงานได้แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
2.1 ยุทธศาสตร์การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การใช้พลังงานภาคคมนาคมขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม
· ภาคคมนาคมขนส่ง โดยปรับโครงสร้างการขนส่งคนและสินค้า จากการใช้รถยนต์ ขนาดเล็กมาเป็นระบบขนส่งด้วยระบบราง ควบคู่การวางเครือข่ายขนส่งแบบผสมผสาน (Multimodal) อย่างมี ประสิทธิภาพ มุ่งหมายลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานภาคการขนส่งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 คือ ไม่ต่ำ 2.5 ล้านล้านบาท ในระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2560 โดยมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และ สศช. ร่วมกันปรับโครงสร้างการขนส่ง เพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างฉลาดและเหมาะสม
· ภาคอุตสาหกรรม เร่งรัดปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและทบทวนทิศทางการส่งเสริม การลงทุน โดยมุ่งสู่อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานน้อย (Non - Energy Intensive) และก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ซึ่งมีมาตรการที่สำคัญทั้งในด้านการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในเชิงศักยภาพ การแข่งขันและด้านภาษี เพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงานในโรงงานและการขนส่ง ตลอดจนได้กำหนดให้กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงพลังงานเร่งประกาศมาตรฐาน สินค้าประหยัดพลังงาน และมาตรฐานโรงงานประหยัดพลังงาน เป็นต้น
2.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทน : โอกาสใหม่ของประเทศไทย ได้กำหนด เป้าหมายการพัฒนาพลังงานทดแทน โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนจากร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 8 ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ได้กำหนดสัดส่วนให้โรงไฟฟ้าใหม่จะต้องผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ในสัดส่วนร้อยละ 3 - 5 ของกำลังการผลิต และให้มีการตั้งกองทุนพิเศษ ที่ควรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาด้านการวิจัย และพัฒนา (R&D) อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง โดยมอบหมาย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินทุกมาตรการอย่างจริงจัง
2.3 ยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ประกอบด้วย
· ด้านไฟฟ้า ยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้า มุ่งให้ประเทศไทยต้องมีมาตรการความต้องการพลังงานไฟฟ้าโดยทำแผนการผลิตไฟฟ้า ให้เพียงพอต่อความต้องการและต้องมีมาตรการป้องกัน ไม่ให้เกิด Blackout หรือ Brownout โดยมีเป้าหมายและแผนการพัฒนาคุณภาพการผลิตตามมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value) ที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานเสนอจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมสำหรับชุมชนและท้องถิ่น โดยรูปแบบของกองทุนแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การจัดเก็บเงินกองทุนจากผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยที่มีกำลังการผลิตเกิน 1,000 กิโลวัตต์ และรูปแบบการใช้เงินกองทุน โดยกำหนดให้คณะกรรมการกองทุนทุกระดับ กำหนดกรอบและหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินกองทุน เพื่อช่วยเหลือแก่ ชุมชนที่ตั้งโรงไฟฟ้า
· ด้านความมั่นคงในการจัดหาพลังงาน โดยการจัดหาพลังงานให้เพียงพอและกำหนด ยุทธศาสตร์ต่างประเทศเพื่อหาโอกาสให้เอกชนไทยที่มีศักยภาพ และ ปตท./ปตท.สผ./กฟผ. เข้าไปลงทุน และสร้างพันธมิตรในต่างประเทศด้านพลังงานเพื่อสร้างความมั่งคงด้านพลังงาน แก่ประเทศให้เพียงพอในระยะเวลา 50 ปีข้างหน้า
2.4 ยุทธศาสตร์การปรับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาค โดยพิจารณาจากศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาค ได้แก่ การได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ การมีประสบการณ์ในธุรกิจพลังงาน และการมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนไว้แล้วเดิมแต่ยังใช้ประโยชน์ไม่เต็ม ที่ ตลอดจนโอกาสทางตลาดของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยจะปรับโครงสร้างและบทบาทจากผู้ซื้อมาเป็นผู้ค้า (Oil Trader) ทั้งนี้ ได้กำหนดมาตรการที่จำเป็น ดังนี้
(1) ปรับปรุงระบบและโครงสร้างภาษีอากร เพื่อขจัดการเก็บภาษีซ้ำซ้อนและอุปสรรค ระบบการค้าน้ำมันแบบ Trading และจัดตั้ง Export Processing Zone (EPZ) สำหรับการค้าน้ำมันภายในประเทศและการส่งออกให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งอาจเลือกดำเนินการที่เกาะสีชังและมาบตาพุดได้ทันที
(2) พัฒนาเครือข่ายระบบการขนส่งไฟฟ้า ระบบท่อก๊าซ และพลังงานอื่นๆ พัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระดับระหว่างรัฐต่อรัฐและระดับระหว่างภาค ธุรกิจเอกชนกับรัฐบาล เพื่อให้เกิดการลงทุนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้าน การผลิต และจำหน่ายไฟฟ้า
(3) เพิ่มการใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ให้เต็มประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมการใช้ระบบ ขนส่งน้ำมันทางท่อที่ก่อสร้างไว้แล้ว และเชื่อมโยงระบบท่อขนส่งน้ำมันไปภาคเหนือ - อีสาน ตลอดจนผลักดัน ระบบถนน รถไฟ และการเดินเรือให้เชื่อมโยงภูมิภาคไปถึงจีนตอนใต้ เพื่อขยายตลาดพลังงานสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
(4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ (Strategic Energy Land Bridge) เชื่อมโยงการผลิตและการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมาสู่เอเซียตะวันออก และเอเซียใต้ เพื่อสร้างคลัง น้ำมันสำรอง การลงทุนร่วมระหว่างประเทศผู้ใช้และผู้ผลิตน้ำมัน เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของภูมิภาค ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษในการซื้อขายน้ำมันใน ตลาดโลก (FAREAST Premium)
(5) ผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตในประเทศ (Integration/Merger & Acquisition/Synergy) เพื่อสร้าง World Scale ในธุรกิจปิโตรเคมี
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินตามมาตรการดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมาย จึงจำเป็นต้องสร้างมิติใหม่ให้เกิดขึ้นภายในประเทศ ได้แก่ เร่งรัดพัฒนาเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ให้รองรับ การเป็นศูนย์กลางพลังงาน โดยเฉพาะการใช้โครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ และปรับปรุงขีดความสามารถและศักยภาพการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันและปิ โตรเคมีให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ รวมทั้งปรับปรุงข้อจำกัดทางภาษีและกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนให้เกิดธุรกิจ น้ำมันสู่ระบบสากลและการส่งออก ตลอดจนเห็นควรกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ (Strategic Energy Land Bridge) ให้เป็นนโยบายสำคัญของชาติ โดยการก่อสร้างท่อน้ำมัน และให้เร่งก่อสร้างถนนระหว่าง อำเภอสิชล กับอำเภอทับละมุงให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นอกจากนี้จะต้องสร้างมิติในต่างประเทศด้วย โดยเร่งเจรจาและสร้างพันธมิตรระหว่างประเทศผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงานอย่าง เป็นระบบโดยให้ทุกหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องดำเนินการ และสนับสนุนการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานในภูมิภาค
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 14-20 กรกฏาคม 2557
กพช. ครั้งที่ 93 - วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2546
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 1/2546 (ครั้งที่ 93)
วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุมธำรงนาวาสวัสดิ์ ชั้น 3
อาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
1.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
2.การจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน)
3.ร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการน้ำเทิน 2
4.แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546 - 2559 (PDP 2003)
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบในช่วงไตรมาส 2 ปี 2546 ปรับตัวลดลง 3.95 - 5.24 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากอุปทานในตลาดเพิ่มขึ้นหลังจากสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิรักได้ยุติ ลง และโอเปคได้เพิ่มโควต้าการผลิต รวมทั้งจากการส่งออกของเวเนซูเอล่าและไนจีเรีย ในขณะที่อุปสงค์ในตลาดลดลงเนื่องจากสิ้นสุด ฤดูหนาวประกอบกับสภาพเศรษฐกิจของโลกที่ซบเซาเนื่องจากโรคระบาด SARS โดยในเดือนมิถุนายน 2546 ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น 0.38 - 2.50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามอุปทานในตลาดที่ตึงตัวขึ้น เนื่องจาก อิรักยังไม่สามารถกลับมาผลิตและส่งออกน้ำมันดิบในระดับปกติได้ จากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดท่อส่งน้ำมันทางตอนเหนือของอิรัก และผลการประชุมโอเปค ในวันที่ 11 มิถุนายน 2546 ได้มีมติให้คงปริมาณการผลิตไว้ที่ระดับ 25.4 ล้านบาร์เรล/วัน เพื่อรักษาอุปทานในตลาดให้อยู่ในระดับปกติ ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์เฉลี่ยของเดือนมิถุนายน 2546 อยู่ที่ระดับ 25.51 และ 27.32 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
2. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์เฉลี่ยในไตรมาส 2 ปี 2546 ปรับตัวลดลง 4.10 - 7.79 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบและอุปทานเพิ่มขึ้นจากโรงกลั่นสิงคโปร์ที่เพิ่มกำลังการก ลั่น และจากการส่งออกของไทย ในขณะที่อุปสงค์ในภูมิภาคลดลง โดยในเดือนมิถุนายน 2546 ราคาน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 และ 92 ปรับตัวสูงขึ้น 2.86 และ 3.10 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากเหตุเพลิงไหม้ โรงกลั่นน้ำมันของไต้หวัน และอุปสงค์เพิ่มขึ้นจากอินโดนีเซียและศรีลังกา ประกอบกับมีการนำน้ำมันจาก ภูมิภาคเอเซียไปขายยังสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยวมากขึ้น ส่วนอุปทานได้ลดลง เนื่องจากจีนลดปริมาณการกลั่นจากผลกระทบจากโรค SARS ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วได้ปรับตัวสูงขึ้น 0.34 เหรียญสหรัฐ ต่อบาร์เรล จากความต้องการซื้อของศรีลังกา ประกอบกับเกาหลีใต้ได้ลดการส่งออกน้ำมันดีเซลลงเนื่องจาก โรงกลั่นของประเทศมีแผนจะลดปริมาณการกลั่นลง ราคาเฉลี่ยของน้ำมันเบนซินออกเทน 95 , 92 และดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ระดับ 31.59, 30.84,และ 28.73 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
3. ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปเฉลี่ยของไทยในช่วงไตรมาส 2 ปี 2546 ได้ปรับตัวลดลงตามราคา น้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์และผลจากการที่รัฐบาลยุติมาตรการตรึงราคา น้ำมัน ทำให้ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 , 91 และดีเซลหมุนเร็ว ปรับตัวลดลง 0.70 , 0.70 และ 0.83 บาท/ลิตร ตามลำดับ โดยในเดือนมิถุนายน 2546 มีการปรับราคาน้ำมันเบนซินขึ้น 2 ครั้ง ลง 1 ครั้ง สุทธิเพิ่มขึ้น 40 สตางค์/ลิตร น้ำมันดีเซล หมุนเร็วปรับขึ้น 1 ครั้ง 30 สตางค์/ลิตร โดยราคาขายปลีกเฉลี่ยในเดือนมิถุนายนของน้ำมันเบนซินออกเทน 95 , 91 และดีเซลหมุนเร็ว อยู่ที่ระดับ 15.41 , 14.41 และ 12.84 บาท/ลิตร ตามลำดับ
4. ค่าการตลาดเฉลี่ยในไตรมาส 2 ปี 2546 อยู่ในระดับทรงตัวที่ 1.0778 บาท/ลิตร โดยในเดือนมิถุนายน ได้ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 0.8838 บาท/ลิตร จากการที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก แต่ผู้ค้าน้ำมันปรับราคาขายปลีกได้น้อยกว่าต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนค่าการกลั่น ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2546 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 0.5798 บาท/ลิตร โดยค่าการกลั่นเฉลี่ยมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 0.4034 บาท/ลิตร ตามลำดับ
5. ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกเดือนกรกฎาคม 2546 ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 26.2 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาอยู่ในระดับ 269.0ราคา ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ณ โรงกลั่นอยู่ในระดับ 10.55 บาท/กก. อัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ อยู่ในระดับ 2.35 บาท/กก. คิดเป็นเงิน 422 ล้านบาท/เดือน และมีรายจ่ายในการชำระหนี้ตามข้อตกลงอีก 400 ล้านบาท/เดือน รวมมีรายจ่าย 822 ล้านบาท/เดือน โดยกองทุนน้ำมันฯ มีรายรับจากน้ำมันชนิดอื่น 982 ล้านบาท/เดือน จึงมีเงินไหลเข้ากองทุนฯ สุทธิ 160 ล้านบาท/เดือน ยอดเงิน คงเหลือกองทุนน้ำมันฯ หลังหักภาระผูกพัน ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 อยู่ในระดับ 6,322 ล้านบาท โดยมีเงินชดเชยค้างชำระ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2546 รวม 8,885 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิติดลบ 4,617 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 การจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน)
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2546 นายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายช่วยเหลือบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนในช่วงที่ ราคาน้ำมันแพง โดยให้จัดหาเงิน 6,000 - 8,000 บาท จากเงินกู้สำหรับจ่ายชดเชยเพื่อ ตรึงราคาขายปลีก ณ กรุงเทพมหานคร ของน้ำมันเบนซินและดีเซลหมุนเร็วเป็นระยะเวลา 4 เดือน (เดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2546) เมื่อราคาน้ำมันลดต่ำลงให้เก็บเงินใช้คืนเงินกู้ ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการให้มีการจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) ขึ้น โดยยกร่างพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การ มหาชน พ.ศ. 2542 เพื่อให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลและสามารถกู้เงินมาใช้ในการอุดหนุนเพื่อตรึง ราคาน้ำมันได้
2. เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 ได้มีประกาศพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 120 ตอนที่ 26 ก เรื่องพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 ขึ้นโดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป โดยวัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาเงิน มาให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนำไปชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรักษาระดับขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศไม่ได้สูงเกินกว่าระดับ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และดำเนินการใดๆ ตามนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกองทุนพลังงาน
3. คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2546 ได้มีมติให้แต่งตั้งประธานกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) จำนวน 6 คน และต่อมาสำนักนายก รัฐมนตรีได้ออกประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2546 เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันบริหารกอง ทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) โดยให้แต่งตั้ง ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2546 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 มีผลบังคับใช้ เป็นต้นมา ประกอบด้วย นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ เป็นประธานกรรมการ และ นายพละ สุขเวช นางเกษรี ณรงค์เดช นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ นายนิตย์ จันทรมังคละศรี และนายวิทิต สัจจพงษ์ เป็นกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ
4. เพื่อให้สถาบันดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และประกอบกับมาตรา 32 ของพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งสถาบันฯ ปลัดกระทรวงพลังงานจึงแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายเมตตา บันเทิงสุข) เป็นผู้อำนวยการของสถาบันฯ เป็นการชั่วคราว เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสถาบันที่ยังไม่มีการแต่งตั้ง
5. ในการประชุมคณะกรรมการสถาบันฯ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2546 ได้มีมติเห็นชอบให้มีการ จัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้อำนวยการสถาบัน และให้กำหนดค่าตอบแทนของผู้อำนวยการสถาบันให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทนของผู้อำนวยการองค์การมหาชน ซึ่งต่อมาในการประชุมคณะกรรมการสถาบันฯ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2546 ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการสถาบันบริหารกอง ทุนพลังงานขึ้น ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการ 5 คน โดยมีนายวิทิต สัจจพงษ์ เป็นประธานกรรมการ เพื่อทำหน้าที่กำหนดเกณฑ์การพิจารณาและดำเนินการ สรรหาผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการสรรหาผู้อำนวยการต่อคณะกรรมการสถาบันให้แล้ว เสร็จภายในวันที่ 26 มิถุนายน 2546
6. เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2546 ได้มีประกาศสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อรับการคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันบริหาร กองทุนพลังงาน โดยกำหนดระยะเวลารับสมัครระหว่างวันที่ 11 - 20 มิถุนายน 2546 ซึ่งมีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกจำนวน 5 คน และคณะกรรมการสรรหา ผู้อำนวยการสถาบันได้สัมภาษณ์ผู้สมัครทั้งหมดในวันที่ 27 มิถุนายน 2546 ซึ่งปรากฏว่า ผู้สมัครทั้งหมด ไม่ผ่านการพิจารณา เนื่องจากมีคุณสมบัติและประสบการณ์ทำงานไม่สอดคล้องกับงานของสถาบันที่จะ ดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ผลการรับสมัครจะนำเสนอคณะกรรมการสถาบันฯ พิจารณาในลำดับต่อไป
7. สำหรับการดำเนินงานของสถาบันช่วงที่ผ่านมาคณะกรรมการสถาบันฯ เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2546 ได้มีมติเห็นชอบให้เสนออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่สถาบันจะจ่ายให้ธนาคาร ออมสินในอัตราร้อยละ 4.00 ต่อปี ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 ธนาคารออมสินได้เสนอให้การสนับสนุนทางการเงินแก่สถาบัน ในรูปของวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี โดยมีเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรนในวงเงินกู้ไม่เกิน 8,000 ล้านบาท และมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับร้อยละ 4.00 ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุกระยะ 6 เดือน โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน
8. จากปัจจุบันราคาน้ำมันเชื้อเพลิงได้ปรับตัวลดลง ทำให้มีเงินไหลเข้ากองทุนน้ำมันฯ จนทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีเงินหมุนเวียนอย่างเพียงพอ ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องเบิกเงินกู้จากธนาคารออมสินมา เพื่อเสริมสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันฯ และแนวทางการดำเนินงานของสถาบันต่อไป คือ การบริหารกองทุนพลังงานซึ่งเป็นการบริหารจัดการเงินกองทุนพลังงานต่างๆ อาทิ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานที่จะโอนจากกระทรวงการคลังมายัง กระทรวงพลังงานตามกฎหมายการปฏิรูประบบราชการ ปี 2545 กระทรวงพลังงานได้มีหนังสือถึงกรมบัญชีกลางเพื่อขอผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ ปรึกษาในการจัดเตรียมการปฏิบัติงาน ซึ่งกรมบัญชีกลางได้แต่งตั้งให้ นางอุไร ร่มโพธิหยก นักบัญชี 9 กลุ่มระบบบัญชีภาครัฐ และ คณะเป็นที่ปรึกษา สำหรับภารกิจอื่นๆ ของสถาบันในอนาคตขึ้นอยู่กับกระทรวงพลังงานจะมอบหมายให้เป็นเรื่องๆ ไป
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 ร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการน้ำเทิน 2
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่อง ความร่วมมือการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป. ลาว เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 เพื่อส่งเสริมและ ให้ความร่วมมือการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป. ลาว เพื่อจำหน่ายให้แก่ประเทศไทยปริมาณ 3,000 เมกะวัตต์ ปัจจุบันมีโครงการใน สปป. ลาว จำนวน 2 โครงการ ที่จำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าระบบของการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แล้ว ได้แก่ โครงการน้ำเทิน-หินบุน และโครงการห้วยเฮาะ สำหรับโครงการลำดับต่อไปที่ได้มีการเจรจาซื้อขายไฟฟ้า คือ โครงการน้ำเทิน 2
2. กฟผ. ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจโครงการน้ำเทิน 2 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2543 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2543 ต่อมา กฟผ. ได้ดำเนินการเจรจาจัดทำร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement : PPA) โครงการน้ำเทิน 2 กับกลุ่มผู้ลงทุนโครงการ (Num Theun 2 Power Company Limited : NTPC) ซึ่งคณะกรรมการประสานความร่วมมือพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว (คปฟ-ล.) ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างสัญญาฯ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2544
3. คณะกรรมการ กฟผ. ได้ให้ความเห็นชอบร่างสัญญาฯ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2545 และได้นำส่งร่างสัญญาฯ ดังกล่าวต่อสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) ต่อมา กฟผ. ได้นำข้อสังเกตของ อส.แจ้งให้ NTPC พิจารณา และ NTPC ยินยอมแก้ไขและเพิ่มเติมในร่างสัญญาฯ ยกเว้น 2 ประเด็นที่ขอให้ กฟผ. พิจารณาคงเงื่อนไขไว้ตามร่างสัญญาฯ เดิม
4. ลักษณะโครงการน้ำเทิน 2 มีขนาดกำลังการผลิต ณ จุดส่งมอบ 920 เมกะวัตต์ กำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ กฟผ. อีก 6 ปี นับจากวันลงนามในสัญญาฯ โดยกลุ่มผู้ลงทุนโครงการน้ำเทิน 2 ประกอบด้วย รัฐบาล สปป. ลาว ถือหุ้นร้อยละ 25 EDF International ถือหุ้นร้อยละ 35 บริษัท อิตาเลียน-ไทย จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 15 และบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 25
5. สาระสำคัญของร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการน้ำเทิน 2 สรุปได้ ดังนี้
5.1 อายุสัญญา เริ่มจากวันลงนามสัญญา และต่อเนื่องไปอีก 25 ปี นับจากวันเริ่มต้นจ่าย ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ โดยอายุสัญญาแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วง 13 ปีแรก และช่วง 12 ปีหลัง
5.2 ค่าไฟฟ้าปีแรกจะมีค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 1.49 บาท/หน่วย (ณ. อัตราแลกเปลี่ยน 42.5 บาท/US$) และหลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นในอัตราประมาณ 1.38% ต่อปี ซึ่งเมื่อคำนวณค่าไฟฟ้าเฉลี่ยตลอดอายุสัญญา (Levelized Price) 25 ปี เท่ากับ 1.64 บาท/หน่วย
6. อัยการสูงสุด (อส.) มีประเด็นข้อสังเกตของสัญญาฯ ซึ่ง กฟผ. ได้นำข้อสังเกตไปหารือกับกลุ่ม ผู้ลงทุนโครงการ (NTPC) และ NTPC ยินยอมแก้ไขและเพิ่มเติม ยกเว้นใน 2 ประเด็น ดังนี้
6.1 กรณีค่าปรับไม่เท่ากัน อส. ไม่ขัดข้องเรื่องอัตราค่าปรับไม่เท่ากัน เนื่องจากการก่อสร้าง ล่าช้า แต่ให้พิจารณาทบทวนว่าจะเป็นภาระต่อ กฟผ. เกินกว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่
6.2 กรณี กฟผ. มีข้อผูกพันต้องซื้อโครงการ อส. ไม่ขัดข้องในหลักการเรื่องข้อผูกพันการ Buy - out โครงการหากมีการเลิกสัญญา แต่เห็นว่าหากกำหนดทางเลือกให้ กฟผ. มีสิทธิจ่ายค่าชดเชย (มีเพดาน) แทนการ Buy-out ไว้ด้วยจะเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น
7. คณะกรรมการ กฟผ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2546 ได้ให้ความเห็นต่อความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด ดังนี้
7.1 เรื่องค่าปรับที่ไม่เท่ากัน คณะกรรมการ กฟผ. มีความเห็นว่า การกำหนดอัตราค่าปรับ ที่แตกต่างกันเนื่องจากผู้ลงทุนต้องลงทุนสูงกว่า กฟผ. หลายเท่าตัวจากการลงทุนเกี่ยวกับตัวเขื่อน โรงไฟฟ้า อาคารประกอบและสายส่ง การกำหนดอัตราค่าปรับไม่เท่ากันจึงมีความยุติธรรม
7.2 เรื่องที่ กฟผ. มีข้อผูกพันต้องซื้อโครงการ (Buy-out) หากมีการเลิกสัญญา เนื่องจาก กฟผ. ผิดสัญญา หรือเกิดจาก Thai Political Force Majeure คณะกรรมการ กฟผ. มีความเห็นว่าโครงการ น้ำเทิน 2 เป็นโครงการขนาดใหญ่มีกำลังผลิตสูงถึง 920 เมกะวัตต์ และสร้างขึ้นมาเพื่อขายไฟฟ้าให้ กฟผ. แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น หาก กฟผ. ผิดสัญญา บริษัทไม่สามารถขายไฟฟ้าให้ผู้อื่นได้ การมีเงื่อนไข Buy-out โครงการจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ผู้ลงทุนหาแหล่งเงินกู้ได้
8. สำหรับฝ่ายเลขานุการฯ มีความเห็นว่า ร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการน้ำเทิน 2 กระทำขึ้นภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ เรื่อง ความร่วมมือการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป. ลาว ที่รัฐบาลไทยได้ร่วมลงนามไว้กับรัฐบาล สปป. ลาว จะเป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศ สำหรับการกำหนดอัตราค่าปรับที่ไม่เท่ากัน และการมีข้อผูกพันต้องซื้อคืนโครงการ (Buy-out) หากมีการเลิกสัญญา มีความเหมาะสม เนื่องจากผู้ลงทุนต้องลงทุนสูงกว่า กฟผ. หลายเท่าตัว นอกจากนี้ โครงการน้ำเทิน 2 เป็นโครงการขนาดใหญ่ และสร้างขึ้นมาเพื่อขายให้เฉพาะ กฟผ. การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนและช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถหาแหล่งเงินกู้ ได้
มติของที่ประชุม
เห็นชอบร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการน้ำเทิน 2 และให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในโครงการน้ำเทิน 2 ต่อไป ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องมีการแก้ไขร่างสัญญาฯ ดังกล่าว ในรายละเอียดปลีกย่อยซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญเห็นควรให้ กฟผ. สามารถพิจารณาแก้ไขได้ โดยไม่ต้องนำกลับมาเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ อีก
เรื่องที่ 4 แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546 - 2559 (PDP 2003)
สรุปสาระสำคัญ
1. แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พ.ศ. 2546 - 2559 (PDP 2003) เป็นแผนระยะยาวที่ กฟผ. จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบในการลงทุนสำหรับการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าและระบบ ส่งไฟฟ้าในอนาคต และเพื่อนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้ความเห็นชอบ โดยรายละเอียดของแต่ละโครงการภายใต้แผน PDP กฟผ. จะนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาอนุมัติเป็นราย โครงการตามขั้นตอนปกติ และแผน PDP จะถูกมีการ ปรับปรุงเป็นระยะตามความเหมาะสม
2. สมมติฐานที่ใช้ในการจัดทำแผน PDP 2003
2.1 กฟผ. ใช้ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ซึ่งจัดทำโดยคณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าเมื่อเดือนสิงหาคม 2545 เป็นฐาน โดยสมมติฐานหลักในการจัดทำค่าพยากรณ์ฯ อาศัยฐานการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 4.6 ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และร้อยละ 4.7 ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 และ 11 ซึ่งได้ค่าพยากรณ์ความต้องการพลังไฟฟ้า เมื่อสิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9, 10 และ 11 ในระดับ 21,648 เมกะวัตต์ 29,321 เมกะวัตต์ และ 38,851 เมกะวัตต์ ตามลำดับ โดยมีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยประมาณร้อยละ 6 ต่อปี
2.2 สำหรับปริมาณก๊าซธรรมชาติใช้ข้อมูลที่ได้จากการประมาณการของ ปตท. โดยก๊าซ ธรรมชาติที่นำมาใช้ผลิตไฟฟ้าได้มาจากแหล่งบนบกและจากอ่าวไทย รวมทั้งการนำเข้าก๊าซจากสหภาพพม่าและแหล่งไทย - มาเลเซีย
2.3 ราคาเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับโรงไฟฟ้าต่างๆ ประมาณการโดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
2.4 กำหนดความมั่นคงของระบบไฟฟ้าด้วยตัวชี้วัด โอกาสไฟฟ้าดับ (Loss of Load probability : LOLP) ไม่เกิน 24 ชั่วโมงใน 1 ปี รวมทั้งกำหนดกำลังผลิตสำรองต่ำสุดไม่น้อยกว่าร้อยละ 15
2.5 การซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน
(1) รับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ประเภทที่มีสัญญา Firm ทั้งที่ลงนาม ในสัญญาแล้วและกำลังจะลงนามในสัญญา ในช่วงปี 2546 - 2548 จำนวน 128.8 เมกะวัตต์ และจาก โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียนในช่วงปี 2546 - 2548 จำนวน 128.1 เมกะวัตต์ โดยพิจารณาเฉพาะที่คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอนุมัติ รอบแรก เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2546
(2) บริษัท กัลฟ์เพาเวอร์เจนเนอเรชั่น และบริษัท ยูเนียนเพาเวอร์ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด จะมีการเจรจาเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จออกไป 2 ปี - 3 ปีครึ่ง ตามความต้องการของระบบไฟฟ้า ส่วนบริษัท BLCP เพาเวอร์ จำกัด จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตามสัญญา
(3) โครงการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป. ลาว โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำน้ำเทิน 2 ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อลงนามในสัญญา กำหนดการจ่ายไฟฟ้าเบื้องต้นเข้าระบบได้ในต้นปีงบประมาณ 2553
3 สาระสำคัญของแผน
3.1 แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าภาคใต้
(1) ปรับปรุงการจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าขนอมโดยเปลี่ยนจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ขนาด 75 เมกะวัตต์ 2 เครื่อง ซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำให้เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมซึ่งมีประสิทธิภาพสูง ขึ้น ขนาด 385 เมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติในปริมาณใกล้เคียงกับปัจจุบัน กำหนดแล้วเสร็จในต้นปี 2550
(2) ก่อสร้างสายส่ง 500/230 กิโลโวลต์ บางสะพาน - สุราษฎร์ธานี ให้แล้วเสร็จภายในปี 2551 เพื่อเสริมระบบในภาคใต้ให้สามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีต้นทุนการ ผลิตต่ำกว่าโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ผลิตไฟฟ้าอยู่ในภาคใต้ พร้อมทั้งสามารถส่งกระแสไฟฟ้าที่มีราคาถูกจากภาคกลางมายังภาคใต้
(3) ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ภาคใต้ ขนาด 700 เมกะวัตต์ เพื่อสนองความต้องการไฟฟ้าในภาคใต้ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2551
3.2 แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(1) ปรับปรุงสายส่ง 230 กิโลโวลต์ ลำตะคอง-นครราชสีมา 2 ให้แล้วเสร็จภายในปี 2550 เพื่อแก้ไขการขาดแคลนไฟฟ้า เนื่องจากการลดลงของปริมาณก๊าซธรรมชาติที่จ่ายให้โรงไฟฟ้าน้ำพอง
(2) ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำเทิน 2 ให้แล้วเสร็จในปี 2553
(3) ประสานงานกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการวางท่อก๊าซธรรมชาติไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบริเวณจังหวัดนครราชสีมา
(4) พิจารณาก่อสร้างสายส่ง 500/230 กิโลโวลต์ ท่าตะโก-ชัยภูมิ-อุดรธานี ให้แล้วเสร็จภายในปี 2554 หากการดำเนินการในข้อ (3) ไม่เหมาะสม
3.3 แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้ารวม
(1) เจรจากับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน บริษัท กัลฟ์เพาเวอร์เจนเนอเรชั่น จำกัด และบริษัท ยูเนียนเพาเวอร์ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด ให้เลื่อนการจ่ายไฟฟ้าออกไป 2 ปี - 3 ปีครึ่ง ตามความเหมาะสม
(2) ยืดอายุโรงไฟฟ้าเก่าที่จะหมดอายุการใช้งาน แต่มีค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงต่ำ โดย ทำการปรับปรุงให้มีอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นอีก 10-15 ปี
(3) ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 และพระนครใต้ ชุดที่ 3 ให้แล้วเสร็จในปี 2552 และบางปะกง ชุดที่ 5 ให้แล้วเสร็จในปี 2553 ขนาดกำลังผลิตชุดละ 700 เมกะวัตต์ โดยใช้ที่ตั้งของโรงไฟฟ้าเดิมที่หมดอายุการใช้งาน
(4) โรงไฟฟ้าใหม่นอกเหนือจากนั้นจะเริ่มเข้าระบบในปี 2553 ซึ่งอาจจะเป็นการก่อสร้าง โดย กฟผ. หรือซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าภายในประเทศหรือประเทศเพื่อนบ้าน
(5) ปรับปรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ใช้งานมานาน ประกอบด้วย เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนน้ำพุง และเขื่อนแก่งกระจาน
3.4 กฟผ. ได้จัดทำแผนหลักและแผนทางเลือก โดยการนำโรงไฟฟ้าเข้าระบบและกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองต่ำสุดในแต่ละปี ในช่วงปี 2546 - 2555 เหมือนกันทั้งสองแผน แต่หลังจากปี 2556 แผนหลักจะนำโรงไฟฟ้าที่ยังไม่ระบุเชื้อเพลิงเข้าในระบบ ส่วนแผนสำรองจะนำโครงการสาละวินเข้าระบบแทนโรงไฟฟ้าใหม่ รวมทั้งสิ้นจำนวน 5,390 เมกะวัตต์ ทำให้มีสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงต่างกัน โดยมีการใช้พลังน้ำ ก๊าซธรรมชาติ และโรงไฟฟ้าใหม่ที่ยังไม่ระบุเชื้อเพลิง ร้อยละ 5.1 47.3 และ 34.6 ตามลำดับในแผนหลัก กับร้อยละ 17.6 49.3 และ 20.6 ตามลำดับในแผนทางเลือก
3.5 กำลังผลิตสำรองต่ำสุดภายใต้แผนหลักและแผนทางเลือกมีปริมาณเท่ากัน โดยในปี 2546 มีกำลังการผลิตสำรองต่ำสุดร้อยละ 35.5 ซึ่งจะลดลงเรื่อยๆ จนถึงระดับร้อยละ 15 ในปี 2550 และคงอยู่ ในระดับดังกล่าวจนสิ้นสุดแผน
3.6 แผนการลงทุนของ กฟผ. แบ่งออกเป็นการลงทุนในส่วนของโรงไฟฟ้าและสายส่งที่ กฟผ. ดำเนินการเอง และส่วนของโรงไฟฟ้าใหม่ที่ยังมิได้กำหนดนโยบายการลงทุน โดยช่วงแผนพัฒนาฉบับที่ 9 กฟผ. จะลงทุนเองทั้งหมด คิดเป็นเงิน 90,500 ล้านบาท และในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 กฟผ. จะมีการ ลงทุนเอง 178,000 ล้านบาท และมีส่วนของโรงไฟฟ้าใหม่ที่ยังมิได้กำหนดนโยบายการลงทุน 157,000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 425,500 ล้านบาท
3.7 อัตราค่าไฟฟ้าขายส่งหากประมาณการโดยพิจารณาผลตอบแทนจากอัตราส่วนทางการเงิน ที่ใช้อยู่ คือ ความสามารถในการลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 และความสามารถในการชำระหนี้ไม่น้อยกว่า 1.3 เท่า แล้ว อัตราค่าไฟฟ้าขายส่งในแผนหลักกรณีที่โรงไฟฟ้าใหม่ก่อสร้างโดย กฟผ. จะอยู่ระหว่าง 1.916 - 2.129 บาทต่อหน่วย ในช่วงปี 2546-2559
4. ฝ่ายเลขานุการฯ มีข้อสังเกตเกี่ยวกับแผน PDP 2003 ดังนี้
4.1 ระดับกำลังการผลิตสำรองในช่วงปี 2546 จะเท่ากับร้อยละ 35.5 และจะลดลงเรื่อยๆ จนถึงระดับร้อยละ 15 ในปี 2550 และคงอยู่ในระดับดังกล่าวจนสิ้นสุดแผน การกำหนดระดับกำลังการผลิตสำรองที่อัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต้องมั่นใจว่าโรงไฟฟ้ามีความพร้อมจ่ายกระแสไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าใหม่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ตามกำหนด ดังนั้น กฟผ. ควรพิจารณาข้อจำกัดต่างๆ ของโรงไฟฟ้า เช่น ข้อจำกัดด้านปริมาณและราคาเชื้อเพลิง และด้านชลประทานเพิ่มเติม นอกจากนี้ กฟผ. ควรมีการพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่การก่อสร้างโรงไฟฟ้า เสร็จไม่ทันกำหนดเพิ่มเติม เช่นในกรณีของโรงไฟฟ้า BLCP และโรงไฟฟ้าบริษัท กัลฟ์ฯ และบริษัท ยูเนียน ซึ่งอาจไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตามกำหนดได้ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบไฟฟ้ามีความมั่นคง และมีไฟฟ้าใช้เพียงพอต่อความต้องการ
4.2 สัดส่วนการใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มจากร้อยละ 2.5 ปี 2546 เป็นร้อยละ 5.2 ปี 2549 ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าโดยรวมเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงมีอายุมากและมีประสิทธิภาพต่ำ และราคาน้ำมันเตาสูงกว่าราคาก๊าซธรรมชาติ
4.3 แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าไม่ได้ระบุว่าใครจะเป็นผู้ลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้า ใหม่ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ซึ่งหาก กฟผ. เป็นผู้ลงทุนในส่วนนี้ทั้งหมดจะทำให้ภาครัฐมีภาระทางการเงินเพิ่มขึ้นจากใน ช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เกือบ 4 เท่า ดังนั้น กฟผ. ควรเพิ่มเติมรายละเอียดการลงทุนในส่วนนี้ให้มีความชัดเจน โดยอาจพิจารณาให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP) เข้าร่วมผลิตไฟฟ้าเพื่อลดภาระการลงทุนของภาครัฐโดยใช้วิธีการประมูลแข่งขัน ได้
4.4 เพื่อให้มั่นใจว่าราคาก๊าซฯ และน้ำมันเตาจะอยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน ปตท. ควรพิจารณาการพยากรณ์ราคาเชื้อเพลิงเพิ่มเติมเป็นหลายกรณี เช่น กรณีฐาน กรณีสูง หรือกรณีต่ำ
4.5 ในระยะปานกลาง (ปี 2546 - 2554) สัดส่วนการใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า จะอยู่ในระดับสูง ดังนั้น กฟผ. ควรพิจารณาชนิดเชื้อเพลิงที่จะนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าในอนาคตเพิ่มเติม เพื่อให้มั่นใจว่าระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพและมีเชื้อเพลิงเพียงพอ
4.6 การปรับปรุงโรงไฟฟ้าเก่าจะมีผลทำให้ประหยัดการลงทุนค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าใน ช่วงต้น แต่ประสิทธิภาพของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต่ำ และอาจทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นได้ในที่สุด ดังนั้น กฟผ. ควรจัดทำรายละเอียดการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบทางการเงินของการปรับปรุง โรงไฟฟ้าเก่าต่อไป เพื่อให้ มั่นใจว่าการปรับปรุงโรงไฟฟ้ามีความคุ้มค่าทางการเงิน
4.7 การจัดหาไฟฟ้าในภาคใต้ โดยการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมภาคใต้ในช่วงปี 2551 จะทำให้กำลังผลิตไฟฟ้ามากกว่าความต้องการ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงไฟฟ้าที่สามารถซื้อผ่านสายส่งเชื่อมโยงไทย - มาเลเซีย จำนวน 300 เมกะวัตต์ ดังนั้นการก่อสร้างสายส่งไปยังภาคใต้ ได้แก่ โครงการสร้างสายส่ง จอมบึง - บางสะพาน และสายส่งบางสะพาน-สุราษฎร์ธานี อาจจะยังไม่มีความจำเป็นน่าจะเลื่อนออกไปได้ โดยเฉพาะในกรณีสายส่งจอมบึง - บางสะพาน ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อรองรับการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้า บ่อนอกและหินกรูด ซึ่งมีการเลื่อนกำหนดการซื้อขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ออกไปแล้ว
4.8 เพื่อให้มีการกระจายชนิดเชื้อเพลิงและลดภาระการลงทุนของภาครัฐ กฟผ. อาจพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านตามบันทึกความเข้าใจที่ได้มีการ ลงนามไปแล้วเป็นทางเลือกหนึ่งในการ จัดหาไฟฟ้า โดยใช้หลักการต้นทุนที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในการเจรจาตกลงราคารับซื้อไฟฟ้า
4.9 กฟผ. ควรพิจารณาค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสายส่ง เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนสาละวิน และควรจัดทำรายละเอียดการศึกษาความเป็นไปได้ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบทางการเงินของโครงการต่อไป เพื่อเพิ่มความชัดเจนของแผนทางเลือก
4.10 กฟผ. ควรบรรจุโครงการ SPP ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนไว้ในแผน หากโครงการของผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียนได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานแล้ว
4.11 กฟผ. ควรเพิ่มเติมข้อมูลการประมาณการฐานะการเงิน และการคำนวณราคาขายส่งไฟฟ้า เพื่อให้มั่นใจได้ว่าราคาขายส่งดังกล่าวมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ สมมุติฐานราคาเชื้อเพลิง
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบในหลักการแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546 - 2559 (PDP 2003)
2.มอบหมายให้ กฟผ. แก้ไขรายละเอียดของแผนดังกล่าวโดยปรับลดขนาดสายส่งบางสะพาน - สุราษฎร์ธานี ลงเป็นขนาด 230 เควี พร้อมทั้งปรับปรุงแผนการลงทุนให้สอดคล้องกันก่อนนำแผนดังกล่าวเสนอคณะ รัฐมนตรีต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2535 โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้เกิดการดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน ให้มีการผลิตและการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จึงได้ออกกฎกระทรวง รวม 4 ฉบับ ดังนี้
(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2538 และว่าด้วยกำหนดแบบและระยะเวลาการส่งข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงานและการ อนุรักษ์พลังงานและกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบันทึกข้อมูลการใช้พลังงาน และการติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการใช้ พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานสำหรับอาคารควบคุม ซึ่งเป็นการกำหนดให้เจ้าของอาคารควบคุมต้องส่งข้อมูลการใช้พลังงานและการ อนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ตามแบบ บพอ.1 และ แบบ บพอ.2 ตามลำดับ
(2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2540 ว่าด้วยการกำหนดแบบระยะเวลาการส่งข้อมูล เกี่ยวกับการผลิต การใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบันทึกข้อมูล การใช้พลังงาน และการติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการใช้ พลังงานและการอนุรักษ์ พลังงาน สำหรับโรงงานควบคุมซึ่งเป็นการกำหนดให้เจ้าของโรงงานควบคุมต้องส่งข้อมูลการ ใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน และการติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ส่งให้ พพ. ตามแบบ พบร.1 และ พบร. 2 ตามลำดับ
(3) กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2538 และ กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2540 ว่าด้วยกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาให้เจ้าของอาคารควบคุม/เจ้าของโรงงานควบคุม จัดทำ ส่งเป้าหมาย และแผนอนุรักษ์พลังงานของอาคารควบคุม/ของโรงงานควบคุม และตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานของอาคาร ควบคุม/ของโรงงานควบคุม โดยเจ้าของอาคารควบคุม/โรงงานควบคุม ต้องดำเนินการดังนี้
- เจ้าของอาคารควบคุม/เจ้าของโรงงานควบคุม ต้องดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเพื่อใช้ประกอบในการกำหนด เป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน โดยมี 3 ขั้นตอน คือ การตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น การตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานโดยละเอียด และการ จัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน เพื่อส่งให้ พพ. ตามที่กฎกระทรวงกำหนด
- เจ้าของอาคารควบคุม/เจ้าของโรงงานควบคุมทำการตรวจสอบและวิเคราะห์การ ปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานที่ พพ. ให้ความเห็นชอบแล้ว และจัดทำรายงานทุกหนึ่งปี
2. ภายหลังจากการใช้บังคับกฎกระทรวงทั้ง 4 ฉบับ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากแบบ บพอ.1 และ บพร.1 ยังไม่เหมาะสมและไม่มีความชัดเจน ส่งผลให้การส่งรายงานตามแบบ บพอ.1 และ บพร.1 ไม่ถูกต้องและยุ่งยาก ต่อการดำเนินการ นอกจากนั้น การจัดทำเป้าหมายและแผนเพื่อลงทุนอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายมีความ ล่าช้ากว่าที่กำหนด เนื่องจากต้องดำเนินการหลายขั้นตอนจึงเป็นภาระต่อเจ้าของอาคารควบคุมและโรง งานควบคุมส่งผลให้การอนุรักษ์พลังงานไม่บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้อง แก้ไขกฎกระทรวง 4 ฉบับ ดังนี้
(1) ยกร่างแก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2538) และ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2540) เฉพาะส่วนแบบ บพอ.1 และ บพร.1 จะเป็นการปรับเปลี่ยนเฉพาะ แบบ บพอ.1 และ บพร.1 สำหรับวิธีการและระยะเวลานำส่ง รวมทั้ง แบบ บพอ.2 และ บพร.2 ยังคงเป็นไปตามเดิม
(2) ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2538) และฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) แล้วยกร่าง กฎกระทรวงใหม่ โดยรวมกฎกระทรวงทั้งในส่วนของอาคารควบคุมและโรงงานควบคุมเป็นฉบับเดียว ซึ่งจะ ทำให้ลดขั้นตอนในการกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานจากเดิมสามขั้นตอน เหลือเพียงขั้นตอนเดียว และสร้างกลไกการควบคุมการดำเนินการของที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานโดย กฎหมายวิชาชีพ
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติการส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (เอกสารแนบ 4.3.2) พร้อมบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่าง (เอกสารแนบ 4.3.1)
2.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน และการตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน สำหรับอาคารควบคุมและโรงงานควบคุม พ.ศ. .... (เอกสารแนบ 4.3.4) พร้อมบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่าง (เอกสารแนบ 4.3.3)
3.เห็นชอบตารางเปรียบเทียบกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2538) และฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) กับ ร่างกฎกระทรวงใหม่ (เอกสารแนบ 4.3.5)