มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 1/2545 (ครั้งที่ 88)
วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2545 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล
1.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
3.แผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554
4.การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก
5.มาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
7.แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง
นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบ ในไตรมาสแรกของปี 2545 ได้ปรับตัวสูงขึ้น 5-6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยมีปัจจัยมาจากความต้องการใช้น้ำมันของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ ของโลกที่เริ่มฟื้นตัว และเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ในขณะเดียวกันอุปทานได้ลดลงจากความร่วมมือกันลดปริมาณการผลิตรวม 2 ล้านบาร์เรล/วันของกลุ่มโอเปคและประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ที่อยู่ นอกกลุ่มโอเปค ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นมา ในช่วงเดือนเมษายน 2545 ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับราคาเฉลี่ยเดือนมีนาคม 3.7 - 4.0 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เกิดจากความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์ ณ วันที่ 17 เมษายน 2545 อยู่ที่ระดับ 24.3 และ 26.2 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
2. ส่วนราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ในไตรมาสแรกของปี 2545 ได้ปรับสูงขึ้น 6 - 9 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยปัจจัยหลักเป็นการปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ รวมทั้ง โรงกลั่นในคูเวตเกิดเพลิงไหม้ และการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นในภูมิภาค ในช่วงเดือนเมษายน 2545 ราคาน้ำมันสำเร็จรูปได้ปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นจาก เวียดนาม อินโดนีเซีย ปากีสถาน และศรีลังกา ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 ก๊าด ดีเซล และน้ำมันเตา ณ วันที่ 17 เมษายน 2545 อยู่ที่ระดับ 29.9, 28.9, 27.2, 27.8 และ 23.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
3. ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของไทย ได้ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงปลายปี 2544 ประมาณ 2.2 บาทต่อลิตร โดยที่ค่าเงินบาทได้แข็งตัวขึ้นประมาณ 1 บาทต่อเหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ระดับ 43.7 บาทต่อ เหรียญสหรัฐ ซึ่งช่วยบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ประมาณ 15 สตางค์ต่อลิตร ในช่วง ต้นเดือนเมษายน ราคาขายปลีกในประเทศยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาน้ำมันในตลาด โลก โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 18 เมษายน 2545 อยู่ที่ระดับ 16.09, 15.09 และ 13.49 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนค่าการตลาดและค่าการกลั่นได้อ่อนตัวลงจากปลายปี 2544 จาก 1.5 บาทต่อลิตร มาอยู่ที่ระดับ 1.25 บาทต่อลิตร และจาก 0.8 บาทต่อลิตร เป็น 0.64 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
4. ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในตลาดโลก ในเดือนเมษายนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2 เหรียญสหรัฐต่อตัน มาอยู่ในระดับ 203 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่วนราคาก๊าซ LPG ในประเทศอยู่ในระดับ 8.18 บาท/กก. อัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 0.91 บาท/กก. หรือ 158 ล้านบาท/เดือน ฐานะกองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิง มียอดเงินคงเหลือหลังหักภาระผูกพัน ณ วันที่ 3 เมษายน 2545 ในระดับ 3,628 ล้านบาท โดยมีเงินชดเชยค้างชำระ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2545 รวม 13,002 ล้านบาท และฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิติดลบ 9,374 ล้านบาท
5. คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2544 ได้มีมติยืนยันการชำระหนี้กองทุนน้ำมันฯ ให้แก่เจ้าหนี้ก๊าซ LPG เป็นจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาทต่อไตรมาส เริ่มมีผลตั้งแต่ ไตรมาส 4 ปี 2544 เป็นต้นไป โดยมีเป้าหมายให้ชำระหนี้หมดภายใน 3 ปี ซึ่งกรมสรรพสามิตได้รายงานผลการชำระหนี้กองทุนน้ำมันฯ ของไตรมาส 4 ปี 2544 และไตรมาส 1 ปี 2545 ให้แก่เจ้าหนี้ผู้ผลิตก๊าซ LPG ครบถ้วนแล้ว เป็นจำนวนเงิน 1,361 และ 1,236 ล้านบาทต่อไตรมาส ตามลำดับ
6. ส่วนมาตรการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง การดำเนินการควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพราะหากรัฐเข้าแทรกแซงจะทำให้กลไกของตลาดบิดเบือน และไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมในภายหลังได้ โดยแนวทางที่รัฐสามารถดำเนินการได้คือ การเร่งรัดการดำเนินการภายใต้โครงการที่อยู่เดิมให้เกิดผลในทางปฏิบัติมาก ขึ้น รวมถึงการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นในการประหยัดน้ำมัน เช่น เร่งดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน และการรณรงค์ประหยัดน้ำมันและประหยัดไฟฟ้า รวมทั้ง มาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การช่วยเหลือประชาชนเป็นรายสาขา
มติของที่ประชุม
1.รับทราบสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
2.มอบหมายให้ สพช. รับไปศึกษาความเป็นไปได้ในแนวทางการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยใช้ระบบการกำหนดราคาสูงสุดและต่ำสุด
สรุปสาระสำคัญ
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีประกาศลงวันที่ 3 กันยายน 2539 เรื่อง การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็กประเภทพลังงานนอกรูปแบบ เชื้อเพลิงกาก เศษวัสดุเหลือใช้ ขยะมูลฝอยหรือไม้ โดย ณ สิ้นเดือนมกราคม 2545 มีผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producers: SPP) ขายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้า 50 ราย คิดเป็นพลังไฟฟ้าที่เสนอขาย 1,962 เมกะวัตต์ ต่อมาคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2542 ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้ง "โครงการส่งเสริมผู้ผลิต ไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน" เป็นโครงการหนึ่งในแผนอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปีงบประมาณ 2543 - 2547 และคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้มอบหมายให้ สพช. ใช้เงินจากกองทุนฯ สนับสนุนการดำเนินงานโครงการนี้ ในวงเงินรวม 2,060 ล้านบาท เพื่อให้ กฟผ. สามารถรับซื้อไฟฟ้า ที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนได้อีกประมาณ 300 เมกะวัตต์
2. คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคความร่วมมือได้แต่งตั้ง "คณะทำงานโครงการส่งเสริม ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน" ขึ้น เพื่อจัดทำ "ร่างเอกสารเชิญชวนเพื่อยื่นข้อเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน" และได้เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2544 พิจารณาและที่ประชุมได้อนุมัติให้ สพช. นำไปดำเนินการต่อไป
3. สพช. ได้ออกประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจลงทุนและผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานนอก รูปแบบหรือใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นเชื้อเพลิงได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอรับเงิน สนับสนุนดังกล่าว โดยกองทุนฯ จะจ่ายเงินสนับสนุนให้กับผู้ที่มีข้อเสนอที่เหมาะสมและเสนอขอรับเงินสนับ สนุนค่าพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็กไม่ เกิน 0.36 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 5 ปี ด้วยวิธีคัดเลือก โดยกำหนด ยื่นซองข้อเสนอในวันที่ 15 ตุลาคม 2544 ซึ่งปรากฏว่ามีผู้สนใจยื่นข้อเสนอไว้กับ สพช. รวมทั้งสิ้น 43 ราย คิดเป็นพลังไฟฟ้าที่เสนอขายทั้งสิ้น 775 เมกะวัตต์ คิดเป็นจำนวนเงินที่ขอรับการสนับสนุนทั้งสิ้นประมาณ 6,400 ล้านบาท
4. ผลการคัดเลือกข้อเสนอโครงการฯ ปรากฏว่ามีโครงการที่ผ่านเกณฑ์พิจารณารวมทั้งสิ้น 37 โครงการ ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ จำนวนทั้งสิ้น 17 ราย คิดเป็นพลังไฟฟ้าที่ขายเข้าระบบทั้งสิ้น 313 เมกะวัตต์ คิดเป็นเงินที่กองทุนฯ สนับสนุนทั้งสิ้นในวงเงินประมาณ 1,956 ล้านบาท และ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มโครงการที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาเช่น เดียวกับกลุ่มที่ 1 แต่ไม่ได้รับเงินสนับสนุนเนื่องจากวงเงิน 2,060 ล้านบาท ได้หมดลงก่อน มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 20 โครงการ คิดเป็นพลังไฟฟ้าที่เสนอขายเข้าระบบ 224.20 เมกะวัตต์ คิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 2,117 ล้านบาท นอกจากนั้น โครงการที่ข้อเสนอไม่ผ่านเกณฑ์พิจารณา มีจำนวนทั้งสิ้น 6 ราย เนื่องจากคุณสมบัติไม่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหxนด
5. จากข้อเสนอในกลุ่มที่ 1 จำนวน 17 โครงการ มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด เนื่องจากปริมาณชีวมวลไม่เพียงพอหรือได้รับการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ หรือไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอ จึงเห็นควรเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาจัดสรรเงินกองทุนฯ เพิ่มเติมให้กับโครงการส่งเสริม ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน ที่ยื่นข้อเสนอในกลุ่มที่ 2 ทั้ง 20 โครงการได้มีสิทธิยื่นเสนออัตรา ขอรับเงินสนับสนุนใหม่ แต่ทั้งนี้การเสนออัตราเงินสนับสนุนค่าพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุดไม่เกิน 0.225 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง โดยคาดว่าจะใช้เงินจากกองทุนฯ เพิ่มเติม 1,000 ล้านบาท
6. เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากบางโครงการอาจจะไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากได้รับการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่โครงการฯ จึงได้กำหนดเงื่อนไขผนวกไว้กับการอนุมัติโครงการฯ โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกต้องนำเสนอแผนการรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนให้ คณะทำงานฯ พิจารณาและได้เข้าไปในพื้นที่ตั้งโครงการฯ ภายในระยะเวลา 2 เดือน นับจากวันที่ประกาศผล เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการฯ ในการอนุมัติให้การสนับสนุนโครงการฯ ต่อไป
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 แผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554
สรุปสาระสำคัญ
1. นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งที่ 218/2544 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2544 แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับ ดูแลและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายประหยัดพลังงานของประเทศ โดยมี นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ โดยทำหน้าที่กำกับดูแลให้การดำเนินการลดปริมาณการใช้พลังงานของประเทศเกิดผล อย่างจริงจังมากขึ้น เป็นไปได้อย่างคล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ต่อมาคณะกรรมการกำกับฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 3 คณะ ประกอบด้วย (1) คณะอนุกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน อาคาร และบ้าน (2) คณะอนุกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในสาขาขนส่ง และ (3) คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อจัดทำแผนและเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ
2. คณะกรรมการกำกับฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ได้มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 ตามที่คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 คณะ ได้นำเสนอ โดยแนวทางหลักในการดำเนินงานแผนยุทธศาสตร์ฯ มีดังนี้คือ เพื่อเร่งเตรียมการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการพลังงานให้ เหมาะสม รวมทั้งแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง ให้เอื้อต่อโครงสร้างใหม่ เพื่อเร่งให้มีการพัฒนาพลังงานจากเชื้อเพลิงที่เป็นชีวมวลและพลังงานทดแทน อื่นๆ เพื่อเร่งจัดทำแผนประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในทุกสาขา โดยเน้นการประหยัดพลังงานในภาคขนส่ง และให้ความสำคัญกับงานศึกษาวิจัยอย่าง จริงจัง พร้อมกับเร่งพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอและวางรากฐานการ สร้างความรู้เพื่อพัฒนาประเทศในระยะยาว ตลอดจนเร่งสร้างเครือข่ายเพื่อรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์พลังงาน และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือจากทั้งนักวิชาการและภาคเอกชน
3. องค์ประกอบของแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานของประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 ประกอบด้วย 4 ด้านหลัก คือ (1) การอนุรักษ์พลังงาน (2) การใช้พลังงานหมุนเวียน (3) การพัฒนาบุคลากร และ (4) การประชาสัมพันธ์
3.1 ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
(1) การอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน/อาคารและบ้านอยู่อาศัย ซึ่งจะครอบคลุมโรงงาน อุตสาหกรรม บ้านเรือน สถานที่ราชการ อาคารสำนักงานสำหรับธุรกิจและงานบริการต่างๆ โดยมุ่งส่งเสริมการฝึกอบรมทักษะและให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงาน พัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มปริมาณและสร้างบุคลากรมืออาชีพ พร้อมทั้งเร่งให้มีการปรับปรุงกฎกระทรวง ระเบียบและขั้นตอนการดำเนินงานตาม พรบ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ตลอดจนปรับปรุงรูปแบบของการให้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการ อนุรักษ์พลังงาน และหากภายในระยะ 10 ปีข้างหน้า การปฏิบัติตามแผนการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน อาคารและบ้านอยู่อาศัย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ความต้องการใช้พลังงานของประเทศลดลงในอัตราร้อยละ 4.21 หรือคิดเป็นจำนวนรวม 1,862.8 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/ปี
(2) การอนุรักษ์พลังงานในสาขาขนส่ง มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการจราจรและการขนส่งคนและสินค้า และสนับสนุนการดำเนินการที่ทำให้มีการนำรถใหม่ที่มีประสิทธิภาพการใช้น้ำมัน สูงและมีมลพิษต่ำมาใช้แทนรถเก่าที่ใช้น้ำมันสิ้นเปลือง รวมทั้งสนับสนุนให้มีการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับส่งเสริมการขนส่งสาธารณะให้เป็นระบบขนส่งหลักของประเทศ ตลอดจนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนส่งรายย่อยรวมตัวกันเพื่อจัดธุรกิจศูนย์ขน ส่งสินค้า (Depot) กระจายทั่วประเทศ และหากปฏิบัติตามแผนอนุรักษ์พลังงานฯ คาดว่าจะช่วยให้ความต้องการใช้น้ำมันและเชื้อเพลิงอื่นๆ ของประเทศลดลงในอัตราร้อยละ 22.16 หรือคิดเป็นจำนวนรวม 7,094.65 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/ปี
3.2 การใช้พลังงานหมุนเวียน มุ่งสนับสนุนให้ทุนการศึกษา ทุนวิจัย และทุนพัฒนานักวิจัยใน แต่ละเทคโนโลยี (เช่น แสงอาทิตย์ ลม ก๊าซชีวภาพ ชีวมวล เซลล์เชื้อเพลิง ฯลฯ) และเร่งสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และผู้แทนประชาชน ตลอดจนเร่งทำให้ราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer: SPP) ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นเชื้อเพลิงอยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมทั้งเร่งแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ขนาดเล็กมาก (ที่มีปริมาณพลังไฟฟ้าที่ขายเข้าระบบ น้อยกว่า 1 เมกะวัตต์) และสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและให้ บริการข้อมูลในด้านพลังงานหมุนเวียน หากแผนการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะ 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.39 ซึ่งจะช่วยให้ลดการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ได้ถึง 5,068.83 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/ปี
3.3 ด้านการพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มจำนวนและคุณภาพของบุคลากรให้เพียงพอในการนำ เป้าหมายของแผนอนุรักษ์พลังงานไปสู่การปฏิบัติ โดยมุ่งดำเนินการให้เกิดองค์กรความรู้ด้านการอนุรักษ์ พลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียน บูรณาการอยู่ในหลักสูตรประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุมศึกษาของประเทศ
3.4 ด้านการประชาสัมพันธ์ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่ว ไปทราบถึงความสำคัญและผลกระทบของการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพที่มี ต่อเศรษฐศาสตร์ สังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเผยแพร่วิธีการประหยัดพลังงานที่ทำได้ง่ายในชีวิตประจำวันและมีการ ลงทุนต่ำ หรือไม่มีเลย
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 ตามที่คณะกรรมการกำกับ ดูแลและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายประหยัดพลังงานของประเทศ ได้เสนอมา (รายละเอียดตามเอกสารประกอบวาระ 4.1) โดยให้ปรับปรุงเพิ่มเติมตามความเห็นของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ดังนี้
1.1 เร่งให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานปรับปรุงระเบียบและขั้นตอนการดำเนินงาน ให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น เพื่อเร่งให้เกิดผลการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุม โรงงานควบคุม และอาคารของรัฐ อย่างแท้จริงและมีปริมาณที่มากพอในทางปฏิบัติ
1.2 การนำแผนยุทธศาสตร์ฯไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างจริงจัง ต้องคำนึงถึงความพร้อมของนโยบายด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิเช่น การผลักดันนโยบายนำรถใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการใช้น้ำมันสูงและก่อให้เกิด มลพิษต่ำมาใช้แทนรถเก่าที่ใช้น้ำมันสิ้นเปลือง และนโยบายเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางรถไฟและทางเรือ รวมทั้ง การสนับสนุนการขนส่งสาธารณะให้เป็นระบบหลักของประเทศ ซึ่งได้มีการกำหนดไว้แล้วเป็นระยะเวลานานมาก แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติ เพราะไม่มีกฎหมายหรือมาตรการใดบังคับ
1.3 ให้พิจารณาพลังงานทางเลือกอื่นเพิ่มเติมด้วย เช่น พลังงานจากคลื่น เป็นต้น
1.4 การสนับสนุนการลงทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและการส่งเสริมให้เกิดการใช้ พลังงาน หมุนเวียนอย่างแพร่หลาย ควรพิจารณานำมาตรการจูงใจทางภาษี (Tax incentive) มาใช้ด้วย โดยให้ผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่ก่อให้เกิดการอนุรักษ์ พลังงานมาลดหย่อนภาษีได้
1.5 เร่งพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพและมีปริมาณให้เพียงพอ พร้อมทั้งควรวางรากฐานการสร้างความรู้ด้านพลังงานเพื่อการพัฒนาประเทศในระยะ ยาว โดยเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ใน วัยเด็ก
1.6 ให้หน่วยงานที่จะดำเนินการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าโดยเขื่อนพลังน้ำขนาดเล็กและ เล็กมากที่ต้องใช้พื้นที่ในเขตลุ่มน้ำ 1A นำเสนอแผนการขออนุญาตใช้พื้นที่ต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายกรณีก่อนการดำเนินการ
2.มอบหมายให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ใช้แผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานเป็นกรอบในการจัดสรรเงินกองทุนฯ และให้คณะกรรมการกองทุนฯ มีอำนาจที่จะปรับปรุงมาตรการต่างๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้โดยสอดคล้องกับแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ตลอดจนรายได้ของกองทุนฯ ด้วย
3.ให้สำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามการดำเนิน งานตามแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน โดยประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผน ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน
เรื่องที่ 4 การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลได้มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วน ร่วมใน กิจการผลิตไฟฟ้า อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการและการให้บริการ รวมทั้งยังเป็นการลดภาระด้านการลงทุนของภาครัฐในระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า จึงได้มีการออกประกาศการรับซื้อไฟฟ้าจาก ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer : SPP) เมื่อปี 2535 เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สามารถรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ที่ผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนอกรูปแบบ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิง และการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ Cogeneration อันเป็นการใช้พลังงานนอกรูปแบบและต้นพลังงานพลอยได้ในประเทศให้เกิดประโยชน์ มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระทางด้านการลงทุนของรัฐในระบบผลิตและระบบ จำหน่ายไฟฟ้าด้วย
2. การดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ตั้งแต่ปี 2535 ถึงปัจจุบัน มี SPP ยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้า รวมทั้งสิ้น 105 ราย ในปัจจุบันมี SPP ที่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้ารวม 63 ราย โดย กฟผ. ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วจำนวน 59 ราย หากทุกโครงการแล้วเสร็จและสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ปริมาณรับซื้อ ทั้งสิ้นจะสูงถึง 2,308 เมกะวัตต์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2545 มี SPP 50 โครงการ ที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟผ. แล้ว มีปริมาณขายไฟฟ้ารวม 1,961 เมกะวัตต์
อย่างไรก็ตาม ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายส่วนใหญ่มาจากการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีปริมาณพลังไฟฟ้าขายเข้าระบบเพียง 263 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับศักยภาพที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 จึงมีมติเห็นควรให้มีการออกระเบียบเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษสำหรับการรับซื้อ ไฟฟ้าจากโครงการ SPP ขนาดเล็ก เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงาน นอกรูปแบบ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ก๊าซชีวภาพจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นเชื้อเพลิง โดยเฉพาะโครงการขนาดเล็ก ทั้งนี้ มอบหมายให้ สพช. และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ร่วมกันดำเนินการต่อไป
3. คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า ในการประชุมเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545 ได้เห็นชอบร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาด เล็กมาก ร่างระเบียบว่าด้วยการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนานกับระบบของการไฟฟ้าฝ่าย จำหน่าย สำหรับปริมาณพลังไฟฟ้าไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ และแบบคำขอ จำหน่ายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าแล้ว นอกจากนี้ สพช. ได้จัดประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิในหลายสาขา เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2545 และได้นำความเห็นของที่ประชุมไปปรับปรุงร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมากแล้ว
4. ร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการประสานฯ และการสัมมนาระดมความคิดเห็น สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
4.1 ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก หมายถึง ผู้ผลิตไฟฟ้าทั้งภาคเอกชน รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไปที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเอง ที่จำหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย โดยมีปริมาณพลังไฟฟ้าขายเข้าระบบไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ และมีลักษณะกระบวนการผลิตไฟฟ้า ดังนี้
4.1.1 ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังลม พลังแสงอาทิตย์ พลังน้ำขนาดเล็ก พลังน้ำขนาดเล็กมาก และก๊าซชีวภาพ เป็นต้น
4.1.2 ผลิตไฟฟ้าจากกากหรือเศษวัสดุเหลือใช้ในการเกษตร หรือกากจากการผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือการเกษตร ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากกากหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร หรือจากการผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือการเกษตร ขยะมูลฝอย ไม้จากการปลูกป่าเป็นเชื้อเพลิง
4.1.3 การผลิตไฟฟ้าจากไอน้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือการเกษตรที่ใช้เชื้อเพลิงในข้อ 4.1.1 หรือ 4.1.2
4.2 การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ขนาดเล็กมาก (SPP ขนาดเล็กมาก) โดยจะพิจารณาการรับซื้อไฟฟ้าตามรายละเอียดที่ SPP กรอกใบแบบคำขอจำหน่ายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า
4.3 การกำหนดราคาซื้อขายไฟฟ้า จะใช้วิธีการหักลบหน่วย (Net Metering) โดยการคิดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนจะเป็นดังนี้
4.3.1 ในเดือนที่ SPP ขนาดเล็กมาก มีการใช้ไฟฟ้ามากกว่าปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ (Net Energy Consumption) การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะคิดค่าไฟฟ้าเฉพาะปริมาณพลังงานไฟฟ้าส่วนต่างในอัตรา ค่าไฟฟ้าขายปลีก ตามประเภทการใช้ไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้ารายนั้นๆ รวมกับค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) (Ft ขายปลีก) ในเดือนนั้นๆ
4.3.2 ในเดือนที่ SPP ขนาดเล็กมาก มีการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ (Net Energy Generation) การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะรับซื้อไฟฟ้าเฉพาะปริมาณพลังงานไฟฟ้าส่วนต่าง ในอัตราค่าไฟฟ้าขายส่งเฉลี่ยที่ กฟผ. ขายให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายรวมกับค่า Ft ขายส่งเฉลี่ย ณ เดือนนั้นๆ
5. SPP ขนาดเล็กมาก จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานในด้านความปลอดภัยและมาตรฐานในการ เชื่อมโยงเข้ากับระบบตามระเบียบว่าด้วยการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนานกับ ระบบของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย สำหรับปริมาณพลังไฟฟ้าไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ ซึ่งได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ให้มีความเหมาะสม รองรับผู้ผลิตไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก หรือผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กทั่วไปที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเองเป็นการ เฉพาะ โดยในการจัดทำระเบียบดังกล่าวได้พิจารณามาตรฐานทางด้านเทคนิคในการเชื่อมโยง ระบบไฟฟ้าที่เป็นมาตรฐานสากล และไม่ส่งผลกระทบต่อการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายด้วย ตลอดจนไม่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
6. แบบคำขอจำหน่ายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ได้มีการพิจารณาปรับปรุงเพื่อช่วยลดขั้นตอนในการจัดเตรียมเอกสาร และลดระยะเวลาในการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าแต่ละราย โดยรายละเอียดในแบบคำขอฯ จะกำหนดตามขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กล่าวคือ ผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารวมกันต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ จะต้องจัดทำรายละเอียดข้อมูลน้อยกว่า ผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารวมกัน 30 กิโลวัตต์ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 1 เมกะวัตต์
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาด เล็กมาก โดยให้นำความเห็นของกรรมการฯ ไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าฯ ด้วย
2.เห็นชอบร่างระเบียบว่าด้วยการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนานกับระบบของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย สำหรับปริมาณพลังไฟฟ้าไม่เกิน 1 เมกะวัตต์
3.เห็นชอบแบบคำขอจำหน่ายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า
4.เห็นควรให้คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้าเร่งจัดทำ ต้นแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และมอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายดำเนินการออกประกาศการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก ภายหลังจากคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้าให้ความเห็น ชอบต้นแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว
เรื่องที่ 5 มาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ (กพช.) เรื่อง มาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย โดยเห็นชอบมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ตลอดจนแนวทางการกำกับดูแล โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2543 เป็นต้นมา
2. การกำหนดมาตรฐานคุณภาพบริการดังกล่าว ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ มาตรฐานทางด้านเทคนิค (Technical Standards) และมาตรฐานการให้บริการ (Customer Service Standards) โดยในส่วนของ มาตรฐานการให้บริการที่การไฟฟ้ารับประกันกับผู้ใช้ไฟฟ้า (Guaranteed Standards) จะมีการกำหนดค่าปรับที่การไฟฟ้าจะต้องจ่ายให้ผู้ใช้ไฟฟ้าในกรณีที่ไม่สามารถ ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งค่าปรับจะอยู่ระหว่าง 50 - 2,000 บาท สำหรับการกำกับดูแล คณะรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ (สพช.) ทำหน้าที่ติดตามการดำเนินงานของ กฟน. และ กฟภ. ตลอดจน เป็นผู้กำกับบริษัทที่ปรึกษาทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้ไฟฟ้าเกี่ยวกับ การให้บริการเป็นประจำทุกปี โดย กฟน. และ กฟภ. เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ที่กระทรวงการคลังจะนำผลการดำเนินงานดังกล่าวไปใช้เป็นเกณฑ์หนึ่งของ การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ
3. จากการประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย พบว่า การดำเนินงานของการไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เกือบทั้งหมด และมาตรฐานหลายข้อยังมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามความคิดเห็นของ ผู้ใช้ไฟฟ้า พบว่า ผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนหนึ่งยังคงไม่ได้รับความสะดวกและความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ บริการ ดังนั้น สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของ สพช. ในโครงการที่ปรึกษาเรื่องมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย จึงมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานบางข้อให้เข้มงวดขึ้น ดังนี้
3.1 มาตรฐานความเชื่อถือได้ ควรปรับสูตรการคำนวณสูตรดัชนีจำนวนไฟฟ้าดับต่อรายต่อปี (SAIFI) และดัชนีระยะเวลาไฟฟ้าดับต่อรายต่อปี (SAIDI) ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เนื่องจากวิธีการคำนวณของ กฟน. ยังใช้สมมติฐานจำนวนผู้ใช้ไฟในแต่ละสายป้อนมีจำนวนเท่ากัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง นอกจากนี้ ควรปรับค่าดัชนี SAIFI และ SAIDI ของ กฟน. ให้เข้มขึ้น ส่วนของ กฟภ. เกณฑ์เดิมมีความเหมาะสมอยู่แล้ว เนื่องจากผลการดำเนินงานของ กฟภ. มีความใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานมาก
3.2 มาตรฐานการให้บริการทั่วไป เรื่อง การจ่ายไฟคืน การร้องเรียน การอ่านค่าหน่วยไฟฟ้า และการตอบข้อร้องเรียน เสนอให้มีการปรับเกณฑ์มาตรฐานให้เข้มขึ้น
3.3 มาตรฐานที่การไฟฟ้ารับประกัน ให้มีการปรับเกณฑ์มาตรฐานให้เข้มขึ้น ยกเว้นเรื่องการแก้ปัญหาไฟฟ้าดับ และระยะเวลาที่ลูกค้ารายใหม่ขอใช้ไฟฟ้า ให้ใช้เกณฑ์เดิมซึ่งมีความเหมาะสมอยู่แล้ว
3.4 นอกจากนี้ ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดในปัจจุบัน ยังมีมาตรฐานหลายข้อที่ไม่สามารถประเมินได้อย่างชัดเจน แม้ว่าจะมีการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานให้เข้มขึ้นแล้ว ดังนั้น จึงควรมีการปรับปรุง โดยมุ่งเน้นการจัดระบบการให้บริการผู้ใช้และพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น
4. การสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้ไฟฟ้าเกี่ยวกับการให้บริการที่ผ่านมา เป็นการดำเนินงานโดย กฟน. และ กฟภ. เป็นผู้ว่าจ้างที่ปรึกษาโดยตรง จึงอาจทำให้ผลการสำรวจไม่เป็นกลาง และไม่มีความน่าเชื่อถือเท่า ที่ควร ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2545 สพช. จะดำเนินการกำกับบริษัทที่ปรึกษาทำการสำรวจความคิดเห็นของ ผู้ใช้ไฟฟ้าเกี่ยวกับการให้บริการ โดยให้ กฟน. และ กฟภ. เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 ต่อไป
มติของที่ประชุม
1.รับทราบผลการศึกษาการประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
2.เห็นชอบให้มีการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่าย จำหน่ายตามข้อเสนอของที่ปรึกษา สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามเอกสารแนบ 4.3.3 โดยให้เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2545 เป็นต้นไป
3.เห็นชอบให้ สพช. เร่งรัดการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 ในการกำกับบริษัทที่ปรึกษาเพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้ไฟฟ้าเกี่ยวกับการ ให้บริการของ กฟน. และ กฟภ. โดยให้การไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
เรื่องที่ 6 แผนการแปรรูปการไฟฟ้านครหลวง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และวันที่ 3 ตุลาคม 2543 ได้เห็นชอบแนวทาง และแผนการดำเนินงานการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อ ขายไฟฟ้า และมอบหมายให้ สพช. การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการในกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย โดย มอบหมายให้คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานดังกล่าว ทั้งนี้ในส่วนของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กำหนดให้ กฟน. แบ่งแยกบัญชีระหว่างหน่วยงานด้านระบบจำหน่าย และหน่วยงานจัดหาไฟฟ้า รวมทั้งแยกหน่วยธุรกิจเสริม 4 หน่วยออกเป็นบริษัทจำกัด และแปรรูปไปในที่สุด
2. โครงสร้างกิจการไฟฟ้าในอนาคตตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ การแข่งขันจะเริ่มตั้งแต่การผลิตไฟฟ้าโดยผู้ผลิตไฟฟ้าหรือบริษัทผลิตไฟฟ้าจะ แข่งขันเสนอราคาขายและปริมาณไฟฟ้าที่ตนจะผลิตเข้าสู่ตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า โดยมีศูนย์ควบคุมระบบอิสระ (ISO) เป็นผู้คัดเลือกโรงไฟฟ้าที่เสนอราคาต่ำสุดให้ เดินเครื่องก่อน และมีการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าในปี 2545 ซึ่งประกอบด้วยศูนย์ควบคุมระบบอิสระ (ISO) เป็นผู้สั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าและควบคุมระบบไฟฟ้าโดยรวม ศูนย์ปฏิบัติการทางการตลาด (Market Operator : MO) ดำเนินการร่วมกับ ISO ทำหน้าที่ในส่วนของตลาดที่จะกำหนดราคาค่าไฟฟ้าในตลาดกลาง และศูนย์บริหารการชำระเงิน (Settlement Administrator : SA) ดูแลทางด้านบัญชีและการชำระเงินค่าซื้อขายไฟฟ้า
ในส่วนของการจัดหาไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟส่วนใหญ่จะซื้อไฟฟ้าจากบริษัทระบบจำหน่ายและจัดหาไฟฟ้า (REDCo) ซึ่งเป็นกิจการที่ถูกกำกับดูแลโดยรัฐ การดำเนินการจะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนระบบจำหน่ายและส่วนการจัดหาไฟฟ้า นอกจากนี้ ผู้ใช้ไฟยังมีทางเลือกที่จะใช้บริการไฟฟ้าจากบริษัทค้าปลีกไฟฟ้าที่ต้องการ เข้ามาแข่งขัน โดยอาจจะให้บริการเสริมต่างๆ ควบคู่ไปกับการจำหน่ายไฟฟ้า
3. ในการประชุมระดมความคิดเห็นเรื่อง แนวทางการพัฒนาตลาดหุ้นไทย เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2544 ซึ่งมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้กำหนดแนวทางการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย โดยในส่วนของ กฟน. จะมีการกระจายหุ้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดังนั้น เพื่อให้แผนการปรับโครงสร้าง กฟน. มีความสอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว คณะอนุกรรมการประสานฯ ในการประชุม เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2544 และ 20 มีนาคม 2545 ได้เห็นชอบให้นำ กฟน. ทั้งองค์กรเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และให้เลื่อนกำหนดการกระจายหุ้นไปอีก 6 เดือน เป็นเดือนมิถุนายน 2547 เนื่องจาก การประกวดราคาจัดจ้างที่ปรึกษาด้านการแปรรูปประสบปัญหา ทั้งนี้ได้ มอบหมายให้ กฟน. นำส่งแผนการดำเนินงานแปรรูป กฟน. ที่สอดคล้องกับมติที่ประชุมมายัง สพช. เพื่อ นำเสนอ กพช. เพื่อพิจารณาต่อไป
4. กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือนำส่งแผนการแปรรูป กฟน. และขั้นตอนการดำเนินงานการแปรรูป กฟน. ที่จัดทำแล้วตามมติคณะอนุกรรมการประสานฯ มายัง สพช. เพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุม กพช. ตาม ขั้นตอน พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ต่อไป โดยแผนการแปรรูป กฟน. ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมขององค์กร การเตรียมการเพื่อจดทะเบียนเป็นบริษัท มหาชน จำกัด และการนำบริษัทการไฟฟ้านครหลวง จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
4.1 การเตรียมความพร้อมขององค์กร กฟน. จะจัดจ้างที่ปรึกษาการแปรรูปเพื่อช่วยในการดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กร กระบวนงาน และระบบบัญชี จัดหาระบบ ERP Software และการเตรียมการด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการแข่งขัน โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2545 - ตุลาคม 2547
4.2 การเตรียมการเพื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน จำกัด กฟน. จะใช้พระราชบัญญัติทุน รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ในการเปลี่ยนสภาพเป็นบริษัท โดยคาดว่า กฟน. จะสามารถจัดทำแผนการแปลงทุนเป็นหุ้นได้แล้วเสร็จในต้นปี 2546 และนำเสนอต่อ กพช. คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจและ ครม. เพื่อพิจารณา และสามารถจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดได้ภายในเดือนมีนาคม 2547
4.3 การเตรียมการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ กฟน. จะจัดหาผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น (Underwriter) เพื่อช่วยดำเนินการเสนอขายหุ้นโดยคาดว่าจะสามารถนำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน (Road Show) เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2547 และเสนอขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ในเดือนมิถุนายน 2547
5. สพช. ได้พิจารณาแผนการแปรรูป กฟน. แล้ว มีความเห็นดังนี้
5.1 แผนการแปรรูป กฟน. มีความสอดคล้องกับนโยบายการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการพัฒนาตลาดทุน และ กฟน. สามารถดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรตามแผนการแปรรูป กฟน. ขนาน ไปกับการพิจารณาโครงสร้างกิจการไฟฟ้าในภาพรวม เนื่องจากกิจกรรมส่วนใหญ่ สามารถเริ่มดำเนินการได้ โดยไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบการแข่งขันในระดับขายส่งซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงใน รายละเอียด ยกเว้นบางกิจกรรมที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปรับ โครงสร้างกิจการไฟฟ้า เช่น การเตรียมความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี อาจรอผลการพิจารณาโครงสร้างกิจการไฟฟ้าในภาพรวมได้เนื่องจากมีกำหนดการเริ่ม ดำเนินงานในไตรมาสที่ 4 ของปี 2545
5.2 เนื่องจากธุรกิจหลักของ กฟน. คือธุรกิจระบบจำหน่ายและการจัดหาไฟฟ้าจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลรายได้ และความเชื่อถือของ กฟน. จึงขึ้นอยู่กับการกำกับดูแล การนำ กฟน. จดทะเบียนและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ประสบผลสำเร็จจึงจำเป็นต้องมีกรอบการกำกับดูแลที่ชัดเจน โปร่งใส เสียก่อน โดยให้มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระให้แล้วเสร็จก่อนการจดทะเบียนบริษัท กฟน. ในเดือนมีนาคม 2547 ดังนั้น จึงควรเร่งให้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. .... เพื่อจัดตั้ง องค์กรกำกับดูแลอิสระสำหรับกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ โดยร่าง พ.ร.บ. ควรผ่านความเห็นชอบจาก รัฐสภา และมีผลใช้บังคับภายในกลางปี 2546 เพื่อให้มีระยะเวลาเพียงพอสำหรับการคัดเลือกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน แห่งชาติให้เสร็จทันและคณะกรรมการเริ่มปฏิบัติงานก่อนการจดทะเบียนบริษัท กฟน. ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจะเป็นการให้ความมั่นใจแก่นักลงทุน
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบแผนการแปรรูปการไฟฟ้านครหลวง โดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จะจดทะเบียนทั้งองค์กรเป็นบริษัทจำกัด และกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2547 โดยใช้ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ในการเปลี่ยนสภาพเป็นบริษัท
2.มอบหมายให้ กฟน. รับไปดำเนินการตามแผนการแปรรูป กฟน. ทั้งนี้ เนื่องจากแผนการแปรรูป กฟน. เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าในภาพรวม ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดต่อไป หากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแผนการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าในภาพรวม ให้มีการพิจารณาปรับปรุงแผนการแปรรูป กฟน. ให้สอดคล้องกัน
เรื่องที่ 7 แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2544 ได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมถอนข้อเสนอของคณะกรรมการเอทานอลแห่ง ชาติไปหมดทั้งเรื่อง เพื่อให้คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติรับไปศึกษาพิจารณาเพิ่มเติมให้ละเอียด ชัดเจน ในภาพรวมของผลดีและผลเสียต่อประเทศ ต้นทุนการผลิตและมาตรการต่างๆ ที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุน รวมทั้งรายละเอียดอื่นให้เพียงพอที่ กพช. จะสามารถพิจารณากำหนดนโยบายได้อย่างเหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบเสียหายต่อ เศรษฐกิจของประเทศ และนำกลับมาเสนอใหม่โดยเร็ว คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติจึงได้พิจารณาและ จัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง เสนอต่อ กพช.
2. ประธานคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติได้นำเสนอข้อเสนอของคณะกรรมการเอทานอลแห่ง ชาติให้ที่ประชุมทราบ โดยมีประเด็นต่างๆ เพื่อพิจารณา ดังนี้
2.1 การจัดทำแผนการผลิตอ้อยและมันสำปะหลัง ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการจัดทำแผนการผลิตอ้อยและมันสำปะหลังปี 2545 - 2549 แล้วเสร็จ โดย ครอบคลุมถึงความต้องการใช้ผลผลิตเพื่อการผลิตเอทานอลด้วย นอกจากนั้น ประธานคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติได้นำเสนอรายงานการศึกษาสถานภาพของวัตถุดิบ ที่นำมาใช้ในการผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
2.2 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการผลิตและการใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง โดยคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติได้นำเสนอ กพช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการให้มีการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีสรรพ สามิตของเอทานอลหน้าโรงงาน และภาษีสรรพสามิตในส่วนของเอทานอลที่เติมในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ตลอดไป
2.3 มาตรการกองทุนเพื่อสนับสนุนการผลิตและการใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง โดยคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติได้เสนอหลักการกำหนดราคาจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซ ฮอล์ให้ต่ำกว่าราคาจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 ประมาณ 0.50 - 0.70 บาทต่อลิตร โดยการลดหย่อนอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เพิ่มเติมจากการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตของเอทานอลหน้าโรงงาน และภาษีสรรพสามิตในส่วนของเอทานอลที่เติมในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่กระทรวงการ คลังได้เห็นชอบไว้แล้ว
2.4 การกำหนดคุณภาพน้ำมันแก๊สโซฮอล์ คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติได้เสนอว่าเพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้โดย เร็วเห็นควรกำหนดคุณภาพน้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยผ่อนผันคุณภาพน้ำมันได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นระดับที่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สามารถยอมรับได้ คือ กำหนดอุณหภูมิการกลั่นที่ปริมาณการระเหย 50% เป็น 65-110 องศาเซลเซียส และค่าความดันไอเป็นไม่สูงกว่า 65 กิโลปาสคาล โดย ในระหว่างนี้จะต้องทำการติดตามผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เครื่องยนต์ และการผลิตอย่างใกล้ชิด โดยคณะทำงานติดตามผลการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์
2.5 นโยบายการตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิง คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติได้เสนอให้การขอตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอ ลเป็นเชื้อเพลิงต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติก่อนใน ทุกกรณี รวมถึงเสนอกรอบนโยบายในการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอ ลเป็นเชื้อเพลิง
2.6 การยกเลิกการใช้ MTBE ซึ่งคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติได้เสนอให้ในระยะแรก หากมีการกำหนดราคาจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้ต่ำกว่าน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ประมาณลิตรละ 0.50 - 0.70 บาทไว้อยู่แล้ว จะทำให้เกิดการทยอยเลิกใช้สาร MTBE ออกไปโดยอัตโนมัติ
2.7 การกำหนดกองทุนเพื่อรักษาระดับราคาเอทานอล คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติได้เสนอว่ายังไม่ต้องมีการจัดตั้งกองทุนรักษา ระดับราคาเอทานอลในขณะนี้ โดยฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ เอทานอลแห่งชาติจะรับไปทำการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรักษา ระดับราคาเอทานอลแล้วนำเสนอคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป
2.8 การขอรับเงินสนับสนุนโครงการประชาสัมพันธ์น้ำมันแก๊สโซฮอล์ คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติเสนอนโยบายการส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์การ ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจและร่วมกันใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีเอทานอลเป็นส่วนผสม
2.9 องค์กรในการดูแลการนำพืชมาผสมในน้ำมันเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ประธานคณะกรรมการ เอทานอลแห่งชาติได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการเอทานอล แห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งตามระเบียบดังกล่าวกำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมทำหน้าที่เป็น สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการภายใต้การดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบเรื่องการนำเอาน้ำมันจากพืชมาใช้เป็นเชื้อเพลิง (ไบโอดีเซล) แล้ว
2.10 มาตรการสนับสนุนเพิ่มเติม ประธานคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติได้นำเสนอมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติม ได้แก่นโยบายให้รถราชการและรัฐวิสาหกิจเลือกใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็นลำดับ แรก นโยบายส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่น น้ำมันปิโตรเลียมเพื่อเตรียมพร้อมที่จะรองรับการใช้แก๊สโซฮอล์ และนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลของผู้ ประกอบการขนาดย่อมและขนาดกลาง โดยองค์กรหรือสถาบันเกษตรกรที่มีศักยภาพ เพื่อให้มีแหล่งผลิตเชื้อเพลิงจากผลผลิตทางการเกษตรกระจายอยู่ในท้องถิ่น ต่างๆ ของประเทศ
มติของที่ประชุม
1.รับทราบแผนการผลิตอ้อยและมันสำปะหลัง ปี 2545-2549 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งครอบคลุมถึงความต้องการใช้ผลผลิตเพื่อผลิตเอทานอล รายงานการศึกษาสถานภาพของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ของ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ แนวทางในการแก้ไขปัญหาปริมาณ ผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ และแนวทางแก้ไขปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีและลักลอบการใช้ในกิจกรรมอื่นที่มิใช่ เชื้อเพลิง
2.เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติไปดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ในประเด็นดังต่อไปนี้
2.1 เห็นชอบในหลักการให้มีการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตของเอทานอลหน้าโรง งานและภาษีสรรพสามิตในส่วนของเอทานอลที่เติมในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ตลอดไป
2.2 เห็นชอบในหลักการกำหนดราคาจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้ต่ำกว่าราคาจำหน่าย น้ำมันเบนซินออกเทน 95 โดยความแตกต่างของราคาอยู่ในระดับต่ำกว่า 1 บาทต่อลิตร เช่น 0.50-0.70 บาทต่อลิตร
2.3 เห็นชอบในหลักการให้มีการลดหย่อนอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและ กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์
2.4 เห็นชอบในการกำหนดคุณภาพน้ำมันแก๊สโซฮอล์ขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยให้ติดตามผลการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์จากผู้ใช้และผู้ผลิต รวมทั้งพิจารณาผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และดำเนินการทดลองการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ในเชิงปฏิบัติและภาคสนามเพิ่มเติม ตามความจำเป็น
2.5 เห็นชอบนโยบายการยกเลิกการใช้สาร MTBE ในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 โดยการใช้กลไกด้านการตลาดที่ได้กำหนดราคาจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้ต่ำกว่า น้ำมันเบนซินออกเทน 95 ซึ่งจะทำให้เกิดการเลิกใช้ MTBE โดยอัตโนมัติ
2.6 เห็นชอบแนวทางการจัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาเอทานอล โดยในปัจจุบันยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งกองทุนฯ แต่ในอนาคตอาจมีความจำเป็น ดังนั้น จึงมอบหมายให้คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ รับไปศึกษาและจัดทำรายละเอียดพร้อมข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรักษา ระดับราคาเอทานอล เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2.7 เห็นชอบนโยบายการส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์การใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจและร่วมกันใช้น้ำมันเชื้อ เพลิงที่มีเอทานอลเป็นส่วนผสม โดยให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดัง กล่าว
2.8 เห็นชอบมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่
-นโยบายการให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ เตรียมกำหนดให้รถยนต์ของหน่วยงานเลือกใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็นอันดับแรก
-นโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม มีความพร้อมที่จะรองรับการผลิตและการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีเอทานอลเป็น ส่วนผสม เช่น มาตรการด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นต้น
-นโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลของผู้ ประกอบการขนาดย่อมและขนาดกลาง โดยองค์กรหรือสถาบันเกษตรกรที่มีศักยภาพ เพื่อให้มีแหล่งผลิตเชื้อเพลิงจากผลผลิตทางการเกษตรกระจายอยู่ทั่วไปในท้อง ถิ่นต่างๆ ของประเทศ เช่น การสนับสนุนทางการเงิน โดยการให้สินเชื่อปลอดดอกเบี้ยหรือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคจากหน่วยงานหรือองค์กร ของรัฐ เป็นต้น
3.เห็นชอบให้คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาข้อเสนอการขอตั้งโรง งานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิง โดยให้เป็นไปตามกรอบนโยบายที่คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติกำหนดตามรายละเอียด ในเอกสารแนบ 5.2 และให้นำเสนอผลการพิจารณาตั้งโรงงานต่อคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป รวมทั้งให้กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตตั้งโรงงานผลิตและ จำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับกรอบนโยบายดังกล่าว
- กพช. ครั้งที่ 88 - วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2545 (1229 Downloads)