มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 5/2544 (ครั้งที่ 86)
วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2544 เวลา 10.30 น.
ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล
1.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
3.ความคืบหน้าในการจัดหาและการใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง
4.แผนการระดมทุนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
5.การกำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ
นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมให้ที่ประชุมทราบว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 เพื่อพิจารณามติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2544 (ครั้งที่ 85) เรื่องแนวทางการพัฒนาแหล่งถ่านหินในประเทศ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเปลี่ยนแปลงไปจากมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ดังนี้ คือ
1.ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในการพัฒนาแหล่งถ่านหินเวียงแหง หากรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุมัติแล้ว จึงให้ กฟผ. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อกันแหล่งเวียงแหงให้ กฟผ. เข้าไปพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าโดยไม่ต้องมีการเปิดประมูล
2.เห็นชอบให้มีการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2535 เพื่อกันแหล่งถ่านหินสะบ้าย้อยให้ กฟผ. เข้าไปพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าโดยไม่ต้องมีการเปิดประมูล แต่ให้ กฟผ. คืนแหล่งงาว และแหล่งสินปุน ให้แก่กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อนำไปเปิดประมูล ต่อไป
3.เห็นชอบให้กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งกำหนดหลักเกณฑ์ให้เอกชนเข้ามาเปิดประมูลการขออาญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ใน พื้นที่ที่สำรวจพบถ่านหินเบื้องต้นตามมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ยกเว้นแหล่งเวียงแหงที่ให้รอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบ หลังจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาได้ปรับตัวลดลง 6-8 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากตลาดน้ำมันเห็นว่าสถานการณ์อาจขยายตัว และจะส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยทั่วโลก ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันของโลกลดลง และกลุ่มโอเปคได้ประกาศว่าการลดปริมาณการผลิตในปีนี้เพียงพอแล้ว เนื่องจากได้ลดปริมาณการผลิตลงแล้ว 3.5 ล้านบาร์เรล/วัน และ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์อยู่ที่ระดับ 21.3 และ 22.1 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
2. สำหรับราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ น้ำมันเบนซินและดีเซลได้ปรับตัวลดลง 9 และ 6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบ น้ำมันเบนซินปรับตัวลดลงมากเนื่องจากไม่มีแรงซื้อ และความต้องการใช้ในภูมิภาคเอเซียยังไม่เพิ่มสูงขึ้นมาก ปริมาณสำรองอยู่ในระดับสูงทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปลดลงมากกว่าราคาน้ำมัน ดิบ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และออกเทน 91 ก๊าด ดีเซล และน้ำมันเตา อยู่ที่ระดับ 23.6, 22.5, 26.8, 26.2, และ 21.8 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
3. ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยหลังจากวิกฤตการณ์ในสหรัฐอเมริกา น้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงสุทธิ 30 สตางค์/ลิตร และน้ำมันดีเซลได้ลดลงมาเท่ากับก่อนวิกฤตการณ์ โดยที่ราคาน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95, ออกเทน 91 และดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 25 กันยายน 2544 อยู่ที่ระดับ 15.99, 14.99 และ 13.94 บาท/ลิตร ตามลำดับ และค่าการตลาดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 1.5 บาท/ลิตร ค่าการกลั่นอยู่ที่ 1.4 บาท/ลิตร (4.9 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล)
4. ในการเพิ่มปริมาณน้ำมันสำรองภายในประเทศเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภาวะวิกฤต คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.) ได้มีมติให้กรมทะเบียนการค้าปรับเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันที่ผลิตในประเทศเพิ่ม ขึ้นจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 และเพิ่มอัตราสำรองของน้ำมันนำเข้าจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 10 โดยมี ผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน และได้มอบหมายให้ สพช. และกรมทะเบียนการค้า เป็นผู้กำกับดูแลและบริหารการส่งออก แต่เพื่อให้การเพิ่มปริมาณน้ำมันสำรองมีผลเร็วขึ้น นายกรัฐมนตรีได้ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 5/2544 ให้มีการเก็บรักษาน้ำมันสำหรับป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงอัตรา ร้อยละ 2 สำหรับน้ำมันผลิตในประเทศ และร้อยละ 4 สำหรับน้ำมันนำเข้าโดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป และกรมทะเบียนการค้าได้ออกประกาศปรับเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันตามกฎหมายแล้ว โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ประมาณปลายเดือนธันวาคม 2544
5. สพช. และกรมทะเบียนการค้าได้รายงานสถานการณ์ การจัดหา การผลิตและการส่งออกน้ำมันอยู่ในภาวะปกติ โดยที่ปริมาณน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปคงเหลือ ณ วันที่ 20 กันยายน 2544 อยู่ที่ระดับ 4,333 ล้านลิตรหรือ 41 วันของการใช้ และในเดือนกันยายน 2544 ปริมาณการส่งออกน้ำมันอยู่ในระดับปกติ โดยมีปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และก๊าซหุงต้ม (LPG) ประมาณ 123 ล้านลิตร, 191 ล้านลิตร และ 44 ล้านกิโลกรัม ตามลำดับ
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ในการประชุมครั้งที่ 3/2544 (ครั้งที่ 32) เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2544 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการข้อเสนอของคณะอนุกรรมการศึกษาฯ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อเสนอของคณะอนุกรรมการศึกษาฯ ไปดำเนินการจัดทำรายละเอียดในส่วนที่สามารถดำเนินการได้และในส่วนที่เป็น ปัญหาอุปสรรค และรายงานให้คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานทราบภายใน 1 เดือน
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการศึกษาฯ ดังนี้
2.1 ราคาก๊าซธรรมชาติ
2.1.1 ปตท. อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางในการปรับปรุงสูตรปรับราคาก๊าซฯ และได้ดำเนินการเจรจากับผู้ผลิตก๊าซฯ ในอ่าวทุกราย เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อค่า Ft ซึ่งปตท. จะรายงานความคืบหน้าในการเจรจาให้ทราบต่อไป
2.1.2 ปตท. ดำเนินการตรึงราคาก๊าซฯ สำหรับคำนวณค่าดำเนินการในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน 2544 ไว้ที่ราคา 122.15 บาท/ล้านบีทียู ส่งผลให้สามารถลดค่าดำเนินการได้ประมาณ 73 ล้านบาท >และ ปตท. จะกำหนดราคาก๊าซฯ สูงสุดสำหรับการคำนวณค่าดำเนินการไว้ที่ 123 บาท/ล้านบีทียู อย่างไรก็ตาม ปตท. ไม่สามารถปรับลดค่าดำเนินการสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กได้ เนื่องจาก ปตท. ต้องรับความเสี่ยงจากการขายก๊าซฯ ให้แก่ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) สูงกว่าผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP) รวมทั้ง ปตท. ต้องรับภาระดอกเบี้ย Take or Pay ของ SPP ทั้งหมดด้วย
2.1.3 ปตท. ไม่สามารถลดอัตราค่าผ่านท่อที่เรียกเก็บในปัจจุบันได้ และจากการหารือระหว่าง สพช. กับ ปตท. เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2544 ได้ข้อสรุปว่า อัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROE) ของ การลงทุนใหม่ในระบบท่อควรอยู่ในระดับร้อยละ 16 สำหรับ ROE ของการลงทุนเดิมในระบบท่อให้คงอยู่ในระดับที่เท่ากับในปัจจุบันคือร้อยละ 18
2.1.4 ปตท. ได้แจ้งความคืบหน้าในการเจรจากับกลุ่มผู้ขายก๊าซฯ แหล่งยาดานา และ เยตากุน เพื่อบรรเทาปัญหา Take or Pay ดังนี้
(1) แหล่งยาดานา ผู้ขายก๊าซฯ จะเตรียมความสามารถส่งก๊าซฯ ให้ได้สูงถึง 650 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยไม่มีการลงทุนเพิ่มเติม และให้ ปตท. สามารถเรียกรับก๊าซฯ ที่ได้จ่ายค่า Take or Pay ไปแล้ว (Make up) เป็นรายเดือน นอกจากนี้ ผู้ขายก๊าซฯ ได้ตกลงในหลักการชดเชยเงินบางส่วน (Rebate) จากปริมาณก๊าซฯ ที่ ปตท. จะเรียกรับ Make up ในช่วง 4 ปีข้างหน้า
(2) แหล่งเยตากุน ผู้ขายก๊าซฯ จะชะลอการผลิตก๊าซฯ ที่ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในเดือนเมษายน 2547 ออกไป โดยจะทยอยการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซฯ แทน พร้อมทั้ง เสนอที่จะลดราคาก๊าซฯ ส่วนที่เกินกว่า 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นอกจากนี้ ได้ตกลงที่จะพิจารณาหลักการ Make up รายเดือน เช่นเดียวกับสัญญาซื้อขายก๊าซฯ แหล่งยาดานา สำหรับมาตรการในระยะสั้น ผู้ขายก๊าซฯ ได้เสนอส่วนลดราคาก๊าซฯ ร้อยละ 2.5 - 12.5 สำหรับปริมาณที่รับเกินกว่า 160 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในช่วงเดือนกันยายน 2544 - กุมภาพันธ์ 2545
2.2 การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน
2.2.1 กฟผ. ได้หารือกับบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนแล้ว ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนแจ้งว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการกำหนดค่าความพร้อมจ่าย พลังไฟฟ้า (AP) จากแบบ Front-End เป็นแบบเกลี่ยราคา (Levelized Price) ได้ เนื่องจากจะกระทบต่อความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ และเป็นการผิดเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ ซึ่งผู้ให้กู้อาจบอกเลิกสัญญาและยึดทรัพย์สินของทางบริษัทฯ ได้ และจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และการลงทุนอีกด้วย
2.2.2 ในประเด็นการทบทวนความเหมาะสมของการส่งผ่านผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนในโครง สร้างราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน IPP และ SPP นั้น ขณะนี้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนยังไม่ได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อลดภาระหนี้สกุล เงินเหรียญสหรัฐแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนบางรายยินดีให้ความร่วมมือในการพิจารณาหาแนวทางในการลดผล กระทบอัตราแลกเปลี่ยนในสูตรราคารับซื้อไฟฟ้า ทั้งนี้ ขอให้ กฟผ. กำหนดโครงสร้างราคาในการเจรจาที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรับไปพิจารณาในรายละเอียดเป็นรายๆ ไป
2.2.3 กฟผ. ได้ชี้แจงว่า อัตราผลตอบแทนการลงทุนของบริษัทผลิตไฟฟ้าในเครือของ กฟผ. ในอัตราร้อยละ 19-20 นั้น เป็นอัตราผลตอบแทน ณ ราคา Par ที่เหมาะสมแล้ว เพราะเมื่อมีการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ กฟผ. ก็ขายหุ้นได้ในราคาที่สูงกว่าราคา Par ซึ่งส่วนเกินมูลค่าหุ้น (Premium) ก็ทำให้ฐานะการเงินของการไฟฟ้าดีขึ้น และมีผลต่อการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าด้วย การทบทวนอัตราผลตอบแทนการลงทุน อาจส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นในปัจจุบัน และความมั่นใจของผู้ลงทุนอย่างรุนแรง ตลอดจนผลกระทบต่อนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอนาคตได้
2.3 ประสิทธิภาพของการไฟฟ้า
2.3.1 กำหนดมาตรฐานอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) โดยคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาปรับค่าไฟฟ้าตามสูตร Ft ครั้งต่อไปในเดือนตุลาคม 2544 การกำหนดมาตรฐาน Heat Rate แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ในระยะสั้น กำหนด จากสถิติอัตราการใช้ความร้อนเฉลี่ยตามลักษณะของโรงไฟฟ้า (Heat Rate Curve) ตามกลุ่มเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่มีขนาดโรงไฟฟ้า ประเภทโรงไฟฟ้า และการใช้เชื้อเพลิงที่ใกล้เคียงกัน และในระยะยาว กำหนดมาตรฐาน Heat Rate เป็นรายโรงไฟฟ้า ในลักษณะเดียวกันกับที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับผู้ผลิต ไฟฟ้าเอกชน ซึ่ง กฟผ. อยู่ระหว่างดำเนินการ
2.3.2 กำหนดมาตรฐานค่าความสูญเสีย (Loss Rate) ที่ กฟผ. ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ควบคุมมลภาวะ และการบริหารงาน เท่ากับร้อยละ 4.92 และค่าความสูญเสียในระบบของ กฟผ. กฟน. และ กฟภ. เท่ากับร้อยละ 2.49 4.1 และ 5.66 ตามลำดับ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการกำกับสูตรฯ จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาปรับค่าไฟฟ้าตามสูตร Ft ครั้งต่อไปในเดือนตุลาคม 2544
2.3.3 การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้ปรับลดการลงทุน ในปี 2544 - 2546 จากแผนเดิมประมาณร้อยละ 30 หรือประมาณ 55,594 ล้านบาท ทำให้ฐานะการเงินของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ในปี 2545 - 2546 ดีกว่าที่ประมาณการไว้เดิม หากนำเงินลงทุนที่ลดลงในปี 2545 - 2546 ดังกล่าว ส่งคืนผู้ใช้ไฟฟ้าผ่านราคาค่าไฟฟ้า จะสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ 10,000 ล้านบาท/ปี หรือประมาณ 10 สตางค์/หน่วย แต่เมื่อพิจารณาฐานะการเงินของการไฟฟ้าแล้ว โดยให้ภาคไฟฟ้ามีฐานะการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนด จะสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 7 สตางค์/หน่วย นอกจากนี้ หากการไฟฟ้าสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพ และปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จะทำให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง มีฐานะการเงินดีขึ้นอีก
2.4 อัตราเงินนำส่งรัฐ เงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้า และโบนัสของการไฟฟ้า
2.4.1 กระทรวงการคลังเห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะอนุกรรมการศึกษาฯ ว่าไม่ควรเรียกเก็บเงินนำส่งรัฐเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้เดิม กล่าวคือ เงินนำส่งรัฐในปี 2544 เท่ากับร้อยละ 40 และในปี 2545 - 2546 เท่ากับร้อยละ 35
2.4.2 กระทรวงการคลังเห็นว่า การนำเงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้าปรับเข้าไปอยู่ในฐานเงินเดือน จะไม่ทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลง เนื่องจากจะทำให้ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เป็นส่วนควบของเงินเดือนสูงขึ้นตามไปด้วย และเนื่องจากเงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือยกเลิกสวัสดิการดังกล่าว ต้องได้รับความยินยอมจากพนักงานด้วย ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของกระทรวงการคลังที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสวัสดิการซึ่ง ถือเป็นสภาพการจ้างได้
2.4.3 การจ่ายเงินโบนัสของ กฟน. เป็นอัตราคงที่ 2 เท่าของเงินเดือนถือเป็นสภาพการจ้าง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงต้องได้รับความยินยอมจากพนักงาน หากพนักงาน กฟน. ยินยอมเปลี่ยนแปลงอัตราการจ่ายโบนัสให้เป็นไปตามอัตราโบนัสตามการประเมินผล การดำเนินงานเช่นเดียวกับ กฟผ. และ กฟภ. กระทรวงการคลังไม่ขัดข้องที่จะใช้หลักเกณฑ์การคำนวณโบนัสเช่นเดียวกันทั้ง 3 การไฟฟ้า
2.5 แนวทางในการกำหนดค่า Ft
2.5.1 สำนักบริหารหนี้สาธารณะ มีความเห็นว่า ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะขาด ดุลอย่างต่อเนื่อง เสถียรภาพของค่าเงินบาทยังไม่ดีพอ การให้อิสระในการบริหารหนี้และบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของรัฐ วิสาหกิจยังคงมีข้อจำกัดในการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้รัฐวิสาหกิจสามารถบริหารหนี้โดยการปรับโครงสร้างภาระหนี้ต่าง ประเทศ (Refinance) ในสกุลเดิมหรือสกุลเงินต่างประเทศอื่นๆ เพื่อลดต้นทุนของหนี้เงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงได้ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย มีความเห็นเบื้องต้นเช่นเดียวกับสำนักบริหารหนี้สาธารณะ และอยู่ระหว่างการพิจารณาประเด็นความเห็นอื่นนอกเหนือจากความเห็นเบื้องต้น ดังกล่าว
2.5.2 สพช. ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนสูตร Ft ให้ง่ายขึ้นโดยใช้สมการถดถอยเชิงเส้น (Regression) เพื่อหาความสัมพันธ์ของค่า Ft กับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่า Ft พบว่า ค่า Ft ไม่สามารถพยากรณ์ได้ด้วยสมการถดถอยอย่างง่าย สรุปการคำนวณค่า Ft ตามสูตรการปรับในปัจจุบันมีความเหมาะสมและชัดเจนกว่าซึ่งสามารถสะท้อนถึงการ เปลี่ยนแปลงของค่าเชื้อเพลิงและอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น จริงได้มากกว่า
2.5.3 การเพิ่มผู้แทนผู้บริโภครายย่อยในคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่า ไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ มีข้อเสนอแนวทางการคัดเลือก 2 ทางเลือก คือ (1) สุ่มจากรายชื่อผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยทั่วประเทศ (2) ประธานกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาเพื่อดำเนินการคัดเลือกผู้บริโภครายย่อย จากผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1 และ 1.2 ที่สมัครเข้ามาทั่วประเทศ โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในองค์ประกอบของสูตร Ft และโครงสร้างค่าไฟฟ้า และสามารถเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติได้
2.5.4 กฟผ. และ สพช. ได้จัดทำรายละเอียดวิธีการคำนวณค่า Ft รวมทั้งข้อมูลการกำหนดค่าไฟฟ้าฐาน และการปรับค่า Ft ในแต่ละครั้ง แสดงไว้ใน website ของทั้ง 2 หน่วยงาน และ สพช. และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้จัดทำแผนและดำเนินการประชาสัมพันธ์เรื่องอัตราค่าไฟฟ้าและค่า Ft โดยใช้สื่อที่แต่ละหน่วยงานมีอยู่ นอกจากนี้ กฟผ. ได้จัดทำสปอตโทรทัศน์ และสปอตวิทยุ เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับค่า Ft โดย สพช. จะเริ่มนำสปอตดังกล่าวออกอากาศได้ในวันที่ 24 กันยายน 2544
2.6 โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าฐาน
2.6.1 กฟผ. มีความเห็นว่า อัตราค่าไฟฟ้าที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ (Interruptible Rate) ในปัจจุบันมีความเหมาะสมกับสภาพกำลังการผลิตในปัจจุบัน ไม่ควรลดอัตราค่าพลังไฟฟ้าลงอีก หากมีการลดค่าพลังไฟฟ้าลงอีก ค่าไฟฟ้าที่ลดลงจะถูกส่งผ่านไปให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ รับภาระแทน
2.6.2 กฟน. ได้จัดเตรียมมิเตอร์ TOU ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยใน 2 ทางเลือก ได้แก่ การติดตั้งเครื่องวัดฯ TOU ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 17,000 บาท/เครื่อง และ การอ่านข้อมูลจากเครื่องวัดโดยอัตโนมัติ (AMR) ซึ่งเป็นการดัดแปลงเครื่องวัดฯ เดิมให้เป็น TOU ระบบนี้มีค่าใช้จ่ายแรกเข้า 800 บาท และค่าใช้จ่ายรายเดือนไม่เกิน 120 บาท/เดือน โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะสามารถเลือกใช้ได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2545 เป็นต้นไป
สำหรับ กฟภ. ได้จัดเตรียมมิเตอร์สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยแรงดันกลาง (22-33 เควี) ซึ่งพร้อมติดตั้งแล้วในขณะนี้ โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 18,000 บาท สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย แรงดันต่ำ (ต่ำกว่า 22 เควี) อยู่ระหว่างการจัดซื้อ มิเตอร์ TOU ชนิด 1 สาย โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 17,000 บาท คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จประมาณเดือนมกราคม 2545 เป็นต้นไป
3. คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานในการประชุมครั้งที่ 6/2544 (ครั้งที่ 35) เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2544 ได้พิจารณาเรื่องความคืบหน้าการดำเนินการตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการศึกษา โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าและอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) แล้ว มีมติ ดังนี้
3.1 เห็นควรให้ ปตท. เร่งรัดการเจรจาสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ให้ผู้ขายก๊าซร่วมรับภาระอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น และพิจารณาแนวทางให้ราคาก๊าซธรรมชาติมีเสถียรภาพมากขึ้น
3.2 เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าดำเนินการสูงสุดในการจัดหาก๊าซฯ (โดยคำนวณบนราคาเนื้อก๊าซ 123 บาท/ล้านบีทียู) สำหรับ กฟผ. และ IPP เท่ากับ 2.1525 บาท/ล้านบีทียู และ SPP เท่ากับ 11.4759 บาท/ล้านบีทียู
3.3 เห็นชอบการกำหนดอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROE) กิจการท่อก๊าซสำหรับโครงการใหม่เท่ากับร้อยละ 16 (ภายใต้สมมติฐานต้นทุนทางการเงินของ ปตท. เท่ากับ 10.5%)
3.4 เห็นชอบให้ กฟผ. รับไปดำเนินการเจรจากับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP และ SPP) เพื่อลดการส่งผ่านผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนต่อไป
3.5 เห็นชอบการกำหนดมาตรฐานอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) และการกำหนดมาตรฐานค่าความสูญเสีย (Loss Rate) รายละเอียดตามข้อ 2.3.1 และ 2.3.2
3.6 เห็นชอบให้ปรับลดค่าไฟฟ้าจากการปรับลดแผนการลงทุนจำนวน 7 สตางค์/หน่วย ตั้งแต่การปรับค่า Ft ในรอบต่อไป โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ รับไปดำเนินการ
3.7 เห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินนำส่งรัฐ เงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้า และโบนัสของการไฟฟ้าตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3.8 เห็นชอบให้มีการคำนวณค่า Ft ตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ดังเช่นในปัจจุบัน
3.9 เห็นชอบวิธีการสรรหาผู้แทนผู้บริโภครายย่อยในคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับ อัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ โดยให้ประธานกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา เพื่อกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติ รวมทั้งดำเนินการสรรหา
3.10 รับทราบการดำเนินการประชาสัมพันธ์และการเปิดเผยข้อมูลในการพิจารณาปรับค่า Ft รายละเอียดตามข้อ 2.5.4
3.11 เห็นชอบให้คงอัตราค่าไฟฟ้าที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้เช่นในปัจจุบัน และรับทราบการดำเนินการจัดหามิเตอร์ของ กฟน. และ กฟภ. รายละเอียดตามข้อ 2.6.2 ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาแนวทางในการจัดหามิเตอร์ใน ประเทศที่มีราคาถูกกว่าระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3.12 มอบหมายให้กระทรวงการคลังหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการพิจารณาให้ การไฟฟ้ามีอิสระในการบริหารหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในกรณีที่เป็นการดำเนินการจากสภาพคล่องของการไฟฟ้า
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 ความคืบหน้าในการจัดหาและการใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการผลิตแอลกอฮอล์จากพืชเป็นเชื้อเพลิง ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้กระทรวงอุตสาหกรรรมรับไปแต่งตั้งคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ต่อมาคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 2/2544 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2544 และครั้งที่ 3/2544 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2544 ได้มีการพิจารณากำหนดระยะเวลาในการยกเว้นภาษีสรรพสามิตและกองทุนฯ นโยบายการจัดตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิง รวมทั้งแผนปฏิบัติการตามโครงการเอทานอลจากพืชเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้วได้ มีหนังสือถึง สพช. เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2544 โดย คณะกรรมการฯ ได้มีมติให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณา ดังนี้
1.1 เห็นควรให้มีการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตของเอทานอลหน้าโรงงาน (0.05 บาทต่อลิตร) และภาษีสรรพสามิตในส่วนของเอทานอลที่เติมในเนื้อน้ำมันตลอดไป
1.2 เห็นควรให้มีการลดหย่อนหรือยกเว้นอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เพื่อทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ต่ำกว่าราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ประมาณ 1 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลา 5 ปี หรือจนกว่าจะมีการยกเลิกการใช้สาร MTBE ในน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์
1.3 เห็นควรให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณากำหนดนโยบายที่ชัดเจน เกี่ยวกับการยกเลิกการใช้สาร MTBE ในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 รวมทั้งผลักดันให้มีการใช้เอทานอลผสมในน้ำมันเบนซิน 91 สัดส่วนร้อยละ 10 ในทันทีที่โรงงานผลิตเอทานอลสามารถผลิตเอทานอลเข้าสู่ตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง ได้อย่างเพียงพอ
2. คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติได้เสนอเรื่อง "นโยบายการตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิง" มาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 โดยมีรายละเอียดคือ 1) การขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิง จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ เอทานอลแห่งชาติก่อน ในทุกกรณี 2) ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตตั้งโรงงานผลิตและจำหน่าย เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับนโยบายตามข้อ 1) ต่อไป และเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติรับผิดชอบ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณากำหนดกรอบนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริม การจัดหา และการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้น้ำมันและแอลกอฮอล์จากพืชชนิดอื่นๆ ให้ชัดเจน เพื่อให้มีทิศทางเดียวกัน
3. ความคืบหน้าในการดำเนินการ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2544 สพช. ได้จัดประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะ รัฐมนตรี โดยที่ประชุมมีความเห็นร่วมกัน ดังนี้
3.1 การยกเลิกการใช้ MTBE ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ใช่เพราะผลกระทบต่อภาวะแวดล้อมในอากาศ แต่เป็นผลกระทบจากการปนเปื้อนต่อคุณภาพน้ำใต้ดินซึ่งโอกาสที่จะเกิดขึ้นมี น้อยมาก
3.2 ผู้แทนจากสมาคมยานยนต์แห่งประเทศไทยได้ชี้แจงว่า ทางกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมขอให้มีการผ่อนผันข้อกำหนด คุณภาพน้ำมันในเรื่องของอุณหภูมิการกลั่นที่ 50% (T50) และค่าความดันไอน้ำ สมาคมยานยนต์ไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากมีปัญหาต่อเครื่องยนต์โดยเฉพาะเครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์
3.3 ที่ประชุมได้มอบหมายให้กรมทะเบียนการค้า กรมควบคุมมลพิษ สมาคมยานยนต์แห่งประเทศไทย บริษัทบางจากฯ และ สพช. ร่วมกันดำเนินการทดสอบผลกระทบจากการใช้เอทานอลผสมในน้ำมันเบนซิน โดยให้ สพช. เป็นแกนกลางในการประสานงาน บริษัท บางจากฯ เป็นผู้เตรียมวัตถุดิบ และให้กรมทะเบียนการค้า กรมควบคุมมลพิษ และสมาคมยานยนต์ แห่งประเทศไทย ประสานงานเพื่อดำเนินการทดสอบผลกระทบต่อเครื่องยนต์และผลกระทบต่อสิ่งแวด ล้อม เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากกลุ่มยานยนต์ ก่อนที่จะนำไปใช้ได้ต่อไป
3.4 กลุ่มโรงกลั่นน้ำมันไม่เห็นด้วยกับกระทรวงอุตสาหกรรมที่ให้มีการนำเอทานอ ลผสมในน้ำมันเบนซินออกเทน 87 เพื่อให้เป็นเบนซินออกเทน 91 โดยเห็นว่าควรผสมเฉพาะน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ที่ประชุมจึงมอบหมายให้ไปจัดทำรายละเอียดต้นทุนจากการใช้เอทานอลผสมในน้ำมัน เบนซิน และผลกระทบต่อการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เพื่อนำมาเปรียบเทียบถึงผลดี ผลเสีย ของการใช้เอทานอลผสมในน้ำมันเบนซิน
3.5 กระทรวงอุตสาหกรรมยังไม่มีรายละเอียดในเรื่องการจัดตั้งกองทุนรักษาระดับ ราคาเอทานอล หรือกลไกราคาอื่นที่จะทำให้สามารถจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ในราคาต่ำกว่าน้ำมัน เบนซิน 1 บาทต่อลิตรได้ตลอดเวลา
3.6 ในด้านการปรับปรุงองค์กรส่งเสริมให้นำพืชชนิดต่างๆ มาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งในปัจจุบันและในอนาคตให้รวมเป็นองค์กรเดียว เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ ที่ประชุมเห็นว่าควรมีคณะกรรมการในระดับปฏิบัติเพียงคณะเดียว ซึ่งจะไม่ทำให้มีคณะกรรมการมีจำนวนกรรมการมากเกินไป โดยประธานคณะกรรมการใหม่ควรเป็นประธานร่วมระหว่างปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และฝ่ายเลขานุการคือกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงอุตสาหกรรม และ สพช. ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ สพช. ประสานกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าวต่อไป นอกเหนือจากนั้นที่ประชุมเห็นควรให้มีการทบทวนระเบียบสำนักนายกฯ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำขึ้นเพื่อรองรับการทำงานของคณะกรรมการเอทานอ ลแห่งชาติ โดยให้มีการปรับให้เข้ากับการมีคณะกรรมการระดับปฏิบัติคณะเดียวดังกล่าวข้าง ต้น
4. ในส่วนของการดำเนินการของคณะทำงานพิจารณากลั่นกรองการอนุญาตตั้งโรงงานผลิต เอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ที่ประชุมเห็นว่ากระทรวงอุตสาหกรรมยังไม่ควรมีการตกลงผูกพันกับผู้ลงทุน เนื่องจากผู้ ลงทุนอาจจะยังไม่ยอมลงทุนเพราะยังไม่มีความชัดเจนจากภาครัฐโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งกลุ่มยานยนต์และกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันยังไม่เห็นด้วยกับแนวทางของโครงการ อาจทำให้ไม่ร่วมมือในการผลิต จำหน่าย หรือประชาชนไม่กล้าใช้ และในทางกลับกันถ้าผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนแต่ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ของรัฐ อาจเกิดปัญหากับผู้ลงทุนซึ่งลงทุนไปแล้ว จึงเห็นควรชะลอการดำเนินการให้ทราบผลชัดเจนก่อน
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบและมีมติมอบให้ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะประธานคณะ กรรมการเอทานอลแห่งชาติประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการทดสอบการใช้ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และหาข้อยุติเกี่ยวกับนโยบายการส่งเสริมการใช้เอทานอลเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ ของทุกฝ่ายภายในระยะเวลา 1เดือน แล้วนำผลกลับมาเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง
เรื่องที่ 4 แผนการระดมทุนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2542 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ เรื่องแนวทางการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) เป็นแกนกลางในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดการจัดทำ ประเด็นนโยบายให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่กำหนดไว้ กล่าวคือ สามารถระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2544
2. คณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชน ในการแปรสภาพ ปตท. ได้ดำเนินการจัดทำแผนการระดมทุนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (บมจ.ปตท.) แล้วเสร็จ โดยได้กำหนดกลยุทธ์ที่จะนำเสนอ บมจ. ปตท. ต่อนักลงทุนในรูปแบบของ บริษัทที่มีธุรกิจก๊าซธรรมชาติครบวงจร มีการดำเนินการในธุรกิจน้ำมัน และการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องครบวงจร ทั้งนี้เนื่องจากเห็นว่าธุรกิจหลักที่สร้างผลกำไรให้กับ ปตท. อย่างแท้จริง คือธุรกิจก๊าซธรรมชาติ
3. จากประมาณการงบลงทุนคาดว่า บมจ. ปตท. จะมีการลงทุนในธุรกิจและโครงการต่างๆ รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 90,423 ล้านบาท ในช่วงปี 2544-2548 โดยประมาณร้อยละ 90 เป็นการลงทุนในโครงการของธุรกิจก๊าซธรรมชาติ อีกทั้งยังมีแผนการลงทุนในบริษัทในเครือ ทั้งในรูปของการลงทุนใหม่และการให้การสนับสนุนทางการเงินอีก 22,069 ล้านบาท ในช่วงปี 2544-2548 ดังนั้น บมจ.ปตท. มีความจำเป็นต้องระดมทุนจากการขายหุ้นเพิ่มทุนขั้นต่ำประมาณ 30,000 ล้านบาท
4. มูลค่าหุ้นเบื้องต้นของ บมจ.ปตท. ที่ได้จากการประเมินตามวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นแบบแยกประเมินเป็นรายธุรกิจ (Sum of the Parts Valuation) คาดว่าจะอยู่ในช่วงประมาณ 72,206 ถึง 135,591 ล้านบาท (ราคาหุ้น 37.5-65.0 บาท/หุ้น) และการประเมินราคาได้ถูกจัดทำขึ้นก่อนเวลาที่จะทำการเสนอ ขายจริงมาก อีกทั้งเป็นการวิเคราะห์จากประมาณการทางการเงินภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะ แตกต่างจากสถานการณ์ ณ เวลาที่ทำการเสนอขายหุ้น
ดังนั้น ช่วงราคาจะสามารถกำหนดให้แคบลงได้ก่อนเริ่มทำการตลาดเต็มรูปแบบ ในช่วงการนำเสนอข้อมูลแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ (Roadshow) ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2544 โดย บมจ.ปตท. จะสามารถกำหนดช่วงราคาสุดท้าย ด้วยวิธีการประกวดราคาสะสม (Book Building)
5. เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการเงินทุนของ บมจ. ปตท. ที่ต้องการเงินทุนจากการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวนประมาณ 30,000 ล้านบาท สำหรับการชำระหนี้และเพื่อการลงทุนขยายงานโดยเฉพาะธุรกิจก๊าซธรรมชาติ โดยคำนึงถึงโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม และนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอนาคต ปตท. จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขอจำนวนหุ้นเพิ่มทุนไว้ที่จำนวนประมาณ 500 - 850 ล้านหุ้น (ซึ่งจะทำให้จำนวนหุ้น ทั้งหมดภายหลังการเสนอขายมีจำนวนประมาณ 2,500-2,850 ล้านหุ้น) ณ ระดับราคาที่แตกต่างกัน ซึ่งจะ ส่งผลถึงจำนวนหุ้นเพิ่มทุนที่จะทำการเสนอขาย ตลอดจนสัดส่วนการถือครองหุ้นของภาครัฐภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน
6. กระทรวงการคลัง (กค.) อาจเสนอขายหุ้นที่ถืออยู่ใน บมจ.ปตท. จำนวนไม่เกิน 100 ล้านหุ้น และขายหุ้น เพิ่มเติมด้วยวิธีการจัดสรรหุ้นเกินจำนวนโดยใช้ช่วงราคาเบื้องต้นที่ 37.50 - 65.00 บาทต่อหุ้น และให้สิทธิผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ซื้อหุ้นในจำนวนที่จัดสรรเกินจำนวน (Greenshoe) อีกจำนวนไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนการเสนอขายหุ้นรวมก่อนการจัดสรรหุ้นเกินจำนวน ทั้งนี้เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นใน บมจ. ปตท. ไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 ซึ่งประมาณการมูลค่าการขายหุ้นรวมทั้งในส่วนของหุ้นเดิม และหุ้นเพิ่มทุนพบว่า ปตท. และ กค. จะมีรายได้รวมจากการขายหุ้นอยู่ในช่วงประมาณ 33,750-42,167 ล้านบาท โดยที่สัดส่วนการถือครองหุ้นของ กค. ภายหลังจากการขายหุ้นจะอยู่ระหว่างร้อยละ 62.10 - 76.57
7. สัดส่วนการเสนอขายหุ้นให้แก่นักลงทุนในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศ จะเป็นร้อยละ 60 และ 40 ตามลำดับ และหากความต้องการของนักลงทุนในประเทศมีจำนวนมาก ปตท. และ กค. สามารถเพิ่มจำนวนหุ้นที่จะเสนอขายให้แก่นักลงทุนในประเทศได้อีกไม่เกินร้อย ละ 15 ของจำนวนหุ้นที่จะเสนอขายทั้งหมด (Claw-back Portion) นอกจากนั้น เพื่อให้พนักงาน ปตท. มีส่วนร่วมในการแปลงสภาพและความเป็นเจ้าของ บมจ. ปตท. จึงได้มีการให้สิทธิแก่พนักงาน ปตท. ในการซื้อหุ้นในราคา par ด้วย
8. ในการกำหนดสัดส่วนการเสนอขายหุ้นให้กับนักลงทุนแต่ละประเภทในเบื้องต้น โดยแบ่งเป็น นักลงทุนบุคคลธรรมดาในประเทศ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ โดยการจำหน่ายหุ้นให้แก่นักลงทุนประเภทบุคคลธรรมดาในประเทศ จะทำการจัดจำหน่ายผ่านธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมเป็นตัวแทนการจัดจำหน่ายที่มี สาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ สำหรับการจัดจำหน่ายหุ้นให้กับนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ จะใช้วิธีการประกวดราคาแบบสะสม (Book Building) หลังจากการนำเสนอข้อมูลของผู้บริหาร (Management Roadshow) และจะทำการจำหน่ายผ่านเครือข่ายของกลุ่มที่ปรึกษาทางการเงิน ต่างประเทศตามกฎการเสนอขายหุ้นแบบ Private Placement
กำหนดการจำหน่ายหุ้น มีดังนี้
การทำการสำรวจตลาดเบื้องต้น 15 -26 ตุลาคม 2544
การกำหนดช่วงราคาหุ้นที่เสนอขาย 26 ตุลาคม 2544
การนำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ 29 ตุลาคม-16 พฤศจิกายน 2544
กำหนดการจองซื้อของนักลงทุนบุคคลธรรมดาในประเทศ 12-16 พฤศจิกายน 2544
การกำหนดราคาหุ้นที่เสนอขาย 16 พฤศจิกายน 2544
กำหนดชำระราคาของนักลงทุนประเภทสถาบัน 19 พฤศจิกายน 2544
หุ้น บมจ.ปตท. ทำการซื้อขายใน ตลท. 3 ธันวาคม 2544
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบในหลักการของแนวทางและแผนการระดมทุนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (บมจ. ปตท.) ตามข้อ 2. ของเอกสารประกอบวาระ 4.1
2.รับทราบผลการประเมินมูลค่าหุ้น บมจ.ปตท. ในเบื้องต้น ตามข้อ 2 ของเอกสารประกอบวาระ 4.1 ทั้งนี้ มูลค่าหุ้นดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงไปหากมีการปรับเปลี่ยนสมมติฐาน และเมื่อมีการสำรวจความต้องการของนักลงทุนก่อนการเสนอขายหุ้น ทั้งนี้การกำหนดช่วงราคาสุดท้ายให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ> ดำเนินการระดมทุนฯ จากภาคเอกชนในการแปรสภาพการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
3.อนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของ บมจ.ปตท. จำนวน 850 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นมูลค่าทุน จดทะเบียน 8,500 ล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อให้ บมจ.ปตท. สามารถระดมเงินทุนในจำนวนที่ต้องการได้ในกรณีที่ราคาหุ้นที่เสนอขายอยู่ใน ระดับต่ำ โดยคาดว่าการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจะอยู่ในช่วงระหว่าง 500-850 ล้านหุ้น อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจในการเสนอขายหุ้นขึ้นอยู่กับการอนุมัติขั้นสุดท้าย จากคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนฯ โดยหากราคาที่เสนอขายหุ้นมีราคาสูง จำนวนหุ้นเพิ่มทุนที่เสนอขายก็จะมีจำนวนน้อยกว่าจำนวน ที่ขออนุมัติไว้
4.ให้มีการขายหุ้นเดิมของ บมจ.ปตท. ที่ กระทรวงการคลัง (กค.) ถืออยู่ ควบคู่ไปกับการขายหุ้น เพิ่มทุนของ บมจ.ปตท. ในครั้งนี้ ในจำนวนไม่เกิน 100 ล้านหุ้น และให้เป็นสิทธิของ กค. ที่จะเสนอขายหุ้นโดยวิธีการจัดสรรหุ้นเกินจำนวนโดยวิธี Greenshoe เพิ่มเติม และหากตลาดฯ ไม่สามารถรองรับการเสนอขายหุ้นได้ทั้งจำนวน ให้พิจารณาให้ความสำคัญแก่การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของ บมจ.ปตท. ก่อนเป็นประการแรก ทั้งนี้ ให้ผู้จัดจำหน่ายและประกันการจำหน่ายที่ ปตท. แต่งตั้งในการจัดจำหน่ายและประกันการจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนของ บมจ. ปตท. เป็นผู้จัดจำหน่ายและประกันการจำหน่ายหุ้น บมจ. ปตท. ที่ กค. จะเสนอขายในคราวเดียวกันนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่ผู้จัดจำหน่ายและประกันการจำหน่ายและ ปตท. ได้ตกลงกันแล้ว และให้ กค. ร่วม รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการจัดจำหน่ายและประกันการจำหน่าย ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องตามสัดส่วนของจำนวนเงินที่ กค. และ บมจ. ปตท. ได้รับจากการขายหุ้น
5.เห็นชอบให้คณะกรรมการดำเนินการระดมทุนฯ สามารถพิจารณาแตกมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Par Split) ของ บมจ.ปตท. ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
6.อนุมัติแนวทางการจัดสรรหุ้นให้แก่พนักงานตามโครงการการให้พนักงานมีส่วน ร่วมในความเป็นเจ้าของ ตามข้อ 2.4.4 ของเอกสารประกอบวาระ 4.1 โดยให้ภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานที่เกิดจากการได้รับจัดสรรหุ้น คำนวณจากส่วนต่างระหว่างมูลค่าหุ้นทางบัญชี (Book Value) ตามงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบล่าสุด (ณ 31 ธันวาคม 2543) กับราคาหุ้นที่พนักงานได้รับ อีกทั้งกำหนดให้การคำนวณภาษีดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุด และไม่มีการคำนวณภาษีย้อนหลังเมื่อมีการกำหนดราคาเสนอขายหุ้นในภายหลัง
7.เห็นชอบให้ ปตท. และ กค. รวมแผนการทำ Greenshoe & Stabilization เข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของแผนการแปรรูปและระดมทุนของ บมจ.ปตท. ในครั้งนี้
8.ให้ขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้มอบหมายให้คณะกรรมการดำเนินการระดมทุนฯ เป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องราคาและจำนวนการเสนอขาย เพื่อให้การกำหนดราคาขั้นสุดท้ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินการระดมทุนฯ และคณะกรรมการ ปตท. (หรือผู้แทน) จะจัดให้มีการประชุมเพื่อการตัดสินใจร่วมกันทันทีที่การทำ Roadshow เสนอขายหุ้นแล้วเสร็จ
9.เห็นชอบให้ บมจ.ปตท. และ กค. ไม่ต้องนำสัญญา และ/หรือ ข้อตกลงต่างๆ ดังกล่าวเสนอต่อสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาก่อนการลงนามสัญญา และ/หรือ ข้อตกลง
10.เห็นควรให้คณะกรรมการดำเนินการระดมทุนฯ สามารถพิจารณาอนุมัติการปรับเปลี่ยนแนวทางและรายละเอียดแผนการระดมทุนของ บมจ.ปตท. ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดทุน ณ ช่วงเวลาการเสนอขาย
เรื่องที่ 5 การกำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2539 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เรื่องนโยบายราคาก๊าซธรรมชาติและการกำกับดูแล ที่กำหนดให้มีการกำกับดูแลโดย กพช.และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ดังนี้
1) การพิจารณาอนุมัติการจัดทำแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติระยะยาว และแผนการลงทุนระยะยาว ของระบบท่อก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณอัตราค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ ก่อนการประกาศใช้
2) การพิจารณาอนุมัติสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่าง ปตท. กับผู้ผลิต
3) การเปลี่ยนแปลงหลักการของนโยบายการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ หลักการในการกำหนดอัตราค่าผ่านท่อ และค่าการตลาด (ค่าจัดหา/จำหน่าย)
4) การกำกับดูแลการปรับอัตราค่าผ่านท่อ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นไป
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2544 ในการประชุมคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ครั้งที่ 6/2544 ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการศึกษา โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าและอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ ในประเด็นราคาก๊าซธรรมชาติ ที่ประชุมได้เสนอให้มีการทบทวนอัตรา ผลตอบแทนการลงทุนในกิจการค่าผ่านท่อ ซึ่งมีข้อสรุปว่าอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROE) ของการลงทุน ใหม่ในระบบท่อควรอยู่ในระดับร้อยละ 16 ภายใต้สมมติฐานทางการเงินร้อยละ 10.5 ส่วนอัตราค่าผ่านท่อ ในปัจจุบันคำนวณจากการลงทุนในระบบท่อปัจจุบันให้อยู่ในระดับเดิม
2. ราคาก๊าซธรรมชาติ และอัตราค่าบริการส่งก๊าซฯ ในปัจจุบัน
2.1 ราคาซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่าง ปตท. กับผู้ใช้ก๊าซฯ ได้กำหนดไว้ ดังนี้ 1) ราคาก๊าซ ธรรมชาติที่จำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPPs) ประกอบด้วย ราคาก๊าซมีค่าเท่ากับผลรวมของราคาเฉลี่ยของเนื้อก๊าซธรรมชาติกับค่าตอบแทนใน การจัดหาและจำหน่าย (1.75% ของราคาเฉลี่ยของเนื้อก๊าซ แต่ต้องไม่สูงกว่า 2.1525 บาท/ล้านบีทียู) กับค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติ 2) ราคาก๊าซธรรมชาติที่จำหน่ายให้แก่ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPPs) ประกอบด้วย ราคาก๊าซมีราคาเท่ากับ ผลรวมของราคาเฉลี่ยของเนื้อก๊าซธรรมชาติกับค่าตอบแทนในการจัดหาและจำหน่าย (9.33% ของราคาเฉลี่ยของเนื้อก๊าซ แต่ต้องไม่สูงกว่า 11.4759 บาท/ล้านบีทียู) กับค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติ 3) ราคาก๊าซธรรมชาติที่จำหน่ายให้แก่ภาคอุตสาหกรรม ให้ใช้หลักการของการกำหนดราคาตามราคาเชื้อเพลิงที่ก๊าซธรรมชาติเข้าไปทดแทน
2.2 อัตราค่าบริการแบ่งเป็น 3 พื้นที่ ดังนี้ คือ พื้นที่ 1 : ระบบท่อก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งที่ระยอง พื้นที่ 2 : ระบบท่อก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งที่ขนอม และพื้นที่ 3 : ระบบท่อก๊าซธรรมชาติบนฝั่ง
2.3 อัตราค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติคำนวณตามค่าความร้อน ประกอบด้วย ค่าบริการส่วนของต้นทุนคงที่ (Demand Charge) คำนวณจากค่าใช้จ่ายในการให้บริการคงที่ของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติคิดตาม ปริมาณก๊าซที่ตกลงในสัญญา มีหน่วยเป็นบาทต่อล้านบีทียู และค่าบริการส่วนของต้นทุนผันแปร (Commodity Charge) คำนวณจากค่าใช้จ่ายการให้บริการส่วนผันแปรของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ คิดตามปริมาณก๊าซที่มีการรับส่งจริง มีหน่วยเป็นบาทต่อล้านบีทียู
2.4 หลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าบริการส่วนที่เป็นค่าบริการส่วนของต้นทุนคงที่ ที่สำคัญๆ มีดังนี้ 1) ผลตอบแทนการลงทุน (Return on Equity : ROE) ร้อยละ 18 ณ อัตราแลกเปลี่ยนในระดับ 25 บาท/เหรียญสหรัฐฯ และ 2) ค่าใช้จ่ายดำเนินการที่คงที่และค่าบำรุงรักษาท่อก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 3 ของ เงินลงทุนโครงการ โดยกำหนดให้คงที่ไม่มี escalation ขณะเดียวกันได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินกู้โครงการ ให้สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity) เท่ากับ 75:25 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวเท่ากับ >ร้อยละ 10.5 ต่อปี รวมทั้ง ให้คิดค่าเสื่อมราคา แบบวิธีเส้นตรงตามจำนวนอายุระบบท่อและปริมาณสำรองก๊าซฯ
2.5 กำหนดให้ปรับเปลี่ยนอัตราค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติ เป็นระยะ (Periodic Adjustment) ให้มีการทบทวนการคำนวณค่าผ่านท่อทุกระยะเวลา 5 ปี และ/หรือ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการลงทุน ในระบบ Main System และการปรับเปลี่ยนตามดัชนี (Index Adjustment) โดยการปรับอัตราค่าบริการผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ ดังกล่าว ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแล/ดำเนินการของ สพช.
3. หลังจากที่ได้กำหนดให้มีการกำกับดูแลระบบการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติและอัตรา ค่าผ่านท่อโดย กพช./สพช. เริ่มตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ได้มีการพิจารณาเพื่อปรับอัตราค่าผ่านท่อมาเป็นระยะๆ ดังนี้
3.1 การปรับอัตราค่าผ่านท่อในส่วนของต้นทุนคงที่ในปี 2542 ได้มีการปรับปรุงข้อมูลมูลค่า การลงทุนการปรับปริมาณรับส่งก๊าซฯ ปี 2539-2541 ตามจริง เพื่อให้รายได้ค่าผ่านท่อของปีที่ผ่านมาในแบบจำลอง (Model) เป็นตัวเลขตามจริงด้วย และมีการปรับเพิ่มเงินลงทุนโครงการท่อเบญจมาศ (Roll-in)
3.2 การปรับอัตราค่าผ่านท่อในปี 2544 เห็นสมควรให้มีการกำหนดอัตราค่าผ่านท่อรวมในพื้นที่ 3 (Zone 3) ใหม่ โดยรวมเงินลงทุนโครงการท่อส่งก๊าซฯ บ้านอิต่อง-ราชบุรี และราชบุรี-วังน้อย เข้าไปด้วย
3.3 อัตราค่าผ่านท่อส่วนที่เป็นต้นทุนผันแปร (Commodity Charge) ในปีสัญญา 2539 มีอัตราเท่ากับ 0.2261 บาทต่อล้านบีทียู และได้มีการปรับเพิ่มในปี 2541 เป็น 0.2698 บาทต่อล้านบีทียู
4. สพช. ได้จัดทำร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ และอัตราค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติ ในการกำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะต่อไปเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวให้คงหลักเกณฑ์เดิมในการกำหนดราคาก๊าซและอัตราค่า บริการส่งก๊าซ และเพิ่มเติมข้อกำหนดในการคำนวณอัตราค่าบริการส่งก๊าซ สำหรับการบริการส่งก๊าซตามแผนแม่บทท่อส่งก๊าซธรรมชาติฉบับที่ 3 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
4.1 ข้อกำหนดของระบบท่อตามแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฉบับที่ 3 ใช้การคำนวณเช่นเดียวกับระบบท่อส่งก๊าซในปัจจุบัน ยกเว้น 1) กำหนดผลตอบแทนการลงทุน (ROE) ร้อยละ 16 ณ อัตราแลกเปลี่ยนในระดับ 45 บาท/เหรียญสหรัฐ โดยความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นความรับผิดชอบของผู้ให้บริการระบบ ท่อส่งก๊าซ 2) ให้ท่อมีอายุการใช้งาน 40 ปี และ 3) ข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินกู้ของโครงการให้ สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของเท่ากับ 75 : 25 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวเท่ากับร้อยละ 10.5 ต่อปี และการชำระคืนเงินกู้ให้เป็นไปตามที่จะตกลงกับ สพช.
4.2 สพช. มีอำนาจกำหนดเส้นทางของราคาค่าบริการ (Price Path) ในการปรับค่าใช้จ่ายจากการลงทุนเพิ่มเติมหรือการปรับแผนการลงทุนใหม่
4.3 เนื่องจากได้มีการทบทวนอัตราค่าบริการส่งก๊าซครั้งล่าสุด เมื่อต้นปี 2544 ดังนั้นหากไม่มีการปรับเปลี่ยนการลงทุน อัตราค่าบริการส่งก๊าซในปัจจุบันจะมีผลบังคับในช่วงปี พ.ศ. 2544-2548
4.4 กำหนดให้ผู้ให้บริการระบบส่งก๊าซ คำนวณอัตราค่าบริการส่งก๊าซ ตามหลักเกณฑ์ของประกาศฉบับนี้ แล้วนำเสนอ สพช. พร้อมรายละเอียดการคำนวณเพื่อขอความเห็นชอบและเมื่อได้รับความ เห็นชอบแล้วให้ประกาศใช้ได้ โดยให้ผู้ให้บริการระบบส่งก๊าซประกาศค่าบริการส่งก๊าซ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบโดยทั่วกัน
4.5 ในกรณีที่ สพช. หรือผู้ให้บริการระบบท่อส่งก๊าซ เห็นว่าอัตราค่าบริการที่ให้ความเห็นชอบ ไปแล้วไม่เหมาะสมจากการเปลี่ยนแปลงตามข้อกำหนด สพช. หรือผู้ใช้บริการท่อส่งก๊าซมีสิทธิในการให้/ขอ ทบทวนอัตราค่าบริการส่งก๊าซ นอกจากนี้ในส่วนของค่าตอบแทนในการจัดหาและจำหน่ายก๊าซให้มีสิทธิ์ทบทวนได้ เช่นกัน
4.6 ให้ผู้จัดหาก๊าซและผู้ให้บริการระบบส่งก๊าซ จัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการคำนวณอัตราค่าบริการส่งก๊าซ ให้แก่ สพช. ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามที่ สพช. กำหนดและให้ผู้จัดหาก๊าซและผู้ให้บริการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับราคาก๊าซและ ค่าบริการส่งก๊าซตามหลักเกณฑ์ที่ สพช. กำหนด
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบแนวทางในการดำเนินการกำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะต่อไป ตามข้อ 4
2.ให้ความเห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2544 เรื่องหลักเกณฑ์การกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติและอัตราค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติ ดังรายละเอียดตามเอกสารแนบ 4.2.1 โดยมอบหมายให้ สพช. และ ปตท. รับไปปรับปรุงถ้อยคำให้มีความชัดเจนแล้วนำเสนอประธานคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ ลงนามต่อไป
- กพช. ครั้งที่ 86 - วันพุธที่ 26 กันยายน 2544 (1132 Downloads)