มติคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ครั้งที่ 1/2553 (ครั้งที่ 18)
วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 09.30 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด-นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1. รายงานฐานะการเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552
2. รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2551 และ 2550 ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองแล้ว
3. ประมาณการกระแสเงินสดของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในปี 2553-2556
4. รายงานผลการดำเนินงานด้านอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปี 2552
5. รายงานสรุปผลการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
6. งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2553 กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
7. แผนจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ปีที่ 3
8. โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมันและพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจรในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ ปีที่ 4 และพิจารณาแผนงานโครงการฯ ปีที่ 5
9. การขอปรับรายละเอียดโครงการที่คณะกรรมการกองทุนฯ อนุมัติไว้แล้ว
10. เรื่องอื่นๆ
นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานอนุกรรมการ
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน อนุกรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 รายงานฐานะการเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552
เลขานุการฯ ได้รายงานฐานะเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ต่อคณะอนุกรรมการฯ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท | |
ยอดยกมา ณ 1 ตุลาคม 2552 | 15,526.93 |
บวก รายรับ | 1,612.51 |
รวม | 17,139.44 |
หัก รายจ่าย | 1,520.69 |
คงเหลือ ณ 31 ธันวาคม 2552 | 15,618.75 |
มติที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบฐานะการเงินกองทุนฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนฯ จัดทำงบการเงินส่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือบุคคลภายนอกซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของ สตง. เป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนฯ และให้ทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของกองทุนภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี
ให้ สตง. หรือผู้สอบบัญชี จัดทำรายงานผลการสอบและรับรองบัญชีและการเงินของกองทุนฯ เสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯ ภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
รายงานผลการสอบบัญชีและการเงิน ให้รัฐมนตรีเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอต่อรัฐสภาเพื่อทราบและจัดให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. สตง. ได้ตรวจสอบรับรองบัญชีและงบการเงินกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2551 และ 2550 เรียบร้อยแล้ว ฝ่ายเลขานุการ จึงขอรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2551 และ 2550 ดังนี้
2.1 งบแสดงฐานะการเงินของกองทุนฯ
หน่วย: ล้านบาท
เงินสด | 7,229.38 |
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น | 5,332.19 |
รายได้ค้างรับ | 78.14 |
หนี้สิน | (98.50) |
รวมสินทรัพย์สุทธิ | 12,541.21 |
สินทรัพย์สุทธิปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 สูงกว่า ปีงบประมาณ พ.ศ.2550 จำนวนเงิน 4,758.08 ล้านบาท เนื่องจากได้มีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนตามโครงการพัฒนาระบบการขนส่งตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2551
2.2 งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
หน่วย : ล้านบาท
รายได้จากการดำเนินงาน | |
รายได้จากผู้ผลิตและผู้นำเข้า | 7,810.49 |
ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร | 93.57 |
รายได้อื่น (เงินเหลือจ่าย) | 258.93 |
รวม | 8,162.99 |
ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน | |
ค่าใช้จ่ายตามแผนงานและโครงการของ สนพ. และ พพ. | 3,404.12 |
ค่าใช้จ่ายอื่น | 0.79 |
รวม | 3,404.91 |
รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย | 4,758.08 |
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย จำนวนเงิน 4,758.08 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จำนวนเงิน 4,616.67 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนตามโครงการพัฒนาระบบการขนส่ง
2.3 งบกระแสเงินสด
หน่วย : ล้านบาท
รายได้จากการดำเนินงาน | |
รายได้จากผู้ผลิตและผู้นำเข้า | 7,810.49 |
ดอกเบี้ย | 100.94 |
รายได้อื่น (เงินเหลือจ่าย) | 345.21 |
รวม | 8,256.64 |
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน | |
ค่าใช้จ่ายตามแผนงานและโครงการของ สนพ. และ พพ. | 3,435.49 |
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น | 2,095.79 |
หนี้สินหมุนเวียนอื่นและเงินฝากลดลง | 0.36 |
รวม | 5,531.64 |
กระแสเงินสดได้มาจากการดำเนินงาน | 2,725.00 |
เงินสด ณ 1 ตุลาคม 2550 | 754.78 |
เงินลงทุนระยะสั้น (เงินฝากประจำ 3 เดือน) | 3,749.60 |
เงินรายได้มาจากการดำเนินงาน | 2,725.00 |
เงินสด ณ 30 กันยายน 2551 | 7,229.38 |
กระแสเงินสดได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวนเงิน 2,725.00 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากกองทุนฯ มีรายรับสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการจ่ายเงินเพื่อการอนุรักษ์พลังงานตามโครงการต่างๆ สูงขึ้นด้วย ส่วนปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 กระแสเงินสดรับต่ำกว่ากระแสเงินสดจ่ายจำนวนเงิน 575.37 ล้านบาท
มติที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2551 และ 2550 ที่ สตง. ตรวจสอบรับรองแล้ว ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ
เรื่องที่ 3 ประมาณการกระแสเงินสดของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในปี 2553-2556
1. คณะกรรมการกองทุนฯ ในการเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 และ กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 ให้ความเห็นชอบ "โครงการลงทุนพัฒนาระบบการขนส่ง" ภายใต้แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน แผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 (ปี 2551-2554) โดยได้ประกาศอัตราการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ สำหรับ "โครงการลงทุนพัฒนาระบบการขนส่ง" ตามประกาศ กพช. ฉบับ พ.ศ. 2552 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2551
2. กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2552 ได้มีมติให้ยกเลิกการจัดเก็บเงินส่งเข้ากองทุนฯ ในส่วนที่เก็บเพื่อส่งเสริมโครงการลงทุนพัฒนาระบบการขนส่งของน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล ที่จัดเก็บในอัตรา 0.50 บาท/ลิตร และให้โอนเงินที่ได้จัดเก็บไว้แล้ว มาสบทบกับเงินสำหรับส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และลดอัตราจัดเก็บเงินกองทุนฯ ของน้ำมันดีเซลสำหรับส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน จากอัตรา 0.25 บาท/ลิตร เหลือ 0.05 บาท/ลิตร เป็นระยะเวลา 1 ปี จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2553 หลังจากนั้นให้กลับมาจัดเก็บในอัตราเดิม คือ 0.25 บาท/ลิตร
3. สรุปรายได้ที่จัดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ สำหรับ "โครงการลงทุนพัฒนาระบบการขนส่ง" ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2551 - 1 ตุลาคม 2552 รวมทั้งสิ้น 8,151.37 ล้านบาท และปัจจุบันได้โอนเงินดังกล่าวเข้าสมทบกับเงินกองทุนฯ ซึ่งฐานะเงินกองทุนฯ ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 มีจำนวนทั้งสิ้น 15,526.93 ล้านบาท
4. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทำประมาณการกระแสเงินสดของกองทุนฯ ณ วันที่ 1 ต.ค. 2552 สรุปได้ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
หากนำรายได้/รายจ่ายสุทธิรวมในช่วงปี 2553-2556 (4 ปี) มาใช้เป็นฐานในการจัดสรรงบประมาณ จะพบว่ากองทุนฯ มีรายได้สุทธิช่วงปี 2553-2556 รวม 18,880 ล้านบาท หรือจะสามารถจัดสรรได้ในวงเงินประมาณ 4,700 ล้านบาท/ปี
มติที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบประมาณการกระแสเงินสดของกองทุนฯ ในปี 2553-2556 ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ
1. กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 ได้เห็นชอบแผนอนุรักษ์พลังงานและเป้าหมาย ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2554 โดยมีเป้าหมายและการดำเนินการจะลดปริมาณการใช้พลังงานลง 7,820 ktoe หรือคิดเป็นร้อยละ 10.8 ของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศในปี 2554 และกำหนดเป้าหมายการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้แทนพลังงานเชิงพาณิชย์ 8,858 ktoe หรือคิดเป็นร้อยละ 12.2 ของความต้องการใช้พลังงาน ในปี 2554 และการประชุมเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2552 ได้เห็นชอบแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี โดยกำหนดเป้าหมายการนำพลังงานทดแทนรวม 10,961 ktoe หรือคิดเป็นร้อยละ 15.6 ของความต้องการใช้พลังงานในปี 2554
2. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รวบรวมข้อมูลและทำการสรุปผลการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 ได้ดังนี้
(1) เป้าหมายและผลส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
แผนและเป้าหมาย | ผลดำเนินการสะสมปี 2551 (ktoe) | ผลดำเนินการสะสมปี 2552 (ktoe) | เป้าหมายปี 2554 (ktoe) | ร้อยละการดำเนิน การปี 2552 เทียบกับเป้าหมาย |
1. การใช้พลังงาน ภาคอุตสาหกรรม | 1,579 | 2,399 | 3,190 | 75 |
(1) การดำเนินการตาม พรบ. | 452.7 | 452.7 | 212 | 214 |
(2) การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี | 32.9 | 142.5 | 570 | 25 |
(3) การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ | 432.7 | 1,017.7 | 600 | 170 |
(4) ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ ESCO | 197.4 | 222.5 | 300 | 74 |
(5) การอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม | 114.0 | 131.7 | 551 | 24 |
(6) การสาธิตเทคโนโลยีระดับสูง | - | 1.7 | 200 | 1 |
(7) DSM Bidding | 24.0 | 92.8 | 149 | 62 |
(8) นโยบาย Co Gen | 325.1 | 337.2 | 608 | 55 |
2. การใช้พลังงาน ด้านการจัดการ | 143.4 | 255.8 | 1,217 | 21 |
(1) มาตรฐานเครื่องจักรอุปกรณ์ไฟฟ้า | ||||
กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ (MEPs) | - | - | 179 | 0 |
กำหนดมาตรฐานขั้นสูง (Labeling) | 41.9 | 72.6 | 158 | 46 |
(2) มาตรฐานเครื่องจักรอุปกรณ์ความร้อน | ||||
กำหนดมาตรฐานขั้นสูง เตา LPG | 1.5 | 3.0 | 14 | 21 |
(3) มาตรฐานสำหรับยานยนต์ | - | - | 140 | 0 |
(4) มาตรฐานสำหรับอาคาร | - | 1.3 | 1 | 130 |
(5) ส่งเสริมการใช้งานอุปกรณ์ | ||||
ส่งเสริมการใช้เตาถ่านประสิทธิภาพสูง | - | 2.7 | 68 | 4 |
ส่งเสริม CFL | 24 | 83.8 | 46 | 182 |
ส่งเสริม T5 | - | 2.3 /td> | 407 | 0.6 |
(6) รณรงค์สร้างจิตสำนึก/ราชการ | 76 | 90 | 204 | 44 |
3. การใช้พลังงาน ภาคขนส่ง | 138.6 | 152.6 | 3,413 | 4.5 |
(1) ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน | 138 | 152 | 1,554 | 9.78 |
(2) ปรับปรุงระบบจัดการจราจร | - | - | 106 | 0 |
(3) ส่งเสริมธุรกิจ LOGISTIC DEPOT และ ICD | - | - | 1,450 | 0 |
(4) สร้างเครือข่ายระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ | 0.6 | 0.6 | 180 | 0.33 |
(5) นโยบาย ECO CAR | - | - | 123 | 0 |
เป้าหมายผลประหยัด ktoe (สะสม) | 1,861 | 2,807 | 7,820 | 36 |
(2) เป้าหมายและผลลดการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน
ประเภท | ผลดำเนินการสะสมปี 2551 | ผลดำเนินการสะสมปี 2552 | เป้าหมายปี 2554 | ร้อยละการดำเนินการปี 2552 เทียบกับเป้าหมาย | |
1. การผลิตไฟฟ้า | ktoe | 600 | 935 | 1,587 | 59 |
(1) พลังงานชีวมวล | MW | 1,655 | 1,672 | 2,800 | 60 |
(2) ขยะ | MW | 4.25 | 8.1 | 78 | 10 |
(3) ก๊าซชีวภาพ | MW | 68.8 | 79.6 | 60 | 133 |
(4) พลังงานแสงอาทิตย์ | MW | 34 | 40.8 | 55 | 74 |
(5) พลังงานลม | MW | 3.1 | 5.1 | 115 | 4 |
(6) พลังงานน้ำ | MW | 66 | 66 | 165 | 40 |
2. การใช้ความร้อน | ktoe | 2,550 | 3,162 | 4,150 | 76 |
(1) พลังงานชีวมวล | ktoe/ปี | 2,406 | 2,955 | 3,660 | 81 |
(2) ก๊าซชีวภาพ | ktoe/ปี | 144 | 201 | 470 | 43 |
(3) พลังงานแสงอาทิตย์ | ktoe/ปี | 0.3 | 0.99 | 5 | 20 |
(4) พลังงานขยะ | ktoe/ปี | - | 10.6 | 15 | 71 |
3. การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ | ktoe | 627 | 872 | 1,755 | 50 |
(1) เอทานอล | ล้านลิตร/วัน | 0.8 | 1.2 | 3.0 | 40 |
(2) ไบโอดีเซล | ล้านลิตร/วัน | 1.3 | 1.7 | 3.0 | 57 |
4. การส่งเสริมการใช้ NGV | ktoe | 660 | 1,140 | 3,469 | 33 |
MMSCFD | 77.5 | 133.8 | 393 | 33 | |
เป้าหมายผลประหยัด ktoe (สะสม) | 4,437 | 6,109 | 10,961 | 56 |
มติที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานด้านอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ปี 2552 ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ
เรื่องที่ 5 รายงานสรุปผลการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
1. คณะกรรมการกองทุนฯ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะ อนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน เพี่อทำหน้าที่ประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ และเสนอข้อพิจารณาประกอบรายงานการประเมินผลของโครงการที่ได้รับการจัดสรรเงินจากกองทุนฯ เป็นรายโครงการ และนำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ ต่อไป
2. สนพ. ได้ว่าจ้างบริษัท เอเบิล คอนซัลแตนท์ จำกัด เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงานในเบื้องต้น ก่อนนำเสนอคณะอนุกรรมการประเมินผลฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบผลการประเมินดังกล่าว ทั้งนี้ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2551 ถึงวันที่ 24 กันยายน 2552
3. คณะอนุกรรมการประเมินผลฯ ได้มีการประชุมพิจารณาผลการประเมินโครงการไปแล้วทั้งสิ้น 19 ครั้ง โดยมีโครงการที่ได้รับการประเมินและคณะอนุกรรมการประเมินผลฯ ให้ความเห็นชอบผลการประเมินแล้ว รวม 192 โครงการ แยกตามแผนงานและกลุ่มงานได้ ดังนี้
กลุ่มงาน | แผนเพิ่มประสิทธิภาพฯ | แผนพลังงานทดแทน | แผนบริหารเชิงกลยุทธ์ | รวม |
ศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค | 8 | 7 | - | 15 |
ส่งเสริมและสาธิต | 28 | 37 | - | 65 |
พัฒนาบุคลากร | 42 | 12 | - | 54 |
ประชาสัมพันธ์ | 55 | 2 | - | 57 |
ศึกษานโยบายและวิชาการ | - | - | 1 | 1 |
รวม | 133 | 58 | 1 | 192 |
ทั้งนี้ การประเมินโครงการได้แบ่งตามสถานภาพการดำเนินโครงการ ออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย โครงการที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว และเจ้าของโครงการไม่ได้ว่าจ้างประเมิน 95 โครงการ และโครงการที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว และเจ้าของโครงการได้ว่าจ้างประเมินแล้ว 16 โครงการ ส่วนที่เหลืออีก 81 โครงการ เป็นโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ
4. การประเมินได้ใช้โมเดลการประเมิน 3 รูปแบบ ขึ้นอยู่กับสถานภาพโครงการ ดังนี้ กรณีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ใช้ CIPPA Model กรณีที่โครงการยังอยู่ระหว่างดำเนินการ ใช้ Logical Framework และกรณีที่โครงการได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยและมีผลประเมินแล้ว ใช้ Meta Evaluation ในการประเมินความถูกต้องและสัมฤทธิผลในแต่ละหัวข้อของแต่ละโครงการได้กำหนดเป็นระดับคะแนน ซึ่งเทียบได้กับระดับที่ต้องปรับปรุง พอใช้ ดีมาก และดีเยี่ยม โดยผลการประเมินตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว สามารถสรุปได้ดังนี้
สถานะโครงการ/ผลการประเมิน | ดีเยี่ยม | ดีมาก | ดี | พอใช้ | ต้องปรับปรุง | รวม |
แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน | ||||||
- โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ | 0 | 10 | 49 | 8 | 0 | 67 |
- โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จและมีผลการประเมินแล้ว | 0 | 1 | 2 | 13 | 0 | 16 |
- โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ | 2 | 4 | 30 | 14 | 0 | 50 |
จำนวนโครงการ | 2 | 15 | 81 | 35 | 0 | 133 |
คิดเป็นร้อยละ | 1.5 | 11.3 | 60.9 | 26.3 | 0 | 100.0 |
แผนพัฒนาพลังงานทดแทน | ||||||
- โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ | 0 | 2 | 6 | 17 | 2 | 27 |
- โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ | 0 | 0 | 12 | 6 | 13 | 31 |
จำนวนโครงการ | 0 | 0 | 18 | 23 | 15 | 58 |
คิดเป็นร้อยละ | 0 | 3.5 | 31.0 | 39.7 | 25.9 | 100.0 |
แผนบริหารเชิงกลยุทธ์ | ||||||
- โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ | 0 | 0 | 0 | 1 | 0 | 1 |
คิดเป็นร้อยละ | 0 | 0 | 0 | 100.0 | 0 | 100.0 |
จำนวนโครงการทั้งหมด | 2 | 17 | 99 | 59 | 15 | 192 |
คิดเป็นร้อยละ | 1.0 | 8.9 | 51.6 | 30.7 | 7.8 | 100.0 |
5. จากใช้เทคนิค Balanced Scorecard ในการประเมินผลการดำเนินงานของแผนอนุรักษ์พลังงาน ที่เน้นด้านประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับนโยบายวัตถุประสงค์ และผลกระทบ/ความยั่งยืน สามารถอนุมานได้ว่า ผลการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานอยู่ในระดับพอใช้ โดยจุดอ่อนที่สำคัญของโครงการส่วนใหญ่อยู่ที่การนำผลของโครงการไปใช้ (Application) ซึ่งมี 2 องค์ประกอบ คือ ผลกระทบและความยั่งยืน
6. ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
(1) การคัดเลือกและอนุมัติโครงการ ควรมีการพิจารณาคัดเลือกและอนุมัติโครงการอย่างเข้มงวด เพื่อให้ได้โครงการที่ดี สามารถบริหารจัดการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด มีผลกระทบต่อการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีนัยสำคัญ และคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายและเวลา
(2) การบริหารจัดการโครงการ เพื่อให้การบริหารควบคุม และจัดการโครงการมีประสิทธิภาพ เจ้าของโครงการจะต้องมีเวลาเพียงพอสำหรับการพิจารณาตรวจอ่านรายงาน ติดตามงาน และปรับปรุงแก้ไขโครงการในกรณีที่โครงการมีปัญหา ดังนั้นจึงเสนอให้ปรับลดจำนวนโครงการที่แต่ละ กรม/หน่วยงาน/คน รับผิดชอบ โดยให้สอดคล้องกับขีดความสามารถที่มีอยู่
(3) การดำเนินงานบางประเภทควรจะดำเนินการเอง ไม่ควรจ้างที่ปรึกษาดำเนินการ เช่น งานที่สมควรเป็นความลับ (งานเกี่ยวกับข้อมูลองค์กร ข้อมูลที่สำคัญๆ ของประเทศ) งานที่ทำเป็นประจำทุกปีที่สามารถใช้หรือจ้างเจ้าหน้าที่ประจำทำ (งานบริหารเครือข่ายข้อมูล และประชาสัมพันธ์ งานบริหารโครงการภายใต้แผนต่างๆ เป็นต้น) ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้เจ้าหน้าที่ก็จะมีความรู้ ประสบการณ์ และพัฒนาการในตัวเอง อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรในระยะยาว
(4) การทบทวนกลยุทธ์การดำเนินงาน งานบางประเภทแม้จะมีผลการประเมินออกมาดี เช่น งานฝึกอบรม งานอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม เป็นต้น สมควรมีการทบทวนกลยุทธ์ใหม่ เนื่องจากได้ดำเนินการมานานแล้ว เสียค่าใช้จ่ายสูง ควรเน้นการอนุรักษ์พลังงานโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นต้น
(5) การดำเนินโครงการด้านประชาสัมพันธ์ ควรลดความซ้ำซ้อนจากการที่ต่างคนต่างดำเนินการ ลดการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ตัวบุคคล และเน้นการประชาสัมพันธ์แบบเฉพาะเจาะจงไปยังกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น
มติที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบผลการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2551 ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ
เรื่องที่ 6 งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2553 กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ได้รับทราบแผนอนุรักษ์พลังงานและเป้าหมาย ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2554 ตามที่ กพช. เสนอ โดยมีเป้าหมายและการดำเนินการจะลดปริมาณการใช้พลังงานลง 7,820 ktoe หรือคิดเป็นร้อยละ10.8 ของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศในปี 2554 และกำหนดเป้าหมายการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้แทนพลังงานเชิงพาณิชย์ 8,858 ktoe หรือคิดเป็นร้อยละ 12.2 ของความต้องการใช้พลังงานในปี 2554 และ กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2552 ได้เห็นชอบแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี โดยกำหนดเป้าหมายการนำพลังงานทดแทนรวม 10,961 ktoe หรือคิดเป็นร้อยละ 15.6 ของความต้องการใช้พลังงานในปี 2554
2. คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 ได้อนุมัติจัดสรรเงินกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2552 ให้ พพ. และ สนพ. ในวงเงินรวม 2,396,252,804 บาท และ พพ. และ สนพ. ได้ดำเนินโครงการต่างๆ โดยได้มีการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ และผูกพันงบประมาณ ประจำปี 2552 เป็นเงิน 2,155,500,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 85.6
3. สนพ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการกองทุนฯ จะเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2553 ต่อคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ได้มีงบประมาณสำหรับใช้จ่ายเป็นเงินหมุนเวียน เงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนสำหรับการลงทุน และดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน มาตรา 25 แห่ง "พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน"
4. หน่วยงานที่ขอจัดสรรเงินจากกองทุนฯ ได้จัดทำแผนงานและงบประมาณรายจ่ายที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยมี "คณะทำงานพิจารณากลั่นกรองงบประมาณประจำปี 2553 ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" ที่ประธานคณะอนุกรรมการกองทุนฯ แต่งตั้ง ทำหน้าที่กลั่นกรองงบประมาณและแผนการปฏิบัติงานของหน่วยต่างๆ สรุปได้ดังนี้
4.1 คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการพิจารณากลั่นกรองงบประมาณของกองทุนฯ ตามแนวทาง/หลักเกณฑ์ ที่คณะอนุกรรมการกองทุนฯ ได้เห็นชอบไว้ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2552 โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้
(1) การจัดลำดับความสำคัญตามนโยบายและแผน โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องของโครงการกับภารกิจที่สำคัญ ได้แก่
- ภารกิจตามข้อกำหนดและกฎหมาย พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
- ภารกิจตามยุทธศาสตร์ระดับชาติ นโยบายรัฐบาล และกระทรวงพลังงาน
- ภารกิจตามเจตนารมณ์ของกองทุนฯ ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และตามแผนและเป้าหมายอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี 2551-2554
- ภารกิจตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (พ.ศ. 2551-2565)
(2) ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยพิจารณาถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการหรือไม่ และเน้นให้การสนับสนุนโครงการที่ก่อให้เกิดผลประหยัดหรือผลการใช้พลังงานทดแทนที่ชัดเจน และสอดคล้องกับเป้าหมายตามแผนอนุรักษ์พลังงาน
(3) ศักยภาพในการขยายผล โดยเน้นโครงการวิจัยและ/หรือดำเนินการแล้วสามารถที่นำไปปฏิบัติได้จริงหรือขยายผลได้จริง (Deployment Potential) โดยแบ่งตามศักยภาพการขยายผลเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีศักยภาพในการขยายผล "มาก" และกลุ่มที่มีศักยภาพในการขยายผล "น้อย"
4.2 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่เกี่ยวกับโครงการประชาสัมพันธ์ เสนอพิจารณาอนุมัติไว้เป็นกรอบวงเงิน จำนวน 500,000,000 บาท (ห้าร้อยล้านบาทถ้วน) เพื่อให้งานประชาสัมพันธ์มีความเป็นเอกภาพ มีทิศทางการปฏิบัติไปในแนวเดียวกัน โดยการบริหารจัดการเพื่อใช้เงินจากกองทุนฯ ให้ผ่านความเห็นชอบของ "คณะกรรมการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารของกระทรวงพลังงาน" ที่ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน โดยให้สามารถถัวจ่ายและเปลี่ยนแปลงรายการในแผนงาน/งานเดียวกันได้
4.3 งบประมาณรายโครงการที่คณะทำงานฯ เห็นสมควรให้การสนับสนุน แต่ให้เพิ่มเติมรายละเอียดของโครงการให้สมบูรณ์และชัดเจนนั้น ให้ พพ. และ สนพ. ดำเนินการปรับปรุงข้อเสนอโครงการก่อนที่จะพิจารณาอนุมัติงบประมาณ และให้จัดส่งรายละเอียดโครงการที่ปรับปรุงแล้วให้คณะอนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน เพื่อประกอบการประเมินผลโครงการต่อไป
4.4 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ของกองทุนฯ เป็นจำนวนไม่เกิน 3,203,565,752 บาท รวม 73 โครงการ โดยแบ่งรายจ่ายออกเป็น 2 หน่วยงานผู้เบิกเงินกองทุนฯ ดังนี้
(1) พพ. จำนวน 1,823,952,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 56.93 รวม 40 โครงการ
(2) สนพ. จำนวน 1,379,613,752 บาท คิดเป็นร้อยละ 43.07 รวม 33 โครงการ
สรุปงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2553 (จำแนกตามแผนอนุรักษ์พลังงาน)
จำแนกตามแผนอนุรักษ์พลังงาน | รวม | ร้อยละ | จำแนกตามหน่วยผู้เบิก (บาท) | |
พพ. | สนพ. | |||
1. แผนพลังงานทดแทน | 1,039,305,450 | 32.44 | 292,712,000 | 746,593,450 |
1.1 งานศึกษาวิจัยพัฒนา | 233,548,000 | 7.29 | 33,548,000 | 200,000,000 |
1.2 งานส่งเสริมและสาธิต | 364,965,050 | 11.39 | 237,151,000 | 127,814,050 |
1.3 งานพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์ | 421,867,400 | 13.17 | 3,088,000 | 418,779,400 |
1.4 งานบริหารแผนงาน | 18,925,000 | 0.59 | 18,925,000 | 0 |
2. แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน | 2,034,859,090 | 63.52 | 1,531,240,000 | 503,619,090 |
2.1 งานศึกษาวิจัยพัฒนา | 175,000,000 | 5.46 | 95,000,000 | 80,000,000 |
2.2 งานส่งเสริมและสาธิต | 1,412,245,750 | 44.08 | 1,378,500,000 | 33,745,750 |
2.3 งานพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์ | 425,113,340 | 13.27 | 35,240,000 | 389,873,340 |
2.4 งานบริหารแผนงาน | 22,500,000 | 0.70 | 22,500,000 | 0 |
3. แผนบริหารเชิงกลยุทธ์ | 129,401,212 | 4.04 | 0 | 129,401,212 |
3.1 งานศึกษาวิจัยเชิงนโยบาย | 38,722,200 | 1.21 | 0 | 38,722,200 |
3.2 งานบริหารแผนงาน | 90,679,012 | 2.83 | 0 | 90,679,012 |
รวมงบประมาณ กทอ. ปี 2553 | 3,203,565,752 | 100 | 1,823,952,000 | 1,379,613,752 |
5. เนื่องจาก พพ. และ สนพ. มีงานบริหารเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานที่ต้องดำเนินงานต่อเนื่อง จึงมีรายจ่ายประจำที่จำเป็นเพื่อการบริหารงานที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น ค่าจ้างพนักงานราชการ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปให้ความรู้ความเข้าใจ การร่วมประชุมให้ความเห็น ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเห็นควรเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาเห็นชอบให้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ของกองทุนฯ งานบริหารของทั้ง 3 แผนงาน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552
มติที่ประชุม
1. เห็นชอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2553 ของกองทุนฯ เป็นจำนวน 3,203,565,752 บาท (สามพันสองร้อยสามล้านห้าแสนหกหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยห้าสิบสองบาทถ้วน) ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอมา
2. เห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาให้ค่าใช้จ่ายในงานบริหารของทั้ง 3 แผนงาน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยให้แต่ละหน่วยงานสามารถถัวจ่ายและเปลี่ยนแปลงรายการในหมวดต่างๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
เรื่องที่ 7 แผนจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ปีที่ 3
1. กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 ได้รับทราบประมาณการรายจ่ายสำหรับกิจกรรมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งคาดว่าจะใช้จ่ายเงินประมาณ 450 ล้านบาท/ปี หรือจำนวนรวม 1,350 ล้านบาท ประกอบด้วย 7 แผนงานดังนี้
แผนงาน | งบประมาณ (ล้านบาท) | ||
ปี 2551 | ปี 2552 | ปี 2553 | |
1. แผนงานด้านกฎหมาย ระบบกำกับ และข้อผูกพันระหว่างประเทศ | 30.0 | 30.0 | 30.0 |
2. แผนงานด้านโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมและพาณิชย์ | 10.0 | 10.0 | 10.0 |
3. แผนงานด้านการถ่ายทอด พัฒนาเทคโนโลยี และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ | 65.0 | 65.0 | 65.0 |
4. แผนงานด้านความปลอดภัย และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม | 30.0 | 30.0 | 30.0 |
5. แผนงานด้านการสื่อสารสาธารณะ และการยอมรับของประชาชน | 205.0 | 205.0 | 205.0 |
6. แผนงานด้านการการวางแผนการดำเนินการโครงการไฟฟ้านิวเคลียร์ | 85.0 | 85.0 | 85.0 |
7. การจัดตั้งสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (NPPDO) | 25.0 | 25.0 | 25.0 |
รวมค่าใช้จ่ายรายปี | 450.0 | 450.0 | 450.0 |
รวมค่าใช้จ่ายรวม 3 ปี | 1,350.00 |
2. คณะกรรมการกองทุนฯ และ กพช. ได้เห็นชอบให้ สนพ. เพิ่มเติมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ในกรอบแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 (ในช่วงปี 2551-2554) ที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติไว้แล้ว และคณะกรรมการกองทุนในการประชุมเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 ได้มีมติอนุมัติเพิ่มประมาณการรายจ่ายของกองทุนฯ แผนพลังงานทดแทน งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค ให้ สนพ. ในวงเงินประมาณ 750 ล้านบาท ไว้ใช้สำหรับช่วยเหลืออุดหนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับกิจกรรมตามแผนงานที่ 1-7 ที่มีความเร่งด่วนต้องเริ่มดำเนินการและมีกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้วตามมติคณะรัฐมนตรี
3. กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2550 ได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้ง "คณะกรรมการประสานงานเพื่อเตรียมการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์" ขึ้น เพื่อกำหนดทิศทางและให้ความเห็นชอบโครงการตามแผนจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์รวมถึงกำกับดูแล ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
4. การดำเนินงานของโครงการฯ ในปีงบประมาณ 2551 สพน. ได้รับอนุมัติงบประมาณจากกองทุนฯ วงเงิน 30 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการจัดตั้งสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จำนวน 25 ล้านบาท และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อพลังงานนิเคลียร์ ปีที่ 1 จำนวน 5 ล้านบาท และการดำเนินงานของโครงการฯ ในปีที่ 2 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ในวงเงิน 122 ล้านบาท มีผลการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้
(1) แผนงานด้านกฎหมาย ระบบกำกับ และข้อผูกพันระหว่างประเทศ สพน.ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2552 ในวงเงิน 10 ล้านบาท การดำเนินได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำการศึกษาและปรับปรุงกฎหมายด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ระดับสากล พันธกรณีทางนิวเคลียร์ต่างๆ เปรียบเทียบกับกฎหมายไทยในปัจจุบัน
(2) แผนงานด้านโครงสร้างอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ สพน. ได้ว่าจ้างศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาและจัดทำแผนงานด้านโครงสร้างอุตสาหกรรมและการพาณิชย์
(3) แผนทางด้านการถ่ายทอดพัฒนา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สพน. ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มสื่อสาร และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจะจัดอบรมด้านการสื่อสารเชิงรุก และการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายการสื่อสารด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ประสบการณ์และบทเรียนด้านการสื่อสารเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
(4) แผนงานด้านความปลอดภัย และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ได้รับงบประมาณในปี 2552 สพน. จำนวน 15 ล้านบาท เพื่อดำเนิน 2 โครงการ คือ
- โครงการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ และเชิงพื้นที่ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับเป็นที่ปรึกษา
- โครงการศึกษาแผนการป้องกัน และบรรเทาสาธารณะภัยเพื่อรองรับการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ โดยมีสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) รับดำเนินโครงการ
(5) การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารสาธารณะ และการยอมรับของประชาชน ปีงบประมาณ 2552 ได้มีการดำเนินงานโครงการต่างๆ เช่น การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการให้ความรู้ด้านพลังงานนิวเคลียร์
ทั้งนี้ปีงบประมาณ 2552 สพน. ได้ยกเลิกการดำเนินการศึกษา 2 โครงการ คือ (1) โครงการศึกษา และปรับปรุงกฎหมายด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ระดับสากล พันธกรณีทางนิวเคลียร์ต่างๆ เปรียบเทียบกับกฎหมายไทยในปัจจุบัน ในวงเงิน 10 ล้านบาท และ (2) โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มกฎหมายและการกำกับดูแล ในวงเงิน 10 ล้านบาท เนื่องจากขอบเขตการดำเนินงานของโครงการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายที่ได้เสนอในปีงบประมาณ 2553 มีเนื้อหาครอบคลุมงานของทั้ง 2 โครงการดังกล่าวแล้ว ทำให้วงเงินงบประมาณที่ สพน. ใช้ดำเนินการในปีงบประมาณ 2552 ลดลงจาก 122 ล้านบาท เหลือเป็น 102 ล้านบาท
4. สพน. ได้ยื่นข้อเสนอขอรับจัดสรรเงินจากกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2553 รวม 21 โครงการ ในวงเงินรวม 229,000,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานตามแผนงานปีที่ 3 โดยได้นำเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการประสานงานฯ แล้ว ในการประชุมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552 และวันที่ 13 มกราคม 2553 ประกอบด้วย
โครงการ | งบประมาณ |
แผนงานด้านกฎหมาย ระบบกำกับ และข้อผูกพันระหว่างประเทศ | 25,000,000 |
1. โครงการยกร่างกฎหมายไทยเพื่อบังคับใช้กับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ | 15,000,000 |
2. โครงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านกฎหมายโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ | 10,000,000 |
แผนงานด้านการถ่ายทอด พัฒนาเทคโนโลยี และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ | 39,000,000 |
1. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยและข้อผูกพันระหว่างประเทศ | 18,000,000 |
2. โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มสื่อสารสาธารณะและการยอมรับของประชาชน ปีที่ 2 | 11,000,000 |
3. โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มพัฒนาสังคมและบริการสาธารณะ ปีที่ 2 | 4,000,000 |
4. โครงการจัดหาผู้เชี่ยวชาญและความร่วมมือจากต่างประเทศ | 6,000,000 |
แผนงานด้านความปลอดภัย และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม | 25,000,000 |
1. โครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ และเชิงพื้นที่ ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ปีที่ 2 | 10,000,000 |
2. โครงการปรับปรุงกฎหมายมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ | 5,000,000 |
3. โครงการศึกษาแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อรองรับการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ปีที่ 2 | 10,000,000 |
แผนงานด้านการสื่อสารสาธารณะและการยอมรับของประชาชน | 115,000,000 |
1. โครงการศึกษาและวิเคราะห์ความคิดเห็นและสถานการณ์ด้านพลังงานนิวเคลียร์ | 3,000,000 |
2. โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ปีที่ 2 | 7,000,000 |
3. โครงการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้านนิวเคลียร์ | 5,000,000 |
4. โครงการผลิตสื่อโทรทัศน์ | 10,000,000 |
5. โครงการผลิตสื่อนิทรรศการ สื่อบรรยายประกอบ และสื่อเทคโนโลยีเฉพาะกิจ | 5,000,000 |
6. โครงการเผยแพร่ และส่งเสริมผ่านสื่อและกิจกรรม | 30,000,000 |
7. โครงการส่งเสริมเครือข่ายด้านสื่อมวลชนและภาคประชาคม | 20,000,000 |
8. โครงการสื่อสารภายใน | 5,000,000 |
9. โครงการศึกษาและสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ด้านพลังงานนิวเคลียร์ ผ่านกลุ่มสังคมเศรษฐกิจสัมพันธ์ และกลุ่มสตรีแม่บ้าน | 10,000,000 |
10. โครงการเครือข่ายการสื่อสาร | 5,000,000 |
11. โครงการบริหารงานการสื่อสารสาธารณะ | 15,000,000 |
การจัดตั้งสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (NPPDO) | 25,000,000 |
1. การดำเนินการสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ปีที่ 3 | 25,000,000 |
รวมทั้งสิ้น | 229,000,000 |
มติที่ประชุม
เห็นชอบจัดสรรเงินกองทุนฯ แผนพลังงานทดแทน งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค ปีงบประมาณ 2553 ให้ สำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ในวงเงิน 229,000,000 บาท (สองร้อยยี่สิบเก้าล้านบาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการภายใต้แผนงาน "โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์" โดยใช้เงินส่วนที่ สนพ. ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550
1. คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2548 ได้อนุมัติเงินกองทุนฯ แผนงานบริหารทางกลยุทธ์ งานศึกษาเชิงนโยบายและวิชาการ ให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ในวงเงินรวม 50 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน "โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมันและพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจร ในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ" ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (มิถุนายน 2548-มิถุนายน 2553)
2. คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2549 ได้เห็นชอบผลการดำเนินงานโครงการฯ ปีที่ 1 และอนุมัติเงินกองทุนฯ ในวงเงินรวม 40 ล้านบาท ให้ มช. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของโครงการฯ สำหรับปีที่ 2-5 โดยให้ มช. เสนอผลการดำเนินงานแต่ละปีต่อคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ทราบและเห็นชอบก่อน สนพ. จะจัดสรรเงินดำเนินการปีที่ 3-5
3. มช. ได้ดำเนินโครงการศึกษาวิจัยฯ ตามแผนงาน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิต/เกษตรกรรม ด้านวิศวกรรม และด้านเศรษฐศาสตร์สังคมและ ICT สรุปได้ดังนี้
3.1 ด้านการผลิต/เกษตรกรรม
มช. ได้ดำเนินการคัดเลือกสายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน 3,200 ต้น และคัดเลือกสายพันธุ์สบู่ดำ 10,000 ต้น และได้นำไปลงปลูกในแปลงวิจัยพื้นที่ของ มช. 2 แห่ง รวม 386 ไร่ คือ แปลงวิจัยศรีบัวบาน จ.ลำพูน 350 ไร่ ควบคุมสภาวะแวดล้อม 100% และที่แปลงวิจัยแม่เหียะ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 36 ไร่ ควบคุมสภาวะแวดล้อม 50% การควบคุมวิธีการให้น้ำทั้ง 2 แห่ง ด้วยระบบชลประทานน้ำหยด การคลุมด้วยวัสดุต่างๆ ปริมาณการให้น้ำ ระยะเวลาการให้น้ำที่เหมาะสม การจัดการปุ๋ย ได้แก่ ปุ๋ยยูเรีย ฟอสเฟต ปุ๋ยคอก และการตัดแต่งกิ่ง วิจัยผลกระทบต่อปาล์มน้ำมันและสบู่ดำที่เกิดจากการจัดการวัชพืชด้วยวิธีต่างๆ วิธีปลูกพืชแซมที่ไม่กระทบต่อปาล์มน้ำมันและสบู่ดำ ทั้งนี้ ข้อมูลวิจัยการเจริญเติบโตปาล์มน้ำมันและสบู่ดำ ในแปลงวิจัยทั้ง 2 แห่ง สรุปได้ดังนี้
พันธุ์ | ความสูงต้น (ซม.) |
จน.ทางใบ (ใบ) |
ดอกเพศเมีย (%) |
นน.ทะลาย (กก./ทะลาย) |
จน.ทะลาย (ทะลาย/ต้น/ปี) |
ผลผลิต (กก./ไร่/ปี) |
สุราษฏร์ธานี 1 | 439.58 | 35.04 | 94.27 | 4.3 | 19.46 | 1,842.89 |
สุราษฏร์ธานี 2 | 450.95 | 34.92 | 90.20 | 3.6 | 18.99 | 1,503.64 |
เดลี่-ลาเม่ | 415.56 | 33.94 | 97.01 | 2.8 | 18.58 | 1,156.24 |
ไนจีเรีย | 463.34 | 36.28 | 95.01 | 3.9 | 18.15 | 1,560.31 |
จากข้อมูลข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า การเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันทั้ง 4 สายพันธุ์ เติบโตได้ค่อนข้างดี มีเปอร์เซ็นต์การออกดอกเพศเมียสูงมากกว่า 90% เทียบได้กับปาล์มน้ำมันที่ปลูกในภาคใต้ของไทย โดยมีผลผลิตสูงสุด 1,842 กิโลกรัมต่อไร่/ปี
แหล่งปลูก | ความสูงต้น (ซม.) |
จน.กิ่งสบู่ดํา (กิ่ง) |
ความาวเส้นรอบวง (ซม.) |
ผลผลิต (กก./ไร่/ปี) |
สตูล | 386.91 | 77.02 | 82.51 | 420.49 |
กำแพงแสน | 399.90 | 67.69 | 78.97 | 425.21 |
กาญจนบุรี | 395.86 | 67.68 | 76.98 | 486.38 |
ปราจีนบุรี | 391.26 | 68.92 | 82.89 | 457.43 |
ชัยภูมิ | 393.98 | 64.86 | 86.15 | 541.35 |
ตากฟ้า | 392.89 | 66.92 | 86.93 | 544.04 |
จากข้อมูลข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า การเจริญเติบโตของสบู่ดำจากแหล่งปลูกทั้ง 6 แหล่ง เติบโตได้ค่อนข้างดี ไม่มีความแตกต่างกัน โดยมีผลผลิตสูงสุด 544 กิโลกรัมต่อไร่/ปี อย่างไรก็ดี ผลผลิตดังกล่าวยังจัดว่าเป็นปริมาณที่ต่ำ ผู้วิจัยจึงได้ทดลองศึกษาแนวทางการเพิ่มผลผลิตสบู่ดำโดยใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรมจัดทำ DNA Fingerprint เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป ทั้งนี้ จากการทดสอบในเบื้องต้น พบว่าพันธุ์ที่ได้นำมาทดลองนั้นไม่มีความแตกต่างทางพันธุกรรม (Genetic Variation) มากพอ จำเป็นต้องนำพันธุ์จากแหล่งอื่นๆ ภายนอกประเทศ หรือใช้เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะและผลผลิตดีขี้น
3.2 ด้านวิศวกรรม
มช. ได้ศึกษาออกแบบพัฒนาเครื่องสกัดน้ำมันสบู่ดำ เครื่องหีบน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก และเครื่องผลิตไบโอดีเซลขนาด 300 ลิตรต่อครั้ง ดังนี้
(1) พัฒนาเครื่องกะเทาะเปลือกผลสบู่ดำ อัตรากำลังการผลิต 600 กิโลกรัมสบู่ดำสด/ชั่วโมง ใช้แรงงานคนหมุนล้อกำลัง ที่ราคา 15,000 บาทต่อเครื่อง และเครื่องสกัดน้ำมันสบู่ดำแบบสกรู ขนาด 5-6 กิโลกรัมต่อชั่วโมง หีบน้ำมันได้ไม่ต่ำกว่า 31% ของเมล็ดสบู่ดำ ที่ราคา 65,000 บาทต่อเครื่อง
(2) พัฒนาเครื่องหีบน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก กำลังการผลิต 50 กิโลกรัมผลปาล์มสดต่อชั่วโมง หีบน้ำมันปาล์มดิบได้ 19-20% ของทลายปาล์มสด ที่ราคา 300,000 บาทต่อเครื่อง โดยปัจจุบัน มช. ได้ทำการปรับปรุงเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มดังกล่าวมาใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นต้นกำลังแทนมอเตอร์ไฟฟ้า และ ได้ร่วมกับกรมอู่ทหารเรือพัฒนา และสร้างเครื่องผลิตไบโอดีเซลขนาด 300 ลิตรต่อครั้ง (ผลิต 3 ครั้งต่อวัน) สามารถผลิตไบโอดีเซลได้จากน้ำมันพืชใช้แล้ว สบู่ดำ และปาล์มน้ำมันที่ราคา 500,000 บาทต่อเครื่อง
(3) พัฒนาและสร้างโรงสกัดน้ำมันปาล์มแบบ Dry Process ขนาดเล็ก ต้นทุนต่ำ รองรับผลผลิตจากสวนปาล์มได้ตั้งแต่ 3,000 ไร่ โดยถือเป็นระบบแห้งแบบหีบรวม กำลังการผลิตเท่ากับ 2.5 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันใกล้เคียงกับน้ำมันปาล์มที่สกัดจากเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มแบบใช้ไอน้ำ
3.3 ด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม และฐานข้อมูล ICT
มช. ได้ศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐศาสร์ของการปลูกปาล์มน้ำมันโดยวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้จากโครงการฯ พบว่า การปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคเหนือจะสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ในปีที่ 4 ของการปลูกประมาณ 4,000 บาทต่อไร่ ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนและผลตอบแทนของพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือ 3 ชนิด และผลตอบแทนปาล์มน้ำมันเฉลี่ยของประเทศไทย จากสำนักการเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2550 แล้วพบว่า สับปะรดมีกำไรสุทธิเฉลี่ยสูงสุดคือ 6,678 บาทต่อไร่ รองลงมาคือปาล์มน้ำมัน 5,359 บาทต่อไร่ ในขณะที่พืชเศรษฐกิจอื่นได้แก่ ลำไยและลิ้นจี่ อยู่ในภาวะขาดทุน อย่างไรก็ดี การปลูกสับปะรดนั้นต้องให้เงินลงทุนสูงกว่าปาล์มน้ำมันมากกว่า 2 เท่า จึงสรุปได้ว่าปาล์มน้ำมัน เป็นพืชทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้โดยมีผลตอบแทนที่จูงใจแก่เกษตรกรในภาคเหนือได้
4. แผนการดำเนินงาน ปีที่ 5 ยังคงเป็นเรื่องการวิจัยและเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันและต้นสบู่ดำ ทั้งในแปลงวิจัย และแปลงสาธิต ต่อเนื่องจากปีที่ 4 รวมถึงการพัฒนาการเพิ่มผลผลิตของสบู่ดำให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังจะดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพระบบสกัดน้ำมันปาล์มแบบหีบแห้งรวมให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยสรุปขอบเขตงานได้ดังนี้
4.1 งานด้านการผลิต/เกษตรกรรม
(1) ดำเนินการวิจัย เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผลการเจริญเติบโตปาล์มและสบู่ดำต่อเนื่องจาก ปีที่ 4 ประกอบด้วย การเปรียบเทียบสายพันธุ์และเทคโนโลยีการปลูก ด้วยการจัดการชลประทาน การจัดการปุ๋ย การจัดการวัชพืช ที่แตกต่างกัน ของปาล์มน้ำมันและสบู่ดำ
(2) พัฒนาสายพันธุ์สบู่ดำให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น โดยใช้เทคโนโลยี และการพัฒนาระบบเขตกรรม
4.2 งานด้านวิศวกรรม
(1) พัฒนาระบบสกัดน้ำมันปาล์มและสบู่ดำให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น
(2) สาธิตใช้งานในเครื่องหีบน้ำมันเมล็ดสบู่ดำ และเครื่องผลิตไบโอดีเซลต้นแบบระดับชุมชนที่สร้างขึ้นและทำการทดสอบคุณภาพ
4.3 งานด้านเศรษฐกิจ สังคมและ สารสนเทศ (ICT)
(1) วิจัยผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์และสังคมของการปลูกปาล์มน้ำมันและสบู่ดำ รวมถึงการผลิตน้ำมันในชุมชน
(2) สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการผลิตและใช้ไบโอดีเซล
(3) วิจัยและออกแบบจำลอง Process base
มติที่ประชุม
1. รับทราบและเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงาน "โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมันและพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจรในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ" ปีที่ 4 ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอมา
2. เห็นชอบจัดสรรเงินกองทุนฯ ให้ มช. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงานโครงการฯ ในปีที่ 5 ตามแผนงานที่เสนอมา ในวงเงินรวม 7,886,000 บาท โดยใช้เงินกองทุนฯ แผนงานบริหารทางกลยุทธ์ งานศึกษาเชิงนโยบายและวิชาการ ปีงบประมาณ 2550 โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมันและพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจร ในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ ที่คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2549 ได้อนุมัติไว้แล้ว
เรื่องที่ 9 การขอปรับรายละเอียดโครงการที่คณะกรรมการกองทุนฯ อนุมัติไว้แล้ว
1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมทราบว่า มีหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงินจากกองทุนฯ ไปแล้ว ได้ยื่นเรื่องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการจากที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้พิจารณาและอนุมัติไว้ รวมจำนวน 40 โครงการ โดยตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฯ ว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินฯ ตามข้อ 1.3 (2) หมวด 3 ข้อ 24 กำหนดว่า การเปลี่ยนแปลงรายการ ระยะเวลาดำเนินการ ไปจากรายละเอียดโครงการที่คณะกรรมการกองทุนได้อนุมัติไว้แล้ว จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนฯ ก่อน จึงจะเปลี่ยนแปลงได้
2. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้พิจารณาเหตุผลและรายละเอียดที่เจ้าของโครงการฯ ทั้ง 40 โครงการ ได้แจ้งขอเปลี่ยนแปลงแล้ว โดยจำแนกเรื่องที่ขอเปลี่ยนแปลงออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
2.1 ขอขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ เกิน 3 เดือน นับจากวันสิ้นสุดเงื่อนไขแห่งสัญญา จำนวน 8 โครงการ ดังนี้
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 8 โครงการ
(1) โครงการส่งเสริมการใช้เตาหุงต้มและเตาชีวมวลประสิทธิภาพสูง (ค่าจัดซื้อวัสดุเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง)
(2) โครงการรณรงค์เผยแพร่องค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (รณรงค์จัดทำและเผยแพร่สารคดีประจำทางสถานีวิทยุโทรทัศน์)
(3) โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผู้รับผิดชอบด้านพลังงานเพื่อการอนุรักษ์พลังงานที่ยั่งยืน (จัดซื้อกับดักไอน้ำชนิดแก้ว)
(4) โครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม (SMEs)
(5) โครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม โดยโรงงาน/อาคารควบคุม/โรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
(6) โครงการพัฒนาหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานในแต่ละประเภทอุตสาหกรรม
(7) โครงการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานด้วยไบโอดีเซลชุมชน (ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้)
(8) โครงการส่งเสริมเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
มีสาเหตุจากคู่สัญญาหรือผู้ได้รับเงินจัดสรรที่ได้ทำสัญญาจ้างไว้กับ พพ. ได้ส่งงาน/รายงานตามเวลาที่กำหนดไว้แล้ว แต่การตรวจรับงานของ พพ. พบว่าผลงานยังไม่สมบูรณ์ตามข้อตกลง เช่น ขาดรายละเอียด ขาดข้อมูลหรือเอกสารอ้างอิง ขาดประเด็นสำคัญ ฯลฯ และให้คู่สัญญาหรือผู้ได้รับจัดสรรเงินนั้น ดำเนินการปรับปรุงรายงานสมบูรณ์ ซึ่งส่งผลให้เลยกำหนดระยะเวลา 3 เดือน นับจากเวลาสิ้นสุดเงื่อนไขแห่งสัญญา พพ. จึงได้เสนอขอขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายรายการนั้นๆ
การปฏิบัติข้างต้น เป็นการดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฯ ว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินและการเบิกจ่ายเงินกองทุน พ.ศ. 2537 ข้อ 16 ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเบิกจ่ายเงินกองทุนไว้ "ให้ผู้เบิกเงินกองทุนใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันตามประมาณการรายจ่ายประจำปีได้ ภายในวงเงินและปีงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ กรณีผู้เบิกเงินกองทุนก่อหนี้ผูกพันภายในปีงบประมาณแต่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในปีงบประมาณนั้นๆ ให้ขยายเวลาการเบิกจ่ายรายการนั้นๆ ต่อไปได้ ภายในสามเดือนนับจากเวลาสิ้นสุดเงื่อนไขแห่งสัญญา"
2.2 ขอขยายระยะเวลาโครงการ จำนวน 22 โครงการ
มีสาเหตุจากคู่สัญญาหรือผู้ได้รับเงินจัดสรรที่ได้ทำสัญญาจ้างหรือหนังสือยืนยันการรับทุนไว้กับ พพ. และ สนพ. ดังนี้
โครงการ | งบประมาณ (ล้านบาท) |
หน่วยงาน | เดิม | ขยายถึง | ความก้าวหน้า |
(1) โครงการการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อน (โครงการพัฒนาสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์และชีวมวล) | 32.60 | พพ. | พ.ย. 2551 | ธ.ค. 2552 | เสร็จแล้ว |
(2) โครงการทุนหมุนเวียนสำหรับยานยนต์ NGV | 2,000 | ปตท. | ธ.ค. 2552 | ธ.ค. 2553 | 70% |
(3) โครงการพัฒนาพลังงานลมเพื่อสูบน้ำ ระยะที่ 1 | 3.81 | พพ. | ก.ย. 2552 | ภายใน 30 วัน นับจากวันที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้มีหนังสือแจ้งมติ | 95% |
(4) โครงการสมัชชาเยาวชนและครูด้านพลังงาน | 6 | สป.พน. | ก.ย. 2552 | ก.พ. 2553 | 95% |
(5) โครงการศูนย์บริการข้อมูลพลังงานภูมิภาคที่ 1 | 12.5 | สวภ. 1 | พ.ย. 2552 | ก.พ. 2553 | เสร็จแล้ว |
(6) โครงการศูนย์บริการข้อมูลพลังงานภูมิภาคที่ 2 | 6.5 | สวภ. 2 | พ.ย. 2552 | เม.ย. 2553 | 90% |
(7) โครงการศูนย์บริการข้อมูลพลังงานภูมิภาคที่ 3 | 6.5 | สวภ. 3 | พ.ย. 2552 | เม.ย. 2553 | 60% |
(8) โครงการศูนย์บริการข้อมูลพลังงานภูมิภาคที่ 4 | 6.5 | สวภ. 4 | พ.ย. 2552 | มี.ค. 2553 | 70% |
(9) โครงการศูนย์บริการข้อมูลพลังงานภูมิภาคที่ 5 | 6.5 | สวภ. 5 | พ.ย. 2552 | ธ.ค. 2552 | เสร็จแล้ว |
(10) โครงการศูนย์บริการข้อมูลพลังงานภูมิภาคที่ 6 | 6.5 | สวภ. 6 | ต.ค. 2552 | ม.ค. 2553 | เสร็จแล้ว |
(11) โครงการศูนย์บริการข้อมูลพลังงานภูมิภาคที่ 7 | 6.5 | สวภ. 7 | ต.ค. 2552 | ม.ค. 2553 | 95% |
(12) โครงการศูนย์บริการข้อมูลพลังงานภูมิภาคที่ 10 | 6.5 | สวภ. 10 | พ.ย. 2552 | มี.ค. 2553 | 90% |
(13) โครงการฝึกอบรมผู้นำชุมชนเกี่ยวกับการวางแผนพลังงานชุมชน | 66.83 | สป.พน. | ธ.ค. 2552 | มี.ค. 2553 | 95% |
(14) โครงการรณรงค์สร้างการรับรู้ (Campaign) "เมืองไทย เมืองแห่งพลังงานทดแทน" | 120 | สป.พน. | มี.ค. 2553 | มิ.ย. 2553 | อยู่ระหว่างการประกาศ TOR |
(15) โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่างประเทศ จำนวน 1 ทุน | 3.98 | สนพ. | ก.ย. 2552 | ก.ย. 2553 | 70% |
(16) โครงการสนับสนุนทุนวิจัยแก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวน 5 ทุน | รวม0.61 | สนพ. | รายละเอียดปรากฏในเอกสารประกอบวาระ 4.4 ส่วนที่ 2 โครงการที่ 16 | ||
(17) โครงการพัฒนากำลังพลด้านพลังงานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง | 30 | กรมการพลังงานทหาร | ธ.ค. 2552 | มิ.ย. 2553 | 70% |
(18) โครงการลดใช้พลังงานในภาครัฐในหน่วยงานภาครัฐขนาดเล็ก | 2 | สวภ. 4 | ก.ย. 2552 | ม.ค. 2553 | เสร็จแล้ว |
(19) โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กลุ่มสื่อสารสาธารณะและการยอมรับของประชาชน | 11 | สป.พน. สพน. | ก.พ. 2553 | พ.ค. 2553 | 85% |
(20) โครงการกระเบื้องมุงหลังคาระบายอากาศประหยัดพลังงาน | 0.80 | มจธ. | ธ.ค. 2549 | ส.ค. 2552 | เสร็จแล้ว |
(21) โครงการวิจัยออกแบบบ้านประหยัดพลังงานประเภทบ้านเดี่ยว กรณีศึกษา:สงขลาหรือจังหวัดใกล้เคียง | 7.5 | มอ. | ก.ค. 2549 | พ.ย. 2552 | เสร็จแล้ว |
(22) โครงการทำความเย็นจากต้นไม้ | 2 | ม.แม่โจ้ | ธ.ค. 2548 | ธ.ค. 2552 | เสร็จแล้ว |
แต่ละหน่วยงานได้ดำเนินการตามแผนงานที่เสนอไว้กับกองทุนฯ แล้ว แต่มีข้อจำกัดระหว่างการดำเนินงาน เช่น การขาดความมั่นใจของผู้ประกอบการ การปรับปรุงของอาคาร/สถานที่ การไม่เอื้อของสภาพภูมิอากาศ การใช้เวลาในการเก็บข้อมูลสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ การรอเวลาเพื่อนำผลงานวิจัยไปตีพิมพ์ทั้งในและต่างประเทศ การปรับรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่เป้าหมาย การทำงานวิจัยแล้วผลการทดลองมีความคลาดเคลื่อนไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ จำเป็นต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์ผลการทดลองเพิ่มเติม เป็นต้น
2.3 ขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ จำนวน 3 โครงการ
มีสาเหตุจากคู่สัญญาหรือผู้ได้รับเงินจัดสรรที่ได้ทำสัญญาจ้างหรือหนังสือยืนยันการรับทุนไว้แต่ละหน่วยงาน ได้ดำเนินการตามแผนงานที่เสนอไว้กับกองทุนฯ แล้ว แต่มีข้อจำกัดระหว่างการดำเนินงาน เช่น การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจกรรมย่อยให้มีความหลากหลายและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น หรือเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์พลังงานในปัจจุบัน เป็นต้น
โครงการ | การขอเปลี่ยนแปลง |
(1) โครงการทุนหมุนเวียนสำหรับยานยนต์ NGV ระยะที่ 2 งบประมาณ : 2,000 ล้านบาท
หน่วยงาน : ปตท. ความก้าวหน้า : ยังไม่ได้เริ่มดำเนินงาน |
ขอยกเลิกโครงการ เนื่องจากการดำเนินโครงการทุนหมุนเวียนสำหรับยานยนต์ NGV (ระยะที่ 1) ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และอยู่ระหว่างการขอขยายระยะเวลาโครงการออกไปสิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2553 และเพื่อให้การใช้จ่ายเงินกองทุนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด |
(2) โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่างประเทศ จำนวน 1 ทุน
งบประมาณ : 4.12 ล้านบาท หน่วยงาน : สนพ. |
สนข. ขอโอนการชดใช้ทุนการศึกษาของนางสาวเหมือนมาศ วิเชียรสินธุ์ จาก สนข. ไปปฏิบัติงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการทำสัญญาและการชดใช้เงิน กรณีรับทุนฯ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 เป็นต้นไป |
(3) โครงการสนับสนุนทุนวิจัยแก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวน 3 ทุน งบประมาณรวม : 0.14 ล้านบาท หน่วยงาน: สนพ. |
(1) สถาบันบัณทิตพัฒนบริหารศาสตร์ ขอเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น "รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการพลังงานชุมชน" เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ซึ่งได้ขยายขอบเขตการศึกษาเพิ่มเติม
(2) มช. ขอยกเลิกการสนับสนุนทุน เนื่องจากผู้วิจัยได้ลาออกจากการเป็นนักศึกษา (3) มจธ. ขอเปลี่ยนแปลงชื่อโครงการวิจัยเป็นเรื่อง "การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการก่อสร้าง" เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการมากยิ่งขึ้น |
2.4 ขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ และขอขยายระยะเวลาดำเนินงาน จำนวน 7 โครงการ
มีสาเหตุจากคู่สัญญาหรือผู้ได้รับเงินจัดสรรที่ได้ทำสัญญาจ้างหรือหนังสือยืนยันการรับทุนไว้แต่ละหน่วยงาน ได้ดำเนินการตามแผนงานที่เสนอไว้กับกองทุนฯ แล้ว แต่มีข้อจำกัดระหว่างการดำเนินงาน เช่น การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจกรรมย่อยให้มีความหลากหลายและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น หรือเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์พลังงานในปัจจุบัน เป็นต้น พร้อมทั้งขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการด้วย
โครงการ | การขอเปลี่ยนแปลง |
(1) โครงการพลังไทย ฉลาดใช้พลังงาน หน้าร้อน (ล้างแอร์)
งบประมาณ : 9.8 ล้านบาท หน่วยงาน : กฟผ. ความก้าวหน้า : 60% |
(1) ขอขยายกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ จากภาคครัวเรือน ให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเป้าหมายของโครงการกองทัพสีเขียว ได้แก่ ข้าราชการทหาร และครอบครัว (2) ขอปรับปรุงวิธีการดำเนินงาน โดยเพิ่มกิจกรรมฝึกอบรมการล้างเครื่องปรับอากาศ และมอบอุปกรณ์ล้างเครื่องปรับอากาศ ให้กับเจ้าหน้าที่ในกองทัพ (3) ขอปรับงบประมาณโครงการ โดยนำเงินคงเหลือไปใช้ในกิจกรรมล้างแอร์โครงการกองทัพสีเขียว 650,000 บาท สำหรับการจัดอบรม และมอบอุปกรณ์การล้างแอร์ แก่ทหารช่างและพลทหาร ส่วนเงินที่เหลือจะนำส่งคืนกองทุนฯ (4) ขอขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2552 เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2553 |
(2) โครงการศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศและน้ำเสียจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ถ่านหิน ชีวมวล และก๊าซธรรมชาติ
งบประมาณ : 7 ล้านบาท หน่วยงาน : สผ. ความก้าวหน้า : 55% |
(1) ขอยุติโครงการฯ โดยขอปรับวงเงินงบประมาณจาก 7,000,000 บาท เป็น 3,677,633 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณงาน เนื่องจาก สผ. ไม่สามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคนิคและการลงทุนของโรงไฟฟ้าจึงส่งผลให้โครงการฯ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
(2) ขอเบิกเงินงวดสุดท้ายเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,177,633 บาท โดยสามารถเบิกจ่ายเงินได้ภายใน 90 วัน นับจากวันที่คณะกรรมการกองทุนฯ เห็นชอบและอนุมัติ |
(3) โครงการสัมมนาวิชาการนานาชาติ เรื่อง Solar Energy: Getting Down to Business
งบประมาณ : 4.46 ล้านบาท หน่วยงาน : มพส. ความก้าวหน้า : อยู่ในช่วงเตรียมการจัดสัมมนาเดือนมีนาคม 2553 |
(1) ขอเปลี่ยนแปลงหมวดงบประมาณในส่วนค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้การดำเนินงานมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
(2) ขอขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ ออกไปอีก 2 เดือน จากเดิมสิ้นสุด กุมภาพันธ์ 2553 เป็นสิ้นสุดเมษายน 2553 |
(4) โครงการศูนย์บริการข้อมูลพลังงานภูมิภาค
งบประมาณ : 5 ล้านบาท หน่วยงาน : สป.พน. ความก้าวหน้า : 90% |
ขอปรับงวดเงินใหม่ จาก แผนเดิม งวดสุดท้าย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 500,000 บาท เมื่อส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ เป็น แผนใหม่ งวดที่ 4 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 450,000 บาท ภายหลังจากส่งรายงานความก้าวหน้าฉบับที่ 3 และงวดสุดท้าย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 50,000 บาท ภายหลังการส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ และขอขยายเวลาโครงการจากเดิมสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน 2552 เป็นสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2553 |
(5) โครงการบริหารจัดการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
งบประมาณ : 113.99 ล้านบาท หน่วยงาน : มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรฯ ความก้าวหน้า : 25% |
(1) ขอปรับจำนวนเป้าหมายของผู้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการและผู้เข้าค่ายฝึกอบรมในแต่ละปี เพื่อให้ได้จำนวนเป้าหมายของโครงการฯ ครบตามที่ได้กำหนดไว้ และกำหนดเป้าหมายของจำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุดพลังงาน และจำนวนสมาชิกห้องสมุดพลังงาน
- ผู้เยี่ยมชมนิทรรศการ จากเดิม ปีละ 50,000 คน รวม 250,000 คน เป็นจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 268,300 คน - ผู้เข้าค่ายฝึกอบรม จากเดิม 6,000 คน เป็นจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 7,300 คน (2) ขอปรับรายการค่าใช้จ่ายของงบประมาณให้สอดคล้องกับรายละเอียดการดำเนินงานที่เปลี่ยนแปลงไป และปรับงวดการเบิกจ่ายเงิน จาก 5 งวด เป็น 6 งวด (3) ขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ออกไปอีก 9 เดือน จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2555 เป็นสิ้นสุดเดือนกันยายน 2556 |
(6) โครงการรณรงค์เพื่อปลูกจิตสำนึก "อนุรักษ์พลังงาน เพื่อพลังงานไทยที่ยั่งยืน"
งบประมาณ : 45 ล้านบาท หน่วยงาน : สป.พน. ความก้าวหน้า : อยู่ระหว่างหาผู้ดำเนินงานโดยวิธี e-auction |
(1) ขอจัดกิจกรรมทดแทนจากเดิมจัดงาน "Energy Saving Fair 2009" ระยะเวลา 5 วัน เป็นจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่และให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานแก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ อาทิ จัดกิจกรรมร่วมกับหอการค้าจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด และหน่วยงานในระดับจังหวัด จัดกิจกรรมใน กทม. ร่วมกับองค์กรพันธมิตรภาคเอกชน โดยเฉพาะองค์กรในระดับนานาชาติ จัดนิทรรศการ/กิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์ด้านอนุรักษ์พลังงานสำหรับเยาวชน จัดกิจกรรมร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อกระตุ้นการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประหยัดพลังงาน กิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์ กิจกรรมประชาสัมพันธ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(2) ขอขยายระยะเวลาโครงการจากเดิมสิ้นสุดเดือนเมษายน 2553 เป็นสิ้นสุดเดือน พฤศจิกายน 2553 |
(7) โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่างประเทศ จำนวน 3 ทุน
งบประมาณรวม : 10.02 ล้านบาท หน่วยงาน : สนพ. |
(1) ม. วลัยลักษณ์ ขอขยายระยะเวลาการศึกษาให้แก่ นางพิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2553-เม.ย. 2554 เพื่อเขียนรายงานผลการวิจัยและจัดทำวิทยานิพนธ์ พร้อมทั้งขออนุมัติเพิ่มวงเงินทุนการศึกษาในช่วงที่ขอขยายเวลา จำนวนเงินประมาณ 595,980 บาท
(2) ม. ราชภัฏสวนดุสิต ขอขยายระยะเวลาการศึกษาให้แก่ นายจิติวัฒน์ ยวงเกตุ ออกไปอีก 1 ปี 2 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.พ. 2553 - มี.ค. 2554 เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมนานาชาติและจัดทำวิทยานิพนธ์ พร้อมทั้งขออนุมัติเพิ่มทุนการศึกษา ในช่วงที่ขยายเวลา จำนวนเงินประมาณ 1,164,814 บาท (3) สผ. ขอขยายระยะเวลาการศึกษาให้แก่ นางสาววรนุช เอมมาโนชญ์ ตั้งแต่เดือน ก.พ. 2552-เม.ย. 2553 เพื่อปรับปรุงแก้ไขร่างวิทยานิพนธ์ โดยขออนุมัติใช้เงินเหลือจ่าย จำนวน 271,181.54 บาท สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในช่วงเดือน ก.พ. 2552-มิ.ย. 2552 ส่วนช่วงเวลาเดือน ก.ค. 2552-เม.ย. 2553 จะใช้ทุนส่วนตัว |
ฝ่ายเลขานุการฯ เห็นว่าการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียด และการขอขยายระยะเวลาดำเนินการดังกล่าว เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะทำให้โครงการเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยไม่มีผลกระทบต่อวงเงินที่ได้รับแล้ว จึงเห็นควรให้โครงการที่ 1-6 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดและขยายระยะเวลาโครงการออกไปได้ ส่วนโครงการที่ 7 คือ โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่างประเทศ เห็นควรอนุมัติขยายเวลาการศึกษาให้แก่ผู้ได้รับทุนการศึกษาได้ ตามที่ขอมา โดยไม่ควรให้เบิกเงินงบประมาณเหลือจ่ายจากวงเงินประมาณเดิมที่เคยได้รับอนุมัติไว้ และไม่อนุมัติเพิ่มวงเงิน สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในภาคการศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลา เนื่องจากกองทุนฯ ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาของหลักสูตรที่กำหนดไว้แล้ว
มติที่ประชุม
1. เห็นชอบให้โครงการตามข้อ 2.1 จำนวน 8 โครงการ ขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ กรณีผู้เบิกเงินกองทุนฯ ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว แต่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในสามเดือนนับจากเวลาสิ้นสุดเงื่อนไขแห่งสัญญาได้ ตามที่ขอมา
2. เห็นชอบให้โครงการตามข้อ 2.2 จำนวน 22 โครงการ ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการได้ ตามที่ขอมา ทั้งนี้สำหรับโครงการที่ 1, 9, 10, 11, 18, 20, 21, และ 22 เห็นควรเสนอพิจารณาอนุมัติให้การสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ เป็น ภายใน 30 วัน นับจากวันที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้มีหนังสือแจ้งมติอนุมัติการขอขยายระยะเวลาดังกล่าว
3. เห็นชอบให้โครงการตามข้อ 2.3 จำนวน 3 โครงการ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการได้ตามที่ขอมา
4. เห็นชอบให้โครงการตามข้อ 2.4 จำนวน 6 โครงการ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการและขยายระยะเวลาดำเนินการได้ ตามที่ขอมา สำหรับโครงการที่ 7 เห็นชอบให้ ม.วลัยลักษณ์ ม.ราชภัฏสวนดุสิต และ สผ. ขยายระยะเวลาการศึกษาให้กับผู้รับทุนได้ ตามที่เสนอมา โดยไม่ควรให้เบิกเงินงบประมาณเหลือจ่ายจากวงเงินประมาณเดิมที่เคยได้รับอนุมัติไว้ และไม่อนุมัติเพิ่มวงเงิน สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในภาคการศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลา เนื่องจากกองทุนฯ ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาของหลักสูตรที่กำหนดไว้แล้ว
5. ให้ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติต่อไป
ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ ได้สอบถามถึงความก้าวหน้าของ "โครงการต้นแบบการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี Vanadium Redox Flow สำหรับการลดภาระกำลังไฟฟ้าสูงสุด การผลิตไฟฟ้าผสมผสานขนาดเล็ก รถประจำทางไฟฟ้า และเซลล์เชื้อเพลิงคาร์โบไฮเดรท" ที่คณะกรรมการกองทุน ได้อนุมัติไว้ในการประชุมครั้งที่ 2/2547 (ครั้งที่ 39) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2547 เนื่องจากเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ และประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ก็ได้ให้ความสนใจศึกษาวิจัยเทคโนโลยีนี้เช่นกัน ซึ่ง พพ. ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบว่าการดำเนินโครงการดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ดำเนินการร่วมกับ บริษัท เซลเลนเนียม (ประเทศไทย) จำกัด และส่วนที่ดำเนินการร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยในส่วนที่ดำเนินการร่วมกับ บริษัท เซลเลนเนียมฯ นั้น บริษัทได้บอกเลิกสัญญา เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการได้ตามข้อตกลงที่ได้ทำร่วมกับ พพ. ขณะที่การดำเนินงานร่วมกับ สวทช. นั้น อยู่ระหว่างการปรับลดปริมาณงานและการยกเลิกสัญญา รวมถึงการดำเนินการเพื่อส่งคืนเงินกองทุนฯ ต่อไป