- คณะกรรมการ/อนุกรรมการ
- คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
- คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
- คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
- คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
- คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กทอ.)
- คณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม
- คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)
คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่
ของคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
องค์ประกอบ
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน | ประธานกรรมการ |
2. ปลัดกระทรวงพลังงาน | รองประธานกรรมการ |
3. ปลัดกระทรวงการคลัง | กรรมการ |
4. ปลัดกระทรวงคมนาคม | กรรมการ |
5. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม | กรรมการ |
6. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา | กรรมการ |
7. อธิบดีกรมการค้าภายใน | กรรมการ |
8. อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน | กรรมการ |
9. อธิบดีกรมบัญชีกลาง | กรรมการ |
10. ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน | กรรมการ |
11. ผู้ทรงคุณวุฒิ | กรรมการ |
12. ผู้ทรงคุณวุฒิ | กรรมการ |
13. ผู้ทรงคุณวุฒิ | กรรมการ |
14. ผู้ทรงคุณวุฒิ | กรรมการ |
15. ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง | กรรมการและเลขานุการ |
16. ผู้แทนสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง | กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
อำนาจหน้าที่
1. เสนอแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
2. รายงานผลการประเมินการปฏิบัติงานและการเสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติการตามแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
3. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกองทุน และกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับนโยบายการบริหารกองทุนตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนด
4. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินเข้ากองทุนหรือได้รับเงินชดเชยและกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนตามมาตรา 27 อัตราเงินชดเชยตามมาตรา 29 อัตราเงินคืนจากกองทุนตามมาตรา 31 และอัตราเงินชดเชยคืนกองทุนตามมาตรา 32 ของพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 โดยอาจกำหนดตามประเภท การใช้ และแหล่งที่มาของน้ำมันเชื้อเพลิง ก็ได้ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรายงานการดำเนินการดังกล่าวต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อทราบ
5. อนุมัติการจ่ายเงินกองทุนเพื่อดำเนินการตามแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตามมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562
6. ให้ความเห็นชอบการกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 26 ของพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562
7. กำหนดระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงินกองทุนโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
8. บริหารสินทรัพย์และหนี้สินของกองทุน ให้มีความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
9. อนุมัติแผนงาน โครงการ และงบประมาณประจำปีของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
10. ออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562
11. ออกระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กร การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน และการดำเนินงานอื่นของกองทุนและสำนักงาน รวมถึงการกำหนดค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ หรือสวัสดิการต่างๆ ของผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้าง ทั้งนี้ โดยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียนกำหนด
12. ปฏิบัติการอื่นใดตามพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 หรือตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมอบหมาย