
โครงการในพระราชดำริ (22)
โครงการนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ระบบสูบน้ำเพื่อทำระบบป่าเปียกด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ บริเวณเขาบ่อขิง โดยกรมโยธาธิการ
กรมโยธาธิการได้เข้าไปสำรวจและออกแบบเพื่อติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ สำหรับใช้ในการทำระบบป่าเปียกในการฟื้นฟูสภาพป่าในบริเวณเขาบ่อขิง ซึ่งแต่เดิมยังไม่มีระบบสูบน้ำหรืออ่างเก็บน้ำบนยอดเขา และมักประสบกับปัญหาสภาพป่าค่อยข้างแห้งแล้งในช่วงฤดูแล้งเสมอ
ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่นำไปติดตั้งนี้ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 2,200 วัตต์ เครื่องสูบน้ำมอเตอร์กระแสตรง 2 เครื่อง ชุดควบคุม 2 ชุด ถังเก็บน้ำคอนกรีตขนาด 20 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง และท่อส่งน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว เป็นระยะทาง 1,150 เมตร จำนวน 2 ท่อ ซึ่งในระบบนี้ เครื่องสูบน้ำจะทำงานในเวลากลางวันด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยทราบได้ประมาณ 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ส่งผ่านท่อที่มีระยะยกน้ำสูง 110 เมตร ขึ้นไปเก็บไว้ในถังคอนกรีตบนยอดเขาบ่อขิง สำหรับให้น้ำแก่พื้นที่ป่าไม้บนภูเขา โดยระบบดังกล่าวมีความสามารถในการสูบน้ำได้ถึง 5,100 ลูกบาศก์เมตรต่อปี
ระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด โดยกรมโยธาธิการ (สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)
ก่อนการดำเนินการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในพื้นที่ที่พัฒนาแล้วจำนวน 240 ไร่ของสวนสมเด็จฯ มีเครื่องยนต์ดีเซลสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดไปเก็บไว้ในสระขนาด 6,400 ลูกบาศก์เมตร แล้วปล่อยน้ำโดยใช้แรงโน้มถ่วงเข้าสู่พื้นที่ด้านบนของสวนสมเด็จฯ แต่ปัจจุบันระบบเครื่องยนต์ดีเซลดังกล่าวไม่ได้ใช้งานเนื่องจากมีค่าเชื้อเพลิงที่สูงมาก เพราะเป็นระบบขนาดใหญ่ที่มีการสูบน้ำจำนวนมากและส่งน้ำไปในท่อระยะไกล
กรมโยธาธิการได้เข้าไปติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยพลังแสงอาทิตย์ที่ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 6,600 วัตต์ เครื่องสูบน้ำมอเตอร์กระแสสลับ (positive displacement) ขนาด 4.5 แรงม้า จำนวน 4 เครื่อง อุปกรณ์ควบคุม 1 ชุด เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าและท่อส่งน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว เป็นระยะทาง 1,600 เมตร จำนวน 1 ชุด โดยเครื่องสูบน้ำจะทำงานด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดไปเก็บไว้ในสระน้ำทางด้านบนของสวนสมเด็จฯ ที่มีความจุ 2,000 ลูกบาศก์เมตร มีระยะยกน้ำสูง 15 เมตร เพื่อปล่อยน้ำลงพื้นที่เกษตร และไม่มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานรายวัน จึงทำให้ลดค่าดำเนินการและซ่อมบำรุงไปได้ อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดมลพิษแก่สิ่งแวดล้อม และไม่มีเสียงดังรบกวนจากเครื่องยนต์ดีเซล
ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร ที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร (สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)
จากการสำรวจพื้นที่ที่พัฒนาแล้ว 240 ไร่ในบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พบว่า มีปัญหาในระบบสูบน้ำเพื่อใช้ในโครงการ ซึ่งเดิมกรมชลประทานได้ขุดบ่อน้ำไว้ตามพื้นที่เกษตรต่างๆ เป็นจำนวน 5 บ่อหลัก ซึ่งสามารถรองรับปริมาณน้ำจากคลองชลประทานได้ โดยแต่ละบ่อใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 11 แรงม้า สูบน้ำได้วันละ 100 ลูกบาศก์เมตร เพื่อนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ แต่ยังมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำที่มีปริมาณ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดปัญหามลภาวะจากการใช้เครื่องยนต์ดีเซลขึ้นอีกด้วย มหาวิทยาลัยนเรศวรจึงดำเนินการติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 5 ระบบขึ้นในพื้นที่ ได้แก่
ระบบน้ำเพื่อการเกษตรด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ 1 ระบบ บริเวณทฤษฎีใหม่ (น้ำฝน) ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 150 วัตต์ เครื่องสูบน้ำมอเตอร์กระแสตรงขนาด 0.5 แรงม้า จำนวน 1 เครื่อง อุปกรณ์ควบคุม 1 ชุด และหัวฉีดกระจายจ่ายน้ำ โดยเครื่องสูบน้ำจะทำงานด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำไปเก็บในถังเก็บน้ำแล้วส่งน้ำไปตามท่อด้วยแรงโน้มถ่วงผ่านหัวฉีดกระจายจ่ายน้ำไปใช้ในพื้นที่ซึ่งมีความต้องการใช้น้ำประมาณวันละ 4 ลูกบาศก์เมตร
ระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ 4 ระบบ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 600 วัตต์ จำนวน 4 ชุด เครื่องสูบน้ำมอเตอร์กระแสตรงขนาด 1 แรงม้า จำนวน 4 เครื่อง อุปการณ์ควบคุม 4 ชุด ถังสูงเก็บน้ำความจุ 8 ลูกบาศก์เมตร สูง 10 เมตร จำนวน 4 ถัง ท่อส่งน้ำ 4 ชุด และหัวฉีดกระจายจ่ายน้ำ โดยเครื่องสูบน้ำจะทำงานด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำไปเก็บในถังสูง แล้วส่งไปตามท่อด้วยแรงโน้มถ่วงผ่านหัวฉีดกระจายจ่ายน้ำเพื่อรดแปลงผัก ผลไม้ ไม้ดอก ได้วันละ 100 ลูกบาศก์เมตร เป็นการเสริมกับระบบสูบน้ำเครื่องยนต์ดีเซลเดิมที่สามารถสูบได้วันละ 100 ลูกบาศก์เมตร รวมเป็น 200 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำจริงๆ ของพื้นที่สวนเกษตรจำนวน 240 ไร่ภายในสวนสมเด็จ
ระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ บริเวณทฤษฎีใหม่ (น้ำชลประทาน) โดยบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด
ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 375 วัตต์ ประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์โซลาร์ตรอน ขนาด 75 วัตต์ จำนวน 5 แผง รวมเป็น 375 วัตต์ เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า MPPT ขนาด 400 วัตต์ จำนวน 1 ชุด และเครื่องสูบน้ำแบบผิวดิน CP-1600 จำนวน 1 ชุด ซึ่งได้ทำการติดตั้งโดยสูบน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินไปเก็บไว้ในแทงก์น้ำปลอกคอนกรีต ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 8 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีระดับความสูงของทางส่งน้ำที่ 15 เมตร สามารถสูบน้ำได้ประมาณ 15,000 ลิตร/วัน เพื่อนำไปใช้งานบริเวณแปลงเกษตรสาธิตทฤษฎีใหม่น้ำชลประทาน สวนสมเด็จพระศรีนทราบรมราชชนนี เพื่อการจัดสรรน้ำในการเพาะปลูก
ระบบสูบน้ำสำหรับประปาหมู่บ้านด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยกรมโยธาธิการ
ระบบสูบน้ำสำหรับประปาหมู่บ้านด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์นี้ ติดตั้งอยู่หมู่บ้านชาวไทยมุสลิมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีประชากร 35 ครัวเรือน ซึ่งแต่เดิมมีระบบสูบน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคซึ่งใช้ไฟฟ้าจากระบบสายส่งในการเดินเครื่องสูบน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคอยู่แล้วแต่มีภาระด้านค่าไฟฟ้าสูง ทางกรมโยธาธิการ จึงได้ออกแบบและทำการติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 53 วัตต์ จำนวน 21 แผง รวม 1,113 วัตต์ เครื่องสูบน้ำมอเตอร์กระแสสลับ 1 เครื่อง เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า 1 ชุด อุปกรณ์ควบคุม 1 ชุด เพื่อทดแทนระบบเดิม โดยเครื่องสูบน้ำด้วยระบบเซลล์แสงอาทิตย์จะทำงานในเวลากลางวัน สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำส่งเข้าท่อประปาให้กับหมู่บ้านได้วันละ 23 ลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นปริมาณปีละ 8,100 ลูกบาศก์เมตร
ระบบไฟฟ้าแสงสว่างด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โดยบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด
ระบบไฟฟ้าแสงสว่างด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 75 วัตต์ จำนวน 3 แผง รวมเป็น 225 วัตต์ อุปกรณ์ควบคุมบริเวณศาลาทรงงาน ขนาด 12 โวลต์ 6 แอมแปร์ จำนวน 1 ชุด อุปกรณ์ควบคุม บริเวณโรงเลี้ยงไก่ ขนาด 12 โวลต์ 10 แอมแปร์ จำนวน 1 ชุด แบตเตอรี่ชนิดเจล ขนาด 6 โวลต์ 150 แอมแปร์ชั่วโมง จำนวน 4 ลูก หลอดไฟประหยัดพลังงาน ขนาด 12 โวลต์ 7 วัตต์ จำนวน 9 หลอด และหลอดไฟประหยัดพลังงาน ขนาด 12 โวลต์ 11 วัตต์ จำนวน 6 หลอด โดยติดตั้งระบบดังกล่าวไว้ในบริเวณสวนสมเด็จฯ 2 จุด ด้วยกัน คือ ที่ศาลาทรงงาน และที่โรงเลี้ยงไก่ ทั้ง 2 จุดนี้สามารถใช้งานได้ 4 ชั่วโมง คือ เปิดทำงานโดยอัตโนมัติตอนช่วงหัวค่ำ 3 ชั่วโมง และจะทำงานอีกครั้งในช่วงเช้ามืดอีก 1 ชั่วโมง (การทำงานโดยอัตโนมัติเป็นผลมาจากการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมการปรับกระแสไฟฟ้า)
ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เชื่อมต่อสายส่ง โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)
ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ เชื่อมต่อสายส่งนี้ติดตั้งที่อาคารห้องประชุมสำนักงานประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 2,100 วัตต์ อุปกรณ์ควบคุม 1 ชุด เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า 1 ชุด และวัตต์มิเตอร์แสดงผลการผลิตไฟฟ้า 1 ชุด
ในเวลาที่มีแสงอาทิตย์ เซลล์แสงอาทิตย์จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง จากการออกแบบระบบจะให้ไฟฟ้ากระแสตรงขนาดแรงดัน 220-240 โวลต์ และกระแสไฟฟ้า 6-8 แอมแปร์ ไฟฟ้ากระแสตรง ที่ผลิตได้จะไหลผ่านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าและถูกเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดัน 220 โวลต์ และมีคุณสมบัติเหมือนกับกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม ดังนั้นกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบนี้จึงสามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ทุกชนิด โดยในกรณีที่กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์มีมากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในขณะนั้น กระแสไฟฟ้าส่วนเกินจะถูกขายคืนเข้าในระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ ในทางกลับกันหากความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าในขณะนั้นมีมากกว่ากระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ กระแสไฟฟ้าส่วนที่ขาดก็จะถูกซื้อเสริมเข้ามาจากระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ ตามปกติ ซึ่งการทำงานของระบบได้รับการออกแบบให้เป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ ดังนั้น จึงไม่ต้องมีการปิด-เปิดระบบแต่อย่างใดในแต่ละวัน
ผลจากการติดตั้งระบบ ทำให้ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ซื้อจากระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ ลดลงเท่ากับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งเท่ากับว่าจะสามารถช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงบรรพชีวิน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ในการผลิตกระแสไฟฟ้าลง อันจะส่งผลให้มลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงดังกล่าวลดลงได้อีกทางหนึ่ง
ชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โดยบริษัท สยามโซลาร์ แอนด์ อีเลคทรอนิคส์ จำกัด
ลักษณะบ่อผลิตก๊าซชีวภาพเป็นบ่อแบบโดมคงที่ขนาด 8 ลูกบาศก์เมตร โดยใช้วัตถุดิบที่ใช้ในการหมักเพื่อผลิตเป็นก๊าซชีวภาพนั้น ใช้มูลจากคอกโคนมสาธิตจำนวน 6 ตัว สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ประมาณวันละ 3-5 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งพอเพียงที่จะนำมาใช้เป็นพลังงานในการต้มนมแพะและโคนมที่ผลิตได้ภายในศูนย์ฯ ใช้เป็นพลังงานในการกกลูกไก่และลูกเป็ด ทำให้ประหยัดพลังงานก๊าซหุงต้มเดือนละ 2 ถัง (ขนาด 15 กิโลกรัม) ส่วนพลังงานที่เหลือทางศูนย์ฯ จะเดินท่อก๊าซไปบ้านพักคนงานบริเวณโดยรอบเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
ชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์นี้ออกแบบและผลิตโดยคนไทย เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายการติดตั้งสะดวก และมีต้นทุนการผลิตต่ำประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 10 วัตต์ จำนวน 1 แผง หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 6 วัตต์ จำนวน 1 ชุด แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ 4 แอมแปร์ชั่วโมง จำนวน 1 ลูก เซนเซอร์วัดความสว่าง 1 ชุด ชุดตั้งเวลาการทำงานของหลอดไฟกับพัดลม 1 ชุด พัดลมขนาด 2 นิ้ว 1 เครื่องชุดแสดงผลความจุแบตเตอรี่ 1 ชุด ถุงผ้าดักแมลง 1 ถุง และขาตั้งแบบเคลื่อนย้ายได้ 1 ชุด
สำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ พบว่า ยังไม่มีเครื่องล่อแมลงที่จะใช้กำจัดแมลงบางชนิดที่เป็นศูตรูพืช จึงได้นำชุดอุปกรณ์นี้มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว ซึ่งลักษณะการทำงานของระบบเป็นไปโดยเซลล์แสงอาทิตย์จะประจุกระแสไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่ในเวลากลางวัน เมื่อดวงอาทิตย์ตกดินเซนเซอร์วัดความสว่างจะสั่งให้หลอดไฟสว่างและพัดลมหมุนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ในขณะที่หลอดไฟสว่างและพัดลมหมุนนั้น หากมีแมลงบินเข้าใกล้ก็จะถูกดูดให้ตกลงไปในถุงผ้า แมลงที่จับได้นี้อาจนำไปใช้ประโยชน์เช่น นำไปเลี้ยงปลา นอกจากนี้ ชุดแสงไฟล่อแมลงยังสามารถติดตั้งไว้กลางบ่อเลี้ยงปลาเพื่อให้แมลงตกลงไปในบ่อปลาโดยตรงได้ด้วย
เครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด
เครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ประกอบด้วยแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ 1 ชุด ถังสกัดสารไส้กรอง ท่อน้ำเข้าถังและท่อน้ำเข้า แผงวาล์วเช็คระดับน้ำ ขารับแผงและถัง เป็นอุปกรณ์ที่นำพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์มาใช้ ประโยชน์ในการต้มสกัดสารชีวภาพ ซึ่งมีอยู่ในสมุนไพรบางชนิด เช่น ตะไคร้ หอม สะเดา ข่า และอื่นๆ โดยการทำงานจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงรับแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนจะถูกดูดซับและส่งถ่ายความร้อนให้กับน้ำที่อยู่ในระบบ ทำให้น้ำร้อนและลอยตัวขึ้นที่สูงแล้วไหลไปตามท่อหุ้มฉนวนเข้าสู่ถังสกัดสารกำจัดศัตรูพืชหรือหม้อต้มซึ่งใส่สมุนไพรไว้ ขณะเดียวกันน้ำส่วนล่างของหม้อต้มก็จะไหลไปตามท่อหุ้มฉนวนด้านตรงข้ามเข้าสู่แผงรับแสงอาทิตย์เพื่อรับพลังงานความร้อนจากแผงเป็นวัฏจักรเรียกว่า ระบบไหลเวียนตามธรรมชาติ น้ำในหม้อต้มจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงประมาณ 90 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาวันละ 6-8 ชั่วโมง ก็จะได้น้ำสารสกัดจากพืชสมุนไพร 75-100 ลิตรต่อวัน เมื่อปล่อยให้เย็นก็สามารถนำน้ำสารสกัดไปฉีดพ่นพืชผักผลไม้ได้ทันที เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่จะมาทำลาย
เครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
1. ส่วนเซนเซอร์หรือไพรานอมิเตอร์ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคคอนขนาด 1 ตารางเซนติเมตร และขั้วของเซลล์และอาทิตย์
2. ส่วนอินติเกรตสัญญาณ ทำหน้าที่แสดงผลและอินติเกรตค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์เป็นพลังงาน
ประโยชน์ของเครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ คือสามารถวัดค่าพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งทำให้ทราบประสิทธิภาพการทำงานของระบบพลังงานทดแทนที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ในอนาคตได้
มุ้งแอร์สุขภาพรุ่นประหยัดพลังงาน โดยนายศฤงคาร รัตนางศุ (สมาคมการประดิษฐ์ไทย)
มุ้งติดแอร์ ประกอบด้วยโครงเหล็กขนาดเล็กแบบถอดประกอยได้ มีหลังคาทรงโค้งคล้ายทรงโดมและมีทางเข้าออก โดยตัวมุ้งผลิตจากผ้าชนิดพิเศษและมีน้ำหนักเบาเป็นลักษณะ 2 ชั้น ชั้นนอกโปร่งและชั้นในทึบเพื่อเป็นฉนวนความร้อน โดยมีช่องแอร์สำหรับต่อเข้ากับเครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ขนาดเล็กที่มีระบบฟอกอากาศ ด้านหน้าพ่นลมเย็น ด้านหลังพ่นลมร้อนซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องทำความอุ่นให้กับมุ้งติดแอร์ได้ เครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ขนาดเล็กนี้สามารถนำมาใช้ทดแทนพัดลมซึ่งให้ลมเย็นกว่าพัดลมไอน้ำ และเนื่องจากเป็นเครื่องปรับอากาศเล็กจึงสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าน้อยมาก
ระบบเครื่องขยายเสียงพลังงานแสงอาทิตย์ โดยบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด
เครื่องขยายเสียงพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 6 วัตต์ 12 โวลต์ 0.3 แอมแปร์ จำนวน 1 แผง ขนาด 12 โวลต์ 7 แอมแปร์ จำนวน 1 ลูก และเครื่องขยายเสียง พร้อมไมโครโฟนแบบมีสายและแบบไร้สาย จำนวน 1 ชุด ชุดเครื่องขยายเสียงถูกดัดแปลงให้สามารถใช้ได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ มีขนาดกำลังขยาย 50 วัตต์ โดยสามารถใช้งานได้ทั้งไมโครโฟนแบบมีสายและแบบไร้สายซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าขนาด 0.5 แอมแปร์ และสามารถใช้งานติดต่อกันเป็นเวลา 3 ชั่วโมงต่อวัน เหมาะสำหรับการใช้งานในภาคสนามและเลือกใช้ตามความเหมาะสมได้อีกด้วย
ชุดกรองน้ำดื่มระบบรีเวิร์สออสโมซิสทำงานด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชุดกรองน้ำดื่มระบบรีเวิร์สออสโมซิสเป็นเครื่องฟอกน้ำจืด น้ำกร่อย หรือ น้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดบริสุทธิ์ โดยมีหลักในการทำงาน คือ ใช้เยื่อเมมเบรน (membrane) ซึ่งเป็นเยื่อบางๆ คล้ายแผ่นกระดาษ แต่มีเนื้อละเอียดถึง 0.0001 ไมครอน ทำให้โมเลกุลของสารละลายในน้ำไม่สามารถลอดผ่านไปได้ โดยเยื้อเมมเบรนจะทำงานควบคู่กับเครื่องสูบน้ำแรงดันสูงที่ทำหน้าที่ผลักดันน้ำดิบให้ผ่านเยื่อเมมเบรนเครื่องสูบน้ำดังกล่าวทำงานด้วยไฟฟ้าที่ผลิตจากเซลล์แสงอาทิตย์
ระบบที่นำมาติดตั้งนี้ประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 60 วัตต์ แบตเตอรี่ขนาด 624 วัตต์ต่อชั่วโมง ชุดควบคุม และเครื่องสูบน้ำแรงดันสูง โดยการทำงานจะเริ่มจากการเปิดวาล์วให้น้ำดิบเข้าสู่ระบบไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จะเดินเครื่องสูบน้ำให้ทำงานเพื่อเพิ่มความดันให้น้ำดิบ อัดน้ำผ่านส่วนไส้กรองคาร์บอนทั้งชนิดเม็ดและชนิดผง ส่วนเยื่อกรองเมมเบรน และส่วนไส้กรองคาร์บอนอันสุดท้ายจนได้เป็นน้ำบริสุทธิ์
พ.ต.ท. พีระพงศ์ ช่างสุพรรณ รองผู้กำกับการ 1 กอบบังคับการฝึกพิเศษ และรองหัวหน้ากองอำนวยการศูนย์ฯ ปฎิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงผลจากการนำโครงการพลังงานทดแทนมาใช้งานภายในศูนย์การพัฒนาห้วยทรายฯ ดังนี้
สภาพการใช้พลังงานที่มีอยู่เดิมภายในศูนย์
พ.ต.ท. พีระพงศ์ : "แต่เดิม ในศูนย์ฯ มีการใช้พลังงานทดแทนอยู่บ้างแล้ว คือ พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม โดยแรกเริ่มก็ติดตั้งกังหันลมไว้ 6 ตัว กระจายอยู่ตามบริเวณต่างๆ แล้วก็มีเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทางญี่ปุ่นนำมาติดตั้งให้ที่เขาเสวยกะปิเพื่อใช้ในระบบสูบน้ำขึ้นเขา แต่ปัญหาก็คือระบบเดิมนี้อาจจะยังมีเทคโนโลยีที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์จึงไม่สมบูรณ์จึงไม่สามารถจะดันน้ำขึ้นไปยอดเขาได้ ดังนั้นพื้นที่ที่รับน้ำจากจุดนี้ได้จึงมีน้อย ถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่ในส่วนของกังหันนั้นถือว่าได้ผลดี เพราะพื้นที่ที่ได้รับผลอยู่ในบริเวณไม่ไกลกัน และน้ำที่สูบได้ก็ใช้เฉพาะในแปลงงานต่างๆ ซึ่งการใช้พลังงานทดแทนที่นี่เน้นในเรื่องของระบบสูบน้ำ เพราะเราใช้เฉพาะในแปลงงานต่างๆ ซึ่งการใช้พลังงานทดแทนที่นี่เน้นในเรื่องของระบบสูบน้ำ เพราะเราใช้ในการฟื้นฟูระบบนิเวศเป็นหลัก
"แล้วเราก็มีการใช้ระบบเครื่องยนต์ดีเซลและระบบเครื่องยนต์เบนซินในการสูบน้ำ โดยระบบเครื่องยนต์เบนซินจะเป็นปั๊มน้ำขนาดเล็กที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย ซึ่งเราได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิชัยพัฒนาแต่ปั๊มที่ใช้สูบน้ำประจำที่มีขนาดใหญ่และใช้ในแปลงที่ทำงานศึกษาด้านวิชาการเกษตรนั้น จะเป็นเครื่องยนต์ดีเซลเสียส่วนใหญ่"
การนำโครงการพลังงานทดแทนมาใช้งานภายในศูนย์ฯ เป็นไปในลักษณะใด
พ.ต.ท. พีระพงศ์ : "โครงการนี้นำมาใช้ทดแทนการใช้พลังงานในบางส่วนได้ โดยในศูนย์ของเราจะยังคงใช้ทั้ง 2 ระบบผสมผสานกัน อย่างที่สวนสมเด็จฯ ซึ่งเป็นจุดทดลองงานวิชาการเกษตรต่างๆ ได้แก่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร ทฤษฎีใหม่แบบน้ำฝนหรือชลประทาน เป็นงานที่ใช้น้ำค่อนข้างมาก แต่เดิมเราใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นหลักอยู่ ก็นำเอาพลังงานทดแทนนี้มาใช้แทนมากขึ้น และพยายามลดการใช้เครื่องยนต์ดีเซลลงเนื่องจากใช้งานหนัก แต่จะใช้เครื่องดีเซลตัวเก่าเพื่อเสริมเฉพาะในช่วงหน้าแล้งจัด คาดว่าจะสามารถลดการใช้น้ำมันดีเซลลงได้ไม่น้อยกว่า 80%"
ผลที่ได้รับจากการนำโครงการพลังงานทดแทนมาใช้งานภายในศูนย์ฯ
พ.ต.ท. พีระพงศ์ : "เมื่อประเมินผลจากจุดแรกที่ติดตั้งคือที่เขาบ่อขิงการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ จากโครงการนี้ ค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากมีระยะยกน้ำสูงถึง 100 เมตร และความยาวของท่อปั๊มซึ่งมีปั๊ม 2 ตัว ก็มีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ทำให้สามารถสูบน้ำขึ้นไปถึงยอดเขาได้ อาจกล่าวได้ว่า ผลในด้านการใช้งานในระบบสูบน้ำนี้เป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง
"ในส่วนผลดีด้านอื่นๆ คงจะเป็นในด้านการประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงาน แล้วก็เป็นพลังงานสีขาวที่ไม่ก่อมลพิษ ส่วนอีกประการที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์มากเลยทีเดียว ก็คือ พลังงานทดแทนที่ติดตั้งในศูนย์ฯ จะเป็นรูปแบบการสาธิตที่คนทั่วไปสามารถเข้ามาดูงานและได้เห็นภาพการทำงานจริง เพราะที่นี่เป็นจุดหนึ่งที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก นักศึกษาตามสถาบันต่างๆ จะได้มาศึกษา ได้มาดูการดำเนินงานในพื้นที่จริงๆ และเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ รวมทั้งในส่วนของราชการด้วย ซึ่งส่วนราชการบางแห่งอาจจะมีปัญหาในด้านการใช้จ่ายเรื่องของน้ำมัน เรื่องของการทำงาน ก็อาจจะมาดูรูปแบบ และจะได้รู้ว่าจะติดต่อได้ที่ไหน มีการติดตั้งอย่างไร และใช้งบประมาณเท่าไร ในส่วนอื่นก็คงจะเป็นผลพลอยได้ อย่างป่าก็จะได้รับน้ำเพิ่มขึ้นจากระบบนี้"
ที่มา : พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย
โครงการในหลวงกับพลังน้ำ
ในหลวงกับพลังน้ำ
วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 กระทรวงพลังงานร่วมกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในหัวข้อ "ในหลวงกับน้ำ" ณ หอประชุมอาคารประชาสัมพันธ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยมีพลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี อดีตผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและประธานคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และคุณเกษม จาติกวณิช อดีตผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากรในการเสวนาดังกล่าว ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้า-
อยู่หัวทรงสนพระทัยและทรงเชี่ยวชาญเรื่อง
น้ำมากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม โครงการ
พัฒนาแหล่งน้ำเหล่านี้นับตั้งแต่เริ่มแรกก็เป็นการ
ดำเนินการที่ควบคู่ไปกับรัฐบาล โดยระมัดระวัง
ไม่ให้ซ้ำซ้อนกับงานพัฒนาของรัฐบาล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติ พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ และครอบคลุมการพัฒนาเกือบทุกแขนง ทั้งในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการทางด้านการเกษตร โครงการทางด้านพลังงาน ฯลฯ นับพันโครงการ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาแหล่งน้ำนั้น เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยและทรงเชี่ยวชาญเรื่องน้ำมากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเหล่านี้นับตั้งแต่เริ่มแรกก็เป็นการดำเนินการที่ควบคู่ไปกับรัฐบาล โดยระมัดระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับงานพัฒนาของรัฐบาล ซึ่งในประเด็นนี้ พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ ได้เสนอความเห็นโดยสรุปว่า เกิดจากการที่พระองค์ได้ทรงงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และเริ่มทรงงานจากโครงการขนาดเล็ก อันเป็นการช่วยเสริมช่องว่างของรัฐบาลด้วย
หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ขึ้นครองราชย์ปี พ.ศ.๒๕๘๙ พระองค์ได้เสด็จฯกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยทรงเปลี่ยนไปเรียนด้านการปกครองและกฎหมายแทนสาขาวิศวกรรมที่ทรงศึกษาแต่เดิมหลังจากทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จนิวัติประเทศไทยแล้ว พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเพื่อเยี่ยมราษฎรดูแลทุกข์สุขเพื่อทราบถึงต้นเหตุแห่งปัญหา เสด็จฯไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเตรียมหาข้อเท็จจริงก่อนจะเห็นได้ว่าพระราชทานกรณียกิจในช่วงแรกของพระองค์ยังไม่มีโครงการพระราชดำริเลย
การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จะพระราชดำเนินหรือแปรพระราชฐานไปตามจังหวัดต่างๆ นั้น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยกล่าวไว้ว่า พระองค์ท่านไปตั้งออฟฟิศเล็กๆ เพื่อทรงดูแลประชาชนรอบๆ ที่ประทับ อย่างไรก็ตาม พระราชกรณียกิจในช่วงเริ่มแรกนี้ พระองค์ไม่ได้ทรงสนพระทัยในเรื่องใหญ่โตมากนัก แต่ทรงมองว่า ตรงจุดไหนมีเรื่องให้พระองค์ทรงช่วย พระองค์ก็จะทรงช่วยและในระหว่างที่เสด็จฯไปเยี่ยมราษฎรทุกครั้ง ยังทรงนำหน่วยงานของสำนักคณะกรรมพัฒนาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสภาพัฒน์ฯไปด้วยทุกครั้ง ซึ่งหน่วยงานนี้คล้ายๆ กับเป็นเลขานุการส่วนพระองค์ไปในตัวด้วย ซึ่งต่อมาเราเรียกหน่วยงานนี้ว่า สำนักงาน............
ในการทรงงานนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีวิธีของพระองค์เอง ทรงทอดพระเนตร ทรงศึกษาและสอบถามจากชาวบ้าน ตรวจสอบแผนที่ เรียกเจ้าหน้าที่มาถาม แล้วจึงทรงคิดออกมาเป็นแผนงาน จากนั้นจะทรงเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาดู เมื่อเห็นว่าสามารถทำโครงการพัฒนาเหล่านั้นได้ จึงทรงตัดสินพระทัยทำ สภาพัฒน์ฯ จะคอยถวายรายงานว่า โครงการพัฒนาที่จะทรงทำนั้นโครงการที่ตรงกับรัฐบาลหรือไม่ ถ้ารัฐบาลทำ จะทรงเลี่ยงมาทำเรื่องเล็กๆ ที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน แต่หากเป็นเรื่องใหญ่หรือเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก พระองค์จะทรงให้สภาพัฒน์ฯไปเสนอต่อรัฐบาล เพราะฉะนั้นแต่ละโครงการจึงไม่ซ้ำกัน เรียกได้ว่า พระองค์ทรงทำงานของพระองค์ รัฐบาลก็ทำงานของรัฐบาล แต่พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาเหล่านี้ บางครั้งก็ใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นโครงการที่เสนอรัฐบาลแล้วไม่มีความคืบหน้า ซึ่งอาจเกิดจากรัฐบาลยังไม่พร้อม อย่างเช่น โครงการปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้เสนอรัฐบาลไปสามปีแล้ว ทว่ายังไม่มีการดำเนินการใดๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงรับไว้เป็นโครกการส่วนพระองค์
ในการทรงงานนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีวิธีของพระองค์เอง ทรงทอดพระเนตร
ทรงศึกษาและสอบถามจากชาวบ้าน ตรวจสอบ
แผนที่ เรียกเจ้าหน้าที่มาถาม แล้วจึงทรง
คิดออกมาเป็นแผนงาน จากนั้นจะทรงเรียก
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาดู เมื่อเห็นว่าสามารถ
ทำโครงการพัฒนาเหล่านั้นได้ จึงทรง
ติดสินพระทัยทำ
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงระวังพระองค์เองว่า โครงการพัฒนาต่างๆ ตามพระราชดำรินั้นต้องไม่ใช่เป็นการไปแย่งงานของรัฐบาล แต่เป็นการช่วยเสริมช่องว่าง เดิมทีโครงการตามพระราชดำริต่างๆ เหล่านี้ใช้งานจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ต่อมาจึงมีการจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าเงินของราชการนั้นเป็นเงินงบประมาณ ซึ่งจะหมดในปลายปี เมื่อรัฐไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำงานต่างๆ มูลนิธิจึงจะเข้ามาช่วยเหลือด้วยการให้ยืมเงินไปทำงานก่อน
หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นจะทรงถือหน้าที่เป็นสำคัญ ไม่ได้ถือเรื่องตำแหน่งหรือยศของคนทำงาน การทรงงานของพระองค์นั้นเปรียบได้กับเรือลำหนึ่งที่มีเรือเอกเป็นกัปตัน แต่ถ้าเรือลำนั้นใช้เครื่องยนต์ปรมาณู คนที่รู้เรื่องเครื่องยนต์อาจเป็นจ่า แต่ก็ต้องฟังเรือเอกว่าจะให้เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา จะหยุดหรือยิงอย่างไร เป็นการทำงานด้วยหน้าที่ พระองค์จะทรงละเอียดอ่อนเรื่องนี้ ซึ่งทำให้สามารถดำเนินพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาได้อย่างราบรื่น
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามพระราชดำริ
สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำสำคัญ ๆ ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีโอกาสถวายงานตามพระราชดำริแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น คุณเกษม จาติกวนิช อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความรอบรู้เรื่องเขื่อน ทรงศึกษาเรื่องเขื่อนมาเป็นอย่างดี ทรงมีสายพระเนตรยาวไกล คือ ทรงคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนชาวไทยโดยรวมก่อน ดังนั้น การสร้างเขื่อนแต่ละเขื่อนจึงไม่ใช่เพียงการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังเอื้อประโยชน์ถึงเกษตรกร ชาวนา หรือเพื่อการป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย โดครงการพระราชดำริหลายโครงการสำเร็จได้ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ซึ่งเป็นโครงการที่มีประโยชน์เรื่องการป้องกันน้ำท่วมได้อย่างชัดเจน ถึงแม้จะไม่มากเท่ากับเขื่อนภูมิพล ทว่าผลประโยชน์อื่นๆ ที่เกษตรกรจะได้รับมีมากมายมหาศาล เนื่องจากเป็นเขื่อนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีการทำนาเป็นจำนวนมาก............
นอกจากนี้ ในการสร้างเขื่อนแต่ละครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงให้ความสำคัญกับเรื่องการย้ายชาวบ้าน ทรงกำชับว่าต้องหางบประมาณเพื่อจ่ายค่าตอบแทนชาวบ้านอย่างเป็นธรรม ประชาชนที่จะต่อต้าน พอรู้ว่าเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ยอมทำตามพระราชประสงค์ยกตัวอย่างเช่นการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หากให้ทางราชการเป็นผู้สร้าง เชื่อว่าอีก ๑๐๐ ปีก็อาจยังคงไม่ได้สร้าง เพราะผู้ที่ผู้อาศัยคงไม่ยอมย้ายออกแต่เมื่อเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของกโครงการ ทุกคนจึงเชื่อและรับสรองพระราชดำริ ไม่แต่เฉพาะเรื่องเขื่อนเท่านั้น เรื่องออื่นๆ ประชาชนชาวไทยก็อาศัยพระบารมีของพระองค์เช่นกัน เรียกว่าด้วยพระบารมีสามารถเปลี่ยนเรื่องใหญ่โตให้จบลงได้ในวันเดียว.....
จะขอย้อนมาเรื่องต้นกำเนิดของเขื่อนสำหรับผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย เดิมทีประเทศไทยมีโรงงานผลิตไฟฟ้าวัดเลียบและโรงไฟฟ้าสามเสน ใช้ฟืนและแกลบเป็นเชื่อเพลิงในการผลิตๆไฟฟ้า เมื่อครั้งสงครามที่ข้าเปลือกขายไม่ได้ราคา ก็เคยใช้ข้าวเปลือกเหล่านี้เป็นเชื่อเพลิงผลิตไฟฟ้ามาแล้ว แต่ไฟฟ้า
ในการสร้างเขื่อนแต่ละครั้ง พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวจะทรงให้ความสำคัญกับเรื่องการ
ย้ายชาวบ้าน ทรงกำชับว่าต้องหางบประมาณ
เพื่อจ่ายค่าตอบแทนชาวบ้านอย่างเป็นธรรม
ประชาชนที่จะต่อต้าน พอรู้ว่าเป็นพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ยอมทำตาม
พระราชประสงค์
ก็ยังไม่พอใช้ ต้องดับไฟเป็นเขตๆ ทุกวัน เมื่อมีพระราชบัญญัติการไฟฟ้ายันฮีในปี พ.ศ.๒๕๐๐ จึงก่อให้เกิดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตขึ้น มีการก่อสร้างเขื่อนภูมิพลหรือชื่อเดิมว่าเขื่อนยันฮี ซึ่งเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และแทบจะใหญ่ที่สุดในเอเชียในเวลานั้น ซึ่งในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์มาได้ ๑๑ ปี จึงอากเรียกได้ว่าพัฒนาการของเขื่อนผลิตๆฟฟ้าในประเทศไทยนั้นมีระยะเวลาที่เท่า ๆ กับการครองราชย์ของพระองค์......
เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนที่ให้ประโยชน์ทั้งการเกษตรและการเกษตรและการไฟฟ้าในตอนเริ่มต้นประเมินกันว่ามีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประมาณ ๕๐ ล้านดอลลาร์ ซึ่งในขณะนั้นอัตราแลกเปลี่ยนเงินไทยและเงินดอลลาร์สหรัฐประมาณ ๑๒ บาทต่อดอลลาร์ เมื่อคิดเป็นเงินไทยประมาณหนึ่งพันล้านบาท ซึ่งค่อนข้างสูงมากในเวลานั้น มีคำถามมากมายว่าจะไปเอาเงินจำนวนมากขนาดนั้นมาจากไหน ในที่สุดก็ไปกู้จากธนาคารโลก ซึ่งคิดดอกเบี้ย ๕ เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา ๒๐ ปี ซึ่งหลายคนไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าเป็นการสร้างหนี้สินให้คนรุ่นลูกหลานนานถึง ๒๐ ปีแต่อย่างไรก็ตาม ในที่สุดก็มีการสร้างเขื่อนจนเป็นผลสำเร็จ โดยธนาคารโลกมีข้อกำหนดว่า ต้องนำเงินรายได้จากเขื่อนมาใช้คืน ไม่ใช่นำเงินงบประมาณมาใช้หนี้ ซึ่งเมื่อคำนวณรายได้จากการขายไฟฟ้าแล้ว ปรากว่าพอเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณ เขื่อนภูมิพลจึงเกิดขึ้นมา แต่ทุกคนก็รู้ว่าเขื่อนนี้เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ใช้ได้ทั้งไฟและเกษตรกรรม โดยเฉพาะทุ่งราบภาคกลางที่สามารถทำนาได้มากกว่าปีละครั้ง และเกษตรกรก็ไม่ต้องเสียค่าน้ำที่เขื่อนส่งมาให้ด้วย เพราะเขื่อนมีเงินรายได้จากการขายไฟฟ้าไปใช้หนี้คืนธนาคารโลกอยู่แล้ว"
แนวพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและเขื่อน
พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ กล่าวถึงแนวพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและเขื่อนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า "พระองค์ทรงเริ่มโครงการพัฒนาจากการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ ทรงรับทราบปัญหาสำคัญเรื่องการขาดแคลน 'แหล่งน้ำ' ของพสกนิกรส่วนใหญ่ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้น การแปรพระราชฐานไปที่ใดก็ตามพระองค์จะสมใจแต่เรื่องน้ำเป็นหลัก เพื่อหาทางให้มีการชลประทานไปสู่พื้นที่ที่ราษฎรเพาะปลูก และหากพบว่ามีแหล่งน้ำที่ใด พระองค์ก็จะทรงส่งเสริมให้มีการสร้างฝาย สร้างเขื่อน และด้วยเหตุนี้พระองค์จึงให้ความสนพระทัยในเรื่องเขื่อนด้วย ทรงสนพระทัยว่าเขื่อนขนาดนี้ สูงเท่านี้ ควรจะมีเครื่องผลิตไฟฟ้าและจ่ายไฟอย่างไร ทรงเข้าพระทัยดีแม้กระทั่งว่าพื้นที่อ่างน้ำขนาดเท่านี้จะโดนแดดส่งลงมาน้ำระเหยไปเท่าไร ทรงเคยรับสั่งว่า โครงการทฤษฎีใหม่ที่ว่าให้มีการขุดบ่อน้ำ พื้นที่เท่านี้มีน้ำเท่านี้ ถ้าราษฎรไม่ใช้น้ำในอ่างภายในเวลาเท่าไร น้ำจะระเหยไปหมด เพราะฉะนั้นตอนน้ำเต็มอ่างก็ควรใช้ประโยชน์เสียก่อนที่น้ำจะระเหยไปในอากาศหมด.....
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไม่ได้เจาะจง
เรื่องการใช้น้ำเพียงอย่างเดียว ทรงเข้าใจระบบ
ของการไฟฟ้าอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอน
การผลิตไฟฟ้า เรื่องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และ
ยังทรงรู้สึกไปกว่านั้น คือการทรงพระราชทาน
แนวพระราชดำริในการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ
ในการผลิตไฟฟ้าด้วย
อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไม่ได้เจาะจงเรื่องการใช้น้ำเพียงอย่างเดียว ทรงเข้าใจระบบของการไฟฟ้าอย่างดีไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการผลิตไฟฟ้า เรื่องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และยังทรงรู้ลึกไปกว่านั้น คือการทระพระราชทานแนวพระราชดำริในการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในการผลิตไฟฟ้าด้วย เช่นที่หมู่บ้าน 'บ้านยาง' บริเวณเชิงดอยของอ่างขาง ซึ่งหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงดูแลอยู่ เดิมทีมีแหล่งน้ำไหลอยู่ตลอดในบริเวณนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯไปแล้วก็ตรัสว่า ที่นั่นพระองค์มีโรงงานทำผลไม้กระป๋อง (ปัจจุบันคือโรงงานผลิตเครื่องกระป๋องตรา 'ดอยคำ' ) แต่ไม่มีไฟฟ้า จึงทรงให้ท่านชายภีศเดชมาตาม กฟผ.ไปดูว่ามีน้ำมากพอสำหรับทำไฟฟ้าหรือไม่ กฟผ.รับพระราโชบายมา และทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ้านยาง โดยติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องละ ๕๖ กิโลวัตต์ ๒ เครื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงเปิด ให้ด้วยพระองค์เอง โรงงานเครื่องกระป๋องและชาวบ้านในบริเวณนั้น จึงได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าวด้วย"
ในประเด็นดังกล่าว คุณเกษม จาติกวนิช กล่าวเสริมว่า "การสร้างเขื่อนขนาดเล็กเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้านั้น หากปล่อยให้ กฟผ.ไปทำลำพังอาจมีคนแย้งเรื่องความคุ้มค่า และอาจมีคนถามว่า มันเรื่องอะไรของ กฟผ. ที่จะไปทำโรงไฟฟ้าขนาดเล็กบนดอย แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดูแลทุกข์สุขของประชาชน เมื่อทรงรับสั่ง กฟผ.จึงได้สนองพระราชดำริ อยากให้พวกเราเห็นว่า การดูแลผลประโยชน์และผลตอบแทนเหล่านี้ไม่ควรมองพียงด้านเดียว แต่ต้องดูประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน เรียกว่าพระวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงกว้างขวางมาก.....
แม้แต่เรื่องเขื่อนภูมิพล เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ประเทศอิหร่าน พระเจ้าชาห์แห่งอิหร่านได้มีพระราชดำรัสเรื่องเขื่อนในประเทศอิหร่านกับพระองค์ เมื่อพระเจ้าชาห์เสด็จฯเยือนประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงอยากให้พวกเรา กฟผ. แสดงให้ต่างชาติเห็นว่าพวกเราก็มีดี ก็ทรงให้ กฟผ.สร้างที่ประทับที่เขื่อน และให้เราต้อนรับพระเจ้าชาห์ โดยพระองค์ไม่ได้เสด็จฯด้วย พระองค์ทรงวางพระทัยพวก กฟผ. ทรงภูมิพระทัยว่าประเทศไทยมีเขื่อนขนาดใหญ่เช่นกัน กฟผ. ก็สนองพระราชประสงค์ได้อย่างสมบูรณ์ พระเจ้าชาห์ทรงคล้ายกับพระเจ้าอยู่หัวคือ ทรงสนพระทัยเรื่องเขื่อน เรื่องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กฟผ.ถวายรายงานว่าเขื่อนภูมิพลสูงเท่าไหร่ ความจุเท่าไหร่ ตอนแรกพระเจ้าชาห์ทรงมีทีท่าทางว่ามีขนาดใหญ่ แต่พอทรงประทับเรือลงไปในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพลก็ทรงเชื่อ ทรงตรัสว่า 'นี่มันไม่ใช่อ่าง นี่มันทะเล' ....
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวยังทรงสนพระทัยเรื่องเขื่อนภูมิพลเสมอ เคยรับสั่งด้วยความเป็นห่วงว่า 'วันหนึ่งถ้าตะกอนจะเต็มแล้วจะทำอย่างไร' กฟผ.ก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน แม้ตามหลักวิชาการแล้วไม่น่าจะเต็ม ตรัสว่า 'ถ้าไม่คิดไว้ก่อน บอกว่ายังไม่ถึงเวลาคิด ถ้าถึงเวลาแล้วจะคิดออกไหม' เมื่อกราบบังคมทูลไปว่าคิดออก พระองค์ท่านก็ตรัสว่า 'ถ้าคิดออกให้เขียนไว้ในกกระดาษแล้วเอาไปใส่ในไหไปฝังไว้เป็นลายแทง เผื่อว่าอีก ๔๐๐ ปีจะมีใครมาขุดเอาไปใช้ เพราะว่าเขื่อนมันเต็ม' ซึ่งในความเป็นจริง คำว่าเต็มนี้ไม่ได้หมายถึงต้องเต็มตัวเขื่อน แค่เต็มที่ระยะ ๒๓๐ เมตร ในระดับ ELEVATION เป็นระดับปากท่อที่จะปล่อยน้ำลงปั่นเครื่องปั่นไฟ ซึ่งน้ำก็จะไม่เข้าท่อแล้ว เพราะฉะนั้นอายุของเขื่อนก็จะหมดตรงนั้น กฟผ. จึงได้ไปทำการวิจัยว่าตะกอนที่ตกมาแล้ว ตกตรงไหนบ้าง ปรากฏว่าว่ามันยังตกมาไม่ถึงตัวเขื่อน ก็ไปกราบทูลให้ทรงทราบ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นห่วงอยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าทำเสร็จแล้วก็ปล่อยไป"
หลักในการจัดทำโครงการพัฒนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงคำนึงถึงประโยชน์สุขของราษฎรเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นเพียงคนกลุ่มเล็กๆ หรือมีจำนวนน้อยแค่ไหน
เช่น เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯไปเปิดเขื่อนจุฬาภรณ์ ซึ่งก็เป็นที่ประหลาดว่า ไม่ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้อง ถ้าพระองค์เสด็จฯมาถึง ฟ้าจะเปิดทุกที คืนนั้นหลังจากทรงเปิดเขื่อนแล้วได้ทรงประทับแรมที่เขื่อนด้วยทรงมีรับสั่งว่า หมู่บ้านใต้เขื่อนจุฬาภรณ์ไม่มีน้ำ ให้ กฟผ. ไปดูว่าสามารถช่วยอะไรชาวบ้านได้บ้าง ซึ่งที่มาที่ไปดังกล่าวพลอากาศตรี กำธนกล่าวว่า "ในการสร้างเขื่อนจุฬาภรณ์นั้น ชาวบ้านหลายคนเชื่อว่า กฟผ. เก็บน้ำของชาวบ้านเอาไว้ ทั้งที่จริงๆ แล้วเขื่อนเก็บน้ำส่วนเกินในหน้าฝน พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ไปสร้างเขื่อนอีกแห่งเพื่อให้ชาวบ้านมีน้ำไว้ใช้ กฟผ. รับสนองพระราชประสงค์ โดยสร้างเขื่อน 'ห้วยกุ่ม' สร้างเสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวก็เสด็จฯ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเปิด ผู้ว่าการ กฟผ. ในเวลานั้นกราบบังคมทูลว่า...เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่เสด็จฯมาเปิดเขื่อนเล็กๆ พระองค์ท่านเหลียวกลับมาบอกว่า... 'นี่เขื่อนใหญ่ที่สุดของฉันแล้ว' ... เหล่านี้ล้วนเป็นพระราชอัจฉริยะภาพของพระองค์ จะเห็นได้ว่าทรงรู้เรื่องเขื่อนดีมาก จึงทรงแนะนำได้ว่าที่โน่นควรทำ ที่นี่ไม่ควรทำ...
ย้อนกลับมาเรื่องเมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จฯเยี่ยมการก่อสร้างเขื่อนจุฬาภรณ์นั้น เจ้าหน้าที่ กฟผ.ได้กราบบังคมทูลว่า มีสะพานแห่งหนึ่งเหนือเขื่อน ตรงบริเวณทางข้างสันเขื่อนจะพังทุกปีเพราะน้ำไหลลง พระองค์ท่านทรงดูแผนที่แล้วรับสั่งว่า 'ทำไมไม่ผันน้ำให้ลงอ่างเสีย' เพราะเหตุว่าเขื่อนจุฬาภรณ์อยู่ในที่สูง น้ำ ๑ ลูกบาศก์เมตร ผลิตไฟฟ้าได้ ๑ กิโลวัตต์ กฟผ. ก็รับสนองแนวพระราชดำริมาทำฝายตอนบนสูง ๑๔ เมตร ดูเหมือนจะใช้ชื่อว่าฝายพรมธารา ผันน้ำไม่ให้ลงมาทางเก่าที่ทำให้สะพานพังด้วยการเจาะอุโมงค์แล้วอาบน้ำนั้นลงอ่างของเขื่อนจุฬาภรณ์ ที่น่าชื่นใจก็คือ ในขณะที่ทำการก่อสร้าง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ซึ่งเสด็จมาประทับที่เขื่อนจุฬาภรณ์ ได้เสด็จลอดอุโมงค์นั้นด้วย ซึ่งนับเป็นสิริมงคลมาก ในที่สุดก็ผันน้ำลงอ่างได้ สะพานก็ไม่พัง น้ำที่ผันได้นั้นเข้าใจปีหนึ่งมีปริมาณสองล้านลูกบาศก์เมตร ได้ไฟฟ้าอีกสองล้าน ยูนิต ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งสองทางคือ เขื่อนไม่พัง แล้วยังได้น้ำไปเติมในอ่างอีกด้วย นับเป็นการพิสูจน์ถึงพระราชอัจฉริยภาพและพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของพระองค์....
ในยุคที่มีการต่อสู้กับเรื่องคอมมิวนิสต์ เขื่องบางเขื่อนสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในด้านความปลอดภัยเช่นที่ช่องกล่ำอำเภอวัฒนานคร ปัจจุบัน คือจังหวัดสระแก้ว เดิมเป็นพื้นที่สีชมพู พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกให้ กฟผ.ไปศึกษาว่ามีลำน้ำ ๓ แห่ง จะทำอะไรได้บ้าง จากนั้นได้ทรงรับสั่งให้สร้างเขื่อนขนาด ๒๔ กิโลวัตต์ เพื่อช่วย เหลือเกษตรกร ให้มีน้ำใช้ในตอนกลางวัน ส่วนไฟฟ้าผลิตในตอนกลางคืน กฟผ. ต้องไปหาอุบายด้วยการปล่อยน้ำผลิตไฟฟ้าในตอนกลางคืน แล้วให้เกษตรกรไปทำที่ดักน้ำให้ผันไปในพื้นที่เกษตร กลางวันเมื่อเกษตรกรมาทำงานก็มีน้ำรออยู่แล้วพระองค์ท่านทรงละเอียดมาก และที่เขื่อนนี้ กฟผ.ได้พัฒนาทดลองผลิตไฟฟ้าแสงแดดเป็นแห่งแรกด้วย จะเห็นได้ว่าพระองค์ท่านจะทรงคิดถึงเรื่องไฟฟ้าด้วย ไม่ใช่เรื่องนำมาใช้เพียงอย่างเดียว....
อีกเรื่องคือเขื่อนแม่งัด จังหวัดเชียงใหม่ กรมชลประทานสร้างเขื่อนใหม่ขนาดใหญ่ขึ้นมาแทนที่เขื่อนเก่า พระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯไปเยี่ยมและมีรับสั่งว่า ถ้าเขื่อนใหญ่โตอย่างนี้ กฟผ. จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้หรือไม่ นี่จะเป็นโครงการแรกที่ กฟผ. ได้ร่วมงานกับกรมชลประทานคือ กรมชลประทานสร้างเขื่อน กฟผ. ติดเครื่องปั่นไฟฟ้าให้ ดูเหมือนว่าได้ปริมาณไฟฟ้าหลายเมกะวัตต์ แล้วพระองค์ท่านก็เสด็จฯ ไปเปิดให้ทั้งที่เดิมทีกรมชลประทานกับ กฟผ. ไม่เคยคิดจะทำร่วมกันมาก่อน แต่พอทรงรับสั่ง ทุกคนก็มาช่วยกัน...
เขื่อนอีกแห่งที่สร้างในยุคที่มีการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์คือ 'เขื่อนบางลาง' ที่จังหวัดยะลา เดิมทีภาคอื่นมีโรงไฟฟ้าหมดแล้ว แต่ภาคใต้ยังไม่มีโรงไฟฟ้า กฟผ. จึงเริ่มเข้าไปดำเนินการ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปเยี่ยมทั้งหมด ๓ ครั้ง และรับสั่งว่า 'ถ้าจะแก้ปัญหาให้ได้ ต้องเข้าถึงปัญหา' ในครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ กฟผ. หลายคนถูกคอมมิวนิสต์จับไป ถึงแม้จะมีหน่วยทหารไปอารักขาก็ตาม เพราะคอมมิวนิสต์คิดว่า กฟผ. ตัดถนนไปปราบเขา เราจึงต้องติดต่อกับผู้ก่อการร้ายด้วยการส่งจดหมายอธิบายว่า กฟผ.มาทำอะไร และด้วยพระบารมี ทางผู้ก่อการร้ายก็ตกลงยอม และยังไปชี้จุดที่มีกับระเบิดให้ด้วย ทาง กฟผ. ก็ไปเก็บระเบิดมาได้มา ๓ เข่ง คล้ายๆ กับว่ามีการหย่าทัพกันเฉพาะพื้นที่ตรงนี้....
และนอกจากนี้ ตอนที่สร้างเขื่อนดังกล่าว มีการย้ายราษฎรจากหมู่บ้านสองแห่งที่น้ำจะท่วม กฟผ. ได้ไปหาแหล่งน้ำเพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้ ปรากฏว่าน้ำตรงหมู่บ้านนั้นสูงมาก น้ำไหลแรง พระเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานพระราชดำริว่าทำไมไม่ทำไฟฟ้าเสียเลย กฟผ. ต้องขุดเป็นอุโมงค์คนลอดเข้าไปเอาโอ่ง ใส่กระดานเลื่อนไปขุดดินออกมา ทำท่อ ๑,๒๐๐ เมตรลงไปข้างล่างซึ่งเป็นถ้ำ เรียกว่าโรงไฟฟ้าใต้ดินบ้านสันติ โรงไฟฟ้าที่นี่เดินเครื่องอัตโนมัติตามเขื่อนบางลาง"
เรื่องราวในความทรงจำของอดีตท่านผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยทั้งสองท่านแสดงให้เห็นถึงพระราชอัจฉริยภาพ สายพระเนตรอันยาวไกล และพระวิสัยทัศน์รอบด้านเกี่ยวกับการใช้พลังงานน้ำ ซึ่งทรงคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ผู้ใช้ไฟฟ้า หรือผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ล้วนอยู่ในสายพระเนตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริง
ที่มา : พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย
พลังงานทดแทนพลังแห่งสายพระเนตร
พลังงานทดแทน...พลังแห่งสายพระเนตร
เชื้อเพลิงอัดแท่ง (แกลบอัดแท่ง)
ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้นำแกลบที่ได้จากการสีข้าวของ โรงสีข้าวตัวอย่างจากสวนจิตรลดา มาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดิน และนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงแท่ง จึงมีการจัดสร้างโรงบดแกลบขึ้นภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
การดำเนินงานในขั้นแรกเป็นการนำแกลบผสมปูนมาร์ลและปุ๋ยเคมี เพื่อใช้ในการปรับปรุงดิน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๓ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาจัดซื้อเครื่องอัดแกลบให้เป็นแท่ง เพื่อนใช้แทนเชื้อเพลิงชนิดอื่น รวมทั้งจำหน่ายแก่บุคคลภายนอก
โครงการแกลบอัดแท่งยังคงมีการทดลองและพัฒนาขั้นตอนการผลิตตามพระราชดำริ อยู่ตลอดเวลา อย่างเช่นในปี พ.ศ.๒๕๒๘ มีพระราชดำริให้ทดลองอัดแกลบผสมผักตบชวา เพื่อทดลองนำผักตบชวาที่เป็นวัชพืชตามแหล่งน้ำมาทำเป็นเชื้อเพลิงแท่ง
ปี พ.ศ.๒๕๒๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานคำแนะนำให้ติดตั้งเตากำเนิดความร้อนแทนขดลวดความร้อนที่เครื่องอัด แกลบ เพื่อนเป็นการประหยัดกระแสไฟฟ้า
หลังจากนั้น เนื่องจากแกลบที่อัดแล้วไม่สามารถรักษาสภาพให้เป็นแท่ง เมื่อถูกน้ำหรือน้ำฝนจะแปรสภาพเป็นแกลบเหมือนเดิม จึงนำแกลบที่อัดแล้วไปเผาให้เป็นถ่าน ซึ่งช่วยให้สะดวกขึ้น เพราะไม่มีควันและได้ความร้อนสูงกว่าแกลบอัดแท่งที่ไม่ได้เผาเป็นถ่าน แกลบอัดแท่ง และถ่านที่ผลิตได้ นำไปจำหน่ายให้กับโครงการอื่น ๆ ภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เช่น ในระยะแรกของโรงงานแอลกอฮอล์ก็ใช้แกลบอัดแท่งเป็นเชื้อเพลิงเช่นกันนอกจาก นั้นยังจำหน่ายแก่บุคคลภายนอก รวมทั้งเคยส่งไปให้ผู้อพยพในค่ายผู้ประสบภัยของสหประชาชาติด้วย
จากการที่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาจัดตั้งโรงสีข้าวตัวอย่างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๔ และต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้นำแกลบที่ได้จากการสี ข้าวไปผลิตแกลบอัดแท่ง เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิง แต่ยังมีแกลบเหลือเป็นจำนวนมาก
ในปี พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๘ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ศึกษาและพัฒนานำแกลบที่มีคุณสมบัติเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลมาทำประโยชน์ในภาพ พลังงานความร้อนและนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับเครื่องทำความเย็นแบบดูด ซึมชนิดใช้น้ำร้อน (Hot Water Fired Absorption Chiller) ผลิตน้ำเย็นสำหรับอาคารควบคุมสภาวะแวดล้อมเพื่อการเพาะเห็ดเขตหนาว และใช้กับเครื่องปรับอากาศให้กับอาคารวิจัยเห็ด อาคารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งศาลามหามงคลภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อเป็นโครงการตัวอย่างให้แก่ผู้ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
ระบบผลิตน้ำเย็นโดยใช้พลังงานความร้อนจากแกลบ
ระบบผลิตน้ำเย็นโดยใช้พลังงานความร้อนจากแกลบที่มีในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มีขั้นตอนดังนี้
1. เตาเผาแกลบแบบไซโคลนคู่ (Double Cyclonic Furnace)
เตาเผาแกลบนี้ทำหน้าที่เปลี่ยนเชื้อเพลิงชีวมวลให้เป็นพลังงานความร้อน ด้วยการเผาแกลบเพื่อให้ได้ก๊าซความร้อน ด้วยการเผาแกลบเพื่อให้ได้ก๊าซความร้อน โดยอาศัยการหมุนของกระแสอากาศและแกลบภายในเตาที่ออกแบบให้มีลักษณะเป็น ไซโคลน ประกอบด้วย ห้องเผาไหม้ ๒ ห้อง คือ ห้องเผาไหม้หลัก ทำหน้าที่เผาแกลบในช่วงแรก และห้องเผาไหม้รอง ทำหน้าที่เผาก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์จากห้องเผาไหม้หลักซึ่ง เป็นก๊าซพิษ ดังนั้นจึงทำให้ได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซร้อนอุณหภูมิประมาณ ๓๐๐ องศาเซลเซียสที่ปราศจากกลิ่นและควัน เป็นแหล่งความร้อนให้กับเครื่องกำเนิดน้ำร้อน (Hot Water Generator)
2. เครื่องกำเนิดน้ำร้อน (Hot Water Generator)
เป็นอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนจากก๊าซร้อนให้กับน้ำที่ต้องการเพิ่ม อุณหภูมิเป็นน้ำร้อน สำหรับเป็นแหล่งพลังงานของเครื่องทำน้ำเย็นแบบดูดซึม โดยน้ำหมุนเวียนรับความร้อนจากก๊าซร้อนจากก๊าซร้อนนำไปถ่ายเทให้กับเครื่อง ทำน้ำเย็นแบบดูดซึม
3. เครื่องทำน้ำเย็นแบบดูดซึม (Vapors Absorption Chiller)
เป็นเครื่องทำน้ำเย็นที่อาศัยวัฏจักรทำงานแบบดูดซึมทำหน้าที่ผลิตน้ำเย็น อุณหภูมิ ๗ องศาเซลเซียส สำหรับจ่ายให้อาคารควบคุมสภาวะแวดล้อม อาคารสำนักงานและศาลามหามงคล ระบบทำน้ำเย็นแบบนี้ นอกจากจะประหยัดพลังงานแล้ว ยังเป็นระบบที่เงียบ การบำรุงรักษาน้อย และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
พลังงานแสงอาทิตย์
ภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริโครงการหลวง ฯลฯ มีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้หลากหลายรูปแบบ โดยพิจารณา ถึงความเหมาะสมกับการใช้งานเป็นสำคัญ และเป็นการพัฒนาคิดค้นเทคโนโลยีที่สามารถผลิตเองได้ภายในประเทศ ซึ่งนอกจากเป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการดำเนินการภายในโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นตัวอย่างและแหล่งความรู้แก่ประชาชนที่สนใจนำพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ ประโยชน์ภายในครัวเรือนหรือกระกอบธุรกิจของตนเองอีกด้วย
พลังงานแสงอาทิตย์ที่นำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนแบ่งออกเป็นสองรูปแบบ คือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตความร้อนและการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้า
1. การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตความร้อน
การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตน้ำร้อน แบ่งออกเป็น
- การผลิตน้ำร้อนชนิดไหลเวียนตามธรรมชาติ เป็นการผลิตน้ำร้อนชนิดที่มีถังเก็บอยู่สูงกว่าแผงรับแสงอาทิตย์ใช้หลักการ หมุนเวียนตามธรรมชาติ
- การผลิตน้ำร้อนชนิดใช้ปั๊มน้ำหมุนเวียน เหมาะสำหรับการใช้ผลิตน้ำร้อนจำนวนมาก และมีการใช้อย่างต่อเนื่อง
- การผลิตน้ำร้อนชนิดผสมผสาน เป็นการนำเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์มาผสมผสานกับความร้อนเหลือ ทิ้งจากการระบายความร้อนของเครื่องทำความเย็น หรือเครื่องปรับอากาศ โดยผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน
การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในระบบอบแห้ง แบ่งเป็น
- - การอบแห้งระบบ Passive เป็นระบบที่เครื่องอบแห้งทำงานโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และกระแสลมที่พัดผ่าน
- - การอบแห้งระบบ Active เป็นระบบอบแห้งที่มีเครื่องช่วยให้อากาศไหลเวียนในทิศทางที่ต้องการ เช่น มีพัดลมติดตั้งในระบบเพื่อบังคับให้มีการไหลของอากาศผ่านระบบ
- - การอบแห้งระบบ Hybrid เป็นระบบอบแห้งที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และยังต้องอาศัยพลังงานในภาพแบบอื่น ๆ ช่วยในเวลาที่มีแสงอาทิตย์ไม่สม่ำเสมอ หรือต้องการให้ผลิตผลทางการเกษตรแห้งเร็วขึ้น
2. การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า - แบ่งออกเป็น ๓ ระบบ คือ
- เซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Stand Alone System) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีระบบ สายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแบบอิสระ
- เซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย (PV Grid connected System) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับผลิตไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้า กระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าโดยตรง ใช้ผลิตไฟฟ้าในเขตเมือง หรือพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิดต่อกับระบบจำหน่าย ไฟฟ้า
- เซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid System) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอื่น ๆ เช่น ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลมและเครื่องยนต์ดีเซล ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลมและไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นต้น
โดยภาพระบบจะขึ้นอยู่กับการออกแบบตามวัตถุประสงค์โครงการเป็นกรณีเฉพาะ หน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงพลังงานสนองแนวพระราชดำริด้วยการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ผลิตกระแสไฟฟ้าในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในภูมิภาคต่าง ๆ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ โครงการฟาร์มตัวอย่างบ้านพุระกำ จังหวัดราชบุรี โครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนจิตรลดา เป็นต้น
พลังงานลม
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดามีการใช้พลังงานลมมานานกว่ายี่สิบปี โดยใช้ในการวิดน้ำเพื่อถ่ายเทน้ำของบ่อเลี้ยงปลานิล
คุณสิริพร ไศละสูต อดีตอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เล่าถึงการนำพลังงานลมมาใช้ตามแนวพระราชดำริว่า
"แนวพระราชดำริเรื่องการใช้พลังงานลมส่วนใหญ่เป็นเรื่องการสูบน้ำ อย่างเช่น ปราณบุรี มีภูเขาที่แห้งแล้ง เพราะคนตัดไม้ทำลายป่า พระองค์ท่านทรงมีพระราชดำริให้ปลูกป่าด้วยการใช้พลังงานลมมาใช้ในการสูบน้ำ ขึ้นไปบนภูเขา เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้น สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นไม้ กรมสนองพระราชดำริด้วยการนำกังหันลมไปติดไว้บนยอดเขา เมื่อกังหันหมุนก็จะทำให้เครื่องสูบน้ำทำงาน ดึงน้ำขึ้นไปให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน ต้นไม้ก็เจริญเติบโตได้คนที่ผ่านไปแถวนั้นจะเห็นกังหันเรียงกันอยู่
วันนี้กรมมีเสาวัดลมความเร็วสูงประมาณสี่สิบเมตร แต่มีโครงการที่สร้างกังหันลมพร้อมกับการวัดลมที่ความสูงประมาณเจ็ดสิบเมตร ถึงเก้าสิบเมตร เครื่องวัดลมนี้จะช่วยในการหาข้อมูลเกี่ยวกับความเร็วลมด้วย"
การพัฒนาพลังงานลมเริ่มต้นขึ้นแล้วในประเทศไทย โดยมีแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแนวทางให้ผู้ปฏิบัติ งานนำไปศึกษาพัฒนาและสามารถนำมาใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและ ทรัพยากรของประเทศไทย
เทคโนโลยีกังหันลม
กังหันลมเป็นเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง ที่สามารถรับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกลจาก นั้นนำพลังงานกลมาใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น การบดสีเมล็ดพืชในสมัยโบราณ การชักน้ำ การสูบน้ำ หรือผลิตพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน
กังหันลมสามารถแบ่งออกตามลักษณะการจัดวางแกนของใบพัดได้ ๒ แบบ คือ
- กังหันลมแถบหมุนแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Turbine) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนและใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ
- กังหันลมแถบหมุนแนวแกนนอน (Horizontal Axis Turbine) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ โดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม
กังหันลมนำมาผลิตพลังงานได้ใน ๒ รูปแบบ คือ
- กังหันลมเพื่อสูบน้ำ (Wind Turbine for Pumping) เป็นกังหันที่ รับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมและเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกลเพื่อใช้ใน การชักหรือสูบน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูง เพื่อใช้ในการทำนาเกลือ การเกษตร การอุปโภคและการบริโภค ปัจจุบันมีใช้อยู่ด้วยกัน ๒ แบบ คือ แบบระหัดและแบบสูบชัก
- กังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้า (Wind Turbine for Electric) เป็นกังหันที่รับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมและเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน กล จากนั้นนำพลังงานกลมาหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันมีการนำมาใช้งานทั้งกังหันลมขนาดเล็ก (Small wind Turbine) และกังหันลมขนาดใหญ่ (Large Wind Turbine)
การนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส
การนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส
ความเป็นมาและการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2516 และในการเสด็จเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร ทำให้พระองค์ทรงทราบว่าพื้นที่จำนวนมากของจังหวัดนราธิวาสมีสภาพเป็นพรุ ยากต่อการนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เนื่องจากดินมีสารไพไรต์อยู่ในปริมาณสูง เมื่อดินแห้งลง อากาศแทรกลงไปทำปฏิกิริยากับสารไพไรต์ ทำให้เกิดกรดกำมะถัน ดินจะแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ หรือบางแห่งให้ผลผลิตต่ำมาก ไม่พอต่อการบริโภค พื้นที่หลายหมื่นไร่ถูกทิ้งร้าง ราษฎรประสบความยากลำบากในการทำมาหากิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์กลางขึ้นมา โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการ ศึกษาวิจัย พัฒนาพื้นที่พรุแบบผสมผสาน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2525 ดำเนินงานตามแนวทางที่ได้รับพระราชทานพระราชดำริ ดังนี้
การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อพัฒนาดินในพื้นที่พรุให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและด้านอื่นๆ เช่น โครงการแกล้มดิน รูปแบบการจัดการและปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ การปลูกพืชแซมในสวนยาง การเลี้ยงปลาในพื้นที่ดินเปรี้ยว การเลี้ยงสัตว์ในสภาพพรุ การปลูกพืชทดแทน เพื่อฟื้นฟูป่าพรุ เป็นต้น
การพัฒนาแบบผสมผสาน ผลสำเร็จที่ได้จากการวิจัยภายในศูนย์ฯ นำไปขยายผลในพื้นที่ของเกษตรกรในลักษณะของการพัฒนาแบบผสมผสาน ให้ความรู้ทั้งด้านวิชาการ การดำเนินงาน การบริหาร โดยมุ่งเน้นให้ราษฎรพึ่งตนเองได้ เช่น การพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดบ้านโคกอิฐโคกใน บ้านยูโย บ้านตอหลัง การปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่พรุบาเจาะ
การประสานงานระหว่างส่วนราชการ เป็นการประสานงาน ประสานแผนระหว่างกรม กอง และส่วนราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน มีผลงานออกมาในลักษณะบูรณาการที่ร่วมดำเนินงานมี 29 หน่วยงาน ทั้งด้านวิชาการ ด้านการพัฒนา และด้านสาธารณูปโภค
เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ จำทำให้เป็นศูนย์รวมของการศึกษา ทดลอง และสาธิตผลงานที่ได้รับผลสำเร็จในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ที่ผู้สนใจเข้ามาศึกษา ดูงาน และอบรม สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพได้ นอกจากนี้ยังจัดพื้นที่สวยงามให้เป็นแหล่งที่ให้ทั้งความรู้และเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ เช่น สวนครองราชย์ 50 ปี สวน 72 พรรษา การเกษตรทฤษฎีใหม่
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดำเนินการทั้งพื้นที่ในศูนย์ พื้นที่ต่างๆ ที่มีปัญหาในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
1. พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เนื้อที่ 1,740 ไร่ เป็นพื้นที่ศึกษา ทดลอง และสาธิต จัดเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ
2. พื้นที่พรุโต๊ะแดง เนื้อที่ 261,860 ไร่ เป็นเขตพื้นที่พัฒนาเพื่อการเกษตร เขตอนุรักษ์ไว้เพื่อฟื้นฟูป่าพรุให้กลับคืนสู่สภาพป่าพรุดังเดิม และป่าพรุสมบูรณ์ที่ต้องรักษาไว้อย่างเข้มงวด
3. พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ ทั้งหมด 11 หมู่บ้าน มีเนื้อที่ 23,068 ไร่ พัฒนาและส่งเสริมด้านการเกษตรและสาธารณูปโภคต่างๆ ให้ราษฎรพึ่งตนเองได้
4. ศูนย์สาขา 4 แห่ง ได้แก่ โครงการสวนยางเขาตันหยง โครงการพัฒนาหมู่บ้านปีแนมูดอ โครงการหมู่บ้านปศุสัตว์-เกษตรมูโนะ และโครงการพัฒนาพื้นที่บ้านโคกอิฐ โคกใน และบ้านยูโย โดยจัดการพื้นที่ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. พื้นที่ที่มีพระราชดำริให้ดำเนินการ เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาและราษฎรมีความต้องการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเป็นผู้พิจารณาหาแนวทางและความเป็นไปได้ในการพัฒนา จากนั้นจึงทรงมีพระราชดำริให้โครงการฯ เข้าไปดำเนินการ
กิจกรรมหลักภายในศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
แผนงานวิจัย อาทิ การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยเกี่ยวกับการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เกษตรอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่พรุและให้ผลตอบแทนสูงสุด โครงการ "แกล้งดิน" โครงการวิจัยและแนะนำข้าวพันธุ์ "ลูกแดงปัตตานี" เพื่อปลูกในดินเค็มและดินเปรี้ยว การคัดเลือกพันธุ์ไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าพรุเสื่อมโทรม เป็นต้น
แผนงานถ่ายทอดเทคโนโลยีและการฝึกอบรม เพื่อเป็นศูนย์กลางสาธิตและเผยแพร่ความรู้ทางด้านการเกษตรและอื่นๆ รวมทั้งฝึกอบรมพัฒนาอาชีพทางด้านเกษตรและศิลปหัตถกรรม
แผนงานพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้น
แผนงานพัฒนาสังคมและชุมชน เพื่อให้องค์กรประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ ศูนย์สาขา และในพื้นที่พรุ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมให้มีความรู้ด้านการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันมากขึ้น พร้อมกับพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยให้ดีขึ้น
แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ แหล่งน้ำ ประปา ไฟฟ้า ถนน เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ และศูนย์สาขา
แผนงานพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ด้วยการสำรวจแบ่งเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุตามสภาพการใช้ที่ดินและจัดทำแนวเขตป่าพรุที่ชัดเจน ทำการฟื้นฟูสภาพป่าพรุเสื่อมโทรมหามาตรการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ไฟไหม้ป่าพรุ ตลอดจนฝึกอบรมและจัดตั้งกลุ่มองค์กร เอกชนเพื่อช่วยในการอนุรักษ์ป่าพรุ นอกจากนี้ยังได้จัดตั้ง "ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร" ให้เป็นศูนย์กลางการวิจัยป่าพรุ เป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาธรรมชาติ ที่ให้ความรู้แก่ประชาชนและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าพรุของประเทศ
แผนงานบริหาร ติดตามประเมินผลและประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จของการพัฒนาไปสู่ประชาชนในวงกว้าง
งานสนองพระราชดำริ ได้แก่โครงการพัฒนาพื้นที่บ้านยูโยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวบ้านตอหลังและโครงการศึกษาอิทธิพลของหญ้าแฝกที่ปลูกในชุดดินบ้านทอน
ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อปรับสภาพน้ำเปรี้ยว โดยกรมโยธาธิการ (สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)
เทคโนโลยีเดิมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ใช้การสูบน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำเปรี้ยวให้เป็นน้ำจืดเป็นระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์ และเครื่องสูบน้ำขนาด 3 แรงม้า สูบน้ำจากแหล่งน้ำขึ้นถังผสมหินปูน ความสูงประมาณ 15 เมตร จากนั้นจึงปล่อยน้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วเข้าสู่แปลงเกษตรต่อไปแต่ระบบดังกล่างมีข้อจำกัดเพราะสามารถใช้ได้เฉพาะในพื้นที่ที่มีไฟฟ้าเข้าถึง จึงทำให้ไม่สามารถขยายผลของเทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพน้ำไปสู่พื้นที่พรุที่ยังไม่มีระบบส่งไฟฟ้าได้
ชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โดยบริษัท สยามโซลาร์ แอนด์ อีเลคทรอนิคส์ จำกัด
โครงการฯ ได้นำชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้งภายในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ โดยประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 10 วัตต์ จำนวน 1 แผง หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 6 วัตต์ จำนวน 1 ชุด แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ 4 แอมแปร์ชั่วโมง จำนวน 1 ลูก เซนเซอร์วัดความสว่าง 1 ชุด ชุดตั้งเวลาการทำงานของหลอดไฟกับพัดลม 1 ชุด พัดลมขนาด 2 นิ้ว 1 เครื่อง ชุดแสดงผลความจุแบตเตอรี่ 1 ชุด ถุงผ้าดักแมลง 1 ถุง และขาตั้งแบบเคลื่อนย้ายได้ 1 ชุด
ลักษณะการทำงานของระบบ เซลล์แสงอาทิตย์จะประจุกระแสไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่ในเวลากลางวัน เมื่อดวงอาทิตย์ตกดินเซนเซอร์วัดความสว่างจะสั่งให้หลอดไฟสว่างและพัดลมหมุนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นหลอดไฟและพัดลมจะหยุดทำงาน เพราะโดยปกติแมลงจะออกมาเล่นไฟประมาณ 2 ชั่วโมง ในขณะที่หลอดไฟสว่างและพัดลมหมุนนั้น หากมีแมลงบินเข้าใกล้ก็จะถูกดูดให้ตกลงไปในถุง แมลงที่ได้นี้สามารถนำไปใช้เลี้ยงปลาได้ หรืออาจติดตั้งชุดแสงไฟล่อแมลงไว้กลางบ่อเลี้ยงปลาเพื่อให้แมลงตกลงไปในบ่อปลาโดยตรงเลยก็ได้
ดังนั้น กรมโยธาธิการจึงได้ออกแบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อปรับสภาพน้ำเปรี้ยวให้เป็นน้ำจืด ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 1,480 วัตต์ เครื่องสูบน้ำมอเตอร์กระแสสลับ 1 เครื่อง เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า 1 เครื่อง ชุดควบคุม 1 ชุด และท่อส่งน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว ระยะทาง 50 เมตร 1 ชุด โดยเครื่องสูบน้ำจะทำงานด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ สูบน้ำเปรี้ยวที่มีสภาพเป็นกรดจากทางน้ำเปรี้ยว ผ่านท่อพีวีซี ขึ้นไปยังถังซึ่งบรรจุหินปูนคาร์บอเนต ความสูง 15 เมตร น้ำที่ไหลผ่านหินปูนจะมีค่า pH เพื่อขึ้น และเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำจืด แล้วจึงไหลผ่านท่อด้วยแรงโน้มถ่วงไปยังแปลงเกษตร
ระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์นี้นอกจากจะมีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเปรี้ยวแล้ว ในช่วงที่ไม่ได้ใช้กระแสไฟฟ้าสำหรับสูบน้ำ ยังใช้กระแสไฟฟ้ากับแสงสว่างได้ อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่สามารถขยายผลไปสู่พื้นที่พรุที่ยังไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้าเข้าถึงได้อีกด้วย
ปรับปรุงกังหันลมสูบน้ำ จำนวน 4 เครื่อง และติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดระบบบันทึกข้อมูล โดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (สนับสนุนโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)
สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้ติดตั้งระบบกังหันลมสูบน้ำที่ผลิตภายในประเทศ เพื่อเป็นการทดลองประสิทธิภาพและตรวจวัดศักยภาพจำนวน 4 ระบบ ขึ้นที่บ้านตอหลัง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส แต่ปัจจุบัน กังหันลมสูบน้ำมีสภาพชำรุดและไม่ได้ใช้งาน โครงการฯ จึงดำเนินการปรับปรุงระบบกังหันลมดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้เต็มที่
เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลของระบบสูบน้ำด้วยกังหันลมมีความทันสมัย ชัดเจน และต่อเนื่องตลอดเวลา โครงการฯ จึงได้ติดตั้งอุปกรณ์วัดอัตราการไหลของน้ำแบบใช้รังสีอินฟราเรดซึ่งไม่ต้องตัดท่อน้ำ และอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอัตโนมัติ ซึ่งจะบันทึกข้อมูลอัตราการสูบน้ำความเร็วลม และทิศทางลงในแผ่นบันทึกข้อมูลเพื่อความสะดวกในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เชื่อมต่อสายส่ง โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)
ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เชื่อมต่อสายส่งนี้ติดตั้งที่อาคารสำนักงาน ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 2,100 วัตต์ อุปกรณ์ควบคุม 1 ชุด เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า 1 ชุด และวัตต์มิเตอร์แสดงผลการผลิตไฟฟ้า 1 ชุด
ในเวลาที่มีแสงอาทิตย์ เซลล์แสงอาทิตย์จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงจากการออกแบบระบบจะให้ไฟฟ้ากระแสตรงขนาดแรงดัน 220-240 โวลต์ และกระแสไฟฟ้า 6-8 แอมแปร์ ไฟฟ้ากระแสตรงที่ผลิตได้จะไหลผ่านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าและถูกเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดัน 220 โวลต์ และมีคุณสมบัติเหมือนกับกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม ดังนั้นกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบนี้จึงสามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ทุกชนิด โดยในกรณีที่กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์มีมากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในขณะนั้น กระแสไฟฟ้าส่วนเกินจะถูกขายคืนเข้าในระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ ในทางกลับกันหากความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าในขณะนั้นมีมากกว่ากระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้กระแสไฟฟ้าส่วนที่ขาดก็จะถูกซื้อเสริมเข้ามาจากระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ ตามปกติ ซึ่งการทำงานของระบบได้รับการออกแบบให้เป็นการทำงานแบบอัตโนมัติดังนั้นจึงไม่ต้องมีการปิด-เปิดระบบแต่อย่างใดในแต่ละวัน
ผลจากการติดตั้งระบบ ทำให้ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ซื้อจากระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ ลดลงเท่ากับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งเท่ากับว่าจะสามารถช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงบรรพชีวิน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ในการผลิตกระแสไฟฟ้าลง อันจะส่งผลให้มลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงดังกล่าวลดลงได้อีกทางหนึ่ง
ขยายขอบเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ดำเนินโครงการขยายเขต ระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้โครงการพัฒนาพื้นที่บ้านยูโยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอตากใน จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีบ้านเรือนราษฎร 213 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 1,116 คน เพื่อสนับสนุนในการพัฒนาปรับปรุงดินเปรี้ยวให้สามารถทำการเกษตรได้ในพื้นที่ดูแลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยก่อสร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงดันสูง 1 เฟส 19 กิโลโวลต์ เป็นระยะทาง 4.4 กิโลเมตร และระบบจำหน่ายแรงดันต่ำเป็นระยะทาง 4.7 กิโลเมตร พร้อมติดตั้งหม้อแปลง ขนาด 30 กิโลโวลต์แอมแปร์ จำนวน 3 เครื่อง ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,299,836 บาท แบ่งเป็นงบประมาณจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 710,779 บาท และจากสำนักงาน กปร. 1,589,057 บาท
เครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด
เครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ประกอบด้วยแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ 1 ชุด ถังสกัดสารไส้กรอง ท่อน้ำเข้าถังและท่อน้ำเข้าแผง วาล์วเช็คระดับน้ำ ขารับแผงและถัง เป็นอุปกรณ์ที่นำพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์มาใช้ ประโยชน์ในการต้มสกัดสารชีวภาพ ซึ่งมีอยู่ในสมุนไพรบางชนิด เช่น ตะไคร้ หอม สะเดา ข่า และอื่นๆ โดยการทำงานจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงรับแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนจะถูกดูดซับและส่งถ่ายความร้อนให้กับน้ำที่อยู่ในระบบ ทำให้น้ำร้อนและลอยตัวขึ้นที่สูงแล้วไหลไปตามท่อหุ้มฉนวนเข้าสู่ถังสกัดสารกำจัดศัตรูพืชหรือหม้อต้มซึ่งใส่สมุนไพรไว้ ขณะเดียวกันน้ำส่วนล่างของหม้อต้มก็จะไหลไปตามท่อหุ้มฉนวนด้านตรงข้ามเข้าสู่แผงรับแสงอาทิตย์เพื่อรับพลังงานความร้อนจากแผงเป็นวัฏจักรเรียกว่า ระบบไหลเวียนตามธรรมชาติ น้ำในหม้อต้มจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงประมาณ 90 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาวันละ 6-8 ชั่วโมง ก็จะได้น้ำสารสกัดจากพืชสมุนไพร 75-100 ลิตรต่อวัน เมื่อปล่อยให้เย็นก็สามารถนำน้ำสารสกัดไปฉีดพ่นพืชผักผลไม้ได้ทันที เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่จะมาทำลาย
ชุดกรองน้ำดื่มระบบรีเวิร์สออสโมซิสทำงานด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชุดกรองน้ำดื่มระบบรีเวิร์สออสโมซิสเป็นเครื่องฟอกน้ำจืด น้ำกร่อย หรือ น้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดบริสุทธิ์ โดยมีหลักในการทำงาน คือ ใช้เยื่อเมมเบรน (membrane) ซึ่งเป็นเยื่อบางๆ คล้ายแผ่นกระดาษแต่มีเนื้อละเอียดถึง 0.0001 ไมครอน ทำให้โมเลกุลของสารละลายในน้ำไม่สามารถลอดผ่านไปได้ โดยเยื้อเมมเบรนจะทำงานควบคู่กับเครื่องสูบน้ำแรงดันสูงที่ทำหน้าที่ผลักดันน้ำดิบให้ผ่านเยื่อเมมเบรนเครื่องสูบน้ำดังกล่าวทำงานด้วยไฟฟ้าที่ผลิตจากเซลล์แสงอาทิตย์
ระบบที่นำมาติดตั้งนี้ประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 60 วัตต์ แบตเตอรี่ขนาด 624 วัตต์ต่อชั่วโมง ชุดควบคุม และเครื่องสูบน้ำแรงดันสูง โดยการทำงานจะเริ่มจากการเปิดวาล์วให้น้ำดิบเข้าสู่ระบบไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จะเดินเครื่องสูบน้ำให้ทำงานเพื่อเพิ่มความดันให้น้ำดิบ อัดน้ำผ่านส่วนไส้กรองคาร์บอนทั้งชนิดเม็ดและชนิดผง ส่วนเยื่อกรองเมมเบรน และส่วนไส้กรองคาร์บอนอันสุดท้ายจนได้เป็นน้ำบริสุทธิ์
ชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โดยบริษัท สยามโซลาร์ แอนด์ อีเลคทรอนิคส์ จำกัด
แต่เดิมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ยังไม่มีเครื่องล่อแมลงที่จะใช้กำจัดแมลงบางชนิดที่เป็นศูนย์พืช จึงได้นำชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้งภายในบริเวณศูนย์ฯ อุปกรณ์ชนิดนี้ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 10 วัตต์ จำนวน 1 แผง หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 6 วัตต์ จำนวน 1 ชุด แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ 4 แอมแปร์ชั่วโมง จำนวน 1 ลูก เซนเซอร์วัดความสว่าง 1 ชุด ชุดตั้งเวลาการทำงานของหลอดไฟกับพัดลม 1 ชุด พัดลมขนาด 2 นิ้ว 1 เครื่องชุดแสดงผลความจุแบตเตอรี่ 1 ชุด ถุงผ้าดักแมลง 1 ถุง และขาตั้งแบบเคลื่อนย้ายได้ 1 ชุด
เซลล์แสงอาทิตย์จะประจุกระแสไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่ในเวลากลางวัน เมื่อดวงอาทิตย์ตกดิน เซนเซอร์วัดความสว่างจะสั่งให้หลอดไฟสว่างและพัดลมหมุนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง เพราะโดยปกติแมลงจะออกมาเล่นไฟประมาณ 2 ชั่วโมง โดยในขณะที่หลอดไฟสว่างและพัดลมหมุนนั้น หากมีแมลงบินเข้าใกล้ก็จะถูกดูดให้ตกลงไปในถุง และแมลงที่ได้นี้สามารถนำไปใช้เลี้ยงปลาได้ นอกจากนี้ ชุดแสงไฟล่อแมลงยังสามารถติดตั้งไว้กลางบ่อเลี้ยงปลาเพื่อให้แมลงตกลงไปในบ่อปลาโดยตรงได้ด้วย
ระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร
ลักษณะบ่อผลิตก๊าซชีวภาพเป็นบ่อแบบโดมคงที่ขนาด 8 ลูกบาศก์เมตร โดยใช้วัตถุดิบที่ใช้ในการหมักเพื่อผลิตเป็นก๊าซชีวภาพนั้น ใช้มูลจากคอกโคนมสาธิตจำนวน 6 ตัว สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ประมาณวันละ 3-5 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งพอเพียงที่จะนำมาใช้เป็นพลังงานในการต้มนมแพะและโคนมที่ผลิตได้ภายในศูนย์ฯ ใช้เป็นพลังงานในการกกลูกไก่และลูกเป็ด ทำให้ประหยัดพลังงานก๊าซหุงต้มเดือนละ 2 ถัง (ขนาด 15 กิโลกรัม) ส่วนพลังงานที่เหลือทางศูนย์ฯ จะเดินท่อก๊าซไปบ้านพักคนงานบริเวณโดยรอบเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
เครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
1.ส่วนเซนเซอร์หรือไพรานอมิเตอร์ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคคอนขนาด 1 ตารางเซนติเมตร และขั้วของเซลล์และอาทิตย์
2.ส่วนอินติเกรตสัญญาณ ทำหน้าที่แสดงผลและอินติเกรตค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์เป็นพลังงาน
ประโยชน์ของเครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ คือสามารถวัดค่าพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งทำให้ทราบประสิทธิภาพการทำงานของระบบพลังงานทดแทนที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ในอนาคตได้
มุ้งแอร์สุขภาพรุ่นประหยัดพลังงาน โดยนายศฤงคาร รัตนางศุ (สมาคมการประดิษฐ์ไทย)
เมุ้งติดแอร์ ประกอบด้วยโครงเหล็กขนาดเล็กแบบถอดประกอยได้ มีหลังคาทรงโค้งคล้ายทรงโดมและมีทางเข้าออก โดยตัวมุ้งผลิตจากผ้าชนิดพิเศษและมีน้ำหนักเบาเป็นลักษณะ 2 ชั้น ชั้นนอกโปร่งและชั้นในทึบเพื่อเป็นฉนวนความร้อน โดยมีช่องแอร์สำหรับต่อเข้ากับเครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ขนาดเล็กที่มีระบบฟอกอากาศ ด้านหน้าพ่นลมเย็น ด้านหลังพ่นลมร้อนซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องทำความอุ่นให้กับมุ้งติดแอร์ได้ เครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ขนาดเล็กนี้สามารถนำมาใช้ทดแทนพัดลมซึ่งให้ลมเย็นกว่าพัดลมไอน้ำ และเนื่องจากเป็นเครื่องปรับอากาศเล็กจึงสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าน้อยมาก
ระบบเครื่องขยายเสียงพลังงานแสงอาทิตย์ โดยบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด
ระบบประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 6 วัตต์ 12 โวลต์ 0.3 แอมแปร์ จำนวน 1 แผง แบตเตอรี่แบบ sealed lead acid ขนาด 12 โวลต์ 0.7 แอมแปร์ จำนวน 1 ลูก และเครื่องขยายเสียง พร้อมไมโครโฟนแบบมีสายและแบบไร้สาย จำนวน 1 ชุด ชุดเครื่องขยายเสียงถูกดัดแปลงให้สามารถใช้ได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ มีขนาดกำลังขยาย 50 วัตต์ โดยสามารถใช้งานได้ทั้งไมโครโฟนแบบมีสายและแบบไร้สายซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าขนาด 0.5 แอมแปร์ และสามารถใช้งานติดต่อกันเป็นเวลา 3 ชั่วโมงต่อวัน เหมาะสำหรับการใช้งานในภาคสนามและเลือกใช้ตามความเหมาะสมได้อีกด้วย
คุณชัยวัฒน์ สิทธิบุศย์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ให้สัมภาษณ์ถึงสภาพการใช้งานและประโยชน์ที่ได้รับจากระบบพลังงานทดแทนที่โครงการฯ นำมาติดตั้งในพื้นที่ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
สภาพการใช้พลังงานที่มีอยู่เดิมภายในพื้นที่
คุณชัยวัฒน์ : "สำหรับการใช้พลังงานทดแทนที่ภาคใต้ถือว่ามีค่อนข้างน้อยกว่าที่อื่น อาจจะเป็นเพราะคนที่มียังไม่ค่อยกระตือรือร้น ไม่ค่อยสนใจ หรืออาจจะเป็นเพราะยังไม่มีข้อมูล ไม่มีความรู้ก็ได้ แต่สำหรับผมคิดว่าน่าสนใจและน่าจะนำมาใช้ เพราะอย่างพลังงานลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ ที่นี่ก็มีความเหมาะสมแต่ก็ยังมีการใช้น้อยมาก ส่วนพลังงานอีกอย่างหนึ่งที่น่าจะใช้มากสำหรับที่นี่ก็คือน้ำ เพราะที่นี่มีน้ำเยอะ มีน้ำเหลือเฟือเลย เราก็น่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับการนำน้ำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบอื่นด้วยเหมือนกัน
ผลที่ได้รับจากการนำพลังงานทดแทนมาใช้ภายในศูนย์ฯ
คุณชัยวัฒน์ : "สำหรับกังหันลม ผมพูดตรงๆ ว่ากังหันลมที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ค่อยได้ผลดีนัก เพราะว่าระบบมันจะใช้ได้ดีในช่วงแรกๆ แต่พอสักระยะหนึ่งมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานที่สั้น ถ้ามีการพัฒนาให้กังหันลมมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ก็น่าจะใช้ได้ดี หรืออย่างระบบบำบัดน้ำเปรี้ยวที่แต่เดิมเราใช้ไฟฟ้าก็มีการนำระบบเซลล์แสงอาทิตย์ใช้แทน แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่ตรงที่ต้องใช้คนไปเปิดปิดจึงไม่ค่อยสะดวก ซึ่งหากมีการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ในแบตเตอรี่และมีระบบเปิดปิดด้วยก็จะทำให้ไม่ต้องใช้คนมากเท่านี้
"ส่วนพลังงานก๊าซชีวภาพ สำหรับภาคใต้นี่ถือว่าเป็นพลังงานที่เหมาะสมและดีมากเลยทีเดียว เพราะข้อเท็จจริงแล้วในภาคใต้นี้ ครอบครัวเกษตรกรทุกครอบครัวมักจะต้องเลี้ยงวัว เลี้ยงสัตว์ เขาเลี้ยงวัวกันทุกบ้าน พลังงานก๊าซชีวภาพจึงเป็นระบบที่เข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่นี่เป็นอย่างดี"
ความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนำพลังงานทดแทนมาติดตั้งในศูนย์ฯ
คุณชัยวัฒน์ : "สำหรับการใช้พลังงานทดแทนที่ภาคใต้ถือว่ามีค่อนข้างน้อยกว่าที่อื่น อาจจะเป็นเพราะคนที่มียังไม่ค่อยกระตือรือร้น ไม่ค่อยสนใจ หรืออาจจะเป็นเพราะยังไม่มีข้อมูล ไม่มีความรู้ก็ได้ แต่สำหรับผมคิดว่าน่าสนใจและน่าจะนำมาใช้ เพราะอย่างพลังงานลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ ที่นี่ก็มีความเหมาะสมแต่ก็ยังมีการใช้น้อยมาก ส่วนพลังงานอีกอย่างหนึ่งที่น่าจะใช้มากสำหรับที่นี่ก็คือน้ำ เพราะที่นี่มีน้ำเยอะ มีน้ำเหลือเฟือเลย เราก็น่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับการนำน้ำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบอื่นด้วยเหมือนกัน
คุณชัยวัฒน์ : "การนำพลังงานทดแทนมาติดตั้งที่ศูนย์ฯ นี่ ผมว่าน่าจะได้ผลดีมาก เพราะว่าศูนย์ฯ ที่นี่มีคนมาเที่ยวมาดูมาก เมื่อมีคนมาดูงานและเห็นว่าเรามีการใช้พลังงานทดแทน ก็จะเป็นแรงผลักดันให้เขาอยากจะหาพลังงานทดแทนมาใช้บ้าง หรืออาจจะส่งผลให้เกิดความคิดที่จะช่วยกันประหยัดพลังงาน การติดตั้งระบบพลังงานทดแทนที่ศูนย์ฯ นอกจากจะเป็นตัวอย่างให้คนได้เห็นแล้ว ยังช่วยให้เกิดแนวคิดด้านการประหยัดพลังงานอีกด้วย
"ซึ่งผมว่าเราทุกคนน่าจะตระหนักถึงเรื่องการประหยัดพลังงานให้มากขึ้น แล้วก็น่าจะมีการศึกษาเพื่อหาหนทางพัฒนาพลังงานทดแทนใช้ให้ได้ประโยชน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน หรือก๊าซชีวภาพจะต้องมีการศึกษาหาวิธีการใช้ประโยชน์ต่อไป รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องพลังงานทดแทนแก่คนทั่วไปก็ควรจะทำด้วย เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและการประหยัดพลังงานของประเทศในอนาคต"
ที่มา : พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย
โครงการพัฒนาพลังงานทางเลือก : ทางออกของประเทศไทย
การพัฒนาพลังงานทางเลือก : ทางออกของประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ กระทรวงพลังงานร่วมกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้จัดเสวนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์สมบัติครบ ๖๐ ปี โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์แห่งราชบัณฑิตสถาน และดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวลกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นวิทยากร ในหัวข้อการพัฒนาพลังงานทางเลือก : ทางออกของประเทศไทย ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานโครงการในพระราชดำริอันเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาพลังงานทางเลือกมากมาย ในฐานะเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญและทำงานด้านพลังงาน ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ เล่าถึงความประทับใจโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า
" ผมอยากขอยกตัวอย่างโครงการในพระราชดำริ อาจไม่เกี่ยวกับพลังงานทดแทนโดยตรง แต่เป็นผลพลอยได้คือเรื่องเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก่อนมีเขื่อนกรุงเทพฯน้ำท่วมทุกปี เสียหายปีละเป็นพันล้าน เมื่อสร้างเขื่อนเสร็จ ปัญหาน้ำท่วมหายไปเลย เพราะฉะนั้นในแง่การป้องกันน้ำท่วมก็ได้ประโยชน์คุ้มค่าไม่รู้กี่เท่าตัว นอกจากนั้นชาวบ้านที่อยู่รอบๆ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์หลายๆ จังหวัดอาศัยน้ำท่วมในการทำเกษตรกรรม สมัยก่อนไม่เห็นไร่องุ่นแถวๆ นั้น มาตอนนี้เต็มไปหมดเลย และล่าสุดก็เพิ่งติดตั้งกังหันน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้า เท่ากับเป็นผลพลอยได้จากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนป่าสักฯเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สร้างโดยไม่มีปัญหา ผมเข้าใจว่าท่านที่ดูแลโครงการนี้มาตั้งแต่ต้นคือ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ท่านใช้เวลา 2 ปี อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจก่อนจึงเข้าไปทำเขื่อนเขื่อนนี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ประโยชน์ในลักษณะหลายวัตถุประสงค์" ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เล่าถึงความประทับใจในโครงการพระราชดำริเช่นกันว่า
"ถ้าใครมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชมโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา โดยเฉพาะโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เราจะได้เห็นพระปรีชาสามารถของพระเจ้าอยู่หัวมาก พระองค์ท่านทรงมีสายพระเนตรยาวไกลมากในเรื่องปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องพลังงาน เพราะฉะนั้นพระเจ้าอยู่หัวของเราทรงมีโครงการหลายๆโครงการที่สวนจิตรลดา โครงการสำคัญที่เราคุยกันมากก็คงเป็นโครงการผลิตเอทานอล ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวทรงทำมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ อย่างที่อาจารย์ปรีดาพูดว่าสมัยก่อนผลิตขึ้นมาแล้วเอาไปทดแทนน้ำมัน ดูเหมือนว่าไม่ค่อยคุ้ม เพราะเอทานอลราคาแพง เมื่อเทียบกับราคาน้ำมัน เพราะว่าเมื่อก่อนเราใส่ตะกั่วลงในน้ำมัน ต่อมาเรายกเลิกไม่ใส่ตะกั่ว ไปใส่ MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) ซึ่งต้องไปซื้อจากเมืองนอก พอมาเทียบราคากับเอทานอลซึ่งใส่แทน MTBE ได้ ก็ปรากฏว่าราคาใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้นไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะต้องไปนำเข้าสิ่งที่เราผลิตได้ภายในประเทศ....
โครงการเอทานอลของพระเจ้าอยู่หัว ฃเริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ แต่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมามากๆ คงเป็นเมื่อปี ๒๕๔๔ เป็นต้นมา ตอนนั้นทั้ง ปตท.และบางจากร่วมกันนำเอทานอลมาผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์จำหน่าย เราทำมาหลายปีแล้ว ตอนนี้ ก็เป็นที่นิยม ส่วนเรื่องไบโอดีเซ, พระเจ้าอยู่หัวทรงมีโครงการไบโอดีเซลมาหลายปี เดิมทีพระองค์ท่านมองเรื่องการใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อมามีการสร้างโรงงานไบโอดีเซลในสวนจิตรลดา ปัจจุบันโรงงานไบโอดีเซลที่ทำอยู่สามารถผลิตน้ำมันที่มีคุณภาพค่อนข้างดีมาก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทางโครงการส่วนพระองค์ฯจัดทำขึ้นมา และวันนี้ก็มีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้แพร่หลายกลายเป็นไบโอดีเซลชุมชนมากขึ้น"
พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววเป็นแนวทางให้ทั้งรับบาลและเอกชนดำเนินการพัฒนาพลังงานเพื่อขยายการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพให้เป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอทานอลและไบโอดีเซล
เอทานอล
เอทานอลสามารถผลิตได้จากพืชหลายชนิด เช่น อ้อย มันสำปะหลัง เซลลูโลส ฯลฯ พืชแต่ละชนิดมีแนวโน้มในการพัฒนาและข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ให้ข้อมูลว่า
" ประมาณ ๕ ปีก่อนที่รัฐบาลจะมีนโยบายเรื่องเอทานอล คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติตามแนวพระราชดำริดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเอทานอล ซึ่งประเทศไทยใช้อ้อยและมันสำปะหลัง...
พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พัฒนาพลังงานเพื่อขยายการใช้เชื้อเพลิง
ชีวภาพให้เป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งเอทานอลและไบโอดีเซล
พืชอีกสองชนิดที่คาดว่าน่าจะนำมาผลิตเอทานอลได้คือ ข้างฟ่างหวาน ซึ่งใช้ในการผลิตส่าเหล้า ราคาไม่ได้แพงกว่ามันสำปะหลัง น่าสนใจมาก เพราะปลูกได้ดีในแถบอีสาน ตอนนี้กำลังทำวิจัยว่าถ้ามรการผลิตในเชิงพาณิชย์ราคาจะเป็นอย่างไร ซึ่งมีโอกาสมากที่จะเป็นพืชสำรองให้กับมันสำปะหลัง...
ส่วนพืชอีกชนิดหนึ่งคือ แก่นตะวัน หรือเจรูซาเลม อาร์ติโชก เป็นพืชรับประทานที่มทีน้ำตาลสูงมาก ใช้เวลาเติบโต ๔ เดือน ก็น่าสนใจมาก แต่ข้อมูลยังน้อยอยู่ ต้องวิจัยเพิ่มเติม...
ในสหรัฐอเมริกาเขาเป็นห่วงเรื่องพืชอาหารมาก เพราะเขาทำเอทานอลจากข้าวโพด ปีที่แล้วประธานาธิบดีบุชให้เงินวิจัยเรื่องเซลลูโลสซึ่งมันคือน้ำตาลที่ใช้ทำแอลกอฮอล์ รวมไปถึงฟางข้าว ต้นพืชทั้งหลายที่อยู่ในไร่นา ว่าสามารถนำมาทำเอทานอลได้หรือไม่ เพราะต้องการสงวนพืชอาหารเอาไว้"
แม้ว่าประเทศไทยยกเลิกการเดินสารตะกั่วในน้ำมันเบนซินในปี พ.ศ.๒๕๓๙ แต่ก็ต้องนำเข้าสารเพิ่มออกเทนอีกตัวคือ MTBE ต่อมาพบว่าสามารถนำเอทานอลมาใช้แทนสาร MTBE ได้ ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป จะมีการยกเลิกการเติมสาร MTBE ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษในอากาศเช่นกัน โดยเปลี่ยนมาใช้เอทานอลแทน นโยบายดังกล่าวนอกจากจะดีกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยให้ประเทศประหยัดเงินตราต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก ประเด็นนี้ ดร.อนุสรณ์ ให้ความเห็นว่า
"ประเทศเราต้องนำเข้าพลังงานปีหนึ่งประมาณแปดแสนล้านบาท ขณะที่เราส่งออกพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่า ข้าว มัน อ้อย ไม่กี่แสนล้าน เทียบกับการนำเข้าพลังงานไม่ได้เลย การนำเอทานนอลไปทดแทน MTBE หรือทดแทนน้ำมันในเบนซิน ๙๕ และ ๙๑ ได้ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เท่ากับต้องใช้เอทานอลประมาณวันละสองล้านกว่าลิตร ซึ่งทำให้รัฐเสียรายได้จากการเก็บภาษีสรรพสามิตไปปีละสามพันล้านบาท แต่ถ้ามองในทางกลับกันการใช้เอทานอลทดแทน MTBE จะฃ่วยให้เราลดการนำเข้าไปหนึ่งหมื่นเจ็ดพันล้านบาทต่อปี เท่ากับมีเงินหมุนเวียนอยู่ในประเทศหนึ่งหมื่นเจ็ดพันล้านบาท...
ทุกวันนี้เรามีเอทานอลที่ค้าขายกันอยู่ประมาณห้าแสนกว่าลิตรต่อวัน สิ้นปีนี้โรงงานผลิตเอทานอลที่กำลังจะเปิดคาดว่าจะผลิตเอทานอลได้เก้าแสนถึงหมื่นล้านลิตรต่อวัน ปีหน้าเราต้องการเอทานอลประมาณแปดแสนลิตรต่อวัน ซึ่งหมายความว่าการผลิตและความต้องการใกล้เคียงกันมาก สิ่งที่ภาครัฐกำลังทำอยู่ตอนนี้ก็คือ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าหากโรงงานที่ผลิตเอทานอลเกิดปิดโรงงาน หรือมีเหตุขัดข้องผลิตเอทานอลไม่ได้ตามจำนวนที่ต้องใช้ รัฐบาลก็เลยบอกว่าจะนำเข้าสัก ๓๐ ล้านลิตร เก็บไว้เป็นสต๊อกในยามฉุกเฉิน คือในกณฃรณั้เกิดเหตุฉุกเฉิน แล้วไม่มีซัปพลายเพียงพอเข้ามาในตลาด ก็สามารถใช้เอทานอลที่เก็บเอาไว้มาใช้ได้...
ปัจจุบันประเทศไทยเติมเอทานอลแทนน้ำมันเบนซิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประเทศอื่นอย่างเช่นบราซิลใช้เอทานอลผสมน้ำมันเบนซินในอัตราส่วนที่มากกว่านี้...
ทุกวันนี้มีโรงงานมาขออนุญาตกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดโรงงานเอทานอล ๓๐ แห่ง ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตได้ถึงประมาณวันละ ๕-๖ ล้านลิตร ในขณะที่เราใช้แค่วันละ ๒ ล้านลิตร ที่เหลืออีก ๓ ล้านลิตรจะเอาไปไว้ที่ไหน การจะส่งออกอาจไม่ง่าย เพราะบราซิลก็ผลิต รัฐอาจต้องมองต่อไปเหมือนในต่างประเทศซึ่งเขามี E20, E25, E85, E100 (คือใส่เอทานอลแทนน้ำมัน ๒๐, ๒๕, ๘๕, ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ)...
ประเทศไทยจึงไม่น่าจะหยุดที่ E10 อย่าง E100 มีคนมาคุยกับผมว่า ทำไมเราต้องทำแอลกอฮอล์ ๙๙.๕ ด้วย เพราะจาก ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ไปเป็น ๙๙.๕ เปอร์เซ็นต์นี่ เอาน้ำออกอีก ๕ เปอร์เซ็นต์ มันใช้เงินอีกเยอะมากเลย เลยมีคำถามว่า ทำไมเราไม่ทำเป็น E100 เหมือนในบราซิล ในบราซิล E100 ที่เขาขาย เขาเรียกแอลกอฮอล์ครับ ความเข้มขนไม่ใช่ ๙๙.๕ เปอร์เซ็นต์ แต่แค่ ๙๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง เขาอนุญาตให้มีน้ำได้อีก ๕ เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่มีปัญหากับการใช้งาน มันก็เลยเกิดเป็นความคิดขึ้นมาว่า ถ้าเรามี E100 เกิดขึ้น เรามีแอลกอฮอล์ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ก็พอนะ ไม่ต้องไปถึง ๙๙.๕ นะ เพราะไอ้ ๕ เปอร์เซ็นต์หลังนี่ ระบบแยกน้ำออกนี่มันแพงเหลือเกิน"
ไบโอดีเซล
ในปีพ.ศ. ๒๕๔๓ พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสให้กองงานส่วนพระองค์ดำเนินการวิจัยและพัฒนาทดลองการนำน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์มาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล เพราะว่าช่วงเวลาดังกล่าวน้ำมันปาล์มล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำ เป็นผลให้เกษตรกรเดือดร้อน
ปัจจุบันโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วจากห้องเครื่องสำนักพระราชวัง มาผลิตด้วยกระบวนการเอทิลเอสเทอริฟิเคชั่น (Ethyl Esterification) โดยใช้เอทานอลจากหอกลั่นในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา สามารถผลิตได้วันละ ๑,๐๐๐ ลิตร และยังได้ผลิตภัณฑ์ข้างเคียงคือกลีเซอรีน ซึ่งนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเรื่องอื่นๆ เพื่อจำหน่ายต่อไป
วัตถุดิบที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตไบโอดีเซลนอกจากปาล์มแล้ว ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดาอธิบายว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นก็นำมาใช้ได้เช่นกัน
"น้ำมันพืชทุกอย่างใช้ได้อยู่แล้ว เคยลองน้ำมันพืช ๕-๖ ตัว กับเครื่องยนต์ประเภทความเร็วต่ำ (low-speed engine) เมื่อ ๒๐ ปีมาแล้ว ก็ไม่มีปัญหาอำไร ขณะนี้ใช้ปาล์มน้ำมันมากที่สุด เนื่องจากเป็นอาหารด้วย และมีสำรองประมาณ ๑ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ในสภาพปัจจุบัน ถามว่าเพิ่มได้ไหม มีข้อแม้ว่าถ้าเพิ่มต้องไม่ไปถางป่าใช่ไหม ถ้าไม่ถางป่าก็แปลว่าต้องไปปลูกแทนพืชอื่น ช่วงหนึ่งบอกราคายางไม่ดี ก็เสนอทดแทนด้วยสวนปาล์ม แต่ ๔-๕ ปีมานี้ อุตสาหกรรมรถยนต์กับความต้องการรถยนต์ในจีนมหาศาล จีนซื้อยางไม่จำกัด ราคายางก็เลยขึ้น ก็ไม่มีใครเปลี่ยนมาปลูกปาล์ม แม้กระทั่งทางภาคตะวันออก มีเพื่อปลูกเงาะกับทุเรียนยังบอกว่าจะโค่นต้นเงาะไปปลูกยางแทน เพราะมีดินกับน้ำคล้ายกัน ผมเลยห่วงว่าพื้นที่ที่เหมาะสมจะปลูกน้ำมันปาล์มมีพอหรือเปล่า เคยมีโครงการจะปลูกรอบๆ แถวทะเลสาบสงขลา ทางสงขลาไม่ยอม เขากลัวน้ำเสียลงทะเลสาบ มีนมีหลายเรื่องต้องดู...
สบู่ดำเป็นตัวเลือกที่ดี แต่จากโครงการที่ให้ไปทำวิจัยสบู่ดำดีที่สุดของบ้านเรา มันจะได้ประมาณพันกิโลกรัมต่อไร่ ความคุ้มค่ายังไม่ดีพอ เพราะภาระอยู่ที่การพพัฒนาสายพันธุ์สบู่ดำ ที่น่าสนใจคือ สบู่ดำไม่ใช่อาหาร ตัวใบและต้นมันมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรเนื่องจากมันไม่เป็นอาหาร มันน่าจะตัดต่อพันธุกรรมเพื่อขยายพันธุ์ได้ ถ้าบอกจะไปตัดต่อพันธุกรรมกับน้ำมันปาล์ม อุตสาหกรรมคงไม่ยอม เพราะจะมีปัญหาเรื่องส่งออกไปต่างประเทศ โดนเฉพาะประเทศที่เคร่งศาสนา เขาถือว่ามนุษย์ไม่มีสิทธิ์ไปสร้างชีวิต แต่สบู่ดำไม่ใช่อาหาร มันก็น่าจะเลี่ยงได้"
พลังงานทางเลือกอื่นๆ
นอกเหนือจากเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างเอทานอลและไบโอดีเซลแล้ว ก็ยังมีพลังงานทางเลือกอื่นๆ เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดาเสนอความคิดเห็นว่า
"ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่นำพลังงานลมมาใช้อย่างจริงจัง มีแต่เป็นแบบทดลองของ กฟผ.ที่แหลมพรหมเทพ แต่ผลิตไฟฟ้าได้น้อยไม่เหมือนในยุโรปจะใหญ่มาก อย่างที่เยอรมนี ชาวนาสามารถกู้เงินแบงก์มาตั้งกังหันลม แล้วขายไฟฟ้ากลับไป เขาทำนา ไม่ได้เสียอะไร...
ในอดีตเราวัดลมที่ ๑๐ เมตร เราก็บอกว่าพลังลมของเมืองไทยศักยภาพต่ำ ในเวลานั้นการติดกังหันลมต้องการลมประมาณ ๕ เมตรต่อวินาที แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีดีขึ้น ลม ๓ เมตรต่อวินาทีก็ทำงานได้แล้ว ซึ่งหากวัดพลังงานลมในระดับ ๔๐ เมตร ลมก็จะแรงขึ้น หรือตามชายทะเลบนเกาะ ลมในระดับ ๔๐ เมตร ๑๐๐ เมตรน่าจะมีความเป็นไปได้ ซึ่งกำลังศึกษาวิจัยกันอยู่ว่าที่ไหนเหมาะสมจะทำกังหันลมไปติดแล้วสามารถผลิตไฟฟ้าได้จริง เพราะสองฝั่งทะเลทั้งตะวันตกและตะวันออกรวมเป็นระยะทางเกือบสองพันกิโลเมตร เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจมาก...
ในส่วนของพลังงานแสงอาทิตย์ จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่ายังไม่คุ้มค่าถ้ามีสายไฟเข้าไปถึงแล้ว เพราะเทคโนโลยีในขณะนี้ยังใช้ซิลิกอนในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งยังไม่ได้ผลดีนักเมื่อเทียบกับการลงทุน แต่ไม่ได้หมายความว่าพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่มีศักยภาพ แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไรในการดึงพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า ซึ่งยังต้องศึกษาวิจัยกันอยู่"
ดร.อนุสรณ์เสริมว่า
"ผมมองว่าประเทศเราเป็นประเทศร้อน แสงอาทิตย์เยอะมาก การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มันเป็นต้นทุนที่แพงมากเมื่อเทียบกับอย่างอื่น แต่จริงๆ เราก็ไม่ยอมแพ้ ผมมองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัวเราอาจไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีอะไรมากมาย ขอให้ทำแล้วสามารถนำไปใช้ได้ ก็น่าจะทำตรงนั้น"
การแก้ปัญหาพลังงานไม่ได้ทางใดทางหนึ่งเพียง
ทางเดียว ขึ้นอยู่กับว่าใช้ทำอะไร
ใช้ที่ไหน จะมัวหวังให้ราคาน้ำมันลดลงคงไม่ได้
มันก็ต้องหาทางออกด้วยการประหยัดพลังงาน
กับหาพลังงานทดแทน
อนาคตของการพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทยจะเป็นไปในทิศทางใด ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดามีความเห็นว่า "การแก้ปัญหาพลังงานไม่ได้ทางใดทางหนึ่งเพียงทางเดียว ขึ้นอยู่กับว่าใช้ทำอะไร ใช้เมื่อไหร่ ใช้ที่ไหน จะมัวหวังให้ราคาน้ำมันลดลงคงไม่ได้ มันก็ต้องหาทางออกด้วยการประหยัดพลังงาน กับหาพลังงานทดแทน"
พระเจ้าอยู่หัวของเราพระองค์ท่านมีโครงการ
ต้นแบบที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องเอทานอล
ไบโอดีเซล ในฐานะที่อยู่ในบริษัทน้ำมัน หน้าที่
ก็คือ ทำพระราชดำริออกมาเป็นรูปธรรม
ในเชิงปฏิบัติให้ได้มากที่สุด การที่จะทำให้เป็นไปได้
ในทางปฏิบัติและยั่งยืน จะต้องผสมผสานกัน
หลายเรื่อง เพราะมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตั้งแต่วัตถุดิบ และต้องพยายามส่งเสริมการ
พัฒนาเทคโนโลยีของเราเอง เพื่อให้ประเทศไทย
ก้าวสู่ประเทศที่มีพลังงานทดแทนใช้ในประเทศ
ได้อย่างยั่งยืนละยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้
ขณะที่ ดร.อนุสรณ์สรุปว่า
"พระเจ้าอยู่หัวของเราพระองค์ท่านมีโครงการต้นแบบที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องเอทานอล ไบโอดีเซล ในฐานะที่อยู่ในบริษัทน้ำมัน หน้าที่ก็คือทำพระราชดำริออกมาเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติให้ได้มากที่สุด การที่จะทำให้เป็นไปได้ในทางปฏิบัติและยั่งยืนจะต้องผสมผสานกันหลายเรื่อง เพราะมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วัตถุดิบ และต้องพยายามส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีของเราเอง เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ประเทศที่มีพลังงานทดแทนใช้ในประเทศได้อย่างยั่งยืนและยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้"
เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๙ กระทรวงพลังงานร่วมกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี โดยคุณเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน และดร.ส่งเกียรติ ทานสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักงานแผนกลยุทธ์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นวิทยากร ในหัวข้อ "การพัฒนาพลังงานทดแทน" ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
แนวพระราชดำริในด้านการพัฒนาพลังงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวพระราชดำริซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระวิสัยทัศน์ สายพระเนตรอันยาวไกล ที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างยอมรับว่าช่วยให้การพัฒนาพลังงานทดแทนโดยเฉพาะแก๊สโซฮอลล์และไบโอดีเซลในปัจจุบันเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์วิกฤติพลังงานที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันคุณเมตตา บันเทิงสุข อธิบายเพิ่มเติมว่า
ที่มา : พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย
ความเป็นมาของโครงการในพระราชดำริ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้นได้รับการริเริ่มขึ้นตั้งแต่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติได้ไม่นาน โดยงานสังคมสงเคราะห์ส่วนใหญ่จะเป็นพระราชดำรัสด้านการแพทย์ที่พระราชทาน ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าในระยะแรกนั้นโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ มีลักษณะการดำเนินการศึกษาค้นคว้าและทดลองเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อเตรียมพระองค์ด้านข้อมูลและความรู้ที่จะทรงนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ ปัญหาและเผยแพร่วิทยาการสู่เกษตรกร โดยเริ่มโครงการจากในเขตพื้นที่รอบๆ ที่ประทับในส่วนภูมิภาคก่อน จากนั้นจึงขยายขอบเขตออกไปสู่พื้นที่เกษตรกรรมที่กว้างขึ้น
ภายใต้หลักการทำงานที่สำคัญคือ โครงการฯ ต้องสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ราษฎรกำลังประสบอยู่ได้อย่างรีบด่วนและมี ผลในระยะยาย โดยที่การพัฒนานั้นต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนตามความจำเป็นและประหยัด ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือ ประชาชนที่สามารถ "พึ่งพาตนเองได้" ในที่สุด ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานตั้งแต่การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เช่น สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ แหล่งน้ำ และการประกอบอาชีพ ก่อนที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลจริงจากประชาชนและเจ้าหน้าที่ประจำท้องถิ่น แล้วจึงทรงวางแผนพัฒนาและพระราชทานข้อเสนอแนะให้รัฐบาลร่วมดำเนินการตามพระ ราชดำริในโครงการต่างๆ โดยพระองค์เสด็จฯ ร่วมทรงงานกับหน่วยงานของรัฐทุกฝ่าย ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างจริงจัง ซึ่งแต่ละโครงการมีกำหนดเวลาในการปฏิบัติการให้เสร็จสิ้นในระยะเวลาอันสั้น หากเป็นโครงการระยะยาวจะมีเวลาดำเนินงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
นอกเหนือจากการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแล้ว งานของโครงการฯ ยังมีลักษณะของงานวิชาการอีกด้วย กล่าวคือ จะมีโครงการวิจัย ค้นคว้าและทดลองของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในทุกภูมิภาค ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่วิทยาการที่ทันสมัยให้แก่เกษตรกรในการ จัดทำโครงการต่างๆ ตามหลักวิชาการก่อน เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้และประโยชน์ที่คุ้มค่า จากนั้นจึงจะเสนอขออนุมัติโครงการและงบประมาณในการจัดทำ หากโครงการใดติดขัดด้านระเบียบ วิธีการ งบประมาณ เป็นผลให้เกิดความล่าช้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้พระราชทานกองทุนส่วนพระองค์ เพื่อให้โครงการดำเนินการต่อไปได้และทันกับการแก้ไขปัญหาโดยมีสำนักงานคณะ กรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เป็นหน่วยงานช่วยประสานงานและแผนงานต่างๆ ให้สอดคล้องกันโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงกำกับดูแล ตลอดจนทรงติดตามผลการดำเนินการและเสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังโครงการฯ ทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อทอดพระเนตรความเจริญก้าวหน้าของโครงการฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ในโอกาสอันเป็นมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 คณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ (กปร.) และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ตลอดจนหน่วยงานของรัฐและเอกชน จัดทำโครงการนำพลังงานทดแทนที่สะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานอื่น ไปใช่เสริมในกิจกรรมในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา 6 รอบ โดยได้ดำเนินการโครงการ ณ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 แห่ง ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จังหวัดจันทบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนคร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส ศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส ศูนย์การศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จังหวัดเพชรบุรี นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการ ณ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี โครงการเกษตรผสมผสานมูโนะอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดนครพนม ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง และ สวนพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งหมด 14 แห่งด้วยกัน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแต่ละศูนย์ประกอบด้วยกิจกรรม ต่างๆ ที่หลากหลายตามแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้ ศูนย์ฯ เป็นแหล่งทำการศึกษา ค้นคว้าทดลอง วิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ศูนย์ศึกษาฯ จึงเปรียบเสมือนเป็น "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต" และ "ต้นแบบ" ของความสำเร็จที่จะเป็นแนวทางและตัวอย่างให้แก่พื้นที่อื่นๆ ได้นำไปให้ประโยชน์ในพื้นที่จริงได้
และเพื่อให้การดำเนินโครงการฯ มีแนวทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และทราบถึงความพร้อมของแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรที่จะได้รับความร่วมมือทั้ง ทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์และงบประมาณที่จำเป็นต้องใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ การดำเนินการศึกษาและวางแผนจึงอยู่ในรูปของคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ร่วมกันทำหน้าที่สำรวจข้อมูลและศึกษาความเหมาะสมในการนำพลังงานสะอาดไปใช้ใน กิจกรรมต่างๆ
คณะกรรมการศึกษาและวางแผนโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ได้ทำการศึกษาแผนแม่บทของศูนย์ศึกษาการพัฒนา และสำรวจพื้นที่จริงของแต่ละศูนย์ฯ ก่อน เพื่อศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมของระบบพลังงานทดแทนแต่ละประเภทที่จะนำไป ใช้ในแต่ละกิจกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำแผนงานหลักของโครงการใช้พลังงานสะอาดและอนุรักษ์ ธรรมชาติตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพร้อมทั้งกำหนดความรับผิดชอบให้ กับหน่วยงานและองค์กรที่เหมาะสมพร้อมจะรับงานต่างๆ ไปดำเนินการ และจากการศึกษาความเหมาะสมในเบื้องต้นดังกล่าว คณะกรรมการศึกษาและวางแผนฯ ได้สรุปและจัดทำแผนงานโดยมีกิจกรรมที่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและบริษัทเอกชนดำเนินงานร่วมกันในแต่ละศูนย์การศึกษาฯ และสถานที่อื่นๆ เสนอต่อคณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ รับไปดำเนินการต่อไป
เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลการศึกษาและความก้าวหน้าในการพัฒนาตามแนวพระราช ดำริของแต่ละศูนย์ฯ ควบคู่ไปกับการเผยแพร่เทคโนโลยีและรูปแบบการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานก๊าซชีวภาพ ซึ่งโครงการนี้จะมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ได้ศึกษาดูงานและเห็นการใช้งานของต้นแบบที่เป็นรูปธรรม สามารถนำไปขยายผลและใช้งานในวงกว้างขึ้น ตามความเหมาะสมของสภาพสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่
การเผยแพร่ผลงานดังกล่าว ยังเป็นการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกแก่ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงผลดีทาง ด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม หากมีการใช้พลังงานในรูปแบบอื่นที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาใช้แทนพลัง งานจากฟอสซิล ขณะเดียวกันก็ทำให้ทราบถึงผลเสียหากมีการใช้พลังงานจากฟอสซิลอย่างไม่มี ประสิทธิภาพไปด้วย นอกจากนี้ประชาชนยังได้รับทราบถึงผลประโยชน์และวิธีการใช้พลังงานรูปแบบอื่น รวมทั้งเครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์พลังงานและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ วันได้ พร้อมกันนั้นยังเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของผู้บริโภค ให้มีส่วนร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการผลิตและใช้ พลังงานรวมทั้งบทบาทและการมีส่วนร่วมขององค์กรต่างๆ ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการผลิตและใช้พลังงาน กระตุ้นความสนใจให้เกิดการใช้พลังงานและทรัพยากรอื่นที่ได้มาด้วยพลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพรู้ถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาด้านการผลิตและใช้พลังงานของ ประเทศ
วัตถุประสงค์ของโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ
1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542
2. เพื่อสาธิตและประชาสัมพันธ์การใช้พลังงานทดแทนและพลังงานแสง อาทิตย์ให้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานก๊าซชีวภาพ โดยนำระบบพลังงานทดแทนต่างๆ ไปติดตั้ง ณ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และสถานที่ต่างๆ
3. เพื่ออนุรักษ์พลังงานไทยตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้กำหนดให้ปี 2541-2542 เป็นปี "อนุรักษ์พลังงานไทย"
4. เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งจะช่วยกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศและรักษาสิ่งแวดล้อม
คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการฯ
องค์กรผู้รับผิดชอบการจัดโครงการฯ ได้แก่ คณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ (กปร.) กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ (สพช.) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนต่างๆ รวมกว่า 30 หน่วยงาน
งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ
งบประมาณของโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ นี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 125,603,070 บาท และงบจากส่วนราชการอื่นๆ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนอีก 16,370,601 บาท รวมทั้งสิ้น 141,973,671 บาท
การดำเนินงานนำความสำเร็จมาสู่โครงการฯ
โครงการฯ นี้เป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือด้านงบประมาณ บุคลากร วัสดุและอุปกรณ์ จากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ในการนำระบบพลังงานทดแทนแบบต่างๆ ไปติดตั้ง ณ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ และสถานที่ราชการต่างๆ รวม 14 แห่ง ในลักษณะของการสาธิตการใช้งานจริง เพื่อให้ประชาชนที่เข้าเยี่ยมชมศูนย์ฯ ต่างๆ ได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการใช้งาน การบำรุงรักษา การติดตั้ง อีกทั้งประโยชน์ที่จะได้รับและแนวทางในการนำไปใช้งานในท้องที่ของตนเอง
สำหรับระบบพลังงานทดแทนที่นำระบบผลิตมาใช้และติดตั้ง ได้แก่ ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กังหันลมสำหรับสูบน้ำ เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบผลิตก๊าซชีวภาพ โดยระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำการติดตั้งดังนั้นใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อ สูบน้ำสำหรับปลูกป่าและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเพาะปลูกและปรับสภาพดิน เปรี้ยวให้ดีขึ้น และยังใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าให้แสงสว่างในครัวเรือน ใช้สำหรับประจุแบตเตอรี่ ใช้ในการสื่อสารด้วยโทรศัพท์ความถี่ 470 MHz และโทรศัพท์ทางไกลผ่านดาวเทียม ตลอดจนใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับต่อเข้าระบบสายส่ง ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อเป่าลมลงบ่อเลี้ยงปลา นอกจากนี้ยังได้มีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ใหม่ๆ เช่น ชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ชุดกรองน้ำดื่มแบบรีเวิร์สออสโมซิสด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ และเครื่องขยายเสียงพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้งานในโครงการฯ อีกด้วย
สำหรับกังหันลมใช้สูบน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ใช้เพาะปลูก และปลูกป่า ขณะที่เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์นำมาใช้ในการผลิตน้ำร้อนสำหรับ อุปโภคบริโภค และใช้เป็นเครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับระบบก๊าซ ชีวภาพที่นำมาติดตั้ง เป็นการผลิตก๊าซจากมูลช้างและมูลโค เพื่อใช้ในการหุงต้ม ผลิตกระแสไฟฟ้าและสูบน้ำ
อุปการณ์ประหยัดพลังงานและใช้พลังงานทดแทนอื่นๆ ซึ่งติดตั้งร่วมอยู่ในโครงการฯ ด้วย ได้แก่ หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ประหยัดพลังงาน เครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ มุ้งแอร์สุขภาพรุ่นประหยัดพลังงานอุปกรณ์ช่วยแปลงสุขภัณฑ์ชักโครกให้ประหยัด น้ำ เตานึ่งก้อนเชื้อเห็ดประสิทธิภาพสูง อุปกรณ์ตรวจวัดกังหันลมและประเมินศักยภาพพลังงานลม สวนพลังงานแสงอาทิตย์ในมหาวิทยาลัยนเรศวร การเดินระบบสายส่งในพื้นที่ชนบทห่างไกล และเครื่องแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ
สำหรับระยะเวลาดำเนินโครงการฯ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2543 โดยขั้นตอนการดำเนินการเริ่มตั้งแต่คณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร รวบรวมหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ร่วมเข้าปรึกษาหารือกับเลขาธิการ กปร. เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และผู้อำนวยการโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ก่อนจะวางแผนและออกเดินทางสำรวจสถานที่ติดตั้งระบบต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อสรุปสถานที่และประเภทระบบต่างๆ ที่จะติดตั้ง พร้อมรายการบริจาคต่างๆ แล้วจึงจัดทำเป็นโครงการ เพื่อของบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และหน่วยงานต้นสังกัด พร้อมทั้งขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงทราบการดำเนินโครงการฯ จากนั้นจึงดำเนินการติดตั้งระบบต่างๆ และส่งมอบระบบฯ รวมทั้งจัดให้มีการอบรมสัมมนาให้ความรู้ในการติดตั้ง ดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซม ตลอดจนประสานงานให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้ดูแลในพื้นที่และประชาชนที่สนใจ
เมื่อมีการติดตั้งแต่ละโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายโครงการฯ และกราบบังคมทูลข้อมูลเพิ่มเติม จากนั้นจึงทำการประชาสัมพันธ์โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง และจัดทำเอกสารเผยแพร่โครงการ อาทิ หนังสือสรุปโครงการฯ "พลังของแผ่นดิน" ฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษ แผ่นพับฉบับภาษาฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษ โปสเตอร์ CD-ROM Web Site บอร์ดต่างๆ และวีดีทัศน์ ก่อนจะมีการติดตามและประเมินผลการติดตั้งโครงการต่อไป ซึ่งเป็นขั้นตอนดำเนินงานระยะสุดท้าย
1. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร
2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี และหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ
3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ และหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ
4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมากจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส และหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ
5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงทรา และหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ
6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี และหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ
7. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร และหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ
8. โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย
9. โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี
10. โครงการเกษตรผสมผสานมูโนะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส
11. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
12. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดนครพนม
13. ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
14. สวนพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
โครงการนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ระบบสูบน้ำบาดาลด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยกรมทรัพยากรธรณี (สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)
ด้วยสาเหตุที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ขาดแคลนน้ำจืดสำหรับใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคภายในศูนย์ฯ ซึ่งน้ำที่ใช้ในปัจจุบันได้จากการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากคลองชลประทานที่อยู่ห่างไป 9 กิโลเมตร โดยใช้เครื่องสูบน้ำด้วยมอเตอร์ขนาด 50 แรงม้า สูบผ่านท่อน้ำซีเมนต์ไปเก็บไว้ในถังขนาด 400 ลูกบาศก์เมตรแต่น้ำที่สูบนี้มีความเป็นกรดสูงมาก ทำให้เกิดการกัดกร่อนท่อส่งน้ำจนทำให้บางบริเวณมีการรั่วซึม น้ำที่สูบได้จึงต้องผ่านระบบบำบัดน้ำและระบบกรองเสียก่อน จากนั้นก็ใช้เครื่องสูบน้ำมอเตอร์ขนาด 5.5 แรงม้า สูบน้ำจากถังพักน้ำ (ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง) ขึ้นไปเก็บไว้ในหอถังสูง 26 เมตร ความจุ 150 ลูกบาศก์เมตร แล้วจึงจ่ายน้ำให้อาคารต่างๆ ต่อไป
กรมทรัพยาการธรณีจึงติดตั้งระบบสูบน้ำบาดาลด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 1,540 วัตต์ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า 1 ชุด อุปกรณ์ควบคุม 1 ชุด เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มมอเตอร์กระแสสลับขนาด 2 แรงม้า จำนวน 1 เครื่อง ถังเก็บน้ำหอถังสูง 12 เมตร ความจุ 12 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 ถัง ถังกรองสนิมเหล็ก 1 ถัง และระบบท่อส่งน้ำประปาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว ในเวลากลางวันเครื่องสูบน้ำจะทำงานด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ สูบน้ำได้ 5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (หรือ 9,010 ลูกบาศก์เมตรต่อปี) ไปเก็บไว้ในหอทังสูง ในส่วนของการใช้น้ำจะปล่อยน้ำจากถังสูงผ่านถังกรองสนิมและส่งเข้าท่อส่งน้ำโดยใช้แรงโน้มถ่วง ซึ่งน้ำที่ได้นี้เป็นน้ำคุณภาพดีสามารถใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค
ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เชื่อมต่อสายส่ง โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)
จระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เชื่อมต่อสายส่งนี้ติดตั้ง ที่อาคารหน่วยตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบสัตว์น้ำ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 2,100 วัตต์ อุปกรณ์ควบคุม 1 ชุด เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า 1 ชุด และวัตต์มิเตอร์แสดงผลการผลิตไฟฟ้า 1 ชุด
ในเวลาที่มีแสงอาทิตย์ เซลล์แสงอาทิตย์จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง จากการออกแบบระบบจะให้ไฟฟ้ากระแสตรง ขนาดแรงดัน 200-240 โวลต์ และกระแสไฟฟ้า 6-8 แอมแปร์ ไฟฟ้ากระแสตรงที่ผลิตได้จะไหลผ่านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าและถูกเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ที่มีแรงดัน 220 โวลต์ และมีคุณสมบัติเหมือนกับกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม ดังนั้นกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบนี้จึงสามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ทุกชนิด โดยในกรณีที่กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์มีมากกว่าความต้องการไฟฟ้าในขณะนั้น กระแสไฟฟ้าส่วนเกินจะถูกขายคืนเข้าในระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ ในทางกลับกันหากความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าในขณะนั้นมีมากกว่ากระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ กระแสไฟฟ้าส่วนที่ขาดก็จะถูกซื้อเสริมเข้ามาจากระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ ตามปกติ ซึ่งการทำงานของระบบได้รับการออกแบบให้เป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ ดังนั้นจึงไม่ต้องมีการปิด- เปิดระบบแต่อย่างใดในแต่ละวัน
ผลจากการติดตั้งระบบ ทำให้ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ซื้อจากระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ - ลดลงเท่ากับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งเท่ากับว่าจะสามารถช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงบรรพชีวิน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ในการผลิตกระแสไฟฟ้าลง อันจะส่งผลให้มลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงดังกล่าวลดลงได้อีกทางหนึ่ง
ระบบเติมอากาศลงบ่ออนุบาลปลาด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยบริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด
เนื่องจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ มีกิจกรรมสำคัญในด้านการประมง จึงมีบ่ออนุบาลเพาะเลี้ยงปลาจำนวนมาก และมีการใช้เครื่องแอร์คอมเพรสเซอร์ที่ใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์ สำหรับเป่าลมลงบ่ออนุบาลปลาด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้ง โดยใช้เครื่องเติมอากาศ 2 ชุด ที่ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยมากและลงทุนต่ำ เพื่อเป็นการสาธิตให้ผู้สนใจได้ศึกษาเพื่อนำระบบดังกล่าวไปใช้งาน
ระบบเติมอากาศลงบ่ออนุบาลปลาประกอบด้วย ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิคอนขนาด 64 วัตต์ จำนวน 2 แผง อุปกรณ์ควบคุม 2 ชุด เครื่องเติมอากาศ 4 เครื่อง แบตเตอรี่ 50 แอมแปร์ชั่วโมง 2 ลูก และท่อส่งลมและหัวสร้างฟองอากาศ ระบบจะทำงานในเวลากลางวันโดยเซลล์แสงอาทิตย์ประจุกระแสไฟฟ้าให้แบตเตอรี่จากนั้นแบบเตอรี่ก็จ่ายไฟฟ้าให้เครื่องเติมอากาศซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 0.3 แอมแปร์ต่อเครื่อง และทำให้เครื่องเติมอากาศทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ต่อจากเครื่องเติมอากาศเป็นท่อส่งลมลงบ่ออนุบาลสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ 1 แผง สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้เครื่องเติมอากาศได้ 2 เครื่อง และเครื่องเติมอากาศ 1 เครื่อง สามารถจ่ายลมได้ประมาณ 4 หัว ระบบนี้เหมาะกับบ่ออนุบาลขนาดประมาณ 1-4 ตารางเมตร
ชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โดยบริษัท สยามโซลาร์ แอนด์ อีเลคทรอนิคส์ จำกัด
โครงการฯ ได้นำชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้งภายในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ โดยประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 10 วัตต์ จำนวน 1 แผง หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 6 วัตต์ จำนวน 1 ชุด แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ 4 แอมแปร์ชั่วโมง จำนวน 1 ลูก เซนเซอร์วัดความสว่าง 1 ชุด ชุดตั้งเวลาการทำงานของหลอดไฟกับพัดลม 1 ชุด พัดลมขนาด 2 นิ้ว 1 เครื่อง ชุดแสดงผลความจุแบตเตอรี่ 1 ชุด ถุงผ้าดักแมลง 1 ถุง และขาตั้งแบบเคลื่อนย้ายได้ 1 ชุด
ลักษณะการทำงานของระบบ เซลล์แสงอาทิตย์จะประจุกระแสไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่ในเวลากลางวัน เมื่อดวงอาทิตย์ตกดินเซนเซอร์วัดความสว่างจะสั่งให้หลอดไฟสว่างและพัดลมหมุนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นหลอดไฟและพัดลมจะหยุดทำงาน เพราะโดยปกติแมลงจะออกมาเล่นไฟประมาณ 2 ชั่วโมง ในขณะที่หลอดไฟสว่างและพัดลมหมุนนั้น หากมีแมลงบินเข้าใกล้ก็จะถูกดูดให้ตกลงไปในถุง แมลงที่ได้นี้สามารถนำไปใช้เลี้ยงปลาได้ หรืออาจติดตั้งชุดแสงไฟล่อแมลงไว้กลางบ่อเลี้ยงปลาเพื่อให้แมลงตกลงไปในบ่อปลาโดยตรงเลยก็ได้
เครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการนำพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ มาใช้ประโยชน์ในการต้มสกัดสารชีวภาพ ซึ่งมีอยู่ในสมุนไพรบางชนิด เช่น ตะไคร้ หอม สะเดา ข่า เป็นต้น อุปกรณ์นี้ประกอบด้วยแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ ถังสกัดสาร ไส้กรอง ท่อทำเข้าถังและเข้าแผง วาล์วเช็คระดับน้ำ และขาตั้งรองรับแผงและถังสกัดสาร
การทำงานจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงรับแสงอาทิตย์ ซึ่งถูกออกแบบการวางให้ด้านหนึ่งเอียงขึ้น เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปอย่างสมบูรณ์ พลังงานความร้อนจะถูกดูดซับและส่งถ่ายความร้อนให้กับน้ำที่อยู่ในระบบ เมื่อน้ำเริ่มร้อนก็จะเกิดการเคลื่อนที่ขึ้นไปยังด้านบนของแผงผ่านไปตามท่อหุ้มฉนวนเข้าไปทางด้านบนของถังสกัดสารกำจัดศัตรูพืชหรือหม้อต้มซึ่งใส่สมุนไพรไว้ ทำให้น้ำที่อยู่ส่วนล่างของหม้อต้มก็จะไหลผ่านท่อหุ้มฉนวนเข้าไปในระบบทางอีกด้านหนึ่งของแผง การไหลเวียนของน้ำนี้จะเป็น ระบบไหลเวียนตามธรรมชาติ (thermosyphon system) ซึ่งจะเกิดขึ้นตลอดเวลาที่แผงได้รับแสงอาทิตย์ จึงทำให้น้ำในหม้อต้มมีอุณหภูมิสู่ขึ้นเรื่อยๆ จนถึงประมาณ 90 องศาเซลเซียส ทำให้สารสกัดชีวภาพในพืชสมุนไพรถูกสกัดออกมาละลายอยู่ในน้ำ ในแต่ละวันการสกัดจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมง ทำให้เกษตรกรมีน้ำสารสกัดไว้ใช้งานได้วันละ 75-100 ลิตร ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและลดภาระการต้มสกัดสารได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การใช้สารสกัดชีวภาพฉีดพ่นพืชผักแทนการใช้ยาปราบศัตรูพืชที่เป็นสารเคมี ยังให้ความปลอดภัยทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค อีกทั้งยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการนำเข้ายาปราบศัตรูพืชจากต่างประเทศอีกด้วย
ชุดกรองน้ำดื่มระบบรีเวิร์สออสโมซิลทำงานด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชุดกรองน้ำดื่มระบบรีเวิร์สออสโมซิสเป็นเครื่องฟอกน้ำจืด น้ำกร่อย หรือ น้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดบริสุทธิ์ โดยมีหลักในการทำงาน คือ ใช้เยื่อเมมเบรน (membrane) ซึ่งเป็นเยื่อบางๆ คล้ายแผ่นกระดาษแต่มีเนื้อละเอียดถึง 0.0001 ไม่ครอน ทำให้โมเลกุลของสารละลายในน้ำไม่สามารถลอดผ่านไปได้ โดยเยื้อเมมเบรนจะทำงานควบคู่กับเครื่องสูบน้ำแรงดันสูงที่ทำหน้าที่ผลักดันน้ำดิบให้ผ่านเยื่อเมมเบรนเครื่องสูบน้ำดังกล่าวทำงานด้วยไฟฟ้าที่ผลิตจากเซลล์แสงอาทิตย์
ระบบที่นำมาติดตั้งนี้ประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 60 วัตต์ แบตเตอรี่ขนาด 624 วัตต์ต่อชั่วโมง ชุดควบคุม และเครื่องสูบน้ำแรงดันสูง โดยการทำงานจะเริ่มจากการเปิดวาล์วให้น้ำดิบเข้าสู่ระบบไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จะเดินเครื่องสูบน้ำให้ทำงานเพื่อเพิ่มความดันให้น้ำดิบ อัดน้ำผ่านส่วนไส้กรองคาร์บอนทั้งชนิดเม็ดและชนิดผง ส่วนเยื่อกรองเมมเบรน และส่วนไส้กรองคาร์บอนอันสุดท้านจนได้เป็นน้ำบริสุทธิ์
เครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ประกอบด้วยแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ 1 ชุด ถังสกัดสารไส้กรอง ท่อน้ำเข้าถังและท่อน้ำเข้าแผง วาล์วเช็คระดับน้ำขารับแผงและถัง เป็นอุปกรณ์ที่นำพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์มาใช้ ประโยชน์ในการต้มสกัดสารชีวภาพ ซึ่งมีอยู่ในสมุนไพรบางชนิด เช่น ตะไคร้ หอม สะเดา ข่า และอื่นๆ โดยการทำงานจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงรับแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนจะถูกดูดซับและส่งถ่ายความร้อนให้กับน้ำที่อยู่ในระบบ ทำให้น้ำร้อนและลอยตัวขึ้นที่สูงแล้วไหลไปตามท่อหุ้มฉนวนเข้าสู่ถังสกัดสารกำจัดศัตรูพืชหรือหม้อต้มซึ่งใส่สมุนไพรไว้ ขณะเดียวกันน้ำส่วนล่างของหม้อต้มก็จะไหลไปตามท่อหุ้มฉนวนด้านตรงข้ามเข้าสู่แผงรับแสงอาทิตย์เพื่อรับพลังงานความร้อนจากแผงเป็นวัฏจักรเรียกว่า ระบบไหลเวียนตามธรรมชาติ น้ำในหม้อต้มจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงประมาณ 90 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาวันละ 6-8 ชั่วโมง ก็จะได้น้ำสารสกัดจากพืชสมุนไพร 75-100 ลิตรต่อวัน เมื่อปล่อยให้เย็นก็สามารถนำน้ำสารสกัดไปฉีดพ่นพืชผักผลไม้ได้ทันที เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่จะมาทำลาย
ระบบเครื่องขยายเสียงพลังงานแสงอาทิตย์ โดยบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด
เครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
1.ส่วนเซนเซอร์หรือไพรานอมิเตอร์ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคคอนขนาด 1 ตารางเซนติเมตร และขั้วของเซลล์และอาทิตย์
2.ส่วนอินติเกรตสัญญาณ ทำหน้าที่แสดงผลและอินติเกรตค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์เป็นพลังงาน
ประโยชน์ของเครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ คือสามารถวัดค่าพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งทำให้ทราบประสิทธิภาพการทำงานของระบบพลังงานทดแทนที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ในอนาคตได้
มุ้งแอร์สุขภาพรุ่นประหยัดพลังงาน โดยนายศฤงคาร รัตนางศุ (สมาคมการประดิษฐ์ไทย)
มุ้งติดแอร์ ประกอบด้วยโครงเหล็กขนาดเล็กแบบถอดประกอยได้ มีหลังคาทรงโค้งคล้ายทรงโดมและมีทางเข้าออก โดยตัวมุ้งผลิตจากผ้าชนิดพิเศษและมีน้ำหนักเบาเป็นลักษณะ 2 ชั้น ชั้นนอกโปร่งและชั้นในทึบเพื่อเป็นฉนวนความร้อน โดยมีช่องแอร์สำหรับต่อเข้ากับเครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ขนาดเล็กที่มีระบบฟอกอากาศ ด้านหน้าพ่นลมเย็น ด้านหลังพ่นลมร้อนซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องทำความอุ่นให้กับมุ้งติดแอร์ได้ เครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ขนาดเล็กนี้สามารถนำมาใช้ทดแทนพัดลมซึ่งให้ลมเย็นกว่าพัดลมไอน้ำ และเนื่องจากเป็นเครื่องปรับอากาศเล็กจึงสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าน้อยมาก ภายหลังจากที่โครงการฯ นำระบบพลังงานทดแทนติดตั้งที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว คุณเกรียงศักดิ์ หงษ์โต ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพลังงานทดแทน ดังนี้
ระบบเครื่องขยายเสียงพลังงานแสงอาทิตย์ โดยบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด
ระบบประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 6 วัตต์ 12 โวลต์ 0.3 แอมแปร์ จำนวน 1 แผง แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ 7 แอมแปร์ จำนวน 1 ลูก และเครื่องขยายเสียง พร้อมไมโครโฟนแบบมีสายและแบบไร้สาย จำนวน 1 ชุด ชุดเครื่องขยายเสียงถูกดัดแปลงให้สามารถใช้ได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ มีขนาดกำลังขยาย 50 วัตต์ โดยสามารถใช้งานได้ทั้งไมโครโฟนแบบมีสายและแบบไร้สายซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าขนาด 0.5 แอมแปร์ และสามารถใช้งานติดต่อกันเป็นเวลา 3 ชั่วโมงต่อวัน เหมาะกับการใช้งานภาคสนามและเลือกใช้ตามความเหมาะสมได้อีกด้วย
คุณวิเชียร สาคเรศ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงระบบพลังงานทดแทนที่โครงการฯ นำไปติดตั้งที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ไว้ ดังนี้
การนำพลังงานทดแทนมาติดตั้งที่ศูนย์ฯ ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง
คุณวิเชียร : "ปัจจุบัน ศูนย์ฯ เราใช้พลังงานจากกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก และต้องเสียค่าไฟฟ้ามากถึงเดือนละประมาณสองแสนบาท การนำพลังงานทดแทนมาใช้ก็ช่วยให้เราลดค่าใช้จ่ายด้านกระแสไฟฟ้าที่ต้องเสียลงไป อย่างเช่น ในกรณีที่ทางโครงการฯ มาติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ที่ตึกบริการประชาชน ซึ่งเป็นตึกที่มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์จำนวนมาก และมีประชาชนมาใช้บริการที่ตึกนี้ทุกวัน ประมาณวันละ 10-50 ราย เพื่อนำสัตว์น้ำมาตรวจ ก็คือเป็นคลินิกสัตว์น้ำ นอกจากนี้ยังเป็นแล็ปที่ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำให้กับบ่อเลี้ยงกุ้ง บ่อเลี้ยงปลา หรือบ่อเลี้ยงตะพาบน้ำของราษฎร ตรวจดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสที่ทำให้กุ้งเป็นโรค ตรวจยาตกค้างในเนื้อกุ้ง ตึกนี้จึงใช้ไฟฟ้าค่อนข้างมากโดยเป็นไฟฟ้าที่รับจากระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ การนำระบบเซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าของศูนย์ฯ ลงไปได้
"ส่วนการใช้พลังงานลมเพื่อสูบน้ำของงานเกษตรนี่ ประโยชน์ก็ค่อนข้างชัดเจน เพราะถ้าไม่เช่นนั้นเราต้องใช้ไฟฟ้าสูบน้ำมาใช้กับพืชทั้งหมด การใช้พลังงานลมทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าลงไปเยอะซึ่งความจริงที่ศูนย์ฯ เราใช้กังหันลมมานานแล้ว แต่ระบบยังไม่ค่อยดี แล้วก็ไม่มีการซ่อมแซมดูแลอย่างต่อเนื่องทำให้ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการใช้งานเท่าไร"
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการขยายผลของโครงการพลังงานทดแทนไปสู่ประชาชนในวงกว้าง
คุณวิเชียร : "การขยายผลของระบบพลังงานทดแทนไปสู่ราษฎรในพื้นที่ที่นี่ก็จะเป็นไปได้ เพราะอย่างบริเวณนากุ้งของราษฎร ทุกคนจะต้องใช้เครื่องยนต์ในการตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจน หรือไม่อย่างนั้นบางคนก็ใช้ไฟฟ้าในการเดินมอเตอร์หมุนเครื่องตีน้ำ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง แล้วนากุ้งนี้อยู่ในที่โล่งจึงสามารถใช้พลังงานทดแทนต่างๆ ได้ง่าย ก็น่าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าได้เยอะ เพราะกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในนากุ้งนี่เป็นค่าไฟระดับปกติ ไม่ได้ถูกตีเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อเกษตร ค่าไฟก็จะถูกกว่า ดังนั้น ถ้ามีการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพก็จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรที่ทำนากุ้งได้"
ศูนย์ฯ จะมีบทบาทต่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องพลังงานทดแทนไปสู่ประชาชนอย่างไรบ้าง
คุณวิเชียร : "ระบบพลังงานทดแทนส่วนใหญ่จะติดตั้งไว้ที่ศูนย์ฯ เพราะเราอยากแสดงให้ประชาชนเห็นว่า สามารถประหยัดพลังงานได้ด้วยวิธีใดบ้าง ด้วยการใช้พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ แทนการใช้ไฟฟ้าหรือพลังงานเชื้อเพลิง โดยเฉพาะตึกที่ให้บริการประชาชนอย่างที่กล่าวไปแล้วนี่ มีคนมาใช้บริการปีละประมาณเก้าพันราย ส่วนประชาชนทั่วไปเข้ามาดูงานในศูนย์ฯ อีกปีละหมื่นกว่าคน ก็จะได้เห็นผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจนจากการใช้งานภายในศูนย์ฯ ว่า พลังงานทดแทนช่วยประหยัดไฟฟ้าและประหยัดค่าน้ำมันได้จริง"
ที่มา : พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย
โครงการในพระราชดำริ
พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย
แนวพระราชดำริเกี่ยวกับพลังงาน (ที่มา : สุขพอที่พ่อให้)
โครงการในพระราชดำริ
ความเป็นมาของโครงการในพระราชดำริ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้นได้รับการริเริ่มขึ้นตั้งแต่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติได้ไม่นาน โดยงานสังคมสงเคราะห์ส่วนใหญ่จะเป็นพระราชดำรัสด้านการแพทย์ที่พระราชทาน ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าในระยะแรกนั้นโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ มีลักษณะการดำเนินการศึกษาค้นคว้าและทดลองเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อเตรียมพระองค์ด้านข้อมูลและความรู้ที่จะทรงนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ ปัญหาและเผยแพร่วิทยาการสู่เกษตรกร โดยเริ่มโครงการจากในเขตพื้นที่รอบๆ ที่ประทับในส่วนภูมิภาคก่อน จากนั้นจึงขยายขอบเขตออกไปสู่พื้นที่เกษตรกรรมที่กว้างขึ้น
พลังงานทดแทน...พลังแห่งสายพระเนตร
ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้นำแกลบที่ได้จากการสีข้าวของ โรงสีข้าวตัวอย่างจากสวนจิตรลดา มาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดิน และนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงแท่ง จึงมีการจัดสร้างโรงบดแกลบขึ้นภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา การดำเนินงานในขั้นแรกเป็นการนำแกลบผสมปูนมาร์ลและปุ๋ยเคมี เพื่อใช้ในการปรับปรุงดิน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๓ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาจัดซื้อเครื่องอัดแกลบให้เป็นแท่ง เพื่อนใช้แทนเชื้อเพลิงชนิดอื่น รวมทั้งจำหน่ายแก่บุคคลภายนอกโครงการแกลบอัดแท่งยังคงมีการทดลองและพัฒนา ขั้นตอนการผลิตตามพระราชดำริอยู่ตลอดเวลา อย่างเช่นในปี พ.ศ.๒๕๒๘ มีพระราชดำริให้ทดลองอัดแกลบผสมผักตบชวา เพื่อทดลองนำผักตบชวาที่เป็นวัชพืชตามแหล่งน้ำมาทำเป็นเชื้อเพลิงแท่ง
เศรษฐกิจพอเพียง...หนทางสู่การพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน
"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการ ดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทาง การแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
โครงการอื่นๆ
พลังงานชีวภาพ : พลังแห่งพระปรีชาญาณ
โครงการฝนหลวง
เขื่อนภูมิพล : เปิดศักราช...แห่งการพัฒนาพลังงานไทย
การพัฒนาพลังงานทดแทน
โครงการพัฒนาพลังงานทางเลือก : ทางออกของประเทศไทย
โครงการในหลวงกับพลังน้ำ
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาพลังงาน
โครงการผลิตพลังงานทดแทนของโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
โครงการนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
การนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส
โครงการนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
การนำพลังงานทดแทนไปใช้ในโครงการเกษตรผสมผสานมูโนะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
โครงการนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดน จังหวัดนครพนม
โครงการนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่ศุนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน