
คณะกรรมการและอนุกรรมการ (2552)
Children categories
ครั้งที่ 80 - วันศุกร์ ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 22/2554 (ครั้งที่ 80)
เมื่อวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 13.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
ปลัดกระทรวงพลังงาน (นายณอคุณ สิทธิพงศ์) กรรมการ เป็นประธานในที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
ปลัดกระทรวงพลังงาน (นายณอคุณ สิทธิพงศ์) ได้แจ้งให้ที่ประชุมฯ ทราบว่า เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในฐานะประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานติดภารกิจเร่งด่วน จึงขอให้ที่ประชุมฯ แต่งตั้งกรรมการขึ้นทำหน้าที่ประธานกรรมการในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งที่ประชุมฯ ได้มีมติเห็นชอบให้ปลัดกระทรวงพลังงานทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
เรื่องที่ 1 การแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง
สรุปสาระสำคัญ
1. ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 และวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2554 นั้น การดำเนินการที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 กองทุนน้ำมันฯ ได้จ่ายชดเชยเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไปแล้วประมาณ 24,005 ล้านบาท โดยฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2554 มีฐานะเบื้องต้นสุทธิ 446 ล้านบาท
2. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 เห็นชอบให้ปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันลดลง 5.3050 บาทต่อลิตร จาก 5.3100 บาทต่อลิตร เป็น 0.0050 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2554 และเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.) กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในวงเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท เพื่อใช้เสริมสภาพคล่องทางการเงินของกองทุนน้ำมันฯ หากราคาน้ำมันปรับเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้กองทุนน้ำมันฯ ไม่มีสภาพคล่องที่จะไปชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
3. สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงแกว่งตัวอยู่ในระดับสูง ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2554 น้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ 108.56 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 จำนวน 3.25 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซินอยู่ที่ 122.25 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 3.25 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 126.57 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 3.81 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น โดย ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2554 ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วราคา 29.99 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดอยู่ที่ 0.6616 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ย 5 วัน อยู่ที่ 1.2431 บาทต่อลิตร เพื่อเป็นการลดต้นทุนราคาน้ำมัน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลง 0.40 บาทต่อลิตร จาก 2.20 บาทต่อลิตร เป็น 1.80 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ 1.0616 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ย 5 วัน อยู่ที่ 1.3231 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับลดลง 25 ล้านบาทต่อวัน จากเงินไหลเข้ากองทุนน้ำมันฯ สุทธิ 76 ล้านบาทต่อวัน เป็น 51 ล้านบาทต่อวัน
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลง 0.40 บาทต่อลิตร จาก 2.20 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 1.80 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป
ครั้งที่ 79 - วันพุธ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 21/2554 (ครั้งที่ 79)
เมื่อวันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 09.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง
สรุปสาระสำคัญ
1. ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 และวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2554 นั้น การดำเนินการที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 กองทุนน้ำมันฯ ได้จ่ายชดเชยเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไปแล้วประมาณ 24,005 ล้านบาท โดยฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2554 มีฐานะเบื้องต้นสุทธิ 446 ล้านบาท
2. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 เห็นชอบให้ปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันลดลง 5.3050 บาทต่อลิตร จาก 5.3100 บาทต่อลิตร เป็น 0.0050 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2554 และเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.) กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในวงเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท เพื่อใช้เสริมสภาพคล่องทางการเงินของกองทุนน้ำมันฯ หากราคาน้ำมันปรับเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้กองทุนน้ำมันฯ ไม่มีสภาพคล่องที่จะไปชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
3. สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงทรงตัว ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2554 น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 105.63 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 122.94 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันเบนซินอยู่ที่ 119.70 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ส่งผลให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ 1.5674 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดเฉลี่ย 5 วันทำการ อยู่ที่ 1.4777 บาทต่อลิตร เพื่อเป็นการลดภาระกองทุนน้ำมันฯ และเสริมสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันฯ ให้ดีขึ้น ฝ่ายเลขานุการฯ ได้เสนอปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร จากส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ 1.80 บาทต่อลิตร เป็น 2.10 บาทต่อลิตร ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีเงินไหลเข้าเพิ่มขึ้น 17 ล้านบาทต่อวัน จาก 54 ล้านบาทต่อวัน เป็น 71 ล้านบาทต่อวัน
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร จาก 1.80 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 2.20 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป
ครั้งที่ 78 - วันพฤหัสบดี ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 20/2554 (ครั้งที่ 78)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง
สรุปสาระสำคัญ
1. ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 และวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2554 นั้น การดำเนินการที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 กองทุนน้ำมันฯ ได้จ่ายชดเชยเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไปแล้วประมาณ 24,005 ล้านบาท โดยฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 มีฐานะเบื้องต้นสุทธิ 253 ล้านบาท
2. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 เห็นชอบให้ปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันลดลง 5.3050 บาทต่อลิตร จาก 5.3100 บาทต่อลิตร เป็น 0.0050 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2554 และเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.) กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในวงเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท เพื่อใช้เสริมสภาพคล่องทางการเงินของกองทุนน้ำมันฯ หากราคาน้ำมันปรับเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้กองทุนน้ำมันฯ ไม่มีสภาพคล่องที่จะไปชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
3. สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาดครึ่งวันของวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 ราคาน้ำมันดิบดูไบลดลง 4.26 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จาก 111.38 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 107.12 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 3.58 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จาก 128.48 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 124.90 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และคาดการณ์ว่าน้ำมันเบนซินลดลง 4.26 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จาก 131.87 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 127.67 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ถ้าราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาดช่วงเย็นใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดครึ่งวัน ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันปรับลดลง โดยราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่นของแก๊สโซฮอล 95 ลดลง 0.47 บาทต่อลิตร ทำให้ค่าการตลาดเพิ่มขึ้นจาก 1.16 บาทต่อลิตร เป็น 1.63 บาทต่อลิตร และราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลง 0.31 บาทต่อลิตร ทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มจาก 1.30 บาทต่อลิตร เป็น 1.61 บาทต่อลิตร
4. จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง เพื่อเป็นการลดภาระและเสริมสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันฯ ให้ดีขึ้น ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอแนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร จากส่งเข้ากองทุน 1.40 บาทต่อลิตร เป็น 1.80 บาทต่อลิตร ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีเงินไหลเข้าเพิ่มขึ้น 22 ล้านบาทต่อวัน จาก 32 ล้านบาทต่อวัน เป็น 54 ล้านบาทต่อวัน
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร จาก 1.40 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 1.80 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป
ครั้งที่ 77 - วันจันทร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 19/2554 (ครั้งที่ 77)
เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 11.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง
สรุปสาระสำคัญ
1. ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 และวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2554 นั้น การดำเนินการที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 กองทุนน้ำมันฯ ได้จ่ายชดเชยเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไปแล้วประมาณ 24,005 ล้านบาท โดยฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2554 มีฐานะกองทุนเบื้องต้นสุทธิ 971 ล้านบาท
2. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 เห็นชอบให้ปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันลดลง 5.3050 บาทต่อลิตร จาก 5.3100 บาทต่อลิตร เป็น 0.0050 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2554 และเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.) กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ในวงเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท เพื่อใช้เสริมสภาพคล่องทางการเงินของกองทุนน้ำมันฯ หากราคาน้ำมันปรับเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้กองทุนน้ำมันฯ ไม่มีสภาพคล่องที่จะไปชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
3. สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2554 ราคาน้ำมันดิบดูไบลดลง 13.49 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จาก 114.74 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 101.25 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 14.52 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จาก 135.40 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 120.88 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันเบนซินลดลง 12.95 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จาก 136.32 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 123.37 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันปรับลดลง โดยราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่นของแก๊สโซฮอล 95 ลดลง 1.58 บาทต่อลิตร ทำให้ค่าการตลาดอยู่ในระดับสูงมาก แต่ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับลดราคาขายปลีกลง 0.80 บาทต่อลิตร ทำให้ค่าการตลาดเพิ่มขึ้นจาก 1.0953 บาทต่อลิตร เป็น 1.7649 บาทต่อลิตร และราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลง 1.74 บาทต่อลิตร แต่ได้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ 0.50 บาทต่อลิตร เพื่อลดภาระการชดเชยของกองทุนน้ำมันฯ ทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มจาก 1.4060 บาทต่อลิตร เป็น 2.6481 บาทต่อลิตร
4. จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง เพื่อเป็นการลดภาระและเสริมสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันฯ ให้ดีขึ้น ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอแนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วขึ้น 1.00 บาทต่อลิตร จากส่งเข้ากองทุน 0.3355 บาทต่อลิตร เป็น 1.3355 บาทต่อลิตร ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ จากมีสภาพคล่องติดลบ 28 ล้านบาทต่อวัน เป็นกองทุนน้ำมันฯ มีเงินไหลเข้า 28 ล้านบาทต่อวัน
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วขึ้น 1.0645 บาทต่อลิตร จาก 0.3355 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 1.40 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป
ครั้งที่ 76 - วันศุกร์ ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 18/2554 (ครั้งที่ 76)
เมื่อวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง
สรุปสาระสำคัญ
1. ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 และวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2554 นั้น การดำเนินการที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ถึงวันที่ 21 เมษายน 2554 ได้มีการปรับอัตราเงินชดเชยราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว รวม 17 ครั้ง โดยกองทุนน้ำมันฯ ได้จ่ายชดเชยเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลจนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 ไปแล้วประมาณ 24,005 ล้านบาท
2. กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 ได้มีมติอนุมัติในหลักการให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.) กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ในวงเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท เพื่อใช้เสริมสภาพคล่องทางการเงินของกองทุนน้ำมันฯ หากราคาน้ำมันปรับเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้กองทุนน้ำมันฯ ไม่มีสภาพคล่องที่จะไปชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
3. สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2554 ราคาปิดครึ่งวันของน้ำมันดิบดูไบลดลง 8.71 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จาก 114.74 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 106.03 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 9.95 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จาก 135.40 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 125.45 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และคาดการณ์ว่าน้ำมันเบนซินลดลง 9.76 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จาก 136.32 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 126.54 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันปรับลดลง โดยราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่นของแก๊สโซฮอล 95 ลดลง 1.16 บาทต่อลิตร ทำให้ค่าการตลาดเพิ่มขึ้นจาก 1.0953 บาทต่อลิตร เป็น 2.3626 บาทต่อลิตร และราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลง 1.30 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มขึ้นจาก 1.4060 บาทต่อลิตร เป็น 2.7082 บาทต่อลิตร
4. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2554 มีเงินสดในบัญชี 34,518 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 33,548 ล้านบาท แยกเป็นหนี้อยู่ระหว่างการเบิกจ่ายชดเชย 33,340 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 207 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะเบื้องต้นสุทธิ 971 ล้านบาท
5. จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง เพื่อเป็นการลดภาระกองทุนน้ำมันฯ ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอแนวทางการปรับลดเงินชดเชยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วจากกองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลง 0.50 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีสภาพคล่องจากติดลบ 56 ล้านบาทต่อวัน เป็นติดลบ 28 ล้านบาทต่อวัน และภาระกองทุนน้ำมันฯ ลดลงประมาณ 28 ล้านบาทต่อวัน
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาลง 0.50 บาทต่อลิตร จากชดเชย 0.1645 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 0.3355 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป
ครั้งที่ 75 - วันพุธ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 17/2554 (ครั้งที่ 75)
เมื่อวันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ประธานกรรมการ
ผู้ตรวจราชการกระทรวง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายบุญส่ง เกิดกลาง) กรรมการและเลขานุการ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมฯ ทราบว่า ในวันนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตของน้ำมันดีเซลที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกินร้อยละ 0.035 โดยน้ำหนัก จากอัตราภาษี 5.310 บาทต่อลิตร ลดลงเหลืออัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 จากอัตราภาษี 5.04 บาทต่อลิตร ลดลงเหลืออัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตร โดยกระทรวงการคลังจะดำเนินการให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2554 เป็นต้นไป กระทรวงพลังงาน จึงจำเป็นต้องเชิญประชุมเร่งด่วนเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับอัตราการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลโดยใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้มีผลบังคับใช้พร้อมกับวันที่มีการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตของน้ำมันดีเซล
เรื่องที่ 1 การแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง
สรุปสาระสำคัญ
1. ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 และวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2554 นั้น การดำเนินการที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ถึงวันที่ 20 เมษายน 2554 ได้มีการปรับอัตราเงินชดเชยราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว รวม 16 ครั้ง โดยกองทุนน้ำมันฯ ได้จ่ายชดเชยเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลจนถึงวันที่ 19 เมษายน 2554 ไปแล้วประมาณ 23,301 ล้านบาท
2. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 เห็นชอบให้ปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันลดลง 5.3050 บาทต่อลิตร จาก 5.3100 บาทต่อลิตร เป็น 0.0050 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2554 และจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวส่งผลให้ภาษีเทศบาลลดลง 0.5305 บาทต่อลิตร จาก 0.5310 บาทต่อลิตร เป็น 0.0005 บาทต่อลิตร (ร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิต) ทำให้อัตราภาษีลดลงทั้งสิ้น 5.8355 บาทต่อลิตร
3. เพื่อเป็นการลดภาระกองทุนน้ำมันฯ ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอแนวทางการปรับลดเงินชดเชยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วจากกองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ลง 5.8355 บาทต่อลิตร เท่ากับภาษีที่ลดลง เพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วไว้ที่ 29.99 บาทต่อลิตร และกองทุนน้ำมันฯ จะมีสภาพคล่องจากติดลบ 381 ล้านบาทต่อวัน เป็นติดลบ 56 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งทำให้ภาระกองทุนน้ำมันฯ ลดลงประมาณ 325 ล้านบาทต่อวัน
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
ชนิด (บาทต่อลิตร) | อัตราเดิม | อัตราใหม่ | เปลี่ยนแปลง |
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา | -6.00 | -0.1645 | +5.8355 |
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 | -4.05 | 1.4885 | +5.5385 |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้พร้อมกับวันที่ประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ 89 มีผลบังคับใช้
ครั้งที่ 74 - วันอังคาร ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 16/2554 (ครั้งที่ 74)
เมื่อวันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ประธานกรรมการ
ผู้ตรวจราชการกระทรวง (นายบุญส่ง เกิดกลาง) รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง
สรุปสาระสำคัญ
1. ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 และวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2554 การดำเนินการที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ถึงวันที่ 18 เมษายน 2554 ได้มีการปรับอัตราเงินชดเชยราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว รวม 15 ครั้ง กองทุนน้ำมันฯ ได้จ่ายชดเชยเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลจนถึงวันที่ 19 เมษายน 2554 ไปแล้วประมาณ 23,301 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 18 เมษายน 2554 มีเงินสดในบัญชี 34,251 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 29,751 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 29,392 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 359 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะเบื้องต้นสุทธิ 4,500 ล้านบาท โดยยังไม่รวมหนี้เงินชดเชยค่าปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์รถแท๊กซี่ ประมาณ 130 ล้านบาท
2. สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงแกว่งตัวอยู่ในระดับสูง โดยวันที่ 18 เมษายน 2554 น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ระดับ 116.02 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง 1.19 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากการปรับอัตราเงินชดเชยครั้งที่แล้ว ณ วันที่ 8 เมษายน 2554 น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ระดับ 129.47 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ลดลง 0.99 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ระดับ 137.82 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ลดลง 2.80 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันปรับลดลงโดยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อยู่ที่ 38.84 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ 29.99 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 19 เมษายน 2554 อยู่ที่ 1.5389 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ย 5 วัน อยู่ที่ 1.4513 บาทต่อลิตร
3. เพื่อเป็นการลดภาระกองทุนน้ำมันฯ ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอแนวทางการปรับลดเงินชดเชยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วจากกองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลง 0.40 บาทต่อลิตร ซึ่งจะมีผลทำให้ค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันปรับมาอยู่ที่ 1.1389 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ย 5 วัน อยู่ที่ 1.3713 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ มีสภาพคล่องจากติดลบ 404 ล้านบาทต่อวัน เป็นติดลบ 381ล้านบาทต่อวัน ภาระกองทุนน้ำมันฯ ลดลงประมาณ 23 ล้านบาทต่อวัน โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2554 เป็นต้นไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาลง 0.40 บาทต่อลิตร จากชดเชย 6.40 บาทต่อลิตร เป็นชดเชย 6.00 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2554 เป็นต้นไป
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ได้แจ้งที่ประชุมฯ เพื่อทราบเกี่ยวกับปริมาณ Oil Base ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ของบริษัทเชฟรอน (ไทย) จำกัด และบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ที่เหลืออยู่นับจากวันที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2554 ผ่อนผันให้สามารถนำ Oil Base ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5 ที่เหลืออยู่ไปผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา โดยเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 บริษัทเชฟรอน (ไทย) จำกัด มีปริมาณ Oil Base อยู่ที่ 61,629,821 ลิตร และเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554 บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด มีปริมาณ Oil Base อยู่ที่ 5,900,000 ลิตร และ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2554 บริษัททั้งสองมีปริมาณ Oil Base คงเหลืออยู่ที่ 12,000,000 และ 850,000 ลิตร ตามลำดับ
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
ครั้งที่ 73 - วันจันทร์ ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 15/2554 (ครั้งที่ 73)
เมื่อวันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 15.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
2. ขอขยายเวลาการผ่อนผัน Oil Base ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ประธานกรรมการ
ผู้ตรวจราชการกระทรวง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายบุญส่ง เกิดกลาง) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง
สรุปสาระสำคัญ
1. ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 และวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2554 การดำเนินการที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ถึงวันที่ 8 เมษายน 2554 ได้มีการปรับอัตราเงินชดเชยราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว รวม 14 ครั้ง กองทุนน้ำมันฯ ได้จ่ายชดเชยเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลจนถึงวันที่ 11 เมษายน 2554 ไปแล้วประมาณ 20,667 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 11 เมษายน 2554 มีเงินสดในบัญชี 34,857 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 27,579 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 27,220 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 359 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะเบื้องต้นสุทธิ 7,278 ล้านบาท โดยยังไม่รวมหนี้เงินชดเชยค่าปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์รถแท๊กซี่ ประมาณ 130 ล้านบาท
2. สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงแกว่งตัวอยู่ในระดับสูง โดยเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2554 ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ระดับ 117.21 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการปรับอัตราเงินชดเชยครั้งที่แล้ว ณ วันที่ 6 เมษายน 2554 อยู่ที่ 1.91 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ระดับ 130.46 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.43 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ระดับ 140.62 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.35 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น โดยราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อยู่ที่ 38.34 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ 29.99 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 11 เมษายน 2554 อยู่ที่ 0.7723 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ย 5 วันทำการ อยู่ที่ 0.8089 บาทต่อลิตร
3. เพื่อชะลอการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลของผู้ค้าน้ำมันไม่ให้สูงเกิน 30 บาทต่อลิตร เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จึงควรปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร จากชดเชย 5.90 บาทต่อลิตร เป็นชดเชย 6.40 บาทต่อลิตร จะทำให้ค่าการตลาดอยู่ที่ 1.2723 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ย 5 วันทำการ อยู่ที่ 0.9089 บาทต่อลิตร ภาระกองทุนน้ำมันฯ เพิ่มขึ้นประมาณ 27.9 ล้านบาทต่อวัน โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2554 เป็นต้นไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร จากชดเชย 5.90 บาทต่อลิตร เป็นชดเชย 6.40 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2554 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 ขอขยายเวลาการผ่อนผัน Oil Base ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5
สรุปสาระสำคัญ
1. เนื่องจากเกิดปัญหาผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบขาดแคลนตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2553 กระทรวงพาณิชย์จึงได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงพลังงานประสานผู้ผลิต B100 ให้ชะลอหรือลดการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มีน้ำมันปาล์มดิบเข้าสู่ตลาดน้ำมันพืชบริโภคมากขึ้น ซึ่งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ให้ขอความร่วมมือบริษัทผู้ค้าน้ำมันงดการผลิตจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม 2554 และให้กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ประสานกรมสรรพสามิตเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาสต็อคน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 และ Oil Base ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 บางส่วนที่คงเหลืออยู่ในระบบของผู้ค้าน้ำมัน ต่อมา ธพ. ได้มีหนังสือถึงกรมสรรพสามิตเพื่อขอความร่วมมือให้ผู้ค้าน้ำมันสามารถนำ Oil Base ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 ที่ยังไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิตไปผลิตเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (B3) ได้ และให้ผู้ค้าน้ำมันที่มีน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 สำเร็จรูปที่เสียภาษีสรรพสามิตแล้ว สามารถนำ Oil Base มาผสมกับน้ำมันดีเซล B5 ผลิตเป็นดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (B3) ได้โดยไม่ขัดต่อกฎระเบียบของกรมสรรพสามิต
2. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 ได้มีมติเห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2554 และให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดามีส่วนผสมของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันลดลงเหลือร้อยละ 2 ถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2554 ต่อมา ธพ. ได้ออกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่องกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 กำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 มีนาคม 2554 น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (B2) มีส่วนผสมของไบโอดีเซลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.5 และไม่สูงกว่าร้อยละ 2 โดยปริมาตร และตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป ให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดามีส่วนผสมของไบโอดีเซลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2.5 และไม่สูงกว่าร้อยละ 3 โดยปริมาตร แต่เนื่องจากสถานการณ์ปาล์มน้ำมันสำหรับการบริโภคยังไม่คลี่คลาย กระทรวงพลังงานได้มีนโยบายขยายระยะเวลาการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (B2) ออกไปจนกว่าจะมีผลผลิตปาล์มน้ำมันส่วนเกินเหลือจากการบริโภค ดังนั้น ธพ. ได้ออกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554 โดยให้คงมาตรฐานคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (B2) ที่มีไบโอดีเซลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.5 และไม่สูงกว่าร้อยละ 2 โดยปริมาตรต่อไปและให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป
3. บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด และบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ได้มีหนังสือแจ้งว่า Oil Base ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 ที่ยังไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิต ของบริษัทฯ ที่เก็บไว้ที่คลังผสม ซึ่งได้รับการผ่อนผันจากกรมสรรพสามิตให้สามารถนำไปผลิตเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (B3 และ B2) ได้ จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2554 แต่ปรากฏว่าขณะนี้ ปริมาณ Oil Base ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 ดังกล่าว ยังมีปริมาณคงเหลืออยู่ที่คลังผสมเป็นจำนวนมาก คาดว่าจะต้องใช้เวลาถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2554 จึงจะสามารถนำมาผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาได้หมด บริษัทฯ ได้ประสานไปยังกรมสรรพสามิตและได้รับแจ้งว่าหากจะให้มีการผ่อนผันต่อไป จะต้องมีมติจาก กบง. จึงขอให้ ธพ. นำเสนอ กบง. เพื่อขอขยายระยะเวลาการนำ Oil Base ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 ที่ยังไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิตของบริษัทฯ ที่คงเหลืออยู่ให้สามารถนำไปผลิตเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาได้โดยไม่ขัดต่อกฎระเบียบของกรมสรรพสามิต
4. กระทรวงพลังงานมีนโยบายขยายระยะเวลาการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (B2) จากเดิมที่กำหนดให้จำหน่ายได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554 ออกไปจนกว่าจะมีผลผลิตปาล์มน้ำมันส่วนเกินเหลือจากการบริโภค ประกอบกับขณะนี้กระทรวงพลังงานไม่ได้สนับสนุนให้มีการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 โดยกำหนดอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงกว่า จึงทำให้ผู้ค้าน้ำมันไม่มีการผลิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 ขึ้นมาใหม่ ดังนั้น เพื่อให้การประกอบธุรกิจการค้าน้ำมันดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ค้าน้ำมันที่ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ เห็นควรให้ขยายระยะเวลาการผ่อนผันการนำ Oil Base ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 ที่เหลืออยู่ไปผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา จากสิ้นเดือนมีนาคม 2554 ออกไปจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2554
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการผ่อนผันการนำ Oil Base ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 ของบริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด และบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ที่เหลืออยู่ไปผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา จากเดิมสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2554 เป็นสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2554
ครั้งที่ 72 - วันพฤหัสบดี ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 14/2554 (ครั้งที่ 72)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 15.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ประธานกรรมการ
ผู้ตรวจราชการกระทรวง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายบุญส่ง เกิดกลาง) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง
สรุปสาระสำคัญ
1. ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2554 การดำเนินการที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ถึง 5 เมษายน 2554 ได้มีการปรับอัตราเงินชดเชยราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว รวม 13 ครั้ง กองทุนน้ำมันฯ ได้จ่ายชดเชยเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไปแล้วจนถึงวันที่ 7 เมษายน 2554 ประมาณ 19,350 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 7 เมษายน 2554 มีเงินสดในบัญชี 34,857 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 23,255 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 22,896 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 359 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะเบื้องต้นสุทธิ 11,602 ล้านบาท โดยยังมีหนี้ที่มีมติไปแล้วแต่ยังไม่มีการเบิกจ่าย 14,361 ล้านบาท แยกเป็น หนี้เงินชดเชยค่าปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์รถแท๊กซี่ 1,200 ล้านบาท หนี้เงินชดเชยก๊าซ LPG จากโรงกลั่นในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า 1,428 ล้านบาท หนี้เงินชดเชยการตรึงราคาก๊าซ NGV (กันยายน 2553 - กุมภาพันธ์ 2554) 2,094 ล้านบาท หนี้เงินชดเชยการตรึงราคา๊ก๊าซ NGV (มีนาคม - มิถุนายน 2554) 1,547 ล้านบาท และหนี้เงินชดเชยก๊าซ LPG นำเข้า (มีนาคม - มิถุนายน 2554) 8,092 ล้านบาท
2. สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงแกว่งตัวอยู่ในระดับสูง โดยวันที่ 6 เมษายน 2554 น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ระดับ 115.30 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการปรับอัตราเงินชดเชยครั้งที่แล้ว ณ วันที่ 1 เมษายน 2554 อยู่ที่ 4.30 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ระดับ 128.03 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 3.13 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ระดับ 138.27 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 3.82 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นโดยราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อยู่ที่ 37.94 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ 29.99 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 7 เมษายน 2554 อยู่ที่ 0.5219 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ย 5 วัน อยู่ที่ 0.8544 บาทต่อลิตร
3. เพื่อชะลอการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลของผู้ค้าน้ำมันไม่ให้สูงเกิน 30 บาทต่อลิตร เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร จากชดเชย 5.40 บาทต่อลิตร เป็นชดเชย 5.90 บาทต่อลิตร จะทำให้ค่าการตลาดมาอยู่ที่ 1.0219 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ย 5 วันทำการ อยู่ที่ 0.9544 บาทต่อลิตร ภาระกองทุนน้ำมันฯ เพิ่มขึ้นประมาณ 27.9 ล้านบาทต่อวัน และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2554 เป็นต้นไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร จากชดเชย 5.40 บาทต่อลิตร เป็นชดเชย 5.90 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2554 เป็นต้นไป
ครั้งที่ 71 - วันจันทร์ ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 13/2554 (ครั้งที่ 71)
เมื่อวันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 11.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
2. การกำหนดเพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ในการคำนวณราคาอ้างอิงไบโอดีเซล (B100)
3. การกำหนดหลักเกณฑ์ราคาอ้างอิงเอทานอล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ประธานกรรมการ
ผู้ตรวจราชการกระทรวง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายบุญส่ง เกิดกลาง) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง
สรุปสาระสำคัญ
1. ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2554 ซึ่งในการดำเนินการที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ถึง 23 มีนาคม 2554 ได้มีการปรับอัตราเงินชดเชยราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว รวม 12 ครั้ง กองทุนน้ำมันฯ ได้จ่ายชดเชยเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไปแล้วจนถึงวันที่ 4 เมษายน 2554 ประมาณ 17,242 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 4 เมษายน 2554 มีเงินสดในบัญชี 34,482 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 22,130 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 21,771 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 359 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะเบื้องต้นสุทธิ 12,351 ล้านบาท โดยยังมีหนี้ที่มีมติไปแล้วแต่ยังไม่มีการเบิกจ่าย 14,361 ล้านบาท แยกเป็นหนี้เงินชดเชยค่าปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์รถแท๊กซี่ 1,200 ล้านบาท หนี้เงินชดเชยก๊าซ LPG จากโรงกลั่นในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า 1,428 ล้านบาท หนี้เงินชดเชยการตรึงราคาก๊าซ NGV (กันยายน 2553 - กุมภาพันธ์ 2554) 2,094 ล้านบาท หนี้เงินชดเชยการตรึงราคาก๊าซ NGV (มีนาคม - มิถุนายน 2554) 1,547 ล้านบาท และหนี้เงินชดเชยก๊าซ LPG นำเข้า (มีนาคม - มิถุนายน 2554) 8,092 ล้านบาท
2. สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงแกว่งตัวอยู่ในระดับสูง โดยวันที่ 1 เมษายน 2554 น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ระดับ 111.00 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการปรับอัตราเงินชดเชยครั้งที่แล้ว ณ วันที่ 21 มีนาคม 2554 อยู่ที่ 2.23 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ระดับ 124.90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 3.72 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ระดับ 134.45 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.65 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกกลุ่มน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น โดยมีผลเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2554 ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อยู่ที่ 37.94 บาทต่อลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วยังคงราคาอยู่ที่ 29.99 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 4 เมษายน 2554 อยู่ที่ 0.8763 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ย 5 วัน อยู่ที่ 1.2013 บาทต่อลิตร
3. จากต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เพื่อชะลอการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลของผู้ค้าน้ำมันไม่ให้สูงเกิน 30 บาทต่อลิตร ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร จากชดเชย 5.10 บาทต่อลิตร เป็นชดเชย 5.40 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2554 เป็นต้นไป โดยจะทำให้ค่าการตลาดมาอยู่ที่ 1.1763 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ย 5 วันทำการ อยู่ที่ 1.2613 บาทต่อลิตร ภาระกองทุนน้ำมันฯ เพิ่มขึ้นประมาณ 16.7 ล้านบาทต่อวัน จากวันละ 331.1 ล้านบาท เป็นวันละ 347.8 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร จากชดเชย 5.10 บาทต่อลิตร เป็นชดเชย 5.40 บาทต่อลิตร และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2554 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 การกำหนดเพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ในการคำนวณราคาอ้างอิงไบโอดีเซล (B100)
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 ได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) ที่สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงในอุตสาหกรรมไบโอดีเซลซึ่งคำนึงถึงวัตถุดิบหลักในการผลิตไบโอดีเซล 3 ชนิด คือ น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์และสเตียรีน โดยราคาขายน้ำมันปาล์มดิบที่ใช้ในการคำนวณ ใช้ราคาขายส่งสินค้าเกษตรน้ำมันปาล์มดิบชนิดสกัดแยก (เกรดเอ) ตามที่กรมการค้าภายในเผยแพร่ แต่ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลก (ตลาดมาเลเซีย) บวก 3 บาทต่อกิโลกรัม โดยใช้ราคาน้ำมันปาล์มดิบเฉลี่ยสัปดาห์ก่อนหน้า เช่น ใช้ราคาในสัปดาห์ที่ 1 นำไปคำนวณราคาในสัปดาห์ที่ 2
2. เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2553 กบง. มีมติเห็นชอบให้ปรับเพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ที่ใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) ใช้ราคาปาล์มดิบในเขตกรุงเทพมหานคร (บาทต่อกิโลกรัม) ชนิดสกัดแยก (เกรดเอ) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศเผยแพร่ แต่ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบที่คำนวณจากราคาปาล์มทะลาย (น้ำมันร้อยละ 17) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศเผยแพร่ บวกค่าสกัด 2.25 บาทต่อกิโลกรัม เป็นการชั่วคราวถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 กบง. ได้มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการใช้ราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศเผยแพร่ แต่ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบที่คำนวณจากราคาปาล์มทะลาย (น้ำมันร้อยละ 17) บวกค่าสกัด 2.25 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อใช้ในการคำนวณราคาอ้างอิงไบโอดีเซล (B100) ต่อไปอีก 1 เดือนจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2554 โดยมอบหมายให้ สนพ. รับไปศึกษารายละเอียดการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาอ้างอิงไบโอดีเซล (B100) เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการศึกษาหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและ กบง. ต่อไป
3. คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2554 ได้มีมติเห็นชอบให้โรงกลั่นน้ำมันปาล์มรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงสกัดน้ำมันปาล์มในราคากิโลกรัมละ 36.28 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2554 เป็นต้นไป ทั้งนี้ให้โรงสกัดน้ำมันปาล์มรับซื้อผลปาล์มที่มีคุณภาพเท่านั้น พร้อมติดป้ายประกาศรับซื้อผลปาล์มน้ำมันในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 6.00 บาท ที่อัตราน้ำมันจากผลปาล์มขั้นต่ำร้อยละ 17 หากอัตราน้ำมันจากผลปาล์มเกินร้อยละ 17 ให้ปรับราคารับซื้อผลปาล์มน้ำมันในสัดส่วนที่สอดคล้องกัน รวมทั้งให้โรงสกัดน้ำมันปาล์มมีสิทธิปฏิเสธรับซื้อผลปาล์มน้ำมัน หากเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันไม่มีคุณภาพ
4. ณ วันที่ 25 มีนาคม 2554 ราคา CPO ที่คิดจากราคาปาล์มทะลาย (น้ำมันร้อยละ 17) บวกค่าสกัด 2.25 บาทต่อกิโลกรัม มีการปรับตัวลงมาอยู่ที่ 31.96 บาทต่อกิโลกรัม ใกล้เคียงกับราคาน้ำมันปาล์มดิบที่ประกาศโดยกรมการค้าภายในที่ 32.25 4 ของเดือนมีนาคม 2554 ราคา CPO ที่คิดจากราคาปาล์มทะลายในประเทศลดลงมาอยู่ที่ 32.07 ใกล้เคียงกับราคา CPO ที่ประกาศโดยกรมการค้าภายใน ซึ่งอยู่ที่ 32.42 บาทต่อกิโลกรัม และเมื่อเปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ย CPO ที่คำนวณจากราคาปาล์มทะลายในเดือนกันยายน และตุลาคม 2553 ซึ่งเป็นเดือนที่มีผลผลิตปาล์มทะลายออกตามปกติ พบว่ามีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 32.95 และ 35.59 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าราคาปาล์มทะลายในประเทศเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ
5. ฝ่ายเลขานุการฯ เห็นว่า การใช้เพดาน CPO ที่คิดจากปาล์มทะลายจะเป็นธรรมแก่ผู้ผลิต B100 มากกว่าการกำหนดจากราคา MPOB+3 เนื่องจากราคา CPO ที่รับซื้อจะสะท้อนต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นจริง ส่วนการใช้เพดาน MPOB+3 เหมาะสำหรับช่วงภาวะปกติเท่านั้น ซึ่งในช่วงที่ผลผลิตออกน้อย (พฤศจิกายน -กุมภาพันธ์) จะทำให้ราคา CPO ตามประกาศกรมการค้าภายในสูงกว่า MPOB+3 ค่อนข้างมาก ดังนั้น เพื่อให้การคำนวณราคาอ้างอิงน้ำมันไบโอดีเซลสอดคล้องกับความเป็นจริงและสะท้อนต้นทุนการผลิต เห็นควรกำหนดเพดานโดยใช้ CPO ที่คำนวณจากราคาปาล์มทะลายแทน
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ยกเลิกการใช้เพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซีย บวก 3 บาทต่อกิโลกรัม ในการคำนวณราคาอ้างอิงไบโอดีเซล (B100) และให้ใช้ราคาน้ำมันปาล์มดิบตามที่กรมการค้าภายในประกาศเผยแพร่ แต่ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบที่คำนวณจากราคาปาล์มทะลาย (น้ำมันร้อยละ 17) บวกค่าสกัด 2.25 บาทต่อกิโลกรัม ในการคำนวณราคาอ้างอิงไบโอดีเซล (B100)
เรื่องที่ 3 การกำหนดหลักเกณฑ์ราคาอ้างอิงเอทานอล
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2553 กบง. ได้มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการใช้หลักเกณฑ์การกำหนดราคาอ้างอิงเอทานอลจากต้นทุนการผลิต (Cost Plus) ไปจนถึงเดือนธันวาคม 2553 ต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 คณะอนุกรรมการศึกษาหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดราคาอ้างอิงเอทานอลจากต้นทุนการผลิตโดยเปลี่ยนแปลงเฉพาะในส่วนราคากากน้ำตาลที่เดิมใช้ราคาส่งออกตามประกาศเผยแพร่โดยกรมศุลกากร (บาทต่อกิโลกรัม) จากการคำนวณราคาเฉลี่ย 3 เดือนย้อนหลัง เป็นราคาเฉลี่ยเดือนที่ 1 นำไปคำนวณราคาในเดือนที่ 3 เพื่อให้ราคาเอทานอลสะท้อนราคาตลาดเร็วขึ้น ทั้งนี้ กรณีมีเดือนที่มีราคากากน้ำตาลสูงหรือต่ำกว่าราคาของเดือนก่อนเกินร้อยละ 50 ให้ผู้อำนวยการ สนพ. สามารถพิจารณาใช้ราคาเฉลี่ย 3 เดือน ย้อนหลังมาคำนวณราคาอ้างอิงเอทานอลได้
2. เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2554 กบง. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการใช้หลักเกณฑ์การกำหนดราคาอ้างอิงเอทานอลจากต้นทุนการผลิตเป็นการชั่วคราว โดยให้มีผลตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม 2554 และเห็นชอบใช้ราคากากน้ำตาลตามประกาศเผยแพร่โดยกรมศุลกากรเฉลี่ย 3 เดือนย้อนหลัง ถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณส่งออก (บาทต่อกิโลกรัม) เพื่อคำนวณราคาอ้างอิงเอทานอลในเดือนมกราคม - มีนาคม 2554
3. ปัจจุบัน สนพ. อยู่ระหว่างการศึกษาทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณราคาอ้างอิงเอทานอล เพื่อให้สะท้อนต้นทุน เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 3 เดือน ดังนั้น ในระหว่างการศึกษาทบทวน สนพ. มีความเห็นว่าการกำหนดราคาอ้างอิงเอทานอลจากต้นทุนการผลิตในปัจจุบัน ยังมีความเหมาะสมกับสถานการณ์อยู่ จึงเห็นควรให้ใช้หลักเกณฑ์การกำหนดราคาอ้างอิงเอทานอลจากต้นทุนการผลิตเดิมต่อไปอีก 3 เดือน จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2554 และมอบให้ สนพ. นำเสนอผลการศึกษาทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเอทานอลอ้างอิงต่อ กบง. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในเดือนมิถุนายน 2554
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการใช้หลักเกณฑ์การกำหนดราคาอ้างอิงเอทานอลจากต้นทุนการผลิต ตามที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2554 ต่อไปอีก 3 เดือน จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2554 และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานนำเสนอผลการศึกษาทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเอทานอลอ้างอิงต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในเดือนมิถุนายน 2554
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) ได้แจ้งให้ที่ประชุมฯ ทราบเกี่ยวกับการตรวจสอบสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคใต้ซึ่งประสบอุทกภัย ในช่วงวันที่ 1 - 4 เมษายน 2554 พบว่าสถานีบริการฯ ขนาดใหญ่จำนวนทั้งหมด 492 แห่ง มีจำนวน 32 แห่ง ที่ไม่สามารถเปิดบริการได้ คิดเป็นร้อยละ 6.5 ของสถานีบริการฯ ทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนเนื่องจากเกิดอุทกภัยจึงไม่มีรถยนต์ มาใช้บริการ ส่วนก๊าซ LPG มีคลังอยู่ที่จังหวัดสงขลาและสุราษฎร์ธานี โดยคลังสุราษฎร์ธานีรับก๊าซ LPG ทางเรือจากโรงแยกก๊าซขนอม ส่วนคลังสงขลาจะรับก๊าซ LPG จากคลังเขาบ่อยา ซึ่งไม่มีปัญหาการขาดแคลนก๊าซ LPG แต่อาจจะมีปัญหารถขนส่งก๊าซ LPG ไม่สามารถขนส่งไปยังโรงบรรจุก๊าซและสถานีบริการได้
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ