
คณะกรรมการและอนุกรรมการ (2552)
Children categories
ครั้งที่ 43 - วันอังคาร ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 6/2552 (ครั้งที่ 43)
เมื่อวันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552 เวลา 14.30 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน
1. แนวทางการชำระเงินชดเชยราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) จากการนำเข้า
2. การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100)
3. การปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
5. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 แนวทางการชำระเงินชดเชยราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) จากการนำเข้า
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 ได้พิจารณาเรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)และได้มีมติให้รักษาระดับราคาก๊าซ LPG โดยให้คงราคาก๊าชหุงต้มไว้ แต่สำหรับก๊าช LPG ที่นำไปใช้ในทางอื่นๆ ทั้งหมด ให้ปรับเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อนำเงินที่ได้จากอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปชำระเงินชดเชยการนำเข้าก๊าช LPG จากต่างประเทศ และมอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานและสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ร่วมกันจัดระบบการจ่ายเงินชดเชยสำหรับก๊าซ LPG ที่นำเข้ามาใช้ในประเทศ โดยให้กรมธุรกิจพลังงานเป็นผู้รับผิดชอบตรวจสอบปริมาณการนำเข้าและให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงานเป็นผู้รับผิดชอบด้านการจ่ายเงินชดเชย โดยได้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อทราบเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2551
2. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2552 กพช. ได้พิจารณาเรื่องข้อเสนอการปรับปรุงแนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG และได้มีมติให้ชะลอการพิจารณาปรับราคาก๊าซ LPG ออกไปก่อน เนื่องจากปัจจุบันราคาน้ำมัน อยู่ในระดับต่ำและสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัว ซึ่งจะเป็นการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน ทั้งนี้ หากสถานการณ์ราคาน้ำมันได้เปลี่ยนแปลงไป ให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) นำมาพิจารณาในที่ประชุมใหม่อีกครั้ง และมอบหมายให้ สนพ. ไปพิจารณาแนวทางการชำระเงินชดเชยราคาก๊าซ LPG จากการนำเข้า
3. จากราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปมาก ทำให้ความต้องการใช้ก๊าซ LPG เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการผลิตก๊าซ LPG ในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 เป็นต้นมา จึงต้องมีการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศ โดยในเดือนเมษายน 2551 - มีนาคม 2552 มีการนำเข้าทั้งสิ้น 485,414 ตัน และจากการที่ราคาขายก๊าซ LPG ในประเทศ ต่ำกว่าราคาตลาดโลก ทำให้ต้องชดเชยราคาก๊าซ LPG จากการนำเข้า คิดเป็นเงินประมาณ 8,188 ล้านบาท
3. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 มีเงินสดสุทธิ 19,840 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 3,223 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระเงินชดเชย 3,011 ล้านบาท และงบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 212 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิ 16,618 ล้านบาท
4. เพื่อให้เป็นไปตามมติ กพช. วันที่ 16 มกราคม 2552 สนพ. จึงเสนอขอความเห็นชอบดังนี้ 1) ขอให้ยกเลิกมติ กบง. เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 ในประเด็น "การปรับเพิ่มราคาก๊าซ LPG ที่ใช้ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม เพื่อนำเงินที่ได้จากอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปชำระเงินชดเชยการนำเข้าก๊าซ LPG" 2) ขอใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯ จ่ายเงินชดเชยการนำเข้าก๊าซ LPG ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นไป ในวงเงินไม่เกินเดือนละ 500 ล้านบาท และมอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน กรมสรรพสามิตและสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.) ร่วมกันจัดระบบการจ่ายเงินชดเชยสำหรับก๊าซ LPG ที่นำเข้ามาใช้ในประเทศ ในกรณีที่ยอดการจ่ายเงินชดเชยการนำเข้าก๊าซ LPG เกินวงเงินเดือนละ 500 ล้านบาท ให้ สนพ. นำมาพิจารณาในที่ประชุมใหม่อีกครั้ง 3) มอบหมายให้ สบพน. พิจารณาจ่ายเงินชดเชยสำหรับก๊าซ LPG จากการนำเข้าในปี 2551 เป็นจำนวนเงิน ประมาณ 7,948 ล้านบาท โดยคำนึงถึงฐานะของกองทุนน้ำมันฯ
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 ในประเด็น "การปรับเพิ่มราคาก๊าซ LPG ที่ใช้ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม เพื่อนำเงินที่ได้จากอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปชำระเงินชดเชยการนำเข้าก๊าซ LPG"
2. เห็นชอบให้ใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายเงินชดเชยการนำเข้าก๊าซ LPG ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นไป ในวงเงินไม่เกินเดือนละ 500 ล้านบาท และมอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน กรมสรรพสามิตและสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) ร่วมกันจัดระบบการจ่ายเงินชดเชยสำหรับก๊าซ LPG ที่นำเข้ามาใช้ในประเทศ
ทั้งนี้ ในกรณีที่ยอดการจ่ายเงินชดเชยการนำเข้าก๊าซ LPG เกินวงเงินเดือนละ 500 ล้านบาท ให้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานนำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานพิจารณาใหม่อีกครั้ง
3. มอบหมายให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) พิจารณาจ่ายเงินชดเชยสำหรับก๊าซ LPG จากการนำเข้าในปี 2551 เป็นจำนวนเงิน ประมาณ 7,948 ล้านบาท ระยะเวลาการจ่ายเงินชดเชยภายใน 2 ปี โดยให้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชย หลังจากสิ้นสุดมาตรการการใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบรรเทาผลกระทบจากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
เรื่องที่ 2 การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100)
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 กบง. ได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) โดยให้สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงในอุตสาหกรรมไบโอดีเซล ซึ่งขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันปาล์มดิบเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 76 ของต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
B100 = 0.97 CPO + 0.15 MtOH + 3.32 .
B100 คือ ราคาขายไบโอดีเซล (B100) ในกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/ลิตร
CPO คือ ราคาขายน้ำมันปาล์มดิบในเขตกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/กิโลกรัม
MtOH คือ ราคาขายเมทานอลในกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/กิโลกรัม
โดยที่ 1) CPO หรือราคาขายน้ำมันปาล์มดิบในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้ราคาขายส่งสินค้าเกษตร น้ำมันปาล์มดิบชนิดสกัดแยก (เกรดเอ) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศ แต่ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลก (ตลาดมาเลเซีย) บวก 1 บาท/กิโลกรัม โดยราคาขายน้ำมันปาล์มดิบเฉลี่ยในสัปดาห์ที่แล้วจะนำมาใช้กำหนดราคาในสัปดาห์หน้า เช่น ราคาขายน้ำมันปาล์มดิบเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 1 จะนำมาแทนค่าเพื่อกำหนดราคาไบโอดีเซลในสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้น ยกเว้นกรณีราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลกมาก จะนำมาพิจารณาร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
2) MtOH หรือราคาขายเมทานอลในกรุงเทพมหานคร ใช้ราคาขายเมทานอลเฉลี่ยจากผู้ค้าเมทานอลในประเทศจำนวน 3 ราย เช่น Thai M.C., I.C.P. Chemicals และ Itochu (Thailand) โดยราคาขายเมทานอลเฉลี่ยในสัปดาห์ที่แล้วจะนำมาใช้กำหนดราคาในสัปดาห์หน้า เช่น ราคาขายเมทานอลเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 1 จะนำมาแทนค่าเพื่อกำหนดราคาไบโอดีเซลในสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้น
2. ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2551 กบง. ได้มีมติเห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคา ไบโอดีเซล (B100) โดยให้ปรับเพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบเพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) ให้ ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซียบวก 3 บาท/กิโลกรัม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2551 เป็นต้นไป
3. ในการประชุมเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 กบง. ได้มีมติเห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) โดยกำหนดให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) อิงราคาน้ำมันปาล์มดิบชนิดสกัดแยก (เกรดเอ) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศชั่วคราวในช่วงการดำเนินการโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มดิบปี 2551/2552 ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2552 ถึง 31 มกราคม 2552
4. เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มดิบปี 2551/2552 โดยรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบในราคากิโลกรัมละ 22.50 บาท เป้าหมาย 100,000 ตัน และเก็บสต๊อกไว้จำหน่ายในช่วงเวลาที่เหมาะสม และให้โรงงานสกัดรับซื้อผลปาล์มทะลายจากเกษตรกรในราคากิโลกรัมละ 3.50 บาท (น้ำมันร้อยละ 17) ช่วงรับซื้อผลปาล์มเดือนพฤศจิกายน 2551 ถึงเดือนมกราคม 2552 และต่อมาเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มดิบปี 2551/2552 (เพิ่มเติม) โดยขยายเวลาจากเดิมสิ้นเดือนมกราคม 2552 ออกไปถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศตามประกาศของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ สูงกว่าระดับเพดานที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซีย+3 บาท/กิโลกรัม ทำให้ผู้ผลิตไบโอดีเซลไม่สามารถนำน้ำมันปาล์มดิบมาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลได้เพราะมีต้นทุนสูงกว่าราคาอ้างอิงมาก อาจจะทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันไบโอดีเซลได้
5. กบง. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2551 ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 คณะอนุกรรมการฯ ได้มีมติเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) ในส่วนราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) จากเดิมที่กำหนดให้มีเพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) ให้ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซีย บวก 3 บาท/กิโลกรัม ปรับปรุงเป็นใช้ราคาปาล์มดิบชนิดสกัดแยก (เกรดเอ) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศเผยแพร่ แต่ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบที่คำนวณจากราคาปาล์มทะลาย (น้ำมันร้อยละ17) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศเผยแพร่ บวกค่าสกัด 2.25 บาท/กิโลกรัม เป็นการชั่วคราวถึง 31 พฤษภาคม 2552 หลังจากนั้นให้กลับมาใช้เพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) ให้ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซีย บวก 3 บาท/กิโลกรัม และนำเสนอ กบง. เพื่อพิจารณาต่อไป
6. เพื่อให้ผู้ผลิตไบโอดีเซลสามารถที่จะผลิตไบโอดีเซล (B100) จำหน่ายให้กับผู้ค้ามาตรา 7 โดยสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงในอุตสาหกรรมไบโอดีเซล และสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) จากเดิมกำหนดให้มีเพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) ให้ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซีย บวก 3 บาท/กิโลกรัม ปรับปรุงเป็นกำหนดให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) โดยใช้ราคาปาล์มดิบชนิดสกัดแยก (เกรดเอ) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศเผยแพร่ แต่ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบที่คำนวณจากราคาปาล์มทะลาย (น้ำมันร้อยละ 17) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศเผยแพร่ บวกค่าสกัด 2.25 บาท/กิโลกรัม เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2552 หลังจากนั้นให้กลับมาใช้เพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) ให้ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซีย บวก 3 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2552 ถึง 31 พฤษภาคม 2552
มติของที่ประชุม
เห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) โดยกำหนดให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) ใช้ราคาปาล์มดิบชนิดสกัดแยก (เกรดเอ) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศเผยแพร่ แต่ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบที่คำนวณจากราคาปาล์มทะลาย (น้ำมัน ร้อยละ 17) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศเผยแพร่ บวกค่าสกัด 2.25 บาท/กิโลกรัม เป็นการชั่วคราว หลังจากนั้นให้กลับมาใช้เพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) ให้ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซีย บวก 3 บาท/กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2552 ถึง 31 พฤษภาคม 2552 ทั้งนี้ ให้กำหนดราคาเพดานให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 ในโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มดิบปี 2551/2552 (เพิ่มเติม) คือให้รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบในราคากิโลกรัมละ 22.50 บาท และให้โรงงานสกัดรับซื้อผลปาล์มทะลายจากเกษตรกรในราคากิโลกรัมละ 3.50 บาท (น้ำมันร้อยละ 17)
เรื่องที่ 3 การปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2550 ได้เห็นชอบการปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายสำหรับปีปฏิทิน 2550 และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ดำเนินการศึกษาแนวทางการปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ทั้งนี้ สนพ. ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการศึกษาแนวทางการปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
2. สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการศึกษาแนวทางการปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพบริการฯ แล้วเสร็จ และ สนพ. ได้จัดให้มีการสัมมนาเพื่อนำเสนอผลการศึกษาให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2551 โดยเสนอแนวทางการปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพบริการฯ ดังนี้
2.1 ระยะสั้น (ปี 2552-2553) เสนอให้มีการปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพบริการของ กฟผ. และการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 3.3.2 ของระเบียบวาระการประชุม
2.2 ระยะยาว (ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป) : เสนอให้มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินดัชนีวัดผลการดำเนินงานจากผลการดำเนินงานย้อนหลังในปีที่ผ่านมาและการวิเคราะห์ผลงานในอดีต เช่น ค่าเฉลี่ยหรือผลงานที่ดีที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในอนาคตควรมีการศึกษาแนวทางการกำหนดโครงสร้างราคาไฟฟ้าให้มีความสัมพันธ์กับคุณภาพและการรับประกัน กล่าวคือ ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ต้องการคุณภาพที่ดีและการรับประกัน จะมีราคาไฟฟ้าแตกต่างจากผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับบริการทั่วไปตามโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าราคาเดียวกันทั่วประเทศ
ทั้งนี้ โดยมีดัชนีวัดผลการดำเนินงาน ดังนี้
ดัชนีวัดผลการดำเนินงานของ กฟผ. | ดัชนีวัดผลการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย |
1. ค่าเฉลี่ยของจำนวนครั้งที่ไฟฟ้าดับ (SAIFI) 2. ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ไฟฟ้าดับ (SAIDI) 3. ความมั่นคงในการจ่ายกระแสไฟฟ้า (System Minutes) 4. ปริมาณไฟฟ้าที่ไม่สามารถจ่ายให้ลูกค้าได้ (Estimated Unsupplied Energy) 5. ปัจจัยความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (GWEAF) 6. การเบี่ยงเบนความถี่จากช่วยการยอมรับ (Frequency Deviation) 7. การเบี่ยงเบนแรงดันไฟฟ้าจากช่วงการยอมรับ (Voltage Deviation) 8. ร้อยละระดับการให้บริการที่ดีมากจากการสำรวจ (Percent Customers Ranking Service Excellent on Survey) |
1. ค่าเฉลี่ยของจำนวนครั้งที่ไฟฟ้าดับที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ต่อลูกค้าหนึ่งรายในหนึ่งปี (SAIFI) 2. ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ไฟฟ้าดับที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ต่อลูกค้าหนึ่งรายในหนึ่งปี (SAIDI) 3. การออกใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า 4. การอ่านค่าหน่วยไฟฟ้าที่ใช้จริง 5. การจ่ายกระแสไฟฟ้าคืนหลังเกิดเหตุขัดข้อง 6. การตรวจสอบและแก้ไขคำร้องเรียนเกี่ยวกับแรงดันและไฟกระพริบ 7. การตอบข้อร้องเรียน 8. การแจ้งดับไฟฟ้าล่วงหน้าและระยะเวลาที่ดับไฟจะต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่แจ้งไว้ 9. การประเมินราคาและระยะเวลาในการติดตั้ง สำหรับการติดตั้งใหม่และลูกค้ารายใหม่ 10. ระยะเวลาในการต่อกลับใช้ไฟฟ้าใหม่ของลูกค้าเดิม 11. การจ่ายเงินค่าปรับที่จ่ายโดยเช็คหรือเงินสดตามที่รับประกันในระยะเวลาที่กำหนด (ดัชนีใหม่) 12. ความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าที่มีต่อการไฟฟ้า (ดัชนีใหม่) |
3. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้เสนอให้มีการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพบริการฯ ในปี 2552-2553 ตามผลการศึกษาโครงการศึกษาแนวทางการปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพบริการฯ นอกจากนี้ เนื่องจากปัจจุบันได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ขึ้นตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงาน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ ดังนั้น จึงเห็นควรให้ สกพ. ดำเนินการกำกับดูแลมาตรฐานคุณภาพบริการของ กฟผ. และการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าจำหน่าย ในปี 2552-2553 ดังรายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 3.3.2 และเอกสารประกอบวาระที่ 3.3 ของระเบียบวาระการประชุม โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นไป
2. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เป็นผู้ดำเนินการกำกับดูแลมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ตามนโยบายมาตรฐานคุณภาพบริการในข้อ 1 ดังนี้
2.1 ประเมินมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ตลอดจน สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ไฟฟ้าต่อการให้บริการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป และรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานทราบเป็นระยะตามความเหมาะสม
2.2 เสนอแนะการปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ตลอดจนการกำหนดบทปรับให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในการประชุมครั้งที่ 12/2551 (ครั้งที่ 37) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ได้มีมติอนุมัติแผนการใช้จ่ายเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประจำปีงบประมาณ 2552 - 2555 ให้หน่วยงานต่างๆ เป็นจำนวนเงินรวม 162.8855 ล้านบาท พร้อมทั้งสนับสนุนเงินในงบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2552 - 2555 ปีละ 300 ล้านบาท รวม 1,200 ล้านบาท โดยเงินเหลือจ่ายดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในปีถัดไปได้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
2. ในวันที่ 15 ธันวาคม 2551 และวันที่ 15 มกราคม 2552 กบง. ได้อนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ งบค่าใช้จ่ายอื่น ในปีงบประมาณ 2552 ในกรอบวงเงิน 300 ล้านบาท ให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และกรมธุรกิจพลังงาน ในวงเงินรวม 136,148,950 บาท
3. เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้มีมติอนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2552 เพิ่มเติมดังนี้
3.1 อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน (สป.พน.) จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านนโยบายพลังงาน ระยะที่ 2 จำนวนเงิน 35,000,000 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือนนับจากวันที่ลงนามในหนังสือสัญญา โดยมีสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป.พน. เป็นเจ้าของโครงการ วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในนโยบายพลังงานของกระทรวงพลังงาน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น 3 โครงการย่อย คือ 1) โครงการสื่อสารนโยบายในแนวสารคดี ใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท 2) โครงการสื่อสารนโยบายผ่านกิจกรรมทางสังคม ใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท และ 3) โครงการสื่อสารนโยบายภายในองค์กร ใช้งบประมาณ 5 ล้านบาท
3.2 อนุมัติให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำโครงการจำนวน 2 โครงการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 37,000,000 บาท ดังนี้
3.2.1 โครงการประชาสัมพันธ์พลังงานตามสถานการณ์ มีกองนโยบายและแผนพลังงาน สนพ. เป็นเจ้าของโครงการ งบประมาณ 30 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือนนับจากวันที่ลงนามในหนังสือสัญญาวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารพลังงานที่ถูกต้องแก่ประชาชนตามสถานการณ์ต่างๆ โดยแบ่งเป็น 2 กิจกรรมหลัก คือ การให้ความรู้ความเข้าใจผ่าน Control Media (งบประมาณ 13.20 ล้านบาท) และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน องค์กร หรือหน่วยงานอื่น (งบประมาณ 16.8 ล้านบาท)
3.2.2 โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อสนับสนุนการบริหารงานและวิเคราะห์งานด้านปิโตรเลียมและปิโตรเคมี มีสำนักนโยบายปิโตรเลียมและปิโตรเคมี สนพ. เป็นเจ้าของโครงการ งบประมาณ 7,000,000 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือนนับจากวันที่ลงนามในหนังสือสัญญา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่ปรึกษาและสนับสนุนการบริหารงานและวิเคราะห์งานโครงการปิโตรเลียมและปิโตรเคมี โดยแบ่งการทำงานเป็น 5 ส่วน ได้แก่ งานนโยบาย งานส่งเสริมสนับสนุน งานติดตามผล งานบริการ และงานอื่นๆ อาทิ ติดตามเทคโนโลยีด้านปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น
3.3 อนุมัติให้กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) จัดทำโครงการจำนวน 3 โครงการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,565,200 บาท ดังนี้
3.3.1 โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพนักงานส่งก๊าซหุงต้ม มีสำนักความปลอดภัยธุรกิจก๊าซปิโตรเลียมเหลว ธพ. เป็นเจ้าของโครงการ งบประมาณ 3,172,200 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 9 เดือน (1 เมษายน 2552 - 31 ธันวาคม 2552) วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายก๊าซและพนักงานส่งก๊าซหุงต้มทั่วประเทศมีความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมาย วิธีการปฏิบัติ การป้องกัน อันตรายจากการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการร้านจำหน่ายก๊าซหุงต้ม และพนักงานส่งก๊าซหุงต้ม ทั่วประเทศ 2,000 คน จากร้านจำหน่ายก๊าซฯ 2,000 แห่ง
3.3.2 โครงการสำรวจการถ่ายโอนสถานีบริการน้ำมัน มีสำนักความปลอดภัยธุรกิจน้ำมัน ธพ. เป็นเจ้าของโครงการ งบประมาณ 9,393,000 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 15 เดือน (มิถุนายน 2552 - สิงหาคม 2553) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 กลุ่มเป้าหมายหลักคือ ผู้ประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วประเทศ (ยกเว้นประเภท ฉ) ประมาณ 8,000 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศประมาณ 7,714 แห่ง
3.3.3 โครงการส่งเสริมสถานีบริการน้ำมันที่ได้รับเหรียญรางวัลให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีสำนักความปลอดภัยธุรกิจน้ำมัน ธพ. เป็นเจ้าของโครงการ งบประมาณ 2,000,000 บาท ระยะเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือนเมษายน 2553 วัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์สถานีบริการน้ำมันที่ได้รับเหรียญรางวัลโครงการ "ปั๊มคุณภาพ ปลอดภัย น่าใช้บริการ" ให้เป็นที่รู้จักและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการเข้าใช้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ขับขี่ยานพาหนะ และสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ก และ ประเภท ข ทั่วประเทศ
มติของที่ประชุม
1. อนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2552 ให้สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านนโยบายพลังงาน ระยะที่ 2 ในวงเงิน 35,000,000 บาท (สามสิบห้าล้านบาทถ้วน) ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน นับจากวันที่ลงนามในหนังสือสัญญา โดยให้สามารถถัวจ่ายระหว่างรายการและแยกดำเนินการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ให้เบิกจ่ายตามที่ใช้จ่ายจริงภายในวงเงินที่ได้รับการสนับสนุน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่โครงการได้รับอนุมัติ และให้ดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2552
2. อนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2552 ให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการ จำนวน 2 โครงการ ในวงเงินรวม 37,000,000 บาท (สามสิบเจ็ดล้านบาทถ้วน) ดังนี้
2.1 โครงการประชาสัมพันธ์พลังงานตามสถานการณ์ ในวงเงิน 30,000,000 บาท (สามสิบล้านบาทถ้วน) ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน นับจากวันที่ลงนามในหนังสือสัญญา
2.2 โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อสนับสนุนการบริหารงานและวิเคราะห์งานด้านปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ในวงเงิน 7,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน) ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน นับจากวันที่ลงนาม ในหนังสือสัญญา
โดยให้สามารถถัวจ่ายระหว่างรายการและแยกดำเนินการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ให้เบิกจ่ายตามที่ใช้จ่ายจริงภายในวงเงินที่ได้รับการสนับสนุน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่โครงการได้รับอนุมัติ และให้ดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2552
3. อนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2552 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ของกรมธุรกิจพลังงาน จำนวน 3 โครงการ ในวงเงินรวม 14,565,200 บาท (สิบสี่ล้านห้าแสนหกหมื่นห้าพันสองร้อยบาทถ้วน) ดังนี้
3.1 โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพนักงานส่งก๊าซหุงต้ม ในวงเงิน 3,172,200 บาท (สามล้านหนึ่งแสนเจ็ดหมื่นสองพันสองร้อยบาทถ้วน) ระยะเวลาดำเนินการ 9 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552 - 31 ธันวาคม 2552)
3.2 โครงการสำรวจการถ่ายโอนสถานีบริการน้ำมัน ในวงเงิน 9,393,000 บาท (เก้าล้านสามแสนเก้าหมื่นสามพันบาทถ้วน) ระยะเวลาดำเนินการ 15 เดือน (ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 - สิงหาคม 2553)
3.3 โครงการส่งเสริมสถานีบริการน้ำมันที่ได้รับเหรียญรางวัลให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในวงเงิน 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือนเมษายน 2553
โดยให้สามารถถัวจ่ายระหว่างรายการและแยกดำเนินการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ให้เบิกจ่ายตามที่ใช้จ่ายจริงภายในวงเงินที่ได้รับการสนับสนุน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่โครงการได้รับอนุมัติ และให้ดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2552
เรื่องที่ 5 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัส เฉลี่ยเดือนมกราคม 2552 อยู่ที่ระดับ 44.12 และ 41.75 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 3.59 และ 0.30 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ จากข่าวโอเปค-11 (ยกเว้นอิรัก) ส่งออกน้ำมันดิบในรอบ 4 สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2552 ลดลง 160,000 บาร์เรล/วัน มาอยู่ที่ 23.55 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัสปรับตัวลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 43.09 และ 39.16 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ จากข่าวการส่งออกของญี่ปุ่นในเดือนมกราคม 2552 ลดลงร้อยละ 46 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งข่าวปริมาณสำรองน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มสูงขึ้น 0.7 ล้านบาร์เรล
2. ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลเฉลี่ยเดือนมกราคม 2552 อยู่ที่ระดับ 52.23, 48.97 และ 58.36 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 11.17, 10.09 และ 0.35 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและจากอุปสงค์ของอินโดนีเซียเนื่องจากโรงกลั่น Balongan ปิดซ่อมบำรุงและอิหร่านต้องนำเข้าน้ำมันเบนซินจากตลาดจรในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เพิ่มขึ้นเนื่องจากบริษัท Reliance ของอินเดียปรับลดปริมาณส่งมอบน้ำมันแบบเทอมลง และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95และ 92 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 57.97 และ 55.42 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ จากข่าวอิหร่านเก็บสำรองน้ำมันเบนซินและข่าวจีนลดปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซิน ในเดือนมีนาคมลงเนื่องจากอุปสงค์ในประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้วเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 49.10 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล จากการที่จีนยังคงส่งออกน้ำมันดีเซลอย่างต่อเนื่องเนื่องจากอุปสงค์ ในประเทศต่ำ
3. เดือนมกราคม 2552 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้น 3.60 บาท/ลิตร, เบนซิน 91 เพิ่มขึ้น 2.80 บาท/ลิตร, แก๊สโซฮอล 95 E10, E20, แก๊สโซฮอล 91 เพิ่มขึ้น 2.60 บาท/ลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนเร็ว B5 ไม่มีการปรับราคาขายปลีก ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95, 91 เพิ่มขึ้น 3.15 บาท/ลิตร, แก๊สโซฮอล 95 E10, E20, แก๊สโซฮอล 91 เพิ่มขึ้น 3.55 บาท/ลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนเร็ว B5 เพิ่มขึ้น 1.25 บาท/ลิตร ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91, แก๊สโซฮอล 95 E10, E20, แก๊สโซฮอล 91, ดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนเร็ว B5 ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 อยู่ที่ระดับ 35.34, 26.74, 22.44, 21.14, 21.64, 19.59 และ 18.09 บาท/ลิตร ตามลำดับ
4. สถานการณ์ก๊าซ LPG ช่วงเดือนมีนาคม 2552 ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกปรับตัวลดลง 43 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน มาอยู่ที่ระดับ 462.00 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน จากความต้องการใช้ในภูมิภาคลดลง โดยเฉพาะธุรกิจปิโตรเคมี ซึ่งหันกลับไปใช้แนฟทาแทน LPG เนื่องจากราคาลดต่ำลง ราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นในประเทศ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 อยู่ที่ระดับ 10.9960 บาท/กิโลกรัม อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่จำหน่ายในประเทศอยู่ในระดับ 0.3033 บาท/กิโลกรัม คิดเป็น 48.95 ล้านบาท ทั้งนี้มีการนำเข้าก๊าซ LPG ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 - กุมภาพันธ์ 2552 รวม 463,414.46 ตัน คิดเป็นภาระชดเชย 8,020.82 ล้านบาท
5. สถานการณ์น้ำมันแก๊สโซฮอล เดือนกุมภาพันธ์ 2552 มีผู้ประกอบการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง 12 ราย แต่ผลิตจริง 10 ราย กำลังการผลิตรวม 1.73 ล้านลิตร/วัน มีปริมาณผลิตจริง 1.33 ล้านลิตร/วัน และราคาเอทานอลแปลงสภาพ ไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ 17.18 บาท/ลิตร ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2552 มีปริมาณการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล 12.6 และ 12.2 ล้านลิตร/วัน ตามลำดับ โดยมีสถานีบริการรวม 4,178 แห่ง ราคาขายปลีกน้ำมัน ณ วันที่ 2 มีนาคม 2552 น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และ 91 ต่ำกว่าราคาน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 อยู่ที่ 4.30 และ 5.10 บาท/ลิตร ตามลำดับ และปริมาณการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2552 มีปริมาณจำหน่าย 0.14 ล้านลิตร/วัน มีสถานีบริการน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 จำนวน 188 แห่ง ราคาขายปลีกต่ำกว่าราคาน้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล 95 E10 อยู่ที่ 1.30 บาท/ลิตร
6. สถานการณ์น้ำมันไบโอดีเซล เดือนกุมภาพันธ์ 2552 มีผู้ผลิตไบโอดีเซล 12 ราย กำลังการผลิตรวม 4.40 ล้านลิตร/วัน ปริมาณความต้องการเฉลี่ยในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2552 อยู่ที่ 1.66 และ 1.58 ล้านลิตร/วัน ราคาไบโอดีเซลในประเทศเฉลี่ยเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2552 อยู่ที่ 24.82 และ 24.89 บาท/ลิตร ตามลำดับ การจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2552 มีปริมาณ 18.58 และ 18.39 ล้านลิตร/วัน ตามลำดับ มีสถานีบริการรวม 2,866 แห่ง ปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯ ชดเชยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 เท่ากับ 0.20 บาท/ลิตร มีราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 1.50 บาท/ลิตร
7. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 มีเงินสดในบัญชี 19,840 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 3,223 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระเงินชดเชย 3,011 ล้านบาท และงบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 212 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิ 16,618 ล้านบาท โดยมีหนี้นำเข้า LPG จาก ปตท. ถึงสิ้นเดือนมกราคม 2552 อยู่ประมาณ 8,021 ล้านบาท ซึ่งทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิ 8,597 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
ครั้งที่ 42 - วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 5/2552 (ครั้งที่ 42)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 13.00 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ อาคาร 7 ชั้น 11 กระทรวงพลังงาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2552 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบ เรื่องนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน : มาตรการด้านภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ดังนี้ 1) เห็นชอบในหลักการให้ใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่จะสูงขึ้นจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 โดยการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาน้ำมันขายปลีกทยอยเพิ่มขึ้นในระดับและในช่วงเวลาที่เหมาะสม และมิให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภค และ 2) มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) รับไปพิจารณาดำเนินการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นไปตามหลักการในข้อ 1)
2. กบง. ในการประชุมเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552 ได้มีมติเห็นชอบเรื่อง นโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน : มาตรการด้านภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ดังนี้ 1) เห็นชอบในหลักการให้ใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่จะสูงขึ้นจากการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน โดยการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ อัตราหนึ่ง ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 และหลังจากนั้นให้ทยอยปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ประมาณ 1.00 -1.50 บาท/ลิตร เพื่อให้อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ กลับไปอยู่ในอัตราเดิม โดยอาจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน 2) เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 91 เพื่อรักษาส่วนต่างราคาขายปลีกระหว่างน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอล ในการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล ภายหลังจากอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ กลับไปอยู่ในอัตราเดิม และ 3) เพื่อให้มีความคล่องตัวและทันเหตุการณ์ในการรักษาเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันฯ เห็นชอบในหลักการที่มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธาน กบง. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติแทน กบง. ในการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับแนวทางในข้อ 1) แล้วรายงานให้ กบง. ทราบภายหลัง ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) รับไปดำเนินการต่อไป
3. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ได้มีการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และได้ใช้กองทุนน้ำมันฯ เข้าไปรับภาระบางส่วน เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันเพิ่มขึ้นเพียง 1.55 บาท/ลิตร ต่อมาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับเพิ่มราคาขายปลีกเบนซิน 95 และ 91 0.80 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอลทุกชนิดเพิ่มขึ้น 0.60 บาท/ลิตร และปรับลดดีเซลหมุนเร็ว B2 และ B5 0.50 บาท/ลิตร เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 กบง. ได้มีมติให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95, น้ำมันแก๊สโซฮอล 91, น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20, น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E85 ,ดีเซลหมุนเร็ว B2 และดีเซลหมุนเร็ว B5 เพิ่มขึ้น 0.60 บาท/ลิตร ทำให้ราคาขายปลีกเพิ่ม 0.60 บาท/ลิตร ต่อมาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้ค้าน้ำมันปรับลดราคาดีเซล 0.40 บาท/ลิตร และวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552 ปรับเพิ่มราคาเบนซิน 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล 0.80 บาท/ลิตร และในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 ได้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอลและดีเซลหมุนเร็ว B2 เพิ่มขึ้นอีก 0.80 บาท/ลิตร และดีเซลหมุนเร็ว B5 เพิ่มขึ้นอีก 0.26 บาท/ลิตร โดยทำให้ค่าการตลาดของผู้ค้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม
4. เนื่องจากในช่วงวันที่ 20-25 กุมภาพันธ์ 2552 ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ของน้ำมันเบนซิน 95 ลดลงประมาณ 2 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ส่วนน้ำมันดีเซลทรงตัว ส่งผลให้ค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอลของผู้ค้าน้ำมันในปัจจุบันอยู่ในระดับสูง จึงสามารถปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอลได้ 0.60 บาท/ลิตร และดีเซลหมุนเร็ว B2 0.20 บาท/ลิตร เพื่อลดภาระการชดเชยจากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตจากกองทุนน้ำมันฯ โดยการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯครั้งนี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมัน และจะทำให้อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ค่าการตลาดและราคาขายปลีกเป็นดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงหลังปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ
เปรียบเทียบอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมัน ค่าการตลาด และราคาขายปลีก
ภาระที่เหลือของกองทุนน้ำมันฯ
5. ในช่วงวันที่ 1-26 กุมภาพันธ์ 2552 กองทุนน้ำมันฯ ได้เข้ามาพยุงการขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ โดยทำให้ราคาขายปลีกปรับเพิ่ม 1.55 บาท/ลิตร และกองทุนน้ำมันฯ รับภาระวันละ 125 ล้านบาท คิดเป็นภาระกองทุนน้ำมันฯ 1,498 ล้านบาท ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ โดยทำให้ราคาขายปลีกเพิ่มขึ้น 0.60 บาท/ลิตร ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ รับภาระเหลือวันละ 89 ล้านบาท และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอลและดีเซลหมุนเร็ว B2 อีก 0.80 บาท/ลิตร และดีเซลหมุนเร็ว B5 อีก 0.26 บาท/ลิตร โดยทำให้ค่าการตลาดของผู้ค้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ ลดการรับภาระเหลือวันละ 50 ล้านบาท
6. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้เสนอขอปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ครั้งที่ 4 ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 โดยปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอลเพิ่มขึ้น 0.60 บาท/ลิตร (ยกเว้นน้ำมันแก๊สโซฮอล E85) และดีเซลหมุนเร็ว B2 เพิ่มขึ้น 0.20 บาท/ลิตร โดยทำให้ค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันอยู่ในระดับที่เหมาะสม ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ ลดการรับภาระเหลือวันละ 36 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95, น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20 เพิ่มขึ้น 0.60 บาท/ลิตร และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B2 เพิ่มขึ้น 0.20 บาท/ลิตร ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อลดภาระการชดเชยจากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ทั้งนี้ จะไม่ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเปลี่ยนแปลง
2. เห็นชอบในหลักการให้การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในครั้งต่อไป ให้พิจารณาปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปสู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงผลกระทบต่อเงินเฟ้อและอัตราค่าบริการในภาคขนส่งด้วย
ครั้งที่ 41 - วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 4/2552 (ครั้งที่ 41)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 16.30 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ อาคาร 7 ชั้น 11 กระทรวงพลังงาน
2. การขอรับเงินสนับสนุนโครงการตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือจากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าการนัดประชุมในครั้งนี้ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องพิจารณาเกี่ยวกับการปรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรการภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วน
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2552 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบ เรื่องนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน : มาตรการด้านภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ดังนี้ 1) เห็นชอบในหลักการให้ใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง บรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมัน ที่จะสูงขึ้นจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 โดยการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาน้ำมันขายปลีกทยอยเพิ่มขึ้นในระดับและในช่วงเวลาที่เหมาะสม และมิให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภค และ 2) มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) รับไปพิจารณาดำเนินการปรับลดอัตราเงิน ส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นไปตามหลักการในข้อ 1)
2. กบง. ในการประชุมเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552 ได้มีมติเห็นชอบเรื่อง นโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน : มาตรการด้านภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ดังนี้ 1) เห็นชอบในหลักการให้ใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่จะสูงขึ้นจากการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน โดยการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ อัตราหนึ่ง ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 และหลังจากนั้นให้ทยอยปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ประมาณ 1.00 -1.50 บาท/ลิตร เพื่อให้อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ กลับไปอยู่ในอัตราเดิม โดยอาจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน 2) เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 91 เพื่อรักษาส่วนต่างราคาขายปลีก ระหว่างน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอล ในการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล ภายหลังจากอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ กลับไปอยู่ในอัตราเดิม และ 3) เพื่อให้มีความคล่องตัวและทันเหตุการณ์ในการรักษาเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันฯ เห็นชอบในหลักการที่มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธาน กบง. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติแทน กบง. ในการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับแนวทางใน ข้อ 1) แล้วรายงานให้ กบง. ทราบภายหลัง ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) รับไปดำเนินการต่อไป
3. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ได้มีการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และได้ใช้กองทุนน้ำมันฯ เข้าไปรับภาระบางส่วน เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันเพิ่มขึ้นเพียง 1.55 บาท/ลิตร ต่อมาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับเพิ่มราคาขายปลีกเบนซิน 95 และ 91 0.80 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอลทุกชนิดเพิ่มขึ้น 0.60 บาท/ลิตร และปรับลดดีเซลหมุนเร็ว B2 และ B5 0.50 บาท/ลิตร เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 กบง. ได้มีมติให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95, น้ำมันแก๊สโซฮอล 91, น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20, น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E85 ,ดีเซลหมุนเร็ว B2 และดีเซลหมุนเร็ว B5 เพิ่มขึ้น 0.60 บาท/ลิตร ทำให้ราคาขายปลีกเพิ่ม 0.60 บาท/ลิตร ต่อมาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้ค้าน้ำมันปรับลดราคาดีเซล 0.40 บาท/ลิตร และวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552 ปรับเพิ่มราคาเบนซิน 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล 0.80 บาท/ลิตร
4. เนื่องจากในช่วงวันที่ 13 - 18 กุมภาพันธ์ 2552 ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ได้ปรับตัวลดลง โดยน้ำมันเบนซิน 95 ลดลงประมาณ 9 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล และดีเซลลดลงประมาณ 2.5 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ส่งผลให้ค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันในปัจจุบันอยู่ในระดับสูง จึงสามารถปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมัน จึงเห็นควรปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อลดภาระการชดเชยจากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตของน้ำมันแก๊สโซฮอลและดีเซลหมุนเร็ว B2 อีก 0.80 บาท/ลิตร และดีเซลหมุนเร็ว B5 อีก 0.26 บาท/ลิตร ซึ่งจะทำให้อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ค่าการตลาดและราคาขายปลีกเป็นดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงหลังปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ
เปรียบเทียบอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมัน ค่าการตลาด และราคาขายปลีก
ภาระที่เหลือของกองทุนน้ำมันฯ
5. ในช่วงวันที่ 1-12 กุมภาพันธ์ 2552 กองทุนน้ำมันฯ ได้เข้ามาพยุงการขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิง ครั้งที่ 1 ทำให้ราคาขายปลีกปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1.55 บาท/ลิตร คิดเป็นเงิน 1,498 ล้านบาท (หรือ 125 ล้านบาท/วัน ) ต่อมาในช่วงวันที่ 13-19 กุมภาพันธ์ 2552 หลังการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ครั้งที่ 2 ของน้ำมันแก๊สโซฮอลและน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 0.60 บาท/ลิตร ทำให้ราคาขายปลีกเพิ่ม 0.60 บาท/ลิตร ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ ลดภาระลงเหลือ 89 ล้านบาท/วัน และเมื่อปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ครั้งนี้จะส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ ลดภาระลงเหลือ 50 ล้านบาท/วัน
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95, น้ำมันแก๊สโซฮอล 91,น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20, น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E85 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B2 เพิ่มขึ้น 0.80 บาท/ลิตร และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 เพิ่มขึ้น 0.26 บาท/ลิตร ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อลดภาระการชดเชยจากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ทั้งนี้ จะไม่ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเปลี่ยนแปลง
เรื่องที่ 2 การขอรับเงินสนับสนุนโครงการตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือจากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต
สรุปสาระสำคัญ
1. กบง. ในการประชุมเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 ได้มีมติอนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2552 ให้กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือ จากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตกลับมาอยู่ในอัตราเดิมเมื่อสิ้นสุด 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน ในวงเงินครั้งละ 5,114,100 บาท โดยเห็นชอบให้ ธพ. เบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันฯ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานได้ไม่เกิน 3 ครั้ง หากจำเป็นต้องตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือดังกล่าวเกิน 3 ครั้ง ให้นำเรื่องเสนอ กบง. เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป
2. ธพ. ได้ดำเนินการตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือไปแล้วจำนวน 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2552 และวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 และคาดว่าจะต้องดำเนินการตรวจสอบอีกประมาณ 3 ครั้ง โดยในการดำเนินการตรวจสอบฯ ที่ผ่านมาได้มีเจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทักท้วงเรื่องค่าตอบแทนในการปฏิบัติงาน เดิมเหมาจ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงและพาหนะคนละ 300 บาท ว่าสามารถใช้ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ.2550 ซึ่งเบิกเป็นเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาได้ชั่วโมงละ 60 บาท ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง เป็นเงิน 420 บาท จึงเห็นควรปรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้เป็นไปตามระเบียบข้างต้น โดย ขอความเห็นชอบอนุมัติเงินค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือจากกองทุนน้ำมันฯ นับแต่การตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือในครั้งต่อไป และให้เบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันฯ ได้ตามจำนวนครั้งที่มีการปฏิบัติงานตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือที่เกิดขึ้นจริง จำนวนครั้งละ 5,676,300 บาท
มติของที่ประชุม
อนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2552 ให้กรมธุรกิจพลังงาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือ จากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตกลับมาอยู่ในระดับเดิมเมื่อสิ้นสุด 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน ในวงเงินครั้งละ 5,676,300 บาท (ห้าล้านหกแสนเจ็ดหมื่นหกพันสามร้อยบาทถ้วน) โดยให้เบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ตามจำนวนครั้งที่มีการปฏิบัติงานตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือที่เกิดขึ้นจริง โดยให้มีผลนับแต่มีการตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือเกิดขึ้นในครั้งต่อไป
ทั้งนี้ ให้ปรับปรุงค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานจากเดิม แบบเหมาจ่ายที่เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงและพาหนะคนละ 300 บาท เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาแบบเหมาจ่าย คนละ 420 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550
ครั้งที่ 40 - วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 3/2552 (ครั้งที่ 40)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 11.30 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ อาคาร 7 ชั้น 11 กระทรวงพลังงาน
1. การปรับราคาน้ำมัน ตามมาตรการภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ครั้งที่ 2
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) เป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) เป็นกรรมการและเลขานุการ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าการนัดประชุมในครั้งนี้ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องพิจารณาเกี่ยวกับการปรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตามมาตรการภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วน
เรื่องที่ 1 การปรับราคาน้ำมัน ตามมาตรการภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ครั้งที่ 2
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2552 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบ เรื่องนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน : มาตรการด้านภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ดังนี้ 1) เห็นชอบในหลักการให้ใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่จะสูงขึ้นจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 โดยการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาน้ำมันขายปลีกทยอยเพิ่มขึ้นในระดับและในช่วงเวลาที่เหมาะสม และมิให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภค และ 2) มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) รับไปพิจารณาดำเนินการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นไปตามหลักการในข้อ 1)
2. กบง. ในการประชุมเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552 ได้มีมติเห็นชอบเรื่อง นโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน : มาตรการด้านภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ดังนี้ 1) เห็นชอบในหลักการให้ใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่จะสูงขึ้นจากการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน โดยการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ อัตราหนึ่ง ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 และหลังจากนั้นให้ทยอยปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ประมาณ 1.00 -1.50 บาท/ลิตร เพื่อให้อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ กลับไปอยู่ในอัตราเดิม โดยอาจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน 2) เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 91 เพื่อรักษาส่วนต่างราคาขายปลีกระหว่างน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอล ในการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล ภายหลังจากอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ กลับไปอยู่ในอัตราเดิม และ 3) เพื่อให้มีความคล่องตัวและทันเหตุการณ์ในการรักษาเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันฯ เห็นชอบในหลักการที่มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธาน กบง. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติแทน กบง. ในการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับแนวทางในข้อ 1) แล้วรายงานให้ กบง. ทราบภายหลัง ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) รับไปดำเนินการต่อไป
3. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ได้มีการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และได้ใช้กองทุนน้ำมันฯ เข้าไปรับภาระบางส่วน เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันเพิ่มขึ้นเพียง 1.55 บาท/ลิตร ต่อมาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 0.80 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอลทุกชนิดเพิ่มขึ้น 0.60 บาท/ลิตร และปรับลดดีเซลหมุนเร็ว B2 และ B5 0.50 บาท/ลิตร
หลังจากนั้นราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบๆ และค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลยังอยู่ในระดับที่สูง จึงทำให้สามารถปรับราคาขายปลีกน้ำมันครั้งที่ 2 ได้โดยการเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ทุกชนิดอีก 0.60 บาท/ลิตร (ยกเว้นเบนซิน 95,91) เพื่อลดภาระการชดเชยจากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตจากกองทุนน้ำมันฯ ซึ่งกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) จะสามารถออกตรวจสอบสต๊อกน้ำมันได้ทันที ดังนั้นจึงเห็นควรปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อลดภาระการชดเชยจากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตของน้ำมันแก๊สโซฮอล (E10, E20 และ E85) และดีเซล อีก 0.60 บาท/ลิตร จะทำให้ราคาขายปลีกเพิ่ม 0.60 บาท/ลิตร (ข้อเท็จจริงถ้าปรับกองทุนเพิ่ม 0.60 บาท/ลิตร ราคาขายปลีกจะเพิ่ม 0.64 บาท/ลิตร แต่เนื่องจากค่าการตลาดอยู่ในระดับสูงจึงให้ส่วนที่เกินเป็นภาระของผู้ค้าซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดลดลง 0.04 บาท/ลิตร) ซึ่งจะทำให้อัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ค่าการตลาดและราคาขายปลีกเป็นดังนี้
ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯเพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันเพิ่มขึ้น 0.60 บาท/ลิตร
ชนิด หน่วย : บาท/ลิตร |
12 กุมภาพันธ์ 2552 | 13 กุมภาพันธ์ 2552 | ||||
อัตราเงิน กองทุนน้ำมันฯ |
ค่าการตลาด | ราคา ขายปลีก |
อัตราเงิน กองทุนน้ำมันฯ |
ค่าการตลาด | ราคาขายปลีก | |
เบนซิน 95 | 7.00 | 5.3476 | 34.54 | 7.00 | 5.3476 | 34.54 |
เบนซิน 91 | 4.00 | 0.7417 | 25.94 | 4.00 | 0.7417 | 25.94 |
แก๊สโซฮอล 95 | -1.13 | 1.3621 | 21.04 | -0.53 | 1.3228 | 21.64 |
แก๊สโซฮอล 91 | -1.73 | 1.4038 | 20.24 | -1.13 | 1.3645 | 20.84 |
แก๊สโซฮอล 95 E20 | -3.23 | 2.3457 | 19.74 | -2.63 | 2.3064 | 20.34 |
แก๊สโซฮอล 95 E85 | -7.1024 | 2.7271 | 14.29 | -6.50 | 2.6855 | 14.89 |
ดีเซลหมุนเร็ว B2 | -0.48 | 2.1474 | 19.39 | 0.12 | 2.1081 | 19.99 |
ดีเซลหมุนเร็ว B5 | -1.06 | 2.6727 | 17.89 | -0.46 | 2.6335 | 18.49 |
4. ในช่วงวันที่ 1-12 กุมภาพันธ์ 2552 กองทุนน้ำมันฯ ได้เข้ามาพยุงการขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิง ครั้งที่ 1 เพื่อทำให้ราคาขายปลีกปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1.55 บาท/ลิตร คิดเป็นเงิน 1,498 ล้านบาท (หรือ 125 ล้านบาท/วัน) และหลังการปรับราคาครั้งที่ 2 จะทำให้ราคาขายปลีกเพิ่มขึ้น 0.60 บาท/ลิตร และจะส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ ลดภาระลงจาก 125 ล้านบาท/วัน เป็น 89 ล้านบาท/วัน
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95, น้ำมันแก๊สโซฮอล 91, น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20, น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E85 ,น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B2 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 เพิ่มขึ้น 0.60 บาท/ลิตร ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกเพิ่ม 0.60 บาท/ลิตร เพื่อลดภาระการชดเชยจากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
ครั้งที่ 39 - วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 2/2552 (ครั้งที่ 39)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ อาคาร 7 ชั้น 11 กระทรวงพลังงาน
1. นโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน : มาตรการด้านภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
2. การกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล E85
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน(นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการคลังพิจารณาการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงกลับสู่ระดับเดิม ซึ่งจากมติดังกล่าว คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานสามารถพิจารณาโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงใหม่ได้ เพื่อเตรียมนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติต่อไป
เรื่องที่ 1 นโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน : มาตรการด้านภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2552 ได้มีมติเห็นชอบ เรื่องนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน : มาตรการด้านภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ดังนี้ (1) เห็นชอบในหลักการให้ใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่จะสูงขึ้นจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 โดยการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาน้ำมันขายปลีกทยอยเพิ่มขึ้นในระดับและในช่วงเวลาที่เหมาะสม และมิให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภค (2) มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) รับไปพิจารณาดำเนินการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นไปตามหลักการในข้อ (1) และ (3) มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน รับไปดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2551 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือ ณ คลังน้ำมันและสถานีบริการ ได้ทุกครั้งที่มีการปรับราคาใหม่ ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันก่อนที่ประกาศราคาขายปลีกใหม่บังคับใช้ และเรียกเก็บเงินส่วนเกินของปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือจากผู้ประกอบการคลังน้ำมันและสถานีบริการและนำส่งกองทุนน้ำมันฯ ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติในข้อ (1)
2. เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2552 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเรื่องอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้ปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน 95, 91 เพิ่มขึ้น 1.32 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95, 91 เพิ่มขึ้น 4.48 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20, E85, น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B2, B5 เพิ่มขึ้น 3.98, 0.73, 3.30 และ 2.10 บาท/ลิตร ตามลำดับ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95, 91 เพิ่มขึ้น 1.55 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95, 91 เพิ่มขึ้น 5.28 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20 เพิ่มขึ้น 4.69 บาท/ลิตร และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B2, B5 เพิ่มขึ้น 3.88, 2.47 บาท/ลิตร ตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในการขึ้นราคาขายปลีกครั้งเดียว ต่อมาเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2552 กพช. ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ใช้กองทุนน้ำมันฯ บรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่จะสูงขึ้นจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 โดยการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาน้ำมันขายปลีกทยอยเพิ่มขึ้นในระดับและในช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่ง ณ วันที่ 23 มกราคม 2552 กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิ 15,181 ล้านบาท (ยังไม่รวมหนี้ ปตท. ในการนำเข้า LPG อีก 7,948 ล้านบาท) มีเงินไหลเข้ากองทุนน้ำมันฯ ประมาณ 3,438 ล้านบาท/เดือน
3. ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จะประกาศลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกเพิ่มขึ้นประมาณ 1 บาท/ลิตร หลังจากนั้นจะทยอยปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ อีกประมาณ 3 ครั้งๆ ละประมาณ 1 บาท/ลิตร เพื่อให้อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ กลับไปอยู่ในอัตราเดิม ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน และจากการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตของน้ำมันแก๊สโซฮอล ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 91 ต่ำกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 ซึ่งทำให้ไม่ส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล จึงจำเป็นต้องปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 91 ขึ้นจาก 4.00 บาท/ลิตร ด้วย ทั้งนี้ ในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น คาดว่าจะใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯ ประมาณ 4,311 ล้านบาท
4. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้มีข้อเสนอ ดังนี้ (1) ขอความเห็นชอบในหลักการให้ใช้กองทุนน้ำมันฯ บรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่จะสูงขึ้นจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน โดยการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ อัตราหนึ่งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 และหลังจากนั้นทยอยปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ อีกประมาณ 3 ครั้งๆ ละประมาณ 1 บาท/ลิตร รวมเป็น 4 ครั้ง เพื่อให้อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ กลับไปอยู่ในอัตราเดิม ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน (2) ขอความเห็นชอบปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 91 เพื่อรักษาส่วนต่างราคาขายปลีกระหว่างน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอล ในการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล และ (3) เพื่อความคล่องตัวและทันเหตุการณ์ในการรักษาเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันฯ จึงขอความเห็นชอบในหลักการและมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธาน กบง. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติแทน กบง. ในการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับแนวทางในข้อ 4 (1) แล้วรายงานให้ กบง. ทราบในภายหลัง ทั้งนี้ มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบในหลักการให้ใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่จะสูงขึ้นจากการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน โดยการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอัตราหนึ่ง ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 และหลังจากนั้นให้ทยอยปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประมาณ 1.00 -1.50 บาท/ลิตร เพื่อให้อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกลับไปอยู่ในอัตราเดิม โดยอาจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน
2. เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน 91 เพื่อรักษาส่วนต่างราคาขายปลีกระหว่างน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอล ในการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล ภายหลังจากอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกลับไปอยู่ในอัตราเดิม
3. เพื่อให้มีความคล่องตัวและทันเหตุการณ์ในการรักษาเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เห็นชอบในหลักการที่มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติแทนคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ในการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับแนวทางในข้อ 1 แล้วรายงานให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานทราบภายหลัง
ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการต่อไป
เรื่องที่ 2 การกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล E85
สรุปสาระสำคัญ
1. กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 คือน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพในสัดส่วน 15 ต่อ 85 โดยปริมาตร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2551 ต่อมากระทรวงการคลังได้ออกประกาศเรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 73) โดยกำหนดให้น้ำมันแก๊สโซฮอลที่มีเอทานอลผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 9 กำหนดให้เสียภาษีสรรพสามิตในอัตรา 3.3165 บาท/ลิตร ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2547 - 24 กรกฎาคม 2551
2. เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเรื่อง 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำมันแพง โดยลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 - 31 มกราคม 2552 ซึ่งส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล ดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนเร็ว B5 ลดลง 3.30, 2.30 และ 2.10 บาท/ลิตร และหลังวันที่ 31 มกราคม 2552 การคำนวณภาษีสรรพสามิตน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 จะเป็นไปตามอัตราส่วนผสมของน้ำมันเบนซิน
3. กระทรวงการคลัง ได้ออกประกาศเรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 82) โดยกำหนดให้น้ำมันแก๊สโซฮอลที่มีเอทานอลผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 9 กำหนดให้เสียภาษีสรรพสามิตในอัตรา 0.0165 บาท/ลิตร ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 - 31 มกราคม 2552 และตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นต้นไป กำหนดให้เสียภาษีสรรพสามิตในอัตรา 3.3165 บาท/ลิตร ต่อมาเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 กพช. ได้มีมติเห็นชอบการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 เป็นวาระแห่งชาติ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เกิดผลทางปฏิบัติในระยะเวลาที่กำหนดตามแผนปฏิบัติการการส่งเสริมการใช้ E85 ครบวงจร โดยให้กระทรวงพลังงานเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินงานและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
4. ในส่วนของการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจาก กบง. เพื่อมอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ ได้มีข้อเสนอ ดังนี้
หลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล E85
ราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 = 15% ของราคา ณ โรงกลั่นเบนซินออกเทน 95 + 85% ของราคาเอทานอล |
โดยที่ ราคาเอทานอล อ้างอิงจากประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ดังนี้
ราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 = 15% ของราคา ณ โรงกลั่นเบนซินออกเทน 95 + 85% ของราคาเอทานอล |
โดยที่ ราคาเอทานอล อ้างอิงจากประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
2. เห็นชอบในหลักการให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อเป็นกลไกในการรักษาระดับค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ให้ไม่ต่ำกว่าค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล E10 ประมาณ 1.20 บาท/ลิตร
3. เห็นชอบในหลักการให้ราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ต่ำกว่าราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล E10 ประมาณร้อยละ 30
ทั้งนี้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
ครั้งที่ 38 - วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 1/2552 (ครั้งที่ 38)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 9.30 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด - นิธิพัฒน์ อาคาร 7 ชั้น 11 กระทรวงพลังงาน
1. การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100)
2. การเตรียมการเมื่อสิ้นสุดมาตรการลดภาษีสรรพสามิต
3. การขอรับเงินสนับสนุนโครงการตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือจากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต
4. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล) เป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) เป็นกรรมการและเลขานุการ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน โดยให้ขยายการดำเนินการต่ออีก 6 เดือน ยกเว้นเรื่องการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งจะสิ้นสุดการดำเนินงานในวันที่ 31 มกราคม 2552 โดยจะมีการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงในอัตราเดิมในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552
เรื่องที่ 1 การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100)
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 ได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) โดยให้สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงในอุตสาหกรรม ไบโอดีเซล ซึ่งขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันปาล์มดิบเป็นหลักคิดเป็นร้อยละ 76 ของต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
B100 = 0.97 CPO + 0.15 MtOH + 3.32
B100 คือ ราคาขายไบโอดีเซล (B100) ในกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/ลิตร
CPO คือ ราคาขายน้ำมันปาล์มดิบในเขตกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/กิโลกรัม
MtOH คือ ราคาขายเมทานอลในกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/กิโลกรัม
ทั้งนี้ ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 ถึง 27 มกราคม 2551 โดยที่ (1) CPO หรือราคาขายน้ำมันปาล์มดิบในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้ราคาขายส่งสินค้าเกษตร น้ำมันปาล์มดิบชนิดสกัดแยก (เกรดเอ) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศ แต่ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลก (ตลาดมาเลเซีย) บวก 1 บาท/กิโลกรัม โดยราคาขายน้ำมันปาล์มดิบเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ผ่านมาจะนำมาใช้กำหนดราคาในสัปดาห์หน้า เช่น ราคาขายน้ำมันปาล์มดิบเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 1 จะนำมาแทนค่าเพื่อกำหนดราคาไบโอดีเซลในสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้น ยกเว้นกรณีราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลกมาก จะนำมาพิจารณาร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง (2) MtOH หรือราคาขายเมทานอลในกรุงเทพมหานคร ใช้ราคาขายเมทานอลเฉลี่ยจากผู้ค้าเมทานอลในประเทศจำนวน 3 ราย เช่น Thai M.C., I.C.P. Chemicals และ Itochu (Thailand) โดยราคาขายเมทานอลเฉลี่ยในสัปดาห์ที่แล้วจะนำมาใช้กำหนดราคาในสัปดาห์หน้า เช่น ราคาขายเมทานอลเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 1 จะนำมาแทนค่าเพื่อกำหนดราคาไบโอดีเซลในสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้น
2. ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2551 กบง. ได้มีมติเห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคา ไบโอดีเซล (B100) โดยให้ปรับเพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบเพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) ให้ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซียบวก 3 บาท/กิโลกรัม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2551 เป็นต้นไป เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตปาล์มในช่วงต้นปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงที่ปริมาณผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อย ในขณะที่ความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มตลาดมาเลเซียมีแนวโน้มสูงขึ้นในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้ราคาไบโอดีเซล (B100) ที่คำนวณตามสูตรต่ำกว่าราคาที่เป็นจริง ซึ่งเป็นการไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและทำให้ผู้ผลิตไบโอดีเซลไม่สามารถผลิตได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มดิบปี 2551/2552 ดังนี้ 1) ให้รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ ในราคากิโลกรัมละ 22.50 บาท เป้าหมาย 100,000 ตัน และเก็บสต๊อกไว้จำหน่ายในช่วงเวลาที่เหมาะสม และให้โรงงานสกัดรับซื้อผลปาล์มทะลายจากเกษตรกรในราคากิโลกรัมละ 3.50 บาท (น้ำมันร้อยละ 17) ช่วงรับซื้อผลปาล์มเดือนพฤศจิกายน 2551 ถึง มกราคม 2552 2) เห็นชอบวิธีการจัดเก็บสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบว่าสมควรจะใช้วิธีการเช่าถังกลางในการจัดเก็บหรือฝากเก็บรักษาไว้ที่โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ และ 3) อนุมัติงบกลางเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ
3. เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 ชมรมผู้ผลิตไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ได้มีหนังสือถึงกระทรวงพลังงานขอให้พิจารณาแก้ไขหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล เนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มดิบที่นำมาคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่ กบง. เห็นชอบเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2551 เป็นราคาน้ำมันปาล์มดิบที่ต่ำกว่าต้นทุนที่นำมาผลิตจริง ทำให้ผู้ผลิตไบโอดีเซลไม่สามารถจะผลิตและจำหน่ายได้ เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551เห็นชอบให้รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบในราคา 22.50 บาท/กิโลกรัม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 ถึง มกราคม 2552 ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศตามประกาศของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เฉลี่ยตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นมา อยู่ที่ระดับประมาณ 19.55 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซียอยู่ที่ประมาณ 14.93 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าในตลาดมาเลเซีย 4.62 บาทต่อกิโลกรัม แต่หลักเกณฑ์การกำหนดราคา ไบโอดีเซล (B100) ที่ กบง. เห็นชอบเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2551 กำหนดให้ระดับราคาเพดานน้ำมันปาล์มดิบเพื่อใช้คำนวณราคาอ้างอิงไบโอดีเซล (B100) ไว้ที่ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบตลาดมาเลเซีย บวก 3 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้การผลิตไบโอดีเซลมีราคาต้นทุนสูงกว่าราคาอ้างอิงและไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ทำให้ผู้ผลิตไบโอดีเซลไม่สามารถผลิตได้ อาจส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันไบโอดีเซลได้
4. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้มีข้อเสนอให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) จากเดิมกำหนดให้มีเพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) ให้ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซีย บวก 3 บาท/กิโลกรัม เป็นกำหนดให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) โดยอิงราคาปาล์มดิบชนิดสกัดแยก (เกรดเอ) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศชั่วคราวในช่วงการดำเนินการโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มดิบปี 2551/2552 ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2552 ถึง 31 มกราคม 2552
มติของที่ประชุม
เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (B100) โดยกำหนดให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) อิงราคาน้ำมันปาล์มดิบชนิดสกัดแยก (เกรดเอ) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศชั่วคราวในช่วงการดำเนินการโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มดิบปี 2551/ 2552 ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2552 ถึง 31 มกราคม 2552
เรื่องที่ 2 การเตรียมการเมื่อสิ้นสุดมาตรการลดภาษีสรรพสามิต
1. คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำมันแพง โดยกำหนดเป็น 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน ซึ่งหนึ่งในมาตรการดังกล่าว คือ การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันปรับลดลงเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 และสิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม 2552
2. เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงอันเนื่องจากผู้จำหน่ายหยุดการขายชั่วคราวเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุนในน้ำมันคงเหลือเมื่อมีการปรับลดภาษี นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 2/2551 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2551 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้ผู้ค้าน้ำมัน และเจ้าของสถานีบริการน้ำมันได้รับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในน้ำมันคงเหลือที่มีอยู่ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 ตามส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นจากการลดอัตราภาษีสรรพสามิต และให้นำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เมื่อประกาศเพิ่มภาษีสรรพสามิต เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552
3. กระทรวงพลังงานมีนโยบายใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ เข้ามาบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต เพื่อให้ราคาขายปลีกทยอยปรับเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม แต่เนื่องจากคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2551 กำหนดให้มีการดำเนินการเมื่อมีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 เพียงครั้งเดียว ทำให้การดำเนินการเพื่อทยอยปรับราคาขายปลีกตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน ไม่สอดคล้องกับคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2551 จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรีฯ เพื่อให้สามารถดำเนินการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในน้ำมันคงเหลือจากส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นจากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตตามที่ สนพ. ประกาศกำหนดราคาขายปลีกในแต่ละครั้ง
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบในหลักการร่างคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ .../2552 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยไม่มีการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากน้ำมันพื้นฐานคงเหลือ
2. มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานรับไปดำเนินการแก้ไขร่างคำสั่งนายกรัฐมนตรี และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาก่อนนำเสนอนายกรัฐมนตรีลงนามต่อไป
เรื่องที่ 3 การขอรับเงินสนับสนุนโครงการตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือจากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือประชาชน โดยกำหนดเป็น 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน โดยการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2552 ทั้งนี้ การปรับลดภาษีสรรพสามิตดังกล่าว จะทำให้ผู้ประกอบการมีผลขาดทุนในน้ำมันคงเหลือที่ได้มาก่อนการปรับลดราคา และในทางกลับกันเมื่อมีการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตกลับมาอยู่ในระดับปกติ ผู้ประกอบการจะมีกำไรส่วนเกินในน้ำมันคงเหลือที่ได้มาก่อนปรับเพิ่มราคา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องจ่ายชดเชยผลขาดทุนในปริมาณน้ำมันคงเหลือของผู้ค้าน้ำมันและสถานีบริการเมื่อมีการปรับลดภาษีสรรพสามิต และเรียกเก็บกำไรส่วนเกินคืนให้กองทุนน้ำมันฯ เมื่อมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตสู่ระดับปกติ
2. นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 2/2551 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2551 ให้ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ ในน้ำมันคงเหลือที่มีอยู่ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 ตามส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นจากการลดอัตราภาษีสรรพสามิต และให้นำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เมื่อประกาศเพิ่มภาษีสรรพสามิตกลับมาอยู่ในระดับเดิม ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 และเพื่อให้แน่ใจว่าปริมาณน้ำมันคงเหลือของผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการที่ได้รับเงินชดเชยและเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เป็นปริมาณที่ถูกต้องตามความเป็นจริง จึงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือ ณ คลังน้ำมันและสถานีบริการทั่วประเทศ ดังนี้ 1) คลังน้ำมันทั่วประเทศ โดยเจ้าหน้าที่จากกระทรวงพลังงาน 2) สถานีบริการน้ำมันในเขตกรุงเทพฯ โดยเจ้าหน้าที่จากกระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ และตำรวจนครบาล และ 3) สถานีบริการน้ำมันในเขตต่างจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งคณะทำงานของแต่ละจังหวัดร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ และตำรวจภูธร
3. คำสั่งนายกรัฐมนตรีฯ ได้มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานเป็นผู้แจ้งให้ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการทราบถึงจำนวนเงินชดเชยหรือจำนวนเงินที่เรียกเก็บเข้ากองทุนน้ำมันฯ ซึ่งคำนวณจากปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิที่ได้เสียภาษีสรรพสามิตแล้วของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดคูณด้วยส่วนต่างราคา
4. จากเรื่องที่ 3.2 การเตรียมการเมื่อสิ้นสุดมาตรการลดภาษีสรรพสามิต กระทรวงพลังงานมีนโยบายใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ เข้ามาบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต เพื่อให้ราคาขายปลีกทยอยปรับเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยต้องตรวจวัดปริมาณน้ำมันคงเหลือมากกว่า 1 ครั้ง จึงจำเป็นต้องขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ ในการตรวจสอบน้ำมันคงเหลือในคลังน้ำมันและสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วประเทศ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในวงเงินครั้งละ 5,114,100 บาท แบ่งเป็น 1) ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบน้ำมันคงเหลือในคลังน้ำมันเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ และสมุทรสาคร (36,000 บาท) และในเขตจังหวัดสระบุรี ชลบุรี นครราชสีมา และระยอง (38,100 บาท) 2) ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบน้ำมันคงเหลือในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วประเทศ (4,872,000 บาท) และ 3) ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและจัดทำเอกสารแจ้งผู้ประกอบการเพื่อเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ (168,000 บาท)
มติของที่ประชุม
1. อนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2552 ให้กรมธุรกิจพลังงาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือ จากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตกลับมาอยู่ในระดับเดิม เมื่อสิ้นสุด 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน ในวงเงินครั้งละ 5,114,100 บาท (ห้าล้านหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นสี่พันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)
โดยให้สามารถเบิกถัวจ่ายระหว่างรายการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ภายในวงเงินที่ได้รับอนุมัติและหากมีเงินเหลือจ่ายจากการดำเนินการโครงการ ให้นำเงินส่งคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต่อไป
2. เห็นชอบให้กรมธุรกิจพลังงานเบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ตามการปฏิบัติงานตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือจากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตที่เกิดขึ้นจริง ไม่เกิน 3 ครั้ง หากจำเป็นต้องตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือดังกล่าวเกิน 3 ครั้ง ให้นำเรื่องเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเพื่อขอความเห็นชอบต่อไป
เรื่องที่ 4 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัส เฉลี่ยเดือนธันวาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 40.53 และ 41.45 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้ว 9.31 และ 15.96 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ จากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยของสหรัฐ ต่อมาในช่วงวันที่ 1-9 มกราคม 2552 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัสปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 46.51 และ 44.83 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ จากข่าวการสู้รบในฉนวนกาซาที่ทวีความรุนแรงขึ้นประกอบกับอิหร่านและคูเวตประกาศลดปริมาณส่งมอบน้ำมันดิบเดือนมกราคม 2552 แก่ลูกค้าเทอมในเอเชียลง
2. ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลเฉลี่ยเดือนธันวาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 41.05, 38.88 และ 58.01 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ โดยปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้ว 7.36, 8.57 และ 10.76 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและจากข่าวโรงกลั่น Reliance ของอินเดียเริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อ 25 ธันวาคม 2551 ประกอบกับ Pertamina ของอินโดนีเซียลดปริมาณนำเข้าน้ำมันดีเซล ในเดือนมกราคม 2552 ลงจากเดือนธันวาคม 2551 ประมาณร้อยละ 17 และต่อมาในช่วงวันที่ 1-9 มกราคม 2552 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 47.87, 44.87 และ 62.96 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและจากตลาดคาดว่าอุปสงค์น้ำมันเบนซินจะเพิ่มขึ้นจากการที่เวียดนามและอินโดนีเซียจะเพิ่มการนำเข้าน้ำมันเบนซิน ประกอบกับ Arbitrage จากเอเชียไปยุโรปเปิดโดยมีการส่งออกน้ำมันดีเซลปริมาณ 670,000 บาร์เรล ไปยุโรปในช่วงปลายเดือนมกราคม
3. เดือนธันวาคม 2551 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้น 1.40 บาท/ลิตร, เบนซิน 91ลดลง 2.20 บาท/ลิตร, แก๊สโซฮอล 95 E10, E20, แก๊สโซฮอล 91 ลดลง 2.00 บาท/ลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนเร็ว B5 ลดลง 2.70 บาท/ลิตร ตามลำดับ ต่อมาในช่วงวันที่ 1 - 12 มกราคม 2552 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้น 1.40 บาท/ลิตร, เบนซิน 91, แก๊สโซฮอล 95 E10, E20, แก๊สโซฮอล 91 น้ำมันดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนเร็ว B5 เพิ่มขึ้นชนิดละ 0.60 บาท/ลิตร ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91, แก๊สโซฮอล 95 E10, E20, แก๊สโซฮอล 91, ดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนเร็ว B5 ณ วันที่ 12 มกราคม 2552 อยู่ที่ระดับ 29.99, 21.39, 16.89, 15.59, 16.09, 18.94 และ 17.44 บาท/ลิตร ตามลำดับ
4. สถานการณ์ก๊าซ LPG ช่วงเดือนมกราคม 2552 ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 42 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน มาอยู่ที่ระดับ 380.00 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ตามราคาน้ำมันดิบและความต้องการในภูมิภาคเอเชียมีมาก ขณะที่อุปทานในตะวันออกกลางตึงตัว ราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นในประเทศ ณ วันที่ 6 มกราคม 2552 อยู่ที่ระดับ 10.9960 บาท/กิโลกรัม อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่จำหน่ายในประเทศ อยู่ในระดับ 0.3033 บาท/กิโลกรัม คิดเป็น 48.95 ล้านบาท ทั้งนี้มีการนำเข้าก๊าซ LPG ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน -30 พฤศจิกายน 2551 รวม 446,414.46 ตัน คิดเป็นภาระชดเชย 7,947.68 ล้านบาท
5. สถานการณ์น้ำมันแก๊สโซฮอล เดือนธันวาคม 2551 มีผู้ประกอบการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง 11 ราย แต่ผลิตจริง 9 ราย กำลังการผลิตรวม 1.57 ล้านลิตร/วัน มีปริมาณผลิตจริง 0.92 ล้านลิตร/วัน และราคาเอทานอลแปลงสภาพ ไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ 17.18 บาท/ลิตร เดือนธันวาคม 2551 มีปริมาณการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล 12.20 ล้านลิตร/วัน โดยมีสถานีบริการรวม 4,178 แห่ง ณ วันที่ 12 มกราคม 2552 ราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และ 91 อยู่ที่ 16.89 และ 16.09 บาท/ลิตร ต่ำกว่าราคาน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 อยู่ที่ 4.50 และ 5.30 บาท/ลิตร ตามลำดับ และปริมาณการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ในเดือนธันวาคม 2551 มีปริมาณ 0.14 ล้านลิตร/วัน มีสถานีบริการน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 188 แห่ง ราคาขายปลีก อยู่ที่ 15.59 บาท/ลิตร ต่ำกว่าราคาน้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล 95 E10 อยู่ที่ 1.30 บาท/ลิตร
6. สถานการณ์น้ำมันไบโอดีเซล เดือนธันวาคม 2551 มีผู้ผลิตไบโอดีเซล 10 ราย กำลังการผลิตรวม 2.90 ล้านลิตร/วัน ปริมาณความต้องการเฉลี่ย 1.57 ล้านลิตร/วัน ราคาไบโอดีเซลในประเทศเฉลี่ยเดือนธันวาคม 2551 และในช่วงวันที่ 1 -18 มกราคม 2552 อยู่ที่ 25.11 และ 23.10 บาท/ลิตร ตามลำดับ การจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 เดือนธันวาคม 2551 ปริมาณ 17.16 ล้านลิตร/วัน สถานีบริการรวม 2,866 แห่ง ปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯ ชดเชยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 เท่ากับ 0.20 บาท/ลิตร มีราคาขายปลีกที่สถานี ปตท. ณ วันที่ 12 มกราคม 2552 อยู่ที่ 17.44 บาท/ลิตร ซึ่งต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 1.50 บาท/ลิตร
7. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 7 มกราคม 2552 มีเงินสดในบัญชี 16,593 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 4,543 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระเงินชดเชย 4,217 ล้านบาท และงบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 326 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิ 12,050 ล้านบาท โดยมีหนี้นำเข้า LPG จาก ปตท. ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2551 อยู่ประมาณ 7,948 ล้านบาท ซึ่งทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิ 4,102 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ