
มติกบง. (348)
กบง. ครั้งที่ 139 - วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 5/2556 (ครั้งที่ 139)
วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 13.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ปลัดกระทรวงพลังงาน นายณอคุณ สิทธิพงศ์ กรรมการ เป็นประธานที่ประชุม แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายนที ทับมณี กรรมการและเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคา ขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมัน แก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง โดยราคาปิดตลาด วันที่ 1 มีนาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ เบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 105.65, 126.43 และ 126.29 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ เบนซิน และดีเซลปรับตัวลดลงจากราคาปิดตลาดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 เท่ากับ 3.16, 4.48 และ 3.94 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลง ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับลดราคา ขายปลีกน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลลง 0.20 บาทต่อลิตร เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ส่งผลให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 4 มีนาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 3 มีนาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 4,988 ล้านบาท หนี้สินรวม 21,191 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 16,203 ล้านบาท
5. จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง ทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในระดับสูง ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95, 91 และ E20 ขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ขึ้น 0.20 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลขึ้น 0.80 บาทต่อลิตร โดยมีอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ใหม่ ดังนี้
จากการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 59.04 ล้านบาท จากติดลบวันละ 13.00 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 46.04 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2556 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 140 - วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 6/2556 (ครั้งที่ 140)
วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ กรรมการและเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคา ขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควร ปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมัน แก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง โดยราคาปิดตลาด วันที่ 1 มีนาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ เบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 106.41, 125.68 และ 125.29 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.76 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซิน และดีเซลปรับตัวลดลง 0.75 และ 1.00 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาปิดตลาดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2556 เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2556 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95, 91 และแก๊สโซฮอลลง 95, 91 ลง 0.50 บาทต่อลิตร และปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 และ E85 ลง 0.20 บาทต่อลิตร ส่งผลให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 12 มีนาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 10 มีนาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 4,537 ล้านบาท หนี้สินรวม 20,613 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 16,076 ล้านบาท
5. จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง ทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในระดับสูง ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 95 ลง 0.50 บาทต่อลิตร ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 และดีเซลขึ้น 0.10 และ 0.30 บาทต่อลิตร ตามลำดับ โดยมีอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ใหม่ ดังนี้
จากการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 21.67 ล้านบาท จากวันละ 87.51 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 109.18 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2556 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 141 - วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 7/2556 (ครั้งที่ 141)
วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ปลัดกระทรวงพลังงาน นายณอคุณ สิทธิพงศ์ กรรมการ เป็นประธานที่ประชุม แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ กรรมการและเลขานุการ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคา ขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควร ปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมัน แก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง โดยราคาปิดตลาด วันที่ 15 มีนาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ เบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 105.10, 123.60 และ 123.37 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ เบนซิน และดีเซลปรับตัวลดลง 1.31, 2.08 และ 1.92 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาปิดตลาดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556 เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ทำให้เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2556 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 ลง 1.00 บาทต่อลิตร ส่งผลให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 18 มีนาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 17 มีนาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 5,171 ล้านบาท หนี้สินรวม 20,657 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 15,486 ล้านบาท
5. จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง ทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับสูง ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร โดยมีอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ใหม่ ดังนี้
จากการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 23.56 ล้านบาท จากวันละ 114.12 ล้านบาท เป็นรายรับวันละ 137.68 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2556 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 143 - วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 9/2556 (ครั้งที่ 143)
วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุม 6 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายนที ทับมณี เป็นกรรมการและเลขานุการ แทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
เรื่องที่ 1 แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 เรื่อง แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG โดยให้ตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน (18.13 บาทต่อกิโลกรัม) ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2555 ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเห็นชอบ ดังนี้ (1) แนวทางการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน โดยเห็นชอบให้กำหนดกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย โดยอิงจากฐานข้อมูลครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน จากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และอนุมัติเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2556 ให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เพื่อดำเนินโครงการจัดทำฐานข้อมูลร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร และครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ เพื่อรองรับการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซ LPG ในวงเงิน 50 ล้านบาท และ (2) เห็นชอบร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2556 เห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 เรื่อง แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน โดยสรุปได้ดังนี้ (1) เห็นชอบให้ขยายเวลาตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2556 (2) เห็นชอบให้ปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนให้สะท้อนต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 24.82 บาทต่อกิโลกรัม ภายในปี 2556 โดยมอบหมายให้ กบง. พิจารณาแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน และการบรรเทาผลกระทบกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร และ (3) เห็นชอบมอบหมายให้ สนพ. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาดำเนินการแก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ครัวเรือนรายได้น้อย และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร สามารถรับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้
3. คณะอนุกรรมการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน ได้จัดประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน โดยสรุปได้ดังนี้
3.1 แนวทางการบรรเทาผลกระทบกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร
3.1.1 การจัดทำฐานข้อมูลและหลักเกณฑ์ผู้ได้รับการช่วยเหลือ
(1) ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ใช้ฐานข้อมูลจาก กฟน. โดยมีคุณสมบัติผู้ได้รับการช่วยเหลือ ได้แก่ เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.1 ซึ่งติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 5(15) แอมแปร์ 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย และใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน และมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริงเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี ไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน (เช่น ใช้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในปี 2555 สำหรับผู้ได้รับการช่วยเหลือในปี 2556)
(2) ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ในส่วนภูมิภาค ใช้ฐานข้อมูลจาก กฟภ. และกิจการสวัสดิการไฟฟ้าสัตหีบ โดยมีคุณสมบัติผู้ได้รับการช่วยเหลือ ได้แก่ เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.1.1 ซึ่งติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 5(15) แอมแปร์ 220 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย และใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน และมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริงเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี ไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน
(3) ครัวเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้ในเขตเทศบาล หน่วยงานจัดทำฐานข้อมูลคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต คุณสมบัติผู้ได้รับการช่วยเหลือคือ ต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/กรุงเทพฯ
(4) ครัวเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้นอกเขตเทศบาล หน่วยงานจัดทำฐานข้อมูล ได้แก่ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยใช้ข้อมูลจากข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน/ชุมชน (กชช. 2ค) คุณสมบัติผู้ได้รับการช่วยเหลือ คือต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(5) ร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร หน่วยงานจัดทำฐานข้อมูลคือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต คุณสมบัติผู้ได้รับการช่วยเหลือ คือต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพฯ และเมืองพัทยา)
3.1.2 ความก้าวหน้าในการจัดทำฐานข้อมูล
(1) ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดย กฟน. ได้จัดทำฐานข้อมูล รายละเอียดประกอบด้วย ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ประเภทบ้านอยู่อาศัย 1.1 ตั้งแต่ 0 - 90 หน่วย (kWh) ใน 3 จังหวัด แยกจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 241,207 ราย ดังนี้
(2) ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ในส่วนภูมิภาค โดย กฟภ. ได้จัดทำฐานข้อมูล มีรายละเอียดแบ่งตามภูมิภาค 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 7,183,456 ราย
(3) ครัวเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้ในเขตเทศบาล และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเริ่มสำรวจเก็บข้อมูลจำนวนครัวเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้ในเขตเทศบาล และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหารตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม - 26 มีนาคม 2556 ใน 76 จังหวัด และในกรุงเทพฯ 15 เขต จากทั้งหมด 50 เขต และได้มีการบันทึกจัดทำฐานข้อมูลแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 80 ดังนี้
(4) แนวทางการช่วยเหลือ
การลงทะเบียน แบ่งเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 ร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ครัวเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้ลงทะเบียนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/องค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพฯ และเมืองพัทยา) และกรณีที่ 2 ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ใช้ฐานข้อมูลจาก กฟน./กฟภ./กิจการสวัสดิการไฟฟ้าสัตหีบ
เกณฑ์การช่วยเหลือ/ชดเชย โดยปริมาณการช่วยเหลือก๊าซ LPG ที่จะได้รับเป็นไปตามเกณฑ์ ดังนี้ ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน และครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ได้รับการช่วยเหลือครัวเรือนละ 6 กิโลกรัมต่อเดือน และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ได้รับการช่วยเหลือตามปริมาณการใช้ก๊าซ LPG จริง แต่ไม่เกิน 150 กิโลกรัมต่อเดือน
วิธีการช่วยเหลือ ดำเนินการโดย โอนเงินเข้าบัญชี/ผ่านบิลค่าไฟฟ้า ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน หรือโดยวิธีการจ่ายเงินชดเชย โดยจ่ายเงินชดเชยทุกเดือนตามราคาก๊าซ LPG ที่ปรับขึ้นหรือจ่ายเงินชดเชยเป็นช่วงระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี จ่าย 1 ครั้ง (Pre-Paid)
(5) ระยะเวลาดำเนินการคาดว่าจะสามารถเริ่มต้นดำเนินการปรับราคาก๊าซ LPG และจ่ายเงินชดเชยประมาณเดือนมิถุนายน 2556 ซึ่งได้พิจารณาจากความพร้อมด้านต่างๆ ดังนี้
ฐานข้อมูลร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร แล้วเสร็จประมาณกลางเดือนเมษายน 2556
การลงทะเบียนแล้วเสร็จประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2556 (1 เดือนภายหลังฐานข้อมูลแล้วเสร็จ)
ระบบบัญชีธนาคารแล้วเสร็จประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2556 (1 เดือนภายหลังฐานข้อมูลแล้วเสร็จ) เพื่อทดลองระบบการจ่ายเงินชดเชย ก่อนเริ่มต้นการปรับราคาก๊าซ LPG
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการลงทะเบียนและการเริ่มต้นปรับราคาก๊าซ LPG
3.2 แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน
ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 เห็นชอบให้ปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนให้สะท้อนต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 24.82 บาทต่อกิโลกรัม ภายในปี 2556 และจากการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะทำให้สามารถเริ่มปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนได้ประมาณเดือนมิถุนายน 2556 ดังนั้น ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 โดยปรับเพิ่มขึ้นเดือนละ 0.96 บาทต่อกิโลกรัม
มติของที่ประชุม
1. รับทราบแนวทางการบรรเทาผลกระทบกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย และร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหารตามข้อ 3.1
2. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2556
กบง. ครั้งที่ 144 - วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 10/2556 (ครั้งที่ 144)
วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 15.30 น.
ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 8 เมษายน 2556 น้ำมันดิบดูไบ เบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 103.15, 114.57 และ 119.09 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ เบนซิน และดีเซลปรับตัวลดลง 1.60, 7.24 และ 1.19 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาปิดตลาดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2556 เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ทำให้ผู้ค้าน้ำมันปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันจำนวน 4 ครั้ง ดังนี้
(หน่วย : บาทต่อลิตร) | ||||
ชนิดน้ำมัน | 12 มี.ค. 56 | 4 มี.ค. 56 | 5 เม.ย. 56 | 6 เม.ย. 56 |
น้ำมันเบนซิน 95 | -0.50 | +0.40 | -0.40 | -0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | -0.50 | +0.40 | -0.40 | -0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | -0.50 | +0.40 | -0.40 | -0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -0.50 | +0.40 | -0.40 | -0.50 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -0.30 | +0.20 | -0.20 | -0.30 |
น้ำมันดีเซล | - | - | - | - |
และส่งผลให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 9 เมษายน 2556 เป็นดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 9 เมษายน 2556
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 7 เมษายน 2556 มีทรัพย์สินรวม 6,584 ล้านบาท หนี้สินรวม 19,444 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 12,860 ล้านบาท
5. จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง เพื่อรักษาเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันฯ และให้ค่าการตลาดอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร ดังนี้
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 9.20 | 9.20 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 4.00 | 4.00 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 1.90 | 1.90 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -0.20 | -0.20 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -10.90 | -10.90 | - |
น้ำมันดีเซล | 2.80 | 3.20 | +0.40 |
จากการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 23.24 ล้านบาท จากวันละ 160.24 ล้านบาท เป็นรายรับวันละ 183.99 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร จาก 2.80 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 3.20 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2556 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 146 - วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 12/2556 (ครั้งที่ 146)
วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงทรงตัว โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 22 เมษายน 2556 น้ำมันดิบดูไบ เบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 98.25, 111.69 และ 112.37 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ และเบนซินปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.35 และ 3.99 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ น้ำมันดีเซลปรับตัวลดลง 0.35 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากราคาปิดตลาดเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2556 โดยหลังจากการประชุมเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2556 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอล 91, 95 และ E20 ลง 0.50 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2556 ส่งผลให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 23 เมษายน 2556 เป็นดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 23 เมษายน 2556
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 21 เมษายน 2556 มีทรัพย์สินรวม 9,711 ล้านบาท หนี้สินรวม 19,737 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 10,026 ล้านบาท
5. เพื่อรักษาเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันฯ และให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร ดังนี้
(หน่วย : บาทต่อลิตร) | |||
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 9.70 | 9.70 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 4.50 | 4.50 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 2.40 | 2.40 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | 0.30 | 0.30 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -10.90 | -10.90 | - |
น้ำมันดีเซล | 4.40 | 4.90 | +0.50 |
จากการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 29.05 ล้านบาท จากวันละ 264.32 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 293.37 ล้านบาท และจะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลอยู่ที่อัตรา 1.4244 บาทต่อลิตร
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร จาก 4.40 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 4.90 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2556 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 147 - วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 13/2556 (ครั้งที่ 147)
วันจันททร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. ร่างระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ....
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 26 เมษายน 2556 น้ำมันดิบดูไบ เบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 101.5, 113.81 และ 116.03 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ เบนซิน และน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.80, 2.12 และ 3.66 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาปิดตลาดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2556 โดย กบง. ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2556 มีมติปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร ทำให้ค่าการตลาดลดลงจาก 2.0451 บาทต่อลิตร เป็น 1.5451 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกน้ำมันยังคงที่อยู่ที่ราคาเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาราคาปิดตลาด ณ วันที่ 23 เมษายน 2556 และอัตราแลกเปลี่ยน ส่งผลให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 24 เมษายน 2556 อยู่ที่อัตรา 1.4244 บาทต่อลิตร
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 28 เมษายน 2556 มีทรัพย์สินรวม 10,528 ล้านบาท หนี้สินรวม 18,551 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 8,023 ล้านบาท
5. โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 29 เมษายน 2556 เป็นดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 29 เมษายน 2556
จากโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 29 เมษายน 2556 พบว่าค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล และดีเซล อยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นเพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล และดีเซล ลงดังนี้
(หน่วย : บาทต่อลิตร) | |||
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 9.70 | 9.70 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 4.50 | 3.80 | -0.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 2.40 | 1.70 | -0.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | 0.30 | -0.40 | -0.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -10.90 | -10.90 | - |
น้ำมันดีเซล | 4.90 | 4.00 | -0.90 |
จากการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 69.78 ล้านบาท จากมีรายรับวันละ 308.22 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 238.44 ล้านบาท และจะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95, 91, E20 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่อัตรา 1.6528, 1.6705, 1.7761 และ 1.5081 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแก๊สโซออล และน้ำมันดีเซล ดังนี้
(หน่วย : บาทต่อลิตร) | |||
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 9.70 | 9.70 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 4.50 | 3.80 | -0.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 2.40 | 1.70 | -0.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | 0.30 | -0.40 | -0.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -10.90 | -10.90 | - |
น้ำมันดีเซล | 4.90 | 4.00 | -0.90 |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2556 เป็นต้นไป
สรุปสาระสำคัญ
1. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ดำเนินการตรวจสอบโครงการที่ได้รับเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และ/หรือคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (อบน.) และมีความเห็นว่าสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (สบพน.) ควรมีหน้าที่ในการติดตามดูแลและตรวจสอบการใช้จ่ายเงินแต่ละโครงการที่ได้เบิกเงินจากกองทุนน้ำมันฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2555 คณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ได้มีมติเห็นชอบให้ สบพน. จัดทำร่างระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. .... โดยศึกษาระเบียบการเบิกจ่ายจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เป็นแนวทางในการจัดทำ เพื่อให้ครอบคลุมถึงการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินของโครงการที่ใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯ
2. สบพน. ได้จัดทำร่างระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.... โดยได้แก้ไขเพิ่มเติมจากระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2549 และระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 ที่บังคับใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขตามข้อสังเกตและนำเสนอคณะกรรมการ สบพน. ต่อมาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2556 คณะกรรมการ สบพน. ได้มีมติให้ปรับปรุงแก้ไขร่างระเบียบกระทรวงพลังงานฯ ดังกล่าว ตามข้อสังเกตของคณะกรรมการ สบพน. และให้เสนอรองอัยการสูงสุด (นายถาวร พานิชพันธ์) พิจารณาก่อนนำเสนอ กบง. พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ สบพน. ได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว และรองอัยการสูงสุด (นายถาวร พานิชพันธ์) ได้เห็นชอบตามที่ สบพน. เสนอ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556
3. ปัจจุบัน สบพน. ดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันฯ โดยปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2549 และระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 ซึ่งระเบียบฯ ดังกล่าวมิได้กำหนดวิธีการติดตามตรวจสอบและควบคุมการเบิกจ่ายเงินสำหรับโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ ประกอบกับหน่วยงานเจ้าของโครงการเป็นหน่วยงานภายนอก หากให้ สบพน. มีหน้าที่ในการติดตามและตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินของโครงการที่ใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯ จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงพลังงานที่บังคับใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน เพื่อให้ครอบครอบคลุมถึงการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินของโครงการฯ รวมทั้งวิธีปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนน้ำมันฯ ทั้งนี้ หากร่างระเบียบฯ ดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบและนำมาบังคับใช้ จะส่งผลให้หน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติให้เบิกเงินจากกองทุนน้ำมันฯ ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ
4. เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2556 อบน. ได้มีการพิจารณาเรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. .... ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. .... และมอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำร่างระเบียบฯ ดังกล่าวเสนอ กบง. เพื่อพิจารณาต่อไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบร่างระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. .... และมอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำร่างระเบียบกระทรวงพลังงานฯ ดังกล่าว เสนอปลัดกระทรวงพลังงานลงนามต่อไป
กบง. ครั้งที่ 148 - วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 14/2556 (ครั้งที่ 148)
วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556 กบง. ได้มีการพิจารณาโครงสร้างราคาและค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95, 91, E20 และดีเซลอยู่ที่ 0.9528, 0.9705, 1.0761 และ 0.6081 ตามลำดับ และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95, 91, E20 ลงชนิดละ 0.70 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลลดลง 0.90 บาทต่อลิตร ซึ่งส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดไม่เปลี่ยนแปลง และโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 30 เมษายน 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบน้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 101.7, 113.50 และ 116.81 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.65 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซินปรับตัวลดลง 0.31 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.78 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากการประชุมเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 26 เมษายน 2556) ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 อยู่ที่ 29.7092 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง 0.2837 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 26 เมษายน 2556 ซึ่งอยู่ที่ 29.4255 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 ผู้ค้าน้ำมันฯ ได้ปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95, 91, E20 และ E85 ขึ้นชนิดละ 0.40 บาทต่อลิตร ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลคงเดิมที่ 29.99 บาทต่อลิตร
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 8,083 ล้านบาท หนี้สินรวม 14,515 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 6,432 ล้านบาท
6. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อ่อนค่าลง และการปรับเพิ่มราคาขายปลีกของผู้ค้าน้ำมันภายในประเทศ ทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2556 เป็นดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2556
จากโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว พบว่าค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล และดีเซลอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล ดังนั้น เพื่อให้ค่าการตลาดอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจากเดิมที่อัตรา 1.1505 บาทต่อลิตร อยู่ที่อัตรา 1.5505 บาทต่อลิตร ส่วนค่าการตลาดเฉลี่ยกลุ่มเบนซินอยู่ที่ประมาณ 1.53 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.54 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 22.61 ล้านบาท จากวันละ 237.38 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 214.77 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร จาก 4.00 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 3.60 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 149 - วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 15/2556 (ครั้งที่ 149)
วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เวลา 16.30 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. สรุปผลการดำเนินโครงการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังในไตรมาสที่ 1/2556
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1.รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 กบง. ได้มีการพิจารณาโครงสร้างราคาและค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งค่าการตลาดของน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 1.1505 บาทต่อลิตร และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่เปลี่ยนแปลง และโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 101.50, 114.86 และ 118.89 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลง 0.02 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซินและดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.36 และ 2.08 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากผลการประชุมเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 (ราคาปิดตลาดวันที่ 8 พฤษภาคม 2556) ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2556 อยู่ที่ 30.0107 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง 0.3015 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ซึ่งอยู่ที่ 29.7092 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ผู้ค้าน้ำมันฯ ได้ปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95, 91, E20 และ E85 ขึ้นชนิดละ 0.40 บาทต่อลิตร ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลคงเดิมที่ 29.99 บาทต่อลิตร
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2556 มีทรัพย์สินรวม 10,399 ล้านบาท หนี้สินรวม 13,564 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 3,165 ล้านบาท
6. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อ่อนค่าลง และการปรับเพิ่มราคาขายปลีกของผู้ค้าน้ำมันภายในประเทศ ทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2556 เป็นดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2556
จากโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว พบว่าค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น เพื่อให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.60 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจากเดิมที่อัตรา 0.9442 บาทต่อลิตร อยู่ที่อัตรา 1.5442 บาทต่อลิตร ส่วนค่าการตลาดเฉลี่ยกลุ่มเบนซินอยู่ที่ประมาณ 1.53 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.52 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 33.92 ล้านบาท จากวันละ 214.77 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 180.85 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.60 บาทต่อลิตร จาก 3.60 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 3.00 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2556 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 สรุปผลการดำเนินโครงการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังในไตรมาสที่ 1/2556
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 อนุมัติให้ดำเนินการโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2555/56 กำหนดเป้าหมายการรับจำนำหัวมันสด 10 ล้านตัน ทั้งนี้กระทรวงพลังงาน ได้สนับสนุนให้นำมันสำปะหลังผลิตเอทานอล โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้กากน้ำตาลต่อมันสำปะหลังในการผลิตเอทานอลเป็น 62 : 38 และให้ใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลังในการผลิตเอทานอลคิดเป็นปริมาณหัวมันสด 1.6 ล้านตันต่อปี ผลิตเอทานอลได้ 0.76 ล้านลิตรต่อวัน หรือ 255.60 ล้านลิตรต่อปี
2. ต่อมาเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 กบง. ได้เห็นชอบการปรับสูตรราคาเอทานอลตามสัดส่วนการใช้เอทานอลจากมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้น โดยกำหนดสัดส่วนการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาลต่อมันสำปะหลัง เท่ากับ 62 : 38 พร้อมทั้งให้กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ดำเนินการตรวจสอบสัดส่วนปริมาณการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาลและมันสำปะหลังที่ใช้ผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอลรายเดือนของผู้ค้าน้ำมันแต่ละราย ให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนด และให้ พพ. ประสานกรมการค้าภายใน เพื่อตรวจสอบว่าผู้ผลิตเอทานอลใช้มันสำปะหลังในโครงการรับจำนำ โดยผู้ผลิตเอทานอลจากมันเส้นให้ใช้มันเส้นจากองค์การคลังสินค้า (อคส.) ส่วนผู้ผลิตจากมันสดให้เปิดจุดรับซื้อ มันสดที่หน้าโรงงาน และผู้ผลิตจากน้ำอ้อยให้ถือว่าอยู่ในกลุ่มกากน้ำตาล โดยให้รวบรวมรายงานการซื้อมันสำปะหลังเป็นรายเดือน และแจ้งให้ฝ่ายเลขานุการฯ ทราบเป็นรายไตรมาส
3. เป้าหมายการรับซื้อเอทานอลเพื่อใช้ในการผลิตแก๊สโซฮอลตามโครงการ คือ มีเอทานอลที่ผลิตจากกากน้ำตาลร้อยละ 62 และผลิตจากมันสำปะหลังร้อยละ 38 หรือ 0.76 ล้านลิตร/วัน โดยมีบริษัทผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง เข้าร่วมโครงการ 6 ราย ได้แก่ บจ. ทรัพย์ทิพย์, บมจ. พี.เอส.ซี สตาร์ช โปรดักส์, บมจ.ไทยเอทานอล พาวเวอร์, บจ.ไท่ผิงเอทานอล, บจ. ดั๊บเบิ้ล เอ เอทานอล และ บจ.อุบล ไบโอเอทานอล และมีผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่มีการจัดซื้อเอทานอลเพื่อใช้ในการผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล จำนวน 11 ราย คือ บจ.เชลล์แห่งประเทศไทย, บมจ. เอสโซ่ (ประเทศไทย), บมจ.บางจากปิโตรเลียม, บมจ.ปตท., บมจ.สยามเฆมี, บมจ. ไทยออยล์,บจ.ซัสโก้ ดีลเลอร์ส, บจ.เชฟรอน(ไทย), บมจ. ไออาร์พีซี, บมจ. สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง และ บจ.ทรานส์เทคเอ็นเนอยี่
4. จากการดำเนินโครงการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังในไตรมาสที่ 1/2556 มีการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาลต่อมันสำปะหลัง ในสัดส่วนร้อยละ 77.5 : 22.5 หรือเท่ากับ 157,721,430 ลิตร และ 45,732,235 ลิตร ตามลำดับ คิดเป็นปริมาณการใช้หัวมันสดจำนวน 286,227.45 ตัน แต่มีการใช้หัวมันสดในโครงการฯ เพียง 53,145.32 ตัน เนื่องจากมีเกษตรกรมาจำนำหัวมันสดในปริมาณน้อย ทำให้ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ผลิตเอทานอลที่เข้าร่วมโครงการฯ อีกทั้ง อคส. ยังไม่ส่งมอบมันเส้นในโครงการฯ ทำให้ผู้ผลิตเอทานอลจำเป็นต้องใช้มันสดและมันเส้นในประเทศซึ่งอยู่นอกโครงการฯ ซึ่งมันสำปะหลังนอกโครงการฯ ดังกล่าวไม่นับรวมเป็นปริมาณมันสำปะหลังที่ต้องใช้ตามโครงการฯ โดยปริมาณมันสำปะหลังที่ผู้ผลิตเอทานอลจะต้องซื้อชดเชยเพิ่มเติมจากมันสำปะหลังในโครงการสำหรับไตรมาสที่ 1/2556 คิดเป็นหัวมันสด 233,082.12 ตัน หรือคิดเป็นมันเส้น 97,924.28 ตัน สรุปได้ตามตารางดังนี้
5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินโครงการฯ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนของผู้ผลิตเอทานอล ได้แก่ (1) เกษตรกรนำหัวมันสดมาจำนำที่โรงงานผู้ผลิตเอทานอลซึ่งเปิดเป็นจุดรับจำนำน้อยกว่าเป้าหมาย (2) ผู้ผลิตเอทานอลไม่ทราบราคามันเส้นที่แน่นอนจากโครงการฯ (3) บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ เอทานอล จำกัด (กำลังการผลิต 250,000 ลิตรต่อวัน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังหยุดการผลิตเอทานอลในเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2556 เพื่อปรับปรุงระบบบ่อบำบัด ซึ่งคาดว่าจะเดินเครื่องผลิตเอทานอลได้ในเดือนพฤษภาคม 2556 และ (4) ผู้ผลิตเอทานอลบางรายเป็นผู้ผลิตรายใหม่เพิ่งเริ่มผลิตเอทานอลเชิงพาณิชย์ ในเดือน มกราคม 2556 ทำให้เดินเครื่องได้ไม่เต็มกำลังการผลิต และ ในส่วนของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ได้แก่ (1) ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 บางราย ได้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับผู้ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลไปแล้ว ก่อนเริ่มดำเนินโครงการฯ ทำให้ไม่สามารถซื้อเอทานอลจากมันสำปะหลังได้ตามสัดส่วน และ (2) มีผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังเข้าประมูลน้อยรายและเสนอราคาประมูลสูงเกินไป
6. แนวทางการแก้ไขปัญหาของโครงการฯ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนของผู้ผลิตเอทานอล โดยกระทรวงพาณิชย์ได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา เพื่อเร่งส่งมอบมันเส้นในโครงการฯ สำหรับไตรมาสที่ 1/2556 ให้กับผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังตามปริมาณเอทานอลที่ได้จำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ไปแล้ว และส่งมอบมันเส้นสำหรับไตรมาสที่ 2/2556 เพื่อให้ผู้ผลิตเอทานอลที่ใช้มันเส้นในโครงการฯ ผลิตเอทานอล และในส่วนของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 กระทรวงพลังงานโดยกรมธุรกิจพลังงานประชุมร่วมกับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เพื่อขอความร่วมมือให้รับซื้อเอทานอลตามสัดส่วนเอทานอลจากกากน้ำตาล : มันสำปะหลังเป็น 62 : 38
มติของที่ประชุม
1. มอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จัดทำรายงานผลการดำเนินการ ปัญหา และอุปสรรค ในไตรมาสที่ 1/2556 เสนอให้คณะรัฐมนตรีทราบ
2. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานหารือกับกรมธุรกิจพลังงานและกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อปรับสูตรโครงสร้างราคาเอทานอลใหม่ให้เหมาะสม
กบง. ครั้งที่ 152 - วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 18/2556 (ครั้งที่ 152)
วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และ ข้อ 3.5.3 กำกับราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบบาทกองทุนน้ำมันฯ ให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่งและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
2.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
2.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับ เพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
3. เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 กบง. ได้มีการพิจารณาโครงสร้างราคาและค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกน้ำมันไม่เปลี่ยนแปลง ผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ รวมทั้งราคาปิดตลาด ของน้ำมันตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่เปลี่ยนไป ส่งผลทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2556 เป็นดังนี้
4. ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2556 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และ น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 100.61, 119.13 และ 118.57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.12, 4.58 และ 1.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยเปรียบเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 ซึ่งได้นำเสนอในการประชุมเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2556 อยู่ที่ 30.7557 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลง 0.4236 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จากวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 ซึ่งอยู่ที่ 30.3321 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ทำให้เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2556 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ขึ้น 0.60 บาทต่อลิตร และน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร
5. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2556 มีทรัพย์สินรวม 15,788 ล้านบาท หนี้สินรวม 15,079 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิ 708 ล้านบาท
6. จากราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง และการปรับเพิ่มราคาขายปลีกของผู้ค้าน้ำมันภายในประเทศ ทำให้โครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2556 เป็นดังนี้
จากโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว พบว่าค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น เพื่อให้ ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลง 0.60 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.53 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดเฉลี่ยกลุ่มเบนซินอยู่ที่ประมาณ 1.52 บาทต่อลิตร และค่าการตลาดเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.53 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 33.92 ล้านบาท จากมีรายรับวันละ 174.05 ล้านบาท เป็นมีรายรับวันละ 140.13 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.60 บาทต่อลิตร จาก 3.00 บาทต่อลิตร เป็นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 2.40 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและ แผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไป