5. สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)
1. สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ก่อนเดือนตุลาคม 2543 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2534 เห็นชอบให้มีสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เพื่อให้อัตราค่าไฟฟ้าสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง และลดผลกระทบของความผันผวนของราคาเชื้อเพลิง ต่อฐานะการเงินของการไฟฟ้า โดยให้การไฟฟ้าปรับค่าไฟฟ้า เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงในค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของการไฟฟ้า ทั้งนี้ สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้มีความเหมาะสมหลายครั้ง โดยองค์ประกอบของสูตร Ft ก่อนเดือนตุลาคม 2543 ประกอบด้วย
1.1) การเปลี่ยนแปลงของค่าเชื้อเพลิงที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของ กฟผ. (ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล และถ่านหินนำเข้า) และอัตราค่าไฟฟ้าที่ กฟผ. รับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน
1.2) การเปลี่ยนแปลงรายได้ที่เกิดขึ้นจากยอดจำหน่ายไฟฟ้า และราคาขายปลีกที่จะได้รับจริงแตกต่างไปจากการประมาณการ ซึ่งใช้เป็นฐานในการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ในปี 2534
1.3) การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในการดำเนินการของกิจการระบบส่ง กิจการระบบจำหน่าย และกิจการบริการลูกค้า อันเนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อ และยอดขายแตกต่างจากค่าที่ใช้ในการประมาณการฐานะการเงิน
1.4) การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งมีผลกระทบต่อภาระหนี้ของการไฟฟ้า
1.5) ค่าใช้จ่ายด้านการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (Demand Side Management: DSM)
2. สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 เป็นต้นมา
องค์ประกอบของสูตร Ft ในปัจจุบัน ประกอบด้วย
2.1) ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง (น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล ก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์ และถ่านหินนำเข้า) ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน และค่าซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากค่าเชื้อเพลิง และค่าซื้อไฟฟ้าฐาน ที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า
2.2) ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนในการชำระคืนเงินกู้ และดอกเบี้ยต่างประเทศ ของการไฟฟ้า เนื่องจากการไฟฟ้ายังไม่มีอิสระ ในการบริหารจัดการหนี้ ได้อย่างแท้จริง ในช่วง 6 เดือนแรก ให้การไฟฟ้าสามารถปรับผลกระทบ ที่เกิดขึ้นจริง ที่แตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนฐาน ณ 38 บาท/เหรียญสหรัฐ ผ่านสูตร Ft ได้ทั้งหมด
สำหรับการคำนวณค่าFt ตั้งแต่เดือนเมษายน 2544 เป็นต้นไป การไฟฟ้าจะต้องรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วยในระดับหนึ่ง กล่าวคือ การไฟฟ้าจะต้องรับภาระ5% แรก หากอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลง จากอัตราแลกเปลี่ยนฐาน และมีการกำหนดเพดานให้ปรับค่าไฟฟ้าผ่านสูตรFt ได้ไม่เกิน 45 บาท/เหรียญสหรัฐ และหากอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น จากอัตราแลกเปลี่ยนฐาน ให้การไฟฟ้าคืนผลประโยชน์ให้ประชาชน ผ่านสูตร Ft ทั้งหมด
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการกำกับสูตรฯ ในการประชุมครั้งที่ 4/2544 (ครั้งที่ 98) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2544 ได้มีมติให้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฐานภายใต้มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ณ ระดับ 38 บาท/เหรียญสหรัฐ โดยหากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 38 - 40 บาท/เหรียญสหรัฐ และหากอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลงกว่า 45 บาท/เหรียญสหรัฐ การไฟฟ้าจะเป็นผู้รับภาระ หากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 40-45 บาท/เหรียญสหรัฐ ประชาชนจะเป็นผู้รับภาระ และหากอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นกว่า 38 บาท/เหรียญสหรัฐ การไฟฟ้าจะต้องคืนผลประโยชน์ดังกล่าวให้ประชาชน
2.3) รายได้ที่เปลี่ยนแปลงไปของการไฟฟ้า (MR) เนื่องจากราคาขายเปลี่ยนแปลงไปจากที่ประมาณการฐานะการเงิน ยังคงให้มีการปรับ MR ในช่วง 6 เดือนแรก เพื่อเป็นการประกันว่าค่าไฟฟ้าขายปลีก จะลดลงร้อยละ 2.11 เมื่อพ้นกำหนดดังกล่าวให้นำ MR ออกจากสูตรFt
2.4) การเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ของการไฟฟ้าในส่วนที่ไม่ใช่ค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า (Non-Fuel Cost) ซึ่งจะมีการปรับตามอัตราเงินเฟ้อ และหน่วยจำหน่ายที่เปลี่ยนแปลงไป จากฐานที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐาน ทั้งนี้ ได้มีการดูแลเรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพ ของกิจการไฟฟ้าด้วยแล้วในการกำหนดโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐาน โดยการไฟฟ้าจะต้องปรับลดค่าใช้จ่ายในกิจการผลิต กิจการระบบส่งและกิจการระบบจำหน่าย ในอัตราร้อยละ 5.8, 2.6 และ 5.1 ต่อปี ตามลำดับ
สามารถดูรายละเอียดได้ที่
http://www.eppo.go.th/index.php/th/electricity/electricity-bill/plan-rate/ft
6.ค่า Ft ปัจจุบัน
ตอบ อัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยแสดงสถิติค่า Ft ขายปลีก และชี้แจงการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.erc.or.th/ERCWeb2/Front/StaticPage/StaticPage.aspx?p=186&Tag=%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0 %B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B1 %E0%B8%95%E0%B8%B4%20(Ft)&muid=23&prid=114
7.โครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ
หลักเกณฑ์การกำหนดราคาก๊าซ กำหนดให้การซื้อขายก๊าซแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. สัญญาที่มีความแน่นอน (Firm) เป็นสัญญาซื้อขายก๊าซที่มีการตกลงปริมาณซื้อขายก๊าซที่ชัดเจน โดยผู้ใช้ก๊าซของสัญญาประเภทนี้ไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงอื่นได้โดยง่าย
2. สัญญาที่ไม่แน่นอน (Non-Firm) เป็นสัญญาซื้อขายก๊าซที่ปริมาณการซื้อขายก๊าซสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผู้ใช้ก๊าซของสัญญาประเภทนี้มีทางเลือกในการใช้เชื้อเพลิงอื่นทดแทนก๊าซได้
การกำหนดราคาก๊าซสำหรับสัญญาซื้อขายก๊าซที่ไม่มีความแน่นอน ให้ใช้หลักการของการกำหนดราคาตามราคาเชื้อเพลิงที่ก๊าซเข้าไปทดแทน
สามารถดูรายละเอียดได้ที่
http://www.eppo.go.th/index.php/th/petroleum/gas/ng/price-ng
8.โครงการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน
ตอบ โครงการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน
ขั้นตอนการใช้สิทธิ์
ท่านสามารถใช้สิทธิ์ด้วยการส่งข้อความ SMS ผ่านโทรศัพท์มือถือ ในเครือข่าย AIS DTAC และ TRUE MOVE ตามขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ลงทะเบียนเพื่อยืนยันสิทธิ์ก่อนสั่งซื้อ
กด*755* รหัสผู้ใช้สิทธิ์ (8-11 หลัก) *รหัสร้านค้า (6หลัก) # กดโทรออก จากนั้นระบบจะส่งข้อความกลับไปที่ เบอร์โทรผู้ขอรับสิทธิ์ และ เบอร์โทรร้านค้าก๊าซที่ท่านสั่งซื้อ ขั้นตอนที่ 2 การใช้สิทธิ์ซื้อก๊าซ
1) ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน และผู้ไม่มีไฟฟ้าใช้ แสดงหลักฐานการใช้สิทธิ์ต่อผู้ขายและ กด*755*รหัสยี่ห้อ (2 หลัก) *รหัสขนาดถัง (1 หลัก) # กดโทรออก เช่น *755*01*1#โทรออก
2) ร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร มีสิทธิ์รับได้ไม่เกิน 3 ถัง ต่อการกด 1 ครั้ง โดยแสดงหลักฐานการใช้สิทธิ์ต่อผู้ขายและ กด *755* รหัสยี่ห้อ (2 หลัก) *รหัสขนาดถัง (1 หลัก)*จำนวนถัง (1 หลัก) # กดโทรออก เช่น *755*01*1*1#โทรออก จากนั้นระบบจะส่งข้อความกลับไปที่เบอร์โทรผู้ขอรับสิทธิ์ และเบอร์โทรร้านค้าก๊าซที่ท่านสั่งซื้อ ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบสิทธิ์การใช้ก๊าซที่เหลือได้ โดยกด *755#