- อนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
- แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
- แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
- ทุนอุดหนุนการวิจัย
- ทุนการศึกษาและทุนสนับสนุนการวิจัยของนักศึกษา
- ประชาสัมพันธด้านอนุรักษ์พลังงาน / พลังงานทดแทน
- EUI REPORT
- แผนงาน/โครงการภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
- พัฒนาบุคลากร
- อนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง
- กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
- ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV)
- ระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอร์รี่ (Energy Storage System: ESS)
ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV)
บทนำ
ปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสำคัญต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศต่างๆ จึงได้ร่วมมือกันเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยที่ประชุมรัฐภาคีว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of the Parties : COP) ครั้ง ที่ 21 (COP21) ได้รับรองข้อตกลงปารีสภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ซึ่งมีเป้าหมายหลักร่วมกันที่จะรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อแก้วิกฤติสภาพภูมิอากาศ และในการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศความร่วมมือกับนานาชาติ โดยย้ำว่าไทยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับสูงสุด และประกาศยกระดับการดำเนินการของไทย โดยประกาศเป้าหมายที่ไทยจะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี 2065 ด้วยการสนับสนุนทางด้านการเงินและเทคโนโลยีอย่างเต็มที่และเท่าเทียม
เพื่อให้สอดรับกับเจตจำนงของประเทศในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก และสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จึงได้เห็นชอบกรอบ “แผนพลังงานชาติ” โดยได้กำหนดแนวนโยบายภาคพลังงาน ที่จะมีผลต่อทิศทางการพัฒนาพลังงานที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่
• เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าใหม่โดยมีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
• ปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานภาคขนส่งเป็นพลังงานไฟฟ้าสีเขียว ผ่านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ตามนโยบาย 30@30
• ปรับเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานมากกว่าร้อยละ 30
• ปรับโครงสร้างกิจการพลังงานรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านพลังงานตามแนวทาง 4D1E
โดยนโยบายการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ตามนโยบาย 30@30 เป็นนโยบายสำคัญอย่างมากในอนาคตเพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศในระยะยาว ผ่านการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคขนส่งให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เพิ่มความสามารถในการเปลี่ยนรูปแบบเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นพลังงานไฟฟ้าสีเขียว และช่วยแก้ไขปัญหาสภาพอากาศจากภาวะฝุ่นละออง PM 2.5
กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ดำเนินการนำเสนอเป้าหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถรองรับปริมาณยานยนต์ไฟฟ้าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่
• การส่งเสริมการพัฒนาโครงข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าอย่างเพียงพอ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะให้กระจายทั่วประเทศกว่า 12,000 หัวจ่าย ภายในปี ค.ศ. 2030
• การสร้างกฎระเบียบ มาตรฐานต่าง ๆ เพื่อรองรับการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้า
• การส่งเสริมเทคโนโลยีด้านโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) เพื่อเชื่อมโยงและบริหารจัดการการอัดประจุไฟฟ้าแบบบูรณาการ
โครงการจัดทำแผนการพัฒนาสถานีประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อรองรับเป้าหมายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ
สนพ. ได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของประเทศ ผ่านโครงการจัดทำแผนการพัฒนาสถานีประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อรองรับเป้าหมายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน และมีความสอดคล้องกับทิศทางภาพรวมในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ เกิดการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่มีเพียงพอต่อความต้องการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า และไม่เกิดภาระต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในระยะยาว ดังรายละเอียดเพิ่มเติม
3. ผลการวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้งและจำนวนเครื่องอัดประจุที่เหมาะสมสำหรับแผนพัฒนาสถานีอัดประจุสาธารณะ
4. สื่อประชาสัมพันธ์ Infographic
5. วีดิทัศน์โครงการฯ