การประชุมของคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการกำหนดความร่วมมือระยะยาว Ad-hoc Working Group on Long-term Cooperative Action: AWG-LCA
จากผลการประชุม COP 13 ได้มีมติที่ 13.1 ก่อให้เกิด Bali Action Plan โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้มีการจัดตั้ง คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยความร่วมมือระยะยาวภายใต้อนุสัญญา (Ad Hoc Working Group on Long-Term Cooperative Action Under the Convention: AWG-LCA) เพื่อดำเนินการเจรจาด้านความร่วมมือระยะยาวในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจนถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 มีการเจรจาของ AWG-LCA ไปแล้วทั้งหมด 13 ครั้ง โดยรายละเอียดของการประชุมครั้งล่าสุด มีดังนี้
AWG-LCA 13
โดยร่างผลข้อตกลงของคณะทำงานเฉพาะกิจฯ ล่าสุดจะอยู่ภายใต้กรอบการเจรจา (ดังแสดงไว้ใน Draft Decision -/CP. 16) โดยมีประเด็นสำคัญซึ่งจะมีผลต่อการดำเนินการของประเทศไทยตาม para I, และ para III ดังนี้
- A Shared Vision for Long-Term Cooperative Action: วิสัยทัศน์ร่วมสำหรับสำหรับความร่วมมือระยะยาวได้ตระหนัก (Recognize) ว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโลกตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 2000 เนื่องมาจากความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มากขึ้นซึ่งได้รับการประเมินจาก กลุ่ม IPCC AR4 โดยได้กำหนดเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นไม่ให้มากกว่า 2 องศาเซลเซียส (โดยจะเริ่มให้มีการทบทวนเป้าหมายในปี 2013 โดยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่จะออกมาใหม่ และพิจารณาถึงเป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียส) Enhanced Action on Adaptation: การส่งเสริมการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จัดตั้ง “กรอบการปรับตัวแคนคูน” (Cancun Adaptation Framework) เพื่อเสริม กิจกรรมด้านการปรับตัวผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ การกระตุ้นให้จัดทำแผนการปรับตัวใน ระดับชาติและระดับพื้นที่ ฯลฯ และจัดตั้ง “คณะกรรมการเพื่อการปรับตัว” เพื่อสนับสนุนเชิงเทคนิคด้าน การปรับตัว III. Enhanced Action on Mitigation: การส่งเสริมการดำเนินการด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีการพิจารณาหลักการสำคัญๆ ดังนี้
- การลดก๊าซอย่างเหมาะสมในระดับชาติ (NAMAs) สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วสนับสนุนให้ (Urgues) ประเทศที่พัฒนาแล้วเพิ่มความพยายามในการลดก๊าซให้สอดคล้องกับที่เสนอไว้ในรายงานฉบับที่ 4 ของ IPCC (ซึ่งเสนอว่าประเทศที่พัฒนาแล้วต้องลดก๊าซในระดับ 25-40% จากระดับปล่อยในปี 1990 ให้ได้ ภายในปี 2020) แต่ในเอกสารไม่ได้กำหนดตัวเลขเป้าหมายการลดก๊าซ ให้แต่ละประเทศเสนอเป้าหมายมา เอง (Unilateral Pledge) ซึ่งเป็นแนวทางที่ใช้ในเอกสาร Copenhagen Accord นับเป็นการยอมรับการใช้ ระบบ Unilateral Pledge หรือระบบลดก๊าซแบบสมัครใจอย่างเป็นทางการทั้งในอนุสัญญา และพิธีสารเกียวโตการลดก๊าซอย่างเหมาะสมในระดับชาติ (NAMAs) สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาเห็นชอบให้ (Agrees) ประเทศกำลังพัฒนาได้ดำเนินการกิจกรรม NAMAs ในบริบทของการพัฒนาที่ ยั่งยืน และโดยการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ด้านการเงิน และการเพิ่มขีดความสามารถ เพื่อลดก๊าซจาก ระดับที่ปล่อยตามปกติ (BAU) ภายในปี 2020 โดยให้แต่ละประเทศกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซได้เอง และ ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วสนับสนุนการลดก๊าซของประเทศกำลังพัฒนาทั้งในด้านการเงิน ด้านเทคโนโลยี และด้านขีดความสามารถทั้งในขั้นการเตรียมการและขั้นดำเนินการมีการจัดตั้งระบบขึ้นทะเบียน (Registry) เพื่อบันทึกกิจกรรมด้าน NAMAs และเพื่อ แสวงหาการสนับสนุนจากระหว่างประเทศ และเอื้ออำนวยการสนับสนุนด้านการเงิน เทคโนโลยี และการเพิ่มขีดความสามารถประเทศกำลังพัฒนาควรเสนอรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การดำเนินการลดก๊าซ ความต้องการและการสนับสนุนที่ได้รับทุก 2 ปี และให้มีกลไก “การวิเคราะห์และการปรึกษาระหว่าง ประเทศ” (International consultation and Analysis) ต่อการจัดทำรายงานดังกล่าว เพื่อให้การลดก๊าซมีความ โปร่งใสกระตุ้นให้ประเทศกำลังพัฒนาได้จัดทำยุทธศาสตร์หรือแผนการพัฒนาสู่คาร์บอนต่ำใน บริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนเรื่อง REDD Plusได้ยืนยันหลักการเรื่องการดำเนินงานแบบสมัครใจ มีข้อสรุปเรื่องรูปแบบกิจกรรมของการทำ REDD Plus และเรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนาจัดทำยุทธศาสตร์ระดับชาติหรือแผนปฏิบัติการสำหรับด้านป่าไม้ การกำหนดระดับอ้างอิงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้ในระดับประเทศหรือระดับต่ำกว่า (National or Sub-national Forest Reference Emission Level) แต่ในเรื่องกลไกทางการเงินเพื่อสนับสนุน REDD Plus ยังไม่มีข้อสรุป ให้เจรจาต่อโดยกำหนดให้เสร็จภายใน COP17 IV. Finance, Technology and Capacity Building ในส่วนของการดำเนินงานด้านการสนับสนุนทางด้านการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเพิ่มศักยภาพพบว่าในร่างผลการตกลงการประชุม COP 16 นี้ ได้กล่าวถึงการดำเนินการของ Green Climate Fund ที่อยู่ในระหว่างการจัดตั้งหน่วยงานและเงื่อนไขเพื่อดูแลการให้การสนับสนุนในส่วนนี้กับประเทศกำลังพัฒนา โดยรายละเอียดปรากฏในร่าง Draft decision -/CP.16 section IVV. Review และ VI. Other Mattersในส่วนของ section V และ VI ยังเป็นเพียงการพิจารณาร่วมกันในวาระต่างๆ โดยไม่มีข้อตกลงใดที่เป็นนัยสำคัญกับประเทศกำลังพัฒนา โดยรายละเอียดปรากฏในร่าง Draft decision -/CP.16 section V และ VI
ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด
Read 3226 times