• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับองค์กร
    • เกี่ยวกับองค์กร
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และหน้าที่
    • โครงสร้างองค์กร
    • ติดต่อเรา
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ผังเว็บไซต์

    ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง

    • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • วิสัยทัศน์และนโยบายต่างๆ
    • การบริหารงานด้าน ICT
    • ข่าวสารจากซีไอโอ
    • ปฏิทินกิจกรรมซีไอโอ
  • นโยบายและแผน
    • คำแถลงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล
    • นโยบายด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
    • แผนแม่บทพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • แผนปฏิบัติราชการรายปี และแผนปฎิบติราชการระยะ 5 ปี

    แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB)

    • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
    • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
    • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
    • แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
    • แผนจัดหาก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)

    การติดตามและประเมินผล

    • รายงานผลการประเมินดัชนีชี้วัดด้านพลังงานของประเทศไทย
    • รายงานความก้าวหน้าตามแผนปฏิบัติราชการ
    • รายงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
    • การดำเนินงานด้านพลังงานของ สนพ.
    • โครงการภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • การดำเนินงานตามมติ กพช.

    ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    • สหประชาชาติ

      • กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (UNFCCC)
      • การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP)
      • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

        • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
        • Joint Implementation (JI)
        • Emission Trading (ET)
        • Clean Development Mechanism (CDM)
        • Paris Agreement Adopted
        • Bali Action Plan

          • Bali Action Plan
          • AWG-LCA
          • NAMAS
          • Sectoral Approach : SA
          • MRV
          • AWG-KP
          • Concun Agreement
          • ประเทศไทย

            • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2550
            • คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
            • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
            • แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
            • แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564
            • ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2551-2555
            • กระทรวงพลังงาน

              • คณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ
              • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
              • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
              • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
              • อภิธานศัพท์
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
    • พระราชบัญญัติ / พระราชกำหนด
    • คำสั่งนายกรัฐมนตรี
    • กฏกระทรวง
    • มติ ครม.ด้านพลังงาน
    • คำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้อง กับ สนพ.
    • ประกาศ/คำสั่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • การจัดทำสรุปสาระสำคัญและคำแปลกฎหมาย
    • การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
  • คณะกรรมการ/อนุกรรมการ
    • คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
    • คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
    • คณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม
    • คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)

    คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)

    • มติ
    • คำสั่ง
    • ประกาศ

    คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

    • มติ
    • คำสั่ง
    • ประกาศ

    คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กทอ.)

    • คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณกองทุนฯ
    • คณะอนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
    • มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • มติคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
  • บริการข้อมูลข่าวสาร
    • สถานการณ์พลังงาน
    • วารสารนโยบายพลังงาน
    • รายงานประจำปี
    • รายงานสถิติพลังงานประจำปี
    • รายงานผลการศีกษานโยบายพลังงาน
    • จดหมายข่าวอนุรักษ์พลังงาน
    • ข่าว สนพ.
    • ข่าวพลังงาน
    • ประชาสัมพันธ์
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศรับสมัครงาน
    • ห้องสมุด สนพ.
    • INFOGRAPHIC
    • FAQ
    • บริการประชาชน
    • ธรรมบาลข้อมูล

    เอกสารเผยแพร่ / หนังสือ / สาระน่ารู้

    • เอกสารเผยแพร่
    • หนังสือ
    • สาระน่ารู้
  • การกำกับดูแลองค์กร
    • การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
    • ศูนย์ประสานราชการใสสะอาด
    • ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาค ระหว่างหญิงชาย
    • ศูนย์บริการร่วม
    • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
    • ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
    • กลุ่มงานจริยธรรม
    • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    การพัฒนาระบบบริหาร

    • นโยบายการกำกับองค์กรที่ดี
    • กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ
    • คำรับรองการปฏิบัติราชการ (KPI)
    • การควบคุมภายใน
    • การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
    • มาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงาน
    • แผนปฏิรูปองค์การ
    • การแบ่งส่วนราชการภายในกรม
    • ITA

      • ITA 2565
      • ITA 2566

    สรุปผลการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง

    • งบประมาณ
    • กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
วันอังคาร, 08 มีนาคม 2559 18:08

สรุปสาระสำคัญจากการประชุม COP 18 ระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน – 8 ธันวาคม 2555 ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์

 

ประเด็นเจรจาที่สำคัญ :
...............................
สาระสำคัญ :

พันธกรณีระยะที่ 2 ของพิธีสารเกียวโต

• ให้พันธกรณีที่ 2 มีระยะเวลา 8 ปี โดยเริ่มวันที่ 1 มกราคม 2556 (ค.ศ. 2013) และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 (ค.ศ. 2020)

• รูปแบบทางกฎหมายที่เห็นชอบเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องของพิธีสารประกอบด้วย 2 รูปแบบ คือ 1) ประเทศภาคีอาจจะรับรองข้อแก้ไขไปพลางก่อน (Provisionally Apply Amendment) จนกว่าจะมีผลบังคับใช้ตาม Article 20 และ 21 ของพิธีสารเกียวโต และเห็นชอบให้ประเทศภาคีเสนอ Notification ของการ Provisional Application ต่อ Depositary 2) สำหรับประเทศที่ไม่ Provisionally Apply จะดำเนินการตามพันธกรณีและความรับผิดชอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณีที่ 2 โดยมีความสอดคล้องกับกฎหมายภายในประเทศหรือกระบวนการภายในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 จนกว่าจะมีผลบังคับใช้ตาม Article 20 และ 21 ของพิธีสารเกียวโต

• เห็นชอบให้มีการทบทวนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ Annex I (Quantified Emission Limitation and Reduction Objective: QELRO) สำหรับพันธกรณีที่ 2 อย่างช้าในปี 2557 (ค.ศ. 2014) เพื่อเพิ่มเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกรวมของประเทศ Annex I (Aggregate Reduction of Greenhouse Gas Emission) เป็นอย่างน้อย 25-40% ของปี 2533 (ค.ศ. 1990) ในปี 2563 (ค.ศ. 2020)

คณะทำงานเฉพาะกิจ Durban Platform for Enhanced Action

• ที่ประชุมได้ตกลงร่วมกันเรื่องแนวทางการดำเนินงานของคณะทำงานในปีหน้า เพื่อการพัฒนาพิธีสาร ตราสารกฎหมาย หรือข้อตกลงที่มีผลทางกฎหมายที่มีผลบังคับต่อทุกประเทศ ภายหลังปี ค.ศ. 2020

• รัฐภาคีสามารถยื่นข้อมูล แนวคิด ข้อเสนอในการดำเนินการ การริเริ่ม (Initiatives)และแนวทางต่างๆ ในการเพิ่มระดับของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งในประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายในวันที่ 1 มีนาคม 2556 ต่อฝ่ายเลขาธิการ ทั้งนี้ เลขาธิการ UN ประกาศที่จะจัดประชุมผู้นำประเทศต่างๆ ในปี  2557 เพื่อแสดงเจตจำนงทางการเมืองในการบรรลุต่อเป้าหมายการเพิ่มระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สำเร็จในปี 2558 (ค.ศ. 2015)การสนับสนุนทางการเงิน

• ที่ประชุมสนับสนุนให้ประเทศพัฒนาแล้วให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยไม่เกิดช่องว่างของการสนับสนุน ทางการเงินในช่วงระหว่างFast Start Finance (จำนวน 30 Billion USD และจะสิ้นสุดในปี 2555) และ Long Term Finance (ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป)

• ที่ประชุมเรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วระดมความช่วยเหลือทางการเงินและยกระดับความช่วยเหลือขึ้นทุกปีเพื่อนำไปสู่จำนวน 100 Billion USD ต่อปี ในปี 2563 โดยให้ประเทศพัฒนาแล้วส่งข้อมูลภายใน COP19 เรื่องแนวทางการยกระดับความช่วยเหลือทางการเงินให้บรรลุตามเป้าหมาย 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ต่อปีในปี 2563 และให้มีการหารือแนวทางการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายดังกล่าว ภายใต้แผนการทำงานเรื่องการเงินระยะยาวด้วย อีกทั้ง ให้มีการหารือในระดับรัฐมนตรี (High-level Ministerial Dialogue) เพื่อเร่งรัดกระบวนการตัดสินใจในการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน

• ที่ประชุมรับรองสถานที่ตั้งของกองทุน Green Climate Fund คือที่สาธารณรัฐเกาหลี และเห็นควรให้คณะกรรมการ (The Board) ของกองทุนฯ เร่งจัดทำ Work Plan ในปีหน้า และรายงานความคืบหน้าของการจัดตั้งกองทุนฯ เป็นระยะๆ และขอให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเริ่มให้การสนับสนุนให้กองทุนฯ มีเงินหมุนเวียนภายในโดยเร็ว1อีกทั้งเห็นควรให้ GCF เร่งรัดการจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการและหน่วยงานที่ดูแลทรัพย์สิน (Trustee) ของกองทุนฯ ให้เสร็จโดยเร็ว และให้เสร็จก่อนการประชุม COP 19 เนื่องจากปัจจุบันภาระหน้าที่เลขาธิการชั่วคราว (Interim Secretariat) ของ GCF เป็นของสำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ และ Global Environment Facility (GEF) ส่วนหน่วยงานที่ดูแลทรัพย์สินชั่วคราว (Interim Trustee) ของ GCF คือ ธนาคารโลกวิสัยทัศน์ร่วมกันสำหรับความร่วมมือระยะยาว

• เห็นชอบที่รัฐภาคีจะดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญเพื่อให้อุณภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส และเพื่อบรรลุช่วงเวลาที่มีการปล่อยก๊าซฯ สูงสุดของโลกโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ (As soon as Possible)

• ตัดสินใจให้การดำเนินการดังกล่าวของรัฐภาคีควรอยู่บนพื้นฐานของหลัก Equity และหลักการ Common but Differentiated Responsibilities and Respective Capabilities รวมทั้งการสนับสนุนทางการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเสริมสร้างขีดความสามารถ เพื่อสนุนการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซฯ และการปรับตัวของประเทศกำลังพัฒนาภายใต้อนุสัญญาฯ  และคำนึงถึงความจำเป็นของการเข้าถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ความอยู่รอดของประเทศ และ การปกป้องความสมบูรณ์ของธรรมชาติการปรับตัวต่อผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

• ที่ประชุมมอบหมายให้ Adaptation Committee พิจารณาจัดตั้ง Annual Adaptation Forum ในช่วงระหว่างการประชุม COP เพื่อยกระดับความสำคัญของประเด็นการปรับตัวภายใต้อนุสัญญาฯ

• ที่ประชุมตัดสินใจให้ COP19 จัดตั้งโครงสร้าง เช่น กลไกระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาฯ (International Mechanism) เพื่อกำหนดกรอบแนวทางการลดและรับมือกับผลกระทบของ ความสูญเสีย และความเสียหายต่างๆ ที่สืบเนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Loss and Damage)การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศกำลังพัฒนา

• จัดตั้ง Work Programme ขึ้น โดยดำเนินงานในปี 2556 – 2557 เพื่อดำเนินการต่อเรื่อง กระบวนการทำความเข้าใจความหลากหลายของ NAMAs ด้วยความตั้งใจที่จะช่วยเหลือทั้งในช่วงการเตรียมการและการดำเนินงาน NAMAs

• ขอให้สำนักเลขาธิการฯ ให้จัด Regional Workshop และเตรียม Techinical Material เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการจัดทำ NAMAs

• เชิญชวนให้ประเทศกำลังพัฒนาที่ประสงค์จะแสดงเจตจำนงโดยความสมัครใจมายังที่ประชุมสมัชชารัฐภาคีฯ เกี่ยวกับเจตนารมณ์การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ ส่งข้อมูลดังกล่าว มายังสำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯพันธกรณีหรือการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศพัฒนาแล้ว

• ที่ประชุมตัดสินใจจัดตั้ง Work Programme ขึ้น เพื่อดำเนินการต่อเรื่องกระบวนการสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับ เป้าหมายลดการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกในทุกสาขาเศรษฐกิจ ของประเทศพัฒนาแล้ว

การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้

• ให้มีการจัดทำ Work Program เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนจากผลสัมฤทธิ์ ในการดำเนินกิจกรรม REDD+

• ให้มีการหารือเรื่องการเริ่มกระบวนการปรับปรุง การประสาน การดำเนินกิจการ REDD+  ที่มีการสนับสนุนทางการเงินที่เพียงพอและคาดหวังได้ รวมถึงแหล่งการเงิน และเทคโนโลยี ที่จะมาช่วยดำเนินกิจกรรม REDD+

 

ประเด็นที่ไทยควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

1. การเสนอเรื่องเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภาในการจัดทำตราสารยอมรับ เพื่อให้การแก้ไขพิธีสารดังกล่าวมีผลผูกพันต่อไทย และให้ข้อแก้ไขพิธีสารเกียวโตมีผลบังคับใช้ไปพลางก่อน โดยต้องผ่านการให้ข้อมูลแก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

2. พิจารณาการเตรียมการนำส่งข้อคิดเห็น (Submission) ไปยังสำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง2อาทิ

• ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อการดำเนินงานของคณะทำงานเฉพาะกิจ ADP

• ข้อคิดเห็นต่อ Work Programme เรื่องกระบวนการสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายลดการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกในทุกสาขาเศรษฐกิจ ของประเทศพัฒนาแล้ว

• เจตนารมณ์ในการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ

• ข้อคิดเห็นต่อกระบวนการปรับปรุง การประสาน การดำเนินกิจการ REDD+  ให้มีการสนับสนุนทางการเงินที่เพียงพอและคาดหวังได้ รวมถึงรูปแบบโครงสร้างที่จะดูแลเรื่องดังกล่าว

3. การเตรียมการเพื่อแจ้งเจตนารมณ์การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ

ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Read 6610 times
Tweet
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400  โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364 Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เว็บนี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดบน Internet Explorer 11 Chrome และ Firefox ทุกเวอร์ชั่น

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์