วันอังคาร, 01 มีนาคม 2559 18:02
สรุปสาระสำคัญจากการประชุม COP 10 6-18 December, 2004 Buenos Aires, Argentina
ประเด็นเจรจาที่สำคัญ :
• โปรแกรมการปรับตัวและมาตรการต่างๆ ที่ใช้ในแผนปฏิบัติการบัวโนสไอเรส
สาระสำคัญ :
- ให้สมาชิกประเทศกำลังพัฒนา ใช้กองทุน GEF ในเรื่องการปรับตัวและเสริมสร้างขีดความสามารถ รวมทั้งกองทุนพิเศษด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อสนองตอบแนวทางปฏิบัติของ COP และยืนยันหลักการด้านการปรับตัวให้ปฏิบัติตามวิธีการประเมิน ในรายงานแห่งชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในการพัฒนาที่ยั่งยืนให้สมาชิกกลุ่ม Non-Annex I จัดทำรายงานแห่งชาติเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งอุปสรรคปัญหาตามมติการประชุมที่ 5/CP.7ให้สมาชิกกลุ่ม Annex II ให้ข้อมูลในรายงานแห่งชาติเกี่ยวกับความก้าวหน้าของโปรแกรมการสนับสนุนความต้องการของประเทศกำลังพัฒนาที่เกิดจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ฝ่ายเลขานุการจัดประชุม
ผู้เชี่ยวชาญล่วงหน้าร่วมกับการประชุม SBI 2 ครั้ง โดยครั้งแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือ และวิธีการประเมินผลกระทบจากมาตรการต่างๆ รวมถึงบทบาทของกลยุทธการจัดการความเสี่ยงทางการเงิน และการทำโมเดลผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วนครั้งที่สองมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาแนวทางความหลากหลายในการพัฒนาเศรษฐกิจเข้ามารวม และสนับสนุนกลยุทธการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ SBSTA ทำแผนงาน 5 ปี สำหรับศึกษาผลกระทบทางวิทยาศาสตร์ เทคนิค เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนภัยคุกคามและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเด็นเจรจาที่สำคัญ :
• แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับ CDM
สาระสำคัญ :
- รับทราบมาตรการที่สนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนาสมัครเป็น DOEs และการตั้งหน่วยงาน Designated National Authorities จากสมาชิก 69 ประเทศ โดยมาจากสมาชิกประเทศกำลังพัฒนา 55 แห่ง และยอมรับที่จะดำเนินการตามรูปแบบและวิธีปฏิบัติสำหรับ CDM ตามมติที่ประชุม 17/CP.7
- รับรองคณะกรรมการบริหาร CDM โดยให้เริ่มกิจกรรมทันที โดยเฉพาะการลงทะเบียนและการรับรอง DOEs การอนุมัติแนวทางวิธีติดตามตรวจสอบ การพัฒนาเครื่องมือสำหรับสาธิตและการประเมิน Additionally
- ให้ SBSTA ร่วมกับคณะกรรมการ CDM จัดทำข้อเสนอแก่ที่ประชุม CMP 1 เกี่ยวกับกิจกรรม CDM เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและพิธีสารอื่นๆ โดยเฉพาะพิธีสารมอนทริออล เกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน 22 ใหม่
ประเด็นเจรจาที่สำคัญ :
• ระบบการลงทะเบียน ภายใต้มาตรา 7
สาระสำคัญ :
- ให้สมาชิกซึ่งมีพันธกรณีภายใต้พิธีสารเกียวโต แจ้งให้ฝ่ายเลขานุการทราบเกี่ยวกับหน่วยงานของตนเอง ที่ได้ตั้งให้เป็นนายทะเบียนแห่งชาติ รวมทั้งหน้าที่รับผิดชอบในการโอนถ่ายข้อมูลเพิ่มเติมรับทราบเกี่ยวกับการออกแบบทั่วไปของมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลระบบลงทะเบียนตามมติการประชุมที่ 24/CP.8 ซึ่งประสานงานโดยนายทะเบียน International Transaction Log ซึ่งรวมถึงระเบียบปฏิบัติการลงทะเบียนและเผยแพร่ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันดังนี้
- o ข้อมูลสถานภาพการทำงานของแต่ละระบบ
o ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยที่มีความแตกต่างหรือยังไม่ได้รับการยอมรับ
o ข้อมูลที่ดำเนินการ แจ้งให้ทราบโดย International Transaction Logs ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนด - ให้ฝ่ายเลขานุการฯ ในฐานะนายทะเบียน International Transaction Log จัดทำรายงานความก้าวหน้าเกี่ยวกับเนื้อหา และเวลาในการทดสอบ การเริ่มทำงานของระบบลงทะเบียน
ประเด็นเจรจาที่สำคัญ :
• การปรับปรุงรูปแบบและวิธีการสำหรับกิจกรรมการปรับปรุงป่าและการปลูกป่าภายใต้ CDM
สาระสำคัญ :
- มุ่งเน้นถึงโครงการที่ประเทศสมาชิกในกลุ่ม Annex I ให้การสนับสนุนเงินเป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมการปรับปรุงป่าหรือการปลูกป่าภายใต้ CDM โดยไม่มีผลต่อการยุติการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ และไม่นำมานับรวมกับข้อบังคับทางการเงินสำหรับสมาชิกนั้นๆเห็นชอบการปรับรูปแบบและวิธีการสำหรับกิจกรรมโครงการปรับปรุงป่าและการปลูกป่าขนาดเล็กภายใต้ CDM ให้ง่ายขึ้นในระยะแรกของการปฏิบัติตามพันธกรณีของพิธีสารเกียวโต ซึ่งมีรายละเอียดในภาคผนวกของมติการประชุมสำหรับกิจกรรมการปรับปรุงป่าและการปลูกป่าขนาดเล็ก หมายถึงโครงการที่สามารถกำจัดก๊าซเรือนกระจกที่เทียบเท่า CO2 ได้น้อยกว่า 8 กิโลตันต่อปี และได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายสมทบค่าดำเนินการที่จะนำไปช่วยสมาชิกประเทศกำลังพัฒนาที่กำลังได้รับภัยคุกคามจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งได้รับการลดค่าธรรมเนียมการขอลงทะเบียนและได้รับการลดอัตราการจ่ายเงินสมทบสำหรับค่าใช้จ่ายบริหารงาน CDM ให้คณะกรรมการ CDM จัดทำ Default Factors สำหรับใช้ประเมินสต็อคของคาร์บอนที่มีอยู่และการปรับแนวทางและวิธีการสำหรับกิจกรรมการปรับปรุงป่าและการปลูกป่าขนาดเล็ก ภายใต้ CDM โดยคำนึงถึงประเภทของดิน อายุของโครงการและสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งวิธีการติดตามตรวจสอบการประเมินหรือวัดค่าประมาณก๊าซเรือนกระจกสุทธิที่กำจัดได้จริง โดยใช้วิธีการทางสถิติที่เหมาะสมสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนและเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการการปรับปรุงป่าและการปลูกป่าขนาดเล็กภายใต้ CDM ซึ่งรวมถึงการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อช่วยในการพัฒนาโครงการเชิญชวนให้หน่วยงานระดับพหุภาคี หน่วยงานระหว่างรัฐบาล และ NGO ที่เกี่ยวข้อง จัดทำพัฒนาและดำเนินการโปรแกรมที่ สนับสนุนกิจกรรมการสร้างเสริมขีดความสามารถ เพื่อช่วยเหลือ ชุมชนและบุคคลที่มีรายได้ต่ำในการพัฒนาและดำเนินการ โครงการปรับปรุงป่าและปลูกป่าขนาดเล็ก
ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด
Read 3962 times