มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 3/2547 (ครั้งที่ 98)
วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุมธำรงนาวาสวัสดิ์ (ตึกใหม่) ชั้น 3 ทำเนียบรัฐบาล
1.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
2.ความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2547 - 2558 (PDP 2004)
3.การอนุมัติตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิง
4.การทบทวนแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544-2554 (ปรับปรุง)
6.ค่าตอบแทนคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า
นายพรหมินทร์ เสิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานที่ประชุม
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
เนื่องจากรองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ติดราชการด่วนไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ และได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) เป็นประธานที่ประชุม ครั้งนี้
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงมาตรการที่กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการในช่วงราคา น้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยได้ดำเนินการ 3 มาตรการ ดังนี้คือ 1) มาตรการลดภาระความผันผวนของราคา โดยใช้มาตรการตรึงราคาน้ำมันเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่อง และลดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งปัจจุบันยังคงตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้และคาดว่าแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาด โลกจะไม่ผันผวนมากในปีหน้า แต่ระดับราคาน้ำมันเฉลี่ยจะสูงกว่าปีที่ผ่านมา 2) มาตรการประหยัดพลังงาน ซึ่งได้ดำเนินการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และ 3) มาตรการเชิงรุกได้ดำเนินการ 3 แนวทาง ได้แก่ การเปลี่ยนภาวะจากผู้ซื้อเป็นผู้ขายพลังงาน โดยการเข้าร่วมขอสัมปทานแหล่งพลังงานในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศพม่า และอิหร่าน และโดยการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังน้ำ โดยการร่วมลงทุนจัดทำโครงการเขื่อนขนาดกลางในต่างประเทศ รวมทั้งการผลิตพลังงานจากไบโอดีเซล และพลังงานจากขยะเพื่อลดการนำเข้าพลังงาน และปัญหาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ โดยการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของปิโตรเลียม เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติ โดยที่การดำเนินมาตรการดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันดิบโดยรวม เดือนตุลาคมและเดือนกันยายน 2547 อยู่ในระดับเดียวกันที่ระดับ 82.6 ล้านบาร์เรล/วัน โดยประเทศในกลุ่ม OECD มีอัตราการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 0.3 ล้าน บาร์เรล/วัน ในขณะที่ประเทศนอกกลุ่ม OECD มีอัตราการใช้น้ำมันลดลง 0.3 ล้านบาร์เรล ส่วนการผลิตน้ำมันดิบโดยรวมเดือนตุลาคม อยู่ที่ระดับ 85.0 ล้านบาร์เรล/วัน โดยกลุ่มโอเปคผลิตเพิ่มขึ้น 0.2 ล้านบาร์เรล/วัน อยู่ที่ระดับ 30.6 ล้านบาร์เรล/วัน และผลการประชุมกลุ่มโอเปค เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2547 ให้คงโควต้า การผลิตไว้ที่ระดับเดิม 27 ล้านบาร์เรล/วัน โดยให้ประเทศสมาชิกปรับลดการผลิตส่วนเกินลง 1 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่ปัจจุบันโควต้าการผลิตที่ระดับ 29 ล้านบาร์เรล/วัน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป ส่วนปริมาณการผลิตน้ำมันของประเทศนอกกลุ่มโอเปคเดือนตุลาคม อยู่ที่ระดับ 48.6 ล้านบาร์เรล/วัน
2. ราคาน้ำมันดิบในช่วงไตรมาส 4 ปี 2547 ส่วนใหญ่ได้ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 3 ประมาณ 0.77 - 5.33 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ยกเว้นน้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลง 0.52 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์เฉลี่ยของไตรมาส 4 อยู่ในระดับ 35.69 และ 45.19 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
3. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปเฉลี่ยในไตรมาส 4 ปี 2547 ได้ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงไตรมาส 3 โดยราคา น้ำมันเบนซินออกเทน 95 ,92 ก๊าด ดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเตา ปรับตัวสูงขึ้น 2.87, 3.11, 5.62, 5.08 และ 1.53 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ
4. ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปเฉลี่ยของไทยในช่วงไตรมาส 4 ปี 2547 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 โดยกระทรวงพลังงานยกเลิกควบคุมราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2547 แต่ยังคงตรึงราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วไว้ที่ระดับ 14.59 บาท/ลิตร โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95 , 91 และดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 19.29 , 18.49 และ 14.59 บาท/ลิตร ตามลำดับ
5. ค่าการตลาดเฉลี่ยในไตรมาส 4 ปี 2547 ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 อยู่ที่ระดับ 1.2102 บาท/ลิตร โดยค่าการตลาดเฉลี่ยในเดือนตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม อยู่ที่ระดับ 1.1400 , 1.1964 และ 1.3289 บาท/ลิตร ตามลำดับ ส่วนค่าการกลั่นในช่วงไตรมาส 4 ปี 2547 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.7033 บาท/ลิตร เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 3 อยู่ที่ระดับ 1.8408 บาท/ลิตร โดยค่าการกลั่นเฉลี่ยโดยรวมในเดือนตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม อยู่ที่ระดับ 1.5088, 2.1565 และ 1.8165 บาท/ลิตร ตามลำดับ ทั้งนี้ การที่ค่าการกลั่นของเดือนพฤศจิกายน อยู่ในระดับสูงกว่าปกติค่อนข้างมาก เนื่องจากการที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาด จรสิงคโปร์
6. นักวิเคราะห์คาดว่าในระยะสั้นราคาน้ำมันดิบจะยังคงมีความผันผวน โดยราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์จะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 33 - 35 และ 44 - 46 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากการเข้าซื้อ เก็งกำไรของกองทุน (Hedge Funds) และปัญหาความไม่สงบและเหตุการณ์ประท้วงในประเทศกลุ่มผู้ผลิต น้ำมันรวมถึงการปรับลดปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปค เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2547 ให้ประเทศสมาชิก ปรับลดปริมาณการผลิตจริงลง 1 ล้านบาร์เรล/วัน เพื่อให้เป็นไปตามโควตาที่ได้รับ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป และโดยตลาดคาดว่าโอเปคอาจจะลดกำลังการผลิตลงอีก 0.5 ล้านบาร์เรล หากความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลกลดลง นอกจากนี้ จีนเพิ่มอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของจีนชะลอตัวลง ดังนั้นอุปสงค์น้ำมันของจีนในปี 2548 จะลดลงอยู่ที่ระดับ 6.68 ล้านบาร์เรล/วัน รวมทั้ง สหรัฐอเมริกามีนโยบายเก็บสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์เพิ่มเป็น 700 ล้านบาร์เรล ในปี 2548
7. สำหรับราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อน ไหวอยู่ที่ระดับ 47 - 52 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบความต้องการใช้น้ำมันในภูมิภาคมากขึ้น และราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 48 - 53 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากความต้องการใช้น้ำมันเพื่อความอบอุ่นของสหรัฐอเมริกาจะยังคงมีอย่างต่อ เนื่อง ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันเพื่อความอบอุ่นของญี่ปุ่นเริ่มชะลอตัวลง
8. ผลการดำเนินงานตั้งแต่รัฐบาลตรึงราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2547 จนถึงวันที่ 17 ธันวาคม 2547 รวม 343 วัน มีจำนวนเงินชดเชยสะสมทั้งสิ้น 57,183 ล้านบาท แยกเป็นเงินชดเชยน้ำมันเบนซินและดีเซลหมุนเร็ว 6,975 และ 50,208 ล้านบาท ตามลำดับ โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2547 อยู่ที่ 19.29, 18.49 และ 14.59 บาท/ลิตร ตามลำดับ โดยอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ระดับ 3.9093 บาท/ลิตร หรือประมาณ 209 ล้านบาท/วัน
9. ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลก ในเดือนธันวาคม 2547 ปรับตัวลดลง 46 เหรียญสหรัฐ/ตัน อยู่ที่ระดับ 421 เหรียญสหรัฐ/ตัน ตามราคาน้ำมันดิบ ประกอบกับอุปทานลดลงจากอุณหภูมิในฤดูหนาวของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชียตอนเหนือสูงกว่าปกติ ราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นอยู่ในระดับ 12.4115 บาท/กก. (เป็นระดับเพดานของก๊าซ LPG สูงสุด 315 เหรียญสหรัฐ/ตัน) อัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ อยู่ในระดับ 2.3416 บาท/กก. คิดเป็นเงิน 439 ล้านบาท/เดือน และแนวโน้มราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกในช่วงเดือนมกราคม 2548 คาดว่าราคาจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 400 - 420 เหรียญสหรัฐ/ตัน อัตราเงินชดเชยยังคงอยู่ในระดับเดิม 2.3416 บาท/กก. หรือ 439 ล้านบาท/เดือน ณ อัตราแลกเปลี่ยน 39.4015 บาท/เหรียญสหรัฐ
10. กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของ น้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และแก๊สโซฮอล์ เพิ่มขึ้น 0.20 บาท/ลิตร จากระดับ 0.50 , 0.30 และ 0.04 บาท/ลิตร เป็น 0.70 , 0.50 และ 0.24 บาท/ลิตร ตามลำดับ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป ทำให้ กองทุนน้ำมันฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 135 ล้านบาท/เดือน จากระดับ 1,100 ล้านบาท/เดือน อยู่ที่ระดับ 1,235 ล้านบาท/เดือน ดังนั้นฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2547 มียอดเงินคงเหลือหลังหักภาระผูกพันอยู่ในระดับ 199 ล้านบาท มีหนี้สินค้างชำระในระดับ 47,744 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ชดเชยราคาก๊าซ LPG 4,681 ล้านบาท หนี้เงินคืนกรณีอื่นๆ 135 ล้านบาท หนี้การตรึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน - 17 ธันวาคม 2547 ประมาณ 10,074 ล้านบาท หนี้เงินกู้ 32,800 ล้านบาท และหนี้ดอกเบี้ยเงินกู้ประจำเดือนธันวาคม 2547 ประมาณ 54 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันสุทธิ ติดลบ 47,545 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เรื่อง แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2547 - 2558 (PDP 2004) โดย เห็นชอบให้ กฟผ. ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้า 4 โรง ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสงขลาชุดที่ 1 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ 3 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ 5 โดยรัฐบาลไม่ค้ำประกันการก่อหนี้ และให้มีการแยกบัญชีการเงินของโครงการดังกล่าวจากบัญชีการเงินของ กฟผ. อย่างชัดเจน ทั้งนี้ มอบหมายให้ กฟผ. และ ปตท. รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่อก๊าซธรรมชาติ และการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสงขลาทุก 3 เดือน หากโครงการดังกล่าวมีความล่าช้า ให้เร่งพิจารณาการจัดหาไฟฟ้าในภาคใต้ โดยนำโครงการขยายโรงไฟฟ้าขนอมขนาด 385 เมกะวัตต์ ในปี 2550 มาทดแทน และให้ กฟผ. จัดทำแผนบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าและรายงานความคืบหน้าผลการทดสอบการเดินเครื่อง กำเนิดไฟฟ้าสำรองของผู้เข้าร่วมโครงการตามนโยบาย Peak cut รวมทั้ง ทำการศึกษาแนวทางการจัดหาไฟฟ้าในภาคใต้ ซึ่งผลการดำเนินงานตามมติดังกล่าว มีดังนี้
1.1 ความคืบหน้าในการดำเนินงานของ ปตท. ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้กับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสงขลา ของ กฟผ. ปตท. จะจัดหาก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย (JDA) ซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามสัญญาจัดหาก๊าซฯ ภายในเดือนธันวาคม 2547 โดยจะขนส่งก๊าซฯ ผ่าน โครงการท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลของบริษัท ทรานส์ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด หรือ TTM ซึ่งจะขึ้นฝั่ง ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มีกำลังการส่งก๊าซฯ สูงสุด 1,020 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจะส่งผ่านต่อไปยังท่อส่งก๊าซฯ ของ ปตท. ที่จะเชื่อมต่อไปยังโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสงขลาของ กฟผ. โดยที่โครงการท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลของบริษัท TTM ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีแผนเริ่มขนส่งก๊าซฯ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 และ ปตท. อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างท่อส่งก๊าซฯ บนบก ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เชื่อมจากระบบท่อส่งก๊าซฯ ของบริษัท TTM ไปยังโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสงขลา ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา ในการก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 2 ปี ทั้งนี้ ปตท. จะสามารถจัดหาก๊าซฯ และส่งให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสงขลาได้ภายในต้นปี 2551
1.2 ความคืบหน้าในการดำเนินงานของ กฟผ. ซึ่งเป็นการรายงานการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง PDP 2004
(1) โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสงขลา เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 คณะกรรมการ กฟผ. ได้อนุมัติให้จัดซื้อที่ดินสำหรับก่อสร้างโรงไฟฟ้าสงขลาบริเวณบ้านควนหัว ช้าง ตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา คาดว่าจะดำเนินการจัดซื้อที่ดินได้สำเร็จภายในเดือนมีนาคม 2548 ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2547 กฟผ. นำเสนอโครงการฯ ต่อกระทรวงพลังงาน และต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งคณะกรรมการ สศช. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 ได้มีมติให้เลื่อนการพิจารณาโครงการฯ ไปจนกว่ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะแล้วเสร็จ และคาดว่าการขออนุมัติโครงการจากรัฐบาลจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2548 รวมทั้งการขออนุมัติก่อสร้างและขอใบอนุญาตต่างๆ ด้วย
สำหรับการดำเนินงานมวลชนสัมพันธ์ กฟผ. ได้ดำเนินงานมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าสงขลาตั้งแต่เดือน ธันวาคม ปี 2546 โดยได้จัดตั้งคณะทำงานการมีส่วนร่วมชุมชน จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าสงขลา และอื่นๆ ผลปรากฏว่าประชาชนในพื้นที่อำเภอจะนะมีทัศนคติเป็นบวกต่อโรงไฟฟ้าและการ ดำเนินงานของ กฟผ. และ กฟผ. ได้จ้างบริษัท ทีม คอนซัลติ้งท์ เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการฯ โดยเริ่มงานเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 มี ระยะเวลาในการศึกษา ประมาณ 6 เดือน (10 มิถุนายน - 31 ธันวาคม 2547) และคาดว่าจะส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ในเดือนธันวาคม 2547 และจะนำเสนอรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการฯ ต่อ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อพิจารณาและจะได้รับความเห็นชอบประมาณเดือนมีนาคม 2548 และคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าประมาณ 2 ปี 9 เดือน จะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2550 และ กฟผ. จะสามารถตรวจรับโรงไฟฟ้าได้ ภายในเดือนมีนาคม 2551
(2) กฟผ. ได้ทำการปรับแผนการซ่อมบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าในช่วงปี 2549 - 2550 ปรับเลื่อนช่วงเวลาในการหยุดซ่อมโรงไฟฟ้าบางโรงที่อยู่ในช่วงความต้องการ ไฟฟ้าสูงสุดของปีออกไปเป็นช่วงอื่นที่มีความต้องการไฟฟ้าน้อย และเปลี่ยนสถานะโรงไฟฟ้าที่อยู่ใน Mode Cold Standby ให้เป็น Reserve Shutdown (พร้อมเดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบ) นอกจากนี้ กฟผ. ได้เตรียมปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าและการควบคุมระบบ กำลังไฟฟ้าเพื่อให้สามารถปรับแผนการผลิตและบำรุงรักษาให้เหมาะสมทัน สถานการณ์ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในเรื่องการเดินเครื่องเกินพิกัด (Overload) ในกรณีฉุกเฉินที่ความต้องการไฟฟ้าสูงเกินกว่ากำลังผลิตที่มีอยู่
(3) ผลการทดสอบการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองของผู้เข้าร่วมโครงการ ตามนโยบาย Peak Cut ตามแผน PDP 2004 โดยการนำเอาเครื่องยนต์ดีเซลที่ติดตั้งอยู่ตามโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจ ขนาดใหญ่ ซึ่งมีไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินมาเดินเครื่องในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ของปี โดย กฟผ. ได้จัดทำโครงการลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak cut) โดยเชิญชวนให้ผู้ประกอบการที่มีเครื่องยนต์ดีเซลดังกล่าว ประมาณ 2,000 ราย เข้าร่วมโครงการ ในช่วงแรกคาดว่าจะสามารถลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในระบบจำนวน 500 เมกะวัตต์ ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นไป ซึ่งผลการดำเนินงานโครงการ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 มีผู้ส่งใบสมัครเข้าร่วมโครงการฯ อย่างเป็นทางการแล้วจำนวน 115 ราย จำนวนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองที่จะเข้าร่วมโครงการ 215 เครื่อง มีพลังไฟฟ้าที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ทันที 97.14 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ ยังมี ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการและอยู่ระหว่างการประสานงานอีกประมาณ 200 ราย และได้ประสานงานแล้ว ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ ซึ่ง กฟผ. ได้ตั้งเป้าหมายว่า ในเดือนเมษายน 2548 จะสามารถทดสอบการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองของผู้เข้าร่วมโครงการได้ จำนวน 300 เมกะวัตต์
(4) การศึกษาแนวทางการจัดหาไฟฟ้าในภาคใต้ โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพและขยายขนาดโรงไฟฟ้าขนอมจาก 150 เมกะวัตต์ เป็น 385 เมกะวัตต์ พร้อมทั้งศึกษาต้นทุนและความเป็นไปได้ในการขยาย โครงการดังกล่าวเพิ่มเติมเป็น 700 เมกะวัตต์ ซึ่ง บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (บฟข.) เป็นผู้รับผิดชอบ ในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ในส่วนของการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้า บฟข. ได้ว่าจ้าง กฟผ. ทำการศึกษาระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับกำลังผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของโรงไฟฟ้าขนอม โดยมีระยะเวลาในการศึกษา 5 เดือน
3. จากผลรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานดังกล่าว ฝ่ายเลขานุการฯ มีความเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงและต้องเร่งดำเนินการ ดังนี้
3.1 กฟผ. ควรรายงานรายละเอียดต้นทุนการจัดหาไฟฟ้าเพื่อสามารถเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้า เอกชนที่มีขนาดใกล้เคียงกันได้ ตลอดจนการจัดหาเงินลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า และแนวทางดำเนินการแยกบัญชีการเงินของโครงการออกจากระบบบัญชีของ กฟผ. ของโรงไฟฟ้าทั้ง 4 แห่ง
3.2 ปตท. ควรเร่งดำเนินการจัดหาก๊าซธรรมชาติและส่งให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสงขลา ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2550 ซึ่งเดิมกำหนดไว้ภายในต้นปี 2551 เพื่อให้ กฟผ. มีเวลาในการทดสอบการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าก่อนจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบจริงใน เดือนมีนาคม 2551 ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบมีความต้องการใช้ ไฟฟ้าสูง
3.3 โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสงขลา ได้กำหนดให้มีการจัดหาที่ดิน การขออนุมัติโครงการ การขออนุมัติก่อสร้างและขอใบอนุญาตต่างๆ รวมทั้งการขออนุมัติการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต้องแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2548 ซึ่งหากการดำเนินการอนุมัติล่าช้าจะส่งผลทำให้การก่อสร้าง โรงไฟฟ้าดังกล่าวมีความล่าช้าออกไป ดังนั้น ควรพิจารณาโครงการขยายโรงไฟฟ้าขนอมขนาด 385 เมกะวัตต์ ตามมติคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย เพื่อให้การจัดหาไฟฟ้าในภาคใต้มีความมั่นคง เพียงพอต่อความต้องการ ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
3.4 การจัดหาไฟฟ้าตามแผน PDP 2004 ได้รวมโครงการ Peak Cut 500 เมกะวัตต์ ไว้ตั้งแต่ปี 2549 โดยจะมีกำลังการผลิตสำรองต่ำสุดร้อยละ 13.7 ในปี 2549 ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานร้อยละ 15 และหากการ ดำเนินการล่าช้าจะมีผลทำให้กำลังการผลิตสำรองลดต่ำลงไปอีก ดังนั้น กฟผ. ควรเร่งดำเนินโครงการและเร่งทดสอบการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยเร็ว เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการ Peak Cut สามารถดำเนินการได้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งหาก กฟผ. ดำเนินการได้เพียง 300 เมกะวัตต์ จะส่งผลให้กำลังการผลิตสำรองลดลงเหลือเพียง ร้อยละ 12.8 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานมาก พร้อมทั้ง กฟผ. ควรจัดเตรียมแผนทางเลือกสำรองหาก โครงการ Peak Cut ไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ด้วย
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 ระเบียบวาระที่ 3.3 การอนุมัติตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2545 ให้คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาข้อเสนอการขอตั้งโรงงานผลิตและ จำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงโดยให้เป็นไปตามกรอบนโยบายที่คณะกรรมการเอทานอ ลแห่งชาติกำหนด และให้นำเสนอผลการพิจารณาตั้งโรงงานต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อพิจารณาอนุมัติ และเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2547 กพช. ได้มีมติเห็นชอบให้การพิจารณาอนุมัติการขอตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอ ลเป็นเชื้อเพลิง โดยคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ เป็นที่สิ้นสุด และให้รายงานผลการพิจารณาเสนอต่อ กพช. เพื่อทราบเป็นระยะต่อไป
2. เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ในการประชุมคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติได้มีการพิจารณา ข้อเสนอการขอตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิง และได้มีมติอนุมัติการขอตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงของ ผู้ประกอบการจำนวน 16 ราย ซึ่งใช้กากน้ำตาลและน้ำอ้อยเป็นวัตถุดิบ จำนวน 12 โรงงานและ ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ จำนวน 4 โรงงาน สามารถผลิตเอทานอลที่มีความบริสุทธิ์ของแอลกอฮอส์ 99.5 % โดยมีขนาดกำลังผลิตของแต่ละโรงงงาน อยู่ระหว่างไม่เกิน 50,000 - 500,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งโรงงานที่ใช้กากน้ำตาลและน้ำอ้อยเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ 1) บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด 2) บริษัท รวมเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด 3) บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด 4) บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด (บริษัทไทยรุ่งเรืองพลังงาน จำกัด) 5) บริษัท น้ำตาลแลอ้อยตะวันออก จำกัด 6) บริษัท เอ็น.วาย.ชูการ์ จำกัด (บริษัทเอ็น.วาย.เอทานอล จำกัด) 7) บริษัท น้ำตาลราชบุรี จำกัด (บริษัทราชบุรีเอทานอล จำกัด) 8) บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด 9) บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลปราณบุรี จำกัด (บริษัทปราณบุรีเอทานอล จำกัด) 10) บริษัทอุตสาหกรรมอ่างเวียน จำกัด 11) นายนพพร ว่องวัฒนะสิน จำกัด และ 12) บริษัทสมเด็จ (1991) จำกัด สำหรับโรงงานที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ บริษัท ฟ้าขวัญทิพย์ จำกัด บริษัท สยาม เอทานอลอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท ปิคนิคแก๊ส แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) และบริษัท บุญเอนก จำกัด
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 4 ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.1 การทบทวนแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544-2554 (ปรับปรุง)
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2544 เห็นชอบตามมติ กพช. เรื่องแผนแม่บทระบบ ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544 - 2554 (ปรับปรุง) ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เพื่อเป็นกรอบการลงทุนก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. จำนวน 10 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 104,834 ล้านบาท โดยมีโครงการลงทุนจำนวน 7 โครงการ ได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในราย ละเอียดของการลงทุนเพื่อดำเนินโครงการ
2 ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 เห็นชอบแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2547 - 2558 (PDP 2004) ซึ่งมีการปรับแผนการขยายกำลังผลิตไฟฟ้าโดยให้ บริษัทกัลฟ์อิเล็กตริก จำกัด (มหาชน) ขยายกำลังผลิตจาก 734 เป็น 1,468 เมกะวัตต์. ทำให้ความต้องการก๊าซธรรมชาติของประเทศเพิ่มสูงขึ้นจากที่ได้ประมาณการเมื่อ ปี 2546 ปตท. ได้มีหนังสือที่ 710/00/190 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2547 ขอทบทวนแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544-2554 (ปรับปรุง) และการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อเสริมความมั่นคงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติระยะยาวของ ปตท.
3. แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย
3.1 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาความต้องการก๊าซธรรมชาติขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี โดย ส่วนใหญ่เป็นการใช้ในภาคการผลิตไฟฟ้าปริมาณร้อยละ 77 ภาคอุตสาหกรรมและขนส่งร้อยละ 9 และการใช้ในโรงแยกก๊าซธรรม-ชาติ ร้อยละ 14 ในปี 2547 ปริมาณความต้องการอยู่ในระดับ 2,800 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน สำหรับความต้องการก๊าซธรมชาติในอนาคต ในภาคการผลิตไฟฟ้าพบว่า จากแผน PDP 2004 ในช่วงปี พ.ศ. 2548 - 2553 จะมีโรงไฟฟ้าเกิดขึ้นใหม่กำลังการผลิตรวม 8,252 เมกะวัตต์ โดยจะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงร้อยละ 69 หรือเท่ากับความต้องการก๊าซธรรมชาติประมาณ 820 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าของบริษัท กัลฟ์อิเล็กตริก จำกัด (มหาชน) ขนาดกำลังการผลิต 1,468 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ขนาดกำลังการผลิต 700 เมกะวัตต์ จำนวน 4 โรงและโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมของบริษัทราชบุรีพาวเวอร์ จำกัด ขนาดกำลังการผลิต 700 เมกะวัตต์ จำนวน 2 โรง ซึ่งทำให้คาดว่าความต้องการก๊าซธรรมชาติในภาคการผลิตไฟฟ้าในช่วงปี พ.ศ. 2553 - 2558 โดยใช้สมมติฐานให้ร้อยละ 40 ของโรงไฟฟ้าใหม่จำนวน 18 โรง กำลังการผลิตรวม 12,600 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง จะมีความต้องการก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นจากระดับ 2,140 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ในปี 2547 เป็น 3,720 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ในปี 2558 ส่วนภาคอุตสาหกรรมและขนส่ง คาดว่าจะมีการขยายตัวจากระดับ 250 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ในปี 2547 เป็น 610 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ในปี 2558 หรือมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี ขณะที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่ง ปตท. มีแผนที่จะดำเนินโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 ซึ่งมีกำลังการแยกก๊าซธรรมชาติขนาด 1,100 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ในปี 2553 เพื่อรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และรองรับกับความต้องการก๊าซ LPG ทำให้ความต้องการก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นจากระดับ 400 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน ในปี 2547 เป็น 1,050 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ในปี 2558 หรือมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี
3.2 การจัดหาก๊าซธรรมชาติ ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้ว (Proved Reserve) ซึ่งรวมปริมาณสำรองในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (เฉพาะในส่วนของประเทศไทยร้อยละ 50) และปริมาณที่ประเทศไทยมีสัญญาจากสหภาพพม่า ณ สิ้นปี 2546 ปริมาณรวม 24.25 ล้านล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ซึ่งสามารถรองรับความต้องการก๊าซธรรมชาติ ณ ระดับ 2,000 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ได้ประมาณ 33 ปี และหากรวมปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่น่าจะพบ (Probable Reserve) และปริมาณสำรองที่อาจจะพบ (Possible Reserve) ปริมาณสำรองทั้งหมดจะสามารถรองรับความต้องการได้อีกประมาณ 45 ปี (ไม่รวม สหภาพพม่า) โดยที่การจัดหาก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มาจากการจัดหาจากภายในประเทศร้อยละ 74 และมีการนำเข้าจากสหภาพพม่าร้อยละ 26 ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณซื้อขายตามสัญญารวม 2,741 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน สำหรับ แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติในอนาคต ในช่วงปี พ.ศ. 2549 - 2553 ของ ปตท. ประกอบด้วยการจัดหาจากแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ภายในประเทศ ได้แก่ แหล่งอาทิตย์ แหล่ง JDA แปลง A-18 และ B-17 โดยมีปริมาณรวม 1,180 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน และการจัดหาเพิ่มเติมจากแหล่งที่มีสัญญาอยู่ในปัจจุบัน เช่น ยูโนแคล ปริมาณ 500 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ทั้งนี้แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติดังกล่าวจะสามารถรองรับความต้องการก๊าซ ธรรมชาติในอนาคตได้จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2553 เนื่องจากข้อจำกัดจากกำลังความสามารถของโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เส้นที่ 3
4. การทบทวนแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544-2554 (ปรับปรุง) มีสาระสำคัญดังนี้
4.1 การขยายกำลังส่งของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเล เส้นที่ 3 และปรับลดความดัน ปลายทางที่จุดขึ้นฝั่งที่จังหวัดระยอง จาก 1,000 psig เป็น 750 psig เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมจากอ่าวไทย จาก 1,750 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน เป็น 1,860 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน นอกจากนี้ ลดการลงทุนส่วนที่ไม่จำเป็นโดยชะลอการลงทุนระบบท่อส่งก๊าซฯ ที่เชื่อมต่อจากระบบท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลเส้นที่ 3 ที่ KP361 (ราชบุรี) ออกไปเป็นปี 2555
4.2 การเพิ่มขีดความสามารถของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก เพื่อรองรับการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมจากอ่าวไทยที่จะขึ้นฝั่งที่ระยอง และรองรับความต้องการก๊าซธรรมชาติของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ และพระนครเหนือ โดยการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกจากระยองไปบางปะกง และวังน้อย และการติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันกลางทาง (On shore Midline Compressors) เพื่อขนส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยป้อนความต้องการในพื้นที่ภาคกลาง และป้อนระบบท่อไทรน้อย-โรงไฟฟ้าพระนครใต้/พระนครเหนือ
4.3 การเร่งดำเนินโครงการในระยะที่ 2 ของแผนแม่บทท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง) ได้แก่ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติวังน้อย - แก่งคอย ให้สามารถส่งก๊าซฯ ได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2549 จากแผนเดิมที่กำหนดไว้ต้นปี 2551 และการติดตั้ง Compressors บนบกและในทะเล ให้สามารถส่งก๊าซฯ ได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2549 หรือ ภายในต้นปี 2550 รวมทั้งโครงการท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย- มาเลเซีย-แหล่งอาทิตย์ ให้สามารถส่งก๊าซธรรมชาติได้ ตั้งแต่ต้นปี 2550
5. แผนการลงทุนแบ่งเป็น 3 ระยะ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
โครงการในระยะที่ 1 | ปีที่เริ่มส่งก๊าซฯ |
1. หน่วยเพิ่มความดันที่กาญจนบุรี | ก.ค. 2548 |
2. หน่วยเพิ่มความดันสำรองที่ราชบุรี | ก.ค. 2549 |
3. ท่อไทรน้อย - โรงไฟฟ้าพระนครใต้/พระนครเหนือ | ก.ค. 2549 |
4. ท่อในทะเล อาทิตย์-PRP-ระยอง | พ.ค. 2549/ปลาย 2549 |
5. ท่อบนบกเส้นที่ 3 ระยอง-บางปะกง | ต้น 2549 |
โครงการในระยะที่ 2 | ปีที่เริ่มส่งก๊าซฯ |
1. ท่อบนบก วังน้อย-แก่งคอย | ธ.ค. 2549 |
2. หน่วยเพิ่มความดันบนบก/ในทะเล | ธ.ค. 2549/ต้น 2550 |
3. ท่อในทะเล JDA-อาทิตย์ | ต้น 2550 |
4. หน่วยเพิ่มความดันบนบกกลางทาง | ต้น 2552 |
5. ท่อบนบก ระยอง-บางปะกง-วังน้อย และ Compressors | ต้น 2553 |
โครงการในระยะที่ 3 | ปีที่เริ่มส่งก๊าซฯ |
1. ท่อในทะเล KP 361-ราชบุรี | ต้น 2555 |
2. ท่อในทะเลไปทับสะแก | ต้น 2555 |
6. สำหรับประมาณการเงินลงทุนที่จะต้องใช้ประมาณ 157,102 ล้านบาท โดยแยกเป็นโครงการในระยะที่ 1 วงเงินประมาณ 71,662 ล้านบาท ระยะที่ 2 วงเงินประมาณ 56,221 ล้านบาท ณ อัตราแลกเปลี่ยน 40 บาทต่อเหรียญสหรัฐอเมริกา และระยะที่ 3 วงเงินประมาณ 29,213 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าวงเงินลงทุนเดิม ที่ได้รับอนุมัติ 52,268 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อการขยายกำลังส่งก๊าซฯ และการเพิ่มขนาดระบบท่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการปรับกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของโครงการให้เร็วขึ้นจากแผนเดิม
7. ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณาแล้วเห็นด้วยกับข้อเสนอของ ปตท. เนื่องจากสถานการณ์พลังงานเปลี่ยนแปลงไป จึงจำเป็นต้องมีการทบทวนและปรับปรุงแผนเพื่อให้การจัดหาก๊าซธรรมชาติ และการลงทุนในระบบท่อเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว พบว่าปริมาณการจัดหาทั้งจากแหล่งภายในประเทศ และการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านตามสัญญาซื้อขายที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะสามารถรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติได้เพียงปี 2553 จึงควรมีการจัดทำแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติภายหลังปี 2553 จากแหล่งใหม่ๆ ทั้งจากในประเทศ และการนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น พื้นที่คาบเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือการนำเข้า ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสามารถรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่จะ เพิ่มขึ้นในอนาคตได้ และเพื่อรองรับโรงไฟฟ้าใหม่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปี 2554 - 2558 ซึ่งมีทางเลือกการใช้เชื้อเพลิงจาก LNG แทนก๊าซฯ ในประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนสำหรับเตรียมสถานีรองรับ LNG ตลอดจนในการนำเข้า LNG ภาครัฐควรวางหลักเกณฑ์โดยเปิดโอกาศให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนได้อย่างเสรี และการมีแผนนำเข้า LNG จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ก๊าซฯ จาก ปตท. ว่าจะได้รับก๊าซฯ ตามสัญญา
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบการทบทวนแผนแม่บทท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง) ตามที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เสนอ ดังรายละเอียดตามเอกสารแนบ และประกอบวาระเพื่อใช้เป็นกรอบในการลงทุนก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ โดยมีโครงการที่จะอนุมัติจำนวน 11 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 157,102 ล้านบาท (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 40 บาท/เหรียญสหรัฐอเมริกา)
2.เห็นชอบให้ใช้แผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ตามข้อ 1 เป็นกรอบของการพิจารณาในรายละเอียดของโครงการในช่วงปี 2544 - 2554 โดยไม่ต้องขออนุมัติในระดับนโยบายอีก ยกเว้นโครงการที่มีประเด็นนโยบายพิเศษ โดยมีโครงการที่จะขออนุมัติดำเนินการในช่วงปี 2544 - 2554 ดังนี้
โครงการในระยะที่ 1 | ปีที่เริ่มส่งก๊าซฯ |
1. หน่วยเพิ่มความดันที่กาญจนบุรี | ก.ค. 2548 |
2. หน่วยเพิ่มความดันสำรองที่ราชบุรี | ก.ค. 2549 |
3. ท่อไทรน้อย-โรงไฟฟ้าพระนครใต้/พระนครเหนือ | ก.ค. 2549 |
4. ท่อในทะเล อาทิตย์-PRP-ระยอง | พ.ค. 2549/ปลาย 2549 |
ท่อบนบกเส้นที่ 3 ระยอง - บางปะกง | ต้น 2549 |
โครงการในระยะที่ 2 | ปีที่เริ่มส่งก๊าซฯ |
1. ท่อบนบก วังน้อย-แก่งคอย | ธ.ค. 2549 |
2. หน่วยเพิ่มความดันบนบก/ในทะเล | ธ.ค. 2549/ต้น 2550 |
3. ท่อในทะเล JDA-อาทิตย์ | ต้น 2550 |
4. หน่วยเพิ่มความดันบนบกกลางทาง | ต้น 2552 |
5. ท่อบนบก ระยอง-บางปะกง-วังน้อย และ Compressors | ต้น 2553 |
โครงการในระยะที่ 3 | ปีที่เริ่มส่งก๊าซฯ |
1. ท่อในทะเล KP 361-ราชบุรี | ต้น 2555 |
2. ท่อในทะเลไปทับสะแก | ต้น 2555 |
3.เห็นชอบในหลักการการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว โดยมอบหมายให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รับไปจัดทำแผนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ให้มีความพร้อมและชัดเจนเพื่อรองรับการจัดทำแผนทางเลือก ในการจัดหาเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตไฟฟ้าในอนาคต รวมทั้งการจัดทำมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อให้ประเทศมีความพร้อมในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวมาทดแทนการใช้ก๊าซ ธรรมชาติได้ ทันเวลา ทั้งนี้เพื่อเสริมความมั่นคงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาวของประเทศ
สรุปสาระสำคัญ
1 พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 28 (1) กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนำเสนอแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และเนื่องจากแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2 ในช่วงปีงบประมาณ 2543 - 2547 ที่ได้เห็นชอบเมื่อเดือนกันยายน 2542 ได้สิ้นสุดลงวันที่ 30 กันยายน 2547 โดยได้ใช้จ่ายเงินกองทุนฯ รวมทั้งสิ้น 23,776 ล้านบาท แบ่งเป็นงบลงทุนในแผนงานภาคบังคับและภาคความร่วมมือ 16,778 ล้านบาท ค่าพัฒนาบุคลากร 2,054 ล้านบาท ค่าประชาสัมพันธ์ 1,701 ล้านบาท และค่าบริหารจัดการฯ 3,243 ล้านบาท โดยมีผลงานสามารถลดความต้องการพลังไฟฟ้าลง 883 MW ทดแทนพลังงานไฟฟ้าได้ 5,447 ล้านหน่วยต่อปี ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิง 430 ล้านลิตรน้ำมันดิบต่อปี คิดเป็นความสามารถในการอนุรักษ์พลังงานได้ 20,891 ล้านบาท/ปี
2. คณะอนุกรรมการประเมินผลแผนงานอนุรักษ์พลังงาน ได้ประเมินผลแผนงานอนุรักษ์พลังงาน โดยสรุปว่าในภาพรวมกระบวนการดำเนินงาน ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบค่อนข้างดี แต่ในแง่เป้าหมายด้านการทดแทนและประหยัดพลังงานของแผนอนุรักษ์พลังงาน พบว่ากระบวนการดำเนินงาน ประสิทธิภาพและผลกระทบค่อนข้างดี แต่ประสิทธิผลค่อนข้างต่ำ และได้มีข้อเสนอแนะในการปรับแผนอนุรักษ์พลังงานระยะที่ 3 ที่สำคัญ ได้แก่ ควรปรับแผนการปรับกลยุทธ์เพื่อให้อาคาร โรงงาน อนุรักษ์พลังงานให้มากขึ้น การจูงใจให้เอกชนเจ้าของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมเข้าร่วมโครงการโดยมี Post - incentive พร้อมกับใช้มาตรการลงโทษตามกฎหมาย นอกจากนี้ ควรปรับทิศทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในเชิงพาณิชย์โดย เฉพาะกลุ่มพลังงานที่มีศักยภาพสูง ตลอดจนควรเร่งศึกษาและมีห้องทดสอบมาตรฐานการประหยัดพลังงาน และเร่งรัดการใช้ฉลากประหยัดพลังงานเป็นมาตรฐานเดียว แต่เรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาคือการรักษาความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องของ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรบุคคลที่ได้พัฒนาขึ้นมา แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ และควรจัดทำดัชนี Energy Intensity ทั้งระดับภาพรวมของประเทศและระดับรายภาคเศรษฐกิจ
3. การจัดทำเป้าหมายและกรอบแผนการอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
3.1 กำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล (ด้านพลังงาน) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2546 โดยในปี 2550 กำหนดเป้าหมายที่จะควบคุมสัดส่วนความต้องการใช้พลังงานต่อรายได้ประชาชาติ (GDP) ให้ลดลง จาก 1.4 : 1 เหลือ 1 : 1 และ ในปี 2554 จะพัฒนาพลังงานทดแทนให้มีสัดส่วนการใช้เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 8
3.2 การจัดทำกรอบแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 เป็นการประมาณภาพรวมของภาระงานที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลา 3 - 7 ปี มีลักษณะเป็น Rolling Plan ปรับแผนงาน/โครงการและประมาณการรายจ่ายทุกปี ประกอบด้วย 3 แผนงาน ได้แก่ 1) แผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน (ร้อยละ 50 ของงบประมาณ) 2) แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (ร้อยละ 35 ของงบประมาณ) และ 3) แผนงานบริหารเชิงยุทธศาสตร์ (ร้อยละ 15 ของงบประมาณ)
3.3 เพื่อให้กระทรวงพลังงานได้มีบทบาทในการบริหารงานกองทุนฯ ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอยกเลิก "คณะอนุกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" และขอตั้ง "คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" โดย มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน มีบทบาทในการตัดสินใจระดับนโยบายและให้คำแนะนำที่จะช่วยให้การบริหารจัดการ แผนอนุรักษ์พลังงานเป็นไปตามทิศทางที่ สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาประเทศเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานให้ดี ยิ่งขึ้น มีการวางแผนและการจัดลำดับความสำคัญของงาน/โครงการภายใต้เป้าหมายยุทธศาสตร์ ของประเทศ โดยรายงานผลเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเป็นรายไตรมาสและสามารถแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทำหน้าที่ช่วยแบ่งเบาภาระ คณะกรรมการบริหารฯ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
3.4. สำหรับเป้าหมายของแผนอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปีงบประมาณ 2548 - 2554 ประกอบด้วย
(1) พัฒนาพลังงานทดแทนให้มีสัดส่วนการใช้เพิ่มขึ้น ณ ปี 2554 ในสัดส่วนร้อยละ 9.2 ของความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย หรือทดแทนการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ประมาณ 7,530 พันตันเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ
(2) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยลดใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ ณ ปี 2554 จาก 91,877 พันตันเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ เหลือ 81,523 พันตันเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ หรือลดการใช้พลังงานโดย ไม่เกิดประโยชน์ได้ประมาณร้อยละ 12.7 หรือประมาณ 10,354 พันตันเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ
3.5 องค์ประกอบของแผนอนุรักษ์พลังงาน ประกอบด้วย 3 แผนงาน
(1) แผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นแผนงานเกี่ยวกับงานศึกษา วิจัยพัฒนา และส่งเสริมเพื่อก่อให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นในการผลิตไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อใช้ในภาคคมนาคมขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม บ้านอยู่อาศัย ได้แก่ แสงอาทิตย์ น้ำ ลม ชีวมวล ชีวภาพ เอทานอล ไบโอดีเซล เซลล์ เชื้อเพลิง ฯลฯ และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านพลังงานทดแทน รวมทั้งงานเผยแพร่ ข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องพลังงานทดแทนให้กับประชาชนทั่วไป
(2) แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เป็นแผนงานเกี่ยวกับงานศึกษา วิจัยพัฒนา และส่งเสริมและสาธิตเพื่อก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในภาคคมนาคมขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ บริการ เกษตรกรรม และภาคบ้านอยู่อาศัย และศักยภาพของบุคลากรด้านงานเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมทั้งงานสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า
(3) แผนงานบริหารเชิงกลยุทธ์ เป็นแผนงานเกี่ยวกับงานศึกษาวิจัยเชิงนโยบาย เพื่อเป็นข้อเสนอแนะ ทางเลือก หรือภาพรวมสถานการณ์ที่ผสมผสานทั้งมิติด้านการผลิตและการใช้พลังงาน ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาแผนพลังงานทดแทน และงานด้านบริหารเพื่อจัดการให้แผนอนุรักษ์พลังงานดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพมากที่สุด ตลอดจนงานช่วยเหลือส่งเสริมการดำเนินงานอื่นๆ เป็นเรื่องเฉพาะกิจ ที่สำคัญหรือมีความเร่งด่วน
4. สำหรับหลักเกณฑ์ แนวทาง เงื่อนไข และการจัดลำดับความสำคัญของแผนอนุรักษ์ฯ ดังนี้
4.1 หลักเกณฑ์สนับสนุน สำหรับผู้มีสิทธิที่จะได้รับการสนับสนุนเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาหรือองค์กรเอกชนที่ไม่มุ่งค้ากำไรตามเจตนาของ พรบ.ฯ มาตรา 25 และ 26 และการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจะเป็นเงินช่วยเหลือให้เปล่าเพื่อการศึกษาวิจัย พัฒนา และเป็นลักษณะร่วมทุนในงานวิจัยพัฒนากับหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ตลอดจนเป็นลักษณะเงินอุดหนุนภาระดอกเบี้ยจากการลงทุนสำหรับ "ผู้ร่วมโครงการ" เพื่อให้ผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ของแต่ละมาตรการเพิ่มขึ้นจนเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำสุดสำหรับลูกค้า รายย่อยของธนาคารกรุงไทย (MRR) + 5%
4.2 แนวทางและเงื่อนไข สนพ. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะจัดทำเป้าหมายและรายละเอียดแผนอนุรักษ์พลังงาน ทั้งด้านพัฒนาพลังงานทดแทน แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และแผนบริหารงานเชิงกลยุทธ์ และ กบอ. จะพิจารณาความเหมาะสม ความสำคัญ และอนุมัติงบประมาณสำหรับปีเดียว ซึ่งจะต้องมีการปรับประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าทุกปี ขณะที่หน่วยงานที่รับจัดสรรเงินไปจากกองทุนฯ จะทำสัญญาหรือหนังสือยืนยัน กับ สนพ. และ/หรือ พพ. เพื่อเป็นข้อผูกพันที่จะดำเนินงานให้ได้ผลตามเป้าหมายที่ กบอ. กำหนด และ สนพ. และ/หรือ พพ. มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหากหน่วยงานนั้น ไม่สามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย สำหรับกรณีที่แผนงานใดเปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือ หรืออุดหนุน ตามมาตรา 25 ที่ พรบ. กำหนดไว้ สามารถยื่นคำร้องขอการสนับสนุนได้ และอยู่ในกรอบแผนงานที่ กบอ. กำหนด มอบให้หัวหน้าหน่วยงานที่รับจัดสรรเงินนั้นเป็นผู้พิจารณาในวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท และมอบให้คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ เป็นผู้พิจารณาในวงเงินเกิน 10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท และมอบให้ กบอ. เป็นผู้พิจารณาในวงเงินเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป รวมถึงงาน/โครงการที่ไม่อยู่ในกรอบแผนงานที่กำหนดไว้ และกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือ หรืออุดหนุน ตามมาตรา 25 ยื่นคำร้องขอสนับสนุน ซึ่งไม่อยู่ในกรอบที่ กบอ. กำหนดไว้ให้ สนพ. พิจารณาให้ความเห็นและเสนอ กบอ. พิจารณาเป็นรายๆ นอกจากนี้ สนพ. ติดตามผลการดำเนินงานของโครงการ และรายงาน กพช. กทอ. และ กบอ. เป็นประจำทุกไตรมาส
5. สำหรับค่าใช้จ่ายสำหรับแผนงานอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 คาดว่าต้องใช้เงินลงทุนเกือบ 133,488 ล้านบาท (ร้อยละ 98 เป็นการลงทุนในโครงการสร้างพื้นฐานด้านขนส่งมวลชน) โดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอาจต้องช่วยเหลือสนับสนุนด้วยส่วน หนึ่ง ซึ่งมีแนวทางจัดสรรเงินกองทุนฯ และกรอบการใช้เงินจากกองทุนฯ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ | 2548 | 2549 | 2550 | 2551 | 2552 | 2553 | 2554 | รวม |
1. เงินคงเหลือยกมาต้นปี | 9,856 | 7,064 | 6,536 | 6,261 | 6,774 | 9,467 | 10,818 | 9,856 |
2. ประมาณการรายรับล่วงหน้า | 2,089 | 2,293 | 2,269 | 2,354 | 2,501 | 2,652 | 2,811 | 16,970 |
3. เงินทุนหมุนเวียนรอรับคืนจาก พพ. | - | - | - | - | 2,000 | - | - | 2,000 |
รวมรับ | 11,945 | 9,357 | 8,805 | 8,615 | 11,275 | 12,119 | 13,629 | 28,826 |
4. รายจ่าย ประกอบด้วย 4.1 รายจ่ายผูกพัน ปี 2538 - 2547 |
3,581 | 1,521 | 1,244 | 541 | 509 | - | - | 7,397 |
4.2 ประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า | 1,300 | 1,300 | 1,300 | 1,300 | 1,300 | 1,300 | 1,300 | 9,100 |
รวมจ่าย | 4,881 | 2,821 | 2,544 | 1,841 | 1,809 | 1,300 | 1,300 | 16,497 |
5 เงินคงเหลือปลายปี ยกไป | 7,064 | 6,536 | 6,261 | 6,774 | 9,467 | 10,818 | 12,329 | 12,329 |
6. ส่วนประมาณการายจ่าย 1,300 ล้านบาทต่อปี ประกอบด้วย
(1) แผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน (50%) 650 ล้านบาท
1) งานศึกษาวิจัยเชิงเทคนิคและวิชาการ 65% (เชื้อเพลิงชีวภาพ, แสงอาทิตย์, ลม, น้ำ, ชีวมวล, ก๊าซชีวภาพ, และอื่นๆ)
2) งานพัฒนาและสาธิตเทคโนโลยี 20%
3) งานพัฒนาบุคลากรและงานประชาสัมพันธ์ 10%
4) งานบริหารแผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน 5%
(2) แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (35%) 455 ล้านบาท
1) งานศึกษาวิจัยเชิงเทคนิคและวิชาการ 30% (ขนส่ง, อุตสาหกรรม บ้านอยู่อาศัย, และอื่นๆ)
2) งานพัฒนาและสาธิตเทคโนโลยี 45%
3) งานพัฒนาบุคลากรและงานประชาสัมพันธ์ 20%
4) งานบริหารแผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 5%
(3) แผนงานบริหารทางกลยุทธ์ (15%) 195 ล้านบาท
1) งานศึกษาเชิงนโยบายและกลยุทธ์ 33%
2) งานบริหารจัดการ 33%
3) งานอื่นๆ 33%
รวมประมาณการรายจ่ายต่อปี 1,300 ล้านบาท
ทั้งนี้ ให้คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ พิจารณาจัดสรรเงินกองทุนฯ ส่วนที่เกินจากประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า (ในวงเงินปีละ 1,300 ล้านบาท) ได้ในวงเงิน 700 ล้านบาท หรือมากกว่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานด้านอนุรักษ์พลังงานตามความจำเป็นและเหมาะ สมในแต่ละปี
7. ผลคาดว่าที่จะได้รับ
7.1 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยลดการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ ณ ปี 2554 จาก 91,877 พันตันเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ เหลือ 81,523 พันตันเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ เป็นภาคคมนาคมขนส่ง ร้อยละ 21 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 9 ภาคบ้านอยู่อาศัยร้อยละ 4
7.2 พัฒนาพลังงานทดแทนให้มีสัดส่วนการใช้เพิ่มขึ้น ณ ปี 2554 จะมีการใช้พลังงานอื่นๆ เพิ่มขึ้น 9.2% ของความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย จำแนกเป็น ภาคคมนาคมขนส่ง ภาคอุตสากรรมและบ้านอยู่อาศัย มีการใช้พลังงานทดแทนร้อยละ 8 14 และ 2 ตามลำดับ โดยใช้ Biodiesel แทนน้ำมันดีเซล ใช้ Ethanol แทน Gasoline ใช้ชีวมวล น้ำท้ายเขื่อนชลประทาน แสงอาทิตย์ แรงลม และพลังงานทดแทนอื่นๆ ในการผลิตไฟฟ้า และทำความร้อน
7.3 มีผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น 400 คน และมีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านพลังงานในโรงเรียนระดับประถมและ มัธยม ทั่วประเทศอย่างน้อย 30,000 โรงเรียน มีการพัฒนาหลักสูตรอุดมศึกษาที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยมีเป้า หมายในการผลิตบุคลากรที่มีทักษะด้านพลังงานในภาคอุตสาหกรรมจำนวน 1,400 คน ผู้ชำนาญการด้านพลังงานสาขาต่างๆ ในระดับท้องถิ่นได้รับการพัฒนาทักษะ 500 คน
8. คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชมครั้งที่ 2/2547 (ครั้งที่ 79) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2547 ได้พิจารณากรอบแผนอนุรักษ์พลังงานฯ ระยะที่ 3 มีความเห็น ดังนี้
8.1 รับทราบผลประเมินการดำเนินงานภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนวงเงินของกองทุนฯ ที่เป็นภาวะผูกพันต้องดำเนินการเบิกจ่ายเงินกับโครงการฯ ตามสัญญาหรือหนังสือยืนยัน ในวงเงินรวมประมาณ 7,397ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งจะได้รับคืนเนื่องจากเป็นเงินกองทุนหมุนเวียน 2,000 ล้านบาท โดยในส่วนเงิน ผูกพันภายใต้แผนงานภาคบังคับ ซึ่งยังไม่มีการลงทุนเห็นควรยกเลิกการสนับสนุน
8.2 เห็นชอบกรอบแผนการอนุรักษ์พลังงานฯ ของการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ระยะที่ 3 (ในช่วงปี 2548 - 2554) และให้มีผู้แทนภาคเอกชนร่วมอยู่ในคณะกรรมการบริหารงานกองทุนฯ ด้วย เพื่อเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการเสนอแนะแนวทางดำเนินงานอนุรักษ์พลังงาน
8.3 เห็นชอบการจัดสรรเงินกองทุนฯ สำหรับใช้จ่ายตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 (ในช่วงปี 2548 - 2554) ภายในวงเงินรวม 28,826 ล้านบาท และให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ มีอำนาจปรับปรุง แนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ และการจัดสรรเงินตามแผนงานต่างๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ภายในวงเงินรวมดังกล่าว
8.4 เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ ให้กับผู้ได้รับจัดสรรเงินไปแล้วแต่ยังมีภาระผูกพันตามสัญญาหรือหนังสือยืน ยันที่กองทุนฯ ต้องดำเนินการเบิกจ่ายเงินกับโครงการฯ อยู่ จึงเห็นควร ดังนี้
(1) ให้ผู้อำนวยการ สนพ. เป็นผู้พิจารณาเห็นชอบการปรับปรุงข้อเสนอ รวมถึงอนุมัติการขอเปลี่ยนแปลงกิจกรรมหรือแผนงานของโครงการใดๆ ภายใต้แผนงานภาคความร่วมมือหรือแผนงานสนับสนุนตามที่ผู้ได้รับจัดสรรเงินขอ เปลี่ยนแปลง โดยไม่มีผลกระทบต่อวงเงินที่ได้รับอนุมัติแล้วและ/หรือทำให้ผลที่คาดว่าจะ ได้รับจากโครงการฯ ลดลง ทั้งนี้ จนกว่าโครงการนั้นจะเสร็จสมบูรณ์
(2) ให้อธิบดี พพ. เป็นผู้พิจารณาเห็นชอบการปรับปรุงข้อเสนอ รวมถึงสามรถอนุมัติ การขอเปลี่ยนแปลงกิจกรรมหรือแผนงานของโครงการใดๆ ภายใต้แผนงานภาคบังคับ ได้ตามที่มีผู้ได้รับจัดสรรเงินขอเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีผลกระทบต่อวงเงินที่ ได้รับอนุมัติแล้วและ/หรือทำให้ผลที่คาดว่าจะได้รับจาก โครงการฯ ลดลง ทั้งนี้ จนกว่าโครงการนั้นจะเสร็จสมบูรณ์
(3) การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมหรือแผนงานของโครงการใดๆ ภายใต้แผนงานภาคบังคับ แผนงานภาคความร่วมมือและแผนงานสนับสนุน กรณีเกิน 10 ล้านบาท และมีผลกระทบต่อวงเงินที่ได้รับอนุมัติอนุมัติแล้วและ/หรือทำให้ผลที่คาดว่า จะได้รับจากโครงการฯ ลดลงให้ "คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ สำหรับกรณีวงเงินต่ำกว่า 10 ล้านบาท ให้อยู่ ในความเห็นชอบของผู้อำนวยการ สนพ. หรือ อธิบดี พพ. ตามประเภทโครงการ
มติของที่ประชุม
1.อนุมัติกรอบแผนอนุรักษ์พลังงาน และแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ระยะที่ 3 (ในช่วงปี 2548 - 2554)
2.เห็นชอบให้คณะกรรมการกองทุนฯ จัดสรรเงินกองทุนฯ สำหรับใช้จ่ายตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 (ในช่วงปี 2548 - 2554) ภายในวงเงินรวม 28,826 ล้านบาท โดยให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ มีอำนาจปรับปรุงแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ และการ จัดสรรเงินตามแผนงานต่างๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ภายในวงเงินรวมดังกล่าว
เรื่องที่ 6 ค่าตอบแทนคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2547 เรื่อง ร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติว่าด้วยการสรรหาและการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ไฟฟ้า และแนวทางการดำเนินการขออนุมัติค่าตอบแทนกรรมการจากเงินงบประมาณของรัฐเพื่อ การจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล กิจการไฟฟ้าในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยในปี 2547 ให้ขออนุมัติเงินจากงบกลาง จำนวน 2,880,000 บาท และสำหรับปี 2548 ให้พิจารณาขออนุมัติเงินค่าตอบแทนกรรมการจากงบประมาณของรัฐจำนวน 17,280,000 บาท ทั้งนี้ ให้กรรมการกำกับฯ ได้รับค่าตอบแทนในอัตรา 200,000 บาทต่อเดือน ประธานกรรมการจะได้รับค่า ตอบแทนสูงกว่ากรรมการฯ ร้อยละ 20 และกำหนดให้กรรมการมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง รวมทั้งเห็นชอบในหลักการการจัดตั้งคณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติการประกอบ กิจการไฟฟ้า โดยมอบหมายให้กระทรวงพลังงานรับไปดำเนินการ
2. กระทรวงพลังงานได้จัดประชุมหารือร่วมกับผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงบประมาณ เรื่องค่าตอบแทนกรรมการกำกับฯ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2547
2.1 ตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้คณะกรรมการที่แต่งตั้งตามกฎหมายได้รับเงินเบี้ยประชุมรายครั้ง ครั้งละ 300 บาท อย่างไรก็ตามคณะกรรมการบางคณะได้ขอยกเว้นการรับเบี้ยประชุมรายครั้งโดยขอมติ คณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้ได้รับเงินสมนาคุณรายเดือนแทนการได้รับ เบี้ยประชุมรายครั้ง โดยคณะกรรมการดังกล่าวจะต้องมีหน้าที่ความ รับผิดชอบสูง ปฏิบัติงานด้านการกำหนดนโยบายอันมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศ โดยมีอัตราเงินสมนาคุณรายเดือนในช่วงระหว่าง 3,000 -20,000 บาทต่อเดือน
2.2 ต่อมากระทรวงพลังงานได้ทำหนังสือถึงกรมบัญชีกลางเพื่อขออนุมัติเงินค่าตอบ แทน คณะกรรมการกำกับฯ เป็นเงินสมนาคุณรายเดือนในอัตรา 20,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราเงินสมมนาคุณรายเดือนสูงสุดที่คณะกรรมการได้รับในปัจจุบัน และได้ขอหารือเพิ่มเติมเรื่องการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นของ คณะกรรมการกำกับฯ ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2547 กรมบัญชีกลางมีหนังสือถึงกระทรวงพลังงาน เรื่องค่าตอบแทนคณะกรรมการกำกับฯ เห็นว่า ตามร่างพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมใหม่ กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้รับเบี้ยประชุมรายเดือนในอัตรา 6,000-7,500 บาท/เดือน ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางจะนำเสนอข้อมูลของคณะกรรมการกำกับฯ ซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ต่อคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้แทนกรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ และ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เพื่อพิจารณาร่วมกันโดยให้คณะกรรมการกำกับฯ มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน
3. ในการสรรหาและการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับฯ กระทรวงพลังงานไม่สามารถของบประมาณจากรัฐเพื่อเป็นค่าตอบแทนของกรรมการ กำกับฯ ในอัตรา 200,000 บาทต่อคนต่อเดือนได้ ซึ่งการสรรหาบุคคลผู้มีความสามารถ ประสบการณ์ รวมทั้งไม่ประกอบอาชีพอิสระอื่นใดที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือมีผลประโยชน์ขัด แย้งกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการกำกับฯ โดยให้ได้รับเบี้ยประชุมรายเดือนไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือนกระทำการได้ยาก อีกทั้งรัฐยังมีนโยบายในการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าเป็นเรื่องสำคัญ จึงจำเป็นในการขอจัดสรรงบประมาณเพื่อให้การกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าในช่วง เปลี่ยนผ่านดำเนินการได้ ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติการประกอบกิจการไฟฟ้าเพื่อการกำกับดูแลในระยะยาว ต่อไป
4. กระทรวงพลังงานได้ประชุมหารือกับกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2547 ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นว่า คณะกรรมการใดซึ่งมีลักษณะการทำงานในรูปของคณะกรรมการจะต้องได้รับค่าตอบแทน เป็นเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการฯ แต่หากคณะกรรมการไม่ต้องการได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมจะต้องขอมติคณะ รัฐมนตรีเพื่อกำหนดให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินสมนาคุณรายเดือน ซึ่งกระทรวงพลังงานเห็นว่าควรขอให้มีการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการดำเนินการขออนุมัติค่าตอบแทน กรรมการกำกับฯ จากเงินงบประมาณของรัฐแล้ว แต่ในรายละเอียดไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าให้กรรมการกำกับฯ ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินสมนาคุณรายเดือนในอัตรา 200,000 บาทต่อเดือน
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบให้มีการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 โดยเปลี่ยนถ้อยคำในรายละเอียดของมติให้ชัดเจน ดังนี้
จาก "เห็นชอบแนวทางการดำเนินการขออนุมัติค่าตอบแทนกรรมการจากเงินงบประมาณของรัฐ เพื่อการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยในปี 2547 ให้ขออนุมัติเงินจาก งบกลาง จำนวน 2,880,000 บาท (สองล้านแปดแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) และสำหรับปี 2548 ให้พิจารณา ขออนุมัติเงินค่าตอบแทนกรรมการจากงบประมาณของรัฐจำนวน 17,280,000 บาท (สิบเจ็ดล้านสองแสน แปดหมื่นบาทถ้วน) โดยในรายละเอียด ให้กรรมการกำกับฯ ได้รับค่าตอบแทนในอัตรา 200,000 บาทต่อเดือน ประธานกรรมการจะได้รับค่าตอบแทนสูงกว่ากรรมการฯ ทั่วไปร้อยละ 20 และกำหนดให้มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยจะต้องนำมติข้างต้นไปทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง"
เป็น "ให้กรรมการกำกับฯ ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินสมนาคุณรายเดือนในอัตราวงเงินไม่เกิน 200,000 บาทต่อเดือน ประธานกรรมการจะได้รับค่าตอบแทนฯ สูงกว่ากรรมการฯ ทั่วไปร้อยละ 20 ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการและ เลขานุการโดยตำแหน่งได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายครั้ง กำหนดให้มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้มอบหมายให้สำนักงบประมาณรับไปพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้ จ่ายต่อไป"
2.เห็นควรให้มีการปรับปรุงร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติว่า ด้วยการสรรหาและการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าโดยตัดหมวดที่ 3 เรื่อง ค่าตอบแทน เนื่องจาก ระเบียบดังกล่าวเป็นระเบียบว่าด้วยการสรรหาและจัดตั้งคณะกรรมการกำกับฯ ไม่ควรระบุค่าตอบแทนของคณะกรรมการฯ และ ระเบียบดังกล่าวไม่มีผลในการขออนุมัติค่าตอบแทนของคณะกรรมการกำกับฯ แต่อย่างใด เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานระหว่างการสรรหาคณะกรรมการกำกับฯ และการขออนุมัติค่าตอบแทน
3.เห็นควรให้มีการเร่งรัดการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ ไฟฟ้าเพื่อให้การกำกับดูแลกิจการไฟฟ้ามีประสิทธิผลสูงสุดในระยะยาวต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเรื่อง การปรับองค์กรในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ความว่า "...ให้ยุติการนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ไปใช้จ่ายในการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 ทั้งนี้ให้กระทรวงการคลัง ประสานงานกับสำนักงบประมาณแผ่นดินในการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเป็นค่าใช้จ่าย ให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง…" โดยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อโอนงานป้องกันและปราบปราม กระทำความผิดเกี่ยวกับน้ำมันเถื่อนไปให้กระทรวงการคลัง เนื่องจากเป็นงานที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องจึงควรใช้งบประมาณแผ่นดิน ปัจจุบันกระทรวงการคลังได้รับไปดำเนินการเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้สาเหตุที่มติคณะรัฐมนตรีใช้คำว่า "ปิโตรเลียม" เนื่องจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับการหนีภาษีหรือ "น้ำมันเถื่อน" เกิดขึ้น ทั้งกรณีน้ำมันเชื้อเพลิงและสารโซลเว้นท์จึงใช้คำรวมว่า "ปิโตรเลียม"
2. เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเป็นการห้ามนำเงินกอง ทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้จ่ายในการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับการหนี ภาษีหรือน้ำมันเถื่อน แต่ระบุเป็นการป้องกันการกระทำความผิดที่ครอบคลุมเกี่ยวกับปิโตรเลียมทุก กรณี ทำให้ไม่สามารถใช้จ่ายเงินได้ ขณะเดียวกันกระทรวงพลังงานกำลังจะดำเนินการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดเกี่ยว กับก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ก๊าซหุงต้ม) ในด้านความปลอดภัย และในการบรรจุ จำหน่าย และซ่อมบำรุงถังก๊าซหุงต้มที่ประชาชนใช้ในครัวเรือน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติภัยหรืออัคคีภัย ในร้านค้าและบ้านเรือนของผู้ใช้ก๊าซหุงต้ม ซึ่งไม่สามารถดำเนินการขอใช้จ่ายเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้
3. กระทรวงพลังงานจึงขอเสนอให้แก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเรื่องดังกล่าว ดังนี้
"2.2 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นไป ให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลัก รับผิดชอบดูแลงานด้านการกำหนดนโยบายและมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการ กระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมแทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่ง ชาติ และรับไปดำเนินการจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมให้แก่หน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ยุติการนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับน้ำมันเถื่อน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังประสานงานกับสำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป"
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบให้กระทรวงพลังงานขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 เรื่องการปรับองค์กรในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับ ปิโตรเลียมตามข้อเสนอ ดังนี้
2."2.2 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นไป ให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลัก รับผิดชอบดูแลงานด้านการกำหนดนโยบายและมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการ กระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมแทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่ง ชาติ และรับไปดำเนินการจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมให้แก่หน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ยุติการนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีภาษีของน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังประสานงานกับสำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป"
- กพช. ครั้งที่ 98 - วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม 2547 (1512 Downloads)