มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 2/2546 (ครั้งที่ 94)
วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2546 เวลา 13.00 น.
ณ ห้องประชุมธำรงนาวาสวัสดิ์ ชั้น 3
อาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
1.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
2.ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า
4.สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ "ยุทธศาสตร์พลังงาน ครั้งที่ 1 : พลังงานเพื่อการแข่งขันของประเทศไทย"
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบเดือนกรกฎาคม 2546 ปรับตัวสูงขึ้น 0.14 - 1.29 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากสถานการณ์ความไม่สงบในอิรักและจากการประท้วงการปรับขึ้นราคาน้ำมันภายใน ประเทศไนจีเรีย ประกอบกับมีพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่สหรัฐอเมริกา รวมถึงผลการประชุมของกลุ่มโอเปคเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 ได้มีมติให้ คงปริมาณการผลิตไว้ที่ระดับ 25.4 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือนสิงหาคม ราคาน้ำมันดิบยังคงปรับตัวสูงขึ้น 0.90 - 2.05 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องใน อิรัก ได้แก่ เหตุระเบิดสถานฑูตจอร์แดนและสำนักงานองค์การสหประชาชาติในกรุงแบกแดด และความเสียหายที่เกิดจากการวางระเบิดและเพลิงไหม้ของท่อส่งน้ำมันที่เชื่อม ต่อระหว่างเมือง Kirkuk ทางตอนเหนือของประเทศอิรักและเมืองท่า Ceyhan ของประเทศตุรกี ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบ โดยอิรักมีแผน จะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเป็น 2.0 ล้านบาร์เรล/วัน ในช่วงสิ้นปี 2546 ราคาน้ำมันดิบดูไบ และเบรนท์ของเดือนสิงหาคม 2546 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 27.66 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และ 29.65 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ตามลำดับ
2. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ในเดือนกรกฎาคม 2546 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 92 ปรับตัวสูงขึ้น 2.87 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และ 2.44 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ตามลำดับ จากความต้องการของประเทศในภูมิภาคเอเซีย เริ่มสูงขึ้นหลังสามารถควบคุมโรค SARS ได้ ประกอบกับมีการนำน้ำมันเบนซินจากเอเซียไปขายยังสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ราคาน้ำมันในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้นในช่วงฤดูท่องเที่ยว ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปรับตัวสูงขึ้น 0.16 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อุปทานในตึงตัว จีนและเกาหลีใต้ลดการส่งออกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เนื่องจากความต้องการใช้ภายในประเทศสูงขึ้น และจากแรงซื้อที่เพิ่มขึ้นของเวียดนาม ในเดือนสิงหาคม 2546 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 92 ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2.88 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และ 2.65 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ตามลำดับ อุปทานลดลงจากจีนและไต้หวันลดการส่งออก เนื่องจากความต้องการใช้ภายในประเทศสูงขึ้น และโรงกลั่นน้ำมัน 3 แห่งของญี่ปุ่นปิดซ่อมบำรุง รวมปริมาณการผลิตหายไป 0.49 ล้านบาร์เรล/วัน แต่ปัจจุบันโรงกลั่น 1 แห่ง คือ Mishuzima กำลังการผลิต 0.25 ล้านบาร์เรล/วัน ได้เริ่มกลับมาดำเนินการแล้ว และคาดว่าโรงกลั่นอีก 1 แห่ง คือ Osaka จะสามารถกลับมาดำเนินการได้ในช่วง กลางเดือนกันยายน 2546 ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปรับตัวสูงขึ้น 3.21 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากอุปสงค์ เพิ่มขึ้นจากความต้องการซื้อของเวียดนาม ฮ่องกง และอินโดนีเซีย อุปทานลดลงจากโรงกลั่นน้ำมัน ของเกาหลีใต้ปิดซ่อมบำรุง ประกอบกับจีนลดการส่งออกเนื่องจากความต้องการใช้ภายในประเทศสูงขึ้น ราคาเฉลี่ยของน้ำมันเบนซินออกเทน 95 , 92 , น้ำมันก๊าด ดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเตา อยู่ที่ระดับ 37.46 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล, 36.05 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล, 33.51 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล, 32.16 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และ 27.44 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ตามลำดับ
3. ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนกรกฎาคม 2546 มีการปรับราคาน้ำมันเบนซินขึ้น 4 ครั้ง รวม 1.20 บาท/ลิตร น้ำมันดีเซลหมุนเร็วปรับขึ้น 3 ครั้ง ลดลง 1 ครั้ง สุทธิเพิ่มขึ้น 0.40 บาท/ลิตร เดือนสิงหาคมมีการปรับราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลหมุนเร็วขึ้น 2 ครั้ง รวม 0.60 และ 0.50 บาท/ลิตร โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95 , 92 และดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2546 อยู่ที่ระดับ 17.29 , 16.29 และ 13.69 บาท/ลิตร ตามลำดับ
4. ค่าการตลาดเดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2546 มาอยู่ที่ระดับ 0.9493 และ 0.9174 บาท/ลิตร ตามลำดับ ค่าการตลาดปรับตัวลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ปรับตัวสูงขึ้นมากผู้ค้า น้ำมันปรับราคาขายปลีกได้น้อยกว่าต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนค่าการกลั่นเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2546 มาอยู่ที่ระดับ 0.4167 และ 0.5387 บาท/ลิตร ตามลำดับ
5. ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกเดือนกันยายน 2546 ปรับตัวสูงขึ้น 3.8 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาอยู่ที่ระดับ 272.8 เหรียญสหรัฐ/ตัน ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ณ โรงกลั่นอยู่ในระดับ 10.63 บาท/กก. อัตราเงิน ชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ อยู่ในระดับ 2.43 บาท/กก. คิดเป็นเงิน 449 ล้านบาท/เดือน และมีรายจ่ายในการชำระหนี้ตามข้อตกลงกับผู้ผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว 400 ล้านบาท/เดือน รวมกองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่าย 849 ล้านบาท/เดือน โดยกองทุนน้ำมันฯ มีรายรับจากน้ำมันชนิดอื่น 982 ล้านบาท/เดือน จึงมีเงินไหลเข้ากองทุนฯ สุทธิ 133 ล้านบาท/เดือน ยอดเงินคงเหลือกองทุนน้ำมันฯ หลังหักภาระผูกพัน ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2546 อยู่ในระดับ 4,532 ล้านบาท โดยมีเงินชดเชยค้างชำระ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2546 รวม 7,128 ล้านบาท ฐานะ กองทุนน้ำมันฯ สุทธิติดลบ 2,596 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า
สรุปสาระสำคัญ
1. การปรับโครงสร้างและแปรรูปกิจการไฟฟ้าของประเทศไทย ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2539 เห็นชอบให้แยกกิจการผลิตไฟฟ้า กิจการระบบ สายส่งและกิจการระบบสายจำหน่ายออกจากกัน และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 เห็นชอบแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งใช้เป็นกรอบกำหนดขอบเขตและทิศทางการปรับโครงสร้างและการแปรรูปธุรกิจ หลัก 4 สาขา ซึ่งรวมสาขาพลังงานไว้ด้วย
2. ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และ 3 ตุลาคม 2543 เห็นชอบข้อเสนอและแผนการดำเนินงานในการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัด ตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) หรือสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในปัจจุบัน การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามแผนฯ
3. แผนการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า กำหนดให้มีการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าขึ้นในปี 2546 ทำหน้าที่สั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า กำหนดราคาค่าไฟฟ้าในตลาดกลาง และบริหารการชำระเงินค่าซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งจะมีการแข่งขันในกิจการผลิตไฟฟ้า โดยมีผู้ผลิตไฟฟ้าหลายรายเสนอราคาขายและปริมาณไฟฟ้าที่ตนจะผลิตเข้าสู่ตลาด กลางฯ ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะจัดตั้งเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้า 1 และ 2 จำกัด และแปรรูปออกไปในที่สุด เพื่อให้มีการแข่งขันเพียงพอและให้กิจการผลิตไฟฟ้าแยกเป็นอิสระจากธุรกิจ ระบบส่งไฟฟ้า ภายใต้ระบบดังกล่าว ผู้ใช้ไฟส่วนใหญ่จะซื้อไฟฟ้าจากบริษัทระบบจำหน่ายและจัดหาไฟฟ้า ซึ่งเป็นกิจการที่กำกับดูแลโดยรัฐ โดยมีการแข่งขันในระดับค้าปลีก เปิดให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเลือกซื้อไฟฟ้าได้
4. ในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ที่กำกับดูแลด้านพลังงาน ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาเรื่อง การปรับโครงสร้างกิจการ ไฟฟ้า เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 ในการประชุมดังกล่าวได้มอบหมายให้ สพช. พิจารณาปรับปรุงแผนการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อ ขายไฟฟ้า ให้ครอบคลุมประเด็นข้อห่วงใยต่างๆ ได้แก่ ความมั่นคงของระบบไฟฟ้า การเพิ่มการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า การดูแลช่วยเหลือผู้ใช้ไฟที่มีรายได้น้อย ความผันผวนของราคาค่าไฟฟ้า การขยายโครงข่ายไฟฟ้าไปสู่ชนบท การยึดครองกิจการไฟฟ้าโดยต่างชาติ
5. ในเดือนมีนาคม 2545 มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีและเปลี่ยนรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับ ดูแลด้านพลังงานเป็นนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา และภายหลังการปฏิรูประบบราชการเมื่อเดือนตุลาคม 2545 มีการจัดตั้งกระทรวงพลังงาน โดยย้ายโอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาสังกัดกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเสนอแนวทางการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า โดยมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน และ สนพ. ได้นำเสนอรูปแบบการแข่งขันใหม่โดยได้นำประเด็นข้อห่วงใยต่างๆ เรียกว่าระบบ New Electricity Supply Arrangement (NESA) ซึ่งกำหนดให้มีการซื้อขายไฟฟ้าในตลาดต่างๆ มีการแบ่งกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังความร้อนของ กฟผ. มากกว่า 2 กลุ่ม มีการแยกศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าออกเป็นอิสระ ทั้งนี้ จะมีการแข่งขันทั้งในระดับการค้าส่งและค้าปลีกไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้ามีทางเลือกในการซื้อไฟฟ้า
6. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 ได้เห็นชอบแผนเตรียมความพร้อม เพื่อนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกำหนดให้มีการจดทะเบียนและกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจ 18 แห่ง โดย กฟผ. การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะจดทะเบียนและ กระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 1 ไตรมาส 2 และไตรมาส 4 ปี 2547 ตามลำดับ
7. นายกรัฐมนตรีในการตรวจเยี่ยมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2546 ได้มีนโยบายการแปลงสภาพ กฟผ. โดย (1) ให้ชะลอการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า (Power Pool) (2) ให้แปลงสภาพ กฟผ. เป็นบริษัทมหาชนทั้งองค์กร (3) ให้นำทุนของ กฟผ. เข้าจดทะเบียนและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยภาครัฐยังคงถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
8. กฟผ. ได้มีหนังสือถึงปลัดกระทรวงพลังงาน ลงวันที่ 29 เมษายน 2546 ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) พิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 เรื่อง การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า และการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า และวันที่ 3 ตุลาคม 2543 เรื่อง แผนการดำเนินงานในการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า และการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า
9. ความคืบหน้าในการดำเนินงาน
9.1 เพื่อเป็นการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 และตามนโยบายนายกรัฐมนตรีในการตรวจเยี่ยม กฟผ. เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2546 กฟผ. ได้จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน 6 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท เมอร์ริล ลินช์ ภัทร บริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ บริษัท Tisco บริษัท Cittigroup บริษัท JP Morgan และ บริษัท Morgan Stanley และบริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมาย 2 บริษัท คือ บริษัท White & Case LLP และบริษัท Linklaters เพื่อเตรียมการจดทะเบียน กฟผ. เป็นบริษัทและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 1 ปี 2547 บริษัทที่ปรึกษาได้ให้ความเห็นว่า เพื่อให้การกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ประสบความสำเร็จ จะต้องมีความชัดเจนในประเด็นต่างๆ ก่อนดำเนินการกระจายหุ้น ดังนี้
9.1.1 โครงสร้างกิจการไฟฟ้าในอนาคต รูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้าในอนาคตจะกำหนดบทบาททางธุรกิจ และโอกาสในการลงทุนหรือขยายกิจการของการไฟฟ้า ซึ่งนักลงทุนให้ความสำคัญมาก เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงต่อทิศทางของธุรกิจไฟฟ้าว่าจะมีการแข่งขันหรือไม่ อย่างไร ดังนั้น หากไม่มีความชัดเจนในประเด็นดังกล่าว จะถือเป็นความเสี่ยงหลักที่นักลงทุนจะนำมาประเมินกำหนดราคาหุ้น
9.1.2 กรอบการกำกับดูแล หากมีการแปรรูปกิจการไฟฟ้าจากภาครัฐเป็นของเอกชน จะต้องมีการกำหนดกรอบการกำกับดูแลที่ชัดเจน เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการไฟฟ้า กำกับดูแลราคาค่าบริการ คุณภาพการบริการ และการลงทุนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมทั้งให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ลงทุน
นอกจากนี้ โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรายได้ของกิจการไฟฟ้าในอนาคต จะต้องมีความชัดเจนโปร่งใส รวมทั้ง แนวทางการชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้าจะต้องมีความชัดเจน โปร่งใส เช่นกัน ซึ่งจะมีผลต่อการแปรรูป กฟน. และ กฟภ. ในอนาคตด้วย
9.1.3 การกำหนดโครงสร้างองค์กร: โครงสร้างองค์กรของการไฟฟ้าที่จะนำเข้าจดทะเบียนและกระจายหุ้นในตลาดหลัก ทรัพย์ฯ ต้องมีความชัดเจน มีรูปแบบที่ส่งเสริมการบริหารงานอย่างมี ประสิทธิภาพ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าและนักลงทุนในหุ้นกิจการไฟฟ้า
9.1.4 การจัดหาไฟฟ้าในอนาคต การจัดหาไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จะให้ผู้ใดดำเนินการ กฟผ. หรือจะให้ภาคเอกชนดำเนินการด้วย จะรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่ จะกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกอย่างไร
10. บริษัทที่ปรึกษาได้จัดทำแผนการดำเนินงาน เพื่อให้การดำเนินงานปรับโครงสร้างองค์กรของ กฟผ. และการจดทะเบียน กฟผ. ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1 ปี 2547 โดย โครงสร้างกิจการไฟฟ้าที่ชัดเจนจะต้องได้ข้อสรุปภายในเดือนกันยายน 2546 จดทะเบียน กฟผ. เป็นบริษัท ในต้นเดือนมกราคม 2547 และกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ปลายเดือนมีนาคม 2547
11. เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้ชะลอการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า ชะลอการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า (Power Pool) และให้มีการแปลงสภาพ กฟผ. ทั้งองค์กรให้มีการจดทะเบียนกระจายหุ้นการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ภายในปี 2547 จึงต้องมีการศึกษาโครงสร้างกิจการไฟฟ้าใหม่ เพื่อให้ได้โครงสร้างกิจการไฟฟ้าที่ชัดเจน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา โครงการศึกษายุทธศาสตร์พลังงานของประเทศไทยและการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า ซึ่งจะศึกษารูปแบบการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าที่เหมาะสม โครงสร้างองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวทางการกำกับดูแลกิจการ ไฟฟ้าในการอนาคต เพื่อให้การจดทะเบียนและกระจายหุ้นการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งประสบผลสำเร็จสูงสุด โดย การศึกษาดังกล่าวมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2546
12. เพื่อให้ กฟผ. สามารถดำเนินการตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี มีการแปรรูป กฟผ. ทั้งองค์กรและจดทะเบียนกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเห็นควรให้ดำเนินการ ดังนี้
12.1 ให้ชะลอการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และวันที่ 3 ตุลาคม 2543 ออกไปก่อน
12.2 ให้ความเห็นชอบในหลักการให้ กฟผ. แปลงสภาพเป็นบริษัททั้งองค์กร โดยใช้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
12.3 ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทตามมาตรา 16 แห่ง พรบ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เพื่อดำเนินการตามมาตรา 19 แห่ง พรบ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
มติของที่ประชุม
1.เห็นควรให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และ 3 ตุลาคม 2543 เรื่อง การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะนำเสนอ โครงสร้างกิจการไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อไป
2.เห็นชอบในหลักการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แปลงสภาพเป็นบริษัท ทั้งองค์กร โดยใช้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2539 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1/2539 (ครั้งที่ 55) ให้นำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้ในการสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงาน ต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้
2. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติครั้งที่ 6/2544 (ครั้งที่ 87) ให้ยุติการนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้จ่ายในการ ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นไป ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2545 ได้มีมติเห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 ธันวาคม 2544 ให้สามารถเบิกจ่ายในส่วนของหนี้ผูกพันที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2545 ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเบิกจ่ายหนี้ผูกพันเหลื่อมปีงบประมาณ 2546 ได้ จำนวนเงิน 579,639,450.94 บาท
3. กรมสรรพสามิตได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ กค 0603/ 23980 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2546 เรื่อง ขอทบทวนการขยายเวลาการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการ ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม แจ้งว่ากรมสรรพสามิตไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณจากโครงการติดตั้งระบบควบคุม รายรับ - จ่าย ณ คลังน้ำมันชายฝั่งพร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูล จำนวนเงิน 427,077,003.66 บาท ได้ทันในปี 2546 โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) กรมสรรพสามิตได้ทำสัญญาซื้อขายระบบควบคุมการรับ - จ่ายน้ำมันสำหรับคลังน้ำมันชายฝั่งพร้อมติดตั้งกับบริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี (เนทเวอร์ค) จำกัด (มหาชน) ซึ่ง บมจ. ยูไนเต็ดฯ ได้ดำเนินการตามสัญญาจนครบกำหนดอายุสัญญา แต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามสัญญา ดังนั้น กรม สรรพสามิตจึงมีหนังสือแจ้งให้ บมจ.ยูไนเต็ดฯ ส่งมอบงานให้ครบถ้วนถูกต้องตามสัญญาต่อกรมสรรพสามิตภายใน 45 วัน ซึ่งหากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว กรมสรรพสามิต ถือว่าหนังสือฉบับนี้เป็นการบอกเลิกสัญญาซื้อขายดังกล่าวข้างต้นทันที และกรมสรรพสามิตขอสงวนสิทธิเรียกค่าปรับและสิทธิเรียกร้องต่างๆ ตามสัญญาและกฎหมายไว้ด้วย (ครบกำหนดวันที่ 3 สิงหาคม 2546)
(2) บมจ. ยูไนเต็ดฯ ได้มีหนังสือแจ้งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2546 ว่าบริษัทฯได้ดำเนิน โครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ยกเว้นคลังที่มีปัญหาจึงขอส่งงานที่เสร็จก่อนและขอสงวนสิทธิเรียกเก็บเงิน ตามสัญญา ซึ่งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุของกรมสรรพสามิต ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ระบบควบคุมการรับ - จ่าย น้ำมันสำหรับคลังน้ำชายฝั่งยังไม่สมบูรณ์จึงมีความเห็นว่าไม่รับงาน
(3) กรมสรรพสามิตกำลังดำเนินการแจ้งให้บริษัทฯ ชำระค่าปรับและค่าเสียหายต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะมีการโต้แย้งจากบริษัทฯ เกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญา และการเรียกชำระค่าปรับและค่าเสียหายต่างๆ ต่อไป ดังนั้นเรื่องดังกล่าวจึงไม่อาจจะดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ทันภายในปีงบ ประมาณ 2546
4. กรมสรรพสามิตจึงขอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติทบทวนการขยายเวลาการ สนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการป้องกันและปราบปรามการ กระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมที่ก่อหนี้ผูกพันไว้ คือ โครงการติดตั้งระบบควบคุมการรับ - จ่ายน้ำมันสำหรับคลังน้ำมันชายฝั่งเป็นเงิน 427,077,003.66 บาท (สี่ร้อยยี่สิบเจ็ดล้านเจ็ดหมื่นเจ็ดพันสามบาทหกสิบหกสตางค์) จากปีงบประมาณ 2546 ไปจนกว่าเรื่องดังกล่าวจะยุติ
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ทบทวนขยายเวลาการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันเชื้อ เพลิงในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมแก่กรมสรรพ สามิตที่ก่อหนี้ผูกพันไว้ ในโครงการติดตั้งระบบ ควบคุมการรับ - จ่ายน้ำมันสำหรับคลังน้ำมันชายฝั่ง เป็นเงิน 427,077,003.66 บาท (สี่ร้อยยี่สิบเจ็ดล้าน เจ็ดหมื่นเจ็ดพันสามบาทหกสิบหกสตางค์) จากปีงบประมาณ 2546 ไปจนกว่าเรื่องดังกล่าวจะยุติ แต่ทั้งนี้ให้กรมสรรพสามิตร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางที่ จะเร่งรัดให้โครงการสามารบรรลุเป้าหมายโดยเร็วที่สุด เพื่อรักษาและป้องกันการกระทำผิดมิให้เกิดความเสียหายจากกลุ่มที่ต้องดำเนิน การทางกฎหมาย ซึ่งความล่าช้าทำให้เกิดปัญหาและสร้างความเสียหายมากกว่าการได้เปรียบ เสียเปรียบทางคดีความ
สรุปสาระสำคัญ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2546 กระทรวงพลังงานได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านยุทธศาสตร์พลังงาน ครั้งที่ 1 ขึ้น โดยมีหัวข้อว่า พลังงานเพื่อการแข่งขันของประเทศไทย โดยมีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. กำหนดให้เป้าหมายการใช้พลังงานของประเทศด้วยการลดสัดส่วนอัตราเติบโตของการ ใช้พลังงานต่ออัตราการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ (GDP) จาก 1.4 ต่อ 1 เป็น 1 ต่อ 1 ในระยะเวลา 5 ปี ภายใน ปี พ.ศ. 2550 ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานได้ถึง 3.1 ล้านล้านบาท ในระยะเวลา 10 ปี
2. สำหรับยุทธศาสตร์ด้านพลังงานได้แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
2.1 ยุทธศาสตร์การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การใช้พลังงานภาคคมนาคมขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม
· ภาคคมนาคมขนส่ง โดยปรับโครงสร้างการขนส่งคนและสินค้า จากการใช้รถยนต์ ขนาดเล็กมาเป็นระบบขนส่งด้วยระบบราง ควบคู่การวางเครือข่ายขนส่งแบบผสมผสาน (Multimodal) อย่างมี ประสิทธิภาพ มุ่งหมายลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานภาคการขนส่งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 คือ ไม่ต่ำ 2.5 ล้านล้านบาท ในระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2560 โดยมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และ สศช. ร่วมกันปรับโครงสร้างการขนส่ง เพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างฉลาดและเหมาะสม
· ภาคอุตสาหกรรม เร่งรัดปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและทบทวนทิศทางการส่งเสริม การลงทุน โดยมุ่งสู่อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานน้อย (Non - Energy Intensive) และก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ซึ่งมีมาตรการที่สำคัญทั้งในด้านการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในเชิงศักยภาพ การแข่งขันและด้านภาษี เพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงานในโรงงานและการขนส่ง ตลอดจนได้กำหนดให้กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงพลังงานเร่งประกาศมาตรฐาน สินค้าประหยัดพลังงาน และมาตรฐานโรงงานประหยัดพลังงาน เป็นต้น
2.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทน : โอกาสใหม่ของประเทศไทย ได้กำหนด เป้าหมายการพัฒนาพลังงานทดแทน โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนจากร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 8 ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ได้กำหนดสัดส่วนให้โรงไฟฟ้าใหม่จะต้องผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ในสัดส่วนร้อยละ 3 - 5 ของกำลังการผลิต และให้มีการตั้งกองทุนพิเศษ ที่ควรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาด้านการวิจัย และพัฒนา (R&D) อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง โดยมอบหมาย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินทุกมาตรการอย่างจริงจัง
2.3 ยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ประกอบด้วย
· ด้านไฟฟ้า ยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้า มุ่งให้ประเทศไทยต้องมีมาตรการความต้องการพลังงานไฟฟ้าโดยทำแผนการผลิตไฟฟ้า ให้เพียงพอต่อความต้องการและต้องมีมาตรการป้องกัน ไม่ให้เกิด Blackout หรือ Brownout โดยมีเป้าหมายและแผนการพัฒนาคุณภาพการผลิตตามมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value) ที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานเสนอจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมสำหรับชุมชนและท้องถิ่น โดยรูปแบบของกองทุนแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การจัดเก็บเงินกองทุนจากผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยที่มีกำลังการผลิตเกิน 1,000 กิโลวัตต์ และรูปแบบการใช้เงินกองทุน โดยกำหนดให้คณะกรรมการกองทุนทุกระดับ กำหนดกรอบและหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินกองทุน เพื่อช่วยเหลือแก่ ชุมชนที่ตั้งโรงไฟฟ้า
· ด้านความมั่นคงในการจัดหาพลังงาน โดยการจัดหาพลังงานให้เพียงพอและกำหนด ยุทธศาสตร์ต่างประเทศเพื่อหาโอกาสให้เอกชนไทยที่มีศักยภาพ และ ปตท./ปตท.สผ./กฟผ. เข้าไปลงทุน และสร้างพันธมิตรในต่างประเทศด้านพลังงานเพื่อสร้างความมั่งคงด้านพลังงาน แก่ประเทศให้เพียงพอในระยะเวลา 50 ปีข้างหน้า
2.4 ยุทธศาสตร์การปรับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาค โดยพิจารณาจากศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาค ได้แก่ การได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ การมีประสบการณ์ในธุรกิจพลังงาน และการมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนไว้แล้วเดิมแต่ยังใช้ประโยชน์ไม่เต็ม ที่ ตลอดจนโอกาสทางตลาดของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยจะปรับโครงสร้างและบทบาทจากผู้ซื้อมาเป็นผู้ค้า (Oil Trader) ทั้งนี้ ได้กำหนดมาตรการที่จำเป็น ดังนี้
(1) ปรับปรุงระบบและโครงสร้างภาษีอากร เพื่อขจัดการเก็บภาษีซ้ำซ้อนและอุปสรรค ระบบการค้าน้ำมันแบบ Trading และจัดตั้ง Export Processing Zone (EPZ) สำหรับการค้าน้ำมันภายในประเทศและการส่งออกให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งอาจเลือกดำเนินการที่เกาะสีชังและมาบตาพุดได้ทันที
(2) พัฒนาเครือข่ายระบบการขนส่งไฟฟ้า ระบบท่อก๊าซ และพลังงานอื่นๆ พัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระดับระหว่างรัฐต่อรัฐและระดับระหว่างภาค ธุรกิจเอกชนกับรัฐบาล เพื่อให้เกิดการลงทุนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้าน การผลิต และจำหน่ายไฟฟ้า
(3) เพิ่มการใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ให้เต็มประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมการใช้ระบบ ขนส่งน้ำมันทางท่อที่ก่อสร้างไว้แล้ว และเชื่อมโยงระบบท่อขนส่งน้ำมันไปภาคเหนือ - อีสาน ตลอดจนผลักดัน ระบบถนน รถไฟ และการเดินเรือให้เชื่อมโยงภูมิภาคไปถึงจีนตอนใต้ เพื่อขยายตลาดพลังงานสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
(4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ (Strategic Energy Land Bridge) เชื่อมโยงการผลิตและการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมาสู่เอเซียตะวันออก และเอเซียใต้ เพื่อสร้างคลัง น้ำมันสำรอง การลงทุนร่วมระหว่างประเทศผู้ใช้และผู้ผลิตน้ำมัน เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของภูมิภาค ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษในการซื้อขายน้ำมันใน ตลาดโลก (FAREAST Premium)
(5) ผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตในประเทศ (Integration/Merger & Acquisition/Synergy) เพื่อสร้าง World Scale ในธุรกิจปิโตรเคมี
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินตามมาตรการดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมาย จึงจำเป็นต้องสร้างมิติใหม่ให้เกิดขึ้นภายในประเทศ ได้แก่ เร่งรัดพัฒนาเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ให้รองรับ การเป็นศูนย์กลางพลังงาน โดยเฉพาะการใช้โครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ และปรับปรุงขีดความสามารถและศักยภาพการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันและปิ โตรเคมีให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ รวมทั้งปรับปรุงข้อจำกัดทางภาษีและกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนให้เกิดธุรกิจ น้ำมันสู่ระบบสากลและการส่งออก ตลอดจนเห็นควรกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ (Strategic Energy Land Bridge) ให้เป็นนโยบายสำคัญของชาติ โดยการก่อสร้างท่อน้ำมัน และให้เร่งก่อสร้างถนนระหว่าง อำเภอสิชล กับอำเภอทับละมุงให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นอกจากนี้จะต้องสร้างมิติในต่างประเทศด้วย โดยเร่งเจรจาและสร้างพันธมิตรระหว่างประเทศผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงานอย่าง เป็นระบบโดยให้ทุกหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องดำเนินการ และสนับสนุนการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานในภูมิภาค
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
- NEPC94-1.9.46.pdf (1650 Downloads)