มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 3/2552 (ครั้งที่ 125)
วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 3
3.ร่างบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้าโครงการหงสาลิกไนต์
4.การแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อเตรียมการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์ (เพิ่มเติม)
5.นโยบายการควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง
6.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
7.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2552 ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) เป็นกรรมการและเลขานุการ
สรุปสาระสำคัญ
1. สายส่งเชื่อมโยง 115 เควี ระหว่างสถานีไฟฟ้า (สฟ.) ท่าลี่ กับสถานีไฟฟ้า (สฟ.) ปากลาย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Lao : GMS Northern Transmission Project ซึ่งธนาคารเพื่อการพัฒนา แห่งเอเซีย (Asian Development Bank : ADB) และกลุ่มผู้ให้เงินกู้จะให้เงินกู้ในการก่อสร้างโครงการฯ แก่รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (ฟฟล.) ทั้งนี้สายส่งส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าใน สปป.ลาว ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 10 เปอร์เซนต์ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างไทยกับ สปป.ลาว (115 เควี ท่าลี่ - ปากลาย) ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการศึกษาระบบไฟฟ้าเบื้องต้นเพื่อดูขีดความสามารถ ในการไหล (Flow) ของกำลังไฟฟ้าจากไทยไปยัง สปป.ลาว แล้ว
2. คณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อน บ้าน (คณะอนุกรรมการประสานฯ) ในการประชุมเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552 มีมติให้ กฟผ. เจรจาด้านเทคนิคกับ สปป. ลาว และเตรียมร่างบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือในการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้า 115 เควี จุดใหม่ ระหว่าง สฟ.ท่าลี่ (ไทย) กับ สฟ. ปากลาย (สปป. ลาว) และเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 คณะอนุกรรมการประสานฯ ได้มีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจ และกำหนดให้มีการลงนามร่วมกับ สปป. ลาว ในช่วงที่ประธานประเทศของ สปป. ลาว จะเดินทางมาประเทศไทยระหว่างวันที่ 12 - 14 พฤษภาคม 2552
3. สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจ สรุปได้ดังนี้
3.1 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในการให้ความร่วมมือในการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้า 115 เควี จุดใหม่ ระหว่าง สฟ.ท่าลี่ (ไทย) กับ สฟ.ปากลาย (สปป.ลาว) ส่วนเงื่อนไขรายละเอียดตลอดทั้งกำหนดเวลาในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบไฟฟ้า ทั้งสองฝ่ายจะได้กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป
3.2 ทั้งสองฝ่ายจะร่วมจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โดยมีราคาและเงื่อนไขที่เหมาะสมสอดคล้องกับความมั่นคง การจำหน่ายไฟฟ้าและดำเนินการอื่นๆ ตามความจำเป็น
3.3 ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือเพื่อประสานการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าระหว่างสองประเทศให้ สอดคล้องกับหลักการทางเทคนิค นโยบายการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าของแต่ละประเทศให้มี ประสิทธิภาพสูงและเป็นไปตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกัน
3.4 ทั้งสองฝ่ายจะเสนอเรื่องความร่วมมือนี้ต่อคณะอนุกรรมการประสานฯ ของไทย และคณะประสานงานการพัฒนาไฟฟ้ากับต่างประเทศของ สปป. ลาว เพื่อให้ความเห็นชอบในการดำเนินการและส่งผลในทางปฏิบัติต่อไป
3.5 บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ทั้งสองฝ่ายได้รับความเห็นชอบ จากคณะอนุกรรมการประสานฯ และคณะประสานงานการพัฒนาไฟฟ้ากับต่างประเทศ และจะสิ้นสุดแล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดก่อน ดังนี้ 1) ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เป็น ลายลักษณ์อักษร หรือ 2) เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
มติของที่ประชุม
เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (ฟฟล.) เรื่องความร่วมมือในการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้า 115 เควี จุดใหม่ ระหว่างสถานีไฟฟ้าท่าลี่ (ไทย) กับสถานีไฟฟ้าปากลาย (สปป.ลาว)
สรุปสาระสำคัญ
1. ปัจจุบัน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ส่งพลังงานไฟฟ้าให้รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (ฟฟล.) ที่ สฟ.นครพนม (ฝั่งไทย) ถึง สฟ.ท่าแขก (ฝั่งลาว) ที่ระดับแรงดัน 115 กิโลโวลต์ ภายใต้สัญญาน้ำงึม 1 ในอัตราค่าไฟฟ้าที่ กฟผ. รับซื้อไฟฟ้าจาก ฟฟล. บวกด้วยค่าก่อสร้างระบบส่งในฝั่งไทย 0.19 บาท/หน่วย (Peak 1.79 บาท/หน่วย และ Off-Peak 1.39 บาท/หน่วย) เพื่อตอบสนองกับความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศลาว และภายใต้สัญญาลูกค้าตรง (โรงปูนซีเมนต์และเหมืองเซโปน) ในอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีกของไทย
2. ต่อมา ฟฟล. ได้มีหนังสือถึง กฟผ. เพื่อเสนอขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศลาว โรงปูนซีเมนต์ และเหมืองเซโปน ที่ผลิตจากโครงการน้ำเทิน 2 ขนาดกำลังผลิต 75 เมกะวัตต์ ที่มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าให้ ฟฟล. ประมาณกลางปี 2552 โดย ฟฟล. ได้มีการสร้าง สฟ.มหาไซย และสายส่งเชื่อมโยงจากโครงการน้ำเทิน 2 เข้ากับ สฟ.ท่าแขก
3. คณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อน บ้าน (คณะอนุกรรมการฯ) ในการประชุมเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 ได้พิจารณาการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินความต้องการของ ฟฟล. จากโครงการน้ำเทิน 2 และมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือ ด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. และ ฟฟล.
4. สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจ สรุปได้ดังนี้
4.1 กฟผ. รับทราบว่า ฟฟล. มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับโครงการโรงไฟฟ้าน้ำเทิน 2 ซึ่งมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าประมาณกลางปี 2552 โดยในระยะแรกจะมีไฟฟ้าเกินจากความต้องการของ ฟฟล. จึงประสงค์จะขายไฟฟ้าส่วนเกินความต้องการนี้ให้ กฟผ. และ กฟผ. ยินดีที่จะรับซื้อ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันตกลงราคาและเงื่อนไขในการซื้อขายไฟฟ้าต่อไป
4.2 ทั้งสองฝ่ายจะเสนอเรื่องความร่วมมือนี้ต่อคณะอนุกรรมการประสานฯ ของไทย และคณะประสานงานการพัฒนาไฟฟ้ากับต่างประเทศของ สปป. ลาว เพื่อให้ความเห็นชอบในการดำเนินการและส่งผลในทางปฏิบัติต่อไป
4.3 บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ทั้งสองฝ่ายได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการ ประสานฯ และคณะประสานงานการพัฒนาไฟฟ้ากับต่างประเทศและจะสิ้นสุดแล้วแต่เหตุการณ์ใด จะเกิดก่อน ดังนี้ 1) ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือ 2) เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
มติของที่ประชุม
เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย (กฟผ.) กับรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (ฟฟล.) เรื่องความร่วมมือในการรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เกินความต้องการของ ฟฟล. จากโครงการน้ำเทิน 2
เรื่องที่ 3 ร่างบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้าโครงการหงสาลิกไนต์
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 เพื่อส่งเสริมและให้ความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป. ลาว สำหรับจำหน่ายให้แก่ประเทศไทยจำนวนประมาณ 3,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2549 คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 ได้มีมติเห็นชอบการขยายการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป. ลาว จาก 3,000 เมกะวัตต์ เป็น 5,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2558 ต่อมา คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2550 ได้มีมติเห็นชอบการขยายปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป. ลาว จาก 5,000 เมกะวัตต์ เป็น 7,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2558 ปัจจุบัน มี 2 โครงการภายใต้ MOU ดังกล่าวที่จ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แล้ว ได้แก่ โครงการเทิน-หินบุน ขนาดกำลังผลิต 187 เมกะวัตต์ และห้วยเฮาะ ขนาดกำลังผลิต 126 เมกะวัตต์ และอีก 3 โครงการ ได้มีการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว ได้แก่ โครงการน้ำเทิน 2 ขนาดกำลังผลิต 920 เมกะวัตต์ โครงการน้ำงึม 2 ขนาดกำลังผลิต 615 เมกะวัตต์ และโครงการเทิน-หินบุนส่วนขยาย ขนาดกำลังผลิต 220 เมกะวัตต์ โดยมีกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม 2552 มีนาคม 2554 และมีนาคม 2555 ตามลำดับ
2. กฟผ. ได้ดำเนินการเจรจากับผู้ลงทุนโครงการหงสาลิกไนต์ จนกระทั่งได้ข้อยุติเรื่องอัตราค่าไฟฟ้าและเงื่อนไขสำคัญ และได้มีการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้า (Tariff MOU) ของโครงการหงสาลิกไนต์ในรูปแบบเดียวกับ Tariff MOU ซึ่งได้ผ่านการเห็นชอบจากสำนักงานอัยการสูงสุด คณะอนุกรรมการประสานฯ กพช. และ ครม. แล้ว และเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 คณะอนุกรรมการประสานฯ ได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนออัตราค่าไฟฟ้าและเงื่อนไขสำคัญและร่าง MOU ของโครงการหงสาลิกไนต์
3. สรุปสาระสำคัญของโครงการหงสาลิกไนต์ได้ดังนี้
3.1 ผู้พัฒนาโครงการ ประกอบด้วย บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (40%) ราชบุรี 40%) และ รัฐบาล สปป. ลาว (20%)
3.2 โครงการ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้า (กำลังผลิต (3 X 551 เมกะวัตต์ : 1,653 เมกะวัตต์) เหมืองถ่านหิน และเหมืองหินปูน มีกำลังผลิตที่โรงไฟฟ้า 1,653 เมกะวัตต์ ขายให้ สปป. ลาว ไม่เกิน 175 เมกะวัตต์ และขายให้ไทยที่ชายแดน 1,473 เมกะวัตต์
3.3 ระบบส่ง : จุดเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าขนาด 500 กิโลโวลต์ ณ ชายแดนไทย-ลาว บริเวณจังหวัดน่าน ห่างจากสถานีไฟฟ้าแม่เมาะประมาณ 245 กิโลเมตร และในฝั่ง สปป. ลาว ระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร และกำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date :COD) : Unit 1 : 1 มีนาคม 2558; Unit 2 : 1 สิงหาคม 2558 และ Unit 3 : 1 ธันวาคม 2558
4. สาระสำคัญของร่าง Tariff MOU สรุปได้ดังนี้
4.1 ข้อตกลงนี้ทำขึ้นระหว่าง กฟผ. และบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
4.2 โครงการหงสาลิกไนต์เป็นโครงการซึ่ง กฟผ. ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป. ลาว ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยและ สปป.ลาว
4.3 บริษัทฯ และผู้ร่วมลงทุนรายอื่น (รวมเรียกว่า Sponsors) จะจัดตั้งบริษัทใน สปป.ลาว เพื่อพัฒนาโครงการ โดยSponsors จะเจรจากับรัฐบาล สปป. ลาว เพื่อให้ได้สัญญาสัมปทานซึ่งผ่านความเห็นชอบของ National Assembly ของ สปป. ลาว เพื่อให้สามารถพัฒนาโครงการและผลิตไฟฟ้าขายให้ กฟผ. อย่างถูกต้องตามกฎหมายของ สปป. ลาว และสอดคล้องกับเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
4.4 กฟผ. จะขอความเห็นชอบ MOU จาก กพช. ภายใน 3 เดือนนับจากวันลงนาม และบริษัทฯ จะขอความเห็นชอบจากกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ของรัฐบาล สปป. ลาว ภายใน 3 เดือนนับจากวันลงนาม ซึ่ง MOU จะมีผลบังคับใช้หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้รับแจ้งการได้รับความเห็นชอบตามที่ ระบุข้างต้น
4.5 โครงการมีกำลังผลิตสุทธิที่โรงไฟฟ้า 1,653 เมกะวัตต์ ขายให้ สปป. ลาว ไม่เกิน 175 เมกะวัตต์ และขายให้ไทย 1,473 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ การที่จะขายไฟฟ้าให้ สปป. ลาว จะต้องมีระบบป้องกัน ที่จะไม่กระทบอีกฝ่ายหนึ่ง
4.6 อัตราค่าไฟฟ้า ณ ชายแดน เฉลี่ยตลอดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปี (Levelized) สรุปได้ดังนี้ 1) Availability Payment (AP) เท่ากับ 1.409 บาท/หน่วย 2) Energy Payment (EP) เท่ากับ0.866 บาท/หน่วย และ 3) รวม AP + EP เท่ากับ 2.275 บาท/หน่วย
4.7 สัญญาซื้อขายไฟฟ้าจะมีอายุ 25 ปี นับจากวันจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date : COD) ของเครื่องที่จ่ายไฟฟ้าเป็นเครื่องสุดท้าย โดยอาจมีอายุสัญญาได้ยาวกว่านี้ หาก สปป. ลาวอนุมัติและทั้งสองฝ่ายตกลง
4.8 ทั้งสองฝ่ายจะใช้ร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการหงสาลิกไนต์ที่ กฟผ. ได้จัดส่งให้เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2552 เป็นต้นแบบในการเจรจาเพื่อจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้แล้วเสร็จภายในอายุของ MOU นี้
4.9 MOU จะสิ้นสุดเมื่อมีเหตุการณ์ใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อน ดังนี้ 1) เมื่อมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 2) MOU มีอายุครบ 18 เดือนนับจากวันลงนามหรือวันที่ช้ากว่าหากมีการตกลงต่ออายุ MOU ออกไป และ 3) ทั้งสองฝ่ายตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเลิกก่อนได้
4.10 แต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในส่วนของตน และไม่สามารถเรียกร้องความเสียหายจาก MOU หรือจากการยกเลิก MOU ยกเว้นหลักทรัพย์ค้ำประกันที่วางไว้หากไม่สามารถเจรจาเพื่อลงนามในร่างสัญญา ซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
4.11 ผู้พัฒนาโครงการจะต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันจำนวน 147.3 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 30 วันหลังจากวันที่ กฟผ. แจ้งว่า MOU ได้รับการอนุมัติจาก กพช.
4.12 กำหนดวันแล้วเสร็จของงานต่างๆ จะเป็นดังนี้
-Scheduled Financial Close Date (SFCD) : วันที่ช้ากว่าระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2554 และ 12 เดือนนับจากวันลงนาม PPA
-Scheduled Energizing Date (SED) (กำหนดวันที่ระบบส่งของทั้งสองฝ่ายพร้อมรับและส่งพลังงานไฟฟ้า) เท่ากับ 44 เดือนนับจากวันที่ช้ากว่าระหว่างวัน Financial Close Date และวัน SFCD
-Scheduled Commercial Operation Date (SCOD) คือวันที่ช้ากว่าระหว่าง
Unit 1: 50 เดือน นับจากวันที่ช้ากว่าระหว่างวัน Financial Close Date และ วัน SFCD
Unit 2: 55 เดือน นับจากวันที่ช้ากว่าระหว่างวัน Financial Close Date และวัน SFCD
Unit 3 : 59 เดือน นับจากวันที่ช้ากว่าระหว่างวัน Financial Close Date และวัน SFCD
-หากฝ่ายใดทำให้วัน COD ล่าช้ากว่าวัน SCOD จะต้องจ่ายค่าปรับในอัตราที่เท่ากัน
4.13 จำนวนหลักทรัพย์ค้ำประกัน ดังนี้ 1) วันลงนามสัญญาฯ เท่ากับ 21 Million USD 2) วัน Financial Close Date เท่ากับ 53 Million USD 3) วัน COD เท่ากับ 47 Million USD และ 4) วันครบรอบ COD 13 ปี เท่ากับ 16 Million USD
4.14 Tariff MOU และสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจะถูกบังคับและตีความตามกฎหมายไทย
มติของที่ประชุม
- เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้าโครงการหงสาลิกไนต์ และมอบหมายให้ กฟผ. นำร่างบันทึกความเข้าใจฯ ที่ได้รับความเห็นชอบแล้วไปลงนามร่วมกับผู้ลงทุนต่อไป
- เห็นชอบในหลักการให้ กฟผ. สามารถปรับปรุงเงื่อนไขจากร่าง MOU โครงการหงสาลิกไนต์ ในขั้นการจัดทำร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เนื่องจากโครงการหงสาลิกไนต์เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนโรงแรกที่ตั้งอยู่ใน ต่างประเทศ เพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม แต่ทั้งนี้จะไม่กระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้า
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2550 ได้มีมติเห็นชอบแผนการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์ฉบับเบื้อง ต้น ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบร่างแผนจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์ฉบับสมบูรณ์และ การแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อเตรียมการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานนิวเคลียร์ขึ้น โดยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2550 รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ประธาน กพช. ได้มีคำสั่งคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 3/2550 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อเตรียมการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานพลังงาน นิวเคลียร์ ซึ่งประกอบด้วย พลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ เป็นประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการ นายกอปร กฤตยากีรณ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ รองปลัดกระทรวงพลังงาน (นายณอคุณ สิทธิพงศ์) เป็นประธานกรรมการ และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก 20 คน เป็นกรรมการ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดขอบเขต ทิศทาง การดำเนินงาน ตามแผนการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ กำกับดูแล และติดตามผลการดำเนินงาน บริหารแผนงานรวม และประสานการบริหารตามแผนฯ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาและก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
2. เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2551 กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือขอให้พิจารณาเพิ่มผู้แทนของกรมองค์การ ระหว่างประเทศเป็นกรรมการในคณะกรรมการประสานงานเพื่อเตรียมการจัดตั้งโครง สร้างพื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์ เนื่องจากเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานในการพัฒนา โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ รวมทั้งเพื่อให้การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ การบริหารและการปฏิบัติงานของสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด คณะกรรมการประสานงานเพื่อเตรียมการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานพลังงาน นิวเคลียร์ ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 และเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 ได้มีมติเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งองค์ประกอบของคณะกรรมการประสานฯ เพิ่มเติม ดังนี้ 1) ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน 2) ผู้แทนกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และ 3) นายธเนศ สุจารีกุล เป็นกรรมการ
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มเติมตามร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ ประสานงานเพื่อเตรียมการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์ (เพิ่มเติม) พร้อมทั้งให้ปรับปรุงในส่วนของ รองประธานกรรมการจากรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (นายพูลสุข พงษ์พิพัฒน์) เป็น รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับมอบหมาย
เรื่องที่ 5 นโยบายการควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการออกกฎกระทรวงควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2550 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2550 กำหนดให้มีการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง ในคลังน้ำมัน สถานีบริการน้ำมัน และรถขนส่งน้ำมันในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ และได้ออกประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่ให้มีการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 23 เมษายน 2550 ออกตามความในข้อ 2 (1)(ก) แห่งกฎกระทรวงควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2550 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 กำหนดให้มีการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติมในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ระยอง สงขลา สมุทรสาคร สระบุรี และสุราษฏร์ธานี
2. ตามประกาศกระทรวงข้างต้น ทำให้ผู้ประกอบกิจการคลังน้ำมันเชื้อเพลิง สถานีบริการน้ำมัน และรถขนส่งน้ำมันในพื้นที่ 7 จังหวัด ต้องปรับปรุงสถานประกอบการให้มีระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงและดัดแปลงรถขน ส่งน้ำมันให้เป็นระบบรับน้ำมันเชื้อเพลิงใต้ถัง (bottom loading) ในคลังน้ำมัน จำนวน 27 แห่ง สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 1,791 แห่ง และรถขนส่งน้ำมัน จำนวน 3,526 คัน มีภาระเกิดขึ้น โดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงรถขนส่งน้ำมันให้เป็นระบบ bottom loading ประมาณ 300,000 - 500,000 บาทต่อคัน ผู้ประกอบการรถขนส่งน้ำมัน จึงได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์จากกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ขอให้ยกเว้นภาษีนำเข้าอุปกรณ์ระบบควบคุมไอน้ำมัน ยกเว้นหรือลดเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และขอให้จัดเงินกู้ยืมปลอดดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการปรับปรุงรถขนส่งน้ำมันเพื่อ ไม่ให้เป็นภาระต่อผู้ประกอบการ ขณะเดียวกัน ธพ. ได้มีการศึกษาระบบการควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับ รถขนส่งฯ และพบว่าระบบ modified top loading ที่ใช้ในญี่ปุ่นเป็นระบบที่สามารถควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีพอควร โดยมีประสิทธิภาพประมาณร้อยละ 85 และราคาค่าปรับปรุงประมาณ 70,000 บาท รวมทั้งมีค่ามลพิษอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 กลุ่มผู้ประกอบการรถขนส่งน้ำมัน จึงมีหนังสือขอให้ ธพ. พิจารณาทางเลือกให้ใช้ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถขนส่งน้ำมันแบบ top loading เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าเพื่อช่วยลดภาระให้กับผู้ประกอบการ
3. เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2552 คณะกรรมการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงได้มีมติ เห็นชอบร่างกฎกระทรวงควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... โดยกฎกระทรวงดังกล่าวจะเป็นการผ่อนผันให้กับรถบรรทุกน้ำมันเก่าที่มีอยู่ ก่อนกฎกระทรวงใช้บังคับ และจะสามารถใช้ระบบ top loading สำหรับรถขนส่งน้ำมันที่มีอายุ ไม่เกิน 10 ปี พร้อมทั้งเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่ให้มีการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่..) พ.ศ. .... กำหนดให้การควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงในพื้นที่ 7 จังหวัด มีผลบังคับใช้หลังจากกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว 180 วัน
4. เมื่อเดือนเมษายน 2552 คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ได้ประชุมร่วมกับกระทรวงพลังงาน ในกรณีผู้ขนส่งน้ำมันร้องเรียนว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมตามกฎกระทรวงควบคุม ไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2550 ซึ่งที่ประชุมได้ขอให้กระทรวงพลังงานพิจารณาดำเนินการเลื่อนเวลาบังคับใช้ ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องกำหนดเขตพื้นที่ให้มีการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2550 ออกไปเป็นเวลา 2 ปี ขณะที่ปัจจุบันมีคลังน้ำมันจำนวน 17 แห่ง และสถานีบริการน้ำมัน จำนวน 1,791 แห่งที่สามารถปรับปรุงให้มีระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงทันตามกำหนดเวลา บังคับใช้ สำหรับรถขนส่งน้ำมันจำนวน 3,526 คัน ได้ปรับปรุงเป็นระบบเติมน้ำมันใต้ถังแล้ว จำนวน 1,058 คัน ส่วนที่เหลือจำนวน 2,468 คัน ยังไม่ได้ทำการปรับปรุง เนื่องจากยังขาดเงินทุนในการปรับปรุงให้ได้ทันกำหนดได้ และเป็นรถเก่าที่ไม่เหมาะปรับปรุงเป็น bottom loading ซึ่งจะไม่คุ้มค่า
5. จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันการแก้ไขกฎกระทรวงควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2550 เพื่อให้มีทางเลือกใช้ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถขนส่งน้ำมันชนิด ที่มีการรับน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือถัง และการแก้ไขรถขนส่งน้ำมันให้มีระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงจำเป็นต้องใช้ เวลาในการดำเนินการ หากไม่เลื่อนกำหนดบังคับใช้ ซึ่งจะมีผลในวันที่ 23 พฤษภาคม 2552 รถทุกคันในพื้นที่จะต้องปรับปรุงเป็น bottom loading ซึ่งอาจเกิดปัญหาการขนส่งน้ำมันไปยังสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และปัญหาการขาดแคลนน้ำมันได้ จึงจำเป็นต้องพิจารณาเลื่อนการบังคับใช้ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องกำหนดพื้นที่ให้มีการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2550 ออกไปก่อน และให้มีผลบังคับใช้หลังจากกฎกระทรวงควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ที่แก้ไขให้มีระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถขนส่งน้ำมันชนิดที่มีการ รับน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือถัง มีผลบังคับใช้แล้ว 180 วัน
มติของที่ประชุม
1.เห็นควรให้ปรับปรุงกฎกระทรวงควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2550 ในประเด็นดังนี้
1.1 ให้เพิ่มเติมการใช้ระบบ modified top loading สำหรับรถขนส่งน้ำมันไว้ในกฎกระทรวงด้วย
1.
1.2 กำหนดให้ใช้ระบบ modified top loading กับรถขนส่งน้ำมันที่มีอยู่ก่อนกฎกระทรวงใช้บังคับ
3 สำหรับรถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตขึ้นใหม่ กำหนดให้ใช้เป็นระบบ Bottom Loading
2.เห็นควรให้เลื่อนการบังคับใช้ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องกำหนดพื้นที่ให้มีการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2550 ออกไปอีก 1 ปี
เรื่องที่ 6 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัส เฉลี่ยเดือนมีนาคม 2552 อยู่ที่ระดับ 45.59 และ 48.00 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 2.50 และ 8.84 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ และในช่วงวันที่ 1 - 27 เมษายน 2552 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัสปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50.26 และ 49.68 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ ส่วนราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 เฉลี่ยเดือนมีนาคม 2552 อยู่ที่ระดับ 54.20 และ 53.14 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ โดยปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้ว 3.77 และ 2.28 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล และในช่วงวันที่ 1 - 27 เมษายน 2552 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95และ 92 และน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 61.20, 59.01 และ 58.39 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและการลดอัตราการกลั่นของโรงกลั่นในเอเชียในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากค่าการกลั่นที่อ่อนตัวลง
2. เดือนมีนาคม 2552 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้น 0.60 บาท/ลิตร, เบนซิน 91 เพิ่มขึ้น 2.10 บาท/ลิตร, แก๊สโซฮอล 95 E10, แก๊สโซฮอล 91 เพิ่มขึ้น 2.60 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล 95 E20, E85 และดีเซลหมุนเร็ว B5 เพิ่มขึ้น 1.60 บาท/ลิตร ส่วนดีเซลหมุนเร็วเพิ่มขึ้น 3.10 บาท/ลิตร ต่อมาในช่วงวันที่ 1 - 28 เมษายน 2552 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิดเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91, แก๊สโซฮอล 95 E10, E20, E85, แก๊สโซฮอล 91, ดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนเร็ว B5 ณ วันที่ 28 เมษายน 2552 อยู่ที่ระดับ 37.14, 30.04, 26.24, 23.94, 21.29, 25.44, 22.79 และ 19.79 บาท/ลิตร ตามลำดับ
3. สถานการณ์ก๊าซ LPG เดือนเมษายน 2552 ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกปรับตัวลดลง 63 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน มาอยู่ที่ระดับ 399.00 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ตามราคาน้ำมันดิบ ราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นในประเทศอยู่ที่ระดับ 10.9960 บาท/กิโลกรัม และราคาขายส่ง ณ คลัง ที่ระดับ 14.6443 บาท/กิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีก ณ กรุงเทพฯ อยู่ที่ระดับ 18.13 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ มีการนำเข้าก๊าซ LPG ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 - เมษายน 2552 รวมทั้งสิ้น 497,719.56 ตัน คิดเป็นภาระชดเชย 8,180 ล้านบาท
4. สถานการณ์น้ำมันแก๊สโซฮอล เดือนมีนาคม 2552 มีผู้ประกอบการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตจริง 10 ราย และมีปริมาณผลิตจริง 1.27 ล้านลิตร/วัน และราคาเอทานอลแปลงสภาพ ไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ 17.18 บาท/ลิตร ในเดือนมีนาคมและช่วงวันที่ 1-18 เมษายน 2552 มีปริมาณการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล 12.10 และ 12.50 ล้านลิตร/วัน ตามลำดับ จากสถานีบริการรวม 4,178 แห่ง ส่วนการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ในช่วงเวลาเดียวกัน มีปริมาณ 0.17 ล้านลิตร/วัน จากสถานีบริการน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 จำนวน 188 แห่ง ซึ่งราคาขายปลีกต่ำกว่าราคาน้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล 95 E10 อยู่ที่ 2.30 บาท/ลิตร
5. สถานการณ์น้ำมันไบโอดีเซล เดือนมีนาคม 2552 มีผู้ผลิตไบโอดีเซล 13 ราย กำลังการผลิตรวม 5.60 ล้านลิตร/วัน ปริมาณความต้องการเฉลี่ยในเดือนมีนาคมและในช่วงวันที่ 1-18 เมษายน 2552 อยู่ที่ 1.71 และ 1.62 ล้านลิตร/วัน ราคาไบโอดีเซลในประเทศเฉลี่ยในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ที่ 26.96 และ 24.96 บาท/ลิตร ตามลำดับ ส่วนการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 ปริมาณ 21.89 และ 21.68 ล้านลิตร/วัน ตามลำดับ สถานีบริการรวม 2,866 แห่ง ปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯ ชดเชยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 เท่ากับ 0.20 บาท/ลิตร มีราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 3.00 บาท/ลิตร
6. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 29 เมษายน 2552 มีเงินสดในบัญชี 25,835 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 10,702 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระเงินชดเชย 10,252 ล้านบาท และงบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 410 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิ 15,132 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 7 งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2552 ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ได้รับทราบแผนอนุรักษ์พลังงานและเป้าหมาย ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2554 ตามที่ กพช. เสนอ โดยมีเป้าหมายและการดำเนินการจะลดปริมาณการใช้พลังงานลง 7,820 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือคิดเป็นร้อยละ 10.8 ของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศในปี 2554 และกำหนดเป้าหมายการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้แทนพลังงานเชิงพาณิชย์ 8,858 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือคิดเป็นร้อยละ 12.2 ของความต้องการใช้พลังงานในปี 2554
2. คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้จัดสรรเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 89,848,165,183 บาท เพื่อนำไปช่วยเหลือ อุดหนุน หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียน สนับสนุนการดำเนินงานตามแผนดังกล่าว เป็นรายจ่ายสำหรับแผนอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 18,881 ล้านบาท และงบประมาณรอจ่ายสำหรับ โครงการลงทุนพัฒนาระบบการขนส่ง จำนวน 70,967 ล้านบาท โดยอนุมัติจำนวนเงินจำแนกตามแผนงานรายปี
ตารางที่ 1 งบประมาณรายจ่ายตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2554
ปีงบประมาณ | 2551 | 2552 | 2553 | 2554 | 2555 | รวม 5 ปี |
1. แผนพลังงานทดแทน | 4,838 | 1,190 | 1,315 | 880 | 1,110 | 9,332 |
2. แผนเพิ่มประสิทธิภาพฯ | 12,549 | 15,927 | 17,940 | 17,116 | 16,736 | 80,267 |
- ดำเนินการตามแผนอนุรักษ์ฯ | 5,838 | 2,356 | 428 | 351 | 328 | 9,300 |
- ลงทุนพัฒนาระบบการขนส่ง | 6,711 | 13,571 | 17,512 | 16,765 | 16,408 | 70,967 |
3. แผนงานบริหารทางกลยุทธ์ | 249 | 249 | ||||
รวม (ล้านบาท) | 17,635 | 17,116 | 19,255 | 17,996 | 17,846 | 89,848 |
รวม (ล้านบาท) ไม่รวมขนส่ง | 10,924 | 3,545 | 1,743 | 1,231 | 1,438 | 18,881 |
3. คณะกรรมการกองทุนฯ ได้พิจารณาจัดสรรเงินกองทุนฯ งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ได้มีงบประมาณสำหรับใช้เป็นหลักในการใช้จ่ายเป็นเงินหมุนเวียน เงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนสำหรับการลงทุน และดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน มาตรา 25 แห่ง "พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" โดยมี "คณะทำงานพิจารณากลั่นกรองงบประมาณประจำปี 2552 ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" ที่ประธานคณะอนุกรรมการกองทุนฯ แต่งตั้ง ทำหน้าที่กลั่นกรองงบประมาณและแผนการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ที่จะขอจัดสรรจากกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ 2552 ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายเรียบร้อยแล้ว โดยในการพิจารณากลั่นกรองงบประมาณ คณะทำงานฯ ได้ยึดตามภารกิจสำคัญ 3 ด้าน ดังนี้ (1) ภารกิจตามข้อกำหนดและกฎหมาย พ.ร.บ.ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (2) ภารกิจตามยุทธศาสตร์ระดับชาติ นโยบายรัฐบาล และกระทรวงพลังงาน และ (3) ภารกิจตามเจตนารมณ์ของกองทุนฯ ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และ ตามแผนและเป้าหมายอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี 2551-2554
4. สรุปมติคณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 ได้รับทราบผลการดำเนินงานในช่วงปี 2551 และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นจำนวน 2,396,252,804.00 บาท ตามที่คณะอนุกรรมการกองทุนฯ เสนอแล้ว โดยจำแนกตามภารกิจ ดังนี้
ภารกิจ | โครงการ | จำนวนเงิน |
1. ภารกิจตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน | 26 | 1,085,000,000.00 |
1.1 โรงงาน/อาคารควบคุม | 3 | 110,000,000.00 |
1.2 อาคารที่จะก่อสร้าง หรือดัดแปลง | 1 | 20,000,000.00 |
1.3 เครื่องจักร อุปกรณ์ | 6 | 80,500,000.00 |
1.4 มาตรการส่งเสริม ช่วยเหลือ | 5 | 473,000,000.00 |
1.5 อาคารของรัฐ | 2 | 125,000,000.00 |
1.6 โรงงาน/อาคารทั่วไป (นอกข่ายควบคุม) | 9 | 276,500,000.00 |
2. ภารกิจตามยุทธศาสตร์ระดับชาติ นโยบายรัฐบาล และกระทรวงพลังงาน | 26 | 736,360,560.00 |
2.1 ด้านพลังงานทดแทน | ||
(1) ผลักดันการผลิตและใช้เอทานอล | 1 | 4,500,000.00 |
(2) พัฒนาและบูรณาการแผนงานวิจัยให้ตอบสนอง REDP 15 ปี | 17 | 498,436,680.00 |
(3) สร้างเครือข่ายพลังงานหมุนเวียน | 6 | 191,423,880.00 |
2.2 ด้านอนุรักษ์พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพ | ||
(1) สร้างเครือข่ายต้นแบบการประหยัดพลังงาน | 1 | 7,000,000.00 |
(2) พัฒนาและบูรณาการแผนงานวิจัยให้เป็นระบบ | 1 | 35,000,000.00 |
3. การจัดสรรเงินตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ | 26 | 574,892,244.00 |
3.1 โครงการสาธิต หรือโครงการริเริ่ม | 1 | 15,000,000.00 |
3.2 โครงการพัฒนาบุคลากร ฝึกอบรม และการประชุม | 18 | 156,800,000.00 |
3.3 โครงการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูล | 3 | 250,000,000.00 |
3.4 ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน | 4 | 153,092,244.00 |
รวม | 78 | 2,396,252,804.00 |
ทั้งนี้ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของกองทุนฯ คาดว่าจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานลงได้อีก 90.23 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อปี หรือเท่ากับ 1,501 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ณ ปี 2554 และมีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้แทนพลังงานเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น 14.65 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อปี หรือเท่ากับ 108.87 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ณ ปี 2554
มติของที่ประชุม
1.รับทราบงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2552 ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
2.มอบหมายให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พิจารณาความเหมาะสมในการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โครงการลงทุนพัฒนาระบบการขนส่ง
- กพช. ครั้งที่ 125 - วันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2552 (2154 Downloads)