• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับองค์กร
    • เกี่ยวกับองค์กร
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และหน้าที่
    • โครงสร้างองค์กร
    • ติดต่อเรา
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ผังเว็บไซต์

    ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง

    • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • วิสัยทัศน์และนโยบายต่างๆ
    • การบริหารงานด้าน ICT
    • ข่าวสารจากซีไอโอ
    • ปฏิทินกิจกรรมซีไอโอ
  • นโยบายและแผน
    • คำแถลงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล
    • นโยบายด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
    • แผนแม่บทพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • แผนปฏิบัติราชการรายปี และแผนปฎิบติราชการระยะ 5 ปี

    แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB)

    • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
    • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
    • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
    • แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
    • แผนจัดหาก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)

    การติดตามและประเมินผล

    • รายงานผลการประเมินดัชนีชี้วัดด้านพลังงานของประเทศไทย
    • รายงานความก้าวหน้าตามแผนปฏิบัติราชการ
    • รายงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
    • การดำเนินงานด้านพลังงานของ สนพ.
    • โครงการภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • การดำเนินงานตามมติ กพช.

    ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    • สหประชาชาติ

      • กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (UNFCCC)
      • การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP)
      • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

        • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
        • Joint Implementation (JI)
        • Emission Trading (ET)
        • Clean Development Mechanism (CDM)
        • Paris Agreement Adopted
        • Bali Action Plan

          • Bali Action Plan
          • AWG-LCA
          • NAMAS
          • Sectoral Approach : SA
          • MRV
          • AWG-KP
          • Concun Agreement
          • ประเทศไทย

            • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2550
            • คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
            • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
            • แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
            • แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564
            • ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2551-2555
            • กระทรวงพลังงาน

              • คณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ
              • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
              • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
              • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
              • อภิธานศัพท์
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
    • พระราชบัญญัติ / พระราชกำหนด
    • คำสั่งนายกรัฐมนตรี
    • กฏกระทรวง
    • มติ ครม.ด้านพลังงาน
    • คำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้อง กับ สนพ.
    • ประกาศ/คำสั่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • การจัดทำสรุปสาระสำคัญและคำแปลกฎหมาย
    • การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
  • คณะกรรมการ/อนุกรรมการ
    • คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
    • คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
    • คณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม
    • คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)

    คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)

    • มติ
    • คำสั่ง
    • ประกาศ

    คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

    • มติ
    • คำสั่ง
    • ประกาศ

    คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กทอ.)

    • คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณกองทุนฯ
    • คณะอนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
    • มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • มติคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
  • บริการข้อมูลข่าวสาร
    • สถานการณ์พลังงาน
    • วารสารนโยบายพลังงาน
    • รายงานประจำปี
    • รายงานสถิติพลังงานประจำปี
    • รายงานผลการศีกษานโยบายพลังงาน
    • จดหมายข่าวอนุรักษ์พลังงาน
    • ข่าว สนพ.
    • ข่าวพลังงาน
    • ประชาสัมพันธ์
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศรับสมัครงาน
    • ห้องสมุด สนพ.
    • INFOGRAPHIC
    • FAQ
    • บริการประชาชน
    • ธรรมบาลข้อมูล

    เอกสารเผยแพร่ / หนังสือ / สาระน่ารู้

    • เอกสารเผยแพร่
    • หนังสือ
    • สาระน่ารู้
  • การกำกับดูแลองค์กร
    • การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
    • ศูนย์ประสานราชการใสสะอาด
    • ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาค ระหว่างหญิงชาย
    • ศูนย์บริการร่วม
    • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
    • ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
    • กลุ่มงานจริยธรรม
    • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    การพัฒนาระบบบริหาร

    • นโยบายการกำกับองค์กรที่ดี
    • กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ
    • คำรับรองการปฏิบัติราชการ (KPI)
    • การควบคุมภายใน
    • การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
    • มาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงาน
    • แผนปฏิรูปองค์การ
    • การแบ่งส่วนราชการภายในกรม
    • ITA

      • ITA 2565
      • ITA 2566

    สรุปผลการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง

    • งบประมาณ
    • กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
วันพุธ, 06 กรกฎาคม 2559 10:19

encon fund

มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ครั้งที่ 4/2545 (ครั้งที่ 30)
วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล


1. ขอความเห็นชอบกรอบการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน

2. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการประเมินผลแผนอนุรักษ์พลังงาน

3. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไม่ครบถ้วน


รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) ประธานกรรมการ
รองเลขาธิการฯ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (นายเมตตา บันเทิงสุข) กรรมการและเลขานุการ

ท่านประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ท่านประธานได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานประกอบรถยนต์ของบริษัทฮอนด้า ซึ่งบนหลังคาอาคารสำนักงานของบริษัทได้ติดตั้งระผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในอาคาร โดยบริษัทเป็นผู้ลงทุนในการติดตั้งระบบเองทั้งหมด ท่านประธานจึงมีความเห็นว่ากองทุนฯ ควรมีมาตรการในการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ลงทุนทางด้านการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียนด้วย เช่น การมอบรางวัลชมเชยให้แก่บริษัทที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่บริษัทฯ และบริษัทอื่นๆ ที่สนใจจะเป็นใช้ตัวอย่างเพื่อพัฒนาด้านการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในองค์กร ฯ


เรื่องที่ 1 ขอความเห็นชอบกรอบการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน

1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า ตามที่มีผู้สนใจจะลงทุนผลิตและขายไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นเชื้อเพลิง (Small Power Producer: SPP) จำนวน 43 ราย ได้ยื่นข้อเสนอขอรับเงินสนับสนุนค่าพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จากอัตรารับซื้อของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามประกาศของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ใน "โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน" และคณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 21 มีนาคม2545 และวันที่ 20 มิถุนายน 2545 ได้พิจารณาข้อเสนอทั้ง 43 ราย แล้ว สรุปผลได้ดังนี้

(1) มี SPP รวมทั้งสิ้น 31 โครงการ ที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้น โดย SPP ทั้ง 31 ราย ต้องจัดทำแผนการรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน และ สพช. จะต้องนำผู้แทนของกองทุนฯ เข้าไปในพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้า เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่นั้นและรายงานผลเป็นข้อสังเกตและความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการกองทุนฯ ในการอนุมัติให้การสนับสนุนโครงการฯ

(2) อนุมัติให้ สพช. เบิกค่าใช้จ่ายในการติดตามดูแลและสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ จากกองทุนฯ โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน ในวงเงิน 69 ล้านบาท

(3) ให้ สพช. พิจารณากำหนดมาตรการควบคุมที่เข้มงวดและจริงจังและการจัดการกับ SPP ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อตกลงในการนำ กาก เศษวัสดุเหลือใช้ ขยะมูลฝอยหรือไม้ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กนั้น แล้วก่อให้เกิดมลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

(4) คณะกรรมการกองทุนฯ เห็นควรจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเกาะติดสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่และรายงานความเป็นไปให้คณะกรรมการกองทุนฯ ได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนให้ตั้งคณะทำงานพิเศษขึ้นโดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นักวิชาการอิสระ ผู้แทนจากชุมชน และเจ้าของโรงไฟฟ้า เพื่อมีส่วนร่วมในการทำหน้าที่ติดตามการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าต่างๆ ในแต่ละพื้นที่

2. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า ในการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ จะนำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินการโครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 แผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน

ส่วนที 2 กรอบการพิจารณาแผนรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่

ส่วนที่ 3 กรอบการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน

3. สพช. ได้ขออนุญาตต่อที่ประชุมให้ บริษัท ทริปเปิล เจ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ของโครงการฯ ได้นำเสนอรายงานต่อที่ประชุมในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 สรุปได้ดังนี้

ส่วนที่ 1 แผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับทราบความเป็นมาและมีความเข้าใจที่ดีต่อโครงการ SPP โดยใช้กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ 3 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี กลยุทธ์การสร้างแนวร่วม และกลยุทธ์การสร้างแนวป้องกัน ซึ่งสามารถแปลงเป็นกิจกรรมการสื่อสารต่างๆ ได้ 4 กิจกรรม ดังนี้

(1) ศูนย์ประสานงานโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อดำเนินกลยุทธ์สร้างแนวร่วมและแนวป้องกัน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ติดตามการดำเนินการประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ และเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นระหว่างประชาชนในพื้นที่กับ SPP โดย สพช. ได้ว่าจ้างบริษัท ดีวายทู จำกัด ให้เป็นผู้ดำเนินการในวงเงิน 7,000,000 บาท

(2) ศูนย์ประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์และสร้างแนวร่วม เพื่อให้สื่อมวลชนทุกแขนงได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับโครงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน ที่ถูกต้องเป็นจริงและครบถ้วน

(3) ผู้ผลิตสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโครงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน

(4) ผู้ผลิตสื่อและจัดกิจกรรมการสื่อสารในพื้นที่ เพื่อสร้างสร้างเครื่องมือในการสื่อสารเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน ไปสู่กลุ่มเป้าหมายให้ตรงกับพฤติกรรมของประชาชนในแต่ละพื้นที่

สำหรับกิจกรรม (2)-(4) นั้นขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการเปิดให้ผู้สนใจรับ TOR และคาดว่าจะสามารถดำเนินการจัดจ้างผู้มาดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมได้ภายในเดือนตุลาคม 2545

ส่วนที่ 2 กรอบการพิจารณาแผนรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากแผนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในแต่ละพื้นที่ จะมีกิจกรรมที่หลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ดังนั้น สพช. จึงกำหนดกรอบการพิจารณาที่เป็นกลางขึ้นเป็นเครื่องมือในการประเมินระดับความพอใจที่มีต่อแผนการรับฟังความคิดเห็นให้การพิจารณาของ SPP ทั้ง 31 ราย ซึ่งสามารถแบ่งการพิจารณา ออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

(1) กรอบการพิจารณาแผนฯ

พิจารณาพื้นที่เป้าหมาย ต้องดำเนินกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นประชาชนโดยครอบคลุมพื้นที่ในรัศมี 10 กิโลเมตร ประกอบด้วย พื้นที่หลัก (0-3 กิโลเมตร จากที่ตั้งโรงไฟฟ้า) และพื้นที่รอง (3-10 กิโลเมตร)

พิจารณากลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ แผนต้องมีความชัดเจนที่จะดำเนินกิจกรรมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นในทุกกลุ่มเป้าหมาย

พิจารณาเอกสารประกอบการชี้แจง ต้องมีเอกสารประกอบการชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นเพื่อสื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบ เช่น ข้อมูลพื้นฐานของโครงการผลิตไฟฟ้า ประโยชน์ของโครงการฯ

พิจารณาความชัดเจนของแผน แผนรับฟังความคิดเห็นต้องมีความชัดเจนของวัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการรับฟังความคิดเห็น ข้อมูลที่จะจัดเก็บเพื่อจัดทำรายงานผลการรับฟังความคิดเห็น กระบวนการดำเนินงาน และปัจจัยประกอบอื่นๆ

ผลการพิจารณาแผนการรับฟังความคิดเห็น

สพช. ได้ส่งแผนการรับฟังความคิดเห็นของ SPP ทั้ง 17 ราย ให้บริษัท ทริปเปิล เจ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด รับไปพิจารณาตามกรอบที่กำหนดในข้อ (1) สรุปได้ว่า

มี SPP จำนวน 7 ราย ที่มีแผนการรับฟังความคิดเห็นที่ชัดเจน และเห็นควรให้ดำเนินการได้ตามแผนงานที่เสนอมา

มี SPP จำนวน 6 ราย ที่ควรปรับปรุงแผนตามคำแนะนำก่อนดำเนินการ เนื่องจากขาดรายละเอียดของความชัดเจนในบางประเด็น

มี SPP จำนวน 3 ราย ที่ควรจำทำแผนการรับฟังใหม่ และมี SPP จำนวน 1 ราย ที่ขอระงับโครงการฯ จึงไม่ได้เสนอแผน

(2) การเข้าร่วมสังเกตการณ์รับฟังความคิดเห็น

โดยกำหนดแนวทางการสังเกตการณ์ ประกอบด้วย การประเมินวิธีการดำเนินการเปรียบเทียบกับแผนฯ ประเมินวิธีการชี้แจงของ SPP ประเมินการตอบข้อซักถามของผู้เข้าร่วมประชุม และประเมินการคัดค้านของผู้เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น โดยกำหนดระดับการวัดผลเป็น 3 ระดับ คือ ชัดเจนดี พอใช้ และควรปรับปรุง

ผลการร่วมสังเกตการณ์การรับฟังความคิดเห็น

ในระหว่างเดือนมิถุนายน 2545 - สิงหาคม 2545 ผู้แทนจาก สพช. ได้ไปร่วมสังเกตการณ์การดำเนินกิจกรรมของ SPP จำนวน 8 ราย สรุปได้ว่ามี SPP จำนวน 3 ราย ที่อยู่ในระดับดี 4 รายอยู่ในระดับพอใช้ และ 1 รายที่ควรปรับปรุง

(3) การวิเคราะห์ผลการรับฟังความคิดเห็น

เมื่อ SPP แต่ละรายได้ดำเนินการกิจกรรมตามแผนรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนแล้วSPP จะจัดทำรายงานผลให้ สพช. ทราบ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา สพช. จึงกำหนดแนวทางในการประเมินความน่าเชื่อถือของรายงานที่ SPP จัดทำมา โดยแบ่งการพิจารณาเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 จากรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นของ SPP ซึ่งประกอบด้วย รายงานผลการดำเนินการตามแผนรับฟังความคิดเห็น และรายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของชุมชน

ส่วนที่ 2 ตรวจสอบโดย สพช. ซึ่งประกอบด้วย ผลการเข้าร่วมสังเกตการณ์รับฟังความคิดเห็น และผลการสำรวจข้อมูลเชิงลึกโดยศูนย์ประสานงานโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน

ทั้งนี้จะต้องผ่านการเกณฑ์การพิจารณา ทั้ง 2 ส่วน จึงถือว่าผ่านการพิจารณา โดยมีเกณฑ์การพิจารณาในแต่ละส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 พิจารณาจากรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นของ SPP ซึ่งดำเนินงานตามแผนฯ ที่เสนอ โดยต้องมีรายละเอียดครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายและกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ประเด็นที่ชี้แจงครอบคลุมเนื้อหาที่สำคัญ และมีเอกสารหลักฐานประกอบรายงาน ส่วนผลการสำรวจความคิดเห็นชุมชน จะต้องมีวิธีการสำรวจความคิดเห็นเป็นไปตามหลักวิชาสถิติ เนื้อหาแบบสำรวจสะท้อนทัศนคติของชุมชนที่มีต่อโรงไฟฟ้า และผลการสำรวจความคิดเห็นมีผู้คัดค้านไม่เกินร้อยละ 20

ส่วนที่ 2 พิจารณาจากการตรวจสอบของ สพช. จากการร่วมสังเกตการณ์รับฟังความคิดเห็น โดยพิจารณาประเด็นการชี้แจงของ SPP ที่ครบถ้วนถูกต้อง การตอบข้อซักถามชัดเจน และมีผู้คัดค้านไม่เกินร้อยละ 20 รวมทั้งพิจารณาจากข้อมูลผลการสำรวจเชิงลึก

ผลการรับฟังความคิดเห็น

จากกรอบการประเมินผลตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น (ไม่รวมการสำรวจข้อมูลเชิงลึก) เมื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลความน่าจะเป็นที่ SPP ทั้ง 17 รายแรกได้ดำเนินการตามแผนการรับฟังความคิดเห็นแล้ว สามารถสรุปได้ว่าโอกาสที่ SPP แต่ละราย จะสามารถสร้างโรงไฟฟ้า ดังนี้

น่าจะผ่าน พยายามมากขึ้น เสี่ยงสูง

1. กฟผ. เขื่อนป่าสักชลสิทธ์

2. กฟผ. เขื่อนคลองท่าด่าน

3. กฟผ. เขื่อนเจ้าพระยา

4. บริษัทอุตสาหกรรมโคราช

5. บริษัท ทีพีเคสตาร์ช นครราชสีมา

6. บริษัท พีอาร์จีพืชผล ปทุมธานี

1. บริษัทเซ็นทรัลเอ็นเนอร์จี อยุธยา

2. บริษัทเซ็นทรัลเอ็นเนอร์จี อยุธยา

3. บริษัทเอทีไบโอพาวเวอร์ นครปฐม

4. บริษัทกัลฟ์อิเล็คทริค ตรัง

5. บริษัทเอ็นวาย ชูการ์ นครราชสีมา

6. บริษัทกัลฟ์อิเล็คทริค ยะลา

1. บริษัทเอที ไบโอพาวเวอร์ นครสวรรค์

2. บริษัทเอที ไบโอพาวเวอร์ สิงห์บุรี

3. บริษัทไบโอแมส เพาเวอร์ ชัยนาท

4. บริษัทวีโอกรีน เพาเวอร์ นครปฐม

หมายเหตุ บริษัทอาร์วีกรีนเพาเวอร์ ขอระงับโครงการ

(4) การสำรวจข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่

สพช. ได้จ้าง บริษัทดีวายทู จำกัด เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม "ศูนย์ประสานงานโครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน" โดยบริษัทฯ จะสำรวจข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่ด้วยวิธีสัมภาษณ์ตัวต่อตัวแบบเดินชน และเลือกเก็บข้อมูลเฉพาะกลุ่ม โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น ข้อมูลด้านความคิดเห็น ข้อมูลวัดผลการดำเนินกิจกรรม และข้อมูลเพื่อการตรวจสอบ ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจะนำไปเปรียบเทียบกับรายงานของ SPP รวมถึงใช้วัดผลสำเร็จของ SPP ด้วย

4. เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของ SPP ที่ได้รับสนับสนุนจากกองทุนฯ และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง และเพื่อป้องกัน/แก้ไขปัญหามลพิษที่อาจเกิดขึ้นจากการผลิตไฟฟ้าในโครงการฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม "คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคความร่วมมือ" และ "คณะทำงานโครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน" ได้มีการประชุมร่วมกัน เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2545 และให้ความเห็นชอบกรอบแนวทางและเครื่องมือในการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของแต่ละ SPP ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ อย่างใกล้ชิด และให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯ

5. สพช. ได้ขออนุญาตให้ บริษัท AEA Technology (Thailand) จำกัด ที่ปรึกษาโครงการ SPP นำเสนอกรอบการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้

5.1 การจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคี ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานราชการระดับท้องถิ่น (จังหวัด) ผู้แทนจากชุมชนที่ตั้งโครงการ และผู้แทนจากผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้า ซึ่งคณะกรรมการฯ มีหน้าที่ ดังนี้

(1) หน่วยงานราชการระดับท้องถิ่น (จังหวัด) เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคีดังกล่าว โดยมีผู้แทนจากทั้ง 3 ฝ่าย ในสัดส่วนที่เท่ากัน และควรมีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้าเป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมการไตรภาคีด้วย เพื่อให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะด้านเทคนิค โดยให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการฯ ร่วมกันอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง เพื่อให้เป็นเวทีที่ชุมชน ผู้ประกอบการ และหน่วยงานรัฐ ได้รับทราบและร่วมกันพิจารณาแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า รวมทั้งเป็นอีกมิติหนึ่งของ "องค์กรชุมชน" ที่ประชาชนในชุมชนได้มีโอกาสรับรู้สิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในชุมชนและมีส่วนร่วมในการผลักดันแนวทางเพื่อพัฒนาชุมชนของตนเอง

(2) "คณะกรรมการไตรภาคี" มีสิทธิในการเข้าตรวจสอบการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า และเสนอแนะแนวทางปฏิบัติสำหรับโรงไฟฟ้าเพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบจากโครงการฯ รวมทั้งบังคับให้หยุดการผลิตไฟฟ้าในกรณีที่การผลิตไฟฟ้าดังกล่าวส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม

5.2 กำหนดรูปแบบการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการตรวจสอบประเมินผล เพื่อให้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ และใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาผลการดำเนินงานของโครงการฯ ให้กับคณะกรรมการไตรภาคี โดยมีขั้นตอนดังนี้

(1) ศึกษาความเหมาะสมและกำหนดรูปแบบการรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผล โดยมีรูปแบบเป็นการรายงานผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance Report) ซึ่งประกอบด้วย

ดัชนีวัดสภาวะด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Conditioning Indicators) เป็นดัชนีที่ชี้ประเด็นความสำคัญของผลการดำเนินโครงการฯ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยมีค่าชี้วัดจากความพึงพอใจของชุมชนและการสนองตอบต่อนโยบายระดับประเทศ เช่น ความพึงพอใจของชุมชนในรัศมี 5-10 กิโลเมตรรอบที่ตั้งโรงไฟฟ้า เป็นต้น โดยใช้แบบสำรวจมาตรฐานจำนวนประชากรที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากมลพิษที่เกิดจากโรงไฟฟ้า เช่น ฝุ่นขี้เถ้าเข้าตา ปริมาณก๊าซเรือนกระจก อัตราการจ้างงาน การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในท้องถิ่น และสถิติการก่อปัญหาอาชญากรรมเป็นต้น

ดัชนีวัดผลปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance Indicators) เป็นดัชนีที่วัดผลการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้า เช่น ความเข้มข้นของมลพิษที่ปล่อยจากปล่อง คุณภาพน้ำทิ้งจากโรงไฟฟ้า คุณภาพน้ำใต้ดิน เป็นต้น

(2) ศึกษาและประมวลข้อมูลเบื้องต้นของ SPP ที่ได้รับอนุมัติทั้งหมด ทั้งด้านเทคนิค สถานที่ตั้ง ภูมิประเทศ และความหนาแน่นของชุมชนรอบข้าง เพื่อกำหนดแนวทางการลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลเชิงลึก และรูปแบบของแบบสอบถามมาตรฐานที่ใช้ประเมินความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อโครงการฯ รวมทั้งกำหนดแนวทางการประมวลผลข้อมูลที่จัดเก็บให้อยู่ในรูปแบบดัชนีที่เหมาะสมและง่ายต่อการทำความเข้าใจของคณะกรรมการไตรภาคี ซึ่งแต่ละโครงการฯ จะใช้ดัชนีที่เหมือนกันเพื่อให้สามารถประเมินเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของแต่ละโครงการฯ ได้

(3) จากข้อ (1) และ (2) จะเป็นแนวทางกำหนดขอบเขตงานให้หน่วยงานที่จะดำเนินการเก็บข้อมูลและจัดทำรายงานดังกล่าวเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการไตรภาคี และคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง โดยมีความถี่ในการจัดเก็บข้อมูลและรายงานผลประมาณ 3-6 เดือน/ครั้ง โดย สพช. จะมีกรอบการคัดเลือกและจัดจ้างหน่วยงานที่จะดำเนินการเก็บข้อมูล โดยอาจแบ่งการดำเนินการออกเป็นภาคๆ (Zonal) และหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายต้องไม่มีส่วนร่วมรับผลประโยชน์หรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการฯ

5.3 เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนฯ สามารถตัดสินใจที่จะอนุมัติหรือไม่ควรอนุมัติเงินสนับสนุนให้กับแต่ละ SPP ได้อย่างชัดเจน ฝ่ายเลขานุการฯ เห็นควรแต่งตั้งผู้แทนจากคณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมเดินทางไปกับผู้แทนของคณะอนุกรรมการฯ คณะทำงานฯ และฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อสังเกตการณ์ในพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าเป็นรายโครงการ ซึ่งผู้แทนคณะกรรมการกองทุนฯ จะได้รับทราบข้อมูลเชิงลึกในแต่ละพื้นที่ สามารถเปรียบเทียบกับกระแสข่าวและรายงานผลที่ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ และเป็นผู้ให้ความเห็นต่อคณะกรรมการกองทุนฯ ประกอบการตัดสินใจ

มติที่ประชุม

1. เห็นชอบกรอบการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นเชื้อเพลิงที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตามที่ สพช. เสนอและให้ฝ่ายเลขานุการฯ ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานงานกับ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือในการประสานงานกับหน่วยงานราชการระดับท้องถิ่น (จังหวัด) ในการดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคี ตามแนวทางที่กำหนดไว้

2. เห็นควรแต่งตั้งผู้แทนจากคณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมเดินทางไปกับผู้แทนของคณะอนุกรรมการฯ คณะทำงานฯ และฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อสังเกตการณ์และรับทราบข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้า


เรื่องที่ 2 ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการประเมินผลแผนอนุรักษ์พลังงาน

1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่าตามที่ ประธานกรรมการกองทุนฯ (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ได้มีคำสั่งคณะกรรมการกองทุนฯ ที่ 1/2542 ลงวันที่ 5 เมษายน 2542 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประเมินผลแผนงานอนุรักษ์พลังงาน โดยมีนายสิปปนนท์ เกตุทัต เป็นประธานคณะอนุกรรมการดังกล่าว

2. นายสิปปนนท์ เกตุทัต ได้มีหนังสือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ นร 1041/1790 ลงวันที่ 12 เมษายน 2545 แจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ว่าขอลาออกจากประธานอนุกรรมการประเมินผลแผนงานอนุรักษ์พลังงาน ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ 2535 สพช. จึงขอปรับปรุงองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการประเมินผลแผนอนุรักษ์พลังงาน โดยให้คงอำนาจและหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ ไว้คงเดิม โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

(1) นายปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานอนุกรรมการ
(2) นายปิยะวัติ บุญ-หลง อนุกรรมการ
(3) นายเทียนฉาย กีระนันทน์ อนุกรรมการ
(4) นายมานิจ ทองประเสริฐ อนุกรรมการ
(5) นายศุภชาติ จงไพบูลย์พัฒนะ อนุกรรมการ
(6) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เลขานุการ

มติที่ประชุม

เห็นชอบกับการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการประเมินผลแผนอนุรักษ์พลังงาน ตามที่ สพช. เสนอและให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำคำสั่งแต่งตั้งเสนอประธานกรรมการกองทุนฯ ลงนามต่อไป


เรื่องที่ 3 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไม่ครบถ้วน

1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมตามว่า ตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2544 (ครั้งที่ 24) เมื่อวันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2544 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้มีการวางเงินประกันการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่ผู้ประกอบการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไว้ล่วงหน้า โดยมอบหมายให้กรมสรรพสามิต กรมบัญชีกลางและ สพช. รับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ต่อไป

2. กรมสรรพสามิต ได้จัดให้มีการประชุมผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน2544 เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขในการส่งเงินเข้ากองทุนฯ ของบริษัทฯ น้ำมันส่งขาด โดยให้กรมสรรพสามิต เป็นผู้ร่างระเบียบฯ แล้วมอบให้ สพช. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการกองทุนฯ เป็นผู้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบก่อนมีการประกาศ สพช.จึงได้เชิญผู้เกี่ยวข้อง คือ ผู้แทนกรมสรรพสามิต ผู้แทนกรมบัญชีกลาง และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มาร่วมประชุมเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2545 เพื่อพิจารณาร่างระเบียบกรมสรรพสามิต และที่ประชุมได้มีมติให้กรมสรรพสามิตแก้ไขเพิ่มเติมร่างระเบียบในข้อ 8 และข้อ 9 ต่อไป

3. กรมสรรพสามิต ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค. 0713/21709 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 ถึง สพช. เพื่อนำส่งร่างระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการขอรับเงินคืนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และรายชื่อผู้ประกอบอุตสาหกรรมน้ำมัน และผลิตภัณฑ์น้ำมัน ส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไม่ครบถ้วน จำนวน 13 ราย เพื่อให้ ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พิจารณาแนวทางผ่อนผันในการดำเนินคดีย้อนหลังให้กับผู้ค้าน้ำมันต่อไป โดยได้แจ้งสาเหตุการส่งเงินไม่ครบถ้วนเกิดจากกรณี ดังต่อไปนี้

3.1 เกิดจากการคำนวณปริมาณผิดพลาด เนื่องจาก

(1) ทางคลังน้ำมันต่างจังหวัดที่เป็นผู้จ่ายน้ำมันแจ้งยอดการจ่ายน้ำมันไม่ถูกต้องทำให้ทางสำนักงานใหญ่ที่เป็นผู้เสียภาษีชำระภาษีขาดไป แต่เมื่อบริษัทฯ ตรวจสอบพบเองก็ชำระเพิ่มเติมมา

(2) การจ่ายน้ำมันทางคลังจะวัดปริมาณที่อุณหภูมิปกติและจะต้องคำนวณปริมาณมาเป็นที่อุณหภูมิ 86F หรือ 30C ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ใช้สำหรับเสียภาษี ทางคลังจะแจ้งตัวเลขปริมาณที่อุณหภูมิปกติซึ่งไม่ถูกต้อง

(3) โดยปกติบริษัทฯ จะยื่นชำระภาษีเป็นรายสัปดาห์หรือ 3 วันต่อครั้ง แต่รายละเอียดการนำน้ำมันออกจากคลังแต่ละวันเมื่อรวมยอดทั้งสัปดาห์รวมยอดขาดไปเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์รวมยอดขาดไปหนึ่งวันทำให้ชำระภาษีขาดไปในงวดนั้น

3.2 เกิดจากการพิมพ์ตัวเลขสลับกัน เช่น ปริมาณรวมที่ต้องเสียภาษี 100,563 ลิตร แต่พิมพ์ตัวเลขในแบบรายการภาษีเป็น 100,536 ลิตร และคำนวณเสียภาษีขาดไป ทำให้การส่งเงินเข้ากองทุนขาดไปด้วย

3.3 เกิดจากการปัดเศษจากการคำนวณปริมาณสารเติมแต่งน้ำมันที่จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ ปริมาณสารเติมแต่งที่ผสมเมื่อคำนวณตามสูตรแล้วจะเป็นเศษของลิตร การชำระภาษีสรรพสามิตการคำนวณเสียภาษีเศษของลิตรให้คิดเป็นหนึ่งลิตร แต่บางครั้งบริษัทฯ ปัดเศษขึ้นบ้างปัดเศษลงบ้าง เมื่อรวมปริมาณของทุกวันแล้วทำให้ปริมาณที่ยื่นชำระภาษีขาดไป เป็นเหตุให้ส่งเงินเข้ากองทุนขาดไป

4. จากเหตุผลตามที่กรมสรรพสามิต ได้นำเสนอในข้อ 3 เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงเบื้องต้นและพฤติกรรมการส่งเงินเข้ากองทุนฯ ของผู้ประกอบอุตสาหกรรมฯ จะเห็นว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมฯ มิได้มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงแต่อย่างใด เป็นกรณีซึ่งผู้ประกอบอุตสาหกรรมฯ ตรวจสอบพบเองและได้ส่งเงินส่วนที่ขาดพร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 3 ต่อเดือนครบถ้วน โดยมิได้เกิดจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ เหตุปัญหาเกิดจากข้อผิดพลาดทางเทคนิค ผู้ประกอบอุตสาหกรรมฯน่าจะได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาผ่อนผันการดำเนินคดีย้อนหลัง ประกอบกับพระราชบัญญัติเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ไม่ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ให้คณะกรรมการกองทุนฯ มีอำนาจพิจารณาการผ่อนผันกรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมฯ ส่งเงินไม่ครบถ้วนไว้ ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณาแล้ว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมฯ ซึ่งขณะนี้อยู่ในกระบวนการที่กรมสรรพสามิตยังหยุดยั้งอยู่ จึงเห็นควรนำส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาหาแนวทางผ่อนคลายปัญหาดังกล่าวให้กับผู้ประกอบอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันต่อไป

มติที่ประชุม

1. รับทราบร่างระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และการขอรับเงินคืนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

2. เห็นชอบให้ สพช. ส่งเรื่อง ผู้ประกอบอุตสาหกรรมฯส่งเงินไม่ครบถ้วน ไปหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อพิจารณาหาแนวทางผ่อนคลายปัญหาดังกล่าวกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ตามที่กรมสรรพสามิตหารือมา

Read 2207 times Last modified on วันพุธ, 06 กรกฎาคม 2559 11:12
Tweet
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400  โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364 Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เว็บนี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดบน Internet Explorer 11 Chrome และ Firefox ทุกเวอร์ชั่น

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์