มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ครั้งที่ 5/2545(ครั้งที่ 31)
วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2545 เวลา 09.30 น.
ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล
1. ผลการศึกษาการดำเนินการกับเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกโดยโครงการอาคารของรัฐ
2.รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
3. โครงการการแก้ไขปัญหาจราจรคับคั่งในระบบทางด่วนขั้นที่ 1
4. โครงการธนาคารขยะเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษามหาวชิราลงกรณฯ
7. ขออนุมัติโครงการศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานภายในอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ
รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) ประธานกรรมการ
รองเลขาธิการฯ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (นายเมตตา บันเทิงสุข) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 ผลการศึกษาการดำเนินการกับเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกโดยโครงการอาคารของรัฐ
1. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2543 ได้พิจารณาเรื่องมาตรการป้องกันการนำเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกในกรณีการปรับปรุงอุปกรณ์ประหยัดพลังงานในโครงการอาคารของรัฐ ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน โครงการอาคารของรัฐ ซึ่งดำเนินการโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน แล้วที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้ พพ. ประสานงานกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินในเรื่องการไม่ให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่เข้าร่วมโครงการอาคารของรัฐที่ได้ดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน โดยการใช้มาตรการการปรับปรุงเครื่องปรับอากาศ โอนเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกไปให้ส่วนราชการอื่นที่ยังขาดแคลนและมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศ
2. เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับในแนวทางในการทำลายหรือจัดการกับเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี พพ. ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ทำการศึกษาแนวทางการดำเนินการกับเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกโดยโครงการอาคารของรัฐ ซึ่ง มจธ. ดำเนินการศึกษาในเรื่องดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว และ พพ. ได้นำผลการศึกษาดังกล่าว เสนอต่อคณะที่ปรึกษาของ พพ. พิจารณาตรวจรับเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งได้นำผลการศึกษาดังกล่าวเสนอต่อคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับ เพื่อรับทราบผลการศึกษาดังกล่าวแล้ว ซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษาและแนวทางการดำเนินการได้ ดังนี้
2.1 เครื่องปรับอากาศที่หมดสภาพการใช้งานที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ให้เจ้าของอาคารแยกชิ้นส่วนเพื่อจำหน่าย
2.2 เครื่องปรับอากาศที่ใช้งานตั้งแต่อายุ 7-10 ปี มอบให้สถานศึกษาเพื่อเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน
2.3 การ Combination โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศโดยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ระหว่างเครื่องปรับอากาศเก่าด้วยกัน (นำคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศขนาดทำความเย็น 12,000 BTU และ 18,000 BTU นำไปติดตั้งใช้งานกับชุดคอยล์ร้อนและคอยล์เย็นของเครื่องปรับอากาศขนาด 24,000 BTU และ 36,000 BTU) ซึ่งในเรื่องดังกล่าว คณะที่ปรึกษา พพ. ได้ให้ความเห็นที่อาจจะเป็นปัญหาทางด้านเทคนิค ดังนี้
(1) อายุเครื่องปรับอากาศตามที่ทำการศึกษา ได้ใช้อ้างอิงว่ามีอายุ 15 ปีนั้น เป็นอายุการใช้งานที่ใช้สำหรับการให้การบริการบำรุงรักษา (Service Life) ไม่ใช่อายุการใช้งานจริงๆ ของเครื่องปรับอากาศ ดังนั้น ควรระบุให้ชัดเจน
(2) การนำ Compressor ขนาดเล็กไปใช้กับเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้โดยเฉพาะเมื่อท่อน้ำยามีความยาวมาก
(3) การเพิ่มพื้นที่ของ Fan Coil Unit จะมีผลต่ออุณหภูมิทางด้าน Suction ซึ่งไม่ควรเกิน 45°F
(4) ในปัจจุบันสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อยู่ในระหว่างการดำเนินการจะบังคับให้เครื่องปรับอากาศที่ใช้งานในอนาคตจะต้องมีค่า EER ไม่ต่ำกว่า 9.6 BTU/hr/w ดังนั้น หากทำการปรับปรุงแล้วทำให้ค่า EER ไม่ถึงที่กำหนด จึงไม่สมควรนำกลับมาใช้ใหม่
สรุปผลจากการดำเนินการ Combination ปรากฏว่า มีผลตอบแทนการลงทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่แท้จริง (EIRR)น้อยกว่าร้อยละ 9 ที่ราคาค่าไฟฟ้าของส่วนราชการปัจจุบัน คือ 2.47 บาท/หน่วย ซึ่งไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
2.4 ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับน้ำยา R-22 ให้มีการกักเก็บสารทำความเย็น R-22 เพื่อมิให้มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมค่าใช้จ่ายประมาณ 655 บาท/เครื่อง
2.5 แนวทางดำเนินการกับเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกโดยโครงการอาคารของรัฐ จากผลการศึกษาของ มจธ. เห็นควรนำมาดำเนินการในโครงการอาคารของรัฐ ดังต่อไปนี้
(1) เครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกจากโครงการอาคารของรัฐในการดำเนินการในปีงบประมาณ 2543 ประมาณ 3,000 ตัว ซึ่งรอผลการศึกษาของ พพ. อยู่ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรนั้นเห็นควรให้เจ้าของอาคารดำเนินการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศกลุ่มนี้ตามระเบียบพัสดุต่อไป
(2) เครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกโดยโครงการอาคารของรัฐตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 เป็นต้นไป ให้เจ้าของอาคารดำเนินการ คือ เครื่องปรับอากาศที่หมดสภาพการใช้งานที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ให้เจ้าของอาคารแยกชิ้นส่วนเพื่อจำหน่าย และสำหรับเครื่องปรับอากาศที่ใช้งานตั้งแต่อายุ 7-10 ปี มอบให้สถานศึกษาเพื่อเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน
2.6 พพ. ได้นำผลการศึกษาเรื่องดังกล่าว เสนอต่อคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับ ในการประชุมครั้งที่ 1/2545 (ครั้งที่ 22) เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2545 ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาดังกล่าวและแนวทางดำเนินการกับเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกโดยโครงการอาคารของรัฐ และที่ประชุมได้เสนอความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
(1) เพื่อเป็นการป้องกันการนำเครื่องปรับอากาศที่หมดสภาพการใช้งานที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ที่เจ้าของอาคารแยกชิ้นส่วนเพื่อจำหน่ายนำกลับมาใช้ใหม่ ควรจะให้ดำเนินการทำลายคอมเพรสเซอร์ไม่ให้สามารถใช้งานได้ก่อนแยกชิ้นส่วนเพื่อจำหน่าย เพื่อไม่ให้นำมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก จึงมีความเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินการกับเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกโดยโครงการอาคารของรัฐ ดังนี้
(2) เครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกจากโครงการอาคารของรัฐ ในการดำเนินการในปีงบประมาณ 2543 ประมาณ 3,000 ตัว ซึ่งรอผลการศึกษาของ พพ. นั้น เห็นควรให้เจ้าของอาคารดำเนินการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศกลุ่มนี้ตามระเบียบพัสดุต่อไป โดยก่อนจำหน่ายให้ดำเนินการทำลายคอมเพรสเซอร์ไม่ให้สามารถใช้งานได้อีก
(3) เครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกโดยโครงการอาคารของรัฐ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 เป็นต้นไป ให้เจ้าของอาคารดำเนินการตามข้อเสนอของ มจธ. ดังนี้
เครื่องปรับอากาศที่หมดสภาพการใช้งานที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ให้เจ้าของอาคารแยกชิ้นส่วนเพื่อจำหน่าย โดยก่อนจำหน่ายให้ดำเนินการทำลายคอมเพรสเซอร์ไม่ให้สามารถใช้งานได้อีก
เครื่องปรับอากาศที่ใช้งานตั้งแต่อายุ 7-10 ปี มอบให้สถานศึกษาเพื่อเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน
(4) ในกรณีที่จะขอสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนฯ เพื่อดำเนินการกักเก็บสารทำความเย็น R-22 มิให้มีผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 655 บาท/เครื่อง ควรจะระบุด้วยว่าเป็นการกักเก็บเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะสามารถลดการนำเข้าสารทำความเย็น R-22 ได้ พร้อมทั้งแสดงข้อมูลความคุ้มทุนหรือไม่ ในการให้การสนับสนุนของกองทุนฯ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
มติที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานการรับ-จ่าย เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544-31 กรกฎาคม 2545 เงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคาร ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2545 12,512,832,069.89 บาท
มติที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 โครงการการแก้ไขปัญหาจราจรคับคั่งในระบบทางด่วนขั้นที่ 1
1. คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้มีหนังสือที่ นร 0404/0892 ลงวันที่ 12 กันยายน 2545 ความว่า คจร. ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2545 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2545 ได้พิจารณาเรื่อง การแก้ไขปัญหาจราจรคับคั่งในระบบทางด่วนขั้นที่ 1 ซึ่งปัจจุบันระบบทางด่วนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 มีปริมาณการจราจรสูงมาก ขณะที่ทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D ต่อสายรามอินทรา-อาจณรงค์ ซึ่งเป็นโครงข่ายเดียวกันมีปริมาณจราจรน้อย สาเหตุสำคัญมาจากอัตราค่าผ่านทางที่แตกต่างกัน จึงได้มีมติให้ทดลองลดค่าผ่านทางจากดินแดง-บางนา (ขาออก) และจาก บางนา-ดินแดง (ขาเข้า) เป็นเวลา 3 เดือน โดยให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนฯ ในการทดลองลดค่าผ่านทางดังกล่าวเพื่อกระจายปริมาณการจราจรบนระบบทางด่วน ในวงเงินเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 9,000,000 บาท เพื่อชดเชยรายได้ให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ฝ่ายเลขานุการฯ จึงใคร่ขอเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา
มติทีประชุม
อนุมัติให้การสนับสนุนเงินกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน โครงการพัฒนาบุคลากร หมวดการอื่นๆ ปีงบประมาณ 2545 ที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้เห็นชอบแล้ว ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการการแก้ไขปัญหาจราจรคับคั่งในระบบทางด่วนขั้นที่ 1 ภายในวงเงิน 9,000,000 บาท (เก้าล้านบาทถ้วน)
เรื่องที่ 4 โครงการธนาคารขยะเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษามหาวชิราลงกรณฯ
1. คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในการประชุมครั้งที่ 3/2545 (ครั้งที่ 29)เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2545 ได้มีมติอนุมัติให้ สพช. เพิ่มวงเงินงบประมาณค่าใช้จ่าย โครงการพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ 2545 จำนวน 524.25 ล้านบาท รวมเป็นงบประมาณโครงการพัฒนาบุคลากร ทั้งสิ้น 867.25 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยหมวดการฝึกอบรมบุคลากรระยะสั้นในประเทศ ในวงเงิน 262.16 ล้านบาท ซึ่งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานสนับสนุน ได้อนุมัติเงินกองทุนฯ โครงการพัฒนาบุคลากรหมวดการฝึกอบรมบุคลากรระยะสั้นในประเทศ ปีงบประมาณ 2545 ไปแล้ว เป็นจำนวน 70,122,448 บาท คงเหลือ 192,037,552 บาท
2. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนเมือง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้มีหนังสือที่ มสวพ. 530/2545 ลงวันที่ 10 กันยายน 2545 ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการธนาคารขยะเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณฯ เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานการอนุรักษ์พลังงานและลดปริมาณขยะภายในชุมชน ในวงเงิน 15,877,650 บาท
3. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอ คณะอนุกรรมการฯ พิจารณา ในการประชุมครั้งที่ 12/2545 (ครั้งที่ 101) เมื่อวันอังคารที่ 10 กันยายน 2545 ได้มีมติเห็นชอบให้การสนับสนุนจากเงินกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน โครงการพัฒนาบุคลากร หมวดการฝึกอบรมบุคลากรระยะสั้นในประเทศ ปีงบประมาณ 2545 ให้มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนเมือง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการธนาคารขยะเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ในวงเงิน 15,877,650 บาท ทั้งนี้ ให้ถัวจ่ายรายการต่างๆ ภายในวงเงินที่อนุมัติ และให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณา ต่อไป ดังนั้นฝ่ายเลขานุการฯ จึงใคร่ขอเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณา ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
3.1 หลักการและเหตุผล
เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณสยามมกุฎราชกุมาร มีพระชนมายุครบ 50 พรรษา มูลนิธิฯ ร่วมกับ ประชาชนทั่วไป และองค์กรเอกชน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในเขตชุมชน มูลนิธิฯ ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โครงการธนาคารขยะเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณฯ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ดังนี้
(1) โครงการธนาคารขยะ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในเขตชุมชนเห็นความสำคัญต่อการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่เป็นวิธีหนึ่งในกระบวนการลดปัญหามลพิษด้านสิ่งแวดล้อม เพราะนอกจากเป็นการลดขยะแล้ว ยังลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษต่างๆ ที่เกิดจากการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตใหม่อีก
(2) โครงการลานกิจกรรม* เป็นการจัดบริเวณ และสถานที่สำหรับเยาวชนและประชาชนในชุมชนในการใช้เป็นสถานที่เล่นกีฬา แสดงดนตรี หรือลานเอนกประสงค์สำหรับกิจกรรมสันทนาการ
(3) โครงการสวนสุขภาพ* เป็นการจัดพื้นที่สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ
หมายเหตุ * เป็นโครงการที่ดำเนินการภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งอื่น
3.2 วัตถุประสงค์
(1) เพื่อถวายแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องใน วโรกาสมหามงคลสมัย มีพระชนมายุครบ 50 พรรษา
(2) เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน
(3) เพื่อเสริมสร้างความรู้และปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชน ชุมชน ในการมีส่วนร่วมเรื่องการคัดแยกขยะ และดำเนินการธนาคารขยะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อม
(4) เพื่อลดปริมาณขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนให้ดีขึ้น
3.3 กลุ่มเป้าหมาย
เด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน ซึ่งมีจำนวน 53,138 คน คิดเป็นจำนวน 60% ของจำนวนประชากรทั้งหมดใน 85 ชุมชน 17 เขต ซึ่งมีถึง 88,564 คน
3.4 เป้าหมายของโครงการ
(1) จัดให้มีศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้ให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 12 แห่ง
(2) จัดตั้งธนาคารขยะ 50 แห่ง ในพื้นที่ 85 ชุมชน 17 เขต ดังนี้
(3) ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บขยะหน่วยงานของรัฐได้ประมาณปีละ 4,051,683 บาท
3.5 ระยะเวลาในการดำเนินงาน 12 เดือน
3.6 กลยุทธ์ในการดำเนินงาน
(1) รณรงค์โดยผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ วีดิทัศน์ โปสเตอร์ แผ่นพับ จดหมายข่าว ป้ายผ้า ให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงการคัดแยกขยะก่อนไปจำหน่าย หรือวัสดุเหลือใช้กลับมา รีไซเคิล
(2) การจัดฝึกอบรมให้เกิดความรู้ความเข้าใจประเภทขยะ การคัดแยกขยะ การลดปริมาณขยะ วิธีการอนุรักษ์พลังงาน ประโยชน์ของขยะ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) การศึกษาดูงาน เพื่อให้ทราบถึงการคัดแยกขยะ รู้ถึงประเภทของขยะที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินตรา และขั้นตอนในการจัดตั้งรูปแบบวิธีการในการบริหารจัดการธนาคารขยะ
(4) การคัดเลือกชุมชนต้นแบบ เพื่อเป็นชุมชนนำร่องที่เป็นแบบอย่างการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพแก่ชุมชนอื่น โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานธนาคารขยะ ที่ปริมาณขยะได้นำไปสู่ขบวนการกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น สมาชิกที่เพิ่มขึ้น มีความแตกต่างจากที่ยังไม่เริ่มโครงการ
(5) การจัดตั้งศูนย์เผยแพร่ความรู้เรื่องการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
(6) การติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ
3.7 แผนงานและขั้นตอนดำเนินงาน
(1) ศึกษาข้อมูลแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่เกี่ยวข้อง การเตรียมความพร้อมในแต่ละพื้นที่ ติดต่อประสานงานร้านรับซื้อของเก่า และออกแบบและผลิตสื่อประชาสัมพันธ์
(2) การศึกษาดูงาน ที่ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้ทราบถึงการคัดแยกขยะ ขั้นตอน และ รูปแบบวิธีการบริหารการจัดการธนาคารขยะ ซึ่งจะใช้ระยะเวลา 1 วัน และการอบรม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคณะผู้ทำงานธนาคารขยะ อบรม 1 วัน จำนวน 2 รุ่น และกลุ่มเด็กเยาวชน และประชาชนที่อยู่ในชุมชน อบรม 1 วัน จำนวน 5 รุ่น
(3) ก่อสร้างสำนักงานธนาคารขยะ 50 แห่ง และเตรียมอุปกรณ์ในการเปิดธนาคารขยะฯ เปิดดำเนินการธนาคารขยะ รับสมัครสมาชิกธนาคารขยะ จัดกิจกรรมของธนาคารขยะ ประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่โครงการ คัดเลือกชุมชน แถลงข่าวเปิดโครงการ และจัดตั้งศูนย์เผยแพร่ความรู้เรื่องการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
3.8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(1) ชาวชุมชนที่อาศัยอยู่บนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อถวายแด่พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยมีพระชนมายุครบ 50 พรรษา รวมทั้งได้ช่วยประหยัดทรัพยากร ธรรมชาติและยังช่วยการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน
(2) เยาวชนและประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและเกิดแนวคิดที่ดีต่อการจัดการขยะมูลฝอย/เป็นการฝึกนิสัยการออมทรัพย์/เป็นการปลูกจิตสำนึกที่ดีในการจัดการสิ่งแวดล้อม
(3) ชุมชนมีองค์กรที่สามารถดำเนินการธนาคารขยะ ทำให้ชุมชนสะอาด สวยงาม และเป็นระเบียบเรียบร้อย น่าอยู่และน่าอาศัย รวมทั้งทำให้เยาวชนและคนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจาการนำขยะมาฝากธนาคารขยะและสามารถนำรายได้ไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆต่อไป
(4) ปริมาณขยะมูลฝอยที่จะนำไปกำจัดมีปริมาณลดลงสามารถช่วยหน่วยงานที่รับผิดชอบประหยัดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยและลดปัญหามลภาวะภายในชุมชน
3.9 การติดตามและประเมินผลโครงการ
การติดตาม ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบการทำงาน ทำการติดตามผลการดำเนินงานของชุมชนทุกๆ 6 เดือน โดยให้ ชุมชนรายงานผลการดำเนินงานและสถานะการเงินของธนาคารขยะให้สถาบันฯ รับทราบประจำทุกเดือนเพื่อเป็นการชี้แจงผลการดำเนินงานของธนาคารขยะ โดยพิจารณาจากปริมาณขยะ/จำนวนสมาชิก และสภาพแวดล้อมภายในชุมชนที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น นอกนี้สถาบันฯ จัดทำสรุปผลการดำเนินงานของโครงการธนาคารขยะในแต่ละไตรมาสเพื่อจัดส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การประเมินผลโครงการ
(1) การประเมินผลเชิงปริมาณ โดยมีดัชนีชี้วัดคือ ปริมาณขยะ จำนวนสมาชิกของธนาคาร ผลการดำเนินงานของสมาชิก
(2) การประเมินผลเชิงคุณภาพ จัดทำแบบประเมินผล เพื่อเก็บข้อมูลด้านทัศนคติเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ โดยจัดทำแบบสอบถามผู้เข้าร่วมการอบรม/ศึกษาดูงาน แบบสอบถามความคิดเห็นของคณะผู้ตรวจเยี่ยมโครงการ แบบประเมินผลโครงการ และแบ่งการประเมินผลเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ระหว่างดำเนินโครงการ 12 เดือน โดยออกประเมินผลในพื้นที่ของโครงการ และจัดส่งแบบประเมินผล
ระยะที่ 2 หลังจากเสร็จสิ้นโครงการแล้ว 6 และ 12 เดือน โดยประเมินผลในพื้นที่
3.10 ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ประกอบด้วยดัชนีชี้วัดทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
3.11 งบประมาณ ที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ จำนวน 15,877,650 บาท
มติที่ประชุม
เห็นควรอนุมัติให้การสนับสนุนเงินกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน โครงการพัฒนาบุคลากร หมวดการฝึกอบรมบุคลากรระยะสั้นในประเทศ ปีงบประมาณ 2545 ที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้เห็นชอบแล้ว ให้มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนเมือง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการธนาคารขยะเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ในวงเงิน 15,877,650 บาท ทั้งนี้ ให้ถัวจ่ายรายการต่างๆ ภายในวงเงินที่อนุมัติ ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอมา หรือไม่
1. คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2545 (ครั้งที่ 28) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2545 ได้มีมติอนุมัติให้การสนับสนุนเงินกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน โครงการพัฒนาบุคลากร หมวดการพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์และห้องปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2545 ให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการก่อสร้างศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ในวงเงิน 184,466,341 บาท และสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนการบริหารจัดการศูนย์ฯ ให้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ประสานงานกับกองบัญชาการฯ เพื่อให้เพิ่มเติมรายละเอียดของการดำเนินงานในการบริหารการจัดกิจกรรมของศูนย์ ให้ชัดเจน
2. สพช. ได้รับแจ้งจากกองบัญชาการฯ ว่ากองบัญชาการฯ ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้จัดตั้งมูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อบริหารศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร โดยกองบัญชาการฯ เห็นว่าคณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการบริหารองค์กร จึงเหมาะสมที่จะเป็นผู้บริหารศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ฯ บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่ง สพช. พิจารณาแล้วเห็นชอบตามแนวคิดที่จะให้มูลนิธิฯ เป็นผู้รับผิดชอบบริหารศูนย์ฯ และให้มูลนิธิฯ เป็นผู้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารศูนย์ด้วย
3. มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ได้มีหนังสือที่ มอนส 3/2545 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2545 เพื่อส่งข้อเสนอโครงการบริหารจัดการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ที่ได้ปรับปรุงและเพิ่มเติมรายละเอียด ตามข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ แล้ว โดยเสนอขอรับการสนับสนุนจากเงินกองทุนฯ ในวงเงิน 115,373,704 บาท โดยมูลนิธิฯ ได้เพิ่มเติมรายละเอียดข้อเสนอโครงการฯ เพื่อให้มีความสมบูรณ์และชัดเจนมากขึ้นในประเด็นต่างๆ ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกองทุนฯ แล้ว และฝ่ายเลขานุการฯ ได้เสนอคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณา ในการประชุมครั้งที่ 9/2545 (ครั้งที่ 98) เมื่อวันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2545 ที่ประชุมได้พิจารณาแล้ว เห็นว่ามูลนิธิฯ ได้เพิ่มเติมรายละเอียดในประเด็นสำคัญที่คณะกรรมการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างชัดเจนเรียบร้อยแล้ว ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้การสนับสนุนเงินกองทุนฯ แก่มูลนิธิฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการศูนย์ฯ ดังกล่าว ในวงเงิน 115,373,704 บาท และให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณาต่อไป จึงใคร่ขอเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณา ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญของข้อเสนอโครงการที่ได้ปรับปรุงแล้ว ดังนี้
3.1 หลักการและเหตุผล
ศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่ในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การจัดให้มีการจัดกิจกรรมเผยแพร่ที่ศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยคาดว่าผู้ที่เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการ รวมทั้งผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ จะสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะมีส่วนในการช่วยประเทศชาติประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
3.2 วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานหมุนเวียนรวมถึงการสาธิตและเปรียบเทียบวิธีการใช้พลังงานที่ขาดประสิทธิภาพกับวิธีการใช้พลังงานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตน ในการมีส่วนร่วมป้องกันและแก้ไขการสูญเสียพลังงานในทุกขั้นตอนการผลิตและการบริโภค
3.3 หน่วยงานที่รับผิดชอบ : มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
3.4 แผนการดำเนินงาน
ในการดำเนินงานของศูนย์ มีแผนการจัดกิจกรรม ประกอบด้วยแผนงาน ดังนี้
3.4.1 การบริหารจัดการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
การบริหารและดำเนินการที่เน้นความคล่องตัวในการดำเนินงานและการแก้ปัญหาในแต่ละช่วงเวลา โดยมีการบริหารจัดการในรูปขององค์กรที่อิสระจากกรอบและระเบียบแบบแผนที่ยุ่งยาก และเป็นองค์กรที่มีคณะทำงานที่มีความสามารถในการดำเนินการงานชุมชน งานประสานงานกับองค์กรส่วนท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง และหน่วยงานราชการ รวมทั้งมีประสบการณ์ด้านการพัฒนาองค์กร ดังนั้น สพช. และ ตชด. จึงเห็นควรให้มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นผู้บริหารงาน โดยมูลนิธิฯ จะจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการ ขึ้นมา 1 คณะ มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลการดำเนินงานของศูนย์ฯ คณะกรรมการฯ จะประกอบด้วยผู้แทน สพช. ตชด. และผู้ชำนาญการทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อระดมความคิดที่หลากหลาย และส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการจัดตั้งและพัฒนาศูนย์ฯ แห่งนี้ คณะกรรมการดำเนินการโครงการ จะเป็นผู้จ้างองค์กรหรือบุคคลที่เหมาะสมที่จะทำหน้าที่ต่างๆ ของศูนย์และติดตามผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
3.4.2 การจัดทำนิทรรศการและการสาธิต
เป็นการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน โดยการจัดนิทรรศการทั้งในอาคารและนอกอาคาร ที่เน้นการนำเสนอในลักษณะของ two ways communication โดยนิทรรศการดังกล่าวนี้ จะเป็นศูนย์รวมของมัลติมีเดีย ข้อมูล แบบจำลอง หุ่นจำลอง การสาธิต และการทดลองทำ ที่มีการประยุกต์ให้มีความเหมาะสมของการจัดระหว่างเทคโนโลยี ธรรมชาติ และพลังงาน โดยศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม จะมีการเผยแพร่ความรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้าค่ายได้เรียนรู้และเกิดความเข้าใจในความสัมพันธ์ของพลังงานกับสิ่งแวดล้อม รู้วิธีการอนุรักษ์พลังงานที่สามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน เห็นผลเป็นรูปธรรม และเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว
3.4.3 การจัดทำค่ายฝึกอบรม
การจัดทำค่ายฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานของศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยกิจกรรมที่มีการนำวิธีการบริโภคและการใช้พลังงานที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆโดยเฉพาะเทคโนโลยีประสิทธิภาพพลังงาน ไปสู่การสัมผัสและเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย จากการจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบภายในค่าย ที่เน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้โดยการได้ยิน เห็น สัมผัส และทดลองจากของจริง ทำให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเรียนรู้ทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
3.4.4 ห้องสมุดพลังงาน
ภายใต้ศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ได้มีแนวคิดในการจัดตั้งห้องสมุดพลังงานและ สิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการเป็นศูนย์รวมข้อมูลด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชนและครูในโรงเรียนทั่วประเทศ โดยจะดำเนินการรวบรวมสื่อการเรียนการสอน สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโสตทุกๆ ด้านที่ได้มีการผลิตมาแล้วเพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน รวมถึงผลิตสื่อใหม่ๆ ที่เป็นที่ต้องการของครูผู้สอนและนักเรียน
3.5 ระยะเวลาการดำเนินงาน
โครงการเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานหมุนเวียนของศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม จะมีการดำเนินงานเผยแพร่อย่างถาวรและต่อเนื่อง โดยในเบื้องต้นจะขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เพื่อใช้จ่ายในการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยภายในระยะเวลา 5 ปี ดังกล่าว จะมีการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมที่มุ่งไปในทิศทางที่จะทำให้สามารถมีรายได้จากหน่วยงานของรัฐ บริษัทเอกชน เอกชน และองค์กรระหว่างประเทศที่ต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเผยแพร่การอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในระยะต่อไปอย่างถาวร และภายหลังระยะเวลา 5 ปีไปแล้วจะลดการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ลงมาให้เหลือน้อยที่สุด หรืองดการขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนฯ
2.6 เป้าหมายการดำเนินงาน
(1) จัดฝึกอบรมให้กับกลุ่มเป้าหมายปีละประมาณ 1,200 คน
(2) เปิดให้ประชาชนเข้าชมนิทรรศการและใช้บริการของศูนย์ฯ ปีละประมาณ 50,000-100,000 คน
2.7 งบประมาณ
งบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ เพิ่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ในวงเงิน 115,373,704 บาท
มติที่ประชุม
เห็นควรอนุมติการสนับสนุนเงินกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน โครงการพัฒนาบุคลากร หมวดการพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์และห้องปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2545 ที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้เห็นชอบแล้ว ให้แก่มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการบริหารจัดการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ในวงเงิน 115,373,704 บาท ทั้งนี้ให้ถัวจ่ายรายการต่างๆ ได้ภายในวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอมา
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ตามความในมาตรา 21 ได้กำหนดให้เจ้าของอาคารควบคุมต้องอนุรักษ์พลังงาน ตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานในอาคารของตนให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ ขอจัดสรร ขอเงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนจากกองทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การให้การสนับสนุนจากกองทุนฯ แก่อาคารควบคุมที่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ สำหรับเป็นเงินช่วยเหลือให้เปล่าในการศึกษา วางแผนและการลงทุนในการอนุรักษ์พลัง
4. พพ. ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อ คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับ เพื่อพิจารณา ดังนี้
(1) พพ. นำอาคารการสื่อสารแห่งประเทศไทย (บางรัก) เสนอคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับ ในการประชุมครั้งที่ 5/2545 (ครั้งที่ 26) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน 2545 ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วได้มีมติเห็นชอบให้นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติเงินกองทุนฯ แผนงานภาคบังคับ โครงการโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่กำลังใช้งาน (ในส่วนของอาคารควบคุม) ปีงบประมาณ 2545 ให้ พพ. เพื่อนำไปจัดสรร ให้แก่การสื่อสารแห่งประเทศไทย สำหรับอาคารการสื่อสารแห่งประเทศไทย (บางรัก) เพื่อสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนอนุรักษ์พลังงานตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน ในวงเงิน 11,850,369 บาท (สิบเอ็ดล้านแปดแสนห้าหมื่นสามร้อยหกสิบเก้าบาทถ้วน) โดยจำแนกเป็นรายมาตรการ ดังนี้
มาตราการ | วงเงินลงทุนที่เห็นชอบ (บาท) |
(1) การติดตั้งฉนวนใยแก้ว | 447,367 |
(2) การใช้เครื่องปรับอากาศชนิดประสิทธิภาพสูง | 4,215,272 |
(3) การใช้เครื่องปรับอากาศชนิด VRV ทดแทนเครื่องทำน้ำเย็นเดิม | 5,832,190 |
(4) การใช้โคมชนิดประสิทธิภาพการสะท้อนแสงสูง | 994,340 |
(5) การใช้บัลลาสต์ชนิดการสูญเสียต่ำ | 361,200 |
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น | 11,850,369 |
(2) พพ. ได้นำอาคารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาคารคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาคารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสนอต่อเสนอคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับ ในการประชุมครั้งที่ 6/2545 (ครั้งที่ 27) เมื่อวันพุธที่ 21 สิงหาคม 2545 ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วได้มีมติเห็นชอบให้นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา อนุมัติเงินกองทุนฯ แผนงานภาคบังคับ โครงการโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่กำลังใช้งาน (ในส่วนของอาคารควบคุม) ปีงบประมาณ 2545 ให้ พพ. เพื่อนำไปจัดสรรให้แก่อาคารควบคุมที่เป็นส่วนราชการทั้ง 3 ราย เพื่อสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนอนุรักษ์พลังงานตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 64,980,631 บาท (หกสิบสี่ล้านเก้าแสนแปดหมื่นหกร้อยสิบเอ็ดบาทถ้วน) ตามรายเชื่ออาคารและวงเงินอนุมัติค่าใช้จ่ายเป็นรายมาตรการ ดังนี้
มาตราการ | วงเงินลงทุนที่เห็นชอบ (บาท) | |
(1) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำหรับอาคารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ | 14,817,829 | |
มาตรการที่ต้องปรับปรุง | ||
การใช้เครื่องปรับอาการชนิดประสิทธิภาพสูง การปรับปรุงฉนวนกันความร้อน การปรับปรุงระบบแสงสว่าง |
526,000 |
|
(2) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำหรับอาคารคณะแพทยศาสตร์ | 20,442,674 | |
มาตรการที่ต้องปรับปรุง | ||
การหุ้มฉนวนอุปกรณ์ที่ใช้ความร้อน การนำคอนเดนเสทกลับมาใช้ การปรับปรุงประสิทธิภาพการเผาไหม้ของหม้อไอน้ำ การใช้เครื่องปรับอากาศชนิดประสิทธิภาพสูง การปรับปรุงฉนวนกันความร้อน การปรับปรุงแสงสว่าง |
29,935 |
|
(3) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำหรับอาคารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | 29,720,128 | |
มาตรการที่ต้องปรับปรุง | ||
การใช้เครื่องปรับอากาศชนิดประสิทธิภาพสูง การปรับปรุงฉนวนกันความร้อน การปรับปรุงแสงสว่าง |
508,900 |
มติที่ประชุม
อนุมัติเงินกองทุนฯ แผนงานภาคบังคับ โครงการโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่กำลังใช้งาน (ในส่วนของอาคารควบคุม) ปีงบประมาณ 2545 ให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เพื่อนำไปจัดสรรให้แก่อาคารควบคุมที่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 4 ราย เพื่อสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนอนุรักษ์พลังงานตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 76,831,000 บาท (เจ็ดสิบหกล้านแปดแสนสามหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน) ตามที่คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับเสนอในข้อ 2 หรือไม่ โดยมีรายชื่ออาคารควบคุมทั้ง 4 ราย และวงเงินที่ได้รับการสนับสนุนในแต่ละราย ดังต่อไปนี้
ชื่ออาคารควบคุม | วงเงินสนับสนุน (บาท) |
(1) การสื่อสารแห่งประเทศไทย สำหรับอาคารการสื่อสารแห่งประเทศไทย (บางรัก) | 11,850,369 |
(2) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำหรับอาคารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ | 14,817,829 |
(3) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำหรับอาคารคณะแพทยศาสตร์ | 20,442,674 |
(4) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำหรับอาคารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | 29,720,128 |
รวมเป็นเงิน | 76,831,000 |
1. คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในการประชุมครั้งที่ 3/2545 (ครั้งที่ 29) เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2545 ได้มีมติอนุมัติให้ สพช. เพิ่มวงเงินงบประมาณแผนงานสนับสนุนค่าใช้จ่ายโครงการพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ 2545 จำนวน 524.25 ล้านบาท รวมเป็นงบประมาณโครงการพัฒนาบุคลากร ทั้งสิ้น 867.25 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยหมวดการฝึกอบรมบุคลากรระยะสั้นในประเทศ ในวงเงิน 262.16 ล้านบาท
2. กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พพ.) ได้มีหนังสือที่ วว 0406/3020 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 ขอรับการสนับสนุนในโครงการก่อสร้างศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน และโครงการว่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงาน เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การฝึกอบรม และการให้บริการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และประชาชนทั่วไปในด้านเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในวงเงิน 151,090,000 บาท และสพช. ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานสนับสนุน ในการประชุมครั้งที่ 4/2545 (ครั้งที่ 93) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2545 ได้มีมติอนุมัติแต่งตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาโครงการฯ ประกอบด้วย ศ.ดร. สุรพงศ์ จิระรัตนานนท์ รศ.ดร. อภิชิต เทอดโยธิน รศ.ดร. สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ และ รศ.ดร. ศุภชาติ จงไพบูลย์พัฒนะ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้พิจารณาข้อเสนอโครงการฯ แล้ว มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะให้ พพ. ดำเนินการปรับปรุงและเพิ่มรายละเอียดข้อเสนอโครงการฯ ในประเด็นสำคัญบางประเด็น
3. พพ. ได้มีหนังสือที่ วว 0406/15882 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2545 ได้ชี้แจงข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญในประเด็นต่างๆ และฝ่ายเลขานุการฯ ได้นำเสนอคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 10/2545 (ครั้งที่ 99) เมื่อวันพุธที่ 14 สิงหาคม 2545 ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอโครงการที่ พพ. ปรับปรุงแล้วและมีข้อสังเกต ดังนี้
(1) เห็นควรให้ พพ. ปรับลดงบประมาณสำหรับการจัดทำเอกสารและฝึกอบรมการสาธิต และใช้งานอุปกรณ์และพื้นที่จัดแสดงเทคโนโลยี จำนวน 3,644,000 บาท
(2) ปรับปรุงเพิ่มเติมรายละเอียดข้อเสนอโครงการในส่วนของการจัดจ้างที่ปรึกษาภายนอกในการบริหารงานแบบมืออาชีพ ควรมีแผนงานที่สามารถแสดงให้ทราบถึงแนวทางการดำเนินงานและงบประมาณให้ชัดเจน
4. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้นำข้อเสนอดังกล่าว เสนอคณะอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 10/2545 (ครั้งที่ 99) เมื่อวันพุธที่ 14 สิงหาคม 2545 ที่ประชุมได้พิจารณาแล้ว เห็นชอบให้การสนับสนุนเงินกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน โครงการพัฒนาบุคลากร ให้ พพ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการก่อสร้างศูนย์เทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน และโครงการว่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงาน และเห็นควรให้ พพ. ปรับลดงบประมาณสำหรับการจัดทำเอกสารและฝึกอบรมการสาธิต และใช้งานอุปกรณ์และพื้นที่จัดแสดงเทคโนโลยี จำนวน 3,644,000 บาท และปรับปรุงเพิ่มเติมรายละเอียดข้อเสนอโครงการในส่วนของการจัดจ้างที่ปรึกษาภายนอกในการบริหารงานแบบมืออาชีพ ควรมีแผนงานที่สามารถแสดงให้ทราบถึงแนวทางการดำเนินงานและงบประมาณให้ชัดเจน แล้วให้นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พพ. ได้ดำเนินการปรับปรุงตามข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการฯ แล้ว ฝ่ายเลขานุการฯ ใคร่ขอเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณาข้อเสนอโครงการที่ได้ปรับปรุง ซึ่งสรุปสาระสำคัญของโครงการฯ ได้ดังนี้
4.1 วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นอาคารตัวอย่างที่เน้นความคิดเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน และเป็นสัญญาลักษณ์ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์พลังงานสำหรับอาคาร การออกแบบก่อสร้างอาคารที่ใช้เทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานที่ทันสมัย โดยใช้ระบบธรรมชาติตามสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยและการสร้างสภาพแวดล้อมที่ร่มเย็น รวมทั้งการออกแบบระบบภายในอาคาร และการเลือกใช้วัสดุที่สามารถสกัดกั้นความร้อนและความชื้นจากภายนอกได้ดี เพื่อลดการใช้พลังงานของอาคารให้เหลือน้อยที่สุด โดยที่ยังรักษาคุณค่าและสุนทรียภาพของงานสถาปัตยกรรมไว้
4.2 บทบาทและหน้าที่ศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน
(1) เป็นศูนย์กลางด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างครบวงจร เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการสาธิต การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ และการให้บริการปรึกษาด้านเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานแก่ภาคอุตสาหกรรม ภาคอาคารธุรกิจ และสาธารณชนทั่วไปในการที่จะนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้งานเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิผล
(2) เป็นศูนย์กลางด้านการอนุรักษ์พลังงานระดับนานาชาติ ซึ่งแสดงถึงความคิดริเริ่ม และความเป็นผู้นำของประเทศไทยในด้านการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทยในภูมิภาคแก่นานาชาติ
(3) เป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการอนุรักษ์พลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์พลังงาน ติดตามความก้าวหน้าเทคโนโลยี และเผยแพร่แก่ผู้สนใจ และกลุ่มเป้าหมายทั้งในประเทศไทย และนอกประเทศไทยโดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ
(4) เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับกิจกรรมและการพัฒนาบุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังงาน เนื่องจากลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นของอาคาร ด้านอาคารตัวอย่างด้านการอนุรักษ์พลังงาน พื้นที่จัดแสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน ส่วนห้องฝึกอบรม ส่วนห้องประชุมสัมมนา
4.3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ประโยชน์ในศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน
(1) ผู้ประกอบการ ได้แก่ เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าของอาคารที่สามารถนำความรู้และเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อไปพิจารณาลงทุนหรือปรับปรุงระบบในกิจกรรมของตนเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต
(2) วิศวกร สถาปนิก แลผู้ที่เกี่ยวข้องในการออกแบบระบบหรือกระบวนการต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคาร ออกแบบอาคาร และบ้านอยู่อาศัย
(3) วิศวกร ช่างเทคนิค และช่างซ่อมบำรุง ที่รับผิดชอบในการใช้งานและบำรุงรักษาระบบต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม และอาคาร
(4) นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ซึ่งสามารถนำความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ และใช้งานระบบต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อลดค่าใช้จ่ายของบ้านอยู่อาศัย
4.4 การดำเนินงานโครงการ
การดำเนินโครงการแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะคือ
(1) การจัดทำแนวคิดและข้อกำหนดทางเทคนิค : ของศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน ประกอบด้วย
การประชุมหารือกับคณะทำงานของ พพ. เพื่อกำหนดความต้องการพื้นฐานสำหรับการจัดทำข้อกำหนดทางเทคนิคของศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน
การศึกษาการใช้พลังงานของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศไทย และเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานที่เหมาะสมกับประเทศไทย สำหรับการนำมาสาธิตและจัดแสดง
การคัดเลือกเทคโนโลยีสำหรับจัดแสดงในศูนย์เทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานและการกำหนดรูปแบบเบื้องต้นของการจัดแสดง จำนวน 54 เทคโนโลยี
การออกแบบพื้นที่จัดแสดงเบื้องต้น แบ่งออกเป็น ศูนย์แสดงเทคโนโลยีภาคอุตสหกรรม ขนาดพื้นที่ 1,200 ตารางเมตร ภาคอาคารธุรกิจขนาดพื้นที่ 900 ตารางเมตร ภาคบ้านอยู่อาศัยขนาดพื้นที่ 350 ตารางเมตร
การจัดทำข้อกำหนดความต้องการระบบบริการและระบบสาธารณูปโภคสำหรับพื้นที่จัดแสดง ได้แก่ ระบบปรับอากาศ ระบบแสงสว่าง ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้า อุปกรณ์ปรับสภาพไฟฟ้า ความแข็งแรงและการรับน้ำหนักของพื้น ระบบจ่ายน้ำ ระบบระบายอากาศทิ้ง ระบบประชาสัมพันธ์ทางเสียง และระบบป้องกันไฟไหม้
การจัดทำข้อกำหนดและขอบเขตงาน รวมทั้งงบประมาณสำหรับการออกแบบ รายละเอียดศูนย์
(2) การออกแบบรายละเอียด (Detailed Design) : และจัดทำข้อกำหนดรายละเอียด (Detailed Specification) ของศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน ใช้งบประมาณ 20,000,000 บาท โดยได้รับงบประมาณจากเงินกองทุนฯ ประกอบด้วย
การจัดทำแนวคิดสำหรับการออกแบบตกแต่งพื้นที่จัดแสดง (Theme Design) การออกแบบพื้นที่ให้สอดคล้องกับเนื้อหาของการจัดแสดง
การออกแบบอุปกรณ์จัดแสดงเทคโนโลยีและการจัดหมวดหมู่ของเทคโนโลยีที่จัดแสดง จากการศึกษาและวิเคราะห์รายละเอียดและกลุ่มเทคโนโลยี
การออกแบบตกแต่งภายในของพื้นที่จัดแสดง (Interior Design)
การจัดทำภาพจำลอง 3 มิติ บนคอมพิวเตอร์สำหรับพื้นที่ศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน ที่แสดงถึงผลการดำเนินการออกแบบทั้งหมดในขั้นตอนที่ผ่านมา
การจัดทำข้อกำหนดรายละเอียด (Detailed Specification) สำหรับอุปกรณ์จัดแสดงและพื้นที่จัดแสดง
การจัดทำบัญชีรายการจัดซื้ออุปกรณ์และแหล่งผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย และการประมาณราคา โดยจัดทำบัญชีรายการของอุปกรณ์จัดแสดงทั้งหมดของศูนย์ ดำเนินการติดต่อจัดหาผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ซึ่งทำให้ได้การประมาณด้านราคา และระยะเวลาการดำเนินงาน สำหรับการจัดซื้ออุปกรณ์มากกว่า 200 ราย
(3) การก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบการทำงานขั้นสุดท้าย (Construction Installation and Commissioning) ของศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน เป็นส่วนที่ขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนฯ ในครั้งนี้ เป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากการดำเนินการออกแบบรายละเอียดศูนย์ฯ เพื่อดำเนินการจัดซื้อ จัดหาอุปกรณ์ และดำเนินการก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบการทำงานขั้นสุดท้ายของอุปกรณ์และพื้นที่จัดแสดงของศูนย์เทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานและห้องฝึกอบรม
4.5 ระยะเวลาการดำเนินโครงการ 33 เดือน
4.6 งบประมาณ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 147,446,000 บาท เพื่อดำเนินการ 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 : งบประมาณสำหรับการว่าจ้างก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบการทำงานขั้นสุดท้ายของศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 135,000,000 บาท ซึ่งประกอบด้วย
ส่วนที่ 1-1 งบประมาณจำนวน 115,000,000 บาท สำหรับค่าวัสดุ อุปกรณ์ และค่าแรงในการก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบการทำงานขั้นสุดท้ายของวัสดุ อุปกรณ์ ระบบต่างๆ ทั้งหมดในพื้นที่ของศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานภาคอุตสาหกรรม ศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานภาคอาคารธุรกิจ ศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานภาคบ้านอยู่อาศัย ห้องฝึกอบรมระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ และห้องฝึกอบรมระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
ส่วนที่ 1-2 งบประมาณจำนวน 20,000,000 บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของผู้รับเหมาหลัก (Main Contractor) ในการดำเนินการบริหารการจัดซื้ออุปกรณ์ บริหารควบคุมผู้รับเหมาและผู้จำหน่ายอุปกรณ์รายย่อย บริหารควบคุมงานก่อสร้าง ติดตั้งและทดสอบการทำงานขั้นสุดท้าย รวมทั้งค่าใช้จ่ายโครงการอื่นๆ ได้แก่ ค่าพาหนะขนส่ง ค่าที่พักบริเวณพื้นที่หน้างาน ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
ส่วนที่ 2 : งบประมาณสำหรับการว่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง จำนวน 12,446,000 บาท ประกอบด้วย
ส่วนที่ 2-1 งบประมาณจำนวน 8,935,000 บาท สำหรับการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ พพ. ในการประเมินคัดเลือกผู้รับเหมาหลัก และตรวจสอบคุณภาพและความก้าวหน้าของผู้รับเหมาหลักในการก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบการทำงานขั้นสุดท้ายของศูนย์ฯ และห้องฝึกอบรม
ส่วนที่ 2-2 งบประมาณจำนวน 3,511,000 บาท สำหรับการจัดทำเอกสารและฝึกอบรมการสาธิต และใช้งานอุปกรณ์และพื้นที่จัดแสดงเทคโนโลยี สำหรับศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานภาคอุตสาหกรรม ภาคอาคารธุรกิจ และภาคบ้านอยู่อาศัย ห้องฝึกอบรมระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ และห้องฝึกอบรมระบบไฟฟ้าแสงสว่าง แก่บุคลากรที่จะเข้ามาบริหารจัดการศูนย์ฯ
มติที่ประชุม
อนุมัติให้การสนับสนุนเงินกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน โครงการพัฒนาบุคลากร หมวดการฝึกอบรมบุคลากรระยะสั้นในประเทศ ปีงบประมาณ 2545 ที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้เห็นชอบแล้ว ให้ พพ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการก่อสร้างศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน และโครงการว่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงาน ในวงเงิน 147,446,000 บาท โดยแบ่งเป็น
ส่วนที่ 1 : งบประมาณสำหรับการว่าจ้างก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบการทำงานขั้นสุดท้ายของศูนย์แสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน ในวงเงิน 135,000,000 บาท
ส่วนที่ 2 : งบประมาณสำหรับการว่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง ในวงเงิน 12,446,000 บาท
1. การบริหารงานงบประมาณ การเงิน การบัญชี และพัสดุของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้จัดจ้างที่ปรึกษามารับผิดชอบในการบริหารงาน ให้เป็นไปตามระเบียบกองทุนฯ ระเบียบกระทรวงการคลัง และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีภาระงานต้องดำเนินงานตามแผนต่างๆ เป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมา สพช. ได้มีการจัดจ้างลูกจ้างชั่วคราวเข้ามารับผิดชอบดำเนินการ ก็มีปัญหาเรื่องการปรับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่บ่อยครั้งมาก เนื่องจากค่าตอบแทนต่ำ ทำให้ลูกจ้างเหล่านี้จะลาออกระหว่างปี ทำให้ต้องฝึกคนใหม่ตลอดเวลานอกจากนั้นการจัดจ้างลูกจ้างชั่วคราวในอัตราเงินเดือนต่ำ ทำให้ได้บุคลากรที่ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญด้านระเบียบการเงิน การบัญชี และการพัสดุอย่างลึกซึ้ง ประกอบกับ สพช. ได้ผลักดันโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 5 ปี ของการเริ่มดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน การดำเนินงานด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ จึงล่าช้าและขาดตอนไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอทำให้เกิดผลเสียต่องานในภาพรวม สพช. จึงได้ปรับวิธีการทำงานโดยเป็นการจัดจ้างที่ปรึกษา ซึ่งมีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เกี่ยวกับระเบียบของทางราชการ มติ ครม. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ การแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้สามารถสนับสนุนให้การดำเนินงานของกองอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน บริหารงานได้รวดเร็วมากขึ้น ในภาพรวมการบริหารจัดการของบริษัทที่ปรึกษาอยู่ในระดับที่มีคุณภาพดี สามารถจัดซื้อ จัดจ้าง และเบิกจ่ายเงิน ได้ตามกำหนดเวลา ดำเนินการด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ เน้นหลักการให้บริการด้วยความเสมอภาคและโปร่งใส
2. กรมบัญชีกลางได้ส่งหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค. 0505.5/22084 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2545เรื่อง งบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2542 และ 2543 ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มาเพื่อทราบและดำเนินการตามที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เสนอแนะ พร้อมทั้งให้นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อทราบตามระเบียบกองทุนฯ ผลเป็นประการใดให้แจ้งกรมบัญชีกลาง และ สตง ทราบต่อไป ซึ่งต่อมา สตง. ได้ตรวจสอบและรับรอง งบการเงินของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2542 และ 2543 เรียบร้อยแล้ว โดยมีข้อสังเกตประกอบการสอบบัญชีและข้อเสนอแนะดังนี้
2.1 การเบิกจ่ายเงินลูกหนี้เงินยืมนอกงบประมาณไม่เป็นไปตามระเบียบของกองทุนฯ
ปีงบประมาณ 2543 สพช. เบิกจ่ายเงินลูกหนี้เงินยืมนอกงบประมาณ (เงินกองทุนฯ แผนงานสนับสนุนการบริหารตามกฎหมาย) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ ประชุม อบรม สัมมนา ปรากฏว่ามีการส่งใช้เงินยืมล่าช้ากว่ากำหนดเวลา มีการส่งใช้เป็นเงินสดจำนวนมาก และมีการให้ยืมรายใหม่โดยยังไม่ส่งใช้รายเก่า ขอให้กองทุนฯ
2.2 การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่หน่วยงานของต่างประเทศจัด
เจ้าหน้าที่ สพช. ได้เดินทางไปเข้ารับการฝึกอบรม ณ ประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 25 มิถุนายน 2543 ปรากฎว่ามีค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ เป็นเงินจำนวน 30,274.56 บาท ขอให้กองทุนฯ ดำเนินการ เรียกเงินจากผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 30,274.56 บาท แล้วนำส่งคืนกองทุนฯ โดยเร็ว สำหรับการอนุมัติให้ข้าราชการเดินทางไปศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศโดยใช้เงินกองทุนฯ นั้น ให้พิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นและความต้องการความรู้ที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในภารกิจตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
2.3 การดำเนินการตามข้อสังเกตปีก่อน
สตง. เคยมีข้อสังเกตในกรณีที่ สพช. ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อปฏิบัติงานประจำ ด้านการบริหารเงินงบประมาณ การเงิน การบัญชี การพัสดุ และการบริหารระบบฐานข้อมูล โดยทำสัญญาจ้างเป็นรายปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541-2543 ในวงเงินค่าจ้างตามสัญญา 5.94 ล้านบาท 4.2 ล้านบาท และ 4.99 ล้านบาท ตามลำดับ (ในปี 2544 ได้รับอนุมัติวงเงินงบประมาณ 7 ล้านบาท) ซึ่ง สตง. มีความเห็นว่า การจ้างที่ปรึกษาควรเป็นการจ้างงาน/โครงการที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง มีระยะเวลาดำเนินการสิ้นสุดแน่นอน มิใช่เป็นการจ้างต่อเนื่องเป็นประจำปีและเมื่อเปรียบเทียบกิจกรรมเดียวกันที่ดำเนินการโดยข้าราชการและลูกจ้างภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหารหน่วยงานของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเป็นการควบคุมภายในที่เหมาะสมรัดกุมและประหยัดกว่ามาก ซึ่ง สพช. ได้ชี้แจงตามหนังสือที่ นร 0905/2262 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2543 ถึงเหตุผลความจำเป็นในการจ้างที่ปรึกษามาปฏิบัติงานประจำดังกล่าว เนื่องจากปริมาณงานมากและข้อจำกัดด้านอัตรากำลังและการจ้างได้ถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0526.5/ว.131 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2541 และ ที่ กค 0502/ว.101 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2533
สตง. เห็นว่า ตามหลักการบริหารงานประจำที่เกี่ยวข้องกับการเงินการคลังและการบริหารทรัพย์สินของรัฐ ต้องมีระบบควบคุมภายในที่ดีเหมาะสมและรัดกุม การจ้างบริษัทเอกชนมาปฏิบัติงานน่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงสูง เพราะหากดำเนินการผิดพลาดจะส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อกองทุนฯ อีกทั้งตามหนังสือกระทรวงการคลังที่อ้างถึงก็มิได้ระบุประเภทของงานที่สามารถจ้างเอกชนดำเนินการได้ไว้ชัดเจนนัก สตง. จึงขอให้ สพช. พิจารณาทบทวนข้อสังเกตดังกล่าว ทั้งนี้ หากเห็นด้วยกับการจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อปฏิบัติงานประจำด้านการเงิน การคลัง และการพัสดุ เช่นที่ สพช. ได้ดำเนินการแล้ว ขอให้คณะกรรมการกองทุนฯ มีมติเพื่อกำหนดเป็นหลักการ พร้อมทั้งนำเสนอขอความเห็นชอบกับกระทรวงการคลัง เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินและการเบิกจ่ายเงินกองทุน พ.ศ. 2537 ข้อ 4 ซึ่งกำหนดว่า หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเรื่องการเก็บรักษาเงิน การเบิกจ่ายเงินและพัสดุ ที่มิได้กำหนดในระเบียบนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของทางราชการโดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการได้ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
3. การดำเนินงานและข้อเสนอของ สพช.
3.1 ตามที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตั้งข้อสังเกตว่า สพช. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อบริหารงานด้านงบประมาณ การเงิน บัญชี และพัสดุ โดยทำสัญญาเป็นระบุปี ตั้งแต่ปี 2541-2543 มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
(1) เป็นการปฏิบัติงานลักษณะประจำด้านการคลังของส่วนราชการ
(3) กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พพ.) มีกิจกรรมใกล้เคียงกันกับ สพช. ใช้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างชั่วคราวมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินเดือน และค่าจ้างที่น้อยมาก
สพช. ได้นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 2/2543 (ครั้งที่ 20) ที่ประชุมได้มีมติให้รอผลประเมินด้านการบริหารงานกองทุนฯ ซึ่งคณะกรรมการประเมินผลแผนอนุรักษ์พลังงาน ได้ประเมินเรียบร้อยแล้ว ผลการประเมินพบว่าในภาพรวมการใช้เงินกองทุนฯ ตามที่กำหนดไว้ตามกฎหมายของ สพช. พพ. และบก. เป็นไปตามที่ระบุไว้ในกฎหมายครบถ้วน ทั้ง 3 หน่วยงานได้พยายามใช้จ่ายเงินโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของรัฐ มีความชัดเจนในการใช้งบประมาณ มีเหตุผลสนับสนุนที่ชัดเจนในการตัดสินใจใช้งบประมาณ
เมื่อพิจารณาจากผลการประเมินฯ จะเห็นว่าบริษัทที่ปรึกษาสามารถปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ ได้เรียบร้อย และรวดเร็วในภาพรวมการบริหารจัดการของบริษัทที่ปรึกษาอยู่ในระดับที่มีคุณภาพปานกลางค่อนข้างดี และจากการเปรียบเทียบปริมาณงานตามโครงการต่างๆ ในระยะ 3 ปี (2542-2544) ที่ สพช. รับผิดชอบในการตรวจสอบพิจารณาอนุมัติการเบิก-จ่าย รวมทั้งการติดตามให้คำปรึกษาแนะนำให้แก่ หน่วยงานต่างๆ ที่ขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนฯ จะเห็นว่ามีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการบริหารงานด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ ต้องใช้ความละเอียด แม่นยำ และรวดเร็ว ในการปฏิบัติงานหากมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติอยู่เพียง 3 อัตรา ก็ไม่สามารถปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงได้ตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
3.2 ตามเหตุผลดังกล่าว สพช. ยังมีความจำเป็นจะต้องจ้างที่ปรึกษาที่มีความสามารถ และประสบการณ์งานมาให้คำปรึกษา และดำเนินการในการบริหารเงินกองทุนฯ ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วถูกต้องตามระเบียบของทางราชการและสามารถสนองนโยบายรัฐบาลในด้านการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้ประชาชนหันมาร่วมมือกับทางราชการ และตามที่ สตง. ตั้งข้อสังเกตและเสนอแนะไว้นั้น สพช. เห็นด้วยและพร้อมที่จะปฏิบัติตามหากมีการเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้เหมาะสมกับปริมาณงานที่ สพช. มีภาระหน้าที่ต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
แต่ปัจจุบันนี้ สพช. มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานดังกล่าวเพียง 3 อัตรา (ระดับ 7 จำนวน 1 อัตรา ระดับ 3 จำนวน 1 อัตรา ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 1 อัตรา) ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติงานตามแผนงานต่างๆ ที่ สพช.รับผิดชอบให้สำเร็จลุล่วงได้เรียบร้อย รวดเร็ว และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯได้ ประกอบกับตามแผนการปฏิรูประบบส่วนราชการ ในปี 2546 จะต้องโอนงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไปอยู่ที่กระทรวงพลังงาน แต่ขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อโอนงานกองทุนฯด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุ คาดว่าไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้โดยเร็ว และการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงิน การบัญชี ของกระทรวงพลังงานอาจจะไม่พร้อมที่จะบริหารงานเงินกองทุนฯได้ทันที ดังนั้นเพื่อให้การบริหารงานเงินกองทุนฯ ด้านการเงิน การบัญชีและการพัสดุ สามารถดำเนินการได้อย่างเรียบร้อย รวดเร็ว ในระหว่างที่การโอนงานเงินกองทุนฯยังไม่เสร็จสิ้น สพช. จึงยังมีความจำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารงานด้านงบประมาณ การเงิน การบัญชี และการพัสดุ ต่อไปอีก
มติที่ประชุม
1. รับทราบข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของ สตง. ตามที่เสนอ ซึ่ง สพช. ได้กำชับให้ผู้รับผิดชอบถือปฏิบัติตามระเบียบฯ โดยเคร่งครัดด้วยแล้ว
2. ให้ความเห็นชอบเป็นหลักการให้ สพช. จัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารงานด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุได้ สำหรับการดำเนินงานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นไป จนกว่าจะหมดความจำเป็น