• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับองค์กร
    • เกี่ยวกับองค์กร
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และหน้าที่
    • โครงสร้างองค์กร
    • ติดต่อเรา
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ผังเว็บไซต์

    ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง

    • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • วิสัยทัศน์และนโยบายต่างๆ
    • การบริหารงานด้าน ICT
    • ข่าวสารจากซีไอโอ
    • ปฏิทินกิจกรรมซีไอโอ
  • นโยบายและแผน
    • คำแถลงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล
    • นโยบายด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
    • แผนแม่บทพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • แผนปฏิบัติราชการรายปี และแผนปฎิบติราชการระยะ 5 ปี

    แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB)

    • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
    • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
    • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
    • แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
    • แผนจัดหาก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)

    การติดตามและประเมินผล

    • รายงานผลการประเมินดัชนีชี้วัดด้านพลังงานของประเทศไทย
    • รายงานความก้าวหน้าตามแผนปฏิบัติราชการ
    • รายงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
    • การดำเนินงานด้านพลังงานของ สนพ.
    • โครงการภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • การดำเนินงานตามมติ กพช.

    ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    • สหประชาชาติ

      • กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (UNFCCC)
      • การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP)
      • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

        • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
        • Joint Implementation (JI)
        • Emission Trading (ET)
        • Clean Development Mechanism (CDM)
        • Paris Agreement Adopted
        • Bali Action Plan

          • Bali Action Plan
          • AWG-LCA
          • NAMAS
          • Sectoral Approach : SA
          • MRV
          • AWG-KP
          • Concun Agreement
          • ประเทศไทย

            • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2550
            • คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
            • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
            • แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
            • แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564
            • ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2551-2555
            • กระทรวงพลังงาน

              • คณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ
              • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
              • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
              • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
              • อภิธานศัพท์
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
    • พระราชบัญญัติ / พระราชกำหนด
    • คำสั่งนายกรัฐมนตรี
    • กฏกระทรวง
    • มติ ครม.ด้านพลังงาน
    • คำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้อง กับ สนพ.
    • ประกาศ/คำสั่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • การจัดทำสรุปสาระสำคัญและคำแปลกฎหมาย
    • การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
  • คณะกรรมการ/อนุกรรมการ
    • คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
    • คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
    • คณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม
    • คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)

    คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)

    • มติ
    • คำสั่ง
    • ประกาศ

    คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

    • มติ
    • คำสั่ง
    • ประกาศ

    คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กทอ.)

    • คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณกองทุนฯ
    • คณะอนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
    • มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • มติคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
  • บริการข้อมูลข่าวสาร
    • สถานการณ์พลังงาน
    • วารสารนโยบายพลังงาน
    • รายงานประจำปี
    • รายงานสถิติพลังงานประจำปี
    • รายงานผลการศีกษานโยบายพลังงาน
    • จดหมายข่าวอนุรักษ์พลังงาน
    • ข่าว สนพ.
    • ข่าวพลังงาน
    • ประชาสัมพันธ์
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศรับสมัครงาน
    • ห้องสมุด สนพ.
    • INFOGRAPHIC
    • FAQ
    • บริการประชาชน
    • ธรรมบาลข้อมูล

    เอกสารเผยแพร่ / หนังสือ / สาระน่ารู้

    • เอกสารเผยแพร่
    • หนังสือ
    • สาระน่ารู้
  • การกำกับดูแลองค์กร
    • การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
    • ศูนย์ประสานราชการใสสะอาด
    • ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาค ระหว่างหญิงชาย
    • ศูนย์บริการร่วม
    • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
    • ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
    • กลุ่มงานจริยธรรม
    • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    การพัฒนาระบบบริหาร

    • นโยบายการกำกับองค์กรที่ดี
    • กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ
    • คำรับรองการปฏิบัติราชการ (KPI)
    • การควบคุมภายใน
    • การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
    • มาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงาน
    • แผนปฏิรูปองค์การ
    • การแบ่งส่วนราชการภายในกรม
    • ITA

      • ITA 2565
      • ITA 2566

    สรุปผลการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง

    • งบประมาณ
    • กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
วันอังคาร, 05 กรกฎาคม 2559 16:59

encon fund

มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ครั้งที่ 1/2546 (ครั้งที่ 33)
วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2546 เวลา 14.30 น.
ณ ห้องประชุม 606 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน


1. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

2. รายงานงบการเงินประจำปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2545 และรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ประจำไตรมาสที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545-วันที่ 31 ธันวาคม 2545

3. งบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2544 ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบแล้ว

4. สรุปผลการดำเนินการตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในการตรวจสอบและรับรองงบการเงินของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

5. ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ ภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

6. ขออนุมัติโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในส่วนที่ สนพ. รับผิดชอบ ปีงบประมาณ 2546 ช่วงที่ 1

7. ขออนุมัติโครงการประชาสัมพันธ์มาตรการรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงานภายใต้ชื่อกิจกรรม "พลังไทย ลดใช้พลังงาน"

8. ขออนุมัติจ้างที่ปรึกษาเพื่อประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

9. ขออนุมัติหลักการให้จ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารงานด้านงบประมาณ การเงิน การบัญชี และการพัสดุของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

10. ขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ (เพิ่มเติม) ให้การไฟฟ้านครหลวง

11. พพ. ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง โครงการบริหารงานตามกฎหมาย ปีงบประมาณ 2546

12. ข้อหารือถึงแนวทางในการทางการจัดการให้เกิดการประหยัดพลังงาน


รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายเมตตา บันเทิงสุข) กรรมการและเลขานุการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) ผู้เข้าร่วมประชุม


ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งกระทรวงพลังงานเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านพลังงานของประเทศ ดังนั้นจึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ด้วยทุกครั้ง

ที่ประชุมได้ตั้งข้อสังเกตว่าคณะกรรมการกองทุนฯ ชุดใหม่ที่ประชุมในวันนี้ จะสามารถรับรองรายงานการประชุมครั้งก่อนได้หรือไม่ ซึ่งประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า เนื่องจากกรรมการกองทุนฯ ส่วนใหญ่เป็นกรรมการโดยตำแหน่งตามสังกัดของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นกรรมการกองทุนฯ ถือว่าได้มีการสืบถ่ายต่อมายังผู้รับตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ดังนั้นจึงมีอำนาจที่จะเห็นชอบและขอแก้ไขรายงานการประชุมที่ผ่านมาได้


เรื่องที่ 1 แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

เลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 17 มกราคม 2541 ได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนดสามปีตามวาระแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฯ ชุดใหม่ ประกอบด้วย (1) นายปิยะวัติ บุญ-หลง (2) นายปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ (3) นายกฤษณพงศ์ กีรติกร (4) นายสุนทร บุญญาธิการ (5) นายอัชพร จารุจินดา (6) นายพรายพล คุ้มทรัพย์ (7) นายอัศวิน คงสิริ

มติที่ประชุม

ที่ประชุมรับทราบ


เรื่องที่ 2 รายงานงบการเงินประจำปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2545 และรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ประจำไตรมาสที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545-วันที่ 31 ธันวาคม 2545

เลขานุการฯ ได้รายงานงบการเงินที่กรมบัญชีกลางส่งให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ ประจำปีสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2545 ว่ามี หนี้สินและเงินทุน จำนวน 13,488,390,464.04 บาท และรายงานการ รับ-จ่าย เงินกองทุนฯ ประจำไตรมาสที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 - 31 ธันวาคม 2545 มีเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2545 จำนวน 11,938,676,470.94 บาท

มติที่ประชุม

ที่ประชุมรับทราบ


เรื่องที่ 3 งบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2544 ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบแล้ว

เลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบถึงงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2544 ของกองทุนฯ ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบแล้วว่ามีหนี้สินและเงินกองทุน จำนวน 13,885,695,100.39 บาท

มติที่ประชุม

ที่ประชุมรับทราบ


เรื่องที่ 4 สรุปผลการดำเนินการตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในการตรวจสอบและรับรองงบการเงินของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

เลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า ตามที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบและรับรอง งบการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2542 และ 30 กันยายน 2543 เรียบร้อยแล้ว โดยมีข้อสังเกตประกอบการสอบบัญชีและข้อเสนอแนะ รวม 3 ข้อ ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อทราบในการประชุม ครั้งที่ 5/2545 (ครั้งที่ 31) เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2545 และ สนพ. ได้ดำเนินการตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของ สตง. เรียบร้อยแล้ว ดังนี้

1. การเบิกจ่ายเงินลูกหนี้เงินยืมนอกงบประมาณ สนพ. ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการเบิกจ่ายเงินยืมให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของกองทุนฯ โดยเคร่งครัดแล้ว

2. การเบิกค่าใช้จ่ายของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่หน่วยงานของต่างประเทศจัดที่เบิกไม่ได้ จำนวน 30,274.56 บาท นั้น ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ ได้จัดส่งคืนเงินและ สนพ. ได้นำส่งคืนกรมบัญชีกลาง เรียบร้อยแล้ว

3. การจ้างที่ปรึกษาฯ กระทรวงการคลังได้อนุมัติให้ สนพ. จ้างที่ปรึกษาได้ 6 เดือน โดยกำหนดให้เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2545 ถึงเดือนมีนาคม 2546

มติที่ประชุม

ที่ประชุมรับทราบ


เรื่องที่ 5 ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ ภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

เลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 27 กำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน มีหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ และมีเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ นอกจากนี้มาตรา 34 กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการกองทุนมอบหมาย ตลอดจนเชิญบุคคลใดๆ มาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย คำแนะนำ หรือความเห็นได้

เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเจตนาของ พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานฯ คณะกรรมการกองทุนฯ จึงได้จัดทำแผนอนุรักษ์พลังงาน และแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและลำดับความสำคัญการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 3 แผนงานหลัก และเห็นชอบให้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) (เดิมคือ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ-สพช.) และ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (เดิมคือ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน-พพ.) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเบิกเงินจากกองทุนฯ เพื่อนำไปจ่ายให้แก่ผู้ได้รับจัดสรรเงินกองทุนฯ ที่จะนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการอนุรักษ์พลังงาน

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ส่งผลให้มีการจัดตั้ง "กระทรวงพลังงาน" ขึ้น และทำให้โครงสร้างการบริหารจัดการด้านพลังงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือ หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานและทำหน้าที่บริหารการใช้จ่ายเงินจากกองทุนฯ ทั้ง สนพ. และ พพ. ได้โอนมารวมอยู่ในสังกัดเดียวกัน คือ "กระทรวงพลังงาน" ประกอบกับข้อความใดๆ ใน พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ที่เกี่ยวข้องกับ "กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม" นั้น ได้เปลี่ยนเป็น "กระทรวงพลังงาน" แทน ซึ่งองค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุนในตำแหน่ง "ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม" จึงเปลี่ยนเป็น "ปลัดกระทรวงพลังงาน" ด้วย

เพื่อให้การบริหารงานกองทุนฯ และการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานเป็นเอกภาพ มีความคล่องตัว และสอดคล้องกับโครงสร้างการบริหารงานของกระทรวงพลังงาน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเห็นควรเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อโปรดพิจารณาให้มีการปรับปรุงรูปแบบของการบริหารงานกองทุนฯ ดังต่อไปนี้

1. เห็นควรยุบรวมคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนอนุรักษ์พลังงานจากเดิมที่มี 3 คณะ รวมเป็นคณะเดียว เรียกว่า "คณะอนุกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" โดยที่ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานอนุกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเป็นรองประธานคนที่หนึ่ง อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เป็นรองประธานคนที่สอง หัวส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินสามคน ซึ่งประธานกรรมการกองทุนฯ แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์แผนพลังงานสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงานกรมพัฒนาอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

2. มอบอำนาจปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการกองทุนฯ และ/หรือคณะอนุกรรมการฯ ดังนี้

2.1 การจัดสรรเงินที่จะนำไปใช้จ่ายตามแผนงานภาคความร่วมมือและแผนงานสนับสนุน ให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองโครงการที่มีผู้ยื่นขอเงินสนับสนุน ตามแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุน แล้วนำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติภายในวงเงินดังต่อไปนี้ (ก) ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ไม่เกิน 10 ล้านบาท (ข) คณะอนุกรรมการฯ ไม่เกิน 50 ล้านบาท และ (ค) คณะกรรมการกองทุนฯ เกิน 50 ล้านบาท

2.2 การจัดสรรเงินที่จะนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนงานภาคบังคับ ให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองโครงการที่มีผู้ยื่นขอเงินสนับสนุน ตามแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุน แล้วนำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติภายในวงเงินดังต่อไปนี้ (ก) อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ไม่เกิน 10 ล้านบาท (ข) คณะอนุกรรมการฯ ไม่เกิน 50 ล้านบาท และ (ค) คณะกรรมการกองทุนฯ เกิน 50 ล้านบาท

2.3 การพิจารณาให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงข้อเสนอโครงการ และเหตุผลที่ผู้ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ ไม่มาติดต่อเพื่อดำเนินการปรับปรุงข้อเสนอโครงการหรือไม่มาติดต่อเพื่อทำหนังสือยืนยันหรือสัญญา ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีหนังสือแจ้งให้ทราบ ให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นผู้ดำเนินการพิจารณาให้ความเห็นชอบ สำหรับโครงการภายใต้แผนงานภาคความร่วมมือ และแผนงานสนับสนุน

2.4 การพิจารณาให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงข้อเสนอโครงการ และเหตุผลที่ผู้ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนไม่มาติดต่อเพื่อดำเนินการปรับปรุงข้อเสนอโครงการหรือไม่มาติดต่อเพื่อทำหนังสือยืนยันหรือสัญญา ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีหนังสือแจ้งให้ทราบ ให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เป็นผู้ดำเนินการพิจารณาให้ความเห็นชอบสำหรับโครงการภายใต้แผนงานภาคบังคับ

2.5 การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมหรือแผนการงานของโครงการใดๆ ภายใต้แผนงานภาคความร่วมมือและแผนงานสนับสนุน ตามที่มีผู้ได้รับจัดสรรเงินขอเปลี่ยนแปลง ให้นำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติการขอเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรณีไม่เกิน 10 ล้านบาท หรือเกิน 10 ล้านบาท แต่ไม่มีผลกระทบต่อวงเงินที่ได้รับอนุมัติแล้วและไม่ทำให้ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการฯ ลดลง และเสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ กรณีเกิน 10 ล้านบาท และมีผลกระทบต่อวงเงินที่ได้รับอนุมัติแล้วและ/หรือทำให้ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการฯ ลดลง

2.6 การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมหรือแผนการงานของโครงการใดๆ ภายใต้แผนงานภาคบังคับ ตามที่มีผู้ได้รับจัดสรรเงินขอเปลี่ยนแปลง ให้นำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติการขอเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรณีไม่เกิน 10 ล้านบาท หรือเกิน 10 ล้านบาท แต่ไม่มีผลกระทบต่อวงเงินที่ได้รับอนุมัติแล้วและไม่ทำให้ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการฯ ลดลง และเสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ กรณีเกิน 10 ล้านบาท และมีผลกระทบต่อวงเงินที่ได้รับอนุมัติแล้วและ/หรือทำให้ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการฯ ลดลง

2.7 การใดๆ ที่ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรืออธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือคณะอนุกรรมการฯ ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะอนุกรรมการฯ หรือคณะกรรมการกองทุนฯ ตามที่ได้รับมอบอำนาจแล้ว ต้องรายงานให้คณะอนุกรรมการฯ และคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อทราบ ตามลำดับ เป็นระยะๆ ด้วย

มติที่ประชุม

1. เห็นชอบในหลักการเรื่องการปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนอนุรักษ์พลังงาน จากเดิมที่มี 3 คณะ รวมเป็นคณะเดียวเรียกว่า "คณะอนุกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" และให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำคำสั่งคณะกรรมการกองทุนฯ เรื่อง แต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" โดยให้ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ตามข้อเสนอแนะของประธานฯ และข้อสังเกตของที่ประชุม แล้ว เสนอประธานกรรมการกองทุนฯ ลงนามต่อไป

2. เห็นชอบในหลักการให้มอบอำนาจการปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการกองทุนฯ ให้คณะอนุกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอในข้อ 2.1-ข้อ 2.7


เรื่องที่ 6 ขออนุมัติโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในส่วนที่ สนพ. รับผิดชอบ ปีงบประมาณ 2546 ช่วงที่ 1

เลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า เรื่องที่ 4.2 นั้น ฝ่ายเลขานุการฯ ขอถอนออกจากการพิจารณาในการประชุมครั้งนี้

มติที่ประชุม

ที่ประชุมเห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ ถอนเรื่องที่ 4.2 ออกได้ตามที่เสนอ


เรื่องที่ 7 ขออนุมัติโครงการประชาสัมพันธ์มาตรการรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงานภายใต้ชื่อกิจกรรม "พลังไทย ลดใช้พลังงาน"

เลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิรัก ได้ทำให้ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศอยู่ในระดับสูงมาก จนอาจส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลจึงได้มีนโยบายจ่ายเงินชดเชยช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงราคาน้ำมันแพง ซึ่งจากมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว ทำให้ราคาน้ำมันต่ำกว่าความเป็นจริง และประชาชนไม่ได้ตระหนักที่จะประหยัดพลังงาน

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องเร่งรณรงค์ให้ประชาชนรู้ว่าประเทศกำลังเผชิญกับภาวะน้ำมันแพง และเพื่อให้ประชาชนร่วมมือกันในการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2546 จึงได้ผ่านความเห็นชอบให้กระทรวงพลังงานนำโครงการ "พลังไทย ลดใช้พลังงาน" มารณรงค์ให้ประชาชนรับทราบและดำเนินการตาม 4 มาตรการประหยัดพลังงาน ประกอบด้วย

(1) มาตรการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ อย่างน้อยปีละครั้ง สามารถประหยัดน้ำมันได้ 10%

(2) มาตรการรณรงค์ลดความเร็วรถยนต์ ซึ่งหากขับด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง จะช่วยประหยัดน้ำมันได้ 25%

(3) มาตรการร่วมมือดับไฟขนาด 40 วัตต์ ครัวเรือนละ 1 ดวง จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ 480 เมกะวัตต์

(4) มาตรการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไว้ที่ 25°C ช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อย่างน้อย 10%

โดยผลรวมจาก 4 มาตรการ จะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้ 82,374 ล้านบาท

สนพ. จึงได้จัดทำรายละเอียดของการว่าจ้างบริษัทที่จะดำเนินกิจกรรม "แผนงานมาตรการรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงาน โครงการ "พลังไทย ลดใช้พลังงาน" ประมาณการค่าใช้จ่ายในวงเงิน 50 ล้านบาท โดยสรุปกิจกรรมของโครงการฯ ได้ดังนี้

(1) ประสานงานเพื่อขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และหรือเอกชน ที่เกี่ยวข้องในกรณีที่ต้องใช้บริเวณในการติดตั้งสื่อ ขอพื้นที่ รวมทั้งขอความอนุเคราะห์ในการประชาสัมพันธ์โครงการฯ เพื่อให้การดำเนินงานมีความราบรื่น และได้รับความร่วมมือด้วยดี

(2) ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ในลักษณะแคมเปญ ได้แก่ สัญลักษณ์โครงการ สปอตวิทยุ สปอตโทรทัศน์ บทความหนังสือพิมพ์ แผ่นพับ ใบปลิว บิลบอร์ด และสื่อประชาสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ตัววิ่ง สติกเกอร์รณรงค์ เพื่อให้ข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ของการดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดี การขับรถในความเร็วที่กฎหมายกำหนด การใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น และการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสม ตลอดจนกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

(3) เสนอแนะกิจกรรมรณรงค์และทีมรณรงค์ โดยมีสิ่งจูงใจเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสทดลองปฏิบัติ และปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมทันที และนำไปปฏิบัติให้เคยชินเป็นกิจวัตร

(4) จัดทำประเมินผลแต่ละกิจกรรม และจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯ

ในระยะเวลาที่มีอยู่จำกัด สนพ. จึงจำเป็นต้องปรับแผนปฏิบัติการและงบประมาณโครงการประชาสัมพันธ์ฯ ปี 2546 ที่ได้รับอนุมัติแล้วจากคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อจัดสรรเงินมาไว้สำหรับจ้างผู้ดำเนินโครงการ "พลังไทย ลดใช้พลังงาน" ดังนี้

หน่วย:ล้านบาท

ชื่อกิจกรรม เดิม ใช้ไป พลังไทยฯ เหลือ
1 การรณรงค์สร้างค่านิยมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและพลังงาน
  • 1.1 โครงการน้ำและพลังงานหาร 2 ระยะที่ 2
  • 1.2 โครงการรีไซเคิล เพื่อประหยัดพลังงาน
110 - - 110
2. การประชาสัมพันธ์กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
  • 2.1 โครงการ 10 ปี กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • (1) ผลิตสารคดีสั้นนำเสนอผลงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • (2) เผยแพร่ทางสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ วิทยุโทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต
25 20 5 -
3. กิจกรรมสนับสนุนเพื่อสร้างจิตสำนึก
  • 3.1 พัฒนาและประชาสัมพันธ์ Web pages
  • 3.2 ผลิตและเผยแพร่วัสดุประชาสัมพันธ์
  • 3.3 นิทรรศการพลังงานหาร 2
10 - - 10
4. การประชาสัมพันธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ (เรื่องไฟฟ้าและน้ำมัน)
  • 4.1 ซื้อพื้นที่เผยแพร่/เวลาออกอากาศสื่อประชาสัมพันธ์ในสิ่งพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์
  • 4.2 เปิดประเด็นนโยบายและสถานการณ์พลังงาน มาตรการอนุรักษ์พลังงาน
  • 4.3 ผลิตและเผยแพร่สารคดี
  • 4.4 ผลิตและเผยแพร่รายการโทรทัศน์เพื่อเยาวชน
35 - 35 -
5. การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน
  • 5.1 ศูนย์ประชาสัมพันธ์รวมพลังหาร 2
10 8 2 -
6. อื่นๆ
  • 6.1 จ้างที่ปรึกษาเพื่อประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
10 2 8 -
รวมงบประมาณทั้งสิ้น 200 30 50 120

สนพ. ได้คัดเลือกผู้ดำเนินกิจกรรมแผนงานมาตรการรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงาน โครงการ "พลังไทย ลดใช้พลังงาน" โดยวิธีพิเศษ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ในวงเงิน 50,000,000 บาท มีผู้ยื่นข้อเสนอ 5 ราย และคัดเลือกได้ บริษัท โลว์ จำกัด เป็นผู้รับทำกิจกรรมฯ ในวงเงิน 49,998,960 บาท (สี่สิบเก้าล้านเก้าแสนเก้าหมื่นแปดพันเก้าร้อยหกสิบบาทถ้วน) ดำเนินกิจกรรมระหว่างเดือนมีนาคม 2546-พฤษภาคม 2546 โดยบริษัทฯ นำเสนอกลยุทธ์ดังนี้

(1) ใช้สื่อผสมผสานแบบครบวงจรเพื่อสร้างการรับรู้ให้ประชาชนก่อให้เกิดความตระหนัก ความยอมรับและเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการฯ

(2) สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการฯ ก่อให้เกิดการร่วมปฏิบัติจริง ด้วยการบอกให้ทราบถึงวิธีการประหยัดพลังงานที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยวิธีง่ายๆ "ลดพลังงาน เพิ่มพลังเงิน"

(3) กระตุ้นให้เกิดการกระทำทั้งด้านการทำความเข้าใจในเหตุผลและด้านการจูงใจด้วยรางวัล ผ่านสื่อผสมผสานแบบครบวงจร

(4) หนึ่งเดือนภายหลังการเผยแพร่สื่อรณรงค์โครงการฯ บริษัท โลว์ จำกัด จะติดตามผลการรณรงค์ ด้วยการสุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่างจากภูมิภาคต่างๆ และกรุงเทพฯ รายงานเสนอ สนพ. เพื่อทราบข้อมูลและใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินงานต่อไป

มติที่ประชุม

1. อนุมัติให้ สนพ. ปรับแผนปฏิบัติการและงบประมาณโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในส่วนที่ สนพ.รับผิดชอบ ปีงบประมาณ 2546 เป็นดังนี้

ชื่อกิจกรรม ล้านบาท
1 การรณรงค์สร้างค่านิยมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและพลังงาน
  • 1.1 โครงการน้ำและพลังงานหาร 2 ระยะที่ 2
  • 1.2 โครงการรีไซเคิล เพื่อประหยัดพลังงาน
110
2. การประชาสัมพันธ์กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
  • 2.1 โครงการ 10 ปี กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
20
3. กิจกรรมสนับสนุนเพื่อสร้างจิตสำนึก
  • 3.1 พัฒนาและประชาสัมพันธ์ Web pages
  • 3.2 ผลิตและเผยแพร่วัสดุประชาสัมพันธ์
  • 3.3 นิทรรศการพลังงานหาร 2
10
4. การประชาสัมพันธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
  • 4.1 โครงการ "พลังไทย ลดใช้พลังงาน"
50
5. การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน
  • 5.1 ศูนย์ประชาสัมพันธ์รวมพลังหาร 2
8
6. อื่นๆ
  • 6.1 จ้างที่ปรึกษาเพื่อประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
2
รวมงบประมาณทั้งสิ้น 200

2. อนุมัติให้ สนพ. จ้าง บริษัท โลว์ จำกัด เป็นผู้รับทำกิจกรรมแผนงานมาตรการรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงาน โครงการ "พลังไทย ลดใช้พลังงาน" โดยใช้เงินจากกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน โครงการประชาสัมพันธ์ ในส่วนที่ สนพ. รับผิดชอบ ปีงบประมาณ 2546 การประชาสัมพันธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะโครงการ "พลังไทย ลดใช้พลังงาน" ในวงเงิน 49,998,960 บาท (สี่สิบเก้าล้านเก้าแสนเก้าหมื่นแปดพันเก้าร้อยหกสิบบาทถ้วน)


เรื่องที่ 8 ขออนุมัติจ้างที่ปรึกษาเพื่อประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

เลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าคณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 6/2545 (ครั้งที่ 32) เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2545 ได้มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในส่วนที่ สนพ. รับผิดชอบ ปี 2546 และอนุมัติเงินกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน โครงการประชาสัมพันธ์ ให้ สนพ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการโครงการประชาสัมพันธ์ ปีงบประมาณ 2546 ในวงเงิน 200 ล้านบาท

เนื่องจากในการดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักและใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมุ่งเน้นให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้จึงควรต้องทำการประเมินผลกิจกรรมประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมาเพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงแผนงานของโครงการประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป ประกอบกับสัญญาจ้างที่ปรึกษาประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์ ปี 2545 ได้สิ้นสุดลง และยังมีกิจกรรมโครงการใหญ่ที่ยังไม่ได้รับการประเมินผลอีกหลายโครงการ ดังนั้น จึงเห็นควรจ้างผู้มีประสบการณ์ทำการประเมินผลโครงการ

สนพ. ได้พิจารณาคัดเลือกที่ปรึกษาเพื่อประเมินผลโครงการฯ จากสถาบันการศึกษาที่เป็นส่วนราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยวิธีตกลง ในวงเงิน 2 ล้านบาท ดังนั้น ฝ่ายเลขานุการฯ จึงใคร่ขอเสนอคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ สนพ. จัดจ้างที่ปรึกษาประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ดังนี้

สนพ. ได้พิจารณาคัดเลือก สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้รับทำกิจกรรมนี้ เนื่องจากสถาบันฯ ให้ข้อเสนอครอบคลุมการดำเนินงานตามขอบเขตที่กำหนดมีวิธีการดำเนินการที่ดี ให้น้ำหนักการสัมภาษณ์กลุ่มแต่ละโครงการมากกว่า การสัมภาษณ์กลุ่มสื่อมวลชนจะให้ภาพสะท้อนที่รอบด้านของการประชาสัมพันธ์ที่ดำเนินการโดย สนพ. และมีความเหมาะสมที่จะดำเนินงานเป็นที่ปรึกษา เพื่อประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์และโครงการพัฒนาบุคลากรประกอบด้วย

(1) โครงการรวมพลังหาร 2 (รวม)

(2) โครงการน้ำหาร 2 ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า (ระยะที่ 1)

(3) โครงการผลิตและเผยแพร่สารคดีสั้น (กระจิบข่าวหาร 2)

(4) โครงการเก็บค่าไฟใส่กระเป๋า

(5) โครงการภูเก็ตน่าอยู่ด้วยรีไซเคิล

สถาบันฯ ได้เสนอราคาในวงเงิน 2,000,000.00 บาท (สองล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสม และอยู่ภายในวงเงินงบประมาณที่ตั้งไว้

มติที่ประชุม

1. อนุมัติให้ สนพ. จ้างสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาเพื่อประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2546 โดยใช้เงินกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน โครงการประชาสัมพันธ์ ในส่วนที่ สนพ. รับผิดชอบ ปีงบประมาณ 2546 กิจกรรมอี่นๆ ในวงเงิน 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน)

2. ให้ สนพ. รายงานผลการประเมินโครงการประชาสัมพันธ์ฯ เสนอให้คณะอนุกรรมการประเมินผลแผนอนุรักษ์พลังงาน เพื่อทราบด้วย


เรื่องที่ 9 ขออนุมัติหลักการให้จ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารงานด้านงบประมาณ การเงิน การบัญชี และการพัสดุของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

เลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า ตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดจ้างที่ปรึกษามาปฏิบัติงานแทนบุคลากรของ สนพ. ควรจะเป็นการจ้างมาปฏิบัติงานที่จำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง และควรมีระยะเวลาในการดำเนินการสิ้นสุดแน่นอนมิใช่เป็นการจ้างต่อเนื่องเป็นประจำปี มาปฏิบัติหน้าที่แทนบุคลากรของ สนพ. และ หาก สนพ. มีบุคลากรที่จะดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวไม่เพียงพอต่อปริมาณ สนพ. ก็ควรที่จะต้องขอตำแหน่งเพิ่มจาก สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) สตง. จึงขอให้ สนพ. พิจารณาทบทวนข้อสังเกตดังกล่าว หากยังมีเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องจ้างที่ปรึกษามาดำเนินงานก็ให้นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อกำหนดเป็นหลักการพร้อมทั้งขอความเห็นชอบกับกระทรวงการคลังต่อไป

คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 5/2545 (ครั้งที่ 31) เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2545 ได้รับทราบข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของ สตง. และให้ สนพ. ดำเนินการตามที่ สตง. ให้ข้อสังเกตไว้ แต่ในระยะเริ่มแรกของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระทรวงพลังงานการโอนงานยังไม่สามารถดำเนินการได้และ สนพ. ไม่มีอัตรากำลังที่จะดำเนินการบริหารงานดังกล่าวได้ คณะกรรมการกองทุนฯ จึงอนุมัติในหลักการให้ สนพ. จ้างบริษัทเอกชนเข้ามาบริหารงานด้านงบประมาณการเงิน การบัญชี การพัสดุ สำหรับการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2546 เป็นระยะเวลา 6 เดือนไปก่อน (ตุลาคม 2545-มีนาคม 2546)

สนพ. ได้ดำเนินการตามคำแนะนำของ สตง. โดยขอให้สำนักงาน ก.พ. กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มให้กับ สนพ. จำนวน 15 อัตรา เพื่อมาดำเนินงานบริหารงานด้านงบประมาณการเงิน การบัญชี การพัสดุ แทนการจ้าง ที่ปรึกษาฯ และสำนักงาน ก.พ. ได้แจ้งให้ สนพ. ทราบว่า สำนักงาน ก.พ ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว มีมติดังนี้

(1) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 อนุมัติเป็นหลักการและมาตรการกำหนดอัตรากำลังและการแต่งตั้งข้าราชการในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรมใหม่ โดยให้ใช้จำนวนรวมของตำแหน่งที่มี ณ ปัจจุบัน โดยไม่มีการกำหนดตำแหน่งเพิ่มใหม่ ดังนั้น สนพ. จึงมิอาจกำหนดตำแหน่งเพิ่มขึ้นได้ในขณะนี้

(2) ในการจัดโครงสร้างใหม่ของกระทรวงพลังงานกำหนดให้มีการศึกษาเพื่อจัดตั้งองค์กรมหาชนทำหน้าที่เกี่ยวกับกองทุนพลังงาน โดย ก.พ. ได้กำหนดตำแหน่งเพื่อรองรับภารกิจดังกล่าวไว้ในส่วนการคลังและพัสดุ สำนักงานปลัดกระทรวงแล้ว ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงอาจใช้อัตรากำลังดังกล่าวปฏิบัติงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อจัดระบบงานและอัตรากำลังให้เหมาะสมต่อไป

(3) ผอ.สนพ. ได้หารือกับปลัดกระทรวงพลังงาน ถึงกรณีขอเกลี่ยอัตรากำลังเพื่อให้ปฏิบัติงานกองทุนฯ ที่ สนพ. แล้ว ปรากฏว่าไม่สามารถจัดสรรอัตรากำลังให้ได้ และเห็นชอบให้ สนพ. นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบในการจ้างที่ปรึกษาต่อไป

มติที่ประชุม

อนุมัติให้ สนพ. จัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารงานด้านงบประมาณการเงิน การบัญชี และการพัสดุ ในส่วนของการบริหารเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนเมษายน 2546 ถึงเดือนมีนาคม 2547 หรือจนกว่าจะมีหน่วยงานมารองรับงานกองทุนฯ


เรื่องที่ 10 ขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ (เพิ่มเติม) ให้การไฟฟ้านครหลวง

ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่าโครงการประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเกิดจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า หากแต่ละครัวเรือนสามารถประหยัดได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ของจำนวนหน่วยไฟฟ้าเฉลี่ยของบ้านตนเองใน 3 เดือน (คือ เดือนมิถุนายน กรกฎาคม และ สิงหาคม 2544) จะได้รับ "ส่วนลดค่าไฟฟ้า" ร้อยละ 20 ของจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ลดลงได้ในแต่ละเดือน โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินงาน 1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2544 ถึงสิงหาคม 2545 ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติเงินกองทุนฯ ให้กับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส่วนลดค่าไฟฟ้าในโครงการ "ประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ" ไปแล้วรวม 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ในการประชุมครั้งที่ 3/2544 (ครั้งที่ 24) เมื่อวันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2544 และครั้งที่ 2 ในการประชุมครั้งที่ 2/2545 (ครั้งที่ 28) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2545 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,840,918,260 บาท แบ่งเป็นให้ กฟน. จำนวน 513,080,260 บาท และให้ กฟภ. จำนวน 1,327,838,000 บาท ซึ่งสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ ตั้งแต่กันยายน 2544 ถึง สิงหาคม 2545

รายการ กฟน. กฟภ. รวม
(1) จำนวนครัวเรือนที่ได้รับส่วนลด (ครัวเรือนเฉลี่ยต่อ/เดือน) 624,272 4,023,182 4,648,454
(2) จำนวนหน่วยที่ประหยัดได้ (ล้านหน่วย) 950.55 2,117.01 3,067.56
(3) จำนวนเงินที่ประหยัดได้ (ล้านบาท) 2,998.02 6,091.84 9,089.86
(4) จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่ได้รับส่วนลด (ล้านหน่วย) 190.11 423.53 613.64
(5) จำนวนเงินส่วนลดค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายให้ผู้ใช้ไฟฟ้า (ล้านบาท) 555.72 1,123.70 1,679.42
(6) จำนวนเงินจากองทุนฯ ส่วนลดค่าไฟฟ้า (ล้านบาท) 504.66 1,320.24 1,824.90

กฟน. ขอปรับแผนการดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการฯ ที่ กฟน. ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ ในวงเงิน 8,420,260 บาท นั้น กฟน. ได้ดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ไปเพียง 7,668,710.43 บาท ทำให้มีเงินกองทุนฯ คงเหลืออยู่จำนวน 751.549.57 บาท และเพื่อให้การประชาสัมพันธ์เผยแพร่โครงการฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง กฟน. จึงได้ขอนำเงินเหลือจ่ายดังกล่าวจำนวน 552,402.29 บาท ไปดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมในส่วนของการสัมมนาอาจารย์ การเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การนำวิทยากรประชาสัมพันธ์ตามชุมชน และการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ จึงรวมเป็นเงินที่ กฟน. ได้ใช้ไปในส่วนการประชาสัมพันธ์ตลอดทั้งโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 8,221,112.72 บาท

กฟน. ขอเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ เพื่อเป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่จำหน่ายไฟฟ้านครหลวงในโครงการ "ประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ" เพิ่มเติมจากที่ กฟน. ได้รับจัดสรรเงินจากกองทุนฯ ไว้แล้ว 504,660,000 บาท เนื่องจากเมื่อ กฟน. ดำเนินโครงการฯ ครบ 1 ปี ปรากฏว่าได้มีการจ่ายเงินส่วนลดค่าไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าไปรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 555,710,110.86 บาท ซึ่งเกินกว่าที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนฯ 51,050,110.86 บาท

มติที่ประชุม

1. อนุมัติเงินกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน โครงการประชาสัมพันธ์ ในส่วนที่ สนพ. รับผิดชอบ ปีงบประมาณ 2546 เพิ่มเติม ในวงเงิน 51,050,110.86 บาท (ห้าสิบเอ็ดล้านห้าหมื่นหนึ่งร้อยสิบบาทแปดสิบหกสตางค์) และให้ สนพ. นำเงินจำนวนดังกล่าวไปจ่ายคืนให้กับ กฟน. เท่าที่จ่ายจริงตามที่ได้สำรองจ่ายให้กับประชาชนไปก่อนแล้วเป็นเงินรางวัลส่วนลดค่าไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่จำหน่ายไฟฟ้านครหลวงในโครงการประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ

2. อนุมัติให้ กฟน. ใช้งบประมาณที่เหลือจากกิจกรรมประชาสัมพันธ์ "โครงการประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ" เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมในส่วนของการสัมมนาอาจารย์ การเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การนำวิทยากรประชาสัมพันธ์ตามชุมชน และติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ เป็นจำนวนเงินรวม 552,402.29 บาท (ห้าแสนห้าหมื่นสองพันสี่ร้อยสองบาทยี่สิบเก้าสตางค์)


เรื่องที่ 11 พพ. ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง โครงการบริหารงานตามกฎหมาย ปีงบประมาณ 2546

เลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 6/2545 (ครั้งที่ 32) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2545 ได้อนุมัติเงินกองทุนฯ ให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการบริหารงานตามกฎหมาย ปีงบประมาณ 2546 ในวงเงิน 411,045,152 บาท (สี่ร้อยสิบเอ็ดล้านสี่หมื่นห้าพันหนึ่งร้อยห้าสิบสองบาทถ้วน)

แผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ 2546 พพ. ได้รับความเห็นชอบให้จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายพร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง ในวงเงิน 9,100,000 บาท โดยใช้จ่ายเงินจากกองทุนฯ โครงการบริหารงานตามกฎหมาย งบประมาณประจำปี 2546 หมวดครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง แต่เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างส่วนราชการใหม่เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับบทบาทภารกิจตามโครงสร้างใหม่ในการปฏิรูประบบราชการของ พพ. และสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ พพ. ที่นำเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พพ. จึงขอแปลงจากคุณลักษณะเฉพาะที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว โดย พพ. ได้ลดจำนวนเครื่องพิมพ์สี 9 เครื่อง โดยเปลี่ยนเป็นเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย จำนวน 18 ชุด แทน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะช่วยให้การสืบค้นข้อมูลในเครือข่ายของ พพ. มีความคล่องตัวมากขึ้น

มติที่ประชุม

อนุมัติให้ พพ. เปลี่ยนแปลงคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายพร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง ได้ตามที่ พพ. เสนอมา โดยใช้เงินจากกองทุนฯ โครงการบริหารงานตามกฎหมาย งบประมาณประจำปี 2546 ในส่วนของ พพ. หมวดครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ที่ได้รับอนุมัติแล้วจากคณะกรรมการกองทุนฯ ในวงเงิน 9,100,000 บาท


เรื่องที่ 12 ข้อหารือถึงแนวทางในการทางการจัดการให้เกิดการประหยัดพลังงาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ปรึกษาหารือต่อที่ประชุมถึงแนวทางการจัดการในด้านต่างๆ ที่จะช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน ในประเด็นดังต่อไปนี้

1. หากสามารถชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1,000 MW ได้ จะช่วยให้ชาติประหยัดเงินดอกเบี้ยจากการดำเนินการดังกล่าวได้ประมาณ 1,600 ล้านบาท รัฐจะใช้เงินจำนวนดังกล่าวนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างไรเพื่อทำให้เกิดการประหยัดพลังงานได้ โดยในเรื่องนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ นายสุนทร บุญญาธิการ เป็นผู้รับไปดำเนินการ

2. หากสามารถแก้ไขแบบอาคารมาตรฐานของกรมโยธาธิการให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานได้ จะช่วยให้ประเทศชาติสามารถประหยัดพลังงานได้อย่างมหาศาล ดังนั้นจะมีวิธีการใดที่สามารถนำวิธีการออกแบบอาคารหรือสิ่งก่อสร้างเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานที่ส่งผลกระทบในวงกว้างได้ โดยในเรื่องนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ นายสุนทร บุญญาธิการ ร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง รับไปดำเนินการ

3. การประชาสัมพันธ์รวมพลังหาร 2 ในโครงการประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ ที่ดำเนินการมาแล้วเป็นระยะเวลา 1 ปี เป็นการดำเนินมาตรการรณรงค์โดยใช้เงินรางวัลจูงใจเพื่อให้ประชาชนประหยัดพลังงาน ผลการดำเนินงานที่ได้มีประโยชน์อย่างยิ่งที่จะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจดำเนินโครงการในลักษณะดังกล่าวในระยะต่อไป จึงขอให้ สนพ. ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการได้รวบรวมสรุปผลการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว

4. ที่ประชุมได้มอบหมายให้นายปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ และ สนพ. รับไปพิจารณาให้ความเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการประหยัดพลังงาน กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ เปรียบเทียบระหว่างเขตการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เมื่อได้รับรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นดำเนินการในแต่ละประเด็น จะต้องนำเสนอผลการศึกษาของแต่ละประเด็นที่รับผิดชอบ ต่อคณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ครั้งต่อไปด้วย

Read 2966 times Last modified on วันพุธ, 06 กรกฎาคม 2559 09:02
Tweet
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400  โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364 Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เว็บนี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดบน Internet Explorer 11 Chrome และ Firefox ทุกเวอร์ชั่น

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์