• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับองค์กร
    • เกี่ยวกับองค์กร
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และหน้าที่
    • โครงสร้างองค์กร
    • ติดต่อเรา
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ผังเว็บไซต์

    ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง

    • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • วิสัยทัศน์และนโยบายต่างๆ
    • การบริหารงานด้าน ICT
    • ข่าวสารจากซีไอโอ
    • ปฏิทินกิจกรรมซีไอโอ
  • นโยบายและแผน
    • คำแถลงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล
    • นโยบายด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
    • แผนแม่บทพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • แผนปฏิบัติราชการรายปี และแผนปฎิบติราชการระยะ 5 ปี

    แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB)

    • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
    • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
    • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
    • แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
    • แผนจัดหาก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)

    การติดตามและประเมินผล

    • รายงานผลการประเมินดัชนีชี้วัดด้านพลังงานของประเทศไทย
    • รายงานความก้าวหน้าตามแผนปฏิบัติราชการ
    • รายงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
    • การดำเนินงานด้านพลังงานของ สนพ.
    • โครงการภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • การดำเนินงานตามมติ กพช.

    ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    • สหประชาชาติ

      • กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (UNFCCC)
      • การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP)
      • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

        • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
        • Joint Implementation (JI)
        • Emission Trading (ET)
        • Clean Development Mechanism (CDM)
        • Paris Agreement Adopted
        • Bali Action Plan

          • Bali Action Plan
          • AWG-LCA
          • NAMAS
          • Sectoral Approach : SA
          • MRV
          • AWG-KP
          • Concun Agreement
          • ประเทศไทย

            • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2550
            • คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
            • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
            • แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
            • แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564
            • ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2551-2555
            • กระทรวงพลังงาน

              • คณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ
              • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
              • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
              • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
              • อภิธานศัพท์
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
    • พระราชบัญญัติ / พระราชกำหนด
    • คำสั่งนายกรัฐมนตรี
    • กฏกระทรวง
    • มติ ครม.ด้านพลังงาน
    • คำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้อง กับ สนพ.
    • ประกาศ/คำสั่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • การจัดทำสรุปสาระสำคัญและคำแปลกฎหมาย
    • การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
  • คณะกรรมการ/อนุกรรมการ
    • คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
    • คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
    • คณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม
    • คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)

    คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)

    • มติ
    • คำสั่ง
    • ประกาศ

    คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

    • มติ
    • คำสั่ง
    • ประกาศ

    คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กทอ.)

    • คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณกองทุนฯ
    • คณะอนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
    • มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • มติคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
  • บริการข้อมูลข่าวสาร
    • สถานการณ์พลังงาน
    • วารสารนโยบายพลังงาน
    • รายงานประจำปี
    • รายงานสถิติพลังงานประจำปี
    • รายงานผลการศีกษานโยบายพลังงาน
    • จดหมายข่าวอนุรักษ์พลังงาน
    • ข่าว สนพ.
    • ข่าวพลังงาน
    • ประชาสัมพันธ์
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศรับสมัครงาน
    • ห้องสมุด สนพ.
    • INFOGRAPHIC
    • FAQ
    • บริการประชาชน
    • ธรรมบาลข้อมูล

    เอกสารเผยแพร่ / หนังสือ / สาระน่ารู้

    • เอกสารเผยแพร่
    • หนังสือ
    • สาระน่ารู้
  • การกำกับดูแลองค์กร
    • การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
    • ศูนย์ประสานราชการใสสะอาด
    • ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาค ระหว่างหญิงชาย
    • ศูนย์บริการร่วม
    • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
    • ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
    • กลุ่มงานจริยธรรม
    • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    การพัฒนาระบบบริหาร

    • นโยบายการกำกับองค์กรที่ดี
    • กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ
    • คำรับรองการปฏิบัติราชการ (KPI)
    • การควบคุมภายใน
    • การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
    • มาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงาน
    • แผนปฏิรูปองค์การ
    • การแบ่งส่วนราชการภายในกรม
    • ITA

      • ITA 2565
      • ITA 2566

    สรุปผลการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง

    • งบประมาณ
    • กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
วันอังคาร, 05 กรกฎาคม 2559 16:53

encon fund

มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ครั้งที่ 2/2546 (ครั้งที่ 34)
วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2546 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล


1. ขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน

2. ขออนุมัติเงินสนับสนุนชุดโครงการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคการขนส่ง

3. ขออนุมัติโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนที่ สนพ. รับผิดชอบ ปีงบประมาณ 2546 ช่วงที่ 1


รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายเมตตา บันเทิงสุข) กรรมการและเลขานุการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) ผู้เข้าร่วมประชุม


เนื่องจากประธานกรรมการกองทุนฯ ติดภารกิจเร่งด่วนไม่สามารถทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมต่อไปได้ จึงมอบหมายให้ นายวิษณุ พูลสุข (รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทน


เรื่องที่ 1 ขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน

1. เลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ มีมติให้ สนพ. นำเงินจากกองทุนฯ ในวงเงิน 3,000 ล้านบาท มาส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจำหน่ายเข้าสู่ระบบเพิ่มมากขึ้น โดยสนับสนุนราคารับซื้อไฟฟ้าจากอัตรารับซื้อไฟฟ้าของ กฟผ. ในอัตราไม่เกิน 0.36 บาท/หน่วย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย

(1) เปิดรับข้อเสนอโครงการ

(2) การพิจารณาโครงการ ในด้านเทคนิคและการเงิน

(3) การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน

(4) การพิจารณาการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้า

(5) การติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการฯ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ

ขั้นตอนที่ 1 และ 2 ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2544 และได้ดำเนินการแล้วเสร็จ โดยมีผู้สนใจยื่นข้อเสนอโครงการมาเพื่อให้พิจารณาจำนวนทั้งสิ้น 43 โครงการ คิดเป็นพลังไฟฟ้ารวม 511 MW ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ ได้พิจารณาข้อเสนอทางด้านเทคนิคและการเงินแล้วมีผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านพิจารณาเบื้องต้น จำนวน 31 โครงการ กระจายอยู่ใน 19 จังหวัด คิดเป็นเงินสนับสนุนจำนวน 2,991 ล้านบาท

ขั้นตอนที่ 3 และ 4 นั้น อยู่ระหว่างการดำเนินการโดย สนพ. โดยได้มีการตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์และศูนย์ประสานงานโครงการฯ ที่กรุงเทพฯ พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ออกไปดำเนินการในพื้นที่ตั้งโครงการ 19 จังหวัด รวมทั้งได้จัดให้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในวงกว้างในสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ และจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่โครงการฯ

2. สำหรับการพิจารณาการยอมรับของประชาชนต่อ SPP ผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายต้องส่งแผนการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นชุมชนมาให้ สนพ. ตรวจสอบความเหมาะสมของแผนฯ โดยในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชุมชนของ SPP แต่ละราย สนพ. ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมสังเกตการณ์ทุกครั้ง และได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ของศูนย์ประสานงานโครงการฯ เข้าสำรวจทัศนคติของชุมชนที่มีต่อโครงการในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งได้พาผู้แทนคณะกรรมการกองทุนฯ ลงพื้นที่ตั้งโครงการฯ เพื่อไปสังเกตการณ์ในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนนำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติเงินสนับสนุนโครงการฯ โดยในช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม 2546 สนพ. ได้พาผู้แทนกองทุนฯ ลงพื้นที่ตั้ง SPP แล้ว จำนวน 15 โครงการ และพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้นำข้อเสนอของ SPP 14 โครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยเห็นควรแบ่ง SPP ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

เจ้าของโครงการ สถานที่ตั้ง เชื้อเพลิงพลังงาน พลังไฟฟ้า เฉลี่ยเข้าระบบ อัตราขอรับเงินสนับสนุน เงินสนับสนุน
จากกองทุนฯ
(MW) (บาท/kwh) (บาท)
กลุ่มที่ 1
(1) บริษัท กัลฟ์อิเล็คตริก จำกัด (มหาชน) อ.เมือง จ.ยะลา เศษไม้ 20.0 0.180 126,144,000.00
(2) บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี พลังน้ำขนาดเล็ก 8.0 0.200 46,920,000.00
(3) บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อนคลองท่าด่าน อ.เมือง จ.นครนายก พลังน้ำขนาดเล็ก 10.0 0.200 31,420,000.00
(4) บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท พลังน้ำขนาดเล็ก 14.0 0.200 91,420,000.00
(5) บริษัท ไฟฟ้าชนบท จำกัด อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี แกลบ 15.0 0.150 74,583,000.00
กลุ่มที่ 2
(1) บริษัท พี อาร์ จี พืชผล จำกัด อ.เมือง จ.ปทุมธานี แกลบ 5.0 0.219 43,099,200.00
(2) บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ชานอ้อย เปลือกไม้ แกลบ 25.0 0.145 120,649,796.20
(3) บริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จำกัด อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ชานอ้อย เปลือกไม้ แกลบ 5.1 0.145 35,858,268.00
(4) บริษัท น้ำตาลราชสีมา จำกัด อ.แก้งสนามนาง จ.นครราชสีมา ชานอ้อย 18.0 0.140 73,290,000.00
(5) บริษัท แอ็ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน) อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี แกลบ เปลือกไม้ น้ำมันยางดำ 30.0 0.180 226,281,600.00
(6) บริษัท เอ เอ พัลพ์ มิลล์ 2 จำกัด อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี น้ำมันยางดำ 25.0 0.184 192,542,880.00
(7) บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ชานอ้อย 8.0 0.180 28,487,520.00
กลุ่มที่ 3
(1) บริษัท น้ำตาลรีไฟน์ชัยมงคล จำกัด อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ชานอ้อย 7.0 0.140 15,758,400.00
(2) บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ชานอ้อย 4.0 0.130 10,296,000.00
รวม 14 โครงการ 194.1 1,116,750,664.20

3. โดยมีเงื่อนไขการอนุมัติเงินสนับสนุนแก่ SPP แต่ละกลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เป็น SPP ที่มีผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่นำส่งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นโรงไฟฟ้าใหม่ที่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งผู้แทนกองทุนฯ ได้เข้าไปในพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าแล้ว มีข้อสังเกตว่าโรงไฟฟ้าดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบข้าง ในกรณีนี้เห็นควรอนุมัติเงินสนับสนุนแก่ SPP ได้

กลุ่มที่ 2 เป็น SPP ที่มีผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่นำส่งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง แต่เมื่อผู้แทนกองทุนฯ ได้เข้าไปในพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าแล้ว มีข้อสังเกตว่าโรงไฟฟ้าดังกล่าวยังก่อปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบข้าง ในกรณีนี้เห็นควรอนุมัติเงินสนับสนุน SPP แต่ละราย แบบมีเงื่อนไข และระบุไว้ในสัญญารับเงินสนับสนุนอย่างชัดเจน โดย SPP แต่ละรายต้องจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และต้องดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ลงนามในสัญญารับเงินสนับสนุน และหาก SPP รายใดไม่สามารถดำเนินการได้ตามเงื่อนไข ก็ให้ สนพ. มีสิทธิเพิกถอนสัญญารับเงินสนับสนุน

กลุ่มที่ 3 เป็น SPP ที่มีผลการดำเนินงานไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมบางประเด็นในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่นำส่งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนกองทุนฯ ได้เข้าไปในพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าแล้ว มีข้อสังเกตว่าโรงไฟฟ้าดังกล่าวก่อปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบข้าง ในกรณีนี้ เห็นควรอนุมัติเงินสนับสนุน SPP แต่ละราย แบบมีเงื่อนไข โดย SPP ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินการให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนที่จะลงนามในสัญญารับเงินสนับสนุน ซึ่งหาก SPP ไม่สามารถดำเนินการได้ก็จะไม่ได้รับการพิจารณาให้ทำสัญญารับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ

4. นอกจากนี้ SPP แต่ละรายต้องปฏิบัติตามที่ผู้แทนกองทุนฯ ได้มีคำแนะนำไว้ ดังรายละเอียดที่ปรากฏในข้อ 6.4 ของส่วนที่ 1 แห่งเอกสารประกอบวาระ 3.1 ด้วย เช่น

SPP ที่ใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิง ผู้แทนกองทุนฯ ได้มีคำแนะนำให้บริษัทฯ ต้องดำเนินการปรับปรุง/ติดตั้งระบบการกำจัดฝุ่นจากทุกปล่องของโรงงานให้ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด และต้องกำหนดมาตรการกำจัดผลกระทบจากฝุ่นและอื่นๆ จากกองชานอ้อย เช่น จุลินทรีย์ เป็นต้น และต้องกำหนดมาตรการบำบัดน้ำทิ้งที่มีประสิทธิภาพ และต้องจัดทำระบบป้องกันน้ำเสียจากโรงงานไหลเข้าสู่แหล่งน้ำสาธารณะ โดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีน้ำมาก

SPP ที่ใช้แกลบ ผู้แทนกองทุนฯ ได้มีคำแนะนำให้บริษัทฯ ต้องดำเนินการปรับปรุงระบบการจัดเก็บแกลบเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน ต้องกำหนดมาตรการจัดการด้านมลภาวะด้านอื่นๆ เช่น การจัดการขี้เถ้า น้ำทิ้งจากโรงไฟฟ้า

SPP ที่ใช้น้ำมันยางดำ ผู้แทนกองทุนฯ ได้มีคำแนะนำให้บริษัทฯ ต้องดำเนินการแสดงแผนงานในการจัดการปัญหาด้านกลิ่นเหม็นจากโรงงานไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน ต้องกำหนดมาตรการจัดการด้านมลภาวะด้านอื่นๆ เช่น การจัดการขี้เถ้า น้ำทิ้งจากโรงไฟฟ้าและโรงงานกระดาษ ต้องแสดงค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศที่ออกจากปล่องที่ได้ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

5. สนพ. ได้หารือกับกรมสรรพากรเพื่อขอทราบแนวทางปฏิบัติตามข้อบังคับการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือข้อบังคับการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีที่ สนพ. ได้ใช้เงินจาก "กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" (กรมบัญชีกลาง) จ่ายเป็นเงินสนับสนุนค่าพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ให้กับ SPP โดยจ่ายผ่าน "กฟผ." สรุปได้ดังนี้

(1) ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย (ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)

กฟผ. มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร การจ่ายเงินสนับสนุนฯ ให้ SPP ตามโครงการดังกล่าว จึงไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

SPP เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล การที่ กฟผ. จ่ายเงินสนับสนุนฯ ให้ SPP ตามโครงการดังกล่าว ถือเป็นการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร กฟผ. จึงมีหน้าที่คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1

(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ตามมาตรา 77/1(8) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร)

เงินที่ กฟผ. ได้รับจาก สนพ. มิใช่เนื่องจากการกระทำใดๆ อันเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการตามมาตรา 77/1 (8) (9) และ (10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

การที่ กฟผ. นำเงินกองทุนฯ ไปจ่ายให้กับ SPP ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ และเนื่องจากสัญญาที่ขอรับเงินสนับสนุนฯ จะต้องมีผลบังคับใช้ร่วมกันกับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ SPP ขายให้กับ กฟผ. ดังนั้นเงินสนับสนุนฯ ดังกล่าว จึงเป็นเงินที่ขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) และ (9) อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

6. เพื่อให้การจ่ายเงินสนับสนุนค่าพลังงานไฟฟ้า ดำเนินการด้วยความถูกต้องตามข้อบังคับการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกับ กฟผ. ไม่มีงบประมาณที่จะรับภาระรายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการนำเงินจากกองทุนฯ ไปจ่ายสนับสนุนฯ ให้กับ SPP สนพ. จึงเห็นควรเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาจัดสรรเงินให้ กฟผ. เพื่อนำไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมูลค่ารายจ่ายที่เกิดจากการนำเงินกองทุนฯ ไปจ่ายสนับสนุนฯ ให้กับ SPP ในโครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 78,172,546.49 บาท

7. สำหรับขั้นตอนต่อไปหลังจากได้รับอนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ แล้วทาง สนพ. จะดำเนินการเจรจาสัญญาการรับเงินสนับสนุนระหว่าง กฟผ. และ SPP โดยแบ่งเป็นกลุ่มและเงื่อนไขตามที่กำหนด และประสานงานไปยังจังหวัดพื้นที่ตั้งโครงการที่ได้รับอนุมัติ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคี โดยกองทุนฯ จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการไตรภาคีในแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมในวงเงินประมาณ 3 แสนบาท/พื้นที่ โดย สนพ. จะจัดจ้างผู้ชำนาญการจัดทำร่างรายงานผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance Report) เพื่อคณะกรรมการไตรภาคีจะได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินผลการดำเนินงานของ SPP แต่ละราย รวมทั้งจัดจ้างที่ปรึกษาอิสระ (Third Party) เพื่อดำเนินการเก็บข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม จัดทำเป็นรายงานผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมนำเสนอคณะกรรมการไตรภาคี และคณะกรรมการกองทุนฯ ผ่าน สนพ. ตลอดระยะเวลา 5 ปี ของการสนับสนุนอัตรารับซื้อไฟฟ้า SPP

มติที่ประชุม

1. อนุมัติเงินจากกองทุนฯ แผนงานภาคความร่วมมือ โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 1,116,750,664.20 บาท (หนึ่งพันหนึ่งร้อยสิบหกล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นหกร้อยหกสิบสี่บาทยี่สิบสตางค์) ให้ กฟผ. เพื่อนำไปจ่ายให้กับ SPP ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจำนวน 14 ราย และทำสัญญากับ กฟผ. ตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็กเรียบร้อยแล้ว ตามหน่วยไฟฟ้าที่จำหน่ายให้ กฟผ. ในอัตรา (บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง) ที่ SPP แต่ละรายได้เสนอไว้ โดยกองทุนฯ จะสนับสนุน SPP แต่ละราย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ SPP เริ่มต้นขายและส่งมอบไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. ตามปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ได้ตกลงกันไว้ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โดยมีรายชื่อ SPP ที่ได้รับการสนับสนุนตามข้อ 2

2. ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กทั้ง 14 รายดังกล่าวข้างต้น แต่ละรายจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนการดำเนินงาน ตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้มีมติไว้ตามข้อ 3 และข้อ 4 หากมีรายใดไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้มีมติไว้ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการกองทุนฯ จำเป็นต้องถือว่าผู้ผ่านการคัดเลือกรายนั้นสละสิทธิ์การขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ เป็นค่าพลังงานไฟฟ้าส่วนเพิ่มขึ้นจากอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ในครั้งนี้แล้ว

3. เห็นชอบแนวทางการดำเนินงานขั้นตอนต่อไป หลังจากอนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ แก่ SPP ในการเจรจาสัญญาและเงื่อนไขการอนุมัติเงินกองทุนฯ รวมทั้งการประสานงานจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคี และจัดจ้างผู้ชำนาญการเพื่อจัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance Report) เพื่อคณะกรรมการไตรภาคีจะได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินผลการดำเนินงานของ SPP แต่ละราย ตามที่ สนพ. ได้นำเสนอ

4. เห็นชอบให้ สนพ. ใช้เงินจากจากกองทุนฯ แผนงานภาคความร่วมมือ โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของคณะกรรมการไตรภาคี ในแต่ละพื้นที่ ในวงเงิน 3 แสนบาทต่อพื้นที่ เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยให้ สนพ. จัดทำรายละเอียดประมาณการรายจ่ายและแผนการใช้จ่ายเงินดังกล่าว เสนอคณะทำงานโครงการฯ พิจารณาอนุมัติต่อไป


เรื่องที่ 2 ขออนุมัติเงินสนับสนุนชุดโครงการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคการขนส่ง

1. เลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า ในช่วงปี 2544-2545 มีหน่วยงานต่างๆ ได้ยื่นข้อเสนอไว้กับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือหรืออุดหนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในสาขาขนส่ง รวมทั้งสิ้น 14 โครงการ และคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคความร่วมมือ ในคราวการประชุม เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ได้แต่งตั้ง "คณะผู้เชี่ยวชาญกลุ่มการอนุรักษ์พลังงานในสาขาขนส่ง" โดยมี ศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ เป็นประธาน ทั้งนี้เพื่อทำหน้าที่ ในการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอในกลุ่มสาขาขนส่ง รวมถึงพิจารณาลดความความซ้ำซ้อนของการดำเนินกิจกรรม พร้อมทั้งกำหนดกรอบการจัดสรรเงินจากกองทุนฯ ให้กับกลุ่ม ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญฯ ได้กำหนดกรอบหลักการพิจารณาใน 5 ประเด็น คือ

(1) โครงการที่มีลักษณะเป็นการสาธิตเพื่อเผยแพร่ขยายผล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ได้รับการพิสูจน์ทราบแล้วเป็นอย่างดี และมีความคุ้มค่าในการลงทุน เห็นควรให้ทุนสนับสนุนเฉพาะส่วนต่างระหว่างเทคโนโลยีใหม่นั้น กับเทคโนโลยีเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งกิจกรรมของโครงการควรเป็นกลาง โดยไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่องค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ

(2) โครงการที่มีลักษณะเป็นการสาธิตเพื่อเผยแพร่ขยายผล แต่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่ทราบผลชัดเจน เห็นควรให้กองทุนฯ สนับสนุนงบประมาณของโครงการบางส่วน โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละโครงการ อย่างไรก็ตามในการเบิกจ่ายค่าบริหารโครงการในแต่ละงวดรายงาน จะแปรตามปริมาณผลงานที่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จได้จริงในแต่ละงวดรายงานนั้น

(3) โครงการที่มีลักษณะเป็นงานวิจัยในขั้นพื้นฐานเพียงอย่างเดียว เห็นควรให้ สนพ. ประสานกับ สกว. เพื่อรับโครงการนั้นไปพัฒนาให้มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับการใช้งานได้จริงก่อน แล้วจึงส่งกลับมายัง สนพ. เพื่อสนับสนุนทุนในการเผยแพร่ขยายผลต่อไป ทั้งนี้เนื่องจาก สกว. มีฐานข้อมูลและมีผู้ชำนาญการในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี และเป็นการป้องกันการให้ทุนที่ซ้ำซ้อนของทั้ง 2 หน่วยงาน

(4) ไม่เห็นควรสนับสนุนแก่โครงการที่ไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

(5) สนับสนุนการทำงานที่มีลักษณะเป็นโครงการระดับชาติ (National Project)

2. ในจำนวนข้อเสนอ 14 โครงการ มีข้อเสนอที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ เพื่อดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการนำก๊าซธรรมชาติที่มีแหล่งพลังงานภายในประเทศมาใช้เพิ่มมากขึ้น 3 โครงการ ดังนี้

(1) โครงการแท็กซี่อาสาสมัครใช้ก๊าซ NGV ระยะที่ 2 ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

(2) โครงการจัดซื้อรถเก็บขนมูลฝอยชนิดใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ของ กรุงเทพมหานคร

(3) โครงการก่อสร้างสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

3. ข้อเสนอทั้ง 3 โครงการตามข้อ 2 สามารถช่วยลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ พร้อมทั้งตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดยสามารถนำก๊าซธรรมชาติจำนวน 21,520 ลูกบาศก์ฟุต/ปี มาใช้ทดแทนน้ำมันเบนซินและดีเซลได้ 380.7 และ 141.76 ล้านลิตร/ปี ตามลำดับ ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงลงได้ประมาณ 1,982 ล้านบาท/ปี รวมทั้งช่วยลดปัญหามลภาวะที่เกิดขึ้นจากการใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนเชื้อเพลิงปิโตรเลียม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเห็นควรให้การสนับสนุนทั้ง 3 โครงการ โดยเห็นควรเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อโปรดพิจารณาให้เจ้าของโครงการฯ ต้องมีการปรับปรุงรูปแบบของการบริหารงานของแต่ละโครงการฯ ดังต่อไปนี้

(1) โครงการแท็กซี่อาสาสมัครใช้ก๊าซ NGV ระยะที่ 2 ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญฯ และฝ่ายเลขานุการฯ กองทุนฯ ควรสนับสนุนในลักษณะเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย โดยให้ ปตท. ปรับรูปแบบการสนับสนุนแก่ Taxi โดยเงินให้เปล่าจำนวน 25,000 บาท/คัน เพื่อนำไปจ่ายให้กับ Taxi ซึ่ง ปตท. ออกให้ 15,000 บาท/คัน และขอสนับสนุนจากกองทุนฯ 10,000 บาท/คัน นั้น (ซึ่งก่อให้เกิดภาระ VAT ที่ ปตท. ขอให้เป็นภาระของกองทุนฯ 2,500 บาท/คัน) ฝ่ายเลขานุการฯ เห็นว่าเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ 10,000 บาท/คัน ควรให้ IFCT ปล่อยเงินกู้แก่ Taxi เพิ่มเติมจาก 25,000 บาท/คัน เป็น 35,000 บาท/คันแทน (ซึ่งจะลดภาระ VAT ที่ ปตท. ขอให้เป็นภาระของกองทุนฯ 2,500 บาท/คัน) คงเหลือวงเงินรวมที่กองทุนฯ ควรจะสนับสนุน ปตท. ในโครงการนี้ทั้งสิ้น 19,200,000 บาท ดังนี้

 

เงินสนับสนุนจากกองทุนฯ ข้อเสนอเดิม ความเห็นของฝ่ายเลขาฯ
1) เงินให้เปล่าจ่ายให้กับ TAXI 10,000 บาท/คัน - บาท/คัน
2) ดอกเบี้ยเงินกู้ 4% จ่ายให้กับ IFCT 1,000 บาท/คัน 1,400 บาท/คัน
3) ค่าบริหารโครงการฯ จ่ายให้ IFCT 5,000 บาท/คัน 5,000 บาท/คัน
4) สนับสนุนค่าภาษีให้แก่ ปตท. 2,500 บาท/คัน - บาท/คัน
รวมเป็นเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ (ต่อคัน) 18,500 บาท/คัน 6,400 บาท/คัน
จำนวน TAXI 3,000 คัน 3,000 คัน
รวมเป็นเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ 55,500,000 บาท 19,200,000 บาท
หมายเหตุ: ราคาอุปกรณ์ NGV = 50,000 บาท/คัน
(2) โครงการจัดซื้อรถเก็บขนมูลฝอยชนิดใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ของ กรุงเทพมหานคร
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญฯ และฝ่ายเลขานุการฯ กองทุนฯ ควรสนับสนุนเฉพาะส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นจากการใช้รถเก็บขนมูลฝอยใหม่ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ทดแทนการใช้รถดีเซล (EURO II) ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างราคารถและส่วนต่างค่าดูแลรักษา คิดเป็นเงินสนับสนุนต่อคันสูงสุดไม่เกิน 390,000 บาท โดยคำนวณจาก
ราคาเก็บขนมูลฝอยใหม่ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ 2,500,000 บาท/คัน
(หัก) ราคารถดีเซล (EURO II) 2,150,000 บาท/คัน
ส่วนต่างราคารถ 350,000 บาท/คัน
(บวก) ส่วนต่างค่าดูแลรักษาที่เพิ่มขึ้น 40,000 บาท/คัน
เงินสนับสนุนจากกองทุนฯ 390,000 บาท/คัน
รวมเป็นเงินที่กองทุนฯ จะสนับสนุนการจัดซื้อรถโดยสารใหม่ 69 คัน 26,910,000 บาท และกองทุนฯ สนับสนุนค่าบริหารโครงการฯ ให้ กทม. อีก 2,500,000 บาท รวมเป็นวงเงินที่กองทุนฯ ควรจะสนับสนุน กทม. ในโครงการนี้ทั้งสิ้น 29,410,000 บาท
(3) โครงการก่อสร้างสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญฯ และฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อแก้ไขปัญหากรณีที่สถานีบริการก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ในปัจจุบันจำนวน 8 สถานี ไม่เพียงพอต่อการให้บริการหรือไม่มากพอที่จะจูงใจให้รถบ้านหันมาใช้ NGV ประกอบกับวงเงินที่ ปตท. เสนอขอรับการสนับสนุน (30%) นั้น ทำให้ FIRR = 7.6% อยู่ภายในเงื่อนไขที่กองทุนฯ กำหนดไว้ (ไม่เกิน MIRR+5 % หรือเท่ากับ 7.5+5= 12.5%) แต่สำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนค่าบริหารโครงการฯ 50 สถานี ที่ ปตท. ขอสนับสนุนจากกองทุนฯ 20,460,000 บาท นั้น ฝ่ายเลขานุการฯ เห็นว่า ปตท. ควรเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวนั้นเอง รวมเป็นวงเงินที่กองทุนฯ ควรจะสนับสนุน ปตท. ในโครงการนี้ทั้งสิ้น 596,040,000 บาท (คำนวณจาก 616,500,000 -20,460,000 บาท)

นอกจากนี้ กองทุนฯ ควรเปิดโอกาสให้ผู้สนใจลงทุนสร้างสถานีบริการก๊าซธรรมชาติมีสิทธิขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ ในสัดส่วนร้อยละ 30 เช่นเดียวกับ ปตท. ด้วย

มติที่ประชุม

ให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานงานกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ กรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำชุดโครงการ (NGV Package) ที่ประกอบด้วยการดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง ตามข้อสังเกตที่ของที่ประชุม และนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณาอีกครั้ง


เรื่องที่ 3 ขออนุมัติโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนที่ สนพ. รับผิดชอบ ปีงบประมาณ 2546 ช่วงที่ 1

1. เลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 6/2545 (ครั้งที่ 32) เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2545 ได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในส่วนที่ สนพ. รับผิดชอบ ปี 2546 และอนุมัติเงินกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน โครงการประชาสัมพันธ์ ให้ สนพ. ในวงเงิน 200 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนิน "โครงการรวมพลังหาร 2" ที่เน้นการรณรงค์เพื่อให้ประชาชนรู้จักและเข้าใจวิธีประหยัดพลังงานในชีวิตประจำวันที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่าการเดิม และพยายามเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการดำเนินกิจกรรม ดังต่อไปนี้

ชื่อกิจกรรม ล้านบาท
1 การรณรงค์สร้างค่านิยมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและพลังงาน

1.1 โครงการน้ำและพลังงานหาร 2 ระยะที่ 2
1.2 โครงการรีไซเคิล เพื่อประหยัดพลังงาน

110
2. การประชาสัมพันธ์กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

2.1 โครงการ 10 ปี กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
(1) ผลิตสารคดีสั้นนำเสนอผลงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
(2) เผยแพร่ทางสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ วิทยุโทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต (Web Pages รวมพลังหาร 2)

25
3. กิจกรรมสนับสนุนเพื่อสร้างจิตสำนึก

3.1 พัฒนาและประชาสัมพันธ์ Web pages
3.2 ผลิตและเผยแพร่วัสดุประชาสัมพันธ์
3.3 นิทรรศการพลังงานหาร 2

10
4. การประชาสัมพันธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

4.1 ซื้อพื้นที่เผยแพร่/เวลาออกอากาศสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและสื่อโทรทัศน์
4.2 เปิดประเด็นนโยบายและสถานการณ์พลังงาน มาตรการอนุรักษ์พลังงาน
4.3 ผลิตและเผยแพร่สารคดี
4.4 ผลิตและเผยแพร่รายการโทรทัศน์เพื่อเยาวชน

35
5. การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน

5.1 ศูนย์ประชาสัมพันธ์รวมพลังหาร 2

10
6. อื่นๆ 10
รวมงบประมาณทั้งสิ้น 200

2. สนพ. ได้ดำเนินการคัดเลือกผู้ดำเนินกิจกรรมโครงการฯ ปี 2546 ช่วงที่ 1 จำนวน 2 รายการ ได้แก่

(1) กิจกรรมที่ 2 การประชาสัมพันธ์กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จากกิจกรรม "โครงการ 10 ปี กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" สนพ. ได้จัดทำ รายละเอียดและข้อกำหนด (TOR) ของการว่าจ้างบริษัทที่จะดำเนินกิจกรรม "โครงการสารคดีเพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทน และผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยจะผลิตและเผยแพร่สารคดีสั้นทางวิทยุและโทรทัศน์ พร้อมทั้งผลิตบทความประชาสัมพันธ์เผยแพร่ทางสิ่งพิมพ์ เป็นต้น

(2) กิจกรรมที่ 5 การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน จากกิจกรรม "ศูนย์ประชาสัมพันธ์รวมพลังหาร 2" สนพ. ได้จัดทำ TOR ของการว่าจ้างบริษัทที่จะดำเนินกิจกรรม "โครงการศูนย์ประชาสัมพันธ์" เพื่อบริการและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและสื่อมวลชนในเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และกิจกรรมต่างๆ ของกองทุนฯ ตลอดจนเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยป้องกันความสับสนและการเข้าใจผิดในเรื่องของสถานการณ์ นโยบาย และมาตรการพลังงาน สร้างทัศนคติและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกลุ่มเป้าหมาย

3. สนพ. ได้ดำเนินการคัดเลือกผู้ดำเนินกิจกรรมทั้ง 2 รายการ เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยวิธีประกวดราคา ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 โดยสรุปผลการคัดเลือกได้ดังนี้

(1) กิจกรรมที่ 2 การประชาสัมพันธ์กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีผู้ยื่นข้อเสนอ 4 ราย และคัดเลือกได้ บริษัท ส.วัชราชัย จำกัด เป็นผู้รับทำกิจกรรม "โครงการสารคดีเพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" ในวงเงิน 19,990,000 บาท ดำเนินกิจกรรมระหว่างเดือนมีนาคม 2546-กันยายน 2546 โดยบริษัทฯ นำเสนอรูปแบบสื่อหลัก ดังนี้

สารคดีโทรทัศน์ ความยาวตอนละ 3 นาที จำนวน 60 ตอน รูปแบบของรายการจะมีพิธีกรเปิดรายการด้วยการเกริ่นนำเข้าสู่เนื้อหาและกล่าวสรุปท้ายรายการ การเขียนบทจะใช้ภาษาพูดแบบเข้าใจง่าย ฉากหลังของพิธีกรเป็นภาพ Logo "10 ปี กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" เพื่อให้ผู้ชมรู้จักและจดจำได้มากขึ้น ออกอากาศระหว่างเดือนพฤษภาคม 2546-กรกฎาคม 2546 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ทางโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 5 และ ITV เวลาประมาณ 11.30 น. 18.30 น. และ 14.57 น. ตามลำดับ

สารคดีสั้นทางวิทยุ ความยาวตอนละ 3 นาที จำนวน 60 ตอน เป็นละครวิทยุที่มีหลายเสียงหลายตัวละครหลัก (ไม่เกิน 4 เสียง) ซักตอบคำถามระหว่างตัวละคร เพื่อนำเสนอสาระน่ารู้จากกองทุนฯ ซึ่งจะช่วยให้จดจำได้ง่าย น่าสนใจและชวนติดตาม เผยแพร่ออกอากาศทางวิทยุ 13 สถานี ประกอบด้วย สถานี F.M. ในกรุงเทพฯ 3 สถานี (จส.100 INN และกองพลที่ 1) F.M. ต่างจังหวัด 10 สถานี และมีสัมภาษณ์พิเศษ ทางสถานีวิทยุ จส.100 และ FM.99.5

สารคดีสั้น 1 ตอน ความยาวไม่น้อยกว่า 15 นาที เป็นการนำเสนอภาพรวมของกองทุนฯ และผลการดำเนินงานของกองทุนฯ โดยรวบรวมเนื้อหาจากสารคดีสั้นทางโทรทัศน์ และอัดสำเนาวิดีโอเทปเพื่อเผยแพร่ให้กับผู้สนใจทั่วไป

งานผลิตและเผยแพร่บทความประชาสัมพันธ์ทางหนังสือพิมพ์ เป็นการจัดคอลัมน์พิเศษ "10 ปี กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" ในหนังสือพิมพ์มติชน สำหรับเผยแพร่ข้อมูลที่ต้องการเนื้อที่ในการอธิบายรายละเอียดและใช้เวลาในการทำความเข้าใจในเนื้อหา มีขนาด 60 คอลัมน์นิ้ว จัดรูปแบบ Art Work ที่ดึงดูดความสนใจ โดยเผยแพร่สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวม 30 ครั้ง

(2) กิจกรรมที่ 5 การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน ศูนย์ประชาสัมพันธ์รวมพลังหาร 2 มีผู้ยื่นข้อเสนอ 2 ราย คัดเลือกได้ บริษัท คิธ แอนด์ คิน คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นผู้รับทำกิจกรรม ในวงเงิน 7,990,000 บาท ดำเนินกิจกรรมระหว่างเดือนเมษายน 2546-16 มีนาคม 2547 บริษัทฯ จะบริหารจัดการศูนย์ประชาสัมพันธ์ โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ ทำการประชาสัมพันธ์เชิงรุกกับสื่อ ด้วยกลยุทธ์หลักดังนี้

สร้างกิจกรรมที่จูงใจให้สื่อมวลชนเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานมากขึ้น เกิดผลอย่างจริงจังชัดเจน สามารถสร้างกระแสในเชิงสังคม มากขึ้น เช่น จัดแถลงข่าว ทำข่าวแจก จัดสัมภาษณ์ผ่านสื่อวิทยุ และหรือโทรทัศน์ จัดพาสื่อมวลชนร่วมกิจกรรม เป็นต้น

สื่อสารข้อมูลในเชิงรุกถึงภายในและนอกองค์กร ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องและครอบคลุม ก่อให้เกิดความร่วมมือ และสร้างการรับรู้ความเคลื่อนไหวด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง เช่น จัดทำ News Clipping & Monitoring Report

กำหนดแผนรองรับการแก้สถานการณ์ หรือช่องทางการสื่อสารที่ฉับไว ทันต่อเหตุการณ์ สามารถสื่อสารในภาวะวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน

จัดระบบข้อมูลและข่าวสารด้านอนุรักษ์พลังงานที่เป็นหมวดหมู่และบริการสืบค้นข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ได้ โดยจัดการฐานข้อมูลด้วยโปรแกรมการ SQL Database System ประกอบด้วย ฐานข้อมูลสื่อทั่วประเทศ ฐานข้อมูลองค์กรเครือข่าย ฐานข้อมูล และข่าวสารด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน เป็นต้น

ประเมินผลการให้บริการ โดยมีระบบวัดผลที่ชัดเจน ได้แก่ การทำแบบสอบถามความคิดเห็นและเพิ่มแรงจูงใจในการประเมินผล ซึ่งจะทำให้ประชาชนผู้มาใช้บริการได้แสดงทัศนคติ ความพึงพอใจ รวมถึงทัศนคติต่อองค์กรโดยรวม ที่สามารถนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพ หรือเพิ่มศักยภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น

มติที่ประชุม

1. อนุมัติให้สนับสนุน "โครงการสารคดีเพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" โดยใช้เงินจากกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน โครงการประชาสัมพันธ์ ในส่วนที่ สนพ. รับผิดชอบ ในวงเงิน 19,990,000 บาท โดยให้ สนพ. ไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

2. อนุมัติให้สนับสนุน "โครงการศูนย์ประชาสัมพันธ์" โดยใช้เงินสนับสนุนจากกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน โครงการประชาสัมพันธ์ ในส่วนที่ สนพ. รับผิดชอบ ในวงเงิน 7,990,000 บาท (เจ็ดล้านเก้าแสนเก้าหมื่นบาทถ้วน) โดยให้ สนพ. ไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

Read 2477 times Last modified on วันอังคาร, 05 กรกฎาคม 2559 17:11
Tweet
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400  โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364 Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เว็บนี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดบน Internet Explorer 11 Chrome และ Firefox ทุกเวอร์ชั่น

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์