• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับองค์กร
    • เกี่ยวกับองค์กร
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และหน้าที่
    • โครงสร้างองค์กร
    • ติดต่อเรา
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ผังเว็บไซต์

    ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง

    • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • วิสัยทัศน์และนโยบายต่างๆ
    • การบริหารงานด้าน ICT
    • ข่าวสารจากซีไอโอ
    • ปฏิทินกิจกรรมซีไอโอ
  • นโยบายและแผน
    • คำแถลงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล
    • นโยบายด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
    • แผนแม่บทพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • แผนปฏิบัติราชการรายปี และแผนปฎิบติราชการระยะ 5 ปี

    แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB)

    • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
    • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
    • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
    • แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
    • แผนจัดหาก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)

    การติดตามและประเมินผล

    • รายงานผลการประเมินดัชนีชี้วัดด้านพลังงานของประเทศไทย
    • รายงานความก้าวหน้าตามแผนปฏิบัติราชการ
    • รายงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
    • การดำเนินงานด้านพลังงานของ สนพ.
    • โครงการภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • การดำเนินงานตามมติ กพช.

    ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    • สหประชาชาติ

      • กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (UNFCCC)
      • การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP)
      • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

        • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
        • Joint Implementation (JI)
        • Emission Trading (ET)
        • Clean Development Mechanism (CDM)
        • Paris Agreement Adopted
        • Bali Action Plan

          • Bali Action Plan
          • AWG-LCA
          • NAMAS
          • Sectoral Approach : SA
          • MRV
          • AWG-KP
          • Concun Agreement
          • ประเทศไทย

            • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2550
            • คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
            • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
            • แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
            • แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564
            • ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2551-2555
            • กระทรวงพลังงาน

              • คณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ
              • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
              • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
              • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
              • อภิธานศัพท์
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
    • พระราชบัญญัติ / พระราชกำหนด
    • คำสั่งนายกรัฐมนตรี
    • กฏกระทรวง
    • มติ ครม.ด้านพลังงาน
    • คำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้อง กับ สนพ.
    • ประกาศ/คำสั่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • การจัดทำสรุปสาระสำคัญและคำแปลกฎหมาย
    • การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
  • คณะกรรมการ/อนุกรรมการ
    • คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
    • คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
    • คณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม
    • คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)

    คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)

    • มติ
    • คำสั่ง
    • ประกาศ

    คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

    • มติ
    • คำสั่ง
    • ประกาศ

    คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กทอ.)

    • คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณกองทุนฯ
    • คณะอนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
    • มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • มติคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
  • บริการข้อมูลข่าวสาร
    • สถานการณ์พลังงาน
    • วารสารนโยบายพลังงาน
    • รายงานประจำปี
    • รายงานสถิติพลังงานประจำปี
    • รายงานผลการศีกษานโยบายพลังงาน
    • จดหมายข่าวอนุรักษ์พลังงาน
    • ข่าว สนพ.
    • ข่าวพลังงาน
    • ประชาสัมพันธ์
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศรับสมัครงาน
    • ห้องสมุด สนพ.
    • INFOGRAPHIC
    • FAQ
    • บริการประชาชน
    • ธรรมบาลข้อมูล

    เอกสารเผยแพร่ / หนังสือ / สาระน่ารู้

    • เอกสารเผยแพร่
    • หนังสือ
    • สาระน่ารู้
  • การกำกับดูแลองค์กร
    • การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
    • ศูนย์ประสานราชการใสสะอาด
    • ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาค ระหว่างหญิงชาย
    • ศูนย์บริการร่วม
    • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
    • ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
    • กลุ่มงานจริยธรรม
    • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    การพัฒนาระบบบริหาร

    • นโยบายการกำกับองค์กรที่ดี
    • กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ
    • คำรับรองการปฏิบัติราชการ (KPI)
    • การควบคุมภายใน
    • การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
    • มาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงาน
    • แผนปฏิรูปองค์การ
    • การแบ่งส่วนราชการภายในกรม
    • ITA

      • ITA 2565
      • ITA 2566

    สรุปผลการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง

    • งบประมาณ
    • กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
วันอังคาร, 05 กรกฎาคม 2559 13:29

encon fund

มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ครั้งที่ 1/2548 (ครั้งที่ 40)
วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2548 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล


1. ขอความเห็นชอบระบบการบริหารงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้สอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา

2. โครงการ "ประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ" ระยะที่ 3

3. โครงการส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ

4. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดคุณลักษณะภายนอกของโคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงตามแผนอนุรักษ์พลังงานของอาคารควบคุม


รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายเมตตา บันเทิงสุข) กรรมการและเลขานุการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวิเศษ จูภิบาล) ผู้เข้าร่วมประชุม


เรื่องที่ 1 ขอความเห็นชอบระบบการบริหารงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้สอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา

1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า การบริหารงานของแผนอนุรักษ์พลังงาน ในระยะที่ 3 (ช่วงปี 2548-2554) ได้ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กบอ.) ในการทำหน้าที่พิจารณาจัดสรรเงินกองทุนฯ และบริหารจัดการแผนอนุรักษ์พลังงานให้เป็นไปตามกรอบแผนอนุรักษ์พลังงาน ที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้เห็นชอบไว้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา กบอ. มีการประชุมไปแล้ว จำนวน 3 ครั้ง โดยได้พิจารณาอนุมัติจัดสรรเงินกองทุนฯ ให้แก่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานใน ปีงบประมาณ 2548 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,458.92 ล้านบาท โดยสรุปได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

แผนงาน กรอบเงิน กบอ. อนุมัติจัดสรรแล้ว
พพ. สนพ. รวมทั้งสิ้น
1. แผนพลังงานทดแทน 650.00 192.00 49.00 241.00
1.1 งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค 422.00 30.00 - 30.00
1.2 งานส่งเสริมและสาธิต 130.00 129.00 - 129.00
1.3 งานพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์ 65.00 33.00 49.00 82.00
1.4 งานบริหารจัดการ (พพ.) 33.00 - - -
2. แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 455.00 645.92 201.50 847.42
2.1 งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค 137.00 28.00 - 28.00
2.2 งานส่งเสริมและสาธิต 205.00 547.20 - 547.20
2.3 งานพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์ 91.00 70.72 201.50 272.22
2.4 งานบริหารจัดการ (พพ.) 22.00 - - -
3. แผนงานบริหารทางกลยุทธ์ 195.00 - 370.50 370.50
3.1 งานศึกษาเชิงนโยบายและวิชาการ 65.00 - 250.50 250.50
3.2 งานบริหารจัดการ (สนพ. +บก.) 65.00 - - -
3.3 งานอื่นๆ 65.00 - 120.00 120.00
รวมงบประมาณปี 2548 1,300.00 837.92 621.00 1,458.92

หมายเหตุ : ทั้งนี้ให้สามารถถัวจ่ายรายการต่างๆ ในแผนงานเดียวกันได้

2. ในการประชุม กบอ. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2548 ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ได้ให้ข้อสังเกตว่าการแต่งตั้ง กบอ. ให้ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการกองทุนฯ ในหลักการไม่น่าจะกระทำได้ เนื่องจากพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 34 กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมายเท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้ทุกมติของ กบอ. และ การเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ เป็นไปด้วยความถูกต้อง ที่ประชุมจึงให้ฝ่ายเลขานุการฯ หารือเรื่องดังกล่าวไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามข้อสังเกตของกรมบัญชีกลาง

3. สนพ. มีหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อหารือเรื่องการแต่งตั้ง กบอ. ตามข้อสังเกตของกรมบัญชีกลางแล้ว และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้แจ้งผลการหารือ สรุปได้ดังนี้

     3.1 ในประเด็นชื่อ กบอ. คณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นว่าคณะกรรมการกองทุนฯ สามารถแต่งตั้ง กบอ. แทนชื่อคณะอนุกรรมการได้ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการกองทุนฯ ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน และถือได้ว่าเป็นคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการกองทุนฯ แม้จะใช้ชื่อว่าเป็นคณะกรรมการ

     3.2 ในประเด็นของมติ กบอ. ทุกมติที่แจ้งไปแล้ว จะมีผลประการใด คณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นว่า มติของ กบอ. ในส่วนที่เป็นการทำหน้าที่แทนคณะกรรมการกองทุนฯ ได้แก่ 1) การพิจารณาจัดสรรและการพิจารณาอนุมัติจัดสรรเงินกองทุนฯ และ 2) การพิจารณาอนุมัติการขอเปลี่ยนแปลงกิจกรรมและแผนงานโครงการที่ได้อนุมัติไว้แล้ว ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการกองทุนฯ โดยเฉพาะนั้น คณะกรรมการกองทุนฯ ไม่สามารถมอบหมายให้ กบอ. มีอำนาจกระทำการแทนได้ ดังนั้น มติของ กบอ. เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวยังไม่มีผลบังคับจนกว่าคณะกรรมการกองทุนฯ จะพิจารณาและมีมติยืนยันในเรื่องดังกล่าว

4. เพื่อดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ฝ่ายเลขานุการฯ ใคร่ขอเสนอระบบการบริหารงานกองทุนฯ เพื่อพิจารณาตามแนวทาง ดังต่อไปนี้

     4.1 นำงบประมาณที่ กบอ. อนุมัติจัดสรรเงินกองทุนฯ ให้แก่ สนพ. และ พพ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานในปีงบประมาณ 2548 มาขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนฯ อีกครั้งหนึ่ง

     4.2 นำโครงการภายใต้แผนงานภาคบังคับ แผนงานภาคความร่วมมือและแผนงานสนับสนุน ที่อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (อพพ.) ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน (ผอ.สนพ.) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการขอเปลี่ยนแปลงกิจกรรมและแผนงานโครงการไปแล้ว ตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้มอบอำนาจให้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว เสนอให้คณะกรรมการกองทุนฯ เป็นผู้อนุมัติงบประมาณ และการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมและแผนงานโครงการที่อนุมัติไว้แล้ว ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา

     4.3 เพื่อให้การบริหารงานของคณะกรรมการกองทุนฯ เกิดความคล่องตัว และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ให้สอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขานุการฯ จึงขอเสนอภารกิจของคณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ให้มีความชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีการประสานสอดคล้องกัน ในภารกิจ ดังนี้

     (1) ภารกิจที่จะต้องดำเนินการโดยประจำของคณะกรรมการกองทุนฯ

     (2) ภารกิจที่ดำเนินการโดยการประชุมอนุกรรมการกองทุนฯ และเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา

     (3) ภารกิจที่ดำเนินการโดยการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ และเสนอเวียนให้คณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา

     (4) ภารกิจที่ดำเนินการโดยการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ

นอกจากนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนฯ และอนุกรรมการกองทุนฯ เป็นไปตามระบบการบริหารงานกองทุนฯ ตามภารกิจดังกล่าว และสอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ฝ่ายเลขานุการฯ จึงใคร่ขอยกเลิกคำสั่งคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่ 1/2547 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมาทำหน้าที่แทน

มติที่ประชุม

1. อนุมัติเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กบอ.) ได้มีมติอนุมัติไปแล้ว ของแผนและงานต่างๆ ยกเว้นงานพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์ ในส่วนของงานประชาสัมพันธ์ อนุมัติเฉพาะรายการที่มีการก่อหนี้ผูกพันไปแล้วก่อนวันที่ 25 สิงหาคม 2548 โดยมีวงเงินที่อนุมัติรวมทั้งสิ้น 1,431,368,113 บาท (หนึ่งพันสี่ร้อยสามสิบเอ็ดล้านสามแสน หกหมื่นแปดพันหนึ่งร้อยสิบสามบาทถ้วน) แยกเป็นให้ พพ. จำนวน 814,911,021 บาท (แปดร้อยสิบสี่ล้านเก้าแสนหนึ่งหมื่นหนึ่งพันยี่สิบเอ็ดบาทถ้วน) และ สนพ. จำนวน 616,457,092 บาท (หกร้อยสิบหกล้านสี่แสนห้าหมื่นเจ็ดพันเก้าสิบสองบาทถ้วน) ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ กบอ. ได้มีมติอนุมัติงบประมาณดังกล่าว โดยให้ พพ. และ สนพ. สามารถถัวจ่ายรายการต่างๆ ในแผนงานเดียวกันได้ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

     1.1 วงเงินงบประมาณของ สนพ. ที่คณะกรรมการกองทุนฯ อนุมัติตามที่ กบอ. อนุมัติจัดสรรไว้ ดังนี้

หน่วย : บาท

แผนงาน กบอ. อนุมัติจัดสรรให้ คณะกรรมการกองทุนฯอนุมัติ
1. แผนพลังงานทดแทน
1.1 งานพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์
(1) งานพัฒนาบุคลากร 49,000,000 49,000,000
2. แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
2.1 งานพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์
(1) งานพัฒนาบุคลากร 42,500,000 42,500,000
(2) งานประชาสัมพันธ์ 159,000,000 154,457,092
3. แผนงานบริหารทางกลยุทธ์
3.1 งานบริหารเชิงนโยบายและวิชาการ 250,500,000 250,500,000
3.2 งานอื่นๆ 120,000,000 120,000,000
รวมเป็นเงิน 621,000,000 616,457,092

     1.2 วงเงินงบประมาณของ พพ. ที่คณะกรรมการกองทุนฯ อนุมัติตามที่ กบอ. อนุมัติจัดสรรไว้ ดังนี้

หน่วย : บาท

แผนงาน กบอ. อนุมัติจัดสรรให้ คณะกรรมการกองทุนฯอนุมัติ
1. แผนพลังงานทดแทน
1.1 งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค 30,000,000 30,000,000
1.2 งานส่งเสริมและสาธิต 129,000,000 129,000,000
1.3 งานพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์
(1) งานพัฒนาบุคลากร 3,000,000 3,000,000
(1) งานประชาสัมพันธ์ 30,000,000 11,184,500
2. แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
2.1 งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค 28,000,000 28,000,000
2.2 งานส่งเสริมและสาธิต 547,200,000 547,200,000
2.3 งานพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์
(1) งานพัฒนาบุคลากร 25,020,000 25,020,000
(2) งานประชาสัมพันธ์ 45,700,000 41,506,521
รวมเป็นเงิน 837,920,000 814,911,021

2. สำหรับงานพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์ ในส่วนของงานประชาสัมพันธ์ที่ได้รับอนุมัติจัดสรรจาก กบอ. ไว้แล้ว แต่ยังมิได้มีการก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนวันที่ 25 สิงหาคม 2548 หากมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติ

3. เห็นชอบการปรับแผนของโครงการภายใต้แผนงานภาคความร่วมมือและแผนงานสนับสนุน ตามที่ ผอ.สนพ. ได้มีมติเห็นชอบไว้แล้ว ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ผอ.สนพ. ได้มีมติอนุมัติให้ปรับแผนของโครงการดังกล่าว ดังรายละเอียดตามเอกสารประกอบวาระ 4.1.3

4. เห็นชอบระบบการบริหารงานกองทุนฯ ให้สอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ดังรายละเอียดตามเอกสารแนบ 4.1.5

5. เห็นชอบยกเลิกคำสั่งคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่ 1/2547 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานคณะหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่แทน ดังรายละเอียดตามเอกสารแนบ 4.1.6

เนื่องจากประธานฯ จะต้องไปปฏิบัติภารกิจเร่งด่วน จึงมอบหมายให้ปลัดกระทรวงพลังงาน ทำหน้าที่เป็นประธานฯ ในที่ประชุมต่อไป


เรื่องที่ 2 โครงการ "ประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ" ระยะที่ 3

1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่า ตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติให้มีการดำเนินโครงการ "ประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ" ไปแล้ว 2 ระยะ ซึ่ง สนพ. การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นผู้ดำเนินโครงการ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและติดเป็นนิสัย ด้วยการให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าแก่ทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยครัวเรือนที่สามารถประหยัดหน่วยไฟฟ้าลงได้ตั้งแต่ 10% ขึ้นไป จะได้รับรางวัลเป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าอีก 20% ของหน่วยไฟฟ้าที่ประหยัดได้ในเดือนนั้น โดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สนับสนุน "ส่วนลด ค่าไฟฟ้า" ซึ่งผลการดำเนินงานของโครงการฯ สรุป ได้ดังนี้

     (1) ระยะที่ 1 ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายน 2544 ถึง สิงหาคม 2545 มีจำนวนครัวเรือนที่ได้รับส่วนลด 5 ล้านครัวเรือน ประหยัดไฟฟ้าได้ 3,067 ล้านหน่วย คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 9,089 ล้านบาท โดยกองทุนฯ จ่าย "ส่วนลดค่าไฟฟ้า" รวมทั้งสิ้น 1,679 ล้านบาท ( ผ่าน กฟน. 556 ล้านบาทและ กฟภ. 1,123 ล้านบาท)

     (2) ระยะที่ 2 ดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน 2547 ถึง พฤษภาคม 2548 มีจำนวนครัวเรือนที่ได้รับส่วนลด 4 ล้านครัวเรือน ประหยัดไฟฟ้าได้ 3,456 ล้านหน่วย คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 10,748 ล้านบาท โดยกองทุนฯ จ่าย "ส่วนลดค่าไฟฟ้า" รวมทั้งสิ้น 1,499 ล้านบาท (ผ่าน กฟน. 501 ล้านบาท และ กฟภ. 998 ล้านบาท)

2. ผลประเมินโครงการฯ ระยะที่ 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สำรวจความเห็นจาก 3,000 ตัวอย่าง ทั่วประเทศ มีผลดังนี้

     (1) การรับรู้ : 92% ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารโครงการฯ และ 76% ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากโครงการฯ เห็นว่ามีผลต่อการกระตุ้นให้ได้รับส่วนลดมาก

     (2) ความเข้าใจ : พบว่า ผู้ที่มีความเข้าใจในรายละเอียดขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการฯ จะประสบความสำเร็จในการได้รับส่วนลดมาก

3. เพื่อให้การลดใช้พลังงานในส่วนของภาคประชาชน เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 10 ของปริมาณการใช้ในปีที่ผ่านมา) และเพื่อจูงใจให้ประชาชนไม่ลืมพฤติกรรมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นจุดเปลี่ยนให้เป็นพฤติกรรมถาวร สนพ. จึงเห็นควรดำเนินงาน "โครงการประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ ระยะที่ 3" ให้มีความต่อเนื่อง โดยมีรูปแบบแนวทางดำเนินงาน ดังนี้

     (1) คงลักษณะกิจกรรมไว้เช่นเดียวกับโครงการฯ ระยะที่ 2 ระยะเวลาดำเนินการรวม 12 เดือน เริ่มตั้งแต่ เดือนกันยายน 2548 ถึงเดือนสิงหาคม 2549

     (2) การให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าคงเป็นไปตามโครงการฯ ระยะที่ 2 "ประหยัดได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา จะได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้า ร้อยละ 20 ของจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ลดลงได้แต่ละเดือน" และเพื่อขจัดปัญหาเรื่องการจ่ายเงินค่าส่วนลดค่าไฟฟ้าให้กับบ้านที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยจริงในช่วงนั้น จึงจำกัดผลประหยัดสูงสุดที่จะได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้า ไม่เกินร้อยละ 40 โดยมีข้อความแสดงความยินดีที่ได้รับส่วนลด และกระตุ้นให้ผู้ใช้ไฟฟ้าพยายามประหยัดการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในกรณีที่ไม่ได้รับส่วนลด ซึ่งจะปรากฏอยู่ที่หน้าซองแจ้งค่าไฟฟ้า

     (3) กฟน. และ กฟภ. ได้ประมาณการค่าใช้จ่าย "โครงการประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ ระยะที่ 3" เสนอขอสนับสนุนจากกองทุนฯ เป็นจำนวนเงิน 1,770.9 ล้านบาท และจำแนกได้ดังนี้

"ประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ ระยะที่ 3" กฟน. กฟภ.
กลุ่มเป้าหมาย "ประเภทบ้านอยู่อาศัย" 580,950 ครัวเรือน 3,294,634 ครัวเรือน
คิดเป็นร้อยละของผู้ใช้ไฟฟ้า 28.2 % 26.7 %
ประมาณการเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ 496.02 ล้านบาท 1,274.88 ล้านบาท
- เงินส่วนลดค่าไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า 493.92 ล้านบาท 1,271.78 ล้านบาท
- เงินค่าประชาสัมพันธ์และฝึกอบรมพนักงาน 2.10 ล้านบาท 3.10 ล้านบาท

และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนได้รับทราบถึงนโยบายและเข้าใจรายละเอียดการเข้าร่วมโครงการฯ ก่อให้เกิดพฤติกรรมการประหยัดไฟอย่างจริงจัง และให้โครงการเป็น Theme เดียวกัน สนพ. จะเป็นผู้ผลิตสัญลักษณ์โครงการฯ เอกสารเผยแพร่ สารคดี จัดรายการพิเศษ กิจกรรมอื่นๆ เพื่อแนะนำวิธีประหยัดไฟฟ้า ผ่านสื่อต่างๆ โดยขออนุมัติใช้เงินจากกองทุนฯ ดำเนินการภายใต้ "โครงการประชาสัมพันธ์ประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ ระยะที่ 3" ในวงเงิน 55 ล้านบาท

4. เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ซ้ำซ้อน ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณาแล้ว เห็นควรปรับลดค่าใช้จ่ายงานประชาสัมพันธ์ของ กฟภ. และ กฟน. ในรายการ (1) ค่าครุภัณฑ์ในการจัดซื้อ Note book (2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านข้อมูล

มติที่ประชุม

     เห็นชอบในหลักการของโครงการ "ประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ" ระยะที่ 3 โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำรายละเอียดงบประมาณของโครงการฯ โดยเฉพาะในส่วนของการประชาสัมพันธ์โครงการฯ เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป


เรื่องที่ 3 โครงการส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ

1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548 ได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาพลังงานของประเทศ โดยได้มีการกำหนดแนวทางในการส่งเสริมการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล และคณะกรรมการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง ได้มีการประชุมปรับเป้าหมายและวิธีการดำเนินงานขยายจำนวนรถ NGV ในปี 2548 จำนวนทั้งสิ้น 16,920 คัน และสถานีบริการ NGV ทั้งสิ้น 60 สถานี

2. เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่งบรรลุตามเป้าหมาย ภาครัฐควรมีมาตรการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติให้เป็นตัวอย่างแก่ภาคเอกชน โดยการปรับเปลี่ยนรถยนต์ราชการจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นใช้ก๊าซ NGV ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐให้การสนับสนุนมาตรการดังกล่าว โดยให้กระทรวงการคลังกำหนดระเบียบการผ่อนจ่ายค่าติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้กับ รถยนต์ราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548 โดย ปตท. จะติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้ก่อน และให้ผ่อนจ่ายคืนโดยบวกเพิ่มในราคาก๊าซฯ ที่เติมแต่ละครั้ง ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ แจ้งความประสงค์ต่อ สนพ. ขอติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้กับรถยนต์ของหน่วยงาน เป็นจำนวน 1,708 คัน

3. จากผลการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ NGV สำหรับรถยนต์ของหน่วยงานราชการ มีปัญหาในการดำเนินงาน 2 ประเด็น คือ หน่วยงานไม่มีงบประมาณที่จะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ NGV และปัญหาจากระเบียบการเบิกจ่ายวัสดุ (เชื้อเพลิง) ยังไม่เอื้อในกรณีติดตั้งอุปกรณ์ไปก่อนและผ่อนจ่ายคืนทีหลัง จึงได้ข้อสรุปว่า สนพ. ควรจัดหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนเพื่อผลักดันโครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ดังนั้น เพื่อให้มาตรการดังกล่าวดำเนินการไปได้โดยไม่หยุดชะงัก จึงเห็นควรขอรับการสนับสนุนทางด้านการเงินจากกองทุนฯ ในรูปของเงินยืมเป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย และจัดสรรให้แต่ละหน่วยงานตามที่ได้แจ้งความประสงค์ไว้กับ สนพ. โดยให้ บริษัท ปทต. มหาชน (จำกัด) เป็นผู้ดำเนินโครงการดังกล่าว

มติที่ประชุม

1. อนุมัติเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 110 ล้านบาท จากแผนพลังงานทดแทน งานส่งเสริมและสาธิต ปีงบประมาณ 2548 ให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปใช้ในโครงการส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ โดยให้ สนพ. ปตท. และ กรมบัญชีกลางร่วมกันหารือในรายละเอียด เพื่อกำหนดเป็นระเบียบเกี่ยวกับวิธีการเบิกจ่ายเงินและการเรียกเก็บเงินคืนกองทุนฯ โดยเร็วต่อไป

2. ในกรณีที่วิธีการเบิกจ่ายเงินและการเรียกเก็บเงินคืนกองทุนฯ ตามข้อ 1 ไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548 และวันที่ 17 พฤษภาคม 2548 มอบให้ สนพ. นำเรื่องเข้า ครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติ ต่อไป


เรื่องที่ 3 ขออนุมัติโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยสถาบันการเงิน ระยะที่ 2

1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่า ตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุม เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2544 เห็นชอบให้ พพ. จัดตั้ง "โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยสถาบันการเงิน" เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงาน และเพื่อสร้างความมั่นใจและความคุ้นเคยให้แก่สถาบันการเงินในการกู้ยืมเพื่อโครงการอนุรักษ์พลังงาน และอนุมัติให้ พพ. ใช้เงินจากโครงการโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่กำลังใช้งาน (ในส่วนของโรงงานควบคุม) ในวงเงิน 2,000 ล้านบาท นำไปเป็นเงินหมุนเวียนให้โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมนำไปใช้ในการอนุรักษ์พลังงานในอัตราดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงโรงงานและอาคารนอกข่ายควบคุมและบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) ได้ โดยสถาบันการเงินจะต้องปล่อยเงินกู้ภายในระยะเวลา 3 ปี (และมีการขยายระยะเวลาโครงการถึงวันที่ 30 มกราคม 2549)

2. ผลการดำเนินงานในช่วงโครงการเงินหมุนเวียนฯ ระยะที่ 1 สรุปได้ดังนี้

     (1) ผลการอนุรักษ์พลังงาน : การดำเนินงานโครงการเงินหมุนเวียนฯ ระยะที่ 1 (ข้อมูล ณ 17 ส.ค. 2548) พพ. ได้อนุมัติข้อเสนอโครงการจำนวนทั้งสิ้น 74 ข้อเสนอ ประกอบด้วย อาคารจำนวน 11 ข้อเสนอ โรงงาน 62 ข้อเสนอ และบริษัทจัดการพลังงาน 1 ข้อเสนอ จำนวนเงินที่ พพ. อนุมัติคิดเป็นเงิน 1,814 ล้านบาท (เงินลงทุน 3,002 ล้านบาท) ประเมินศักยภาพผลการอนุรักษ์พลังงานที่ประเทศชาติจะได้รับคิดเป็นการประหยัดพลังงาน ดังนี้

ประเภท จำนวน
(แห่ง)
เงินลงทุน
(ล้านบาท)
วงเงินสนับสนุนที่ พพ. อนุมัติ
(ล้านบาท)
ผลประหยัดไฟฟ้า
(ล้านหน่วย/ปี)
ผลประหยัดเชื้อเพลิง
(ล้านลิตร/ปี)
รวมผลประหยัด
(ล้านบาท/ปี)
โรงงาน 62 2,751 1,680 164 84 1,209
อาคาร 11 85 84 7.7 0.9 28
ESCO 1 166 50 10 8.2 103
รวม 74 3,002 1,814 182 93.1 1,340

การประเมินศักยภาพผลการอนุรักษ์พลังงานที่ประหยัดได้ตลอดอายุอุปกรณ์ สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ 2,514 ล้านหน่วย (คิดเป็นเงิน 6,284 ล้านบาท) ประหยัดน้ำมันได้ 1,218 ล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันเตา (คิดเป็นเงิน 11,573 ล้านบาท) รวมประหยัดได้ 17,857 ล้านบาท หรือ 1,361 ktoe

     (2) การเบิกจ่ายและการคืนเงินกองทุนฯ : ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2548 ผู้บริหารเงินหมุนเวียน ได้ขอเบิกเงินกองทุนฯ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 854,528,662 บาท พพ. ได้รับการชำระคืนเงินแล้ว เป็นจำนวนเงิน 141,423,387 บาท

     (3) สรุปภาพรวมความสำเร็จของโครงการ ระยะที่ 1

ได้ส่งเสริมผลักดันให้เกิดการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานเป็นจำนวนกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งก่อให้เกิดผลประหยัดพลังงานมากกว่า 1,340 ล้านบาทต่อปี โดยทางภาครัฐมีค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนที่ต่ำมาก คือค่าเสียโอกาสจากดอกเบี้ยเงินฝากและค่าใช้จ่ายในการบริหารประมาณ 20-25 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ยังเกิดผลประโยชน์ต่อเนื่องอื่นๆ เช่น ผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม การชะลอการลงทุนเพื่อสร้างโรงไฟฟ้า การลดการนำเข้าน้ำมัน และการขาดดุลการค้า ซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

ได้สร้างความมั่นใจและความคุ้นเคยให้แก่สถาบันการเงินซึ่งสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 6 แห่ง ได้เห็นความสำคัญและโอกาสทางการตลาดของการปล่อยสินเชื่อเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และมีประสบการณ์ในการให้สินเชื่อในโครงการฯ มากกว่า 3,000 ล้านบาท ในกว่า 80 โครงการ

3. จากการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน และการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพลังงานและสมาคมธนาคารไทย ภาคเอกชนและภาคการเงินมีความเห็นว่า การให้การสนับสนุนในลักษณะของแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเป็นประโยชน์และช่วยให้เกิดการดำเนินการเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับมาตรการพลังงานทดแทนต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง จึงจำเป็นต้องให้การสนับสนุนทางด้านดอกเบี้ยอัตราต่ำ แต่สามารถลดการนำเข้าน้ำมันได้อย่างมาก อีกทั้งการสนับสนุนของโครงการเงินหมุนเวียนนี้นอกจากจะเกิดผลสัมฤทธิ์ที่สูงแล้ว ยังเป็นการใช้เงินของภาครัฐ ที่ต่ำมากเนื่องจากเงินที่ใช้ทั้งหมดจะกลับคืนเข้ากองทุนฯ เมื่อสิ้นสุดโครงการ ดังนั้น เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง พพ. จึงขออนุมัติเงินกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อดำเนินโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยสถาบันการเงิน ในระยะที่ 2 จำนวน 2,000 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาการปล่อยกู้ 3 ปี และมีระยะเวลาการส่งคืนเงินกลับเข้ากองทุนฯ 10 ปี นับจากวันที่ พพ. ทำสัญญากับสถาบันการเงิน โดยจะมี ขั้นตอน เงื่อนไข หลักเกณฑ์ ในการให้การสนับสนุนเหมือนกับโครงการเงินหมุนเวียนฯ ในระยะที่ 1

มติที่ประชุม

1. อนุมัติเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 2,000 ล้านบาท เพื่อให้ พพ. ดำเนินโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยสถาบันการเงิน ในระยะที่ 2 โดยใช้เงินจากแผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน งานส่งเสริมและสาธิต ปีงบประมาณ 2549 เพื่อให้สถาบันการเงินที่ผ่านการคัดเลือกของ พพ. นำไปเป็นเงินหมุนเวียนให้แก่โรงงาน อาคาร และบริษัทจัดการพลังงาน นำไปใช้ในการอนุรักษ์พลังงานในอัตราดอกเบี้ยต่ำโดยสถาบันการเงินนั้น จะต้องปล่อยกู้ภายในระยะเวลา 3 ปี และ ส่งเงินคืนกองทุนฯ ผ่าน พพ. ในเวลา 10 ปี นับจากวันที่ พพ. ทำสัญญากับสถาบันการเงิน โดยจะมี ขั้นตอน เงื่อนไข หลักเกณฑ์ ในการให้การสนับสนุนเหมือนกับโครงการเงินหมุนเวียนฯ ในระยะที่ 1

2. ให้ พพ. ดำเนินการเจรจากับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้จ่ายดอกเบี้ยคืนกองทุนฯ ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของเงินกองทุนฯ ที่สถาบันการเงินนำไปปล่อยให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อเป็นค่าเสียโอกาสในส่วนของดอกเบี้ยเงินฝากที่กองทุนฯ ได้รับเป็นประจำ


เรื่องที่ 4 การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดคุณลักษณะภายนอกของโคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงตามแผนอนุรักษ์พลังงานของอาคารควบคุม

1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่า ตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนเงินช่วยเหลือให้เปล่า เพื่อปรับปรุงอุปกรณ์ของอาคารควบคุมตามแผนอนุรักษ์พลังงานไปให้แก่อาคารควบคุมตามแผนอนุรักษ์พลังงานนั้น อาคารควบคุมได้จัดทำหนังสือยืนยันกับ พพ.ตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการกองทุนฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการขอจัดสรร ขอเงินช่วยเหลือหรือขอเงินอุดหนุนจากกองทุนฯ ซึ่งถือเสมือนเป็นสัญญาข้อตกลงระหว่างผู้ให้การสนับสนุนกับผู้ที่ได้รับการสนับสนุนต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไข ได้แก่ ผู้ให้การสนับสนุนตกลงให้การสนับสนุนด้านการเงินตามข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงานที่ได้รับไว้ในแผนอนุรักษ์พลังงาน

2. การดำเนินการจัดหาอุปกรณ์ตามแผนอนุรักษ์พลังงานเป็นหน้าที่ของอาคารควบคุมที่ต้องดำเนินการเอง และต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบราชการกำหนด โดย พพ. มีนิติสัมพันธ์กับอาคารควบคุมด้วยหนังสือยืนยัน และอาคารควบคุมมีนิติสัมพันธ์กับผู้รับจ้างด้วยหนังสือสัญญาว่าจ้างจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงาน

3. ด้วยมีอาคารควบคุมจำนวน 13 แห่ง ได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ ได้แก่ ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง โดยจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

     (1) คุณลักษณะภายนอกของโคม "ตัวโคมผลิตจากแผ่นเหล็กที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 0.6 มม. พับขึ้นเป็นรูปตัวโคมด้วยแผ่นเหล็กชิ้นเดียวตลอดหรือประกอบส่วนหัวท้ายด้วยการเชื่อมแบบเป็นจุด (Spot Welding) หรือใช้สลักย้ำ (Rivet) ผ่านกรรมวิธีกำจัดไขมันและสนิม และป้องกันการผุกร่อนด้วยกรรมวิธีการเคลือบฟอสเฟตของโลหะ"

     (2) คุณสมบัติของแผ่นสะท้อนแสง กล่าวถึงความหนาของแผ่นสะท้อนแสง การผ่านมาตรฐานเกี่ยวกับการป้องกันความหมอง ความชื้น ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสง

     (3) การกำหนดค่าประสิทธิภาพของโคมไฟฟ้า (Luminaire Efficiency) เช่น ต้องไม่ต่ำกว่า 80% สำหรับโคมไฟฟ้าชนิดตะแกรง

4. หลังจากที่อาคารทั้ง 13 แห่ง ได้ทำสัญญาว่าจ้างจัดซื้อและได้ติดตั้งอุปกรณ์ตามแผนอนุรักษ์พลังงานแล้ว อาคารควบคุมได้มีหนังสือขอเบิกเงินงวดมาที่ พพ. โดยผลการตรวจเอกสารหลักฐานต่างๆ พบว่า โคมไฟฟ้าชนิดติดเพดาน/ติดลอย/ติดแขวนที่อาคารติดตั้งมีคุณลักษณะภายนอกของตัวโคมไม่เป็นไปตามข้อกำหนด คือ ใช้แผ่นเหล็ก 9 ชิ้น ประกอบขึ้นรูปเป็นตัวโคม แต่ทั้งนี้คุณสมบัติของโคมไฟฟ้าในด้านอื่นๆ รวมทั้งค่าประสิทธิภาพของโคมไฟฟ้าเป็นไปตามข้อกำหนดทุกประการ พพ. จึงไม่สามารถเบิกจ่ายเงินสำหรับ ค่าอุปกรณ์โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงได้ จนกว่าอาคารจะได้ดำเนินการเปลี่ยนอุปกรณ์ให้เป็นไปตามคุณลักษณะอุปกรณ์ที่กำหนดก่อน จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้รับจ้างตามสัญญาว่าจ้างร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาและกระทรวงพลังงาน เพื่อขอความเป็นธรรมกรณีที่ พพ. ไม่จ่ายเงินค่าอุปกรณ์ดังกล่าวให้ในฐานะผู้รับโอนสิทธิการรับเงินจากอาคารควบคุม

5. กระทรวงพลังงานได้มีหนังสือหารือกรมบัญชีกลาง กรณีผู้รับจ้างได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาแล้ว แต่ไม่เป็นไปตามรายละเอียดข้อกำหนดของ พพ. เพื่อจะขอแก้ไขสัญญา ซึ่งกรมบัญชีกลางได้แจ้งผลการหารือว่า หลังจากที่มหาวิทยาลัยได้รับอนุมัติเงินลงทุนตามแผนอนุรักษ์พลังงานจากคณะกรรมการกองทุนฯ แล้ว จะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขของโครงการฯ จึงจะสามารถเบิกเงินได้

6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) ในขณะนั้น ได้ให้ความเห็นว่า ถ้าคุณภาพไม่ครบถ้วนควรปรับลดราคาลงให้ได้คุณภาพที่ต้องการ ซึ่ง พพ. ได้คำนวณเปรียบเทียบราคาตามคุณภาพที่กำหนดกับราคาตามคุณภาพของโคมไฟฟ้าที่อาคารควบคุมติดตั้ง โดยต้องปรับลดราคาลงเป็น ดังนี้

     (1) โคม 1 x 18 วัตต์ ลด 10 บาทต่อโคม

     (2) โคม 2 x 18 วัตต์ ลด 12 บาทต่อโคม

     (3) โคม 1 x 36 วัตต์ ลด 7 บาทต่อโคม

     (4) โคม 2 x 36 วัตต์ ลด 9 บาทต่อโคม

7. จากปัญหาการติดตั้งอุปกรณ์โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงของอาคารควบคุมทั้ง 13 แห่ง ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดนั้น พพ. พิจารณาแล้วและมีความเห็นซึ่งสรุปได้ดังนี้

     (1) โคมไฟฟ้าที่ติดตั้ง มีค่าประสิทธิภาพของโคมไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 80 % ตามที่คุณลักษณะเฉพาะอุปกรณ์โคมไฟฟ้ากำหนด

     (2) โคมดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบความแข็งแรงทางกลตามมาตรฐาน มอก. ซึ่งมีความแข็งแรงเทียบเท่ากับโคมไฟฟ้าตามข้อกำหนดของ พพ. แต่มีรูปลักษณะภายนอกไม่ตรงกับข้อกำหนดเท่านั้น ซึ่งหากให้อาคารควบคุมเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะภายนอกของโคมไฟฟ้าที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ก็จะไม่ทำให้วงเงินที่ได้รับอนุมัติเพิ่มขึ้น และไม่ทำให้ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการลดลงแต่ประการใด

     (3) หากให้อาคารควบคุมเปลี่ยนโคมไฟฟ้าใหม่ จะทำให้เสียโอกาสและเวลาในการประหยัดพลังงาน

     (4) หาก พพ. ไม่เบิกจ่ายเงินให้กับอาคารควบคุม ก็จะเป็นภาระกับอาคารควบคุมในการจัดหางบประมาณมาจ่ายให้กับผู้รับจ้างในฐานะคู่สัญญากัน

มติที่ประชุม

1. อนุมัติให้อาคารควบคุมทั้ง 13 แห่ง เปลี่ยนแปลงคุณลักษณะภายนอกของโคมไฟฟ้าจากตัวโคมพับขึ้นรูปด้วยแผ่นเหล็กชิ้นเดียวตลอด หรือประกอบส่วนหัวท้ายด้วยการเชื่อมเป็นจุด หรือใช้สลักย้ำ เป็นการใช้แผ่นเหล็ก 9 ชิ้นประกอบขึ้นรูปแทน โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ไม่ได้ทำให้วงเงินที่ได้รับอนุมัติเพิ่มขึ้น และผลตอบแทนของโครงการไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด

2. เห็นชอบให้ พพ. ทำการปรับลดราคาโคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงแบบติดเพดานหรือติดลอยที่อาคารได้ทำสัญญาจ้างไปแล้ว โดยลดราคาลงเป็น ดังนี้

(1) โคม 1 x 18 วัตต์ ลด 10 บาทต่อโคม

(2) โคม 2 x 18 วัตต์ ลด 12 บาทต่อโคม

(3) โคม 1 x 36 วัตต์ ลด 7 บาทต่อโคม

(4) โคม 2 x 36 วัตต์ ลด 9 บาทต่อโคม

Read 2876 times Last modified on วันอังคาร, 05 กรกฎาคม 2559 14:44
Tweet
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400  โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364 Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เว็บนี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดบน Internet Explorer 11 Chrome และ Firefox ทุกเวอร์ชั่น

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์