• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับองค์กร
    • เกี่ยวกับองค์กร
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และหน้าที่
    • โครงสร้างองค์กร
    • ติดต่อเรา
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ผังเว็บไซต์

    ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง

    • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • วิสัยทัศน์และนโยบายต่างๆ
    • การบริหารงานด้าน ICT
    • ข่าวสารจากซีไอโอ
    • ปฏิทินกิจกรรมซีไอโอ
  • นโยบายและแผน
    • คำแถลงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล
    • นโยบายด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
    • แผนแม่บทพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • แผนปฏิบัติราชการรายปี และแผนปฎิบติราชการระยะ 5 ปี

    แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB)

    • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
    • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
    • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
    • แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
    • แผนจัดหาก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)

    การติดตามและประเมินผล

    • รายงานผลการประเมินดัชนีชี้วัดด้านพลังงานของประเทศไทย
    • รายงานความก้าวหน้าตามแผนปฏิบัติราชการ
    • รายงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
    • การดำเนินงานด้านพลังงานของ สนพ.
    • โครงการภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • การดำเนินงานตามมติ กพช.

    ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    • สหประชาชาติ

      • กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (UNFCCC)
      • การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP)
      • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

        • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
        • Joint Implementation (JI)
        • Emission Trading (ET)
        • Clean Development Mechanism (CDM)
        • Paris Agreement Adopted
        • Bali Action Plan

          • Bali Action Plan
          • AWG-LCA
          • NAMAS
          • Sectoral Approach : SA
          • MRV
          • AWG-KP
          • Concun Agreement
          • ประเทศไทย

            • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2550
            • คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
            • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
            • แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
            • แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564
            • ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2551-2555
            • กระทรวงพลังงาน

              • คณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ
              • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
              • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
              • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
              • อภิธานศัพท์
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
    • พระราชบัญญัติ / พระราชกำหนด
    • คำสั่งนายกรัฐมนตรี
    • กฏกระทรวง
    • มติ ครม.ด้านพลังงาน
    • คำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้อง กับ สนพ.
    • ประกาศ/คำสั่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • การจัดทำสรุปสาระสำคัญและคำแปลกฎหมาย
    • การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
  • คณะกรรมการ/อนุกรรมการ
    • คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
    • คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
    • คณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม
    • คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)

    คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)

    • มติ
    • คำสั่ง
    • ประกาศ

    คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

    • มติ
    • คำสั่ง
    • ประกาศ

    คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กทอ.)

    • คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณกองทุนฯ
    • คณะอนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
    • มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • มติคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
  • บริการข้อมูลข่าวสาร
    • สถานการณ์พลังงาน
    • วารสารนโยบายพลังงาน
    • รายงานประจำปี
    • รายงานสถิติพลังงานประจำปี
    • รายงานผลการศีกษานโยบายพลังงาน
    • จดหมายข่าวอนุรักษ์พลังงาน
    • ข่าว สนพ.
    • ข่าวพลังงาน
    • ประชาสัมพันธ์
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศรับสมัครงาน
    • ห้องสมุด สนพ.
    • INFOGRAPHIC
    • FAQ
    • บริการประชาชน
    • ธรรมบาลข้อมูล

    เอกสารเผยแพร่ / หนังสือ / สาระน่ารู้

    • เอกสารเผยแพร่
    • หนังสือ
    • สาระน่ารู้
  • การกำกับดูแลองค์กร
    • การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
    • ศูนย์ประสานราชการใสสะอาด
    • ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาค ระหว่างหญิงชาย
    • ศูนย์บริการร่วม
    • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
    • ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
    • กลุ่มงานจริยธรรม
    • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    การพัฒนาระบบบริหาร

    • นโยบายการกำกับองค์กรที่ดี
    • กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ
    • คำรับรองการปฏิบัติราชการ (KPI)
    • การควบคุมภายใน
    • การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
    • มาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงาน
    • แผนปฏิรูปองค์การ
    • การแบ่งส่วนราชการภายในกรม
    • ITA

      • ITA 2565
      • ITA 2566

    สรุปผลการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง

    • งบประมาณ
    • กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
วันอังคาร, 05 กรกฎาคม 2559 10:20

 encon fund

มติคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ครั้งที่ 3/2553 (ครั้งที่ 20)
วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม 2553 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุมบุญรอด-นิธิพัฒน์ ชั้น 11 อาคาร 7 กระทรวงพลังงาน


1. การขอปรับรายละเอียดโครงการที่คณะกรรมการกองทุนฯ อนุมัติไว้แล้ว
2. การมอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้ข้าราชการ และพนักงานราชการ ปฏิบัติงานแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
3. รายงานการประเมินผลการดำเนินงานในช่วง 4 ปีแรก (ปี 2548- 2551) ของแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3


นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานอนุกรรมการ
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน อนุกรรมการและเลขานุการ


เรื่องที่ 1 การขอปรับรายละเอียดโครงการที่คณะกรรมการกองทุนฯ อนุมัติไว้แล้ว

1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า มีหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงินจากกองทุนฯ ไปแล้ว ได้ยื่นเรื่องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการจากที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้พิจารณาและอนุมัติไว้ รวม 27โครงการ ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฯ ว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินฯ ตามข้อ 1.3 (2) หมวด 3 ข้อ 24 กำหนดว่า การเปลี่ยนแปลงรายการ ระยะเวลาดำเนินการ ไปจากรายละเอียดโครงการที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติไว้แล้ว จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนฯ ก่อน จึงจะเปลี่ยนแปลงได้

2. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้พิจารณาเหตุผลและรายละเอียดที่เจ้าของโครงการฯ ได้แจ้งขอเปลี่ยนแปลงแล้ว ซึ่งจำแนกขอเปลี่ยนแปลงออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

2.1 ขอขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ เกิน 3 เดือน นับจากวันสิ้นสุดเงื่อนไขแห่งสัญญา จำนวน 4 โครงการ ดังนี้

(1) โครงการพัฒนาคุณภาพหม้อไอน้ำในภาคอุตสาหกรรม

(2) การว่าจ้างที่ปรึกษาตรวจสอบ (Accredited Consultants) เพื่อดำเนินงานในส่วนการตรวจสอบและส่งเสริมการปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ในโรงงานควบคุม (กลุ่มที่ 1)

(3) การว่าจ้างที่ปรึกษาตรวจสอบ (Accredited Consultants) เพื่อดำเนินงานในส่วนการตรวจสอบและส่งเสริมการปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ในโรงงานควบคุม (กลุ่มที่ 3)

(4) โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการทบทวนร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2

มีสาเหตุจากคู่สัญญาหรือผู้ได้รับเงินจัดสรรได้ทำสัญญาจ้างไว้กับ พพ. ได้ส่งงาน/รายงาน เลยกำหนดระยะเวลาในสัญญา และบางข้อเสนอส่งตามเวลาที่กำหนดไว้แล้ว แต่การตรวจรับงานของ พพ. พบว่าผลงานยังไม่สมบูรณ์ตามข้อตกลง เช่น ขาดรายละเอียด ขาดข้อมูลหรือเอกสารอ้างอิง ฯลฯ และให้คู่สัญญาหรือผู้ได้รับเงินจัดสรรดำเนินการปรับปรุงรายงานให้สมบูรณ์ ซึ่งส่งผลให้เลยกำหนดระยะเวลา 3 เดือน นับจากเวลาสิ้นสุดเงื่อนไขแห่งสัญญา พพ. จึงได้เสนอขอขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายรายการนั้นๆ ซึ่งเป็นการดำเนินตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฯ ว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินและการเบิกจ่ายเงินกองทุน พ.ศ. 2537 ข้อ 16 ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเบิกจ่ายเงินกองทุนไว้ "ให้ผู้เบิกเงินกองทุนใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันตามประมาณการรายจ่ายประจำปีได้ ภายในวงเงินและปีงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ กรณีผู้เบิกเงินกองทุนก่อหนี้ผูกพันภายในปีงบประมาณแต่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในปีงบประมาณนั้นๆ ให้ขยายเวลาการเบิกจ่ายรายการนั้นๆ ต่อไปได้ ภายใน 3 เดือน นับจากเวลาสิ้นสุดเงื่อนไขแห่งสัญญา"

ฝ่ายเลขานุการฯ เห็นว่าการขยายเวลาของทั้ง 4 โครงการ ไม่มีผลกระทบต่อวงเงินที่ได้รับแล้ว จึงเห็นควรให้ทั้ง 4 โครงการ ขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายแต่ละรายการได้ตามที่เสนอมา โดยให้ขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายออกไปได้อีก 3 เดือน นับจากวันที่คณะกรรมการกองทุนฯ มีมติอนุมัติ

2.2 ขอขยายระยะเวลาโครงการฯ จำนวน 16 โครงการ ดังนี้

โครงการ หน่วยงาน เดิม ขยายถึง
(1) โครงการศูนย์พัฒนามาตรฐานและทดสอบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ปีที่ 3 พพ. เม.ย. 2552 พ.ย. 2552
(2) โครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและผลกระทบเชิงพื้นที่ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ สพน. ม.ค. 2553 มิ.ย. 2553
(3) โครงการศึกษาและจัดทำแผนงานด้านโครงสร้างอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ สพน. ม.ค. 2553 มิ.ย. 2553
(4) โครงการจัดหาที่ปรึกษาเพื่อศึกษาแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อรองรับการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ สพน. ม.ค. 2553 มิ.ย. 2553
(5) โครงการจัดทำสื่อเพื่อการรณรงค์และเผยแพร่องค์ความรู้ ความเข้าใจด้านพลังงานนิวเคลียร์ สพน. ก.พ. 2553 พ.ค. 2553
(6) โครงการพลังงานทดแทนโดยการใช้เอทานอลจากพืชเศรษฐกิจ สำหรับรถจักรยานยนต์ E85-100 ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและชุมชนเครือข่ายเกษตรกรต้นแบบ มทส. ม.ค. 2553 มี.ค. 2553
(7) โครงการศึกษาแนวทางบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน (ระดับชุมชน) มทส. ธ.ค. 2552 ก.พ. 2553
(8) โครงการศึกษาเชิงนโยบาย กรณีปรับแต่งเครื่องยนต์เพื่อประหยัดพลังงาน ปตท. ก.ย. 2549 ธ.ค. 2552
(9) โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการอบแห้งกุนเชียง ระยะที่ 2 มจธ. มี.ค. 2553 มี.ค. 2554
(10) โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาในประเทศ

- กรมการพลังงานทหารขอขยายระยะเวลาการศึกษา

ธ.ค. 2552

พ.ย. 2553
(11) โครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และขยายเครือข่ายการสื่อสารด้านพลังงานในกลุ่มเยาวชนและครู ปีที่ 2 สป.พน. มี.ค. 2553 ก.ย. 2553
(12) โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่างประเทศ

- ขอขยายระยะเวลาการศึกษา 2 หน่วยงาน

มศก.

มน.

ธ.ค. 2552

ม.ค. 2553

มิ.ย. 2553

ธ.ค. 2553

(13) โครงการสนับสนุนทุนวิจัยแก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวน 11 โครงการ 5 หน่วยงาน ตามเอกสารแนบ 3.1.1

ส่วนที่ 2 โครงการที่ 13

(14) โครงการศูนย์สาธิตและพัฒนาพลังงานทดแทนจากข้าวครบวงจร พพ. ก.ย. 2552 ก.ค. 2553
(15) โครงการศูนย์การเรียนรู้พลังงานในภูมิภาค: กิจกรรมว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาออกแบบก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้พลังงานในภูมิภาค สป.พน. ก.ค. 2553 ธ.ค. 2553
(16) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ ธพ. พ.ย. 2552 มี.ค. 2553

แต่ละหน่วยงานได้ดำเนินการตามแผนงานที่เสนอไว้กับกองทุนฯ แล้ว แต่มีข้อจำกัดระหว่างการดำเนินงาน เช่น การจัดหาชุดอุปกรณ์ทดสอบเฉพาะทาง การปฏิบัติตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การได้รับผลกระทบทางการเงินของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ การใช้เวลาในการเก็บข้อมูลสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ การทำงานวิจัยแล้วผลการทดลองมีความคลาดเคลื่อนไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ จำเป็นต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์ผลการทดลองเพิ่มเติม เป็นต้น

ฝ่ายเลขานุการฯ เห็นว่าการขยายเวลาของทั้ง 16 โครงการ ไม่ได้เกิดจากเจตนาของผู้ได้รับทุน และการเปลี่ยนแปลงแต่ละรายการ ไม่มีผลกระทบต่อวงเงินที่ได้รับแล้ว และไม่ได้ทำให้ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการลดลง จึงเห็นควรให้ทั้ง 16 โครงการ ขยายระยะเวลาโครงการออกไปได้ตามที่ขอมา ทั้งนี้สำหรับโครงการที่ขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการจนถึงเดือนมิถุนายน 2553 ได้แก่ โครงการที่ 1-8, 13 และ 16 เห็นควรเสนอพิจารณาอนุมัติให้การสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ เป็น ภายใน 30 วัน นับจากวันที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้มีหนังสือแจ้งมติอนุมัติการขอขยายระยะเวลาดังกล่าว

2.3 ขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ จำนวน 4 โครงการ ดังนี้

โครงการ การขอเปลี่ยนแปลง
(1) โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาในประเทศ สป.พน. ขอยกเลิกการรับทุนการศึกษาให้กับนายประพนธ์ แก้วรินขวา เนื่องจากได้รับการบรรจุเป็นพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
(2) โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่างประเทศ มก. ขอผ่อนผันให้นายสราวุธ เทพานนท์ สามารถนับระยะเวลาการปฏิบัติงานที่ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นเวลาปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามที่กรมบัญชีกลางได้เห็นชอบการผ่อนผันดังกล่าว เป็นกรณีพิเศษ
(3) โครงการสนับสนุนทุนวิจัยแก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา มจธ. ขอเปลี่ยนแปลงโครงการวิจัย ดังนี้

(1) โครงการ "การออกแบบอาคารโรงงานอุตสาหกรรมแบบบูรณาการเพื่อการประหยัดพลังงาน" ขอเปลี่ยนชื่อเป็น "ยุทธศาสตร์การออกแบบอย่างบูรณาการด้านประสิทธิภาพพลังงานของอาคารอุตสาหกรรมในเขตร้อนชื้น"

(2) โครงการ "การบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมอาหารด้วยกระบวนการไบโอไฮโดรเจน" ขอเพิ่มผู้วิจัย คือ นางสาวสุภัทร์พร เทียนงาม

(4) โครงการส่งเสริมการใช้หลอดผอมใหม่เบอร์ 5 กฟผ. ขอเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานและรายละเอียดงบประมาณ ดังนี้

ขอปรับวิธีการดำเนินงาน

ประเด็น แผนเดิม แผนใหม่
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้หลอดผอมใหม่เบอร์ 5 โครงการส่งเสริมการใช้หลอดผอมเบอร์ 5
การดำเนินงาน จูงใจให้ภาคเอกชนเปลี่ยนหลอด จากเงินทุนหมุนเวียนให้เงินกู้โดยไม่มีดอกเบี้ย (Soft Loan) และเป็นเงินให้เปล่าต่อหลอด (Rebate)

เปลี่ยนหลอดให้เห็นเป็นตัวอย่าง ในอาคารภาครัฐ วัด มัสยิด และศาสนสถานอื่นๆ

ส่งเสริมการเปลี่ยนหลอดในภาคเอกชน โดยการรณรงค์ โฆษณา ให้ข้อมูล พร้อมประสานธนาคารพาณิชย์ ในการปล่อยกู้สำหรับลงทุน

จำนวนหลอด 83 ล้านหลอด 13.5 ล้านหลอด
ประหยัดไฟฟ้า 4,842 ล้านหน่วย 587.8 ล้านหน่วย
ลด Peak Demand 1,141 เมกกะวัตต์ 127.5 เมกกะวัตต์
งบประมาณ 3,300 ล้านบาท 1,580 ล้านบาท

ขอปรับรายละเอียด

ประเด็น แผนเดิม (ล้านบาท) แผนใหม่ (ล้านบาท)
งบโฆษณาประชาสัมพันธ์ 150 242
งบการดำเนินงาน 1,250 938
- ค่าสาธิตการใช้หลอด T5 225 770
- ค่ากำจัดซากหลอด 200 16
- ค่าภาษีอากร 150 150
- ค่า Rebate คงค้าง 675 2
งบเงินทุนหมุนเวียน 1,900 400
รวมงบประมาณ 3,300 1,580

ฝ่ายเลขานุการฯ เห็นว่าการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดดังกล่าว เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะทำให้โครงการเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยไม่มีผลกระทบต่อวงเงินที่ได้รับแล้ว จึงเห็นควรให้ทั้ง 4 โครงการ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการได้

2.4 ขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ และขยายระยะเวลาดำเนินงาน จำนวน 3 โครงการ

(3) โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่างประเทศ
โครงการ การขอเปลี่ยนแปลง
(1) โครงการผลิตข่าวสารนิวเคลียร์ โดย สพน.

(1) ขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของสื่อที่ใช้ในการเผยแพร่ข่าวสารนิวเคลียร์ (ตาม เอกสารแนบ 3.1.1 ส่วนที่ 4 โครงการที่ 1)

(2) ขอขยายเวลาโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เป็นสิ้นสุด เดือนพฤษภาคม 2553

(2) โครงการ Energy Mobile Unit

ระยะที่ 2 (ชุดปฏิบัติการพลังงานเคลื่อนที่ ระยะที่ 2) โดย สป.พน.

(1) ขอเปลี่ยนการจัดหารถพลังงานเคลื่อนที่ (Mobile Unit) จากเดิม จัดหารถบรรทุก 4-6 ล้อ พร้อมตู้สำหรับบรรทุกชุดนิทรรศการเคลื่อนที่และอุปกรณ์เทคโนโลยี พลังงาน เป็นยานพาหนะ เพื่อนำเจ้าหน้าที่และบรรทุกชุดนิทรรศการเคลื่อนที่ และขอปรับจำนวนเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยปฎิบัติการพลังงานเคลื่อนที่ จากเดิม 26 อัตรา เป็นไม่น้อยกว่า 26 อัตรา

(2) ขอขยายเวลาโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2553 เป็นธันวาคม 2553

ม. วลัยลักษณ์ ขอขยายเวลาการศึกษาให้แก่ นายปิยะ ปานผู้มีทรัพย์ ออกไปอีก 6 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 - มีนาคม 2554 เพื่อจัดทำวิทยานิพนธ์ พร้อมทั้งขออนุมัติเพิ่มวงเงินทุนการศึกษาในช่วงที่ขอขยายเวลา จำนวนเงิน 276,318 บาท

ฝ่ายเลขานุการฯ เห็นว่าการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียด และขยายระยะเวลาดำเนินงานดังกล่าว เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะทำให้โครงการเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยไม่มีผลกระทบต่อวงเงินที่ได้รับแล้ว จึงเห็นควรให้โครงการที่ 1-2 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดและขยายระยะเวลาโครงการได้ ทั้งนี้สำหรับโครงการที่ 1 ที่ขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการจนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 เห็นควรเสนอพิจารณาอนุมัติให้การสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ เป็น ภายใน 30 วัน นับจากวันที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้มีหนังสือแจ้งมติอนุมัติการขอขยายระยะเวลาดังกล่าว ส่วนโครงการที่ 3 คือ โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่างประเทศ เห็นควรอนุมัติขยายเวลาการศึกษาให้แก่ผู้ได้รับทุนการศึกษาได้ ตามที่ขอมา โดยไม่ควรให้เบิกเงินงบประมาณเหลือจ่ายจากวงเงินประมาณเดิมที่เคยได้รับอนุมัติไว้ และไม่อนุมัติเพิ่มวงเงิน สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในภาคการศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลา เนื่องจากกองทุนฯ ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาของหลักสูตรที่กำหนดไว้แล้ว

การพิจารณาของที่ประชุม

ที่ประชุมได้พิจารณาการขอปรับรายละเอียดของโครงการแล้ว มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. ประธานอนุกรรมการฯ เห็นควรให้ฝ่ายเลขานุการฯ ปรับชื่อวาระจาก "การขอปรับรายละเอียดโครงการ..." เป็น "การขอเปลี่ยนแปลงโครงการ..." ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นการพิจารณาที่เสนอขอมา

2. การขอขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ เกิน 3 เดือน ในโครงการที่ 4 "โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการทบทวนร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2" ประธานอนุกรรมการฯ ได้มีข้อสังเกตว่า เป็นโครงการที่ใช้เวลาในการดำเนินงานและได้ล่วงเลยระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญามาเป็นเวลานาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า หน่วยงานไม่มีระบบการติดตามการดำเนินโครงการที่ดี จึงทำให้เกิดความล่าช้าและไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้น เพื่อให้ระบบการบริหารและการติดตามงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ให้ พพ. ดำเนินการติดตามงานโครงการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง และให้รายงานความก้าวหน้าของโครงการต่ออนุกรรมการเพื่อทราบทุกๆ 3 เดือน

3. โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่างประเทศ ในข้อ 2.3 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ประชุมพิจารณาแล้ว และเห็นว่าการชดใช้ทุนนั้น เป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการทำสัญญาและการชดใช้เงินกรณีรับทุน ลาศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 ที่หน่วยงาน/ส่วนราชการจะต้องถือเป็นหลักปฏิบัติ ดังนั้น จึงให้ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณาและตรวจสอบข้อกำหนดของระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป

4. โครงการส่งเสริมการใช้หลอดผอมใหม่เบอร์ 5 ในข้อ 2.3 ที่ประชุมพิจารณาแล้ว และเห็นควรให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ปรับเป้าหมายของจำนวนหลอดไฟ ให้สอดคล้องกับวงเงินที่ปรับลด และเห็นว่าแผนการดำเนินงานโครงการที่ขอปรับนั้น กฟผ. ได้เน้นการรณรงค์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานของหลอดมากขึ้น ด้วยการส่งเสริมให้หน่วยงานราชการเป็นผู้นำในการใช้หลอดผอมเบอร์ 5 รวมถึงส่งเสริมการเปลี่ยนหลอดในภาคเอกชน พร้อมทั้งการประสานธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยกู้สำหรับลงทุน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนมาใช้หลอดผอมเบอร์ 5 เพิ่มมากขึ้น และทำให้เป้าหมายจำนวนหลอดภายใต้โครงการเพิ่มขึ้นด้วย

5. โครงการผลิตข่าวสารนิวเคลียร์ ในข้อ 2.4 ที่ประชุมเห็นควรให้ สพน.พิจารณาเพิ่มการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ การจัดทำสื่อวีดีทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากจะเป็นสื่อที่สามารถนำไปเผยแพร่ และใช้ประกอบการเรียนการสอนได้มากขึ้น รวมถึงการคำนึงถึงภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ควรจะเป็นภาษาที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ตลอดจนการจัดทำรูปแบบให้น่าสนใจ เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

มติที่ประชุม

เห็นชอบให้โครงการตามข้อ 2.1 ขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ เกิน 3 เดือน นับจากวันสิ้นสุดเงื่อนไขแห่งสัญญา จำนวน 4 โครงการ ข้อ 2.2 ขยายระยะเวลาโครงการฯ จำนวน 16 โครงการ ข้อ 2.3 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ จำนวน 3 โครงการ และ ข้อ 2.4 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการและขยายระยะเวลาดำเนินงาน จำนวน 3 โครงการ รวม 26 โครงการ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการได้ ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอมา และให้นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติต่อไป


เรื่องที่ 2 การมอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้ข้าราชการ และพนักงานราชการ ปฏิบัติงานแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

1. พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 มาตรา 27 กำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนฯ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (ผอ.สนพ.) เป็นกรรมการและเลขานุการ

2. เนื่องจากการดำเนินงานตามภารกิจของกองทุนฯ มิได้มีหน่วยงานหรือองค์กร รองรับภารกิจต่างๆ ของกองทุนฯ ปัจจุบันการดำเนินงานตามภารกิจของกองทุนฯ ได้ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ดังนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 24 ข้อ 1 - 6 มาตรา 25 และมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ผอ.สนพ. ในฐานะกรรมการและเลขานุการ จึงได้มีคำสั่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ที่ 55/2553 เรื่อง "มอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้ข้าราชการ และพนักงานราชการ ปฏิบัติงานแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการกองทุนฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย คล่องตัว รวดเร็วยิ่งขึ้น

3. รายละเอียดการมอบอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการ และพนักงาน ปฏิบัติงานแทน ผอ.สนพ. ในส่วนของ สนพ. เป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักนโยบายอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำนักบริหารกลาง กองนโยบายและแผนพลังงาน และจากศูนย์และสารสนเทศพลังงาน รวม 27 ราย

การพิจารณาของที่ประชุม

ที่ประชุมได้พิจารณาแล้ว และเห็นว่าการมอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้ข้าราชการและพนักงานราชการ ปฏิบัติงานแทน ผอ.สนพ. ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการกองทุนฯ นั้น จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในระเบียบที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพื่อให้การมอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้ข้าราชการและพนักงานราชการ ปฏิบัติงานแทน ผอ.สนพ. มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง จึงให้ฝ่ายเลขานุการฯ ไปดำเนินการตรวจสอบข้อกำหนดในระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน และให้ฝ่ายเลขานุการฯ ถอนวาระการประชุมนี้ออกไปก่อน

มติที่ประชุม

ให้ฝ่ายเลขานุการฯ ไปดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดในแนวทางการปฏิบัติในการมอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้ข้าราชการและพนักงานราชการ ปฏิบัติงานแทน ผอ.สนพ. ตามข้อกำหนดในระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ชัดเจน


เรื่องที่ 3 รายงานการประเมินผลการดำเนินงานในช่วง 4 ปีแรก (ปี 2548- 2551) ของแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3

1. คณะกรรมการกองทุนฯ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน เพี่อทำหน้าที่ประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ และเสนอข้อพิจารณาประกอบรายงานการประเมินผลของโครงการที่ได้รับการจัดสรรเงินจากกองทุนฯ เป็นรายโครงการ และนำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ

2. คณะอนุกรรมการประเมินผลฯ ได้มอบหมายให้ บริษัทเอเบิล คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินการประเมินผลภาพรวมของการดำเนินโครงการในช่วง 4 ปีแรก (ปี 2548-2551) ของแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 และการประเมินผลภาพรวมได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดย สนพ. ได้นำเสนอผลการประเมินต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการสัมมนา 2 ครั้ง เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อผลการประเมินดังกล่าว

3. รายงานการประเมินผลการดำเนินงานในช่วง 4 ปีแรก (ปี 2548-2551) ของแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 (ปี 2548-2554) สรุปได้ดังนี้

3.1 จากการตรวจวิเคราะห์เชิงสถิติ พบว่าในระยะ 4 ปีแรกของแผนฯ มีการใช้เงินกองทุนฯ รวมทั้งสิ้น 32,000 ล้านบาท โดยใช้ไปในการดำเนินโครงการรวม 686 โครงการ ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เป็นโครงการที่ไม่ได้มุ่งเน้นให้เกิดการประหยัดพลังงานที่เป็นรูปธรรม เช่น โครงการบริหารกิจกรรมและโครงการศึกษาจัดทำระเบียบ หลักเกณฑ์ มาตรฐาน โครงการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น การดำเนินโครงการในแต่ละปีมีความล่าช้า จนถึงปัจจุบันมีจำนวนโครงการเพียงร้อยละ 65 ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ สาเหตุสำคัญมาจากการบริหารงบประมาณ และการดำเนินการล่าช้า

3.2 โครงการที่ประเมินมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 299 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 43.6 ของโครงการทั้งหมด โดยปรากฏว่าร้อยละ 23.3 ของโครงการทั้งหมดมีความสัมฤทธิผล (ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ผลกระทบ และความยั่งยืน) อยู่ในระดับดีเยี่ยม, ร้อยละ 18.3 ดีมาก, ร้อยละ 28.8 ดี, ร้อยละ 23.7 พอใช้ และที่เหลือร้อยละ 5.8 ต้องปรับปรุง

3.3 กลุ่มงานที่มีความสัมฤทธิผลสูง ได้แก่ กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนที่เป็นข้อสังเกตสำหรับโครงการพัฒนาบุคลากรอยู่ที่ การบริหารจัดการ การติดตามผลการดำเนินงาน และการใช้ประโยชน์ผลผลิตที่ได้ สำหรับกลุ่มงานประชาสัมพันธ์มีข้อสังเกตทางด้านประสิทธิภาพการใช้เงิน และวิธีการประชาสัมพันธ์ที่ทำแบบปูพรมมากเกินไป แทนที่จะเจาะเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย

3.4 ส่วนโครงการทางด้านศึกษาวิจัย ส่งเสริมสาธิต และการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ส่วนใหญ่มีผลการประเมินในระดับพอใช้ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โดยจุดอ่อนอยู่ที่ทำงานได้ผลต่ำกว่าเป้า ดำเนินการล่าช้า มีปัญหาด้านคุณภาพและมาตรฐานของงานที่ทำ โครงการบางประเภทให้ผลการประเมินอยู่ในระดับดี มีผลการประหยัดชัดเจน และใกล้เคียงกับเป้า เช่น โครงการส่งเสริมก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ โครงการมีส่วนร่วม โครงการสิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นต้น แต่ก็ไม่ควรจะให้เงินอุดหนุนต่อ เพราะให้มานานเลยช่วงของการสาธิตมาแล้ว ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด

3.5 การประเมินผลภาพรวมของการดำเนินงานตามแผนฯ ในช่วง 4 ปีแรก (2548-2551) ให้ผลในระดับพอใช้ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สาเหตุมาจากปริมาณผลผลิต/ผลประหยัด ได้ต่ำกว่าเป้า การดำเนินโครงการมีความล่าช้า และมีปัญหาประสิทธิภาพและความยั่งยืนของการดำเนินงาน

การพิจารณาของที่ประชุม

ที่ประชุมได้รับทราบรายงานการประเมินผลการดำเนินงานในช่วง 4 ปีแรก (ปี 2548-2551) ของแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 (ปี 2548-2554) แล้ว และมีข้อคิดเห็นในรายงานการประเมินผลเพิ่มเติม ดังนี้

1. ควรให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีระบบการติดตามการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง และให้ฝ่ายเลขานุการฯ รายงานความก้าวหน้าของโครงการต่อคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ทราบทุกๆ 3 เดือน

2. การพิจารณาอนุมัติโครงการ ควรจะมีการศึกษาและทบทวนในรายละเอียดของข้อมูลโครงการที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความซ้ำซ้อนการดำเนินงานของโครงการและเกิดประโยชน์สูงสุด

3. การพิจารณาข้อเสนอโครงการศึกษา วิจัย ควรคำนึงถึงศักยภาพในด้านการบริหารจัดการโครงการให้มีประสิทธิภาพ และแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด

มติที่ประชุม

1. รับทราบรายงานการประเมินผลการดำเนินงานในช่วง 4 ปีแรก (ปี 2548 - 2551) ของแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 (ปี 2548 - 2554) ตามที่คณะอนุกรรมการประเมินผลฯ เสนอมา และให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อทราบต่อไป

2. ให้ สนพ. และ พพ. -มีระบบการติดตามการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง และให้ฝ่ายเลขานุการฯ รายงานความก้าวหน้าของโครงการต่อคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ทราบทุกๆ 3 เดือน

3. การพิจารณาอนุมัติโครงการ ควรจะมีการศึกษาและทบทวนในรายละเอียดของข้อมูลโครงการที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความซ้ำซ้อนการดำเนินงานของโครงการและเกิดประโยชน์สูงสุด

4. การพิจารณาข้อเสนอโครงการศึกษา วิจัย ควรคำนึงถึงศักยภาพในด้านการบริหารจัดการโครงการให้มีประสิทธิภาพ และแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด

Tweet
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400  โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364 Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เว็บนี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดบน Internet Explorer 11 Chrome และ Firefox ทุกเวอร์ชั่น

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์