
Super User
กพช. ครั้งที่ 170 วันพุธที่ 25 ธันวาคม 2567
มติการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 4/2567 (ครั้งที่ 170)
วันพุธที่ 25 ธันวาคม 2567
1. การขยายมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม
2. การขยายเวลามาตรการการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ระยะสั้น 1 ปี
ผู้มาประชุม
นายกรัฐมนตรี รองประธานกรรมการทำหน้าที่ประธาน
(นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท)
เรื่องที่ 1 การขยายมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้พิจารณา เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ปี 2565 และได้มีมติ ดังนี้ (1) เห็นชอบการพิจารณารับซื้อไฟฟ้านอกเหนือจากกลุ่มสัญญาเดิม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้าประเภทชีวมวลหรืออื่น ๆ นอกจากชีวมวล จากผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว ไม่มีการลงทุนใหม่ และมีความพร้อมในการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) สามารถรองรับได้ โดยเป็นการรับซื้อปีต่อปี ไม่เกิน 2 ปี ในรูปแบบสัญญา Non-Firm ที่กรอบราคารับซื้อไฟฟ้าสูงสุดไม่เกินต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่หลีกเลี่ยงได้จากการใช้เชื้อเพลิงนำเข้าในราคาสูงสุด ณ ปัจจุบัน (Avoided Cost) (2) มอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ร่วมกันกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้า และเงื่อนไขอื่น ๆ สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีการผลิตและใช้เองอยู่แล้วในปัจจุบันและมีพลังงานส่วนเหลือที่จะจำหน่ายเข้าสู่ระบบให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้า โดยคำนึงถึงประเภทเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ และมอบหมายให้ กกพ. รับไปดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าต่อไป และ (3) มอบหมายให้ กบง. พิจารณาและบริหารการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่มให้มีความเหมาะสมเป็นไปตามนโยบาย โดยคำนึงถึงประเภทเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้ทันต่อสถานการณ์ และรายงานให้ กพช. ทราบต่อไป โดยต่อมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 กบง. ได้พิจารณา เรื่อง การทบทวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ปี 2565 และได้มีมติเห็นชอบอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และ/หรือผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จากสัญญาเดิม และนอกเหนือจากกลุ่มสัญญาเดิม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้าประเภทชีวมวล หรืออื่น ๆ นอกเหนือจากชีวมวล จากผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว ไม่มีการลงทุนใหม่ และมีความพร้อมในการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟผ. และ กฟภ. หรือ กฟน. สามารถรองรับได้ โดยเป็นการรับซื้อปีต่อปีไม่เกิน 2 ปี ในรูปแบบสัญญา Non-Firm โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้า ดังนี้ (1) กรณีโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า (ประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 2.20 บาทต่อหน่วย และ (2) กรณีโรงไฟฟ้าที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า (ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนหลังคา แบบติดตั้งบนพื้นดิน แบบทุ่นลอยน้ำ และพลังงานลม) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 0.50 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ อัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนเพิ่มจากสัญญาเดิมจะมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าไม่เกินกว่าอัตรารับซื้อไฟฟ้าในสัญญาเดิม
2. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 กพช. ได้พิจารณาเรื่อง มาตรการบริหารจัดการด้านพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน และได้มอบหมายให้ กกพ. พิจารณาดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมติ กบง. เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 โดยขยายกรอบระยะเวลารับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมจากปี 2565 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 2 ปี สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ต่อมา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 คณะอนุกรรมการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน มีมติเห็นชอบการขยายมาตรการบริหารจัดการพลังงานที่จะหมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ดังนี้ (1) มอบหมาย พพ. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนข้อมูลระยะเวลาคืนทุน ตัวเลขผลกระทบมาตรการรับซื้อคืนไฟฟ้าส่วนเกินโซลาร์หลังคาภาคอุตสาหกรรม 1 บาทต่อหน่วย ต่ออัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) และปรับปรุงรายละเอียดมาตรการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุม รวมทั้งจัดทำรายละเอียดมาตรการรับซื้อคืนไฟฟ้าส่วนเกินโซลาร์หลังคาภาคอุตสาหกรรม 1 บาทต่อหน่วย ระยะเวลามาตรการ 2 ปี และประสาน สนพ. เพื่อนำเสนอ กบง. และ กพช. พิจารณาต่อไป และ (2) มอบหมาย พพ. ประสาน สนพ. นำเสนอวาระการขอขยายเวลามาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนจาก SPP และ/หรือ VSPP สัญญาเดิม ระยะสั้น 2 ปี (วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569) และขยายสัญญาปีต่อปี และกำหนดเงื่อนไขสิทธิ์บอกเลิกสัญญาหากพบข้อจำกัดด้านศักยภาพของระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Capacity) และในส่วนของพลังงานแสงอาทิตย์ปรับเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้าเป็น 1.00 บาทต่อหน่วย เพื่อให้เกิดการจูงใจในการเข้าร่วมโครงการมากขึ้น ต่อ กบง. และ กพช. พิจารณาต่อไป
3. เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 กบง. ได้พิจารณามาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม ระยะที่ 2 ภายใต้มาตรการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน โดยมีมติดังนี้ (1) เห็นชอบมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม ระยะที่ 2 ภายใต้มาตรการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจาก SPP และ/หรือ VSPP จากสัญญาเดิม และนอกเหนือจากกลุ่มสัญญาเดิม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว ไม่มีการลงทุนใหม่ และมีความพร้อมในการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง สามารถรองรับได้ โดยเป็นการรับซื้อไม่เกิน 2 ปี (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2569) ในรูปแบบสัญญา Non-Firm ทั้งนี้ กำหนดเงื่อนไขให้สิทธิ์แก่การไฟฟ้าสามารถบอกเลิกสัญญาได้ หากพบข้อจำกัดด้านศักยภาพของระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Capacity) โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าสำหรับกรณีโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า (ประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 2.20 บาทต่อหน่วย และสำหรับกรณีโรงไฟฟ้าที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ (แบบติดตั้งบนหลังคา แบบติดตั้งบนพื้นดิน แบบทุ่นลอยน้ำ) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 1.00 บาทต่อหน่วย และประเภทพลังงานลม อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 0.50 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ อัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนเพิ่มจากสัญญาเดิมจะมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าไม่เกินกว่าอัตรารับซื้อไฟฟ้าในสัญญาเดิม (2) มอบหมายให้ กกพ. พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป และ (3) มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ กพช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
4. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่มที่ผ่านมา มีผู้ประกอบกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เข้าร่วมโครงการประมาณ 20 ราย รวมกำลังการผลิตประมาณ 25 เมกะวัตต์ ปัจจุบันมีผู้ที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบอยู่ 1 ราย ซึ่งค่อนข้างน้อย พพ. จึงได้วิเคราะห์สาเหตุและเสนอแนะการปรับเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่จูงใจมากขึ้น ซึ่ง พพ. ประเมินแล้วพบว่าการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดการติดตั้งเท่ากับ 800 กิโลวัตต์ ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ หากมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเพิ่มด้วยอัตรารับซื้อไฟฟ้า 1.00 บาทต่อหน่วย ระยะเวลาการรับซื้อไฟฟ้าไม่เกิน 2 ปี พบว่า จะมีระยะเวลาคืนทุน ประมาณ 6 ปี และอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) ประมาณร้อยละ 14 ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจยื่นขอรับสิทธิลดหย่อนภาษีจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จะทำให้ระยะเวลาคืนทุนลดลงและค่า IRR เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ราคารับซื้อไฟฟ้า 1.00 บาทต่อหน่วย เทียบกับราคา Marginal Cost (บาทต่อหน่วย) จะไม่มีผลกระทบกับราคาค่าไฟฟ้า
5. เพื่อให้การดำเนินมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่มที่จะสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และจูงใจให้ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เข้าร่วมโครงการมากขึ้น พพ. จึงเห็นสมควรเสนอขยายมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจาก SPP และ/หรือ VSPP จากสัญญาเดิม และนอกเหนือจากกลุ่มสัญญาเดิม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว ไม่มีการลงทุนใหม่ และมีความพร้อมในการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟผ. และ กฟภ. หรือ กฟน. สามารถรองรับได้ โดยรับซื้อตั้งแต่ปี 2568 – 2569 ไม่เกิน 2 ปี (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2569) ในรูปแบบสัญญา Non-Firm ทั้งนี้ การไฟฟ้าสามารถบอกเลิกสัญญาได้ หากพบข้อจำกัดด้านศักยภาพของระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Capacity) โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าสำหรับกรณีโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า (ประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 2.20 บาทต่อหน่วย และสำหรับกรณีโรงไฟฟ้าที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ (แบบติดตั้งบนหลังคา แบบติดตั้งบนพื้นดิน แบบทุ่นลอยน้ำ) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 1.00 บาทต่อหน่วย และประเภทพลังงานลม อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 0.50 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ อัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนเพิ่มจากสัญญาเดิมจะมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าไม่เกินกว่าอัตรารับซื้อไฟฟ้าในสัญญาเดิม ยกเว้นกรณีโรงไฟฟ้าที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนแล้ว ยังเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรโดยเฉพาะกรณี SPP ชีวมวล และยังช่วยลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวตลาดจร (Spot LNG) ซึ่งในปี 2567 คาดว่าจะมีการนำเข้าถึง 97 ลำเรือ รวมทั้งเกิดประโยชน์จากการลดภาระต้นทุนค่าไฟฟ้าทั้งในภาวะปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลแนวโน้มราคาไฟฟ้าต่อหน่วยของการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง LNG (LNG Unit Cost) เฉลี่ยปี 2567 พบว่า อัตรารับซื้อไฟฟ้าสูงสุดของการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม ซึ่งอยู่ที่ 2.20 บาทต่อหน่วย ยังคงต่ำกว่าประมาณการต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจาก LNG เฉลี่ยปี 2567 ซึ่งอยู่ที่ 2.60 บาทต่อหน่วย โดยเป็นไปตามกรอบราคารับซื้อไฟฟ้า Avoided Cost ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศในภาพรวม
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบการขยายมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และ/หรือผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จากสัญญาเดิม และนอกเหนือจากกลุ่มสัญญาเดิม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว ไม่มีการลงทุนใหม่ และมีความพร้อมในการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง สามารถรองรับได้ โดยรับซื้อตั้งแต่ปี 2568 – 2569 ไม่เกิน 2 ปี (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2569) ในรูปแบบสัญญา Non-Firm ทั้งนี้ กำหนดเงื่อนไขให้สิทธิ์แก่การไฟฟ้าสามารถบอกเลิกสัญญาได้ หากพบข้อจำกัดด้านศักยภาพของระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Capacity) โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้า ตามประเภทพลังงาน ดังต่อไปนี้
1.1 กรณีโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า (ประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 2.20 บาทต่อหน่วย
1.2 กรณีโรงไฟฟ้าที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
(1) ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ (แบบติดตั้งบนหลังคา แบบติดตั้งบนพื้นดิน แบบทุ่นลอยน้ำ) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 1.00 บาทต่อหน่วย
(2) ประเภทพลังงานลม อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 0.50 บาทต่อหน่วย
ทั้งนี้ อัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนเพิ่มจากสัญญาเดิมจะมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าไม่เกินกว่าอัตรารับซื้อไฟฟ้าในสัญญาเดิม ยกเว้นกรณีโรงไฟฟ้าที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์
2. มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
เรื่องที่ 2 การขยายเวลามาตรการการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ระยะสั้น 1 ปี
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติมอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเทินหินบุน เพิ่มเติม จำนวน 20 เมกะวัตต์ จากกำลังผลิตไฟฟ้าเดิม 440 เมกะวัตต์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ในอัตราค่าไฟฟ้าไม่มากกว่าสัญญาเดิม โดย กฟผ. ได้ดำเนินงานตามมติ กพช. โดยได้ลงนามในหนังสือแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายไฟฟ้าร่วมกับโครงการเทินหินบุน เพื่อรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมจำนวน 20 เมกะวัตต์ ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ต่อมา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 กพช. ได้มีมติเห็นชอบมาตรการการรับซื้อไฟฟ้าโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ระยะสั้น 1 ปี จำนวน 20 เมกะวัตต์ โดยนับจากวันลงนามข้อตกลงเพิ่มเติมเป็นระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ ไม่เกินกว่าวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ในอัตรารับซื้อไฟฟ้าประมาณ 1.85 บาทต่อหน่วยตามสัญญาเดิม เพื่อลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและบรรเทาสถานการณ์ราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง และมอบหมายให้ กฟผ. ดำเนินการจัดทำข้อตกลงเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติมตามมติ กพช. ดังกล่าว โดยต่อมา กฟผ. ได้ดำเนินงานตามมติ กพช. โดยได้ลงนามในหนังสือแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายไฟฟ้าร่วมกับโครงการเทินหินบุน เพื่อรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมจำนวน 20 เมกะวัตต์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
2. เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 บริษัท Theun-Hinboun Power Company จำกัด (THPC) ได้มีหนังสือถึง กฟผ. เสนอให้พิจารณาขยายเวลารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม จำนวน 20 เมกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 หรือช่วงเวลาตามที่พิจารณาเห็นว่าเหมาะสม โดยเสนอให้ใช้หลักการเดิมตามที่กำหนดในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและข้อตกลงเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. และ THPC ฉบับปัจจุบัน ต่อมาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 คณะอนุกรรมการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน ได้มีมติให้ กฟผ. ประสานสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เสนอวาระการขยายเวลามาตรการการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ระยะสั้น 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และ กพช. พิจารณาต่อไป โดยเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 กบง. ได้มีเห็นชอบมาตรการการรับซื้อไฟฟ้าโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ระยะสั้น 1 ปี ภายใต้มาตรการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน จำนวน 20 เมกะวัตต์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ในอัตรารับซื้อไฟฟ้าตามโครงสร้างสัญญาปัจจุบัน โดยมอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดำเนินการจัดทำข้อตกลงเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ กพช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
3. การขยายเวลามาตรการการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ระยะสั้น 1 ปี ภายใต้มาตรการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (1) อายุสัญญา ระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (2) ราคารับซื้อไฟฟ้า เป็นไปตามโครงสร้างสัญญาปัจจุบันที่กำหนดให้จ่ายเป็นสกุลบาทที่ 0.9083 บาทต่อหน่วย และสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ที่ 0.02595 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหน่วย โดยเมื่อคำนวนอัตราแลกเปลี่ยน 37.0105 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567) คิดเป็นอัตรารับซื้อไฟฟ้ารวมประมาณ 1.87 บาทต่อหน่วย (3) เงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักการเดิมตามที่ระบุในข้อตกลงเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2566 และ (4) ไม่กระทบต่อระบบไฟฟ้า ทั้งนี้ กฟผ. พิจารณาแล้วพบว่า การรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติมระยะสั้น ในด้านเทคนิคไม่ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้า รวมทั้งในด้านต้นทุนจะสามารถลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศ เนื่องจากการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนจะมีต้นทุนที่ถูกกว่าต้นทุนการผลิตหน่วยสุดท้าย (Short Run Marginal Cost) โดย ณ เดือนมิถุนายน 2567 Short Run Marginal Cost ช่วง Peak มีราคา 2.261 บาทต่อหน่วย และช่วง Off-Peak 2.152 บาทต่อหน่วย นอกจากนี้ ปัจจุบันสถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางยังไม่มีเสถียรภาพและราคาเชื้อเพลิงยังมีความผันผวน ดังนั้น การรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติมระยะสั้นจะช่วยลดปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติที่มีราคาผันผวนได้
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบมาตรการการรับซื้อไฟฟ้าโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ระยะสั้น 1 ปี จำนวน 20 เมกะวัตต์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ในอัตรารับซื้อไฟฟ้าตามโครงสร้างสัญญาปัจจุบัน
2. มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ดำเนินการจัดทำข้อตกลงเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567 – 2580 (ร่างแผน PDP2024) ได้พิจารณาเสนอให้มีการขยายอายุการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ขนาดกำลังผลิตตามสัญญารวม 650 เมกะวัตต์ ออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2574 เพื่อให้สอดคล้องกับอายุสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติสำหรับโรงไฟฟ้าน้ำพอง ระยะเวลา 10 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2574) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกระบวนการจัดทำร่างแผน PDP2024 ยังไม่แล้วเสร็จ ส่งผลให้สถานะของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 จะต้องยึดกำหนดการตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ซึ่งเป็นแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน โดยตามแผน PDP2018 Rev.1 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
2. เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 เป็นโรงไฟฟ้าหลักในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพอง - สินภูฮ่อม ที่มีต้นทุนราคาในการผลิตไฟฟ้าถูก ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเหลวแบบตลาดจร (Spot LNG) และจะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศได้ ดังนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้มีหนังสือถึงสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ขอให้เสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาขยายการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ระยะเวลา 1 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568) ซึ่งเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 กบง. ได้มีมติเห็นชอบการขยายอายุการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ระยะเวลา 1 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568) โดยมอบหมายให้ กฟผ. และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ กพช. พิจารณาต่อไป
3. การขอขยายอายุการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 มีรายละเอียดดังนี้ (1) ด้านเทคนิค โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 มีความพร้อมรองรับการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าตามกรอบระยะเวลาการขอขยายอายุการเดินเครื่อง โดย กฟผ. มีแผนการบำรุงรักษา และตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ระบบส่งไฟฟ้ามีความพร้อมให้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างมั่นคง เชื่อถือได้ มีคุณภาพเพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยการบริหารจัดการอุปกรณ์ระบบส่งไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการขยายอายุการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ระยะเวลา 1 ปี ไม่ส่งผลกระทบต่อแผนพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ (2) ด้านเชื้อเพลิง กฟผ. มีความพร้อมด้านเชื้อเพลิงเพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าจากการขยายอายุการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ระยะเวลา 1 ปี โดยเป็นการใช้ทรัพยากรภายในประเทศของแหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพอง - สินภูฮ่อม ที่มีต้นทุนถูกได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด ช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิง Spot LNG โดยสามารถลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าสุทธิประมาณ 5,263 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดการเปรียบเทียบต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ดังนี้ 1) โรงไฟฟ้าน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ต้นทุนผลิตไฟฟ้า 1.8844 บาทต่อหน่วย ประมาณการหน่วยผลิตไฟฟ้า 4,266 กิกะวัตต์ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายดำเนินงานรวมต้นทุนค่าเชื้อเพลิง 8,039 ล้านบาท 2) โรงไฟฟ้า Marginal เชื้อเพลิง Spot LNG ต้นทุนผลิตไฟฟ้า 3.1181 บาทต่อหน่วย ประมาณการหน่วยผลิตไฟฟ้า 4,266 กิกะวัตต์ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายดำเนินงานรวมต้นทุนค่าเชื้อเพลิง 13,302 ล้านบาท ทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าสุทธิลดลง 5,263 ล้านบาท และ (3) ด้านสิ่งแวดล้อม กฟผ. ดำเนินการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงาน Monitor) และนำส่งผลรายงาน Monitor ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ทุก 6 เดือน เพื่อติดตามตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐาน ดังนั้น การขยายอายุการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ระยะเวลา 1 ปี จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นจากเดิม เนื่องจากการดำเนินงานและรายละเอียดโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพองไม่มีการเปลี่ยนแปลง
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบการขยายอายุการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ระยะเวลา 1 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568)
2. มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 มาตรา 28 (1) กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีอำนาจหน้าที่เสนอแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 25 ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และมาตรา 4 (4) กำหนดให้ กพช. มีอำนาจหน้าที่กำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนตามมาตรา 28 (1)
2. เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้พิจารณาแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และได้มีมติดังนี้ (1) เห็นชอบแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (2) มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ นำเสนอต่อ กพช. พิจารณาต่อไป และ (3) มอบหมายให้สำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ส.กทอ.) ออกประกาศยุทธศาสตร์การจัดสรรเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และประกาศเปิดรับข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายหลังที่ กพช. เห็นชอบต่อไป
3. แนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มีรายละเอียดดังนี้
3.1 แนวทางการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวงเงินรวม 3,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จากผลการศึกษา ทบทวน ผลการดำเนินงาน ผลลัพธ์การจัดสรรเงินที่ผ่านมา รวมถึงข้อมูลจากการสำรวจความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประมาณการรายรับ - รายจ่ายเงินกองทุนฯ โดยแบ่งการจัดสรรเงินตามมาตรา 25 (1) – 25 (4) ดังนี้ 500 500 2,250 และ 250 ล้านบาท ตามลำดับ
3.2 หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในแต่ละมาตรา ดังนี้
3.2.1 มาตรา 25 (1) เป็นเงินหมุนเวียน เงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนสำหรับการลงทุนและดำเนินงาน ในการอนุรักษ์พลังงาน หรือการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงานที่มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อ ดังนี้ (1) การสนับสนุนและส่งเสริมให้หน่วยงานราชการลงทุนและดำเนินการด้านการลดการใช้พลังงานตามมาตรการลดใช้พลังงานในหน่วยงานราชการ เพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประเด็นเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพลังงานทดแทน โดยลดความเข้มข้นของการใช้พลังงาน ซึ่งมีแนวทางดำเนินการให้หน่วยงานราชการลงทุนติดตั้งหรือใช้วัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องจักรอุปกรณ์ประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงหรือเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในหน่วยงาน (2) การดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนและดำเนินการด้านการอนุรักษ์พลังงานด้วยบริษัทจัดการพลังงาน (Energy Service Company : ESCO) ในหน่วยงานราชการ ซึ่งหน่วยงานราชการดำเนินการด้วยกลไกบริษัทจัดการพลังงาน โดยทำสัญญารับประกันผลประหยัดพลังงาน และมีการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด (M&V) เพื่อรับประกันผลตอบแทนของโครงการให้กับหน่วยงานราชการ และ (3) การสนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกในพื้นที่พิเศษ ได้แก่ โครงการพระราชดำริ (ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) หรือศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง (ศปร.) หรือเขตพระราชฐาน ซึ่งพื้นที่พิเศษไม่รวมโครงการในพระบรมราชูปถัมภ์) ซึ่งมีเงื่อนไข ดังนี้ (1) สนับสนุนในลักษณะเงินหมุนเวียน เงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุน รูปแบบของการร่วมจ่าย (Co-pay) ไม่เกินร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายจริงหรือราคากลาง สำหรับการลงทุนและดำเนินงานในการอนุรักษ์พลังงาน หรือการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงานสำหรับหน่วยงานราชการ (2) สำหรับการลงทุนและดำเนินงานในการอนุรักษ์พลังงานหรือการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงานในพื้นที่พิเศษ ได้แก่ โครงการพระราชดำริ (ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน กปร. หรือ ศปร. หรือเขตพระราชฐาน ซึ่งพื้นที่พิเศษไม่รวมโครงการในพระบรมราชูปถัมภ์) โดยสนับสนุนในลักษณะเงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนตามค่าใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกินมาตรฐานราคากลางอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ราคากลางเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ และผู้ขอรับการสนับสนุนที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่พิเศษหรือไม่ได้รับผิดชอบดูแลพื้นที่พิเศษโดยตรง ต้องมีเอกสารร้องขอเพื่อดำเนินโครงการจากหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่พิเศษโดยตรง หากไม่แสดงเอกสารดังกล่าว ส.กทอ. ขอสงวนสิทธิ์ไม่พิจารณาข้อเสนอโครงการที่หน่วยงานยื่นขอรับการสนับสนุน และ (3) หน่วยงานผู้ขอรับการสนับสนุนสำหรับการลงทุนและดำเนินงานในการอนุรักษ์พลังงานหรือการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน ต้องเป็นหน่วยงานราชการ
3.2.2 มาตรา 25 (2) เป็นเงินหมุนเวียน เงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนสำหรับการลงทุนและดำเนินงานในการอนุรักษ์พลังงาน หรือเพื่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงานที่มีลักษณะสนับสนุนและส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงานด้วยการจัดการการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ และการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูงขึ้น ทั้งในรูปของอุปกรณ์/เครื่องใช้ เครื่องจักร กระบวนการผลิต และระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพใน 5 สาขาเศรษฐกิจหลักที่มีการใช้พลังงานมาก ได้แก่ (1) อุตสาหกรรม (2) ธุรกิจการค้า (3) บ้านอยู่อาศัย (4) เกษตรกรรม และ (5) ขนส่ง โดยให้ความช่วยเหลือด้านการลงทุนแก่ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน กระตุ้นและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถลดต้นทุนด้านพลังงาน มีการใช้งานอุปกรณ์ประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง และเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ซึ่งมีเงื่อนไข ดังนี้ (1) เป็นเงินหมุนเวียน เงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนแก่เอกชนสำหรับการลงทุนและดำเนินงานในการอนุรักษ์พลังงาน หรือเพื่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน โดยสนับสนุนในลักษณะเงินหมุนเวียน เงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุน ในรูปแบบของการร่วมจ่าย (Co-pay) ไม่เกินร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายจริงหรือราคากลาง โดยการขอรับการสนับสนุนต้องเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานกำหนด และ (2) เป็นเงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนเพื่อลดอัตราดอกเบี้ยในการลงทุนและดำเนินงานในการอนุรักษ์พลังงานตามนโยบายของกระทรวงพลังงานให้ธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ โดยการขอรับการสนับสนุนต้องเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานกำหนด
3.2.3 มาตรา 25 (3) เป็นเงินช่วยเหลือหรือเงินอุดหนุนให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา หรือองค์กรเอกชนตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 โดยองค์กรเอกชนที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือหรือเงินอุดหนุนตามมาตรา 25 (3) ต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศที่มีกิจกรรมเกี่ยวข้องโดยตรงกับการอนุรักษ์พลังงานหรือการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน และมิได้มีวัตถุประสงค์ในทางการเมืองหรือมุ่งค้าหากําไรจากการประกอบกิจกรรมดังกล่าว เพื่อดำเนินการ โดยแบ่งเป็นหมวด ก. – จ. ดังนี้
ก. โครงการทางด้านการอนุรักษ์พลังงานหรือโครงการที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน เป็นเงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนโครงการทางด้านการอนุรักษ์พลังงาน หรือโครงการที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงานที่มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังนี้ (1) การอนุรักษ์พลังงาน แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1.1) ด้านการสนับสนุนนโยบาย ที่เป็นการสนับสนุนและส่งเสริมตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงพลังงาน เพื่อดำเนินโครงการทางด้านการอนุรักษ์พลังงาน การสำรวจ รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และการจัดทำข้อมูลเพื่อนำไปสู่การจัดทำนโยบายและแผน และการขับเคลื่อนด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงานตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพลังงานชาติ นโยบายของรัฐบาล นโยบายของกระทรวงพลังงาน หรือตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลและพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงาน 1.2) ด้านการกำกับ ดูแล หรือบังคับใช้ภายใต้ข้อกฎหมาย ที่เป็นการกำกับ ดูแล บังคับภายใต้ข้อกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐาน ข้อกำหนดการปฏิบัติหรือการสนับสนุนการใช้กฎหมาย ระเบียบ กฎกระทรวง มาตรฐาน ข้อกำหนดการปฏิบัติด้านการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อบังคับและสนับสนุนให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร/โรงงานควบคุม การใช้เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง การดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงาน หรือแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก นโยบายอนุรักษ์พลังงาน หรือนโยบายพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ที่มีลักษณะการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน ข้อกำหนด ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามมาตรฐานในประเทศหรือมาตรฐานสากล การดำเนินการผลักดันหรือเตรียมความพร้อมออกกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน ข้อกำหนดการปฏิบัติ หรือแผนงานเชิงนโยบาย หรือข้อกำหนดการสนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายที่ส่งผลต่อการอนุรักษ์พลังงาน และ 1.3) ด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ผ่านหน่วยงานที่มีภารกิจโดยตรง ให้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร โดยใช้ศักยภาพด้านพลังงานของชุมชนอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสในการเข้าถึงการใช้พลังงานแบบพึ่งพาตนเอง และ (2) การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ 2.1) ด้านการสนับสนุนนโยบาย ซึ่งเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงพลังงาน เพื่อดำเนินโครงการที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน และ 2.2) ด้านการกำกับ ดูแล หรือบังคับใช้ภายใต้ข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นการกำกับ ดูแล บังคับภายใต้ข้อกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐาน ข้อกำหนดการปฏิบัติหรือการสนับสนุนการใช้กฎหมาย ระเบียบ กฎกระทรวง มาตรฐาน ข้อกำหนดการปฏิบัติด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน การดำเนินการผลักดันหรือเตรียมความพร้อมออกกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน ข้อกำหนดการปฏิบัติ หรือแผนงานเชิงนโยบาย หรือข้อกำหนดการสนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายที่ส่งผลต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน และการแก้ปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการอนุรักษ์พลังงาน และการติดตามหรือประเมินผลตามที่กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับมาตรฐาน ข้อกำหนดการปฏิบัติ หรือแผนงาน เชิงนโยบาย หรือข้อกำหนดการสนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งมีเงื่อนไข ดังนี้ (1) การอนุรักษ์พลังงาน โดยการสนับสนุนด้านนโยบาย และการกำกับ ดูแล หรือบังคับใช้ภายใต้ข้อกฎหมาย จะสนับสนุนในลักษณะเงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนตามค่าใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกินมาตรฐานราคากลางอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ราคากลางเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ สำหรับการสนับสนุนด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร จะสนับสนุนในลักษณะเงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนในรูปแบบของการร่วมจ่าย (Co-pay) ตามสัดส่วนหรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานกำหนดในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ผ่านหน่วยงานที่มีภารกิจโดยตรง ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ทั้งนี้ หน่วยงานผู้ขอรับการสนับสนุนต้องมีลักษณะ ดังนี้ ด้านการสนับสนุนนโยบาย ต้องเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีภารกิจในการขับเคลื่อนนโยบายและแผนงานที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน หรือมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ และการจัดทำข้อมูลสถิติด้านพลังงาน หรือมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา จัดทำ หรือผลักดันมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน ด้านการกำกับ ดูแล หรือบังคับใช้ภายใต้ข้อกฎหมาย ต้องเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีภารกิจกำกับ ดูแล เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน ข้อกำหนดการปฏิบัติเกี่ยวกับด้านพลังงาน โดยต้องแสดงรายละเอียดอำนาจหน้าที่หรือภารกิจตามกฎหมายของหน่วยงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ และด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ต้องเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีภารกิจโดยตรง ให้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร โดยให้การสนับสนุนในรูปแบบของการร่วมจ่าย (Co-pay) ตามสัดส่วนหรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานกำหนดในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย และ (2) การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน โดยการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน สนับสนุนในลักษณะเงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนตามค่าใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกินมาตรฐานราคากลางอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ราคากลางเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ หน่วยงานผู้ขอรับการสนับสนุนต้องมีลักษณะ ดังนี้ ด้านการสนับสนุนนโยบาย ต้องเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีภารกิจในการขับเคลื่อนนโยบายและแผนงาน ที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน หรือมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา จัดทำ หรือผลักดันมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน และด้านการกำกับ ดูแล หรือบังคับใช้ภายใต้ข้อกฎหมาย ต้องเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีภารกิจกำกับ ดูแล เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน ข้อกำหนดการปฏิบัติเกี่ยวกับด้านพลังงาน โดยต้องแสดงรายละเอียดอำนาจหน้าที่หรือภารกิจตามกฎหมายของหน่วยงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ
ข. การค้นคว้า วิจัย การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา การส่งเสริมและการอนุรักษ์พลังงาน การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงานและเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและวางแผนพลังงาน เป็นเงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนการค้นคว้า วิจัย การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา การส่งเสริมและการอนุรักษ์พลังงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน และเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและวางแผนพลังงานที่มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังนี้ (1) การวิจัยเพื่อสร้างงานต้นแบบ (Prototype) หรือนวัตกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อการนำไปสาธิตต้นแบบสร้างนวัตกรรม และขยายผลเชิงพาณิชย์ได้ โดยมีระดับความพร้อมทางเทคโนโลยี (Technology Readiness Levels: TRLs) ตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป (2) การวิจัยเชิงนโยบายที่มีผลทำให้หน่วยงานรัฐสามารถนำไปออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมาย ให้กิจการประเภทเดียวกันต้องปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง และต้องมีโอกาสนำไปขยายผล หรือบังคับที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง (3) การวิจัย พัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานที่มีศักยภาพขยายผล หรือผลักดันในเชิงธุรกิจ (4) การวิจัยที่แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงานที่มีปัญหา มาจากผู้ประกอบการ และพร้อมนำผลการวิจัยไปดำเนินการและขยายผล (5) การวิจัยที่มีโอกาสนำไปขยายผลในรูปแบบการบรรจุในหลักสูตรเพื่อการศึกษา หรือบังคับใช้ในหน่วยงานของตนเองหรือที่มีแนวโน้มนำมาสู่การอนุรักษ์พลังงานที่เป็นรูปธรรม อย่างต่อเนื่อง และ (6) การวิจัย พัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานในระดับชุมชน ทั้งนี้ โครงการค้นคว้า วิจัย การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา การส่งเสริม และการอนุรักษ์พลังงาน การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน ควรคำนึงถึงศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ซึ่งมีเงื่อนไข ดังนี้ (1) โครงการที่ขอรับการสนับสนุนต้องไม่ซ้ำซ้อนหรือเคยมีโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกันวิจัยมาก่อน และต้องไม่เป็นโครงการที่มีลักษณะการดำเนินโครงการวัตถุประสงค์หลักเพื่อการประกอบกิจการไฟฟ้า หรือการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการไฟฟ้า (2) การรับการสนับสนุนทุนวิจัย การดำเนินโครงการวิจัย เป็นไปตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 (3) ผลการวิจัยที่เกิดภายใต้การสนับสนุนเงินจากกองทุนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (4) หน่วยงานผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันการศึกษา ที่มีภารกิจเพื่อส่งเสริม สนับสนุน หรือขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรม หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพลังงานเพื่อส่งเสริม สนับสนุน หรือขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรม
ค. โครงการสาธิต หรือโครงการริเริ่มที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานหรือการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน เป็นเงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนโครงการด้านสาธิต หรือโครงการริเริ่มที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานหรือการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงานที่มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังนี้ (1) การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ระบบ การบริหาร วิธีการ หรือรูปแบบใหม่ที่ยังไม่เคยนำไปดำเนินการ หรือยังไม่มีผลลัพธ์เชิงประจักษ์อย่างชัดเจน หรือมีลักษณะสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ เพื่อแสดงถึงความคุ้มค่า มีโอกาสนำมาเผยแพร่ เป็นตัวอย่างและขยายผลหรือการสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายได้ ในวงกว้าง (2) การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ระบบ การบริหาร วิธีการ หรือรูปแบบที่เคยดำเนินการมาแล้ว และเป็นเรื่องที่รับทราบอย่างแพร่หลายหรือใช้งานเชิงพาณิชย์ ต้องมีเหตุผลถึงความแตกต่างและความจำเป็นที่ต้องดำเนินการพัฒนา หรือสาธิต (3) นวัตกรรมจากงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จ และมีความประสงค์จะพัฒนาไปเป็นต้นแบบสำหรับการขยายผลเชิงประจักษ์ (4) การแก้ปัญหาอุปสรรคที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และต้องเป็นเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่ยังไม่เคยมีผลของการแก้ปัญหาในการเพิ่มประสิทธิภาพอันเป็นที่ประจักษ์ และยอมรับอย่างกว้างขวางมาก่อน และ (5) มีลักษณะสาธิตในพื้นที่เฉพาะ มีศักยภาพที่แตกต่างกันมีลักษณะการบริหารจัดการในสังคมที่แตกต่างกัน และยังไม่เคยดำเนินการในพื้นที่นั้นมาก่อน ใช้เป็นต้นแบบนำไปขยายผลให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนี้ ให้การสนับสนุนบางส่วนหรือเต็มจำนวน ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่จะนำมาสาธิตในโครงการ โดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่พัฒนาโดยคนไทย ซึ่งมีเงื่อนไข ดังนี้ หน่วยงานผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันการศึกษา ที่มีภารกิจเพื่อส่งเสริม สนับสนุน หรือขับเคลื่อนงานวิจัย นวัตกรรม และสาธิต หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพลังงานเพื่อส่งเสริม สนับสนุน หรือขับเคลื่อนงานวิจัย นวัตกรรม และสาธิต
ง. การศึกษา การฝึกอบรม และการประชุมเกี่ยวกับพลังงาน เป็นเงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนการศึกษา การฝึกอบรม และการประชุมเกี่ยวกับพลังงานที่มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังนี้ (1) การพัฒนาบุคลากร เครือข่ายพลังงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในกลไกของการพัฒนาหรือสนับสนุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงพลังงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้หมายรวมถึงการสนับสนุนทุนวิจัย ทุนการศึกษา แก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีการศึกษาเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน (2) การพัฒนาหลักสูตรหรือพัฒนาสื่อ หรือจัดฝึกอบรมให้แก่บุคลากรของกระทรวงพลังงาน ตลอดจนประชาชนทั่วไป เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และผู้นำชุมชน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน และนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ได้ต่อไป เช่น หลักสูตรฝึกอบรม การดูงาน การจัดทำสื่อการเรียนรู้ เป็นต้น (3) การจัดประชุมสัมมนาด้านวิชาการเกี่ยวกับพลังงานเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ ความเข้าใจ หรือเพื่อเปิดโอกาสให้ปรึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าสัมมนาเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน หรือการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน (4) การให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรของหน่วยงานของรัฐ และสถาบันการศึกษาในการศึกษาต่อในประเทศ (ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก) และการศึกษาต่อในต่างประเทศ (ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก) และการศึกษาหลักสูตรระยะสั้นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน (5) การให้ทุนอุดหนุนการวิจัยสำหรับนักศึกษาเพื่อเป็นแรงจูงใจให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน หันมาให้ความสนใจในการทำวิจัยด้านการจัดการพลังงาน เทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์พลังงาน และ (6) การพัฒนาวิทยาลัยพลังงานของกระทรวงพลังงาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความสำคัญของพลังงานต่อการดำเนินชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดหาพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ และกระตุ้นความสนใจในการวิเคราะห์แนวทางเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในอนาคต ปลูกฝังให้มีจิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีเงื่อนไข ดังนี้ (1) โครงการควรมีกิจกรรมประเมินผลการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ หรือผลกระทบด้านการอนุรักษ์พลังงานที่เกิดขึ้น (2) โครงการประเภททุนการศึกษา และทุนอุดหนุนการวิจัยจะให้การสนับสนุนผ่านหน่วยงานที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงาน เพื่อดำเนินการให้แก่บุคลากรของหน่วยงานของรัฐ และสถาบันการศึกษา และ (3) หน่วยงานผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันการศึกษา
จ. การโฆษณา การเผยแพร่ข้อมูล และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการพัฒนาการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน เป็นเงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนการโฆษณา การเผยแพร่ข้อมูล และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการพัฒนาการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงานที่มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังนี้ (1) กิจกรรมเผยแพร่นโยบาย มาตรการการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือผลงานโครงการที่เกี่ยวกับด้านพลังงานที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน และเป็นเป้าหมายในการนำไปสู่การขยายผลหรือทำให้ประชาชนเข้าใจ หรือมีทัศนคติที่ดีต่อกระทรวงพลังงาน (2) กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ปลูกจิตสำนึก และสร้างความตระหนักเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การผลิตและการใช้พลังงานทดแทน (3) กิจกรรมเผยแพร่การผลิตและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ประสบความสำเร็จ และ (4) สื่อที่จะใช้ต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สามารถวัดผลการรับสื่อได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ซึ่งมีเงื่อนไข ดังนี้ (1) สื่อที่จะใช้ต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สามารถวัดผลการรับสื่อได้อย่างชัดเจน (2) การประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ควรมีข้อมูลสำรวจหรือประเมินระดับความรู้ในประเด็นต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดเนื้อหาที่จะสื่อสารให้ความรู้ กำหนดเป้าหมายระดับความรู้ที่คาดหวังและเป็นข้อมูลอ้างอิงในการประเมินผลหลังการประชาสัมพันธ์ (3) กรณีหน่วยงานภายในกระทรวงพลังงานขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ต้องผ่านคณะกรรมการหรือคณะทำงานที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพลังงานก่อน เพื่อกำหนดกรอบ แนวทาง แผนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ให้เป็นไปตามนโยบาย มาตรการ แผนงานด้านประชาสัมพันธ์ของกระทรวงพลังงาน โดยแสดงเอกสารผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ เพื่อยืนยันข้อมูล เช่น มติการประชุม หรือรายงานการประชุม หรือการแจ้งผลการพิจารณา หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ณ วันที่ยื่นข้อเสนอโครงการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์กับกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ยกเว้นโครงการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานของ ส.กทอ. ที่ให้เสนอผ่านคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่ได้รับมอบหมาย และ (4) หน่วยงานผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่โดยตรงด้านพลังงาน หรือที่มีหน้าที่โดยตรงกับงานสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และให้ข้อมูลข่าวสารด้านพลังงาน
3.2.4 มาตรา 25 (4) เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ และตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ระหว่างกระทรวงการคลังกับกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กำหนดให้กองทุนเป็น “ทุนหมุนเวียนที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการ” และเร่งรัดให้มีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 และโดยที่ ส.กทอ. เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และคณะอนุกรรมการ ที่คณะกรรมการแต่งตั้ง และมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานต่าง ๆ ในภารกิจที่เกี่ยวกับกองทุน จึงมีความจำเป็นในการใช้งบประมาณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการกองทุน อาทิ การดำเนินงานตามภารกิจ การจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลเพื่อรองรับการบริหารจัดการเงินกองทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานของพนักงานกองทุน ค่าเช่าหรือค่าย้ายที่ตั้งสำนักงาน รวมทั้งการบริหารทรัพยากรบุคคลที่จะต้องมีการทบทวนสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สำหรับพนักงานกองทุนเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน และพัฒนากองทุนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 โดยมีหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (1) การใช้จ่ายเงินตามแผนการบริหารจัดการ ส.กทอ. ได้แก่ 1) งบบุคลากร 2) งบดำเนินงาน 3) งบลงทุน และ 4) งบรายจ่ายอื่น (2) การใช้จ่ายเงินในโครงการที่ต้องดำเนินการตามแผนบริหารจัดการ ส.กทอ. ประจำปี แผนปฏิบัติการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลประจำปี และแผนปฏิบัติการดิจิทัลประจำปี (3) การใช้จ่ายเงินในการบริหารจัดการสารสนเทศและดิจิทัล เช่น การจัดให้มีระบบการบริหารจัดการสารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจของคณะกรรมการและ/หรือผู้บริหารกองทุน (EIS/MIS) ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้ใช้บริการภายในกองทุน ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้ใช้บริการภายนอกกองทุน และตอบสนองต่อนโยบายด้านดิจิทัล รวมทั้งนโยบายต่าง ๆ ที่สำคัญของภาครัฐ และ (4) การใช้จ่ายเงินในการบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management : HRM) และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development : HRD) สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนงานด้านทรัพยากรบุคคล (HR Enabler) ได้แก่ การสร้างความผูกพันและความพึงพอใจของบุคลากร (Employee Engagement & Satisfaction) เช่น อัตราค่าตอบแทนพนักงาน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์สำหรับพนักงาน ความปลอดภัย/สุขอนามัย/สภาพแวดล้อมในการทำงาน (Safety/Health/ Environment : SHE) ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนงานด้านทรัพยากรบุคคล (HR Information System : HRIS) ซึ่งมีเงื่อนไขตามลักษณะงานและให้ลำดับความสำคัญ ดังนี้ (1) เพื่อขับเคลื่อนภารกิจของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (2) เพื่อขับเคลื่อนภารกิจของ ส.กทอ. (3) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ และ (4) ส.กทอ. และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นผู้รับการสนับสนุน
มติของที่ประชุม
เห็นชอบแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
ประธานฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมทราบว่า นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ขอให้ที่ประชุมพิจารณาหารือเกี่ยวกับเรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed – in-Tariff (FiT) ปี 2565 - 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567 ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยกับประชาชนเรื่องความถูกต้องของกระบวนการ และวิธีการดำเนินงานรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนดังกล่าว และเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและราชการ
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด สำหรับปี 2565 – 2573 ปริมาณรวม 3,668.5 เมกะวัตต์ ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้ให้ความเห็นชอบไว้ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 โดยเป็นการชะลอการลงนามสัญญากับ 3 การไฟฟ้าไว้ก่อน เพื่อดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง
2. เห็นชอบให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดำเนินการตามข้อ 1
3. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ หารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในประเด็น ข้อกฎหมายและอำนาจหน้าที่ของ กพช. และให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กพช. มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ในเรื่องดังกล่าวได้
กพช. ครั้งที่ 169 วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2567
มติการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 3/2567 (ครั้งที่ 169)
วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2567
3. รายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการด้านนโยบายพลังงาน ประจำปี 2566
ผู้มาประชุม
นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นางสาวแพทองธาร ชินวัตร)
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท)
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอแนวทางการดำเนินโครงการนำร่องการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง (Direct Power Purchase Agreement : Direct PPA) ผ่านการขอใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access : TPA) (โครงการนำร่องฯ) โดยกำหนดปริมาณกรอบเป้าหมายไม่เกิน 2,000 เมกะวัตต์ โดยอนุญาตให้เฉพาะบริษัท Data Center ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามข้อกำหนดจากบริษัทแม่ และต้องเป็นการดำเนินการที่เท่าเทียมกันในทุกประเทศที่ไปลงทุนซึ่งต้องเป็นการลงทุนขนาดใหญ่และไม่มีการขายไฟฟ้ากลับเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของประเทศ พร้อมทั้งมอบหมายกระทรวงพลังงาน (พน.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ร่วมกันจัดทำรายละเอียด หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการดำเนินการโครงการนำร่องฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2567 และให้นำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาเห็นชอบก่อนดำเนินการต่อไป และมอบหมาย กกพ. จัดทำอัตราค่าบริการการใช้และเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access : TPA) ที่ครอบคลุมค่าบริการต่าง ๆ เช่น (1) ค่าบริการระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้า (Wheeling Charge) (2) ค่าบริการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Connection Charge) (3) ค่าบริการความมั่นคงระบบไฟฟ้า (System Security Charge หรือ Ancillary Services Charge) (4) ค่าบริการหรือค่าปรับในการปรับสมดุลหรือบริหารปริมาณไฟฟ้า (Imbalance Charge) (5) ค่าใช้จ่ายเชิงนโยบาย (Policy Expenses) และค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในภาพรวมทั้งประเทศ และสอดรับกับข้อเสนออัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff : UGT) ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการด้วย ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2567 และให้นำเสนอ กบง. พิจารณาเห็นชอบก่อนดำเนินการต่อไป
2. เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 พน. กกพ. และ BOI ได้มีการประชุมหารือมาตรการ Direct PPA เพื่อหารือแนวทางการจัดทำรายละเอียด หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การดำเนินการโครงการนำร่องฯ สรุปได้ดังนี้
2.1 หลักการนโยบายสำหรับโครงการนำร่องฯ ประกอบด้วย (1) กลุ่มเป้าหมายของโครงการนำร่องฯ จะต้องเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในด้าน Data Center โดยต้องเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ และเป็นการลงทุนใหม่ เพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมรองรับและดึงดูดการลงทุนจากบริษัทชั้นนำของโลกที่รัฐบาลได้เชิญชวนและสนใจเข้ามาลงทุนในด้าน Data Center ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้เกิดการสร้างประโยชน์แก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (2) การดำเนินการโครงการนำร่องฯ จะต้องเป็นการดำเนินการในรูปแบบของการขายพลังงานไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรงผ่านการขอใช้บริการ TPA และไม่มีการขายพลังงานไฟฟ้ากลับมาให้ภาครัฐ (3) ผู้ผลิตไฟฟ้า (Supply) สำหรับโครงการนำร่องฯ ต้องเป็นโรงไฟฟ้าใหม่ที่ไม่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับภาครัฐ เช่น ไม่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า หรือโรงไฟฟ้าเดิมที่หมดสัญญากับการไฟฟ้าแล้ว เป็นต้น โดยต้องเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar) หรือ พลังงานลม (Wind) ทั้งนี้สามารถใช้ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System) ร่วมด้วยได้ (4) กรอบเป้าหมายในการดำเนินการโครงการนำร่องฯ ปริมาณไม่เกิน 2,000 เมกะวัตต์ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวได้ถูกบรรจุลงในร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567 - 2580 (PDP2024) ในส่วนของกำลังผลิต (Supply) แล้ว โดยเมื่อได้มีการดำเนินการโครงการนำร่องฯ ไปแล้วในส่วนของ Supply ในปริมาณเท่าใดจะถูกนำออกจากร่างแผน PDP2024 และหากการดำเนินการโครงการนำร่องฯ ไม่ครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 2,000 เมกะวัตต์ ปริมาณในส่วนที่เหลือจะถูกนำไปรวมในร่างแผน PDP2024 ที่จะกำหนดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าเข้าระบบของประเทศในรูปแบบปกติในอนาคตต่อไป และ (5) การจัดทำข้อกำหนดการเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (TPA Code) และอัตราค่าบริการ TPA จะต้องมีการพิจารณาให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในภาพรวมทั้งประเทศ รวมถึงจะต้องสอดรับกับข้อเสนออัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff : UGT) ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการด้วย
2.2 การลงทุนขนาดใหญ่สำหรับโครงการด้าน Data center ได้มีการกำหนดเงื่อนไขมูลค่าเงินลงทุนต่อโครงการไว้ที่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป และจากข้อมูลการหารือของ BOI กับนักลงทุนในธุรกิจด้าน Data Center สำหรับการลงทุนขนาดใหญ่หรือระดับ Hyperscale ในปัจจุบัน พบว่า มีบริษัท Data Center ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าพลังงานสะอาดผ่านกลไก Direct PPA ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาขยายการลงทุนในประเทศไทย หรือที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI แล้ว มีจำนวน 8 บริษัท โดยส่วนใหญ่จะมีพื้นที่การดำเนินการในบริเวณเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งมีปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้ารวมประมาณ 1,700 เมกะวัตต์ และเบื้องต้นในปี 2569 คาดว่าจะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าพลังงานสะอาดประมาณ 400 เมกะวัตต์ ซึ่งสอดคล้องกับกรอบปริมาณเป้าหมายของการดำเนินการโครงการนำร่องฯ ที่กำหนดไว้ 2,000 เมกะวัตต์ โดยคาดว่าจะมีนักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุน Data Center ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กกพ. และ BOI จะมีการหารือกับนักลงทุน Data Center เพิ่มเติม ก่อนที่จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและพิจารณาอัตรา TPA สำหรับการดำเนินการโครงการนำร่องฯ ต่อไป
2.3 นอกจากกลไก Direct PPA จะสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้แล้ว อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวหรือ UGT ที่ กกพ. อยู่ระหว่างการดำเนินการ ก็เป็นทางเลือกหนึ่งให้นักลงทุนที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้เช่นกัน โดย กกพ. ได้กำหนด UGT เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวแบบไม่เจาะจงแหล่งที่มา (UGT1) และ (2) อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวแบบเจาะจงแหล่งที่มา (UGT2) ทั้งนี้ กกพ. มีกำหนดแผนที่จะประกาศอัตรา UGT1 ภายในเดือนพฤศจิกายน 2567 และประกาศอัตรา UGT2 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
มติของที่ประชุม
รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมาตรการในการให้เอกชนสามารถทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง (Direct Power Purchase Agreement: Direct PPA)
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเห็นชอบการทบทวนปรับปรุงแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ร่วมกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมและศักยภาพของพลังงานสะอาดในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของประเทศ และนำเสนอ กบง. เพื่อพิจารณา ทั้งนี้อาจทบทวนปริมาณเชื้อเพลิงรายปีที่กำหนดไว้ในการทบทวนปรับปรุงแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้ตามสถานการณ์หรือศักยภาพที่เหมาะสม โดยนำเสนอ กบง. เพื่อพิจารณา ต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 กบง. มีมติเห็นชอบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) และเห็นชอบหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและอัตรารับซื้อจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง
2. เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 และวันที่ 22 มิถุนายน 2565 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบหลักการรับซื้อไฟฟ้าและอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง ได้แก่ ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน และพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับปี 2565 – 2573 ในปริมาณรวม 5,203 เมกะวัตต์ และเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม สำหรับปี 2569 ในปริมาณ 100 เมกะวัตต์ ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม) และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ดำเนินการออกระเบียบและประกาศรับซื้อไฟฟ้า และกำกับดูแลการคัดเลือกตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ อาจพิจารณาทบทวนปริมาณเชื้อเพลิงรายปีที่กำหนดไว้ได้ตามสถานการณ์หรือศักยภาพที่เหมาะสม หรือปรับปรุงเงื่อนไขต่าง ๆ (ยกเว้นอัตรารับซื้อ) ได้ โดยมอบหมายให้ กบง. พิจารณา และต่อมาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 กบง. ได้เห็นชอบปรับปรุงกรอบหลักเกณฑ์การคัดเลือกโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT กลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม สำหรับปี 2565 – 2573 ด้านคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของโครงการ และเห็นชอบให้ กกพ. สามารถพิจารณาปรับเป้าหมายรับซื้อไฟฟ้ารายปี เฉพาะกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงได้ตามความเหมาะสม ให้สอดคล้องกับผลคะแนนความพร้อมด้านเทคนิค ข้อเสนอขายไฟฟ้า กำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) และศักยภาพระบบไฟฟ้า ทั้งนี้ ไม่ให้เกินกรอบเป้าหมายรวมของแต่ละประเภทเชื้อเพลิงตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม)
3. เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 กบง. มีมติรับทราบรายงานผลการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) โดยที่ประชุมได้มีความเห็นต่อผลการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าที่สะท้อนถึงความสนใจและศักยภาพของผู้ประกอบการในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จึงมีความเห็นให้พิจารณาแนวทางการบริหารจัดการเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม) ให้สามารถรองรับการยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าที่มีปริมาณมากเพิ่มเติมได้ เพื่อเพิ่มปริมาณไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดและสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ได้ตามแผนที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางในการดำเนินการต่อ กบง. เพื่อพิจารณา ต่อมาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 กบง. ได้เห็นชอบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผน PDP2018 Rev.1 ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม ครั้งที่ 2) พร้อมทั้งเห็นชอบหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ FiT สำหรับปี 2565 – 2573 และมอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างและปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรองรับการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม) และแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม ครั้งที่ 2) ทั้งนี้ มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายดำเนินโครงการก่อสร้างหรือปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าหรือส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รับอนุมัติไว้แล้วที่ช่วยสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รวมถึงจัดทำแผนพัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อขออนุมัติต่อไป โดยมอบหมายให้ สนพ. นำเสนอ กพช. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป และเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 กพช. มีมติรับทราบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม ครั้งที่ 2) และเห็นชอบหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ FiT สำหรับปี 2565 – 2573 และมอบหมายให้ กกพ. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้อาจพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขต่าง ๆ (ยกเว้นอัตรารับซื้อ) ได้ โดยมอบให้ กบง. พิจารณา และมอบหมายให้ กฟผ. ดำเนินการก่อสร้างและปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรองรับการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม) และแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม ครั้งที่ 2) ทั้งนี้ มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายดำเนินโครงการก่อสร้างหรือปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าหรือส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รับอนุมัติไว้แล้วที่ช่วยสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รวมถึงจัดทำแผนพัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อขออนุมัติต่อไป โดยมอบหมายให้ สนพ. นำเสนอ กพช. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
4. เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 กบง. ได้พิจารณาข้อเสนอการปรับปรุงหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565 – 2573 และมีมติดังนี้
4.1 เห็นชอบข้อเสนอการปรับปรุงหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565 – 2573 ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 ในข้อ 3 และข้อ 4 โดยสรุปได้ดังนี้ ข้อ 3 การรับซื้อไฟฟ้าให้ยึดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกโครงการและเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการตามหลักการเช่นเดียวกับที่ได้รับความเห็นชอบจาก กพช. เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และวันที่ 22 มิถุนายน 2565 สำหรับขยะอุตสาหกรรม และที่ได้รับความเห็นชอบจาก กบง. เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 และ ข้อ 4 การรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมตามตารางที่ 1 ในข้อ 2 ให้เริ่มดำเนินการเมื่อสำนักงาน กกพ. ทำการประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการคัดเลือกภายใต้ระเบียบ กกพ. และประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นการรับซื้อตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผน PDP2018 Rev.1 ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) ที่ได้รับความเห็นชอบจาก กบง. เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 เสร็จสิ้น และมีแนวทางการดำเนินการ คือ (1) ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับผู้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าประเภทพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำ (Pass/Fail) แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก ภายใต้ระเบียบ กกพ. และประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้ กำหนดให้ กกพ. พิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากผลการประเมินความพร้อมตามเกณฑ์คะแนนคุณภาพ (Scoring) ที่ได้จัดทำไว้โดยไม่ต้องปรับปรุงแก้ไขคำเสนอขายไฟฟ้า และมีปริมาณรับซื้อไฟฟ้ารวมไม่เกิน 600 เมกะวัตต์ สำหรับพลังงานลม และไม่เกิน 1,580 เมกะวัตต์ สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน โดยให้พิจารณารับซื้อเรียงตามลำดับเชื้อเพลิง ดังนี้ พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับผู้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นรายสุดท้ายภายใต้ระเบียบ กกพ. และประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของแต่ละประเภทเชื้อเพลิง และยินยอมปรับลดปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายไม่ให้เกินกว่ากรอบเป้าหมายที่คงเหลือนั้น ให้ กกพ. สามารถปรับเพิ่มปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายให้กับผู้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้ารายดังกล่าวได้ไม่เกินกว่าปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายตามคำเสนอขายไฟฟ้าเดิม ถ้าหากโครงข่ายระบบไฟฟ้ามีศักยภาพที่สามารถรองรับได้ (2) การรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือหลังหักปริมาณที่ได้รับซื้อไปแล้วในข้อ 4 (1) ให้ดำเนินการในลำดับถัดมา โดยเปิดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ ให้พิจารณารับซื้อเรียงตามลำดับเชื้อเพลิง ดังนี้ ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน และ ขยะอุตสาหกรรม และ (3) การรับซื้อไฟฟ้าจะพิจารณาตามศักยภาพของโครงข่ายระบบไฟฟ้าที่สามารถรองรับได้ โดยการประเมินความสามารถระบบไฟฟ้าให้ดำเนินการประเมินสำหรับการรับซื้อตามข้อ 4 (1) ให้แล้วเสร็จก่อนที่จะดำเนินการประเมินสำหรับการรับซื้อตามข้อ 4 (2) ต่อไป ทั้งนี้หากมีข้อจำกัดในด้านศักยภาพของโครงข่ายไฟฟ้าในการรองรับและไม่สามารถดำเนินการปรับปรุงให้สามารถเชื่อมโยงเพื่อรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมได้ ภาครัฐขอสงวนสิทธิ์ในการไม่ตอบรับข้อเสนอขายไฟฟ้า
4.2 มอบหมายให้ กกพ. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
มติของที่ประชุม
รับทราบรายงานการปรับปรุงหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565 – 2573 โดยขอให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย และคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก
เรื่องที่ 3 รายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการด้านนโยบายพลังงาน ประจำปี 2566
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2551 ตามมาตรา 6 กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (1) เสนอแนะนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศต่อคณะรัฐมนตรี (2) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดราคาพลังงานให้สอดคล้องกับนโยบาย และแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ (3) ติดตาม ดูแล ประสาน สนับสนุนและเร่งรัดการดำเนินการของคณะกรรมการทั้งหลายที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เพื่อให้มีการดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ และ (4) ประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 มีคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 3/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ลงวันที่ 31 มกราคม 2563 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน และผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ (1) เสนอแนะนโยบาย แผนการบริหารและพัฒนา และมาตรการทางด้านพลังงาน (2) เสนอความเห็นเกี่ยวกับแผนงานและโครงการทางด้านพลังงานของหน่วยงานรวมทั้งเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานและโครงการดังกล่าวด้วย (3) เสนอแนะนโยบายและมาตรการทางด้านราคาพลังงาน และกำกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (4) พิจารณาและเสนอความเห็นต่อ กพช. เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และมาตรการอื่นๆ ที่จะออกตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (5) ขอให้กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจหรือบุคคลใด ๆ เสนอรายละเอียดทางวิชาการ การเงิน สถิติ และเรื่องต่างๆ ที่จำเป็นที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย แผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศได้ (6) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ กพช. หรือประธาน กพช. มอบหมาย และ (7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการช่วยปฏิบัติงานในหน้าที่ตามความจำเป็น ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กพช. และคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้ดำเนินการรวบรวมมติของคณะกรรมการด้านนโยบายพลังงาน (กพช. และ กบง.) ที่มีการประชุมในรอบปีปฏิทิน และนำมาเป็นข้อมูลในการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติที่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่ได้รับมติเป็นรายปี โดยกำหนดให้จัดส่งผลการดำเนินการตามมติ กพช. และ กบง. ให้ฝ่ายเลขานุการฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งผลการติดตามความก้าวหน้าดังกล่าว จะนำมาสรุปและจัดทำเล่มรายงานผลการดำเนินตามมติคณะกรรมการด้านนโยบายพลังงานประจำปี ก่อนนำส่งให้คณะกรรมการด้านนโยบายพลังงานได้รับทราบและเผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไป
2. ในปี 2566 สนพ. ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการด้านนโยบายพลังงาน จำนวนทั้งสิ้น 11 ครั้ง มีเรื่องเสนอเพื่อทราบ จำนวน 13 วาระ และเรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน 38 วาระ โดยแบ่งเป็นการประชุม กพช. จำนวน 3 ครั้ง มีเรื่องเสนอเพื่อทราบ จำนวน 5 วาระ โดยดำเนินการแล้วเสร็จ 4 วาระ และอยู่ระหว่างดำเนินการ 1 วาระ เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน 13 วาระ โดยดำเนินการแล้วเสร็จ 4 วาระ และอยู่ระหว่างดำเนินการ 9 วาระ และเป็นการประชุม กบง. จำนวน 8 ครั้ง มีเรื่องเสนอเพื่อทราบ จำนวน 8 วาระ โดยดำเนินการแล้วเสร็จ 8 วาระ เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน 25 วาระ โดยดำเนินการแล้วเสร็จ 23 วาระ และอยู่ระหว่างดำเนินการ 2 วาระ ซึ่งรายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการด้านนโยบายพลังงาน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คณะกรรมการด้านนโยบายพลังงาน ประกอบด้วย อำนาจหน้าที่ องค์ประกอบของคณะกรรมการภายใต้ กพช และ กบง. คณะอนุกรรมการและคณะกรรมการที่แต่งตั้งภายใต้ กพช. และ กบง. ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการด้านนโยบายพลังงาน แบ่งตามมาตรการขับเคลื่อนด้านพลังงาน 7 มาตรการ สรุปได้ดังนี้ 1) มาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ (1) การช่วยเหลือค่าไฟฟ้างวดประจำเดือนมกราคมถึงเมษายน 2566 โดยเป็นเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นเงินรวม 2,344.587 ล้านบาท และเงินสนับสนุนจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เป็นเงินรวม 3,192.926 ล้านบาท (2) ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการบริหารจัดการอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้ค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิงกลุ่มดีเซลไม่เกิน 1.40 บาทต่อลิตร ซึ่งข้อมูล ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 มีการใช้เงินอุดหนุนกลุ่มน้ำมันสำเร็จรูป ได้แก่ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 และ E85 คิดเป็นเงินประมาณ 32,366 ล้านบาท (3) ราคา NGV โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2566 ปตท. มีการช่วยเหลือราคา NGV สำหรับกลุ่มรถทั่วไป กลุ่มรถโดยสารสาธารณะ และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับขี่รถแท็กซี่ในโครงการ“เอ็นจีวี เพื่อลมหายใจเดียวกัน” คิดเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 5,453 ล้านบาท และมีการขยายมาตรการช่วยเหลือราคา NGV ผ่านโครงการบัตรสิทธิประโยชน์สำหรับรถแท็กซี่ รถโดยสารสาธารณะ รถบรรทุก และรถทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2568 และ (4) ราคาขายปลีก LPG มีการคงราคาขายปลีกก๊าซ LPG จาก 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566 โดย กบน. ใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการบริหารจัดการราคาก๊าซ LPG ซึ่งข้อมูล ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 มีการใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอุดหนุนกลุ่มก๊าซ LPG เป็นเงินรวมประมาณ 17,684 ล้านบาท 2) มาตรการบริหารจัดการเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤติพลังงาน มีผลการดำเนินงานตามมาตรการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2566 ดังนี้ (1) การใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาตามมติ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) สามารถดำเนินการได้ 615.1 ล้านลิตร (2) การเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 8 สามารถดำเนินการได้ 1,874.3 ล้านหน่วย (3) การนำโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 4 กลับมาผลิตไฟฟ้า สามารถดำเนินการได้ 563.67 ล้านหน่วย (4) การรับซื้อไฟฟ้าระยะสั้นจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น สามารถดำเนินการได้ 155.12 ล้านหน่วย (5) การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานน้ำระยะสั้นเพิ่มเติมจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สามารถดำเนินการได้ 11.181 ล้านหน่วย (6) มาตรการขอความร่วมมือประหยัดพลังงานในภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม สามารถดำเนินการได้ 115,671 ตันเทียบเท่า LNG (7) การเจรจาเพื่อลดการรับซื้อไฟฟ้าภาคสมัครใจจาก SPP Firm ประเภท Co-generation ที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ สามารถดำเนินการได้ 7,108 ต้นเทียบเท่า LNG (8) การจัดหาก๊าซในประเทศและเพื่อนบ้านให้ได้มากที่สุด สามารถดำเนินการได้เฉลี่ยเดือนละ 168 MMscfd และ (9) การบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการลดการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคปิโตรเคมี และภาคอุตสาหกรรม สามารถดำเนินการได้ 153,810 ตันเทียบเท่า LNG 3) มาตรการบริหารจัดการด้านไฟฟ้า ได้แก่ (1) การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดย (1.1) โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย กกพ. ออกประกาศเชิญชวนเพื่อให้การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา เป็นไปตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดภายใต้แผน PDP 2018 Rev.1 จำนวนไม่เกิน 90 MW อัตรารับซื้อไฟฟ้า 2.20 บาท/หน่วย ระยะเวลารับซื้อ 10 ปี ซึ่งข้อมูล ณ 30 กันยายน 2566 มีบ้านอยู่อาศัยที่มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในปี 2565 – 2566 จำนวน 8,789 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 48,134 kW และจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์แล้ว จำนวน 4,829 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 26,467 kW (1.2) โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรมในรูปแบบ FiT สำหรับปี 2565 – 2573 กกพ. ได้เห็นชอบรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ได้รับการคัดเลือก สำหรับขยะอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 จำนวน 13 ราย ปริมาณเสนอขายไฟฟ้ารวม 100 MW ซึ่งได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว และสำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 จำนวน 175 ราย ปริมาณเสนอขายไฟฟ้ารวม 4,852.26 MW แบ่งเป็น พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน จำนวน 24 ราย (994.06 MW) พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวน 129 ราย (2,368 MW) ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานและพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว สำหรับพลังงานลม จำนวน 22 ราย (1,490.20 MW) ยังไม่ได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และปัจจุบัน กกพ. อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างระเบียบและร่างประกาศการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 (1.3) แนวนโยบายกำกับดูแลการผลิตไฟฟ้าที่ดำเนินการโดยภาครัฐ กบง. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณา เร่งรัด และติดตามการดำเนินงานตามแนวนโยบายกำกับดูแลการผลิตไฟฟ้าที่ดำเนินการโดยภาครัฐ เพื่อเร่งรัดติดตามและกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และ (1.4) กระทรวงพลังงาน (พน.) อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) เกี่ยวกับแนวทางการกำหนดการสิ้นสุดของอายุสัญญาโรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภท Non-Firm ในรูปแบบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) (2) การรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยโครงการเซกอง 4A และ 4B กฟผ. และผู้พัฒนาโครงการเซกอง 4A และ 4B ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการเซกอง 4A และ 4B เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 และโครงการน้ำงึม 3 อยู่ระหว่างการหารือร่วมกันระหว่าง พน. กฟผ. และผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ในการขอขยายอายุ Tariff MOU จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568 และ (3) โครงสร้างราคาไฟฟ้า กกพ. ได้ดำเนินการตามนโยบายและการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2564 - 2568 และมอบหมายให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ดำเนินการประกาศใช้โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าต่อไป 4) มาตรการบริหารจัดการด้านก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ (1) แนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 มีการดำเนินการของแต่ละหน่วยงาน ดังนี้ (1.1) กกพ. ได้มีการดำเนินการปรับ TPA Code ของ Terminal และ TSO Code ของระบบท่อแล้ว มีการออกใบอนุญาตบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติให้แก่ ปตท. อายุ 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และมีเงื่อนไขในการประกอบกิจการ 13 ข้อ โดยมีเงื่อนไขที่กำหนดระยะเวลาให้ Pool Manager เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อเริ่มประกอบกิจการโดยเร็ว โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในเดือนมีนาคม 2567 มีการออกหลักเกณฑ์การกำกับดูแลผู้บริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ Pool Manager รวมทั้งออก Ring-Fencing Guideline เพื่อใช้ในการกำกับดูแล Pool Manager ซึ่งในระยะแรกภาคนโยบายยังให้ ปตท. เป็นผู้ดำเนินการไปก่อน แต่ต้องมีการแบ่งขอบเขตงานที่ชัดเจน มีการประกาศ กกพ. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการบริหารจัดการ Bypass Gas ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 ซึ่งระบุให้ Shipper บริหารจัดการ Bypass Gas ในปริมาณเท่าที่จำเป็น และควบคุมคุณภาพก๊าซธรรมชาติตามที่ กกพ. กำหนด และอยู่ระหว่างดำเนินการทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 เพื่อให้เป็นไปตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อเสนอต่อ กกพ. กบง. กพช. ต่อไป (1.2) ปตท. ได้มีการออกประกาศเรื่องข้อกำหนดคุณภาพก๊าซธรรมชาติตามมติ กกพ. และอยู่ระหว่างยกร่างสัญญาซื้อก๊าซจาก Shipper และสัญญาขายก๊าซให้กับ Shipper ทุกรายในกลุ่ม Regulated Market ในกรณีที่สัญญาต้องผ่านความเห็นชอบจาก อส. อาจต้องจัดทำบันทึกข้อตกลงเพื่อใช้ในการซื้อขายระหว่างกันชั่วคราวก่อน และ ปตท. จัดทำแนวทางการคำนวณราคา Pool Gas นำเสนอสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) และ Shipper ทุกราย พิจารณาแล้ว และอยู่ระหว่างการแก้ไขร่างคู่มือการดำเนินงานและวิธีการคำนวณราคา Pool Gas นำเสนอสำนักงาน กกพ. เพื่อพิจารณาต่อไป (2) แนวทางบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ โดย กกพ. รับทราบข้อเสนอแนวทางการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับเดือนมกราคม - เมษายน 2567 ของ ปตท. โดยใช้หลักการในการคำนวณปริมาณก๊าซธรรมชาติสำหรับผลิต LPG เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง จะเป็นไปตามสัดส่วนของปริมาณการจำหน่าย LPG เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงต่อปริมาณการผลิตทั้งหมดของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ปตท. ตามที่ได้รายงานหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ แนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติสำหรับเดือนมกราคม – เมษายน 2567 เป็นการดำเนินการเพียงชั่วคราว จนกว่าจะมีการจัดทำหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ ตามมติ กพช. แล้วเสร็จ ซึ่งสำนักงาน กกพ.อยู่ระหว่างการทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ที่ทบทวนใหม่ เพื่อเสนอ กบง. และ กพช. พิจารณาต่อไป 5) มาตรการบริหารจัดการด้านน้ำมันเชื้อเพลิง โดย กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ออกประกาศ ธพ. เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล ฉบับที่ 15 ถึงฉบับที่ 17 พ.ศ. 2566 ที่กำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันในน้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็ว ทั้ง บี7 บี10 และ บี20 ให้มีสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.6 และไม่สูงกว่าร้อยละ 7 ร้อยละ 10 และร้อยละ 20 โดยปริมาตร ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 และดำเนินการประชาสัมพันธ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐานยูโร 5 โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการ ประชาชน และสื่อมวลชน ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ Infographic Clip Video สกู๊ปข่าว และการแถลงข่าว เผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น Social Media โทรทัศน์ และวิทยุ และอยู่ระหว่างจัดทำร่างประกาศ ธพ. เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. .... ยกเลิกมาตรฐานคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีส่วนผสมไบโอดีเซลร้อยละ 10 โดยปริมาตร และกำหนดให้มีน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 2 ประเภทได้แก่ น้ำมันดีเชลหมุนเร็วธรรมดา และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 โดยกำหนดวันบังคับใช้ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567 6) มาตรการบริหารจัดการด้านอนุรักษ์พลังงาน ได้แก่ (1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนปฏิบัติการการส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2575 (2) กบง. มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 7 ฉบับ (7 ผลิตภัณฑ์) ได้แก่ (2.1) มอเตอร์เหนี่ยวนำเฟสเดียวที่มีประสิทธิภาพสูง (2.2) เครื่องดูดฝุ่นชนิดลากพื้นที่มีประสิทธิภาพสูง (2.3) เครื่องดูดควันสำหรับเตาหุงต้มที่มีประสิทธิภาพสูง (2.4) เครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง (2.5) เครื่องทอดแบบน้ำมันท่วมที่มีประสิทธิภาพสูง (2.6) คอมเพรสเซอร์เครื่องทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพสูง (2.7) หลอดแอลอีดีหรือดวงโคมไฟฟ้าแอลอีดีที่มีประสิทธิภาพสูง และมอบหมายให้นำเสนอต่อ กพช. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป และ 7) มาตรการบริหารจัดการด้านอื่น ๆ ได้แก่ (1) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบรายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และพ.ศ. 2565 ของ กกพ. และสำนักงาน กกพ. (2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในฐานะประธาน กบง. ลงนามในคำสั่ง กบง. ที่ 1/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 คำสั่ง กบง. ที่ 2/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณา เร่งรัด และติดตามการดำเนินงานตามแนวนโยบายการกำกับดูแลการผลิตไฟฟ้าที่ดำเนินการโดยภาครัฐ คำสั่ง กบง. ที่ 1/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพยากรณ์และจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ และคำสั่ง กบง. ที่ 2/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน และส่วนที่ 3 มติคณะรัฐมนตรีที่คณะกรรมการนโยบายด้านพลังงานเห็นชอบ เป็นมติที่ ครม. ให้ความเห็นชอบตามแนวทางหรือมติที่คณะกรรมการนโยบายด้านพลังงานดำเนินการ
มติของที่ประชุม
รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการด้านนโยบายพลังงานประจำปี 2566
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 มาตรา 34/2 กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนจัดทำงบการเงินส่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอก ซึ่งคณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน และให้ทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของกองทุนภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี โดยให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีตามวรรคหนึ่งจัดทำรายงานผลการสอบและรับรองบัญชีและการเงินของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทราบ และให้รัฐมนตรีเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอต่อรัฐสภาเพื่อทราบ และจัดให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 และวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ส.กทอ.) ได้ส่งรายงานการเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 และสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตามลำดับ และ สตง. ได้ตรวจสอบรายงานการเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 ตามหนังสือ ที่ ตผ 0040/1128 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 และสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 ตามหนังสือ ที่ ตผ 0040/883 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เรียบร้อยแล้ว โดยเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 และวันที่ 27 สิงหาคม 2567 คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (คณะกรรมการกองทุนฯ) ได้มีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 และสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566
3. ปีงบประมาณ 2565 สตง. ได้แสดงความเห็นว่า รายงานการเงินของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กองทุนฯ) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 “รายงานการเงินไม่ถูกต้อง”โดยมีผลกระทบจากข้อบกพร่องในการจัดทำบัญชี และรายงานการเงินของกองทุนฯ จำนวน 4 ข้อ ดังนี้ (1) การตัดรายการค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า และรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย จำนวน 86.13 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าในส่วนของเงินคงเหลือที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเบิกเงินกองทุนฯ สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติ ปีงบประมาณ 2560 - 2561 จำนวน 118.86 ล้านบาท ไม่มีเอกสารหลักฐานให้ตรวจสอบ จำนวน 7 โครงการ (2) การจัดประเภทค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า จำนวน 602.49 ล้านบาท แสดงรายการเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นทั้งจำนวน โดยไม่ได้จัดประเภทค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าในส่วนที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เกินกว่าระยะเวลา 12 เดือน เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีภาครัฐฉบับที่ 1 เรื่อง การนำเสนอรายงานการเงิน ย่อหน้าที่ 62 (3) การบันทึกบัญชีเงินเหลือจ่ายของโครงการ สำหรับปี 2561 และ 2562 และการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายแผนงาน - โครงการ โดยแสดงรายการเป็นผลสะสมจากการแก้ไขข้อผิดพลาดปีก่อน กองทุนได้นำไปปรับปรุงกับยอดคงเหลือของรายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสมต้นงวดในรายงานการเงิน สำหรับปี 2565 เป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ ฉบับที่ 3 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ย่อหน้าที่ 43 (ข) ที่กำหนดให้ปรับย้อนหลัง และ (4) การบันทึกบัญชีตามสัญญาจ้างที่ปรึกษา เลขที่ ส.กทอ. 31/2563 โดยบันทึกรับรู้รายการจัดซื้อซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการต่างๆ เป็นค่าใช้จ่ายประเภทค่าใช้สอย - ค่าจ้างที่ปรึกษา ในปี 2564 ในขณะที่ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการต่าง ๆ และระบบบริหารจัดการเงินกองทุนฯ จัดเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ ฉบับที่ 31 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ส่งผลให้รายงานการเงินสำหรับปี 2565 และ 2564 ที่นำมาแสดงเปรียบเทียบ ไม่ได้แสดงรายการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและค่าตัดจำหน่าย และเปิดเผยข้อมูลค่าใช้สอย – ค่าจ้างที่ปรึกษาสูงไป โดยระหว่างปี 2566 ส.กทอ. ได้ดำเนินการแก้ไขตามรายงานข้อเสนอแนะของ สตง. จำนวน 4 ข้อ เรียบร้อยครบถ้วนในทุกประเด็น
4. สำหรับปีงบประมาณ 2566 รายงานการเงินของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 สตง. ได้แสดงความเห็นว่า รายงานถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (1) งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 มีหนี้สินและสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน 14,418.01 ล้านบาท (2) งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 มีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ 181.37 ล้านบาท และ (3) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 มียอดคงเหลือของทุน 1,500.07 ล้านบาท มีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายสะสม 12,911.51 ล้านบาท และมีสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน คงเหลือ 14,411.58 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมีมติรับทราบแล้ว ส.กทอ. จะนำเสนอ ครม. เพื่อทราบ และให้รัฐมนตรีเสนอกราบเรียนต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอต่อรัฐสภาเพื่อทราบ และจัดให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามที่พระราชบัญญัติกำหนดต่อไป
มติของที่ประชุม
รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 และสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 (พระราชบัญญัติฯ) ซึ่งตามความในมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติฯ กำหนดให้ กกพ. จัดทำรายงานประจำปีเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ทุกสิ้นปีงบประมาณ และเปิดเผยต่อสาธารณชน
2. กกพ. และสำนักงาน กกพ. ได้ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการด้านการกำกับกิจการพลังงาน ระยะที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2570) ภายใต้วิสัยทัศน์ “กำกับกิจการพลังงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและส่งเสริมการแข่งขันให้เหมาะสมเป็นธรรม” จำแนกตาม 5 วัตถุประสงค์ ดังนี้ วัตถุประสงค์ที่ 1 ส่งเสริมให้มีบริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอ มีความมั่นคง ทั่วถึง และมีความเป็นธรรมต่อผู้ใช้พลังงานและผู้รับใบอนุญาต เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งสู่พลังงานสะอาดตามกรอบแผนพลังงานชาติในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านโครงการสำคัญ ได้แก่ 1) โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี พ.ศ. 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง 2) โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT สำหรับขยะอุตสาหกรรม 3) โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ FiT และ 4) โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) สำหรับภาคประชาชนกลุ่มบ้านอยู่อาศัย พร้อมทั้งส่งเสริมการให้บริการไฟฟ้าทั่วถึงตามนโยบายภาครัฐ ซึ่งได้กำกับดูแลการชดเชยและอุดหนุนผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าซึ่งได้ให้บริการไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาสหรือการให้บริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึงตามนโนบายของรัฐผ่านกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา 97 (1) และมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับโครงการขยายเขตไฟฟ้าไปยังพื้นที่เกาะ วัตถุประสงค์ที่ 2 ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงานอย่างเป็นธรรม ในอัตราค่าบริการที่เหมาะสมสะท้อนต้นทุนการประกอบกิจการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ โดยการปรับปรุงข้อกำหนดการเปิดให้ใช้หรือเชื่อมต่อระบบส่งก๊าซธรรมชาติแก่บุคคลที่สาม และปรับปรุงข้อกำหนดการให้บริการสถานีแอลเอ็นจีแก่บุคคลที่สาม เพื่อเปิดโอกาสผู้รับใบอนุญาตกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานกิจการก๊าซธรรมชาติได้อย่างเป็นธรรมและเกิดการแข่งขันในกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ และเตรียมความพร้อมรองรับนโยบายการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการไฟฟ้าในอนาคตตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน โดยออกประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำข้อกำหนดการเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม พ.ศ. 2565 และให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จัดทำข้อกำหนดเปิดใช้ระบบโครงข่ายในแก่บุคคลที่สาม (TPA Code) มีการเตรียมความพร้อมรองรับความต้องการไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นของภาคเอกชน และนโยบายการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งได้เห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff) การบริหารจัดการต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลดผลกระทบค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤตราคาพลังงานต่อเนื่อง โดยมีมาตรการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าโดยใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาเพื่อทดแทนการนำเข้า LNG ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลกและความสามารถในการขนส่งน้ำมันดีเซลให้กับโรงไฟฟ้า ร่วมกับการดำเนินมาตรการ Energy Pool Price จัดสรรก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยเป็นลำดับแรก รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่มจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จากกลุ่มสัญญาเดิมและกลุ่มที่ไม่มีสัญญากับการไฟฟ้า เชื้อเพลิงชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ขยะ แสงอาทิตย์ และพลังงานลม และเดินเครื่องโรงไฟฟ้าแม่เมาะหน่วยที่ 4 ที่ปลดแล้ว ตามความจำเป็น นอกจากนี้ยังมีการทบทวนอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้าให้สอดคล้องกับต้นทุน และปรับอัตราค่าบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับผู้รับใบอนุญาตขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อผ่านระบบส่งก๊าซธรรมชาติและอัตราค่าบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับผู้รับใบอนุญาตเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและรองรับการส่งเสริมการแข่งขันกิจการก๊าซธรรมชาติระยะที่ 2 วัตถุประสงค์ที่ 3 กำกับการประกอบกิจการพลังงานให้มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการตรวจติดตามให้สถานประกอบกิจการพลังงานให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตและรายงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย จำนวน 541 ราย และออกคำสั่งทางปกครองเพื่อให้ปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน จำนวน 9 ราย ตลอดจนได้เชื่อมโยงข้อมูลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมกับระบบงานของหน่วยงานอนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจได้อย่างทันต่อสถานการณ์ วัตถุประสงค์ที่ 4 ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้พลังงาน ชุมชนท้องถิ่น ประชาชน และผู้รับใบอนุญาต ในการมีส่วนร่วม เข้าถึง ใช้ และจัดการด้านพลังงานภายใต้หลักเกณฑ์ที่ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยการจัดสัมมนาการสร้างเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ผู้ใช้พลังงานประจำเขต 13 แห่งทั่วประเทศ เพื่อระดมความคิดเห็น สร้างความรู้ความเข้าใจสิทธิและหน้าที่ในการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน บทบาทการกำกับกิจการพลังงาน ตลอดจนสร้างช่องทางการรับรู้ข่าวสารให้ทั่วถึงในวงกว้าง และกำกับติดตามเร่งรัดการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็กตามประกาศหลักเกณฑ์ที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง และวัตถุประสงค์ที่ 5 การบริหารจัดการองค์กรที่มีธรรมาภิบาล และได้มาตรฐานสากล โดยการพัฒนาระบบการบริหารงานองค์กรสู่ความโปร่งใสมีธรรมาภิบาล และมีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล โดยได้รับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ระดับ A คะแนนเท่ากับ 92.61 และได้รับการรับรองระบบการจัดการตอตานการติดสินบนตามมาตรฐาน ISO 37001:2016 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2566 ตลอดจนรักษาระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001:2015 อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการพัฒนาระบบปฏิบัติการและการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิทัล และพัฒนาระบบการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการกำกับกิจการไฟฟ้าบนแพลตฟอร์ม “ERC Data Sharing”
3. สำนักงาน กกพ. ได้จัดเก็บเงินนำส่งเข้ากองทุน และจัดสรรตามวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้ามาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติฯ ดังนี้ (1) ชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้า โดยชดเชยแก่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าในการให้บริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึง จำนวน 12,000.00 ล้านบาท และอุดหนุนให้แก่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าซึ่งได้ให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาส จำนวน 1,210.15 ล้านบาท (2) พัฒนาและฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า จำนวน 6,107.29 ล้านบาท สำหรับนำไปพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าผ่านการประชาคมสำรวจความต้องการจากประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าอย่างมีส่วนร่วมร่วมกัน จำนวน 4,458.80 ล้านบาท (3) ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ตามมาตรา 97 (4) จำนวน 18.81 ล้านบาท และ (4) ส่งเสริมสังคม และประชาชนให้มีความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมทางด้านไฟฟ้า จำนวน 153.10 ล้านบาท
4. งบการเงินของสำนักงาน กกพ. และกองทุนพัฒนาไฟฟ้าสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบงบการเงิน พร้อมแจ้งผลการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งเห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยงบการเงินของสำนักงาน กกพ. มีรายได้จากการดำเนินงาน 1,012.42 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน 710.29 ล้านบาท เมื่อหักภาระเงินกันไว้เหลื่อมปีแล้วมีเงินนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน จำนวน 236.53 ล้านบาท สำหรับกองทุนพัฒนาไฟฟ้ามีรายได้จากเงินนำส่งรวม 15,733.50 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายจำนวน 17,260.40 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2566 มีการเปลี่ยนแปลงอัตราการนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าจากผู้รับใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้าตามมาตรา 97 (4) และมาตรา 97 (5) เป็นอัตรา 0.00 (ศูนย์) บาทต่อหน่วยจำหน่ายสุทธิ จากเดิมมีอัตรา 0.005 และ 0.002 บาทต่อหน่วยจำหน่ายสุทธิ และมีการปรับอัตราการเบิกค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนสำหรับชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
5. แผนการดำเนินงานสำนักงาน กกพ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้แผนฏิบัติการการกำกับกิจการพลังงาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงและพัฒนากฎระเบียบเพื่อการกำกับและส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงานตามนโยบายภาครัฐ การกำกับกิจการพลังงานเชิงรุก การสร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ ในการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และการกำกับกิจการพลังงานและการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การให้บริการที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว เกิดความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพ และแผนการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามวัตถุประสงค์กองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา 97 ของพระราชบัญญัติฯ ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มุ่งเน้นการจัดสรรงบประมาณ เพื่อการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ทั้งนี้ เมื่อ กพช. มีมติรับทราบแล้ว สำนักงาน กกพ. จะนำเสนอ ครม. สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และเปิดเผยต่อสาธารณชนตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป
มติของที่ประชุม
รับทราบรายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 มาตรา 14 (2) กำหนดให้คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) มีหน้าที่และอำนาจรายงานผลการประเมินการปฏิบัติงานและการเสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติการตามแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
2. เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 กบน. มีมติเห็นชอบรายงานผลการประเมินการปฏิบัติงานและการเสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติงานตามแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปีงบประมาณ 2566 โดยสรุปได้ดังนี้ (1) อนุมัติแผนการดำเนินงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นจำนวนเงิน 128,904,729.78 บาท ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกองทุนหรือการบริหารกองทุนของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) และค่าใช้จ่ายในกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดการกิจการของกองทุน (2) ดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีประสิทธิภาพและมีเสถียรภาพ โดยการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อบริหารการจัดการราคาขายปลีกประเภทน้ำมันดีเซล ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นมา (3) อนุมัติการจ่ายเงินกองทุนเพื่อดำเนินการตามแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตามมาตรา 5 ในส่วนของก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ที่มีเหตุการณ์ที่ทำให้ราคาขายปลีก LPG ในประเทศปรับตัวสูงขึ้น อยู่ในระดับที่เกินกว่าระดับราคาที่เหมาะสมสำหรับถัง 15 กิโลกรัม และเห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาเสถียรภาพราคา ในส่วนของบัญชีก๊าซ LPG ติดลบได้ไม่เกิน 48,000 ล้านบาท (4) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินเข้ากองทุนหรือได้รับเงินชดเชยและกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน ตามมาตรา 27 อัตราเงินชดเชยตามมาตรา 29 อัตราเงินคืนจากกองทุนตามมาตรา 31 และอัตราเงินชดเชยคืนกองทุนตามมาตรา 32 โดยได้ประกาศในส่วนของน้ำมัน จำนวน 187 ฉบับ และในส่วนของก๊าซ LPG จำนวน 29 ฉบับ (5) สภาพคล่องกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนกันยายน 2566 มีประมาณการรายจ่ายเฉลี่ย 11,073 ล้านบาท และ ณ วันที่ 24 กันยายน 2566 ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสุทธิ มีจำนวน ติดลบ 64,419 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นกลุ่มน้ำมันติดลบ 19,570 ล้านบาท กลุ่มก๊าซ LPG ติดลบ 44,849 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 55,000 ล้านบาท และ (6) บริหารจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 1 เพิ่มเติมอีก 80,000 ล้านบาท รวมเป็นวงเงิน 110,000 ล้านบาท และปรับแผนการกู้เงิน แผนการใช้จ่ายเงินกู้ และแผนการชำระหนี้เงินกู้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ฐานะทางการเงินของกองทุน และแผนการบริหารหนี้สาธารณะ พร้อมทั้งออกหนังสือชี้ชวนเพื่อให้สถาบันการเงินยื่นข้อเสนอ วงเงินกู้รวม 110,000 ล้านบาท ซึ่งได้รับข้อเสนอจากสถาบันการเงินทั้งสิ้น 105,333 ล้านบาท และได้ลงนามในสัญญากู้ยืมกับสถาบันการเงิน เป็นวงเงินรวม 105,333 ล้านบาท ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 สกนช. ได้เบิกเงินกู้ยืมแล้วจำนวน 55,000 ล้านบาท และมีวงเงินกู้ยืมที่สามารถเบิกได้อีกเป็นจำนวน 50,333 ล้านบาท มีระยะเวลาเบิกเงินกู้ตามสัญญา ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
มติของที่ประชุม
รับทราบรายงานผลการประเมินการปฏิบัติงานและการเสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติการตามแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปีงบประมาณ 2566
เรื่องที่ 7 สถานภาพโครงการน้ำงึม 3
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ได้เจรจาจัดทำร่าง PPA แล้วเสร็จ และได้มีการลงนามย่อกำกับ (Initial) ร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 คณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (คณะอนุกรรมการประสานฯ) มีมติเห็นชอบร่าง PPA โครงการน้ำงึม 3 และมอบหมายให้ กฟผ. เสนอสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) ตรวจพิจารณาร่าง PPA โครงการน้ำงึม 3 ต่อมาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 และวันที่ 9 มีนาคม 2566 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ตามลำดับ มีมติรับทราบหลักการร่าง PPA โครงการน้ำงึม 3 และมอบหมายให้ กฟผ. ลงนามใน PPA ที่ผ่านการตรวจพิจารณาจาก อส. แล้ว ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องมีการแก้ไข PPA ที่ไม่กระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าที่ระบุไว้ในร่าง PPA และเงื่อนไขสำคัญ รวมทั้งการปรับกำหนดเวลาของแผนงาน (Milestones) ที่เกี่ยวกับกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในช่วงก่อนการลงนาม PPA ให้อยู่ในอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการ กฟผ. ในการแก้ไข ซึ่งเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 อส. ตรวจพิจารณาร่าง PPA แล้วเสร็จ ต่อมาในวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ได้ยืนยันเห็นชอบการแก้ไขร่าง PPA ตามผลการพิจารณาของ อส. แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การลงนาม PPA จะสามารถดำเนินการได้ภายหลังจากผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ได้ดำเนินการลงนามสัญญาสัมปทานกับรัฐบาล สปป. ลาว และนำส่ง First Security และเอกสารแสดงอำนาจผู้ลงนาม PPA มายัง กฟผ. รวมทั้ง กฟผ. จะต้องตรวจสอบเอกสารดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ยังไม่ได้ดำเนินการในข้างต้น ส่งผลให้ไม่สามารถลงนาม PPA ได้ ภายในระยะเวลาของบันทึกความเข้าใจในการรับซื้อไฟฟ้า (Tariff MOU) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566
2. สำหรับการขอขยาย Tariff MOU เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 ผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ได้มีหนังสือถึง กฟผ. ขอใช้สิทธิขยายอายุ Tariff MOU ตามเงื่อนไข Clause 2(b)(ii) ของ Tariff MOU ออกไป 60 วัน ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 10 ธันวาคม 2566 และ กฟผ. ได้รับทราบการใช้สิทธิดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ได้มีหนังสือถึง กฟผ. เพื่อขอขยายอายุ Tariff MOU อีก 18 เดือน จากวันที่ 10 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568 โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้มีระยะเวลาเพียงพอในการจัดทำแผนบรรเทาผลกระทบต่อโครงการและเจรจาเงื่อนไขกับ Export-Import Bank of China (CEXIM) โดย กฟผ. พิจารณาแล้วเห็นว่า การขยายระยะเวลา Tariff MOU ดังกล่าว เป็นกรณีที่ไม่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขในการใช้สิทธิขยายระยะเวลาไว้อย่างชัดเจน เช่น เงื่อนไข Clause 2(b)(ii) ของ Tariff MOU ที่กำหนดให้สิทธิผู้พัฒนาโครงการสามารถขยายระยะเวลาได้ ซึ่งในการพิจารณาขยายระยะเวลาใน Tariff MOU ตามกรณีเหตุผลและเงื่อนไขอื่นเป็นระยะเวลาอีก 18 เดือนเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาถึงความต้องการและแผนการผลิตไฟฟ้าจากภาคนโยบายประกอบด้วย หลังจากนั้น กฟผ. ได้มีหนังสือถึง สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) นำส่งข้อเสนอการขอขยายอายุ Tariff MOU ของโครงการน้ำงึม 3 เป็นระยะเวลาอีก 18 เดือน เพื่อขอให้พิจารณาและนำเรียนเสนอคณะอนุกรรมการประสานฯ
3. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 สนพ. ได้มีการประชุมหารือร่วมกับ กฟผ. ถึงกรณีการขอขยายอายุ Tariff MOU โดยที่ประชุมรับทราบว่า ปัจจุบันโครงการน้ำงึม 3 ได้เลยกำหนดระยะเวลา Tariff MOU แล้ว และ กฟผ. ได้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 เพื่อขอใช้สิทธิในการยึดเงินค้ำประกัน (MOU Security) จึงทำให้ที่ประชุมสรุปได้ว่า Tariff MOU ของโครงการน้ำงึม 3 สิ้นสุดอายุแล้ว ทั้งนี้ หากโครงการน้ำงึม 3 ยังมีความประสงค์จะขายไฟฟ้ามายังประเทศไทย จะต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าใหม่อีกครั้งตามหลักเกณฑ์การพิจารณารับซื้อไฟฟ้าของคณะอนุกรรมการประสานฯ โดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) จะต้องเสนอโครงการน้ำงึม 3 มาให้คณะอนุกรรมการประสานฯ พิจารณาใหม่อีกครั้ง ต่อมา สนพ. ได้มีหนังสือที่ พน 0603/255 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง กฟผ. เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมถึงสถานะปัจจุบันของ Tariff MOU ของโครงการน้ำงึม 3 ถือว่าสิ้นสุดแล้วหรือไม่ และ กฟผ. ได้มีการแจ้งผลการพิจารณาสถานะ Tariff MOU ดังกล่าวให้ผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ทราบแล้วหรือไม่ รวมทั้งขอทราบแผนการดำเนินงานในการพัฒนาโครงการน้ำงึม 3 หลังจากขอขยาย Tariff MOU โดย กฟผ. ได้มีหนังสือที่ กฟผ. S21300/9164 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ชี้แจงว่า สถานะ Tariff MOU โครงการน้ำงึม 3 ได้ครบกำหนดแล้วเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566 และ กฟผ. ได้ใช้สิทธิริบหลักประกันเต็มจำนวนตามเงื่อนไข Clause 7 ของ Tariff MOU เนื่องจากผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ไม่สามารถลงนาม PPA ได้ภายในระยะเวลาของ Tariff MOU โดย กฟผ. ได้มีหนังสือแจ้งธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 ให้ชำระเงินตามหนังสือ MOU Security ซึ่ง กฟผ. ได้รับเงินค้ำประกันครบถ้วนแล้วเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ กฟผ. ได้มีหนังสือแจ้งผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ว่าจะนำข้อเสนอของผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ในการขอขยาย Tariff MOU ระยะเวลา 18 เดือน นำเรียน สนพ. เพื่อจะได้นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการประสานฯ ต่อไป ทั้งนี้ กฟผ. ได้แจ้งให้ผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ทราบแล้วว่า Tariff MOU ได้ครบกำหนดแล้วเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566 และ กฟผ. ขอใช้สิทธิริบหลักประกันเต็มจำนวนตามเงื่อนไข Clause 7 ของ Tariff MOU โดย กฟผ. ได้มีหนังสือที่ กฟผ. S21300/13333 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2567 จัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานในการพัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ตามที่ได้รับจากผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ (1) หลังจากได้ข้อสรุปเรื่อง PPA กับ กฟผ. แล้ว ผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 จะต้องดำเนินการโอนหุ้นและสินทรัพย์จากรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (EDL) ไปยัง Chaleun Sekong Energy Co., Ltd. (CSE) และบริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (EGATi) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรายใหม่ของโครงการ อีกทั้งจะต้องหาแหล่งเงินทุนใหม่ เพื่อสนับสนุนโครงการน้ำงึม 3 ทดแทน CEXIM ที่เป็นผู้สนับสนุนรายเดิม และจะต้องแก้ไขสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการน้ำงึม 3 (EPC) เพื่อให้ EPC สามารถดำเนินก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาที่ตกลงกันไว้ แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ ส่งผลให้ผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ไม่สามารถลงนาม PPA ภายในระยะเวลาของ Tariff MOU จึงขอขยาย Tariff MOU ระยะเวลา 18 เดือน ไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2568 (2) ผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 แจ้งว่า หลังจากได้หารือกับ EPC และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโครงการน้ำงึม 3 แล้ว ขอยืนยันว่า จะดำเนินการก่อสร้างโครงการน้ำงึม 3 ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2570 - มิถุนายน 2570 โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถกลับมาดำเนินการก่อสร้างได้อีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2567 - มีนาคม 2568 ซึ่งส่งผลให้โครงการน้ำงึม 3 มีกำหนดแล้วเสร็จ หลังจากกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ที่ระบุไว้ใน Tariff MOU และร่าง PPA ที่ได้มีการตกลงกันแล้ว ทั้งนี้ ผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 เสนอให้ กฟผ. และ สนพ. เสนอ SCOD ใหม่ สำหรับโครงการน้ำงึม 3 โดยพิจารณาจากเป้าหมายตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) เพื่อให้โครงการน้ำงึม 3 จ่ายไฟฟ้าไปยังระบบส่งของ กฟผ. เป็นไปอย่างราบรื่น
4. วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 คณะอนุกรรมการประสานฯ มีมติรับทราบสถานะ Tariff MOU ของโครงการน้ำงึม 3 ว่าได้ครบกำหนดอายุแล้ว เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566 เนื่องจากผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ไม่สามารถลงนาม PPA ได้ ภายในระยะเวลาของ Tariff MOU ดังกล่าว โดย กฟผ. ได้แจ้งให้ผู้พัฒนาโครงการน้ำงึม 3 ทราบแล้วว่า Tariff MOU ได้ครบกำหนดอายุแล้ว และ กฟผ. ขอใช้สิทธิริบหลักประกัน ซึ่ง กฟผ. ได้รับเงินค้ำประกันครบถ้วนแล้ว เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 ดังนั้น คณะอนุกรรมการประสานฯ จึงไม่มีอำนาจในการพิจารณาขยาย Tariff MOU ของโครงการน้ำงึม 3 ทั้งนี้ หากโครงการน้ำงึม 3 ยังคงมีความต้องการที่จะขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทย จะต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าใหม่อีกครั้งตามหลักเกณฑ์การพิจารณารับซื้อไฟฟ้าของคณะอนุกรรมการประสานฯ โดยรัฐบาล สปป. ลาว จะต้องเสนอโครงการน้ำงึม 3 มาให้คณะอนุกรรมการประสานฯ พิจารณาตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ของคณะอนุกรรมการประสานฯ ใหม่อีกครั้ง และเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 กบง. มีมติรับทราบสถานภาพโครงการน้ำงึม 3 ของสถานะ Tariff MOU ของโครงการน้ำงึม 3 ได้ครบกำหนดอายุแล้วเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ หากโครงการน้ำงึม 3 ยังคงมีความต้องการที่จะขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทย จะต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าใหม่อีกครั้งตามหลักเกณฑ์การพิจารณารับซื้อไฟฟ้าของคณะอนุกรรมการประสานฯ โดยรัฐบาล สปป. ลาว จะต้องเสนอโครงการน้ำงึม 3 มาให้คณะอนุกรรมการประสานฯ พิจารณาตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ของคณะอนุกรรมการประสานฯ ใหม่อีกครั้ง
มติของที่ประชุม
รับทราบสถานภาพโครงการน้ำงึม 3
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 มาตรา 4 (6) กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีอำนาจหน้าที่กำหนดการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 35 มาตรา 36 และมาตรา 37 และมาตรา 28 (4) กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีอำนาจหน้าที่เสนออัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานต่อ กพช. โดยประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร และน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 ได้ประกาศอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานของน้ำมันเชื้อเพลิงในอัตรา 0.0050 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลา 1 ปี และอัตรา 0.0500 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลา 2 ปี ถัดไป ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
2. สำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้พิจารณากำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร และน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร และก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว พ.ศ. 2567 ดังนี้ (1) กำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงในราชอาณาจักร และน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร ซึ่งมีคุณภาพเป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ที่อัตรา 0.0500 บาทต่อลิตร ขอเริ่มใช้ 1 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป และ (2) กำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลวที่ซื้อหรือได้มาซึ่งก๊าซจากผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมซึ่งเป็นผู้ผลิตได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติ ตามระเบียบที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดในอัตรา 0.0000 บาทต่อกิโลกรัม ขอเริ่มใช้ 1 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป
3. เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567 คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้มีมติเห็นชอบการกำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร และน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรในอัตรา 0.0500 บาทต่อลิตร และก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว ในอัตรา 0.0000 บาทต่อกิโลกรัม โดยเริ่มใช้ 1 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบการกำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร และน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร ในอัตรา 0.0500 บาทต่อลิตร และก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว ในอัตรา 0.0000 บาทต่อกิโลกรัม โดยเริ่มใช้ 1 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป
2. เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร และน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรและก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว พ.ศ. 2567 และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอประธานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติลงนามต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 6/2544 (ครั้งที่ 87) ที่ให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบดูแลงานด้านการกำหนดนโยบายและมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมแทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และรับไปดำเนินการจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ยุติการนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้จ่าย ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 ทั้งนี้ ให้ กค. ประสานงานกับสำนักงบประมาณในการจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป โดย กค. ได้มอบหมายให้กรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการดำเนินการจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในหมวดงบรายจ่ายอื่น ประกอบด้วย ค่าครุภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม และค่าเช่ารถยนต์สําหรับใช้ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม โดยงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2567 สรุปได้ดังนี้ 236.8048 ล้านบาท 366.8048 ล้านบาท 445.3288 ล้านบาท 293.1843 ล้านบาท 292.2094 ล้านบาท 311.6908 ล้านบาท 327.2721 ล้านบาท และ 359.4748 ล้านบาท ตามลำดับ
2. หน่วยงานที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 มีจำนวน 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองทัพเรือ โดยผลการเบิกจ่ายย้อนหลังในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2567 สรุปได้ดังนี้ 166.6917 ล้านบาท (ร้อยละ 70.39) 278.1397 ล้านบาท (ร้อยละ 75.83) 299.0719 ล้านบาท (ร้อยละ 67.16) 256.1272 ล้านบาท (ร้อยละ 87.36) 195.5865 ล้านบาท (ร้อยละ 66.93) 185.8197 ล้านบาท (ร้อยละ 59.62) 197.0553 ล้านบาท (ร้อยละ 60.21) และ 164.2322 ล้านบาท (ร้อยละ 45.69) ตามลำดับ
3. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – 2566 สภาผู้แทนราษฎร ได้ให้ข้อสังเกตในเรื่องเกี่ยวกับการขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ดังนี้ (1) การจัดสรรงบประมาณตามภารกิจของหน่วยงานยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับหน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ในการป้องกันปราบปรามสินค้าผิดกฎหมายทางทะเลที่ผู้ใช้งานคือ ตำรวจน้ำ แต่มีการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมสรรพสามิต ซึ่งการจัดสรรงบประมาณโดยหน่วยรับงบประมาณกับผู้ใช้งานควรเป็นหน่วยงานเดียวกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนของภารกิจแต่ละหน่วยงาน ดังนั้น ควรให้หน่วยรับงบประมาณที่ใช้ประโยชน์จากเรือตรวจการณ์ซึ่งคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้จัดทำคำของบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณเนื่องจากเป็นผู้ใช้งาน (2) กรมสรรพสามิตควรทบทวนมติ ครม. ที่ให้หน่วยงานเสนอคำของบประมาณแทนหน่วยงานอื่น แต่หน่วยงานกลับได้รับงบประมาณน้อยกว่าหน่วยงานอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปราบปรามผู้ค้าน้ำมันเถื่อน นอกจากนี้ ในปีงบประมาณพ.ศ. 2567 กรมบัญชีกลางแจ้งว่า คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนของหน่วยรับงบประมาณ ในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 และครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 มีมติกำหนดมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จึงขอให้หน่วยงานภาครัฐติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งเมื่อพิจารณางบประมาณที่ได้รับจัดสรรเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมของหน่วยงานโดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนซึ่งหน่วยงานเบิกแทนกันได้รับจัดสรรงบประมาณในวงเงินที่สูง แต่กรมสรรพสามิตไม่สามารถควบคุมได้ส่งผลต่อการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายตามมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายภาครัฐไม่เป็นไปตามเป้าหมายและไม่สะท้อนการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายที่แท้จริงของกรมสรรพสามิต และในภาพรวมของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นการปฏิบัติตามข้อสังเกตคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – 2566 สภาผู้แทนราษฎร และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด และสะท้อนการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายที่แท้จริง กรมสรรพสามิตจึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ให้หน่วยงานที่มีความประสงค์ขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ดำเนินการจัดทำคำขอรับการจัดงบประมาณโดยตรงตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เป็นต้นไป
4. เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร ได้พิจารณาแนวทางการจัดทำคำของบประมาณในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 โดยมีมติเห็นชอบให้แต่ละหน่วยงานที่มีความประสงค์ขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ดำเนินการจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณโดยตรงตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เป็นต้นไป และมอบหมายให้สำนักบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพสามิต เป็นหน่วยงานในการจัดทำหนังสือเสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ กพช. มีความเห็นว่า การขอทบทวนมติดังกล่าว เป็นการขอทบทวนมติเฉพาะเรื่องการขอรับการจัดสรรงบประมาณ และเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2566 สภาผู้แทนราษฎร และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด รวมถึงสะท้อนการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้ กค. โดยกรมสรรพสามิต ควรประสานหน่วยงานที่มีความประสงค์ขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม เตรียมดำเนินการจัดทำคำของบประมาณเพื่อให้ทันปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ของสำนักงบประมาณ
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้กระทรวงพลังงานเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอทบทวนมติ ครม. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ที่เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2544 (ครั้งที่ 87) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2544 ในประเด็นเรื่องการปรับองค์กรในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม จาก “ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นไป ให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลัก รับผิดชอบดูแลงานด้านการกำหนดนโยบายและมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมแทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และรับไปดำเนินการจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ยุติการนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังประสานงานกับสำนักงบประมาณในการจัดสรรงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นไป” เป็น “ให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลัก รับผิดชอบดูแลงานด้านการกำหนดนโยบายและมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม และให้หน่วยงานที่มีความประสงค์ขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมดำเนินการจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณโดยตรงตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เป็นต้นไป”
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. วันที่ 4 สิงหาคม 2564 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ที่สอดคล้องกับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติเพื่อส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ดำเนินการตามมติที่ กพช. มอบหมาย ต่อมาวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 กพช. ได้พิจารณา เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤตราคาพลังงาน และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กกพ. และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ไปศึกษาหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยให้เหมาะสม และรายงานผลการศึกษาต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ทราบต่อไป
2. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 กพช. ได้มีมติ ดังนี้ (1) เห็นชอบในหลักการการทบทวนแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการในรายละเอียด โดยสามารถสรุปสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงสูตรการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติ ดังนี้ (1) หลักการการทบทวนแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กกพ. ในด้านปริมาณ คุณภาพ และราคา (Regulated Market) ประกอบด้วย ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPPs) ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPPs) และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPPs) รวมถึงผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรม และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ที่มีการใช้ก๊าซธรรมชาติจาก Pool Gas ของประเทศ ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ผู้จัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) ทุกราย ในกลุ่ม Regulated Market ขายก๊าซธรรมชาติ และ/หรือก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่จัดหาได้ให้กับผู้บริหารจัดการ Pool Gas ของประเทศ (Pool Manager) เพื่อนำไปรวมเป็น Pool Gas ของประเทศ และซื้อก๊าซธรรมชาติออกจาก Pool Gas ตามปริมาณที่จัดหาและนำเข้า Pool Gas ตลอดจนมอบหมายให้ ปตท. เป็น Pool Manager โดยให้จัดตั้งเป็นหน่วยงานที่แยกเป็นอิสระจาก ปตท. โดยมอบหมายให้ กกพ. ทำหน้าที่พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามรูปแบบการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 และดำเนินการทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ที่ทบทวนใหม่ เพื่อเสนอ กบง. และ กพช. พิจารณา กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กกพ. ในด้านปริมาณ และคุณภาพ (Partially Regulated Market) ประกอบด้วย ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติที่ไม่มีการใช้ก๊าซธรรมชาติจาก Pool Gas ของประเทศ และ (2) มอบหมายให้ กบง. เป็นผู้ติดตามการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 สามารถปฏิบัติได้เป็นรูปธรรมต่อไป ทั้งนี้ หากไม่สามารถดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวได้ ให้ กบง. จัดทำข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ใหม่ และนำเสนอ กพช. อีกครั้ง ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 กพช. ได้มีมติเห็นชอบแนวทางบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ โดยปรับให้ใช้ราคาก๊าซธรรมชาติที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติเป็นราคา Pool Gas ซึ่งเป็นราคารวมก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่น ๆ ยกเว้นก๊าซธรรมชาติที่นำไปใช้ในการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ใช้ต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติเท่ากับราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย (Gulf Gas) ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป จนกว่าการจัดทำหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 จะแล้วเสร็จ และได้รับความเห็นชอบจาก กพช. โดยมอบหมายให้ กกพ. และกระทรวงพลังงานรับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
3. ตามประกาศของ กกพ. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับผู้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2564 ที่ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 กำหนดให้โครงสร้างราคาขายส่งสำหรับกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติไปยังกลุ่มลูกค้า เป็นไปตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ที่สอดคล้องกับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 และในกรณีที่มีนโยบายในการทบทวนโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ ให้ กกพ. สามารถปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ตามความเหมาะสม โดยสามารถสรุปโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ราคาก๊าซธรรมชาติที่ขายให้กับโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย(1) ราคาเฉลี่ยก๊าซธรรมชาติอ่าวไทย (2) ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (S) และ (3) ค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติในทะเล (Zone 1) ทั้งนี้ ได้คำนวณค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติในทะเล (Zone 1) ที่รวมค่าผ่านท่อในทะเลทั้งหมด (รวมค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติของบริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย ประเทศไทย จำกัด) ตามแนวทางที่ กกพ. ได้นำเสนอต่อ กบง. เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 กลุ่มที่ 2 ราคาก๊าซธรรมชาติที่ Shipper ปตท. ขายในกลุ่ม Old Supply ประกอบด้วย (1) ราคาเฉลี่ยของก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยหลังโรงแยกก๊าซ (รวมค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติในทะเล) ก๊าซธรรมชาติจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) ณ ชายแดน และก๊าซ LNG (รวมค่าบริการสถานี LNG ในการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซ) หรือ Pool Gas (2) ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (S) และ (3) ค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติบนบก (Zone 2 – Zone 4) ทั้งนี้ สำหรับโรงไฟฟ้าน้ำพอง ราคาเฉลี่ยเนื้อก๊าซให้เป็นไปตามที่ ปตท. รับซื้อจากผู้รับสัมปทาน ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ และค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติบนบก (Zone 5) และกลุ่มที่ 3 ราคาก๊าซธรรมชาติที่ New Shipper ขายไฟฟ้าให้โรงไฟฟ้าที่จ่ายเข้าระบบใน Regulated Market ประกอบด้วย (1) ราคา LNG (2) ค่าบริการสถานี LNG ในการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซ (3) ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ และ (4) ค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติบนบก (Zone 3) โดยการกำกับราคาเนื้อก๊าซธรรมชาติแต่ละแหล่งอยู่ภายใต้การดูแลจากภาคนโยบายตามราคาสัมปทานของผู้ผลิตแต่ละแหล่งและการเปลี่ยนแปลงดัชนีอ้างอิงในตลาดโลก สำหรับการกำกับดูแลอัตราค่าบริการสถานี LNG ในการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซ ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ และอัตราค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ เมื่อมีการนำเนื้อก๊าซเข้ามาในระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลตามมาตรา 64 และ 65 ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เพื่อกำกับต้นทุนที่จะส่งผ่านค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (End Users)
4. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 กพช. มีมติเห็นชอบในหลักการการทบทวนแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 โดยกำหนดกลุ่มลูกค้า และโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ ดังนี้ กลุ่มลูกค้าก๊าซธรรมชาติสำหรับการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโรงแยกก๊าซธรรมชาติ กลุ่ม Regulated Market และกลุ่ม Partially Regulated Market โดยมีโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ ดังนี้ (1) ราคาก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย ราคาเนื้อก๊าซธรรมชาติ (Pool Gas) ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ และค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติบนบก (2) ราคา Pool Gas เป็นราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาและปริมาณของก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซในประเทศ ก๊าซธรรมชาติจากการนำเข้ามาจากเมียนมา และก๊าซธรรมชาติจากการนำเข้ามาในรูปแบบ LNG (3) ราคาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซในประเทศ เป็นราคาเนื้อก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยซึ่งรวมอัตราค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติในทะเล (4) ราคาก๊าซธรรมชาติจากการนำเข้ามาจากเมียนมา เป็นราคาเนื้อก๊าซธรรมชาติซึ่งรวมค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติเพื่อนำส่งก๊าซธรรมชาติมายังประเทศไทย (5) ราคาก๊าซธรรมชาติจากการนำเข้ามาในรูปแบบ LNG เป็นราคา LNG ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายในการนำเข้า และค่าบริการสถานี LNG (6) อัตราค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติที่ Shipper รายใหม่ต้องไปจองใช้บริการท่อก๊าซธรรมชาติจากผู้บริหารระบบส่งและศูนย์ควบคุมการส่งก๊าซธรรมชาติ (Transmission System Operator: TSO) ให้คำนวณเฉพาะค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติบนบกเท่านั้น (ไม่รวมค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติในทะเล) โดยมอบหมายให้ กกพ. ดำเนินการทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ที่ทบทวนใหม่ เพื่อเสนอ กบง. และ กพช. พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ มอบหมายให้ ปตท. เป็น Pool Manager โดยให้จัดตั้งเป็นหน่วยงานที่แยกเป็นอิสระจาก ปตท. และมีกระบวนการแบ่งขอบเขตงานที่ชัดเจน (Ring Fenced) มีหน้าที่ทำสัญญาเพื่อรับซื้อก๊าซธรรมชาติจาก Shipper ทุกรายในกลุ่ม Regulated Market คำนวณราคาก๊าซเฉลี่ย และทำสัญญาเพื่อขายก๊าซให้กับ Shipper ทุกราย ในกลุ่ม Regulated Market ในราคาเดียวกัน (Pool Gas) ตามปริมาณก๊าซที่ Shipper นั้น ๆ จัดหาและนำเข้า Pool Gas
5. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 กกพ. ได้เห็นชอบข้อเสนอการปรับปรุงสูตรการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติตามมติ กพช. เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ดังนี้
5.1 ปรับปรุงชื่อราคาก๊าซธรรมชาติในองค์ประกอบของสูตรราคาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอ่าวไทย จากเดิมที่ใช้ Gulf Gas เป็น Gulf Price และราคาก๊าซธรรมชาติในกลุ่ม Regulated Market ในราคาเดียวกัน จากเดิมที่ใช้ Pool Gas เป็น Pool Price เพื่อให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
5.2 ปรับปรุงสูตรการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ กพช. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งกำหนดให้ ปตท. ทำหน้าที่เป็น Pool Manager และมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ที่ให้ใช้ราคาก๊าซธรรมชาติที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติเป็นราคา Pool Gas ซึ่งเป็นราคารวมก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่น ๆ ยกเว้นก๊าซธรรมชาติที่นำไปใช้ในการผลิต LPG สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ให้ใช้ต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติเท่ากับราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป จนกว่าการจัดทำหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 จะแล้วเสร็จ
5.3 ปรับปรุงสูตรการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติในแต่ละเดือนตามการปรับปรุงสูตรการคำนวณราคาข้อ 5.1 และข้อ 5.2 ให้คำนวณตามสูตรการคำนวณและนิยามของตัวแปรตามองค์ประกอบของโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ ดังนี้ (1) ราคาเฉลี่ยเนื้อก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย (Gulf Price) ให้คำนวณราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาและปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ Shipper รับซื้อก๊าซธรรมชาติจากผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยทุกสัญญาที่หักปริมาณก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นเชื้อเพลิงที่ TSO ใช้ดำเนินการเกี่ยวกับระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเล ตามสูตร โดยที่ i คือ สัญญาผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย (2) ราคาเฉลี่ยของเนื้อก๊าซธรรมชาติจากเมียนมา (Myanmar Price) ให้คำนวณราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาและปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ Shipper รับซื้อจากผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในเมียนมา ตามปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ส่งมอบมายังประเทศไทย ซึ่งรวมค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการนำเข้า ทั้งนี้ ให้หักปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติของ TSO ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงของสถานีเพิ่มความดัน Saiyok Compressor Station (SCS) เพื่อจัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ สำหรับนำไปคำนวณในราคา Pool Price ตามสูตร
โดยที่ j คือ สัญญาผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในเมียนมา (3) ราคาเฉลี่ยของเนื้อก๊าซ LNG (LNG Price) ให้คำนวณราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาและปริมาณก๊าซธรรมชาติจากการนำเข้ามาในรูปแบบ LNG ซึ่งจัดหาโดย Shipper ในกลุ่ม Regulated Market ที่จัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติของ Shipper ทุกราย โดยราคา LNG ของ Shipper แต่ละรายให้ใช้วิธีการคำนวณแบบ Moving Average ตามราคาและปริมาณนำเข้าและคงค้างในถังเก็บแต่ละเดือนของ Shipper รายนั้น ๆ ทั้งนี้ ราคา LNG นำเข้าที่นำมาใช้ในการคำนวณให้รวมค่าใช้จ่ายในการนำเข้าตามหลักเกณฑ์ที่ กพช. กำหนด ตามสูตร
โดยที่ k คือ Shipper ที่นำเข้า LNG และ (4) ราคาเฉลี่ยของเนื้อก๊าซธรรมชาติ (Pool Price) สำหรับกลุ่ม Regulated Market ให้ Pool Manager คำนวณราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาและปริมาณขายก๊าซธรรมชาติของ Shipper ในกลุ่ม Regulated Market ทุกราย ซึ่งเป็นผลรวมของมูลค่าก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย เมียนมา และ LNG ที่ Shipper จัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ หารด้วยผลรวมของปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ Shipper ทุกรายในกลุ่ม Regulated Market จัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติของ Shipper โดยมีรายละเอียดมูลค่าและปริมาณก๊าซธรรมชาติที่นำมาคำนวณในแต่ละเดือน ตามสูตร Pool Price = [CGulf + CMMR + CLNG] / Qpool โดยที่ 1) มูลค่าก๊าซธรรมชาติอ่าวไทย (CGulf) คือ มูลค่าก๊าซธรรมชาติที่ Shipper รับซื้อจากผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยทุกสัญญา ตามปริมาณก๊าซธรรมชาติที่จัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ โดยคำนวณจาก Gulf Price รวมค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อผ่านระบบส่งก๊าซธรรมชาติ สำหรับระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง (Tdzone1 และ Tczone1) ตามอัตราที่ กกพ. กำหนด คูณกับปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ Shipper จัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ ไม่รวมปริมาณก๊าซธรรมชาติส่วนที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติใช้ในการผลิตก๊าซ LPG สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 กำหนด ตามสูตร CGulf = (Gulf Price + TdZone1 + TcZone1) x (QGulf – QLPG) 2) มูลค่าก๊าซธรรมชาติเมียนมา (CMMR) คือ มูลค่าเนื้อก๊าซธรรมชาติที่ Shipper จัดหาจากเมียนมา ตามปริมาณก๊าซธรรมชาติที่จัดส่งให้ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ ตามสูตร CMMR = Myanmar Price x QMMR 3) มูลค่าก๊าซธรรมชาติเหลว (CLNG) คือ มูลค่า LNG ที่ Shipper ในกลุ่ม Regulated Market จัดหาตามปริมาณก๊าซธรรมชาติที่จัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายในการให้บริการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซส่วนของต้นทุนคงที่ (Ld) และส่วนของต้นทุนผันแปร (Lc) ตามสูตร
และ 4) ปริมาณก๊าซธรรมชาติ (Qpool) คำนวณจากผลรวมปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ Shipper ทุกรายในกลุ่ม Regulated Market จัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติของ Shipper ซึ่งไม่รวมปริมาณก๊าซธรรมชาติที่โรงแยกก๊าซธรรมชาตินำไปใช้ผลิตก๊าซ LPG สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 กำหนด ตามสูตร Qpool = (QGulf – QLPG) + QMMR + QLNG โดยในกรณีเกิดวิกฤตราคาพลังงานให้นำราคาและปริมาณเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา ก๊าซ LNG หรือเชื้อเพลิงอื่นที่มีมูลค่าเทียบเท่าค่าความร้อนของก๊าซธรรมชาติที่ต้องนำเข้าเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่ง กพช. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 และเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 หรือที่ กพช. กำหนดเพิ่มเติมให้นำมาใช้ผลิตไฟฟ้าในระบบของ กฟผ. แทนการนำเข้า LNG ส่วนเพิ่ม เพื่อลดต้นทุนการนำเข้าพลังงานโดยรวมของประเทศไทยตามที่ กกพ. กำหนด (หน่วยเป็นบาทต่อล้านบีทียู) ทั้งนี้ การคำนวณราคาเฉลี่ยของเนื้อก๊าซธรรมชาติสำหรับโรงไฟฟ้า กฟผ. ที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นไปตามราคาเฉลี่ยเนื้อก๊าซธรรมชาติที่ ปตท. รับซื้อจากผู้รับสัมปทานในแต่ละเดือน
5.4 การทบทวนองค์ประกอบของโครงสร้างราคาขายส่งก๊าซธรรมชาติสำหรับกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติไปยังกลุ่มผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ (Wholesale Price: W) จำแนกตามกลุ่มลูกค้าได้ 3 กลุ่ม โดยมีข้อเสนอทบทวนสูตรการคำนวณราคาขายส่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้เป็นไปตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย (1) การซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่าง Shipper กับโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ส่วนนำไปใช้ในการผลิตก๊าซ LPG สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ตามสูตร Wโรงแยกก๊าซ (LPG) = Gulf Price + [S1,โรงแยกก๊าซ + S2,โรงแยกก๊าซ] + [Tdzone1 + Tczone1] และ (2) การซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่าง Shipper กับโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ส่วนที่เหลือจากการนำไปใช้ในการผลิตก๊าซ LPG สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงตามข้อ (1) ตามสูตร Wโรงแยกก๊าซ (OTHERS) = Pool Price + [S1,โรงแยกก๊าซ + S2,โรงแยกก๊าซ] กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Regulated Market ประกอบด้วย (1) การซื้อขายก๊าซระหว่าง Shipper กับโรงไฟฟ้า กฟผ. / IPP ในพื้นที่ Zone 3 ตามสูตร Wกฟผ./IPP = Pool Price + [S1,กฟผ/IPP + S2,กฟผ/IPP] + [Tdzone 3 + Tczone 3] (2) การซื้อขายก๊าซระหว่าง Shipper กับ SPP ในพื้นที่ Zone 3 ตามสูตร WSPP = Pool Price + [S1,SPP + S2,SPP] + [Tdzone 3 + Tczone 3] (3) การซื้อขายก๊าซระหว่าง ปตท. กับ IPP ที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ตามสูตร Wขนอม = Pool Price +[S1,ขนอม + S2,ขนอม] + [Tdzone 2 + Tczone 2] (4) การซื้อขายก๊าซระหว่าง Shipper กับโรงไฟฟ้า กฟผ. ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา ตามสูตร Wจะนะ = Pool Price + [S1,จะนะ + S2,จะนะ] + [Tdzone 4 + Tczone 4] (5) การซื้อขายก๊าซระหว่าง ปตท. กับโรงไฟฟ้า กฟผ. ที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ตามสูตร Wน้ำพอง =(WHตามข้อตกลงระหว่าง ปตท. กับผู้รับสัมปทาน) +[S1,น้ำพอง + S2,น้ำพอง] + [Tdzone 5 + Tczone 5] (6) การซื้อขายก๊าซระหว่าง ปตท. กับผู้ค้า NGV ในพื้นที่ Zone 3 ตามสูตร WNGV = Pool Price + [S1,NGV + S2,NGV] + [Tdzone 3 + Tczone 3] และ (7) การซื้อขายก๊าซระหว่าง Shipper กับผู้ค้าปลีกก๊าซธรรมชาติ ในพื้นที่ Zone 3 ตามสูตร Wผู้ค้าปลีก = Pool Price + [S1,ผู้ค้าปลีก + S2,ผู้ค้าปลีก] + [Tdzone 3 + Tczone 3] โดยค่า Td และ Tc สำหรับผู้ใช้ก๊าซกลุ่มนี้สามารถกำหนดเป็นอัตราเดียวกันหรือแตกต่างกันได้ตามที่ กกพ. กำหนด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติในภาพรวมของประเทศ และกรณีมีการซื้อขายก๊าซระหว่าง Shipper กับผู้ค้า NGV และผู้ค้าปลีกก๊าซธรรมชาติตามข้อ (6) และข้อ (7) ในพื้นที่ Zone 2 Zone 4 และ Zone 5 ให้คำนวณโดยใช้ค่าผ่านท่อตามพื้นที่ดังกล่าวในการคำนวณ และกลุ่มที่ 3 กลุ่ม Partially Regulated Market ที่ไม่มีการใช้ก๊าซธรรมชาติจาก Pool Price ของประเทศ กำหนดให้มีการจัดเก็บอัตราค่าบริการจัดเก็บและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซ และอัตราค่าบริการส่งก๊าซทางท่อตามหลักเกณฑ์ที่ กกพ. กำหนด และในส่วนของแนวทางกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับ Pool Manager ในระยะเริ่มต้น เห็นควรกำหนดให้ ปตท. เป็น Pool Manager ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดยไม่มีการกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติในระยะเริ่มต้น จนกว่าจะมีการจัดตั้งหน่วยงาน Pool Manager ที่แยกเป็นอิสระจาก ปตท. แล้วเสร็จ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินงานของ Pool Manager ในระหว่างที่ยังไม่มีการกำหนดอัตราค่าบริการ ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อผ่านระบบส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่ง กกพ. จะพิจารณากำหนดอัตราค่าบริการสำหรับการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติต่อไป
6. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 กบง. ได้พิจารณาการปรับปรุงสูตรการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 และได้มีมติ ดังนี้ (1) เห็นชอบข้อเสนอการปรับปรุงสูตรการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ตามที่ กกพ. เสนอ (2) มอบหมายให้ กกพ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติเป็นไปตามนโยบายของ กพช. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ต่อไป และ (3) มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ กพช. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบข้อเสนอการปรับปรุงสูตรการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และวันที่ 13 ธันวาคม 2566 และให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานรับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. ให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำข้อสังเกตของที่ประชุมไปประกอบการจัดทำหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ และนำเสนอต่อ กพช. เพื่อพิจารณาต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 มาตรา 23 กำหนดให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ออกกฎกระทรวงกำหนดเครื่องจักร อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง และวัสดุ อุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อส่งเสริมการใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง และวัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง หรือวัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน มีสิทธิขอรับการส่งเสริมและช่วยเหลือตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว
2. การจัดทำร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (ร่างกฎกระทรวงฯ) และร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ดำเนินการสำรวจข้อมูลด้านต่าง ๆ เช่น จำนวน รุ่น ปริมาณการใช้พลังงาน เพื่อนำมากำหนดเป็นกลุ่มตัวอย่างและจำนวนตัวอย่างที่ต้องสุ่มทำการทดสอบ รวมถึงแนวทางการหาค่าประสิทธิภาพพลังงาน วิธีมาตรฐานการทดสอบ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงทำการทดสอบหาค่าประสิทธิภาพพลังงาน ประมวลผลการทดสอบตามหลักสถิติ โดยกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานขั้นสูง (High Energy Efficiency Standards: HEPS) ประมาณร้อยละ 20 และกำหนดให้ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานขั้นต่ำ (Minimum Energy Efficiency Standards: MEPS) ประมาณร้อยละ 3 ทั้งนี้ จะดำเนินการปรับให้เหมาะสมกับแต่ละผลิตภัณฑ์โดยคำนึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนยี่ห้อที่ผ่านเกณฑ์ เป็นต้น ซึ่งการจัดทำร่างกฎกระทรวงฯ และร่าง มอก. ต้องผ่านการพิจารณาของคณะทำงานวิชาการที่มีความรู้ความชำนาญตามสาขาต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการพิจารณาจัดทำร่างกฎกระทรวงฯ รวมทั้งการสัมมนารับฟังข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยมีขั้นตอนการพิจารณาดังต่อไปนี้ (1) คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย พพ. (2) คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (3) คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองกฎหมาย กระทรวงพลังงาน (4) คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) (5) กพช. (6) คณะรัฐมนตรี (7) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) (8) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงนาม และ (9) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา โดยร่าง มอก. ที่ผ่านคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน แล้ว พพ. จะนำส่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เพื่อพิจารณากำหนด มอก. คุณลักษณะที่ต้องการด้านประสิทธิภาพพลังงานต่อไป โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปีปัจจุบัน พพ. ได้ศึกษาและจัดทำกฎกระทรวงแล้ว จำนวน 73 ฉบับ (73 ผลิตภัณฑ์) ซึ่งผลจากการศึกษาจะได้ HEPS นำมาจัดทำเป็นกฎกระทรวงกำหนดเครื่องจักร อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง หรือวัสดุ อุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และ MEPS นำมาจัดทำเป็น มอก. คุณลักษณะที่ต้องการด้านประสิทธิภาพพลังงาน นำส่ง สมอ. ประกาศบังคับใช้ต่อไป ซึ่งปัจจุบัน พพ. ได้ส่งร่าง มอก. ให้กับ สมอ. และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 30 ฉบับ ในจำนวนนี้เป็นมาตรฐานบังคับ 5 ฉบับ และมาตรฐานทั่วไป 25 ฉบับ
3. เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 17 ฉบับ (17 ผลิตภัณฑ์) และมอบหมายให้ พพ. จัดส่งร่างกฎกระทรวงฯ เสนอต่อคณะกรรมการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของกระทรวงพลังงาน (คณะกรรมการฯ) พิจารณา ก่อนนำมาเสนอ กบง. พิจารณาต่อไป โดยเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาร่างกฎกระทรวงฯ จำนวน 17 ฉบับ (17 ผลิตภัณฑ์) ตามที่ พพ. เสนอ และได้มีมติ ดังนี้ (1) เห็นชอบร่างกฎกระทรวงฯ จำนวน 7 ฉบับ (7 ผลิตภัณฑ์) ได้แก่ มอเตอร์เหนี่ยวนำเฟสเดียว หลอดแอลอีดีหรือดวงโคมไฟฟ้าแอลอีดี เครื่องเชื่อมไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์เครื่องทำความเย็น เครื่องดูดฝุ่นชนิดลากพื้น เครื่องทอดแบบน้ำมันท่วม และเครื่องดูดควันสำหรับเตาหุงต้ม และให้ดำเนินการเสนอต่อ กบง. พิจารณาต่อไป (2) เห็นชอบร่างกฎกระทรวงฯ จำนวน 3 ฉบับ (3 ผลิตภัณฑ์) ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องอัดอากาศแบบเกลียว และกระจก โดยให้ พพ. รับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขร่างกฎกระทรวงฯ ก่อนที่จะนำเสนอ กบง. พิจารณาต่อไป และ (3) เห็นชอบให้ พพ. ถอนร่างกฎกระทรวงฯ จำนวน 7 ฉบับ (7 ผลิตภัณฑ์) ได้แก่ ฉนวนกันความร้อนอุณหภูมิต่ำ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ตู้แช่เย็นแสดงสินค้าแบบกึ่งตั้ง ตู้แช่เย็นแสดงสินค้าแบบตั้ง เครื่องแช่เย็นและเครื่องแช่แข็งอย่างรวดเร็ว ยางนอกรถจักรยานยนต์ และเครื่องเป่าผม ออกจากวาระการประชุม และเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 กบง. มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 3 ฉบับ (3 ผลิตภัณฑ์) ตามที่ พพ. เสนอ และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ กพช.พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
4. ร่างกฎกระทรวงฯ แต่ละผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล นิยาม ค่าประสิทธิภาพพลังงาน และมาตรฐานการทดสอบ ห้องทดสอบ โดยมีรายละเอียดการกำหนดค่าประสิทธิภาพพลังงานขั้นสูงของร่างกฎกระทรวงฯ 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง เครื่องอัดอากาศแบบเกลียวที่มีประสิทธิภาพสูง และ กระจกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ดังนี้
4.1 ร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง พ.ศ. .... กำหนดค่าประสิทธิภาพพลังงานตามชนิดและขนาดของเครื่องปรับอากาศที่ผู้ผลิตระบุ ดังนี้ (1) เครื่องปรับอากาศชนิดความสามารถทำความเย็นคงที่ ขนาดไม่เกิน 8,000 วัตต์ และขนาดมากกว่า 8,000 วัตต์ แต่ไม่เกิน 12,000 วัตต์ ค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานตามฤดูกาล (Seasonal Energy Efficiency Ratio: SEER) 13.17 – 14.38 บีทียูต่อชั่วโมงต่อวัตต์ และ 12.54 – 13.48 บีทียูต่อชั่วโมงต่อวัตต์ ตามลำดับ ค่าตัวประกอบสมรรถนะทำความเย็นตามฤดูกาล (Cooling Seasonal Performance Factor: CSPF) 3.86 – 4.22 วัตต์ชั่วโมงต่อวัตต์ชั่วโมง และ 3.68 – 3.95 วัตต์ชั่วโมงต่อวัตต์ชั่วโมง ตามลำดับ และ (2) เครื่องปรับอากาศชนิดความสามารถทำความเย็นปรับเปลี่ยนได้ ขนาดไม่เกิน 8,000 วัตต์ และขนาดมากกว่า 8,000 วัตต์ แต่ไม่เกิน 12,000 วัตต์ ค่า SEER 17.06 – 25.59 บีทียูต่อชั่วโมงต่อวัตต์ และ 16.03 – 21.63 บีทียูต่อชั่วโมงต่อวัตต์ ตามลำดับ และค่า CSPF 5.00 – 7.50 วัตต์ชั่วโมงต่อวัตต์ชั่วโมง และ 4.70 – 6.34 วัตต์ชั่วโมงต่อวัตต์ชั่วโมง ตามลำดับ
4.2 ร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอัดอากาศแบบเกลียวที่มีประสิทธิภาพสูง พ.ศ. .... กำหนดค่าประสิทธิภาพพลังงานตามขนาดกำลังด้านออกที่กำหนด และความดันอากาศอัดที่ผู้ผลิตระบุ ดังนี้ (1) เครื่องอัดอากาศแบบเกลียว ระบายความร้อนด้วยอากาศ กำหนดค่ากำลังจำเพาะของขนาดกำลังด้านออก 2.2 กิโลวัตต์ สำหรับความดันอากาศอัดในช่วง 0.7 ถึง 1.25 เมกะพาสคาล ที่ 7.5 - 6.9 ถึง 9.7 - 8.2 กิโลวัตต์ต่อลูกบาศก์เมตรต่อนาที ตามลำดับ จนถึงขนาดกำลังด้านออก 315 กิโลวัตต์ ในช่วง 0.7 ถึง 1.25 เมกะพาสคาล ที่ 5.4 - 4.8 ถึง 7.6 - 6.0 กิโลวัตต์ต่อลูกบาศก์เมตรต่อนาที ตามลำดับ และ (2) เครื่องอัดอากาศแบบเกลียว ระบายความร้อนด้วยน้ำ กำหนดค่ากำลังจำเพาะของขนาดกำลังด้านออก 7.5 กิโลวัตต์ สำหรับความดันอากาศอัดในช่วง 0.7 ถึง 1.25 เมกะพาสคาล ที่ 6.2 - 5.3 ถึง 8.1 - 7.1 กิโลวัตต์ต่อลูกบาศก์เมตรต่อนาที ตามลำดับ จนถึงขนาดกำลังด้านออก 630 กิโลวัตต์ ในช่วง 0.7 ถึง 1.25 เมกะพาสคาล ที่ 5.3 - 4.5 ถึง 7.2 - 6.3 กิโลวัตต์ต่อลูกบาศก์เมตรต่อนาที ตามลำดับ ทั้งนี้ ค่าประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องอัดอากาศแบบเกลียวทั้งสองรูปแบบที่ไม่ได้ระบุขนาดกำลังด้านออก ให้คำนวณหาค่ากำลังจำเพาะจากสมการที่กำหนด
4.3 ร่างกฎกระทรวงกำหนดกระจกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. .... กำหนดค่าประสิทธิภาพพลังงาน ตามค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากรังสีอาทิตย์ (Solar Heat Gain Coefficient: SHGC)ค่าการส่องผ่านของแสงธรรมชาติต่อค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากรังสีอาทิตย์ (Light to Solar Gain: LSG) และค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวม (U-Value) ที่จำเพาะแตกต่างไปตามกลุ่มและประเภทของกระจกได้แก่ (1) กลุ่มกระจกพื้นฐาน ประเภทกระจกแผ่น กระจกโฟลตใส กระจกโฟลตสีตัดแสง และกระจกสีเขียว กำหนดค่า SHGC และค่า LSG ที่ 0.53 – 0.47 และ 1.20 – 1.30 ตามลำดับ (2) กลุ่มกระจกแปรรูปแผ่นเดี่ยว กลุ่มที่ 1 ประเภท กระจกเทมเปอร์ และกระจกอบแข็งด้วยความร้อน กำหนดค่า SHGC และค่า LSG ที่ 0.53 – 0.47 และ 1.20 – 1.30 ตามลำดับ (3) กลุ่มกระจกแปรรูปแผ่นเดี่ยว กลุ่มที่ 2 ประเภทกระจกเปล่งรังสีความร้อนต่ำ กระจกสะท้อนแสง และกระจกนิรภัยหลายชั้น กำหนดค่า SHGC และค่า LSG ที่ 0.50 - 0.46 และ 1.20 – 1.30 ตามลำดับ และ (4) กลุ่มกระจกฉนวนความร้อน ประเภทกระจกฉนวนความร้อน กำหนดค่า SHGC ค่า LSG และค่า U-Value ที่ 0.40 - 0.33 1.20 – 1.60 และ 2.25 – 1.97 ตามลำดับ
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 3 ฉบับ (3 ผลิตภัณฑ์) ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องอัดอากาศแบบเกลียว และกระจก
2. มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นำร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 3 ฉบับ (3 ผลิตภัณฑ์) เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างต่อไป