
มติกพช. (139)
กพช. ครั้งที่ 75 - วันพุธที่ 26 เมษายน 2543
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 5/2543 (ครั้งที่ 75)
วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2543 เวลา 9.30 น.
ณ ห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
1.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี
3.ความคืบหน้าในการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่องมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
4.ความคืบหน้าในการดำเนินงานตามแผนระดมทุนจากภาคเอกชน ในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี
5.ราคาค่าไฟฟ้าโครงการน้ำเทิน 2
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในช่วง 10 วันแรกของเดือนเมษายนลดลง 3 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากผลการประชุมตกลงเพิ่มเป้าหมายการผลิตในกลุ่มประเทศโอเปคเป็น 1.7 ล้านบาร์เรล/วัน หลังจากนั้นราคาน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้น 1.7 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามที่องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency : IEA) ได้คาดการณ์ไว้ และหากปริมาณน้ำมันในตลาดโลกไม่เพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อให้พอเพียงกับความต้องการในระดับ 77 ล้านบาร์เรล/วันแล้ว ในช่วงปลายปีราคาน้ำมันดิบอาจปรับตัวสูงขึ้นประกอบกับปริมาณสำรองทางการค้า ของน้ำมันเบนซินในสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ในระดับต่ำได้ลดลงไปอีกจึงมีผลให้ ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบในปลายสัปดาห์ที่สามของเดือนอยู่ในระดับ 22.3 - 27.3 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
2. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ในเดือนเมษายน ปรับตัวอยู่ในทิศทางเดียวกับน้ำมันดิบ โดยราคาน้ำมันเบนซินในช่วง 10 วันแรก ปรับตัวลดลง 2.5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล แต่จากปริมาณสำรอง ทางการค้าของน้ำมันเบนซินในสหรัฐอเมริกาได้ลดลง ทำให้ความต้องการนำเข้าของสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น และความต้องการใช้เชื้อเพลิงที่เริ่มสูงขึ้นตามสภาพอากาศที่อุ่นขึ้น ได้ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวสูงขึ้น 3.5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 91 ขึ้นไปอยู่ในระดับ 29.5 และ 28.5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ในวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา ส่วนน้ำมันดีเซล ก๊าด และเตา ราคาได้ลดลงตามปริมาณความต้องการที่ลดลง 3.4, 0.6 และ 3.0 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ในระดับ 26.1, 28.8 และ 24.1 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ
3. ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยในเดือนเมษายนปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินทุกชนิดปรับลง 3 ครั้ง รวม 0.70 บาท/ลิตร ดีเซลหมุนเร็วปรับลง 4 ครั้ง รวม 1.05 บาท/ลิตร มีผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91, 87 และดีเซลหมุนเร็ว ในวันที่ 20 เมษายน 2543 อยู่ในระดับ 13.99, 12.99, 12.57 และ 11.12 บาท/ลิตร ตามลำดับ
4. จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่อ่อนตัวลง ทำให้ผู้ค้ามีความยืดหยุ่นในการปรับราคาขายปลีก ส่งผลให้ค่าการตลาดในเดือนเมษายนปรับขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกับปี 2541 คือ 1.29 บาท/ลิตร ในขณะที่ความ เคลื่อนไหวของราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์อยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่าการกลั่นจึงได้ปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับ 0.9068 บาท/ ลิตร
5. ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในตลาดโลกเดือนเมษายน 2543 ลดลง 23 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน มาอยู่ในระดับ 302 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ทำให้ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศอยู่ในระดับ 11.52 บาท/กิโลกรัม โดยมีอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในระดับ 6.87 บาท/กิโลกรัม และราคามีแนวโน้มจะอ่อนตัวลงในเดือนพฤษภาคมมาอยู่ในระดับ 265 - 270 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ซึ่งจะทำให้อัตราเงินชดเชยจากกองทุน น้ำมันฯ ลดลงประมาณ 1.30 บาท/กิโลกรัม
6. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ สิ้นเดือนเมษายนอยู่ในระดับ 1,525 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาฐานะกองทุนน้ำมันฯ ให้สามารถตรึงราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มได้นานยิ่งขึ้น จึงได้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 0.10 บาท/ลิตร เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2543 และปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล 0.15 บาท/ลิตร เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2543 ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับเพิ่มขึ้นเป็น 378 ล้านบาท/เดือน ซึ่งเมื่อคำนึงถึงแนวโน้มราคาก๊าซที่จะลดลงในเดือนพฤษภาคมแล้ว คาดว่าจะสามารถตรึงราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวได้นานประมาณ 4 เดือน
7. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้เตรียมมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้สามารถตรึง ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวได้นานขึ้น ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2543 โดยมีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้
(1) การปรับขึ้นอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯของน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันอัตราเงินส่งเข้ากองทุน น้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน ก๊าด ดีเซล และเตา เท่ากับ 0.25, 0.10, 0.15 และ 0.06 บาท/ลิตร ตามลำดับ ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับรวม 378 ล้านบาท/เดือน และหากปรับขึ้นอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันเบนซิน ดีเซล และเตาในระดับ 0.10 บาท/ลิตร จะส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น 61, 125 และ 61 ล้านบาท/เดือน
(2) การปรับหลักเกณฑ์การกำหนดราคา ณ โรงกลั่นและราคานำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยใช้ฐานที่ต่ำกว่าราคาเปโตรมิน (CP) ในระดับต่างๆ กันคือ CP-10, CP-15, CP-20 และ CP-30 เหรียญสหรัฐฯ จะทำให้อัตราเงินชดเชยของก๊าซฯ ลดลง 0.38, 0.57, 0.76 และ 1.14 บาท/กิโลกรัม หรือลดลง 48, 73, 97 และ 145 ล้านบาท/เดือน ตามลำดับ
(3) การปรับราคาขายส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว ซึ่งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานได้มีมติเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 มอบอำนาจให้ สพช. เป็นผู้ดำเนินการปรับราคาขายส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยให้รักษาระดับฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับ 1,800 - 4,000 ล้านบาท หรือ ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องอยู่ในระดับพอเพียงกับการสนับสนุนรายจ่ายไม่ต่ำกว่า 4 เดือน และกำหนดขอบเขตการเปลี่ยนแปลงราคา ขายส่งที่สามารถปรับได้ทันทีครั้งละไม่เกิน 1 บาท/ลิตร หากนอกขอบเขตที่กำหนดให้ขออนุมัติจากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก่อน การขึ้นราคาขายส่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มในระดับ 0.10 -1.00 บาท/กิโลกรัม จะส่งผลให้ราคาขายปลีกปรับขึ้นในระดับเดียวกัน และอัตราชดเชยก๊าซฯ จะลดลงในระดับ 0.09-0.93 บาท/กิโลกรัม หรือ ลดลงในระดับ 12-119 ล้านบาท/เดือน
8. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) ได้จัดทำแถลงการณ์แสดงความชื่นชมต่อการตัดสินใจเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันของ โอเปคส่งผ่านไปยังสื่อต่างๆ และได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีพลังงานสหรัฐอเมริกา (Mr. Bill Richardson) ซึ่งจะเป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคในเดือนพฤษภาคม 2543 นี้ โดยเสนอให้มีการหยิบยกประเด็นในเรื่องความมั่นคงทางด้านพลังงานและความแตก ต่างของราคา น้ำมันดิบที่กลุ่มโอเปคส่งออกมายังประเทศแถบเอเชียและตะวันออกไกลซึ่งมีราคา สูงกว่าที่ส่งออกไปยังประเทศแถบยุโรปขึ้นหารือในที่ประชุมด้วย นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงประเทศสหรัฐ อเมริกา เม็กซิโก บาห์เรน และอินโดนีเชีย ในการส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดดุลยภาพในการผลิตและการ บริโภคน้ำมัน รวมทั้ง การสร้างเสถียรภาพราคาน้ำมันให้เกิดขึ้นในโลก
9. คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ในการประชุมเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2543 ได้มีการพิจารณาค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) และมีมติเห็นชอบให้ปรับค่า Ft สำหรับการเรียกเก็บในเดือนเมษายน - กรกฎาคม 2543 เท่ากับ 61.52 สตางค์/หน่วย หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม 5.20 สตางค์/หน่วย ซึ่งการปรับค่า Ft ดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าน้อยมากโดยค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่เรียกเก็บจากประชาชน จะเพิ่มขึ้นจาก 2.23 บาท/หน่วย เป็น 2.28 บาท/หน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.33
มติของที่ประชุม
1.ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี
2.มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ รับไปพิจารณาความเหมาะสมของการใช้แต่ละแนวทางในการแก้ไขปัญหากองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิงติดลบ โดยเห็นว่าการให้ประชาชนรับทราบต้นทุนที่แท้จริง และใช้แนวทางในการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นแนวทางที่ควรดำเนินการ
3.มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ รับไปจัดทำรายงานความคืบหน้าในการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนจากวัสดุ เหลือใช้ทางการเกษตรให้ที่ประชุมทราบในการประชุมคราวต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542 เห็นชอบแนวทางและขั้นตอนการดำเนินการ ยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว" และการปรับปรุงระบบการค้าและมาตรฐานความปลอดภัยก๊าซปิโตรเลียมเหลว ซึ่งตามแนวทางและขั้นตอนดังกล่าวต้องมีการดำเนินการส่งเสริมการแข่งขันใน ระบบการค้าเสรี การปรับปรุงระบบความปลอดภัย การแก้ไขปัญหาการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค การเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบจับกุมผู้กระทำผิด และการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการ โรงบรรจุ ร้านค้าปลีก รวมถึงประชาชน ผู้บริโภคทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจในการปรับปรุงระบบการค้าและเข้าใจใน มาตรฐานความปลอดภัยของก๊าซปิโตรเลียมเหลวมากขึ้น
2. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการตามแนวทางและขั้นตอนดังกล่าวข้าง ต้น ซึ่งมีความคืบหน้าในการดำเนินการสรุปได้ดังนี้
2.1 การยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ได้มีการดำเนินการดังนี้
(1) สพช. ได้จัดประชุมสัมมนาสื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด เพื่อทำความเข้าใจในนโยบายและซักซ้อมวิธีปฏิบัติ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2542 จำนวน 5 ครั้ง ในเขตกรุงเทพฯ และทุกภูมิภาค รวมทั้งได้มีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ เป็นระยะๆ นอกจากนี้ ได้มีการออกประกาศคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน เพื่อปรับหลักเกณฑ์การกำหนดราคา ณ โรงกลั่น ราคานำเข้า การปรับราคาขายส่งและค่าการตลาดเป็นระยะๆ เพื่อให้สอดคล้องกับราคาในตลาดโลก
(2) กรมการค้าภายใน ได้ออกประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 258 พ.ศ. 2542 กำหนดให้โรงบรรจุก๊าซและร้านค้าก๊าซปิดป้ายแสดงราคา ณ สถานที่จำหน่าย เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2542 เป็นต้นมา และต่อมาได้ออกประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 259 พ.ศ. 2542 กำหนดให้โรงบรรจุก๊าซและร้านค้าก๊าซในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ต้องแจ้งราคาขายส่ง ณ โรงบรรจุ และราคาขายปลีก ณ ร้านค้าก๊าซต่อกรมการค้าภายใน ส่วนต่างจังหวัดให้แจ้งต่อสำนักงานการค้าภายในจังหวัด และจากการส่งเจ้าหน้าที่ออกสำรวจร้านค้าก๊าซพบว่าส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือใน การปรับลดราคาขายปลีกตามนโยบายราคาก๊าซลอยตัวของรัฐเป็นอย่างดี
2.2 การส่งเสริมการแข่งขัน ได้มีการดำเนินการดังนี้
(1) สพช. ร่วมกับกรมทะเบียนการค้า ได้ศึกษาแนวทางการแยกเงื่อนไขของผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว ออกจากผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 รวมถึงศึกษาเงื่อนไขของการเป็นผู้ค้าก๊าซฯ ที่เหมาะสม ทั้งปริมาณการค้าและมาตรการดูแลการเข้าสู่ธุรกิจและการจะออกจากธุรกิจที่ เข้มงวด เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคต้องรับภาระจากการเลิกกิจการ โดยในขั้นนี้ได้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. .... ให้กำหนดปริมาณการค้าขั้นต่ำของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ที่จำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวเพียงปีละ 50,000 เมตริกตัน จากเดิม 100,000 เมตริกตัน ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
(2) กรมโยธาธิการได้ออกประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทที่ 1 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เพื่อกำหนดให้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถจำหน่ายก๊าซหุงต้มได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการแข่งขันการจำหน่ายก๊าซหุงต้มในระดับค้าปลีก
2.3 การแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในระบบการค้า ได้มีการดำเนินการดังนี้
(1) สพช. ได้นำเสนอนายกรัฐมนตรี ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 2/2542 ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2542 แก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2540 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 12 กันยายน 2540 เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ในระบบการค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้มีความเป็นธรรม โดยกำหนดให้ผู้ค้าก๊าซต้องรับผิดชอบการบรรจุก๊าซลงถังก๊าซหุงต้มภายใต้ เครื่องหมายการค้าของตน และการบรรจุก๊าซเต็มตามน้ำหนัก
(2) กรมทะเบียนการค้าได้ออกประกาศ เรื่อง ระเบียบการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 รายอื่น หรือ ผู้บรรจุก๊าซรายใด เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน การขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ และการปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้ม ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2542 เพื่อให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521 ซึ่งขายหรือจำหน่ายก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มจัดให้มีการบรรจุก๊าซหุงต้ม สามารถมอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 รายอื่นหรือผู้บรรจุก๊าซเป็นผู้ดำเนินการแทนได้ และเพื่อให้การบรรจุก๊าซต้องทำการปิดผนึกวาล์วถังก๊าซหุงต้มทุกครั้งที่ บรรจุก๊าซ และต้องมีเครื่องหมายประจำตัวผู้บรรจุก๊าซแสดงไว้ที่อุปกรณ์ปิดผนึกลิ้น (Seal) ถังก๊าซหุงต้ม
(3) สพช. ร่วมกับหน่วยปฏิบัติได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมกันดำเนินการตรวจสอบ จับกุมผู้กระทำผิดที่ไม่ปฏิบัติตามประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกอบด้วย คณะที่ 1 ทำหน้าที่ตรวจสอบแทนกันในส่วนกลาง คณะที่ 2 ทำหน้าที่ตรวจสอบแทนกันในส่วนภูมิภาค และคณะที่ 3 ทำหน้าที่ปราบปรามและป้องกันการผลิตถังขาวเพื่อจำหน่ายในประเทศของโรงงาน ผลิตถังก๊าซหุงต้มทั่วประเทศ นอกจากนี้ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับแลกเปลี่ยนถังก๊าซหุงต้มขึ้นทั้งในระดับ จังหวัดและระดับประเทศ เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย และเร่งรัดการแลกเปลี่ยนถังก๊าซหุงต้มระหว่างโรงบรรจุในจังหวัด เพื่อลดปัญหาในจังหวัดให้เหลือน้อยที่สุดแล้วแจ้งปัญหาของจังหวัดที่เหลือ อยู่มายังคณะกรรมการระดับประเทศ เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้คณะกรรมการระดับประเทศจะทำหน้าที่กำกับดูแลการใช้เงินค่าการตลาดใน การแก้ไขปัญหาการแลกเปลี่ยนถัง การซ่อมบำรุงถัง และการแก้ปัญหาถังขาวในระยะยาว
(4) กรมโยธาธิการมีแผนงานที่จะดำเนินการตรวจสอบจับกุมผุ้กระทำผิดตามคำสั่งนายก รัฐมนตรีที่ 2/2542 อย่างเข้มงวด ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2543 เป็นต้นไป ใน 7 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม เนื่องจากได้มีการสำรวจพบว่าทั้ง 7 จังหวัดมีความพร้อมที่จะดำเนินการบรรจุก๊าซหุงต้มลงถังที่ได้รับอนุญาตได้ ทันที โดยไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนถังก๊าซหุงต้มไม่เพียงพอ
2.4 การคุ้มครองผู้บริโภค ได้มีการดำเนินการดังนี้
(1) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง "ให้ธุรกิจก๊าซหุงต้มที่เรียกเงินประกันถังก๊าซหุงต้มเป็นธุรกิจที่ควบคุม รายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2542" โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีหลักฐานการรับเงิน และมอบให้แก่ผู้บริโภคในทันทีที่รับเงินประกันจาก-ผู้บริโภคที่ซื้อก๊าซหุง ต้ม และหลักฐานที่ออกให้แก่ผู้บริโภคต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและ อ่านได้ชัดเจน รวมทั้ง ข้อความที่ระบุให้ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับคืนเงินประกันเมื่อผู้บริโภคนำถัง ก๊าซหุงต้มคืนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ
(2) คณะกรรมการวิชาการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำมาตรฐานถังก๊าซปิโตรเลียม เหลว สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้จัดทำร่างแก้ไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวเสร็จ เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อนุมัติใช้เป็นกฎหมายบังคับต่อไป เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถทำความเข้าใจข้อความต่างๆ บนถังก๊าซหุงต้มได้ซึ่งเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในทางหนึ่ง
2.5 การปรับปรุงระบบความปลอดภัย ได้มีการดำเนินการดังนี้
(1) สพช. ได้ประสานกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ให้มีการออกระเบียบกำหนดให้โรงงานผลิตถังก๊าซหุงต้มที่ผลิตเพื่อจำหน่ายใน ประเทศ ต้องผลิตถังก๊าซหุงต้มตามคำสั่งซื้อของผู้ค้าก๊าซฯ (ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6) เท่านั้น รวมทั้ง ให้มีการแก้ไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถังก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยการกำหนดให้ถังก๊าซหุงต้มต้องมีชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ค้าน้ำมันตาม มาตรา 6 ไว้ที่โกร่งกำบัง เพื่อเป็นการกำกับให้ทราบถึงการผลิตถังก๊าซจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการที่ไม่ ใช่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 จะมีความผิดตามกฎหมาย
(2) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางซึ่งเป็นแกนนำในการดำเนินการปราบปราม และป้องกันการผลิตถังขาวเพื่อจำหน่ายในประเทศ ได้มีการเฝ้าตรวจสอบโรงงานผลิตถังก๊าซหุงต้ม จำนวน 6 โรงทั่วประเทศ
(3) สพช. ได้ประสานงานกับกรมโยธาธิการ ผ่อนผันให้โรงบรรจุสามารถบรรจุก๊าซหุงต้ม ลงถังขาวได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2543 เพื่อให้ผู้ค้าก๊าซ ผู้ประกอบการ โรงบรรจุ และผู้บริโภคที่ถือถังขาว มีระยะเวลาของการปรับตัว และให้ระยะเวลาสำหรับผู้ค้าก๊าซที่จะรับแลกถังขาวจากผู้บริโภค แต่เนื่องจากการขจัด ถังขาวจะกระทำได้เมื่อผ่านขั้นตอนการจัดระบบการค้าให้โรงบรรจุไม่มีการบรรจุ ก๊าซหุงต้มลงถังก๊าซหุงต้มที่ ตนเองไม่ได้รับอนุญาตให้บรรจุได้ตามกฎหมายเสียก่อน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้ผู้บริโภคใช้ถังขาวต่อไปได้อีกระยะหนึ่งเพื่อเป็นการบรรเทา ผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ใช้ถังขาวอยู่ในขณะนี้ โดยคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานได้มีมติเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 พิจารณาผ่อนผันให้ผู้ประกอบการโรงบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว สามารถบรรจุก๊าซฯ ลงถังขาวต่อไปได้อีก 1 ปี อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในชั้นต้น กรมโยธาธิการยินยอมผ่อนผันให้โรงบรรจุก๊าซฯ สามารถบรรจุก๊าซหุงต้มลงถังขาวที่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ม.อ.ก.) เท่านั้น และจะดำเนินการตรวจจับการบรรจุก๊าซหุงต้มลงถังขาวที่ไม่มี ม.อ.ก. อย่างจริงจังตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2543 เป็นต้นไป
(4) สพช. จะเริ่มดำเนินการจัดทำโครงการประชาสัมพันธ์ ตามโครงการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการใช้ก๊าซหุงต้มประมาณกลางปี 2543 นี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนผู้บริโภคที่ถือครองถังขาวอยู่ในปัจจุบัน ให้มีความกังวลและคำนึงถึงความปลอดภัยจากการใช้ก๊าซหุงต้ม
-2.6 มาตรฐานความปลอดภัย ได้มีการออกคำสั่งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ที่ 3/2542 เรื่อง" แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยในธุรกิจก๊าซปิโตรเลียม เหลว" ลงวันที่" 22 พฤศจิกายน 2542 เพื่อทำการปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยของการขนส่ง การบรรจุ การใช้ การจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ซึ่งเป็นประเด็นที่จำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการปรับปรุงมาตรฐานความ ปลอดภัย ในตัวของถังก๊าซเองที่เกิดจากระบบการค้าที่ไม่มีความเป็นธรรมในอดีต
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เรื่องมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย โดยเห็นชอบมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตลอดจนแนวทางกำกับดูแล โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2543 เป็นต้นมา การกำหนดมาตรฐานคุณภาพบริการดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ มาตรฐานด้านเทคนิค (Technical Standards) และมาตรฐานการให้บริการ (Customer Service Standards) โดยในส่วนของมาตรฐานการให้บริการที่การไฟฟ้ารับประกันกับผู้ใช้ไฟฟ้า (Guaranteed Standards) จะมีการกำหนดค่าปรับที่การไฟฟ้าจะต้องจ่ายให้ผู้ใช้ไฟฟ้าในกรณีที่ไม่สามารถ ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดได้ ซึ่งค่าปรับจะอยู่ระหว่าง 50 - 2,000 บาท
2. การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้มีการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพบริการ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว โดยมีความคืบหน้าดังนี้
2.1 การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้มีการดำเนินการสรุปได้ดังนี้
(1) จัดทำระเบียบการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายค่าปรับตาม มาตรฐานคุณภาพบริการ และแบบคำขออนุมัติจ่ายค่าปรับตามมาตรฐานคุณภาพบริการที่ กฟน. รับประกัน รวมทั้ง ออกประกาศการไฟฟ้านครหลวงเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2543 เรื่องมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้า นครหลวง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 เป็นต้นมา นอกจากนี้ได้มีการประชาสัมพันธ์และจัดทำเอกสารเพื่อเผยแพร่แก่ประชาชน รวมทั้ง การเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เนท หนังสือพิมพ์ และการให้สัมภาษณ์ทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์
(2) กำหนดแนวทางการชำระค่าปรับให้แก่ผู้ใช้ไฟออกเป็น 2 กรณี คือ การชำระค่าปรับให้แก่ผู้ใช้ไฟโดยอัตโนมัติ เช่น ในกรณีที่ กฟน. ไม่สามารถควบคุมระยะเวลาการดับไฟให้เป็นไปตามที่แจ้งประกาศไฟฟ้าดับได้ก็จะ ดำเนินการชำระค่าปรับให้กับผู้ใช้ไฟโดยอัตโนมัติเป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าของเดือน ถัดไป และการชำระค่าปรับให้ผู้ใช้ไฟหลังจากที่ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้และ กฟน. ได้ตรวจสอบแล้วว่าการปฏิบัติงานของ กฟน. ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดจริง โดย กฟน. จะชำระค่าปรับเป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าของเดือนถัดไป หรือในบางกรณีอาจจ่ายค่าปรับเป็นเงินสดหรือเช็คธนาคารตามความเหมาะสม
2.2 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้มีการดำเนินการสรุปได้ดังนี้
(1) จัดทำระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยมาตรฐานคุณภาพบริการ พ.ศ. 2543 แบบคำร้องขอค่าปรับตามมาตรฐานการให้บริการที่การไฟฟ้ารับประกัน รวมทั้งออกประกาศการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 เรื่องมาตรฐานการให้บริการที่ กฟภ. รับประกันกับผู้ใช้ไฟฟ้า โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 เป็นต้นมา พร้อมทั้งได้จัดส่งคู่มือขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงาน "มาตรฐานคุณภาพบริการของ กฟภ." ให้หน่วยงาน กฟภ. ทุกเขตทั่วประเทศ นอกจากนี้ ได้ดำเนินการด้านประชาสัมพันธ์ให้พนักงานภายในองค์กรและผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับ ทราบผ่านทางสถานีวิทยุต่างๆ การจัดทำใบประกาศเพื่อแจกจ่าย การลงบทความเผยแพร่ในวารสารของ กฟภ. และการจัดประชุมชี้แจงแก่ผู้บริหารของ กฟภ. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
(2) กำหนดแนวทางการชำระค่าปรับโดย กฟภ. จะชำระเงินค่าปรับให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าหลังจากที่ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้ ไฟ และได้ตรวจสอบแล้วพบว่าการปฏิบัติงานของ กฟภ. ไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด การชำระค่าปรับจะชำระเป็นเงินสดหรือเช็คธนาคารเท่านั้น โดย กฟภ. ไม่สามารถจ่ายคืนเป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าของเดือนถัดไปได้ เนื่องจากพื้นที่ในการให้บริการของ กฟภ. กว้างขวางมาก
3. แนวทางในการกำกับดูแลเรื่องมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้า ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ทำหน้าที่กำกับดูแลเรื่องมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายให้เป็น ไปตามที่กำหนด รวมทั้งทำการประเมินผลการดำเนินงานของการไฟฟ้าเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่ กำหนด ซึ่งขณะนี้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ดำเนินการจัดทำแบบฟอร์มสำหรับบันทึกข้อมูล ผลการดำเนินงาน ประกอบด้วยข้อมูลการดำเนินงานด้านเทคนิค การดำเนินงานด้านการให้บริการทั่วไป และการดำเนินงานด้านการให้บริการที่การไฟฟ้ารับประกันกับผู้ใช้ไฟฟ้าแยกตาม เขตจำหน่ายไฟ ทั้งนี้ สพช. จะประสานงานกับ กฟน. และ กฟภ. ในการจัดส่งข้อมูลให้ สพช. ใช้ประกอบการประเมินผลการดำเนินการต่อไป
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
ระเบียบวาระที่ 3.4 ความคืบหน้าในการดำเนินงานตามแผนระดมทุนจากภาคเอกชน ในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 เห็นชอบแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการระดมทุนจากพันธมิตรร่วมทุน มาเป็นการระดมทุนจากประชาชนทั่วไป ซึ่งพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะได้รับการจัดสรรหุ้นในบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 15 ตามราคามูลค่าที่ตราไว้ (ราคา par) โดยโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด หลังจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะประกอบด้วย ประชาชนทั่วไป ร้อยละ 40 พนักงาน กฟผ. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพร้อยละ 15 และ กฟผ. ร้อยละ 45
2. กฟผ. ได้มีการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้า ราชบุรี ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยมีความคืบหน้าดังนี้
2.1 กฟผ. ได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 โดยมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท และ กฟผ. ถือหุ้นร้อยละ 100 และต่อมาบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด ได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (บริษัทในเครือ) เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2543 โดยมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 100
2.2 กฟผ. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน เทคนิค กฎหมาย และประเมินราคาทรัพย์สิน เพื่อ ดำเนินการตามแผนระดมทุนฯ ได้แก่ 1) ที่ปรึกษาการเงิน ประกอบด้วยกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด บริษัท Dresdner Kleinwort Benson Advisory Services (Thailand) Ltd. และบริษัท Lehman Brothers (Thailand) Ltd. 2) ที่ปรึกษากฎหมาย ได้แก่ บริษัท Hunton & Williams (Thailand) Ltd. 3) ที่ปรึกษาด้านเทคนิค ได้แก่ บริษัท Sargent & Lundy Engineers Ltd. 4) ที่ปรึกษาประเมินราคาทรัพย์สิน ประกอบด้วย 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท American Appraisal (Thailand) Ltd. บริษัท Jones Lang LaSalle (Thailand) Ltd. บริษัท Arthur Andersen Business Advisory Ltd. และ บริษัท Brooke International (Thailand) Ltd.
2.3 กฟผ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานตามแผนระดมทุนฯ ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นประธาน และประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักนายกรัฐมนตรี บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด และ กฟผ.ร่วมเป็นกรรมการ คณะกรรมการดำเนินการฯ ได้มีการประชุมไปแล้วรวม 3 ครั้ง โดยมีการพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ ร่างสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สิน ร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และร่างสัญญา ซื้อขายก๊าซธรรมชาติ ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการฯ ได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สิน และมีมติรับทราบสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โดยให้ กฟผ. นำข้อสังเกตของคณะกรรมการดำเนินการฯ ไปพิจารณาหาข้อสรุปในประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ส่วนร่างสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติได้มีมติเห็นชอบในหลักการ และมอบหมายให้ กฟผ. รับไปเจรจากับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ในประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อยุติ และให้นำผลการเจรจารายงานให้คณะกรรมการดำเนินการฯ พิจารณาต่อไป ซึ่งสัญญาหลักทั้ง 3 สัญญาดังกล่าวข้างต้นคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน และจะนำเสนอเพื่อขออนุมัติจากรัฐบาลต่อไป
2.4 ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่างบริษัทผลิต ไฟฟ้าราชบุรี จำกัด และ ปตท. ว่าจะมีลักษณะคล้ายกับสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่าง ปตท. กับบริษัทผู้ผลิต ไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producer: IPP) สำหรับปัญหาเรื่องภาระ Take or Pay ระหว่าง กฟผ. กับ ปตท. อันเกิดจากความล่าช้าในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าราชบุรี จะต้องมีการเจรจาหาข้อสรุประหว่าง กฟผ. และ ปตท. ต่อไป โดย สพช. จะเป็นตัวกลางในการเจรจาเพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว ซึ่งผลการเจรจาครั้งล่าสุดได้มีการพิจารณาว่าภาระที่เกิดขึ้นจริงคือ ภาระด้านดอกเบี้ยซึ่งขณะนี้ ปตท. มีอยู่กว่า 7,400 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ภาระดังกล่าวอาจลดลงได้หากมีปริมาณความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น หรือ ปตท. สามารถหาแหล่งเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น ดังนั้น มาตรการที่สำคัญในการแก้ปัญหา Take or Pay ก็คือ การส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรีเครื่องที่ 1 และ 2 จะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน และพฤศจิกายน 2543 ตามลำดับ สำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันก๊าซ (Gas Turbine) ขณะนี้มีการเดินเครื่องแล้วแบบ Open Cycle ถึงแม้ประสิทธิภาพจะไม่สูงเต็มที่ แต่หากสนับสนุนให้ใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นก็ยังคุ้มค่ากว่าการเดินเครื่องโรง ไฟฟ้าอื่นของ กฟผ. ที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง นอกจากนี้ ต้องเร่งดำเนินการก่อสร้างท่อส่งก๊าซฯ ราชบุรี - วังน้อย ให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ก๊าซฯ จากแหล่งยาดานา สหภาพพม่า โดยการจัดส่งก๊าซให้กับโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ อาทิ IPT และ TECO ที่จังหวัดราชบุรี
3. สำหรับการดำเนินการในระยะต่อไป มีเรื่องที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินการฯ เพื่อพิจารณาก่อนนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการ กฟผ. และคณะรัฐมนตรีตามลำดับ ได้แก่ การขออนุมัติราคาทรัพย์สินของโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีที่ กฟผ. จะขายและโอนให้บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (บริษัทฯ) การขออนุมัติอัตราค่าไฟฟ้าที่กำหนดในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า การขออนุมัติให้ กฟผ. ขายและโอนทรัพย์สินโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีให้บริษัทฯ และการขออนุมัติให้ กฟผ. ซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีตามร่างสัญญาซื้อขาย ไฟฟ้า
การพิจารณาของที่ประชุม
1.รองนายกรัฐมนตรี (นายบัญญัติ บรรทัดฐาน) ได้ให้ข้อสังเกตว่าควรเร่งดำเนินการหาข้อสรุปการ แก้ไขปัญหา Take or Pay ระหว่าง กฟผ. และ ปตท. ให้แล้วเสร็จโดยเร็วซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานต่างเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก ทั้งสิ้น และหากสามารถหาข้อยุติได้เร็วก็จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการระดมทุนใน โครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีให้สามารถดำเนินการได้ตามแนวทางที่กำหนดไว้ ซึ่งจะเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีต่อนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของประเทศใน ภาพรวมต่อไป
2.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายพิสิฐ ลี้อาธรรม) ได้ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาได้ มีการดำเนินการแปรรูป กฟผ. บางส่วนโดยการจัดตั้ง บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด และกระจายหุ้นในส่วนของ กฟผ. ออกไป ซึ่งในขณะนี้ กฟผ. ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทดังกล่าว และมีบทบาทในการบริหารงานของบริษัท พอสมควร และในการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรี โดยการจัดตั้งบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด ขึ้น กฟผ. ก็เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงควรระมัดระวังในเรื่องความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่าง 2 บริษัทด้วย (Conflict of Interest) เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทดำเนินธุรกิจในลักษณะเดียวกันและต่างก็จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ กฟผ. จึงควรเร่งดำเนินการลดสัดส่วนการถือหุ้นและบทบาทการบริหารงานในทั้ง 2 บริษัทนี้โดยเร็วเพื่อให้เกิดความอิสระในการดำเนินงานและบริหารงานอย่างแท้ จริง
3.ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ชี้แจงว่า ได้มีการกำหนดขั้นตอนการลดสัดส่วนการถือหุ้นของ กฟผ. ในกิจการผลิตไฟฟ้าไว้แล้วในการศึกษาเรื่อง "การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า" โดย สพช. ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษานำโดย บริษัท Arthur Andersen จัดทำการศึกษา ซึ่งการศึกษาได้เสร็จสมบูรณ์แล้วและคาดว่าจะนำเสนอที่ประชุมในครั้งนี้ แต่เนื่องจากผลการศึกษาดังกล่าวต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ กฟผ. ก่อน ดังนั้นฝ่ายเลขานุการฯ จะนำเสนอผลการศึกษาต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติในการประชุม ครั้งต่อไป
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 5 ราคาค่าไฟฟ้าโครงการน้ำเทิน 2
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าใน สปป. ลาว เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ประเทศไทย จำนวน 3,000 เมกะวัตต์ โดยในปัจจุบันโครงการ ที่มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วมีจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการน้ำเทิน-หินบุน และโครงการห้วยเฮาะ ซึ่งทั้งสองโครงการได้จ่ายกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์เข้าระบบของการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แล้ว ในส่วนของโครงการที่ยังไม่มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า สปป. ลาว ได้จัดลำดับความสำคัญของโครงการ-ที่จะส่งมอบไฟฟ้าในเดือนธันวาคม 2549 ได้แก่ โครงการน้ำเทิน 2 น้ำงึม 2 และน้ำงึม 3 และโครงการที่จะส่งมอบไฟฟ้าในเดือนมีนาคม 2551 ได้แก่ โครงการลิกไนต์หงสา โครงการเซเปียน-เซน้ำน้อย และโครงการเซคามาน 1 ทั้งนี้ โครงการลิกไนต์หงสา ฝ่ายไทยจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ โดยเจรจาควบคู่ไปกับ 3 โครงการแรก ซึ่งจะส่งมอบในเดือนธันวาคม 2549 หากโครงการใดสามารถเจรจาและตกลงจนได้ข้อยุติก่อนก็ให้ส่งมอบไฟฟ้าก่อน โครงการอื่น
2. โครงการน้ำเทิน 2 มีขนาดกำลังการผลิต ณ จุดส่งมอบ 920 เมกะวัตต์ โดยมีพลังงานไฟฟ้า-ส่วนที่ประกันการรับซื้อที่จะส่งมอบให้แก่ กฟผ. รวมทั้งสิ้น 5,354 ล้านหน่วยต่อปี เป็นระยะเวลา 25 ปี โครงการนี้จะก่อสร้างสายส่งขนาด 500 kV เชื่อมโยงจากโรงไฟฟ้าในแขวงคำม่วน สปป. ลาว ผ่านสะหวันนะเขต ข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งไทยที่สถานีไฟฟ้าร้อยเอ็ด 2 ทั้งนี้ กลุ่มผู้ลงทุนโครงการน้ำเทิน 2 ประกอบด้วย รัฐบาล สปป.ลาว ถือหุ้นร้อยละ 25 อีกร้อยละ 75 ถือหุ้นโดย Nam Theun 2 Electricity Consortium ซึ่งประกอบด้วย Electricite de France ร้อยละ 30 Italian-Thai Development ร้อยละ 15 Transfield ร้อยละ 10 Jasmine International ร้อยละ 10 และ Merrill Lynch Phatra Securities ร้อยละ 10 ประเมินว่าโครงการนี้จะใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,227 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 46,600 ล้านบาท
3. คณะกรรมการซื้อขายไฟฟ้าของทั้ง 2 ประเทศ ได้เริ่มดำเนินการเจรจาราคาค่าไฟฟ้าโครงการน้ำเทิน 2 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2536 อย่างไรก็ดี ในระหว่างที่กำลังเจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้าอยู่นั้น ธนาคารโลก ได้ขอให้กลุ่มผู้ลงทุนโครงการน้ำเทิน 2 และรัฐบาล สปป.ลาว ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเพิ่มเติม ซึ่งเป็นเหตุให้ MOU หมดอายุลง ต่อมาคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติลาว (Lao National Committee for Energy : LNCE) แจ้งให้ กฟผ. ทราบว่าธนาคารโลกได้ให้ความเห็นชอบกระบวนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และมีมติสนับสนุนด้านการค้ำประกันเงินกู้ให้แก่โครงการน้ำเทิน 2 แล้ว ดังนั้นในเดือนมีนาคม 2541 LNCE ได้เสนอขอเริ่มเจรจาราคาค่าไฟฟ้าโครงการนี้อีกครั้งหนึ่ง
4. หลังจากนั้นทั้ง 2 ฝ่าย ได้มีการเจรจาราคาค่าไฟฟ้าหลายครั้งและได้คืบหน้ามาโดยลำดับ โดยทั้ง 2 ฝ่ายเห็นชอบในหลักการคำนวณค่าไฟฟ้าโดยใช้ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ และหลักการซื้อขายไฟฟ้าแบบ Power Pool ซึ่งใน ที่สุดคณะกรรมการซื้อขายไฟฟ้าของทั้ง 2 ประเทศ ได้เห็นชอบราคาค่าไฟฟ้าโครงการน้ำเทิน 2 โดย กฟผ. ตกลงที่จะประกันการรับซื้อ Primary Energy (PE) 4,406 ล้านหน่วยต่อปี Secondary Energy ในส่วนแรก (SE1) 615 ล้านหน่วยต่อปี และ Secondary Energy ส่วนที่สอง (SE2) อีก 333 ล้านหน่วยต่อปี โดยมีเงื่อนไขว่าปริมาณการประกันรับซื้อทั้งหมดของทั้งสามส่วนรวมกันจะต้อง ไม่เกินร้อยละ 95 ทั้งนี้ อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมของทั้ง PE SE1 และ SE2 จะอยู่ที่ระดับ 4.219 เซนต์สหรัฐ/กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้โครงการนี้มีรายได้ประมาณปีละ 8,600 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 25 ปี ดังมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
อัตราค่าไฟฟ้าและเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าของโครงการน้ำเทิน 2
ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ประกันการรับซื้อเฉลี่ยต่อปี ตลอดอายุสัญญา (ล้านหน่วย/ปี) |
อัตราค่าไฟฟ้า (เซนต์สหรัฐ/กิโลวัตต์ชั่วโมง) |
|
1. อัตราค่าไฟฟ้าของ PE1 + SE1 + SE2 ที่ประกันการรับซื้อ | ||
|
4,406 | 4.664 |
|
615 | 2.332 |
|
333 | 1.809 |
|
5,354 | 4.219 |
2. อัตราค่าไฟฟ้าของ SE2 ส่วนเกินจากที่ประกันการรับซื้อ (กฟผ. จะซื้อหรือไม่ก็ได้) | SE2 ส่วนเกิน | |
3. ใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ 38 บาท/1 ดอลล่าร์สหรัฐ ในการคำนวณค่าไฟฟ้าส่วนที่ต้องจ่ายเป็นเงินบาท |
ข้อสังเกตของที่ประชุม
ที่ประชุมเห็นควร ให้ กฟผ. พิจารณารับซื้อพลังงานไฟฟ้า SE2 ส่วนเกินจากที่ประกันการรับซื้อในช่วง Off-Peak ให้มากที่สุด เพื่อทดแทนพลังงานไฟฟ้าในส่วนที่ กฟผ. มีการเดินเครื่องในระบบซึ่งมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้า สูงกว่าราคาค่าไฟฟ้าที่จะรับซื้อในส่วนของ SE2 ส่วนเกินซึ่งเท่ากับ 1.5 เซนต์สหรัฐ/กิโลวัตต์ชั่วโมง หรือประมาณ 57 สตางค์ต่อหน่วย เท่านั้น
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบราคาค่าไฟฟ้าของโครงการน้ำเทิน 2 ที่ระดับ 4.219 เซนต์สหรัฐ/กิโลวัตต์ชั่วโมง ตลอดอายุโครงการ (เฉลี่ยรวมราคาที่ประกันการรับซื้อ Primary Energy, Secondary Energy ในส่วนแรก และ Secondary Energy ในส่วนที่สอง) และเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าที่คณะกรรมการซื้อขายไฟฟ้าของทั้งสองประเทศ คือ ไทย และ สปป. ลาว ได้เจรจากันจนได้ข้อยุติแล้ว โดยมีรายละเอียดตามข้อ 4
2.มอบหมายให้คณะกรรมการประสานความร่วมมือพัฒนาไฟฟ้าใน สปป. ลาว (คปฟ-ล.) นำราคา ค่าไฟฟ้าของโครงการน้ำเทิน 2 ที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ 1 ไปเจรจาเพื่อจัดทำและสามารถลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) และสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement : PPA) ของโครงการระหว่าง กฟผ. กับกลุ่มผู้ลงทุนโครงการน้ำเทิน 2 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้โครงการน้ำเทิน 2 สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์เข้าระบบของ กฟผ. ได้ทันตามกำหนดในเดือนธันวาคม 2549
เรื่องที่ 6 เรื่องอื่นๆ
รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์) ได้ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมต่อที่ประชุมและมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ รับไปดูแลในเรื่องต่อไปนี้
1. การรณรงค์ประหยัดพลังงานทั้งในภาครัฐและเอกชน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาได้ฟังเสียงจากประชาชนว่าการรณรงค์เพื่อลดการใช้ พลังงานยังไม่มากพอ และหน่วยงานราชการก็ยังไม่มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการใช้ไฟตามท้องถนน ซึ่งจะทำให้ประชาชนมองว่าภาครัฐไม่มีความจริงใจที่จะประหยัดการใช้พลังงาน อย่างจริงจัง
2. การเร่งรัดหาพลังงานมาทดแทนการใช้น้ำมัน ขณะนี้มีโครงการวิจัยหลายโครงการทั้งที่เป็นโครงการของ สพช. และหน่วยงานอื่นที่กำลังดำเนินการศึกษาการนำพืชเศรษฐกิจมาใช้เป็นพลังงานทด แทนน้ำมัน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัย และประชาชนก็ให้ความสนใจอยู่ ในอนาคตหากจะพัฒนาขึ้นมาใช้อย่างจริงจังจะมีความคุ้มทุนหรือไม่ จึงขอให้ สพช. รายงานความคืบหน้าการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ให้ที่ประชุมทราบ ในครั้งต่อไปด้วย
3. หลักเกณฑ์การอนุญาตตั้งสถานีบรรจุก๊าซและรถขนส่งก๊าซ ในช่วงที่ผ่านมาจะพบว่ามีอุบัติเหตุรถก๊าซระเบิด หรือถังก๊าซระเบิดเกิดขึ้น และทำให้ประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงขอให้คณะอนุกรรมการ ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลความปลอดภัยในเรื่องนี้ได้พิจารณาวางหลักเกณฑ์ให้ มีความรัดกุมด้วย
กพช. ครั้งที่ 74 - วันพุธที่ 5 เมษายน 2543
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 4/2543 (ครั้งที่ 74)
วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2543 เวลา 10.00 น.
ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล
1.ความก้าวหน้าในการเจรจาซื้อขายไฟฟ้ากับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน
2.รายงานผลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง
3.สถานการณ์ราคาและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
4.การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันราคาสูง
5.การแก้ไขปัญหาภาคการขนส่งทางถนนเนื่องจากปัญหาราคาน้ำมัน
6.การคืนหลักค้ำประกันของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP)
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
รายงานความก้าวหน้าในการเจรจาซื้อขายไฟฟ้ากับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป.ลาว) และสาธารณรัฐประชาชนจีน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว มีความก้าวหน้าสรุปได้ดังนี้
1.1 การเจรจาค่าไฟฟ้าของโครงการน้ำงึม 1 และน้ำลึกระหว่างคณะกรรมการซื้อขายไฟฟ้าของทั้ง 2 ประเทศ ได้ข้อยุติแล้ว โดย กฟผ.จะรับซื้อไฟฟ้าในช่วง Off-Peak ที่ราคา 1.14 บาทต่อหน่วย ส่วนในช่วง Peak จะรับซื้อไฟฟ้าที่ราคา 1.22 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้อัตราค่าไฟฟ้าตามที่ตกลงดังกล่าวจะใช้ซื้อขายเป็นระยะเวลา 4 ปี โดยจะเริ่มใช้ย้อนหลังตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2542 เป็นต้นมาจนถึง 30 กันยายน 2546 และจะชำระเงินค่าไฟฟ้าด้วยสกุลดอลล่าร์สหรัฐทั้งหมด นอกจากนี้ฝ่ายไทยยินดีรับในหลักการว่า หากฝ่ายลาวสามารถดำเนินการผลิตไฟฟ้า โครงการน้ำงึม 1 และน้ำลึก แบบ Firm Basis ได้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมกันพิจารณาทบทวนอัตราค่าไฟฟ้าใหม่อีก ครั้งหนึ่ง
1.2 โครงการที่คณะกรรมการประสานความร่วมมือพัฒนาไฟฟ้าใน สปป. ลาว (คปฟ-ล.) พิจารณารับซื้อภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทย และ สปป. ลาว จำนวน 3,000 เมกะวัตต์ มีโครงการที่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการน้ำเทิน- หินบุน ขนาด 187 เมกะวัตต์ และโครงการห้วยเฮาะ ขนาด 126 เมกะวัตต์ ทั้ง 2 โครงการได้จ่ายกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์เข้าระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย ( กฟผ.) แล้ว ส่วนโครงการที่ยังไม่มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า จำนวน 6 โครงการ ซึ่งรัฐบาล สปป. ลาว ได้จัดลำดับความสำคัญที่จะส่งมอบไฟฟ้าแล้ว แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย
(1) โครงการที่จะส่งมอบไฟฟ้าในเดือนธันวาคม 2549 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการ น้ำเทิน 2 โครงการน้ำงึม 2 และโครงการน้ำงึม 3 ในส่วนของโครงการน้ำเทิน 2 ซึ่งมีกำลังผลิต ณ จุดส่งมอบ 920 เมกะวัตต์ ปัจจุบันการเจรจาราคาค่าไฟฟ้าได้คืบหน้ามาโดยลำดับจนได้ข้อยุติแล้ว โดยราคาที่ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องและตกลงที่จะมีการซื้อขายกันอยู่ที่ระดับ 4.219 เซ็นต์/กิโลวัตต์ชั่วโมง โดยฝ่ายไทยตกลงที่จะประกันการรับซื้อ ไฟฟ้าไม่เกินร้อยละ 95 ของปริมาณการรับซื้อทั้งหมด ซึ่งข้อยุติของการเจรจาราคาไฟฟ้าดังกล่าว จะนำไปสู่การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) และสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ของโครงการน้ำเทิน 2 ต่อไป
(2) โครงการที่จะส่งมอบไฟฟ้าในเดือนมีนาคม 2551 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการลิกไนต์หงสา โครงการเซเปียน -เซน้ำน้อย และโครงการเซคามาน 1 ในส่วนของโครงการลิกไนต์หงสา ซึ่งมี กำลังผลิต ณ จุดส่งมอบ 608 เมกะวัตต์ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี สปป. ลาว ( พลเอกสีสะหวาด แก้วบูนพัน) ได้ร้องขอมายัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ขอให้ไทยพิจารณารับซื้อไฟฟ้าโครงการนี้เร็วขึ้นจากเดิม ที่กำหนดจะส่งมอบในเดือนมีนาคม 2551 เป็นในเดือนธันวาคม 2549 ซึ่งฝ่ายไทยยินดีรับโครงการนี้ไว้พิจารณาเป็นกรณีพิเศษ โดยคณะกรรมการซื้อขายไฟฟ้าของทั้ง 2 ประเทศ จะดำเนินการเจรจาโครงการนี้ควบคู่ไปกับโครงการน้ำเทิน 2 น้ำงึม 3 และน้ำงึม 2 ทั้งนี้ หากโครงการใดสามารถเจรจาและตกลงจนได้ข้อยุติก่อน ก็ให้ ส่งมอบไฟฟ้าก่อนโครงการอื่น แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงเดิม ซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้วจากรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศแล้ว กล่าวคือ ในเดือนธันวาคม 2549 ฝ่ายไทยจะรับซื้อไฟฟ้ารวมกันจาก สปป.ลาวได้เพียง 1,600 เมะวัตต์ เท่านั้น
2. การรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความก้าวหน้าสรุปได้ดังนี้
2.1 นับตั้งแต่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจรับซื้อไฟฟ้า เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2541 จนถึงปัจจุบัน ทั้งฝ่ายไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำ งานเพื่อดำเนินการเจรจาในรายละเอียดของการรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาชน จีนเรียบร้อยแล้ว
2.2 คณะผู้แทนบริษัทไฟฟ้าแห่งรัฐ และการไฟฟ้ายูนนานของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มาเยือนไทย เพื่อหารือในรายละเอียดของการรับซื้อไฟฟ้ากับ กฟผ. และ สพช. เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2543 ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย ได้ ข้อสรุปของผลการหารือที่สำคัญคือ โครงการผลิตไฟฟ้าจิงหงจะเป็นโครงการแรก ขนาด 1,500 เมกะวัตต์ ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน จะส่งมอบไฟฟ้าให้ไทยในปี 2556 ในส่วนโครงการอื่นๆ อีก 1,500 เมกะวัตต์ สาธารณรัฐประชาชนจีนจะส่งมอบไฟฟ้าให้ไทยในปี 2557 โดย กฟผ. จะบรรจุโครงการผลิตไฟฟ้าจิงหงและโครงการอื่นๆ ไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าในระยะยาวฉบับใหม่ ซึ่งคาดว่าจะจัดทำแล้วเสร็จภายในปี 2543
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 รายงานผลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง
รายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ สรุปได้ดังนี้
1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้
1.1 ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง (ศปนม.) ได้จัดชุดปฏิบัติการทางทะเล 3 ชุด เพื่อดำเนินการตามแผนป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงทาง ทะเล คือ ชุดสืบสวนและปราบปรามฝั่งอ่าวไทย ชุดสืบสวนและปราบปรามฝั่งอันดามัน และชุดสืบสวนพิเศษทางทะเล ตรวจเฝ้ามิให้มีการลักลอบกระทำผิดในทะเลทั้งสองฝั่ง ทำการตรวจสอบปริมาณน้ำมันในเรือประมง ตรวจสอบการขนถ่ายน้ำมันนำเข้าจากเรือบรรทุกน้ำมัน และจัดทำประวัติกลุ่มเรือประมงที่มีพฤติการณ์ลักลอบนำเข้าน้ำมันโดยหลีก เลี่ยงภาษี
1.2 ศปนม. ได้จัดชุดปฏิบัติการทางบกเพื่อดำเนินการตามแผนการปฏิบัติการป้องกันและปราบ ปรามการส่งออกทางบกอันเป็นเท็จโดยเน้นพื้นที่ที่มีด่านศุลกากร และมียอดการส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงสูงกว่า 1 ล้านลิตรต่อเดือน โดยดำเนินการเฝ้าด่านเป้าหมายสำคัญ เพื่อควบคุมให้มีการส่งออกจริง
1.3 ศปนม. ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำสารโซลเว้นท์ไป ปลอมปนในน้ำมันเชื้อเพลิง โดยตรวจสอบติดตามโรงงาน ตัวแทนหน่าย ผู้ขนส่งและการขนส่ง ผู้ใช้ปลายทาง สถานีบริการน้ำมัน และเฝ้าคลังโรงกลั่นเป้าหมาย รวมทั้ง ยังมีมาตรการทางด้านการข่าว สืบหาเบาะแสข้อมูลในทางลับ
1.4 ในช่วงที่ผ่านมา ศปนม. สามารถจับกุมผู้กระทำผิดคดีลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้จำนวนทั้งสิ้น 53 ราย มีผู้ต้องหาจำนวน 91 คน มีปริมาณน้ำมันที่จับกุมได้ทั้งสิ้น จำนวน 635,591 ลิตร แยกเป็นน้ำมันเบนซิน 142,369 ลิตร น้ำมันดีเซล 399,222 ลิตร สารโซลเว้นท์ 71,000 ลิตร และน้ำมันเตา 23,000 ลิตร ตามลำดับ รวมมูลค่าของกลางทุกชนิดที่จับกุมได้เป็นเงินประมาณ 113 ล้านบาท
2. กรมศุลกากรได้ดำเนินการออกคำสั่งกรมศุลกากรที่ 44/2542 เพื่อรองรับกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างไทยและลาว เป็นผลให้สินค้าผ่านแดนทุกชนิด รวมถึงน้ำมันผ่านแดนของลาวที่ ตกค้างอยู่ในไทยครบ 90 วัน นับแต่วันนำเข้าเป็นของตกค้าง เพื่อให้ฝ่ายไทยสามารถดำเนินการกับสินค้า ดังกล่าวได้ และในช่วงที่ผ่านมากรมศุลกากรสามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ จำนวน 8 ราย ผู้ต้องหา 24 คน ปริมาณน้ำมันดีเซลที่จับกุมได้ จำนวนทั้งสิ้น 370,142 ลิตร คิดเป็นมูลค่าน้ำมันและเรือของกลางที่จับกุมได้ ประมาณ 24 ล้านบาท
3. กรมสรรพสามิต ได้มีการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้
3.1 โครงการการติดตั้งมิเตอร์เพิ่มเติมพร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายระบบข้อมูล จะดำเนินการติดตั้งและทดสอบระบบทั้งหมดภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2543 โดยคลังเป้าหมาย 4 คลังแรก เดิมจะติดตั้งเสร็จภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2542 แต่บริษัทฯ ได้ขอขยายเวลาติดตั้งงวดแรกออกไปอีก 90 วัน
3.2 โครงการเติมสาร Marker ในน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ขณะนี้กรมสรรพสามิตได้รับมอบสาร Marker และเครื่องมือตรวจสอบแล้วจำนวนหนึ่ง สำหรับอุปกรณ์เติมสาร ได้มอบให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมเป็นผู้ออกแบบ เครื่องฉีดสาร โดยให้กรมสรรพสามิตเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ ส่วนระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการเติมสารนั้น กรมสรรพสามิตได้ส่งร่างระเบียบดังกล่าวให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจร่าง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2543
3.3 โครงการควบคุมการใช้สารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอน (Solvent) มิให้นำไปปลอมปนในน้ำมันเชื้อเพลิง กรมสรรพสามิตได้ดำเนินการตรวจสอบโรงงานผู้ใช้สาร และได้มีการเพิกถอนใบอนุญาตไปแล้ว 50 ราย อยู่ระหว่างการส่งดำเนินคดี เตรียมส่งฟ้องศาล และรวบรวมหลักฐานอีก 46 ราย สำหรับการตรวจสอบการสั่งซื้อสารละลายจากโรงงานอุตสาหกรรมพบว่ามีบางรายกระทำ ผิดจริงจึงระงับการอนุญาตผลิตและจากการตรวจสอบบัญชีเอกสารโรงงานผู้ผลิต ตัวแทน ผู้ใช้ กรณีไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ค่าปรับเป็นจำนวน 1.9 ล้านบาท นอกจากนี้ได้มีการจัดการฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่สรรพ สามิตที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง จัดชุดปฏิบัติการตรวจของจังหวัด สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ 10 คดี มีปริมาณสารละลายที่จับกุมได้จำนวน 200,400 ลิตร คิดเป็นเงินค่าปรับ 1.8 ล้านบาท นอกจากนั้นได้ปรับปรุงแก้ประกาศราคาที่ใช้เป็นฐานในการเก็บภาษีโซลเว้นท์จาก 7.50 บาท/ลิตร เป็น 12 บาท/ลิตร เพื่อลดแรงจูงใจในการปลอมปนน้ำมัน ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2542
4. กรมทะเบียนการค้า ได้ส่งหน่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเคลื่อนที่ตามแผนปฏิบัติการประจำปี ตรวจสอบใน 12 จังหวัด จำนวน 668 ราย พบผิด 26 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 3.9 และจากจำนวนตัวอย่าง 1,834 ตัวอย่าง พบผิด 35 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 1.9 นอกจากนี้ ได้ออกตรวจสอบคุณภาพน้ำมันภายใต้โครงการธงเชียว ร่วมกับ ศปนม. เพื่อกระตุ้นและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการค้าน้ำมันจำหน่ายน้ำมันเชื้อ เพลิงที่มี คุณภาพ รวมทั้ง ได้ทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำร้องเรียนของผู้บริโภค ตรวจสอบแหล่งต้องสงสัย ร่วมกับ ศปนม.สืบหาเบาะแสแหล่งปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง และดำเนินคดีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 สถานการณ์ราคาและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ผลการประชุมรัฐมนตรีน้ำมันโอเปค ณ กรุงเวียนนา ได้ข้อตกลงที่ไม่เป็นเอกฉันท์ โดยกลุ่มโอเปคไม่รวมอิหร่านจะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน 1.45 ล้านบาร์เรล/วัน หรือร้อยละ 7 ของเพดานการผลิตเดิม ตั้งแต่เดือนเมษายน 2543 เป็นต้นไป แต่ต่อมาอิหร่านได้ออกมาแสดงท่าทีว่าจะเพิ่มการผลิตในระดับ 264,000 บาร์เรล/วัน ตามโควต้าที่ได้รับ ทำให้เพดานการผลิตของโอเปครวมเพิ่มขึ้น 1.716 ล้านบาร์เรล/วัน นอกจากนี้ เม็กซิโกและนอร์เวย์ ได้ประกาศเพิ่มปริมาณการผลิต 150,000 และ 100,000 บาร์เรล/วัน ตามลำดับ เป็นผลให้ราคาน้ำมันดิบลดลง 0.5-1 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล แล้วทรงตัวอยู่ในระดับ 23.7 - 26.6 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากปริมาณน้ำมันสำรองยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งการเพิ่มปริมาณการผลิตที่จะทำให้ตลาดอยู่ในภาวะสมดุลจะต้องเพิ่มในระดับ 2.0 - 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ดังนั้น การเพิ่มปริมาณการผลิตดังกล่าวจึงไม่มีผลให้ราคาลดลงอย่างรวดเร็ว จนกว่าปริมาณน้ำมันสำรองจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับปกติ แต่อย่างไรก็ตาม ในการประชุมของโอเปคที่ผ่านมา ที่ประชุมได้เห็นชอบสูตรการปรับลดปริมาณการผลิตอัตโนมัติ เพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันดิบ ( เบรนท์) ให้อยู่ในช่วง 22-28 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
2. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ของเดือนมีนาคม 2543 ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบส่วนหนึ่ง และจากการลดกำลังกลั่นและปัญหาการปิดซ่อมแซมของโรงกลั่นหลายแห่ง ส่งผลให้ตลาดตึงตัวมากขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบ โดยราคาน้ำมันเบนซิน ดีเซล และเตา ปรับตัวสูงขึ้น 1.9, 3.8 และ 4.1 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ และ ณ วันที่ 30 มีนาคม 2543 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 92 ดีเซล และเตา อยู่ในระดับ 28.3, 27.2, 29.1 และ 26.7 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ
3. ราคาขายปลีกในเดือนมีนาคม น้ำมันเบนซินออกเทน 95 ปรับขึ้น 3 ครั้ง รวม 0.90 บาท/ ลิตร ปรับลง 6 ครั้ง รวม 1.5 บาท/ ลิตร เบนซินออกเทน 87 และ 91 ปรับขึ้น 3 ครั้ง รวม 0.90 บาท/ลิตร ปรับลง 6 ครั้ง รวม 1.8 บาท/ลิตร ส่วนดีเซลหมุนเร็วปรับขึ้น 3 ครั้ง รวม 1.0 บาท/ลิตร และปรับลง 4 ครั้ง รวม 1.00 บาท/ลิตร โดยในวันที่ 1 เมษายน 2543 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95,91,87 และดีเซลหมุนเร็วมีราคาอยู่ที่ระดับ 14.39, 13.39 , 12.97 และ 11.87 บาท/ ลิตร ตามลำดับ
4. ค่าการตลาดเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม อยู่ในระดับต่ำที่ 0.84-0.98 บาท/ ลิตร จากการปรับราคาขึ้นในระดับที่ต่ำและช้ากว่าราคาน้ำมันในตลาดโลก เป็นผลจากตลาดน้ำมันมีการแข่งขันสูงและต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปกติแล้วค่าการตลาดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์ของประเทศ อยู่ในระดับ 1.2- 1.3 บาท/ ลิตร แต่ในต้นเดือนเมษายน ค่าการตลาดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับ 0.90 บาท/ลิตร ส่วนค่าการกลั่นในเดือนมีนาคม ได้เพิ่มขึ้นมากเนื่องจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่เพิ่มมากกว่าราคาน้ำมันดิบ โดยอยู่ในระดับ 1.37 บาท/ลิตร ในขณะที่ค่าการกลั่นของปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับเพียง 0.49 บาท/ลิตร
5. เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ค่าการกลั่นได้ปรับตัวสูงขึ้นผิดปกติ ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อ มวลชน และมีการเรียกร้องให้รัฐหาทางลดราคา ณ โรงกลั่น เพื่อมิให้โรงกลั่นน้ำมันมีกำไรสูงเกินไป เช่น การให้ไปอิงตลาดอื่นแทนสิงคโปร์ หรือ การกำหนดราคาตามต้นทุนน้ำมันดิบ ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานสรุปความเป็นมา ข้อเท็จจริง และความเห็นดังนี้
5.1 โรงกลั่นน้ำมันประกาศราคาโดยกำหนดให้ราคาน้ำมันที่ผลิตในประเทศเท่ากับราคา นำเข้า (Import Parity Basis) โดยใช้ราคาสิงคโปร์เป็นเกณฑ์ เนื่องจากต้องแข่งขันกับการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจาก สิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่และอยู่ใกล้ที่สุด แต่เมื่อกำลังการกลั่นในประเทศเกินความต้องการและต้องมีการส่งออก ราคาส่งออกมักจะถูกกว่าราคานำเข้า โรงกลั่นจึงพยายามจำหน่ายน้ำมันภายในประเทศก่อนส่งออกโดยให้ส่วนลดราคา ณ โรงกลั่นในบางช่วง
5.2 ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ มีการเคลื่อนไหวในทิศทางและระดับที่ใกล้เคียงกับตลาดอื่นๆ มีบางช่วงที่ราคาเปลี่ยนแปลงในทิศทางหรือระดับที่แตกต่างกับตลาดอื่น เป็นเพราะปริมาณน้ำมัน ในตลาดไม่มีความสมดุล แต่จะมีน้ำมันไหลเข้า/หรือออกจากตลาดอื่น จนทำให้ระดับราคาปรับตัวสมดุลกับตลาดอื่น นอกจากนี้ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์มีความผันผวนน้อยกว่าตลาดอื่นๆ และจากข้อเท็จจริงที่โรงกลั่นไทยยังต้องแข่งขันกับการนำเข้าจากสิงคโปร์ ดังนั้น การกำหนดราคาของโรงกลั่นโดยอ้างอิงราคาในตลาดจรสิงคโปร์ จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน
5.3 การกำหนดราคา ณ โรงกลั่น โดยใช้หลักการ Cost-plus Basis ซึ่งกำหนดจากต้นทุนราคา น้ำมันดิบบวกด้วยค่าใช้จ่ายของโรงกลั่นคงที่ไม่มีความเหมาะสม เพราะราคาน้ำมันดิบมีความผันผวนเช่นเดียวกับราคาน้ำมันสำเร็จรูป และต้นทุนการกลั่นของไทยแพงกว่าสิงคโปร์ ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันภายในประเทศแพงขึ้น และทำให้สภาพการแข่งขันในตลาดน้ำมันถูกบิดเบือน เนื่องจากต้นทุนไม่สะท้อนถึงสภาพการแข่งขันที่แท้จริง
5.4 ในช่วงวันที่ 14-21 มีนาคมที่ผ่านมา โรงกลั่นน้ำมันได้ลดราคาลง 1 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (0.25 บาท/ ลิตร) เป็นเวลา 7 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่ค่าการกลั่นของโรงกลั่นสูงผิดปกติ ส่วนแนวทางในการลดราคา ณ โรงกลั่นอย่างถาวรนั้น เนื่องจากประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปบางส่วนในราคาต่ำกว่าราคาที่ จำหน่ายในประเทศ ดังนั้น ประชาชนในประเทศควรได้รับประโยชน์จากราคาส่งออกที่ถูกกว่าราคาจำหน่ายใน ประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 มอบหมายให้ ปตท. รับไปเจรจากับโรงกลั่นน้ำมัน เพื่อปรับลดราคา ณ โรงกลั่นให้ลงมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับราคาส่งออก
6. ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในตลาดโลก เดือนเมษายน 2543 ได้ปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับ 302 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ทำให้ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศ อยู่ในระดับ 11.45 บาท/ กก. มีอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 6.79 บาท/กก. ฐานะกองทุนฯ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2543 อยู่ในระดับ 3,361 ล้านบาท มีรายรับจากน้ำมันชนิดอื่นในระดับ 129 ล้านบาท/เดือน และรายจ่ายเพื่อชดเชยราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว 884 ล้านบาท/เดือน โดยมีเงินไหลออกจากกองทุนฯ สุทธิ 756 ล้านบาท/เดือน คาดว่า กองทุนฯ จะสามารถตรึงราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มได้ประมาณ 4 เดือน
มติของที่ประชุม
1.ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์ราคาและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และมอบหมายให้ สพช. รับไปดำเนินการจัดเตรียมมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ต่อไป
2.มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ( นายสาวิตต์ โพธิวิหค ) ออกแถลงการณ์สนับสนุนการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปค
เรื่องที่ 4 การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันราคาสูง
สรุปสาระสำคัญความก้าวหน้าในการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 และเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2543 เกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความก้าวหน้าเพิ่มเติมในแต่ละมาตรการ สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน มีความก้าวหน้าสรุปได้ดังนี้
1.1 การดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม รวมทั้งอาคารของรัฐ
กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับ และมีหน้าที่กำกับดูแลการอนุรักษ์พลังงานในโครงการโรงงานควบคุมและอาคารควบ คุม รวมทั้ง อาคารของรัฐ ได้อนุมัติเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการว่าจ้าง ตัวแทนดำเนินการเพื่อบริหารงานตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงานในอาคารของรัฐ จำนวน 200 แห่ง และเพื่อบริหารการปรับปรุงอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงานในอาคารของรัฐ จำนวน 160 แห่ง รวมทั้ง การว่าจ้างตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงานในอาคารของรัฐ จำนวน 170 แห่ง รวมเป็นเงินประมาณ 32.896 ล้านบาท นอกจากนี้ ได้อนุมัติเงินกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้นในอาคาร ควบคุมที่กำลัง ใช้งานรวม 97 แห่ง และโรงงานควบคุมที่กำลังใช้งาน 169 แห่ง และการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานโดยละเอียดในอาคารควบคุมที่กำลังใช้ งานรวม 84 แห่ง รวมเป็นเงินประมาณ 158.643 ล้านบาท ตลอดจนอนุมัติเงินกองทุนฯ ให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง และวิทยาเขตสุราษฏร์ธานี เพื่อดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในอาคารที่อยู่ระหว่างการออกแบบหรือก่อสร้าง รวมวงเงินประมาณ 2.87 ล้านบาท
1.2 การดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในสาขาขนส่ง สพช. ได้จัดให้มีการสัมมนาโครงการทางเดียวกันไปด้วยกัน (Car Pool) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2543 เพื่อรับทราบแง่คิด มุมมอง และข้อเสนอแนะจากนักวิชาการ ผู้นำความคิด และผู้เกี่ยวข้องด้านการจราจร เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการบริหารและจัดกิจกรรม Car Pool ในอนาคต ซึ่งผลจากการสัมมนาสรุปได้ว่า กิจกรรม Car Pool จะประสบความสำเร็จได้เมื่อเป็น ส่วนหนึ่งในกิจกรรมที่เป็นภาพรวมของกิจกรรมเพื่อลดมลพิษ การประหยัดพลังงาน และการแก้ไขปัญหาการจราจร ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและต้องดำเนิน การติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอจึงจะเห็นผล
2. การเลือกใช้พลังงานให้เหมาะสม มีความก้าวหน้าในเรื่องของการส่งเสริมการใช้น้ำมันเบนซิน ให้ถูกชนิด โดย สพช. ได้นำเสนอ "โครงการประชาสัมพันธ์รณรงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ออกเทนของเบนซิน ที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์" ต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2543 เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ ในการดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ และกิจกรรมรณรงค์เพื่อให้มีการใช้น้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ จะเริ่มออกสู่สายตาประชาชน ในวันที่ 1 เมษายน 2543 นี้ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการเผยแพร่ภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ การซื้อเนื้อที่ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ การเผยแพร่สปอตประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ และกิจกรรมรณรงค์พิเศษ ได้แก่ การจัดสัมมนาสื่อมวลชน กิจกรรมรณรงค์กับสถานีบริการน้ำมันและศูนย์บริการอิสระ กิจกรรมรณรงค์กับรถจักรยานยนต์ รับจ้าง และกิจกรรมรณรงค์สอบถามข้อมูลทางโทรศัพท์อัตโนมัติ "สายด่วนออกเทน" เป็นต้น
3. การตรึงราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.) ได้ใช้ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายชดเชยเพื่อตรึงราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะสามารถตรึงราคาต่อไปได้จนถึงเดือนกรกฎาคม 2543 และหากราคาก๊าซฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้น จะใช้มาตรการการปรับหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคา ณ โรงกลั่น/ราคานำเข้า ก่อนดำเนินการปรับเพิ่มราคาขายส่งและราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว
4. การเจรจาปรับลดราคา ณ โรงกลั่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ได้เจรจาให้โรงกลั่นปรับลดราคาหน้าโรงกลั่นลง 1 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2543 ทำให้ ปตท. สามารถลดราคาขายปลีกให้กับผู้บริโภคได้ ดังนี้ เบนซิน 95 อัตรา 25 สตางค์/ลิตร , เบนซิน 91 อัตรา 45 สตางค์/ลิตร และดีเซลหมุนเร็ว อัตรา 25 สตางค์/ลิตร
5. มาตรการลดราคาน้ำมัน มีความก้าวหน้าสรุปได้ดังนี้
5.1 กลุ่มเกษตรกร
ปตท. จะลดราคาเบนซินและดีเซลจาก 0.15 บาท/ลิตร ในปัจจุบัน เป็น 0.25 บาท/ลิตร เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 - 30 มิถุนายน 2543 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวและเพาะปลูกใหม่ อีกทั้งต้องการจูงใจให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น และในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ปตท. ได้มีการจำหน่ายน้ำมันราคาถูกให้แก่เกษตรกรผ่านสถานีบริการรวม 274 แห่ง คิดเป็นปริมาณ 3.6 ล้านลิตร นอกจากนี้ ปตท. พร้อมที่จะขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมสถานีบริการทั่วประเทศ 1,500 แห่ง
5.2 กลุ่มประมง
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ( คชก.) ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2543 และได้มีมติอนุมัติให้ปรับอัตราชดเชยการขาดทุนราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตาม โครงการช่วยเหลือลดราคาน้ำมันให้ชาวประมง เฉพาะเรือขนาดเล็กที่มีความยาวต่ำกว่า 18 เมตร โดยให้คำนวณจากส่วนต่างระหว่างราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามประกาศของการ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 1 ของทุกเดือน เทียบกับราคา ณ วันที่ 7 กันยายน 2541 (ราคาลิตรละ 7.95 บาท) แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินลิตรละ 3.00 บาท โดยใช้เงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในวงเงินจ่ายขาดคงเหลือจากที่ ได้รับอนุมัติ และภายในระยะเวลาโครงการฯ ที่อนุมัติไว้เดิม นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ปตท. ได้จำหน่ายน้ำมันราคาถูกให้แก่ชาวประมงผ่านจุดจ่าย 100 แห่ง ให้แก่กลุ่มประมง 80 ราย โดยมีปริมาณการจำหน่ายจำนวน 9 ล้านลิตร
5.3 กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม
ขณะนี้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกำลังเร่งสำรวจจำนวนผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ขนาดกลางและย่อมที่อยู่ในข่ายได้รับความช่วยเหลือจาก ปตท. คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2543 ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 100,000 ราย อย่างไรก็ตาม ปตท. จะเริ่มจำหน่ายน้ำมันให้ผู้ประกอบการฯ ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2543 จนถึง 15 มิถุนายน 2543 โดยให้ส่วนลดน้ำมันดีเซล 0.15 บาท/ลิตร และน้ำมันเตา 0.07 บาท/ ลิตร
6. มาตรการปรับเปลี่ยนพลังงาน มีความก้าวหน้าสรุปได้ดังนี้
6.1 ภาคการผลิตไฟฟ้า
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ.) ได้รายงานว่าการจัดทำสัญญาซื้อขายก๊าซ ธรรมชาติสำหรับโรงไฟฟ้าราชบุรี คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2543 นี้ และในระหว่างที่การจัดทำสัญญาฯ ยังไม่แล้วเสร็จ กฟผ. และ ปตท. มีบันทึกข้อตกลงร่วมกันเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2541 เพื่อใช้ประกอบการซื้อขายก๊าซธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ปตท. ได้รายงานว่าการลงนามในสัญญาซื้อขายฯ ดังกล่าว ต้องล่าช้าออกไป เนื่องจากการเจรจายกร่างยังไม่สามารถหาข้อยุติที่เป็นเงื่อนไขสำคัญหลักๆ ได้ ในส่วนความก้าวหน้า ของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าราชบุรีนั้นคาดว่าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนเครื่องที่ 1 และ 2 จะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า เชิงพาณิชย์ได้ในเดือนมิถุนายน 2543 และพฤศจิกายน 2543 ตามลำดับ สำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ที่เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันก๊าซที่อยู่ระหว่างก่อสร้างยังคงประสบปัญหา ที่สำคัญ คือ บริษัทผู้ผลิตจะจัดส่งอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าล่าช้ากว่ากำหนด 1 - 3 เดือน ซึ่งจะส่งผลต่อกำหนดการก่อสร้างโรงไฟฟ้า แต่ กฟผ. ก็ได้ เร่งรัดบริษัทผู้ผลิตอย่างต่อเนื่อง
6.2 ภาคอุตสาหกรรม
ปตท. อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการระบบท่อจำหน่ายก๊าซฯ รอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล (Bangkok Ring Gas Pipeline Project) รวมทั้ง จัดทำการออกแบบเบื้องต้นทางด้านวิศวกรรม และการประเมินผลสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environment Evaluation) โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2543 เพื่อขอความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภายในเดือนมิถุนายน 2543 ส่วนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment) คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2543 และการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2545 และสามารถดำเนินการได้ราวต้นปี 2546
6.3 ภาคคมนาคมขนส่ง
ปตท. อยู่ระหว่างการประสานงานกับ ขสมก. และ กทม. ในการจัดทำข้อเสนอแผนงาน โครงการเพื่อรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และจะพิจารณาให้มีการสร้างสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ 6 สถานีแรกในปี 2543 โดย 3 สถานีจะสร้างรองรับรถโดยสารของ ขสมก. และรถ เก็บขยะ กทม. ขณะนี้อยู่ระหว่างหาสถานที่ และอีก 3 สถานีจะสร้างที่ ปตท. สำนักงานใหญ่ , ศูนย์ปฏิบัติการชลบุรี และโรงแยกก๊าซฯ จังหวัดระยอง ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการจัดจ้าง พร้อมกันนี้ ปตท. ได้จัดทำแผนงานเบื้องต้นในการก่อสร้างสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ จำนวน 30 สถานี ( รวม 6 สถานีแรก ) ภายในปี 2543 - 2547 เพื่อให้บริการรถโดยสาร ขสมก. รถเก็บขยะ กทม. และรถเอกชนที่จะดัดแปลงเพิ่มในอนาคต
6.4 การทบทวนแผนแม่บทการลงทุนขยายโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติหลักของ ปตท.
ขณะนี้ ปตท. กำลังจัดทำแผนวิสาหกิจ ปตท. ประจำปี 2544 - 2548 โดยจะขออนุมัติต่อ ที่ประชุมคณะกรรมการ ปตท. ในวันที่ 26 เมษายน 2543 และจะนำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติโดยเร็ว ที่สุดต่อไป นอกจากนี้ ได้มีการทบทวนแผนแม่บทการลงทุนขยายโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติหลัก เพื่อรองรับการขยายตัวของความต้องการใช้ก๊าซฯ ในภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง
6.5 การจัดหาน้ำมันดิบแบบรัฐต่อรัฐ
ปตท. ได้ดำเนินการจัดหาน้ำมันดิบแบบรัฐต่อรัฐในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ซึ่งมีปริมาณ 106.3 พันบาร์เรลต่อวัน เพิ่มเป็น 124.3 พันบาร์เรลต่อวัน ในปี 2543 หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 17 โดยมีแหล่งจากประเทศในกลุ่มยูเออี คูเวต โอมาน อิหร่าน กาตาร์ และมาเลเซีย
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 5 การแก้ไขปัญหาภาคการขนส่งทางถนนเนื่องจากปัญหาราคาน้ำมัน
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มีมติเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2543 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงคมนาคมช่วยเหลือชดเชยค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ ผู้ประกอบการขนส่งที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการช่วยเหลือชดเชยค่าน้ำมัน เชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการขนส่ง เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2543 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้นำเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาในคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติก่อน แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
2. เนื่องจากสภาวะของราคาน้ำมันยังไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน หากแก้ไขปัญหาโดยการปรับเพิ่มอัตราค่าขนส่งแล้ว เมื่อราคาน้ำมันปรับลดลง การลดอัตราค่าขนส่งอาจดำเนินการได้ยากในทางปฏิบัติ กระทรวงคมนาคม จึงได้เสนอมาตรการชั่วคราวตามแผนปฏิบัติการโครงการช่วยเหลือชดเชยค่าน้ำมัน เชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการขนส่ง โดยรัฐจะรับภาระกึ่งหนึ่งของส่วนต่างระหว่างราคาน้ำมันดีเซลในท้องตลาดกับ ประมาณการราคาน้ำมันดีเซลที่กรมการขนส่งทางบกใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนอัตรา ค่าโดยสาร ซึ่งเท่ากับ 10.82 บาท โดยใช้เงินจากงบกลางจำนวน 500 ล้านบาท
3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีความเห็นว่าโครงการดังกล่าว จะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประกอบการขนส่งและลดผลกระทบที่จะมีต่อประชาชนผู้ใช้ บริการ แต่ควรเป็นมาตรการชั่วคราว โดยควรกำหนดเวลาช่วยเหลือให้ชัดเจนและกำหนดเพดานสูงสุดของราคาน้ำมันดีเซล ที่รัฐจะให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้อัตราค่าขนส่งสามารถปรับขึ้นได้ตามภาวะของราคาน้ำมัน ซึ่งจะทำให้การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในภาคการขนส่งเป็นไปอย่างประหยัดและมี ประสิทธิภาพ
4. สำนักงบประมาณ มีความเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและเฉพาะกลุ่มเป็น การชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งอาจสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบแก่ผู้ประกอบการขนส่งด้านอื่นๆ และส่งผลให้เกิดการสร้างกระแสเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงควรให้ค่าขนส่งขึ้นลงตามกลไกตลาด โดยเสนอให้มีการปรับค่าขนส่งและค่าโดยสารเพิ่มขึ้นในอัตราที่ทำให้ผู้ประกอบ การขนส่งมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนที่จะได้รับการชดเชยค่าน้ำมันเชื้อ เพลิงจากรัฐบาล แต่หากคณะรัฐมนตรีเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินโครงการฯ ก็ให้ใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ฝ่ายเลขานุการฯได้รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล การเปรียบเทียบกำไรขาดทุนของผู้ประกอบการขนส่ง และฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สรุปได้ดังนี้
5.1 ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในเดือนมีนาคม ได้ขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดที่ 12.82 บาท/ลิตร และได้อ่อนตัวลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลกมาอยู่ในระดับ 11.87 บาท/ลิตร ณ วันที่ 1 เมษายน 2543 และในเดือนเมษายน ราคาน้ำมันดีเซลมีแนวโน้มจะอ่อนตัวลงอีกตามการอ่อนตัวของราคาน้ำมันดิบและ จากความต้องการที่ลดลงตามฤดูกาล
5.2 ในปี 2541-2542 กระทรวงคมนาคมใช้ฐานราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ ลิตรละ 10.61 บาท และ 10.72 บาท ตามลำดับ แต่ราคาขายปลีกจริงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ทำให้ผู้ประกอบการได้ประโยชน์คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,566 ล้านบาท/ปี และ 3,178 ล้านบาท/ปี ตามลำดับ ส่วน ในช่วงต้นปี 2543 ราคาขายปลีกสูงกว่าราคาฐานซึ่งเท่ากับ 10.82 บาท/ลิตร ทำให้ผู้ประกอบการประสบปัญหาขาดทุนคิดเป็นมูลค่าประมาณ 409 ล้านบาท แต่ยังเป็นระดับที่ต่ำกว่าการได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา
5.3 ประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2543 อยู่ในระดับ 3,361 ล้านบาท โดยมีรายรับจากน้ำมันชนิดอื่น 129 ล้านบาท/เดือน และรายจ่ายเพื่อชดเชยราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว 884 ล้านบาท/เดือน ทำให้มีเงินไหลออกจากกองทุนฯ สุทธิ 756 ล้านบาท/เดือน จึงคาดว่ากองทุนฯ จะสามารถตรึงราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มได้ประมาณ 4 เดือน
6. ฝ่ายเลขานุการฯ มีความเห็นว่าการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่งควรคำนึงถึงผล ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการได้รับในอดีตจากราคาน้ำมันที่ต่ำกว่าราคาฐานในการ คำนวณอัตราค่าโดยสาร โดยควรพิจารณาให้ความช่วยเหลือเมื่อผู้ประกอบการมีปัญหาการขาดทุนนานพอสมควร จนใกล้เคียงกับผลประโยชน์ ที่เคยได้รับ ประกอบกับราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในเดือนเมษายน มีแนวโน้มที่จะลดลงไปอีก ดังนั้น น่าจะรอดูแนวโน้มของราคาน้ำมันต่อไปอีกระยะหนึ่งก่อน หากในอนาคตจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อช่วยเหลือการขาดทุนจากราคาน้ำมัน ก็ควรใช้เป็นมาตรการชั่วคราวระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น โดยรัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้เนื่องจากฐานะของกองทุนน้ำมันฯ ในปัจจุบัน ไม่สามารถสนับสนุนได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากการขาดทุนจากราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วจะเกิดขึ้นเป็นระยะยาว ก็ควรปรับอัตราค่าโดยสารและค่าขนส่งให้ตามความเหมาะสม เพื่อให้สะท้อนถึงต้นทุนราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่แท้จริง
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้มีการชะลอการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการโครงการช่วยเหลือชดเชย ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการขนส่ง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอออกไปก่อน โดยให้มีการติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วง 1-2 เดือนนี้ หากราคาน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นให้นำแผนปฏิบัติการโครงการช่วยเหลือชด เชยค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการขนส่ง กลับมาพิจารณาทบทวนอีกครั้ง
เรื่องที่ 6 การคืนหลักค้ำประกันของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP)
สรุปสาระสำคัญ
1. การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2535 ได้ออกระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ.) ได้ประกาศการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก (Small Power Producers: SPP) งวดที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ กฟผ. สามารถรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ที่ผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนอกรูปแบบ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิง และการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ Cogeneration อันเป็นการใช้พลังงานนอกรูปแบบและต้นพลังงานพลอยได้ในประเทศให้เกิดประโยชน์ มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระทางด้านการลงทุนของรัฐในระบบการผลิตและระบบ จำหน่ายไฟฟ้า
2. ภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอย ตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลได้เห็นชอบแนวทางการลดผลกระทบจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เรื่องมาตรการการแก้ไขปัญหาของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ซึ่งประกอบด้วย การแก้ไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับ SPP ให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่าง SPP กับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ( ปตท.) การปรับอัตราค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว และการเลื่อนวันเริ่มต้นจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบ (Commercial Operation Date : COD) โดย กฟผ. และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) จะพิจารณาเลื่อนวันเริ่มต้นจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบเป็นรายๆ ไปตามความเหมาะสม
3. อย่างไรก็ตาม ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจได้เกิดขึ้นต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ผู้ดำเนินโครงการ SPP ประสบกับปัญหาการจัดหาเงินกู้ล่าช้า และลูกค้าตรงของ SPP ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ตามกำหนด ทำให้ SPP หลายรายขอเลื่อนวันเริ่มต้นจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบ นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซายังมีผล ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศลดลงอย่างมาก และระดับกำลังการผลิตสำรอง (Reserve Margin) ในปี 2543-2547 คาดว่าจะอยู่ในระดับสูง ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและเพื่อให้เป็นไปตามมติ คณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น สพช. และ กฟผ. จึงได้ร่วมกันหารือกับ SPP โดยขอให้โครงการต่างๆ ชี้แจงความคืบหน้าของโครงการ ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนความจำเป็นที่ต้องเลื่อนวันเริ่มต้นจำหน่ายกระแสไฟฟ้า เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาของ SPP ให้สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้ และในขณะเดียวกัน กฟผ. ก็สามารถลดภาระการชำระค่าไฟฟ้าให้โครงการ SPP ได้ด้วย
4. ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542 มอบหมายให้ กฟผ. และ สพช. ติดตามความคืบหน้าของโครงการ IPP และ SPP อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกำหนดการจ่ายไฟฟ้าตามสัญญา และให้ กฟผ. และ สพช. ร่วมกันพิจารณาเลื่อนวันเริ่มต้นจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้เป็นรายๆ ไปตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อสังเกตว่าการผ่อนผันการเลื่อนกำหนดการจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบ ไม่ได้ทำให้รัฐหรือการไฟฟ้าเสียประโยชน์ ดังนั้น กฟผ. จึงไม่ควรคิดค่าปรับจากการที่ IPP และ SPP ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าให้ กฟผ. ได้ตามกำหนด
5. การดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน กฟผ. ได้รับข้อเสนอขายไฟฟ้า รวมทั้งสิ้น 93 ราย แต่มีบางรายที่ถูกปฏิเสธและบางรายที่ขอถอนข้อเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากค่า เงินบาทลอยตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 ในปัจจุบันมี SPP ที่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้ารวม 51 ราย โดย กฟผ. ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วจำนวน 50 ราย และกำลังอยู่ในระหว่างการเจรจา 1 ราย หากทุกโครงการแล้วเสร็จและสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ จะมีปริมาณรับซื้อไฟฟ้าทั้งสิ้นสูงถึง 2,133 เมกะวัตต์ และ ณ เดือนมีนาคม 2543 มี SPP 41 ราย ที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟผ. แล้ว ปริมาณเสนอขายไฟฟ้ารวม 1,581 เมกะวัตต์
6. ปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการ SPP ตั้งแต่ปี 2539 คิดเป็นปริมาณรวม 14,891 ล้านหน่วย มูลค่าการรับซื้อไฟฟ้า 24,567 ล้านบาท ราคารับซื้อไฟฟ้าเฉลี่ย 1.27-1.78 บาท/หน่วย ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบต้นทุนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าของ กฟผ. โดยใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงกับการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มจากผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชน พบว่าการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนจะมีต้นทุนต่ำกว่า นอกจากนี้ ในสถานการณ์ ที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน จึงควรมีการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่ใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น เพื่อลดการใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลในการผลิตไฟฟ้า
7. ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542 มี SPP หลายโครงการที่ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วแต่ยังไม่ได้จำหน่ายไฟฟ้าเข้า ระบบ ขอเลื่อนกำหนดวันเริ่มต้นจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบออกไปจากเดิม โดย สพช. และ กฟผ. ได้พิจารณาเลื่อนกำหนดวันเริ่มต้นจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบ และเงื่อนไข ในการเริ่มต้นจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบใหม่ จำนวน 4 ราย ได้แก่ บริษัท ธัญญพล จำกัด , บริษัท อัลฟา เพาเวอร์ จำกัด, บริษัท สยามเพาเวอร์ เจนเนเรชั่น จำกัด และ บริษัท ทีแอลพี โคเจนเนอเรชั่น จำกัด นอกจากนี้ มีโครงการ SPP ที่ขอยกเลิกโครงการและขอคืนหลักค้ำประกัน จำนวน 3 ราย คือ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด , บริษัท ปัญจพลไฟเบอร์ คอนเทนเนอร์ จำกัด และบริษัท ปัญจพล พัลพ์ อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน )
8. กฟผ. ได้เสนอว่าในการพิจารณาเลื่อนกำหนดวันเริ่มต้นจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้นั้น ควรให้ครอบคลุมถึงการยกเลิกโครงการของ SPP ด้วย ซึ่งการให้ SPP เลื่อนหรือยกเลิกโครงการในช่วงนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศลดลงอย่างมากและปริมาณพลังไฟฟ้าสำรอง (Reserve Margin) อยู่ในระดับสูง และเพื่อให้การยกเลิกโครงการของ SPP ดังกล่าวมี ความเป็นไปได้ จึงเห็นควรคืนหนังสือค้ำประกันฯ ให้กับ SPP ที่ยกเลิกโครงการด้วย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542 เป็นต้นมา
มติของที่ประชุม
1.มอบหมายให้ สพช. และ กฟผ. ร่วมกันพิจารณาเลื่อนกำหนดวันเริ่มต้นจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้เป็นรายๆ ไปตามความเหมาะสม โดยครอบคลุมถึงการเลื่อนกำหนดวันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และการยกเลิกโครงการของ SPP ด้วย
2.ให้ กฟผ. คืนหลักค้ำประกันให้กับ SPP ที่ยกเลิกโครงการ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้มีมติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2538 อนุมัติแผนปฏิบัติการโครงการอาคารของรัฐ ( ปีงบประมาณ 2539-2542) ตามที่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พพ.) เสนอ โดยในช่วงปีงบประมาณ 2539-2541 พพ. ได้ดำเนินการปรับปรุงอุปกรณ์ประหยัดพลังงานในอาคารของรัฐแล้วเสร็จ จำนวน 413 แห่ง การดำเนินการส่วนใหญ่ประกอบด้วย 5 มาตรการหลัก คือ การใช้เครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง การใช้เทอร์โมสตัทชนิดอิเลคทรอนิคส์ การใช้หลอดชนิดประหยัดพลังงาน การใช้โคม ไฟฟ้าชนิดสะท้อนแสง และการใช้บัลลาสต์อิเลคทรอนิคส์
2. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ( สพช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกองทุนฯ ได้รับมอบหมายให้ติดตามประเมินผลการอนุรักษ์พลังงานในอาคารของรัฐ ระยะที่ 1 ของปีงบประมาณ 2539-2540 ซึ่งจากการประเมินผลพบว่าอาคารของรัฐที่ได้รับการเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศ ให้ใหม่เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคารไปแล้วนั้น มีหลายแห่งที่ได้นำเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกแล้วนำกลับมาใช้งานอีก ซึ่งจะทำให้การลงทุนในการเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศทั้งหมดไม่ได้ผลในการ ประหยัดพลังงานตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการในการห้ามไม่ให้นำเครื่องปรับอากาศที่ ถูกถอดทิ้งแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ และหากจะมีการทำลายเครื่องปรับอากาศที่ถูกถอดออกนั้น ก็ควรคำนึงถึงวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดย พพ. อาจให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาเป็นผู้รับไปดำเนินการให้ถูกต้องตาม หลักวิชาการ
3. ต่อมา คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มีมติเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2542 เห็นชอบแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2543-2547 โดยในส่วนของโครงการอาคารของรัฐได้กำหนดให้ พพ. ปรับแผนของโครงการฯ ตามข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการประเมินผลแผนอนุรักษ์พลังงาน ในเรื่องการห้ามไม่ให้นำเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกแล้วนำกลับมาใช้ ใหม่ในอาคารของรัฐด้วย ซึ่ง พพ. ได้จัดทำมาตรการป้องกันการนำเอาเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกกลับมาใช้ อีก นำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน แล้ว เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2543
4. คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2543 เห็นชอบให้ พพ. เร่งดำเนินการศึกษาวิธีการทำลายเครื่องปรับอากาศโดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวด ล้อม และระหว่างที่ รอผลการศึกษานั้น ให้ สพช. เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการห้ามมิให้หน่วยงานที่เข้าร่วม โครงการอาคารของรัฐที่ได้ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานโดยการใช้มาตรการการปรับ ปรุงเครื่องปรับอากาศนำเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกแล้วกลับมาใช้อีก โดยให้ พพ. เพิ่มข้อความในบันทึกข้อตกลงเพื่อให้ส่วนราชการเจ้าของอาคารยินยอมให้แยกตัว คอมเพรสเซอร์ออกจากชุดระบายความร้อน และเก็บไว้เพื่อรอการทำลายหรือจัดการตามแนวทางที่ได้รับจากผลการศึกษาต่อไป
5. นอกจากนี้ ในเรื่องการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศซึ่งจะมีผลต่อประสิทธิภาพการใช้ เครื่องปรับอากาศเป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันงบประมาณสำหรับค่าบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศของหน่วย งานราชการมักจะถูกตัดงบประมาณรายจ่ายอยู่เสมอ คณะกรรมการกองทุนฯ จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2541 เห็นชอบในแนวทางการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศของส่วนราชการและงบประมาณค่า ใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตามที่คณะอนุกรรมการกำกับดูแลโครงการอาคารของรัฐได้ เสนอ โดยให้สำนักงบประมาณพิจารณาอนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เครื่องปรับอากาศที่แต่ละหน่วยงานของรัฐเสนอมา และให้หน่วยงานของรัฐแต่ละแห่งแยกรายการค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่อง ปรับอากาศออกเป็นรายการหนึ่งต่างหากจากหมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ พร้อมทั้งระบุด้วยว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวนั้นเป็นรายการห้ามโอนย้าย และให้ สพช. นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ สพช. ได้มีการประสานงานกับสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 และขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาจากสำนักงบประมาณ
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เร่งดำเนินการศึกษาวิธีการทำลายเครื่องปรับอากาศเก่าโดยไม่ให้เกิดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม และให้ทราบผลภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2543
2.เห็นชอบให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่เข้าร่วมโครงการอาคารของรัฐ ที่ได้ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานโดยการใช้มาตรการการปรับปรุงเครื่องปรับ อากาศ ห้ามนำเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกแล้วกลับมาใช้อีก โดยให้แยกตัวคอมเพรสเซอร์ออกจากชุดระบายความร้อนและเก็บไว้เพื่อรอการทำลาย หรือจัดการตามแนวทางที่ได้รับจากผลการศึกษาของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ต่อไป
3.มอบหมายให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ประสานงานกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ในเรื่องการไม่ให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่เข้าร่วมโครงการอาคารของ รัฐที่ได้ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานโดยการใช้มาตรการการปรับปรุงเครื่องปรับ อากาศ โอนเครื่องปรับอากาศเก่าที่ถูกถอดออกไปให้ส่วนราชการอื่นที่ยังขาดแคลนและมี ความจำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศ
4.มอบหมายให้สำนักงบประมาณรับไปติดตามการพิจารณาอนุมัติงบประมาณค่าใช้ จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศที่แต่ละหน่วยงานของรัฐเสนอมา โดยให้หน่วยงานแต่ละแห่งแยกรายการค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องปรับ อากาศออกเป็นรายการหนึ่งต่างหากจากหมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ พร้อมทั้งให้ระบุว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายการห้ามโอนย้าย
กพช. ครั้งที่ 73 - วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2543
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 3/2543 (ครั้งที่ 73)
วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2543 เวลา 14.00น.
ณ ห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
1.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
2.การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันราคาสูง
3.การประเมินผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และมาตรการบรรเทา
4.ขอผ่อนผันระยะเวลาในการติดตั้งระบบควบคุมไอระเหยน้ำมันเบนซิน
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. การลดปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2541 ถึงต้นปี 2543 รวม 4.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นมาก เนื่องจากปริมาณน้ำมันดิบไม่เพียงพอกับความต้องการ โรงกลั่นและผู้ค้าน้ำมันต้องนำน้ำมันสำรองทางการค้ามาใช้ โดยราคาน้ำมันดิบในเดือนมกราคม 2543 เฉลี่ยทรงตัวอยู่ในระดับ $23.3 - $25.7 ต่อบาร์เรล และเดือนกุมภาพันธ์ราคาได้ปรับตัวสูงขึ้น $1.3 - $2.1 ต่อบาร์เรล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของราคามีความผันผวนมากปรับตัวทั้งขึ้นและลงตามกระแสข่าว ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาขยายเวลาการลดปริมาณการผลิตของกลุ่มประเทศโอเปค ที่จะมีการประชุมเป็นทางการในปลายเดือนมีนาคมนี้ ในช่วงครึ่งแรกของเดือนมีนาคมราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผลของปริมาณสำรองที่ลดลงไปสู่ระดับที่ต่ำมาก แม้ว่าจะมีแนวโน้มของการที่โอเปคจะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน ณ วันที่ 7 มีนาคม ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงปลายเดือนก่อนถึง $3 ต่อบาร์เรล ขึ้นมาสู่ระดับ $ 28.4 - 33.9 ต่อ บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี แต่ในวันถัดมาราคาได้ตกลงประมาณ $3 ต่อบาร์เรล มาอยู่ในระดับ $25.3 - $31.2 ต่อบาร์เรล หลังจากมีข่าวประเทศในกลุ่มโอเปคทั้งหมด ได้เห็นด้วยกับการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบแล้ว
2. กระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกาได้วิเคราะห์ผลของการเพิ่มปริมาณการผลิตต่อ ราคาน้ำมันดิบโลกว่า ถ้าปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทันทีในตลาด จะทำให้ราคาน้ำมันดิบลดลงสู่ระดับ $25.5 ต่อบาร์เรล ในเดือนสิงหาคม และถ้าเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ราคาจะลดลงสู่ระดับ $23 ต่อบาร์เรล ในเดือนกรกฎาคม แต่ถ้าการเพิ่มปริมาณการผลิตเลื่อนออกไปจนกระทั่งไตรมาสที่ 4 ราคาจะขึ้นไปสู่ระดับ $35 ต่อบาร์เรล ในฤดูร้อนนี้
3. นับแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ปรับตัวสูงขึ้น $8 - $9 ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบส่วนหนึ่ง และเนื่องจากปริมาณน้ำมันที่ถูกจำกัดจากการลดกำลังกลั่นและการปิดซ่อมแซมของ โรงกลั่นหลายแห่ง ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปแข็งตัวขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบ ในเดือนมีนาคม ราคาน้ำมันเบนซิน เซลและเตา ได้ปรับตัวสูงขึ้น $3.6, $5 และ $5.2 ต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดย ณ วันที่ 7 มีนาคม 2543 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 97 เบนซินออกเทน 92 ดีเซลและเตา อยู่ในระดับ $37.31, $36.3, $36.9 และ $30.2 ต่อบาร์เรล ตามลำดับ
4. ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในเดือนกุมภาพันธ์ มีการปรับขึ้น 2 ครั้ง รวม 60 สตางค์/ลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ปรับราคารวม 3 ครั้ง ปรับลง 1 ครั้ง จำนวน 20 สตางค์/ลิตร และปรับขึ้น 2 ครั้ง รวม 50 สตางค์/ลิตร และในช่วงต้นเดือนมีนาคม ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซล ปรับขึ้น 3 ครั้ง รวม 1.0 บาท/ลิตร โดย ณ วันที่ 9 มีนาคม 2543 ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91, 87 และดีเซลหมุนเร็วเท่ากับ 15.99, 15.19, 14.77 และ 12.82 บาท/ลิตร ตามลำดับ
5. ระดับค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันในปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำมากกว่าปกติ จากการปรับราคาขึ้นในระดับที่ต่ำและช้ากว่าการปรับขึ้นของราคาน้ำมันในตลาด โลก ซึ่งเป็นผลจากการแข่งขันที่สูงในตลาดน้ำมันและต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าการตลาดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์ของประเทศเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมอยู่ที่ 0.85 และ 0.76 บาท/ลิตร ตามลำดับ โดย ณ วันที่ 7 มีนาคม อยู่ในระดับเพียง 0.43 บาท/ลิตร ส่วนค่าการกลั่นปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่แข็งตัวมากกว่าราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเดิมอยู่ในระดับเพียง 0.49 บาท/ลิตร ขึ้นมาเคลื่อนไหวในระดับ 0.80 บาท/ลิตร นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันราคาสูง
สรุปสาระสำคัญความก้าวหน้าในการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 เพื่อแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความก้าวหน้าเพิ่มเติมในแต่ละมาตรการสรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน
ในช่วงเดือนตุลาคม 2542 - กุมภาพันธ์ 2543 ได้มีการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ 2543 - 2547) แล้ว โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเป็น จำนวน 4,004 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานประมาณ 353 ล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือคิดเป็นเงิน 7,729 ล้านบาท โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สรุปได้ดังนี้
1.1 การดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานและอาคารทั่วไปที่ไม่ได้เป็นโรงงานและ อาคารควบคุม ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) โดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้อนุมัติเงินเพื่อดำเนินโครงการ นำร่องจำนวน 30 ล้านบาท ให้แก่ 3 หน่วยงาน คือ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุตสาหกรรม ขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) เพื่อ ช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้แก่โรงงานและอาคารจำนวน 150 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าจะประหยัดพลังงานได้ 16 ล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ และเมื่อเสร็จสิ้นตามแผนฯ ระยะที่ 1 แล้ว จะขยายผลให้แก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กส่วนที่เหลือทั่วประเทศต่อไป
1.2 การส่งเสริมให้มีการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูง กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนการใช้เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได้ถึงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับเตาทั่วไป โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการมอบหมายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรีเป็นแกนนำ ในการนำเตาฯ จำนวน 2,400 ลูก ไปสาธิตใช้งานและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม โรงเรียนและสถานที่ราชการ กลุ่มวัดและประชาชนทั่วไป และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพการทำอาหารและร้านอาหาร เพื่อเป็นตัวกระตุ้นตลาดและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ผลิตเตาฯ รายใหม่ รวมทั้ง เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมกันสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมให้เกิดผลอย่างจริงจังต่อไป
1.3 การกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำและการติดฉลากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า สพช. ได้ดำเนินการศึกษาการกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำในอุปกรณ์ 6 ประเภท แล้วเสร็จ ได้แก่ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ มอเตอร์ หลอดคอมแพคฟลูออร์เรสเซนต์ หลอดฟลูออร์เรสเซนต์ และบัลลาสต์ ผลการศึกษาพบว่าการกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานจะสามารถลดความต้องการใช้ ไฟฟ้า ได้ถึง 700 เมกะวัตต์ หรือ 3,500 ล้านหน่วย ซึ่ง สพช. จะได้นำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อพิจารณากำหนดเป็นนโยบายต่อไป
1.4 การส่งเสริมการใช้เตาเผาศพแบบประหยัดพลังงานและลดมลภาวะ กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดทำแผนโดยละเอียดโครงการสาธิตเตาเผาศพแบบประหยัดพลังงานและลดมลภาวะ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการเผาไหม้เตาเผาศพของประเทศไทย ซึ่ง ต่อมาได้มีการปรับปรุงโครงการฯ ดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยภายในระยะเวลา 6 เดือน มช. จะนำเสนอผลการศึกษาและแบบเตาเผาศพที่ประหยัดพลังงานและลดมลภาวะแบบจำนวนศพ น้อยเบื้องต้น เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างเพื่อใช้งานจริงในประเทศ และเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปี มช. จะต้องสร้างแบบเตาเผาศพ แบบสมบูรณ์ ทั้งกรณีจำนวนศพน้อยและจำนวนศพมากในเกณฑ์เดียวกับแบบเตาเผาศพเบื้องต้น และให้มีการรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานและการปล่อยมลภาวะจากเตาเผาศพที่จะนำ มาใช้ในโครงการเพื่อหาปัจจัยและคุณลักษณะที่เหมาะสมของเตาเผาศพเพื่อการออก แบบเตาเผาศพประหยัดพลังงานต่อไป
1.5 การดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในสาขาขนส่ง มีโครงการที่ได้ดำเนินการแล้วดังนี้
(1) โครงการทางเดียวกันไปด้วยกัน (Car pool) สพช. ได้เร่งรณรงค์โครงการฯ ไปทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน รวม 37 องค์กร มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 1,575 คน หลังจากนี้ จะจัดให้มีการสัมมนากลุ่มย่อยกับนักวิชาการ ผู้นำความคิด และผู้เกี่ยวข้องด้านการจราจร เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน รวมถึงอภิปรายความเป็นไปได้ในการขยายผลหรือแนวทางการทำวิจัยเพิ่มเติม
(2) การปรับแต่งเครื่องยนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย ได้จัดฝึกอบรมอาจารย์ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลจากทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์และเน้นให้ตระหนักถึงความสำคัญในการ ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ให้ถูกต้อง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและลดมลภาวะ รวมทั้ง เพื่อให้กลุ่มอาจารย์ดังกล่าวได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษาของสถาบันไม่ น้อยกว่าปีละ 3,000 คน นอกจากนี้ กรมควบคุมมลพิษจะมอบใบประกาศให้กับอู่ที่ผ่านการอบรมในเรื่องการปรับแต่ง เครื่องยนต์แล้ว และ ปตท. จะขยายปริมาณงานปรับแต่งเครื่องยนต์ตามสถานที่บริการจากเดิม ประมาณ 2,000 คัน เพิ่มเป็น 4,500 คัน รวมทั้ง กรมการขนส่งทางบก จะจัดทำหลักสูตรและฝึกอบรมการใช้รถอย่างถูกวิธีเพื่อประหยัดพลังงานให้แก่ พนักงานขับรถทั่วราชอาณาจักร และผู้ประกอบการขนส่งรถโดยสารไม่ประจำทางและรถบรรทุก ที่สำนักงานขนส่งใน 75 จังหวัดทั่วประเทศ และจัดหน่วยเคลื่อนที่ออกไปจัดฝึกอบรมให้แก่นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
1.6 การส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงที่สะอาด สพช.ได้ประสานงานกับกรมควบคุมมลพิษและองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในการจัดให้มีการใช้รถโดยสารไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid buses) โดย ขสมก. จะนำรถเก่าเครื่องยนต์ดีเซล จำนวน 20 คัน มาดัดแปลงเอาเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ออก แล้วปรับปรุงให้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบแบตเตอรี่แทน ซึ่งจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงได้ร้อยละ 49
1.7 โครงการเร่งด่วนเพื่อประชาสัมพันธ์วิธีการประหยัดน้ำมัน สพช. ได้มุ่งเน้นให้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงสถานการณ์น้ำมัน และการเลือกใช้น้ำมันเบนซินตามค่าออกเทนที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ โดยเฉพาะการรณรงค์โดยใช้สื่อต่างๆ เพื่อผลักดันให้ผู้ที่สามารถเติมน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 91 ได้ แต่มาเติมออกเทน 95 ให้กลับมาเลือกใช้น้ำมันเบนซินที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ คือ ออกเทน 91
1.8 การส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น ได้มีการดำเนินการดังนี้
(1) โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน สพช. ได้คัดเลือกผู้ที่มีประสบการณ์ที่จะเป็นผู้ดำเนินการจัดเตรียมการเชิญชวนและ คัดเลือกข้อเสนอของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นเชื้อ เพลิงที่จะขอสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ เพื่อชดเชยส่วนต่างจากราคารับซื้อไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่าจะเปิดรับข้อเสนอโครงการฯ ได้ประมาณเดือนกันยายน 2543 และจะทราบผลการคัดเลือกภายในเดือนมกราคม 2544
(2) สนับสนุนการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า กฟผ. ได้ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ วงเงินประมาณ 800 ล้านบาท เพื่อดำเนินการติดตั้งระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเซลล์ แสงอาทิตย์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 2 แห่ง รวมขนาด 2.25 เมกะวัตต์ เพื่อผลิตกระแส ไฟฟ้าเสริมเข้าระบบผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะช่วยลดการใช้น้ำมันในการผลิตไฟฟ้าลงได้ 900,000 ลิตร/ปี
(3) สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ร่วมกับ กปร และมูลนิธิชัยพัฒนา ในการออกแบบและติดตั้งเพื่อสาธิตกังหันลมสูบน้ำเพื่อสาธิตและเผยแพร่การใช้ ประโยชน์เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนในกิจกรรมด้านเกษตรกรรม ตามรูปแบบการสาธิตการเกษตรแบบผสมผสานแนว "ทฤษฎีใหม่" อันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่โครงการแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสาน สถานีทดลองข้าวจังหวัดราชบุรี และที่สถานีพืชสวนจังหวัดเพชรบุรี โดยกังหันลมสูบน้ำแต่ละระบบ สามารถสูบน้ำได้เฉลี่ยวันละ 15-20 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
1.9 การประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สพช. ยังคงดำเนินการประชาสัมพันธ์และรณรงค์อย่างต่อเนื่องภายใต้ "โครงการรวมพลังหาร 2" โดยเฉพาะประเด็นที่มีความสำคัญ เพื่อตอกย้ำแนวคิดและให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้พลังงานของ ประชาชนในที่สุด
1.10 การพัฒนาหลักสูตรและผลิตสื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับพลังงานและผลกระทบของ การใช้พลังงานที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้ "โครงการรุ่งอรุณ" ซึ่งเป็นโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการร่วมมือกับสถาบัน สิ่งแวดล้อมไทย และ สพช. โดยการสนับสนุนจากกองทุนฯ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการมองปรากฏการณ์ของสิ่ง ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในลักษณะขององค์รวม และเพื่อให้มีทัศนะและพฤติกรรมที่เข้าไปใช้ธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและไม่สร้าง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการสอดแทรกลงไปในทุกวิชาที่มีการเรียนการสอนให้ นักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับมัธยม โครงการนี้จะสิ้นสุดในปี 2543 โดยจะสามารถสร้าง โรงเรียนต้นแบบได้ 600 แห่ง เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับการเรียนการสอนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมให้กับ โรงเรียนทั่วประเทศ 40,000 แห่ง ต่อไป
2. การเลือกใช้พลังงานให้เหมาะสม มีความก้าวหน้าในแต่ละมาตรการดังนี้
2.1 การส่งเสริมการใช้น้ำมันเบนซินให้ถูกชนิด ปัจจุบันผู้ค้าน้ำมันและสถานีบริการน้ำมันได้มีการปรับเปลี่ยนป้ายแสดงค่า ออกเทนของน้ำมันเบนซินที่ตู้จ่ายโดยแสดงค่าออกเทนขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด คือ ออกเทน 91 และออกเทน 95 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นต้นมา และโรงกลั่นน้ำมันได้ปรับลดค่าออกเทนของน้ำมันเบนซินจาก 97 RON มาเป็น 95 RON โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 เป็นต้นมา ซึ่งรถยนต์ทั่วไปจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ 80 สตางค์/ลิตร นอกจากนี้ สพช. ได้วางแผนประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้รถที่เครื่องยนต์เหมาะสมกับน้ำมันเบนซินออกเทน 91 แต่ยังคงใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 95 โดยจะประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ศกนี้ ซึ่งคาดว่าผลจากการประชาสัมพันธ์จะช่วยให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างเป็นรูปธรรม
2.2 ให้ กฟผ. ลดการใช้น้ำมันเตาและใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในการผลิตไฟฟ้า โดยตั้งแต่เดือนกันยายน 2542 เป็นต้นมา ปริมาณการใช้น้ำมันเตาในโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ลดลงจากระดับ 503 ล้านลิตร มาอยู่ที่ระดับ 198 ล้านลิตร ในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 นอกจากนี้ กฟผ. ได้ดำเนินการติดตั้งหน่วยกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ (FGD) ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 6 - 7 แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2542 และเครื่องที่ 4-5 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งจะช่วยให้มีการผลิตไฟฟ้าจากลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงได้เพิ่มขึ้น
3. การตรึงราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.) ได้ใช้ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายชดเชยเพื่อตรึงราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว ซึ่งจะสามารถตรึงราคาต่อไปได้อีกประมาณ 5 เดือน และหากราคาก๊าซฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้น จะใช้มาตรการการปรับหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคา ณ โรงกลั่น/ราคานำเข้า ก่อนดำเนินการปรับเพิ่มราคาขายส่งและราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว
4. การลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ได้มีการผ่อนผันให้ กฟผ. สามารถใช้น้ำมันเตากำมะถันไม่เกิน 1.0% และค่าแอสฟัลทีนระดับปกติที่สามารถนำเข้าจากตลาดสิงคโปร์มาใช้ในโรงไฟฟ้าพระ นครเหนือได้ และ ปตท. ได้มีการเจรจากับโรงกลั่นน้ำมันและ กฟผ. แล้ว เพื่อหาทางเลือกต่างๆ ให้น้ำมันเตาที่จำหน่ายให้ กฟผ. มีราคาต่ำสุด ซึ่งปรากฏว่าทุกโรงกลั่นไม่สามารถปรับลดราคาน้ำมันเตาลงได้อีก เนื่องจากอุตสาหกรรมโรงกลั่น น้ำมันในปัจจุบันประสบปัญหาจาก Margin ตกต่ำ อย่างไรก็ตาม ในการคำนวณสูตรการปรับอัตราค่า ไฟฟ้า โดยอัตโนมัติ (Ft) ในขณะนี้ คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติได้มีมติให้ กฟผ. ใช้ราคาน้ำมันเตาที่คำนวณจากค่าพรีเมี่ยมที่เกิดขึ้นจริง หรือ ใช้อิงราคาตลาดจรสิงคโปร์ของน้ำมันเตากำมะถัน ไม่เกิน 2% มาใช้ในการคำนวณค่า Ft ตั้งแต่ค่าน้ำมันเตาเดือนมีนาคม 2542 เป็นต้นมา จึงทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเตาที่ กฟผ. ซื้อจาก ปตท. มีราคาสอดคล้องกับราคาในตลาดที่เกิดขึ้นจริงมากกว่าราคาที่กำหนดตามสัญญา ซึ่งกำหนดค่าพรีเมี่ยมไว้สูง
5. การเร่งรัดการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ในขณะนี้ได้มีการดำเนินการ แก้ไขกฎหมายศุลกากรเพื่อแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นพนักงานศุลกากรให้มี อำนาจปฏิบัติงานตรวจสอบจับกุมในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย การกำหนดให้มีมาตรการควบคุมสารโซลเว้นท์ที่ต้นทาง การเร่งออกระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการเติมสาร Marker ในน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เพื่อรองรับการดำเนินโครงการเติมสาร Marker และการนำเสนอผลการศึกษาพฤติกรรมการส่งออกน้ำมัน ข้ามแดนและการเดินเรือสินค้าไปต่างประเทศโดยมีการขอคืนภาษีสรรพสามิตโดยมิ ชอบให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ นอกจากนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) ได้เดินทางไปดูสถานการณ์ การลักลอบนำเข้าน้ำมันในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 2-3 มีนาคม ที่ผ่านมา และได้มอบนโยบายพร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมศุลกากร เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเรือประมงดัดแปลงและเรือลักลอบขนส่ง น้ำมันให้เข้มงวดมากขึ้นในช่วงที่ราคาน้ำมันยังคงสูงขึ้นในขณะนี้
6. การส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคคมนาคมขนส่งมากขึ้น ขณะนี้ ปตท. อยู่ระหว่างการดำเนินการดัดแปลงเครื่องยนต์ดีเซลเป็นระบบเชื้อเพลิงร่วม (Diesel Dual Fuel System) รวม 18 คัน และดัดแปลงเครื่องยนต์เบนซินเป็นระบบเชื้อเพลิงสองชนิด (Bi-fuel System) รวม 12 คัน ซึ่งการดัดแปลงและติดตั้งอุปกรณ์จะแล้วเสร็จกลางเดือนมีนาคม 2543 และ ปตท. จะทำการทดสอบเครื่องยนต์บนถนน ซึ่งคาดว่าจะ แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2543 นอกจากนี้ ปตท. และ สพช. ได้มีการประชุมหารือเพื่อหาแนวทางในการ ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อดำเนินการดัดแปลงเครื่องยนต์มาใช้ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้ ปตท. อยู่ระหว่างการประสานงานกับ ขสมก. เพื่อร่วมกันจัดทำข้อเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ต่อไป
7. การเจรจาปรับลดราคา ณ โรงกลั่น ปตท. ได้มีการเจรจากับบริษัทผู้ค้าน้ำมันแล้วปรากฏว่าทุกโรงกลั่นไม่สามารถปรับลด ราคาผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นให้เทียบเท่าราคาส่งออกได้ เนื่องจากสภาพปัญหา Margin ตกต่ำ และปริมาณความต้องการภายในประเทศที่ลดลง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโรงกลั่นน้ำมันจะไม่ปรับลดราคา ณ โรงกลั่นลงมา แต่การที่ประเทศต้องส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งราคาถูกกว่าราคาที่จำหน่ายใน ประเทศก็จะส่งผลดีทางอ้อมต่อประเทศ กล่าวคือ โรงกลั่นน้ำมันและผู้ค้าน้ำมันซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันในประเทศ สามารถนำส่วนต่างของราคา ณ โรงกลั่นกับราคาส่งออกมาใช้เป็นส่วนลดหรือตัดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงใน หลายพื้นที่ นอกจากนี้ มาตรการส่งเสริมการใช้น้ำมันเบนซินให้ถูกประเภท ซึ่งรัฐได้ขอให้โรงกลั่นผลิตน้ำมันเบนซินให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ โดยโรงกลั่นได้ปรับลดค่าออกเทนของน้ำมันเบนซินจาก 97 RON เป็น 95 RON แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 เป็นต้นมา มีผลทำให้ราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ปรับลดลงประมาณ 0.20 - 0.25 บาท/ลิตร
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 การประเมินผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และมาตรการบรรเทาผลกระทบ
หน่วยงานต่างๆ ได้รายงานการประเมินผลกระทบและเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ เพิ่มสูงขึ้นให้ที่ประชุมทราบ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจให้ที่ประชุมทราบสรุปได้ดังนี้
1.1 จากรายงานการศึกษาผลกระทบของราคาน้ำมันต่อเศรษฐกิจส่วนรวมปี 2543 ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 2/2543 (ครั้งที่ 2) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 ได้ศึกษาผลกระทบแบ่งเป็น 3 กรณีด้วยกัน คือ ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในปี 2543 อยู่ที่ระดับ 22, 24 และ 26 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยเปรียบเทียบกับกรณีฐาน ซึ่งมีสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยที่ 19 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยในกรณี เลวร้ายที่สุด (worst case) ซึ่งราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 26 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะมีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงจากกรณีฐานประมาณร้อยละ 0.52 (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 38 บาท)
1.2 ต่อมาราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สศช. จึงได้ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม โดยเพิ่มกรณีราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบอยู่ที่ 29 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งสรุปได้ว่า ถ้าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 29 เหรียญสหรัฐ (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ = 38 บาท) จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ลดลงจากกรณีฐานร้อยละ 0.74 และอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นจากกรณีฐานร้อยละ 0.6 โดยเพิ่มเป็น ร้อยละ 2.6 ส่วนการส่งออกจะได้รับผลกระทบเล็กน้อยโดยลดลงจากกรณีฐานร้อยละ 0.09 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.91 อย่างไร ก็ตาม กรณีราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 22 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ยังคงเป็นกรณีที่มีความเป็นไปได้สูงที่สุด
1.3 นักวิเคราะห์จากหลายสถาบันคาดว่าหลังเดือนมีนาคม 2543 ราคาน้ำมันจะมีแนวโน้ม อ่อนตัวลงและจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับราคา 21-22 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งจะทำให้ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบ ตลอดปีเป็น 22 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยมีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่กลุ่มโอเปคจะพิจารณาเพิ่มปริมาณการผลิต 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมันได้ตระหนักถึงผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันที่สูงจะจูงใจให้ผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปค เม็กซิโก รัสเซีย ผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นทำให้กลุ่มโอเปคมีส่วนแบ่งตลาดลดลง นอกจากนี้การเข้าสู่ฤดูร้อนในซีกโลกตอนเหนือทำให้ความต้องการใช้น้ำมัน ลดลงส่วนหนึ่ง
1.4 สศช. มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2543 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับร้อยละ 0.7 ซึ่งแสดงว่าแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อยังไม่น่าเป็นห่วง โดยการส่งออกซึ่งเป็นเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญยังคงฟื้นตัวอย่างต่อ เนื่อง แนวโน้มราคาน้ำมันขณะนี้ยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยส่วน รวม อย่างไรก็ตาม ผลของราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะมีผลกระทบต่อต้นทุนเฉพาะบางด้าน เช่น การประมง และการขนส่ง จึงควรพิจารณาถึงมาตรการที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงงบประมาณของภาครัฐในอนาคตและ การประหยัดพลังงานซึ่งยังคงมีความสำคัญต่อไป
2. การประเมินผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าและบริการ พร้อมทั้งมาตรการบรรเทาผลกระทบ
กระทรวงพาณิชย์ได้รายงานต่อที่ประชุมสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
2.1 กระทรวงพาณิชย์ ได้ทำการศึกษาผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าโดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าเมื่อราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าเมื่อค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น และผลกระทบต่อต้นทุนเมื่อราคาค่าขนส่งปรับสูงขึ้น ซึ่งจากการวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนของสินค้าในการกำกับดูแลของกระทรวง พาณิชย์จำนวน 73 รายการ เมื่อเปรียบเทียบราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลิตรละ 12.82 บาท ในปัจจุบันกับราคาในเดือนมิถุนายน 2542 เฉลี่ยลิตรละ 8.30 บาท ทำให้สินค้าที่มีน้ำมันเป็นปัจจัยในการผลิตจำนวน 53 รายการได้รับผลกระทบจำนวน 12 รายการ ในอัตราร้อยละ 1-7 โดยเมื่อเทียบกับที่รายงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติครั้งที่แล้วมี สินค้าที่ได้รับผลกระทบเพียง 7 รายการ สินค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดได้แก่ ปูนซิเมนต์ (ปอร์ตแลนด์) ร้อยละ 7 รองลงมาคือ ตะปู ได้รับผลกระทบร้อยละ 4 กระเบื้องคอนกรีตร้อยละ 3 ส่วนที่เหลืออีก 9 รายการ ได้รับผลกระทบเพียงร้อยละ 1
2.2 ในส่วนของค่ากระแสไฟฟ้าได้มีการติดตามประสานงานกับการไฟฟ้าคาดว่าจะมีการ ปรับอยู่ที่ร้อยละ 6 และถ้ามีการปรับในเดือนเมษายนนี้ สินค้าที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ แคลเซียมคาร์ไบต์ รองลงมาคือ น้ำมันหล่อลื่น และกระดาษ ซึ่งก็มีผลกระทบไม่มากนัก ส่วนผลกระทบที่เกิดจากค่าขนส่งจะมี ผลกระทบแตกต่างกันไปในระดับของราคาขายปลีก รายการสินค้าที่กระทบมากที่สุด คือสินค้าวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ ปูนซีเมนต์ เหล็กเส้น เป็นต้น
2.3 มาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ได้มีมาตรการให้ ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพประมาณ 570 ราย แจ้งการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า ให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วันทำการก่อนการปรับราคาสินค้า เพื่อศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนสินค้าและพิจารณาราคาจำหน่ายที่เหมาะสมตามภาระต้น ทุนที่แท้จริง นอกจากนี้ ได้มีการติดตามดูแลความเคลื่อนไหวของราคาและปริมาณสินค้า รวมทั้งพฤติกรรมผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ จัดเจ้าหน้าที่สายตรวจออกตรวจสอบภาวะสินค้าเป็นประจำทุกวันทำการ รวมทั้ง การตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และการจัดจำหน่ายสินค้าราคายุติธรรมให้แก่ผู้บริโภค
3. การประเมินผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าและบริการในสาขาเกษตร พร้อมทั้งมาตรการบรรเทาผลกระทบ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานต่อที่ประชุมสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
3.1 ภาคเกษตรกรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 สาขาหลัก คือ การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ ป่าไม้ และประมง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสาขาการเพาะปลูก คือ เรื่องน้ำ การขนส่ง และราคาสินค้า และเนื่องจาก สินค้าเกษตรมีราคาต่อหน่วยต่ำมาก เพราะฉะนั้นจะได้รับผลกระทบจากราคาค่าขนส่งเป็นหลัก ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่ต้องอาศัยการขนส่ง เช่น ปุ๋ยเคมี ซึ่งมีปริมาณการใช้ปีละประมาณ 3 ล้านตัน โดยปกติราคา ค่าขนส่งเฉลี่ยที่ 575 บาทต่อตัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระยะทาง เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 12.50 บาทต่อลิตร จากราคาเดิม 12.00 บาทต่อลิตร จะส่งผลให้ค่าขนส่งเพิ่มขึ้นอีก 28.75 บาทต่อตัน สำหรับราคาสินค้าตามที่กระทรวงพาณิชย์ได้ชี้แจงว่าได้รับผลกระทบก็จะส่งผล กระทบต่อราคาสินค้าเกษตรยิ่งขึ้น ส่วนในเรื่องการใช้ น้ำเพื่อการเกษตรจะมีต้นทุนเกี่ยวกับค่าไฟฟ้าและน้ำมันดีเซล ซึ่งจะมีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตร
3.2 ด้านการเลี้ยงสัตว์จะเกี่ยวข้องกับราคาอาหารสัตว์ หากราคาอาหารสัตว์เพิ่มสูงขึ้นจากภาระค่าขนส่ง ซึ่งผู้ประกอบการมักจะผลักภาระให้แก่เกษตรกรก็จะส่งผลให้ต้นทุนการเลี้ยง สัตว์เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ ผลกระทบจากค่าไฟฟ้าที่ปรับตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิง จะทำให้ต้นทุนการผลิตปศุสัตว์ปรับสูงขึ้นบางส่วน เช่น ราคาค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสุกรร้อยละ 0.007 ไก่เนื้อร้อยละ 0.09 และไข่ไก่ร้อยละ 0.01 ส่วนด้านการทำป่าไม้ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นน้อยมาก
3.3 ด้านการประมงจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้มี โครงการช่วยเหลือลดราคาน้ำมันให้ชาวประมง มาตั้งแต่ปี 2539 โดยใช้เงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการ ช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ซึ่งได้มีการอนุมัติเงินกองทุนฯ แบบจ่ายขาดเป็นจำนวน 420 ล้านบาท ปัจจุบันมีเงินคงเหลืออยู่ไม่ต่ำกว่า 160 ล้านบาท แต่เนื่องจากโครงการ ระยะที่ 3 ในปี 2541 คชก. ได้มีมติกำหนดเพดานราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ราคาเกินกว่า 7.95 บาทต่อลิตร แต่ชดเชยให้ชาวประมงไม่เกิน 0.97 บาทต่อลิตร และเมื่อบวกค่าการตลาดแล้วจะเป็นเงินช่วยเหลือชาวประมงไม่เกิน 1.75 บาทต่อลิตร ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2542 มีเงื่อนไขเพิ่มเติมจำกัดขนาดของเรือประมงที่ได้รับความช่วยเหลือคือเรื่อง ประมงที่มีความยาวน้อยกว่า 18 เมตร ลงมา ดังนั้น เรือประมงขนาดใหญ่จะไม่อยู่ในข่ายที่ได้รับความช่วยเหลือ แต่ก็สามารถเติมน้ำมันจากนอกน่านน้ำได้ ขณะนี้ชาวประมงได้มีข้อเรียกร้องให้กำหนดเพดานการชดเชยเพิ่มขึ้นจาก 0.97 บาทต่อลิตร เป็นไม่น้อยกว่า 3 บาทต่อลิตร ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะนำเสนอ คชก. เพื่อพิจารณาต่อไป
3.4 กระทรวงเกษตรฯ มีความเห็นเพิ่มเติมว่าในขณะนี้เรือประมงยังไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนเครื่อง ยนต์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยยังใช้เครื่องยนต์ของรถบรรทุกซึ่งไม่ประหยัดพลังงาน ในระยะยาวกระทรวงเกษตรฯ จะพิจารณากำหนดมาตรการช่วยเหลือชาวประมงในการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ให้ เหมาะสม และจะนำหารือกับคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติต่อไป
4. การประเมินผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าและบริการในสาขาอุตสาหกรรม พร้อมทั้ง มาตรการบรรเทาผลกระทบ
กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รายงานต่อที่ประชุมสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
4.1 กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เพื่อรับทราบผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งการพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ภาคเอกชน จากผลการประชุมสรุปได้ว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2542 ปรากฏว่า ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 40-50 และค่า Ft ได้เปลี่ยนแปลงจากเดือนมิถุนายน 2542 ซึ่งเท่ากับ 32.60 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้นเป็น 56.32 สตางค์ต่อหน่วย ปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลต่อต้นทุนราคาสินค้าประเภทต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมแก้ว และสิ่งทอ ซึ่งได้รับผลกระทบมาก รองลงมา คือ อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ เหล็ก และแปรรูปอาหาร ซึ่งมีต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5
4.2 มาตรการบรรเทาผลกระทบ แบ่งเป็น 4 มาตรการด้วยกัน คือ มาตรการช่วยเหลือ มาตรการปรับเปลี่ยนพลังงาน มาตรการประหยัด และมาตรการอื่นๆ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
4.2.1 มาตรการช่วยเหลือ ประกอบด้วย
(1) โครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลราคาถูกให้ชาวประมง โดย ปตท. ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการช่วยเหลือชาวประมงในการจำหน่าย น้ำมันดีเซลราคาต่ำกว่าราคา ขายปลีกประมาณ 1.75 บาทต่อลิตร โดยเป็นส่วนลดที่กระทรวงเกษตรฯ ให้แก่ชาวประมง 0.97 บาทต่อลิตร และ ปตท. ให้ ส่วนลดอีก 0.60 บาทต่อลิตร ซึ่งโครงการนี้จะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 สิงหาคม 2543 เมื่อโครงการสิ้นสุดลง ปตท. ก็จะดำเนินการให้ส่วนลดในส่วนของ ปตท. ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2543 ไม่ว่า คชก. จะมีโครงการร่วมหรือไม่ก็ตาม
(2) โครงการจำหน่ายน้ำมันราคาถูกให้เกษตรกร โดย ปตท. ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ได้ดำเนินการจำหน่ายน้ำมันเบนซินและดีเซลราคาถูกให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่เป็น สมาชิกของ ธกส. ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2542 โดยขายต่ำกว่าราคาขายปลีก 0.15 บาทต่อลิตร ในพื้นที่ 47 จังหวัด ผ่านสถานีบริการทั้งหมด 274 แห่ง และ ปตท. จะขยายโครงการให้ครอบคลุมทุกจังหวัด โดยผ่านสถานีบริการ ของ ปตท. รวม 1,500 แห่ง ภายในปี 2544 คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมโครงการจากเดิม 9,000 ราย เพิ่มเป็น 30,000 ราย ซึ่งเกษตรกรจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 22 ล้านบาทต่อปี
(3) การจำหน่ายน้ำมันราคาถูกให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โดย ปตท. จะจำหน่ายน้ำมันราคาถูกให้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ขึ้น ทะเบียนกับกระทรวงอุตสาหกรรม โดยให้ซื้อน้ำมันจาก ปตท. โดยตรง ซึ่งจะมีส่วนลดของน้ำมันดีเซลลดลงจากราคาปกติ 0.15 บาทต่อลิตร และน้ำมันเตาลดลงจากราคาปกติ 0.07 บาทต่อลิตร ซึ่งจะเป็นมาตรการชั่วคราวไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2543
4.2.2 มาตรการปรับเปลี่ยนพลังงาน
กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาในภาค ผลิตกระแสไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง ปัจจุบันปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศประมาณ 1,900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในขณะที่กำลังการผลิตและส่งก๊าซธรรมชาติมีประมาณ 2,600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งเพียงพอสนองตอบความต้องการใช้ในภาคการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรม และขนส่ง ขณะเดียวกัน ปตท. ก็สามารถขยายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้เพิ่มขึ้นเป็น 3,000-4,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน เพื่อรองรับความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยในระยะยาว ปตท. วางแผนที่จะวางระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเชื่อมโยงจากราชบุรีไปยังวังน้อยเพื่อ ให้ระบบท่อฯ เชื่อมโยงไปได้ทั่วประเทศ ขณะเดียวกันก็จะมี โครงการวางท่อก๊าซธรรมชาติรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อสนองตอบความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคการผลิตต่างๆ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมมีข้อเสนอเพื่อให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พิจารณาอนุมัติเพื่อให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติแทนน้ำมันในภาคการผลิตต่างๆ ดังนี้
(1) ภาคการผลิตไฟฟ้า ให้มีการเร่งรัดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งล่าช้ามากกว่า 18 เดือน ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้สามารถใช้ก๊าซธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ และในระยะยาวสนับสนุนให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในโรงไฟฟ้าพระนครเหนือและพระ นครใต้ ซึ่งสามารถดัดแปลงอุปกรณ์จากการใช้น้ำมันเตามาใช้ก๊าซธรรมชาติได้เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนการผลิตและลดมลภาวะทางอากาศด้วย
(2) ภาคอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจนในการให้ภาคอุตสาหกรรมเพิ่ม การใช้ก๊าซธรรมชาติ จากเดิมร้อยละ 19 เพิ่มเป็นร้อยละ 27 ของปริมาณการใช้ เชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรมโดยรวมในระยะ 5 ปีข้างหน้า โดย ปตท. มีแผนที่จะวางระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร เพื่อส่งก๊าซธรรมชาติให้โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้ง โรงไฟฟ้าพระนครเหนือและพระนครใต้ แต่ทั้งนี้โรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ หัวจ่าย เตาเผา เพื่อให้สามารถใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงได้ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้น เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติเร็วยิ่งขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงขอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ความเห็นชอบใน หลักการในการสนับสนุนเงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นเงินลงทุนปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้แก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และให้กระทรวงการคลังพิจารณายกเว้นหรือลดหย่อนอากรการนำเข้าของอุปกรณ์ที่ เกี่ยวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติ
(3) ภาคคมนาคมขนส่ง ปตท. อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการดัดแปลงเครื่องยนต์มาใช้ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้ได้มีการประสานงานกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) แล้ว โดยในระยะแรกจะดำเนินการดัดแปลงเครื่องยนต์รถของ ขสมก. จำนวน 291 คัน และรถเก็บขยะของ กทม. จำนวน 400 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 691 คัน ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนให้ ขสมก. และ กทม. ได้ประมาณปีละ 32 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ทั้งสองหน่วยงานมีปัญหาในเรื่องเงินลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรมจึงขอให้ กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้การสนับสนุนแก่ ขสมก. ในการดัดแปลงเครื่องยนต์ในวงเงิน 270 ล้านบาท และเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำให้แก่ กทม. ในการดัดแปลงรถเก็บขยะวงเงิน 180 ล้านบาท รวมทั้ง เงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำให้แก่ ปตท. ในการก่อสร้างสถานีบริการก๊าซธรรมชาติรวม 6 สถานี ในวงเงิน 180 ล้านบาท เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ ซึ่งในปัจจุบันมีสถานีบริการอยู่ที่รังสิตเท่านั้น โดยสถานีบริการที่จะก่อสร้างเพิ่มอีก 6 สถานี จะอยู่ที่จังหวัดชลบุรีและตามจุดต่างๆ ที่เป็นจุดจอดรถของ ขสมก.
อย่างไรก็ตาม ในการก่อสร้างท่อก๊าซธรรมชาติวงแหวนรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนี้ เนื่องจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดให้มีการจัดทำ รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อขอความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมก่อน จึงจะพิจารณาอนุมัติโครงการได้ แต่โครงการนี้ยังไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบ ทางวิศวกรรมจึงยังไม่สามารถจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้น ถ้าจะให้โครงการแล้วเสร็จในปี 2545 ก็ต้องเริ่มดำเนินงานให้ได้ภายในปีนี้ จึงเสนอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ ปตท. สามารถดำเนินการไปได้ก่อน เช่น การศึกษาด้านการวางท่อก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ปตท. จะมีการทบทวนแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซ ธรรมชาติอีกครั้ง เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรม และขนส่งได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
(4) การเร่งรัดดำเนินการสำรวจและให้สัมปทาน กระทรวงอตุสาหกรรมมีนโยบาย จะเร่งรัดให้ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมสำรวจและพัฒนาการผลิตน้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติจากแหล่งภายในประเทศ และ/หรือ ประเทศเพื่อนบ้านให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะเร่งรัดให้มีการเปิดให้เอกชนรายใหม่เข้ามาขอสัมปทานตามกฎหมาย ปิโตรเลียม เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณสำรองพลังงานของประเทศและลดการพึ่งพาพลังงานจากต่าง ประเทศ และได้มีการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานทดแทนอื่นๆ ภายในประเทศ เช่น ถ่านหิน
(5) การพิจารณาเพิ่มสัดส่วนการจัดหาน้ำมันดิบที่นำเข้าแบบรัฐต่อรัฐ ปตท. ได้พยายามจัดหาน้ำมันดิบในลักษณะรัฐต่อรัฐ โดยในปีนี้ ปตท. ได้จัดหาน้ำมันดิบจากโอมาน ซึ่งสามารถจัดซื้อได้ราคาถูกกว่าตลาดจร ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 86 ล้านบาทต่อปี และหลังจากบริษัทไทยออยล์ จำกัด ได้ปรับโครงสร้างหนี้เรียบร้อยแล้ว ปตท. ต้องจัดหาน้ำมันดิบให้บริษัทไทยออยล์เพิ่มขึ้นจาก 100,000 บาร์เรล ต่อวัน เพิ่มเป็น 200,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถวางแผนจัดหาน้ำมันในลักษณะรัฐต่อรัฐ จากประเทศต่างๆ ได้ เช่น บรูไน หรือ โอมาน เพิ่มขึ้น ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าน้ำมันดิบได้ อย่างน้อยประมาณ 130 ล้านบาทต่อปี
4.2.3 มาตรการประหยัดพลังงาน ประกอบด้วย 3 โครงการ คือ
(1) การรณรงค์การใช้น้ำมันให้ถูกประเภท โดยให้ผู้ที่ใช้รถยนต์ซึ่งเครื่องยนต์เหมาะกับน้ำมันเบนซินออกเทน 91 แต่ยังคงใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 95 ให้เปลี่ยนมาใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 91 แทน โดย ปตท. ได้ร่วมกับ สพช. ในการรณรงค์ผ่านสื่อโฆษณาต่างๆ เพื่อผลักดันให้มีการใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 91 มากขึ้น
(2) การรณรงค์ให้มีการปรับแต่งเครื่องยนต์ (Tune-up) โดย ปตท. ได้ดำเนินการอยู่แล้ว 5 แห่งในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งผลปรากฏว่ารถยนต์ที่เข้ามาปรับแต่งเครื่องยนต์สามารถลดการใช้เชื้อเพลิง ได้เฉลี่ยร้อยละ 5 และในปี 2543 นี้ จะขยายโครงการไปยังต่างจังหวัด โดยจะดำเนินการร่วมกับจังหวัด และขนส่งจังหวัด เข้าไปดำเนินการรวม 60 แห่ง โดยจะขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในการ ดำเนินการวงเงินประมาณ 15 ล้านบาท
(3) โครงการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นโครงการระยะกลางและระยะยาว ประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก คือ
1.การประชาสัมพันธ์และจัดสัมมนาเพื่อกระตุ้นให้โรงงานอุตสาหกรรมเห็นความ สำคัญของการประหยัดพลังงาน และวิธีการจัดการในการประหยัดพลังงาน โดยมีเป้าหมายการประชาสัมพันธ์ให้โรงงานทราบจำนวน 50,000 แห่ง และการจัดสัมมนาให้แก่โรงงานจำนวน 25,000 แห่ง ในระยะเวลา 5 ปี โดยขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน วงเงิน 100 ล้านบาท
2.การให้คำปรึกษาแนะนำแก่โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สามารถดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานได้โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ ใดๆ ทั้งสิ้น โดยขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน วงเงิน 150 ล้านบาท คาดว่าโรงงานจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 1,500 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 5 ปี
3.การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดพลังงานให้แก่โรงงานอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ กฟผ. และกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ได้ดำเนินโครงการนำร่องอยู่แล้วเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่โรงงาน โดยจะขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับการดำเนินการในระยะเวลา 5 ปี วงเงิน 360 ล้านบาท
4.การประหยัดพลังงานโดยใช้ประโยชน์จากความร้อนที่เหลือจากการผลิต โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีเป้าหมายที่จะดำเนินการในอุตสาหกรรม 5 ประเภท คือ อุตสาหกรรมหลอมเหล็ก แก้วและกระจก ปูนซีเมนต์ หลอมอลูมิเนียม และเซรามิค ในการนำพลังงานความร้อนที่เหลือจากการผลิตมาใช้ประโยชน์ โดยจะขอความเห็นชอบในหลักการในการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน
5.โครงการปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่เพื่อประหยัดพลังงาน โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งได้มีการดำเนินการไปบ้างแล้วโดยได้รับความช่วยเหลือจาก ต่างประเทศ และเห็นว่าโครงการนี้ได้ผลดีในการประหยัดพลังงาน ขณะนี้ยังมีเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ซึ่งมีอายุใช้งานเกินกว่า 10 ปี อีกมาก จึงขอความเห็นชอบในหลักการในการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในการดำเนินการ โดยคาดว่าจะสามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้กว่าร้อยละ 20
4.2.4 มาตรการอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นมาตรการเชิงนโยบาย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอให้มีมาตรการในการรักษาเสถียรภาพของราคาขายปลีก น้ำมันในประเทศ โดยอาจมีการพิจารณาปรับปรุง โครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศ เนื่องจากมีการใช้มาเป็นระยะเวลานานแล้ว จึงควรพิจารณาปรับปรุงให้ เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เช่น ราคาน้ำมันควรจะยังอิงราคาตลาดสิงคโปร์ต่อไปหรือไม่
5. การประเมินผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าและบริการในสาขาขนส่ง พร้อมทั้งมาตรการบรรเทาผลกระทบ
กระทรวงคมนาคมได้รายงานต่อที่ประชุมสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
5.1 สัดส่วนของต้นทุนที่มาจากน้ำมันในภาคขนส่งมีต้นทุนอยู่ระหว่างร้อยละ 17-31 ของต้นทุนทั้งหมด โดยขึ้นอยู่กับว่าเป็นพาหนะชนิดใด และประเภทใด ในช่วงที่มีวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน กระทรวงคมนาคม ได้ขอให้ผู้ประกอบการช่วยรับภาระไปก่อน โดยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก ในการกำหนดราคาค่าโดยสารและค่าขนส่ง ซึ่งก็มีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ
5.2 ในการวิเคราะห์ต้นทุนค่าขนส่งมีสมมุติฐานของราคาน้ำมันเฉลี่ยในปี 2543 ลิตรละ 10.82 บาท หากราคาขึ้นลงใกล้เคียงตามสมมุติฐานก็ได้ให้ผู้ประกอบการขนส่งรับภาระไป แต่ปัจจุบันราคา น้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าที่ผู้ประกอบการขนส่งจะแบกรับภาระแต่เพียงฝ่าย เดียว กระทรวงคมนาคมจึงเห็นควรให้ความช่วยเหลือรถโดยสาร โดยการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลให้แก่ผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ รถโดยสารประจำทาง รถขนาดเล็ก รถบรรทุก รวมทั้ง เรือโดยสารด้วย
5.3 ส่วนที่จะชดเชยให้ คือ ส่วนที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันดีเซลตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ คือ เฉลี่ยลิตรละ 10.82 บาท ถ้าราคาน้ำมันดีเซลในปัจจุบันที่ 12.82 บาท/ลิตร ก็จะชดเชยให้ในอัตราลิตรละ 2 บาท โดยอาจจัดทำเป็นคูปองน้ำมัน ซึ่งกระทรวงคมนาคมสามารถกำหนดราคาได้แน่นอนจากประเภทของรถและระยะทางที่วิ่ง ส่วนรถแท๊กซี่จะไม่ได้รับการชดเชยเนื่องจากควบคุมได้ยากและเป็นบริการทาง เลือกของผู้โดยสาร โดยมิได้เป็นบริการพื้นฐานที่จำเป็นต่อประชาชนโดยส่วนรวม อย่างไรก็ตาม รถแท๊กซี่อาจใช้วิธีต่อรองราคากับ ผู้โดยสารในการขอเพิ่มค่าโดยสารได้
5.4 กระทรวงคมนาคม จึงขออนุมัติในหลักการในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ ขนส่ง โดยกระทรวงคมนาคมรับจะไปหารือกับกระทรวงการคลังสำหรับหลักเกณฑ์ในการชดเชย แหล่งเงินชดเชย และวงเงินที่จะชดเชยต่อไป ในส่วนของผู้ประกอบการขนส่งที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ รถ ขสมก. รถของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) รถขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.) และรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย เห็นควรให้มีการตรึงราคาค่าโดยสารและค่าขนส่งต่อไป โดยในส่วนที่ขาดทุนกำไรของรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ ขอให้ รัฐบาลพิจารณาช่วยเหลือจากงบประมาณ
การพิจารณาและข้อสังเกตของที่ประชุม
1.การวิเคราะห์ผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พบว่าในกรณีที่ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยทั้งปี 2543 ในระดับ 29 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงจากแนวโน้มเดิม ร้อยละ 0.78 และมีผลกระทบทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคสูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.63 ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่มากนัก ส่วนผลกระทบต่อต้นทุนสินค้ามีไม่มากนัก เนื่องจากน้ำมันคิดเป็นต้นทุนในการผลิตสินค้าค่อนข้างต่ำ
2.มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในการจำหน่ายน้ำมันราคาถูกให้แก่เกษตรกรซึ่ง เป็นสมาชิก ธกส. ทั่วประเทศ โดย ปตท. จะขยายการดำเนินการไปยังสถานีบริการเพิ่มเป็น 1,500 แห่งนั้น เป็นโครงการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรได้เป็นอย่างมาก แต่เห็นควรเร่งรัดจากกำหนดเดิมซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปี 2544 เป็นให้แล้วเสร็จเร็ว ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของเกษตรกรรายย่อยซึ่งกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ อาจมีต้นทุน ในการเดินทางมาใช้บริการเพื่อรับส่วนลดจากสถานีบริการของ ปตท. จึงขอให้ ปตท. รับไปพิจารณาว่าจะเพิ่มส่วนลดจาก 15 สตางค์ต่อลิตร เป็น 30 สตางค์ต่อลิตร ได้หรือไม่ นอกจากนี้ การใช้น้ำมันกับเครื่องยนต์ที่ใช้งานของเกษตรกรในปัจจุบันมีคุณภาพดีเกินไป ดังนั้น หากเกษตรกรสามารถใช้น้ำมันให้เหมาะกับเครื่องยนต์แล้ว ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ซึ่งในเรื่องของคุณภาพน้ำมันนั้น ปตท. ได้ชี้แจงว่าเกษตรกรสามารถใช้น้ำมัน คุณภาพต่ำกว่าออกเทน 87 โดยใช้ NGL มาผสมได้ แต่เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมามีบางสถานีบริการนำ NGL ไปปลอมปม ทำให้คุณภาพน้ำมันไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด จึงได้ยกเลิกไปเนื่องจากควบคุมได้ยาก
3.ปตท. รับที่จะไปดำเนินการเร่งรัดการขยายสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันราคาถูกให้แก่ เกษตรกรให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และรับที่จะไปพิจารณาความเป็นไปได้ในการเพิ่มส่วนลดเป็น 30 สตางค์ต่อลิตร นอกจากนี้ ปตท. ได้รายงานเพิ่มเติมว่าได้มีการเจรจาเพื่อซื้อน้ำมันเพิ่มขึ้นจากโอมาน และได้มีการเจรจาในเรื่อง Strategic Partner เพื่อทำธุรกิจร่วมกับโอมานในการให้โอมานใช้คลังเก็บน้ำมันของ ปตท. 3 คลัง คือ คลังศรีราชา สีชังทอง และเพชรบุรี เพื่อขายน้ำมันให้กับไทยหรือประเทศใกล้เคียง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขาย น้ำมันดิบแทนที่จะเป็นสิงคโปร์เพียงแห่งเดียว ซึ่งขณะนี้กำลังมีการเจรจากับโอมานอย่างต่อเนื่อง สำหรับแหล่งน้ำมันที่ ปตท. กำลังพิจารณาให้มีการเจรจาซื้อน้ำมันเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไน ซูดาน และอาหรับเอมิเรสต์ อย่างไรก็ตาม ปตท. อยากให้มีการเร่งรัดให้โรงไฟฟ้าราชบุรีแล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติได้ตามสัญญา และให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นทั้งในการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรม เพื่อช่วยลดภาระของ ปตท. ที่ ต้องจ่าย Take or Pay ให้แก่สหภาพพม่าอยู่ในขณะนี้
4.กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ เพื่อเป็นการกดดันให้กลุ่มผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออกหรือโอเปคมีมติให้เพิ่ม ปริมาณการผลิต ในการประชุมในวันที่ 27 มีนาคม 2543 รวมทั้งจะได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยประเทศไทยในฐานะประธานคณะกรรมการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและ การพัฒนา (UNCTAD) จะได้มีหนังสือไปถึงกลุ่มโอเปคเพื่อขอความร่วมมือในการรักษา เสถียรภาพราคาน้ำมัน อันจะก่อประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่อไปด้วย
5.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่านโยบายการใช้ก๊าซธรรมชาติให้มากขึ้น และใช้น้ำมันให้น้อยลง เป็นนโยบายที่ได้ดำเนินการมาก่อนแล้ว และได้ดำเนินการมา อย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการพัฒนาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านขึ้นมาใช้ประโยชน์ อยู่ในขณะนี้ ซึ่งเดิมการผลิตไฟฟ้าจะใช้น้ำมันถึงร้อยละ 80 แต่ปัจจุบันใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 และใช้น้ำมันเพียงร้อยละ 10-15 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ต้องมีการพัฒนาระบบท่อ ให้แล้วเสร็จ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปแล้ว ก็ขอให้รีบดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว นอกจากนี้ ยังเห็นว่านโยบายการกระจายชนิดของเชื้อเพลิงยังคงมีสำคัญต่อความมั่นคงของ ชาติ การพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเกินกว่าร้อยละ 75 จะมีความเสี่ยงเกินไป และแหล่งสำรองที่มีอยู่ก็จะต้องหมดไป ในประเด็นของโครงการวางระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑลต้องมีการจัดทำประชาพิจารณ์ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเงื่อนไขใหม่ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ การอนุมัติโครงการไปก่อนการจัดทำประชาพิจารณ์ก็จะมีปัญหาให้ประชาชนกล่าวหา รัฐบาลได้ว่าอนุมัติโครงการไปแล้วจึงมาทำประชาพิจารณ์ ในส่วนของโครงสร้างราคาน้ำมันซึ่งอิงราคาตามตลาดสิงคโปร์ ก็เนื่องจากเป็นตลาดน้ำมันในภูมิภาคเอเซียที่ใหญ่ที่สุด และมีโรงกลั่นขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด หากจะใช้ราคาอื่นแทนราคาที่สิงคโปร์ก็ควรให้ ปตท. เจรจากับโรงกลั่นในการใช้ราคาอ้างอิงอื่น แต่ไม่ควรควบคุมการกลั่นหรือค่าการตลาด
6.กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีความเห็นว่าการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในการวางระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สามารถผ่อนปรนได้บ้าง โดยให้ ปตท. จัดทำเป็น Pre-interim Report ก่อนได้ และเป็นการตัดสินใจของหน่วยงานต้นสังกัดว่าจะลงลึกแค่ไหน เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายรองรับที่ชัดเจน ในส่วนของกระทรวงการคลังยินดีที่จะจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ได้ เมื่อ ปตท. สามารถผลักดันโครงการให้ผ่านเรื่องสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) รับที่จะไปหารือกับคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ หากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะมีหนังสือยืนยันมาตามความเห็นข้างต้น เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการไปได้โดยเร็ว
7.การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการขนส่งในส่วนของกระทรวงคมนาคมนั้น ที่ประชุมเห็นว่าควรพิจารณาให้การชดเชย แต่ควรรอผลการประชุมของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันในวันที่ 27 มีนาคม 2543 นี้ก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันอาจจะลดลงมาได้ใกล้เคียงกับ 10.82 บาทต่อลิตร เพราะการพิจารณาให้เงินชดเชยแก่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องมีการวางหลักเกณฑ์ ที่เหมาะสมและพิจารณาแหล่งเงินที่จะนำมาใช้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน
8.มาตรการในการบรรเทาผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นของหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะมาตรการทางด้านการปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงและมาตรการอนุรักษ์พลังงาน นั้น ส่วนใหญ่เป็นมาตรการที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้เคยมีมติให้ดำเนินการในการประชุมเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2542 แล้ว ดังนั้น จึงเห็นควรให้หน่วยงานต่างๆ เร่งดำเนินการตามมาตรการที่ได้เคยเห็นชอบไปแล้ว รวมทั้งในรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ขออนุมัติเพิ่มเติมในครั้งนี้ด้วย เพื่อให้มีผลปรากฏอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ หากมีมาตรการใดที่ให้ไปดำเนินการแล้ว และเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการได้ก็ให้หยุดดำเนินการ และหากเห็นว่ามีมาตรการ อะไรใหม่ที่จะสามารถดำเนินการได้ ก็ให้นำเสนอคณะกรรมการฯ ต่อไป
9.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ได้เสนอว่า เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันมีความผันผวนมากและควรให้มีการติดตามมาตรการ ต่างๆ จึงเห็นควรกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเดือนละครั้ง และให้ที่ประชุมกำหนดวันประชุมในครั้งต่อไป ซึ่งประธานฯ เห็นชอบในหลักการให้มีการประชุมเดือนละครั้ง ส่วนในครั้งต่อไปให้มีการประชุมหลังจากทราบผลการประชุมของกลุ่มโอเปคในวัน ที่ 27 มีนาคม 2543 แล้วประมาณ วัน
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบมาตรการในการช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบต่อราคาน้ำมันที่สูงขึ้นดังนี้
1.มาตรการการลดราคาน้ำมัน
เห็นชอบให้ความช่วยเหลือเป็นการเฉพาะกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรง ดังนี้
1.1 กลุ่มเกษตรกร ให้ ปตท. เร่งดำเนินการจำหน่ายน้ำมันเบนซินและดีเซลแก่กลุ่มเกษตรกร ที่เป็นลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ซึ่ง ปตท. ได้ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2542 ในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายปลีก 0.15 บาทต่อลิตร ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดผ่านสถานีบริการ 1,500 แห่ง ภายในปี 2543 รวมทั้ง ให้ ปตท. ลดราคาลงมากกว่า 0.15 บาทต่อลิตร ด้วย
1.2 กลุ่มประมง เดิมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มี มติให้ขยายระยะเวลาช่วยเหลือลดราคาน้ำมันให้ชาวประมงออกไปอีก 1 ปี จากเดิม สิ้นสุด 15 สิงหาคม 2542 เป็นสิ้นสุด 31 สิงหาคม 2543 ในวงเงิน 420 ล้านบาท ที่ประชุม เห็นว่าควรมีการขยายระยะเวลาออกไปอีก และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณา เสนอวงเงินเพิ่มเติมไปที่ คชก. เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ปตท. ได้ยืนยันที่จะขยาย ระยะเวลาขายน้ำมันราคาถูกให้กลุ่มประมงไปอีกจนถึงสิ้นปี 2543 โดยให้ส่วนลดลิตรละ 60 สตางค์ แม้ว่า คชก. จะมีโครงการร่วมกันต่อไปหรือไม่ก็ตาม
1.3 กลุ่มผู้ประกอบการรถโดยสารและรถบรรทุก เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงคมนาคม ช่วยเหลือชดเชยค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งที่ได้รับอนุญาต จากกรม การขนส่งทางบก โดยมอบหมายให้ไปหารือกับกระทรวงการคลังถึงรูปแบบการชดเชย อัตราการชดเชยพร้อมทั้งแหล่งเงินทุน ทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลของการประชุมของกลุ่มโอเปค ในวันที่ 27 มีนาคม 2543 นี้ด้วย ว่าราคาน้ำมันจะเป็นอย่างไร เพราะว่าจะมีผลต่ออัตรา การชดเชย เนื่องจากการคำนวณอัตราค่าขนส่งในปี 2543 ใช้ราคาน้ำมันดีเซลที่ 10.82 บาทต่อลิตร เป็นพื้นฐาน
1.4 กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม ให้ ปตท. จำหน่ายน้ำมันราคาถูกให้แก่ผู้ประกอบ อุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงอุตสาหกรรมในอัตราส่วนลด ของน้ำมันดีเซลลิตรละ 0.15 บาท และน้ำมันเตาลิตรละ 0.07 บาท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2543
2.มาตรการปรับเปลี่ยนพลังงาน
เห็นชอบให้มีการเร่งดำเนินการมาตรการปรับเปลี่ยนการใช้น้ำมันเป็นก๊าซ ธรรมชาติมากขึ้น ทั้งในการผลิตไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และการขนส่ง ซึ่งเป็นมาตรการที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้เคยมีมติไปแล้วเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2542 ดังนี้
2.1 ภาคการผลิตไฟฟ้า
1) เร่งรัดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าราชบุรีที่ล่าช้ามากกว่า 18 เดือน ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมทั้งให้ กฟผ. และ ปตท. เร่งลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ เพื่อใช้ ในโรงไฟฟ้าให้แล้วเสร็จ
2) ในระยะยาวเห็นควรสนับสนุนให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในส่วนขยายปรับปรุง ทั้งที่โรงไฟฟ้าพระนครเหนือและพระนครใต้เพิ่มขึ้น โดยมีระบบการจ่ายก๊าซธรรมชาติ ผ่านท่อราชบุรี - วังน้อย ไปยังวงแหวนรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2.2 ภาคอุตสาหกรรม
1) ให้ ปตท. ดำเนินการให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น จากระดับร้อยละ 19 เป็นร้อยละ 27 ของปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดภายในระยะเวลา 5 ปี โดยให้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับเงินลงทุนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ใช้ก๊าซธรรมชาติ ในโรงงานอุตสาหกรรม และให้กระทรวงการคลังพิจารณายกเว้นหรือลดหย่อนอากรการนำเข้าของอุปกรณ์ที่ เกี่ยวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติ เพื่อเป็นการจูงใจผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมตัดสินใจเลือกใช้ก๊าซธรรมชาติ เพิ่มมากขึ้น
2.3 ภาคคมนาคมขนส่ง
1) ให้ ปตท. เร่งดำเนินการการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดในยานพาหนะ (CNG) ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มีมติไปแล้วเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2542 โดยเห็นชอบในหลักการให้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ พลังงานสำหรับค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงและเปลี่ยนเครื่องยนต์ ในวงเงิน 270 ล้านบาท และให้เงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำแก่ กทม. ในการดัดแปลงรถขยะ 160 ล้านบาท และ ปตท. ในการก่อสร้างสถานีบริการก๊าซธรรมชาติอัด จำนวน 6 สถานี ในวงเงิน 180 ล้านบาท
2) เห็นชอบให้ ปตท. ดำเนินการโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติรอบกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล เพื่อต่อเชื่อมกับท่อก๊าซราชบุรี - วังน้อย ในวงเงิน 95 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยให้กระทรวงการคลังสนับสนุนในการหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
3) ให้ ปตท. ทบทวนแผนแม่บทการลงทุนขยายโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติหลักของ ปตท. ทั้งหมด เพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ของภาคผลิตไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และภาคคมนาคมขนส่ง
4) เพื่อให้โครงการท่อก๊าซฯ รอบกรุงเทพฯ และปริมณฑลสามารถเริ่มโครงการได้ ประมาณกลางปี 2543 และแล้วเสร็จภายในปี 2545 และสามารถส่งก๊าซธรรมชาติ ตอบสนองความต้องการก๊าซธรรมชาติที่จะสูงขึ้นได้ จึงให้สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเร่งพิจารณาอนุมัติโครงการ โดยให้ประสาน กับกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในการกำหนดวิธีการนำเสนอ ผลการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และสามารถปฏิบัติตามได้ตาม วิธีการที่ใช้อยู่ ในปัจจุบัน
5) ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งรัดให้ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม สำรวจและพัฒนาผลิต น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเร่งรัดให้มีการเปิดให้เอกชนรายใหม่เข้ามาขอสัมปทานตามกฎหมาย ปิโตรเลียมเพิ่มมากขึ้น และเร่งรัดให้นำแหล่งถ่านหินที่ได้มีการสำรวจและประเมิน ไว้แล้ว มาเปิดประมูลเพื่อดำเนินการพัฒนาต่อไป
6) เห็นชอบให้ ปตท. ดำเนินการจัดหาน้ำมันดิบแบบรัฐต่อรัฐเพิ่มมากขึ้น
3.มาตรการประหยัดพลังงาน
- เห็นชอบในหลักการให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพิจารณาให้การสนับสนุนในการดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงาน ดังนี้
3.1 โครงการขยายการปรับแต่งเครื่องยนต์ (Tune-up) เพิ่มขึ้นเป็น 60 แห่ง ในระยะเวลา 3 ปี ในวงเงิน 15 ล้านบาท โดยมี ปตท. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
3.2 โครงการกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาด ย่อม ในวงเงิน 100 ล้านบาท โดยมีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กฟผ. และสถาบันอิสระในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
3.3 โครงการศึกษาแนะนำและสร้างผู้เชี่ยวชาญการบริหารจัดการด้านพลังงานแก่โรงงาน อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (5 ปี) ในวงเงิน 150 ล้านบาท โดยมีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสถาบันอิสระในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
3.4 โครงการลดต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และสนับสนุนฐานการผลิตเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน (5 ปี) ในวงเงิน 360 ล้านบาท โดยมีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ กฟผ. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
3.5 โครงการประหยัดพลังงานโดยการใช้ประโยชน์จากความร้อนที่เหลือจากการผลิต โดยมีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
3.6 โครงการปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ (CFC-Chiller) เพื่อประหยัดพลังงาน โดยมีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
- ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวข้างต้นจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับแผนงานภาคบังคับที่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกำลังดำเนินการอยู่
4.มาตรการด้านอื่นๆ
4.1 เนื่องจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าการกลั่น (Refining Margin) ซึ่งก็คือส่วนต่างระหว่าง ราคาเฉลี่ยของน้ำมันสำเร็จรูปและราคาน้ำมันดิบมีค่าสูงมาก จึงให้ ปตท. ในฐานะผู้ถือหุ้นในหลายโรงกลั่นไปเจรจากับโรงกลั่นให้ลดราคาหน้าโรงกลั่นลง มาในระดับที่ เหมาะสม เพื่อเป็นการลดภาระความเดือดร้อนของประชาชน
4.2 ให้ สพช. ทบทวนมาตรการด้านอนุรักษ์พลังงานที่ได้มีมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่ง ชาติ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2542 ไปแล้ว โดยพิจารณาว่ามีมาตรการอะไรที่ไม่สามารถ ดำเนินการได้ก็ให้ยกเลิกไปและที่สามารถดำเนินการได้ก็ให้เร่งดำเนินการ มาตรการ/ โครงการต่างๆ ที่ได้เห็นชอบไปแล้วให้เสร็จและเห็นผลเป็นรูปธรรมให้เร็วยิ่งขึ้น รวมทั้ง เสนอมาตรการต่างๆ เพิ่มเติม (ถ้ามี) เพื่อให้ครอบคลุมทุกๆด้าน และให้รายงานให้ที่ ประชุมทราบครั้งต่อไป
เรื่องที่ 4 ขอผ่อนผันระยะเวลาในการติดตั้งระบบควบคุมไอระเหยน้ำมันเบนซิน
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปสาระสำคัญให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2539 เห็นชอบให้มีการติดตั้งอุปกรณ์เก็บไอระเหยน้ำมันเบนซิน ระดับที่ 1 (Stage 1) ในคลังน้ำมัน รถบรรทุกน้ำมัน และสถานีบริการน้ำมัน ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากน้ำมันเบนซิน โดยให้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 มกราคม 2543
2. กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันได้ทำหนังสือขอผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดัง กล่าวต่อ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) เนื่องจากเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยถดถอยลงอย่างมากและส่งผลกระทบต่อธุรกิจน้ำมันโดย รวม และปริมาณการจำหน่ายน้ำมันลดลงทำให้ปัญหามลพิษจากไอระเหยของน้ำมันไม่รุนแรง เท่าที่ได้คาดการณ์ไว้ ทางกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมจึงขอให้รัฐบาลผ่อนปรนเรื่องระยะเวลาติด ตั้ง โดยขอขยายกำหนดเวลาการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมไอระเหยของน้ำมันเบนซินตามมติคณะ รัฐมนตรีดังกล่าวออกไปอีก 2 ปี จากเดิมต้องติดตั้งให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 มกราคม 2543 ขอเปลี่ยนเป็นภายในวันที่ 1 มกราคม 2545
3. สพช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมทะเบียนการค้า กรมโยธาธิการ กรมควบคุมมลพิษ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย บริษัทเอสโซ่ฯ และบริษัทเชลล์ฯ ได้ร่วมกันพิจารณาในเรื่องดังกล่าวและนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทาง การควบคุมไอระเหยของน้ำมันเบนซิน ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน อันประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาครัฐบาลและเอกชน ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าวได้พิจารณาแล้วสรุปได้ดังนี้
3.1 แม้ว่าปัจจุบันจะพ้นกำหนดวันที่ 1 มกราคม 2543 ไปแล้วแต่การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีก็ยังมิได้เกิดขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากมีการแก้ไขกฎหมายของกรมโยธาธิการ (พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543) และการร้องเรียนของกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ค้าน้ำมันในเรื่องระยะเวลาการติดตั้ง อุปกรณ์ดังกล่าว กรมโยธาธิการจึงรอฟังผลการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี ในส่วนของกำหนดเวลาบังคับใช้ที่เหมาะสม
3.2 คณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการควบคุมไอระเหยของน้ำมันเบนซิน ในการประชุม ครั้งที่ 2/2542 พิจารณาแล้วเห็นว่าควรเลื่อนการติดตั้งระบบควบคุมไอระเหยของน้ำมันเบนซินตาม มติคณะรัฐมนตรี ไปอีก 18 เดือน โดยนับจากวันที่ 1 มกราคม 2543 ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 ทั้งนี้ เนื่องจากเหตุผลต่างๆ ดังนี้คือ
(1) สาเหตุที่ทำให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันไม่สามารถปฏิบัติตามกำหนดเวลาเดิมได้ เนื่องจากวิกฤติทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินอย่างรุนแรงในช่วงปี 2541-2542 และอุปกรณ์ดังกล่าวต้อง มีการสั่งซื้อและจัดหาจากต่างประเทศ จึงต้องใช้ระยะเวลาในการติดตั้งอุปกรณ์ในแต่ละคลังน้ำมัน สถานีบริการ และรถบรรทุกน้ำมัน
(2) การติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวในคลังน้ำมัน สถานีบริการ และรถบรรทุกน้ำมัน จำเป็นต้องทยอยการติดตั้งไปทีละส่วน เพื่อมิให้ต้องหยุดการใช้งานของคลังน้ำมัน สถานีบริการ และรถบรรทุกน้ำมัน ซึ่งจะกระทบต่อการประกอบธุรกิจ
(3) การติดตั้งที่ใช้เวลานานที่สุด คือการติดตั้งในรถบรรทุกน้ำมัน ซึ่งต้องทยอยนำรถที่อยู่ระหว่างการใช้งานออกมาติดตั้งไปจนกว่ารถบรรทุก น้ำมันที่ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีจำนวนเพียงพอใช้ ในการขนส่งน้ำมันภายในกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 18 เดือน
4. สพช. พิจารณาแล้วเห็นควรให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าว เนื่องจากได้มีการศึกษาข้อเท็จจริงและปรึกษาหารือร่วมกันทั้งภาครัฐและผู้ ประกอบการจนได้ข้อยุติเป็นที่พอใจของทุกฝ่ายแล้ว
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้เสนอขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2539 จากเดิมซึ่งให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมไอระเหยของน้ำมันเบนซินให้แล้ว เสร็จภายในวันที่ 1 มกราคม 2543 เลื่อนมาเป็นภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2544
กพช. ครั้งที่ 72 - วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 2/2543 (ครั้งที่ 72)
วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เวลา 15.00 น.
ณ ห้องประชุม 215-216 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 2 รัฐสภา
1.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
2.การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันราคาสูง
3.การประเมินผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและมาตรการบรรเทาผลกระทบ
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบในเดือนมกราคมได้ปรับตัวสูงขึ้น มีสาเหตุมาจากแนวโน้มการขยายเวลาการจำกัดการผลิตของกลุ่มโอเปค ประกอบกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นมากในอเมริกาตอนเหนือและแคนาดา ทำให้ความต้องการน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น พร้อมทั้งข่าวการส่งออกน้ำมันของอิรัคที่จะลดลง มีผลให้น้ำมันดิบ WTI ปรับตัวสูงขึ้น 4.5 เหรียญ สหรัฐฯต่อบาร์เรล ณ วันที่ 21 มกราคม 2543 มาอยู่ในระดับ 29.9 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันดิบดูไบปรับตัวสูงขึ้น 1.5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ในระดับ 24.7 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล แต่ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนราคาน้ำมันดิบได้อ่อนตัวลง 1.0-2.7 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ในระดับ 24.0-27.3 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
2. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์มีการปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน จากการลดกำลังการกลั่นในสิงคโปร์และอินเดีย และการปิดของโรงกลั่นไทยออยล์ ทำให้ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปเข้าสู่ตลาดน้อยลง ในขณะที่แรงซื้อน้ำมันมีมาก โดยในสัปดาห์ที่สามราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลสูงขึ้น 5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ในระดับ 31.4-31.7 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันก๊าดสูงขึ้น 4 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ในระดับ 34.6 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ในสัปดาห์สุดท้ายราคาได้อ่อนตัวลง โดย ณ วันที่ 28 มกราคม 2543 ราคาน้ำมันเบนซิน ก๊าด และดีเซลอ่อนตัวลง 1.0 3.7 และ 3.7 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ในะดับ 30.5, 30.7 และ 28.0 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ น้ำมันเตาราคาเฉลี่ยลดลง 0.7 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ในระดับ 21.4 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
3. ราคาน้ำมันในประเทศในเดือนมกราคม ช่วงต้นเดือนมีการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล 23 สตางค์/ลิตร จากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต ซึ่งถูกชดเชยด้วยการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนหนึ่ง และได้มีการปรับราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลขึ้นอีก 2 ครั้ง รวม 60 และ 50 สตางค์/ลิตร ตามลำดับ ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และ 87 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 26 มกราคม 2543 มีราคา 14.39, 13.59, 13.17 และ 11.52 บาท/ลิตร ตามลำดับ ค่าการตลาดและค่าการกลั่นเฉลี่ยอยู่ในระดับ 0.92 และ 0.70 บาท/ลิตร ตามลำดับ
4. สพช. ได้คาดการณ์แนวโน้มของราคาน้ำมันว่า ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจะอยู่ในระดับ สูงสุดในเดือนมกราคม หลังจากนั้นสภาพอากาศจะเริ่มอบอุ่นขึ้น ความต้องการใช้น้ำมันจะเริ่มลดลง และค่าการกลั่นดีขึ้น จะทำให้โรงกลั่นเพิ่มการผลิต รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง จะทำให้ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยของไตรมาสแรกอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อน โดยน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ในระดับ 22-23 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันสำเร็จรูปจะอ่อนตัวลง ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาขายปลีกของไทย มีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลงเช่นกัน
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันราคาสูง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 เห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่ม สูงขึ้น รวมทั้ง เห็นชอบแผนอนุรักษ์พลังงานปีงบประมาณ 2543-2547 โดยให้มีการปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับมาตรการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่ม สูงขึ้น โดยเน้นเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อให้การดำเนินงานตามแผน อนุรักษ์พลังงานมีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น
2. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีของหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง ซึ่งมีความก้าวหน้าในแต่ละมาตรการสรุปได้ดังนี้
2.1 การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน แผนอนุรักษ์พลังงานปีงบประมาณ 2537-2542 ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 โดยใช้จ่ายเงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 6,237 ล้านบาท ผลการดำเนินงานคาดว่าจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและลดค่าใช้จ่ายด้าน พลังงานสิ้นเปลืองได้ประมาณ 525 ล้านบาท/ปี และสามารถชะลอการลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าได้คิดเป็นมูลค่า 2,115 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงประโยชน์ที่ได้รับในส่วนที่ไม่สามารถประเมินเป็นจำนวนเงินได้ ต่อมา สพช. ได้จัดทำแผนอนุรักษ์พลังงานระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2543-2547 โดยได้มีการปรับปรุงมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้สอดคล้องตามมติ คณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น เพื่อเร่งรัดการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานให้มีผลที่ชัดเจนมากขึ้น โดยมีวงเงินรวมทั้งสิ้น 29,110.61 ล้านบาท คาดว่าจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน โดยสามารถทดแทนพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงได้ประมาณ 12,870 ล้านบาท/ปี และสามารถลดเงินลงทุนเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ประมาณ 38,085 ล้านบาท
การดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานระยะที่ 2 ในช่วงที่ผ่านมา (ต.ค. 42 - ม.ค. 43) ได้มีการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก การกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำ โครงการทางเดียวกันไปด้วยกัน (Car pool) การปรับแต่งเครื่องยนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า และการประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์ให้มีการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง
2..2 การเลือกใช้พลังงานให้เหมาะสม ประกอบด้วย การส่งเสริมการใช้น้ำมันเบนซินให้ถูกชนิด การลดการใช้น้ำมันเตาและใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ตลอดจนการกระจายแหล่งและชนิดของพลังงาน
2.3 การตรึงราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.) ได้ใช้ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายชดเชยเพื่อตรึงราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยกองทุนฯ จะสามารถตรึงราคาได้เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 11 เดือน และหากราคาก๊าซฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้น จะใช้มาตรการการปรับหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคา ณ โรงกลั่น/ราคานำเข้า ก่อนดำเนินการปรับเพิ่มราคาขายส่งและราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว
2.4 การลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ได้มีการผ่อนผันให้ กฟผ. สามารถใช้น้ำมันเตากำมะถันไม่เกิน 1.0% และค่าแอสฟัลทีนระดับปกติมาใช้ในโรงไฟฟ้าพระนครเหนือได้ โดยขณะนี้ ปตท. อยู่ระหว่างการเจรจากับโรงกลั่นน้ำมันและ กฟผ. เพื่อหาทางเลือกต่างๆ ที่จะทำให้น้ำมันเตาที่จำหน่ายให้ กฟผ. มีราคาต่ำที่สุด
2.5 การเร่งรัดการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง มาตรการเฉพาะเพื่อเร่งรัดการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อ เพลิง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ประกอบด้วย การปรับบทบาทขององค์กรที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานการปราบปรามการลักลอบ นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง การเพิ่มความเข้มในการตรวจการณ์ทางทะเล การตรวจสอบแพปลาและสถานีบริการริมชายฝั่ง การตรวจสอบอู่ต่อเรือ และการเฝ้าติดตามผู้ผลิต ตัวแทน และผู้ใช้สารโซลเว้นท์มิให้มีการลักลอบ นำไปปลอมปนในน้ำมันเชื้อเพลิง นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มความเข้มในการตรวจสอบการนำเข้าและส่งออกน้ำมันทาง ทะเล และเร่งรัดให้มีการดำเนินการแก้ไขระเบียบของรัฐที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติ งาน
2.6 การส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคคมนาคมขนส่งมากขึ้น ในขณะนี้ ปตท. ได้มีการดำเนินโครงการทดลองก่อนการขยายตลาดของยานยนต์โดยการดัดแปลงเครื่อง ยนต์มาใช้ก๊าซธรรมชาติ รวมทั้ง ได้มีการหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย กรมทรัพยากรธรณี สพช. กรมการขนส่งทางบก กรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อหาแนวทางในการสนับสนุนให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาค ขนส่งมากขึ้น โดยได้มีการหารือในเรื่อง การจัดหาแหล่งเงินทุน การยกเว้นภาษี การส่งเสริมสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการลงทุน และการพิจารณาแก้ไขกฎระเบียบเกี่ยวกับการติดตั้งถังก๊าซฯ ไว้บนหลังคารถ เป็นต้น
2.7 การเจรจาปรับลดราคา ณ โรงกลั่น ปตท. ได้รับไปเจรจากับโรงกลั่นน้ำมันเพื่อปรับลดราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันเชื้อเพลิง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทผู้ค้าน้ำมัน
2.8 กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการตรึงราคาค่าโดยสารสำหรับรถโดยสารประจำทางของ ขสมก. รถไฟ และรถโดยสารของบริษัทขนส่ง
2.9 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกประกาศปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล 0.42 บาท/ลิตร เป็นการชั่วคราว ระยะเวลา 3 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2542 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2543 ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลดลง 0.50 บาท/ลิตร และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2542 ให้ปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตของยาสูบ เพื่อเป็นการทดแทนรายได้ของภาษีน้ำมันดีเซลที่ขาดหายไป อย่างไรก็ตาม เมื่อครบกำหนดที่จะต้องปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตในวันที่ 5 มกราคม 2543 ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาน้ำมันดีเซลต้องปรับเพิ่มขึ้น 0.50 บาท/ลิตร ตามภาษีที่เพิ่มขึ้นนั้น ได้มีการดำเนินการเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบของราคาขายปลีกที่จะสูงขึ้นในระดับ หนึ่ง โดยคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานได้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนช้าลดลงจาก 0.25 บาท/ลิตร และ 0.23 บาท/ลิตร ตามลำดับ เป็น 0 บาท/ลิตร ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปรับสูงขึ้นเพียง 0.23 บาท/ลิตร
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 การประเมินผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและมาตรการบรรเทาผลกระทบ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รายงานต่อที่ประชุมสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น สรุปได้ดังนี้
1.1 การประเมินผลกระทบมีข้อสมมติฐานแบ่งออกเป็น 4 กรณี คือ กรณีฐานและกรณีที่ 1-3 โดยกรณีฐานราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 19 เหรียญสรอ./บาร์เรล ส่วนกรณีที่ 1 , 2 และ 3 มีสมมุติฐานว่าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 22 เหรียญสรอ./บาร์เรล 24 เหรียญสรอ./บาร์เรล และ 26 เหรียญสรอ./บาร์เรล ตามลำดับ
1.2 จากข้อสมมติฐานกรณีที่ 1 เมื่อราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 22 เหรียญสรอ./บาร์เรล จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับร้อยละ 4.18 ลดลงจากกรณีฐานร้อยละ 0.22 (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสรอ. เท่ากับ 38 บาท) หรือ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับร้อยละ 4.13 ลดลงจากกรณีฐาน ร้อยละ 0.27 (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสรอ. เท่ากับ 39 บาท) และในกรณีเลวร้ายที่สุด คือ กรณีที่ 3 เมื่อราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 26 เหรียญสรอ./บาร์เรล จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับร้อยละ 3.88 ลดลงจากกรณีฐานร้อยละ 0.52 (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสรอ. เท่ากับ 38 บาท) หรือ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับร้อยละ 3.83 ลดลงจากกรณีฐานร้อยละ 0.57 (ณ อัตรา แลกเปลี่ยน 1 เหรียญสรอ. เท่ากับ 39 บาท)
1.3 ผลการวิเคราะห์โดยรวมแล้ว แนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยาย ตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม แต่อาจมีผลต่อต้นทุนเฉพาะบางสาขา เช่น สาขาประมง และสาขาขนส่ง แต่มีข้อสังเกตว่าจากสถานการณ์ในปี 2542 ซึ่งราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปีสูงขึ้นจากปี 2541 ถึงร้อยละ 39.95 แต่ก็ไม่ได้สร้างปัญหาเงินเฟ้อ หรือเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวโดยรวมของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาหามาตรการที่เหมาะสมมาช่วยเหลือเฉพาะบางสาขาที่ได้รับผลกระทบก็ ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดทางด้านงบประมาณของภาครัฐ ซึ่งมีภาระในอนาคตมากอยู่แล้ว และมาตรการประหยัดพลังงานยังเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการต่อไป
2. กระทรวงคมนาคม ได้เชิญหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมหารือ เพื่อประเมินผลกระทบต่อค่าขนส่งจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2543 สรุปได้ดังนี้
2.1 ด้านการขนส่งทางบก มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กรมการขนส่งทางบก และองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.) ในส่วนของ ขสมก. และ รฟท. ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น แต่รัฐยังให้เงินอุดหนุนอยู่ จึงยังไม่มีการปรับราคาค่าโดยสารในขณะนี้ สำหรับ บขส. ได้มีการปรับค่าโดยสารครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนมีนาคม 2541 โดยคิดราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ 10.61-11.03 บาท/ลิตร ซึ่งปัจจุบัน บขส. มีต้นทุนเฉพาะน้ำมันเฉลี่ยที่ 11.03 บาท/ลิตร พอดี จึงสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องปรับค่าโดยสาร ส่วนอัตราค่าโดยสารรถบรรทุก ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดราคาไว้ตั้งแต่ปี 2527 ให้รถบรรทุกสิบล้อเหมาคันมีอัตรา 8.3996 บาท/กิโลเมตร และรถบรรทุกหกล้อเหมาคันมีอัตรา 6.5353 บาท/กิโลเมตร ปัจจุบันต้นทุนการขนส่งอยู่ที่อัตรา 12.25 บาท/กิโลเมตร ส่วน รสพ. มีต้นทุนการขนส่งอยู่ที่ 11.87 บาท/กิโลเมตร ซึ่งหากผู้ประกอบการขนส่งและ รสพ. สามารถบริการเที่ยววิ่งขากลับให้มีสินค้าบรรทุก ก็จะช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องปรับค่าขนส่ง
2.2 ด้านการขนส่งทางน้ำ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมเจ้าท่า (จท.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี (สพง.) โดยในส่วนของค่าโดยสารเรือประจำทางและเรือข้ามฟากได้มีการปรับอัตราค่า โดยสารครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2542 และได้มีข้อตกลงร่วมกับผู้ประกอบการว่า จะไม่มีการปรับค่าโดยสารอีกเป็นเวลา 5 ปี สำหรับการเดินเรือระหว่างประเทศของไทยมีจำนวนเรือวิ่งน้อย จึงทำให้ไม่มีอำนาจต่อรองมากนัก และทางกลุ่มเดินเรืออาจจะขอปรับราคาขึ้นอีก
2.3 ด้านการขนส่งทางอากาศ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับอนุมัติให้ปรับค่าโดยสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2542 แต่เนื่องจากมีการแข่งขันสูงและสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นยังไม่เอื้ออำนวย บริษัท การบินไทยฯ จึงยังไม่ปรับค่าโดยสารขึ้น และคาดว่าจะยังไม่มีการปรับค่าโดยสารสำหรับเส้นทางการบินภายในประเทศ ในระยะ 3-4 เดือนนี้
3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอกรมประมงเสนอเรื่องขึ้นมา
4. กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้มีการประเมินผลกระทบต่อต้นทุนผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น สรุปได้ดังนี้
4.1 การวิเคราะห์และประเมินผลกระทบใช้เปรียบเทียบราคาน้ำมันของเดือนมิถุนายน 2542 กับราคาน้ำมันวันที่ 26 มกราคม 2543 โดยราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วจากเดิมลิตรละ 8.30 บาท เพิ่มขึ้นเป็นลิตรละ 11.52 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.80 น้ำมันเตาจากเดิมลิตรละ 5.99 บาท เพิ่มขึ้นเป็นลิตรละ 7.90 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.89 และน้ำมันเบนซิน 95 จากเดิมลิตรละ 11.21 บาท เพิ่มขึ้นเป็นลิตรละ 14.39 บาท หรือเพิ่มร้อยละ 28.37 ส่วนค่าไฟฟ้าได้มีการปรับค่า Ft จากเดือนมิถุนายน 2542 ที่อัตรา 32.60 สตางค์/หน่วย มาอยู่ในอัตรา 56.32 สตางค์/หน่วย ในเดือนมกราคม 2543
4.2 ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นต่อต้นทุนการผลิตพบว่า มีสินค้า 2 รายการที่ต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 5.00 ขึ้นไป ได้แก่ ปูนซีเมนต์ แป้งแปรรูป เป็นต้น สินค้าที่มีต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอยู่ในอัตราร้อยละ 3.01-5.00 มี 4 รายการ ได้แก่ กระจกแผ่น ฟอกย้อม กุ้งกุลาดำแช่เยือกแข็ง และเหล็กทรงยาว เป็นต้น สินค้าที่มีต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอยู่ในอัตราร้อยละ 1.01-3.00 มี 6 รายการ ได้แก่ เส้นใย สายไฟฟ้า ฟอกหนัง เครื่องเรือนไม้ เป็นต้น สินค้าที่มีต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอยู่ในอัตราร้อยละ 0.50-1.00 มี 5 รายการ ได้แก่ กระเบื้องเซรามิกส์ หลอดภาพโทรทัศน์ แป้งมันสำปะหลัง เป็นต้น และสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 0.50 มี 8 รายการ ได้แก่ รถยนต์ จักรยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ได้รับผลกระทบน้อยมากมี 4 รายการ คือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โซเดียมทรีโพลีฟอสเฟต โพลีคาร์บอเนต และ POM
4.3 มาตรการในการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ควรเน้นเรื่องการประชาสัมพันธ์ ในเชิงรุกเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นคุณค่าของพลังงานเพื่อให้มีการ ใช้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ สำหรับมาตรการระยะปานกลางควรใช้เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อมให้มากขึ้น รวมทั้ง การพิจารณาให้สิทธิประโยชน์แก่โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้อุปกรณ์และเครื่องจักร การผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง และหรือใช้พลังงานที่ผลิตได้ในประเทศ ส่วนมาตรการระยะยาวควรหาพลังงานทดแทนชนิดอื่นที่ราคามีเสถียรภาพและไม่ต้อง พึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศมากนัก เช่น ก๊าซธรรมชาติ โดยรัฐบาลต้องให้การสนับสนุนในด้านการวางระบบท่อส่งก๊าซและเงินทุนในการปรับ เปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อรองรับการใช้เชื้อเพลิงทดแทนได้
5. กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายในได้ประเมินผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นต่อต้นทุนสินค้าอุตสาหกรรม และมาตรการบรรเทาผลกระทบสรุปได้ดังนี้
5.1 กรมการค้าภายในได้วิเคราะห์ผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อต้นทุนสินค้า โดยใช้การเปรียบเทียบราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ยในเดือนมิถุนายน 2542 ซึ่งอยู่ในระดับ 8.30 บาท/ลิตร กับราคาดีเซล ในขณะนี้ซึ่งเท่ากับ 11.52 บาท/ลิตร ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่ามีสินค้าจำนวน 53 รายการ ได้รับ ผลกระทบทำให้ต้นทุนสูงขึ้นประมาณร้อยละ 0.01-5.30 โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบทำให้ต้นทุนสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 1.00-5.30 มีจำนวน 7 รายการ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ตะปูตอกไม้ กระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา ผงชูรส อาหารกึ่งสำเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก น้ำมันหล่อลื่น ยารักษาโรค ส่วนสินค้าที่ได้รับผลกระทบทำให้ต้นทุนสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 0.01-0.99 มีจำนวน 46 รายการ สำหรับปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้นคงจะไม่มีการ ปรับราคาขึ้นไปอีก เนื่องจากได้มีการปรับราคาไปแล้วเมื่อต้นเดือนมกราคม 2543
5.2 มาตรการในการป้องกันมิให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าอย่างไม่เป็น ธรรมแก่ ผู้บริโภค ทางกรมการค้าภายในได้มีหนังสือถึงผู้ประกอบการสินค้าที่มีความจำเป็นแก่การ ครองชีพประมาณ 570 ราย ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าให้ทราบล่วงหน้าก่อนการปรับราคาสินค้า 15 วันทำการ เพื่อให้มีเวลาในการศึกษาวิเคราะห์ราคาจำหน่ายที่เหมาะสม หากพบว่ามีการปรับราคาสูงเกินสมควรก็จะขอความ ร่วมมือให้ลดราคาลงให้สอดคล้องกับผลกระทบ นอกจานี้ ยังมีมาตรการติดตามดูแลความเคลื่อนไหวราคา และปริมาณสินค้า โดยมีการจัดเจ้าหน้าที่สายตรวจออกตรวจสอบภาวะราคาสินค้าเป็นประจำทุกวันทำ การ มีการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนทั้งในส่วนกลางและทุกจังหวัด มีการประชาสัมพันธ์ปรามผู้ค้ามิให้ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า และมีการจัดจำหน่ายสินค้าราคายุติธรรมตามโครงการธงฟ้าราคาประหยัดให้แก่ผู้ บริโภค
5.3 สำหรับสินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่ติดตามตรวจสอบได้ยาก เนื่องจากมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่แตกต่างกันไปตามประเภทสินค้า และส่วนใหญ่ราคาได้ถูกผลักภาระไปยังผู้บริโภคแล้ว สาขาประมงเป็นสาขาที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นต้นทุนหลักของสาขานี้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็ได้ให้ความช่วยเหลือในสาขาประมงแล้ว โดยใช้เงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจ่ายชดเชยราคาน้ำมันให้แก่ชาว ประมง
มติของที่ประชุม
1.รับทราบสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง การประเมินผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าและบริการจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น
2.ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด
3.มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับไปจัดทำมาตรการเพื่อช่วยเหลือชาวประมงจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น โดยใช้เงินกองทุนช่วยเหลือเกษตรกร และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
4.มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม ติดตามดูแลราคาค่าขนส่งในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างใกล้ชิด
5.มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ ติดตามดูแลราคาสินค้าอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบการมีการปรับราคาสินค้าอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้ บริโภค
6.ให้มีการเร่งรัดการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อสร้างจิตสำนึกของประชาชนให้เห็นคุณค่าของการใช้พลังงานอย่างประหยัดและ มีประสิทธิภาพ
7.ให้มีการเร่งรัดการขยายผลการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานขนาดกลางและขนาด เล็กที่ไม่ใช่โรงงานและอาคารควบคุมและมีการใช้พลังงานต่ำกว่า 1 เมกะวัตต์ ให้เข้ามาร่วมดำเนินการมากขึ้น
กพช. ครั้งที่ 71 - วันพุธที่ 26 มกราคม 2543
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 1/2543 (ครั้งที่ 71)
วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2543 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุม 3201 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 3 รัฐสภา
1.การประเมินสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
2.การขอทบทวนบทบาทและหน้าที่ขององค์กรในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การประเมินสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม2542 เห็นชอบแนวทางในการแก้ปัญหาน้ำมันราคาแพง ประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การเลือกใช้พลังงาน การตรึงราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว การลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า การเร่งรัดการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง การส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคคมนาคมขนส่ง การเจรจาปรับลดราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น การตรึงราคาค่าโดยสารรถไฟและรถประจำทาง และการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลชั่วคราวเป็นเวลา 3 เดือน
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันราคาแพง สรุปได้ดังนี้
2.1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน สพช. ได้เร่งรัดการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานให้มีประสิทธิภาพและมีผลเป็น รูปธรรมมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การเร่งดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารของรัฐ ส่งเสริมให้มีการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพในการใช้ พลังงานสูง เร่งรัดให้มีการกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุที่ใช้ไฟฟ้า และกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำ รวมทั้งการติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบประสิทธิภาพพลังงานที่มีมาตรฐาน ตลอดจนเร่งดำเนินการอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานในสาขาขนส่ง
2.2 การเลือกใช้พลังงานให้เหมาะสม ประกอบด้วย การส่งเสริมการใช้น้ำมันเบนซินให้ถูกชนิด การลดการใช้น้ำมันเตาและดีเซลในการผลิตไฟฟ้า การส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น การกระจายแหล่งและชนิดของเชื้อเพลิงในระยะยาว เพื่อเพิ่มความมั่นคงในการจัดหาเชื้อเพลิงของประเทศ
2.3 การตรึงราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายเงินชดเชยเพื่อตรึงราคาขายปลีกก๊าซ ปิโตรเลียมเหลว ซึ่งกองทุนน้ำมันฯ จะสามารถตรึงราคาได้เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 11 เดือน
2.4 การลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า โดยได้มีการผ่อนผันให้ กฟผ. สามารถใช้น้ำมันเตากำมะถันไม่เกิน 1.0% และค่าแอสฟัลทีนระดับปกติ มาใช้ในโรงไฟฟ้าพระนครเหนือได้ และ ปตท. อยู่ระหว่างการเจรจากับโรงกลั่นน้ำมันและ กฟผ. เพื่อหาทางเลือกต่างๆ ที่จะทำให้น้ำมันเตาที่จำหน่ายให้ กฟผ. มีราคาต่ำที่สุด
2.5 การเร่งรัดการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยศูนย์ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงโดยมิชอบ ด้วยกฎหมาย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปนม.) ได้เพิ่มความเข้มงวดมากขึ้นในการติดตาม ตรวจสอบ เพื่อป้องกันปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง
2.6 การส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคคมนาคมขนส่งมากขึ้น โดยสนับสนุนการขยายจำนวนรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ขณะนี้ ปตท. อยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนาเพื่อให้โครงการสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็น รูปธรรม
2.7 การเจรจาปรับลดราคา ณ โรงกลั่น ขณะนี้ ปตท. อยู่ระหว่างการเจรจากับโรงกลั่นน้ำมัน เพื่อปรับลดราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันเชื้อเพลิง
2.8 กระทรวงคมนาคม รับไปดำเนินการตรึงราคาค่าโดยสารสำหรับรถโดยสารประจำทางของ ขสมก. รถไฟ และรถโดยสารของบริษัท ขนส่ง จำกัด รวมทั้ง ให้พิจารณาลดค่าธรรมเนียมที่เก็บจากรถร่วมบริการเพื่อเป็นการลดต้นทุนของผู้ ประกอบการ โดยให้พิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลังในการพิจารณาหารายได้ส่วนอื่นมาชดเชย
2.9 กระทรวงการคลัง ได้ปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเป็นการชั่วคราว ระยะเวลา 3 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2542 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2543 ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลดลง 0.50 บาท/ลิตร และได้ปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตของยาสูบ มีผลตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2542 เป็นต้นมา และคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ได้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลเป็น 0 บาท/ลิตร เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบของราคาขายปลีกที่จะสูงขึ้นเมื่อครบกำหนดขึ้นภาษี สรรพสามิต ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2543 เป็นต้นมา ทำให้ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปรับสูงขึ้นเพียง 0.23 บาท/ลิตร
3. ราคาน้ำมันดิบในเดือนมกราคมได้ปรับตัวสูงขึ้น มีสาเหตุมาจากแนวโน้มการขยายเวลาการจำกัดการผลิต สภาพอากาศที่หนาวเย็นมากในอเมริกาและแคนาดา ทำให้ความต้องการน้ำมันดิบสูงขึ้น และข่าวการส่งออกน้ำมันของอิรัคที่จะลดลง โดยน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวสูงขึ้น$4.5 ต่อบาร์เรล อยู่ในระดับ $ 29.9 ต่อบาร์เรล น้ำมันดิบดูไบปรับตัวขึ้น $1.5 ต่อบาร์เรล อยู่ในระดับ$ 24.7 ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันสำเร็จรูป ในตลาดจรสิงคโปร์ปรับสูงขึ้นเช่นกัน จากการลดกำลังกลั่นในสิงคโปร์และอินเดีย และการปิดของโรงกลั่น ไทยออยล์ ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปเข้าสู่ตลาดน้อยลง ในขณะที่แรงซื้อน้ำมันมีมาก โดยน้ำมันเบนซินและดีเซล สูงขึ้น $3 - 4 -ต่อบาร์เรล มาอยู่ในระดับ $31 -ต่อบาร์เรล- -น้ำมันก๊าดสูงขึ้น $2.7 ต่อบาร์เรล เป็น $33.9 ต่อบาร์เรล น้ำมันเตาราคาเฉลี่ยลดลง $ 1 ต่อบาร์เรล แต่หลังจากกลางเดือนราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับ $23.2 ต่อบาร์เรล
4. ราคาน้ำมันในประเทศในเดือนมกราคม ช่วงต้นเดือนมีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลขึ้น 23 สตางค์/ลิตร จากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต ซึ่งถูกชดเชยด้วยการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนหนึ่ง และได้มีการปรับราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลขึ้นอีก 2 ครั้ง รวม 60 และ 50 สตางค์/ลิตร ตามลำดับ ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และ 87 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 26 มกราคม 2543 อยู่ในระดับ 14.39, 13.59, 13.17 และ11.52 บาท/ลิตร- ตามลำดับ ค่าการตลาดและค่าการกลั่นเฉลี่ยอยู่ในระดับ 1.02 และ 0.69 บาท/ลิตร
5. สพช. คาดการณ์แนวโน้มของราคาน้ำมันว่า ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจะอยู่ในระดับสูงสุดในเดือนมกราคม หลังจากนั้นสภาพอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้น ความต้องการใช้น้ำมันจะเริ่มลดลง และค่าการกลั่นดีขึ้น จะทำให้โรงกลั่นเพิ่มการผลิต รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง จะทำให้ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยของไตรมาสแรกอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อน โดยน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ในระดับ $22-23 ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันสำเร็จรูปจะอ่อนตัวลง ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาขายปลีกของไทยมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวเช่นกัน
มติของที่ประชุม
1.ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ติดตามประเมินสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างใกล้ชิด
2.ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ ประเมินผลกระทบต้นทุนสินค้าและบริการในสาขาที่เกี่ยวข้องจากราคาน้ำมันที่ สูงขึ้น พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการบรรเทาผลกระทบที่ชัดเจน
3.ให้กระทรวงการคลัง พิจารณาความเป็นไปได้ในการนำกองทุนต่างๆ ที่มีการจัดตั้งอยู่ทั้งหมดในขณะนี้ว่าสามารถนำมาใช้ในการบรรเทาผลกระทบใน สาขาต่าง ๆ ได้มากน้อยเพียงใด
4.ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น
5.ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุมและโรง งานควบคุมภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
ทั้งนี้ ให้นำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุมวันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543
เรื่องที่ 2 การขอทบทวนบทบาทและหน้าที่ขององค์กรในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2539 มอบหมายให้กองทัพเรือเป็นศูนย์กลางในการจัดทำแผนงานปราบปราม ควบคุมและประสานการปฏิบัติงานกับกรมศุลกากรและกรมตำรวจในการปราบปรามทางทะเล ให้เป็นเอกภาพ รวมทั้งเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลข่าวสารในการปราบปรามทางทะเล ประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานในพื้นที่ทางทะเลจนถึงชายฝั่ง เพื่อแก้ไขปัญหาและจุดอ่อนด้านความพร้อมของการปราบปรามทางทะเล โดยให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมืออำนวยความสะดวก เพื่อประสานการปฏิบัติงานแก่กองทัพเรือโดยตรง
2. กองทัพเรือได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจปราบปรามทางทะเล (ศอปล.) ขึ้น เพื่อดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมาย แต่จากการประเมินผลการดำเนินการในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา(ปี 2539 - 2542) พบว่าศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจปราบปรามทางทะเลมิได้มีการใช้ประโยชน์อย่างจริง จัง โดยการดำเนินการจับกุมของแต่ละหน่วยงานต่างเป็นเอกเทศ มิได้มีการประสานงานข้อมูลข่าวสารการปราบปรามทางทะเลตามวัตถุประสงค์ที่วาง ไว้ และไม่สามารถตอบสนองนโยบายของรัฐตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายให้เป็นศูนย์อำนวย การเฉพาะกิจปราบปรามทางทะเล โดย 4 ปีที่ผ่านมา กองทัพเรือสามารถจับกุมน้ำมันเถื่อนได้เฉลี่ยเพียงปีละ 2.6 แสนลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 4 ของการจับกุมทั้งหมด ในขณะที่กรมศุลกากรสามารถจับกุมได้ร้อยละ 18.4 และกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางสามารถจับกุมได้ถึงร้อยละ 77.6
3. ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอความเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นควรมอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยศูนย์ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง (ศปนม.) เป็นศูนย์กลางการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งทาง บกและทางทะเล ด้วยเหตุผลดังนี้
3.1 การประกาศเขตต่อเนื่องไปอีก 12 ไมล์ทะเล ทำให้ตำรวจน้ำและเจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถปฏิบัติงานได้ครอบคลุมกว้างขวาง ยิ่งขึ้น อีกทั้ง 2 หน่วยงานยังได้พัฒนาขีดความสามารถในการหาข้อมูลข่าวสารได้เอง จนกระทั่งสามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้บ่อยครั้งโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาข้อมูล ข่าวสารของกองทัพเรือในการปฏิบัติงาน ดังนั้นความจำเป็นในการพึ่งพาการลาดตระเวนของกองทัพเรือที่จะช่วยสนับสนุน ด้านการข่าวให้แก่ตำรวจน้ำและเจ้าหน้าที่ศุลกากรจึงหมดไป
3.2 การลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบออกไป เป็นการลักลอบนำสารโซลเว้นท์ปลอมปนในน้ำมันเชื้อเพลิง และการขอคืนภาษีน้ำมันส่งออกโดยมิได้ถูกส่งออกไปจริง ทำให้ภารกิจในการตรวจเฝ้าการลักลอบนำเข้าน้ำมันทางทะเลลดลง
3.3 ปัจจุบัน ศปนม. ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการป้องกันและปราบปรามฯ ทางบกอยู่แล้ว ดังนั้นการกำหนดให้ ศปนม. -เป็นศูนย์กลางประสานงานทั้งทางบกและทางทะเล จึงทำให้การทำงานมีความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพสูงสุด
3.4 สามารถประหยัดงบประมาณจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ โดยในส่วนของกองทัพเรือให้ขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินเป็นหลัก
4. คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.) ในการประชุม ครั้งที่ 1/ 2542 (ครั้งที่ 31) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2542 จึงได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบให้ทบทวนบทบาทและหน้าที่องค์กรในการป้องกันและ ปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบให้มีการทบทวนบทบาทและหน้าที่องค์กรในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
1.1 ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มีนาคม2539 ในการมอบหมายให้กองทัพเรือเป็นศูนย์กลางในการประสานงานปราบปรามทางทะเล และมอบหมายให้ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อ เพลิง (ศปนม.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่แทนกองทัพเรือในการเป็นศูนย์กลางในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบ นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง และการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งทางบกและทางทะเล
1.2 ให้กองทัพเรือ กรมสรรพสามิต กรมทะเบียนการค้า กรมศุลกากร กรมประมง กรมเจ้าท่า และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยให้ความร่วมมือทั้งด้านการประสานงาน การให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบ จับกุมผู้กระทำผิดและร่วมตรวจสอบจับกุมผู้กระทำผิด เมื่อได้รับการร้องขอจาก ศปนม.
1.3 มอบหมายให้ ศปนม. กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง จัดทำข้อเสนอการจัดทำโครงข่ายการประสานการปฏิบัติงานของ ศปนม. ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งทาง บกและทางทะเล เพื่อนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติต่อไป
2.ให้กรมทะเบียนการค้า กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต ร่วมกันตรวจสอบปรับปรุงข้อมูลการส่งออกน้ำมันให้มีความสอดคล้องกัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานต่อไป
กพช. ครั้งที่ 70 - วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2542
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 4/2542 (ครั้งที่ 70)
วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุมตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล
2.ผลการศึกษาแนวทางการจัดเก็บน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว
3.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ผลกระทบและทางเลือก
3.1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและแนวโน้มราคาในอนาคต
3.2 การจัดหา โครงสร้างการใช้ และการแข่งขันในตลาดน้ำมัน
3.3 โครงสร้างภาษีน้ำมันเชื้อเพลิงและรายได้
3.4 สถานการณ์การลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น
3.5 ผลกระทบราคาน้ำมันต่อเศรษฐกิจส่วนรวม (สศช.)
3.6 ผลกระทบต่อราคาสินค้า (กรมการค้าภายใน)
3.7 ปัจจัยที่มีผลต่อราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ
6.มาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542 เห็นชอบแนวทางและขั้นตอนการยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว การปรับปรุงระบบการค้าและมาตรฐานความปลอดภัยก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีความคืบหน้าในการดำเนินการสรุปได้ดังนี้
1.1 ขั้นตอนการยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ได้มีการดำเนินการดังนี้
1.1.1 การเตรียมการ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้จัดประชุมสัมมนา สื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับ จังหวัดในเขตกรุงเทพฯ และทุกภาค เพื่อทำความเข้าใจในนโยบายและซักซ้อมวิธีปฏิบัติ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2542 รวมทั้งได้มีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ เป็นระยะๆ นอกจากนี้ กรมการค้าภายใน ได้ออกประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด กำหนดให้โรงบรรจุก๊าซ และร้านค้าก๊าซปิดป้ายแสดงราคา ณ สถานที่จำหน่าย โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2542 เป็นต้นมา
1.1.2 การยกเลิกการควบคุมราคาขายปลีก
(1) สพช. ได้ออกประกาศคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ปรับลดราคาขายส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เหลือ 7.3434 บาท/กิโลกรัม เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2542 เป็นต้นมา ซึ่งมีผลให้ราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มปรับลดตามราคาขายส่งเหลือ 10.70 บาท/กิโลกรัม โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 เป็นต้นมา หลังจากนั้น ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกสำรวจการปรับลดราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มทั่วประเทศ พบว่าร้านค้าก๊าซส่วนใหญ่ในทุกจังหวัดให้ความร่วมมือในการปรับลดราคาขายปลีก ตามนโยบายราคาก๊าซลอยตัวของรัฐเป็นอย่างดี
(2) กรมการค้าภายใน ได้ออกประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้า และป้องกันการผูกขาด กำหนดให้โรงบรรจุก๊าซและร้านค้าก๊าซในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ต้องแจ้งราคาขายส่ง ณ โรงบรรจุ และราคาขายปลีก ณ ร้านค้าก๊าซ ณ วันที่ 5 เมษายน 2542 ต่อกรมการค้าภายใน สำหรับ ต่างจังหวัดให้แจ้งต่อสำนักงานการค้าภายในจังหวัด
(3) คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 เห็นชอบให้ปรับหลักเกณฑ์การกำหนดราคา ณ โรงกลั่นและราคานำเข้าก๊าซปิโตรเลียม จากเดิมที่กำหนดให้ใช้ราคาประกาศเปโตรมิน ประเทศซาอุดิอาระเบีย บวกค่าขนส่ง 15 $/ตัน เป็นเท่ากับราคาประกาศเปโตรมิน โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2542 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ยังเห็นชอบสูตรการปรับราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซปิโตรเลียมเหลวโดย อัตโนมัติ โดยหลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงราคาจะพิจารณาจากการรักษาฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อ เพลิง หรือ ความสามารถในการรับภาระการไหลออกของกองทุนน้ำมันฯ โดย สพช. สามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงราคาขายส่งตามสูตรอัตโนมัติได้ทันทีหากอยู่ในขอบ เขตครั้งละไม่เกิน 1 บาท/กก. และให้มีการปรับเพิ่มค่าการตลาดก๊าซหุงต้ม 0.30 บาท/กก. และให้ปรับราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นลงมาในระดับเดียวกัน เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อราคาขายปลีก โดยให้มีผลบังคับใช้ภายในเดือนกันยายน 2542
(4) สพช. อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำคู่มือการกำกับดูแลการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียม เหลวที่ชัดเจน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนตุลาคม 2542 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้เป็นแนวทางในการกำกับดูแลหลังจากการยกเลิกควบ คุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ซึ่งจะมีการถอดรายชื่อออกจากสินค้าควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ หลังจากนั้น จะดำเนินการยกเลิกการควบคุมราคาขายปลีกต่อไป
1.2 การปรับปรุงระบบการค้าและมาตรฐานความปลอดภัยก๊าซปิโตรเลียมเหลว ได้มีการดำเนินการ ดังนี้
1.2.1 การส่งเสริมการแข่งขัน
สพช. และ กรมทะเบียนการค้า อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อปรับปรุงกฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอเป็นผู้ประกอบการค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว แยกออกจากการเป็นผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521 รวมทั้ง กำหนดเงื่อนไขของการเป็นผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่เหมาะสม เพื่อผ่อนคลายกฎเกณฑ์สำหรับผู้ค้าก๊าซรายใหม่ นอกจากนี้ กรมโยธาธิการได้ออกประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทที่ 1 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2542 เพื่อกำหนดให้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถจำหน่ายก๊าซหุงต้มได้
1.2.2 การแก้ไขความไม่เป็นธรรมในระบบการค้า
(1) กรมการค้าภายใน ได้ออกประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ลงวันที่ 11 มีนาคม 2542 เพื่อให้ร้านจำหน่ายก๊าซหุงต้มต้องปิดป้ายราคาจำหน่ายให้เห็นได้อย่างชัดเจน
(2) สพช. ได้ดำเนินการออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 2/2542 ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2542 เพื่อกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521 ต้องดูแล รับผิดชอบการบรรจุก๊าซใส่ถังก๊าซหุงต้มที่แสดงเครื่องหมายการค้าของตนอย่าง ทั่วถึงทุกท้องที่ และรับผิดชอบในการซ่อมบำรุงถังก๊าซหุงต้ม นอกจากนี้ เพื่อกำหนดให้การบรรจุก๊าซใส่ถังก๊าซหุงต้มต้องมีการปิดผนึกลิ้นหรือวาล์ว ของถังก๊าซ และแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุถังก๊าซไว้ที่ฝาปิดผนึกลิ้นด้วย เพื่อเป็นหลักประกันให้ประชาชนได้รับก๊าซอย่างครบถ้วน และถ้าไม่ครบ จะมีหลักฐานเอาผิดแก่ผู้บรรจุก๊าซได้
(3) สพช. ร่วมกับกรมทะเบียนการค้า กรมโยธาธิการ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการประชุมกำหนดแนวทางให้มีการตรวจสอบแทนกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการ ตรวจสอบระบบการค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว และได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้น รวม 4 คณะ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบแทนกันในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทำหน้าที่ปราบปรามและป้องกันการผลิตถังขาว และทำหน้าที่ประสานสนับสนุนการดำเนินการตรวจสอบแทนกัน โดย ได้จัดให้มีการฝึกอบรมแนววิธีการตรวจสอบร่วมกันให้กับหัวหน้าสำนักงานใน สังกัดทั่วประเทศแล้วเมื่อกลางเดือนกันยายน 2542
(4) กรมทะเบียนการค้า ได้ออกประกาศ ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2542 เพื่อให้ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ซึ่งขายหรือจำหน่ายก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มสามารถมอบหมายให้ผู้ค้า น้ำมันตามมาตรา 6 รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซเป็นผู้ดำเนินการแทนได้ และจำหน่ายให้ทั่วถึงทุกท้องที่ที่มีการใช้ถังก๊าซหุงต้มซึ่งแสดงเครื่อง หมายการค้าของตน และเพื่อให้การบรรจุก๊าซต้องทำการปิดผนึกลิ้น (Valve) ถังก๊าซหุงต้ม ทุกครั้งที่บรรจุก๊าซ รวมทั้งต้องมีเครื่องหมายประจำตัวผู้บรรจุก๊าซแสดงไว้ที่อุปกรณ์ปิดผนึกลิ้น (Seal) ถังก๊าซหุงต้ม ส่วนการออกกฎหมายเพื่อให้มีการคืนค่ามัดจำถังก๊าซหุงต้ม ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค อยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎหมายดังกล่าว
1.2.3 ด้านความปลอดภัย
สพช. ได้ประสานงานกับกรมโยธาธิการ ขอผ่อนผันให้ผู้ค้าก๊าซฯ สามารถทำการบรรจุก๊าซลงถังขาวได้ในระยะเริ่มต้น และจะห้ามบรรจุก๊าซหุงต้มลงถังขาวอย่างเด็ดขาดตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 ทั้งนี้ เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดต่อผู้บริโภคที่มีถังขาวอยู่ในครอบครอง นอกจากนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง จะช่วยสนับสนุนการปราบปรามการลักลอบการผลิตถังขาวด้วย
1.3 การประชาสัมพันธ์
สพช. ได้จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - สิงหาคม 2542 ทั้งในเรื่องนโยบายการยกเลิกควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว การเปลี่ยนแปลงราคาขายส่งและขายปลีก มาตรฐานความปลอดภัยของถังก๊าซหุงต้ม และค่ามัดจำถังก๊าซฯ เป็นต้น และในขณะนี้ได้มีการขยายโครงการประชาสัมพันธ์ออกไปอีก 7 เดือน ในช่วงเดือนกันยายน 2542- มีนาคม 2543
2. สถานการณ์ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สรุปได้ดังนี้
2.1 ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา โดยปรับสูงขึ้น 157 $/ตัน มาอยู่ในระดับ 290 $/ตัน ในเดือนกันยายน ราคา ณ โรงกลั่นและราคานำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวอยู่ในระดับ 11.7861 บาท/กก. อัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการรับภาระภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 1,032 ล้านบาท/เดือน ในขณะที่มีเงินไหลเข้ากองทุนจากน้ำมันชนิดอื่น 130 ล้านบาท/เดือน ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีเงินไหลออกสุทธิ 902 ล้านบาท/เดือน ฐานะ กองทุนน้ำมันฯ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2542 อยู่ในระดับ 3,580 ล้านบาท
2.2 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2542 เห็นชอบให้ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าของน้ำมันเบนซิน ก๊าด ดีเซล และก๊าซปิโตรเลียมเหลว เหลือร้อยละศูนย์ โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2542 เป็นต้นไป ทำให้ภาระการจ่ายเงินชดเชยก๊าซปิโตรเลียมเหลวของกองทุนน้ำมันฯ ลดลง 1.60 บาท/กก. หรือ 184 ล้านบาท/เดือน
2.3 ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกของเดือนตุลาคม 2542 ได้อ่อนตัวลงมาอยู่ในระดับ 266 $/ตัน ทำให้ต้นทุนราคาก๊าซและอัตราเงินชดเชยลดลงอีกประมาณ 0.98 บาท/กก. หรือ 121 ล้านบาท/เดือน โดยมีเงินไหลออกจากกองทุนน้ำมันฯ สุทธิ 569 ล้านบาท/เดือน และคาดว่ากองทุนน้ำมันฯ จะสามารถรับภาระในการรักษาระดับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวได้ประมาณ 6 เดือน หรือจนถึงเดือนมีนาคม 2543
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 ผลการศึกษาแนวทางการจัดเก็บน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2537 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ซึ่งมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) รับไปศึกษา เกี่ยวกับการกำจัดหรือนำน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ และต่อมา สพช. ได้ดำเนินการจัดทำข้อเสนอ การแก้ไขปัญหาน้ำมันหล่อลื่นคุณภาพต่ำอย่างเป็นระบบและครบวงจร ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2537 และมอบหมายให้ สพช. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
2. สพช. ได้จ้างบริษัท เบอร์รา จำกัด ดำเนินการศึกษาธุรกิจการค้าน้ำมันหล่อลื่นของประเทศ และ ต่อมาได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ทำการศึกษาเพิ่มเติม ในประเด็นแนวทางการจัดระบบการจัดเก็บ รวบรวม ขนส่งน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว และสร้างแรงจูงใจให้มีการ จัดเก็บน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว เพื่อนำไปกำจัดหรือใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง
3. ผลการศึกษาการหาแนวทางจัดเก็บน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วทั่วประเทศ ในกลุ่มผู้ประกอบการในกิจการน้ำมันหล่อลื่นและกลุ่มผู้ใช้ โดยกลุ่มผู้ใช้แบ่งออกเป็น การใช้ในยานยนต์ (ผู้บริโภคและสถานีบริการ) อุตสาหกรรม เกษตร ประมง หน่วยราชการ/รัฐวิสาหกิจ และรวมไปถึงผู้จัดเก็บรวบรวมจำหน่าย/แปรสภาพน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว ผลการวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมทางเศรษฐกิจเบื้องต้นและภาระของการสนับสนุนจาก ภาครัฐ สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
3.1 ปริมาณน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว ในปี 2540 มีประมาณ 329 ล้านลิตร (ปีฐานของการศึกษา) และเพิ่มขึ้นเป็น 330 และ 348 ล้านลิตร ในปี 2542 และ 2544 ตามลำดับ โดยกลุ่มยานยนต์ มีปริมาณน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วประมาณ 223 ล้านลิตร/ปี กลุ่มอุตสาหกรรมมีปริมาณการใช้ประมาณ 73 ล้านลิตร/ปี กลุ่มเกษตรกรรมมีปริมาณการใช้ประมาณ 17 ล้านลิตร/ปี กลุ่มประมงมีปริมาณการใช้ประมาณ 11 ล้านลิตร/ปี กลุ่มราชการและรัฐวิสาหกิจมีปริมาณการใช้ประมาณ 5 ล้านลิตร/ปี
3.2 การตรวจสอบคุณสมบัติน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วก่อนบำบัดและหลังบำบัดสรุปได้ว่า ขบวนการบำบัดในประเทศขณะนี้ไม่เหมาะแก่การนำไปใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ใช้ใหม่ (Re-Used) แต่น่าจะ เหมาะแก่การนำไปทดแทนเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น ปูนซีเมนต์ หรือ อาจจะนำไปผสมกับน้ำมันดิบในขบวนการกลั่นของโรงกลั่น จะให้คุณค่าทางเศรษฐกิจในการจัดการดีกว่าวิธีอื่นๆ
3.3 กิจกรรมในการจัดการน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วมี 4 ส่วนหลัก คือ ส่วนผลิต/แหล่งกำเนิด ส่วน ผู้รับขนส่ง/จัดเก็บ ส่วนกิจกรรมคลังและผู้รวบรวม และส่วนกำจัด/บำบัด หรือ ผู้ใช้ประโยชน์น้ำมันหล่อลื่น ใช้แล้ว ซึ่งแนวทางการตั้งราคาเพื่อดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมมีข้อเสนอ 2 แนวทางหลัก คือ การกำหนดให้มูลค่าน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วในกิจกรรมส่วนผลิต/แหล่งกำเนิด มีค่าต้นทางเป็นศูนย์ และการกำหนดให้มีมูลค่าการซื้อและขายน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วในทุกกิจกรรมมี ราคาตามตลาด ซึ่งแนวทางหลังนี้อาจมีค่าเสมือนเป็นศูนย์ในระยะเริ่มแรกเมื่อภาครัฐให้การ ชดเชย (Subsidies) เพื่อให้ระบบสามารถดำเนินการและปรับตัวได้ และเมื่อธุรกิจมีการพัฒนาจนได้กำไรจากการดำเนินงานที่คุ้มค่าการลงทุนแล้ว รัฐจะสามารถลดการสนับสนุนลงจนไม่มีการชดเชยในที่สุด
3.4 ในกิจกรรมหรือธุรกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว มีอยู่ 2 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจการจัดเก็บ/ขนส่งน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว (Collection Concession) ซึ่งเป็นธุรกิจที่บุคคล หน่วยงาน หรือนิติบุคคล ดำเนินการในการซื้อขายน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว ณ จุดรวบรวมเบื้องต้น และธุรกิจคลังเก็บน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว (Depot Concession) เป็นธุรกิจที่รับผิดชอบต่อการเก็บรักษารวบรวมน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว ซึ่งมีกิจกรรมในการซื้อและขาย ณ จุดคลัง
3.5 ปัจจุบัน (ปลายปี 2541) น้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วมีราคาขายที่จุดเริ่มต้นอยู่ในช่วงประมาณ 1.50-2.00 บาทต่อลิตร ราคาขายให้แก่อุตสาหกรรมบางประเภท 3.00-3.50 บาทต่อลิตร สำหรับปูนซีเมนต์รับซื้อภายใต้เงื่อนไขคุณภาพที่กำหนดในราคา 1.50 บาทต่อลิตร และเมื่อวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของกิจกรรมโดยรวมแล้ว รัฐต้องเข้าแทรกแซงราคาเพื่อให้โครงการนี้เกิดขึ้นและมีความเป็นไปได้ในการ ลงทุน
4. สพช. จะนำเสนอผลการศึกษาข้างต้นให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโรงงาน กรม ควบคุมมลพิษ และกรมโยธาธิการ ต่อไป เพื่อให้การดำเนินการจัดการน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วเป็นไปอย่างต่อเนื่องและ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่อง สรุปสาระสำคัญ สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ผลกระทบและทางเลือก
เรื่องที่ 3-1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและแนวโน้มราคาในอนาคต
สรุปสาระสำคัญ
1. การประชุมของกลุ่มโอเปค ณ กรุงเวียนนา ผลปรากฏว่ากลุ่มประเทศโอเปคและประเทศนอกกลุ่มยังคงยืนระดับเพดานการผลิตเดิม ออกไปจนกระทั่งเดือนมีนาคมปีหน้า เนื่องจากเห็นว่าปริมาณน้ำมันดิบสำรองในตลาดยังอยู่ในระดับสูง จึงส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นประมาณ $ 0.7 ต่อบาร์เรล มาอยู่ในระดับ $ 22.7-24.9 ต่อบาร์เรล โดยน้ำมันดิบดูไบอยู่ในระดับ $ 22.7 ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันสำเร็จรูปใน ตลาดจรสิงคโปร์ ราคาน้ำมันก๊าด ดีเซล และเตา อยู่ในระดับ $27, $ 24 และ $ 21 ต่อบาร์เรล ตามลำดับ ส่วนราคาน้ำมันเบนซินได้เริ่มปรับตัวลดลงช่วงปลายเดือน โดยราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 97 อยู่ในระดับ $ 27 ต่อบาร์เรล เมื่อปลายเดือนกันยายน
2. ผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงจากระดับ 25.50 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ในระดับ 40-41 บาท/เหรียญสหรัฐ ทำให้ต้นทุนน้ำมันสูงขึ้น 2.40 บาท/ลิตร และการขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินเมื่อ ต้นปี 2541 ทำให้ราคาเบนซินและดีเซลปรับตัวสูงขึ้น 3.60 และ 2.40 บาท/ลิตร ตามลำดับ รวมทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกของปีนี้ได้แข็งตัวขึ้น ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปของไทยได้แข็งตัวขึ้นตาม โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95 เบนซินออกเทน 91 และดีเซลหมุนเร็ว ณ สิ้นเดือนกันยายนอยู่ ในระดับ 13.89, 13.09 และ 10.74 บาท/ลิตร ตามลำดับ
3. ระดับค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ เป็นผลจากการแข่งขันที่สูงในตลาดน้ำมัน ซึ่งค่าการตลาดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์ของประเทศโดยปกติอยู่ในระดับ 1.20-1.30 บาท/ลิตร แต่ปัจจุบันเคลื่อนไหวในระดับเพียง 0.50-0.90 บาท/ลิตร ส่วนค่าการกลั่นอยู่ในระดับ 0.40-0.60 บาท/ลิตร
4. แนวโน้มของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในไตรมาสที่ 4 ราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะอยู่ในระดับ $ 25-26 ต่อบาร์เรล ซึ่งสูงขึ้นจากระดับปัจจุบัน $ 1.0-1.5 ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบดูไบจะขึ้นไปเคลื่อนไหวในระดับ $ 23.5-24.5 ต่อบาร์เรล และหากน้ำมันดิบมีแนวโน้มจะพุ่งสูงเกินระดับ $ 30 ต่อบาร์เรล กลุ่มประเทศ โอเปคจะต้องมีการพิจารณาทบทวนเพดานการผลิตใหม่ เพราะราคาจะกระตุ้นผู้ใช้ให้มองหาพลังงานรูปแบบอื่น และจูงใจให้มีการผลิตเกินโควต้าของประเทศในกลุ่มโอเปค
5. การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันในตลาดโลกส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในประเทศ โดยการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันสำเร็จรูป $ 1 ต่อบาร์เรล จะทำให้ราคาน้ำมันในประเทศเปลี่ยนแปลงตาม 0.24 บาท/ลิตร และการอ่อนตัวของค่าเงินบาทจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนราคาน้ำมันของประเทศ โดยการสูงขึ้นของอัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท/เหรียญสหรัฐ จะมีผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลสูงขึ้น 0.17 และ 0.15 บาท/ลิตร ตามลำดับ
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3-2 การจัดหา โครงสร้างการใช้ และการแข่งขันในตลาดน้ำมัน
สรุปสาระสำคัญ
1. ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2542 มีการผลิตน้ำมันดิบ 805 ล้านลิตร น้ำมันเบนซิน ดีเซลและเตา 5,374; 9,878 และ 4,713 ล้านลิตร ตามลำดับ มีปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบ 23,287 ล้านลิตร น้ำมันเบนซิน ดีเซลและเตา 16; 561 และ 500 ล้านลิตร ตามลำดับ ส่วนปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซิน ดีเซลและเตามีปริมาณ 1,114; 1,292 และ 298 ล้านลิตร ตามลำดับ
2. มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปในปี 2541 และในครึ่งแรกของปี 2542 อยู่ในระดับ 141,662 และ 66,916 ล้านบาท ตามลำดับ การที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นในช่วงปี 2542 ได้ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปสูงขึ้นตาม และเมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการนำเข้าในช่วงครึ่งแรกปี 2542 และ ครึ่งหลังปี 2542 ตามสมมติฐานการคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ 3 กรณี คือ กรณีราคาต่ำ กรณีราคาสูง กรณีราคาสูงมาก โดยราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกเท่ากับ 7.54, 8.84 และ 10.84 $/บาร์เรล ตามลำดับ พบว่า มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปสูงขึ้น 42,525; 49,489 และ 59,934 ล้านบาท ในแต่ละกรณีตามลำดับ
3. การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแยกตามผลิตภัณฑ์ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2542 อยู่ในระดับ 21,582 ล้านลิตร โดยน้ำมันดีเซลมีการใช้สูงสุดร้อยละ 42 รองลงมา คือ น้ำมันเตาและเบนซินร้อยละ 22 และ 19 ตามลำดับ ภาคคมนาคมขนส่งจะมีการใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลมากที่สุดร้อยละ 98 และ 81 ตามลำดับ รองลงมา คือ ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ส่วนน้ำมันเตาร้อยละ 54 ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า รองลงมาเป็นการใช้ในภาคอุตสาหกรรม สำหรับภาคการขนส่งแยกตามการใช้ของประเภทรถยนต์ น้ำมันเบนซินใช้ในรถยนต์ส่วนบุคคลร้อยละ 43.6 จักรยานยนต์ร้อยละ 32.2 และใช้ในรถแท็กซี่และรถปิคอัพร้อยละ 16.6 และ 7.6 ตามลำดับ ในขณะที่น้ำมันดีเซลหมุนเร็วใช้ในรถบรรทุกร้อยละ 51.4 รถปิคอัพร้อยละ 24.6 รถโดยสารร้อยละ 18.2 โดยเป็นรถยนต์และรถแท็กซี่ร้อยละ 1.5
4. การใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2542 อยู่ในระดับ 820 ล้านกิโลกรัม ใช้เพื่อการหุงต้มร้อยละ 65 อุตสาหกรรมร้อยละ 15 รถยนต์ร้อยละ 5 และใช้เป็นวัตถุดิบร้อยละ 14 และจากการสำรวจรถแท็กซี่จากสหกรณ์แท็กซี่ จำนวน 8 แห่ง มีประชากรแท็กซี่รวมทั้งสิ้น 7,523 คัน พบว่า ใช้น้ำมันเบนซิน 5,569 คัน หรือร้อยละ 74 ของจำนวนทั้งหมด และใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นจำนวน 1,954 คัน หรือร้อยละ 26 ของทั้งหมด
5. ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา การแข่งขันในตลาดน้ำมันได้เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จากเดิมโรงกลั่นน้ำมัน 3 โรง ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 6 โรง กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 27,000 ล้านลิตร/ปี เป็น 50,000 ล้านลิตร/ปี ในขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศมีเพียง 37,000 ล้านลิตร/ปี ทำให้ปัจจุบันประเทศมีน้ำมันเหลือต้องส่งออกประมาณ 7,000-12,000 ล้านลิตร/ปี การแข่งขันในตลาดน้ำมันมีความรุนแรงมากขึ้นในปี 2541 ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังการผลิตที่เกินความต้องการที่ลดลงจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจ และผลมาจาก การขยายตัวของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากปี 2538 มีจำนวน 8,014 แห่ง เพิ่มขึ้นเป็น 14,044 แห่ง ในปี 2541 และจากการที่ราคาส่งออกน้ำมันมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคา ในประเทศ ทำให้ผู้ค้าน้ำมันได้นำนโยบายด้านราคามาเป็นกลยุทธในธุรกิจค้าปลีก ในปี 2542 ค่าการตลาดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับ 0.50-0.90 บาท/ลิตร
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3-3 โครงสร้างภาษีน้ำมันเชื้อเพลิงและรายได้
สรุปสาระสำคัญ
1. โครงสร้างภาษีน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบด้วย ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีสรรพสามิตจะมีการจัดเก็บในอัตราตามปริมาณและอัตราตามมูลค่า ภาษีเทศบาลจะเป็นร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นร้อยละ 7 ของราคาจำหน่าย ภาระภาษีทั้งหมดของน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็น 4.96 และ 3.24 บาท/ลิตร ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 35 และ 30 ของราคาขายปลีก
2. การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของน้ำมันเชื้อเพลิง กำหนดเป็น 2 ลักษณะ คือ อัตราตามปริมาณ และอัตราตามมูลค่า โดยตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา ได้มีการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 3 ครั้ง คือ (1) เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 ได้มีการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตของน้ำมันเบนซินขึ้น 1 บาท/ลิตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ (2) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2542 ได้มีการปรับลดอัตราภาษี สรรพสามิตของน้ำมันเตาเหลือร้อยละ 5 ของมูลค่า ตามมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตของน้ำมันเบนซินและดีเซลขึ้น 0.10 และ 0.09 บาท/ลิตร เพื่อชดเชยรายได้ภาษีน้ำมันเตาที่ลดลง (3) เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2542 ได้ยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าของน้ำมันเบนซิน ก๊าด ดีเซลและก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยกำหนดอัตราภาษีเท่ากับร้อยละศูนย์
3. ในปีงบประมาณ 2542 กระทรวงการคลังได้ประมาณการรายได้จากภาษีสรรพสามิตน้ำมัน เชื้อเพลิงที่ 65,300 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถเก็บภาษีได้ทะลุเป้าที่ตั้งไว้ ส่วนในปีงบประมาณ 2543 คาดว่าจะสามารถจัดเก็บได้ 67,100 ล้านบาท
4. การปรับภาษีสรรพสามิตลดลง 1 บาท/ลิตร สำหรับน้ำมันเบนซิน ดีเซล และก๊าด และลดลง 1 บาท/กก. สำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวจะมีผลกระทบต่อรายได้ของรัฐบาล โดยรายได้ภาษีของน้ำมันแต่ละชนิดจะลดลงปีละ 9,179; 18,416; 64 และ 1,709 ล้านบาท ตามลำดับ และราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงจะ ลดลง 1.18 บาท/ลิตร ส่วนราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลวจะลดลง 1.18 บาท/กิโลกรัม
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3-4 สถานการณ์การลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น
สรุปสาระสำคัญ
1.ภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้น ได้ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง และทำให้เกิดแรงจูงใจในการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาจำหน่ายใน ประเทศทางชายแดนจังหวัดภาคใต้มากขึ้น โดยการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงทางบก มีการขนน้ำมันจากประเทศมาเลเซีย ผ่านด่านปาร์ดังเบซา ด่านสุไหงโกลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพียงการเติมใส่ถังน้ำมันรถตามปกติ สำหรับพื้นที่นอกเขตด่านศุลกากรมีการลักลอบในลักษณะกองทัพมดเที่ยวละประมาณ 20-200 ลิตร ส่วนใหญ่นำไปใช้ในกิจการของตนเองหรือนำไปขายสถานีบริการรายย่อยและแพปลา ส่วนการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงทางทะเล ด้านอันดามันมีการใช้เรือประมงขนาดเล็กหรือขนาดกลางไปรับซื้อน้ำมันจากเมือง ปะลิส เกาะลังกาวี และเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย หรือซื้อจากเรือบรรทุกน้ำมัน (Tanker) ที่ลอยลำจำหน่ายบริเวณเกาะแป๊ะเสือ (เกาะ หัวโล้น) บริเวณเขตรอยต่อของประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยทางด้านอ่าวไทย จะมีเรือ Tanker ขนาด 2-5 ล้านลิตร จอดลอยลำจำหน่ายน้ำมันบริเวณนอกเขตต่อเนื่องคือประมาณ 25 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งขนถ่ายน้ำมันให้แก่เรือประมงดัดแปลงลักลอบนำมาขายแก่ สถานีบริการชายฝั่งและแพปลา นอกจากนี้ยังพบว่ามีการนำสารโซลเว้นท์ไปปลอมปนในน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งในระบบ และนอกระบบ จำหน่ายให้กับเรือประมงและแพปลาอีกด้วย
2. ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ศปนม.) ได้เพิ่มมาตรการเฉพาะในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ การเพิ่มความเข้มในการตรวจการณ์ทางทะเล โดยให้กองกำกับ 1-5 กองตำรวจน้ำ ออกตรวจสอบและพิสูจน์ทราบเรือประมงที่แล่นอยู่ในทะเลอาณาเขตและเขต ต่อเนื่อง ทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย โดยให้ชุดปฏิบัติการทางบกเน้นการตรวจสอบแพปลาและสถานีบริการ ชายฝั่ง การตรวจสอบอู่ต่อเรือเพื่อป้องกันมิให้ทำการต่อเรือประมงดัดแปลงเป็นเรือ บรรทุกน้ำมัน และการเฝ้าติดตามโรงกลั่น ผู้ผลิตสารละลายไฮโดรคาร์บอน (โซลเว้นท์) ตัวแทนนายหน้า (Jobber) และผู้ใช้สารละลาย โซลเว้นท์ปลายทาง เพื่อมิให้นำสารโซลเว้นท์ออกนอกระบบไปปลอมปนกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่าย ในสถานีบริการ ตลอดจนการตรวจสอบสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงริมน้ำ และท่าเทียบเรือบริเวณปากอ่าวไทย ลำน้ำ เจ้าพระยา และลำน้ำท่าจีนเพื่อป้องกันปราบปรามมิให้นำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยกเว้นภาษี ออกมาขายในสถานีบริการ
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3-5 ผลกระทบราคาน้ำมันต่อเศรษฐกิจส่วนรวม (สศช.)
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รายงานต่อที่ประชุมสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
1. เนื่องจากผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันในกลุ่ม OPEC ได้มีข้อตกลงจำกัดปริมาณการผลิต ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไทยเพิ่มสูง ขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวในปี 2542 คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2542 มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประมาณการผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมในกรณีที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงในไตรมาส ที่ 4 ของปี 2542 ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.1 นักวิเคราะห์ตลาดน้ำมันคาดว่าราคาเฉลี่ยของน้ำมันดิบจากกลุ่ม OPEC จะมีราคาเฉลี่ย 22.5 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2542 ทั้งนี้โดยมีข้อสมมติฐานของภาวะอากาศในฤดูหนาวในขั้นปกติ และไม่มีอุปสรรคของการผลิตน้ำมันเนื่องจากสถานการณ์การเมืองหรือ Y2K เกิดขึ้น
1.2 ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวม 3 ด้าน ได้แก่
(1) ราคาขายปลีกของน้ำมันประเภทต่างๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย (หากรัฐบาลไม่ใช้มาตรการ ภาษีเพื่อลดผลกระทบต่อราคาขายปลีก) ซึ่งจะทำให้ระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น
(2) รายได้ที่จับจ่ายใช้สอยได้ ณ ราคาแท้จริง (Real Disposable Income) ลดลงและส่งผล ให้การบริโภคภาคเอกชนลดลง
(3) การเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าในประเทศมีผลให้ความสามารถในการส่งออกลดลง (เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง หรืออัตราแลกเปลี่ยนที่ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ Real Effective Exchange Rate สูงขึ้น) หากประเทศคู่แข่งไม่ถูกผลกระทบจากราคาน้ำมัน นอกจากนั้นผลต่อเศรษฐกิจโลกจะส่งผลให้อุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกของไทยลดลง
1.3 การประเมินผลกระทบกรณีราคาน้ำมันดิบ 22.60 เหรียญ สรอ./บาร์เรล เทียบกับกรณีฐานสรุปได้ดังนี้
(1) ราคาขายปลีกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27
(2) ระดับราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 จะทำให้รายได้ที่สามารถจับจ่ายใช้สอยได้ ณ ราคาแท้จริงลดลงร้อยละ 0.27
(3) ถ้ารายได้ที่สามารถจับจ่ายใช้สอยได้ลดลงร้อยละ 1 จะทำให้การบริโภคภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 0.867
(4) สศช. คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ในปี 2542 หรือมีมูลค่าประมาณ 1,547,162.5 ล้านบาท ณ ราคาปีฐาน 2531 ดังนั้นหากราคาขายปลีกน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะ ทำให้การบริโภคภาคเอกชนลดลงเหลือ 1,543,526.7 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 3,636 ล้านบาท หรือ การขยายตัวของการบริโภคน้อยกว่ากรณีที่ไม่มีผลจากราคาน้ำมันในไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 0.28
(5) สศช. คาดว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ในปี 2542 ดังนั้น หากราคาขายปลีกน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะทำให้อัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกลดลง โดยขยายตัวร้อยละ 4.36
(6) จากปัจจัยการขยายตัวด้านการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกที่ลดลง ส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำกว่ากรณีที่ไม่มีผลจากราคาน้ำมันไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 0.39
(7) จากการคำนวณโดยตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตปี 2533 หากราคาน้ำมันขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 สาขาที่มีแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ได้แก่ สาขาประมงทะเล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 สาขาการขนส่งทางบกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22-0.25 สาขาการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29 และการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.15
2. ในปัจจุบันรัฐบาลได้มีมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมัน เช่น การชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม LPG จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 7.66 บาทต่อกิโลกรัม (หรือ 938 ล้านบาทต่อเดือน) เพื่อให้มี ราคาต่ำ และการบรรเทาภาระของผู้ประกอบการประมงโดยชดเชยราคาน้ำมันดีเซลในอัตรา 0.97 บาท/ลิตร โดย คชก. จัดสรรวงเงินไว้ประมาณ 190 ล้านบาท เป็นต้น การบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันควรพิจารณาข้อดีข้อเสียของทางเลือกที่สำคัญๆ ได้แก่
2.1 การประหยัดพลังงาน ประเทศไทยยังคงพึ่งการนำเข้าน้ำมัน โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2542 มีการนำเข้าน้ำมัน 55,328 ล้านบาท มากกว่ารายได้จากการส่งออกของสินค้าเกษตรหลัก ได้แก่ ข้าว ยางพารา และผลไม้ซึ่งสร้างรายได้จากการส่งออกรวมกันเท่ากับ 53,031 ล้านบาท ดังนั้นการประหยัดการใช้พลังงานจึงเป็นมาตรการสำคัญ
2.2 การลดภาษีสรรพสามิต หากรัฐบาลพิจารณาลดภาษีน้ำมันเบนซินและ น้ำมันดีเซลลงเพื่อมิให้ราคาขายปลีกน้ำมันเพิ่มขึ้นต่อไปอีก ปริมาณการใช้น้ำมันจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากประมาณการเดิมของสำนักงานคณะ กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้นจะลดลง แต่จะเกิดผลกระทบต่อรายได้จากภาษีดังนี้
(1) ราคาหน้าโรงกลั่นที่เพิ่มขึ้น 1 บาท/ลิตร และรัฐบาลจะต้องลดภาษีสรรพสามิตลง 0.90 บาท/ลิตร เพื่อให้ราคาขายปลีกคงอยู่ที่ระดับปัจจุบัน จะส่งผลกระทบต่อรายได้ภาษีสรรพสามิตของรัฐบาล โดยหากรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตเฉพาะน้ำมันดีเซลลงจะทำให้รายได้ภาษีสรรพสามิต ของรัฐบาล ลดลง 13,687 ล้านบาท และหากรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตทั้งน้ำมันดีเซลและเบนซินลงจะทำให้รายได้ภาษี สรรพสามิตของรัฐบาลลดลง 20,405.7 ล้านบาท
(2) การลดภาษีสรรพสามิตจะส่งผลให้ภาษีเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันลดลงด้วย เช่น การลดภาษี สรรพสามิตน้ำมันเบนซินธรรมดาลง 0.90 บาท/ลิตร จะทำให้ภาษีท้องที่ลดลง 0.09 บาท/ลิตร สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มของราคาขายส่งจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือ 0.0007 บาท/ลิตร ทั้งนี้เนื่องจากราคา ณ โรงกลั่นเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตเฉพาะน้ำมันดีเซลจะทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ราคาขายส่งเพิ่มขึ้น 5.23 ล้านบาท
(3) ดังนั้นการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินและดีเซลลงลิตรละ 0.90 บาทจะทำให้ รายได้จากภาษีน้ำมันโดยรวมลดลงประมาณ 22,430.4 ล้านบาท และในกรณีที่รัฐบาลไม่พิจารณาลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นจะทำให้การบริโภคภาคเอกชนลดลงประมาณ 3,636 ล้านบาท หรือคิดเป็นการลดลงของภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 210 ล้านบาท
(4) การลดราคาขายปลีกน้ำมันลง 1 บาท โดยการลดภาษีจะทำให้ขาดดุลงบประมาณ เพิ่มขึ้นประมาณ 20,400 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นภาระเพิ่มขึ้นจากการขาดดุลงบประมาณปี 2543 ซึ่งเดิมคาดว่า จะขาดดุลประมาณ 110,000 ล้านบาท จึงต้องพิจารณาถึงการชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้น เช่น การเพิ่มภาษีประเภทอื่นๆ การหารายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น อย่างไรก็ตามมาตรการชดเชยการขาดดุลอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเช่นกัน นอกจากนั้นการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนลง หากนักลงทุนเห็นว่าจะเป็นผลเสียต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต
3. ทางเลือกที่น่าจะพิจารณาโดยมีหลักการที่จะช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจที่มีผลกระทบ ต่อประชาชน ส่วนใหญ่นอกเหนือจากการช่วยเหลือโดยการชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม และน้ำมันดีเซลในสาขาประมง เช่น อาจมีการพิจารณาชะลอราคาค่าบริการขนส่งมวลชน และค่าไฟฟ้า เป็นต้น โดยรัฐให้การชดเชยส่วนต่างราคาน้ำมัน ที่เพิ่มขึ้นเป็นเพียงบางส่วน รวมทั้ง ควรส่งเสริมแหล่งพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อช่วยลด การพึ่งพิงน้ำมันในระยะยาว
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3-6 ผลกระทบต่อราคาสินค้า (กรมการค้าภายใน)
อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้รายงานต่อที่ประชุมสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ราคาน้ำมันดีเซลได้เพิ่มสูงขึ้น จากเฉลี่ยลิตรละ 8.30 บาท ในเดือนมิถุนายน 2542 เป็นลิตรละ 11.04 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าร้อยละ 0.03 - 4.51 โดย รถยนต์นั่งจะกระทบน้อยที่สุด คือร้อยละ 0.03 หรือ 89.13 บาทต่อคัน ในขณะที่ปูนซีเมนต์ (ปอร์ตแลนต์) จะกระทบมากที่สุดคือร้อยละ 4.51 หรือ 100.08 บาทต่อตัน
2. การที่ผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ เนื่องจากสัดส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิงในโครงสร้างต้นทุนรวมของการผลิตสินค้า ดังกล่าวไม่สูงนัก แต่โดยรวมแล้วผู้ประกอบการจะมีค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น
3. ปัจจุบันมีสินค้าอุตสาหกรรมที่แจ้งขอปรับราคา จำนวน 2 รายการ โดยเป็นการปรับราคาเนื่องจากต้นทุนนำเข้าหรือวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องมาจากค่าเงินบาทอ่อนตัว มิใช่เป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันเพิ่ม สูงขึ้น คือ ยารักษาโรคแผนปัจจุบัน จำนวน 1 รายการ โดยเป็นยานำเข้าที่รักษาเฉพาะโรค และสายไฟฟ้า จำนวน 1 รายการ เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ คือทองแดงมีราคาสูงขึ้นตามภาวะตลาดโลก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการวิเคราะห์ต้นทุนยังมิได้อนุมัติให้ปรับราคา แต่อย่างใด และจากการตรวจสอบสภาวะตลาดในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งต่างจังหวัด ราคาสินค้าส่วนใหญ่ยังไม่เปลี่ยนแปลง
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3-7 ปัจจัยที่มีผลต่อราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ
ฝ่ายเลขานุการ ฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 3/2542 (ครั้งที่ 69) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2542 มีความเห็นว่า การที่รัฐจะเข้าไปแทรกแซงการกำหนดราคาน้ำมัน ควรจะพิจารณาจากระดับราคาน้ำมันที่จะมีผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยให้ใช้ระดับราคาน้ำมันที่ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงร้อยละ 0.5 จากแนวโน้มเดิม เป็นระดับราคาเบื้องต้นที่รัฐเข้าไปแทรกแซง ซึ่งประกอบด้วยราคาน้ำมันดิบดูไบในระดับ 25 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เป็นเกณฑ์ และให้คำนึงถึงราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนร่วมด้วย
2. ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมันสำเร็จรูปของไทย ได้แก่ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยน โดยราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกที่เป็นราคาอ้างอิงของไทยใช้ราคาในตลาดจร สิงคโปร์ เนื่องจากเป็นตลาดซื้อ/ขายน้ำมันแหล่งใหญ่ที่ใกล้ไทยมากที่สุด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเป็นไปในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันดิบแต่ในระดับที่แตก ต่างกัน โดยช่วงฤดูหนาวความต้องการใช้น้ำมันดีเซลจะสูง แต่น้ำมันเบนซินจะต่ำ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดีเซลในฤดูหนาวจึงมากกว่าราคาน้ำมันดิบ
3. การเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันสำเร็จรูป $ 1 ต่อบาร์เรล จะมีผลให้ราคาขายปลีกของไทยเปลี่ยนแปลงประมาณ 25 สตางค์/ลิตร และค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง 1 บาท/เหรียญสหรัฐ จะทำให้ต้นทุนราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลของไทยสูงขึ้น 17 และ 15 สตางค์/ลิตร ตามลำดับ ปัจจุบันราคาน้ำมันดูไบอยู่ในระดับ $ 22.6 ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 97 เบนซินออกเทน 92 และดีเซลหมุนเร็ว อยู่ในระดับ $ 27.5, $ 25.4 และ $ 23.8 ต่อบาร์เรล ตามลำดับ
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3-8 ทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
ฝ่ายเลขานุการ ฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบถึงทางเลือกต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบรรเทา ผลกระทบที่เกิดจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจของรัฐบาล สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การใช้กองทุนเพื่อแทรกแซงการกำหนดราคาน้ำมัน มีแนวทางดังนี้
1.1 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(1) ตั้งขึ้นตามเจตนารมย์ของพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อ เพลิง พ.ศ. 2516 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกลไกของรัฐในการป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมัน เชื้อเพลิง และ ในกรณีที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นจะใช้ในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมัน เชื้อเพลิงของประเทศ หลังจากปี 2534 รัฐบาลได้ยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และเหลือเพียงก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ยังคงมีการควบคุมราคาอยู่ ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจึงใช้ในการรักษาระดับราคาก๊าซปิโตรเลียม เหลวเป็นหลัก และส่วนหนึ่งใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการปราบปรามน้ำมันเถื่อน และการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(2) ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2542 อยู่ในระดับ 3,580 ล้านบาท และจะต้องใช้ในการจ่ายชดเชยราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประมาณเดือนละ 600 ล้านบาท ซึ่งจะต้องจ่ายชดเชยจนกระทั่งสิ้นฤดูหนาวเป็นเวลาอย่างน้อย 5 เดือน เพื่อไม่ให้มีการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว ซึ่งการชดเชยจะต้องใช้เงินในระดับที่ใกล้เคียงกับฐานะกองทุนฯ ในปัจจุบัน ดังนั้น ฐานะกองทุนน้ำมันฯ จึงไม่เพียงพอที่จะใช้ในการแก้ปัญหาน้ำมันราคาแพงในขณะนี้ได้
1.2 กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
(1) ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายช่วยเหลืออุด หนุนการดำเนินการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน ตามมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ปัจจุบันมีการเก็บเงินเข้ากองทุนฯ จากน้ำมันเบนซิน ดีเซล และเตาในอัตรา 4 สตางค์/ลิตร
(2) ฐานะกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2542 มีเงิน กองทุนฯ คงเหลือ 14,812 ล้านบาท โดยมีรายจ่ายสำหรับปีงบประมาณ 2543 ในระดับ 6,000 ล้านบาท/ปี การใช้เงินกองทุนฯ เพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันไม่สามารถกระทำได้ในปัจจุบัน เนื่องจากไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย และหากจะนำมาใช้ก็ต้องมีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว
1.3 การใช้เงินจากกองทุนชดเชยราคาน้ำมันเป็นเพียงการชะลอการปรับขึ้นราคาขาย ปลีกออกไป ทำให้ราคาน้ำมันไม่สะท้อนต้นทุนจริง และในที่สุดก็ต้องชะลอการปรับลดราคาลงเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่กองทุนก่อน ซึ่งในช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงแล้ว แต่ราคาในประเทศยังคงเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคจะไม่ยอมรับการขึ้นราคา นอกจากนั้น จะทำให้เกิดการบิดเบือนโครงสร้างราคา ส่งผลให้มีการบริโภคน้ำมันที่ไม่สอดคล้องกับ ต้นทุนการนำเข้าของประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมและดุลบัญชีเดินสะพัด
2. การแทรกแซงราคาน้ำมันโดยการลดภาษีสรรพสามิต มีแนวทางดังนี้
2.1 การลดภาษีสรรพสามิตสามารถกระทำได้ทันที โดยกระทรวงการคลังออกประกาศกระทรวงการคลังเพื่อลดอัตราภาษีสรรพสามิต ซึ่งจะมีผลให้ราคาขายปลีกปรับลดลงตาม และสามารถแบ่งเบาภาระของประชาชนจากต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้ส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม การลดภาษีสรรพสามิตจะทำให้รัฐมีรายได้ลดลง ดังนั้น จะต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบ นอกจากนี้ อัตราของการลดอัตราภาษีสรรพสามิตต้องไม่เป็นระดับที่สูงเกินไป จนทำให้เกิดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่สอดคล้องกับต้นทุน และไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน ก๊าด และดีเซล 1 บาท/ลิตร จะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันแต่ละชนิดลดลง 1.18 บาท/ลิตร และจะมีผลกระทบต่อปริมาณการใช้น้ำมันและรายได้ภาษีของรัฐ โดยปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน และดีเซลหมุนเร็วจะเพิ่มขึ้นเป็น 215 และ 476 ล้านลิตร/ปี ตามลำดับ และ รายได้ภาษีของรัฐโดยรวมจะลดลงปริมาณ 26,000 ล้านบาท/ปี
2.3 การลดภาษีสรรพสามิตเป็นการชะลอการปรับขึ้นราคาขายปลีก โดยใช้ภาษีสรรพสามิตเป็นตัวรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ได้ส่วนหนึ่ง แต่สุดท้ายก็จำเป็นต้องปรับราคาขายปลีกขึ้นหากต้นทุนราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น มาก โดยรัฐต้องสูญเสียรายได้ ซึ่งในสภาพปัจจุบันรัฐขาดดุลงบประมาณอยู่แล้ว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขึ้นภาษีสินค้าอื่น หรือกู้เงินเพิ่มเพื่อให้พอเพียงงบประมาณรายจ่ายหรือลดงบประมาณ รายจ่ายลง นอกจากนี้ การลดภาษีสรรพสามิตทำให้ราคาไม่สะท้อนต้นทุน ทำให้การใช้พลังงานไม่มีประสิทธิภาพ
3. การใช้เพดานและฐานภาษีสรรพสามิตเพื่อแทรกแซงราคาน้ำมันในระยะยาว โดยใช้อัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อเป็นตัวรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นของราคาน้ำมัน ในตลาดโลกในระดับหนึ่ง โดยเป็นการชะลอการปรับราคาขายปลีกออกไป ในทางกลับกันเมื่อต้นทุนราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง จะมีการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตสู่ระดับหนึ่ง เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐที่หายไปในช่วงปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิต โดยกำหนดเป็นเพดานและฐานของอัตราภาษีสรรพสามิต และกำหนดเพดานและฐานของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะเข้าไป แทรกแซง ซึ่งแนวทางนี้ก็จะเป็นเพียงการชะลอการปรับราคาขายปลีกออกไป ทำให้ราคาน้ำมันไม่สอดคล้องกับต้นทุนจริง โดยเฉพาะเมื่อราคาตลาดโลกเริ่มลง แต่ราคาในประเทศไม่ลดลง ทำให้เกิดการบิดเบือนโครงสร้างราคา เกิดการบริโภคน้ำมันที่ไม่สอดคล้องกับต้นทุนการนำเข้าของประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ส่วนรวมและดุลบัญชีเดินสะพัด
4. การเจรจาปรับลดราคา ณ โรงกลั่น : เนื่องจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กำลังการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปของประเทศมีมากเกินปริมาณความต้องการ ทำให้มีน้ำมันเหลือต้องส่งออก โดยในปี 2541 มีปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปส่งออก 5,255 ล้านลิตร ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันเบนซิน ส่วนน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตามีการส่งออกเป็นบางช่วง ซึ่งราคาส่งออกส่วนใหญ่จะมีราคาต่ำยกเว้นช่วงที่น้ำมันส่งออกเป็นที่ต้องการ ของตลาด ผู้บริโภคจึงควรจะได้รับประโยชน์จากส่วนนี้ โดยมอบหมายให้ ปตท. ไปเจรจากับโรงกลั่นเพื่อปรับลดราคาน้ำมันที่โรงกลั่นจำหน่ายในประเทศลงมา อยู่ในระดับใกล้เคียงกับราคาส่งออก (Export Parity) ซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกลดลงในระดับ 0.10-0.20 บาท/ลิตร
นอกจากนี้ การกำหนดราคาน้ำมันเตาของโรงกลั่น ซึ่งอิงกับราคาน้ำมันเตาปริมาณกำมะถัน 3.5% โดยน้ำหนักบวกพรีเมี่ยม ซึ่งการกำหนดพรีเมี่ยมจะคำนวณจากความแตกต่างระหว่างราคาน้ำมันเตากำมะถัน 2% และกำมะถัน 3.5% ในตลาดจรสิงคโปร์ในช่วงเวลาหนึ่ง ปัจจุบันความแตกต่างของราคาน้ำมันเตาทั้งสองชนิดในตลาดจรสิงคโปร์ได้แคบลง ดังนั้น จึงควรให้ ปตท. รับไปเจรจากับโรงกลั่นเพื่อลดพรีเมี่ยมในสูตรการคำนวณราคาน้ำมันเตาหน้าโรงก ลั่น ซึ่งจะมีผลให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าถูกลง
5. การควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง : ซึ่งในอดีตก่อนปี 2534 รัฐมีการควบคุมราคาขายส่ง ค่าการตลาด และราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับคงที่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงนาน ๆ ครั้ง การกลับไปควบคุมราคาขายปลีกดังกล่าวจะมีแต่ข้อเสีย กล่าวคือ ระบบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเพียงการชะลอปรับราคาขายปลีกออกไป แต่ในที่สุดก็จำเป็นต้องมีการปรับเมื่อกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรับภาระไม่ได้ ทำให้ไม่มีเสถียรภาพทางด้านราคาในระยะยาว และการปรับราคาขายปลีกไม่สอดคล้องกับต้นทุนจริง การควบคุมค่าการตลาดในระดับที่ต่ำกว่าการลงทุนทำให้ไม่เกิดการแข่งขันและ พัฒนาในตลาดน้ำมัน และการบิดเบือนโครงสร้างราคา ทำให้เกิดการบริโภคน้ำมันที่ไม่สอดคล้องกับต้นทุนการนำเข้าของประเทศ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมและดุลบัญชีเดินสะพัด
6. การไม่แทรกแซงการกำหนดราคา โดยปล่อยให้การกำหนดราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาด จะมีข้อเสียเพียงประการเดียว คือ ประชาชนต้องรับภาระตามต้นทุนราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมาทันที แต่ราคาดังกล่าวจะเป็นการส่งสัญญาณที่แท้จริงให้ผู้บริโภคและตลาดน้ำมันปรับ ตัว สิ่งที่ตามมาจึงเป็นผลดี คือ กลไกตลาดสามารถทำงานได้เต็มที่ ราคาน้ำมันจะปรับตัวตามต้นทุน และผู้บริโภคจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคให้สอดคล้องกับต้นทุนราคา โดยบริโภคน้อยลงเมื่อราคาสูงขึ้น ไม่เกิดการบิดเบือนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและลักษณะการบริโภคน้ำมันของ ประเทศทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภาคเอกชนมีความมั่นใจในการลงทุนที่รัฐไม่แทรกแซงระบบการค้าเสรี
7. โครงการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ : เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่ราคาน้ำมันของประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นตาม ราคาน้ำมันในตลาดโลกและการเปลี่ยนแปลงเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้อ่อนตัวลง และเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทราบถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและ ประหยัดจะช่วยลดทั้งการลงทุนในการจัดหาพลังงานและค่าใช้จ่ายทางด้านเชื้อ เพลิงของประเทศ รวมทั้งยังช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศในภาวะที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤตทาง เศรษฐกิจอีกด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานในสาขา ที่มีการใช้พลังงานสูงให้เป็นไปอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้มีการลดการนำเข้าพลังงาน และลดการขาดดุลการค้าของประเทศ เป็นการดำเนินนโยบายพลังงานของประเทศเพื่อมีส่วนในการช่วยแก้ไขปัญหา เศรษฐกิจของประเทศ
8. มาตรการระยะยาวสำหรับการส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติแทนน้ำมันในภาคขน ส่งมากขึ้น โดยการสนับสนุนการขยายจำนวนยานยนต์ให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งในขณะนี้ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ได้มีการจัดทำแผนการขยายการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ต่างๆ ซึ่ง นอกจากจะเป็นการช่วยทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว ยังช่วยลดปัญหามลพิษในอากาศได้อีกด้วย เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด ดังนั้น รัฐจึงควรให้การส่งเสริมโดยการจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในการลงทุน ยกเว้นภาษีนำเข้าอุปกรณ์การดัดแปลงเครื่องยนต์ ถังก๊าซฯ และอุปกรณ์ที่ใช้ในสถานีบริการก๊าซฯ และใช้เงิน กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้การสนับสนุน เช่น การให้เงินสนับสนุนแก่เจ้าของรถที่มีความประสงค์จะดัดแปลงเครื่องยนต์มาใช้ ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น และหากเอกชนสนใจลงทุนในอุตสาหกรรม ดัดแปลงรถยนต์ หรือจัดตั้งสถานีบริการก๊าซฯ ควรให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนด้วย
การพิจารณาและข้อสังเกตของที่ประชุม
1.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้วิเคราะห์ผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในขณะนี้ว่า จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่ากรณีที่ไม่มีผลจากราคาน้ำมัน ที่สูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 0.39 และผลกระทบทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคสูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.27 ส่วนกรมการค้าภายในได้วิเคราะห์ว่ามีผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าไม่มากนัก เนื่องจากน้ำมันคิดเป็นต้นทุนในการผลิตสินค้าค่อนข้างต่ำ
2.การสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกในขณะนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตามภาวะ ปกติ ไม่ได้เกิดจากวิกฤตการณ์น้ำมันในตลาดโลกแต่อย่างใด แต่การสูงขึ้นของราคาขายปลีกของไทยเป็นผลจากภาวะภายในประเทศ คือ ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงมาก จาก 25.50 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ในระดับ 39-41 บาท/เหรียญสหรัฐ ซึ่งประชาชนจะต้องเผชิญกับค่าเงินบาทในระดับนี้ต่อไปในอนาคต การแก้ปัญหาที่ถูกต้องควรเป็นการ ทำให้ประชาชนยอมรับกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ว่าเป็นสถานการณ์ปกติ และจะต้องปรับตัวตามสภาวะแวดล้อมใหม่ มาตรการที่จะเป็นประโยชน์และควรกระทำมากที่สุด ได้แก่ การเร่งรัดและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยใช้พลังงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และปลูกฝังจิตสำนึกของประชาชนให้ตระหนักถึงการใช้พลังงานอย่างมีประโยชน์และ คุ้มค่า
3.การกำหนดอัตราภาษีน้ำมันที่ต่ำเกินไป จะทำให้การใช้พลังงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในปัจจุบันภาษีน้ำมันในประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศ ดังนั้น ในระยะยาวควรมีการพิจารณาปรับภาษีสรรพสามิตน้ำมันให้สูงขึ้น
4.การพิจารณาแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันนั้นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อวินัยทางการคลังของประเทศ เพราะในขณะนี้รัฐบาลก็ขาดดุลการคลังในระดับที่สูงมากอยู่แล้ว การลดภาษีสรรพสามิตจะต้องไม่เป็นการส่งสัญญาณที่ไม่ถูกต้อง อันจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล และอัตราแลกเปลี่ยน และหากอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลงก็จะมีผลทำให้ราคาน้ำมันในประเทศสูงขึ้นอีก ดังนั้น หากมีการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน รัฐบาลจะต้องหารายได้จากแหล่งอื่นมาชดเชยเพื่อมิให้การขาดดุลการคลังเพิ่ม ขึ้น
5.เนื่องจากน้ำมันดีเซลมีการใช้กันมากในภาคการขนส่ง การเกษตรและประมง จึงควรมีการพิจารณาลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลง โดยการลดภาษีสรรพสามิตลง 0.42 บาท/ลิตร เป็นเวลา 3 เดือน จะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลดลง 0.50 บาท/ลิตร และรายได้ภาษีรวมลดลง 1,918 ล้านบาท แยกเป็นภาษี สรรพสามิต 1,629 ล้านบาท ภาษีเทศบาล 163 ล้านบาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 126 ล้านบาท
6.การลดภาษีน้ำมันดีเซลอาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง กล่าวคือ ผู้ใช้น้ำมันเบนซินบางส่วนอาจเปลี่ยนมาใช้ดีเซลมากขึ้น จึงควรให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ติดตามสถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศอย่างใกล้ชิด
7.ผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้เรียนต่อที่ประชุมว่า การปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิต จะทำให้เกิดภาระส่วนต่างของภาษีที่ได้ชำระไว้เดิม ชั้นวัตถุดิบสูงกว่าภาษีใหม่เมื่อมีการเติมสารเติมแต่ง (Additive) ซึ่งไม่สามารถขอคืนหรือขอลดหย่อนภาษีได้ แต่ในกรณีที่มีการปรับเพิ่มอัตราภาษี ผู้ค้าน้ำมันจะต้องเสียภาษีส่วนเพิ่ม ทำให้ไม่เป็นธรรมต่อผู้ค้าน้ำมัน ซึ่งรองอธิบดีกรมสรรพสามิต (นางเรณู รื่นกลิ่น) ได้ชี้แจงว่า กรมสรรพสามิตได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความและได้มีการ วินิจฉัยว่า วัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้าที่จะใช้ในการขอลดหย่อนภาษีสรรพสามิต ตามมาตรา 101 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 จะต้องเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบเฉพาะที่นำมาใช้ต้องเป็นส่วนหนึ่งของ สินค้าที่ผลิตขึ้นโดยตรงเท่านั้น แต่น้ำมันเชื้อเพลิงที่นำมาเติมสารเติมแต่งมิใช่วัตถุดิบหรือส่วนประกอบที่ ใช้ในครั้งแรก จึงไม่สามารถนำภาษีที่เสียไว้ในชั้นวัตถุดิบเดิมมาหักลดหย่อนภาษีใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปดูรายละเอียดในเรื่อง นี้อีกครั้ง
มติของที่ประชุม
ให้เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน โดยเร่งรัดการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานให้มีประสิทธิภาพ และมีผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ดังนี้
1.1 เร่งดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม และส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารของรัฐ
1.2 ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานและอาคารทั่วไปที่ไม่ได้เป็นโรงงาน ควบคุมและอาคารควบคุม ซึ่งเป็นโรงงานและอาคารขนาดกลางและขนาดเล็ก
1.3 ส่งเสริมให้มีการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพในการใช้ พลังงานสูง ตลอดจนส่งเสริมระบบตลาดให้สามารถเข้ามารองรับการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์ พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4 เร่งรัดให้มีการกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุที่ใช้ไฟฟ้า และกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำ รวมทั้ง การติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบประสิทธิภาพพลังงานที่มีมาตรฐาน
1.5 เร่งดำเนินการอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานในสาขาขนส่ง โดยมีมาตรการดังนี้
1.5.1 มาตรการระยะสั้น
(1) สร้างตัวอย่างที่ดีแก่สังคมในการประหยัดพลังงาน ให้ข้าราชการและผู้นำทางสังคมทำตัวเป็นตัวอย่าง และประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ส่งเสริม ยกย่องชุมชนหรือองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ในการลดการใช้พลังงานในสาขาขนส่ง
(2) ลดจำนวนรถยนต์บนถนน กระตุ้นให้ประชาชนทราบถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดจะช่วย ลดทั้งการลงทุนในการจัดหาพลังงานและค่าใช้จ่ายทางด้านเชื้อเพลิงของประเทศ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ภายใต้โครงการรวมพลังหารสอง ทำการรณรงค์ผ่านสื่อและกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.) สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) และจังหวัดที่มีการจราจรหนาแน่น เพื่อจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเดินทางโดยใช้พาหนะร่วมกันไปที่ หมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน (Car Pool) เดินทางโดยใช้จักรยาน หรือบริการขนส่งมวลชนในการเดินทาง ลดการเดินทางด้วยการติดต่อสื่อสารลักษณะอื่นแทน เช่น โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์ หรือการใช้บริการส่งเอกสารและวัสดุแทนการส่งด้วยตนเอง
(3) จัดการจราจร ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เช่น สจร. และ กทม. ในการให้สิทธิรถสาธารณะและรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีผู้โดยสารตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ได้สิทธิใช้เส้นทางด่วนกำหนดพื้นที่ชั้นในของ กทม. ที่ผู้ใช้รถจะต้องเสียค่าผ่านทาง เพื่อให้มีการเปลี่ยนมาใช้บริการรถสาธารณะมากขึ้นในการ เข้าเมือง จัดทำทางวิ่งจักรยานยนต์ทางด่วน และบนทางเท้าที่สามารถทำได้
(4) วางแผนก่อนเดินทาง ให้ สพช. สจร. และ กทม. เผยแพร่การให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ใช้รถพิจารณาและตรวจสอบความจำเป็นใน การเดินทาง วางแผนการเดินทางเพื่อกำหนดเส้นทางและช่วงเวลาการเดินทางถึงที่หมายอย่าง เหมาะสม หลีกเลี่ยงและลดการเดินทางในช่วงเวลาเร่งด่วน
(5) บำรุงรักษารถยนต์ สนับสนุนให้มีการตรวจวัดสภาพและปรับแต่งระบบควบคุมเครื่องยนต์ให้ถูกต้องตาม คุณลักษณะของรถ เพื่อให้การทำงานของเครื่องยนต์ดีขึ้น ส่งผลให้สิ้นเปลืองพลังงานน้อยลง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงได้ประมาณ 10% โดยพิจารณาให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานส่งเสริมให้เกิดธุรกิจ บริการตรวจวัดสภาพเครื่องยนต์ โดยร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์กรหลัก เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) กรมการขนส่งทางบก หรือสถานีบริการน้ำมันที่สามารถให้บริการตรวจวัดสภาพและปรับแต่งระบบควบคุม เครื่องยนต์ให้ถูกต้อง นอกจากนั้น ให้ สพช. และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องทำการประชาสัมพันธ์กระตุ้นเจ้าของรถยนต์ให้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ ได้รับหากรู้จักดูแลบำรุงรักษา ตรวจซ่อมเครื่องยนต์และรถอย่างสม่ำเสมอ เช่น การตรวจดูลมยางรถยนต์ให้มีความดันพอเหมาะกับการใช้งาน การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง และไส้กรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลให้มีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ การทำงานของเครื่องยนต์มีประสิทธิภาพ และไม่สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
(6) ใช้รถยนต์ถูกวิธี สนับสนุนกรมการขนส่งทางบก หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในการฝึกอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ขับรถ เพื่อให้ทราบถึงวิธีการใช้รถยนต์อย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถปฏิบัติได้โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม แต่ยังได้รับประโยชน์เป็นเงินที่ประหยัดค่าน้ำมันได้ เช่น ไม่เร่งเครื่องยนต์ เมื่อเริ่มออกเดินทาง ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสม่ำเสมอ เลือกขับที่ความเร็ว 60-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อ ลดการสึกหรอ และเพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เลือกใช้เกียร์ความเร็วและความเร็วรอบที่ สอดคล้องกัน หลีกเลี่ยงการติดตั้งอุปกรณ์เสริมหรือตกแต่งที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนัก ขึ้น หรือทำให้เกิดการต้านลมขณะเดินทาง หลีกเลี่ยงและลดการบรรทุกสัมภาระสิ่งของที่ไม่จำเป็นในการเดินทางเพื่อลด น้ำหนักของรถ เลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมาะสมให้เกิดการเผาไหม้ที่สะอาด และสอดคล้องกับชนิดของเครื่องยนต์ เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพลดการสูญเสียพลังงาน เช่น ไม่ใช้น้ำมันที่มีออกเทนสูงเกินความจำเป็นของเครื่องยนต์
1.5.2 มาตรการระยะปานกลาง
(1) ร่วมมือและสนับสนุนองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพในการปรับปรุงคุณภาพการให้ บริการของรถเมล์ และเร่งรัดให้การก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนต่างๆ ให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด
(2) ปรับเปลี่ยนแนวทางในการให้การสนับสนุนและการเก็บภาษี เพื่อให้เกิดการใช้รถสาธารณะให้มากที่สุด ผู้ที่ต้องการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น รถส่วนบุคคลจะต้องเสียภาษีในการจดทะเบียนและภาษีป้ายวงกลมสูงขึ้นตามขนาดและ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องยนต์ นอกจากนั้นเจ้าของรถส่วนตัวจะต้องเสียภาษีน้ำมันสูงขึ้นด้วย
(3) ส่งเสริมการขายรถยนต์ประสิทธิภาพสูง โดยอาจใช้เงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสนับสนุนการประชา สัมพันธ์เพื่อจูงใจให้มีการติดฉลากหรือโฆษณาประชาสัมพันธ์รถยนต์ประสิทธิภาพ สูง
(4) ให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสนับสนุนสถาบันการศึกษาค้นคว้า วิจัย และพัฒนาต้นแบบของยานพาหนะหรืออุปกรณ์ประกอบยานพาหนะที่มีการใช้เชื้อเพลิง ที่มีประสิทธิภาพ
(5) ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงที่สะอาด เช่น ก๊าซธรรมชาติอัด (Compressed Natural Gas : CNG) ในรถประจำทางและรถขนส่งมวลชนหรือการใช้ยานพาหนะที่สามารถเปลี่ยนชนิดเชื้อ เพลิงได้ เช่น Hybrid Vehicles หรือยานพาหนะอื่นที่ประหยัดพลังงานหรือก่อให้เกิดมลพิษน้อยในเขตเมืองเพื่อ ช่วยลดมลภาวะทางอากาศ
1.5.3 มาตรการระยะยาว
(1) สนับสนุนกรมการผังเมืองให้มีการนำผังเมืองที่มีผลต่อการลดความต้องการในการ เดินทางมาใช้อย่างจริงจัง ผังเมืองดังกล่าวเป็นผังที่ทำให้บ้าน โรงเรียน และที่ทำงานอยู่ใกล้กัน
(2) ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการปรับปรุงคุณภาพของโรงเรียนให้ ใกล้เคียงกันจะเป็นผลให้ผู้ปกครองส่งนักเรียนเรียนในโรงเรียนใกล้บ้าน ลดความต้องการในการเดินทาง และเพิ่มคุณภาพชีวิต
1.6 ส่งเสริมมาตรการอนุรักษ์พลังงานในสาขาเกษตร โดย
(1) สนับสนุนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ศึกษาโครงสร้างการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ และพลังงานแบบดั้งเดิมในสาขาการเพาะปลูก สาขาการประมง และการเกษตรอื่นๆ และแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
(2) ร่วมมือและสนับสนุนสถาบันการศึกษาปรับปรุงพัฒนาการของเครื่องจักรเครื่อง ยนต์ในการเกษตรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รถแทรกเตอร์ รถไถนา 2 ล้อ ระหัดวิดน้ำ เครื่องสูบน้ำ และ เครื่องพ่นยาปราบศัตรูพืช เป็นต้น
(3) ส่งเสริมให้องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นมีการใช้ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ และเครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลดปริมาณการใช้เครื่องยนต์ดีเซล
1.7 ส่งเสริมและรณรงค์ให้เกิดการตื่นตัวต่อการประหยัดพลังงานในระดับชาติ โดยดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทุกระดับทั่วประเทศเกิด กระแสความร่วมมือในการอนุรักษ์พลังงานและสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ พลังงานให้กับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ให้ใช้เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งไม่ได้รับการจัดสรรค่าใช้จ่ายส่วนนี้จากงบประมาณปกติ หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอที่จะใช้พัฒนางานให้สำเร็จได้อย่างจริงจัง หรืออาจให้เป็นค่าใช้จ่ายสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายทั่วไปในการจัดซื้อจัดหา อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งจัดหาบุคลากร หรือที่ปรึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถดำเนินงานและประสานกับหน่วยงานอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ให้มีการเลือกใช้พลังงาน ดังนี้
2.1 ส่งเสริมการใช้น้ำมันเบนซินให้ถูกประเภทสอดคล้องกับความต้องการของเครื่อง ยนต์ และมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ (กรมทะเบียนการค้า) สพช. และ ปตท. รับไปดำเนินการเจรจากับผู้ค้าน้ำมันในการลดค่าออกเทนของน้ำมันเบนซินพิเศษ จากออกเทน 97 เหลือ 95 และเบนซินธรรมดาจากออกเทน 92 เหลือ 91 ตามมาตรฐานของทางราชการ เพื่อลดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
2.2 ลดการใช้น้ำมันเตาและดีเซลในการผลิตไฟฟ้า โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการดังนี้
(1) ให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นในโรงไฟฟ้าบางปะกง และพระนครใต้
(2) เร่งรัดการติดตั้งหน่วยกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (FGD) ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 ให้แล้วเสร็จ และสามารถใช้งานได้ในเดือนมกราคม 2543
(3) ให้จัดหาถ่านลิกไนต์คุณภาพสูง (กำมะถันต่ำ) จากภาคเอกชนมาใช้ในโรงไฟฟ้า แม่เมาะอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ในการผลิตไฟฟ้า
(4) ให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป.ลาว เพิ่มขึ้น ได้แก่ โครงการ น้ำเทิน-หินบุน ห้วยเฮาะ น้ำงึม และเซเสด
(5) ให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) และรายเล็ก (SPP) ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หรือพลังงานนอกรูปแบบเป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น
2.3 ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล และการแปรรูปจากมูลฝอยโดยเฉพาะเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้กองทุนเพื่อส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงานให้การสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว เพื่อช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
2.4 ในระยะยาวให้มีการกระจายแหล่งและชนิดของเชื้อเพลิง เพื่อความมั่นคงในการจัดหา เชื้อเพลิงของประเทศ การพึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไปจะก่อให้เกิดความเสี่ยงในการ จัดหาเชื้อเพลิงให้แก่ประเทศ และเนื่องจากถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่มีแหล่งสำรองอยู่มาก และกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้ง ราคาค่อนข้างมีเสถียรภาพ ถ่านหินจึงน่าจะเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าลงได้
กำหนดแนวทางในการตรึงราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว เพื่อให้มีผลกระทบต่อผู้บริโภคน้อยที่สุด โดย
3.1 ใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายชดเชยเพื่อตรึงราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว
3.2 ปรับหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคา ณ โรงกลั่น/ราคานำเข้าลดลงจากระดับปัจจุบัน (ซึ่ง เท่ากับราคาปิโตรมิน+0$) หากราคาก๊าซฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกจนถึงระดับที่กองทุนฯ ไม่สามารถ รับการชดเชยต่อไปได้
3.3 หลังจากดำเนินการตามข้อ 3.1-3.2 แล้ว หากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงยังไม่สามารถรับภาระการชดเชยราคาก๊าซปิโตรเลียม เหลวได้ ให้ดำเนินการปรับเพิ่มราคาขายส่งและราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว
เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ให้ กฟผ. สามารถใช้น้ำมันเตากำมะถันไม่เกิน 1.0% และค่าแอสฟัลทีนระดับปกติมาใช้ในโรงไฟฟ้าพระนครเหนือได้ ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของกรมควบคุมมลพิษ
เร่งรัดการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
5.1 เพิ่มความเข้มในการตรวจการณ์ทางทะเล โดยให้กองกำกับ 1-5 กองตำรวจน้ำออกตรวจสอบและพิสูจน์ทราบเรือประมงที่แล่นอยู่ในทะเลอาณาเขตและ เขตต่อเนื่อง (ช่วง 0-24 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง) ทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย เพื่อตัดโอกาสมิให้ลักลอบนำน้ำมันจากเรือประมงดัดแปลงจำหน่ายให้กับเรือ ประมงหรือนำขึ้นฝั่ง
5.2 ตรวจสอบแพปลา และสถานีบริการชายฝั่งโดยให้ชุดปฏิบัติการทางบกศูนย์ป้องกันและปราบปรามการ ลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ศปนม.) เน้นตรวจสอบบริเวณแพปลา และสถานีบริการชายฝั่งเป้าหมายมิให้มีการขนถ่ายหรือลักลอบนำขึ้นฝั่งทุก รูปแบบ
5.3 ตรวจสอบอู่ต่อเรือ เพื่อป้องกันปราบปรามมิให้ทำการต่อเรือประมงดัดแปลงเป็นเรือบรรทุกน้ำมัน เพื่อใช้ในการลักลอบนำน้ำมันเชื้อเพลิงหลีกเลี่ยงภาษีเข้ามาในราชอาณาจักร
5.4 เฝ้าติดตามโรงกลั่น ผู้ผลิตสารละสายไฮโดรคาร์บอน (โซลเว้นท์) ตัวแทนนายหน้า (Jobber) และผู้ใช้สารละลายโซลเว้นท์ปลายทาง มิให้นำสารโซลเว้นท์ออกนอกระบบไปปลอมปนกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายใน สถานีบริการ
5.5 ตรวจสอบสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงริมน้ำ และท่าเทียบเรือบริเวณปากอ่าวไทย ลำน้ำ เจ้าพระยา และลำน้ำท่าจีนเพื่อป้องกันปราบปรามมิให้นำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยกเว้นภาษี เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงที่เติมให้กับเรือสินค้าต่างประเทศออกมาขายในสถานีบริการ
6.ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคคมนาคมขนส่งมากขึ้น โดยสนับสนุนการขยายจำนวน รถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ รถโดยสารประจำทางของ ขสมก. รถบรรทุก รถแท๊กซี่ และ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว ยังช่วยลดปัญหามลพิษในอากาศได้อีกด้วย เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด โดยรัฐควรให้การส่งเสริมโดยการจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในการลงทุน ยกเว้นภาษีนำเข้าอุปกรณ์การดัดแปลงเครื่องยนต์ ถังก๊าซฯ และอุปกรณ์ที่ใช้ในสถานีบริการก๊าซฯ และใช้เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้การสนับสนุน เช่น การให้เงิน สนับสนุนแก่เจ้าของรถที่มีความประสงค์จะดัดแปลงเครื่องยนต์มาใช้ก๊าซ ธรรมชาติ เป็นต้น และหากเอกชนสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมดัดแปลงรถยนต์ หรือจัดตั้งสถานีบริการก๊าซฯ ควรให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนด้วย โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
6.1 มอบหมายให้ ปตท. เร่งรัดการดำเนินการตามแผนการขยายการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่งตามที่ได้กำหนดไว้แล้ว
6.2 มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ให้การสนับสนุนในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมการขยายการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในภาค ขนส่งบรรลุผลสำเร็จ
7.ให้มีการเจรจาปรับลดราคา ณ โรงกลั่น ดังนี้
7.1 มอบหมายให้ ปตท. รับไปเจรจากับโรงกลั่นน้ำมันเพื่อปรับลดราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมัน เชื้อเพลิงเพื่อให้ราคาน้ำมันที่โรงกลั่นจำหน่ายในประเทศลดลงมาอยู่ในระดับ ที่ใกล้เคียงกับราคาส่งออก (Export Parity) ทั้งนี้เนื่องจาก ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กำลังการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปของประเทศมีมากเกินปริมาณความต้องการทำให้มี น้ำมันเหลือต้องส่งออก ซึ่งราคาส่งออกส่วนใหญ่จะต่ำกว่าราคาที่ขายภายในประเทศ
7.2 มอบหมายให้ ปตท. รับไปเจรจากับโรงกลั่นน้ำมันเพื่อลดราคาน้ำมันเตาที่จำหน่ายให้ กฟผ. เพื่อให้ราคาน้ำมันเตาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าราคาที่สามารถนำเข้าได้จาก สิงคโปร์
8.มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมรับไปดำเนินการตรึงราคาค่าโดยสารสำหรับรถโดยสาร ประจำทางของ ขสมก. รถไฟ และรถโดยสารของบริษัท ขนส่ง จำกัด รวมทั้ง ให้พิจารณาลดค่าธรรมเนียมที่เก็บจาก รถร่วมบริการเพื่อเป็นการลดต้นทุนของผู้ประกอบการ โดยให้พิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลังในการพิจารณาหารายได้ส่วนอื่นมาชดเชย
9.มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับไปดำเนินการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล 0.42 บาท/ลิตร เป็นการชั่วคราว มีระยะเวลา 3 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2542 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2543 และให้กระทรวงการคลังรับไปจัดทำข้อเสนอในการจัดเก็บภาษีอื่นมาชดเชยรายได้ ที่ขาดหายไปจากการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เช่น การเพิ่มภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานในการจัดทำแนวทางการพัฒนา พลังงานในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนงาน/โครงการด้านพลังงานของหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องซึ่งแนวทางการพัฒนาพลังงานดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2540
2. จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางด้านพลังงานของประเทศ สพช. ได้ทำการประเมินผลการพัฒนาพลังงานในช่วง 2 ปีแรก (พ.ศ. 2540-2541) พบว่าความต้องการใช้พลังงานของประเทศชะลอตัวลงอย่างมาก โดยการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ในช่วงปี 2540-2541 ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 1.4 ในขณะที่การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.8 ในช่วงเวลาเดียวกัน การพึ่งพาพลังงานเชิงพาณิชย์จากต่างประเทศลดลงจากระดับร้อยละ 65.6 ในปี 2539 เหลือเพียงร้อยละ 57.1 ในปี 2541 การนำเข้าโดยส่วนใหญ่ยังเป็นน้ำมันดิบและถ่านหิน แต่ปริมาณการนำเข้าได้ลดลง การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงปี 2540-2541 ลดลงร้อยละ 0.4 และ 9.6 ตามลำดับ ดังนั้น ในปี 2541 จึงมีการส่งออกสุทธิของน้ำมันเกือบทุกชนิด ยกเว้น น้ำมันเตา โดยน้ำมันเบนซินยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลัก
3. จากสถานการณ์พลังงานที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายและ แนวทางการพัฒนาพลังงานของประเทศในระยะต่อไป ดังนั้น สพช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้มีการพิจารณาปรับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาพลังงานในช่วงที่เหลือของ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 สรุปได้ดังนี้
3.1 ได้มีการปรับเป้าหมายการพัฒนาพลังงานจากที่กำหนดไว้เดิมเพื่อให้สอดคล้องกับ สถานการณ์พลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป โดยลดการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์จากเดิมที่กำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 ต่อปี เหลือร้อยละ 3.0 ต่อปี ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และรักษาสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานจาก ต่างประเทศ จากเดิมที่กำหนดไว้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 75 เป็นไม่เกินร้อยละ 64 ในปี 2544 นอกจากนี้ ยังลดเป้าหมายการผลิตก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ คอนเดนเสท และถ่านหิน/ลิกไนต์ในประเทศ และการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการที่ลดลง นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้ มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในระดับไม่ต่ำกว่า 4 เมกะวัตต์ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
3.2 แนวทางการพัฒนาพลังงานส่วนใหญ่มีแนวทางที่ต่อเนื่องจากแนวทางที่ได้ดำเนิน การมาแล้ว แต่ได้ปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์พลังงานที่เปลี่ยนไปมากขึ้น สรุปได้ดังนี้
(1) ด้านการจัดหาพลังงาน เน้นการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาและสำรวจแหล่งพลังงานจากภายใน ประเทศขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น ทั้งปิโตรเลียมและถ่านหิน รวมทั้ง การสำรวจและพัฒนาก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียขึ้นมาใช้ ประโยชน์ และในขณะเดียวกันก็ให้มีการเจรจาเลื่อนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการใน สปป.ลาว และพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่าให้เป็นไปตามกรอบของบันทึกความเข้าใจที่ ได้มีการลงนามแล้ว
(2) ด้านการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ให้มีการกำกับดูแลราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซปิโตรเลียมเหลว และการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติและค่าผ่านท่อ รวมทั้ง ให้มีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าให้สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง โปร่งใส และเป็นธรรม นอกจากนี้ ให้มีการเร่งดำเนินการทางด้านการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าและการอนุรักษ์ พลังงานตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 เพื่อให้มีการนำแผนงานอนุรักษ์พลังงานสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรมมากขึ้น
(3) ด้านการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงานและเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน ดำเนินการปรับโครงสร้างและแปรรูปกิจการพลังงานสาขาไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ และแปรรูป ปตท. ให้เป็นไปตามกรอบแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ และส่งเสริมให้มีการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจอุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลว รวมทั้ง ให้มีการปรับปรุงระบบการขนส่งน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมเหลวของประเทศให้มี ประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการขนส่งในระยะยาว นอกจากนี้ ให้มีการติดตามการดำเนินงานของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่และรายเล็กตามที่ได้ มีการคัดเลือกแล้วให้สามารถดำเนินการได้ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และให้มีการพิจารณาเลื่อนวันเริ่มต้นจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบตามความเหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการไฟฟ้าของประเทศ
(4) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ให้มีการปรับปรุงข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันเบนซินและดีเซลหมุนเร็วเพื่อลดมลภาวะ เพิ่มเติมจากที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และพิจารณาความเหมาะสม ในการลดปริมาณกำมะถันในน้ำมันเตาลงจากเดิมตามสภาพความรุนแรงของปัญหาใน เขตกรุงเทพฯ และในเขตที่มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่หนาแน่น รวมทั้ง ให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้มีการควบคุมและกำกับดูแลการจัดเก็บและ กำจัดกากน้ำมันหล่อลื่นและส่งเสริมการลงทุนในการนำน้ำมันหล่อลื่นใช้ แล้วกลับมาใช้ใหม่ให้ถูกหลักวิชาการ กำหนดให้คลังน้ำมัน รถบรรทุกน้ำมัน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ต้องติดตั้งอุปกรณ์กักเก็บไอน้ำมัน ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงที่สะอาดในภาคอุตสาหกรรมและ ภาคคมนาคมขนส่งมากขึ้น
(5) ด้านพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและกลไกการบริหารงานด้านพลังงาน เร่งดำเนินการออกพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. .... และดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521 ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีแล้ว เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติโดยเร็ว รวมทั้งแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวเพื่อให้ ธุรกิจก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีความปลอดภัยและเป็นไปอย่างมีระบบและมีความเสมอ ภาคระหว่างผู้ประกอบการ ตลอดจนดำเนินการยกร่างกฎหมายจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระในสาขาพลังงาน เพื่อให้สามารถจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลกิจการพลังงานภายหลังการ แปรรูปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มติของที่ประชุม
เห็นชอบแนวทางการพัฒนาพลังงานปี 2542-2544 ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ตามที่ สพช. เสนอ เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานของหน่วยราชการ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุม ครั้งที่ 4/2537 (ครั้งที่ 47) เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2537 ได้เห็นชอบแผนอนุรักษ์พลังงาน และแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจัดสรรเงินกองทุนฯ สำหรับแผนงานและโครงการในปีงบประมาณ 2537-2542 ซึ่งมีวงเงินรวมทั้งสิ้น 19,286 ล้านบาท (หนึ่งหมื่นเก้าพันสองร้อยแปดสิบหกล้านบาทถ้วน)
2. การดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาคณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติเงินกองทุนฯ เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายของโครงการต่างๆ เป็นเงินทั้งสิ้น 6,237 ล้านบาท โดยโครงการที่ดำเนินการแล้วและสามารถประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานได้ อย่างชัดเจน คือ โครงการอาคารของรัฐ ภายใต้แผนงานภาคบังคับ ได้ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานไปแล้ว 573 อาคาร และการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้แผนงานภาคความร่วมมือ 91 โครงการ คาดว่าจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและสามารถทดแทนพลังงานสิ้นเปลืองได้ คิดเป็นเงินประมาณ 525 ล้านบาท/ปี และสามารถชะลอการลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าได้ คิดเป็นมูลค่า 2,115 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงประโยชน์ที่ได้รับในส่วนที่ไม่สามารถประเมินศักยภาพ การอนุรักษ์พลังงานและการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนเงินได้
3. เนื่องจากแผนอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2537-2542 กำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2542 คณะกรรมการกองทุนฯ จึงได้เสนอแผนอนุรักษ์พลังงาน แนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับ ความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ในช่วงปีงบประมาณ 2543-2547 ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อพิจารณา โดยมีวงเงินรวมทั้งสิ้น 29,110.61 ล้านบาท ซึ่งหลักเกณฑ์ แนวทาง เงื่อนไข และการจัดลำดับความสำคัญของแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2 ส่วนใหญ่แล้วยังเป็นไปตามแผนฯ เดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงในประเด็นใหญ่ 5 หัวข้อ ดังนี้
3.1 ปรับเปลี่ยนงบประมาณโครงการอาคารและโรงงานทั่วไปจากแผนงานภาคบังคับไปไว้ภาย ใต้แผนงานภาคความร่วมมือ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางในการปฏิบัติงานในช่วงที่ผ่านมา
3.2 ปรับเปลี่ยนงบประมาณโครงการประชาสัมพันธ์ ในส่วนที่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน รับผิดชอบจากแผนงานสนับสนุนไปไว้ภายใต้แผนงานภาคบังคับ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของ แผนงานภาคบังคับ
3.3 การเพิ่ม "โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน" เป็นอีกโครงการหนึ่งภายใต้แผนงานภาคความร่วมมือ เพื่อจูงใจให้ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กฯ เข้ามาร่วมผลิตและขายไฟฟ้า โดยใช้เงินจากกองทุนฯ สนับสนุนราคารับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน
3.4 ดำเนินโครงการโรงงานและอาคารที่อยู่ระหว่างการออกแบบหรือก่อสร้าง จนถึงเดือนมีนาคม 2543 เท่านั้น และให้การสนับสนุนเฉพาะอาคารของรัฐที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเท่านั้น แล้วให้มีการประเมินผลโครงการฯ เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณาการดำเนินโครงการฯ ในช่วงต่อไป
3.5 ไม่จำกัดขอบเขตงานโครงการพลังงานหมุนเวียนและกิจกรรมการผลิตในชนบทไว้ที่ กิจการขนาดเล็กที่ใช้พลังไฟฟ้าต่ำกว่า 300 กิโลวัตต์ และมีสถานที่ตั้งนอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล
นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับแนวทางการใช้เงินจากกองทุนฯ เพื่อนำไปดำเนินการในโครงการต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
4. แผนอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปีงบประมาณ 2543-2547 ประกอบด้วย 3 แผนงานรอง และ 12 โครงการหลัก คาดว่าจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน โดยสามารถทดแทนพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงได้ คิดเป็นเงินประมาณ 12,870 ล้านบาท/ปี และสามารถลดความต้องการพลังไฟฟ้าได้ คิดเป็นเงินประมาณ 38,085 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
1.รับทราบผลการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2538-2542 ปัญหา อุปสรรค และการประเมินผลการดำเนินงาน การศึกษาเชิงนโยบายเพื่อใช้ในการกำหนดแผนอนุรักษ์พลังงานในช่วง ปีงบประมาณ 2543-2547 และแนวทางการดำเนินงาน ในช่วงปีงบประมาณ 2543-2547 ตามที่ปรากฏในส่วนที่ 4 - ส่วนที่ 7 ของเอกสารประกอบวาระ 4.3.1
2.เห็นชอบแผนอนุรักษ์พลังงาน และแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตามที่ปรากฏในส่วนที่ 8 ของเอกสารประกอบวาระ 4.3.1 โดยให้มีการปรับปรุงแผนอนุรักษ์พลังงานให้สอดคล้องกับมติคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2542 (ครั้งที่ 70) เรื่อง สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ผลกระทบ และทางเลือก ซึ่งมีมติเห็นชอบให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และเร่งรัดการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานให้มีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 เป็นต้นไป
3.มอบหมายให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจัดสรรเงิน กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับแผนงานและโครงการในปีงบประมาณ 2543-2547 ตามวงเงินในข้อ 2.4 (รายละเอียดตามที่ปรากฏในส่วนที่ 9 ของเอกสารประกอบวาระ 4.3.1) ซึ่งมีวงเงินรวม 29,110.61 ล้านบาท และให้คณะกรรมการกองทุนฯ มีอำนาจที่จะปรับปรุงแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ และการจัดสรรเงินตามแผนงานต่างๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมภายในวงเงินรวมดังกล่าว ทั้งนี้ โดยสอดคล้องกับการขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนฯ การจัดลำดับความสำคัญ ตลอดจนรายได้ของกองทุนฯ ด้วย
เรื่องที่ 6 มาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2539 เห็นชอบแนวทางในการปรับโครงสร้างและ การแปรรูปกิจการไฟฟ้าของประเทศ และได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) จัดทำมาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าและระบบการประเมินผล เพื่อให้การปฏิบัติงานของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง คำนึงถึงคุณภาพการให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งมาตรฐานคุณภาพบริการดังกล่าว จะใช้ประกอบการพิจารณาฐานะการเงินของการไฟฟ้า และจะกำหนดให้เป็นตัวแปรหนึ่งในการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจการ ไฟฟ้าต่อไป
2. สพช. ได้ดำเนินการหารือร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และผู้ใช้ไฟฟ้า โดยได้ข้อสรุปมาตรฐานด้านเทคนิคและมาตรฐานคุณภาพบริการของ กฟน. และ กฟภ. เพื่อใช้ในการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า ดังนี้
2.1 มาตรฐานทางด้านเทคนิค (Technical Standards) ประกอบด้วย มาตรฐานแรงดันไฟฟ้า มาตรฐานการจ่ายไฟฟ้า และมาตรฐานความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า
2.2 มาตรฐานการให้บริการ (Customer Service Standards) ประกอบด้วย
(1) มาตรฐานการให้บริการทั่วไป (Overall Standards) ประกอบด้วย การจ่ายไฟฟ้า คืนหลังจากระบบจำหน่ายขัดข้อง การร้องเรียนในเรื่องแรงดันไฟฟ้า การอ่านหน่วยไฟฟ้าที่ใช้จริง ใบแจ้งหนี้ ค่าไฟฟ้า และการตอบข้อร้องเรียนจากผู้ใช้ไฟฟ้า
(2) มาตรฐานการให้บริการที่การไฟฟ้ารับประกันกับผู้ใช้ไฟฟ้า (Guaranteed Standards) ประกอบด้วย คุณภาพไฟฟ้า ระยะเวลาที่ลูกค้ารายใหม่ขอใช้ไฟฟ้า ระยะเวลาตอบสนองที่ลูกค้าร้องขอและปฏิบัติตามเงื่อนไข และระยะเวลาต่อกลับการใช้ไฟฟ้ากรณีถูกงดจ่ายไฟ โดยมาตรฐานการให้บริการที่การไฟฟ้ารับประกันนี้มีบทลงโทษโดยคิดเป็นค่าปรับ ที่การไฟฟ้าจะต้องจ่ายให้ผู้ใช้ไฟ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด โดยค่าปรับจะอยู่ระหว่าง 50-2,000 บาท
3. การกำหนดแนวทางการกำกับดูแล และแนวทางการประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้มีการกำหนดมาตรฐานทางด้านเทคนิคและมาตรฐานการให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้า รวมทั้งเพื่อให้มีการประเมินผลการดำเนินงานของการไฟฟ้าให้เป็นไปตามเป้าหมาย มีดังนี้
3.1 แนวทางการกำกับดูแลตามมาตรฐานคุณภาพบริการ ประกอบด้วย
(1) คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)/สพช. ทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติ ข้อเสนอของการไฟฟ้าเกี่ยวกับมาตรฐานทางด้านเทคนิคและมาตรฐานการให้บริการ
(2) กพช./สพช. ติดตามการดำเนินงานโดยพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างรายงานการดำเนินงานที่ กฟน. และ กฟภ. จะต้องจัดทำขึ้นเป็นรายปี กับมาตรฐานที่กำหนด
(3) กพช./สพช. กำหนดบทลงโทษสำหรับการไฟฟ้าที่มีการดำเนินงานไม่เป็นไปตาม มาตรฐานที่กำหนด
3.2 การประเมินผลการดำเนินงาน สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน ดังนี้
(1) กฟน. และ กฟภ. จัดทำรายงานประจำปี แสดงผลการดำเนินงานในรอบปีเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพบริการที่กำหนด พร้อมทั้งชี้แจงผลการดำเนินงานโดยละเอียด
(2) สพช. พิจารณาผลการดำเนินงานในข้อ (1)
(3) สพช. เป็นผู้กำกับบริษัทที่ปรึกษาที่ตรวจสอบการลงทุนของการไฟฟ้า ว่าเป็นไปตามแผนการลงทุนที่อนุมัติหรือไม่ โดยอาจจัดทำทุก 3-5 ปี
(4) สพช. เป็นผู้กำกับบริษัทที่ปรึกษาทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้ไฟฟ้าเกี่ยวกับ การให้บริการ เป็นประจำทุกปี โดย กฟน. และ กฟภ. จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบมาตรฐานคุณภาพบริการของ กฟน. และ กฟภ. รายละเอียดตามเอกสารแนบ 2 และ 3 ของเอกสารแนบวาระ 4.4.1
2.เห็นชอบแนวทางการกำกับดูแลมาตรฐานคุณภาพบริการ รายละเอียดตามข้อ 3
3.ให้นำมาตรฐานคุณภาพบริการของ กฟน. และ กฟภ. มาบังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2543 เป็นต้นไป เนื่องจากในช่วงต้นปี พ.ศ. 2543 ระบบคอมพิวเตอร์อาจเกิดการขัดข้องจากปัญหา Y2K
กพช. ครั้งที่ 69 - วันอังคารที่ 21 กันยายน 2542
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 3/2542 (ครั้งที่ 69)
วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2542 เวลา 15.00 น.
ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล
1.ข้อเสนอการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าของน้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซปิโตรเลียมเหลว
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 ข้อเสนอการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าของน้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซปิโตรเลียมเหลว
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ได้มีการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะมี การประชุม และที่ประชุมได้มีความเห็นดังนี้
1. ในภาวะที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ได้อ่อนค่าลง ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศสูงขึ้นจนถึงระดับที่ทำให้ภาษีสรรพสามิตตาม มูลค่ามีค่ามากกว่า ตามปริมาณ และจะต้องมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จึงควรให้มีการยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า
2. ถ้าราคาน้ำมันดูไบสูงขึ้นไปจนถึงระดับ 25 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะเป็นระดับที่จะมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รัฐจะต้องเข้ามาหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ ประชาชน
การพิจารณาของที่ประชุม
1.ถ้าราคาน้ำมันยังคงเพิ่มสูงขึ้นและค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอีก การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของน้ำมันจะต้องเปลี่ยนจากการคิดตามปริมาณมาเป็นตาม มูลค่าซึ่งอัตราจะสูงกว่าเดิม ดังนั้น เพื่อมิให้เป็นการเพิ่มภาระแก่ประชาชน จึงเห็นควรให้มีการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าเป็นอัตราร้อยละศูนย์ เพื่อให้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเป็นอัตราตามปริมาณคงที่ ซึ่งในเรื่องนี้บริษัทน้ำมันหลายแห่งก็ได้มีหนังสือแจ้งว่าอยากให้รัฐมีการ จัดเก็บภาษีเป็นอัตราคงที่สำหรับน้ำมันเบนซินและดีเซล แทนที่จะมีการจัดเก็บตามมูลค่า อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตจะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
2.รัฐบาลได้ยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมันมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เพื่อให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด และในช่วงที่ผ่านมากลุ่มโอเปครวมตัวกันไม่ได้จึงทำให้ราคาน้ำมันดิบลดต่ำลง ประชาชนจึงเคยชินกับราคาน้ำมันที่มีราคาต่ำ แต่ปัจจุบันกลุ่มโอเปคสามารถรวมตัวกันได้ราคาน้ำมันจึงสูงขึ้น ในขณะเดียวกันไทยยังต้องนำเข้าน้ำมันจากประเทศเหล่านี้ จึงต้องทำความเข้าใจกับประชาชนว่ารัฐบาลไม่สามารถกำหนดราคาน้ำมันได้เอง และหากราคาน้ำมันสูงขึ้นไปกว่านี้ก็จะต้องหามาตรการรองรับเพื่อให้ประชาชน ไม่เดือดร้อนมากไปกว่านี้ และเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ว่ารัฐบาลให้ความใส่ใจกับปัญหาของประชาชน
3.การพิจารณาปรับลดภาษีสรรพสามิตมีประเด็นสำคัญที่ควรนำมาพิจารณา 2 ประเด็นคือ ความเดือนร้อนของประชาชน และผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าว่าถ้าราคาน้ำมันดิบดูไบ ขึ้นไปถึง 25 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงร้อยละ 0.5 จากแนวโน้มเดิม และถ้าราคาน้ำมันดิบสูงถึง 29 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงร้อยละ 0.8 และที่ประชุมเห็นว่าถ้าราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ในระดับ 25 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จะมีผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รัฐจะต้องหามาตรการแก้ไขเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน อย่างไรก็ตามเห็นควรได้มีการติดตามผลการประชุมของกลุ่ม โอเปคในวันที่ 22 กันยายน 2542 ก่อนว่าผลจะเป็นอย่างไร และให้มีการติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมัน อย่างใกล้ชิดเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาในครั้งต่อไป และเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงส่งผล กระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งการกำหนดราคาขายส่งน้ำมันสำเร็จรูปของไทย อิงกับราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาดสิงค์โปร์ ดั้งนั้น จึงควรนำประเด็นทั้งสองมาร่วมพิจารณาในการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ด้วย
4.ประธานฯ ได้ขอให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องเพื่อทราบตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอในการประชุมเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2542 รวม 5 เรื่อง คือ
(1) สถานการณ์พลังงานในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2542
(2) รายงานผลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง
(3) ความก้าวหน้าของการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว
(4) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน ปีงบประมาณ 2542
(5) รายงานความคืบหน้าในการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนในรูปของ IPP และ SPP
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบให้กระทรวงการคลังรับไปดำเนินการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตตาม มูลค่าของน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันดีเซลหมุนช้า น้ำมันก๊าด และก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้เหลือในอัตรา ร้อยละศูนย์เพื่อให้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของน้ำมันดังกล่าวเป็นอัตราตาม ปริมาณเท่านั้น โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในการประชุมในวันอังคารที่ 28 กันยายน 2542 นี้
2.ถ้าราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้นสู่ในระดับ 25 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและต่อประชาชน รัฐบาลควรจะพิจารณาหามาตรการแก้ไขเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว แต่ทั้งนี้ให้คำนึงถึงราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ และราคาขายปลีกในประเทศด้วย
กพช. ครั้งที่ 68 - วันจันทร์ที่ 20 กันยายน 2542
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 2/2542 (ครั้งที่ 68)
วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2542 เวลา 14.30 น.
ณ ห้องประชุมตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล
1.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ผลกระทบและแนวทางการแก้ไข
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ผลกระทบและแนวทางการแก้ไข
สรุปสาระสำคัญ
1. ปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปของไทยในปี 2541 แยกเป็น เบนซินมีปริมาณการใช้ 7,173 ล้านลิตร ดีเซลหมุนเร็ว 15,265 ล้านลิตร และน้ำมันเตา 7,941 ล้านลิตร เบนซินมีการใช้ในภาคคมนาคมเป็นส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 97.8 ส่วนใหญ่ใช้ในรถเก๋ง น้ำมันดีเซลประมาณร้อยละ 81.6 ใช้ในการขนส่ง ร้อยละ 10.5 ใช้ในภาคเกษตรซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในสาขาประมงและมักจะซื้อมาจากนอกน่านน้ำไทย เป็นส่วน ใหญ่เนื่องจากไม่มีภาษี ส่วนน้ำมันเตาประมาณร้อยละ 53.6 ใช้ในกิจการไฟฟ้า อีกร้อยละ 43.8 ใช้ในภาคอุตสาหกรรมและการขนส่งทางเรือ
2. โครงสร้างการจัดเก็บภาษีน้ำมันในขณะนี้ ประกอบด้วย ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีสรรพสามิตมีการจัดเก็บมากที่สุด คือ เบนซินมีการจัดเก็บในอัตรา 3.685 บาท/ลิตร ดีเซล 2.305 บาท/ลิตร และน้ำมันเตา 0.2378 บาท/ลิตร ในช่วงที่ผ่านมามีการปรับภาษีสรรพสามิต รวม 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 มีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตเบนซิน 1 บาท/ลิตร และเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2542 มีการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาเหลือร้อยละ 5 ของมูลค่า และปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตเบนซินและดีเซล 0.10 บาท/ลิตร และ 0.09 บาท/ลิตร ตามลำดับ เพื่อชดเชยรายได้ภาษีที่ลดลงจากการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา รายได้ของรัฐจากภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่มของน้ำมันในปีงบประมาณ 2542 มีจำนวน 94,867 ล้านบาท
3. ราคาน้ำมันดิบในขณะนี้ได้ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากกลุ่มประเทศโอเปคและประเทศ ผู้ส่งออกน้ำมันนอกกลุ่มโอเปค ได้ตกลงร่วมกันในการลดปริมาณการผลิตลงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 เป็นต้นมา ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเริ่มปรับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอดและได้ส่งผลกระทบ ต่อราคาน้ำมันสำเร็จรูป การปรับตัวของราคาน้ำมันเบนซินมีมากกว่าน้ำมันดีเซล เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อการขับขี่ในฤดูร้อน แต่นับตั้งแต่ กลางเดือนสิงหาคมราคาน้ำมันเบนซินเริ่มทรงตัว เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกเริ่มชะลอตัวลงในช่วงปลายฤดูร้อน ในขณะเดียวกันประเทศต่างๆ เริ่มสำรองน้ำมันดีเซลและน้ำมันก๊าดสำหรับฤดูหนาวที่จะมาถึง ทำให้ราคาน้ำมันดีเซลและน้ำมันก๊าดปรับสูงขึ้นตามความต้องการของช่วงฤดูกาล ผลการประชุมของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบคาดว่าจะยังคงยืนเพดานการผลิตเดิมออกไป จนกระทั่งเดือนมีนาคมปีหน้า
4. ราคาน้ำมันดิบที่ขึ้นมาอยู่ในระดับ 22-23 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เป็นราคาที่อยู่ในระดับภาวะปกติเมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่จะเกิดวิกฤติทาง เศรษฐกิจในเอเซีย แต่สาเหตุที่ประชาชนมีความรู้สึกว่าราคาเพิ่มขึ้น สูงมากก็เนื่องจากในช่วงปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบมีราคาต่ำกว่าปกติอยู่ในระดับ 10 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งเป็นราคาที่ไม่เคยต่ำเช่นนี้มาตั้งแต่ปี 2529 และเป็นช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นเดียวกัน ราคาน้ำมันดิบ 10 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล นี้ เป็นราคาที่คงอยู่ไม่นานเนื่องจากเป็นราคาที่ต่ำเกินไปทำให้ไม่จูงใจให้มี การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ดังนั้น ราคาน้ำมันดิบในขณะนี้จึงถือว่าเป็นราคาที่อยู่ในภาวะปกติ โดยใน ช่วงหน้าหนาวราคาอาจจะสูงขึ้นและช่วงหน้าร้อนอาจจะลดลงบ้าง แต่จะไม่ลดลงไปอยู่ที่ระดับ 10 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เหมือนปีที่แล้ว
5. ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปของไทยได้ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาด โลก แต่การปรับราคาขายปลีกของผู้ค้าน้ำมันทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากตลาดมีการแข่งขันสูง และค่าการตลาดของผู้าค้าน้ำมันก็ลดลงมากในช่วงที่ผ่านมา ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปในขณะนี้ ราคาเบนซินพิเศษอยู่ที่ 13.59 บาท/ลิตร ซึ่งสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ราคาดีเซลอยู่ที่ 10.14 บาท/ลิตร ซึ่งยังคงต่ำกว่าราคาสูงสุดปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 11.70 บาท/ลิตร ราคานี้ดูเหมือนว่ามีการปรับตัวสูงขึ้นเมื่อคิดเป็นเงินบาท แต่เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ เท่ากับ 25 บาท แล้วราคาจะต่ำลงกว่านี้ 2 บาท ดังนั้น ราคาเบนซินพิเศษ 13.59 บาท/ลิตร เมื่อเทียบอัตราแลกเปลี่ยนที่ 25 บาท ราคาจะลดลงเหลือ 11.59 บาท เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ขณะนี้ไม่ได้มีวิกฤติการณ์ทางด้านน้ำมัน เกิดขึ้นในโลก แต่เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนตัวลงจึงทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ในประเทศอื่นๆ ราคาน้ำมันก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน และเมื่อเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษี ของไทยกับหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศแถบยุโรปและเอเซียบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ มีการจัดเก็บภาษีประมาณร้อยละ 50-70 ของราคาขายปลีก ซึ่งสูงกว่าของไทยซึ่งมีการจัดเก็บอยู่ ในกลุ่มร้อยละ 30-50 ของราคาขายปลีก
6. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ได้วิเคราะห์ผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล เบนซินและน้ำมันเตาต่อเศรษฐกิจมหภาค โดยมีสมมุติฐาน เป็น 2 กรณี คือ กรณีฐาน สมมุติว่าราคาน้ำมัน ในครึ่งหลังปี 2542 เฉลี่ยเท่ากับราคาในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 และกรณีที่ราคาน้ำมันในครึ่งหลังของปี 2542 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยในช่วงครึ่งปีแรก โดยราคาเฉลี่ยปี 2542 จะสูงกว่าราคา ในกรณีฐานร้อยละ 11.8 ซึ่งสรุปผลการวิเคราะห์ได้ดังนี้
6.1 การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันทำให้ต้นทุนของผู้ใช้น้ำมันทั้งภาคการผลิตและ บริโภคสูงขึ้น มี ผลให้อุปสงค์รวมที่แท้จริง (Real Demand) ของระบบเศรษฐกิจลดลง และทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจรวมลดลงร้อยละ 0.6 โดยภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวต่ำกว่ากรณีฐานร้อยละ 0.9 ส่วนภาคบริการจะขยายตัวต่ำลงร้อยละ 0.6
6.2 อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นจากกรณีฐาน เพียงร้อยละ 0.2 สาเหตุที่เงินเฟ้อสูงไม่มากเนื่องจาก อุปสงค์รวมที่แท้จริงของระบบเศรษฐกิจลดลง ในขณะที่มีกำลังผลิตส่วนเกิน (Excess Capacity) อยู่ในระบบมาก ดังนั้นผู้ประกอบการไม่สามารถผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นทั้งหมดให้ผู้บริโภคได้
6.3 การส่งออกลดลงเล็กน้อยเนื่องจากราคาที่สูงขึ้นกระทบต่อผู้ใช้น้ำมันทั่วโลก มูลค่าการนำเข้าสูงขึ้นประมาณ 9,123 ล้านบาท เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้มูลค่าการนำเข้าในหมวดน้ำมันสูงขึ้น ดุล การค้าจะลดลง 10,586 ล้านบาท ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดจะลดลง 9,733 ล้านบาท เมื่อเทียบกับกรณีฐาน
7. สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้นับว่าอยู่ในภาวะปกติ แนวโน้มราคาน้ำมันเบนซินในช่วงครึ่งหลังของปี 2542 จะคงไม่สูงขึ้นมาก ส่วนราคาน้ำมันดีเซลคาดว่าจะสูงขึ้นตามความต้องการที่สูงขึ้นในฤดูหนาว แนวทางการแก้ไขจึงควรพิจารณาลดต้นทุนการใช้พลังงานของกิจกรรมต่างๆ และการประหยัดพลังงานก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนการลดภาษีสรรพสามิตนั้น จะมีผลกระทบต่อรายได้ของรัฐ จึงควรพิจารณาเป็นทางเลือกสุดท้าย โดยฝ่ายเลขานุการฯ เห็นควรให้มีการแก้ไขปัญหา ดังนี้
7.1 ให้เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน โดยเร่งรัดการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานซึ่งได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ให้มีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น ดังนี้
(1) เร่งดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม และส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารของรัฐ
(2) ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานและอาคารทั่วไปที่ไม่ได้เป็นโรงงาน ควบคุมและอาคารควบคุม ซึ่งเป็นโรงงานและอาคารขนาดกลางและขนาดเล็ก
(3) ส่งเสริมให้มีการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพในการใช้ พลังงานสูง ตลอดจนส่งเสริมระบบตลาดให้สามารถเข้ามารองรับการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์ พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(4) เร่งรัดให้มีการกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ไฟฟ้า และกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำ รวมทั้ง การติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพพลังงาน และส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบประสิทธิภาพพลังงานที่มีมาตรฐาน
(5) ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในการขนส่ง ได้แก่ การส่งเสริมการเดินทางโดยใช้พาหนะร่วม (Car Pool) เพื่อลดการใช้รถยนต์ ลดการเดินทางด้วยการสื่อสารลักษณะอื่นแทน เช่น โทรศัพท์ โทรสาร หรือการใช้บริการส่งเอกสารและวัสดุแทนการส่งด้วยตนเอง การรณรงค์ให้มีการบำรุงรักษาเครื่องยนต์และการใช้รถยนต์ให้ถูกวิธี ในระยะปานกลางและระยะยาวควรเร่งปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ รถเมล์ และเร่งก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนให้เสร็จทันเวลา ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีให้ประชาชน หันมาใช้รถสาธารณะมากขึ้น ลดการใช้รถส่วนตัว รวมทั้ง ปรับปรุงระบบผังเมืองให้มีผลต่อการลดความต้องการในการ เดินทาง เช่น บ้าน โรงเรียน และที่ทำงานอยู่ใกล้กัน เป็นต้น
(6) ส่งเสริมและรณรงค์ให้เกิดการตื่นตัวต่อการประหยัดพลังงานในระดับชาติ โดยดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทุกระดับทั่วประเทศเกิด กระแสความร่วมมือในการอนุรักษ์พลังงานและสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ พลังงานให้กับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
7.2 ให้มีการเลือกใช้พลังงาน ดังนี้
(1) ส่งเสริมการใช้น้ำมันเบนซินให้ถูกประเภท โดยเพิ่มการใช้เบนซินธรรมดาทดแทนเบนซินพิเศษ
(2) ลดการใช้น้ำมันเตาและดีเซลในการผลิตไฟฟ้า โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการดังนี้
(2.1) ให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นในโรงไฟฟ้าบางปะกง และพระนครใต้
(2.2) เร่งรัดการติดตั้งหน่วยกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (FGD) ของโรงไฟฟ้า แม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 ให้แล้วเสร็จ และสามารถใช้งานได้ในเดือนมกราคม 2543
(2.3) ให้จัดหาถ่านลิกไนต์คุณภาพสูง ( กำมะถันต่ำ ) จากภาคเอกชนมาใช้ในโรงไฟฟ้าแม่เมาะอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ในการผลิตไฟฟ้า
(2.4) ให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป.ลาว เพิ่มขึ้น ได้แก่ โครงการน้ำเทิน-หินบุน ห้วยเฮาะ น้ำงึม และเซเสด
(2.5) ให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) และรายเล็ก (SPP) ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หรือพลังงานนอกรูปแบบเป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น
(3) ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล และการแปรรูปจากมูลฝอยโดยเฉพาะเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้การสนับสนุนการดำเนินการดัง กล่าว เพื่อช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
(4) ในระยะยาวให้มีการกระจายแหล่งและชนิดของเชื้อเพลิง เพื่อความมั่นคงในการจัดหา เชื้อเพลิงของประเทศ การพึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไปจะก่อให้เกิดความเสี่ยงในการ จัดหาเชื้อเพลิงให้แก่ประเทศ และเนื่องจากถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่มีแหล่งสำรองอยู่มาก และกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้ง ราคาค่อนข้างมีเสถียรภาพ ถ่านหินจึงน่าจะเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าลงได้
7.3 กำหนดแนวทางในการตรึงราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว เพื่อให้มีผลกระทบต่อผู้บริโภคน้อยที่สุด โดย
(1) ใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายชดเชยเพื่อตรึงราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว จนถึงเดือนมีนาคม 2543
(2) ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า
(3) ปรับหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคา ณ โรงกลั่น/ราคานำเข้าลดลงจากระดับ ปัจจุบัน (ซึ่งเท่ากับราคาปิโตรมิน +0$) หากราคาก๊าซฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกจนถึงระดับที่กองทุนฯ ไม่สามารถรับการชดเชยต่อไปได้
(4) หลังจากดำเนินการตามข้อ (1)-(3) แล้ว หากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงยังไม่สามารถรับภาระการชดเชยราคาก๊าซปิโตรเลียม เหลวได้ ให้ดำเนินการปรับเพิ่มราคาขายส่งและราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว
7.4 เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ควรให้ กฟผ. มีทางเลือกในการใช้น้ำมันเตาในโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ โดยให้ กฟผ. สามารถใช้น้ำมันเตากำมะถันไม่เกิน 1.0% และค่าแอสฟัลทีนระดับปกติมาใช้ในโรงไฟฟ้าพระนครเหนือได้
7.5 เร่งรัดการแก้ไขการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเฉพาะที่มีการนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ดังนี้
(1) เร่งรัดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมศุลกากร เพิ่มการลาดตระเวนตรวจสอบ เรือขนส่งน้ำมันจากประเทศมาเลเซีย รวมทั้ง เรือประมงที่ดัดแปลงเป็นเรือขนน้ำมัน ซึ่งเดินทางเข้ามาประเทศไทยทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมทั้ง การลักลอบขนน้ำมันเถื่อนทางบกในบริเวณแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย
(2) เพิ่มการปฏิบัติการตรวจสอบปราบปรามทางทะเลในทุกท้องที่ให้มากขึ้น เพราะเรือน้ำมันเถื่อนในทะเลที่เคยซื้อน้ำมันจากสิงคโปร์อาจเปลี่ยนไปซื้อ จากมาเลเซีย ทำให้ไม่ต้องขึ้นราคาจำหน่ายหรือขึ้นราคาจำหน่ายน้อยกว่าน้ำมันที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้มีผู้ลักลอบขนขึ้นฝั่งมากขึ้นเพราะได้กำไรสูงขึ้น และพื้นที่ลักลอบที่เพิ่มสูงอาจเกิดขึ้นได้ในทุกที่ตลอดแนวชายฝั่งทั้งด้าน อ่าวไทยและทะเลอันดามัน
7.6 หากจะต้องมีการลดภาษีสรรพสามิตตามปริมาณให้ปรับลดอัตราภาษีน้ำมันเบนซินลง โดยลดอัตราภาษีน้ำมันเบนซินออกเทนระหว่าง 95.0-96.0 ลง 20 สตางค์/ลิตร และเบนซินออกเทน 91 และ 87 ลง 50 สตางค์/ลิตร เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันเบนซินให้ถูกประเภท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบกับแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นตามข้อเสนอของฝ่ายเลขานุการฯ ดังนี้
1.ให้เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน โดยเร่งรัดการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานซึ่งได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ให้มีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น ดังนี้
1.1 เร่งดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม และส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารของรัฐ
1.2 ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานและอาคารทั่วไปที่ไม่ได้เป็นโรงงาน ควบคุมและอาคารควบคุม ซึ่งเป็นโรงงานและอาคารขนาดกลางและขนาดเล็ก
1.3 ส่งเสริมให้มีการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพในการใช้ พลังงานสูง ตลอดจนส่งเสริมระบบตลาดให้สามารถเข้ามารองรับการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์ พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4 เร่งรัดให้มีการกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุที่ใช้ไฟฟ้า และกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำ รวมทั้ง การติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพพลังงาน และส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบประสิทธิภาพพลังงานที่มีมาตรฐาน
1.5 ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในการขนส่ง ได้แก่ การส่งเสริมการเดินทางโดยใช้พาหนะร่วม (Car Pool) เพื่อลดการใช้รถยนต์ ลดการเดินทางด้วยการสื่อสารลักษณะอื่นแทน เช่น โทรศัพท์ โทรสาร หรือการใช้บริการส่งเอกสารและวัสดุแทนการส่งด้วยตนเอง การรณรงค์ให้มีการบำรุงรักษาเครื่องยนต์และการใช้รถยนต์ให้ถูกวิธี ในระยะปานกลางและระยะยาวควรเร่งปรับปรุงคุณภาพการให้บริการรถเมล์ และเร่งก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนให้เสร็จทันเวลา ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีให้ประชาชน หันมาใช้รถสาธารณะมากขึ้น ลดการใช้รถส่วนตัว รวมทั้ง ปรับปรุงระบบผังเมืองให้มีผลต่อการลดความต้องการในการเดินทาง เช่น บ้าน โรงเรียน และที่ทำงานอยู่ใกล้กัน เป็นต้น
1.6 ส่งเสริมและรณรงค์ให้เกิดการตื่นตัวต่อการประหยัดพลังงานในระดับชาติ โดยดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทุกระดับทั่วประเทศเกิด กระแสความร่วมมือในการอนุรักษ์พลังงานและสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ พลังงานให้กับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
2.ให้มีการเลือกใช้พลังงาน ดังนี้
2.1 ส่งเสริมการใช้น้ำมันเบนซินให้ถูกประเภท โดยเพิ่มการใช้เบนซินธรรมดาทดแทนเบนซินพิเศษ
2.2 ลดการใช้น้ำมันเตาและดีเซลในการผลิตไฟฟ้า โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการดังนี้
(1) ให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นในโรงไฟฟ้าบางปะกง และพระนครใต้
(2) เร่งรัดการติดตั้งหน่วยกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (FGD) ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 ให้แล้วเสร็จ และสามารถใช้งานได้ในเดือนมกราคม 2543
(3) ให้จัดหาถ่านลิกไนต์คุณภาพสูง (กำมะถันต่ำ) จากภาคเอกชนมาใช้ในโรงไฟฟ้า แม่เมาะอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ในการผลิตไฟฟ้า
(4) ให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป.ลาว เพิ่มขึ้น ได้แก่ โครงการ น้ำเทิน-หินบุน ห้วยเฮาะ น้ำงึม และเซเสด
(5) ให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) และรายเล็ก (SPP) ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หรือพลังงานนอกรูปแบบเป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น
2.3 ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล และการแปรรูปจากมูลฝอยโดยเฉพาะเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้กองทุนเพื่อส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงานให้การสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว เพื่อช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
2.4 ในระยะยาวให้มีการกระจายแหล่งและชนิดของเชื้อเพลิง เพื่อความมั่นคงในการจัดหาเชื้อเพลิงของประเทศ การพึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไปจะก่อให้เกิดความเสี่ยงในการ จัดหาเชื้อเพลิงให้แก่ประเทศ และเนื่องจากถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่มีแหล่งสำรองอยู่มาก และกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้ง ราคาค่อนข้างมีเสถียรภาพ ถ่านหินจึงน่าจะเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าลงได้
3.กำหนดแนวทางในการตรึงราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว เพื่อให้มีผลกระทบต่อผู้บริโภคน้อยที่สุด โดย
3.1 ใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายชดเชยเพื่อตรึงราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว
3.2 ปรับหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคา ณ โรงกลั่น/ราคานำเข้าลดลงจากระดับปัจจุบัน (ซึ่ง เท่ากับรา คาปิโตรมิน +0$) หากราคาก๊าซฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกจนถึงระดับที่กองทุนฯ ไม่สามารถรับการชดเชยต่อไปได้
3.3 หลังจากดำเนินการตามข้อ 3.1-3.2 แล้ว หากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงยังไม่สามารถรับภาระ การชดเชยราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวได้ ให้ดำเนินการปรับเพิ่มราคาขายส่งและราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว
4.เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า จึงให้ กฟผ. มีทางเลือกในการใช้น้ำมันเตาในโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ โดยให้ กฟผ. สามารถใช้น้ำมันเตากำมะถันไม่เกิน 1.0% และค่าแอสฟัลทีนระดับปกติมาใช้ในโรงไฟฟ้าพระนครเหนือได้ ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของกรมควบคุมมลพิษ
5.เร่งรัดการแก้ไขการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเฉพาะที่มีการนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ดังนี้
5.1 เร่งรัดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมศุลกากร เพิ่มการลาดตระเวนตรวจสอบเรือ ขนส่งน้ำมันจากประเทศมาเลเซีย รวมทั้ง เรือประมงที่ดัดแปลงเป็นเรือขนน้ำมัน ซึ่งเดินทางเข้ามาประเทศไทย ทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมทั้ง การลักลอบขนน้ำมันเถื่อนทางบกในบริเวณแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย
5.2 เพิ่มการปฏิบัติการตรวจสอบปราบปรามทางทะเลในทุกท้องที่ให้มากขึ้น เพราะเรือน้ำมันเถื่อนในทะเลที่เคยซื้อน้ำมันจากสิงคโปร์อาจเปลี่ยนไปซื้อ จากมาเลเซีย ทำให้ไม่ต้องขึ้นราคาจำหน่ายหรือขึ้นราคาจำหน่ายน้อยกว่าน้ำมันที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้มีผู้ลักลอบขนขึ้นฝั่งมากขึ้นเพราะได้กำไรสูงขึ้น และพื้นที่ลักลอบที่เพิ่มสูงอาจเกิดขึ้นได้ในทุกที่ตลอดแนวชายฝั่งทั้งด้าน อ่าวไทยและทะเลอันดามัน
กพช. ครั้งที่ 67 - วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 1/2542 (ครั้งที่ 67)
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
2.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
3.ความคืบหน้าในการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างไทยกับ สปป.ลาว สหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาชนจีน
4.การปรับค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)
5.รายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง
7.แนวทางในการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติของประเทศในระยาว
8.แผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี
10.การผ่อนผันการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรม
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 สถานการณ์พลังงานปี 2541
สรุปสาระสำคัญ
1. ภาพรวมความต้องการ การผลิต การนำเข้าและส่งออกพลังงานเชิงพาณิชย์ สรุปได้ดังนี้
1.1 ปี 2541 ประเทศไทยยังประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย มีการคาดการณ์อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จะติดลบประมาณร้อยละ 7.8 ส่งผลให้ความต้องการพลังงานเชิงพาณิชย์ลดลง ร้อยละ 7.0
1.2 ภาพรวมการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์เปลี่ยนแปลงจากปี 2540 ไม่มากนัก ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ คอนเดนเสท และก๊าซธรรมชาติ ยังคงเพิ่มขึ้น ขณะที่การผลิตลิกไนต์ลดลงถึงร้อยละ 13.0 ส่วนการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำลดลงมากเนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนมีน้อย
1.3 การนำเข้าพลังงาน (สุทธิ) ลดลงถึงร้อยละ 14.2 เป็นผลจากความต้องการภายในประเทศลดลงมาก แต่การนำเข้ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 111.6 เนื่องจากได้มีการนำเข้ากระแสไฟฟ้าจากโครงการน้ำเทิน-หินบุน ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นอกจากนั้นยังมีการส่งออกสุทธิของน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นเป็นปีที่สอง ติดต่อกัน ทำให้การพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศลดลงจากร้อยละ 61 ในปี 2540 เหลือร้อยละ 56 ในปี 2541
2. สถานการณ์พลังงานแต่ละชนิด สรุปได้ดังนี้
2.1 ปริมาณการผลิตและการใช้ก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในปี 2541 อยู่ในระดับ 1,699 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 นอกจากนี้ยังมี การนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากสหภาพพม่าเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าราชบุรี โดยมีการทดลองจ่ายเข้าระบบท่อส่งก๊าซในช่วงเดือนสิงหาคม 2541 และเริ่มผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าชั่วคราวที่ราชบุรี ขนาด 25 เมกะวัตต์ โดยใช้ ก๊าซธรรมชาติประมาณ 9 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2541 เป็นต้นมา
2.2 ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบมีจำนวน 29.4 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ซึ่งคิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 4 ของความต้องการน้ำมันดิบในการกลั่นเท่านั้น จึงต้องมีการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศจำนวน 676 พันบาร์เรล/วัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 136,000 ล้านบาท
2.3 ปริมาณการผลิตลิกไนต์ของปี 2541 ลดลงร้อยละ 15.3 โดยร้อยละ 72 เป็นการผลิตจากเหมืองแม่เมาะของ กฟผ. ส่วนร้อยละ 28 ผลิตจากเหมืองเอกชน การใช้ลิกไนต์เพื่อผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะลดลงมากเนื่องจากเครื่องกำ จัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (FGD) ที่ติดตั้งเสร็จไม่นานนักเกิดขัดข้อง จนก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงอีกครั้งหนึ่ง ส่วนการใช้ลิกไนต์/ถ่านหินในภาคอุตสาหกรรมลดลงมาก เช่นเดียวกัน ปริมาณการนำเข้าถ่านหินลดลงร้อยละ 52 เมื่อเทียบกับปี 2540 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่ชะลอตัวลงของอุตสาหกรรมและอีกส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากค่าเงินบาทลดลง ทำให้ถ่านหินนำเข้ามีราคาสูงขึ้น
2.4 การใช้น้ำมันสำเร็จรูปในปี 2541 ลดลงร้อยละ 10.0 ปริมาณการใช้อยู่ในระดับ 630 พันบาร์เรล/วัน แม้ว่าโรงกลั่นต่างๆ จะลดกำลังการกลั่นลงเหลือเพียงร้อยละ 88 ของกำลังการกลั่น แต่ก็ยังคงสูงกว่าความต้องการภายในประเทศ ทำให้มีการส่งออกมากกว่านำเข้า ผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปที่มีการส่งออกมาก ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล ก๊าซ LPG และน้ำมันเครื่องบิน ยกเว้น น้ำมันเตาที่การผลิตภายในประเทศ ต่ำกว่าความต้องการเล็กน้อย จึงมีการนำเข้า (สุทธิ) จำนวน 8 พันบาร์เรล/วัน
2.5 รายได้ภาษีสรรพสามิตและฐานะกองทุนน้ำมัน ในปี 2541 รัฐบาลมีรายได้ภาษี สรรพสามิตจากน้ำมันสำเร็จรูปประมาณ 66,355 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2540 เป็นจำนวน 1,680 ล้านบาท สำหรับฐานะของกองทุนน้ำมัน ณ สิ้นปี 2541 กองทุนน้ำมันมีเงินเหลือประมาณ 4,371 ล้านบาท
3. สถานการณ์ไฟฟ้า สรุปได้ดังนี้
3.1 กำลังการผลิตติดตั้ง ในปี 2541 มีจำนวนทั้งสิ้น 18,164 เมกะวัตต์ แยกเป็นกำลังการผลิตติดตั้งของ กฟผ. ร้อยละ 84.6 ของเอกชน (IPP, SPP และอื่นๆ) ร้อยละ 14.4 และการรับซื้อกระแสไฟฟ้าจากต่างประเทศร้อยละ 1.0
3.2 ปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าลดลงร้อยละ 2.4 ขณะที่ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดอยู่ในระดับ 14,180 เมกะวัตต์ ลดลงร้อยละ 2.3
3.3 การใช้พลังงานไฟฟ้าในปี 2541 ลดลงร้อยละ 2.4 จากปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเขตนครหลวงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงมากที่สุด ทำให้การใช้ไฟฟ้าในเขตนครหลวง ในปี 2541 ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 5.4 โดยเฉพาะในสาขาธุรกิจ-อุตสาหกรรมและอื่นๆ ในเขตภูมิภาคความต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 0.5 โดยการใช้ประเภท ที่อยู่อาศัยยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง มีสาเหตุจากประชาชนลดการเที่ยวบริการนอกบ้านลงและใช้เวลาอยู่ในบ้านมากขึ้น หรือมีการประกอบกิจการภายในครัวเรือนเพื่อเสริมรายได้แก่ครอบครัว ขณะที่สาขาธุรกิจ-อุตสาหกรรมและอื่นๆ มีอัตราการใช้ลดลง
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในปี 2541 ดังนี้
1. จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในเอเซีย รัสเซีย และละตินอเมริกา และอากาศที่อุ่นกว่าปกติในช่วงต้นปี ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันของปี 2541 ลดลง ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลงกว่า 5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับปี 2540 ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ในระดับ 12.1 - 14.4 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ได้อ่อนตัวลงเช่นเดียวกัน ราคาน้ำมันเบนซิน ก๊าด ดีเซล และเตา ได้ลดลง 7, 9, 9 และ 5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ
2. แม้ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลง แต่ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงได้ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันโดยรวมของไทยลดลง ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลดลงจากปี 2540 จำนวน 27 สตางค์/ลิตร แต่ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินสูงขึ้น 1.1 - 1.4 บาท/ลิตร เนื่องจากการปรับภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน 1 บาท/ลิตร
3. ในการปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัวตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา ก่อให้เกิดการขยายตัวของ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นจาก 3,764 แห่ง เป็น 13,657 แห่ง ทำให้การแข่งขันในตลาดน้ำมันได้ ทวีความรุนแรงขึ้น ผู้ค้าน้ำมันใช้กลยุทธ์ปรับราคาขึ้นช้าแต่ลงเร็ว ส่งผลให้ค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีอยู่ในระดับ 1.2707 บาท/ลิตร ปัจจุบันสถานีบริการเริ่มขาดทุนและต้องปิดกิจการ แสดงให้เห็นว่าการแข่งขันใกล้ถึงจุดอิ่มตัว สำหรับค่าการกลั่นในปี 2541 เฉลี่ยอยู่ในระดับ 0.7672 บาท/ลิตร และจากผลของการ ขยายตัวของโรงกลั่นในภูมิภาคนี้กับสภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว ได้ทำให้ธุรกิจการกลั่นตกต่ำอย่างต่อเนื่อง
4. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม 2542 ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้น 0.7 - 1.2 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เฉลี่ยอยู่ในระดับ 10.5 - 12.4 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เป็นผลจากอากาศ ที่หนาวเย็นทางซีกโลกตอนเหนือ แนวโน้มการลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของโอเปค และการกลับมาซื้อน้ำมันของจีน ส่วนราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยราคาน้ำมันเบนซิน ก๊าด ดีเซล และเตา ปรับตัวสูงขึ้น 1.0, 1.7, 2.1 และ 0.6 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลของไทยปรับขึ้นรวม 21 และ 40 สตางค์/ลิตร ตามลำดับ และในช่วงปลายเดือนได้มีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลง 12 สตางค์/ลิตร สำหรับค่าการตลาดเฉลี่ยของผู้ค้าน้ำมันในเดือนนี้อยู่ ในระดับ 0.8090 บาท/ลิตร และค่าการกลั่นอยู่ที่ระดับ 0.8856 บาท/ลิตร
5. สถานการณ์ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2542 ราคาได้อ่อนตัวลงมาอยู่ ในระดับ 133 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ทำให้ระดับการชดเชยอยู่ใกล้เคียงกับศูนย์ สำหรับประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2542 จะอยู่ในระดับ 4,166 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 ความคืบหน้าในการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างไทยกับ สปป.ลาว สหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาชนจีน
สรุปสาระสำคัญ
1. การรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว มีโครงการที่คณะกรรมการพลังงานและไฟฟ้าแห่ง สปป. ลาว (Committee for Energy and Electric Power: CEEP) ได้เสนอให้ คณะกรรมการประสานความร่วมมือพัฒนาไฟฟ้าใน สปป. ลาว (คปฟ-ล.) พิจารณาแล้วมีจำนวน 8 โครงการ กำลังผลิต ณ จุดส่งมอบรวมทั้งสิ้น 3,576 เมกะวัตต์ ซึ่งมีความคืบหน้าพอสรุปได้ดังนี้
1.1 โครงการที่มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ น้ำเทิน-หินบุน และโครงการห้วยเฮาะ
1.2 โครงการที่ยังไม่มีการลงนามในสัญญาและอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อขอปรับเลื่อน การ รับซื้อไฟฟ้า มีจำนวน 6 โครงการ ได้แก่ โครงการน้ำงึม 2 โครงการน้ำงึม 3 โครงการลิกไนต์หงสา โครงการ เซเปียน-เซน้ำน้อย โครงการน้ำเทิน 2 และโครงการเซคามาน 1
2. ในปัจจุบัน CEEP ได้เสนอขอให้ คปฟ-ล. และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการน้ำเทิน 2 ก่อนโครงการอื่นๆ โดยทาง CEEP คาดว่าจะสามารถส่งมอบไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. ได้ประมาณต้นปี 2548 ซึ่ง คปฟ-ล. ได้พิจารณาแล้วเห็นควรให้ กฟผ. รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการ น้ำเทิน 2 ในช่วงก่อนกำหนดการรับซื้อในเชิงพาณิชย์ (เดือนธันวาคม 2549) ในราคา Non-Firm สำหรับโครงการอื่นๆ อีก 5 โครงการ คปฟ-ล. ได้เสนอขอให้ CEEP รับไปพิจารณาจัดเรียงลำดับความสำคัญของโครงการใหม่
3. ในส่วนของความคืบหน้าการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างไทยกับสหภาพพม่า ในปัจจุบันสหภาพพม่า ได้เสนอโครงการผลิตไฟฟ้าที่จะขายให้ไทยจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการ NAM KOK โครงการ HUTGYI โครงการ TASANG และโครงการ KANBAUK แต่เนื่องจากสหภาพพม่ากำลังประสบปัญหา ขาดแคลนไฟฟ้าอย่างมากในขณะนี้ คณะกรรมการเพื่อดำเนินการส่งออกไฟฟ้าแห่งสหภาพพม่าจึงได้ติดต่อ ขอซื้อไฟฟ้าจากประเทศไทยเข้าระบบในปริมาณ 100-150 เมกะวัตต์ โดยขอให้ กฟผ. ส่งไฟฟ้าผ่านจุด เชื่อมโยงจากสถานีไฟฟ้าแรงสูงฝั่งไทยที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงฝั่งพม่าที่เมือง Bago (หงสาวดี) รวมระยะทางของสายส่งทั้งสิ้น 431 กิโลเมตร ทั้งนี้บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ได้เสนอตัวเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างสายส่งในช่วงดังกล่าว โดยในระยะแรกจะรับไฟฟ้าจาก กฟผ. เข้าระบบไฟฟ้า ของสหภาพพม่าส่งไปยังเมือง Bago ส่วนในอนาคตเมื่อมีการรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า ก็อาจจะใช้สายส่งเส้นนี้ส่งกลับเข้ามาขายยังฝั่งไทย ซึ่งคาดว่าโครงการก่อสร้างสายส่งจะแล้วเสร็จและสามารถส่งไฟฟ้าขายให้แก่ สหภาพพม่าได้ประมาณปี 2544-2545
4. สำหรับความคืบหน้าของการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปัจจุบันได้มีการร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจาก สาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2541 โดยประเทศไทยจะรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการในสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ได้ 3,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2560 และเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามข้อตกลงในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว งานที่จะต้องดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป คือ การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้มีอำนาจในการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้า การคัดเลือก ผู้ลงทุน และการเจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้าสำหรับแต่ละโครงการที่มีความเป็นไปได้เป็นรายๆ ไป ทั้งนี้ โครงการแรกที่คาดว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะเสนอมาให้ฝ่ายไทยพิจารณารับซื้อ คือ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจิงหง ในปริมาณ 1,200 เมกะวัตต์
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 4 การปรับค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2534 เห็นชอบให้มีการใช้สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Automatic Adjustment Mechnism : Ft) เพื่อให้อัตราค่าไฟฟ้าสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง และลดผลกระทบ ของความผันผวนของราคาเชื้อเพลิงต่อฐานะการเงินของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดย ให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งปรับค่าไฟฟ้า เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงในค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของการไฟฟ้า ทั้งนี้ สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้มีความเหมาะสมหลายครั้ง โดยในปัจจุบันค่า Ft จะเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยดังต่อไปนี้
1.1 การเปลี่ยนแปลงของค่าเชื้อเพลิง (ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล และถ่านหิน นำเข้า) ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และอัตราค่าไฟฟ้าที่ กฟผ. รับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน
1.2 การเปลี่ยนแปลงของรายได้ที่เกิดขึ้นจากยอดจำหน่ายไฟฟ้า และราคาขายปลีกที่จะได้รับจริงแตกต่างไปจากการประมาณการ ซึ่งใช้เป็นฐานในการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า
1.3 การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในการดำเนินการของกิจการระบบส่ง กิจการระบบจำหน่ายและกิจการบริการลูกค้า อันเนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อและยอดขายแตกต่างจากค่าที่ใช้ในการประมาณการ ฐานะการเงิน
1.4 การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศซึ่งมีผลกระทบต่อภาระหนี้ ของการไฟฟ้า
2. การปรับค่าไฟฟ้าตามสูตร Ft อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดย อัตโนมัติ ซึ่งเดิมมีรองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธาน และประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการ ได้แก่ ผู้แทนจากกรมบัญชีกลาง (กบ.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และผู้แทนการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง
3. ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการฯ ใหม่ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 โดยมีผู้แทนจากผู้บริโภคและนักวิชาการเพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นประธาน ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) , สศค., กบ., กฟผ., การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ผู้แทนจากกลุ่มผู้บริโภค ได้แก่ ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย และนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาอีก 3 ท่าน
4. คณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าว มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดวิธีการคำนวณ และคำนวณการปรับอัตราค่าไฟฟ้าภายใต้กรอบของสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าที่ได้ รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ให้ความเห็นชอบการคำนวณการปรับอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดย อัตโนมัติ และแจ้ง กฟน. และ กฟภ. ให้ดำเนินการปรับอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตร Ft
5. การปรับอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ได้มีการดำเนินการมา เป็นลำดับ ดังนี้
5.1 การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้เรียกเก็บค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ มาตั้งแต่การเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายน 2535 โดยมีการนำค่า Ft ที่คำนวณได้ไปรวมกับ ค่าไฟฟ้าตามโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปกติ โดยค่า Ft จะเปลี่ยนแปลงเป็นรายเดือน ต่อมา มีการร้องเรียนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไม่ต้องการให้ Ft มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป ปัจจุบัน จึงมีการพิจารณาให้ใช้ค่าเฉลี่ย 4 เดือน
5.2 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2540 ถึงปัจจุบัน ได้มีการปรับค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามสูตร Ft ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นระบบอัตราแลก เปลี่ยนลอยตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ส่งผลให้ราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าและราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิต เอกชนมีราคา สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีผลต่อภาระหนี้เงินกู้ต่างประเทศของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ส่งผลให้ฐานะการเงินของการไฟฟ้าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จึงมีการปรับค่า Ft เพิ่มขึ้น รวม 3 ครั้ง ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2540-พฤศจิกายน 2541 ทำให้ ค่า Ft เพิ่มขึ้นรวม 29 สตางค์/หน่วย จาก 26.73 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 55.77 สตางค์/หน่วย
5.3 ต่อมา ในเดือนธันวาคม 2541 ได้มีการพิจารณาปรับค่า Ft ลดลง 5.06 สตางค์/หน่วย โดย Ft ได้ปรับลดจาก 55.77 สตางค์/หน่วย เหลือ 50.71 สตางค์/หน่วย เนื่องจากผลของราคาน้ำมัน ในตลาดโลกที่ลดลง และอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีขึ้น ทั้งนี้ หากอัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับปัจจุบัน คาดว่าในอีก 4 เดือนถัดไปคือ ระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2542 ค่า Ft จะลดลงเหลือประมาณ 42.49 สตางค์/หน่วย นอกจากนี้ได้มีการพิจารณาปรับสูตร Ft ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ดังนี้
(1) ในกรณีที่ กฟผ. ดำเนินการผลิตและส่งกระแสไฟฟ้าผิดพลาดจากแผนที่วางไว้ กฟผ. ต้องรับภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นไว้เองโดยไม่ผลักภาระผ่านเข้าไปในค่า Ft
(2) ต้นทุนที่สูงขึ้นจากความสูญเสียในระบบสายส่งและสายจำหน่าย โดยไม่มีเหตุผล อันสมควร ไม่ให้ผลักภาระให้กับประชาชนเข้าไปในค่า Ft
(3) กรณีการขาดทุนจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว การชำระดอกเบี้ยและเงินต้นของหนี้ต่างประเทศของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งที่สูงขึ้นนั้น ให้เลิกใช้สูตรเดิมและให้ใช้ตามค่าที่เกิดขึ้นจริง เฉพาะส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิน 27 บาท/เหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น ทั้งนี้เพราะภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเดิม (แบบตะกร้า) ก็มีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในระดับหนึ่ง ซึ่ง กฟผ. กฟน. กฟภ. ต้องรับภาระเองอยู่แล้ว การดำเนินการดังกล่าวทำให้ลดภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าได้ 907 ล้านบาท
(4) ให้นำค่าพลังไฟฟ้าที่ กฟผ. รับซื้อจากโรงไฟฟ้าระยองออกจากค่า Ft เพื่อให้เหมือนกับในกรณีการซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนอมและโรงไฟฟ้าอื่น ๆ ที่จะแปรรูปในอนาคต ซึ่งลดค่า Ft ได้ 5 สตางค์/หน่วย
(5) การปรับค่า Ft ให้สูงขึ้นอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการกำหนดราคาขายส่งเป็นแบบอัตราค่า ไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้ (Time-of-Use Rate : TOU) ตั้งแต่ 1 มกราคม 2540 มีผลให้ราคาขายส่งเฉลี่ยลดลง และได้นำผลต่างดังกล่าวไปบวกในค่า Ft ทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นนั้น ให้นำผลกระทบดังกล่าวออกจากค่า Ft เพราะถือว่าเป็นเรื่องระหว่าง 3 การไฟฟ้า ซึ่งสามารถลดภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าได้ 910 ล้านบาท
5.4 คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ในการประชุมเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2542 ได้พิจารณาให้มีการทบทวนการจัดซื้อน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล ระหว่าง กฟผ. กับ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ภายหลังจากที่ สพช. ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันเตา และน้ำมันดีเซลที่ กฟผ. ใช้ในการคำนวณค่า Ft เห็นว่า ทั้งราคาน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลที่ กฟผ. ซื้อจาก ปตท. อาจอยู่ในระดับที่สูงเกินควร จึงควรมีการพิจารณาทบทวนเพื่อหาแนวทางในการลดค่าใช้จ่าย ซึ่งจะทำให้ค่า Ft สามารถลดลงได้ เนื่องจาก กฟผ. จัดซื้อน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลจาก ปตท. แต่เพียงผู้เดียว
6. สพช. ได้ดำเนินการศึกษาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีใน การประชุมเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2541 โดยได้ดำเนินการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา Pricewaterhouse Coopers และ Merz & McLellan ทำการศึกษาเรื่องโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาฯ ได้เริ่มดำเนินการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2542 และคาดว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน 2542
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 5 รายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง
สถานการณ์การลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงมาตรการสำคัญ ๆ ในการแก้ไขปัญหาการลักลอบฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รูปแบบการลักลอบ การลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในอดีต ส่วนใหญ่เป็นการลักลอบนำเข้าทางทะเล ซึ่งน้ำมันที่มีการลักลอบนำเข้าเกือบทั้งหมดเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากน้ำมันดีเซลหมุนเร็วถือเป็นน้ำมัน "เศรษฐกิจ" ซึ่งมีความจำเป็นสูงสุดต่อภาคการขนส่ง การผลิตกระแสไฟฟ้า และใช้ อย่างแพร่หลายในเครื่องจักรเครื่องกลทางเกษตรกรรม ซึ่งการลักลอบนำเข้าทำได้หลายลักษณะคือ ลักลอบ นำเข้าโดยเรือประมง หรือเรือประมงดัดแปลงที่ซื้อน้ำมันจากนอกเขตน่านน้ำแล้วนำมาจำหน่ายในประเทศ ลักลอบนำเข้ามาโดยเรือขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่เข้าสู่คลังน้ำมันชายฝั่งต่างๆ โดยวิธีการปลอมแปลงเอกสารด้วยการแจ้งปริมาณนำเข้าต่ำกว่าที่นำเข้าจริง หรือไม่มีการแจ้งเลย รวมทั้งลักลอบนำเข้าโดยเรือขนส่งน้ำมันชายฝั่ง ซึ่งใช้ขนส่งระหว่างโรงกลั่น หรือคลังน้ำมันในประเทศ ไปรับน้ำมันจากเรือขนส่งน้ำมันในทะเลนอกเขตน่านน้ำของประเทศและลักลอบนำเข้า คลังโดยการปลอมแปลงเอกสาร หรือโดยไม่แจ้ง
2. มูลเหตุจูงใจในการลักลอบ คือน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่นำเข้าโดยหลีกเลี่ยงภาษีจะมีต้นทุนต่ำกว่าปกติถึง ประมาณลิตรละ 3 บาท เนื่องจากไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตและเทศบาล และเงินเรียกเก็บเข้ากองทุนต่างๆ รวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. ผลกระทบจากการค้าน้ำมันเถื่อน รัฐสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีสรรพสามิตและเทศบาล อากรขาเข้า และเงินเรียกเก็บเข้ากองทุนปีละหลายพันล้านบาท รวมทั้งทำให้ผู้ค้าน้ำมันและผู้ประกอบกิจการสถานีบริการที่สุจริต สูญเสียโอกาสทำการค้าเนื่องจากถูกแย่งส่วนแบ่งการตลาดโดยไม่เป็นธรรม อีกทั้งประชาชนผู้ใช้น้ำมันได้รับผลกระทบจากการใช้น้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐาน
4. มาตรการในการแก้ไขปัญหา รัฐบาลได้กำหนดมาตรการต่างๆ หลายมาตรการและได้มอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยแยกออกได้ 5 มาตรการหลัก ดังนี้
4.1 การจัดตั้งองค์กรในการป้องกันและปรามปรามน้ำมันเถื่อน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการป้องกันและปราบปรามการ ลักลอบฯ และมีการประสานการทำงานกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีองค์กรหลักในการประสานการทำงานที่สำคัญ 3 องค์กร คือ
(1) ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจปราบปรามทางทะเล (ศอปล.) มีกองทัพเรือทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดทำแผนปราบปราม ควบคุม ประสานงานการปฏิบัติงานในการปรามปรามทางทะเล
(2) ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ศปนม.) ของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่ปราบปราม การลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนทั้งทางทะเลและบนบก
(3) ศูนย์รวมการประสานการปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาการประสานงาน ระหว่างหน่วยงานปราบปรามต่าง ๆ ทั้งทางทะเลและบนบก
4.2 มาตรการป้องกันและปราบปรามทางทะเล ได้กำหนดให้หน่วยงานปราบปรามจัดกำลังเจ้าหน้าที่ทำการตรวจลาดตระเวนการขนส่ง น้ำมันในทะเลและได้ประกาศเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยในท้องทะเลบริเวณ ขยายออกไปจากน่านน้ำทะเลอาณาเขตอีก 12 ไมล์ทะเล พร้อมกับแก้ไขพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 และพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 เพื่อให้หน่วยงานปราบปรามมีอำนาจกระทำการในเขตต่อเนื่องได้ รวมทั้งมาตรการด้านการข่าว การตรวจสอบภาษี และมาตรการอื่นๆ
4.3 มาตรการป้องกันและปราบปรามทางบก มอบให้กรมศุลกากรและกรมตำรวจ จัดหา สายสืบเฝ้าตรวจสอบคลังน้ำมัน รวมทั้งมาตรการติดตั้งมิเตอร์คลังชายฝั่งทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังมีมาตรการกำหนดเงื่อนไขในการนำเข้าเพิ่มเติม เช่น ให้มีการตรวจสอบปริมาณน้ำมันที่นำเข้าโดยผู้ตรวจวัดอิสระ การตรวจสอบการขนส่งลำเลียงทางบกโดยการจัดตั้งด่านตรวจสอบรถบรรทุกน้ำมันทุก คันว่ามีการขนส่งน้ำมันลักลอบนำเข้าหรือไม่ การตรวจสอบคุณภาพน้ำมันโดยรถตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเคลื่อนที่ และการดำเนินการขยายพิกัดภาษีผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและสารละลายให้ครอบคลุมทุก ผลิตภัณฑ์ เพื่อแก้ปัญหาการนำเอาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปจำหน่ายหรือปลอมปนน้ำมันเชื้อ เพลิงจำหน่ายตามสถานีบริการ เป็นต้น
4.4 มาตรการในการดำเนินคดี ได้ให้สำนักงานอัยการสูงสุดถือว่าคดีลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นคดี สำคัญ หากพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องทุกข้อหา บางข้อหา หรือสั่งไม่ริบของกลางก่อนมีความเห็นและคำสั่งให้บันทึกความเห็นเสนออัยการ สูงสุดก่อน ทั้งนี้ เพื่อมิให้พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องได้
4.5 มาตรการสนับสนุนทางการเงิน ได้เริ่มตั้งแต่ ปี 2539 - ปี 2541 โดยคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ได้อนุมัติให้นำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้จ่ายในการป้องกันและปราบ ปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ในวงเงิน 145.8, 885.3 และ 262.1 ล้านบาท ตามลำดับ
5. การจัดสรรงบประมาณประจำปี 2542 ประธานกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานได้พิจารณาเห็นว่า การสนับสนุนเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการปราบปรามน้ำมันเถื่อนควร สนับสนุนเป็นการชั่วคราว และจัดสรรเพิ่มเติมในส่วนที่จำเป็นหรือในกรณีที่งบประมาณที่ได้รับปกติไม่ เพียงพอเท่านั้น ซึ่งเงินค่าใช้จ่ายหลักควรมาจากเงินงบประมาณแผ่นดินประจำ โดยได้สั่งการให้ สพช. ประสานงานกับกรมบัญชีกลางจัดประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการประชุมสรุปได้ คือขอให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจัดสรร งบประมาณ ในปีงบประมาณ 2542 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อ เพลิงไปก่อน เนื่องจากการพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปี 2542 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และรัฐก็ไม่มี เงินเหลือเพียงพอที่จะเจียดจ่าย ส่วนในปีงบประมาณ 2543 ให้ใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดินประจำปี แต่ เนื่องจากความรุนแรงของปัญหาไม่สม่ำเสมอกันในแต่ละปี จึงยังคงขอให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสนับสนุนค่า ใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อเสริมเฉพาะในส่วนที่จำเป็นต่อไป
6. ผลการจับกุมน้ำมันเถื่อน จากผลการปราบปรามจับกุมน้ำมันเถื่อนตั้งแต่ปี 2537-2541 พบว่าในปี 2539 สามารถจับกุมน้ำมันเถื่อนได้ปริมาณถึง 14.8 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากปี 2537 และปี 2538 ซึ่งจับกุมได้เพียงระดับ 2-2.6 ล้านลิตร ส่วนในปี 2540 ผลการจับกุมได้ปริมาณน้ำมันลักลอบนำเข้าลดน้อยลงเหลือเพียง 2.4 ล้านลิตร ทั้งนี้เกิดจากมาตรการต่างๆ ที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2539 เริ่มเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการป้องกันโดยการติดตั้งมิเตอร์ในคลังน้ำมันชายฝั่งจำนวน 37 คลัง ทำให้การลักลอบนำเข้าในปริมาณมากๆ จากเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ทำได้ยากยิ่งขึ้น สำหรับปี 2541 สามารถจับกุมได้ เพิ่มขึ้นเป็นปริมาณน้ำมัน 6.2 ล้านลิตร เนื่องจากน้ำมันที่จับกุมได้ส่วนหนึ่งเป็นน้ำมันที่ลักลอบจากแหล่งใหม่ คือ การนำสารละลาย (Solvent) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมและไม่ต้องเสียภาษีไปปลอมปนลงในน้ำมันเชื้อเพลิง
7. รูปแบบการลักลอบใหม่ๆ สถานการณ์การลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่ปี 2541 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบออกไปจากเดิม โดยมีรูปแบบใหม่ 3 รูปแบบ คือ
7.1 การลักลอบนำ Solvent มาปลอมปนในน้ำมันเชื้อเพลิง โดย Solvent มีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันก๊าดผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นสารละลาย สิ่งอื่น ๆ เช่น ละลายสี หรือกาว เป็นต้น และไม่ต้องเสียภาษี ในปัจจุบันได้มีการนำ Solvent มาปลอมปนในน้ำมันเบนซินและดีเซลจำหน่ายในสถานีบริการต่างๆ อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคเหนือ ในเดือนธันวาคมปี 2541 พบว่าจากตัวอย่างน้ำมันที่ตรวจ 755 ราย มีน้ำมันไม่ได้คุณภาพถึง 87 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 12 และในจำนวนนี้มี 36 ราย หรือร้อยละ 41 ของน้ำมันที่พบผิดเป็นน้ำมันที่ปลอมปนด้วย Solvent และครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2542 พบว่า น้ำมันที่ปลอมปน Solvent ที่ตรวจสอบมีค่า ออกเทน เพียง 60-80 เท่านั้น ซึ่งมีค่าต่ำกว่าความต้องการออกเทนของรถยนต์อย่างมาก ทำให้เครื่องยนต์ เกิดการน็อคเสียหาย และจะทำให้เครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้นเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่อาจเกิดอุบัติเหตุ ได้ในการเร่งแซง และในปี 2542 เริ่มมีแนวโน้มในการนำ Solvent ไปปลอมปนในน้ำมันดีเซลมากขึ้นอีกด้วย
7.2 การลักลอบนำน้ำมันส่งออกมาจำหน่ายในประเทศและขอคืนภาษี จากการตรวจสอบ สืบสวน พิสูจน์ทราบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่า มีพฤติกรรมการกระทำผิดรูปแบบต่าง ๆ เช่น ส่งออกน้ำมันไปนอกราชอาณาจักร แล้วย้อนกลับเข้ามาจำหน่ายในประเทศพร้อมขอคืนภาษี กระบวนการฉ้อฉลทางเอกสาร แจ้งว่าส่งออกน้ำมันแต่มิได้ส่งออกน้ำมันไปจริง หรือส่งออกจริงน้อยกว่าเอกสารข้อมูลส่งออกของศุลกากร และปลอมแปลงเอกสารการขอรับคืนภาษีสรรพสามิตที่ส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศ และลักลอบ นำน้ำมันผ่านแดนไปประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีออกจากขบวนรถขนส่งแล้วจำหน่ายในประเทศ เป็นต้น
7.3 การลักลอบนำน้ำมันเติมเรือเดินทางไปต่างประเทศกลับเข้ามาจำหน่ายในประเทศ เป็นรูปแบบการลักลอบอีกแบบหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ หลังจากที่การลักลอบนำเข้าทางทะเลกระทำได้ยากยิ่งขึ้น วิธีการลักลอบทำได้โดยแจ้งปริมาณน้ำมันดีเซลหรือน้ำมันเตาที่เติมเรือสินค้า ต่างประเทศหรือเรือไทย เพื่อเป็นเชื้อเพลิงเดินทางไปต่างประเทศเกินกว่าปริมาณที่เติมจริง เพื่อให้ได้ภาษีคืนมากกว่าที่ควรได้รับ หรือขนถ่ายน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาที่เหลือจากการใช้ในเรือต่างประเทศซึ่ง ไม่เสียภาษี ลงเรือบรรทุกน้ำมันขนาดเล็กส่งต่อเป็นทอดๆ เพื่อนำขึ้นคลังย่อยส่งขายให้กับลูกค้า รวมทั้งการแจ้งส่งน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาไปเติมเรือสินค้าต่างประเทศหรือ เรือไทยที่เดินทางออกไปต่างประเทศอันเป็นเท็จ โดยไม่มีเรือจริงตามที่ขออนุญาต แล้วขอคืนภาษี
เนื่องจากรูปแบบการกระทำผิดทั้ง 3 รูปแบบนี้ เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นใหม่ สพช. จะดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษา เพื่อทำการศึกษาพฤติกรรมการลักลอบรูปแบบดังกล่าวโดยละเอียดชัดเจน เพื่อนำไปสู่การวางแผน กำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการลักลอบอย่างได้ผลต่อไป
มติของที่ประชุม
1.รับทราบรายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง
2.เห็นชอบในหลักการให้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินประจำปีตั้งแต่ปีงบประมาณ 2543 เป็นต้นไป เป็นเงินสนับสนุนหลักในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้า น้ำมันเชื้อเพลิง และให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสนับสนุนค่าใช้จ่ายในส่วนที่หน่วยงานต่างๆ มีความต้องการใช้เพิ่มเติมระหว่างปี โดยจะต้องเป็นการดำเนินการเฉพาะกิจ เร่งด่วน หรือภารกิจเสริม
สรุปสาระสำคัญ
1. เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ชะลอตัวลงอย่างรุนแรงในปี 2541 ทำให้ความต้องการไฟฟ้า ในปี 2541 ลดลงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ส่งผลให้แผนการลงทุนของ กฟผ. ที่จัดทำเมื่อปลายปี 2540 (PDP 97-02) ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน คณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า จึงได้จัดทำการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าชุดใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ไทยในปัจจุบัน โดยค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าได้จัดทำเป็น 3 กรณี ตามสมมุติฐานทางเศรษฐกิจซึ่งได้จัดทำไว้ 3 กรณี คือ กรณีเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว กรณีเศรษฐกิจฟื้นตัวปานกลาง และกรณีเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า
2. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. พ.ศ. 2542 - 2554 (PDP 99-01 : ฉบับปรับปรุง) โดยใช้ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า กรณีเศรษฐกิจฟื้นตัวปานกลางเป็นฐานในการจัดทำ และจัดทำเป็นกรณีศึกษาสำหรับค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าอีก 2 กรณี คือ กรณีเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว และกรณีเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ทั้งนี้ การปรับปรุงแผนฯ ดังกล่าว กฟผ. ได้มีการหารือกันอย่างใกล้ชิดกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่ประสบปัญหาไม่สามารถจัดหาแหล่งเงินกู้ในการดำเนิน โครงการได้ด้วย
3. สาระสำคัญของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. พ.ศ. 2542 - 2554 ฉบับปรับปรุง สรุปได้ดังนี้
(1) กำลังผลิตติดตั้งในปลายปี 2554 มีจำนวน 39,390.9 เมกะวัตต์ โดยสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. จะลดลงจากร้อยละ 78 ในปี 2542 เหลือร้อยละ 53 ในปี 2554 และสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าของเอกชนจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 37 ในปี 2554
(2) ชะลอ/เลื่อนโครงการต่างๆ ของ กฟผ. จากแผนฯ เดิม (PDP 97-02) ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนคีรีธารแบบสูบกลับ โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนทับสะแก โครงการขยายระบบไฟฟ้าระยะที่ 10 และ 11
(3) ให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนดำเนินการในโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี 3-4
(4) ปรับลดการลงทุนของโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสุราษฎร์ธานี โดยย้ายเครื่องกังหันแก๊สขนาด 2 x 100 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าไทรน้อย มาติดตั้งในปี 2543 และลงทุนซื้อเฉพาะเครื่องกังหันไอน้ำขนาด 100 เมกะวัตต์ มาติดตั้งในปี 2546
(5) โครงการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว จำนวน 3,300 เมกะวัตต์ เลื่อนเป็นปี 2549-2551
(6) เปลี่ยนแปลงการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายใหญ่ (IPP) และโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายเล็ก (SPP) ตามผลการเจรจาครั้งล่าสุด
(7) สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติจะอยู่ในระดับร้อยละ 60-70 สัดส่วนของเชื้อเพลิงน้ำมันเตาและลิกไนต์ จะลดลงเนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่วนสัดส่วนของเชื้อเพลิงถ่านหินนำเข้าจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19 ในปี 2554
(8) เงินลงทุนจนถึงสิ้นปี 2549 ลดลงจากแผนฯ เดิม เป็นจำนวนเงิน 175,000 ล้านบาท
(9) กำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง ในช่วงปี 2543-2548 อยู่ในระดับร้อยละ 33.5 - 52.1 และ จะลดลงเป็นร้อยละ 25 ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นไป สำหรับกรณีศึกษาถ้าเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว จะแก้ไขโดยเลื่อนโครงการต่างๆ ตั้งแต่ปี 2548 ให้เร็วขึ้น แต่ถ้าเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า จะต้องปรับแผนการลงทุนใหม่ โดยเลื่อนโครงการต่างๆ ออกไป และตัดบางโครงการออกจากแผนฯ
4. สพช. มีความเห็นว่าควรให้นำโรงไฟฟ้าทับสะแกออกจากแผนการลงทุนนี้ และให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินงานแทน ส่วนในเรื่องการขอเลื่อนกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ดำเนินโครงการและเป็นประโยชน์ต่อประเทศด้วย จึงเห็นควรให้ กฟผ. และ สพช. ร่วมกันพิจารณาเลื่อน วันเริ่มต้นจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้เป็นรายๆ ไปตามความเหมาะสม
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าในช่วง พ.ศ. 2542-2554 และกำหนดวันเริ่มต้น จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตามผลการเจรจารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน และ สปป.ลาว ตามที่ กฟผ. เสนอ (รายละเอียดตามเอกสารประกอบวาระ 4.1) เพื่อใช้เป็นกรอบในการลงทุนทางด้านการขยายระบบผลิตและระบบส่งของประเทศ โดยไม่ต้องเสนอขออนุมัติในระดับนโยบายอีก ยกเว้นโครงการที่มีประเด็นนโยบาย สำหรับขั้นตอนการเสนอและการอนุมัติให้ยึดถือตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีได้เคย มีมติไปแล้ว เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2538 ทั้งนี้ ให้มีการแก้ไขแผนฯ ตามที่ สพช. เสนอดังนี้
(1) ให้นำโรงไฟฟ้าทับสะแกออกจากแผนการลงทุนของ กฟผ. เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปกิจการไฟฟ้าตามแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ
(2) สำหรับโครงการ SPP ของบริษัท ที แอล พี โคเจนเนอเรชั่น ให้ สพช. และ กฟผ. ไปเจรจาและกำหนดวันเริ่มต้นจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบต่อไป
2.เห็นชอบ "กรณีศึกษา" เป็นกรอบทางเลือกในการดำเนินการของ กฟผ. ในกรณีที่การใช้ไฟฟ้าในอนาคตไม่เพิ่มขึ้นอย่างที่คาดการณ์ไว้
3.มอบหมายให้ กฟผ. และ สพช. ติดตามความคืบหน้าของโครงการ IPP และ SPP อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกำหนดการจ่ายไฟฟ้าตามสัญญา และให้ กฟผ. และ สพช. ร่วมกันพิจารณาเลื่อนวันเริ่มต้นจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้เป็นรายๆ ไป ตามความเหมาะสม
4.ให้ กฟผ. พิจารณาปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ช่วงปี พ.ศ. 2542-2554 เป็นระยะๆ เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง และให้ กฟผ. รับไปศึกษาเกณฑ์กำหนดปริมาณสำรองการผลิตไฟฟ้าของประเทศที่เหมาะสมต่อไป
เรื่องที่ 7 แนวทางในการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติของประเทศในระยาว
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 เห็นชอบแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อใช้เป็นกรอบในการแปรรูปและปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ โดยในส่วนของแผนแม่บทฯ ภายใต้สาขาพลังงานได้ระบุทิศทางของโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในอนาคตที่ มุ่งให้มีการแข่งขันอย่างเสรี ก่อให้เกิด ความเป็นธรรม และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดหาพลังงานให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้ ได้กำหนดให้มีการแข่งขันเสรีโดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
2. โครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติตามแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ได้กำหนดให้มีการแยกระบบท่อส่ง ท่อจำหน่าย (Transportation & Distribution Pipelines) และการจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ (Gas Traders) ออกจากกันโดยการจัดตั้งบริษัทที่ดำเนินการด้านท่อส่งก๊าซฯออกต่างหาก รวมทั้ง การส่งเสริมการแข่งขันในอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ โดยการเปิดให้บุคคลที่สามสามารถใช้บริการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้ ทั้งนี้ จะต้องมีการกำกับดูแลโดยองค์กรกำกับดูแลอิสระ เพื่อกำหนดราคาที่เป็นธรรม และเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการใช้บริการ
3. การดำเนินการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว ได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 6 เรื่อง ดังนี้
3.1 การจัดโครงสร้างของกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ (Separation of transmission and supply & marketing businesses)
3.2 การให้บริการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อแก่บุคคลที่สาม (Third Party Access)
3.3 การกำหนดคำจำกัดความของแหล่งก๊าซธรรมชาติปัจจุบันและแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ (Existing gas supply and new gas supply)
3.4 การกำหนดคำจำกัดความของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติปัจจุบันและความต้องการ ก๊าซธรรมชาติใหม่ (Existing gas demand and new gas demand)
3.5 การกำหนดขอบเขตของการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในระบบท่อก๊าซธรรมชาติ หรือการเพิ่มการแข่งขันในระบบท่อก๊าซธรรมชาติ (Pipeline Competition) ดังนี้
(1) การให้สัมปทานเอกชนเข้าร่วมในการลงทุนและดำเนินการในระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติหลัก (Transmission Pipeline)
(2) การให้สัมปทานเอกชนเข้าร่วมในการบริการท่อจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ (Distribution Pipeline)
3.6 การกำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ
4. เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาวและ ส่งเสริม ให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี จึงควรมีการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยธุรกิจ ปตท. ก๊าซธรรมชาติของการปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย (ปตท.) ใหม่ ดังนี้
4.1 ปตท. ก๊าซธรรมชาติยังคงเป็นหน่วยธุรกิจหนึ่งใน ปตท. / บริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) โดยมีหน้าที่ดำเนินธุรกิจทางด้านการจัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ (Supply & Marketing) และธุรกิจ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ (GSP)
4.2 ให้จัดตั้ง บริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด ขึ้นมา โดยให้ ปตท. / บริษัท ปตท. จำกัด/ (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด เพื่อให้บริษัทดังกล่าวทำหน้าที่ดำเนินการบริหารระบบท่อส่งก๊าซฯของ ปตท. และของผู้ลงทุนรายอื่นที่จะมาเชื่อมต่อกับเครือข่ายระบบท่อส่งก๊าซฯ ของ ปตท.
5. การดำเนินการในระยะต่อไป คือ การเปิดเสรีอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ (Liberalisation of Gas Industry) โดยมีการดำเนินการ ดังนี้
5.1 ดำเนินการจัดตั้งบริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซฯ จำกัด เป็นบริษัทลูก โดยมี ปตท./บริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด
5.2 พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อรองรับการมี Third Party Access ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2542
5.3 พิจารณากำหนดเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตต่างๆ ให้เสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2542
5.4 พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การกำกับดูแล ให้เสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2542
5.5 ทบทวนอัตราค่าผ่านท่อก๊าซฯ และโครงสร้างราคาก๊าซฯ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน2542
5.6 พิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนระบบท่อ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2542
6. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้เสนอแนวทางในการปรับ โครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ดังนี้
6.1 เห็นควรให้ความเห็นชอบโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซ ธรรมชาติของประเทศ และสมควรให้ ปตท. ใช้เป็นแนวทางในการแปรสภาพ ปตท. เป็น บริษัท จำกัด/(มหาชน) ตามโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติที่กำหนด
6.2 เพื่อให้มีการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ตามโครงสร้างกิจการ ก๊าซธรรมชาติในระยะยาวดังกล่าว ควรให้ ปตท. กระทรวงอุตสาหกรรม และ สพช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
(1) ให้ ปตท. ดำเนินการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ออกจากกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติของ ปตท. และเปิดให้บริการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อแก่บุคคลที่สาม (Third Party Access : TPA)
(2) ให้ ปตท. จัดทำรายละเอียดการกำหนดแหล่งก๊าซฯ และตลาดก๊าซฯ ในปัจจุบัน เพื่อให้มีการเปิดแข่งขันในแหล่งก๊าซฯ และตลาดก๊าซฯ ใหม่ต่อไป
(3) ให้ สพช. และกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกำหนดหลักเกณฑ์การเปิดประมูลแข่งขันเงื่อนไขสัมปทาน และหลักเกณฑ์สำคัญในสัญญาการให้บริการท่อจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ หลักเกณฑ์ทางด้านเทคนิค และคุณภาพบริการสำหรับการให้บริการท่อจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ และให้ สพช. / คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กระทรวงอุตสาหกรรม และ ปตท. ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติในด้านการส่งเสริมและขจัดอุปสรรคในการ แข่งขัน การกำกับดูแลทางด้านอัตราค่าผ่านท่อก๊าซฯ การลงทุน และคุณภาพบริการ รวมทั้ง การออกใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ การลงทุนระบบท่อส่งก๊าซฯ และการให้สิทธิในการดำเนินการระบบท่อจำหน่ายก๊าซฯ
(4) ให้ ปตท. กระทรวงอุตสาหกรรม และ สพช. / กพช. ทำหน้าที่ประมาณการอุปสงค์อุปทานของก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้มีความมั่นคงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติ และมีความสมดุลระหว่างอุปสงค์ อุปทานของก๊าซธรรมชาติในที่สุด
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว (รายละเอียดตามข้อ 4 ในเอกสารแนบ 1 ของเอกสารประกอบวาระ 4.2) โดยมอบหมายให้ ปตท. ใช้เป็นแนวทางในการแปรสภาพ ปตท. เป็นบริษัทจำกัด ตามโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ ซึ่งกำหนดให้มีการแยกระบบท่อส่งและท่อจำหน่าย (Transportation & Distribution Pipelines) และการจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ (Gas Traders) ออกจากกัน โดยการจัดตั้งบริษัท ที่ดำเนินการด้านท่อส่งก๊าซฯ ออกต่างหาก รวมทั้งการส่งเสริมการแข่งขันในอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ โดย การเปิดให้บุคคลที่สามสามารถใช้บริการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้ ทั้งนี้ จะต้องมีการกำกับดูแลโดยองค์กรกำกับดูแลอิสระ เพื่อกำหนดราคาที่เป็นธรรม และเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการใช้บริการ
2.มอบหมายให้ ปตท. กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และ สพช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
(1) ให้ ปตท. ดำเนินการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ออกจากกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ในลักษณะการแบ่งแยกตามกฎหมาย Legal Separation โดยมี ปตท. / บริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด และให้มีการทำสัญญาในการดำเนินการระหว่างกิจการทั้งสอง เพื่อให้มีการดำเนินการที่แยกขาดจากกันอย่างเด็ดขาด
(2) ให้ ปตท. เปิดให้บริการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อแก่บุคคลที่สาม (Third Party Access : TPA) โดยให้ อก. (กรมทรัพยากรธรณี) และ ปตท. ร่วมกันพิจารณายกร่างหลักเกณฑ์ เงื่อนไขคุณภาพบริการ Third Party Access Code รวมทั้ง ระบุรายชื่อท่อก๊าซฯที่พร้อมจะให้บริการ และให้เสนอราคาค่าบริการตามหลักการการให้บริการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อแก่ บุคคลที่สาม (รายละเอียดตาม ข้อ 5.2 ในเอกสารแนบ 1 ของเอกสารประกอบวาระ 4.2) เพื่อให้ สพช. / คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาเปิดให้มี TPA ได้ภายหลังจากการจัดทำ TPA Code และกลไกที่จะใช้ในการปรับสมดุลระหว่างปริมาณการใช้ก๊าซฯกับความต้องการ (Load Balancing)
(3) ให้ ปตท. จัดทำรายละเอียดการกำหนดแหล่งก๊าซฯในปัจจุบัน (Existing gas supply) ตามหลักการกำหนดคำจำกัดความของแหล่งก๊าซธรรมชาติปัจจุบัน และแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ (รายละเอียดตามข้อ 5.3 ในเอกสารแนบ 1 ของเอกสารประกอบวาระ 4.2) รวมทั้ง ให้ ปตท. รวบรวมรายละเอียดผู้ผลิตก๊าซฯ ที่ประสงค์จะขอเจรจาแก้ไขสัญญาใหม่ เพื่อให้มีสิทธิขายก๊าซฯ ส่วนเพิ่มให้ผู้อื่น นอกเหนือจาก ปตท. ได้ เพื่อนำเสนอขออนุมัติจาก สพช. / กพช. เพื่อให้มีการเปิดแข่งขันในแหล่งก๊าซฯใหม่ (New gas Supply) ต่อไป
(4) ให้ ปตท. จัดทำรายละเอียดการกำหนดตลาดก๊าซฯ ปัจจุบัน (Existing gas demand) ตามหลักการกำหนดคำจำกัดความความต้องการใช้ก๊าซปัจจุบัน และความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติใหม่ (รายละเอียดตามข้อ 5.4 ในเอกสารแนบ 1 ของเอกสารประกอบวาระ 4.2) รวมทั้ง เร่งจัดทำสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ระหว่าง ปตท. กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทั้งในส่วนที่กำลังเจรจาและตกลงใน หลักการให้แล้วเสร็จ โดยให้ดำเนินการทั้งสองเรื่องให้แล้วเสร็จภายในปี 2542 ทั้งนี้ ต้องแล้วเสร็จก่อนการ แปรรูป ปตท. เพื่อนำเสนอขออนุมัติจาก สพช. / กพช. เพื่อให้มีการเปิดแข่งขันในตลาดก๊าซฯใหม่ (new gas demand) ต่อไป
(5) ให้ สพช. และ อก. ร่วมกำหนดหลักเกณฑ์การเปิดประมูลแข่งขันเงื่อนไขสัมปทาน และหลักเกณฑ์สำคัญในสัญญาการให้บริการท่อจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ หลักเกณฑ์ทางด้านเทคนิคและคุณภาพบริการสำหรับการให้บริการท่อจำหน่ายก๊าซ ธรรมชาติตามหลักการกำหนดขอบเขตการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการลงทุนและดำเนิน การระบบท่อก๊าซธรรมชาติ (รายละเอียดตามข้อ 5.5 ในเอกสารแนบ 1 ของเอกสารประกอบวาระ 4.2) ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2542
(6) ให้ สพช./กพช. อก. และ ปตท. ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ (รายละเอียดตามข้อ 5.6 ในเอกสารแนบ 1 ของเอกสารประกอบวาระ 4.2) ในด้านการส่งเสริมและขจัดอุปสรรคในการแข่งขัน การกำกับดูแลทางด้านอัตราค่าผ่านท่อก๊าซฯ การลงทุน และคุณภาพบริการ รวมทั้ง การออกใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ การลงทุนระบบท่อส่งก๊าซฯ การให้สิทธิในการดำเนินการระบบท่อ จำหน่ายก๊าซฯ โดยในระยะยาวเมื่อมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ (Independent Regulator) ให้องค์กรกำกับดูแลอิสระดำเนินการกำกับดูแลต่อไป ทั้งนี้ให้ สพช. อก. และ ปตท. นำเสนอรายละเอียดการกำกับดูแลดังกล่าว ภายใน 6 เดือน เพื่อขออนุมัติจาก กพช. และคณะรัฐมนตรี
(7) ให้ ปตท. อก. และ สพช. / กพช. ทำหน้าที่ประมาณการอุปสงค์อุปทานของก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้มีความมั่นคงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติ และมีความสมดุลระหว่างอุปสงค์อุปทานของก๊าซธรรมชาติในที่สุด
3.รับทราบแนวทางการแปรสภาพ ปตท. เป็นบริษัทจำกัด (Corporatisation) และการแปรรูป ปตท. (Privatisation) ตามแนวทางในการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติของประเทศในระยะยาว (รายละเอียดตามข้อ 7,8 และ 9 ในเอกสารแนบ 1 ของเอกสารประกอบวาระ 4.2)
เรื่องที่ 8 แผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2539 เห็นชอบรูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้า ในอนาคตของประเทศ ให้มีการแยกกิจการผลิตไฟฟ้า กิจการสายส่งไฟฟ้า และกิจการจำหน่ายไฟฟ้าออกจากกัน โดยโรงไฟฟ้าพลังความร้อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะแยกออกเป็นหน่วยธุรกิจและจัดตั้งเป็นบริษัทย่อย จดทะเบียนและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อมีความพร้อมต่อไป และตามแผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ สาขาพลังงาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 ได้กำหนดแนวทางในการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันในกิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า โดยการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน รวมทั้ง ได้มีการกำหนดให้ กฟผ. แปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรีภายในปี 2542
2. กฟผ. ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย บริษัท Dresdner Kleinwort Benson Advisory Services (Thailand) Limited บริษัท Lehman Brothers (Thailand) Limited และบริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด เพื่อศึกษาจัดทำแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งแผนดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ กฟผ. เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2541
3. คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2541 ได้พิจารณาแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี และมีมติเห็นชอบแผน ระดมทุนฯ ดังกล่าว โดยมีข้อสังเกตเพื่อประกอบการพิจารณาการดำเนินการตามแผนฯ ดังนี้
3.1 แนวทางและขั้นตอนการระดมเงินทุนและเงินกู้ตามแผนระดมทุนภาคเอกชนในโครงการ โรงไฟฟ้าราชบุรี ควรมีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสภาวะตลาดการเงินในขณะนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ กฟผ. และผู้ใช้ไฟฟ้า
3.2 การดำเนินงานตามแผนการระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีควรให้สอด คล้องกับแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจในสาขาพลังงาน ที่กำหนดให้มีตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า (Wholesale Power Pool) ภายในปี 2546 เพื่อให้เกิดการแข่งขันในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า การดำเนินงานตามแผนดังกล่าว เช่น การจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า การจัดทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ และการจัดทำสัญญาอื่นๆ ควรกำหนดให้บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด บริษัทในเครือที่ 1 และบริษัทในเครือที่ 2 มีแรงจูงใจพร้อมทั้งให้โอกาสเข้าสู่การแข่งขันในตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าได้ เมื่อบริษัทต้องการ
3.3 การกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้า ควรกำหนดเฉพาะราคาเฉลี่ยตลอดโครงการ (Levelized Price) เท่านั้น ซึ่งควรจะต่ำกว่าราคาเฉลี่ยที่รับซื้อของโครงการ IPP ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประมูลเสนอรายละเอียดโครงสร้างราคาซื้อขายไฟฟ้าเอง เช่น โครงสร้างค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment) ในแต่ละปี รวมทั้ง ดัชนีในการปรับราคา (Indexation) เนื่องจากอาจจะเสนอโครงสร้างราคาที่แตกต่างกันตามความสามารถของผู้ประมูล ซึ่งจะทำให้ได้รับเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์มากขึ้นต่อผู้บริโภค และเพิ่มแรงจูงใจให้ เข้าสู่ระบบแข่งขันในตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าด้วย
3.4 การกำหนดวิธีการประเมินราคาทรัพย์สิน การตีราคาทรัพย์สิน ควรจะต้องพิจารณา ร่วมกับราคาค่าไฟฟ้าและผลตอบแทนของโครงการเพื่อให้เกิดความสมดุลและเหมาะสม เนื่องจากจะมีผลกระทบถึงกัน
3.5 การจัดทำประกาศเชิญชวน (Terms of Reference : TOR) เพื่อคัดเลือกพันธมิตร ร่วมทุน อาจจัดทำเป็นชุดเดียวกันทั้งในระดับบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง และบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีทั้ง 2 แห่ง เพื่อไม่ให้เกิดความสลับซับซ้อน
3.6 กฟผ. ควรดำเนินการตามขั้นตอนขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลง ทุน เพื่อขออนุมัติในหลักการในการพิจารณาสิทธิประโยชน์ให้กับบริษัททั้งสาม ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) จะได้แจ้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ทราบในเบื้องต้นก่อนจะนำ เสนอขออนุมัติในระดับนโยบายต่อไป
3.7 การขออนุมัติให้ กฟผ. จัดสรรกำไรที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินและหุ้นทั้งหมดเพื่อกิจกรรมของ กฟผ. ซึ่งกำหนดสัดส่วนในการจัดสรรกำไรร้อยละ 90 สำหรับการลงทุนและการชำระคืนเงินกู้ของ กฟผ. และร้อยละ 10 ให้กองทุนบริหารทรัพยากรบุคคลนั้น เป็นข้อเสนอที่น่าจะเป็นที่ยอมรับได้เนื่องจากเป็นที่ยอมรับของผู้บริหารและ พนักงาน กฟผ. สำหรับเงินส่งคลังนั้นกระทรวงการคลังสามารถพิจารณาเพิ่มอัตราเงินส่งคลัง (Remittance Rate) ได้ตามความเหมาะสมหากต้องการ
3.8 ตามที่ กฟผ. เสนอให้ (1) กฟผ. ขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง และ (2) บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง ขายหุ้นเพิ่มทุนแก่พนักงาน กฟผ. ได้ไม่เกิน 15% นั้น สัดส่วนที่แท้จริงที่จะขายให้พนักงานและราคา ควรมีการพิจารณาให้รอบคอบ โดยให้คำนึงถึงทั้งการมีส่วนร่วมของพนักงานในการระดมทุน สภาพตลาดการเงิน และผลประโยชน์ของประเทศโดยส่วนรวม
3.9 การประชาสัมพันธ์การแปรรูปของ กฟผ. ซึ่งรวมถึงการประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร ควรแยกออกจากงานประชาสัมพันธ์ทั่วไป และดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนการแปรรูป กฟผ. ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่พนักงาน รวมถึงรูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม และการให้ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์แก่ทุกฝ่าย
4. การระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมบทบาทเอกชนและเพิ่มการแข่งขันในกิจการผลิตไฟฟ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ในราคาที่เป็นธรรมและลดภาระการลงทุนของภาครัฐ และยังสามารถแก้ไขปัญหาสภาพคล่องด้านการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นกับ กฟผ. ได้ ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า โดยคาดว่าจะได้รับรายได้ประมาณ 55,000 ล้านบาท นอกจากนี้สามารถดำเนินการระดมทุนได้เร็ว และลดผลกระทบกับพนักงานเนื่องจากเป็นโรงไฟฟ้าใหม่ซึ่งไม่มีพนักงานประจำ
5. กฟผ. ได้ทำหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาให้ความเห็น ว่า จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนิน การในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือไม่ หากคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่าจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วย การ ให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ ก็จะต้องปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติว่า ด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ ดังกล่าว แต่ทั้งนี้จะไม่มีผลกระทบต่อระยะเวลาในการดำเนินการมาก เพราะในช่วง ที่ผ่านมาได้มีการปฏิบัติงานตามแนวทางที่กำหนดในพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ แล้ว
6. ต่อมา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) ได้เห็นชอบให้นำแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีเสนอคณะ กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป ซึ่งแผนระดมทุนฯ ดังกล่าว สามารถสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
6.1 โครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี เป็นโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีทรัพย์สินต่างๆ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ชุดที่ 1-3 กำลังการผลิต 2,175 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน เครื่องที่ 1 และ 2 กำลังการผลิต 1,470 เมกะวัตต์ และทรัพย์สินอื่นที่ใช้ร่วมกัน เช่น อาคารสำนักงาน แหล่งน้ำ และระบบบำบัดน้ำร้อน เป็นต้น
6.2 แนวทางการดำเนินการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรี มีขั้นตอนการดำเนินงานหลัก ดังนี้
(1) กฟผ. จะจัดตั้งบริษัท ราชบุรี โฮลดิ้ง โดย กฟผ. ถือหุ้นร้อยละ 100
(2) บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง และ กฟผ. ร่วมกันจัดตั้งบริษัทในเครือ 2 บริษัท คือ บริษัทผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรี จำกัด (บริษัทในเครือที่ 1) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี จำกัด (บริษัทในเครือที่ 2) โดยบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง ถือหุ้นร้อยละ 75 และ กฟผ. ถือหุ้นร้อยละ 25
(3) กฟผ. ขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง ให้แก่พันธมิตรร่วมทุน 1 ในสัดส่วนร้อยละ 49 ในราคาประมูล และพนักงาน กฟผ. ในสัดส่วนร้อยละ 2 ในราคาของมูลค่าที่ตราไว้ จากนั้น บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง จะระดมเงินทุนโดยการเพิ่มทุนครั้งที่ 1 ในการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม คือ กฟผ. พันธมิตรร่วมทุน 1 และพนักงาน กฟผ. ซึ่ง กฟผ. จะยังคงถือหุ้นร้อยละ 49
(4) บริษัทในเครือที่ 1 เพิ่มทุนด้วยการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง และ กฟผ. ตามสัดส่วนการถือหุ้น 75:25 ต่อมา กฟผ. ขายหุ้นที่ถืออยู่ร้อยละ 25 ในบริษัทในเครือที่ 1 ให้แก่ พันธมิตรร่วมทุน 2 ในราคาประมูล
(5) บริษัทในเครือที่ 1 จัดหาเงินกู้เพื่อซื้อโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม และที่ดินจาก กฟผ. และในขณะเดียวกันบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง ก็รับโอนทรัพย์สินที่ใช้ร่วมกันและที่ดินที่เหลือจากการแบ่งขายให้แก่บริษัท ในเครือที่ 1 และ 2 กำหนดการโอนประมาณเดือนกันยายน 2542
(6) บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัด และเพิ่มทุนครั้งที่ 2 โดยเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไป พนักงาน กฟผ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฟผ. ในขั้นตอนนี้ กฟผ. จะลดสัดส่วนลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 49
(7) บริษัทในเครือที่ 2 เพิ่มทุนและเสนอขายหุ้นแก่บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง และ กฟผ. ตามสัดส่วนการถือหุ้น 75:25 ต่อมา กฟผ. ขายหุ้นที่ถืออยู่ร้อยละ 25 ในบริษัทในเครือที่ 2 ให้แก่พันธมิตร ร่วมทุน 3 ในราคาประมูล
(8) บริษัทในเครือที่ 2 จัดหาเงินกู้เพื่อซื้อโรงไฟฟ้าพลังความร้อน และที่ดินจาก กฟผ. ตลอดจนรับโอนโรงไฟฟ้าพลังความร้อนพร้อมทั้งชำระเงินให้แก่ กฟผ. กำหนดการโอนครั้งนี้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2543
(9) ภายหลังจากที่ กฟผ. ดำเนินการคัดเลือกที่ปรึกษาทางการเงิน กฎหมาย เทคนิค และผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน การระดมเงินทุนจากพันธมิตรร่วมทุนในบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง และบริษัทในเครือทั้ง 2 ให้ดำเนินการขนานไปกับการระดมเงินกู้ของบริษัทในเครือทั้ง 2
7. สพช. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรีประสบความสำเร็จ และเพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ สาขาพลังงาน จึงเห็นควรนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการ โรงไฟฟ้าราชบุรีตามที่ กฟผ. เสนอ โดยให้นำข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้าใน การประชุมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2541 ใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อดำเนินการตามแผนดังกล่าว และให้ กฟผ. ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการตามแผนฯ ให้แล้วเสร็จตามกำหนด รวมทั้ง ให้หน่วยงานต่างๆ รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีตามที่ กฟผ. เสนอ โดยให้นำข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้าใน การประชุมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2541 ใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อดำเนินการตามแผนดังกล่าวด้วย (รายละเอียดตามข้อ 4 ของเอกสารวาระที่ 4.3.1) ทั้งนี้ ในประเด็นของการจัดสรรกำไรที่ได้รับจากการจำหน่ายทรัพย์สินและหุ้นของ กฟผ. จะได้มีการพิจารณาระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง
ให้ กฟผ. ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการตามแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้า ราชบุรี เพื่อให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาของแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้า ราชบุรีที่กำหนดไว้
อนุมัติให้ กฟผ. ดำเนินการตามแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี โดยการจัดตั้งบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง) มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรกประมาณ 300 ล้านบาท โดยระยะแรกให้ กฟผ. ถือหุ้นร้อยละ 100 หลังจากนั้นให้ กฟผ. ทยอยลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง เหลือระหว่างร้อยละ 33.3-42.5 โดยขายให้แก่พันธมิตรร่วมทุนในบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง (พันธมิตรร่วมทุน 1) ในสัดส่วนระหว่างร้อยละ 33.3-42.5 ที่เหลือกระจายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป พนักงาน กฟผ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน กฟผ. ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฟผ.) และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อนุมัติให้ กฟผ. และบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง จัดตั้งบริษัทในเครืออีกสองบริษัท ได้แก่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรี จำกัด (บริษัทในเครือที่ 1) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี จำกัด (บริษัทในเครือที่ 2) มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรกประมาณ บริษัทละ 10 ล้านบาท โดยในระยะแรกบริษัท ในเครือที่ 1 และ 2 จะถือหุ้นโดยบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง ในสัดส่วนร้อยละ 75 และถือหุ้นโดย กฟผ. ร้อยละ 25 และหลังจากนั้น กฟผ. จะดำเนินการขายหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดให้แก่พันธมิตรร่วมทุนของบริษัทในเครือ ที่ 1 (พันธมิตรร่วมทุน 2) และพันธมิตรร่วมทุนของบริษัทในเครือที่ 2 (พันธมิตรร่วมทุน 3) ตามลำดับ
อนุมัติในหลักการให้ กฟผ. ขาย (1) โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรี รวมทั้ง ที่ดินให้แก่บริษัทในเครือที่ 1 (2) โรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี รวมทั้ง ที่ดินให้แก่บริษัทในเครือที่ 2 และ (3) ทรัพย์สินที่ใช้ร่วมกันระหว่างบริษัทในเครือที่ 1 และ 2 รวมทั้ง ที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง
อนุมัติให้บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง (กฟผ. จะถือหุ้นร้อยละ 100 ในระยะแรกประมาณ 8 เดือน) บริษัทในเครือที่ 1 และบริษัทในเครือที่ 2 ที่จัดตั้งขึ้นดังกล่าวข้างต้นได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและมติ คณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจทั่วไปและยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม ระเบียบว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2522 เช่นเดียวกับกรณีที่บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ได้รับยกเว้นเมื่อคราวจัดตั้งบริษัทครั้งแรก
หากคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชน เข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 แล้ว อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้า ราชบุรี (คณะกรรมการดำเนินการฯ) ซึ่งจะประกอบด้วย
เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ประธานกรรมการ
ผู้แทนกระทรวงการคลัง กรรมการ
ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด กรรมการ
ผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
ผู้แทนบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง กรรมการ
ผู้แทน กฟผ. กรรมการ
ผู้แทน กฟผ. กรรมการและเลขานุการ
โดยมีหน้าที่ ดังนี้
(1) กำกับดูแลการประเมินราคาทรัพย์สินของโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีที่ดำเนินการโดย ผู้เชี่ยวชาญอิสระกำหนดราคาทรัพย์สินที่ กฟผ. จะขายให้บริษัท ราชบุรี โฮลดิ้ง และบริษัทในเครือ ทั้งสอง และกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าที่ กฟผ. จะรับซื้อจากบริษัทในเครือทั้งสอง
(2) กำกับดูแลการจัดทำสัญญาทุกฉบับ ทั้งในส่วนของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ สัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สิน และสัญญาอื่นๆ ฯลฯ
(3) คัดเลือกพันธมิตรร่วมทุนทั้งสามราย
(4) กำหนดสัดส่วนและราคาหุ้นที่ กฟผ. ประสงค์จะขายให้แก่พันธมิตรร่วมทุนทั้งสามราย และพนักงาน กฟผ.
(5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการในแต่ละเรื่องตามที่คณะกรรมการดำเนินการฯ เห็นควร
(6) นำผลการดำเนินงานตาม (1) ถึง (4) เสนอคณะกรรมการ กฟผ. เพื่ออนุมัติในกรณีที่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ ให้ปรับปรุงองค์ประกอบของกรรมการฯ ข้างต้นให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
อนุมัติให้ กฟผ. ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่าย กิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 โดยให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ ดำเนินการฯ ตามที่กล่าวไว้ในข้อ 7 เพื่อให้คณะกรรมการดำเนินการฯ พิจารณากำหนดราคาทรัพย์สินที่ กฟผ. จะขายพร้อมกับอัตราค่าไฟฟ้าที่ กฟผ. จะรับซื้อ ทั้งนี้ การกำหนดราคาทรัพย์สินดังกล่าวให้ดำเนินการด้วยวิธีการประเมินราคา โดยให้ กฟผ. คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญการประเมินราคาทรัพย์สินที่เห็นว่าเหมาะสม 1 ราย และให้บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง คัดเลือก 1 ราย แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองรายดังกล่าวร่วมกันคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ การประเมินราคาทรัพย์สินที่น่าเชื่อถืออีก 2 ราย รวมเป็น 4 ราย ทำการประเมินราคาทรัพย์สินของโครงการ โรงไฟฟ้าราชบุรีทั้งหมด เมื่อได้ราคาประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 รายแล้ว ให้ตัดราคาประเมินสูงสุดและต่ำสุดออก และนำราคาประเมินทรัพย์สินที่เหลือมาเฉลี่ยเป็นราคาประเมินของทรัพย์สินที่ กฟผ. จะขายให้แก่บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง และบริษัทในเครือทั้งสอง ทั้งนี้ ต้องไม่ต่ำกว่าราคาตามบัญชีสุทธิ
อนุมัติในหลักการให้ กฟผ. จัดทำสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายไฟฟ้า สัญญาซื้อขายหุ้น และสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น โดยใช้สัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สินระหว่าง กฟผ. กับบริษัท ผลิตไฟฟ้า ขนอม จำกัด สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (Independent Power Producer) และ/หรือกับบริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด สัญญาซื้อขายหุ้น และสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นระหว่าง กฟผ. กับบริษัท CLP Power Projects (Thailand) Limited เป็นต้นแบบ
อนุมัติให้สัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายไฟฟ้า และสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายโรงไฟฟ้า รวมทั้ง สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น และสัญญาซื้อขายหุ้น จัดทำเป็นภาษาอังกฤษ
อนุมัติในหลักการให้กำหนดค่าไฟฟ้าเฉลี่ยตลอดอายุสัญญา (Levelized Price) ของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรี และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี โดยเปรียบเทียบกับค่าไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ดังนี้
(1) ค่าไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรีจะกำหนดโดยเปรียบเทียบเฉพาะผล รวม ของค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า (Availability Payment : AP) และค่าใช้จ่ายผันแปรใน การผลิตและบำรุงรักษา (Variable Operation & Maintenance : VOM) กับผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนประเภทโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งผลรวมของ AP และ VOM จะต้องต่ำกว่าค่ากลาง (Median) ของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนดังกล่าว
(2) ค่าไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรีจะกำหนดโดยเปรียบเทียบค่าไฟฟ้ารวม ซึ่งประกอบด้วย ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า (AP) และค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment : EP) กับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนประเภทโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อ เพลิง ซึ่งค่าไฟฟ้ารวม (AP+EP) จะต้องต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (Average) ของผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนดังกล่าว
12.อนุมัติให้ กฟผ. ดำเนินการขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง ให้แก่พันธมิตรร่วมทุน 1 และขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทในเครือที่ 1 และบริษัทในเครือที่ 2 ให้แก่พันธมิตรร่วมทุน 2 และ 3 ตามลำดับ
13.อนุมัติให้ กฟผ. ขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง แก่พนักงาน กฟผ. ในราคาตามมูลค่า ที่ตราไว้ (par) โดยจะมีการกำหนดช่วงระยะเวลาที่ห้ามพนักงาน กฟผ. ขายหุ้นในส่วนนี้ (lock up period)
14.อนุมัติให้บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง ขายหุ้นเพิ่มทุนครั้งที่ 1 ให้แก่พนักงาน กฟผ. ในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ (par) และขายหุ้นเพิ่มทุนครั้งที่ 2 ให้แก่พนักงาน กฟผ. ในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ (par) และราคาที่ต่ำกว่าราคาที่เสนอขายประชาชน โดยจะมีการกำหนดช่วงระยะเวลาที่ห้ามพนักงาน กฟผ. ขายหุ้นที่ได้รับจากการเพิ่มทุนทั้งสองครั้ง (lock up period)
15.ให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง พิจารณายกเว้นให้ กฟผ.มิต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ข้อ 2(4) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามนำภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริม ทรัพย์อื่น เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและต่อมา ได้ขายหรือให้เช่า หรือนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้เฉพาะที่ได้กระทำภายในสามปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ มาหักในการคำนวณภาษีเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
16.ให้หน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้ความอนุเคราะห์ ให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกในการขอรับการอนุมัติ และใบอนุญาตต่างๆ ที่จำเป็นในการซื้อขายและประกอบกิจการของบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง และบริษัทในเครือที่ 1 และ 2 เพื่อให้ทันกำหนดการโอนทรัพย์สิน ดังนี้
(1) ให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พิจารณาอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของท่าเทียบเรือที่ใช้ ในการขนส่ง น้ำมันเชื้อเพลิง บริเวณตำบลบางป่า (คลองลาด) อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
(2) ให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมพิจารณา อนุมัติออกใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุมให้แก่บริษัทในเครือที่ 1 และ 2
(3) ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาอนุมัติออกใบอนุญาตตั้งโรงงาน ให้ กฟผ. และโอนใบอนุญาตดังกล่าวให้บริษัทราชบุรีโฮลดิ้งและบริษัทในเครือที่ 1 และ 2
(4) ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาอนุมัติออกใบอนุญาตประกอบ กิจการโรงงานให้บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง และบริษัทในเครือที่ 1 และ 2
(5) ให้กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย พิจารณาอนุมัติออกสัมปทานการประกอบกิจการไฟฟ้าในส่วนของโรงไฟฟ้าพลังความ ร้อนร่วมราชบุรี และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี ให้บริษัทในเครือที่ 1 และ 2 ตามระยะเวลาของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
(6) ให้กรมโยธาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงมหาดไทย พิจารณาอนุมัติออกใบอนุญาตตั้งถังน้ำมันเชื้อเพลิง และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงให้ กฟผ. และโอนใบอนุญาต ดังกล่าวให้แก่บริษัทในเครือที่ 1 และ 2
(7) ให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุนแก่บริษัท ราชบุรี โฮลดิ้ง และบริษัทในเครือที่ 1 และ 2 โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับที่ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่อยู่ในเขต 3 ได้รับ
(8) ให้กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย เร่งรัดและอำนวยความสะดวกในการดำเนินการรังวัด ออกโฉนด วมโฉนดและแบ่งแยกที่ดินในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี และจดทะเบียนโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกเรียบร้อยแล้วให้แก่บริษัทราชบุรีโฮ ลดิ้ง และบริษัทในเครือที่ 1 และ 2
(9) ให้กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาอนุมัติออกใบอนุญาต สร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ คือ สถานีสูบน้ำ สถานีสูบน้ำมันเชื้อเพลิงและท่าเทียบเรือให้ กฟผ. และโอนใบอนุญาตดังกล่าวให้แก่บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง และ/หรือบริษัทในเครือที่ 1 และ 2
(10) ให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาอนุมัติให้บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง และ/หรือบริษัทในเครือที่ 1 และ 2 ใช้น้ำจากแหล่งน้ำ และทางน้ำสาธารณะในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีได้
(11) ให้กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง พิจารณาอนุมัติให้บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง ได้สิทธิการเช่าที่ ราชพัสดุ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินอันเป็นบริเวณของโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี
(12) ให้กรมที่ดิน และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการเพิกถอนสภาพหนองน้ำสาธารณะ และทางสาธารณะซึ่งอยู่ในบริเวณโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี และขายที่ดินอันเป็น หนองน้ำสาธารณะและทางสาธารณะที่ถูกเพิกถอนนั้นให้แก่ กฟผ. และโอนให้แก่บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง และ/หรือบริษัทในเครือที่ 1 และ 2
(13) ให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้ความอนุเคราะห์ ความร่วมมือ และอำนวยความสะดวก ในการดำเนินการในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูป และการจะซื้อจะขายทรัพย์สินของ โครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีจนกว่าจะแล้วเสร็จ
17.หลังจากที่ กฟผ. ได้จัดทำร่างสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สิน และร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เสร็จเรียบร้อยแล้ว มอบหมายให้ กฟผ. นำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและ คณะรัฐมนตรี ดังนี้
(1) การขออนุมัติราคาทรัพย์สินของโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีที่ กฟผ. จะขายและโอนให้บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง และบริษัทในเครือที่ 1 และ 2 ตามสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สินและการขอ อนุมัติอัตราค่าไฟฟ้าอันกำหนดโดยสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งผลิตจากโรงไฟฟ้าพลัง ความร้อนร่วมราชบุรี และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี
(2) การขออนุมัติให้ กฟผ. ขายและโอนทรัพย์สินของโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีให้บริษัทราชบุรี โฮลดิ้ง และบริษัทในเครือที่ 1 และ 2 ได้ตามร่างสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สินและหากสภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยให้ บริษัทในเครือทั้งสองหาเงินกู้ได้ครบตามจำนวนมูลค่าทรัพย์สินที่จะซื้อจาก กฟผ. แล้ว ขอให้ กฟผ. สามารถรับชำระค่าขายทรัพย์สินจากบริษัท ในเครือที่ 1 และ 2 เป็นงวดๆ โดยให้บริษัทในเครือทั้งสองผ่อนชำระเฉพาะส่วนที่บริษัท หาเงินกู้ได้ไม่ครบ โดยอาจให้บริษัทในเครือทั้งสองนำตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทมาวางต่อ กฟผ. เพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระดังกล่าว
(3) การขออนุมัติให้ กฟผ. ซื้อไฟฟ้าซึ่งผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรี และโรงไฟฟ้า พลังความร้อนราชบุรีได้ตามร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
18.เมื่อคณะกรรมการ กฟผ. อนุมัติ (1) ผลการคัดเลือกพันธมิตรร่วมทุน และราคาหุ้นที่ กฟผ. จะขายให้แก่พันธมิตรร่วมทุนตามที่คณะกรรมการดำเนินการฯ ได้พิจารณา และ (2) ให้ กฟผ. ลงนามสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นกับพันธมิตรร่วมทุน 1 และสัญญาซื้อขายหุ้นกับพันธมิตรร่วมทุนทั้งสามรายแล้ว มอบหมายให้ กฟผ. นำเสนอผลการดำเนินการตาม (1) และ (2) ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 ให้ปรับปรุงนโยบายราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวและต่อมาคณะกรรมการพิจารณานโยบาย พลังงานได้มีมติเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2540 เห็นชอบแนวทางและ ขั้นตอนการยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยให้ใช้ระบบราคา "กึ่งลอยตัว" ในช่วงแรก ซึ่งรัฐยังควบคุมราคา แต่ให้ราคาขายส่งและขายปลีกเปลี่ยนแปลงตามราคาตลาดโลก รวมทั้ง ให้แก้ไขกฎเกณฑ์เพื่อเพิ่มการแข่งขันในตลาดให้เพียงพอ และหลังจากนั้น จะใช้ระบบราคา "ลอยตัวเต็มที่" เพื่อยกเลิกการควบคุมราคาโดยสมบูรณ์ต่อไป
2. ระบบการค้าและการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในปัจจุบัน รัฐบาลได้กำหนดราคาและค่าการตลาดก๊าซหุงต้มในระดับที่ต่ำก่อให้เกิดปัญหา ความไม่ปลอดภัยต่อส่วนรวม มีการเอาเปรียบผู้บริโภคและการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ค้าที่สุจริต เช่น การไม่ซ่อมบำรุงรักษาถัง การเรียกเก็บเงินค่ามัดจำถังใหม่สูงเกินสมควร การบรรจุก๊าซไม่เต็มน้ำหนัก และการบรรจุก๊าซใส่ถังก๊าซของผู้ค้าอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้พยายามดำเนินการตรวจสอบและปราบปรามอย่างจริงจัง แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของบุคลากรและอำนาจตามกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถปราบปรามให้การกระทำผิดดังกล่าวหมดไปได้
3. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้จัดทำข้อเสนอแนวทางและขั้นตอนการยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว และการปรับปรุงระบบการค้าและมาตรฐานความปลอดภัยก๊าซปิโตรเลียมเหลว มีรายละเอียด ดังนี้
3.1 แนวทางการยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวและการปรับปรุงระบบการค้า และมาตรฐานความปลอดภัยก๊าซปิโตรเลียมเหลว มีแนวทางสรุปได้ดังนี้
(1) ส่งเสริมการแข่งขันในระบบการค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวอย่างเสรี โดยปรับปรุงระบบการค้าก๊าซหุงต้ม จากปัจจุบันซึ่งเป็นการซื้อขายน้ำก๊าซตัดตอน ให้เป็นการบรรจุก๊าซโดยผู้ค้าก๊าซ มาตรา 6 นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถใช้คลังก๊าซของการปิโตรเลียมแห่งประเทศ ไทย (ปตท.) และให้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวเพื่อ เพิ่มการแข่งขันในระดับร้านค้าปลีก
(2) ปรับปรุงระบบความปลอดภัย โดยการขจัดถังขาวออกจากตลาด และไม่ให้มีการผลิตถังขาวอีกต่อไป
(3) แก้ไขปัญหาการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ขจัดปัญหาการบรรจุก๊าซขาดน้ำหนัก และลดค่ามัดจำถังก๊าซหุงต้มสู่ระดับที่เป็นธรรม รวมทั้ง การคืนเงินมัดจำถังก๊าซหุงต้ม โดยรัฐคุ้มครองดูแลให้ ผู้บริโภคได้รับเงินมัดจำคืนอย่างเป็นธรรม
(4) เพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบจับกุมผู้กระทำผิด โดยให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานหนึ่งสามารถสนับสนุนและส่งเสริมการตรวจสอบของ อีกหน่วยงานได้
(5) การประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ ผู้ค้า โรงบรรจุ ผู้ค้าปลีกและผู้บริโภค มีความเข้าใจในนโยบาย ขั้นตอนการดำเนินการ และประโยชน์ที่จะได้รับจากการยกเลิกการควบคุม ราคาก๊าซฯ รวมทั้งการใช้ผลิตภัณฑ์ก๊าซหุงต้มอย่างปลอดภัย
3.2 ขั้นตอนการยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว และการปรับปรุงระบบการค้าและมาตรฐานความปลอดภัยก๊าซปิโตรเลียมเหลว มีขั้นตอนสรุปได้ดังนี้
(1) ขั้นตอนการยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว
-การเตรียมการ เพื่อซักซ้อมนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติ
-การยกเลิกการควบคุมราคาขายปลีก โดยลดราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นและติดตามตรวจสอบราคาขายปลีก
-การดำเนินการภายหลังการยกเลิกการควบคุมราคาขายปลีก และเตรียมการสู่การลอยตัวเต็มที่ โดยให้ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นมีการเปลี่ยนแปลงตามตลาดโลก ให้มีมาตรการในการกำกับดูแลการกำหนดราคาและดำเนินการเมื่อพบการกำหนด ราคาที่สูงเกินความเหมาะสม
-การใช้ระบบราคา "ลอยตัวเต็มที่" โดยสมบูรณ์ ยกเลิกการกำหนดราคาโดยรัฐ ทยอยลดอัตราเงินชดเชยค่าขนส่ง และใช้บัญชีค่าขนส่งมาตรฐานเป็นเกณฑ์ในการ กำหนดราคาของแต่ละจังหวัด
(2) ขั้นตอนการปรับปรุงระบบการค้าและมาตรฐานความปลอดภัยก๊าซปิโตรเลียมเหลว
-การส่งเสริมการแข่งขัน โดยเปิดให้มีผู้ค้ารายใหม่เข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น มีจุดจำหน่ายปลีกเพิ่มขึ้น และการใช้บริการคลัง ปตท. อย่างเท่าเทียมกัน
-การแก้ไขความไม่เป็นธรรมในระบบการค้า โดยออกกฎเกณฑ์ห้ามซื้อขายน้ำก๊าซ ระหว่างผู้ค้ากับโรงบรรจุ และกำหนดให้มีเครื่องหมายประจำตัวผู้บรรจุ เพื่อป้องกัน การบรรจุน้ำก๊าซในถังของผู้ค้าอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต และการบรรจุไม่เต็มถัง การคุ้มครองให้ผู้บริโภคได้รับคืนเงินมัดจำถัง รวมทั้ง การลดค่ามัดจำถังใหม่
-ความปลอดภัย โดยควบคุมการผลิตถังขาว และขจัดถังขาวในตลาด โดยให้ผู้ค้า ก๊าซลดค่ามัดจำถังก๊าซใหม่ และรับแลกถังขาวกับถังก๊าซของผู้ค้า
(3) ขั้นตอนการประชาสัมพันธ์
-ประชาชน เพื่อให้เข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการยกเลิกการควบคุมราคา การปรับปรุงระบบการค้าและความปลอดภัย
-หน่วยงานของรัฐ เพื่อทำความเข้าใจในนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติโดยการจัดประชุมและสัมมนา
-ผู้ประกอบการ ผู้ค้าก๊าซ โรงบรรจุและร้านค้าปลีก เพื่อให้สามารถปรับตัวสู่ระบบ การค้าใหม่ โดยการพบปะ ประชุมและสัมมนา
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบแนวทางและขั้นตอนการยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว และการปรับปรุงระบบการค้าและมาตรฐานความปลอดภัยของก๊าซปิโตรเลียมเหลว ตามรายละเอียดในข้อ 3 และ ข้อ 4 ของเอกสารประกอบวาระ 5.1
2.เห็นชอบให้ สพช. และกรมการค้าภายในมีการติดตามกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดในพื้นที่ซึ่งการแข่งขัน ยังไม่สมบูรณ์และอาจทำให้มีการผูกขาด และให้ ปตท. ในฐานะที่เป็นกลไกของรัฐทำหน้าที่แทรกแซงราคาเพื่อไม่ให้มีการผูกขาด
เรื่องที่ 10 การผ่อนผันการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรม
สรุปสาระสำคัญ
1. สืบเนื่องจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ธุรกิจและอุตสาหกรรม ทำให้ต้องปรับลดปริมาณการผลิตเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายทางด้าน ค่าไฟฟ้าไม่สามารถปรับลดลงได้เท่าที่ควร เนื่องจากหลักเกณฑ์การคิดอัตราค่าไฟฟ้าต่ำสุด ซึ่งกำหนดให้ค่าไฟฟ้าขั้นต่ำในแต่ละเดือน ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุด ในรอบ12 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรม ได้ร้องเรียนขอผ่อนผันการคิดค่าไฟฟ้าต่ำสุดเป็นจำนวนมาก
2. การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้กำหนดหลักเกณฑ์การคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำสำหรับผู้ใช้ ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลางและกิจการขนาดใหญ่ ที่มีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีสูงสุดตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ขึ้นไป โดยในช่วงก่อนเดือนธันวาคม 2534 คิดในอัตราร้อยละ 30 และภายหลังการปรับปรุงโครงสร้าง ค่าไฟฟ้าในเดือนธันวาคม 2534 มีการเปลี่ยนแปลงค่าไฟฟ้าขั้นต่ำเป็นอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาสิ้นสุดในเดือนปัจจุบัน
3. การกำหนดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำได้มีการปรับปรุงเมื่อเดือนธันวาคม 2540 เพื่อเป็นการช่วยเหลือ ภาคอุตสาหกรรมในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยกำหนดให้มีการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำในอัตราร้อยละ 70 ของ ค่าความต้องการพลังไฟฟ้าที่สูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา การนับย้อนหลัง 12 เดือน จะนับไม่เกินเดือนตุลาคม 2540 ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บประจำเดือนมกราคม 2541 เป็นต้นไป
4. สพช. ได้หารือกับการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง และมีข้อเสนอการปรับปรุงลักษณะการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ ดังนี้
4.1 เนื่องจากความต้องการพลังไฟฟ้าของระบบได้เปลี่ยนแปลงไป โดยมีลักษณะเป็นฤดูกาล ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ดังนั้น ควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำให้สอดคล้องกัน โดยค่าไฟฟ้าขั้นต่ำจะคำนวณจากความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในรอบ 12 เดือน ที่ผ่านมา สิ้นสุดในเดือนปัจจุบัน โดยคำนวณเฉพาะค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเดือนที่ระบบมีความต้อง การใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Month) คือระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน
4.2 เนื่องจากปริมาณกำลังผลิตสำรอง (Reserve Margin) ของประเทศมีแนวโน้มจะสูงขึ้นมาก ประกอบกับภาคเอกชนได้รับผลกระทบอย่างมากจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงเห็นควรพิจารณาผ่อนผันหลักเกณฑ์การคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำเป็นการชั่วคราว จากร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้าที่ สูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา เหลือเพียงร้อยละ 0 เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2542 เป็นต้นไป แต่ทั้งนี้ หากต่อไปในอนาคต กำลังการผลิตสำรองลดต่ำกว่าระดับมาตรฐาน ให้พิจารณาเพิ่มอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
5. การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำตามข้อ 4 ผู้ใช้ไฟที่จะได้รับประโยชน์ คือ ผู้ใช้ไฟที่มีลักษณะการใช้ไฟฟ้าเป็นฤดูกาล หรือผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ และหากค่าความต้องการใช้ไฟฟ้า สูงสุดไม่อยู่ในช่วงเดือนที่ระบบมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Month : มีนาคม-มิถุนายน) ด้วย ก็จะได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น สำหรับผลกระทบต่อการไฟฟ้า จะทำให้รายได้ของการไฟฟ้าลดลงเล็กน้อย กล่าวคือ รายได้ของการไฟฟ้านครหลวงจะลดลงประมาณ 10.6 ล้านบาท/เดือน รายได้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคลดลง 32.6 ล้านบาท/เดือน
มติของที่ประชุม
1.ให้ปรับปรุงลักษณะการคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ โดยให้คำนวณจากความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา (สิ้นสุดในเดือนปัจจุบัน) โดยคำนวณเฉพาะค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเดือน ที่ระบบมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Month) คือ ระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน
2.ให้ผ่อนผันหลักเกณฑ์การคิดค่าไฟฟ้าขั้นต่ำเป็นการชั่วคราว จากร้อยละ 70 ของค่าความ ต้องการพลังไฟฟ้าที่สูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1 เหลือเพียงร้อยละ 0 เป็นการ ชั่วคราว ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2542 เป็นต้นไป แต่ทั้งนี้ หากต่อไปในอนาคต กำลังการผลิตสำรองลดต่ำกว่าระดับมาตรฐาน ให้พิจารณาเพิ่มอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เรื่องที่ 11 เรื่องอื่นๆ
ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม (นายปรีชา อรรถวิภัชน์) ได้ขอให้มีการบันทึกไว้ในที่ประชุมนี้เกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2542 ซึ่งได้มอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาการใช้ก๊าซ ธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ มีความมั่นคง สมดุล และเกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรพลังงานของประเทศ ว่ากระทรวงอุตสาหกรรม จะร่วมกับ สพช. และ ปตท. รับไปจัดทำแผน เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมนี้ต่อไป
กพช. ครั้งที่ 66 - วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม 2540
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 5/2540 (ครั้งที่ 66)
วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
1.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
2.รายงานผลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง
3.การของดเงินเพิ่มร้อยละ 3 กรณีส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงภายหลังระยะเวลาที่กำหนด
4.มาตรการและแนวทางการใช้เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษ
5.แนวทางการปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
6.มาตรการในการแก้ไขปัญหาของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP)
7.การลดผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวสำหรับโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP)
8.การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนดำเนินธุรกิจที่ปรึกษางานเหมืองของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
9.ร่างบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
10.ร่างบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้าโครงการน้ำงึม 2 และน้ำงึม 3
11.เรื่องแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (ฉบับที่ 2) ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
13.การขายหุ้นของกระทรวงการคลังในบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด
14.การแปรรูปกิจการผลิตภัณฑ์คอนกรีตของการไฟฟ้านครหลวง
15.การขายหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
รองนายกรัฐมนตรี นายกร ทัพพะรังสี รองประธานกรรมการ เป็นประธานการประชุม
เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการและเลขานุการ เป็นเลขานุการที่ประชุม
เรื่องที่ 1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน ถึง กลางเดือนตุลาคม 2540 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ราคาน้ำมันดิบเดือนกันยายนอยู่ในสภาวะทรงตัว โดยราคาเฉลี่ยอยู่ในระดับ 18.0 - 19.8 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล แม้ว่าจะมีน้ำมันดิบจากอิรัคเข้าสู่ตลาด ก็ไม่ได้ทำให้ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลง เนื่องจากประเทศนอกกลุ่มโอเปคมีปริมาณการผลิตลดลง ในขณะที่ความต้องการน้ำมันดิบของโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงครึ่งแรกของเดือนตุลาคม ราคาน้ำมันดิบแข็งตัวขึ้นมาอยู่ในระดับ 19.2 - 21.5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เป็นผลจาก ความต้องการน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคและจากกระแสข่าวเหตุการณ์ตึง เครียดในตะวันออกกลาง และเมื่อเหตุการณ์ต่างๆ ได้เริ่มคลี่คลายในช่วงกลางเดือนตุลาคม ทำให้ราคาอ่อนตัวลงมาอยู่ในระดับ 18.8 - 21.3 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
2. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในเดือนกันยายน ราคาน้ำมันเบนซินและก๊าดอยู่ในระดับทรงตัว ในขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาได้แข็งตัวขึ้นมาประมาณ 0.7 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นผลจากการเริ่มสำรองน้ำมันเพื่อเตรียมไว้สำหรับฤดูหนาว ส่วนในครึ่งแรกของเดือนตุลาคม การจัดหาน้ำมันในภูมิภาคเอเซีย ได้รับผลกระทบจากการปิดซ่อมแซมของโรงกลั่นในอินโดนีเซีย และการเลื่อนการเปิดดำเนินการของโรงกลั่นใหม่ในฟิลิปปินส์ ในขณะที่ความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำมันอยู่ในระดับสูง ทำให้ราคาน้ำมันเบนซินพิเศษ เบนซินธรรมดา ก๊าด ดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเตา เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ในระดับ 25.7, 24.1, 25.5, 23.8 และ 18.2 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ
3. ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา ได้มีการปรับราคาขายปลีก น้ำมันเบนซินและดีเซลรวม 14 ครั้ง เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนตัวลง การปรับภาษีมูลค่าเพิ่มและราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น รวมทั้งสิ้น 2.49 และ 2.41 บาท/ลิตร ตามลำดับ โดยครั้งที่ 12 และ 13 เป็นการปรับราคาขายปลีก เนื่องจากกระทรวงการคลังได้ปรับภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินและดีเซลขึ้น 1 บาท/ลิตร เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2540 และรัฐบาลได้ตัดสินใจลดภาษีสรรพสามิตลงมาสู่ระดับเดิม เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2540 ทำให้ราคาขายปลีกลดลงมาสู่ระดับเดิม และครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2540 ได้มีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลเพิ่มขึ้นอีก 0.25 บาท/ลิตร ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาท ได้อ่อนตัวลงมาอยู่ในระดับ 39 บาท/เหรียญสหรัฐฯ โดยราคาน้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว เบนซินธรรมดาไร้สารตะกั่ว และดีเซลหมุนเร็วอยู่ในระดับ 11.92, 11.53 และ 10.71 บาท/ลิตร ตามลำดับ
4. ในช่วงเดือนกันยายน ค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันอยู่ในระดับ 0.94 บาท/ลิตร ซึ่งต่ำกว่าปกติ เนื่องจากราคาขายปลีกเพิ่มสูงขึ้นช้ากว่าค่าเงินบาทที่ลดลง และกลับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.03 บาท/ลิตร ในเดือนตุลาคม ส่วนค่าการกลั่นในเดือนกันยายนได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.09 บาท/ลิตร และในครึ่งแรกของเดือนตุลาคม ลงมาอยู่ในระดับ 0.94 บาท/ลิตร
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 รายงานผลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. การควบคุมผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและสารละลาย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2540 เห็นชอบให้กรมสรรพสามิตปรับปรุงการกำหนดคุณสมบัติของสารละลายประเภทไฮโดร คาร์บอนที่ต้องเสียภาษีใหม่ให้ครอบคลุมถึงสารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอนทุก ชนิดที่มีคุณสมบัตินำไปใช้ปลอมปนในน้ำมันเชื้อเพลิงและมีราคาไม่สูงนัก โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2540 ซึ่งกรมสรรพสามิตได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประกาศกรมสรรพสามิต เรื่องกำหนดคุณสมบัติสารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอน และระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้สารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอน ที่ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ภายในเดือนตุลาคม 2540
2. การติดตั้งมาตรวัดน้ำมันแบบอัตโนมัติ กรมสรรพสามิตกำลังดำเนินการจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ (Specification) ของระบบวัดน้ำมันอัตโนมัติสำหรับคลังน้ำมันแต่ละแห่ง และระบบเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลจากจังหวัดต่างๆ มายังห้องปฏิบัติการฯ โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการประกวดราคาได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2540 และเริ่มติดตั้งประมาณเดือนเมษายน 2541 โดยติดตั้งที่คลังเป้าหมาย จำนวน 4 คลังก่อน สำหรับคลัง น้ำมันส่วนที่เหลือทั้งหมดกรมสรรพสามิตคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จ ทันตามระยะเวลาที่กำหนด คือประมาณเดือนกรกฎาคม 2542
3. การเติมสาร Marker ในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร กรมสรรพสามิตกำลังดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติสาร Marker ของบริษัทต่างๆ ที่เสนอมาเพิ่มเติมจำนวน 4 บริษัท คือ บริษัท John Hogg , Biocode, Eastman และ บริษัท Bahf เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า เมื่อนำมาใช้เติมในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ ส่งออกแล้วจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ค้าน้ำมันภายในประเทศที่สุจริต โดยทำการตรวจสอบตัวอย่างน้ำมันนำเข้าจากประเทศต่างๆ ว่าได้มีการเติมสาร Marker ชนิดใดชนิดหนึ่งไปแล้วหรือไม่ เพื่อจะนำมาใช้ในการเติมใน น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ส่งออกต่อไป
4. การแก้ไขกฎเกณฑ์การควบคุมคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 ให้กรมทะเบียนการค้าแก้ไขกฎเกณฑ์การควบคุมคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง มิให้นำประกาศกำหนด คุณภาพสำหรับน้ำมันที่จำหน่ายในประเทศ มาใช้บังคับกับน้ำมันที่นำมาเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไปสำหรับเก็บน้ำมัน (คสน.) และน้ำมันที่ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ โดยกรมทะเบียนการค้าได้รายงานว่าข้อกำหนดเรื่องคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงตาม ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ใช้บังคับเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อจำหน่ายภายในประเทศเท่านั้น ส่วนน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเก็บใน คสน. เพื่อรอการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศนั้น ไม่ต้องอยู่ในบังคับเรื่องข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงตามประกาศกระทรวง พาณิชย์แต่อย่างใด ซึ่งกรมทะเบียนการค้าได้แจ้งให้กรมศุลกากรทราบแล้ว
5. ผลการจับกุมน้ำมันดีเซลในช่วงระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน 2540 สามารถจับกุมน้ำมันลักลอบ หนีภาษีได้จำนวน 2,286,166 ลิตร ลดลงจากในช่วงเดียวกันของปีก่อน ประมาณ 4.5 ล้านลิตร
6. ปริมาณจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ในเดือนสิงหาคม 2540 มีปริมาณ 1,377.7 ล้านลิตร ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 150 ล้านลิตร คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 9.8 และหากไม่รวมปริมาณการใช้ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้ว ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วจะมีปริมาณ 1,341.6 ล้านลิตร ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 62 ล้านลิตร คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 4.4
มติของที่ประชุม
มอบหมายให้กรมสรรพสามิตดำเนินการปรับแผนการดำเนินการติดตั้งระบบควบคุม การรับ-จ่ายน้ำมัน ณ คลังชายฝั่ง 47 แห่ง (จำนวน 58 คลัง) รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายระบบข้อมูลจากจังหวัดต่างๆ มายังห้องปฏิบัติการใหม่ของกรมสรรพสามิตให้แล้วเสร็จเร็วขึ้น และให้นำเสนอในที่ประชุมครั้งต่อไป
เรื่องที่ 3 การของดเงินเพิ่มร้อยละ 3 กรณีส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงภายหลังระยะเวลาที่กำหนด
สรุปสาระสำคัญ
1. กรมสรรพสามิต ได้ขอให้คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน พิจารณาเรื่องการของดจ่ายเงินส่วนเพิ่มร้อยละ 3 กรณีส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงภายหลังระยะเวลาที่กำหนดของผู้ค้า น้ำมัน ซึ่งเกิดจากความเข้าใจผิดในการคำนวณอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อมีการออกประกาศคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2539 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ของน้ำมันเบนซินและดีเซลเพิ่มขึ้น โดยคำนวณอัตราใหม่เฉพาะปริมาณสารเติมแต่งที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ได้คำนวณจากปริมาณน้ำมันทั้งหมด
2. การพิจารณาเรื่องดังกล่าวข้างต้นเป็นอำนาจของคณะกรรมการพิจารณานโยบาย พลังงานตาม คำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานได้พิจารณาแล้วและมีมติเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2540 เห็นชอบให้งดเงินเพิ่มร้อยละ 3 กรณีส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ภายหลังระยะเวลาที่กำหนดตามคำร้องขอของผู้ค้าน้ำมัน 3 ราย คือ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด, บริษัท น้ำมันคาลเท็กซ์ (ไทย) จำกัด, และบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นจำนวนเงิน 5,381,750.81 บาท; 3,134,524.74 บาท; และ 788,635.68 บาท ตามลำดับ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,304,911.23 บาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 4 มาตรการและแนวทางการใช้เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษ
สรุปสาระสำคัญ
1. กรมควบคุมมลพิษได้ขอความร่วมมือให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) จัดทำแนวทางในการลดมลภาวะของโรงไฟฟ้าเก่าทุกขนาด เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเสนอค่ามาตรฐานการระบายมลพิษของก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนในรูปของไนโตรเจนไดออกไซด์ (NOx as NO2) และฝุ่นละออง (TSP) ซึ่งกรมควบคุมมลพิษได้จัดทำขึ้น
2. สพช. ได้จัดให้มีการประชุมโดยเชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณา ซึ่งได้ข้อสรุป ดังนี้
2.1 มาตรการและแนวทางการใช้เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ในช่วงปี 2540-2542 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต้องใช้ น้ำมันเตาในโรงไฟฟ้าต่างๆ ในระดับหนึ่ง เพราะปริมาณก๊าซธรรมชาติของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ที่จำหน่ายให้ไม่เพียงพอและยังไม่มีการวางท่อส่งก๊าซเส้นใหม่ไปยังโรงไฟฟ้า
ระยะที่ 2 ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป เมื่อ ปตท. วางท่อส่งก๊าซแล้วเสร็จก็จะสามารถส่ง ก๊าซธรรมชาติให้ กฟผ. เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ กฟผ. มีทางเลือกในการใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนน้ำมันเตา ดังนี้
(1) โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ การใช้น้ำมันเตาในช่วงปี 2543-2551 อยู่ในระดับ 190-317 ล้านลิตรต่อปี และจะเลิกผลิตไฟฟ้า (Retire) ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ซึ่งในระหว่างที่ยังดำเนินการอยู่ต้องใช้น้ำมันเตาที่มีปริมาณ Asphaltene ต่ำ และปริมาณกำมะถันไม่เกิน 1% โดยให้ปตท. จัดหาให้แก่โรงไฟฟ้า พระนครเหนือ ตั้งแต่มกราคม 2541 เป็นต้นไป
(2) โรงไฟฟ้าพระนครใต้ มีการใช้น้ำมันเตาปีละ 2,000 ล้านลิตร โดยจะลดการใช้น้ำมันเตา ให้เหลือ 767 ล้านลิตรในปี 2543 และลดลงเหลือ 260 ล้านลิตร ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป โดยใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทน ในช่วงที่ยังไม่สามารถเพิ่มการใช้ก๊าซธรรมชาติได้ ให้ ปตท. จัดส่งน้ำมันเตาประเภท 2 ที่มีปริมาณ Asphaltene ไม่เกิน 3% และปริมาณกำมะถันไม่เกิน 2% และน้ำมันเตา High Pour Point ซึ่งมีปริมาณกำมะถันไม่เกิน 0.5% ประมาณเดือนละ 40 ล้านลิตร ให้แก่โรงไฟฟ้าพระนครใต้
(3) โรงไฟฟ้าบางปะกง จะลดการใช้น้ำมันเตาลงจากปีละ 3,800 ล้านลิตร เหลือ 724 ล้านลิตรต่อปี ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นไป โดยจะมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น ตั้งแต่เดือนเมษายน 2543 เนื่องจาก ปตท. จะวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติแล้วเสร็จ
(4) โรงไฟฟ้ากระบี่ใหม่ จะใช้น้ำมันเตาที่มีปริมาณกำมะถัน 2% อย่างเดียว เนื่องจากได้มีการติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์แล้ว
(5) โรงไฟฟ้าสระบุรี หน่วยผลิตไฟฟ้าที่เป็น Gas Turbine จะใช้ก๊าซธรรมชาติ ส่วนที่เป็น Thermal Unit จะใช้น้ำมันเตาที่มีปริมาณกำมะถัน 2% ซึ่งได้มีการติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์แล้ว ทั้งนี้จะต้องใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานาตามสัญญาให้หมดก่อน
(6) โรงไฟฟ้าหนองจอกและไทรน้อย มีการเดินเครื่องโดยใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ววันละ 10-14 ชั่วโมง ทำให้ค่าก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนเกินมาตรฐาน และคาดว่า ปตท. จะสามารถส่งก๊าซธรรมชาติ ให้โรงไฟฟ้าหนองจอกในราวเดือนมกราคม 2542 เป็นต้นไป ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
เพื่อให้การใช้น้ำมันเตาและการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้แก่โรงไฟฟ้าของ กฟผ. สอดคล้องกับมาตรการและแผนการดำเนินการของโรงไฟฟ้าต่างๆ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ ปตท. เร่งดำเนินการจัดหา น้ำมันเตาที่มีปริมาณกำมะถันต่ำให้แก่โรงไฟฟ้า รวมทั้งให้เร่งดำเนินการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติเพื่อจัดส่งก๊าซธรรมชาติ ให้แก่ กฟผ. และให้มีการแก้ไขสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับ กฟผ. เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดหาก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าดัง กล่าว
2.2 มาตรฐานการระบายมลพิษจากโรงไฟฟ้าเก่า กรมควบคุมมลพิษรับจะไปดำเนินการออกประกาศมาตรฐานการระบายก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน และฝุ่นละอองที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าเก่าทุกขนาดต่อไป
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 5 แนวทางการปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ฉบับ 97-01 (PDP 97-01) เพื่อใช้เป็นแผนลงทุนในการดำเนินงานของ กฟผ. โดยแผนดังกล่าวได้จัดทำเป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 แผนหลักจัดทำภายใต้ค่าพยากรณ์ ความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีฐาน โดยมีข้อสมมติฐานว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงแผนฯ 8 จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7.5 ต่อปี และแนวทางที่ 2 กรณีศึกษาจัดทำภายใต้ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีต่ำ โดยมีข้อสมมติฐานว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงแผนฯ 8 จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.5 ต่อปี
2. ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2540 การใช้ไฟฟ้าเป็นไปตามค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีต่ำแต่หลังจากรัฐบาล ได้กำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา การใช้ไฟฟ้าได้เริ่มชะลอตัวลง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กำหนดเป้าหมายเศรษฐกิจ มหภาคชุดใหม่ตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ดังกล่าว
3. คณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ได้ดำเนินการปรับค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าเป็นชุดกรณีต่ำมาก เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายเศรษฐกิจดังกล่าว ปรากฏว่าความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีต่ำมาก จะทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ฉบับ 97-01 มีมากเกินความจำเป็น ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฟผ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จึงได้ประชุมหารือเพื่อหาแนวทางการปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. โดยเห็นควรให้มีการดำเนินการ ดังนี้
3.1 ควรชะลอโครงการต่างๆ ของ กฟผ. ยกเว้นโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และปรับแผนงาน ของโครงการในอนาคตให้เหมาะสม โดยการเลื่อนเวลาการดำเนินงานของโครงการต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในแผนหลัก PDP 97-01 ดังนี้
- โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี เครื่องที่ 3 จากปี 2544 เป็นปี 2547 และเครื่องที่ 4 จากปี 2545 เป็นปี 2548
- โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ เครื่องที่ 2 จากปี 2544 เป็นปี 2546
- สำหรับโครงการอื่นให้เลื่อนออกไปตามการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีต่ำมาก
3.2 จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้ลูกค้าตรงของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) บางรายยกเลิกโครงการหรือลดการใช้ไฟฟ้าลง ซึ่งมีผลทำให้โครงการ SPP บางโครงการไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยประเมินว่าการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP จะลดลงประมาณ 500 เมกะวัตต์
3.3 โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายใหญ่ (IPP) ที่ได้รับคัดเลือกแล้ว 7 ราย ส่วนใหญ่จะเป็นไปตามแผนการรับซื้อเดิม ซึ่งมีเพียงบางโครงการอาจเลื่อนเวลาออกไป 1-6 เดือน ส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP ในรอบใหม่จะเลื่อนเวลาออกไปอีก 1 ปี
3.4 โครงการลิกไนต์หงสา และโครงการน้ำงึม 2 และน้ำงึม 3 ยังอยู่ระหว่างการเจรจาสัญญารับซื้อไฟฟ้า จึงยังมีความไม่แน่นอนและอาจล่าช้าออกไป ซึ่งได้มีการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าเป็นทางเลือกไว้แล้วและหากโครงการ ดังกล่าวเป็นไปตามข้อตกลง คือ โครงการลิกไนต์หงสาดำเนินการในปี 2545 และโครงการ น้ำงึม 2, 3 ดำเนินการในปี 2546 จะทำให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองสูงสุดในระดับร้อยละ 36.5 ในปี 2547 ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และจะเกิดขึ้นเพียงปีเดียว ส่วนกรณีที่มีการชะลอออกไปกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง ก็อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับ 97-01
4. สพช. เห็นว่าการปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าข้างต้นมีความเหมาะสม และเห็นควรให้ กฟผ. นำไปจัดทำรายละเอียดของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ชุดใหม่ แล้วนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาต่อไป
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 6 มาตรการในการแก้ไขปัญหาของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP)
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุมเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องปัญหาเกี่ยวกับนโยบายการส่งเสริมเอกชนในการผลิต ไฟฟ้าในรูปของผู้ผลิตรายเล็ก (SPP) และได้มีมติให้คงนโยบายการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก และการขายให้ผู้ใช้โดยตรงโดยไม่ใช้สายไฟฟ้าของการไฟฟ้า และได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณานโยบายส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์) เป็นประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กบรรลุผลตาม เป้าหมายและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. คณะอนุกรรมการพิจารณานโยบายส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ได้ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมติดังกล่าวข้างต้น โดยได้มีการพิจารณาความเหมาะสมในการให้ SPP บางประเภทต้องปฏิบัติตามบางส่วนของ Grid Code การเปิดให้เอกชนใช้บริการสายป้อนของการไฟฟ้า การแก้ไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. และ SPP เพื่อบรรเทาผลกระทบของค่าเงินบาทลอยตัว และได้เสนอมาตรการในการแก้ไขปัญหาของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
2.1 การแก้ไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ระหว่าง กฟผ. กับ SPP ในขณะนี้สามารถหาข้อยุติได้เกือบ ทุกประเด็นแล้ว โดยประเด็นหลักที่ยังไม่มีข้อยุติเป็นประเด็นเกี่ยวกับการรับก๊าซธรรมชาติ จากการปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย (ปตท.) จึงเสนอให้ กฟผ. SPP และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) หาข้อยุติโดยเร็ว หากหาข้อยุติได้ เห็นควรให้ กฟผ. ดำเนินการแก้ไขสัญญาไปได้เลย ในกรณีที่ไม่มีข้อยุติ ให้คณะอนุกรรมการพิจารณานโยบายส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กเป็นผู้ชี้ขาด
2.2 การแก้ไขสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ ระหว่าง ปตท. กับ SPP และการดำเนินการแก้ไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับ SPP ยังคงมีประเด็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับ ปตท. คือประเด็นปัญหากรณีที่ ปตท. ไม่สามารถจัดหาก๊าซให้ SPP ได้ ซึ่งทำให้ SPP ไม่ได้รับค่าไฟฟ้าและยังต้องจ่ายค่าปรับให้ กฟผ. จึงเสนอให้มอบหมายให้ กฟผ. SPP ปตท. และ สพช. เร่งดำเนินการหาข้อยุติให้ได้โดยเร็ว ทั้งนี้ หากหาข้อยุติได้ เห็นควรให้ ปตท. และ กฟผ. ดำเนินการแก้ไขสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่าง ปตท. กับ SPP หรือแก้ไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับ SPP ไปได้เลย ในกรณีที่ไม่มีข้อยุติให้คณะอนุกรรมการพิจารณานโยบาย ส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กเป็นผู้ชี้ขาด
2.3 การปรับอัตราค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ได้มีข้อสรุปในการปรับอัตราค่าไฟฟ้า ดังนี้
(1) ราคารับซื้อไฟฟ้า กำหนดให้ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Payment) บางส่วน ให้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับค่าพลังงานไฟฟ้าที่ SPP ได้รับในแต่ละเดือน จะเป็นไปตามสูตรในปัจจุบัน
(2) ให้ SPP สามารถเจรจาขอปรับโครงสร้างราคารับซื้อไฟฟ้า สูตรการปรับค่าพลังไฟฟ้า และการปรับค่าพลังงานไฟฟ้าจากโครงสร้างราคามาตรฐานได้ ทั้งนี้ มูลค่าปัจจุบันของค่าไฟฟ้าที่ผู้ผลิตรายเล็กจะได้รับจะต้องไม่เกินกว่า มูลค่าปัจจุบันของค่าไฟฟ้าตามประกาศการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็กในงวด นั้นๆ และเพื่อให้การเจรจาโครงสร้างราคามีความรวดเร็ว เห็นควรให้ กฟผ. และ สพช. ร่วมกันเจรจาโครงสร้างราคากับ SPP ในกรณีที่มีข้อยุติให้ กฟผ. และ SPP ดำเนินการแก้ไขสัญญาได้เลย ในกรณีที่ไม่มีข้อยุติให้นำเสนอคณะอนุกรรมการฯ เพื่อหาข้อยุติ
(3) การกำหนดค่า Kp และ Kpp ในการคำนวณปริมาณพลังไฟฟ้าจริง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของระบบที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นดังนี้ Kp เท่ากับ 3.0/13.5 และ Kpp เท่ากับ 10.5/13.5
2.4 การแก้ไขเงื่อนไขการขอใช้ไฟฟ้าสำรองเนื่องจากปริมาณการขอใช้ไฟฟ้าสำรองของ SPP ยังไม่มีความชัดเจน เห็นควรให้แก้ไขข้อความ เพื่อให้ปริมาณไฟฟ้าสำรองที่ผู้ผลิตรายเล็ก (SPP) และผู้ผลิตรายเล็กอื่นที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ดำเนิน การโดยเอกชนและไม่ได้จำหน่ายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้า (IPS) สามารถซื้อจากการไฟฟ้าได้ไม่เกินขนาดกำลังการผลิตของ IPS หรือกำลังการผลิตของ SPP ลบด้วยปริมาณพลังไฟฟ้าที่ SPP ขายให้ กฟผ. และเห็นควรให้ กฟภ. ยกเลิกข้อกำหนดขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้าสำรองที่ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิต ไฟฟ้าร่วมกับพลังงานความร้อน (Cogeneration) จะต้องแสดงสัดส่วนของพลังงานความร้อนที่นำไปใช้ในกระบวนการอุณหภาพ (Thermal Processes) ต่อการผลิตพลังงานทั้งหมดเป็นรายเดือน นับตั้งแต่เดือนที่ผู้ใช้ไฟฟ้าทำหนังสือแจ้งการไฟฟ้าย้อนหลังไปจนครบ 12 เดือน เพื่อให้ SPP สามารถขอซื้อไฟฟ้าสำรองตั้งแต่วันเริ่มต้นผลิตไฟฟ้าได้
2.5 ขั้นตอนการขอสัมปทานประกอบกิจการไฟฟ้าล่าช้า เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยเร่งรัดการพิจารณาคำขอสัมปทานประกอบกิจการไฟฟ้า และรับไปพิจารณาลดขั้นตอนการขอสัมปทานกิจการไฟฟ้า สำหรับการแก้ไขในระยะยาวเห็นควรให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การขอใบอนุญาต เกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้ารวมอยู่ในหน่วยงานเดียวกัน
2.6 ปัญหาการขอใบอนุญาตการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ใช้เวลานาน เห็นควรให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเร่งพิจารณาหาข้อยุติโดยเร็ว
2.7 ปัญหาระบบเชื่อมโยงกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ล่าช้า ให้ SPP ที่ประสบปัญหาการ เชื่อมโยง เข้าพบหารือกับผู้ว่าการ กฟภ. โดยตรง
2.8 การพิจารณาเลื่อนวันเริ่มต้นจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบ เมื่อ กฟผ. ประกาศโครงสร้างราคารับซื้อไฟฟ้าใหม่แล้ว ให้ กฟผ. แจ้งให้ SPP ยืนยันความประสงค์จะดำเนินโครงการ หาก SPP รายใดไม่ประสงค์จะดำเนินโครงการต่อไป ให้แจ้ง กฟผ. ภายใน 1 เดือน โดยให้ กฟผ. คืนเงินค้ำประกันให้แก่ SPP ดังกล่าว และหาก SPP รายใดมีความประสงค์จะขอเลื่อนกำหนดวันเริ่มต้นจ่ายไฟฟ้าให้ติดต่อกับ กฟผ. โดย กฟผ. และ สพช. จะพิจารณาเลื่อนวันเริ่มต้นจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบเป็นรายๆ ไป ตามความเหมาะสม
2.9 การปฏิบัติตามบางส่วนของ grid code กฟผ. ได้จัดทำ SPP Grid Code และได้หารือร่วมกับ สพช. และ SPP โดยได้ข้อสรุปเบื้องต้นแล้ว ทั้งนี้หากหาข้อยุติได้ก็ให้ กฟผ. ประกาศใช้ได้เลย หากไม่มีข้อยุติให้ นำเสนอคณะอนุกรรมการฯ เพื่อหาข้อยุติ
2.10 การใช้บริการสายป้อนของการไฟฟ้า เห็นชอบข้อเสนออัตราและเงื่อนไขการใช้บริการสายป้อน โดยอัตราค่าใช้บริการสายป้อนซึ่งไม่รวมค่าไฟฟ้าสำรอง และไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ระดับแรงดัน 69 KV ขึ้นไปเท่ากับ 57 บาท/กิโลวัตต์/เดือน และที่ระดับแรงดัน 22-23 KV เท่ากับ 81 บาท/กิโลวัตต์/เดือน และมอบหมายให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ยกร่างข้อตกลงการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า และข้อตกลงการใช้บริการสายป้อนแล้วนำเสนอ สพช. ให้ความเห็นชอบก่อนการประกาศใช้
2.11 การรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติม เห็นชอบให้ SPP ที่มีความประสงค์จะขายไฟฟ้าให้ กฟผ. เกินกว่าปริมาณพลังไฟฟ้าตามสัญญาสามารถยื่นข้อเสนอต่อ กฟผ. โดย กฟผ. และ สพช. จะพิจารณาผ่อนผันให้ตามความเหมาะสมเป็นรายๆ ไป และในกรณีที่ระบบเชื่อมโยงและระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าสามารถรับไฟฟ้า ในส่วนที่เกินดังกล่าวได้ ให้ กฟผ. สามารถรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมจาก SPP ได้ โดยปริมาณพลังงานไฟฟ้าในส่วนที่เกินนั้น กฟผ. จะจ่ายเฉพาะค่าพลังงานไฟฟ้า ในอัตราเท่ากับค่าพลังงานไฟฟ้าตามสัญญาประเภท Firm
2.12 การผ่อนผันคุณสมบัติของ SPP เห็นชอบให้มีการผ่อนผันคุณสมบัติของ SPP ตามที่ระบุไว้ในระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก โดยให้ SPP ที่ประสงค์จะขอผ่อนผัน ติดต่อกับ กฟผ. เป็นรายๆ ไป โดยคุณสมบัติของ SPP ที่จะได้รับการผ่อนผัน ได้แก่ คุณสมบัติการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ Cogeneration และผ่อนผันการกำหนดสัดส่วนของผลบวกของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ และครึ่งหนึ่งของพลังงานความร้อนที่นำไปใช้ในกระบวนการอุณหภาพต่อพลังงานจาก น้ำมันและ/หรือก๊าซธรรมชาติ เป็นเวลา 3 ปี นับจากวันเริ่มต้นจ่ายไฟตามสัญญา
มติของที่ประชุม
เห็นชอบข้อเสนอของคณะอนุกรรมการพิจารณานโยบายส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ดังรายละเอียด ตามข้อ 2.1-2.12
เรื่องที่ 7 การลดผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวสำหรับโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP)
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลได้มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วน ร่วมใน กิจการไฟฟ้าอันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการและการให้บริการ รวมทั้งยังเป็นการลดภาระด้านการลงทุนของภาครัฐในระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producer: IPP) รอบแรก จำนวน 3,800 เมกะวัตต์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2537 และต่อมาได้ประกาศซื้อเพิ่มอีกประมาณ 10 % รวมกำลังผลิตที่ต้องการซื้อทั้งสิ้นประมาณ 4,200 เมกะวัตต์ และเมื่อถึงกำหนดวันยื่นข้อเสนอมีผู้ยื่นข้อเสนอ 32 ราย รวม 50 โครงการ ซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอทั้งสิ้น 88 ทางเลือก รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 39,067 เมกะวัตต์ โดยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ 37 ราย ถ่านหิน 12 ราย และออริมัลชั่น 1 ราย
2. การประเมินและคัดเลือกข้อเสนอจาก IPP ดังกล่าวข้างต้น ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการประเมินและคัดเลือกข้อเสนอจาก ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน โดยได้พิจารณาจากปัจจัยด้านราคา (Price Factor) 60% และจากปัจจัยด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากราคา (Non-Price Factors) 40%
3. ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2539 อนุมัติในหลักการให้มีการเพิ่มการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนในช่วงปี 2543 - 2546 จำนวน 1,600 เมกะวัตต์ โดยคัดเลือกจากโครงการที่ได้ยื่นข้อเสนอ ต่อ กฟผ. และตามประกาศรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP ในรอบแรก โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการประเมินและ คัดเลือกข้อเสนอจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรับไปดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ได้ให้อำนาจ กฟผ. ที่จะพิจารณา เพิ่มลดปริมาณการซื้อขายกระแสไฟฟ้ากับเอกชนได้ในอัตราร้อยละ 20 เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยผลการพิจารณาคัดเลือกการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน เป็นดังนี้
3.1 การรับซื้อไฟฟ้าเอกชนระยะที่ 1 (พ.ศ. 2539-2543) จำนวน 3 ราย รวม 1,721 เมกะวัตต์ ได้แก่ บริษัท Independent Power (Thailand) Co., Ltd. (IPT) จำนวน 700 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็น เชื้อเพลิง, บริษัท Tri Energy Co., Ltd. (TECO) จำนวน 700 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง, และบริษัท Eastern Power and Electric Co., Ltd. (EPEC) ขนาดกำลังผลิต 321.25 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โดยบริษัท IPT และ TECO ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว
3.2 การรับซื้อไฟฟ้าเอกชนระยะที่ 2 (พ.ศ 2544-2546) จำนวน 4 ราย รวม 4,114 เมกะวัตต์ ได้แก่ บริษัท Union Power Development Co., Ltd. จำนวน 1,400 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง, บริษัท Bowin Power Co., Ltd. จำนวน 673 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง, บริษัท BLCP Power Limited จำนวน 1,341 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง, และบริษัท Gulf Power Generation Co., Ltd. จำนวน 700 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โดยบริษัท Union Power Development Co., Ltd. ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว
4. การดำเนินงานในการบรรเทาผลกระทบของค่าเงินบาทลอยตัวต่อโครงการ IPP มีดังนี้
4.1 โครงการ IPP 3 โครงการที่ได้ลงนามกับ กฟผ. ไปแล้ว คณะอนุกรรมการประเมินและคัดเลือกข้อเสนอการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชน ได้รับการยืนยันจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าการออกประกาศของกระทรวงการ คลังเรื่องการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย (Change in Law) ซึ่งตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ผู้ลงทุนมีสิทธิขอให้ กฟผ. พิจารณาปรับราคา และหามาตรการช่วยเหลือ ส่วนโครงการ IPP อีก 4 โครงการที่ได้มีการเจรจาเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการลงนามในสัญญา PPA ตามประกาศเชิญชวน IPP กำหนดให้สามารถเจรจาเพื่อขอปรับสัญญาได้
4.2 คณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการเจรจากับผู้พัฒนาโครงการทั้ง 7 ราย จนสามารถหาข้อยุติ ที่เป็นที่ยอมรับได้ของทั้ง 2 ฝ่าย และได้มีการลงนามในข้อตกลง (Memorandum of Understanding : MOU) ซึ่งสรุปสาระสำคัญของข้อตกลงได้ดังนี้
(1) การปรับราคาซื้อขายไฟฟ้า โดยปรับปรุงสูตรการกำหนดค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment : AP) บางส่วนให้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ ค่า AP จะสูงขึ้นหากอัตราแลกเปลี่ยนลดต่ำกว่า 27 บาท/เหรียญสหรัฐฯ
(2) การเพิ่มกำลังการผลิต ตกลงให้ IPP บางรายสามารถเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อช่วยให้ IPP สามารถจัดหาเงินกู้มาดำเนินโครงการได้ ดังนี้ BLCP เพิ่มกำลังการผลิตเป็น 1,346.5 เมกะวัตต์ Bowin เพิ่มกำลังการผลิตเป็น 713 เมกะวัตต์ และ EPEC เพิ่มกำลังการผลิตเป็น 350 เมกะวัตต์
(3) การเลื่อนวันเริ่มต้นจ่ายไฟฟ้า เนื่องจากการจัดหาเงินกู้ประสบความล่าช้า จึงตกลงให้ IPT Union Power และ Gulf Power สามารถเลื่อนวันเริ่มต้นจ่ายไฟฟ้าออกไปได้ เป็นเวลาประมาณ 3-6 เดือน
(4) การจำกัดวงเงินค่าปรับสำหรับโครงการก๊าซธรรมชาติ ทั้ง 4 โครงการ ให้จำกัด วงเงินค่าปรับ (Penalties) ของรายรับส่วน AP ไว้ที่ 1% ของค่า APR1n (บาท/กิโลวัตต์) เป็นเวลา 12 เดือน นับจากวันจ่ายไฟเข้าระบบของ กฟผ.
(5) การเปลี่ยนแปลงทางเทคนิค ให้ Union Power เปลี่ยนค่าอุณหภูมิอ้างอิงของ cooling water จาก 32.2 °C เหลือ 28 °C
(6) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสัดส่วนผู้ถือหุ้น ให้ TECO เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสัดส่วนผู้ถือหุ้น เป็นดังนี้ Banpu Gas Power Ltd. 55.6%, Texaco 54.4%
5. คณะกรรมการ กฟผ. ได้พิจารณาเรื่องการแก้ไขผลกระทบที่ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนได้รับจากการเปลี่ยน แปลงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา และได้มีมติเห็นชอบในบางประเด็น ดังนี้
5.1 เห็นชอบหลักการการปรับสูตรราคารับซื้อไฟฟ้าใหม่ โดยสัดส่วนเงินลงทุนที่เป็นเงินตรา ต่างประเทศที่ใช้ในการคำนวณสูตรการปรับราคารับซื้อไฟฟ้าให้แก่ IPP ให้จ่ายตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่ ไม่เกิน 90% สำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมกังหันก๊าซ และไม่เกิน 72% สำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนถ่านหิน
5.2 เห็นชอบการขอปรับปรุงสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มเติมในส่วนของ non-price ที่ IPP ทั้ง 6 ราย ขอมา ยกเว้นการขอเพิ่มขนาดกำลังการผลิตของ Bowin, BLCP, และ EPEC
5.3 ไม่เห็นชอบการจำกัดค่าปรับในช่วง 12 เดือนแรกไว้ไม่เกิน 1% ของรายได้จาก APR1 ของโครงการที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
6. IPP ทั้ง 7 ราย ได้พิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมการ กฟผ. ในข้อ 5 แล้ว ไม่สามารถรับข้อเสนอของคณะกรรมการ กฟผ. ได้ เนื่องจากจะทำให้โครงการไม่มีความคุ้มทุน และไม่สามารถหาเงินกู้ได้ ดังนั้น เพื่อให้ การดำเนินการแก้ไขปัญหาผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว สำหรับโครงการ IPP มีข้อยุติโดยเร็ว สพช. มีความเห็น ดังนี้
6.1 การดำเนินการแก้ไขผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวต่อโครงการ IPP โดยเร็วเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ มิฉะนั้นจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความมั่นใจของผู้ลงทุนและสถาบันการเงินใน เศรษฐกิจไทย และระบบการบริหารงานทางด้านพลังงานของรัฐบาลไทย ประกอบกับ กฟผ. ได้นำโครงการ IPP ทั้ง 7 โครงการ บรรจุไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. แล้ว หากโครงการดังกล่าวจะต้องยกเลิกหรือเลื่อนออกไปอีก ก็จะมีผลต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ
6.2 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการประเมินและคัดเลือกข้อเสนอการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ ผลิตไฟฟ้าเอกชน เป็นผู้เจรจากับผู้พัฒนาโครงการ IPP ซึ่งการเจรจาดังกล่าวได้ ข้อตกลงทั้งส่วนของการปรับราคาซื้อขายไฟฟ้า และการแก้ไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้านอกเหนือจากสูตรราคา (Non Price) โดยข้อตกลงทั้ง 2 ส่วน จะแยกจากกันไม่ได้ เนื่องจากคณะอนุกรรมการฯ ได้กำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนฐานอยู่ ณ ระดับ 27 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ดังนั้น IPP จึงขอแก้ไขสัญญาในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับราคาไฟฟ้าด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงขนาดกำลังการผลิต
6.3 การขอเปลี่ยนแปลงขนาดกำลังการผลิตของ IPP นั้นจะมีผลทำให้กำลังการผลิตรวมของทั้ง 7 โครงการเปลี่ยนแปลงจาก 5,835 เมกะวัตต์ เป็น 5,909 เมกะวัตต์ ซึ่งยังอยู่ในอำนาจที่ กฟผ. จะดำเนินการได้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2539 ที่ได้ให้อำนาจ กฟผ. ที่จะพิจารณาเพิ่มลดปริมาณการ ซื้อขายกระแสไฟฟ้ากับเอกชนได้ในอัตราร้อยละ 20 ของปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าที่ได้รับอนุมัติเพิ่มเติม 1,600 เมกะวัตต์
6.4 คณะกรรมการ กฟผ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2540 และเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2540 ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของอนุกรรมการฯ เพียงบางส่วน ซึ่งแตกต่างจากข้อตกลงที่ได้ลงนามไปแล้วในสาระสำคัญ และ กฟผ. ได้ดำเนินการแจ้ง IPP ทั้ง 7 โครงการแล้ว ปรากฏว่า IPP ไม่ยอมรับข้อเสนอของคณะกรรมการ กฟผ. หากจะให้ IPP รับข้อเสนอของคณะกรรมการ กฟผ. แล้ว อัตราแลกเปลี่ยนฐานจะต้องลดจาก 27 บาท/เหรียญสหรัฐฯ เป็น 25-26 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น
มติของที่ประชุม
1.อนุมัติข้อเสนอการบรรเทาผลกระทบของค่าเงินบาทลอยตัวต่อโครงการผู้ผลิต ไฟฟ้าอิสระ (IPP) ทั้งในส่วนของการปรับสูตรราคาซื้อขายไฟฟ้า และการปรับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับสูตรราคาตามที่ได้มี การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง กฟผ. กับ IPP ทั้ง 7 โครงการแล้ว ดังรายละเอียดตามข้อ 4
2.ให้ กฟผ. เร่งดำเนินการแก้ไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ IPP ทั้ง 3 โครงการที่ได้มีการลงนามไปแล้ว สำหรับ IPP อีก 4 โครงการ ที่ยังไม่มีการลงนามในสัญญาให้ กฟผ. ดำเนินการแก้ไขข้อความในสัญญา และให้มีการลงนามโดยด่วนต่อไป
เรื่องที่ 8 การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนดำเนินธุรกิจที่ปรึกษางานเหมืองของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สรุปสาระสำคัญ
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เสนอเรื่องขอจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ระหว่าง กฟผ. บริษัท Rheinbraun Engineering Und Wasser GmbH (RE) และบุคคลอื่น โดยใช้ชื่อบริษัทว่า "EGAT - RHEINBRAUN ENGINEERING COMPANY LIMITED" (EREC) ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายรักเกียรติ สุขธนะ) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ และได้ส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการประสาน การดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า เพื่อพิจารณาในรายละเอียด ซึ่งรวมถึงร่างสัญญาและข้อตกลงร่วมจัดตั้งบริษัท ประกอบด้วย สัญญาการผูกพัน (Association Contract) และสัญญาการร่วมมือ (Cooperation Contract) ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
2. คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้าได้มีการพิจารณาในราย ละเอียด เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2540 และมีมติเห็นชอบในหลักการการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนดำเนินธุรกิจที่ปรึกษางาน เหมือง และมอบหมายให้ กฟผ. จัดทำรายละเอียดแผนงานการดำเนินการจัดตั้งบริษัทฯ เพิ่มเติม และเห็นว่าควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการแข่งขันด้านการตลาดด้วย รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของข้อความในสัญญาการผูกพัน (Association Contract) ฉบับภาษาอังกฤษ และฉบับภาษาไทยให้สอดคล้องกัน
3. กฟผ. ได้เสนอรายละเอียดแผนงานการดำเนินการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนดำเนินธุรกิจที่ ปรึกษางานเหมือง เพื่อประกอบเรื่องขออนุมัติจัดตั้งบริษัทร่วมทุนฯ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
3.1 เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปรับโครงสร้างแปรรูปกิจการไฟฟ้าของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดหาไฟฟ้า จากนโยบายดังกล่าว กฟผ. จึงได้พิจารณาข้อเสนอของบริษัท Rheinbraun Engineering Und Wasser GmbH (RE) ที่เชิญชวน กฟผ. ร่วมทุนจัดตั้งบริษัทเพื่อดำเนินธุรกิจด้านวิศวกรที่ปรึกษางานเหมืองและงาน อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออก และเห็นว่าข้อเสนอของบริษัท RE จะเป็นประโยชน์ต่องานเหมืองในอนาคต
3.2 บริษัทที่จัดตั้งใหม่เป็นบริษัทร่วมทุนชื่อ "EGAT-RHEINBRAUN ENGINEERING COMPANY LIMITED : EREC" (บริษัทอีแกต-ไรน์บราวน์ เอ็นยิเนียริ่ง จำกัด) ประกอบด้วยผู้ร่วมทุน 3 กลุ่ม คือ กฟผ. ถือหุ้นร้อยละ 49, บริษัท RE ถือหุ้นร้อยละ 40, และบริษัท เอ็กโก้ธุรกิจเหมือง จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 11 โดยบริษัทฯ มีเงินทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 10 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 10,000 หุ้นๆ ละ 1,000 บาท ระยะเวลาดำเนินงานในช่วงแรกประมาณ 2 ปี
3.3 บริษัท EREC มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้บริการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ให้แก่หน่วยงานภายนอก กฟผ. ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านในบริเวณเอเชียตะวันออก เพื่อสร้างชื่อเสียงของบริษัทฯ ให้เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของ กฟผ. ให้เป็นที่ปรึกษาระดับนานาชาติ
3.4 โครงสร้างของบริษัท EREC ประกอบด้วย คณะกรรมการบริษัท มีจำนวนรวม 5 คน และพนักงานของบริษัท ประกอบด้วย กรรมการผู้จัดการ 1 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท และเลขานุการกรรมการผู้จัดการ 1 คน โดยระยะแรกพนักงานทั้ง 2 คน จะเป็นการขอยืมตัวจากพนักงาน กฟผ. มาปฏิบัติงานกับบริษัท EREC ชั่วคราวเป็นระยะเวลา 2 ปี
3.5 แผนธุรกิจ ประกอบด้วย แผนการตลาด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างยอดขายจากการให้บริการด้านวิศวกรรม เหมืองแร่ และมุ่งสร้างภาพพจน์ด้านชื่อเสียงของบริษัท (Corporate Awareness) และคุณภาพการให้บริการให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะเน้นที่อุตสาหกรรมถ่านหินเป็นอันดับแรก และ แผนการเงิน โดยรายได้หลักของบริษัทฯ มาจากค่านายหน้าในการติดต่องาน และรายได้จากส่วนของการบริหารโครงการต่างๆ
4. กฟผ. ได้ดำเนินการตามมติคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้าโดย ได้แก้ไขข้อความในสัญญาการผูกพัน (Association Contract) ฉบับภาษาไทย และฉบับภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกันแล้ว
มติของที่ประชุม
เห็นชอบการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนดำเนินธุรกิจที่ปรึกษางานเหมืองของ กฟผ. รวมทั้ง สัญญาการผูกพัน (Association Contract) และสัญญาการร่วมมือ (Cooperation Contract) ทั้งนี้ โครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทร่วมทุนจะต้องไม่ทำให้บริษัทร่วมทุนดังกล่าวมี สภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ หากมีสภาพดังกล่าวก็ให้ดำเนินการลด สัดส่วนการถือหุ้นของ กฟผ. ลง รวมทั้งโครงสร้างดังกล่าวจะต้องไม่ขัดกับข้อตกลงที่รัฐบาลมีกับกองทุนการ เงินระหว่างประเทศด้วย
เรื่องที่ 9 ร่างบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 เห็นชอบแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์) เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยไปเจรจากับรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน เรื่องการขยายความร่วมมือด้านพลังงานของทั้งสองประเทศ และการเจรจารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำจิงหง ในมณฑลยูนนาน เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ประเทศไทย รวมทั้งเห็นชอบในหลักการของร่างบันทึกความเข้าใจเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจาก สาธารณรัฐประชาชนจีน ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเจรจารับซื้อไฟฟ้ากับรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อไป
2. หลังจากที่กระทรวงการไฟฟ้าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้พิจารณาแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับที่ได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรีแล้วเสร็จ และได้ส่งกลับมาเพื่อให้ฝ่ายไทยได้พิจารณาและดำเนินการต่อไป พร้อมกันนี้ได้เสนอว่า หากมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ในระดับกระทรวงต่อกระทรวง แทนที่จะเป็นระดับรัฐบาลต่อรัฐบาลของทั้งสองประเทศแล้ว ก็จะช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวได้
3. การแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ ของกระทรวงการไฟฟ้าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนดังกล่าวข้างต้น ได้มีการเสนอขอแก้ไขในข้อ 7 จากที่ฝ่ายไทยเสนอ โดยขอให้แก้ไขเป็น "กระทรวงการไฟฟ้าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จะอำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นแก่นักลงทุนและสถาบันการ เงินของไทย ตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนของจีนที่กำหนดไว้ในการดำเนินโครงการไฟฟ้าใน สาธารณรัฐประชาชนจีน"
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจเรื่อง การรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
2.มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับการบริหาร ราชการ หรือสั่งการและปฏิบัติราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจในข้อ 1 แต่ทั้งนี้หากทั้งสองฝ่ายเห็นควรให้มีการแก้ไขร่างบันทึกดังกล่าวในราย ละเอียดปลีกย่อย ซึ่งไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญก็ให้รองนายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายสามารถลงนามในบันทึกดังกล่าวที่ได้แก้ไขแล้ว
เรื่องที่ 10 ร่างบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้าโครงการน้ำงึม 2 และน้ำงึม 3
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป. ลาว เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลง ร่วมกันที่จะส่งเสริมและพัฒนาไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้ประเทศไทยในปริมาณ 3,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2549 และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานความร่วมมือพัฒนาไฟฟ้าใน สปป.ลาว (คปฟ.-ล) และคณะกรรมการพลังงานและไฟฟ้าแห่ง สปป.ลาว (Committee for Energy and Electric Power-CEEP) เพื่อทำหน้าที่ในการประสานความร่วมมือในการพัฒนาโครงการให้เป็นไปตามบันทึก ความเข้าใจดังกล่าว
2. ในการประชุมระหว่าง คปฟ-ล. กับ CEEP เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 ณ สปป.ลาว ทั้ง 2 ฝ่าย ได้เจรจาตกลงการซื้อขายไฟฟ้าโครงการน้ำงึม 2 และน้ำงึม 3 จนสามารถได้ข้อยุติและได้นำไปสู่การเจรจาในรายละเอียดของบันทึกความเข้าใจ ทั้งสองโครงการ
3. หลังจากที่การเจรจาในรายละเอียดของบันทึกความเข้าใจทั้งสองโครงการ ได้ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อย และ คปฟ-ล. ก็ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบในร่างบันทึกความเข้าใจของโครงการน้ำงึม 2 และน้ำงึม 3 แล้ว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และกลุ่มผู้ลงทุนโครงการน้ำงึม 2 และน้ำงึม 3 จึงได้มีการร่วมลงชื่อย่อเพื่อการผูกพันเบื้องต้น (Initial) และพร้อมนี้ กฟผ. ก็ได้ส่งร่างบันทึกความเข้าใจของทั้งสอง โครงการดังกล่าวมายังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
4. โครงการน้ำงึม 2 เป็นโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ตั้งอยู่บนลำน้ำงึมใน สปป.ลาว มีกำลังผลิต ติดตั้ง 615 เมกะวัตต์ คู่สัญญาประกอบด้วย กฟผ. และ Shlapak Group Co., Ltd มีอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 30 ปี นับจากวันเดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ ในวันที่ 1 มีนาคม 2546 โดยมีจุดส่งมอบไฟฟ้า ณ จังหวัดหนองคาย และจะมีการรับซื้อไฟฟ้า Primary Energy ในราคาเฉลี่ยตลอดอายุโครงการเท่ากับ 5.63 เซนต์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง
5. โครงการน้ำงึม 3 เป็นโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ตั้งอยู่บนน้ำงึมใน สปป.ลาว มีกำลังผลิตติดตั้ง 460 เมกะวัตต์ คู่สัญญาประกอบด้วย กฟผ. และ Nam Ngum 3 Power Company Limited (การไฟฟ้าลาวและ MDX Lao Company Limited) มีอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปี นับจากวันเดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ในวันที่ 1 มีนาคม 2546 โดยมีจุดส่งมอบไฟฟ้า ณ จังหวัดหนองคาย และจะมีการรับซื้อไฟฟ้า Primary Energy ในราคาเฉลี่ยตลอดอายุโครงการเท่ากับ 5.78 เซนต์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง สาเหตุที่ราคา รับซื้อไฟฟ้าของโครงการน้ำงึม 3 สูงกว่าโครงการน้ำงึม 2 เนื่องจากรัฐบาลแห่ง สปป. ลาว เป็นผู้ถือหุ้นใน โครงการนี้ถึงร้อยละ 45 และค่าภาคหลวงของโครงการน้ำงึม 3 ก็สูงกว่าโครงการน้ำงึม 2 ด้วย
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าโครงการน้ำงึม 2 และน้ำงึม 3 ฉบับที่มีการ ลงชื่อย่อเพื่อการผูกพันเบื้องต้น (Initial) เพื่อให้ กฟผ. นำไปลงนามในบันทึกความเข้าใจกับกลุ่มผู้ลงทุนโครงการ น้ำงึม 2 และน้ำงึม 3 ต่อไป
2.อนุมัติในหลักการว่า หากคณะกรรมการพลังงานและไฟฟ้าแห่ง สปป. ลาว (Committee for Energy and Electric power: CEEP) เสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของโครงการน้ำงึม 2 และน้ำงึม 3 ซึ่งไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าไฟฟ้าเฉลี่ย หรือมีการเปลี่ยนแปลงแนวสายส่งใน สปป. ลาว สำหรับโครงการทั้งสอง โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบส่งฝั่งไทยที่สร้างเพื่อเชื่อมโยงกัน ณ ชายแดนไทย-ลาว ก็ให้ กฟผ. ดำเนินการแก้ไขรายละเอียดของร่างบันทึกความเข้าใจ เรื่องการรับซื้อไฟฟ้าโครงการน้ำงึม 2 และ น้ำงึม 3 ในส่วนที่เกี่ยวข้องดังกล่าวได้
เรื่องที่ 11 เรื่องแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (ฉบับที่ 2) ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
สรุปสาระสำคัญ
1.คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539 เห็นชอบแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Pipeline Master Plan) ฉบับที่ 1 ปี ค.ศ. 1997-2005 ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2540 เห็นชอบในหลักการของกรอบและทิศทางการปรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปรับปรุงกรอบการลงทุนรวมของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้จากภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณการ ใช้พลังงานโดยรวมของประเทศ ปตท. จึงได้ปรับแผน การลงทุนและแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซฉบับที่ 1 ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อขออนุมัติแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Pipeline Master Plan) ฉบับที่ 2 ปี ค.ศ. 1998-2006
2.สาระสำคัญของแผนแม่บทระบบท่อก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 2 ปี ค.ศ. 1998-2006 สรุปได้ดังนี้
2.1 การปรับปรุงแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซฯ
(1) ดำเนินการโครงการติดตั้งเครื่องเพิ่มความดันก๊าซฯ ในทะเล (Midline Compressor) ควบคู่ไปกับการวางท่อส่งก๊าซฯ บนบกจากจังหวัดระยองไปโรงไฟฟ้าบางปะกงเส้นที่ 3 และการวางท่อส่งก๊าซฯ จาก JDA ไปยังแท่นชุมทางเอราวัณ 2 (JDA-ERP2) ทดแทนการวางท่อส่งก๊าซฯ เส้นที่ 3 ในทะเลจาก JDA ไปราชบุรี ซึ่งการดำเนินการนี้จะต้องตัดเชื่อมท่อส่งก๊าซฯ สายประธานระยะที่ 1 และท่อคู่ขนานในทะเลด้วย เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะทำให้ระบบท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลตามแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 มีขีดความสามารถจัดส่งก๊าซฯ ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 650 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เมื่อรวมกับระบบท่อเดิมแล้วจะทำให้ความสามารถของระบบท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลเพิ่มขึ้นเป็น 2650 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งเพียงพอในการบริการจัดส่งก๊าซฯ ในช่วงระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า
(2) ลดขนาดท่อราชบุรี-วังน้อย จากเดิมเส้นผ่าศูนย์กลาง 36 นิ้ว และเครื่องเพิ่มความดัน ต้นทางและปลายทาง เป็นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 นิ้ว โดยชะลอการลงทุนติดตั้งเครื่องเพิ่มความดันก๊าซฯ ออกไปจนกว่าจะเห็นว่ามีความจำเป็น
2.2 โครงการในแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 ประกอบด้วย โครงการจำนวน 12 โครงการ ดังนี้
(อัตราแลกเปลี่ยน 1US$ = 36 บาท)
โครงการหลัก | กำหนดแล้วเสร็จ | เงินลงทุน (ล้านบาท) |
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่งไพลิน | ระยะที่ 1 1998 ระยะที่ 2 1999 |
2,231 |
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่ง JDA ไปเอราวัณ | ปลายปี 2000 | 20,040 |
โครงการ Midline Compressor พร้อม Platform และท่อต่อ | ปลายปี 2000 | 8,222 |
โครงการท่อส่งก๊าซฯ ระยองไปบางปะกง | ปลายปี 2000 | 9,331 |
โครงการท่อส่งก๊าซฯ ราชบุรี-วังน้อย | กลางปี 1999 | 8,457 |
โครงการท่อส่งก๊าซฯ ราชบุรี-วังน้อย ไปโรงจักรพระนครใต้ | ไตรมาสที่ 1 ปี 2000 | 2,832 |
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่งเบญจมาศเชื่อมท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่งทานตะวัน | กลางปี 1999 | 487 |
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากท่อคู่ขนานไปโรงไฟฟ้าทับสะแก | ปลายปี 2006 | 9,172 |
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่ง JDA ไปสงขลา | ปลายปี 2000 | 5,729 |
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากสงขลาไปยะลา (ชายแดนไทย-มาเลเซีย) | ปลายปี 2000 | 2,830 |
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากโรงแยกก๊าซขนอมไปสุราษฎร์ธานี | ปลายปี 2002 | 2,508 |
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานีไปโรงไฟฟ้ากระบี่ | ปลายปี 2004 | 6,239 |
รวมเงินลงทุนทั้งสิ้น | 78,078 |
2.3 โครงการเร่งด่วนที่มีความจำเป็นจะต้องเร่งรัดการดำเนินการมีจำนวน 6 โครงการ เพื่อ สร้างความมั่นคงให้กับระบบจัดจ่ายก๊าซฯ ของประเทศและสามารถจัดส่งก๊าซฯ จากสหภาพพม่าไปเสริมบริเวณโรงไฟฟ้าวังน้อยได้ตามความจำเป็น ดังนี้
ท่อไพลิน - ERP 2 กำหนดแล้วเสร็จปลายปี ค.ศ. 1998
ท่อราชบุรี - วังน้อย กำหนดแล้วเสร็จกลางปี ค.ศ. 1999
ท่อ JDA - เอราวัณ กำหนดแล้วเสร็จกลางปี ค.ศ. 2000
เครื่องเพิ่มความดันก๊าซฯ ในทะเล กำหนดแล้วเสร็จกลางปี ค.ศ. 2000
ท่อระนอง - บางปะกง เส้นที่ 3 กำหนดแล้วเสร็จกลางปี ค.ศ. 2000
ท่อเบญจมาศ กำหนดแล้วเสร็จกลางปี ค.ศ. 1999
2.4 เงินลงทุนในการดำเนินงานตามแผนแม่บทดังกล่าว มีวงเงินรวมประมาณ 78,078 ล้านบาท (ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1 US$ = 36 บาท) ซึ่งจะมีการกระจายการลงทุนตามความจำเป็นในช่วงเวลาที่เหมาะสม และแผนการดำเนินงานจะมีวงเงินการลงทุนสูงสุดในปี ค.ศ. 2000 กล่าวคือ ประมาณ 27,423 ล้านบาท โดยใช้เงินลงทุนส่วนหนึ่งจากรายได้ของ ปตท.เอง และเงินกู้จากต่างประเทศ สัดส่วนประมาณ 25 : 75 ซึ่ง ปตท.จะดำเนินการศึกษาผลตอบแทนการลงทุนโครงการในแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 ในแต่ละโครงการต่อไป และเมื่อเปรียบเทียบเงินลงทุนของแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซฯ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 ทำให้เงินลงทุนทั้งหมดเปลี่ยนแปลงจาก 112,394 ล้านบาท มาเป็น 78,078 ล้านบาท (ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1 US$ = 36 บาท) ทำให้สามารถลดการลงทุนได้เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 34,316 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 2 ในช่วงปี พ.ศ. 2541-2549 ตามที่ ปตท. เสนอ เพื่อใช้เป็นกรอบในการลงทุนทางด้านการก่อสร้างระบบท่อและอุปกรณ์ต่างๆ โดยมีโครงการที่จะอนุมัติในช่วงปี พ.ศ. 2541-2549 จำนวน 12 โครงการ วงเงินลงทุนทั้งสิ้น 78,078 ล้านบาท
2.ให้ใช้แผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติตามข้อ 1 เป็นกรอบของการพิจารณาในรายละเอียดของโครงการในช่วงปี พ.ศ. 2541-2549 โดยไม่ต้องเสนอขออนุมัติในระดับนโยบายอีก ยกเว้นโครงการที่มีประเด็นนโยบายพิเศษ โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการในช่วง พ.ศ. 2541-2549 จำนวน 12 โครงการ ดังรายละเอียดตามข้อ 2.2 ทั้งนี้ ให้ ปตท. นำเสนอโครงการตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 เห็นชอบแนวทางในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในกิจการด้านพลังงาน โดยมอบหมายให้ ปตท. กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะ-กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) รับไปจัดทำรายละเอียดเรื่องการขายหุ้น ปตท. ในบริษัท ปตท.สผ. จำกัด ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์) ได้เป็นประธานในการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 และได้มีมติมอบหมายให้ ปตท. จัดทำแผนการขายหุ้นในบริษัท ปตท.สผ. ซึ่งอาจจะว่าจ้างที่ปรึกษาเพิ่มเติมทำการศึกษาเฉพาะเรื่อง เมื่อการจัดทำแผนการขายหุ้นแล้วเสร็จให้มีการจัดประชุมระหว่างหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมแผนการขายหุ้นในบริษัท ปตท.สผ. เสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติต่อไป
2. ปตท. ได้มีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา 9 แห่ง ดำเนินการศึกษาแนวทางการแปรรูป ปตท. รวมทั้งการขายหุ้นของ ปตท. ในบริษัท ปตท.สผ. และบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ สพช. ได้มีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวเช่นกัน และในการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง สพช. ปตท. และ ปตท.สผ. ได้พิจารณาแผนการจำหน่ายหุ้นของบริษัท ปตท.สผ. ตามผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาและเห็นควรให้เสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงาน แห่งชาติ ทั้งนี้คณะกรรมการ ปตท. ได้ให้ความเห็นชอบแผนดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2540
3. ประเด็นพิจารณาประกอบการจัดทำแผนการขายหุ้นในบริษัท ปตท.สผ. ประกอบด้วย ภาวะตลาดหุ้น (Market Position) ทางเลือกในการเสนอขายหุ้น ปตท.สผ. โดยการเสนอขายให้กับพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Investor) และการเสนอขายให้กับนักลงทุนทั่วไป กำหนดเวลาและโครงสร้างในการเสนอขายผลกระทบต่อการ แปรรูปของ ปตท. ผลกระทบต่อ ปตท.สผ. จำนวนหุ้นที่จะเสนอขาย และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการเสนอขาย
4. ข้อเสนอแนวทางการจำหน่ายหุ้น ปตท.สผ. มีดังนี้
4.1 การลดสัดส่วนการถือหุ้นของ ปตท. ใน ปตท.สผ. อาจทำโดยวิธีการเพิ่มทุนของ ปตท.สผ. และ/หรือ วิธีการจำหน่ายหุ้นในส่วนเดิมที่ ปตท. ถือครอง
4.2 แนวทางการจำหน่ายหุ้น ปตท.สผ. ควรเลือกวิธีการจำหน่ายหุ้นกับนักลงทุนทั่วไป โดยสัดส่วนนักลงทุนไทยและต่างชาติควรพิจารณาตามภาวะตลาดในช่วงที่เสนอขาย
4.3 ระยะเวลาที่เป็นไปได้ในการจำหน่ายหุ้นของ ปตท.สผ. โดยเร็วที่สุดควรจะเป็นช่วงครึ่งปีแรกของปี 2541 และการจำหน่ายหุ้นของ ปตท. อันเนื่องมาจากการแปรรูป ควรดำเนินการหลังจากการจำหน่ายหุ้นของ ปตท.สผ. แล้วประมาณ 6-12 เดือน ซึ่งจะเป็นช่วงประมาณปลายปี 2541 ถึงต้นปี 2542
4.4 การถือหุ้นของ ปตท. ใน ปตท. สผ. กำหนดให้มีสัดส่วนการถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน แต่ภายใต้ภาวะตลาดในปัจจุบันปริมาณหุ้นที่จะจำหน่ายให้กับนักลงทุนในระยะแรก ควรจำหน่ายประมาณร้อยละ 5-10 ของปริมาณหุ้นทั้งหมดของบริษัท และคำนึงถึงการลดสัดส่วนการถือหุ้นโดยการเพิ่มทุนของ ปตท.สผ. เองด้วย
4.5 ให้ ปตท.และ/ หรือ ปตท.สผ. คัดเลือกและว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ดำเนินการจำหน่ายหุ้นด้วยวิธีการขายให้นักลงทุนทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ และดำเนินการจำหน่ายหุ้นเมื่อตลาดมีความพร้อม
4.6 การขอยกเว้นกฎระเบียบที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับการจำหน่ายจ่ายโอน หุ้น หรือกิจการของรัฐวิสาหกิจนั้น เพื่อให้สามารถดำเนินการจำหน่ายหุ้นได้ในระยะเวลาที่กำหนด โดยการกำหนดราคาและวิธีการจำหน่ายหุ้น ปตท.สผ. จะเป็นไปตามกลไกตลาด และวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาวะตลาด ณ ช่วงเวลาที่ดำเนินการจำหน่ายหุ้น
4.7 ปตท.สผ. ควรต้องแก้ไขข้อบังคับของบริษัทในเรื่องข้อจำกัดในการถือหุ้นของผู้ถือหุ้น ต่างชาติ ซึ่งในปัจจุบันกำหนดให้ผู้ถือหุ้นต่างชาติถือได้ร้อยละ 20 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ซึ่งสัดส่วนการถือหุ้นโดยต่างชาติ อยู่ในระดับร้อยละ 20 แล้ว
มติของที่ประชุม
เห็นชอบข้อเสนอแผนการจำหน่ายหุ้นของ บริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) และมอบหมายให้ ปตท. และบริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) รับไปดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยให้รายงานผลการดำเนินงานต่อ สพช. ทุกระยะ
เรื่องที่ 13 การขายหุ้นของกระทรวงการคลังในบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 เห็นชอบแนวทางในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในกิจการด้านพลังงาน โดยมอบหมายให้ กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) รับไปจัดทำรายละเอียด เรื่อง การขายหุ้นของกระทรวงการคลังในบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัดโดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์) ได้เป็นประธานในการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 และได้มอบหมายให้ สพช. และกระทรวงการคลังนัดหารือเพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางในการขายหุ้นของกระทรวง การคลัง โดย สพช. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาเรื่องดังกล่าว และได้นำเสนอผลการศึกษาเพื่อหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลังและสพช. ซึ่งผลการหารือเห็นควรให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อ พิจารณา
2. แผนการขายหุ้นของกระทรวงการคลังในบริษัท เอสโซ่ฯ มีดังนี้
2.1 ประเด็นประกอบการพิจารณา มีดังนี้
(1) วัตถุประสงค์ของการดำเนินการขายหุ้นดังกล่าว ประกอบด้วย
รัฐบาลมีอำนาจการต่อรองทำให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการขายหุ้น
วิธีการเป็นที่ยอมรับและได้รับความร่วมมือจากบริษัท เอสโซ่ฯ
ขั้นตอนการดำเนินการโปร่งใสเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ระยะเวลาการดำเนินการสั้น
ช่วยระดมเงินทุนจากต่างประเทศ
ช่วยพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นที่สนใจในระดับนานาชาติ
สอดคล้องกับเงื่อนไขในสัญญาของบริษัท เอสโซ่ฯ กับกระทรวงอุตสาหกรรม
(2) ทางเลือกในการเสนอขายหุ้นมี 3 ทางเลือก คือ
ทางเลือกที่ 1 เสนอขายคืนให้กับกลุ่มเอสโซ่ โดยมีการประเมินราคาโดยผู้ประเมินอิสระจำนวนหนึ่ง
ทางเลือกที่ 2 เสนอขายให้แก่พันธมิตรธุรกิจ (Strategic Partner)
ทางเลือกที่ 3 เสนอขายให้กับนักลงทุนโดยทั่วไป และนำบริษัทเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(3) ผลการวิเคราะห์ พบว่าทางเลือกที่ 1 และ 3 คือ การเสนอขายคืนให้แก่บริษัทเอสโซ่ฯ และการเสนอขายให้แก่นักลงทุนทั่วไป โดยนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดว่า มีความเหมาะสมที่ใกล้เคียงกัน การเปิดทางให้สามารถเจรจาได้ทั้ง 2 วิธี จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
2.2 ข้อเสนอแนะในการเจรจาต่อรอง บริษัทที่ปรึกษาได้มีข้อเสนอแนะเพื่อใช้ประกอบการเจรจาต่อรองกับบริษัทเอส โซ่ฯ ในการซื้อหุ้นคืนโดยกำหนดประเด็นในการเจรจาต่อรองไว้อย่างละเอียด
2.3 ขั้นตอนการดำเนินการขายหุ้นคืน ใช้ระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 4 เดือน ส่วนการดำเนินงาน ในการเสนอขายหุ้นให้นักลงทุนทั่วไป ใช้ระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 6 เดือน
มติของที่ประชุม
1.ให้กระทรวงการคลังรับไปเจรจากับบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อขายหุ้นคืนทั้งหมดหรือเจรจาทางเลือกอื่นที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่รัฐ มากที่สุด
2.ให้เพิ่มกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการพิจารณาจัดทำแผนการขายหุ้นของกระทรวงการคลังใน บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด ด้วย เนื่องจากกระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ในฐานะคู่สัญญาของบริษัท เอสโซ่ฯ และเมื่อการจัดทำแผนแล้วเสร็จให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแหงชาติ พิจารณาต่อไป
เรื่องที่ 14 การแปรรูปกิจการผลิตภัณฑ์คอนกรีตของการไฟฟ้านครหลวง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 เห็นชอบแนวทางในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในกิจการด้านพลังงาน โดยมอบหมายให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) รับไปจัดทำรายละเอียด เรื่อง การแปรรูป กิจการผลิตภัณฑ์คอนกรีตของ กฟน. เพื่อนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
2. กฟน. ได้ว่าจ้างบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าว และได้มีการนำเสนอผลการศึกษาในการหารือระหว่าง กฟน. และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) เพื่อพิจารณานำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติต่อไป
3. แผนการแปรรูปกิจการผลิตภัณฑ์คอนกรีต กฟน. มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
3.1 การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จำกัด (ธันวาคม 2540) มีแนวทางดังนี้
(1) โครงสร้างผู้ถือหุ้นในระยะแรก กฟน. ถือหุ้นในบริษัทร้อยละ 100 ส่วนในระยะที่สอง ปี พ.ศ. 2542-2543 กฟน. ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท และมีสัดส่วนการถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 49 ส่วนที่เหลือร้อยละ 51 เปิดให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่น และบริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการถือหุ้น
(2) คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย ประธานกรรมการบริษัท และคณะกรรมการซึ่งมาจาก กฟน. หรือผู้มีความรู้ความสามารถในด้านธุรกิจที่บริษัทดำเนินการอยู่
(3) โครงสร้างองค์กร ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายขายและ การตลาด ฝ่ายวิศวกรรม และฝ่ายผลิต
(4) การดำเนินธุรกิจ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก บริษัทจะผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีตประเภทเสาไฟฟ้า และคอนกรีตสำเร็จรูปประเภทต่างๆ ที่ดำเนินการในปัจจุบัน โดยกำหนดราคาเท่ากับราคาที่จำหน่ายให้ กฟน. แต่จะกำหนดให้ลดราคาลงทุกปี เพื่อสามารถแข่งขันได้ โดย กฟน. เป็นตลาดเป้าหมายในระยะแรก และบริษัทมีจำนวนพนักงานไม่เกิน 224 คน ส่วนในระยะสอง บริษัทขยายธุรกิจ หรือ เพิ่มผลิตภัณฑ์โดยเน้นธุรกิจที่อาศัยเทคโนโลยีสูง ซึ่งควรเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนเข้าร่วมทุนและบริหารงาน
3.2 การว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาในการวางรูปแบบระยะที่ 2 (มกราคม - ตุลาคม 2541)
3.3 การขออนุมัติยกเว้นคำสั่ง กฎระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้บังคับกับบริษัทใน ระยะแรก ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการคล่องตัว
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบแผนการแปรรูปหน่วยงานสำนักงานออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ เป็น บริษัทออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ จำกัด ตามข้อเสนอของ กฟน. ทั้งนี้ ให้ กฟน. ปรับแผนการดำเนินการเพื่อให้พ้นการเป็น รัฐวิสาหกิจให้เร็วขึ้น และให้พิจารณาหาพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Investor) แทนการเข้าถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจอื่น
2.เห็นชอบให้ บริษัท ออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ จำกัด ที่ กฟน. ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ซึ่ง ยังคงสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจได้รับการยกเว้นคำสั่ง กฎระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรี ที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้บังคับ เพื่อให้บริษัทดังกล่าวสามารถดำเนินการได้คล่องตัวเช่นเดียวกับบริษัทเอกชน ทั่วไป
เรื่องที่ 15 การขายหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 เห็นชอบแนวทางในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในกิจการด้านพลังงาน โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลัง กฟผ. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (บผฟ.) รับไปจัดทำรายละเอียดเรื่องการขายหุ้นของ กฟผ. ใน บผฟ. โดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์) ได้เป็นประธานในการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางและเร่งรัด การดำเนินการตามแนวทางการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในกิจการด้านพลังงาน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 และได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กฟผ. สพช. และ บผฟ. หารือเพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางในการขายหุ้นของ กฟผ. ใน บผฟ.
2. กฟผ. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาแนวทางในเรื่องดังกล่าว และบริษัทฯ ได้นำเสนอผลการศึกษาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ กระทรวงการคลัง กฟผ. สพช. และ บผฟ. (กระทรวงการคลังไม่ได้เข้าประชุม) เพื่อพิจารณาผลการศึกษาดังกล่าว และเห็นควรให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ต่อไป
3. แผนการขายหุ้นของ กฟผ. ใน บผฟ. สรุปประเด็นสำคัญของการเสนอขายหุ้น ได้ดังนี้
3.1 แนวทางการเสนอขายหุ้นที่เหมาะสมที่สุด คือ การลดสัดส่วนการถือหุ้นของ กฟผ. ใน บผฟ. จากที่ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 39.96 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว รวมทั้งหุ้นสำรอง (Warrants) ของ บผฟ. ลงเหลือร้อยละ 25.05 โดยจำหน่ายหุ้นให้กับพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Investor) ภายใต้เงื่อนไขว่า ในอนาคต กฟผ. และ บผฟ. จะเปิดโอกาสให้พันธมิตรร่วมทุนสามารถเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน บผฟ. ได้ใน 2 กรณี คือ กรณีที่พันธมิตรร่วมทุนซื้อหุ้นโดยตรงจาก กฟผ. หรือ กรณีที่พันธมิตรร่วมทุนซื้อหุ้นใหม่จากการเพิ่มทุนของ บผฟ. ซึ่งแนวทางนี้ กฟผ. อาจเสียโอกาสในการที่จะได้ราคาหุ้นสูงสุด เนื่องจากการเสนอขายเพียงร้อยละ 14.9 อาจจะไม่ดึงดูดให้เสนอราคาที่มี Premium มากเมื่อเทียบกับการเสนอขายในสัดส่วนที่มีมากกว่าร้อยละ 25
3.2 เกณฑ์ในการพิจารณาราคาขายของหุ้น บผฟ. มูลค่าราคาหุ้นที่จะได้รับจากการเสนอขาย จะขึ้นอยู่กับแนวทางเลือกโครงสร้างของการเสนอขายหุ้น ซึ่งกลุ่มที่ปรึกษามีความเห็นว่า มูลค่าหุ้นที่ควรจะได้รับในการเสนอขายครั้งนี้ ควรจะมีมูลค่าที่สูงกว่าราคาหุ้นเฉลี่ยของ บผฟ. ในช่วงระยะ 3 เดือนก่อนจะมีการเปิดให้ยื่นเสนอซื้อ
3.3 ขั้นตอนในการเสนอขายที่เหมาะสมคือ การพิจารณาคัดเลือกจากพันธมิตรร่วมทุนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม 4-6 ราย แล้วตามด้วยขั้นตอนการพิจารณาคำเสนอซื้อ ซึ่งเสนอโดยพันธมิตรร่วมทุนดังกล่าว คาดว่าขั้นตอนในการเสนอขาย จะมีระยะเวลาประมาณ 6 เดือน
3.4 เกณฑ์ในการพิจารณาคุณสมบัติของพันธมิตรร่วมทุน กลุ่มที่ปรึกษาเสนอให้ กฟผ. และ บผฟ. พิจารณาคุณสมบัติในเบื้องต้น คือ มูลค่าตลาดของขนาดธุรกิจ ข้อมูลทางการเงิน อันดับความน่าเชื่อถือประสบการณ์การดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและภูมิภาคเอ เซีย โครงสร้างที่เสนอเพื่อถือหุ้น แผนการดำเนินธุรกิจ ความเห็นของผู้เสนอซื้อและเงื่อนไขสัญญา
3.5 แผนการใช้เงินที่ได้รับจากการขายหุ้น กฟผ. จะใช้เป็นงบการลงทุนในปี 2541 แทนการใช้เงินกู้ภายในประเทศ และจัดตั้งกองทุนเงินสวัสดิการสำหรับพนักงานที่สมัครใจลาออกก่อนอายุเกษียณ โดยจะขออนุมัติใช้เงินจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนเงินทั้งหมดที่ได้รับจากการขายหุ้น บผฟ.
4. การเข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้น (Share Purchase Agreement) และสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholders Agreement) กฟผ. ตกลงในเบื้องต้นที่จะเข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้นกับพันธมิตรร่วมทุน และ กฟผ. และ บผฟ. ตกลงในเบื้องต้นที่จะเข้าทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นกับพันธมิตรร่วมทุน รวมทั้งสัญญาและ/หรือเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) กับพันธมิตรร่วมทุน
การพิจารณาของที่ประชุม
ประธานฯ ได้ตั้งข้อสังเกตใน 2 ประเด็น คือ ควรคำนึงถึงจังหวะระยะเวลาการขายหุ้นของ บผฟ. เพื่อที่จะให้ได้ราคาสูงสุด และควรมีการศึกษาเปรียบเทียบว่าจำนวนเงินที่ได้มาจากการขายหุ้นครั้งนี้ สามารถลดดอกเบี้ยเงินกู้ของ กฟผ. ได้เพียงใด
มติของที่ประชุม
1.ให้ กฟผ. ขายหุ้นและดำเนินการตามรายละเอียดในข้อ 3
2.ขอยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่าย กิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504
3.ให้แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกพันธมิตรร่วมทุน ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการ-นโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ผู้แทนจากบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (บผฟ.) และผู้แทนจาก กฟผ. เป็นกรรมการ โดยมีหน้าที่คัดเลือกพันธมิตรร่วมทุน และกำหนดราคาหุ้นซึ่ง รวมหุ้นเดิมที่ กฟผ. ประสงค์จะขายและหรือหุ้นออกใหม่จากการเพิ่มทุน และหุ้นที่ กฟผ. จะต้องขายให้กับพันธมิตรร่วมทุนตามสิทธิพึงได้รับก่อน (Rights of First Refusal) ภายใต้สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholders Agreement) แล้วนำเสนอคณะกรรมการ กฟผ. ต่อไป
4.ให้คณะกรรมการ กฟผ. อนุมัติเลือกพันธมิตรร่วมทุนและกำหนดราคาหุ้นที่จำหน่ายตามข้อ 3 ข้างต้น แล้วนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
5.ให้ กฟผ. ทำสัญญาซื้อขายหุ้น (Share Purchase Agreement) กับพันธมิตรร่วมทุน และให้ กฟผ. และ บผฟ. เข้าทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น และสัญญาและเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) กับพันธมิตรร่วมทุน และขอทำสัญญาและเอกสารหลักฐานอื่นๆ (ถ้ามี) เป็นภาษาอังกฤษ
6.เงินที่ได้จากการจำหน่ายหุ้นให้ กฟผ. นำไปจัดสรรดังนี้
(1) จัดสรรร้อยละ 90 ของรายได้สุทธิจากการจำหน่ายหุ้น สำหรับการลงทุนของ กฟผ. ในอนาคตแทนการใช้เงินกู้
(2) จัดสรรร้อยละ 10 ของรายได้สุทธิจากการจำหน่ายหุ้น สำหรับจัดตั้งกองทุนบริหารทรัพยากรบุคคล แล้วนำไปใช้ในโครงการพนักงานลาออกจากงานด้วยความยินดีทั้ง 2 ฝ่าย (Mutual Separation Schemes : MSS) เพื่อชดเชยให้แก่บุคลากรที่ได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลมีนโยบายในการเร่ง รัดการแปรรูป
7.ให้ กฟผ. จ้างกลุ่มที่ปรึกษาทางการเงิน ได้แก่ Kleinwort Benson Limited, Lehman Brothers Limited และ บริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาเพื่อทำการเสนอขายหุ้นให้กับพันธมิตรร่วมทุน โดยให้ดำเนินการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ เนื่องจากกลุ่มที่ปรึกษาดังกล่าวได้ทำการศึกษาเรื่องแนวทางการขายหุ้นของ กฟผ. ใน บผฟ. อยู่แล้ว เพื่อให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่อง และแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
สรุปสาระสำคัญ
1. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ดูแลกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เพื่อให้สามารถนำดอกผลอันเกิดจากเงินกองทุนจำนวน 350 ล้านบาท ที่ได้รับจากบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด ตามสัญญาโรงกลั่นน้ำมันมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนงานด้าน พลังงานและปิโตรเลียม โดยมีระเบียบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติว่าด้วยการบริหารกองทุนเงินอุด หนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม พ.ศ. 2535 เป็นกรอบในการบริหารงานกองทุน ทั้งนี้ โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียมทำ หน้าที่พิจารณา จัดระเบียบ วางแนวทางและพิจารณาจัดสรรเงินกองทุน ทั้งนี้ โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม ทำหน้าที่พิจารณาจัดระเบียบ วางแนวทาง และพิจารณาจัดสรรเงินกองทุน
2. คณะกรรมการกองทุนฯ ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่น ปิโตรเลียม ในรอบปีงบประมาณ 2540 เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อทราบ และพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการจัดสรรเงินในปีงบประมาณ 2541-2543 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนฯ แล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
2.1 ผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ในรอบปีงบประมาณ 2540 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2539 อนุมัติแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2540 จำนวนเงินทั้งสิ้น 55.0 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ ได้พิจารณาอนุมัติวงเงินทั้งสิ้น 55.9 ล้านบาท ดังนี้
หมวดรายจ่าย | วงเงินตามแผน | อนุมัติ |
(1) การค้นคว้า ศึกษา วิจัย | 17.00 | 12.20 |
(2) ทุนการศึกษาและฝึกอบรม | 12.00 | 13.40 |
(3) การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูล | 10.00 | 8.50 |
(4) การดูงาน ประชุม และการจัดประชุม สัมมนา | 10.00 | 8.50 |
(5) การจัดหาเครื่องมือ และอุปกรณ์ | 5.50 | 5.50 |
(6) ค่าใช้จ่ายการบริหารงาน | 0.50 | 0.50 |
รวม | 55.00 | 55.90 |
2.2 รายงานสถานะการเงินกองทุน ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 กองทุนฯ มีสินทรัพย์รวม 428.8 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินฝากกระแสรายวัน 0.02 ล้านบาท เงินฝากออมทรัพย์ 41.34 ล้านบาท เงินฝากประจำ 387.13 ล้านบาท และลูกหนี้เงินยืม 0.31 ล้านบาท ในส่วนของหนี้สินและทุนประกอบด้วย หนี้สิน 0.37 ล้านบาท ทุน 350 ล้านบาท และรายรับมากว่ารายจ่ายทั้งสิ้น 78.43 ล้านบาท
2.3 แผนการใช้จ่ายเงินดอกผลของกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2541-2543 ตามข้อกำหนดในระเบียบว่าด้วยการบริหารกองทุนฯ กำหนดให้มีการทบทวนแผนการใช้จ่ายเงินดอกผลของกองทุนฯ อย่างน้อยทุกปีหรือตามความจำเป็น ดังนั้นจึงเห็นสมควรให้มีการปรับแผนการใช้จ่ายเงิน สำหรับปีงบประมาณ 2541-2543 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
หมวดรายจ่าย | ปีงบประมาณ | รวม | ||
2541 | 2542 | 2543 | ||
(1) การค้นคว้า วิจัย ศึกษา | 16.50 | 16.50 | 16.50 | 49.50 |
(2) ทุนการศึกษาและฝึกอบรม | 9.40 | 9.40 | 9.40 | 28.20 |
(3) การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูล | 10.00 | 10.00 | 10.00 | 30.00 |
(4) การดูงาน ประชุม และการจัดประชุม สัมมนา | 8.00 | 8.00 | 8.00 | 24.00 |
(5) การจัดหาเครื่องมือ และอุปกรณ์ | 5.50 | 5.50 | 5.50 | 16.50 |
(6) ค่าใช้จ่ายการบริหารงาน | 0.60 | 0.60 | 0.60 | 1.80 |
รวม | 50.00 | 50.00 | 50.00 | 150.00 |
3. เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ตลอดระยะเวลา 3 ปี คือ ปีงบประมาณ 2541-2543 จึงเห็นควรให้คณะกรรมการกองทุนฯ จัดสรรเงินกองทุนสำหรับแผนงานและ โครงการในปีงบประมาณ 2541-2543 ตามแผนการใช้จ่ายเงินข้างต้น วงเงินรวม 150 ล้านบาท และให้คณะ-กรรมการกองทุนฯ มีอำนาจที่จะปรับปรุงการจัดสรรเงินตามแผนงานต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมภายในวงเงินรวมดังกล่าว ทั้งนี้ โดยสอดคล้องกับการขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนฯ การจัดลำดับความสำคัญตลอดจนรายได้ของกองทุนฯด้วย
มติของที่ประชุม
1.รับทราบผลการดำเนินงานของกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม ประจำปีงบประมาณ 2540
2.เห็นชอบแผนการใช้จ่ายเงินดอกผลของกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ 2541-2543 และมาตรการการบริหารเงินกองทุนฯ ตามที่คณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม เสนอ