
คณะกรรมการและอนุกรรมการ (2552)
Children categories
กบง. ครั้งที่ 109 - วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 12/2555 (ครั้งที่ 109)
เมื่อวันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลัง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโย(นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ)บายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลัง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 มีมติเห็นชอบแนวทางการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลัง โดย (1) การชดเชยราคาแก๊สโซฮอลที่สูงขึ้นจากการใช้เอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังในโครงการมาผสม เมื่อเทียบกับเอทานอลที่ผลิตจากกากน้ำตาลในแต่ละเดือน ให้แก่ผู้ค้ามาตรา 7 ที่เข้าร่วมโครงการ โดยคำนวณจากปริมาณเอทานอลที่ขอชดเชยแล้ว จะไม่เกินกว่าปริมาณเอทานอลที่รับซื้อจากผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังที่ซื้อจากคลังกลาง (อคส.) (ปตท. ไม่เกิน 16.2 ล้านลิตร บางจาก ไม่เกิน 7.4 ล้านลิตร และไทยออยล์ไม่เกิน 0.8 ล้านลิตร) (2) อัตราการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล โดยใช้ราคามันเส้นที่โรงงานเอทานอลซื้อจากคลังกลางเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2555 เท่ากับ 7.3165 บาทต่อกิโลกรัม และ (3) อนุมัติเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลัง ในวงเงิน 180 ล้านบาท
2. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการให้ระบายมันเส้นจากสต๊อคของรัฐบาลที่จำนำไว้ตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี 2554/55 เพื่อนำไปผลิตเอทานอลจำนวนประมาณ 65,000 ตัน ในราคาตันละ 7,947.90 บาท ซึ่งเป็นราคาตามที่คณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังได้มีมติเห็นชอบไว้ ในส่วนการชดเชยต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้พิจารณาดำเนินการตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอเพิ่มเติม โดยให้กระทรวงพาณิชย์หารือในรายละเอียดกับกระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วดำเนินการต่อไปได้ แล้วให้รายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
3. คณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังในการประชุมครั้งที่ 6/2555 เห็นชอบให้จำหน่ายมันเส้นแก่ผู้ผลิตเอทานอลที่ราคา 7,947.90 ต่อตัน หรือ 7.9479 บาทต่อกิโลกรัม ประกอบด้วย (1) ราคาหัวมันสด 6.8365 บาทต่อกิโลกรัม (2) ค่าแปลงสภาพหัวมันสดเป็นมันเส้น 0.3800 บาทต่อกิโลกรัม (3) ค่าขนมันเส้นจากลานมันมาส่งมอบ อคส. 0.2465 บาทต่อกิโลกรัม (4) ค่าเก็บรักษามันเส้นและค่าบริการจัดการของ อคส. 0.3115 บาทต่อกิโลกรัม และ (5) ค่าใช้จ่ายด้านการเงินของธนาคาร ธกส. 0.1734 บาทต่อกิโลกรัม
4. จากมติ กบง. เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบแนวทางการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมอทานอลจากมันสำปะหลัง โดยใช้ราคามันเส้นที่โรงงานเอทานอลซื้อจากคลังกลางเฉลี่ยเท่ากับ 7.3165 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่ยังไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษามันเส้นและค่าบริหารจัดการ (อคส.) ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านการเงิน (ธกส.) และมีการปรับต้นทุนค่าขนส่งมันเส้นจากลานมันมาส่งมอบที่คลังสินค้ากลาง ทำให้มีต้นทุนมันเส้นเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 0.631 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 7.9479 บาทต่อกิโลกรัม และคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบที่จะจำหน่ายมันเส้นให้แก่ผู้ผลิตเอทานอลในราคา 7.9479 บาทต่อกิโลกรัม เป็นราคาต้นทุนที่คำนวณจากราคาหัวมันสด ค่าแปลงสภาพหัวมันสดเป็นมันเส้น ค่าขนส่งมันเส้นจากลานมันมาส่งมอบที่คลังสินค้ากลาง และรวมค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษามันเส้น และค่าบริหารจัดการองค์การคลังสินค้า (อคส.) ตลอดจนต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เป็นส่วนต่างดังกล่าว โดยขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนน้ำมันฯ ในการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากผลิตจากมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นจากเดิมในวงเงิน 180 ล้านบาท เป็น ในวงเงิน 222 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง ในวงเงินชดเชย 180 ล้านบาท ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ซึ่งใช้ราคามันเส้นที่โรงงานเอทานอลซื้อจากคลังกลางในราคา 7,316.50 บาทต่อตัน
กบง. ครั้งที่ 108 - วันอังคารที่ 5 มิถุนายน 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 11/2555 (ครั้งที่ 108)
เมื่อวันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 ที่เห็นชอบเรื่องการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล ดังนี้
1.1 เห็นชอบให้ยกเลิกมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 เรื่องแนวทางการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เห็นชอบให้ทยอยปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลเดือนละ 1 บาทต่อลิตร และปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว อัตรา 0.60 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป
1.2 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
(1) น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควร ให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลง ให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
(2) น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
ทั้งนี้ การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าวให้คำนึงถึงสถานการณ์ราคาน้ำมัน ในตลาดโลกและภาวะเงินเฟ้อของประเทศ การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
1.3 มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ประเมินผลการดำเนินงานตามการมอบหมายข้างต้น เสนอ กพช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาทุกไตรมาส
2. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง กบง. ได้มีมติปรับเพิ่มอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปแล้ว 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2555 และวันที่ 1 มิถุนายน 2555 ดังนี้
ชนิดน้ำมัน/วันที่ประชุม | เดิม | 24 พ.ค. 55 | 1 มิ.ย. 55 |
น้ำมันเบนซิน 95 | 4.00 | 4.50 | 5.00 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 4.00 | 4.50 | 5.00 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.20 | 2.20 | 2.20 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.60 | 0.60 | 0.60 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -0.80 | -0.80 | -0.80 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -12.60 | -12.60 | -12.60 |
น้ำมันดีเซล | 0.60 | 0.90 | 1.20 |
มีผลบังคับใช้ | 25 พ.ค. 55 | 2 มิ.ย. 55 |
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง โดยราคา ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2555 น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 95.05 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 109.81 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 109.88 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับลดลง ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศปรับลดตามไปด้วย ทำให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับสูง โดยค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันเบนซิน 91 ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2555 อยู่ที่ 2.8426, 6.0584 และ 2.8614 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
4. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2555 มีทรัพย์สินรวม 5,016 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 26,721 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 16,389 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 332 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 10,000 ล้านบาท ดังนั้น กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 21,705 ล้านบาท
5. จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ดังนั้นเพื่อเพิ่มเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันฯ ให้ดีขึ้น และส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน 95, 91 ขึ้น 0.90 บาทต่อลิตร และน้ำมันแก๊สโซฮอล ขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2555 เป็นต้นไป ทั้งนี้ หากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลและเบนซิน 95, 91 ลดลง 0.30 บาทต่อลิตร และราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอลลดลง 0.40 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 62 ล้านบาท จากวันละ 81 ล้านบาท เป็นวันละ 143 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง (+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 5.00 | 5.90 | +0.90 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 5.00 | 5.90 | +0.90 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.20 | 2.50 | +0.30 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.60 | 0.90 | +0.30 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -0.80 | -0.50 | +0.30 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -12.60 | -12.30 | +0.30 |
น้ำมันดีเซล | 1.20 | 2.10 | +0.90 |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2555 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 107 - วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 10/2555 (ครั้งที่ 107)
เมื่อวันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 08.00 น.
ณ ห้องประชุมปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ชั้น 6 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 ที่เห็นชอบเรื่องการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล ดังนี้
1.1 เห็นชอบให้ยกเลิกมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 เรื่องแนวทางการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เห็นชอบให้ทยอยปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลเดือนละ 1 บาทต่อลิตร และปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว อัตรา 0.60 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป
1.2 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
(1) น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควร ให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลง ให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
(2) น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
ทั้งนี้ การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าวให้คำนึงถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกและภาวะเงินเฟ้อของประเทศ การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
1.3 มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ประเมินผลการดำเนินงานตามการมอบหมายข้างต้น เสนอ กพช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาทุกไตรมาส
2. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง กบง. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2555 ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร จาก 0.60 บาท/ลิตร เป็น 0.90 บาทต่อลิตร และน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 ขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร จาก 4.00 บาทต่อลิตร เป็น 4.50 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง โดยราคา ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 103.40 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 115.20 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 115.78 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับลดลง ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศปรับลดตามไปด้วย ทำให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับสูง โดยค่าการตลาดน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันเบนซิน 91 ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2555 อยู่ที่ 1.9115, 5.3587 และ 2.1673 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
4. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 4,182 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 26,427 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 17,276 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 332 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 8,820 ล้านบาท ดังนั้นกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 22,245 ล้านบาท
5. จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ดังนั้นเพื่อเพิ่มเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันฯ และส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร และปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันเบนซิน 91 ขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2555 เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันของน้ำมันดีเซลลดลง 0.30 บาทต่อลิตร มาอยู่ที่ 1.6115 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน 95 และ 91 ลดลงชนิดละ 0.40 บาทต่อลิตร มาอยู่ที่ 4.9587 และ 1.7673 บาทต่อลิตร ตามลำดับ โดยที่ราคาขายปลีกไม่มีการเปลี่ยนแปลง และกองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 20 ล้านบาท จากวันละ 60 ล้านบาท เป็นวันละ 80 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง (+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 4.50 | 5.00 | +0.50 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 4.50 | 5.00 | +0.50 |
น้ำมันดีเซล | 0.90 | 1.20 | +0.30 |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2555 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 106 - วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 9/2555 (ครั้งที่ 106)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 ที่เห็นชอบเรื่องการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล ดังนี้
1.1 เห็นชอบให้ยกเลิกมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 เรื่องแนวทางการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เห็นชอบให้ทยอยปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลเดือนละ 1 บาทต่อลิตร และปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว อัตรา 0.60 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป
1.2 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
(1) น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควร ให้ กบง. พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลง ให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
(2) น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอล ให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
ทั้งนี้ การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว ให้คำนึงถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกและภาวะเงินเฟ้อของประเทศ การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
1.3 มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ประเมินผลการดำเนินงานตามการมอบหมายข้างต้น เสนอ กพช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาทุกไตรมาส
2. ราคาน้ำมันตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง โดยราคา ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 103.69 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 118.03 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 119.17 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับลดลง ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศปรับลดตามไปด้วย โดยราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2555 อยู่ที่ 29.83 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 45.00 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน 91 อยู่ที่ 41.05 บาทต่อลิตร และน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อยู่ที่ 37.63 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดอยู่ที่ 1.8077, 5.6572, 2.4600 และ 1.5610 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
3. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 4,423 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 27,095 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 18,666 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 349 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 8,080 ล้านบาท ดังนั้นกองทุนน้ำมันมีฐานะสุทธิติดลบ 22,672 ล้านบาท
4. จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล และเพิ่มเสถียรภาพของกองทุนน้ำมันฯ ให้ดีขึ้น ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร จาก 0.60 บาทต่อลิตร เป็น 0.90 บาทต่อลิตร และปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 91 ขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร จาก 4.00 บาทต่อลิตร เป็น 4.50 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันของน้ำมันดีเซลลดลง 0.30 บาทต่อลิตร มาอยู่ที่ 1.5077 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน 91 ลดลง 0.50 มาอยู่ที่ 1.960 บาท ต่อลิตร โดยที่ราคาขายปลีกไม่มีการเปลี่ยนแปลง กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 22 ล้านบาท จากวันละ 32 ล้านบาท เป็นวันละ 54 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง (+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 4.00 | 4.50 | +0.50 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 4.00 | 4.50 | +0.50 |
น้ำมันดีเซล | 0.60 | 0.90 | +0.30 |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 105 - วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 8/2555 (ครั้งที่ 105)
เมื่อวันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 17.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV และก๊าซ LPG
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV และก๊าซ LPG
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV และก๊าซ LPG ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 ดังนี้
1.1 ก๊าซ NGV : (1) เห็นชอบให้ยกเลิกมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 เรื่องแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV และก๊าซ LPG ภาคขนส่ง ที่ให้ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ NGV เดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 - ธันวาคม 2555 และทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยก๊าซ NGV ลงเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม - เมษายน 2555 (2) เห็นชอบให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ต่ออีก 3 เดือน (16 พฤษภาคม 2555 ถึง 15 สิงหาคม 2555) และ (3) ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2555 เห็นชอบมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยพิจารณาจากผลการศึกษาต้นทุนราคาก๊าซ NGV ภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมายที่ว่า การปรับเพิ่มราคาขายปลีกก๊าซ NGV ให้พิจารณาจากผลการศึกษาต้นทุนราคา ก๊าซ NGV ที่ศึกษาโดยสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.2 ก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม : (1) เห็นชอบให้ยกเลิกมติ กพช. เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 ที่เห็นชอบให้ทยอยปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ในภาคอุตสาหกรรมให้สะท้อนต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป โดยปรับราคาขายปลีกไตรมาสละ 1 ครั้ง จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 3 บาทต่อกิโลกรัม และ (2) ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2555 มอบหมายให้ กบง. พิจารณาการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม ให้ราคาไม่เกินต้นทุนก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน โดยกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในแต่ละเดือนได้ตามความเหมาะสม ภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมายที่ว่า การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมให้พิจารณาจากต้นทุนก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน
1.3 ก๊าซ LPG ภาคขนส่ง : (1) เห็นชอบให้ยกเลิกมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 ที่เห็นชอบให้ปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่งเดือนละ 0.75 บาทต่อกิโลกรัม (0.41 บาทต่อลิตร) ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 โดยปรับพร้อมกับการขึ้นราคาก๊าซ NGV 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จนไปสู่ต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน (2) เห็นชอบให้คงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่งที่ 21.13 บาทต่อกิโลกรัม ต่ออีก 3 เดือน (16 พฤษภาคม 2555 ถึง 15 สิงหาคม 2555) และ (3) ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2555 มอบหมายให้ กบง. พิจารณาการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่งให้ราคาไม่เกินต้นทุนก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน โดยกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในแต่ละเดือนได้ตามความเหมาะสม ภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมายที่ว่า การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ภาคขนส่งให้พิจารณาจากต้นทุนก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน
1.4 มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ประเมินผลการดำเนินงานตามการมอบหมายข้างต้น เสนอ กพช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาทุกไตรมาส
1.5 มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำมติ กพช. ตามข้อ 1.1 1.2 และ 1.3 เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป และเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการแก้ไขประกาศที่เกี่ยวข้อง และออกประกาศตามข้อ 1.2 และ 1.3 เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
2. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 มีมติเห็นชอบ เรื่อง การจัดหาก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมันในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า โดยเพิ่มแรงจูงใจให้โรงกลั่นน้ำมันนำก๊าซ LPG ที่จำหน่ายให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และใช้ในกระบวนการกลั่น (Own Used) มาจำหน่ายเป็นเชื้อเพลิงให้กับประชาชนและเพิ่มการผลิตก๊าซ LPG ให้มากขึ้นกว่าปัจจุบัน โดยมีหลักเกณฑ์การคำนวณราคาก๊าซ LPG ของโรงกลั่น ดังนี้
3. การดำเนินการที่ผ่านมา
3.1 ก๊าซ NGV : กบง. ได้ทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยของก๊าซ NGV ลง 4 ครั้งๆ ละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นมา โดยปัจจุบันอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซ NGV อยู่ที่อัตรากิโลกรัมละ 0.00 บาท ราคาขายปลีกก๊าซ NGV ปรับเพิ่มขึ้นจาก 8.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 10.50 บาทต่อกิโลกรัม และกระทรวงพลังงานได้จัดตั้งคณะทำงานศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคาก๊าซ NGV โดยคณะทำงานฯ ได้มอบหมายให้ สนพ. จัดจ้างสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคาก๊าซ NGV เพื่อให้ผลการศึกษาเป็นที่ยอมรับกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในการกำหนดราคาขายปลีกก๊าซ NGV ซึ่งใช้เวลาอีกประมาณ 3 เดือน
3.2 ก๊าซ LPG : (1) ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 4 ไตรมาสๆละ 3 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา ส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ปรับเพิ่มขึ้นจาก 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 30.13 บาทต่อกิโลกรัม และอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ส่วนเพิ่มของก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัมละ 11.2150 บาท ในขณะที่ราคาก๊าซ LPG ตามต้นทุนโรงกลั่นน้ำมันเดือนพฤษภาคม 2555 อยู่ที่ 31.03 บาทต่อกิโลกรัม และ (2) ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่งเพิ่มขึ้น 4 ครั้งๆ ละ 0.75 บาทต่อกิโลกรัม (0.41 บาทต่อลิตร) ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นมา ส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ปรับเพิ่มขึ้นจาก 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 21.13 บาทต่อกิโลกรัม และอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ส่วนเพิ่มของก๊าซ LPG ภาคขนส่งปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัมละ 2.8036 บาท
4. จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอดังนี้ (1) ก๊าซ NGV : ขอความเห็นชอบให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ต่ออีก 3 เดือน (16 พฤษภาคม 2555 ถึง 15 สิงหาคม 2555) (2) ก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม : ถ้าราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมากจนทำให้ต้นทุนราคาก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมันเกิน 30.13 บาทต่อกิโลกรัม ให้กำหนดราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม ไว้ที่ 30.13 บาทต่อกิโลกรัม ถ้าราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกปรับตัวลดลงจนทำให้ต้นทุนราคาก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมันต่ำกว่า 30.13 บาทต่อกิโลกรัม ให้ สนพ. ออกประกาศ กบง. เพื่อให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมเป็นไปตามต้นทุนโรงกลั่น (3) ก๊าซ LPG ภาคขนส่ง : เสนอให้คงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่งที่ 21.13 บาทต่อกิโลกรัม ต่ออีก 3 เดือน (16 พฤษภาคม 2555 ถึง 15 สิงหาคม 2555) โดยขอความเห็นชอบกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับก๊าซ LPG ที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง ในอัตรา 2.8036 บาทต่อกิโลกรัม ต่ออีก 3 เดือน (16 พฤษภาคม 2555 ถึง 15 สิงหาคม 2555) ทั้งนี้ มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ต่ออีก 3 เดือน (16 พฤษภาคม 2555 ถึง 15 สิงหาคม 2555)
2. เห็นชอบให้กำหนดราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมไว้ที่ 30.13 บาทต่อกิโลกรัม กรณีราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมากทำให้ต้นทุนราคาก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมันเกิน 30.13 บาทต่อกิโลกรัม และขอความเห็นชอบกำหนดราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามต้นทุนโรงกลั่นกรณีราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกปรับตัวลดลงทำให้ต้นทุนราคาก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมันต่ำกว่า 30.13 บาทต่อกิโลกรัม
3. เห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่งในอัตรา 2.8036 บาทต่อกิโลกรัม ต่ออีก 3 เดือน (16 พฤษภาคม 2555 ถึง 15 สิงหาคม 2555)
4. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
กบง. ครั้งที่ 104 - วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 7/2555 (ครั้งที่ 104)
เมื่อวันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล
2. แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV และก๊าซ LPG ภาคขนส่ง
3. การชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลัง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมฯ ทราบเกี่ยวกับการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อเช้าวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ซึ่งได้หารือเกี่ยวกับราคาสินค้าแพง และการสำรวจตลาดสินค้าของรัฐมนตรี โดยพบว่าราคาสินค้ามีทั้งที่สูงขึ้นและลดลง แต่การนำเสนอข่าวส่วนใหญ่เป็นราคาสินค้าที่สูงขึ้นมากกว่า โดยมีการอ้างถึงสาเหตุบางอย่างเกิดจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นในส่วนของกระทรวงพลังงานต้องมีการพิจารณาราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม พร้อมทั้งต้องมีการหารือกับกระทรวงพาณิชย์และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือในเรื่องนี้ร่วมกันด้วย
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 เกี่ยวกับแนวทางการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้ (1) ทยอยปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล เดือนละ 1 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป โดยมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาระยะเวลาการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ตามความเหมาะสม (2) ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของดีเซลหมุนเร็ว 0.60 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป โดยมอบให้ กบง. พิจารณาระยะเวลาการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ตามความเหมาะสม
2. เพื่อให้การดำเนินการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 สอดคล้องกับสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในแต่ละเดือน กบง. เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2555 จึงได้มีมติมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณามอบหมายให้ กบง. กำหนดอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ให้มีความเหมาะสมและคล่องตัว โดยคำนึงถึงราคาน้ำมันในตลาดโลก การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
3. กบง. ได้มีการประชุมและมีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จำนวน 4 ครั้ง ได้แก่ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2555, 15 กุมภาพันธ์ 2555, 15 มีนาคม 2555 และวันที่ 10 เมษายน 2555 โดยมีอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และวันที่มีผลบังคับใช้ ดังนี้
ชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง | อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (บาทต่อลิตร) | ||||
อัตราเดิม | 16 ม.ค.55 | 16 ก.พ.55 | 16 มี.ค.55 | 16 เม.ย.55 | |
น้ำมันเบนซิน 95 | 0.00 | 1.00 | 2.00 | 3.00 | 4.00 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 0.00 | 1.00 | 2.00 | 3.00 | 4.00 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 0.20 | 1.20 | 2.20 | 2.20 | 2.20 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | -1.40 | -0.40 | 0.60 | 0.60 | 0.60 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -2.80 | -1.80 | -0.80 | -0.80 | -0.80 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -13.50 | -13.60 | -12.60 | -12.60 | -12.60 |
น้ำมันดีเซล | 0.00 | 0.60 | 0.60 | 0.60 | 0.60 |
4. สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยวันที่ 2 พฤษภาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 116.60 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 131.78 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 132.83 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศสูงตามไปด้วย โดย ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2555 ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อยู่ที่ 31.63, 43.45 และ 40.03 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
5. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 3,740 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 26,857 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 26,508 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 349 ล้านบาท ดังนั้นกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 23,117 ล้านบาท
6. เนื่องจากราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง การปรับเพิ่มอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชน ดังนั้นเพื่อรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อและบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนจากภาวะราคาน้ำมันแพง ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอให้คงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซลในอัตราเดิม
มติของที่ประชุม
เห็นชอบในหลักการให้คงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซลในอัตราเดิม ดังนี้
ชนิดน้ำมัน | อัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (บาทต่อลิตร) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 4.00 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 4.00 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.20 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.60 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -0.80 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -12.60 |
น้ำมันดีเซล | 0.60 |
เรื่องที่ 2 แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV และก๊าซ LPG ภาคขนส่ง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 เห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 ดังนี้ (1) ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีก NGV เดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 จนถึงเดือนธันวาคม 2555 (2) ทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยลงเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ถึงเดือนเมษายน 2555 (3) ขยายระยะเวลาการตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนต่อไปจนถึงสิ้นปี 2555 (4) ขยายระยะเวลาการตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคขนส่งต่อไปจนถึงวันที่ 15 มกราคม 2555 โดยตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เริ่มปรับขึ้นราคาขายปลีกเดือนละ 0.75 บาทต่อกิโลกรัม (0.41 บาทต่อลิตร) โดยปรับพร้อมกับการขึ้นราคา NGV 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จนไปสู่ต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน (5) กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับก๊าซที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กิโลกรัมละ 1 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป และ (6) มอบหมายให้ กบง. พิจารณาดำเนินการแก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ
2. การดำเนินการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV โดย กบง. ได้ทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยของก๊าซ NGV ลงเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 จนถึงเดือนเมษายน 2555 โดยได้ออกประกาศ กบง. เรื่องอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ จำนวน 5 ฉบับ มีผลให้ปัจจุบันอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซ NGV อยู่ที่อัตรากิโลกรัมละ 0.00 บาท การปรับลดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซ NGV ดังกล่าว ส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ NGV ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 ปรับเพิ่มขึ้น 2.00 บาทต่อกิโลกรัม จาก 8.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 10.50 บาทต่อกิโลกรัม
3. การศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคาก๊าซ NGV โดยกระทรวงพลังงานได้จัดตั้งคณะทำงานศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคาก๊าซ NGV ซึ่งคณะทำงานฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ดำเนินการจัดจ้างสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ เพื่อศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคาก๊าซ NGV ซึ่งเดิมศึกษาโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (PTIT) เพื่อให้ผลการศึกษาเป็นที่ยอมรับกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง โดยในขณะนี้สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ และคณะทำงานฯ อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูลการศึกษาฯ เพื่อให้ได้ข้อสรุปในการจัดทำข้อเสนอแนวทางการปรับราคาก๊าซ NGV เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพิจารณาต่อไป
4. การดำเนินการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG โดย กบง. ได้มีมติเห็นชอบให้ออกประกาศกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับก๊าซ LPG ที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง เพื่อปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่ง แล้วรวม 4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 16 เมษายน 2555 เดือนละหนึ่งครั้งๆ ละ 0.75 บาทต่อกิโลกรัม (0.41 บาทต่อลิตร) รวมเป็นเงิน 3.00 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่งปรับเพิ่มขึ้นจาก 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 21.13 บาทต่อกิโลกรัม และอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัมละ 2.8036 บาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) นำเสนอ แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV และก๊าซ LPG ภาคขนส่ง ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาก่อนวันที่ 16 พฤษภาคม 2555 โดยขอความเห็นชอบให้คงราคาขายปลีกก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ต่ออีก 3 เดือน (16 พฤษภาคม 2555 ถึง 15 สิงหาคม 2555) และขอความเห็นชอบกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่งในอัตรา 2.8036 บาทต่อกิโลกรัม ต่ออีก 3 เดือน (16 พฤษภาคม 2555 ถึง 15 สิงหาคม 2555)
เรื่องที่ 3 การชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลัง
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอโครงการแทรกแซงมันสำปะหลังปี 2554/55 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2555 ราคารับจำนำหัวมันสด (ตามเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งที่ร้อยละ 25) อยู่ที่ 2.75 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 10 ล้านตัน จำกัดการรับจำนำอยู่ที่ 250 ตันต่อราย และจะมีการปรับขึ้นราคาการรับจำนำทุกเดือนๆ ละ 5 สตางค์
2. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลัง เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพิชัย นริพทะพันธุ์) ได้เสนอแนวการเพิ่มการใช้เอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังประมาณ 200,000 ลิตรต่อวัน เป็น 400,000 ลิตรต่อวัน โดยใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ รักษาสมดุลราคา ดังนั้น กระทรวงพลังงาน จึงมีโครงการส่งเสริมการรับซื้อเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังสำหรับการใช้เป็นเชื้อเพลิงให้มากขึ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2555 กบง. ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาแนวทางการชดเชยราคาเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) หารือกับสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตรวจสอบข้อกฎหมายเกี่ยวกับการนำเงินกองทุนน้ำมันฯ มาใช้ในโครงการและจ่ายชดเชยโดยตรงให้กับโรงงานเอทานอลเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
3. เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2555 ได้มีการประชุมแนวทางการชดเชยราคาเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (พลตำรวจโทวิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์) เป็นประธาน และได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตรวจสอบข้อกฎหมายในการนำเงินกองทุนน้ำมันฯ มาใช้ตามโครงการและการจ่ายเงินชดเชยตรงให้กับโรงงานเอทานอล พร้อมทั้งประสานกรมสรรพสามิตเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลราคาอ้างอิงเอทานอลจากกากน้ำตาล และรายงานผลให้ทราบต่อไป
4. เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2555 สนพ. และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้เข้าร่วมประชุมชี้แจงกับคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 5) ในประเด็นการใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ ในการชดเชยราคาเอทานอลผลิตจากมันสำปะหลัง ซึ่งคณะกรรมการมีความเห็นว่าเอทานอลมิใช่น้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่องกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้น กบง. จึงไม่มีอำนาจกำหนดให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ เป็นเงินจ่ายชดเชยเอทานอลให้แก่โรงงานเอทานอล แต่สามารถสั่งจ่ายเงินจากกองทุนน้ำมันฯ เพื่อชดเชยน้ำมันแก๊สโซฮอลให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ณ โรงกลั่นได้ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 ข้อ 10 ซึ่งบัญญัติให้การชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง (ในที่นี้ หมายถึง การชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล) กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2553 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ 1 ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯ ก็มีการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลอยู่แล้ว
5. เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2555 สนพ. ได้หารือร่วมกับ กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) พพ. และผู้ค้ามาตรา 7 เพื่อหาข้อสรุปแนวทางการส่งเสริมการรับซื้อเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังสำหรับเป็นเชื้อเพลิง แต่เนื่องจากผู้ค้ามาตรา 7 มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับผู้ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลและมันสำปะหลังอยู่แล้ว ดังนั้นหากต้องการให้มีการรับซื้อเอทานอลตามปริมาณเป้าหมาย 400,000 ลิตรต่อวัน จึงจำเป็นต้องขยายเวลาการรับซื้อเอทานอลจาก 2 เดือน เป็น 5 เดือน
6. สรุปรายละเอียดโครงการ
6.1 เป้าหมายการรับซื้อมันสำปะหลังและเอทานอลเพื่อใช้ในการผลิตแก๊สโซฮอลตามโครงการ
1) มันสำปะหลัง 150,000 ตัน หรือมันเส้น 64,172 ตัน โดยประมาณ
2) เอทานอล 400,000 ลิตรต่อวัน คิดเป็นจำนวนเอทานอล 24,400,000 ลิตร
6.2 บริษัทผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง เข้าร่วมโครงการ 2 ราย ปริมาณการผลิต 24.4 ล้านลิตร ได้แก่ บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จำกัด คิดเป็นจำนวนเอทานอล 13 ล้านลิตร และบริษัท พี.เอส.ซี สตาร์ช โปรดักส์ (มหาชน) คิดเป็นจำนวนเอทานอล 11.4 ล้านลิตร
6.3 ผู้ผลิตเอทานอล จะรับซื้อมันเส้นจากคลังกลางของโครงการตามสัดส่วนการผลิตเอทานอลในราคารับจำนำมันสำปะหลังเฉลี่ยย้อนหลัง 4 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2555 ที่ราคาเฉลี่ย 2.825 บาทต่อกิโลกรัม และใช้ราคารับซื้อมันเส้นเป็นราคาเดียวจนเสร็จสิ้นโครงการในเดือนกันยายน 2555
6.4 ผู้ค้ามาตรา 7 เข้าร่วมโครงการ 3 ราย คือ (1) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รับซื้อเอทานอลจาก บริษัททรัพย์ทิพย์ฯ 12.2 ล้านลิตร และ บริษัท พี.เอส.ซี สตาร์ชฯ 4.0 ล้านลิตร (2) บริษัท บางจาก จำกัด (มหาชน) รับซื้อเอทานอลจาก บริษัท พี.เอส.ซี สตาร์ชฯ 7.4 ล้านลิตร และ (3) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รับซื้อเอทานอลจากบริษัททรัพย์ทิพย์ฯ 0.8 ล้านลิตร
7. แนวทางการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลัง
7.1 วิธีการชดเชย
1) ชดเชยราคาแก๊สโซฮอลที่สูงขึ้นจากการใช้เอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังในโครงการมาผสม เมื่อเทียบกับเอทานอลที่ผลิตจากกากน้ำตาลในแต่ละเดือน ให้แก่ผู้ค้ามาตรา 7 ที่เข้าร่วมโครงการ โดยคำนวณจากปริมาณเอทานอลที่ขอชดเชยแล้วจะไม่เกินกว่าปริมาณเอทานอลที่รับซื้อจากผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังที่ซื้อจากคลังกลาง (อคส.) (ปตท. ไม่เกิน 16.2 ล้านลิตร บางจาก ไม่เกิน 7.4 ล้านลิตร และไทยออยล์ไม่เกิน 0.8 ล้านลิตร)
2) พพ. เป็นผู้ตรวจสอบหลักฐานความถูกต้องของปริมาณ และราคามันเส้นที่โรงงานเอทานอลรับซื้อจากเอทานอลในโครงการ (อคส.) รวมทั้งปริมาณที่จำหน่ายให้ผู้ค้ามาตรา 7 และแจ้งให้ ธพ. ทราบ
3) ธพ. เป็นผู้ตรวจสอบหลักฐานการจำหน่ายแก๊สโซฮอลและจำนวนเงินที่ขอชดเชย ของผู้ค้ามาตรา 7 สอบยันความถูกต้องกับหลักฐานที่ พพ. ส่งให้ ธพ. ตรวจสอบ เพื่อแจ้งให้ สนพ. ดำเนินการต่อไป
4) สนพ. ออกประกาศ กบง. กำหนดอัตราเงินชดเชยน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลังในโครงการฯ และทำหนังสือแจ้งให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงานจ่ายเงินชดเชยให้ผู้ค้ามาตรา 7
7.2 อัตราการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล
8. สมมุติฐานราคาเอทานอลจากกากน้ำตาลเฉลี่ยเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน 2555 ที่ราคา 19.3 บาทต่อลิตร เงินชดเชย ราคาเอทานอลจะเท่ากับ 7.412 บาทต่อลิตร ดังนั้น วงเงินขอชดเชยแก๊สโซฮอลจะเท่ากับ 180 ล้านบาท ดังนั้น ฝ่ายเลขานุการฯ ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลัง ในวงเงิน 180 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบแนวทางการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลังดังนี้
1.1 วิธีการชดเชย
1) ชดเชยราคาแก๊สโซฮอลที่สูงขึ้นจากการใช้เอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังในโครงการมาผสม เมื่อเทียบกับเอทานอลที่ผลิตจากกากน้ำตาลในแต่ละเดือน ให้แก่ผู้ค้ามาตรา 7 ที่เข้าร่วมโครงการ โดยคำนวณจากปริมาณเอทานอลที่ขอชดเชยแล้วจะไม่เกินกว่าปริมาณเอทานอลที่รับซื้อจากผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังที่ซื้อจากคลังกลาง (อคส.) (ปตท. ไม่เกิน 16.2 ล้านลิตร บางจาก ไม่เกิน 7.4 ล้านลิตร และไทยออยล์ไม่เกิน 0.8 ล้านลิตร)
2) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นผู้ตรวจสอบหลักฐานความถูกต้องของปริมาณ และราคามันเส้นที่โรงงานเอทานอลรับซื้อจากเอทานอลในโครงการ (อคส.) รวมทั้งปริมาณที่จำหน่ายให้ผู้ค้ามาตรา 7 และแจ้งให้กรมธุรกิจพลังงานทราบ
3) กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เป็นผู้ตรวจสอบหลักฐานการจำหน่ายแก๊สโซฮอลและจำนวนเงินที่ขอชดเชยของผู้ค้ามาตรา 7 สอบยันความถูกต้องกับหลักฐานที่ พพ. ส่งให้ ธพ. ตรวจสอบ เพื่อแจ้งให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานดำเนินการต่อไป
4) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานกำหนดอัตราเงินชดเชยน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลังในโครงการฯ และทำหนังสือแจ้งให้ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน จ่ายเงินชดเชยให้ผู้ค้ามาตรา 7
1.2 อัตราการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล
2. อนุมัติเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลที่ผสมเอทานอลจากมันสำปะหลัง ในวงเงิน 180 ล้านบาท (หนึ่งร้อยแปดสิบล้านบาทถ้วน)
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 มีมติเห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 ให้ทยอยปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ในภาคอุตสาหกรรมให้สะท้อนต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป โดยปรับราคาขายปลีกไตรมาสละ 1 ครั้ง จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 3 บาทต่อกิโลกรัม ต่อมาคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 มีมติเห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG โดยภาคครัวเรือน ให้ขยายระยะเวลาการตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนต่อไปจนถึงสิ้นปี 2555 ภาคขนส่ง ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 ให้ปรับขึ้นราคาขายปลีกเดือนละ 0.75 บาทต่อกิโลกรัม (0.41 บาทต่อลิตร) จนไปสู่ต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน (ปรับราคาไปแล้ว 4 เดือน รวม 3 บาทต่อกิโลกรัม หรือ 1.64 บาทต่อลิตร) และภาคปิโตรเคมี กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ 1 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป
2. สถานการณ์ก๊าซ LPG โดยในไตรมาสแรกของปี 2555 การจัดหาก๊าซ LPG มาจากการผลิตในประเทศร้อยละ 74 (จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติร้อยละ 64 และจากโรงกลั่นน้ำมันและโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีร้อยละ 36) และนำเข้าร้อยละ 26 ส่วนความต้องการใช้หลักอยู่ในภาคครัวเรือนประมาณร้อยละ 41 ส่วนที่เหลืออยู่ในภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีประมาณร้อยละ 15, 9 และ 35 ตามลำดับ ทั้งนี้ ในช่วงปี 2550 - ไตรมาสแรกของปี 2555 อัตราการขยายตัวของความต้องการใช้ก๊าซ LPG ในภาคครัวเรือนโดยเฉลี่ยร้อยละ 9 ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตของ GDP และอัตราการขยายตัวของจำนวนครัวเรือน จึงเป็นไปได้ว่าส่วนหนึ่งของก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนมีการรั่วไหลไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หรือนำไปใช้ในภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรม โดยพบว่าเมื่อเริ่มปรับราคาก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา ปริมาณใช้ก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมลดลงอย่างต่อเนื่อง
3. ปัจจุบันก๊าซหุงต้มที่จำหน่ายในประเทศถูกตรึงราคาไว้ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ก๊าซ LPG ภาคขนส่ง ได้ปรับราคาไปแล้ว 4 ครั้งๆ ละ 0.75 บาทต่อกิโลกรัม ราคาจำหน่าย ณ วันที่ 23 เมษายน 2555 เท่ากับ 21.13 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าราคาก๊าซหุงต้ม 3 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับก๊าซ LPG ที่จำหน่ายในภาคอุตสาหกรรม ได้ปรับราคาครบถ้วนตามมติคณะรัฐมนตรีแล้วจำนวน 4 ครั้งๆ ละ 3 บาทต่อกิโลกรัม รวม 12 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีราคาจำหน่าย 30.13 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนราคาจำหน่ายก๊าซ LPG ในประเทศเพื่อนบ้าน ณ วันที่ 4 เมษายน 2555 ในประเทศ ลาว พม่า กัมพูชา มาเลยเซีย และเวียดนาม อยู่ที่ 49, 34, 45, 20 และ 59 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ขณะที่ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ในประเทศไทยอยู่ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม
4. เนื่องจากก๊าซ LPG ที่จำหน่ายในภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม มีราคาแตกต่างกัน ส่งผลให้มีการนำก๊าซ LPG ไปใช้ข้ามสาขาหรือผิดประเภท ดังนี้ (1) การลักลอบนำก๊าซ LPG จากโรงบรรจุก๊าซไปจำหน่ายข้ามสาขา ส่งผลให้เงินนำส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากก๊าซ LPG ที่จำหน่ายในสาขาขนส่งและอุตสาหกรรมไม่ครบถ้วน (2) การนำถังก๊าซหุงต้มไปใช้ในยานพาหนะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (3) การการลักลอบถ่ายเท LPG จากถังก๊าซหุงต้ม หรือรถขนส่งก๊าซ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ปัจจุบันยังไม่พบการกระทำผิดดังกล่าว และ ( 4) การนำถังก๊าซหุงต้มไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมแทนการใช้ถังเก็บขนาดใหญ่หรือถัง Bulk ปัจจุบันยังไม่มีความผิดเนื่องจากกฎหมายอนุญาตให้ตั้งถังก๊าซหุงต้มขนาด 48 กิโลกรัมได้ 20 ใบ (ไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม) แต่อาจส่งผลให้ความปลอดภัยลดลง และ เนื่องจากก๊าซ LPG ในประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบมีราคาสูงกว่าก๊าซหุงต้มที่จำหน่ายในประเทศมาก ทำให้มีการลักลอบส่งออกก๊าซ LPG ที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มไปจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้านทั้งทางบกและทางทะเล
5. เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2555 คณะอนุกรรมการกำหนดแนวทางปฏิบัติงานในการป้องกันและตรวจสอบการลักลอบจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ได้เห็นชอบให้ ขอความร่วมมืองานปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ปนม. ตร.) ออกตรวจสอบและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการลักลอบจำหน่ายก๊าซ LPG ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และการลักลอบจำหน่ายก๊าซ LPG ข้ามสาขา
6. ธพ. ได้ติดตามข้อมูลปริมาณจำหน่ายก๊าซให้โรงบรรจุก๊าซและสถานีบริการที่มีความผิดปกติ ดังนี้ (1) โรงบรรจุก๊าซในจังหวัดตามแนวชายแดนและจังหวัดใกล้เคียงที่มียอดจำหน่ายสูงผิดปกติ จำนวน 173 แห่ง ใน 31 จังหวัด และ (2) สถานีบริการจำหน่ายก๊าซ LPG ที่มียอดจำหน่ายผิดปกติหรือมีพฤติกรรมน่าสงสัยทั่วประเทศ จำนวน 405 แห่ง ซึ่ง ธพ. ได้ประสาน ปนม. ตร. จัดส่งชุดปฏิบัติการในส่วนกลาง เพื่อร่วมดำเนินการตรวจสอบ 12 ชุดปฏิบัติการๆ ละ 15 คน รวม 180 คน มีเวลาปฏิบัติงานได้เดือนละประมาณ 14 วัน ตรวจสอบโรงบรรจุก๊าซและสถานีบริการจำนวน 578 แห่ง จะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5 เดือน รวมระยะเวลาปฏิบัติงาน 70 วัน
7. ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบโรงบรรจุก๊าซและสถานีบริการก๊าซ LPG ทั่วประเทศ จำนวน 578 แห่ง เป็นจำนวน 13,584,000 บาท โดยขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนน้ำมันฯ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 เดือน (ระยะเวลา ปนม.ตร. ดำเนินงาน 5 เดือน และระยะเวลาสำหรับเบิกจ่ายเงิน 2 เดือน)
มติของที่ประชุม
อนุมัติเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2555 ให้กรมธุรกิจพลังงาน เพื่อดำเนินงานโครงการป้องกันและปราบปรามการลักลอบจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวข้ามสาขาและการลักลอบส่งออกก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปยังประเทศเพื่อนบ้านจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในวงเงิน 13,584,000 บาท (สิบสามล้านห้าแสนแปดหมื่นสี่พันบาทถ้วน) ระยะเวลาดำเนินการ 7 เดือน โดยให้สามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ตามการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง โดยสามารถถัวจ่ายระหว่างรายการได้
กบง. ครั้งที่ 103 - วันอังคารที่ 10 เมษายน 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 6/2555 (ครั้งที่ 103)
เมื่อวันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 09.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล
2. แนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของก๊าซ LPG และ NGV ในภาคขนส่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ในกิจกรรม "ปิดไฟ ช่วยชาติ" ในวันที่ 10 เมษายน 2555 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งการจัดกิจกรรม "ปิดไฟ ช่วยชาติ" เป็นผลมาจากการคาดการณ์ความต้องการใช้พลังงานจะสูงสุด ในวันที่ 10 เมษายน 2555 ช่วงเวลาประมาณ 14.00-15.00 น. ประกอบกับเป็นช่วงที่ประเทศพม่าหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติเนื่องจากมีการหยุดซ่อมแซมประจำปี และโรงไฟฟ้าในประเทศบางแห่งจำเป็นต้องปิดซ่อมแซมเพื่อฟื้นฟูหลังน้ำท่วม ส่งผลให้การส่งกระแสไฟฟ้ากำลังสำรองไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น เพื่อสร้างความตระหนักของทุกภาคส่วนให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้พลังงาน ให้เกิดความประหยัดอย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงพลังงานจึงจัดกิจกรรมดังกล่าว ด้วยการปิดไฟที่ไม่จำเป็นอย่างน้อย 1 ดวง ให้พร้อมกันในช่วงเวลา 14.00 - 15.00 น.
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 เกี่ยวกับแนวทางการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้ (1) ทยอยปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล เดือนละ 1 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป โดยมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาระยะเวลาการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ตามความเหมาะสม (2) ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของดีเซลหมุนเร็ว 0.60 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป โดยมอบให้ กบง. พิจารณาระยะเวลาการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ตามความเหมาะสม
2. เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2555 กบง. ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ในเดือนมกราคม 2555 โดยน้ำมันเบนซิน 95, 91 แก๊สโซฮอล 95, 91, E20 ปรับเพิ่มขึ้น 1.00 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ชดเชยเพิ่มขึ้น 0.10 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มขึ้น 0.60 บาทต่อลิตร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป และเพื่อให้การดำเนินการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 สอดคล้องกับสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในแต่ละเดือน กบง. จึงได้มีมติมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) นำเสนอ กพช. พิจารณามอบหมายให้ กบง. กำหนดอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ให้มีความเหมาะสมและคล่องตัว โดยคำนึงถึงราคาน้ำมันในตลาดโลก การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันฯ
3. ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 กบง. ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นไป โดยน้ำมันเบนซิน 95, 91 แก๊สโซฮอล 95, 91, E20 และ E85 ปรับเพิ่มขึ้นชนิดละ 1.00 บาทต่อลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วให้คงไว้ที่อัตราเดิม จากการทยอยปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลขึ้น 1.00 บาทต่อลิตร ทำให้อัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 91, E20 และ E85 อยู่ที่อัตรา 0.60, -0.80 และ -12.60 บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ที่เคยกำหนดไว้เดิม ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2554 ที่อัตรา 0.10, -1.30 และ -13.50 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ดังนั้น กบง. จึงได้มีมติให้ สนพ. จัดทำข้อเสนอการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ให้มีความเหมาะสมและคล่องตัว โดยคำนึงถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันฯ นำเสนอ กพช. โดยการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแต่ละชนิดไม่สูงเกินกว่าอัตราเดิมที่เคยกำหนดไว้ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2554
4. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 1 เมษายน 2555 มีทรัพย์สินรวม 4,011 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 26,845 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 20,318 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 347 ล้านบาท ดังนั้นกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 22,834 ล้านบาท
5. เพื่อให้เป็นไปตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 จึงต้องปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินขึ้น 1.00 บาทต่อลิตร โดยให้คงอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอลในอัตราเดิม และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วยังคงอัตราที่ 0.60 บาทต่อลิตร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2555 เป็นต้นไป จากการปรับเพิ่มอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว จะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 เพิ่มขึ้น 1.07 บาทต่อลิตร ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลและน้ำมันดีเซลคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 กับน้ำมันเบนซิน 91 เพิ่มขึ้นจาก 2.35 บาทต่อลิตร เป็น 3.42 บาทต่อลิตร และส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 กับน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้นจาก 6.30 บาทต่อลิตร เป็น 7.37 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ กองทุนน้ำมันฯ จะมีภาระลดลงประมาณวันละ 10 ล้านบาท จากติดลบวันละ 70 ล้านบาท เป็นติดลบวันละ 60 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 3.00 | 4.00 | +1.00 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 3.00 | 4.00 | +1.00 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.20 | 2.20 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.60 | 0.60 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -0.80 | -0.80 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -12.60 | -12.60 | - |
น้ำมันดีเซล | 0.60 | 0.60 | - |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 แนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของก๊าซ LPG และ NGV ในภาคขนส่ง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 เห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 ดังนี้ (1) ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีก NGV เดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 จนถึงเดือนธันวาคม 2555 (2) ทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยลงเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ถึงเดือนเมษายน 2555 (3) ขยายระยะเวลาการตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนต่อไปจนถึงสิ้นปี 2555 (4) ขยายระยะเวลาการตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคขนส่งต่อไปจนถึงวันที่ 15 มกราคม 2555 โดยตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เริ่มปรับขึ้นราคาขายปลีกเดือนละ 0.75 บาทต่อกิโลกรัม (0.41 บาทต่อลิตร) โดยปรับพร้อมกับการขึ้นราคา NGV 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จนไปสู่ต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน (5) กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับก๊าซที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กิโลกรัมละ 1 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป และ (6) มอบหมายให้ กบง. พิจารณาดำเนินการแก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ
2. การดำเนินการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ออกประกาศ กบง. เรื่อง อัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ จำนวน 4 ฉบับ ซึ่งการปรับลดอัตราเงินชดเชยดังกล่าวส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ NGV ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2555 ปรับเพิ่มขึ้น 1.50 บาทต่อกิโลกรัม จาก 8.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 10.00 บาทต่อกิโลกรัม
3. การดำเนินการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG สนพ. ได้ออกประกาศ กบง. เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง จำนวน 4 ฉบับ มีผลทำให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 จนถึงวันที่ 15 เมษายน 2555 ปรับเพิ่มขึ้น 2.25 บาทต่อกิโลกรัม จาก 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 20.38 บาทต่อกิโลกรัม
4. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้มีข้อเสนอดังนี้ (1) ขอความเห็นชอบกำหนดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ในอัตรา 0.00 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2555 เป็นต้นไป (2) ขอความเห็นชอบกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่งในอัตรา 2.8036 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2555 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 (3) ขอความเห็นชอบร่างประกาศ กบง. เรื่อง อัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ และ เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง และ(4) มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ในอัตรา 0.00 บาท ต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
2. เห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันสำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่งในอัตรา 2.8036 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2555 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2555
3. เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เรื่อง อัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ และเรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง
4. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
กบง. ครั้งที่ 102 - วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 5/2555 (ครั้งที่ 102)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
ประธานฯ ได้สอบถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดประชุมทางไกล (Teleconference) ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ ได้ชี้แจงว่า จะประสานหารือกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่ามีกฎหมายใดที่รองรับการจัดประชุมทางไกล เมื่อได้ข้อสรุปผลการหารือแล้วจะรายงานให้ประธานฯ ทราบต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 เกี่ยวกับแนวทางการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้ (1) ทยอยปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล เดือนละ 1 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป โดยมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาระยะเวลาการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ตามความเหมาะสม (2) ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของดีเซลหมุนเร็ว 0.60 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป โดยมอบให้ กบง. พิจารณาระยะเวลาการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ตามความเหมาะสม
2. เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2555 กบง. ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ในเดือนมกราคม 2555 โดยน้ำมันเบนซิน 95, 91 แก๊สโซฮอล 95, 91, E20 ปรับเพิ่มขึ้น 1.00 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ชดเชยเพิ่มขึ้น 0.10 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มขึ้น 0.60 บาทต่อลิตร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป และเพื่อให้การดำเนินการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 สอดคล้องกับสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในแต่ละเดือน กบง. จึงได้มีมติมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) นำเสนอ กพช. พิจารณามอบหมายให้ กบง. กำหนดอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ให้มีความเหมาะสมและคล่องตัว โดยคำนึงถึงราคาน้ำมันในตลาดโลก การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันฯ
3. ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 กบง. ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นไป โดยน้ำมันเบนซิน 95, 91 แก๊สโซฮอล 95, 91, E20 และ E85 ปรับเพิ่มขึ้นชนิดละ 1.00 บาทต่อลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วให้คงไว้ที่อัตราเดิม จากการทยอยปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลขึ้น 1.00 บาทต่อลิตร ทำให้อัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 91, E20 และ E85 อยู่ที่อัตรา 0.60 -0.80 และ -12.60 บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ที่เคยกำหนดไว้เดิม ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2554 ที่อัตรา 0.10 -1.30 และ -13.50 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ดังนั้น กบง. จึงได้มีมติให้ สนพ. จัดทำข้อเสนอการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ให้มีความเหมาะสมและคล่องตัว โดยคำนึงถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันฯ นำเสนอ กพช. โดยการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแต่ละชนิดไม่สูงเกินกว่าอัตราเดิมที่เคยกำหนดไว้ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2554
4. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 11 มีนาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 3,824 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 24,961 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 24,807 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 154 ล้านบาท ดังนั้นกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 21,137 ล้านบาท
5. เนื่องจากยังไม่ได้มีการประชุม กพช. ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 จึงต้องปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินขึ้น 1.00 บาทต่อลิตร โดยให้คงอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอลในอัตราเดิม และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วยังคงอัตราที่ 0.60 บาทต่อลิตร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2555 เป็นต้นไป จากการปรับเพิ่มอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว จะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 เพิ่มขึ้น 1.07 บาทต่อลิตร ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลและน้ำมันดีเซลคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 กับน้ำมันเบนซิน 91 เพิ่มขึ้นเป็น 2.35 บาทต่อลิตร และส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 กับน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้นเป็น 6.30 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ กองทุนน้ำมันฯ จะมีภาระลดลงประมาณวันละ 9 ล้านบาท จากติดลบวันละ 146 ล้านบาท เป็นติดลบวันละ 137 ล้านบาท
6. จากมติ กบง. เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 ที่มอบหมายให้ สนพ. จัดทำข้อเสนอการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ นำเสนอต่อ กพช. โดยการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแต่ละชนิดไม่สูงเกินกว่าอัตราเดิมที่เคยกำหนดไว้ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2554 หากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้นต่อเนื่อง อาจทำให้ขาดความยืดหยุ่นคล่องตัวในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ดังนั้นฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอให้ยกเลิกมติ กบง. เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 ที่มอบหมายให้ สนพ. จัดทำข้อเสนอการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ให้มีความเหมาะสมและคล่องตัว นำเสนอต่อ กพช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยคำนึงถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแต่ละชนิดไม่สูงเกินกว่าอัตราเดิมที่เคยกำหนดไว้ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2554
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 2.00 | 3.00 | +1.00 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 2.00 | 3.00 | +1.00 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.20 | 2.20 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.60 | 0.60 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | 0.80 | 0.80 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -12.60 | -12.60 | - |
น้ำมันดีเซล | 0.60 | 0.60 | - |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2555 เป็นต้นไป
2. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 ที่มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานจัดทำข้อเสนอการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้มีความเหมาะสมและคล่องตัว และนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยคำนึงถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแต่ละชนิดไม่สูงเกินกว่าอัตราเดิมที่เคยกำหนดไว้ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2554
ที่ประชุมฯ ได้มีการหารือในเรื่องต่างๆ โดยสรุปได้ดังนี้
1. ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมฯ ทราบเกี่ยวกับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 32.33 บาทต่อลิตร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประชาชน ปัจจุบันผู้ประกอบการด้านขนส่ง ได้แก่ ผู้ประกอบการรถโดยสารขนส่งสาธารณะ ได้มีการเรียกร้องขอปรับขึ้นราคาค่าโดยสาร ทั้งนี้ ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ผู้ประกอบการยอมรับได้อยู่ที่ไม่เกิน 33 บาทต่อลิตร หากราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 33 บาทต่อลิตร จะไม่มีการปรับราคาค่าโดยสารขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่อัตรา 0.60 บาทต่อลิตร เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อราคาค่าโดยสารอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว
2. รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ความเห็นว่า คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ได้เคยมีการพิจารณาว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 3 บาท คือ จากเดิมกำหนดไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร ปรับเพิ่มเป็น 33 บาทต่อลิตร จึงจะมีการพิจารณาเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าโดยสาร และอาจมีผู้ประกอบการรถโดยสารฯ บางรายที่ใช้ก๊าซ NGV จะเรียกร้องขอขึ้นค่าโดยสารโดยใช้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเป็นฐาน ซึ่งกระทรวงพลังงานควรมีการประชาสัมพันธ์ชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประชาชนและผู้ประกอบการเข้าใจที่ถูกต้อง
3. ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (พลตำรวจโทวิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์) ได้แจ้ง ที่ประชุมฯ เกี่ยวกับความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการกำหนดแนวทางการชดเชยราคาเอทานอล ที่ผลิตจากมันสำปะหลัง โดยพบว่าข้อมูลการชดเชยราคาเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังที่มีอยู่ไม่ถูกต้อง จึงได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ของคณะกรรมการเอทานอลฯ ไปประสานกรมสรรพสามิตเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ (นายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์) ได้มีความเห็นว่า กระทรวงพาณิชย์มีสต๊อกมันเส้นอยู่จำนวนหนึ่ง ที่ต้องการให้โรงงานผลิตเอทานอลช่วยรับซื้อ โดยอาจเปิดรับซื้อโดยตรงหรือซื้อผ่านองค์กรคลังสินค้า (อคส.) และปลัดกระทรวงพลังงานได้มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ถ้ามีสูตรราคาเอทานอลที่เหมาะสมแล้ว กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ควรหารือร่วมกับกรมการค้าภายใน เพื่อพิจารณากลไกการระบายมันสำปะหลังจากโกดังของ อคส. ไปยังโรงงานผลิตเอทานอล รวมถึงมาตรการตรวจสอบเพื่อจ่ายเงินชดเชย
4. ฝ่ายเลขานุการฯ (นายสุชาลี สุมามาลย์) ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า สนพ. ได้มีหนังสือหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจสอบข้อกฎหมายเกี่ยวกับการนำเงินกองทุนน้ำมันฯ มาใช้ในการรับซื้อเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งได้ประสานกรมสรรพสามิตเพื่อตรวจทานข้อมูลตัวเลขการชดเชยราคาเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง ซึ่ง สนพ. จะได้สรุปข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อนำเสนอคณะกรรมการฯ ในการประชุมต่อไป
5. รองปลัดกระทรวงพลังงาน (นายศิริศักดิ์ วิทยอุดม) มีความเห็นว่า ควรมีการทบทวนการกำหนดระยะเวลาการปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ LPG ในภาคขนส่ง โดยไม่จำเป็นต้องปรับพร้อมกับการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV แต่ควรปรับตามสถานการณ์ราคาพลังงาน ทั้งนี้ เพื่อให้มีความเหมาะสมและคล่องตัว
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
กบง. ครั้งที่ 101 - วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 4/2555 (ครั้งที่ 101)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
2. การศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV)
3. การบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV
5. แนวทางการจัดหาเงินให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
6. การส่งเสริมการรับซื้อเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงมันสำปะหลัง ปี 2554/2555
7. สถานการณ์พลังงานเดือนกุมภาพันธ์ 2555
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ในช่วงเช้าของวันนี้ กระทรวงพลังงานได้หารือร่วมกับผู้บริหารโรงกลั่นน้ำมัน เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภาวะวิกฤติกรณีอิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งโรงกลั่นได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนนโยบายของกระทรวงพลังงานในการจัดทำแนวทางการเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันในประเทศ ซึ่งโรงกลั่นสามารถเพิ่มปริมาณการสำรองน้ำมันจากเดิม 55 วัน เพิ่มขึ้นเป็น 64 วัน
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 ดังนี้ (1) ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีก NGV เดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 จนถึงเดือนธันวาคม 2555 (2) ทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยลงเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ถึงเดือนเมษายน 2555 (3) ขยายระยะเวลาการตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนต่อไปจนถึงสิ้นปี 2555 (4) ขยายระยะเวลาการตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคขนส่งต่อไปจนถึงวันที่ 15 มกราคม 2555 โดยตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เริ่มปรับขึ้นราคาขายปลีกเดือนละ 0.75 บาทต่อกิโลกรัม (0.41 บาทต่อลิตร) โดยปรับพร้อมกับการขึ้นราคา NGV 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จนไปสู่ต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน (5) กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับก๊าซที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กิโลกรัมละ 1 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป (6) มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาดำเนินการแก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ
2. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 กบง. ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV ดังนี้ (1) ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ NGV เดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 - ธันวาคม 2555 (2) ทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยของก๊าซ NGV ลงเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 - เดือนเมษายน 2555 (3) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ออกประกาศ กบง. เรื่อง อัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้ (1) ฉบับที่ 10 โดยกำหนดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2555 ในอัตรากิโลกรัมละ 1.50 บาท (2) ฉบับที่ 16 กำหนดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นไป ในอัตรากิโลกรัมละ 1.50 บาท และ (3) ฉบับที่ 28 กำหนดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นไป ในอัตรากิโลกรัมละ 1.00 บาทส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ NGV ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2555 ปรับเพิ่มขึ้น 1.00 บาทต่อกิโลกรัม จาก 8.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 9.50 บาทต่อกิโลกรัม
3. กบง. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2554 เห็นชอบแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ในภาคขนส่ง ดังนี้ (1) เห็นชอบให้ปรับเพิ่มราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่ง เดือนละ 0.75 บาทต่อกิโลกรัม (0.41 บาทต่อลิตร) จนไปสู่ต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป (2) เห็นชอบร่างประกาศ กบง. เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง (3) มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 กบง. ได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง ในช่วงวันที่ 1- 15 กุมภาพันธ์ 2555 ในอัตรา 0.7009 บาทต่อกิโลกรัม และให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ กบง. พิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง ก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555
4. สนพ. ได้ออกประกาศ กบง. เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้ (1) ฉบับที่ 3 กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่จำหน่ายก๊าซให้ภาคขนส่งต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มตามระยะเวลาและในอัตราที่เพิ่มขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 16 - 31 มกราคม 2555 อัตรากิโลกรัมละ 0.7009 บาท และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 เพิ่มขึ้นในอัตรากิโลกรัมละ 0.7009 บาทต่อเดือน สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2556 ที่อัตราราคากิโลกรัมละ 10.4154 บาท (2) ฉบับที่ 19 กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่จำหน่ายก๊าซให้ภาคขนส่งต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 ในอัตรากิโลกรัมละ 0.7009 บาท เป็นต้นไป และ (3) ฉบับที่ 27 กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่จำหน่ายก๊าซให้ภาคขนส่งต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นไป ในอัตรากิโลกรัมละ 1.4018 บาท
5. ฝ่ายเลขานุการฯได้เสนอประเด็นให้ กบง. พิจารณาดังนี้ (1) ขอความเห็นชอบกำหนดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ในอัตรา 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2555 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2555 (2) ขอความเห็นชอบกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันสำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่งในอัตรา 2.1027 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2555 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2555 (3) ขอความเห็นชอบร่างประกาศ กบง. เรื่อง อัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ และเรื่องการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง (4) มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบกำหนดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ในอัตรา 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2555 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2555
2. เห็นชอบกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่งในอัตรา 2.1027 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2555 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2555
3. เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เรื่อง อัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ และเรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง
4. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงานเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
เรื่องที่ 2 การศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV)
สรุปสาระสำคัญ
1. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 เห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 เรื่อง นโยบายการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ดังนี้ (1) ขยายระยะเวลาตรึงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ในระดับราคา 8.50 บาทต่อกิโลกรัม และคงอัตราเงินชดเชยในอัตรา 2 บาทต่อกิโลกรัม ต่อไปตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2554 จนถึงวันที่ 15 มกราคม 2555 (2) ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ NGV เดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 จนถึงเดือนธันวาคม 2555 (3) ทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยลงเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 - เมษายน 2555 (4) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากแนวทางการปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับกลุ่มรถโดยสารสาธารณะ โดยมอบให้ กบง. รับไปพิจารณาหาแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มดังกล่าวต่อไป
2. จากผลการศึกษาทบทวนการกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติและการศึกษาต้นทุนก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ธันวาคม 2553 ของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ยังมีผู้ประกอบการหรือประชาชนบางกลุ่มที่ต้องการให้มีการสอบทานข้อมูล เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน กระทรวงพลังงานจึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคาก๊าซ NGV ขึ้น โดยมีผู้อำนวยการ สนพ. เป็นประธาน และผู้แทนกลุ่มผู้ประกอบการรถที่ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงร่วมเป็นคณะทำงาน โดยคณะทำงานฯ ได้มีการประชุมร่วมกันแล้ว 2 ครั้ง และได้เห็นชอบให้ สนพ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาทบทวนเพื่อสอบทานข้อมูลและหลักเกณฑ์การคิดต้นทุนก๊าซ NGV เพื่อให้การกำหนดราคาขายก๊าซ NGV มีความถูกต้อง เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนการผลิตที่แท้จริง และได้รับการยอมรับจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้เสนอโครงการการศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ดังนี้ (1) วัตถุประสงค์ เพื่อสอบทานและศึกษาข้อมูลและหลักเกณฑ์การคิดต้นทุนก๊าซ NGV สำหรับใช้ในการกำหนดราคาขายก๊าซ NGV ในประเทศ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการกำหนดราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่มีความชัดเจน โปร่งใส และเป็นธรรม (2) ขอบเขตการศึกษาวิจัย เป็นการศึกษาวิจัยต้นทุนราคาก๊าซ NGV แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ การศึกษาทบทวนต้นทุนราคาเนื้อก๊าซธรรมชาติ การศึกษาทบทวนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสำหรับก๊าซ NGV และดำเนินการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการผลการศึกษาวิจัยเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนอย่างน้อย 2 ครั้ง (3) วงเงินงบประมาณ 1,500,000 บาท และ (4) ให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในวันที่ 18 เมษายน 2555 ทั้งนี้ไม่รวมระยะเวลาในการเบิกจ่าย
มติของที่ประชุม
อนุมัติเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง งบค่าใช้จ่ายอื่น ปีงบประมาณ 2555 ให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เพื่อดำเนินงานโครงการการศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ในวงเงิน 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน) มีระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินงาน ณ วันที่ 10 เมษายน 2555 โดยไม่รวมระยะเวลาในการเบิกจ่าย
เรื่องที่ 3 การบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 เห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 ดังนี้ (1) ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ NGV เดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 จนถึง ธันวาคม 2555 (2) ทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยลงเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 - เมษายน 2555 และ (3) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากแนวทางการปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับกลุ่มรถโดยสารสาธารณะ โดยมอบให้ กบง. รับไปพิจารณาหาแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มดังกล่าวต่อไป
2. กบง. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ได้มีมติเห็นชอบโครงการบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ (รถแท็กซี่ รถตุ๊กตุ๊ก และรถตู้ร่วมโดยสาร ขสมก.) โดยมีวงเงินบัตรเครดิต 3,000 บาท และส่วนลดราคาขายปลีก NGV จากการใช้บัตรเครดิตและเงินสดรวมวงเงิน 9,000 บาท ซึ่งการให้ส่วนลดราคาขายปลีกก๊าซ NGV เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 - 31 ธันวาคม 2558
3. เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 กลุ่มผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกขนส่งได้เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ซึ่งเห็นชอบการทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ NGV เดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 จนถึงธันวาคม 2555 ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) ได้หารือกับกลุ่มผู้ร้องเรียน และได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV สำหรับกลุ่มรถโดยสารสาธารณะ กลุ่มรถโดยสารประจำทางสาธารณะและรถบรรทุกขนส่ง โดยมีภาครัฐและกลุ่มผู้ประกอบการร่วมเป็นคณะทำงาน
4. การดำเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการขึ้นราคาก๊าซ NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะกลุ่มอื่น โดยเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2555 กบง. ได้มอบหมายให้ ปตท. รับไปดำเนินการจัดทำบัตรส่วนลดราคาขายปลีกก๊าซ NGV และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้บัตรส่วนลดสำหรับรถร่วมโดยสารประจำทาง ขสมก. รถมินิบัสร่วม ขสมก. และรถสองแถวร่วม ขสมก. ต่อไป
5. คณะทำงานทบทวนการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV กลุ่มรถโดยสารประจำทางสาธารณะได้มีการประชุม เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งได้พิจารณาถึงผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซ NGV ต่อกลุ่มรถโดยสารประจำทางสาธารณะที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 หมวด 1 - 4 ที่ปัจจุบันถูกควบคุมค่าโดยสารโดยกรมการขนส่งทางบก โดยได้มีความเห็นให้ ปตท. รับไปดำเนินการจัดทำบัตรส่วนลดเพิ่มเติมแก่กลุ่มรถโดยสารที่อยู่ภายใต้หมวด 1 - 4 ที่ยังไม่ได้รับบัตรส่วนลด (กลุ่มรถโดยสารประจำทางที่วิ่งในต่างจังหวัด) ต่อไป ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ปตท. จำเป็นต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการ ปตท. เพื่อขอความเห็นชอบการดำเนินการ ดังนั้น ปตท. จึงได้มีหนังสือถึง สนพ. เพื่อขอให้ สนพ. มีหนังสือยืนยันให้ ปตท. ดำเนินการ ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอให้ กบง. พิจารณามอบหมายให้ ปตท. จัดทำบัตรส่วนลดเพิ่มเติมแก่กลุ่มรถโดยสารที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 หมวด 1 - 4 (กลุ่มรถโดยสารประจำทางที่วิ่งในต่างจังหวัด) และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้บัตรส่วนลดต่อไป
มติของที่ประชุม
มอบหมายให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดทำบัตรส่วนลดเพิ่มเติมแก่กลุ่มรถโดยสารที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 หมวด 1 - 4 (กลุ่มรถโดยสารประจำทางที่วิ่งในต่างจังหวัด) และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้บัตรส่วนลดต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้ผ่อนผันให้บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (SPRC) สามารถจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91, 95 แก๊สโซฮอล 91 E10, 95 E10, E20, E85 น้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ที่ใช้ผลิตเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล ที่มีคุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานยูโร 4 ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 5 มีนาคม 2555 รวม 65 วัน ตามระยะเวลาที่บริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลปกครองที่ให้ระงับโครงการที่ดำเนินการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (วันที่ 29 กันยายน - 2 ธันวาคม 2552) ทำให้ไม่สามารถผลิตน้ำมันเบนซินมาตรฐานยูโร 4 ได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ (1 มกราคม 2555)
2. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 กบง. ได้มีมติเห็นชอบให้ สนพ. ออกประกาศ กบง. ฉบับที่ 8 พ.ศ.2555 กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ส่วนเพิ่มสำหรับโรงกลั่นที่ไม่สามารถผลิตน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 จำหน่ายภายในราชอาณาจักร จากที่เรียกเก็บจากโรงกลั่นอื่นที่สามารถผลิตน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 จนถึงวันที่สามารถจำหน่ายน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ได้ ดังนี้ น้ำมันเบนซิน 95, 91, เบนซินพื้นฐาน ที่อัตรา 0.48 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95, 91 ที่อัตรา 0.43 บาทต่อลิตรน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ที่อัตรา 0.37 บาทต่อลิตร และน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ที่อัตรา 0.07 บาทต่อลิตร
3. บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด ได้ขอให้ ธพ. พิจารณาขยายระยะเวลาการผ่อนผันการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 แก๊สโซฮอล 91 E10 แก๊สโซฮอล 95 E10 เบนซินพื้นฐานชนิดที่ 1 และเบนซินพื้นฐานชนิดที่ 2 ออกไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2555 ดังนั้น เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำมันกลุ่มเบนซิน ธพ. โดยความเห็นชอบของกระทรวงพลังงานได้พิจารณาขยายระยะเวลาการผ่อนผันเป็นการชั่วคราวให้บริษัท สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด สามารถจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 แก๊สโซฮอล 91E10 แก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ 1 และน้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ 2 ที่มีคุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานยูโร 4 ได้ ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม ถึงวันที่ 30 เมษายน 2555 และให้บริษัทฯ ชดเชยความเสียหาย โดยส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากไม่สามารถผลิตน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ได้ทันตามกำหนดเวลาอีก 0.48 บาทต่อลิตร จากเดิมที่เคยถูกเรียกเก็บไปแล้ว 0.48 บาทต่อลิตร
4. โดยทั่วไป น้ำมันที่ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศจะมีมูลค่าลดลง หรือต่ำกว่าการจำหน่ายในประเทศ โดยกรณีน้ำมันเบนซินจะลดลงประมาณ 2 - 3 เหรียญสหรัฐฯต่อบาเรล หรือ ประมาณ 0.48 บาทต่อลิตร (เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ปตท.ส่งออกน้ำมันเบนซิน 91 ยูโร 3 ได้รับมูลค่าลดลง เมื่อเทียบกับราคาในประเทศ 0.45 บาทต่อลิตร) ดังนั้น หากผ่อนผันให้ SPRC จำหน่ายน้ำมันภายในประเทศได้โดยไม่ต้องส่งออก ควรมีการปรับ หรือเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ จาก SPRC ในส่วนของน้ำมันที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานยูโร 4 ตามมูลค่าที่ลดลงเนื่องจากการส่งออก ในอัตรา 0.48 บาทต่อลิตร โดยเพิ่มจากเดิมที่กำหนดให้ส่ง 0.48 บาทต่อลิตร รวมเป็นอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนเพิ่ม 0.96 บาทต่อลิตร
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนเพิ่มสำหรับน้ำมันที่จำหน่ายในราชอาณาจักรที่ไม่ได้มาตรฐานน้ำมันยูโร 4 ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2555 จนถึงวันที่สามารถจำหน่ายน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ได้ ดังนี้
ชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง | อัตราเงินส่งเข้ากองทุน ส่วนเพิ่ม | |
น้ำมันเบนซิน 95 | 0.96 | บาทต่อลิตร |
น้ำมันเบนซิน 91 | 0.96 | บาทต่อลิตร |
น้ำมันเบนซินพื้นฐาน | 0.96 | บาทต่อลิตร |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 0.86 | บาทต่อลิตร |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.86 | บาทต่อลิตร |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 |
0.77 0.14 |
บาทต่อลิตรบาทต่อลิตร |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
เรื่องที่ 5 แนวทางการจัดหาเงินให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 ซึ่งเห็นชอบดังนี้ 1) นโยบายการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ประกอบด้วยแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ก๊าซ NGV และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และ 2) แนวทางการจัดหาเงินให้กองทุนน้ำมันฯ ดังนี้ (1) เห็นชอบแนวทางการจัดหาเงินให้กองทุนน้ำมันฯ โดยการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท ระยะเวลาประมาณ 1 ปี โดยให้ สบพน. ขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้คืนได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม หากกรณีกองทุนน้ำมันฯ มีสภาพคล่องคงเหลือ ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ และวงเงินสินเชื่อเป็นวงเงินที่สถาบันการเงินรับรองการเบิกเงินได้อย่างแน่นอน (Committed Line) และ (2) หากรัฐบาลมีการกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายใดๆ ก็ตาม ที่อาจส่งผลกระทบถึงฐานะทางการเงินของกองทุนน้ำมันฯ และ/หรือ ความสามารถในการชำระหนี้ของ สบพน. ให้ กพช. มีมาตรการในการให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ของ สบพน. ให้ได้รับชำระหนี้อย่างครบถ้วนตามกำหนดเวลา
2. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 คณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ได้พิจารณาแนวทางการจัดหาเงินให้กองทุนน้ำมันฯ ซึ่งที่ประชุมฯ มีความเห็นว่า การกู้ยืมจากธนาคารออมสินจะมีค่าธรรมเนียมที่แพงกว่าธนาคารกรุงไทยร้อยละ 0.1 ต่อปีของวงเงินสินเชื่อ ในขณะที่ธนาคารกรุงไทย ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ ซึ่ง สบพน. ได้ให้โอกาสธนาคารออมสิน ทบทวนผลการพิจารณาโดยของดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว แต่ธนาคารออมสินไม่สามารถแจ้งผลการพิจารณาได้ทันตามกำหนด ทั้งนี้ สบพน. มีความจำเป็นต้องเบิกใช้สินเชื่อเป็นการด่วนในช่วงต้นเดือน มกราคม 2555 จึงไม่อาจขยายระยะเวลาการพิจารณาแก่ธนาคารออมสินได้อีก ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้ สบพน. กู้ยืมเงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพียงแห่งเดียว เพื่อมิให้วงเงินสินเชื่อรวมเกินกว่าที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554
3. สบพน. ได้ลงนามในเอกสารคำขอสินเชื่อธุรกิจ และสัญญารับชำระหนี้กับธนาคารกรุงไทย เป็นจำนวนเงิน 10,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2555 และเริ่มทยอยเบิกเงินกู้ ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2555 เป็นต้นไป ซึ่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 สบพน. เบิกเงินกู้ไปแล้วทั้งสิ้น 5,303 ล้านบาท โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ระยะเวลา 90 วัน
4. เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 กบง. ได้มีมติ (1) เห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ในอัตรา 1.00 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2555 เห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่งในอัตรา 1.4018 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2555 และเห็นชอบการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอลเพิ่มขึ้น 1 บาทต่อลิตร '>โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นไป จากการกำหนดอัตราเงินชดเชย และการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ตามมติ กบง. ส่งผลต่อฐานะกองทุนฯ ณ วันที่ 4 มีนาคม 2555 โดยกองทุนมีฐานะสุทธิติดลบ 20,063 ล้านบาท
5. การเพิ่มขึ้นของราคาก๊าซ LPG CP รายเดือนในช่วง ปี 2554 ถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าราคาก๊าซ LPG CP ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มีราคาเฉลี่ย 1,022 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ปรับตัวสูงขึ้นจากปี 2554 ค่อนข้างมาก ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ปริมาณการนำเข้าก๊าซ LPG ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ประมาณ 160,222 ตัน และในเดือนมีนาคม 2555 ประมาณ 180,000-198,000 ตัน สูงกว่าช่วงที่ผ่านมา (ปริมาณการนำเข้าก๊าซ LPG ปี 2554 เฉลี่ย 119,922 ตันต่อเดือน) เนื่องจากโรงแยกก๊าซในประเทศ (โรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊าซที่ 1) ปิดซ่อมบำรุง จึงต้องนำเข้าก๊าซ LPG เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนกำลังการผลิตที่หายไป
6. สบพน. ได้จัดทำประมาณการงบกระแสเงินสด เพื่อประเมินผลกระทบจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาก๊าซ LPG และการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ตามมติ กบง. เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 โดยจัดทำเป็น 6 กรณีศึกษา และใช้สมมติฐาน อัตราแลกเปลี่ยน 31 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ประมาณอัตราเงินชดเชย LPG เป็นดังนี้
อัตราเงินชดเชย (บาท/กก.) | ||
กรณีราคา LPG 1,100 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน | กรณีราคา LPG 1,200 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน | |
LPG นำเข้าจากต่างประเทศ | -25.6370 | -28.7370 |
LPG จากโรงกลั่นในประเทศ | -18.0705 | -20.4265 |
สรุปการประมาณการ ตามกรณีศึกษาต่างๆ ดังนี้
กรณีศึกษาที่ | สมมติฐาน | ผลกระทบต่อกระแสเงินสดของกองทุนฯ | |||
ปริมาณนำเข้า LPG (ตัน/เดือน) | ระยะเวลาจ่ายเงินชดเชย | วงเงินกู้ที่ต้องการ รวม (ล้านบาท) | เดือนที่วงเงินกู้ เริ่มเกิน 10,000 ล้านบาท | ระยะเวลาชำระคืนหนี้ นับจากเบิกเงินกู้ | |
กรณีศึกษาที่ 1 ราคาก๊าซ LPG เท่ากับ 1,100 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ในปี 2555 และ 850 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ในปี 2556* | |||||
1 | 130,820-149,730 | 1 เดือน นับจากเกิดภาระหนี้ | 21,700 | มีนาคม 2555 | 24 เดือน (ธันวาคม 2556) |
กรณีศึกษาที่ 2 ราคาก๊าซ LPG เท่ากับ 1,200 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ในปี 2555 และ 850 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ในปี 2556* | |||||
2 | 170,000 | 1 เดือน นับจากเกิดภาระหนี้ | 35,600 | มีนาคม 2555 | 33 เดือน (กันยายน 2557) |
หมายเหตุ * ประมาณการราคาก๊าซ LPG ในปี 2556 เท่ากับ 850 เหรียญสหรัฐฯ/ต้น โดยคำนวณจากราคาเฉลี่ยในปี 2554
จากประมาณการทั้งสองกรณีศึกษา กองทุนน้ำมันฯ มีความต้องการวงเงินสินเชื่อเกินกว่าวงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยเริ่มเกินวงเงินในเดือนมีนาคม 2555 เป็นต้นไป และมีระยะเวลาชำระคืนเกินว่า 1 ปี ซึ่งไม่เป็นไปตามที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554
7. เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 คณะอนุกรรมการด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และบริหารความเสี่ยง สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ได้มีมติเห็นควรให้ สบพน. เตรียมจัดหาเงินกู้เพิ่มอีกประมาณ 20,000 ล้านบาท (รวมวงเงินกู้เดิม 10,000 ล้านบาท เป็นวงเงินกู้ทั้งสิ้น 30,000 ล้านบาท) เพื่อเสริมสภาพคล่องของกองทุนฯ รวมทั้งขยายระยะเวลาการชำระคืนหนี้ให้สอดคล้องกับกระแสเงินสดของกองทุนฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2555 คณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ได้เห็นชอบให้เสนอเรื่องแนวทางการจัดหาเงินให้กองทุนน้ำมันฯ วงเงินเพิ่มเติมอีกประมาณ 20,000 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินกู้ทั้งสิ้น 30,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี และขยายระยะเวลาชำระคืนหนี้ วงเงินกู้เดิม 10,000 ล้านบาท จากระยะเวลาชำระหนี้ 1 ปี เป็น 3 ปี ต่อ กบง. พิจารณาต่อไป และมอบหมายให้ สนพ. ศึกษาแนวทางปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ในกรณีที่กองทุนน้ำมันฯ ต้องกู้เพิ่มอีก 20,000 ล้านบาท ซึ่งการขยายระยะเวลาชำระคืนหนี้ในครั้งนี้ เป็นไปตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ซึ่งเห็นชอบแนวทางการจัดหาเงินให้กองทุนน้ำมันฯ โดยการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท ระยะเวลาประมาณ 1 ปี โดยให้ สบพน. ขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้คืนได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม หากกรณีกองทุนน้ำมันฯ มีสภาพคล่องคงเหลือไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบแนวทางการจัดหาเงินให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการขยายระยะเวลาการชำระคืนหนี้วงเงินกู้ยืมเดิม 10,000 ล้านบาท จาก 1 ปี เป็นระยะเวลา 3 ปี และกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน และ/หรือออกตราสารหนี้ เพิ่มอีกในวงเงิน 20,000 ล้านบาท มีระยะเวลาการชำระหนี้ภายใน 3 ปี ซึ่งจะทำให้ สบพน. มีวงเงินกู้ยืมทั้งสิ้นไม่เกิน 30,000 ล้านบาท โดยให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงานขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้คืนได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม หากกรณีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีสภาพคล่องคงเหลือไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ และวงเงินสินเชื่อเป็นวงเงินที่สถาบันการเงินรับรองการเบิกเงินได้อย่างแน่นอน (Committed Line)
2. หากรัฐบาลมีการกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบถึงฐานะทางการเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และ/หรือ ความสามารถในการชำระหนี้ของสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ควรขอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมีการประสานงานกับรัฐบาลเพื่อให้มีมาตรการในการให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ของสถาบันบริหารกองทุนพลังงานให้ได้รับชำระหนี้อย่างครบถ้วนตามกำหนดเวลา
3. เห็นชอบให้เสนอแนวทางการจัดหาเงินให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามข้อ 1 และ 2 ต่อคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อพิจารณาต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 คณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังได้มีมติเห็นชอบโครงการรับจำนำมันสำปะหลัง โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 ถึงเดือนพฤษภาคม 2555 มีเป้าหมายรับจำนำมันสำปะหลังทั้งสิ้น 15 ล้านตัน ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอโครงการแทรกแซงมันสำปะหลังปี 2554/55 โดยตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2555 ราคารับจำนำหัวมันสด (ตามเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งที่ร้อยละ 25) อยู่ที่ 2.75 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 10 ล้านตัน จำกัดการรับจำนำอยู่ที่ 250 ตันต่อราย และปรับขึ้นราคาการรับจำนำทุกเดือนๆ ละ 5 สตางค์ เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายการรับจำนำมันสำปะหลังของรัฐบาลและช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง กระทรวงพลังงาน จึงมีโครงการส่งเสริมการรับซื้อเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังสำหรับการใช้เป็นเชื้อเพลิงให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้ดูดซับปริมาณมันสำปะหลังในระบบ และส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น
2. เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการโรงงานเอทานอล และขอความร่วมมือผู้ประกอบการโรงงานเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังที่รับซื้อมันสำปะหลังในโครงการ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2555 กรมธุรกิจพลังงาน (ธ.พ.) ได้ประชุมร่วมกับ สนพ. พพ. และผู้ค้ามาตรา 7 เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการรับซื้อเอทานอลจากมันสำปะหลัง และขอความร่วมมือผู้ค้ามาตรา 7 ให้รับซื้อเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังในโครงการดังกล่าว
3. เป้าหมายปริมาณรับซื้อมันสำปะหลังและเอทานอลตามโครงการ มีปริมาณมันสำปะหลังที่รับซื้อตามโครงการจำนวน 75,000 ตันต่อเดือน และปริมาณเอทานอลที่จำหน่ายตามโครงการ 400,000 ลิตรต่อวัน หรือเป็นจำนวนทั้งสิ้น 24,400,000 ลิตร (เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2555) ซึ่งมีโรงงานเอทานอลที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ราย คือโรงงานที่ 1, 2 และ 3 มีโควตาเบื้องต้นที่ผลิตและจำหน่ายเอทานอลในโครงการ จำนวน 3,050,000 ลิตร 10,657,000 ลิตร และ 10,657,000 ลิตร ตามลำดับ ซึ่งโรงงานที่ 1 และ 2 จะตั้งจุดรับจำนำที่ลานมันของบริษัท รับซื้อมันสดในเดือนมีนาคม 2555 ตั้งแต่วันที่ กบง. มีมติเห็นชอบโครงการ โดยซื้อให้ครบจำนวนภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 ราคารับจำนำมันสด 2.80, 2.85 และ 2.90 บาทต่อกิโลกรัม ในเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม ตามลำดับ และโรงงานที่ 3 ซึ่งไม่มีลานมัน จะรับซื้อมันเส้นที่ผลิตจากลานมันในโครงการ โดยมีต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้น 0.10 บาทต่อกิโลกรัม (ไม่เกิน 50 กิโลเมตรแรก)
4. การชดเชยราคาเอทานอล
เงินชดเชย = ราคาเอทานอลจากมันสำปะหลัง (Cost Plus) - ราคาอ้างอิงเอทานอลจากกากน้ำตาล
โดย ราคาเอทานอลจากมันสำปะหลัง (Cost Plus) ที่นำมาคิดจะแบ่งเป็น 2 กรณี
1) กรณีผู้ผลิตเอทานอลเป็นจุดรับจำนำ(ลานมัน)
สถานที่รับจำนำ, แปรสภาพ และโรงงานเอทานอลเป็นสถานที่เดียวกัน ทำให้ราคามันเส้นที่โรงงานเอทานอลซื้อจาก อคส. ไม่มีต้นทุนการขนส่งมันเส้นจากลานมันไปคลังกลาง ซึ่งจะมีวิธีการคิดราคาเอทานอลจากมันสำปะหลัง (Cost Plus)
= (ต้นทุนวัตถุดิบ + ค่าแปรสภาพเป็นมันเส้น*) + ค่าการผลิตเอทานอล
2) กรณีผู้ผลิตเอทานอลเป็นคลังกลางเก็บมันเส้น(ไม่มีลานมัน)
สถานที่รับจำนำ,แปรสภาพ และโรงงานเอทานอลเป็นคนละสถานที่ ทำให้ราคามันเส้นมีต้นทุนการขนส่งมันเส้นจากลานมันไปคลังกลางเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีวิธีการคิด ราคาเอทานอลจากมันสำปะหลัง (Cost Plus)
= (ต้นทุนวัตถุดิบ + ค่าแปรสภาพเป็นมันเส้น* +ค่าขนส่งมันเส้น**) + ค่าการผลิตเอทานอล
* ค่าแปรสภาพเป็นมันเส้น = 380 บาทต่อตัน (0.38 บาทต่อกิโลกรัม)
** ค่าขนส่งมันเส้น = 100 บาทต่อตัน (0.10 บาทต่อกิโลกรัม)
ราคาเอทานอลจากกากน้ำตาล เป็นราคาซื้อขายเอทานอลล่วงหน้า ในไตรมาสที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน 2555) ในราคา 19.00 บาทต่อลิตร
5. วิธีการชดเชยราคาเอทานอล มีดังนี้ (1) โรงงานเอทานอลที่จะขอรับการชดเชยต้องแจ้งหลักฐานการรับซื้อมันสำปะหลัง/มันเส้น ซึ่งองค์การคลังสินค้า (อคส.) กระทรวงพาณิชย์ ออกเอกสารการสั่งจ่ายสินค้าที่ระบุปริมาณ, มูลค่า, ชื่อลานมัน/คลังสินค้าที่จ่ายมันเส้นให้โรงงานเอทานอล และลงชื่อจ่ายสินค้าโดยผู้มีอำนาจที่ได้รับมอบหมายจาก อคส. และปริมาณการขายเอทานอล ที่จะนำมาใช้แสดงต่อ พพ. (2) พพ. ตรวจสอบหลักฐานความถูกต้องของปริมาณและราคาการรับซื้อมันสำปะหลัง/มันเส้น และการขายเอทานอลที่จำหน่ายให้ผู้ค้ามาตรา 7 ซึ่งได้รับแจ้งจากโรงงานผลิตเอทานอลที่เข้าร่วมโครงการ และแจ้งยืนยันปริมาณและจำนวนเงินที่ขอชดเชยไปยัง สนพ. (3) สนพ. ทำหนังสือแจ้งให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (สบพน.) จ่ายเงินชดเชยให้โรงงานเอทานอล และ (4) สบพน. จ่ายเงินชดเชยให้โรงงานเอทานอล
6. ประมาณการวงเงินชดเชยขั้นสูงในวงเงิน 187,346,250 ล้านบาท โดยขอความเห็นชอบแนวทางการชดเชย และขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ ในการชดเชยการส่งเสริมการรับซื้อเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงมันสำปะหลัง ปี 2554/2555 ของกระทรวงพาณิชย์ ในวงเงิน 180 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการกำหนดแนวทางการชดเชยราคาเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์) เป็นประธานกรรมการ มีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ และมีผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเป็นเลขานุการคณะกรรมการ
2. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานประสานหารือกับสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตรวจสอบข้อกฎหมายเกี่ยวกับการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มาใช้ในโครงการและจ่ายชดเชยโดยตรงให้กับโรงงานเอทานอลเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
3. เห็นควรให้คณะกรรมการฯ ที่จัดตั้งขึ้นตามข้อ 1 ดำเนินการสอบทานข้อมูลเกี่ยวกับราคาซื้อขายของเอทานอลที่ผลิตจากกากน้ำตาลตามความเป็นจริง พร้อมทั้งกำหนดกลไกการตรวจสอบในการชดเชยราคาเอทานอล
เรื่องที่ 7 สถานการณ์พลังงานเดือนกุมภาพันธ์ 2555
สรุปสาระสำคัญ
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ได้รายงานสถานการณ์น้ำมันเชื้อเพลิง ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 สรุปได้ดังนี้
1) น้ำมันเบนซิน การใช้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2555 เพียงเล็กน้อย อยู่ที่ 20.5 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรัฐบาลเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและแก็สโซฮอลเพิ่มขึ้น 1 บาทต่อลิตร เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 แต่ราคาขายปลีกปรับตัวขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2555
2) น้ำมันดีเซล การใช้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2555 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้ที่ชะลอตัวลง ในเดือนมกราคม ประกอบกับเป็นช่วงฤดูพืชผลทางการเกษตร ทำให้มีการใช้น้ำมันดีเซลเพื่อขนส่งสินค้าทางการเกษตรเพิ่มขึ้น
3) ก๊าซ LPG การใช้ลดลงจากเดือนมกราคม 2554 คิดเป็นร้อยละ 12 แบ่งเป็น (1) ภาคครัวเรือน ลดลงร้อยละ 5 แต่เมื่อเปรียบเทียบการใช้ต่อวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ซึ่งการใช้ก๊าซ LPG เพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากหมดช่วงวิกฤตอุทกภัยในเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2554 (2) ภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 หลังการใช้ได้ปรับลดลงตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 ตามนโยบายการปรับเพิ่มราคาก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรมไตรมาสละ 3 บาทต่อกิโลกรัม และภาวะวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ปัจจุบันราคาขายปลีกอยู่ที่ 29.13 บาทต่อกิโลกรัม (3) ภาคขนส่ง ลดลงร้อยละ 8 เนื่องจากการปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ในภาคขนส่งเดือนละ 0.75 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ราคาขายปลีกอยู่ที่ 19.63 บาทต่อกิโลกรัม ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 และ (4) ภาคปิโตรเคมี ลดลงร้อยละ 20 เนื่องจาก โรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 ของ ปตท. ได้ลดกำลังการผลิตลง
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
กบง. ครั้งที่ 100 - วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 3/2555 (ครั้งที่ 100)
เมื่อวันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 15.00 น.
ณ ห้องบัญชาการยุทธศาสตร์ ชั้น 25 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. แนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของก๊าซ LPG และ NGV ในภาคขนส่ง
2. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล
3. เกณฑ์ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประจำปีบัญชี 2555
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 แนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของก๊าซ LPG และ NGV ในภาคขนส่ง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 ดังนี้ (1) ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีก NGV เดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 จนถึงเดือนธันวาคม 2555 (2) ทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยลงเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ถึงเดือนเมษายน 2555 (3) ขยายระยะเวลาการตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนต่อไปจนถึงสิ้นปี 2555 (4) ขยายระยะเวลาการตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคขนส่งต่อไปจนถึงวันที่ 15 มกราคม 2555 โดยตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เริ่มปรับขึ้นราคาขายปลีกเดือนละ 0.75 บาทต่อกิโลกรัม (0.41 บาทต่อลิตร) โดยปรับพร้อมกับการขึ้นราคา NGV 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จนไปสู่ต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน (5) กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับก๊าซที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กิโลกรัมละ 1 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป (6) มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาดำเนินการแก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ
2. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 กบง. ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV ดังนี้ (1) ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ NGV เดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 - ธันวาคม 2555 (2) ทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยของก๊าซ NGV ลงเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 - เดือนเมษายน 2555 (3) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ออกประกาศ กบง. เรื่อง อัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ฉบับที่ 10 โดยกำหนดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2555 ในอัตรากิโลกรัมละ 1.50 บาท และฉบับที่ 16 กำหนดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นไป ในอัตรากิโลกรัมละ 1.50 บาท ส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ NGV ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 ปรับเพิ่มขึ้น 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จาก 8.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 9.00 บาทต่อกิโลกรัม
3. กบง. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2554 เห็นชอบแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ในภาคขนส่ง ดังนี้ (1) เห็นชอบให้ปรับเพิ่มราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่ง เดือนละ 0.75 บาทต่อกิโลกรัม (0.41 บาทต่อลิตร) จนไปสู่ต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป (2) เห็นชอบร่างประกาศ กบง. เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง (3) มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 กบง. ได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง ในช่วงวันที่ 1- 15 กุมภาพันธ์ 2555 ในอัตรา 0.7009 บาทต่อกิโลกรัม และให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ กบง. พิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง ก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555
4. สนพ. ได้ออกประกาศ กบง. เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง จำนวน 2 ฉบับ โดยฉบับที่ 3 กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่จำหน่ายก๊าซให้ภาคขนส่งต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มตามระยะเวลาและในอัตราที่เพิ่มขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 16 - 31 มกราคม 2555 อัตรากิโลกรัมละ 0.7009 บาท และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 เพิ่มขึ้นในอัตรากิโลกรัมละ 0.7009 บาทต่อเดือน ไปสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2556 ที่อัตราราคากิโลกรัมละ 10.4154 บาท และฉบับที่ 19 กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่จำหน่ายก๊าซให้ภาคขนส่งต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 ในอัตรากิโลกรัมละ 0.7009 บาท เป็นต้นไป
5. เพื่อให้เป็นไปตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 และมติ กบง. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 จึงเสนอให้ปรับลดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ลง 0.50 บาทต่อกิโลกรัม จากชดเชย 1.50 บาทต่อกิโลกรัม เหลือ 1.00 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2555 ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ NGV เพิ่มขึ้นจาก 9.00 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 9.50 บาทต่อกิโลกรัม และเพื่อให้เป็นไปตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 และมติ กบง. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2554 จึงเสนอปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง จาก 0.7009 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 1.4018 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2555 ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG เพิ่มขึ้นจาก 18.83 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 19.58 บาทต่อกิโลกรัม
6. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้นำเสนอให้ กบง. พิจารณาดังนี้ (1) ขอความเห็นชอบกำหนดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ในอัตรา 1.00 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2555 (2) ขอความเห็นชอบกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง ในอัตรา 1.4018 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2555 (3) ขอความเห็นชอบร่างประกาศ กบง. เรื่อง อัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ โดยขอยกเลิกข้อความในข้อ 2 และ เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง และ (4) มอบหมายให้ สนพ. รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ในอัตรา 1.00 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2555
2. เห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคขนส่งในอัตรา 1.4018 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2555
3. เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เรื่อง อัตราเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ และ เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง โดยให้ยกเลิกข้อความในข้อ 2 ของร่างประกาศและให้ปรับข้อความในข้อ 3 เป็นข้อ 2 แทน
4. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554เกี่ยวกับแนวทางการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้ (1) ทยอยปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล เดือนละ 1 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป โดยมอบให้ กบง. พิจารณาระยะเวลาการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ตามความเหมาะสม (2) ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของดีเซลหมุนเร็ว อัตรา 0.60 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป โดยมอบให้ กบง. พิจารณาระยะเวลาการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ตามความเหมาะสม
2. กบง. เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2555 ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ในเดือนมกราคม 2555 โดยให้ สนพ. ออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป และให้ สนพ. นำเสนอ กพช. พิจารณามอบหมายให้ กบง. กำหนดอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ให้มีความเหมาะสมและคล่องตัว โดยคำนึงถึงราคาน้ำมันในตลาดโลก การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันฯ
3. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 มีเงินสดในบัญชี 2,988 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 20,623 ล้านบาท แยกเป็นหนี้อยู่ระหว่างการเบิกจ่ายชดเชย 20,469 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 154 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะเบื้องต้นสุทธิติดลบ 17,635 ล้านบาท
4. ในการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เพื่อให้เป็นไปตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 ฝ่ายเลขานุการฯ ขอเสนอปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลขึ้น 1.00 บาทต่อลิตร และให้คงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ 0.60 บาทต่อลิตร จากการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ จะมีผลทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลเพิ่มขึ้น 1.07 บาทต่อลิตร ราคาน้ำมันดีเซลคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และกองทุนน้ำมันฯ จะมีภาระลดลงประมาณวันละ 21 ล้านบาท จากติดลบวันละ 142 ล้านบาท เป็นติดลบวันละ 121 ล้านบาท
5. จากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ตามข้อ 4 จะทำให้อัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 แก๊สโซฮอล E20 และแก๊สโซฮอล E85 อยู่ในอัตรา 0.60 -0.80 และ -12.60 บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าที่เคยกำหนดไว้เดิมเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2554 ที่อัตรา 0.10 -1.30 และ -13.50 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ดังนั้น จึงเห็นควรให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำข้อเสนอการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ให้มีความเหมาะสมและคล่องตัว โดยคำนึงถึงราคาน้ำมันในตลาดโลก การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันฯ โดยปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแต่ละชนิดไม่สูงเกินกว่าอัตราเดิมที่เคยกำหนดไว้แล้วนำเสนอ กพช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป นอกจากนี้ พบว่าส่วนต่างราคาของน้ำมันเบนซิน 91 กับแก๊สโซฮอล 95 อยู่ที่ระดับ 1.28 บาทต่อลิตร ขณะที่ส่วนต่างราคา ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2554 อยู่ที่ 4.90 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ผู้ใช้น้ำมันเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเบนซิน 91 มากขึ้น จากเดิม 8.30 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มเป็น 9.90 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่แก๊สโซฮอล 95 มีการใช้ลดลงจาก 6.05 ล้านลิตรต่อวัน เป็น 4.96 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้น เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้น้ำมันเปลี่ยนมาใช้แก๊สโซฮอลเพิ่มมากขึ้น จึงควรขยายส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซิน 91 กับแก๊สโซฮอล 95 ให้มากขึ้น โดย ทยอยปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันเบนซิน 95 ให้มีส่วนต่างกับราคาแก๊สโซฮอล 95 ในระดับที่เหมาะสม และให้ สนพ. ติดตามประเมินผลการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลในแต่ละเดือนพร้อมให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของ กบง. ในการประชุมครั้งต่อๆ ไป
6. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้เสนอปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลขึ้น 1.00 บาทลิตร ส่งผลให้อัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 2.00 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อยู่ที่ 2.20 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 อยู่ที่ 0.60 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ชดเชยที่ 0.80 บาทต่อลิตร และน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ชดเชยที่ 12.60 บาทต่อลิตร โดยให้ สนพ. ไปออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นไป และให้ สนพ. จัดทำข้อเสนอการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ให้มีความเหมาะสมและคล่องตัว โดยคำนึงถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันฯ โดยการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแต่ละชนิดไม่สูงเกินกว่าอัตราเดิมที่เคยกำหนดไว้ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2554 แล้วนำเสนอ กพช. เพื่อพิจารณาต่อไป
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ดังนี้
ชนิดน้ำมัน | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันเบนซิน 95 | 1.00 | 2.00 | +1.00 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 1.00 | 2.00 | +1.00 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 1.20 | 2.20 | +1.00 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | -0.40 | 0.60 | +1.00 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -1.80 | -0.80 | +1.00 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -13.60 | -12.60 | +1.00 |
น้ำมันดีเซล | 0.60 | 0.60 | - |
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นไป
2. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานจัดทำข้อเสนอการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้มีความเหมาะสมและคล่องตัว โดยคำนึงถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแต่ละชนิดไม่สูงเกินกว่าอัตราเดิมที่เคยกำหนดไว้ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2554 นำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
เรื่องที่ 3 เกณฑ์ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประจำปีบัญชี 2555
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 ได้มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีเงินนอกงบประมาณ นำระบบการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนที่เป็นมาตรฐานสากล และมีการกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงาน (KPI) มาใช้เพื่อวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน ซึ่งกองทุนน้ำมันฯ เข้าสู่ระบบประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนตั้งแต่ปีบัญชี 2551 เป็นต้นไป
2. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555 กรมบัญชีกลาง ได้รายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง โดยได้ให้ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน (กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง) ประจำปีบัญชี 2554 ปรากฏว่าผลการดำเนินงานอยู่ที่ระดับ 3.8370 คะแนน (สูงกว่าค่าปกติ/สูงกว่า 3 คะแนน)
3. ในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2554 สนพ. สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.) กรมบัญชีกลาง และบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานกองทุนน้ำมันฯ ประจำปีบัญชี 2555 โดยสรุปเกณฑ์การประเมินผลฯ ดังนี้
3.1 ผลการดำเนินงานด้านการเงิน ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากความสามารถในการหาเงินกู้ของกองทุน (2) อัตราผลตอบแทนจากการบริหารเงินฝากของกองทุนฯ (3) ร้อยละของความสำเร็จของโครงการที่ใช้งบประมาณของกองทุนฯ เมื่อเทียบกับแผนงานโครงการที่อนุมัติ และ (4) การจัดส่งรายงานการรับและการใช้จ่ายเงินฯ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 170 ให้กรมบัญชีกลาง
3.2 ผลการดำเนินงานด้านปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) ร้อยละความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง 6 ประเภท เทียบกับข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) รอบ 12 เดือน (2) ร้อยละของการเผยแพร่การวิเคราะห์ภาระกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นตามประกาศ กบง. ทางเว็ปไซต์ของ สบพน. ได้ภายใน 1 วันทำการ หลังจากการรับแจ้งประกาศ กบง. จาก สนพ. และการเผยแพร่ภาระกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้ประชาชนทราบรายสัปดาห์ (3) การรักษามาตรฐานระยะเวลาการจ่ายเงินให้หน่วยเบิกนับแต่วันที่ได้รับเอกสารในการจ่ายชดเชยตามประกาศ กบง. และ (4) การรักษามาตรฐานระยะเวลาในการจ่ายเงินให้หน่วยเบิกนับแต่วันที่ได้รับเอกสารในการจ่ายชดเชยก๊าซแอลพีจีนำเข้าจากต่างประเทศ
3.3 การสนองประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ และ (2) ระดับความสำเร็จของการนำข้อคิดเห็นจากการสำรวจความพึงพอใจไปปรับปรุง
3.4 การบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) บทบาทคณะกรรมการทุนหมุนเวียน (2) การบริหารความเสี่ยง (3) การควบคุมภายใน (4) การตรวจสอบภายใน (5) การบริหารจัดการสารสนเทศ และ (6) การบริหารทรัพยากรบุคคล
4. เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2554 กรมบัญชีกลางได้จัดส่ง "บันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2555 ระหว่างกระทรวงการคลังกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง" มาให้ และขอให้ผู้มีอำนาจลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว และส่งคืนกรมบัญชีกลาง ซึ่งการนำเสนอให้ผู้มีอำนาจลงนามในบันทึกข้อตกลงฯ จะต้องผ่านความเห็นชอบจาก กบง. ก่อน ดังนั้น ฝ่ายเลขานุการฯ จึงนำเสนอ กบง. เพื่อขอความเห็นชอบเกณฑ์ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนน้ำมันฯ ประจำปีบัญชี 2555 และมอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2555 ระหว่างกระทรวงการคลังกับกองทุนน้ำมันฯ เสนอประธาน กบง. ลงนามต่อไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบเกณฑ์ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประจำปีบัญชี 2555 และมอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2555 ระหว่างกระทรวงการคลังกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เสนอประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานลงนามต่อไป
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ได้รายงานสถานการณ์น้ำมันเชื้อเพลิง ในช่วงปี 2554 ถึงต้นปี 2555 สรุปได้ดังนี้
(1) น้ำมันเบนซิน ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2554 ได้มีการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซิน 91 และ 95 ลง ทำให้ผู้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเบนซิน 91 มากขึ้น จากเดิมเฉลี่ยครึ่งปีแรกของปี 2554 อยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 9 - 10 ล้านลิตรต่อวัน และในช่วงเวลาเดียวกัน น้ำมันเบนซิน 95 มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 และ 95 E10 มีปริมาณการใช้ลดลง น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E20 มีการใช้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเนื่องจากมีสถานีบริการน้ำมันฯ จำนวนน้อย น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมากในช่วงเดือนธันวาคม 2554
(2) น้ำมันดีเซล ในช่วงต้นปี 2554 รัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไว้ที่ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ต่อมาเดือนพฤษภาคม 2554 ได้เปลี่ยนมาใช้น้ำมันดีเซลเกรดเดียว คือน้ำมันดีเซล บี5 ซึ่งปัญหาของน้ำมันดีเซล บี5 คือ การขาดแคลนปาล์มน้ำมันเนื่องจากอาจมีการส่งออกปาล์มในช่วงราคาที่มาเลเซียสูงกว่าราคาในประเทศ ซึ่ง ธพ. ได้ประสานกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯ ให้ช่วยควบคุมการส่งออกเพื่อให้สต๊อกน้ำมันปาล์มดิบให้เพียงพอต่อการใช้ ทั้งนี้ ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลจะเปลี่ยนไปตามฤดูกาล โดยในช่วงฤดูฝนปริมาณการใช้จะลดลงอยู่ในช่วง 48 - 50 ล้านลิตร และในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2554 ปริมาณการใช้จะเพิ่มสูงขึ้น
(3) ก๊าซ LPG มีปริมาณการใช้ประมาณ 500,000 - 550,000 ตันต่อเดือน อัตราการใช้ในภาพรวมเพิ่มประมาณร้อยละ 7 - 9 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าปกติ ในภาคอุตสาหกรรม ช่วงต้นปี 2554 มีปริมาณการใช้ประมาณ65,000 ตันต่อเดือน หลังจากทยอยปรับเพิ่มราคาก๊าซ LPG ภาคอุตสาหกรรม ทำให้ปริมาณการใช้ลดลงอยู่ประมาณ 50,000 ตันเดือน ในขณะเดียวกันปริมาณการใช้ในภาคครัวเรือนเพิ่มใกล้เคียงกับในปีก่อนหน้าคือร้อยละ 7 - 9 ส่วนในภาคขนส่ง แม้ว่าราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับสูงแต่ปริมาณการใช้ก๊าซ LPG ยังคงมีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 อยู่ที่ประมาณ 60,000 - 70,000 ตันต่อเดือน และในเดือนมกราคม 2555 อยู่ที่ 92,000 ตันต่อเดือน และในภาคปิโตรเคมี ปกติมีการใช้อยู่ที่ประมาณ 190,000 - 200,000 ตันต่อเดือน
(4) มาตรการการป้องกันการใช้ก๊าซ LPG ผิดประเภท ซึ่ง ธพ. ได้มีการประชุมชี้แจงผู้ค้าก๊าซ LPG ให้ทราบถึงขั้นตอนรายงานการค้าก๊าซ LPG และมาตรการในการตรวจสอบสถานประกอบการให้เห็นถึงผลกระทบที่จะตามมาและโทษของการลักลอบถ่ายเท LPG มีการให้ความรู้และขอความร่วมมือหน่วยงานราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของราคาก๊าซ LPG ในประเทศเพื่อนบ้านอยู่ในระดับสูงกว่าราคาในประเทศมาก ซึ่งทำให้เกิดการลักลอบถ่ายเทก๊าซ LPG ในแถบชายแดน จังหวัดสระแก้ว และ จังหวัดตาก เป็นต้น ซึ่ง ธพ. ได้มีมาตรการป้องกันและตรวจสอบการลักลอบ ได้แก่ การแก้ไขระเบียบ ธพ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตให้มอบหมายดำเนินการบรรจุก๊าซแทน พ.ศ. 2547 ให้มีบทลงโทษเข้มงวดขึ้น รวมทั้งจัดตั้งทีมงานตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายของโรงบรรจุก๊าซ และสถานีบริการในพื้นที่เป้าหมาย ประกอบด้วย ธพ., สำนักงานพลังงานจังหวัด เจ้าหน้าที่จากกรมศุลกากร และตำรวจ
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ