• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • HOME
  • About Us
    • Company Profile
    • Vision / Mission / Value / Duty
    • Organization Structure
    • Contact US
    • Sitemap
  • Policy and Plan
    • Government Policy Statement
    • Thai Integrated Energy Blueprint TIEB
      • Thailand Power Development Plan
      • Thailand Energy Efficiency Development Plan
      • Alternative Energy Development Plan
      • Oil Plan
  • Related Laws
    • Acts / Royal ordinance
  • Energy Information Services
    • Energy Situation
      • Energy Situation in year 2015 and trend in year 2016
      • The energy situation in the first tenth months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first nine months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first eight months of 2015 and outlook for 2015
    • Xayaburi Hydroelectric Power Project
    • Thailand – Myanmar’s Energy Cooperation Projects
    • Electricity Trade between Thailand and Malaysia.
    • Power Purchased from Laos PDR.
    • Economic and Power Trading in the Greater Mekong Sub-region
    • Thailand energy report 2015
  • Energy Statistics
    • Summary Statistic
    • Petroleum Statistic
    • NGV Statistic
    • Coal and Lignite Statistic
    • Electricity Statistic
    • Energy Economy Statistic
    • Value Energy Statistic
    • Petroleum Price Statistic
    • CO2 Statistic
    • Indicators Statistic
Monday, 31 March 2025 17:05

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ SMR ดีอย่างไร

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ SMR ดีอย่างไร

                จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือสภาวะที่อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้น อันเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้หลายฝ่ายพยายามหาทางออกสำหรับเรื่องนี้ ในภาคพลังงานเอง ก็พยายามพัฒนาเทคโนโลยีของการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งพลังงานนิวเคลียร์ เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจที่จะศึกษาและพัฒนาในหลายประเทศ โดยเป็นการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (Small Modular Reactor: SMR) เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งของการผลิตไฟฟ้าที่จะไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ Small Modular Reactor: SMR คืออะไร

                โรงไฟฟ้า SMR เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น (Nuclear Fission) มาทำความร้อนและนำมาผลิตไอน้ำ และไอน้ำจะถูกนำไปหมุนกังหันผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้โรงไฟฟ้า SMR จะมีการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์เป็นรูปแบบโมดูล ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าไม่เกิน 300 เมกะวัตต์ต่อโมดูล (เทียบเท่าประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบดั้งเดิม) โดยโมดูลนี้จะถูกผลิตและประกอบสำเร็จจากโรงงาน ทำให้ติดตั้งได้รวดเร็ว

                เทคโนโลยีของโรงไฟฟ้า SMR มีการพัฒนาขึ้น มีการลดความซับซ้อนของระบบ และทำให้ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งลดปริมาณท่อและข้อต่อต่าง ๆ ช่วยให้ลดโอกาสเกิดการรั่วไหลของน้ำหรือสารระบายความร้อน รวมทั้งมีการออกแบบระบบให้ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหรือพนักงานเดินเครื่องควบคุมมากนัก แต่ใช้หลักธรรมชาติช่วยในการทำงานของระบบ เช่น แรงโน้มถ่วง เป็นต้น นอกจากนี้เนื่องจากโรงไฟฟ้า SMR มีขนาดเล็กทำให้รัศมีของการปล่อยกัมมันตรังสีเมื่อเกิดการรั่วไหลมีรัศมีไม่เกิน 1 กิโลเมตร ซึ่งต่างจากรัศมีของการปล่อยกัมมันตรังสีเมื่อเกิดการรั่วไหลของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ ที่อาจมีรัศมีถึง 16 กิโลเมตรได้

 articles energy 2025 03 31 10

รูปที่ 1 ความแตกต่างของระบบของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบดั้งเดิมกับระบบของโรงไฟฟ้า SMR

ที่มา : https://www.egat.co.th/home/20240930-art01/

 

เปรียบเทียบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบดั้งเดิมกับโรงไฟฟ้า SMR

 table

ข้อดี ข้อเสียของโรงไฟฟ้า SMR

ข้อดีของโรงไฟฟ้า SMR

                1. มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากการออกแบบให้มีระบบความปลอดภัยที่ทันสมัยและมีความสามารถในการระบายความร้อนที่ดี แม้ในกรณีที่ระบบมีปัญหา ก็สามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ดี

                2. มีขนาดเล็กและมีความยืดหยุ่น เนื่องจากโรงไฟฟ้า SMR มีขนาดเล็กกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วไป ทำให้สามารถติดตั้งได้ในพื้นที่จำกัด เช่น บนพื้นที่ที่มีการพัฒนาแล้ว หรือในพื้นที่ห่างไกลจากแหล่งพลังงานอื่นๆ

                3. ไม่ปล่อยมลพิษในรูปแบบ CO2 หรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

                4. การลงทุนต่ำ ด้วยขนาดที่เล็กและการผลิตในรูปแบบโมดูลาร์ ทำให้การลงทุนในการก่อสร้างและการเริ่มต้นมีต้นทุนต่ำกว่าการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่

                5. ลดปริมาณการเกิดกากกัมมันตรังสี เนื่องจากโรงไฟฟ้า SMR เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กทำให้ใช้เชื้องเพลิงน้อยตามไปด้วย

 

ข้อจำกัดของโรงไฟฟ้า SMR

                1. ยังต้องให้ความรู้เพื่อสร้างการยอมรับจากสังคม เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มักจะถูกต่อต้านจากสาธารณชนเนื่องจากความกลัวต่ออันตรายจากรังสีและเหตุการณ์ เช่น อุบัติเหตุในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่

                2. นโยบายด้านพลังงานของประเทศสนับสนุนการใช้แหล่งพลังงานสะอาดรูปแบบอื่นในการผลิตไฟฟ้ามากกว่าพลังงานนิวเคลียร์ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม รวมถึงพลังงานน้ำ

 articles energy 2025 03 31 11

รูปที่ 2 รูปจำลองโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (โรงไฟฟ้า SMR)

ที่มา : https://www.greennetworkthailand.com/smr-nuclear-power-plant/

 

สรุป

                โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ โรงไฟฟ้า SMR เป็นแนวทางหนึ่งที่มีการพัฒนาเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรงไฟฟ้า SMR นี้ ยังคงเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น แต่มีขนาดเล็กกว่าโรงไฟฟ้าแบบดั้งเดิม และจากขนาดที่เล็กลงทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า SMR มีประมาณ 1 ใน 3 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบดั้งเดิม และเพราะขนาดโรงไฟฟ้าที่เล็กลงนี้เอง ก็ทำให้ต้นทุนและระยะเวลาในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าก็ลดลงด้วย และโรงไฟฟ้า SMR นี้ ก็ได้รับการพัฒนาให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น นอกจากนี้การที่โรงไฟฟ้า SMR เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่กำลังการผลิตไฟฟ้าไม่มากนักทำให้พื้นที่ที่ต้องจัดทำแผนฉุกเฉินก็มีรัศมี (ประมาณ 1 กิโลเมตร) น้อยกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบดั้งเดิม (ประมาณ 16 กิโลเมตร) แต่อย่างไรก็ตามการที่จะมีโรงไฟฟ้า SMR เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการให้ความรู้แก่ประชาชนและสังคมเพื่อให้โรงไฟฟ้า SMR ได้รับการยอมรับและสามารถเกิดขึ้นได้จริง

 

เอกสารอ้างอิง

                SMRs โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดจิ๋วแบบ MODULAR ไทยพร้อมจะใช้หรือยัง ?”, 2566, Green Network, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568, https://www.greennetworkthailand.com/smrs-nuclear-fusion-modular/

                “SMR โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กที่ทรงพลัง”, 2567, กรมประชาสัมพันธ์, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568, https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/346042

                “เรา (ประเทศไทย) พร้อมหรือไม่ที่จะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กแบบโมดูล (SMR) เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าในอนาคต?”, 2566, Green Network, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568, https://www.greennetworkthailand.com/smr-nuclear-power-plant/

                “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดจิ๋วตัวละครหลักในการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน”, 2566, สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568, https://www.erc.or.th/th/energy-articles/2924

                “รู้จัก SMR ก้าวใหม่พลังงานสะอาดของไทย”, 2567, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568, https://www.egat.co.th/home/20240930-art01/

Read 2042 times
Tweet
More in this category: « Biomethane (ไบโอมีเทน) การจ้างงานด้านพลังงานกับความเท่าเทียมทางเพศ (Energy Employment and Gender Equality) »
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364
จากต่างประเทศ โทร +66 2612 1555, โทรสาร +66 2612 1364
Official Website : www.eppo.go.th

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์