• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • HOME
  • About Us
    • Company Profile
    • Vision / Mission / Value / Duty
    • Organization Structure
    • Contact US
    • Sitemap
  • Policy and Plan
    • Government Policy Statement
    • Thai Integrated Energy Blueprint TIEB
      • Thailand Power Development Plan
      • Thailand Energy Efficiency Development Plan
      • Alternative Energy Development Plan
      • Oil Plan
  • Related Laws
    • Acts / Royal ordinance
  • Energy Information Services
    • Energy Situation
      • Energy Situation in year 2015 and trend in year 2016
      • The energy situation in the first tenth months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first nine months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first eight months of 2015 and outlook for 2015
    • Xayaburi Hydroelectric Power Project
    • Thailand – Myanmar’s Energy Cooperation Projects
    • Electricity Trade between Thailand and Malaysia.
    • Power Purchased from Laos PDR.
    • Economic and Power Trading in the Greater Mekong Sub-region
    • Thailand energy report 2015
  • Energy Statistics
    • Summary Statistic
    • Petroleum Statistic
    • NGV Statistic
    • Coal and Lignite Statistic
    • Electricity Statistic
    • Energy Economy Statistic
    • Value Energy Statistic
    • Petroleum Price Statistic
    • CO2 Statistic
    • Indicators Statistic
Monday, 31 January 2022 11:50

ปัจจัย น้ำมันแพง

ปัจจัย น้ำมันแพง

สนพ. เคลียร์ เหตุปัจจัย น้ำมันแพง!!

             หนึ่งในประเด็นร้อนสังคมไทยเวลานี้คือ ปัญหาค่าครองชีพจากราคาสินค้าแพงยกแผง ต้นเหตุหนึ่งมาจาก ราคาน้ำมันที่พุ่งไม่หยุด ทุกบาททุกสตางค์ที่ขึ้นจึงเสียดแทงความรู้สึกชาวบ้านอย่างมาก ไทยนำเข้าน้ำมันเป็นหลัก เมื่อต่างประเทศขึ้นราคา ไทยจึงต้องขยับตาม ขณะที่ปัจจัยในประเทศเรื่องการตรึงราคาน้ำมัน ก็มีการถกเถียงเช่นกัน ทั้งส่วนผสมไบโอดีเซล (บี100) อัตราภาษีสรรพสามิต และการส่งออกน้ำมัน

             นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) แจกแจงให้ฟังว่า แม้ไทยจะขุดน้ำมันได้เยอะ แต่ก็ต้องนำเข้าเป็นหลัก เพราะการจัดหาพลังงานในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ จึงต้องนำเข้าทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ

             ข้อมูลเฉลี่ยเดือนมกราคม-ตุลาคม 2564 ความต้องการน้ำมันดิบเพื่อกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 951,000 บาร์เรลต่อวัน แต่ผลิตได้ในประเทศเพียง 100,000 บาร์เรลต่อวัน จึงจำเป็นต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศโดยเฉพาะน้ำมันดิบ และต้องผ่านกระบวนการกลั่นเพื่อแยกสารประกอบออกเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ โดยที่โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยถูกออกแบบมาเพื่อกลั่นผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปสำหรับใช้ภายในประเทศเป็นหลัก ทดแทนการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ โดยการอ้างอิงราคากลางน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดภูมิภาคเอเชียบวกกับค่าขนส่งมายังโรงกลั่นในประเทศ เพื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันสำเร็จรูป ณ โรงกลั่นในประเทศต้องไม่สูงกว่าราคาที่อ้างอิง

             ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมต้องอิงราคาสิงคโปร์ทั้งที่กลั่นในไทย “วัฒนพงษ์” อธิบายว่า ปัจจุบันศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันของโลกกระจายอยู่ใน 3 ภูมิภาคคือ ตลาด NYMEX อเมริกา ตลาด ICE ยุโรป และตลาด SGX เอเชีย ซึ่งการกำหนดราคา ณ โรงกลั่นของไทยใช้วิธี Import Parity เป็นการเทียบเคียงกับการนำเข้าน้ำมันจากสิงคโปร์ เนื่องจากตลาดสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันในภูมิภาคที่อยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด ทำให้ต้นทุนเนื้อน้ำมันของไทยต่ำที่สุด

             ทั้งนี้ คำว่า “ราคาสิงคโปร์” นั้นไม่ใช่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ประกาศโดยรัฐบาลหรือโรงกลั่นของประเทศสิงคโปร์ แต่เป็นราคาซื้อขายน้ำมันระหว่างผู้ค้าน้ำมันในภูมิภาคเอเชียที่ตกลงกันผ่านตลาดกลางที่ประเทศสิงคโปร์

             ส่วนคำถาม…ทำไมเมียนมาและมาเลเซีย ขายน้ำมันได้ถูกกว่าไทย ทั้งนี้ เนื่องจากโครงสร้างราคาน้ำมันของแต่ละประเทศแตกต่างกัน แบ่งเป็น 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้

             1. ด้านต้นทุนเนื้อน้ำมัน ราคาน้ำมันของประเทศไทย มาเลเซีย และประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอ้างอิงตลาดสิงคโปร์เช่นเดียวกัน แต่ต้นทุนค่าขนส่งของประเทศไทยและมาเลเซียแตกต่างกันตามระยะทางจากตลาดสิงคโปร์ ทำให้ต้นทุนเนื้อน้ำมันของไทยสูงกว่ามาเลเซีย ซึ่งอยู่ใกล้ตลาดสิงคโปร์มากกว่าต่อมาคือ ต้นทุนคุณภาพน้ำมันของไทย (ยูโร 4) สูงกว่าบางประเทศในภูมิภาคอาเซียนซึ่งมีคุณภาพน้ำมันในระดับที่ต่ำกว่า และต้นทุนเชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอลและไบโอดีเซล) ที่เป็นส่วนผสมของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 E10, E20, E85, 91, E10 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 บี10 และ บี20 ตามนโยบายสนับสนุนพลังงานทดแทนในประเทศไทย

             2. ด้านภาษีและกองทุน โครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศไทยมีการเก็บภาษีและเงินกองทุน (กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และภาษีต่างๆ ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไทยสูงขึ้นจากต้นทุนเนื้อน้ำมัน บางประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมัน อาทิ มาเลเซีย ไม่มีการจัดเก็บภาษีและกองทุน เนื่องจากมีรายได้จากการผลิตและส่งออกน้ำมัน“เมื่อเปรียบเทียบราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน พบว่าราคาของประเทศไทยก็ไม่ได้มีราคาสูงหรือต่ำไปมาก ตามที่มักมีการกล่าวอ้าง ดังเช่นข้อมูลราคาขายปลีกราคาน้ำมันเชื้อเพลิงณ วันที่ 17 มกราคม 2565 ประเทศที่มีราคาน้ำมันดีเซลถูกกว่าประเทศไทย ได้แก่ บรูไน อยู่ที่ 7.65 บาทต่อลิตร มาเลเซีย อยู่ที่ 17.08 บาทต่อลิตร เมียนมา อยู่ที่ 28.35 บาทต่อลิตร และอินโดนีเซีย อยู่ที่ 27.87 บาทต่อลิตร” ผอ.สนพ.ให้ข้อมูลอีกประเด็นร้อนคือการเก็บภาษีสรรพสามิตสูง ที่หลายฝ่ายเรียกร้องกระทรวงการคลังปรับลด ผู้อำนวยการ สนพ.แจงว่า ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท อาทิ สินค้าที่บริโภคแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน

             “วัฒนพงษ์” ยังอธิบายเหตุผลในการผสมไบโอดีเซลซึ่งมีราคาแพงในน้ำมันดีเซลว่า ที่ผ่านมาภาครัฐส่งเสริมการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอย่างต่อเนื่อง โดยปรับปรุงมาตรการต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น ปัจจุบันราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ บี100 มีราคาสูงขึ้นมาก โดยกระทรวงพลังงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ช่วยดูดซับน้ำมันปาล์มดิบ เพื่อช่วยสร้างสมดุลให้เกษตรกรปาล์มน้ำมัน

             เมื่อราคาไบโอดีเซลสูงขึ้นจึงมีผลกระทบกับราคาน้ำมัน เนื่องจากกระทรวงพลังงานใช้ราคาไบโอดีเซลอ้างอิงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนน้ำมันหน้าโรงกลั่นเพื่อจัดทำประกาศโครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล บี7 บี10 และ บี20 หากราคาไบโอดีเซลปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกและผู้ใช้น้ำมัน

             จากสถานการณ์ราคาน้ำมันและน้ำมันที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนมีค่าครองชีพสูงขึ้น

             ภาครัฐตระหนักถึงความเดือดร้อนในเรื่องนี้ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) จึงมีมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเดือนตุลาคม 2564 มีมติลดสัดส่วน บี100 ลง แต่จากการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้แทนคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคมแล้ว เห็นว่าการคงสัดส่วนเดิมไว้น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม ต่อมาเดือนพฤศจิกายน 2564 จึงกลับไปใช้สัดส่วนเดิม

             อย่างไรก็ตาม ราคาไบโอดีเซลยังคงสูงอย่างต่อเนื่องในเดือนธันวาคม 2564 กบง.จึงให้ปรับลดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลของกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็วให้ไม่เกินร้อยละ 7 เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564-31 มีนาคม 2565 รวมทั้งกำหนดให้ราคาของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีราคาไม่สูงกว่า 30 บาทต่อลิตร เพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น

             ขณะนี้มีคำถามจากทุกทิศว่ากระทรวงพลังงานจะแก้ปัญหาราคาน้ำมันแพงอย่างไร “ผอ.สนพ.” ให้คำตอบว่า ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกเพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากโควิด รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง โดยกระทรวงพลังงานมีมาตรการต่างๆ ช่วยบรรเทาผลกระทบภาระค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาได้ใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 4,000 ล้านบาทต่อเดือน ในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศ

 

news 310165 02

 

*************************** 

Read 8473 times
Tweet
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364
จากต่างประเทศ โทร +66 2612 1555, โทรสาร +66 2612 1364
Official Website : www.eppo.go.th

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์