• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • HOME
  • About Us
    • Company Profile
    • Vision / Mission / Value / Duty
    • Organization Structure
    • Contact US
    • Sitemap
  • Policy and Plan
    • Government Policy Statement
    • Thai Integrated Energy Blueprint TIEB
      • Thailand Power Development Plan
      • Thailand Energy Efficiency Development Plan
      • Alternative Energy Development Plan
      • Oil Plan
  • Related Laws
    • Acts / Royal ordinance
  • Energy Information Services
    • Energy Situation
      • Energy Situation in year 2015 and trend in year 2016
      • The energy situation in the first tenth months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first nine months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first eight months of 2015 and outlook for 2015
    • Xayaburi Hydroelectric Power Project
    • Thailand – Myanmar’s Energy Cooperation Projects
    • Electricity Trade between Thailand and Malaysia.
    • Power Purchased from Laos PDR.
    • Economic and Power Trading in the Greater Mekong Sub-region
    • Thailand energy report 2015
  • Energy Statistics
    • Summary Statistic
    • Petroleum Statistic
    • NGV Statistic
    • Coal and Lignite Statistic
    • Electricity Statistic
    • Energy Economy Statistic
    • Value Energy Statistic
    • Petroleum Price Statistic
    • CO2 Statistic
    • Indicators Statistic
Thursday, 21 October 2021 12:54

สถานีอัดประจุยานยนไฟฟ้า

สถานีอัดประจุยานยนไฟฟ้า

รูปเเบบการใช้งานสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า

              ปัจจุบัน รูปเเบบการใช้งานสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ การอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบใช้สาย สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ และการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบไร้สาย โดยแต่ละรูปแบบมีรายละเอียด ดังนี้

 

1. การอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบใช้สาย

             การอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบใช้สายเป็นรูปแบบการอัดประจุหลักที่ทุกประเทศทั่วโลกเลือกใช้ เนื่องด้วยมีความคุ้มค่าในการลงทุน มีประสิทธิภาพสูง และสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีการจัดการพลังงานได้ โดยสามารถจำแนกการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบใช้สายตามระดับกำลังไฟฟ้าที่ใช้ได้เป็น 3 แบบ ดังนี้

                  1.1) การอัดประจุแบบช้าด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Slow Charge) เป็นการอัดประจุระดับ 1 (Level 1) ซึ่งเป็นรูปแบบการอัดประจุที่พื้นฐานที่สุดและถูกใช้มากที่สุดทั่วโลก แต่ไม่เหมาะกับการใช้งานในลักษณะของสถานีบริการเฉพาะหรือสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากใช้เวลาในการอัดประจุที่นาน

                  1.2) การอัดประจุแบบปกติด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Normal Charge) เป็นการอัดประจุระดับ 2 (Level 2) สามารถอัดประจุด้วยกำลังไฟฟ้าสูงสุด 22 กิโลวัตต์ เหมาะสำหรับการอัดประจุในพื้นที่กึ่งสาธารณะที่ผู้ใช้ไม่รีบร้อนมากหรือต้องจอดรถไว้เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น ลานจอดรถ และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ทั้งนี้ การอัดประจุในรูปแบบนี้สามารถดำเนินการได้ที่บ้านเช่นเดียวกัน

                  1.3) การอัดประจุแบบเร็ว (Fast Charge) การอัดประจุแบบเร็วนั้น มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ การอัดประจุแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Fast Charge) การอัดประจุแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Fast Charge) ซึ่งทั้งสองรูปแบบสามารถทำการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าจนถึงระดับ 80% ภายในระยะเวลาอันสั้น อย่างไรก็ตาม เครื่องอัดประจุแบบเร็วมีความต้องการพลังไฟฟ้าที่สูง อีกทั้งยังมีราคาที่แพงกว่ามากอย่างมีนัยสำคัญในด้านการติดตั้งและด้านปฏิบัติการ จึงถูกใช้ในสถานีอัดประจุที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมากและผู้ใช้บริการเหล่านั้นต้องการความรวดเร็ว

 

2. สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping Stations, BSS)

              เป็นสถานีอัดประจุแบตเตอรี่ของยานยนต์ไฟฟ้าประเภทหนึ่งที่ดำเนินการโดยอัดประจุแบตเตอรี่ไว้ล่วงหน้าเพื่อรอการสับเปลี่ยนกับแบตเตอรี่ที่มีค่าสถานะของประจุที่ต่ำกว่า การสับเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นวิธีการถ่านโอนพลังงานไฟฟ้าที่รวดเร็วกว่ามากแม้เทียบกับการอัดประจุแบบเร็วก็ตาม โดยทั่วไปการเปลี่ยนแบตเตอรี่ของยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กนั้นง่ายกว่ามากเมื่อเทียบกับยานยนต์ไฟฟ้าทั่วไป ผู้ขับขี่สามารถดำเนินการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ด้วยตนเองได้ ซึ่งยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่นิยมใช้วิธีนี้คือ รถสองล้อไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

 

3. การอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบไร้สาย

              การถ่ายโอนพลังงานเข้าสู่แบตเตอรี่ในรูปแบบไร้สายจะทำให้เกิดความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการอัดประจุแบบไร้สายในขณะที่ยานยนต์จอดอยู่กับที่ หรือจะเป็นการอัดประจุแบบไร้สายในขณะที่ยานยนต์กำลังเคลื่อนที่อยู่ก็ตาม

 

news 211064 01

 

*************************** 

Read 5978 times
Tweet
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364
จากต่างประเทศ โทร +66 2612 1555, โทรสาร +66 2612 1364
Official Website : www.eppo.go.th

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์