• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • HOME
  • About Us
    • Company Profile
    • Vision / Mission / Value / Duty
    • Organization Structure
    • Contact US
    • Sitemap
  • Policy and Plan
    • Government Policy Statement
    • Thai Integrated Energy Blueprint TIEB
      • Thailand Power Development Plan
      • Thailand Energy Efficiency Development Plan
      • Alternative Energy Development Plan
      • Oil Plan
  • Related Laws
    • Acts / Royal ordinance
  • Energy Information Services
    • Energy Situation
      • Energy Situation in year 2015 and trend in year 2016
      • The energy situation in the first tenth months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first nine months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first eight months of 2015 and outlook for 2015
    • Xayaburi Hydroelectric Power Project
    • Thailand – Myanmar’s Energy Cooperation Projects
    • Electricity Trade between Thailand and Malaysia.
    • Power Purchased from Laos PDR.
    • Economic and Power Trading in the Greater Mekong Sub-region
    • Thailand energy report 2015
  • Energy Statistics
    • Summary Statistic
    • Petroleum Statistic
    • NGV Statistic
    • Coal and Lignite Statistic
    • Electricity Statistic
    • Energy Economy Statistic
    • Value Energy Statistic
    • Petroleum Price Statistic
    • CO2 Statistic
    • Indicators Statistic
Friday, 08 June 2018 14:22

รายงานผลการประชุม กบง. 8 มิ.ย. 61

รายงานผลการประชุม กบง. 8 มิ.ย. 61

Press - รายงานผลการประชุม กบง. 8 มิ.ย. 61

รายงานผลการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) 8 มิถุนายน 2561

.........................................................................................................

      เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2561 ที่กระทรวงพลังงาน ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) โดยมีผลการพิจารณาของ กบง. วาระสำคัญ ๆ อาทิ

 

กลไกดูแลราคา LPG สำหรับภาคประชาชน

ที่ประชุม กบง. ได้เห็นชอบแนวทางบรรเทาผลกระทบค่าครองชีพของประชาชนสำหรับ
ก๊าซ LPG โดย

      1) ให้ต่อโครงการรักษาระดับราคา LPG ในราคา 363 บาทต่อถัง 15 กก ต่อเนื่อง
     2) มติต่ออายุโครงการลดราคา LPG ให้แก่ผู้ประกอบการอาชีพขายอาหารขนาดเล็ก (หาบเร่ แผงลอย) โดยลดจาก 363 บาทต่อถัง คงเหลือเป็น 325 บาทต่อถัง จนถึง 31 ธันวาคม 2561 มีจำนวนผู้ได้รับประโยชน์ ครัวเรือนรายได้น้อย 7,569,867 ครัวเรือน ร้านค้าหาบเร่ 395,544 ร้าน เป็นเงินเดือนละ 49 ล้านบาท ซึ่ง ปตท. เป็นผู้ชดเชยส่วนราคานี้

      แนวทางการดำเนินโครงการระบบโซล่า – ลอยน้ำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

     ที่ประชุม กบง. รับทราบตามที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอแนวทางดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำขนาดใหญ่ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

 

       ระยะที่ 1 : สนับสนุนความร่วมมือ (EGAT-SCG Collaboration Project) เป็นความร่วมมือระหว่าง กฟผ. กับบริษัท SCG เคมิคอลส์ จำกัด โดยโครงการความร่วมมือฯ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาระบบทุ่นลอยน้ำและระบบยึดโยงโดยวิศวกรไทย เพื่อใช้เป็นต้นแบบของการผสมผสานการผลิตไฟฟ้าระหว่างเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับไฟฟ้าจากเขื่อน มีกำลังผลิต 500 kW ติดตั้งในพื้นที่เขื่อนท่าทุ่งนาจ. กาญจนบุรี โดยมีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ คาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2561

      ระยะที่ 2 : เป็นการต่อยอดโดยการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ (Economic Scale Pilot Solar Floating Project) เพื่อต่อยอดผลการวิจัยและพัฒนา โดยใช้ระบบเชื่อมต่อที่มีอยู่เดิมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากโครงการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี มีกำลังผลิต 45 MW ใช้พื้นที่ 450 ไร่ จะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยประมาณ 89.53 ล้านหน่วยต่อปี

      ระยะที่ 3 : กำหนดศักยภาพพื้นที่ติดตั้งใน 11 เขื่อนทั่วประเทศ ด้วยศักยภาพการผลิตรวมกว่า 1,000 MW (Potential Commercial Project) เพื่อกำหนดศักยภาพพื้นที่ติดตั้งทั่วประเทศ
เช่น เขื่อน กฟผ. เขื่อนกรมชลประทาน และอ่างเก็บน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ เพื่อให้โครงการฯ สามารถแข่งขัน ภายใต้รูปแบบ Hybrid Firm และขยายผลการพัฒนาโครงการสู่ภาคเอกชน โดยเขื่อนของ กฟผ. ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค กว่า 11 เขื่อน มีศักยภาพผลิตรวมกว่า 1,000 MW จะเป็นการใช้พื้นที่ผิวน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่เป็นการแย่งพื้นที่เกษตรกรรม อีกทั้ง แผงเซลล์แสงอาทิตย์ยังสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจากการอยู่ใกล้ผิวน้ำ

new 08062018

 ***************************

แนวนโยบายการส่งเสริมน้ำมัน E20 และ E85

กระทรวงพลังงาน แจง ที่ประชุม กบง. เห็นชอบแนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้กองทุนฯ รองรับความผันผวนของราคาน้ำมันได้อย่างมั่นคงในอนาคต

          การประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2561 ได้เห็นชอบแนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล โดยใช้กลไกปรับลดการชดเชยควบคู่กับการปรับลดค่าการตลาดสาหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 และแก๊สโซฮอล E85 รวมทั้งการลดชดเชยเงิน ส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอลทั้งกลุ่ม (ทั้ง 5 ประเภท) ให้มีค่าใกล้เคียงศูนย์ เพื่อให้เกิดสภาพคล่องแก่กองทุนฯ

ทั้งนี้ อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีรายละเอียดดังนี้

ชนิดน้ำมัน

(หน่วย: บาทต่อลิตร)

เดิม เปลี่ยนแปลงเป็น
น้ำมันเบนซิน 6.31 6.68
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 0.35 0.72
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 0.35 0.72
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20 -3.00 -2.63
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E85 -9.35 -8.98

***************************

 

ความก้าวหน้าโครงการน้ำมัน B20: กบง. ยืนยัน B20 ถูกกว่า 3 บาทต่อลิตร
พร้อมเพิ่มเงินชดเชยให้ B7 ควบคู่กับเสนอปรับอัตราภาษีแบบลดหลั่น

           ที่ประชุม กบง. มีมติสนับสนุนการผลิตและการใช้น้ำมันดีเซลที่มีสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลไม่เกินร้อยละ 20 (B20) ให้มีราคาต่ำ (ถูกกว่า B7 3 บาทต่อลิตร) เพื่อให้ช่วยลดภาระต้นทุนค่าบริการขนส่งและค่าโดยสารสาธารณะ จึงมีมติให้กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง พิจารณาลดอัตราเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันดีเซล (B20) ลงเหลือ 5.1523 บาทต่อลิตร

           อย่างไรก็ตามเพื่อลดผลกระทบของการลดอัตราเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันดีเซล (B20) ดังกล่าวข้างต้น ต่อรายรับของประเทศ จึงมีมติให้กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง พิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันดีเซล 0.14 บาทต่อลิตร เป็น 5.9895 บาทต่อลิตร และเพื่อไม่ให้ผู้ใช้น้ำมันดีเซลได้รับผลกระทบจากการเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตข้างต้น จึงมีมติให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชดเชยราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในอัตราประมาณ 0.14 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผลตั้งแต่คณะรัฐมนตรีจะมีมติเห็นชอบ

           นอกจากนี้ ที่ประชุม กบง. ยังรับทราบตามที่กรมธุรกิจพลังงาน ได้เสนอแนวทางการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล (B20) โดยจะจัดทำ 1. คำแนะนำในการบำรุงรักษารถยนต์ 2. รายชื่อรุ่นและยี่ห้อรถยนต์ที่สามารถใช้ได้ 3. รายชื่อผู้จำหน่ายและสถานที่ตั้งจุดจำหน่ายน้ำมันดีเซล B20  ซึ่งได้ชี้แจงแนวทางการดำเนินการแก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 และผู้ประกอบการรถบรรทุกขนาดใหญ่แล้ว เพื่อสร้างความรับรู้ ประชาสัมพันธ์ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการว่าสามารถใช้น้ำมันดีเซล B20 อย่างไรถึงจะไม่กระทบต่อเครื่องยนต์

           เหตุผลสำคัญในการดำเนินการครั้งนี้ เพื่อหยุดการใช้เงินกองทุนในการชดเชยราคาแก๊สโซฮอล E20 และ E85 ซึ่งที่ผ่านมากองทุนยังมีการชดเชยอยู่ 341 ล้านบาทต่อเดือน ทั้งนี้เพื่อสำรองเงินคงเหลือสุทธิ 30,376 ล้านบาท ใช้กองทุนเพื่ออุดหนุนราคา B20 และรักษาเสถียรภาพราคาดีเซลให้อยู่ในระดับ 30 บาทต่อลิตร ตลอดปี

 new 08062018 2

*************************** 

Read 2621 times
Tweet
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364
จากต่างประเทศ โทร +66 2612 1555, โทรสาร +66 2612 1364
Official Website : www.eppo.go.th

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์