• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • HOME
  • About Us
    • Company Profile
    • Vision / Mission / Value / Duty
    • Organization Structure
    • Contact US
    • Sitemap
  • Policy and Plan
    • Government Policy Statement
    • Thai Integrated Energy Blueprint TIEB
      • Thailand Power Development Plan
      • Thailand Energy Efficiency Development Plan
      • Alternative Energy Development Plan
      • Oil Plan
  • Related Laws
    • Acts / Royal ordinance
  • Energy Information Services
    • Energy Situation
      • Energy Situation in year 2015 and trend in year 2016
      • The energy situation in the first tenth months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first nine months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first eight months of 2015 and outlook for 2015
    • Xayaburi Hydroelectric Power Project
    • Thailand – Myanmar’s Energy Cooperation Projects
    • Electricity Trade between Thailand and Malaysia.
    • Power Purchased from Laos PDR.
    • Economic and Power Trading in the Greater Mekong Sub-region
    • Thailand energy report 2015
  • Energy Statistics
    • Summary Statistic
    • Petroleum Statistic
    • NGV Statistic
    • Coal and Lignite Statistic
    • Electricity Statistic
    • Energy Economy Statistic
    • Value Energy Statistic
    • Petroleum Price Statistic
    • CO2 Statistic
    • Indicators Statistic
Saturday, 13 May 2017 19:12

ทิศทางและนโยบาย ENERGY 4.0

ทิศทางและนโยบาย ENERGY 4.0

บทสัมภาษณ์ ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และโฆษกกระทรวงพลังงาน เรื่อง ทิศทางและนโยบาย ENERGY 4.0

ดร. ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ทิศทางนโยบาย energy 4.0 เป็นที่รองรับการพัฒนาประเทศไทยในยุค 4.0 นั่นคือ เน้นการใช้นวัตกรรมในการที่จะพัฒนาพลังงานของประเทศ โดยเป็น 2 สายด้านพลังงาน คือ 1 สายพลังงานที่เกี่ยวของกับ Smart Technology คือการนำ ICT เข้ามาบริหารจัดการพลังงานมากขึ้น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับ smart gird Smart City ยานยนต์ไฟฟ้า และ Energy Storage 2 ที่จะเป็นนโยบายด้านพลังงาน 4.0 คือ พลังงานด้านชีวภาพ เป็นการต่อยอดนำนวัตกรรมใหม่ๆมาทำให้พืชพลังงานสามารถที่จะมีมูลค่าเพิ่มได้ นอกเหนือจากการเป็นเพียงแค่ส่วนผสมของน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล โดยในอนาคตเราสามารถที่จะสร้างอุตสาหกรรมต่อเนื่องสำหรับพืชพลังงานนี้ต่อไปได้ นโยบาย Energy 4.0 ที่เกี่ยวข้อง คือ 1ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า เป็นพลังงานรูปแบบใหม่มาใช้ทดแทนน้ำมัน 2 ทำให้เกิดการบริหารจัดการพลังงานแบบเบ็ดเสร็จ smart home ,smart grid ,smart city โดยมีหัวใจสำคัญคือ พลังงานทดแทนที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น พลังงานทดแทนที่ใช้ได้ทุกที่ในประเทศไทย คือโซลาร์เซลล์ เป็นต้น 3 Energy Storage หรือระบบสมสมพลังงาน แบตเตอรี่ power bank ที่มีขนาดใหญ่มาก เป็นเทคโนโลยีเป้าหมาย หากเกิดจะทำให้เรื่อง Energy 4.0 ไปเร็วขึ้น 4 เนื่องจากประเทศไทยมีฐานการผลิตที่เป็นประเทศเกษตรกรรม เพราฉะนั้นการผลิตที่ต่อยอดด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำเอาสินค้าเกษตรมาแปรรูปให้เป็นพลังงานที่ใช้ได้ หรืออาจจะแปรรูปแล้วได้พลังงานมากกว่าที่ใช้อยู่เดิม โฟกัสในเรื่องของ Bio Economy เรื่องของเศรษฐกิจฐานชีวภาพ พืชผลทางการเกษตร พืชพลังงาน สามารถนำเอาสายผลิตดังกล่าวมาต่อยอด ทั้งพืชที่ให้แป้งผลิตเอทานอล มันสำปะหลัง อ้อย น้ำตาล แป้ง ทดแทนน้ำมันเบนซิน และพืชให้น้ำมัน ปาล์ม ถั่วเหลือง มะพร้าว

สำหรับ Smart Technology นั้น กระทรวงพลังงานมีนโยบายสนับสนุนอยู่หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุน charging stations สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า หรือการประกวดแบบบ้านด้าน smart city และมีแผนแม่บทด้านการพัฒนา smart gird เพื่อที่จะทำให้เมืองเมืองหนึ่ง หรือชุมชนหนึ่งสามารถที่จะบริหารจัดการไฟฟ้าเองได้ คาดว่าระบบลักษณะนี้จะทำให้สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนของประเทศหรือของชุมชนในระดับดังกล่าวสามารถที่จะมีสัดส่วนที่สูงขึ้น บางที่อาจจะถึง 100% ได้ แต่อาจจะต้องมีความจำเป็นต้องเชื่อมกับระบบ การไฟฟ้าฯอาจจะต้องเข้ามาเสริมระบบที่เป็นระบบ back up สำหรับการเพิ่มเติมไฟฟ้าในยามที่ระบบพลังงานทดแทนของชุมชนนั้นอาจจะไม่ได้ทำงาน เป็นต้น ลักษณะนี้ถือว่าเป็นนโยบายใหม่ ที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถที่จะมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีขึ้น ลดความเสี่ยงจากการกระจายแหล่งเชื้อเพลิง และกระจายอำนาจจากการควบคุมศูนย์แบบส่วนกลางจากการไฟฟ้า ลงมาเป็นระดับชุมชนหรือระดับเมืองผ่านระบบ smart gird เพราะฉะนั้น เราคาดว่า นโยบาย Energy 4.0 จะทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และระบบใหม่ๆ รวมทั้งอาจจะมีกฎระเบียบที่จะต้อง แก้ไขเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต

ผู้ดูแลนโยบายมีส่วนผลักดันให้เกิด Energy 4.0 หลักๆมี 3 เรื่อง คือ 1 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขกฎระเบียบ เรื่อง Energy 4.0 มีบางเรื่องที่เกี่ยวกับระบบ ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันเราซื้อขายไฟฟ้า ประชาชนทั่วไปทำได้ 2 รูปแบบ คือ ผลิตไฟฟ้าเองใช้ไฟฟ้าเอง หรือผลิตได้ต้องขายการไฟฟ้าฯ แต่ในอนาคตอาจจะมีระบบที่ทำให้สามารถซื้อขายไฟฟ้ากันเองระหว่างชุมชนได้ หรือว่าสามารถจำน่ายไฟฟ้ากับผู้อื่นได้ โดยเฉพาะการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับยานยนต์ไฟฟ้า เพราะฉะนั้นการแก้ไขกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องที่ต้องทำ 2 การพัฒนานวัตกรรม เพราะว่าในระบบดังกล่าว นโยบาย Energy 4.0 มีความจำเป็นที่ต้องส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆที่เป็นนวัตกรรมเป้าหมายคือ เรื่องระบบสะสมพลังงาน ที่เรียกว่า Energy Storage ซึ่งคือ power bank กับแบตเตอรี่ ที่จะทำให้สามารถที่จะทำให้ชุมชนระดับล่างสามารถที่จะบริหารจัดการพลังงานเองได้และมีผลต่อเนื่องทำให้สามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยได้ด้วย 3 การปรับปรุงบริหารจัดการเรื่องกำลังคน พัฒนากำลังคน เพราะว่าเรื่องระบบใหม่ ระเบียบใหม่ เทคโนโลยีใหม่ คนเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นคนที่เกี่ยวข้องกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆหรือคนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบ โดยเฉพาะระบบที่เป็น smart ทั้งหลายต้องมีคนที่เข้าใจและสามารถที่จะควบคุมได้ ปัจจุบันบุคลากรเหล่านี้มีเฉพาะในการไฟฟ้าฯเท่าใน ในอนาคตหากสามารถกระจายศูนย์ให้ชุมชนดุแลระบบจัดการพลังงานเองแล้วก็ต้องมีคนที่เข้ามาบริหารจัดการ ดังนั้นทั้ง 3 สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องผลักดัน

หนังสือพิมพ์ บิส ทูเดย์ สเตชั่น www.biztodaystation.com

 

 

Read 10658 times
Tweet
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364
จากต่างประเทศ โทร +66 2612 1555, โทรสาร +66 2612 1364
Official Website : www.eppo.go.th

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์