• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • HOME
  • About Us
    • Company Profile
    • Vision / Mission / Value / Duty
    • Organization Structure
    • Contact US
    • Sitemap
  • Policy and Plan
    • Government Policy Statement
    • Thai Integrated Energy Blueprint TIEB
      • Thailand Power Development Plan
      • Thailand Energy Efficiency Development Plan
      • Alternative Energy Development Plan
      • Oil Plan
  • Related Laws
    • Acts / Royal ordinance
  • Energy Information Services
    • Energy Situation
      • Energy Situation in year 2015 and trend in year 2016
      • The energy situation in the first tenth months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first nine months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first eight months of 2015 and outlook for 2015
    • Xayaburi Hydroelectric Power Project
    • Thailand – Myanmar’s Energy Cooperation Projects
    • Electricity Trade between Thailand and Malaysia.
    • Power Purchased from Laos PDR.
    • Economic and Power Trading in the Greater Mekong Sub-region
    • Thailand energy report 2015
  • Energy Statistics
    • Summary Statistic
    • Petroleum Statistic
    • NGV Statistic
    • Coal and Lignite Statistic
    • Electricity Statistic
    • Energy Economy Statistic
    • Value Energy Statistic
    • Petroleum Price Statistic
    • CO2 Statistic
    • Indicators Statistic
Wednesday, 19 October 2016 14:05

ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับพลังงานไทย

ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับพลังงานไทย

“ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับพลังงานไทย ตอนที่ 1”

 

คอลัมน์ ทิศทางประเทศไทย

โดย ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน โฆษกกระทรวงพลังงาน

หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์

เผยแพร่ วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

 

il 61520     

    “...ทุกวันนี้ประเทศไทยยังมีทรัพยากรพร้อมมูล ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคล ซึ่งเราสามารถนำมาใช้เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์และเสถียรภาพอันถาวรของบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี ข้อสำคัญเราจะต้องรู้จักใช้ทรัพยากรทั้งนั้นอย่างฉลาด คือไม่นำมาทุ่มเทใช้ให้สิ้นเปลืองโดยไร้ประโยชน์ หรือได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า หากแต่ระมัดระวังด้วยความประหยัดรอบคอบ ประกอบด้วยความคิดพิจารณาตามหลักวิชา เหตุผล และความถูกต้องเหมาะสม โดยมุ่งถึงประโยชน์แท้จริงที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันยืนยาว...” พระราชดำรัส ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2529 วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม 2529

     ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ผมขออัญเชิญพระราชดำรัสพร้อมฉายภาพนำเสนอพระอัจฉริยภาพในด้านการพัฒนาพลังงาน เพื่อเป็นการน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมถวายอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์ผู้อุทิศพระองค์ เพื่อความเจริญของประเทศชาติ ตลอดระยะเวลา 70 ปี ในรัชสมัย และทั้งในพระราชสถานะ “พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย” ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

พระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านในเรื่องพลังงานสามารถแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา โดยสังเขป ดังนี้ 1.ช่วงต้นรัชกาล หรือในช่วงเวลาประมาณ 20 ปี แรกของการเสด็จขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงให้ความสนพระทัยเรื่อง น้ำ เป็นลำดับต้นๆ เพราะทรงทราบดีว่าเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศพระองค์ทรงมีพระราชดำริมากมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำในการทำการเกษตรอย่างพอเพียง

     ในเวลาเดียวกันพระองค์ยังทรงมีพระราชดำริให้นำน้ำที่กักเก็บเอาไว้มาใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการบูรณาการการใช้ทรัพยากรอย่างองค์รวมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งยังเป็นการบูรณาการการใช้ประโยชน์จากน้ำในทุกด้านไม่เฉพาะผลิตไฟฟ้าเพียงเท่านั้นส่วนในช่วงที่ 2 และ 3 พระองค์ท่านได้ให้ความสนพระราชหฤทัยในเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพและพลังงานทดแทนตามลำดับ

     นอกจากจะทรงเสด็จเปิดเขื่อนขนาดใหญ่ทุกเขื่อนของ กฟผ. แล้ว โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กก็ยังทรงเห็นความสำคัญ อย่างเช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อนจุฬาภรณ์ ทรงมีพระราชดำริกฟผ.ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการสร้างเขื่อนอีกแห่งบริเวณใต้เขื่อนจุฬาภรณ์ห่างออกไปประมาณ 40 กิโลเมตร เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของเกษตรกร โดย องคมนตรีกำธน สินธวานนท์ เคยเล่าถึงการเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนั้นว่า “พอกราบบังคมทูลว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ที่เสด็จมาเปิดเขื่อนเล็กๆ พระองค์ท่านทรงมีรับสั่งว่า ‘นี่คือเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดของฉันแล้ว’”

    เขื่อนห้วยกุ่มนอกจากช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรบริเวณลำน้ำพรมตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 8 หมื่นไร่แล้ว ยังเป็นเขื่อนที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 13,000 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงอีกด้วยหรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือที่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านสันติ จ.ยะลา เกิดจากการก่อสร้างเขื่อนบางลาง จ.ยะลา ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรกของภาคใต้ตอนล่างนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบากในการก่อสร้าง เนื่องด้วยในขณะนั้นยังมีการต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย

    โดยในระหว่างการก่อสร้างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาที่เขื่อนแห่งนี้หลายครั้ง ด้วยพระราชประสงค์จะพระราชทานกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน และทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “คนที่เข้าถึงพื้นที่ได้ ย่อมมีโอกาสทำงานสำเร็จ” และด้วยที่ตรงนั้นน้ำประปาไหลแรง เพราะต่อน้ำลงมาจากที่สูง ทำให้ก๊อกน้ำเสียเป็นประจำ ทรงรับสั่งอีกว่า “ถ้าน้ำแรง...ทำไมไม่คิดทำไฟฟ้าด้วย”

    นับแต่นั้นมาโรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านสันติถือเป็นโรงไฟฟ้าใต้ภูเขาแห่งแรกของประเทศไทยที่มีการควบคุมด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง สามารถสั่งการและควบคุมการเดินเครื่องได้โดยตรงจากโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง สามารถอำนวยประโยชน์แก่ราษฏรในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี และยังมีโครงการไฟฟ้าพลังน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกมากมาย อาทิ โรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านยาง จ.เชียงใหม่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านขุนกลาง จ.เชียงใหม่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ เขื่อนพรมธารา จ.ชัยภูมิ โรงไฟฟ้าพลังน้ำคลองช่องกล้ำ จ.สระแก้ว โรงไฟฟ้าพลังน้ำไอกะเปาะ จ.นราธิวาส และโรงไฟฟ้าพลังน้ำทุ่งเพล จ.จันทบุรี ซึ่งทั้ง 2 เขื่อนท้ายนี้ดำเนินการโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)

   ความจากใจตอนหนึ่งที่ คุณไกรสีห์ กรรณสูต กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และอดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เคยเล่าว่าไว้ว่า “...พระองค์ท่านทรงห่วงใยประชาชนที่ยากลำบาก เช่น ชาวเขา ชาวบ้านในชนบท ที่ยังขาดปัจจัยด้านน้ำและไฟฟ้า ทรงมีพระราชดำริให้มีการสร้างฝายเล็กๆ ขึ้น เพราะน้ำเป็นปัจจัยที่จำเป็นด้านอุปโภคบริโภค ไฟฟ้าเองก็มีใช้กันในเมืองแต่ชนบทยังขาดแคลน พระองค์ทรงดูแลทุกข์สุขของประชาชนที่ขาดปัจจัยพื้นฐาน โดยเฉพาะเรื่องน้ำ ในยามปกติจะทรงขอทราบข้อมูลเรื่องน้ำในเขื่อนเป็นประจำ ดูเรื่องน้ำที่จะใช้อุปโภคบริโภค รวมถึงในยามที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยก็มีโครงการตามพระราชดำริต่างๆ เช่น โครงการแก้มลิง ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน...”

     ตอนแรกนี้ ผมขอจบบทความเท่านี้ก่อนในโอกาสถัดไปผมจะขอกลับมาเล่าถึงพระอัจฉริยภาพด้าน “เชื้อเพลิงชีวภาพ” และ “พลังงานทดแทน” ของพระองค์ท่าน เพื่อประโยชน์ในการที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันสืบสานพระราชปณิธานในการ “พัฒนาพลังงานไทย” ให้ยั่งยืน ต่อไปครับ

 

24

 

 

 

Read 16462 times
Tweet
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364
จากต่างประเทศ โทร +66 2612 1555, โทรสาร +66 2612 1364
Official Website : www.eppo.go.th

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์