การนำพลังงานทดแทนไปใช้ในโครงการเกษตรผสมผสานมูโนะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส
ความเป็นมาและการดำเนินงานของโครงการฯ
ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียนราษฎรบริเวณบ้านปาดังยอ หมู่ที่ 3 ตำบล มูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2517 ได้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทถึงความเดือดร้อนของราษฎรที่ประกอบอาชีพทางการ เกษตรในบริเวณท้องที่ตำบลมูโนะ ตำบลปูโย อำเภอสุไหงโก-ลก แระตำบลโฆษิต ตำบลนานาค ตำบลพร่อน ตำบลเกาะสะท้อน ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ ซึ่งพื้นที่บริเวณดังกล่าวนี้เป็นที่ลุ่มชายฝั่งแม่น้ำโก-ลก และชายพรุโต๊ะแดง เมื่อถึงฤดูน้ำแหลก น้ำในแม่น้ำโก-ลกจะไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมไร่นาของราษฎร และน้ำชายพรุโต๊ะแดงจะมีระดับสูงขึ้นจนทำความเสียหายให้แก่พื้นที่เพาะปลูก เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้พิจารณาก่อสร้างโครงการชลประ ทานมูโนะขึ้น
กิจกรรมหลักในโครงการเกษตรผสมผสานมูโนะอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เมื่อเริ่มก่อสร้างโครงการชลประทานมูโนะ โดยการขุดคลองมูโนะเพื่อรับน้ำดีจากแม่น้ำโก-ลก และก่อสร้างระบบระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม เมื่อระบบต่างๆ ที่ก่อนสร้างไว้เริ่มได้ผลตามวัตถุประสงค์แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเพิ่มเติมให้ก่อสร้างระบบชลประทานในแปลงนาในรูปแบบของเกษตร ผสมผสาน เพื่อเป็นแปลงตัวอย่างนำร่องให้เกษตรกรรม ซึ่งได้พิจารณาเลือกพื้นที่บริเวณบ้านมูโนะ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก เพราะเป็นจุดที่อยู่ต้นคลองมูโนะ ไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ
แต่การสูบน้ำตามพระราชดำริเน้นการส่งน้ำโดยวิธีสูบน้ำ เพราะเป็นพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำสูงสุดในคลองระบายน้ำมูโนะ การส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกไม่สามารถกระทำได้ ดังนั้นการส่งน้ำตลอดฤดูกาลเพาะปลูกจะใช้ระบบสูบน้ำแล้วกระจายสู่พื้นที่ เพาะปลูก โดยคูส่งน้ำลาดคอนกรีตสายต่างๆ
ระบบชลประทานที่มีอยู่เดิมของโครงการเกษตรผสมผสานมูโนะฯ นั้น เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 โดยใช้เครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขนาด 18.5 กิโลวัตต์ มีอัตราสูบน้ำ 900 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง สูบน้ำเพื่อใช้ในพื้นที่ชลประทาน 900 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นา 500 ไร่ พื้นที่ยาง 200 ไร่ สวนผลไม้ 40 ไร่ แปลงพืชไร่ 160 ไร่ ผ่านระบบส่งน้ำที่ประกอบด้วยคูส่งน้ำสายใหญ่ 1 สาย และคูส่งน้ำสายซอย 9 สาย รวมระยะทาง 9,335 เมตร ให้กับเกษตรกรผู้รับประโยชน์ 2 หมู่บ้านในตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก ประมาณ 200 ครัวเรือน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีปัญหาจากระบบสูบน้ำเดิมนี้คือ
- ปัญหาด้านภาระค่ากระแสไฟฟ้า โดยเฉลี่ยในช่วงฤดูกาล (กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม) ค่ากระแสไฟฟ้าประมาณ 4,000-8,000 บาท/เดือน และหากมีการทำนาปรังด้วยนั้น ภาระค่ากระแสไฟฟ้าจะเพิ่มเป็น 8,000-15,000 บาท/เดือน
- เครื่องสูบน้ำมีประสิทธิภาพต่ำลง เนื่องจากมีอายุใช้งานมานานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ส่งผลให้เมื่อเกิดภาวะแล้งจัดและระดับน้ำลดลงต่ำกว่าระดับของเครื่องสูบน้ำ จะทำให้การสูบน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่เกษตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชไร่พืชสวน ไม่ได้ผลตามสมควรก่อให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่เพาะปลูก และเป็นสาเหตุให้เกษตรกรไม่มั่นใจในการทำเกษตรในปีต่อๆ ไป
ระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ในโครงการเกษตรผสมผสานมูโนะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยกรมชลประทาน (สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)
จากการสำรวจการใช้พลังงานในกิจกรรมสูบน้ำของกรมชลประทาน ทั้งเพื่อการเกษตร การช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝน การป้องกันน้ำเค็มในฤดูแล้ง และการส่งน้ำช่วยเหลือในบริเวณพื้นที่ เพาะปลูกของจังหวัดนราธิวาส พบว่า มีหลายกิจกรรมที่มีภาระค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำสูง จึงได้นำระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าด้วยเซลล์แลงอาทิตย์มาสาธิตที่งานสูบน้ำของ โครงการเกษตรผสมผสานมูโนะอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูโนะ สำนักชลประทานที่ 12 กรมชลประทาน เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าในการสูบน้ำ และสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันหรือถ่านหินซึ่งทำลาย สิ่งแวดล้อม และเผยแพร่ให้ประชาชนรับรู้ถึงเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด รวมทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกของความร่วมมือกันประหยัดพลังงานให้เกิดขึ้นด้วย
การนำระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้เสริมกับระบบเดิม โดยระบบใหม่นี้ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 75 วัตต์ 36 แผง รวมกำลังไฟฟ้าเอาต์พุต 2,700 วัตต์ เครื่องสูบน้ำมอเตอร์กระแสตรง (Centrifugal) ขนาด 1.5 แรงม้า จำนวน 2 เครื่อง และท่อส่งน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว ระยะทาง 30 เมตร จำนวน 1 ชุด โดยเครื่องสูบน้ำจะทำงานในเวลากลางวันด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ สูบน้ำได้วันละ 170 ลูกบาศก์เมตร เข้าท่อน้ำชลประทานที่ระดับยกน้ำ 6.4 เมตร และส่งไปยังคลองส่งน้ำเดิมของโครงการฯ
ระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์นี้จะให้ประโยชน์ในการใช้สอย ได้แก่
- ใช่ร่วมกับระบบสูบน้ำเดิมในช่วงเวลาที่ต้องใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกมาก จึงช่วยลดปริมาณการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าลง เป็นการประหยัดค่าไฟฟ้าและค่าบำรุงรักษา
- ในช่วงที่พืชต้องการน้ำน้อย สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลุก โดยจัดพื้นที่การส่งน้ำเป็นเขตต่างๆ ตามความเหมาะสมได้
- ในช่วงแล้งจัดที่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสูบน้ำเดิม สามารถใช้ระบบใหม่นี้สูบน้ำช่วยเหลือได้
- เมื่อเกษตรกรมีความเชื่อมั่นในเรื่องระบบสูบน้ำใหม่แล้ว ก็จะสามารถส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตได้
ที่มา : พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย