• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • HOME
  • About Us
    • Company Profile
    • Vision / Mission / Value / Duty
    • Organization Structure
    • Contact US
    • Sitemap
  • Policy and Plan
    • Government Policy Statement
    • Thai Integrated Energy Blueprint TIEB
      • Thailand Power Development Plan
      • Thailand Energy Efficiency Development Plan
      • Alternative Energy Development Plan
      • Oil Plan
  • Related Laws
    • Acts / Royal ordinance
  • Energy Information Services
    • Energy Situation
      • Energy Situation in year 2015 and trend in year 2016
      • The energy situation in the first tenth months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first nine months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first eight months of 2015 and outlook for 2015
    • Xayaburi Hydroelectric Power Project
    • Thailand – Myanmar’s Energy Cooperation Projects
    • Electricity Trade between Thailand and Malaysia.
    • Power Purchased from Laos PDR.
    • Economic and Power Trading in the Greater Mekong Sub-region
    • Thailand energy report 2015
  • Energy Statistics
    • Summary Statistic
    • Petroleum Statistic
    • NGV Statistic
    • Coal and Lignite Statistic
    • Electricity Statistic
    • Energy Economy Statistic
    • Value Energy Statistic
    • Petroleum Price Statistic
    • CO2 Statistic
    • Indicators Statistic
Thursday, 10 March 2016 22:40

eppo s

มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 6/2559 (ครั้งที่18)

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา13.30น.


1.  แนวทางการแก้ไขปัญหาโรงไฟฟ้าชีวมวล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ เป็นประธานกรรมการ

ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายทวารัฐ สูตะบุตร เป็นกรรมการและเลขานุการ


 

เรื่อง    แนวทางการแก้ไขปัญหาโรงไฟฟ้าชีวมวล
สรุปสาระสำคัญ

          เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2559 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานได้พิจารณาข้อสรุปผลการแก้ไขปัญหาโรงไฟฟ้าชีวมวลที่คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโรงไฟฟ้าชีวมวลเสนอและได้เพิ่มเติมแนวทางการแก้ไขปัญหาเป็น3แนวทางและมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯวิเคราะห์ผลกระทบทางเลือก3แนวทางเสนอกบง.พิจารณาก่อนนาเสนอกพช.เพื่อพิจารณาเห็นชอบต่อไปโดยสรุปผลการวิเคราะห์ทางเลือก 3 แนวทางได้ดังนี้

          1. ทางเลือกที่ 1 ตามข้อสรุปของคณะอนุกรรมการฯคือสามารถเลือกเปลี่ยนจาก Adder เป็น FiT (สัญญาลด 3 ปี) ซึ่งจะมีผลกระทบเชิงบวกเชิงลบทั้งทางตรงและทางอ้อมได้แก่(1)ผลกระทบเชิงบวกทางตรงเช่นสลายข้อขัดแย้งและยุติคดีฟ้องร้อง(เป็นไปตามข้อร้องเรียนของผู้ประกอบการ)เกิดความเป็นธรรมเป็นFiTเหมือนกันทั้งระบบและทำให้บรรลุเป้าหมายAEDP(2)ผลกระทบเชิงบวกทางอ้อมเช่นในอนาคตภาครัฐอาจสามารถรับซื้อไฟฟ้ารูปแบบFiTที่ราคาต่ำกว่าค่าไฟฟ้าขายส่งเฉลี่ยและทำให้เกิดการกระจายการลงทุนในโรงไฟฟ้าแบบDistributed GreenGenerationซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า(3) ผลกระทบเชิงลบทางตรง เช่นค่า Ftเพิ่มขึ้นนามาสู่การถูกฟ้องร้องจากภาคประชาชนหรือNGOและรัฐอาจเสียประโยชน์โดยไม่จำเป็นจากFreeRider(กลุ่มโรงน้ำตาล)และ(4)ผลกระทบเชิงลบทางอ้อมเช่นอาจทำให้เกิดกรณีตัวอย่างที่ไม่พึงประสงค์ในการเรียกร้องหากอัตรารับซื้อในอนาคตสูงกว่า

          2. ทางเลือกที่ 2 ให้ยกเลิกมติกพช.เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ที่เกี่ยวกับช่วงการเปลี่ยนผ่าน(กลุ่ม2เฉพาะเชื้อเพลิงชีวมวล) ให้เปลี่ยนกลับมาเป็นระบบAdder ทั้งหมดซึ่งจะมีผลกระทบได้แก่(1)ผลกระทบเชิงบวกทางตรงเช่นไม่เกิดผลกระทบกับค่าFtเพิ่มเติมและเกิดความเป็นธรรมโดยเป็นAdderเหมือนกันทั้งระบบ(2)ผลกระทบเชิงบวกทางอ้อมเช่นยุติปัญหาความเลื่อมล้าของราคารับซื้อไฟฟ้าและการแข่งขันด้านราคาเชื้อเพลิงชีวมวลลดลง(3)ผลกระทบเชิงลบทางตรงเช่นส่งผลต่อภาพลักษณ์ของกระทรวงพลังงานและอาจส่งผลให้ผู้ผลิตไฟฟ้าชีวมวลบางส่วนไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนและอาจยุติกิจการ(โดยเฉพาะกลุ่มไม่มีเชื้อเพลิงเอง)และ(4)ผลกระทบเชิงลบทางอ้อมเช่นการขับเคลื่อนแผนAEDPยากขึ้น และอาจต้องรับซื้อเพิ่มในระบบFiTในอนาคต

          3. ทางเลือกที่ 3 ให้รอผลคำตัดสินของศาลและดาเนินการตามแนวทางคำตัดสินซึ่งจะมีผลกระทบได้แก่(1)ผลกระทบเชิงบวกทางตรงเช่นให้ศาลซึ่งเป็นหน่วยงานที่เป็นกลางตัดสินทำให้ไม่เกิดการครหาในการเอื้อประโยชน์แก่ภาคเอกชนและไม่กระทบต่อภาพลักษณ์ของกระทรวงพลังงาน(หากชนะคดี)(2)ผลกระทบเชิงลบทางตรงเช่น อาจมองได้ว่ากระทรวงพลังงานไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาและหากแพ้คดีทำให้ภาครัฐอาจต้องเตรียมตั้งงบประมาณมาชดเชยค่าเสียหายของผู้ประกอบการและ(3)ผลกระทบเชิงลบทางอ้อมเช่นอาจทำให้ผู้ประกอบการอื่นๆฟ้องคดีลักษณะเดียวกันเพิ่มเติม

มติของที่ประชุม

     เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาโรงไฟฟ้าชีวมลโดยให้โครงการชีวมวลในรูปแบบAdderสามารถเลือกปรับรูปแบบAdderเป็นFiTได้ดังนี้

1. สามารถเลือกที่จะอยู่ในรูปแบบAdderอย่างเดิมต่อไปได้ ตามเงื่อนไขเดิมหรือ

2. สามารถเลือกที่จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบFiTได้โดยมีเงื่อนไขดังนี้

2.1 ได้รับอัตราFiTและFiTPremiumตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้มีมติไว้เมื่อวันที่15ธันวาคม2557

2.2 มีอายุสัญญาการรับซื้อไฟฟ้าคงเหลือในรูปแบบFiTเท่ากับอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่กำหนดไว้20ปีปรับลดด้วยระยะเวลาที่ได้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ไปแล้วและปรับลดระยะเวลาการรับซื้อไฟฟ้าอีกดังนี้

ดำเนินการแล้ว ภายใต้ระบบAdder อายุโครงการคงเหลือ ระยะเวลาที่ปรับลด
0 -12เดือน 19-20ปี 4 ปี 8 เดือน (56เดือน)
มากกว่า12- 24เดือน 18-19ปี 4 ปี 4 เดือน (52เดือน)
มากกว่า 24- 36เดือน 17-18ปี 4 ปี 0 เดือน (48เดือน)
มากกว่า 36- 48เดือน 16-17ปี 3 ปี 9 เดือน (45เดือน)
มากกว่า 48- 60เดือน 15-16ปี 3 ปี 5 เดือน (41เดือน)
มากกว่า 60- 72เดือน 14-15ปี 3 ปี 2 เดือน (38เดือน)
มากกว่า 72- 84เดือน 13-14ปี 2 ปี 11 เดือน (35 เดือน)
มากกว่า 84- 96เดือน 12- 13ปี 2 ปี 8 เดือน (32เดือน)
มากกว่า96เดือน น้อยกว่า12ปี 2 ปี 3 เดือน (27เดือน)

2.3 มีระยะเวลาคงเหลือที่จะได้รับอัตราFiTPremium เท่ากับ 8 ปีปรับลดด้วยระยะเวลาที่ได้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ไปแล้ว

2.4 ทั้งนี้ภายหลังสิ้นสุดอายุสัญญาในรูปแบบFiTแล้วภาครัฐสามารถที่จะพิจารณาต่ออายุสัญญาไปอีกตามจำนวนปีที่ถูกปรับลดโดยการพิจารณาต่ออายุสัญญาจะต้องมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่คำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ

 

Read 3821 times Last modified on Monday, 11 July 2016 13:44
Tweet
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364
จากต่างประเทศ โทร +66 2612 1555, โทรสาร +66 2612 1364
Official Website : www.eppo.go.th

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์