
Super User
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 20 พฤศจิกายน 55
กบง. ครั้งที่ 7 - วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 7/2558 (ครั้งที่ 7)
วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เวลา 13.30 น.
1. โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนสิงหาคม 2558
2. แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง
3. แนวทางการแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธานที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายทวารัฐ สูตะบุตร เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนสิงหาคม 2558
สรุปสาระสำคัญ
1. กบง. เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 และเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2558 ได้เห็นชอบการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG โดยใช้ต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา (โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก และนำเข้า) เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการผลิตและจัดหาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน ทั้งนี้ให้มีการทบทวนราคาต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหาทุกๆ 3 เดือน สำหรับระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2558 ราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG ของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก และนำเข้า อยู่ที่ 498 CP-20 และ CP+85 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ตามลำดับ และบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด อยู่ที่ 13.90 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งทำให้ราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (LPG Pool) อยู่ที่ 15.6764 บาทต่อกิโลกรัม
2. เพื่อให้เป็นไปตามมติ กบง. เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 ฝ่ายเลขานุการฯ ได้มีการทบทวนต้นทุนราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG ระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2558 แล้ว สรุปได้ ดังนี้ (1) ต้นทุนจากโรงแยกฯ เดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2558 ลดลง 0.4018 บาทต่อกิโลกรัม จาก 16.3791 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 15.9773 บาทต่อกิโลกรัม (2) คงต้นทุนโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติกอ้างอิงราคาตลาดโลกที่ CP-20 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน เนื่องจากเป็นต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ราคาก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนสิงหาคม 2558 เท่ากับ 12.3685 บาทต่อกิโลกรัม (3) คงต้นทุนก๊าซ LPG จากการนำเข้าอยู่ที่ CP + 85 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ทำให้ต้นทุนการนำเข้าก๊าซ LPG เดือนสิงหาคม 2558 อยู่ที่ 15.9861 บาทต่อกิโลกรัม และ (4) ต้นทุนบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด อยู่ที่ 14.40 บาทต่อกิโลกรัม
3. จากราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) เดือนสิงหาคม 2558 อยู่ที่ 379 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2558 จำนวน 28 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนกรกฎาคม 2558 อยู่ที่ 34.4527 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนมิถุนายน 2558 จำนวน 0.5738 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (LPG Pool) ปรับลดลง 0.7742 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 15.6764 บาทต่อกิโลกรัม มาอยู่ที่ 14.9022 บาทต่อกิโลกรัม
4. จากราคาก๊าซ LPG Pool ของเดือนสิงหาคม 2558 ที่ปรับลดลง 0.7742 บาทต่อกิโลกรัม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG เป็น 3 แนวทาง ดังนี้ (1) คงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่ 1.0725 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกลดลง 0.83 บาท ต่อกิโลกรัม จาก 23.96 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 23.13 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 320 ล้านบาทต่อเดือน (2) ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่ 0.7742 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 1.0725 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 1.8467 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกคงเดิมที่ 23.96 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 602 ล้านบาทต่อเดือน และ (3) ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่ 0.1480 บาทต่อกิโลกรัม จาก 1.0725 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 1.2205 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ลดลงเหลือ 23.29 บาทต่อกิโลกรัม และจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 374 ล้านบาทต่อเดือน โดยฐานะกองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2558 มีฐานะกองทุนสุทธิ 7,816 ล้านบาm
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบการกำหนดราคาต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา ดังนี้
1.1 กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ณ ระดับราคา 15.9773 บาท ต่อกิโลกรัม
1.2 กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันและโรงอะโรเมติก เป็นราคาตลาดโลก (CP) ลบ 20 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
1.3 กำหนดราคาก๊าซ LPG จากการนำเข้า เป็นราคาตลาดโลก (CP) บวก 85 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
1.4 กำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ณ ระดับราคา 14.40 บาทต่อกิโลกรัมโดยที่ CP = ราคาประกาศเปโตรมิน ณ ราสทานูรา ซาอุดิอาระเบียของเดือนนั้น เป็นสัดส่วนระหว่างโปรเปน กับ บิวเทน 60 ต่อ 40ทั้งนี้ให้มีการทบทวนราคาต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหาทุกๆ 3 เดือน ซึ่งการทบทวนครั้งต่อไปจะเป็นในรอบเดือนตุลาคม 2558
2. เห็นชอบกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซ LPG ที่ผลิตและนำเข้ากิโลกรัมละ 0.9121 บาท โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป
เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2551 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้เห็นชอบการกำหนดอัตราเงินชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่โรงกลั่นน้ำมันที่รับซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะในอัตราไม่เกิน 7 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลา 5 ปี และมอบให้ สนพ. ไปศึกษารายละเอียดการกำหนดอัตราชดเชยที่เหมาะสม โดยให้นำเสนอประธาน กบง. ให้ความเห็นชอบก่อนออกประกาศ กบง. ต่อไป
2. ปี 2552 สนพ. ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตน้ำมันจากขยะ พบว่า จากการคำนวณผลตอบแทนโครงการที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.5 ราคาขยะที่ระดับ 2,000 บาทต่อตันขยะพลาสติก ระยะเวลาโครงการ 15 ปี และความสามารถผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกได้ 0.225 ล้านลิตรต่อตันต่อปี จะได้ราคาต้นทุนน้ำมันจากขยะพลาสติกที่ประมาณ 18 บาทต่อลิตร หรือประมาณ 87 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ดังนั้น เพื่อให้การผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกสามารถแข่งขันได้ในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกลดต่ำกว่า 18 บาทต่อลิตร กบง. ในการประชุมเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2552 จึงได้เห็นชอบอัตราเงินชดเชยให้แก่โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะ โดยให้อัตราเงินชดเชยเท่ากับ 18 ลบด้วยราคาน้ำมันดิบ และหากราคาน้ำมันดิบดูไบสูงกว่า 18 บาทต่อลิตร หรือ 87 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะไม่มีการชดเชย โดยให้มีระยะเวลาการชดเชย 5 ปี
3. ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้เริ่มดำเนินโครงการส่งเสริมการแปรรูปจากขยะเป็นน้ำมันตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 แต่ยังไม่มีการชดเชยเนื่องจากไม่มีผู้ผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกรายใดมาขอรับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ รวมทั้งบางช่วงราคาน้ำมันดิบดูไบได้ปรับสูงขึ้นเกิน 18 บาทต่อลิตร ทำให้ไม่ต้องมีการชดเชยตามมติ กบง. เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2552 ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 เป็นต้นมา ราคาน้ำมันดิบดูไบได้ลดต่ำลงมาอยู่ที่ประมาณ 11.79 บาทต่อลิตร หรือ 57 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกมีหนังสือถึง สนพ. เพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันฯ ในการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติก แต่ระยะเวลาสนับสนุนได้สิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2558 เนื่องจากครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี
4. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รวบรวมข้อมูลต้นทุนการผลิตจากผู้ผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกจำนวน 7 ราย พบว่า น้ำมันที่ผลิตได้จากขยะพลาสติกมีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 11.27-17.76 บาทต่อลิตร หรือเทียบเท่าราคาน้ำมันดิบดูไบที่ประมาณ 54-85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งต้นทุนที่ลดต่ำลงมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติก ฝ่ายเลขานุการฯ จึงมีความเห็นว่า เพื่อให้สะท้อนต้นทุนการผลิตที่แท้จริงควรกำหนดต้นทุนการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกเฉลี่ยที่ 14.50 บาทต่อลิตร
5. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2558 อยู่ที่ประมาณ 11.93 บาทต่อลิตร ในขณะที่ต้นทุนจากการผลิตน้ำมันขยะอยู่ที่ประมาณ 14.50 บาทต่อลิตร ซึ่งไม่สามารถแข่งขันกับราคาน้ำมันดิบดูไบได้ ดังนั้น ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอให้มีการชดเชยราคาให้กับโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับซื้อน้ำมันจากขยะพลาสติก ในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบดูไบต่ำกว่าประมาณ 14.50 บาทต่อลิตร โดยให้อัตราเงินชดเชยเท่ากับ 14.50 ลบด้วยราคาน้ำมันดิบ และหากราคาน้ำมันดิบดูไบสูงกว่า 14.50 บาทต่อลิตร จะไม่มีการชดเชยต้นทุนการผลิตน้ำมันจากขยะ โดยให้มีระยะเวลาชดเชย 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2561 และให้ สนพ. พิจารณาทบทวนต้นทุนการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกทุกๆ 1 ปี
มติของที่ประชุม
เห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณอัตราเงินชดเชยให้แก่โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติก ดังนี้
ทั้งนี้หากราคาน้ำมันดิบสูงกว่า 14.50 บาทต่อลิตร จะไม่มีการชดเชยต้นทุนการผลิน้ำมัน จากขยะ โดยให้มีระยะเวลาชดเชย 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2561 แะให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานพิจารณาทบทวนต้นทุนการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกทุกๆ 1 ปี
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2561
เรื่อง แนวทางการแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
สรุปสาระสำคัญ
1. ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นระเบียบที่ประกาศใช้ก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยระเบียบได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งประกอบด้วย
(1) ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ฉบับ พ.ศ. 2550
(2) ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ประเภทสัญญา Non-Firm ฉบับ พ.ศ. 2550 และ
(3) ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน) และเพื่อเป็นการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และขนาดเล็กมาก (VSPP) กพช. เห็นชอบให้มีการสนับสนุนในรูปแบบการให้อัตราส่วนเพิ่มในการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Adder) ทั้งนี้การให้ Adder ไม่ได้อยู่ในระเบียบรับซื้อไฟฟ้า แต่เป็นประกาศแนบท้ายสัญญา
2. ต่อมา กพช. เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ได้มีมติเห็นชอบอัตรารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed in Tariff (FiT) โดยให้ประกาศหยุดรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Adder โดยมีผลถัดจากวันที่ กพช. มีมติ โดยให้โครงการที่ยื่นคำร้องขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder ก่อนวันที่ กพช. มีมติ ให้สามารถปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบ FiT ได้ ซึ่งภายหลัง กพช. มีมติดังกล่าวได้มีผู้ประกอบการบางส่วน ได้มีหนังสือหารือมายังกระทรวงพลังงาน เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการยื่นขอขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าโดยไม่ขอรับ Adder รวมถึงหารือแนวทางการปฏิบัติในการรับซื้อไฟฟ้า ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าการเปิดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ขอรับการสนับสนุนทั้งในรูปแบบ Adder หรือ FiT นั้น อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณ การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ที่กระทรวงพลังงานจะเปิดรับซื้อ ซึ่งจะพิจารณาถึงศักยภาพของระบบไฟฟ้าและศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนในแต่ละพื้นที่ จึงขอเสนอให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียน เพื่อทำหน้าที่เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎ/ระเบียบที่อาจไม่เอื้อให้เกิดการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการเปิดรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ FiT โดยไม่กระทบต่อระบบไฟฟ้า
มติของที่ประชุม
เห็นชอบการแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ภายใต้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 29 เมษายน 5 พฤษภาคม 2556
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 22-28 เมษายน 2556
กบง. ครั้งที่ 6 - วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 6/2558 (ครั้งที่ 6)
วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 14.30 น.
ปลัดกระทรวงพลังงาน นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม กรรมการและเป็นประธานที่ประชุม
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ เป็นกรรมการและเลขานุการ(แทน)
เรื่อง การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. กบง. ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้น 0.60 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 8 มกราคม 2558 อยู่ที่ 2.3378 บาทต่อลิตร
2. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 9 มกราคม 2558 เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 6 มกราคม 2558 พบว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลง 1.50 1.93 และ 1.74 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ มาอยู่ที่ระดับ 47.20 57.89 และ 64.57 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราวันที่ 9 มกราคม 2558 อยู่ที่ 33.0016 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น 0.0990 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ และราคาไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันของวันที่ 12 มกราคม 2558 อยู่ที่ 37.15 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้น 2.29 บาทต่อลิตร เมื่อเปรียบเทียบกับวันที่ 7 มกราคม 2558 ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2558 ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 และ 91E10 ลง 0.60 บาทต่อลิตร และปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 และ E85 ลง 0.40 และ 0.20 บาทต่อลิตร ตามลำดับ จากราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 12 มกราคม 2558 อยู่ที่ 2.2209 บาทต่อลิตร ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าค่าการตลาดที่เหมาะสม
ดังนั้น เพื่อรักษาค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 ลง 0.40 บาทต่อลิตร และ ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลขึ้นลิตรละ 0.30 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ฝ่ายเลขานุการฯ จะประสานขอความร่วมมือกับผู้ค้าให้ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 ลง 1.00 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 91E10 และ E20 ลง 0.60 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลลง 0.30 บาท ต่อลิตร ซึ่งผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว จะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 2.3841 และ 1.6405 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีสภาพ คล่องเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 13.78 ล้านบาท หรือ 413 ล้านบาทต่อเดือนจากมีรายรับ 7,818 ล้านบาทต่อเดือน เป็นมีรายรับ 8,231 ล้านบาทต่อเดือน ทั้งนี้ ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 11 มกราคม 2558 มีทรัพย์สินรวม 30,179 ล้านบาท มีหนี้สินรวม 10,553 ล้านบาท โดยมีฐานะสุทธิเป็นบวก 19,625 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 12 พฤศจิกายน 55
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 15-21 เมษายน 2556
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 8-14 เมษายน 2556
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 01-07 เมษายน 2556
กบง. ครั้งที่ 6 - วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 6/2558 (ครั้งที่ 6)
วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 13.30 น.
1. โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนกรกฎาคม 2558
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธานที่ประชุม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายชวลิต พิชาลัย เป็นกรรมการและเลขานุการ
เรื่อง โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนกรกฎาคม 2558
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 เห็นชอบ การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG โดยใช้ต้นทุนจากแหล่งผลิตและแหล่งจัดหา (โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงอะโรเมติก และการนำเข้า) เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ตามปริมาณการผลิตและจัดหาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน โดยโครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนกรกฎาคม 2558 มีปัจจัยที่สำคัญคือ ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) เดือนกรกฎาคม 2558 อยู่ที่ 407 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน 12 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ 33.8789 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนพฤษภาคม 2558 ที่ 0.1733 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (LPG Pool) ปรับลดลง 0.1205 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 15.7969 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 15.6764 บาทต่อกิโลกรัม
2. จากราคาก๊าซ LPG Pool ของเดือนกรกฎาคม 2558 ที่ปรับลดลง 0.1205 บาทต่อกิโลกรัม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG เป็น 2 แนวทาง ดังนี้ (1) คงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่ 0.9520 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกลดลง 0.1289 บาทต่อกิโลกรัม จาก 23.96 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 23.83 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้กองทุนมีรายรับ 271 ล้านบาทต่อเดือน (2) ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ที่ 0.1205 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 0.9520 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 1.0725 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกคงเดิมที่ 23.96 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 314 ล้านบาทต่อเดือน ทั้งนี้ ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ของก๊าซ LPG ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2558 มีฐานะกองทุนสุทธิ 7,395 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับก๊าซ LPG ที่ผลิตและนำเข้ากิโลกรัมละ 1.0725 บาท โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) รับไปดำเนินการประกาศหยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder โดยให้มีผลนับถัดจากวันที่ กพช. มีมติ (ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2557) ซึ่งต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ได้มีหนังสือถึงการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อแจ้งมติ กกพ. ให้การไฟฟ้าดำเนินการออกประกาศหยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder โดยให้มีผลนับถัดจากวันที่ กพช. มีมติ และต่อมา กฟน. กฟผ. และ กฟภ. ได้ดำเนินการออกประกาศ เรื่อง การหยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder เมื่อวันที่ 23 29 และ 30 มกราคม 2558 ตามลำดับ โดยประกาศทั้งหมดให้มีผลนับแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2557
2. เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2558 กพช. ได้มีมติมอบหมายให้ กกพ. รับไปแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของโครงการพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Adder ที่หยุดรับซื้อไฟฟ้า ซึ่งมีผลถัดจากวันที่ กพช. มีมติซึ่งทำให้ผู้ยื่นขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder ไม่สามารถยื่นขอขายไฟฟ้าได้ทัน และเมื่อได้ข้อยุติแล้วให้นำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
3. โดยที่ผ่านมาสำนักงาน กกพ. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่ได้ยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้า ในรูปแบบ Adder ภายหลังจากที่ กพช. มีมติให้หยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder แต่เป็นการยื่นก่อนที่การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จะดำเนินการออกประกาศฯ จำนวน 8 ราย แบ่งออกเป็น VSPP จำนวน 5 ราย และ SPP จำนวน 3 ราย คิดเป็นปริมาณเสนอขายประมาณ 97.966 เมกะวัตต์ โดยผู้ผลิตไฟฟ้าได้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมและขอให้ทบทวนมติ กพช. เนื่องจากผู้ผลิตไฟฟ้าได้ยื่นคำขอขายไฟฟ้าตามหลักเกณฑ์ปฏิบัติ ประกอบกับได้ลงทุนและมีค่าใช้จ่ายคิดเป็นเงินจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีความเห็นว่าการออกประกาศของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งที่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
4. ในการประชุมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 กกพ. ได้มีมติว่าประกาศของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ไม่สามารถมีผลใช้บังคับย้อนหลังไปถึงวันถัดจากวันที่ กพช. มีมติได้ เนื่องจากเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คำวินิจฉัยและกลั่นกรองคำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนด ดังนั้น กกพ. จึงได้มอบหมายให้สำนักงาน กกพ. นำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อ กบง. เพื่อพิจารณาหาข้อยุติ ตามมติของ กพช. โดย กกพ. ได้มีหนังสือถึงการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง เพื่อให้จัดส่งข้อมูลการยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Adder ที่ได้รับระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2557 จนถึงวันที่การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จะดำเนินการออกประกาศฯ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานการยื่นคำร้องของผู้ยื่นคำร้องและข้อเสนอทุกราย รวมถึงผู้ยื่นคำร้องและข้อเสนอที่ถูกปฏิเสธ ซึ่งสำนักงาน กกพ. ได้รับหนังสือรายงานข้อมูลการยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าจากการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง รวมทั้งสิ้น 35 โครงการ มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายทั้งสิ้น 314.706 เมกะวัตต์ แบ่งออกเป็น (1) กฟผ. จำนวนทั้งสิ้น 4 โครงการ มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายทั้งสิ้น 131.866 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นเป็นเชื้อเพลิงขยะ และชีวมวลจำนวน 1 และ 3 โครงการ มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย 70 และ 61.866 เมกะวัตต์ ตามลำดับ (2) กฟภ. จำนวนทั้งสิ้น 31 โครงการ มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายทั้งสิ้น 182.840 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นเป็นเชื้อเพลิงขยะ ชีวภาพ ชีวมวล และน้ำจำนวน 13 5 12 และ 1 โครงการ มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย 67.600 8.840 106.300 และ 0.100 เมกะวัตต์ ตามลำดับ และ (3) กฟน. ไม่มีผู้เสนอขอ ทั้งนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาเทียบเคียง ได้แก่ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด อ.64–79/2551 และคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.66/2553 ได้มีคำวินิจฉัยว่า ประกาศเป็นการใช้อำนาจทางปกครองที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป จึงเป็นกฎ และต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า นิติกรรมทางปกครองไม่มีผลย้อนหลัง
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ประกาศการหยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder ของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดยให้มีผลใช้บังคับถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ดังนี้
(1) การไฟฟ้านครหลวง ให้มีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ 24 มกราคม 2558
(2) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ให้มีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ 30 มกราคม 2558
(3) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้มีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ 31 มกราคม 2558
โดยให้สิทธิแก่ผู้ผลิตไฟฟ้าที่ได้ยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2557 จนถึง วันที่ประกาศ เรื่อง การหยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder ของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง มีผลใช้บังคับตามข้อ (1) – (3) ทั้งนี้ ให้การไฟฟ้าพิจารณาคำร้องขอขายไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าที่ได้ยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าภายหลังจากที่ กพช. ได้มีมติให้หยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้าในรูปแบบ Adder และได้ยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าก่อนที่การไฟฟ้า ออกประกาศหยุดรับคำร้องขอขายไฟฟ้า แต่การไฟฟ้าได้ปฏิเสธการรับคำขอขายไฟฟ้าไว้ เนื่องจากเป็นการยื่นภายหลังวันที่ 16 ธันวาคม 2557
2. ให้การไฟฟ้าพิจารณาคำร้องขอขายไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าข้างต้น โดยคำนึงถึงศักยภาพของระบบไฟฟ้า (Grid Capacity) ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 ทั้งนี้ให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานดำเนินการแจ้งมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ทราบทันที