
Super User
โครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมัน 27 มกราคม 2548
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 22-28 กุมภาพันธ์ 2553
กบง. ครั้งที่ 116 - วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฏาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 19/2555 (ครั้งที่ 116)
วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฏาคม 2555 เวลา 16.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. สถานการณ์การจัดหาน้ำมันเบนซินพื้นฐาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
1.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง.พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
1.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
2. ราคาน้ำมันตลาดโลกยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 96.45, 109.57 และ 114.84 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ น้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลงจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 5 กรกฎาคม 2555) 1.59 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.93 และ 0.34 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลงและราคาไบโอดีเซลที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงตามไปด้วย โดยมีโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2555 ดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2555
3. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 7,526 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 25,530 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 15,709 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 171 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 8,650 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 17,004 ล้านบาท
4. จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาดีเซลตลาดโลก ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลงและราคาไบโอดีเซลที่ปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง โดยค่าการตลาดเฉลี่ยน้ำมันดีเซล 5 วัน (8 - 12 กรกฎาคม 2555) อยู่ที่ 1.1816 บาทต่อลิตร ดังนั้น เพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้กระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสาร และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ลง 0.50 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกยังคงอยู่ที่ 29.83 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 29 ล้านบาท จากวันละ 177 ล้านบาท เป็นวันละ 148 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.50 บาทต่อลิตร จาก 2.00 บาทต่อลิตร เป็น 1.50 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 สถานการณ์การจัดหาน้ำมันเบนซินพื้นฐาน
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่โรงกลั่นบางจาก ส่งผลให้หน่วยกลั่นที่ 3 กำลังการผลิต 80,000 บาร์เรลต่อวัน ต้องหยุดการผลิตประมาณ 3 เดือน จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2555 และหน่วยกลั่นที่ 2 กำลังการผลิต 40,000 บาร์เรลต่อวัน ต้องหยุดผลิตถึงช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2555 และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จะหยุดซ่อมหน่วย FCC (หน่วยผลิตน้ำมันองค์ประกอบที่ใช้ผลิตเบนซินพื้นฐาน) ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม - วันที่ 7 กันยายน 2555 และหยุดซ่อมหน่วย CDU-1 HDT-1 และ HVU-1 ตั้งแต่วันที่ 5 - 29 สิงหาคม 2555 รวมทั้ง บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หยุดซ่อมหน่วย DCC (หน่วยผลิตเบนซิน) ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2555 ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการผลิตเบนซินพื้นฐานไม่เพียงพอตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2555
หมายเหตุ : น้ำมันเบนซิน 91 ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นน้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันที่จำหน่ายในประเทศ จึงต้องส่งออก
2. เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 ธพ. ได้เชิญประชุมผู้ผลิตและผู้จำหน่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล โดยสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาได้ดังนี้ (1) ให้ผู้ค้าน้ำมันนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐาน (ปตท. บางจาก เชลล์) (2) ให้โรงกลั่นน้ำมันผลิตเพิ่ม (SPRC) (3) ผ่อนผันคุณภาพน้ำมันบางตัวที่ไม่มีผลกระทบต่อเครื่องยนต์เป็นการชั่วคราว และ (4) ผ่อนผันการสำรองน้ำมันให้ผู้ค้าน้ำมันตามความจำเป็น โดยสรุปแนวทางการแก้ปัญหาได้ดังนี้
3. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและรับทราบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 โดยเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป และมอบหมายให้กระทรวงพลังงานรับไปแก้ไขปัญหาการผลิตและการนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐาน (G-Base) และนำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาต่อไป
4. จากปัญหาเพลิงไหม้โรงกลั่นบางจาก ในเบื้องต้นคาดว่าโรงกลั่นบางจากจะต้องหยุดผลิตประมาณ 3 เดือน ประกอบกับโรงกลั่นไทยออยล์ต้องหยุดซ่อมบำรุงตามแผน ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการจัดหาน้ำมันเบนซินพื้นฐาน ทำให้ต้องนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐาน และนำน้ำมันสำรองตามกฎหมายที่มีอยู่ออกมาจำหน่ายจนกว่าโรงกลั่นทุกโรงจะกลับมาผลิตได้ตามปกติ และหลังจากนั้น จะต้องใช้ระยะเวลาในการจัดหาน้ำมันมาเก็บสำรองตามกฎหมายให้ครบถ้วนตามเดิมอีกระยะหนึ่ง ดังนั้น จึงเห็นควรเลื่อนกำหนดเวลายกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ออกไปอีกระยะหนึ่งประมาณ 3 เดือนหลังจากที่โรงกลั่นบางจากกลับมาผลิตตามปกติ
มติของที่ประชุม
1. รับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดหาและการผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐาน
2. เห็นชอบในหลักการให้เลื่อนกำหนดการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ออกไปอีกระยะหนึ่งในเบื้องต้นประมาณ 3 เดือน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเบนซินพื้นฐานและใช้กลไกราคาในการปรับความต้องการน้ำมันกลุ่มเบนซินแต่ละเกรดให้สมดุลกับความสามารถในการผลิตของโรงกลั่นในประเทศ และนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป
โครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมัน 24 มกราคม 2548
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 15-21 กุมภาพันธ์ 2553
โครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมัน 20 มกราคม 2548
กบง. ครั้งที่ 115 - วันศุกร์ที่ 6 กรกฏาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 18/2555 (ครั้งที่ 115)
วันศุกร์ที่ 6 กรกฏาคม 2555 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
1.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง.พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
1.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
ทั้งนี้ การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าวให้คำนึงถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก ภาวะเงินเฟ้อของประเทศ การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันฯ
2. กบง. ได้มีมติปรับเพิ่มอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปแล้ว 7 ครั้ง ดังนี้
ชนิดน้ำมัน/วันที่ประชุม | เดิม | 24 พ.ค.55 | 1 มิ.ย.55 | 5 มิ.ย.55 | 13 มิ.ย.55 | 21 มิ.ย.55 | 22 มิ.ย.55 | 4 ก.ค.55 |
น้ำมันเบนซิน 95 | 4.00 | 4.50 | 5.00 | 5.90 | 6.40 | 6.70 | 7.10 | 7.10 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 4.00 | 4.50 | 5.00 | 5.90 | 6.40 | 6.70 | 7.10 | 7.10 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.20 | 2.20 | 2.20 | 2.50 | 3.00 | 3.30 | 3.30 | 3.30 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.60 | 0.60 | 0.60 | 0.90 | 1.40 | 1.70 | 1.70 | 1.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -0.80 | -0.80 | -0.80 | -0.50 | -0.50 | -0.20 | -0.20 | -0.20 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -12.60 | -12.60 | -12.60 | -12.30 | -12.30 | -12.00 | -12.00 | -12.00 |
น้ำมันดีเซล | 0.60 | 0.90 | 1.20 | 2.10 | 2.10 | 2.40 | 2.80 | 2.30 |
มีผลบังคับใช้ | 25 พ.ค.55 | 2 มิ.ย.55 | 6 มิ.ย.55 | 14 มิ.ย.55 | 22 มิ.ย.55 | 23 มิ.ย.55 | 5 ก.ค.55 |
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 98.19, 108.64 และ 114.50 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ปรับเพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 3 กรกฎาคม 2555) เท่ากับ 2.83, 3.33 และ 2.49 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงตาม ซึ่งผู้ค้าน้ำมันได้ปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2555 โดยมีราคาขายปลีกน้ำมันและค่าการตลาด ตามโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2555 ดังนี้
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 7,457 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 25,418 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 15,247 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 171 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 10,000 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 17,961 ล้านบาท
5. เพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้กระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสาร ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ลง 0.30 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกยังคงอยู่ที่ 29.83 บาทต่อลิตร และกองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 17 ล้านบาท จากวันละ 192 ล้านบาท เป็นวันละ 175 ล้านบาท โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) รับไปดำเนินการออกประกาศ กบง. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.30 บาทต่อลิตร จาก 2.30 บาทต่อลิตร เป็น 2.00 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป
สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 8-14 กุมภาพันธ์ 2553
กบง. ครั้งที่ 114 - วันพุธที่ 4 กรกฏาคม 2555
มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 17/2555 (ครั้งที่ 114)
วันพุธที่ 4 กรกฏาคม 2555 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคารบี
1. การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. รายงานสถานการณ์เพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันบางจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณากำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และระยะเวลาให้มีความเหมาะสมภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การมอบหมาย ดังนี้
1.1 น้ำมันดีเซล การปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาสูงขึ้นจนทำให้มีผลกระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสารเกินสมควรให้ กบง.พิจารณาปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ตามความเหมาะสม การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลให้พิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หากมีราคาต่ำจนทำให้ผู้ประกอบการขนส่งและโดยสารสมควรปรับอัตราค่าบริการลงให้ กบง. ปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่กระทบเกินสมควรต่อค่าขนส่งและโดยสาร
1.2 น้ำมันเบนซิน/น้ำมันแก๊สโซฮอล การปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลให้พิจารณาปรับเพื่อรักษาระดับส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันแก๊สโซฮอล เพื่อจูงใจให้มีการใช้พลังงานทดแทน (เอทานอล) มากขึ้น
ทั้งนี้ การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าวให้คำนึงถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก ภาวะเงินเฟ้อของประเทศ การส่งเสริมพลังงานทดแทนและฐานะกองทุนน้ำมันฯ
2. กบง. ได้มีมติปรับเพิ่มอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปแล้ว 6 ครั้ง ดังนี้
ชนิดน้ำมัน/วันที่ประชุม | เดิม | 24 พ.ค. 55 | 1 มิ.ย. 55 | 5 มิ.ย. 55 | 13 มิ.ย. 55 | 21 มิ.ย. 55 | 22 มิ.ย. 55 |
น้ำมันเบนซิน 95 | 4.00 | 4.50 | 5.00 | 5.90 | 6.40 | 6.70 | 7.10 |
น้ำมันเบนซิน 91 | 4.00 | 4.50 | 5.00 | 5.90 | 6.40 | 6.70 | 7.10 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 2.20 | 2.20 | 2.20 | 2.50 | 3.00 | 3.30 | 3.30 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.60 | 0.60 | 0.60 | 0.90 | 1.40 | 1.70 | 1.70 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -0.80 | -0.80 | -0.80 | -0.50 | -0.50 | -0.20 | -0.20 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -12.60 | -12.60 | -12.60 | -12.30 | -12.30 | -12.00 | -12.00 |
น้ำมันดีเซล | 0.60 | 0.90 | 1.20 | 2.10 | 2.10 | 2.40 | 2.80 |
มีผลบังคับใช้ | 25 พ.ค. 55 | 2 มิ.ย. 55 | 6 มิ.ย. 55 | 14 มิ.ย. 55 | 22 มิ.ย. 55 | 23 มิ.ย. 55 |
3. ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2555 น้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 95.21, 105.31 และ 112.01 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ปรับเพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2555 (ราคาปิดตลาดวันที่ 21 มิถุนายน 2555) ที่ระดับ 4.54, 8.12 และ 4.94 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงตาม ซึ่งผู้ค้าน้ำมันได้ปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอลและน้ำมันดีเซล ขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 โดยมีราคาขายปลีกน้ำมันและค่าการตลาด ตามโครงสร้างราคาน้ำมัน ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ดังนี้
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2555
4. ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 มีทรัพย์สินรวม 7,457 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 25,418 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 15,247 ล้านบาท งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 171 ล้านบาท และเงินกู้ยืม 10,000 ล้านบาท กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 17,961 ล้านบาท
5. เพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้กระทบต่อภาคขนส่งและค่าโดยสาร ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซล ลง 0.50 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกยังคงอยู่ที่ 29.83 บาทต่อลิตร กองทุนน้ำมันฯ จะมีรายรับลดลงประมาณวันละ 29 ล้านบาท จากวันละ 221 ล้านบาท เป็นวันละ 192 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันดีเซล 0.50 บาทต่อลิตร จาก 2.80 บาทต่อลิตร เป็น 2.30 บาทต่อลิตร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป
เรื่องที่ 2 รายงานสถานการณ์เพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันบางจาก
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 เวลาประมาณ 7.00 น. ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่หน่วยกลั่นที่ 3 ของโรงกลั่นน้ำมันบางจาก กำลังการผลิต 80,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ของโรงกลั่นสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้โดยไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้สั่งหยุดการผลิตของหน่วยกลั่นดังกล่าวเป็นเวลา 1 เดือน
2. จากกำลังการผลิตน้ำมันของโรงกลั่นในประเทศรวมทั้งสิ้น 1,100,000 บาร์เรลต่อวัน โรงกลั่นบางจากมีกำลังการผลิต 120,000 บาร์เรลต่อวัน ผลิตจริง 99,191 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 9.8 ของการผลิตทั้งหมดของประเทศ การที่โรงกลั่นบางจากต้องหยุดผลิต ทำให้กำลังการผลิตของประเทศหายไป 99,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งน้ำมันคงเหลือที่มีอยู่ทั้งสำรองตามกฎหมายและสำรองเพื่อการค้าของผู้ค้าน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และก๊าซ LPG สามารถใช้ได้ 22, 18, 42 และ 8 วัน ตามลำดับ และกรณีโรงกลั่นบางจากหน่วยที่ 3 หยุดการผลิต 1 เดือน กำลังการผลิตจะหายไป 80,000 บาร์เรลต่อวัน ยังคงเหลือกลั่นได้ประมาณ 40,000 บาร์เรลต่อวัน
ปริมาณน้ำมันที่ขาดไป 1 เดือน (ล้านลิตร) | Stock (ล้านลิตร) | ||
ชนิดน้ำมัน | ปริมาณ | บางจาก | ประเทศ |
เบนซิน | 27.0 | 11.2 | 161.0 |
แก๊สโซฮอล์ | 61.0 | 35.1 | 297.0 |
ดีเซล | 248.0 | 74.0 | 1061.0 |
Jet | 51.0 | 36.2 | 437.0 |
เตา | 71.0 | 56.0 | 300.0 |
LPG (ตัน) | 4,200.0 | 3,600.0 | 119,000.0 |
3. แนวทางการแก้ไขมีดังนี้ (1) บางจากจะนำสต๊อกน้ำมันที่มีอยู่มาใช้ โดยน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา จะสามารถใช้ได้ 16, 9 และ 24 วัน ตามลำดับ (2) ขอความร่วมมือโรงกลั่นอื่น เช่น ไทยออยล์ และ IRPC ให้เพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งในเบื้องต้นสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ประมาณ 35,000 บาร์เรลต่อวัน และ (3) ผู้ค้าน้ำมันรายอื่นที่รับน้ำมันจากโรงกลั่นบางจาก ได้แก่ ปตท. เชฟรอน และสยามเฆมี สามารถขอผ่อนผัน นำน้ำมันสำรองที่มีอยู่มาใช้ได้ ซึ่งจากแนวทางดำเนินงานดังกล่าว สามารถรองรับความต้องการใช้น้ำมันในช่วงที่หน่วยกลั่นที่ 3 ของโรงกลั่นบางจากต้องหยุดการผลิตประมาณ 1 เดือน โดยไม่กระทบกับการจัดหาและความต้องการใช้น้ำมันของประเทศ
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ