ทุนการศึกษาและทุนวิจัยด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน (ทุนวิจัยนักศึกษา)
การสนับสนุนทุนวิจัยแก่นักศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ภายใต้ “โครงการการประกวดโครงร่างวิจัยพลังงาน (Pitching) ในระดับอุดมศึกษา ปีที่ 2”
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ปรับทิศทางการสนับสนุนทุนวิจัยแก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยจัดสรรทุนวิจัยในรูปแบบการนําเสนอกรอบแนวคิดการวิจัย (Pitching) ผ่านโครงการการประกวดโครงร่างวิจัยพลังงาน (Pitching) ในระดับอุดมศึกษา เพื่อเปิดกว้างให้ นิสิต นักศึกษา ที่สนใจสามารถส่งหัวข้องานวิจัยด้านพลังงานมาประกวดเพื่อขอรับทุนการวิจัยตามหัวข้อที่ได้ประกาศ พร้อมสนับสนุนทุนวิจัยสำหรับผู้ที่ผ่านการพิจารณาและเงินรางวัลแก่ผู้ที่ชนะในการประกวด ซึ่งจะเป็นการพัฒนางานวิจัยด้านพลังงานในระดับอุดมศึกษาให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมได้มากขึ้น มีผลการดําเนินงานโครงการ สำเร็จตามเป้าหมาย เกิดผลสำเร็จเป็นอย่างดี เกิดสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม
และเพื่อให้การพัฒนางานวิจัยด้านพลังงานในระดับอุดมศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สนพ. จึงดำเนิน “โครงการการประกวดโครงร่างวิจัยพลังงาน (Pitching) ในระดับอุดมศึกษา ปีที่ 2” ภายใต้แนวคิด New Gen Energy Research Showcase ซึ่งมีผู้สมัครทั้งหมด 148 ทีม ประกอบด้วย ประเภท Hardware Innovation 93 ทีม และประเภท Software Innovation 55 ทีม โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้พิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการประกวด จำนวน 10 รางวัล ดังนี้
ประเภท Hardware Innovation จำนวน 5 รางวัล
• รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม H_003 Power House มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลงาน การแปลงน้ำมันปาล์มตกค้างในดินที่ผ่านการฟอกแล้วให้เป็นไบโอดีเซลโดยใช้เมทิลเบนซีนเป็นตัวทำละลายอินทรีย์
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม H_068 Batter จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงาน แบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้ในงานกลางแจ้ง
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม H_041 Alnergy มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลงาน การพัฒนาแบตเตอรี่ยืดหยุ่นที่มีคุณสมบัติทนต่อแรงกระแทกและกักเก็บพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
• รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม H_059 KKU NANOGEN ENiCON มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลงาน พื้นทางเดินพลังงานจากวัสดุทดแทนชีเมนต์เพื่อเป็นพลังงานแห่งอนาคตที่สะอาดและยั่งยืน
• รางวัล Popular Vote ได้แก่ ทีม H_012 CIM LAB TEAM_RMUTT มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผลงาน Waste 2 Energy Plus นวัตกรรมการใช้ขยะชุมชนเพื่อผลิตเชื้อเพลิงแข็งประสิทธิภาพสูง
ประเภท Software Innovation
• รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม S_035 EVONE มหาวิทยาเชียงใหม่ ผลงาน แอพพลิเคชั่นให้บริการยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม S_033 Alnergy Innovators มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ผลงาน ออกแบบและสร้างต้นแบบระบบทำนายความคุ้มค่าของไอน้ำสำหรับกังหันไอน้ำในโรงงานน้ำตาลด้วย Machine Learning
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม S_043 P-TECH มหาวิทยาลัยพะเยา ผลงาน ระบบอำนวยความสะดวกและลดการใช้พลังงานในการถูกล็อคล้อคจากการทำผิดกฎจราจร
• รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม S_037 EE TU มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลงาน ธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้าสำหรับคอนโดมิเนียม
• รางวัล Popular Vote ได้แก่ ทีม S_001 GO FOR IT มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง ผลงาน ส่วนสมดุล
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ Facebook : New Gen Energy Research Showcase