
แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (10)
Children categories
แผนจัดหาก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)
การใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณการผลิตในประเทศกลับลดลงประเทศจึงต้องพึ่งพา LNG นำเข้ามากขึ้น ทำให้ต้นทุนราคาเชื้อเพลิงสูงขึ้น อีกทั้งมีความเสี่ยงที่จะขาดวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่มา : กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) http://www.dmf.go.th/index.php
แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
กระทรวงพลังงานได้มีการกำหนดนโยบายและจัดทำแผนพลังงานของประเทศประกอบด้วย แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า แผนอนุรักษ์พลังงาน แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ รวมถึงแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นพลังงานชนิดที่มีสัดส่วนการใช้ที่สูงมากโดยเฉพาะในภาคขนส่ง และเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมีความเกี่ยวเนื่องและได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานตามแผนพลังงานด้านอื่นๆ จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง ที่นำเอาแผนงานและนโยบายจากแผนพลังงานทุกแผนมาประกอบกันให้เห็นความเชื่อมโยงเพื่อให้การบริหารจัดการพลังงานมีประสิทธิภาพ และประสานให้การดำเนินการตามแผนต่างๆ มีความชัดเจนและมีเป้าหมายรวมกัน เพื่อให้เกิดความสมดุลของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถกำหนดทิศทางนโยบายการพัฒนาพลังงานได้อย่างเป็นรูปธรรม แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศระยะยาว ปีพ.ศ. 2558-2579 มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กำหนดทิศทางการบริหารจัดการด้านน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ระบุภายใต้แผนอื่นๆโดยเฉพาะแผนอนุรักษ์พลังงาน และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้เป็นกรอบสำหรับการดำเนินนโยบายและการจัดทำแผนด้านน้ำมันเชื้อเพลิงในอนาคต โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งอาจส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการพัฒนาด้านพลังงานของประเทศ
การประชุมรับฟังความคิดเห็น แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
ที่มา : กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) http://www.doeb.go.th/2016/oilplan.html#main
แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561 – 2580 (AEDP 2018) เป็นแผนที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน - กระทรวงพลังงาน จัดทำขึ้นโดยให้ความสำคัญในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน ลดการนำเข้าและการพึ่งพาพลังงานจากปิโตรเลียม รวมถึงส่งเสริมการผลิตพลังงานทางเลือกด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โดยแผนฯ มีเป้าหมายในการ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกในรูปของพลังงานไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ ต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายที่ร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2580
แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 – 2580 (EEP2018) เป็นแผนที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน - กระทรวงพลังงาน จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีเป้าหมายหลักในการ ลดความเข้มข้นการใช้พลังงาน (Energy Intensity - EI) ลง 30% ภายในปี พ.ศ. 2580 เทียบกับปีฐาน พ.ศ. 2553
แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB)
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ในการประชุมเมื่อวันที่15 สิงหาคม 2557 มีมติให้กระทรวงพลังงานจัดทำแผนบูรณาการในภาพรวมระยะยาวโดยให้มีระยะเวลาของแผนสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงพลังงานจึงได้ทบทวน และ บูรณาการการจัดทำแผนพลังงานระยะยาวของประเทศ โดยฟังเสียงจากประชาชนทุกภาคส่วน ในหัวข้อ “ทิศทางพลังงานไทย”ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม 2557 ถึง วันที่ 19 กันยายน 2557 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ และ สุราษฎร์ธานี โดยมีผู้เข้าร่วมแห่งละประมาณ 500 คน ซึ่งมาจากภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาครัฐ นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป หลังจากการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวกระทรวงพลังงานได้นำข้อคิดเห็นที่ได้จากเสียงประชาชนไปใช้ประกอบในการทบทวนและบูรณาการการจัดทำแผนพลังงานระยะยาวของประเทศ โดย ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้มีการจัดทำแผนย่อยเพิ่มเติมอีก 2 แผน รวมเป็น 5 แผน เพื่อให้ครอบคลุมมิติทางด้านพลังงาน และห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) อย่างครบถ้วนโดยแผนที่เพิ่มเติม ได้แก่ แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) และแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง