มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 6/2552 (ครั้งที่ 128)
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 3
1.ร่างบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้าโครงการมาย-กก
2.ร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการหงสาลิกไนต์
3.แนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้
4.แนวทางการขอใช้พื้นที่ดำเนินโครงการพลังงานลมสำหรับภาคเอกชน
5.แนวทางการแก้ไขปัญหาสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าบางคล้า
7.การขอความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุมภาครัฐ
8.สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
9.การทบทวนแผนการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV)
10.การขอความร่วมมือในการอนุรักษ์พลังงานในอาคารที่มีการขออนุญาตออกแบบก่อสร้างใหม่
11.การเตรียมท่าทีของไทยเพื่อการเข้าร่วมประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
12.ความก้าวหน้าแผนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากประเทศกาตาร์
นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ประธานกรรมการ
รองนายกรัฐมนตรี (นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ) รองประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 ร่างบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้าโครงการมาย-กก
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลไทยและรัฐบาลสหภาพพม่า ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2540 ที่จะรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่าในปริมาณ 1,500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2553 และเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2552 คณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อน บ้าน มีมติเห็นชอบอัตราค่าไฟฟ้าและเงื่อนไขสำคัญ รวมทั้ง ร่างบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้า (Tariff MOU) โครงการมาย-กก
2. บริษัท อิตาเลียนไทย เพาเวอร์ จำกัด (IPC) และผู้ร่วมลงทุนรายอื่น เป็นผู้พัฒนาโครงการมาย-กก ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐฉาน ประเทศสหภาพพม่า อยู่ห่างจากชายแดนไทย อ. แม่สาย จ. เชียงราย ไปทาง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 80 กม. โครงการดังกล่าวเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนในบริเวณปากเหมือง ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง มีกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 405 เมกะวัตต์ (3 x 135 เมกะวัตต์) เสนอขาย ณ ชายแดน 369 เมกะวัตต์ (3 x 123 เมกะวัตต์) ส่งไฟฟ้าจากโครงการถึงชายแดนไทยผ่าน สายส่งไฟฟ้าขนาด 230 kV มีความยาวประมาณ 80 กม. และจากชายแดนไทยถึง สฟ. เชียงราย ประมาณ 80 กม. ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าระบบในเดือนมกราคม 2559 เดือนเมษายน 2559 และเดือนกรกฎาคม 2559 ตามลำดับ
3. Tariff MOU โครงการมาย-กก ใช้รูปแบบเดียวกับ Tariff MOU ของโครงการหงสาลิกไนต์ที่เคยผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยคณะอนุกรรมการ ประสานฯ กพช. และ ครม. แล้ว ซึ่งจะแตกต่างเฉพาะในส่วนของประเทศที่ตั้ง ข้อเสนออัตราค่าไฟฟ้า คุณลักษณะโรงไฟฟ้าด้านเทคนิค และได้เพิ่มข้อกำหนดเรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับ Environmental Impact Assessment (EIA) และ Social Impact Assessment (SIA) สรุปสาระสำคัญของร่าง Tariff MOU โครงการมาย-กก ดังนี้
3.1 ข้อตกลงนี้ทำขึ้นระหว่าง กฟผ. กับบริษัท อิตาเลียนไทย เพาเวอร์ จำกัด (บริษัทฯ) โดยบริษัทฯ และผู้ร่วมลงทุนรายอื่น (รวมเรียกว่า Sponsors) จะจัดตั้งบริษัทและจะเจรจากับรัฐบาลสภาพพม่าเพื่อให้ได้สัมปทานพัฒนาโครงการ โรงไฟฟ้าดังกล่าว
3.2 กฟผ. จะขอความเห็นชอบ MOU จาก กพช. ภายใน 3 เดือนนับจากวันลงนาม และ บริษัทฯ จะขอความเห็นชอบจาก Myanmar Economic Corporation ของรัฐบาลสหภาพพม่า ภายใน 3 เดือนนับจากวันลงนาม ทั้งนี้ MOU จะมีผลบังคับใช้หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้รับแจ้งการได้รับความเห็นชอบจาก หน่วยงานภาครัฐดังกล่าว
3.3 โครงการมีกำลังผลิตติดตั้ง 405 เมกะวัตต์ (3 x 135 เมกะวัตต์) เสนอขาย ณ ชายแดน 369 เมกะวัตต์
3.4 อัตราค่าไฟฟ้า ณ ชายแดน เฉลี่ยตลอดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปี (Levelized) เท่ากับ 2.3114 บาท/หน่วย [1.6924 (AP) + 0.6190 (EP)] ณ อัตราแลกเปลี่ยน 34 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐ
3.5 สัญญาซื้อขายไฟฟ้าจะมีอายุ 25 ปี นับจากวันจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date) ของเครื่องที่จ่ายไฟฟ้าเป็นเครื่องสุดท้าย โดยอายุสัญญาอาจยาวกว่านี้ได้ หากรัฐบาลสหภาพพม่าอนุมัติ และทั้งสองฝ่ายตกลง
3.6 MOU จะสิ้นสุดเมื่อมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า หรือ MOU มีอายุครบ 18 เดือนนับจากวันลงนามหรือวันที่ช้ากว่าหากมีการตกลงต่ออายุ MOU ออกไป หรือทั้งสองฝ่ายตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อขอยกเลิกก่อนได้
3.7 Sponsors จะต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันจำนวน 36.9 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 30 วันหลังจากที่ กฟผ. แจ้ง Sponsors ว่า MOU ได้รับการอนุมัติจาก กพช.
3.8 แต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในส่วนของตน และไม่สามารถเรียกร้องความเสียหายจากการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งได้ รวมถึงการยกเลิก MOU ยกเว้นหลักทรัพย์ค้ำประกันที่ Sponsors วางไว้หากไม่สามารถเจรจาเพื่อลงนามใน PPA ได้ภายในระยะเวลา MOU ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้
3.9 Sponsors จะขออนุมัติและดำเนินการต่างๆ ด้าน EIA และ SIA ตามมาตรฐานสากล ซึ่งเทียบเท่ามาตรฐานของ Asian Development Bank (ADB)
3.10 Tariff MOU และสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจะถูกบังคับและตีความตามกฎหมายไทย
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้าโครงการมาย-กก และมอบหมายให้ กฟผ. นำร่างบันทึกความเข้าใจฯ ที่ได้รับความเห็นชอบไปลงนามร่วมกับผู้ลงทุนต่อไป เมื่อร่างบันทึกความเข้าใจฯ ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด
2.เห็นชอบในหลักการให้ กฟผ. สามารถปรับปรุงเงื่อนไขในร่าง MOU โครงการมาย-กกในขั้นการจัดทำร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติ ได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องไม่กระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้า
เรื่องที่ 2 ร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการหงสาลิกไนต์
สรุปสาระสำคัญ
1. ปัจจุบันรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อจะรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป. ลาว 7,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2558 ซึ่งปัจจุบัน มี 2 โครงการภายใต้ MOU ดังกล่าวที่จ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แล้ว ได้แก่ โครงการเทิน-หินบุน ขนาดกำลังผลิต 187 เมกะวัตต์ และห้วยเฮาะ ขนาดกำลังผลิต 126 เมกะวัตต์ และอีก 3 โครงการที่ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว ได้แก่ โครงการ น้ำเทิน 2 ขนาดกำลังผลิต 920 เมกะวัตต์ โครงการน้ำงึม 2 ขนาดกำลังผลิต 615 เมกะวัตต์ และโครงการเทิน-หินบุนส่วนขยาย ขนาดกำลังผลิต 220 เมกะวัตต์ โดยมีกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม 2552 มีนาคม 2554 และมีนาคม 2555 ตามลำดับ
2. โครงการหงสาลิกไนต์ กฟผ. ได้ดำเนินการเจรจาร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement : PPA) กับกลุ่มผู้ลงทุนโครงการหงสาลิกไนต์ภายใต้กรอบ Tariff MOU โดยใช้ PPA ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ กฟผ. ได้ลงนามสัญญาฯ แล้วเป็นต้นแบบ และได้ปรับร่าง PPA โครงการหงสาลิกไนต์ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของโครงการที่เป็นโรงไฟฟ้าพลัง ความร้อน โดยใช้ต้นแบบของสัญญา Independence Power Producer (IPP) ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อน บ้าน ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2552 ได้มีมติเห็นชอบร่าง PPA โครงการหงสาลิกไนต์แล้ว
3. ผู้ลงทุนโครงการหงสาลิกไนต์ ประกอบด้วย (1) Hongsa Power Company Limited (โรงไฟฟ้า) (บริษัท บ้านปูเพาเวอร์ จำกัด (40%) บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (40%) และรัฐบาล สปป. ลาว (20%)) และ (2) Phu Fai Mining Company Limited (เหมือง) (บริษัท บ้านปูเพาเวอร์ จำกัด (37.5%) บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (37.5%) และรัฐบาล สปป. ลาว (25%)) โครงการดังกล่าวมีกำลังผลิตติดตั้ง 1,653 เมกะวัตต์ ขายให้ สปป. ลาว ไม่เกิน 175 เมกะวัตต์ และขายให้ไทยที่ชายแดน 1,473 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าระบบเดือนมีนาคม 2558 เดือนสิงหาคม 2558 และ เดือนธันวาคม 2558 ตามลำดับ
4. สรุปสาระสำคัญในร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการหงสาลิกไนต์ ดังนี้
4.1 อายุสัญญาฯ นับจากวันเริ่มลงนามสัญญาและต่อเนื่องไปอีก 25 ปีนับจากวันซื้อขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) กรณีสัญญาฯ หมดอายุ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดประสงค์จะต่ออายุสัญญา ต้องแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 2 ปีก่อนที่สัญญาจะหมดอายุ
4.2 Generator จะต้องจัดหาเงินกู้ให้ได้ภายใน 12 เดือนนับจากวันลงนามสัญญาฯ หากจัดหาเงินกู้ล่าช้าจะต้องจ่ายค่าปรับในอัตรา 6,000 เหรียญสหรัฐต่อวัน
4.3 การเดินเครื่องโรงไฟฟ้าต้องสามารถตอบสนองคำสั่งของ กฟผ. ได้แบบ Fully Dispatchable Power Facility และ Generator ไม่มีสิทธิขายพลังงานไฟฟ้าให้กับบุคคลที่สาม (ยกเว้นส่วนที่ขายให้ลาว)
4.4 อัตราค่าไฟฟ้า (ณ ชายแดน) และการจ่ายเงินค่าพลังงานไฟฟ้า
- Test Energy ทั้งก่อนและหลัง COD ราคา 0.80 บาท/ kWh (คงที่ตลอดอายุ สัญญาฯ)
- Unit Operation Energy ช่วงก่อน COD ราคา 0.7044 บาท + EP
- Post COD (ราคาเฉลี่ยตลอดอายุสัญญา 25 ปี) เท่ากับ 2.275 บาท/kWh
(AP = 1.409 บาท/kWh + EP = 0.866 บาท/kWh) ณ อัตราแลกเปลี่ยน 34 บาท/US$
- ช่วงเวลาในแต่ละปีหลังจากเดินเครื่องครบชั่วโมงพร้อมจ่ายไฟฟ้าตามสัญญาฯ ใช้ ราคา EP + Supplemental (0.5 AP)
4.5 Generator จะต้องวาง Securities เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ต่างๆ ที่มีต่อ กฟผ. ตลอดอายุสัญญาฯ ตามที่กำหนดกำหนดไว้ใน Tariff MOU
4.6 การยุติข้อพิพาท ให้ยุติด้วยวิธีการตามลำดับดังนี้ การเจรจา/ อนุญาโตตุลาการ โดยใช้ UNCITRAL Rules ดำเนินการที่ประเทศสิงคโปร์
4.7 สัญญาฯ นี้ใช้บังคับและตีความกฎหมายไทย
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการหงสาลิกไนต์ และให้ กฟผ. ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการหงสาลิกไนต์กับผู้ลงทุนต่อไป เมื่อร่างสัญญาฯ ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องมีการแก้ไขร่างสัญญาฯ ดังกล่าว ที่ไม่กระทบต่ออัตรารับซื้อไฟฟ้าที่ได้ระบุไว้ในร่างสัญญาฯ และ/หรือเงื่อนไขสำคัญก็ขอให้อยู่ในอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการ กฟผ. ในการพิจารณาแก้ไขได้โดยไม่ต้องนำกลับมาเสนอขอความเห็นชอบจาก กพช. อีก
2.เห็นชอบให้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการหงสาลิกไนต์ใช้เงื่อนไขการระงับข้อ พิพาทโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการ และมอบหมายให้ กฟผ. ไปเจรจากับผู้ลงทุนให้สถานที่ที่พิจารณาของอนุญาโตตุลาการให้เป็นประเทศไทย และภาษาที่ใช้ในกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการให้เป็นภาษาไทย และหากได้ข้อยุติประการใดให้นำเสนอ ครม. ให้ความเห็นชอบในวาระที่นำมติที่ประชุม กพช. ครั้งนี้เสนอ ครม. ต่อไป
เรื่องที่ 3 แนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้
สรุปสาระสำคัญ
1. มติ กพช. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยรับไปสำรวจและรวบรวมข้อมูลพื้นที่ที่ยังไม่มีไฟฟ้า ใช้ พร้อมทั้งพิจารณาร่วมกับกระทรวงพลังงานเพื่อเสนอรูปแบบหรือมาตรการจูงใจการ ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนต่อ กพช. เพื่อพิจารณาภายใน 6 เดือน ในการดำเนินงาน กระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ เพื่อดำเนินการตามมติ กพช. ดังกล่าว โดยได้มีการประชุมหารือร่วมกับ สนพ. และได้เสนอคณะอนุกรรมการพิจารณานโยบายการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียนพิจารณาด้วยแล้ว ทั้งนี้ สนพ. ได้รายงานความคืบหน้าผลการสำรวจและรวบรวมข้อมูลพื้นที่ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเบื้องต้นให้ กพช. ทราบเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2552
2. ผลการสำรวจข้อมูลพื้นที่ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้และแนวทางการแก้ไขปัญหา
2.1 ในเขตบริการของ กฟน. มีครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ รวมทั้งสิ้น 4,693 ครัวเรือน ซึ่ง กฟน. ไม่สามารถจัดหาไฟฟ้าให้กับครัวเรือนที่บุกรุกที่ดินส่วนราชการ/เอกชน ได้แก่ ชุมชนหรือสลัม จำนวน 4,194 ครัวเรือน และครัวเรือนที่ไม่มีบ้านเลขที่ ซึ่งก่อสร้างในที่ดินเช่าของเอกชน หรือบ้านที่ไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้าง จำนวน 297 ครัวเรือน เนื่องจากต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินและมีบ้านเลขที่ก่อน จึงจะดำเนินการได้ คงเหลือครัวเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ที่มีบ้านเลขที่ จำนวน 202 ครัวเรือน แต่อยู่ห่างไกลจากแนวสายไฟฟ้าของ กฟน. ทำให้มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าสมทบการลงทุนปักเสาพาดสายเพิ่มขึ้นจากอัตราค่า บริการการขอใช้ไฟฟ้าตามปกติ ในกรณีนี้ กฟน. จะดำเนินการลงทุนปักเสาพาดสายไปถึงครัวเรือนดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2553 โดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเป็นค่าสมทบการลงทุน จำนวนเงินประมาณ 16 ล้านบาท ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าจะจ่ายเฉพาะค่าบริการการขอใช้ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว
2.2 จำนวนครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ในเขต กฟภ. (ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2552) รวมทั้งสิ้น 229,670 ครัวเรือน มีครัวเรือนที่จัดเข้าแผนงานการขยายเขตระบบไฟฟ้าในปีงบประมาณ 2552 แล้ว 28,787 ครัวเรือน ครัวเรือนที่การไฟฟ้าไม่สามารถจัดหาไฟฟ้าด้วยวิธีปักเสาพาดสายได้ เนื่องจากอยู่ในเขตหวงห้าม (ครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวน พื้นที่อุทยาน หรือพื้นที่ของทหาร) รวมทั้งสิ้น 29,252 ครัวเรือน และไม่เข้าหลักเกณฑ์การขยายเขต (ครัวเรือนที่ไม่มีบ้านเลขที่, ครัวเรือนที่อยู่ภายในหมู่บ้านจัดสรร, และครัวเรือนที่อยู่ในเขตที่มีไฟฟ้าแต่ไม่ยื่นขอใช้ไฟ เช่น บ้านร้าง) จำนวน 41,075 ครัวเรือน คงเหลือครัวเรือนที่ กฟภ. กำลังพิจารณาหาแนวทางจัดหาไฟฟ้าอีก 130,556 ครัวเรือน ซึ่งในจำนวนนี้ กฟภ. สามารถดำเนินการขยายเขตได้ทันที (ครัวเรือนที่มีงบประมาณขยายเขตไม่เกิน 50,000 บาทต่อครัวเรือน ตามหลักเกณฑ์การขยายเขตไฟฟ้าของ กฟภ.) จำนวน 91,527 ครัวเรือน
สำหรับครัวเรือนที่เหลืออีก 39,029 ครัวเรือน ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์การขยายเขตไฟฟ้าของ กฟภ. เนื่องจากมีงบประมาณขยายเขตเกินกว่า 50,000 บาทต่อครัวเรือน จะพิจารณาจัดหาไฟฟ้าให้กับครัวเรือนในพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ดังกล่าวให้สอด คล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน ตามมติ กพช. วันที่ 9 มีนาคม 2552
3. การดำเนินงานและข้อเสนอของฝ่ายเลขานุการ
3.1 การแก้ไขปัญหาครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ในเขต กฟน.: ในกรณีเป็นครัวเรือนที่มีบ้านเลขที่แล้วจำนวน 202 ครัวเรือน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายดำเนินการเป็น 2 ส่วน คือ (1) เงินลงทุนในการขยายเขตจำนวนเงิน 16.64 ล้านบาท และ (2) ค่าบริการการขอใช้ไฟฟ้า จำนวนเงิน 2,080 บาทต่อครัวเรือน หรือคิดเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 420,160 บาท กฟน. จะจัดสรรเงินลงทุนจำนวน 16.64 ล้านบาท จากงบประมาณปี 2553 และให้ผู้ใช้ไฟรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าธรรมเนียมการขอใช้ไฟฟ้าตาม หลักเกณฑ์ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ใช้ไฟรายอื่นๆ
3.2 การแก้ไขปัญหาครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ในเขต กฟภ.: ในเขตบริการของ กฟภ. สามารถจำแนกพื้นที่ที่สมควรสนับสนุนให้มีการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
3.2.1 ครัวเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้: จำแนกตามค่าใช้จ่ายในการปักเสาพาดสาย ดังนี้
(1) ครัวเรือนที่มีค่าใช้จ่ายในการปักเสาพาดสายไม่เกิน 50,000 บาทต่อครัวเรือน จำนวน 91,527 ครัวเรือน กฟภ. จะจัดเข้าแผนงานหรือโครงการของ กฟภ. และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมด ให้แล้วเสร็จในปี 2553-2554 โดยแบ่งจำนวนครัวเรือนที่จะดำเนินการประมาณร้อยละ 50 ในแต่ละปี
(2) ครัวเรือนที่มีค่าใช้จ่ายในการปักเสาพาดสายเกินกว่า 50,000 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 39,029 ครัวเรือน มีแนวทางการดำเนินการโดยให้ กฟภ. เร่งสรุปจำนวนครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ และจำแนกประเภทครัวเรือนตามสถานที่ตั้งครัวเรือน เพื่อแสดงลักษณะการกระจายตัวของครัวเรือน แล้วให้ กฟภ. และ พพ. นำข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ศักยภาพพลังงานหมุนเวียนในแต่ละพื้นที่ เพื่อเสนอประเภทเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งงบประมาณการลงทุน โดยให้เปรียบเทียบการลงทุนกับกรณีปักเสาพาดสายหรือการสร้างเคเบิ้ลใต้น้ำใน กรณีจัดหาไฟฟ้าในพื้นที่เกาะ รวมทั้งข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์พื้นที่ในการพัฒนาโครงการด้วย
3.2.2 การสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนบนพื้นที่เกาะ: ปัจจุบันตามเกาะต่างๆ จำนวน 60 เกาะมีไฟฟ้าใช้แล้ว โดยมีรูปแบบการจัดหาไฟฟ้า 2 แบบ คือ (1) เกาะที่เชื่อมโยงกับแผ่นดินใหญ่ จำนวน 31 เกาะ เชื่อมโยงด้วยสายเคเบิลใต้น้ำ จำนวน 17 เกาะ และเชื่อมโยงด้วยการปักเสาพาดสาย จำนวน 14 เกาะ และ (2) เกาะที่ไม่เชื่อมโยงกับแผ่นดินใหญ่ จำนวน 29 เกาะ ติดตั้งโรงจักรไฟฟ้าดีเซล จำนวน 6 เกาะ และติดตั้งระบบ Solar Home System จำนวน 23 เกาะ
เพื่อเป็นการช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงดีเซลซึ่งมีต้นทุนสูงและก่อให้เกิดมล ภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับอาจมีการขยายปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอนาคต เห็นควรให้ กฟภ. พัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่มีอยู่ แล้วบนเกาะ หรือพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนที่เชื่อมต่อกันเองและใช้โรงจักรไฟฟ้าดีเซล เสริม (ระบบ microgrid) โดยในช่วงเริ่มแรก เห็นว่าเกาะกูดสามารถเป็นโครงการนำร่องได้ เนื่องจากมีศักยภาพพลังน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบกับ กฟภ. มีแผนที่จะดำเนินการอยู่แล้ว
ปัจจุบันเกาะกูด จ. ตราด ใช้ไฟฟ้าจากการผลิตด้วยโรงจักรไฟฟ้าดีเซลและพลังงานแสงอาทิตย์ แต่มีผลประกอบการขาดทุนจากค่าเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นมาโดยตลอด ประกอบกับมีการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยว ทำให้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจึงไม่สามารถจัดหาไฟฟ้าได้เพียงพอกับ ความต้องการ ผู้ใช้ไฟที่เป็นผู้ประกอบการรีสอร์ทส่วนใหญ่จึงติดตั้งเครื่องจักรดีเซลเอง ดังนั้น กฟภ. จึงมีแผนลงทุนสร้าง เคเบิลใต้น้ำเพื่อจัดหาไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกาะกูด มีศักยภาพพลังงานหมุนเวียนบนเกาะ กฟภ. จะดำเนินการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ และพลังน้ำขนาดเล็ก และจ่ายไฟผสมผสานกับโรงจักรไฟฟ้าดีเซลด้วย
3.3 การบริหารจัดการการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้: เนื่อง จากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีต้นทุนสูง ประกอบกับอยู่ในพื้นที่ห่างไกลซึ่งยังไม่มีระบบจำหน่ายเข้าถึง ในการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้จึงจำเป็นต้อง ใช้งบประมาณจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถพัฒนาได้และมีความยั่งยืน สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้มีข้อเสนอดังนี้
3.3.1 รูปแบบการลงทุน : ในการดำเนินการระยะแรก เสนอเป็นลักษณะโครงการ โดยมีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้บริหารโครงการ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการให้เงินสนับสนุนการลงทุน ร่วมกับ ผู้ลงทุนทั้งที่เป็นภาครัฐดำเนินการเอง เอกชนดำเนินการ หน่วยงานรัฐร่วมกับภาคเอกชน หรือองค์กรระดับท้องถิ่น เช่น อบต. หรือสหกรณ์ท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยรูปแบบการสนับสนุนอาจเป็นลักษณะเงินสมทบการลงทุนบางส่วน หรือกำหนดเป็นอัตราส่วนเพิ่มพิเศษต่อหน่วยการผลิต เป็นต้น ทั้งนี้ กฟภ. อาจพิจารณาจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อผลิตไฟฟ้าสำหรับการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียนแบบ Off-Grid ได้
สำหรับการจัดหาไฟฟ้าบนเกาะที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว โดยเฉพาะเกาะที่ใช้ไฟฟ้าจากเครื่องจักรดีเซลซึ่งมีแนวโน้มที่จะใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้น เพื่อลดการผลิตไฟฟ้าจากดีเซล ซึ่งมีราคาสูงและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กฟภ. สามารถพิจารณาดำเนินการโดยลงทุนติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียน และกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าพิเศษสำหรับธุรกิจโรงแรมบนเกาะ ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าพิเศษดังกล่าว ให้เป็นไปตามแนวทางตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2548 ซึ่งอนุญาตให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายยื่นข้อเสนอการกำหนดอัตราค่าบริการพิเศษ สำหรับธุรกิจโรงแรมบนเกาะเพื่อให้ กบง. ให้ความเห็นชอบได้เป็นกรณีๆ ไป
3.3.2 งบประมาณ: ควรขอจัดสรรเงินสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในการสนับสนุนโครงการดังกล่าว ซึ่งตรงตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ในการกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่นและการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน
4. ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอประเด็นเพื่อพิจารณาขอความเห็นชอบในหลักการการจัดหาไฟฟ้าสำหรับครัว เรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ และการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ตามรายละเอียดในข้อ 3 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลทางปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ขอให้มอบให้คณะอนุกรรมการพิจารณานโยบายการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียนติดตามการดำเนินงาน และจัดทำรายละเอียดโครงการการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ที่ไม่ มีไฟฟ้าใช้ และเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการเพื่อให้เกิดผลทางปฏิบัติ เพื่อนำเสนอ กพช. ให้ความเห็นชอบภายในปีงบประมาณ 2553
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบในหลักการการจัดหาไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ และการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ตามรายละเอียดในข้อ 3 และให้รับข้อสังเกตของที่ประชุมไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
2.มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผลทางปฏิบัติต่อไป
3.มอบให้คณะอนุกรรมการพิจารณานโยบายการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียนติดตามการดำเนินงาน และจัดทำรายละเอียดโครงการการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ที่ไม่ มีไฟฟ้าใช้ และเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการเพื่อให้เกิดผลทางปฏิบัติ เพื่อนำเสนอ กพช. ให้ความเห็นชอบภายในปีงบประมาณ 2553
เรื่องที่ 4 แนวทางการขอใช้พื้นที่ดำเนินโครงการพลังงานลมสำหรับภาคเอกชน
สรุปสาระสำคัญ
1. กพช. มีมติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2552 มอบหมายให้กระทรวงพลังงานรับไปหารือร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาแนวทางการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในเขตพื้นที่ที่มี กฎหมายกำหนด กระทรวงพลังงานประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมยกร่างแนวทางการขอใช้พื้นที่ดำเนินโครงการพลังงานลมสำหรับภาคเอกชน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 จนได้ข้อสรุปรายงานต่อคณะอนุกรรมการประสานการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ซึ่งมีปลัดกระทรวงพลังงานและปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็น ประธาน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 โดยกระทรวงพลังงานได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแก้วาระการ ประชุมของคณะอนุกรรมการประสานฯ ที่จะเสนอ กพช. ตามข้อสังเกตที่ประชุมแล้ว
2.กระบวนการขอใช้พื้นที่เพื่อพัฒนาพลังงานลมของภาคเอกชน ในเขตพื้นที่ป่าที่เหมาะสมต่อการเกษตรหรือพื้นที่ ส.ป.ก. (โซน A) และเขตพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจ (โซน E) ที่นำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน ภาค เอกชนจะขอใช้พื้นที่ ส.ป.ก. เพื่อติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าจะเข้าลักษณะการประกอบกิจการตามข้อ 1.5 ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฉบับที่ 2 ออกตามความใน พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 มาตรา 30 วรรคห้า ซึ่งเป็นกิจการที่เป็นการบริการหรือเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของเกษตรกรใน ด้านเศรษฐกิจและสังคมในเขตดำเนินการปฏิรูปที่ดิน และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ได้ออกระเบียบปฏิบัติ ซึ่งมีหลักเกณฑ์การพิจารณาที่สำคัญ ดังนี้
2.1 ให้ผู้ขอรับอนุญาตยื่นคำขอใช้ที่ดิน ณ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดที่ที่ดินตั้งอยู่ พร้อมเอกสารหลักฐาน เช่น เอกสารโครงการ แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งและแปลงที่ดินที่จะขอใช้ ขนาดเนื้อที่ กรณีเป็นพื้นที่ทำกินของเกษตรกรต้องได้รับความยินยอมจากเกษตรกรหรือผู้ถือ ครองที่ดินก่อน กรณีขอใช้เพื่อติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าผู้ประกอบกิจการ จะต้องแนบหลักฐานการตอบรับจากการไฟฟ้าว่าจะทำสัญญาจะซื้อจะขายไฟด้วย หลักฐานการรับฟังความคิดเห็นของท้องถิ่นและชุมชน
2.2 คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดจะพิจารณาให้อนุญาตตามขั้นตอน
2.3 สิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดิน ขณะนี้ให้สิทธิตามสัญญาเช่าที่ดิน ขนาดเนื้อที่ไม่เกิน 50 ไร่ ส่วนระยะเวลา และอัตราค่าเช่าเป็นไปตามที่ คปก. กำหนด (ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา)
3. การขอใช้พื้นที่ของภาคเอกชนและปัญหาที่เกิดขึ้น
3.1 ภาคเอกชนขอให้มีการพิจารณาขยายอายุสัญญาเช่าพื้นที่จากเดิมที่กำหนดไว้ 3 ปี เป็น การขยายอายุสัญญาเช่าพื้นที่เท่ากับสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า และขอให้มีการพิจารณากำหนดอัตราค่าเช่าพื้นที่เป็นการเฉพาะสำหรับโครงการ พัฒนาพลังงานลม
3.2 การพิจารณาให้อนุญาตใช้เวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ไม่มี กฎระเบียบเฉพาะในการรองรับการพัฒนาโครงการพลังงานลม จึงเห็นควรให้มีการกำหนดกระบวนการดำเนินการและระยะเวลาการให้อนุญาตอย่าง ชัดเจน เพื่อให้การพัฒนาพลังงานลมเป็นไปตามเป้าหมายที่ภาครัฐกำหนด
4. ข้อเสนอแนวทางการขอใช้พื้นที่และดำเนินโครงการพลังงานลมสำหรับภาคเอกชน
4.1 การออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP และ VSPP
กฟผ. และ กฟภ. จัดทำหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการพิจารณาตอบรับซื้อไฟฟ้าด้านเทคนิค โดยพิจารณาระยะห่างระหว่างพื้นที่ตั้งโครงการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาผลกระทบการบังลมกรณีโครงการตั้งใกล้กัน และข้อมูลความเร็วลมและทิศทางลมในพื้นที่ตั้งโครงการ นำเสนอ กกพ. พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนประกาศใช้
4.2 การกำหนดพื้นที่ที่สามารถพัฒนาได้และเงื่อนไขการเข้าใช้พื้นที่แต่ละประเภท
พื้นที่ สปก. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จะพิจารณา
4.2.1 สิทธิการใช้ที่ดิน ในเรื่องอายุสัญญาเช่าพื้นที่และอัตราค่าเช่าพื้นที่เป็นการเฉพาะสำหรับ โครงการพัฒนาพลังงานลม ทั้งนี้ ในส่วนของอายุสัญญาเช่าพื้นที่ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขการให้เช่าว่าผู้ประกอบ การจะดำเนินการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลาตามสัญญาเช่า
4.2.2 กำหนดกระบวนการดำเนินการและระยะเวลาการให้อนุญาตอย่างชัดเจนสำหรับโครงการพัฒนาพลังงานลม (Fast Track)
5. ผู้แทนกระทรวงกลาโหมได้ชี้แจงเพิ่มเติมในที่ประชุมว่าสืบเนื่องจากมติ กพช.ในการประชุมครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2552 เห็นชอบให้ทำโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลมในพื้นที่ของกระทรวงกลาโหม เพื่อเป็นตัวอย่างโครงการนำร่องของการใช้พลังงานทดแทนนั้น กระทรวงกลาโหมและกระทรวงพลังงานได้มีการประสานหารือในเบื้องต้น ดังนี้
5.1 ให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพลม และกระทรวงพลังงานจะเข้าติดตั้งเครื่องมือวัดลมในพื้นที่ที่กระทรวงกลาโหม กำหนดไว้ โดยให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้ดูแลเครื่องมือและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลม ตามการแนะนำของกระทรวงพลังงาน เมื่อทราบพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการผลิตไฟฟ้าแล้วกระทรวงพลังงานจะพิจารณา ดำเนินการติดตั้งกังหันลมต่อไป
5.2 หลังจากการประสานหารือในเบื้องต้นแล้ว กระทรวงพลังงานและกระทรวงกลาโหมได้ตกลงกันจะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อหารือในราย ละเอียดก่อนเริ่มดำเนินการร่วมกันต่อไป
5.3 เมื่อกระทรวงกลาโหมและกระทรวงพลังงานดำเนินโครงการนำร่องสัมฤทธิ์ผลแล้ว หากมีภาคเอกชนที่สนใจใช้พื้นที่ กระทรวงกลาโหมจะต้องพิจารณาศึกษาในรายละเอียดต่อไป
5.4 กระทรวงกลาโหมมีข้อเสนอเพื่อพิจารณาให้ใช้พื้นที่กระทรวงกลาโหมจัดทำโครงการ นำร่องผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวง พลังงานเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับภาคเอกชนที่สนใจในอนาคต โดยขอให้กระทรวงพลังงานสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการต่อไป
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบการออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการรับซื้อไฟฟ้า รายละเอียดตามข้อ 4.1 และมอบหมายให้ กกพ. กฟผ. และ กฟภ. รับไปดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป
2.เห็นชอบแนวทางการขอใช้พื้นที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ดำเนินโครงการพลังงานลมสำหรับภาคเอกชน และมอบหมายให้ ส.ป.ก. พิจารณาสิทธิการใช้ที่ดิน ในเรื่องอายุสัญญาเช่าพื้นที่ และอัตราค่าเช่าพื้นที่เป็นการเฉพาะสำหรับโครงการพัฒนาพลังงานลม และกำหนดกระบวนการดำเนินการและระยะเวลาการให้อนุญาตอย่างชัดเจนสำหรับ โครงการพัฒนาพลังงานลม (Fast Track)
3.มอบหมายให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับ ไปหารือแนวทางการใช้พื้นที่ป่าไม้ในการพัฒนาพลังงานลมสำหรับภาคเอกชนให้ได้ ข้อยุติ และนำเสนอ กพช. ในการประชุมครั้งต่อไป
4.มอบหมายให้กระทรวงพลังงานประสานกระทรวงกลาโหมจัดทำรายละเอียดโครงการ ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลมในพื้นที่ทหารเพื่อเป็นตัวอย่างโครงการนำร่อง ของการใช้พลังงานทดแทน และนำเสนอ กพช. พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
เรื่องที่ 5 แนวทางการแก้ไขปัญหาสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าบางคล้า
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 มีมติรับทราบมติ กพช. เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2550 โดยรับทราบผลการประเมินและคัดเลือกข้อเสนอโครงการรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP สำหรับการประมูลในช่วงปี 2555-2557 จำนวน 4 โครงการ รวมกำลังการผลิต 4,400 เมกะวัตต์
2. สถานภาพโครงการ:
โรงไฟฟ้า/สถานที่ตั้ง | กำลังการผลิต (MW) | เชื้อเพลิง | SCOD | กำหนดวันที่จะต้องได้รับ EIA | วันลงนามสัญญา |
บริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ. ระยอง |
660 | ถ่านหิน | 9 พ.ย. 2554 | ได้รับ EIA แล้ว | 10 ก.ย. 51 |
บริษัท เนชัลแนล เพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด เขาหินซ้อน จ. ฉะเชิงเทรา |
540 | ถ่านหิน | 15 พ.ย. 2556 15 มี.ค. 2557 |
ได้รับ EIA แล้ว | รอลงนาม |
บริษัท สยาม เอ็นเนอยี่ จำกัด อ.บางคล้า จ. ฉะเชิงเทรา |
1,600 | ก๊าซธรรมชาติ | 1 มี.ค. 2556 1 ก.ย. 2556 |
31 ธ.ค. 2553 | 10 ต.ค. 51 |
บริษัท เพาเวอร์ เจนเนอเรชั่น ซัพพลาย จำกัด อ.หนองแซง จ. สระบุรี |
1,600 | ก๊าซธรรมชาติ | 1 มิ.ย. 2557 1 ธ.ค. 2557 |
ได้รับ EIA แล้ว | 10 ต.ค. 51 |
รวม | 4,400 |
3. โครงการโรงไฟฟ้าบางคล้า ของบริษัท สยามเอ็นเนอร์จี จำกัด ("บริษัทฯ") เป็นหนึ่งในสี่บริษัทที่ได้รับการคัดเลือก โดยบริษัทฯ ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2551 และลงนามสัญญาฉบับแก้ไขวันที่ 17 มิถุนายน 2552 ทั้งนี้ สัญญาซื้อขายไฟฟ้ายังไม่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายจนกว่าจะได้รับอนุมัติรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนการจัดทำ EIA และเข้าพื้นที่เพื่อเตรียมการด้านเทคนิคเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าและระบบส่งตาม เงื่อนไขที่กำหนดในข้อตกลงเพิ่มเติม (Additional Agreement) ระหว่างบริษัทฯ กับ กฟผ. โดยโครงการมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) หน่วยที่ 1 วันที่ 1 มีนาคม 2556 และหน่วยที่ 2 วันที่ 1 กันยายน 2556 ทั้งนี้ มีกำหนดวันที่จะต้องได้รับอนุมัติ EIA ในวันที่ 31 ธันวาคม 2553 จากการประสานงานกับ สผ. ได้มีการลงพื้นที่แล้ว และคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ได้มีการพิจารณารายงาน EIA ของบริษัทฯ และได้ให้กลุ่มที่คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าร่วมให้ความเห็นประกอบการพิจารณาด้วยแล้ว
4. เนื่องจากกลุ่มผู้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบางคล้า ได้ชุมนุมปิดถนนเมื่อวันที่ 8 - 13 มิถุนายน 2552 จนนำไปสู่การจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างตัวแทนกลุ่มผู้คัดค้านกับส่วนราชการ ซึ่งประกอบไปด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงพลังงาน และจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2552 โดยมีสรุปข้อตกลงให้จังหวัดทำหนังสือถึงภาครัฐเพื่อให้บริษัทฯ พิจารณาหาสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ที่ไม่ใช่อำเภอบางคล้า ซึ่งในประเด็นนี้ สนพ. ได้มีหนังสือหารือกับ กกพ. เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 เกี่ยวกับการจัดหาสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ซึ่งอาจกระทบต่อสัญญาซื้อ ขายไฟฟ้าและเงื่อนไขการประมูลแข่งขัน โดยสรุปคือ สถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าเป็นสาระสำคัญรายการหนึ่งของข้อเสนอที่บริษัทฯ ยื่นต่อกระทรวงพลังงานตามประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนรายใหญ่ และมีผลต่อต้นทุนราคาการผลิตไฟฟ้าของบริษัทฯ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับการคัดเลือก ดังนั้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ ของข้อเสนอของบริษัทฯ และมีผลต่อการพิจารณาคัดเลือกที่ได้ดำเนินการไปแล้ว โดยเฉพาะต่อผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นที่ไม่ผ่านการคัดเลือก นอกจากนี้ ในกรณีที่ภาครัฐเห็นชอบการย้ายสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้า อาจเป็นเหตุให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการย้ายสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าใช้ สิทธิทางกฎหมายเรียกร้องค่าเสียหายจากภาครัฐได้ ทั้งนี้ สนพ. ได้แจ้งความเห็นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราทราบแล้ว
5. เพื่อให้ได้ข้อยุติในการแก้ไขปัญหาสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าบางคล้า ปลัดกระทรวงพลังงานได้มี คำสั่ง แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าบางคล้า โดยมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน คณะทำงานประกอบด้วย อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ผู้แทน สนพ. ผู้แทน กกพ. และผู้แทน กฟผ. มีผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานเป็นคณะทำงานและเลขานุการ และผู้แทน สนพ. เป็นคณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูลแข่งขัน การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนเมื่อปี พ.ศ. 2550 และพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า พร้อมทั้งให้ข้อเสนอหรือความเห็นประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ เมื่อได้ข้อยุติเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหา สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าบางคล้าแล้ว กระทรวงพลังงานจะได้แจ้งต่อสำนักนายกรัฐมนตรีและจังหวัดฉะเชิงเทรารับทราบ ต่อไป
6. คณะทำงานฯ ได้มีการประชุมแล้ว 2 ครั้งเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2552 และวันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 โดยได้เชิญผู้เกี่ยวข้องคือ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และผู้แทนโครงการโรงไฟฟ้าบางคล้า ร่วมให้ความเห็นและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
6.1 ความเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
6.1.1 ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราได้ให้ข้อมูลว่ามีการคัดค้านการก่อสร้างโรง ไฟฟ้าบางคล้ามาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งทางจังหวัดได้มีการประสานงานกับบริษัทฯ ให้มีการประชาสัมพันธ์และทำมวลชนอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ข้อมูลและทำความเข้าใจ กับชุมชนให้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากชุมชนมีความเข้มแข็ง เป็นชุมชนเก่าอยู่กันอย่างหนาแน่น ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร และการประมง เช่น เลี้ยงปลาในกระชัง จึงเห็นว่าการย้ายสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าจะช่วยแก้ปัญหาการต่อต้านให้ยุติลงได้
6.1.2 บริษัทฯ ได้รายงานให้ทราบถึงการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาการคัดค้านการก่อสร้างโรง ไฟฟ้าที่นำไปสู่การปิดถนนถึง 2 ครั้ง ซึ่งในการปิดถนนครั้งแรกบริษัทฯ ได้ให้ความร่วมมือกับจังหวัดฯ ในการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการไตรภาคี ตามข้อเรียกร้องของชุมชน และได้มีการเปิดเวทีประชุมร่วมกันหลายครั้ง แต่ก็ไม่มีข้อสรุปใดๆ ที่จะทำให้ปัญหาลุล่วงไปได้ จังหวัดฯ จึงได้มีคำสั่งยกเลิกคณะกรรมการไตรภาคีดังกล่าว จากนั้นจังหวัดฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าประกอบด้วย ตัวแทนจากภาครัฐและภาคประชาชน แต่คณะกรรมการฯ ดังกล่าวก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าฯ ได้ จังหวัดฯ จึงได้มีคำสั่งยุติบทบาทของคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าวลง ทั้งนี้ บริษัทฯ ไม่ขัดข้องหากต้องย้ายสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า โดยยินดีที่จะเลื่อนวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของโครงการโรงไฟฟ้าหนองแซง จังหวัดสระบุรีให้เร็วขึ้นได้
6.1.3 กฟผ. มีความเห็นว่าหากจำเป็นต้องย้ายสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ระดับ นโยบายจะเป็นผู้ตัดสินใจได้ แต่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ
6.2 คณะทำงานได้พิจารณาความเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้วสรุปได้ว่าหากจังหวัด มีความเห็นว่าควรแก้ไขปัญหาการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าด้วยการย้ายสถาน ที่ตั้ง ในการพิจารณาการย้ายสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า มีประเด็นประกอบการพิจารณาดังนี้
6.2.1 การคัดเลือกข้อเสนอโครงการ สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าเป็นสาระสำคัญที่เกี่ยวโยงกับข้อเสนอด้านเทคนิคอื่นๆ ได้แก่ การเชื่อมโยงระบบส่ง การเชื่อมต่อระบบเชื้อเพลิง การจัดหาเชื้อเพลิง เป็นต้น รวมทั้งข้อเสนอด้านราคา และกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตาม PDP ดังนั้น การย้ายสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าจะต้องพิจารณาความพร้อมของระบบส่ง ต้นทุนค่าระบบส่งและการปรับปรุงระบบส่งของ กฟผ. ความพร้อมของแนวท่อก๊าซฯ และการจัดหาก๊าซฯ ใหม่ รวมทั้ง จะต้องมีการจัดทำรายงาน EIA ของสถานที่ตั้งใหม่ มีการทำมวลชนสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้เกิดการยอมรับของประชาชนในพื้นที่ และดูแลผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมในสถานที่ตั้งใหม่ด้วย
6.2.2 การดำเนินการของภาครัฐควรสอดคล้องกับมาตรา 74 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ที่บัญญัติว่าให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ให้บริการที่ดีกับประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ ดี ซึ่งกรณีนี้จะต้องพิจารณาการดำเนินการให้เกิดความสงบสุขของประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งพิจารณาการส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนอย่างเป็นธรรม โดยพิจารณาการสนับสนุนในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดหาเชื้อเพลิง การเชื่อมโยงระบบส่ง การเชื่อมต่อระบบเชื้อเพลิง เพื่อให้เกิดความมั่นคงของการจัดหาพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศ
7. เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรอบคอบ ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้ กบง. โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
7.1 องค์ประกอบของคณะอนุกรรมการฯ มีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เป็นอนุกรรมการ ดังนี้ (1) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (2) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (3) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (4) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (5) สำนักงานอัยการสูงสุด (6) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมีผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
7.2 คณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าว มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาระเบียบ ขั้นตอน วิธีการ และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน/องค์กร ตลอดจนประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาและดำเนินงานเกี่ยวกับการย้าย สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า ในกรณีที่ได้ข้อสรุปว่าสามารถพิจารณาให้ย้ายสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าได้ ให้คณะอนุกรรมการฯ จัดทำรายละเอียด หลักเกณฑ์ เงื่อนไข ประกอบการเจรจากับคู่สัญญา คือ กฟผ. และบริษัทฯ เมื่อพิจารณาร่วมกันจนได้ขอยุติแล้ว ให้เสนอ กบง. ให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอ กพช. อนุมัติ และแจ้งต่อจังหวัดเพื่อดำเนินการแจ้งผู้คัดค้านทราบต่อไป
ทั้งนี้ เห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการย้ายสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า ในประเด็นดังต่อไปนี้ (1) ราคารับซื้อไฟฟ้าเฉลี่ยตลอดอายุโครงการที่เสนอใหม่ต้องมีความเหมาะสม และเป็นธรรม (2) กำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ให้สอดคล้องกับแผน PDP โดยคำนึงถึงระดับกำลังการผลิตสำรองของระบบไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ด้วย (3) ความพร้อมของระบบส่ง และการจัดหาเชื้อเพลิง (4) ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ตลอดจนการยอมรับของชุมชน และ (5) ประเด็นเพิ่มเติมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
มติของที่ประชุม
1.รับทราบประเด็นปัญหาและผลการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ
2.เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้ กบง. เพื่อพิจารณาแนวการดำเนินการต่อไป โดยให้รับข้อสังเกตของที่ประชุมไปประกอบการพิจารณาด้วย และนำเสนอ กพช. ภายใน 2 เดือน
สรุปสาระสำคัญ
1. รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน เพื่อช่วยเหลือประชาชนจากราคาน้ำมันแพงตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 โดยมาตรการหนึ่งคือ การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันแก๊สโซฮอลและน้ำมันดีเซลตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2552
2. นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 2/2551 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2551 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการได้รับเงินชดเชยจากการขาดทุนใน น้ำมันที่คงเหลืออยู่ก่อนการปรับลดภาษีสรรพสามิต โดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และให้เรียกเก็บเงินคืนแก่กองทุนน้ำมันฯ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามมาตรการดังกล่าว
3. ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 101 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 ได้วางหลักการกรณีการลดหย่อนภาษี โดยไม่มีการคืนภาษี ทำให้ผู้ค้าน้ำมันที่มีน้ำมันพื้นฐานคงเหลือไม่สามารถขอคืนภาษีน้ำมันพื้น ฐานที่ชำระไว้ก่อนการลดภาษีได้ กองทุนน้ำมันฯ จึงต้องจ่ายชดเชยให้กับผลขาดทุนของการลดภาษีในวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 ซึ่งเงินจำนวนนี้กองทุนน้ำมันฯ ไม่มีโอกาสได้รับคืนในตอนการปรับขึ้นภาษีเพราะกรมสรรพสามิตจะเรียกเก็บภาษี เพิ่มเติมอีกครั้งเมื่อนำน้ำมันพื้นฐานมาผสมเป็นน้ำมันสำเร็จรูปและจ่ายออก จากคลัง
4. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 เห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 อนุมัติให้กระทรวงการคลังตั้งงบประมาณประจำปี 2553 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการชดเชยกองทุนน้ำมันฯ ที่ได้จ่ายชดเชยภาษีสรรพสามิตในส่วนของน้ำมันพื้นฐาน เมื่อสิ้นสุดนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน และให้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาชดเชยเงินให้แก่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อสิ้นสุดเวลาดำเนินการดังกล่าว เพื่อพิจารณาวงเงินชดเชยที่เกิดขึ้นจริง
5. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาชดเชยเงินให้แก่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อสิ้นสุดเวลาดำเนินการตามนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน โดยมีองค์ประกอบได้แก่ ปลัดกระทรวงพลังงาน หรือรองปลัดกระทรวงพลังงาน ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมสรรพสามิต สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงบประมาณ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน เป็นคณะทำงาน ผู้แทนกรมธุรกิจพลังงาน เป็นคณะทำงานและเลขานุการ และผู้แทน สนพ. เป็นคณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่พิจารณาการจ่ายเงินชดเชยภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการชดเชยเงินกองทุนน้ำมันฯ ที่ได้จ่ายชดเชยภาษีสรรพสามิตในส่วนน้ำมันพื้นฐานเมื่อสิ้นสุดนโยบายดัง กล่าว
6. คณะทำงานฯ ได้มีมติเห็นชอบจำนวนเงินชดเชยในส่วนของน้ำมันพื้นฐานจำนวน 2,166,005,381 บาท และมอบหมายให้กรมสรรพสามิตรับไปประสานกับสำนักงบประมาณ เพื่อติดตามความคืบหน้าการขอตั้งงบประมาณประจำปี 2553 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการชดเชยผลขาดทุนของกองทุนน้ำมันฯ ต่อมากรมสรรพสามิตได้มีหนังสือแจ้งว่าไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2553 และหากมีความ ประสงค์จะขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ให้ส่งพร้อมกับคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 (ปกติ) ต่อไป
7. ปัจจุบันฐานะกองทุนน้ำมันฯ (ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2552) มีเงินสดในบัญชี 31,001 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 10,489 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันสุทธิ 20,512 ล้านบาท และมีเงินไหลเข้ากองทุนน้ำมันฯ 891 ล้านบาท/เดือน โดยที่ภาระเงินชดเชยภาษีสรรพสามิตในส่วนของน้ำมันพื้นฐาน จำนวน 2,166.006 ล้านบาท มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อสนองนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ในการบรรเทาความเดือดร้อนด้านราคาน้ำมันให้แก่ประชาชน ซึ่งฐานะกองทุนน้ำมันฯ ในปัจจุบันสามารถแบกรับได้ และเพื่อมิให้เป็นภาระกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 ของรัฐบาล จึงเห็นควรใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ แบกรับเงินชดเชยดังกล่าว
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แบกรับภาระเงินชดเชยภาษีสรรพสามิตในส่วนของน้ำมันพื้นฐาน จำนวน 2,166.006 ล้านบาท
เรื่องที่ 7 การขอความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุมภาครัฐ
1. ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 มาตรา 21(1) และ (2) ได้กำหนดให้อาคารที่มีขนาดและปริมาณการใช้พลังงานตามที่กำหนดในพระราช กฤษฎีกากำหนดอาคารควบคุม พ.ศ. 2538 (อาคารที่ได้รับอนุมัติให้ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าตัวเดียวหรือหลายตัวรวมกันมี ขนาดตั้งแต่ 1,175 กิโลโวลท์แอมแปร์ขึ้นไป) ต้องดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีอาคารส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 800 แห่ง ที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุมจะต้องดำเนินการอนุรักษ์พลังงานใน 2 กิจกรรมหลัก ดังนี้
1.1 จัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานประจำอาคารควบคุมแต่ละแห่งตามคุณสมบัติและ จำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคุณสมบัติ หน้าที่ และจำนวนของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
1.2 ดำเนินการจัดการพลังงานตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม
2. กระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุมภาครัฐ ดังนี้
2.1 โครงการส่งเสริมและกำกับดูแลอาคารควบคุมภาครัฐ ดำเนินการโดย พพ. เพื่อจัดส่งทีมงานผู้เชี่ยวชาญเข้าไปให้คำปรึกษาและแนะนำวิธีการอนุรักษ์ พลังงานแก่อาคารควบคุมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดของกระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง รวมจำนวนอาคารควบคุมทั้งหมดประมาณ 800 แห่ง ให้สามารถดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องทั้ง 2 กิจกรรมหลัก
2.2 โครงการส่งเสริมการใช้หลอดประหยัดพลังงาน ดำเนินการโดย กฟผ. เพื่อส่งเสริมการใช้อุปกรณ์แสงสว่างประสิทธิภาพสูง และสร้างความต้องการใช้หลอดประหยัดพลังงาน ให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดย กฟผ. จะดำเนินการเปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์ รุ่น T5 แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ รุ่น T8 ที่มีอยู่เดิมในอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงทุกแห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
3. เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการส่งเสริมและกำกับดูแลอาคารควบคุมภาครัฐ และโครงการส่งเสริมการใช้หลอดประหยัดพลังงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ กระทรวงพลังงานได้เสนอให้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างปลัด กระทรวงพลังงานกับปลัดกระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง (รวมทั้งหัวหน้าหน่วยงานอิสระ) ในโครงการฯ "20 กระทรวงรวมใจ ลดใช้พลังงาน" โดยสาระสำคัญในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของทุกกระทรวงในการให้การสนับสนุนและผลักดันให้ อาคารควบคุมทุกแห่งที่อยู่ภายใต้สังกัดในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้ความร่วม มือในการดำเนินโครงการฯ ร่วมกับ พพ. รวมถึงความร่วมมือในการติดต่อประสานงานกับอาคารควบคุมที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อตั้งเป้าหมายและดำเนินการให้เกิดผลการประหยัดพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม และการขอความร่วมมือจากสำนักงานปลัดกระทรวงต่างๆ ในการจัดเตรียมข้อมูล และอำนวยความสะดวกให้แก่ กฟผ. ในการสำรวจข้อมูล และการเปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์ รุ่น T8 เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ รุ่น T5
4. กระทรวงพลังงาน โดย พพ. ได้จัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
4.1 ให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้แทนของแต่ละกระทรวง (รวมทั้งหัวหน้าหน่วยงานอิสระ) ลงนามกับปลัดกระทรวงพลังงานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ส่งเสริมและกำกับดูแลอาคารควบคุมภาครัฐ และโครงการส่งเสริมการใช้หลอดผอมใหม่เบอร์ 5
4.2 ให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง รวมทั้งหัวหน้าหน่วยงานอิสระ แจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานอาคารควบคุมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดทุก แห่งดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด
4.3 ให้ผู้บริหารของอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงทุกแห่งที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริม การใช้หลอดประหยัดพลังงานให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ ร่วมกับ กฟผ. ในการจัดเตรียมข้อมูล และอำนวยความสะดวกในการสำรวจข้อมูล และการเปลี่ยนหลอดประสิทธิภาพสูงแทนหลอดเดิม (เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ รุ่น T5 แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ รุ่น T8) ให้สำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบตามแนวทางในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามการพิจารณาของที่ประชุมข้อ 1 ถึง 3
2.มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้ทุกกระทรวงดำเนินการตาม แนวทางในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามมติของที่ประชุมข้อ 1
เรื่องที่ 8 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัส
กันยายน 2552 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัส เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 67.64 และ 69.41 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้ว 3.70 และ 1.64 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นรายงานยอดนำเข้าน้ำมันดิบเดือนสิงหาคม 2552 ลดลง ร้อยละ 12.4 อีกทั้งบริษัท Idemitsu Kosan (640,000 บาร์เรล/วัน) มีแผนนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นในไตรมาส 4 ปีนี้ที่ระดับปริมาณ 479,000 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าเนื่องจากอุปสงค์น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศอ่อนตัว จากภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่เดือนตุลาคม 2552 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัส เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 73.15 และ 75.73 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 5.51 และ 6.32 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากโรงกลั่นหลายแห่งในสหรัฐฯ กลับมาดำเนินการผลิต ภายหลังเสร็จสิ้นจากการปิดซ่อมบำรุง และ Abu Dhabi National Oil Company ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ลดปริมาณส่งมอบน้ำมันดิบให้กับลูกค้าในเดือนธันวาคม 2552 อยู่ที่ร้อยละ 15 จากปริมาณในสัญญา รวมทั้งอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 8.9 ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 18 พฤศจิกายน 2552 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์ เท็กซัส เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 77.78 และ 78.70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 4.62 และ 2.98 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ จาก Dow Jones Newires คาดการณ์โรงกลั่นขนาดใหญ่ของจีนจำนวน 17 แห่ง จะเพิ่มอัตราการกลั่นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 88.5 คิดเป็นปริมาณน้ำมันดิบเข้ากลั่น 3.702 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่ประธานโอเปกกล่าวมีแนวโน้มที่จะไม่เพิ่มกำลังการผลิตในการประชุมใน เดือนธันวาคม 2552 เนื่องจากปริมาณสำรองน้ำมันดิบทั่วโลกอยู่ในระดับสูง
2. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์
กันยายน 2552 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซล เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 75.63 , 73.84 และ 74.65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้ว 6.47 , 6.29 และ 4.37 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและอุปสงค์น้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ ยุโรปและเอเซียชะลอตัวเนื่องจากสิ้นสุดฤดูท่องเที่ยว ประกอบกับอุปทานจากประเทศจีนและอินเดียเป็นปัจจัยกดดันตลาด โดยเฉพาะจากจีนที่ลดราคาขายปลีกในประเทศลงทำให้เพิ่มแรงจูงใจในการส่งออก เดือนตุลาคม 2552 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซล เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 77.71 , 76.05 และ 79.64 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 2.08, 2.21 และ 4.99 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบ และ Arbitrage ส่งออกน้ำมันเบนซินจากเกาหลีไปสหรัฐฯ เปิด ขณะที่ Nippon Oil Corp. ของญี่ปุ่นขยายเวลาปิดหน่วยกลั่นน้ำมันดิบไปอีก 5 เดือน เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศเบาบางนอกจากนี้อิหร่านเริ่มนำเข้าน้ำมันดีเซล ในระดับสูงขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณสำรองในช่วงก่อนเข้าฤดูหนาว ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 18 พฤศจิกายน 2552 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซล เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 81.94 , 79.86 และ 84.29 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 4.23, 3.81 และ 4.65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันดิบและจาก EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ลดลง อยู่ที่ 209.1 MMB และรอยเตอร์รายงานผู้ค้าน้ำมันมีแผนนำน้ำมันดีเซลจากเอเชีย เพื่อเก็บสำรองในคลังลอยน้ำที่ยุโรป
3. ราคาขายปลีก
กันยายน 2552 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 40.30 , 34.70 , 31.10 , 28.80 , 21.92 , 30.30 , 26.83 และ 25.40 บาท/ลิตร โดยที่ เบนซิน 95 , 91 , แก๊สโซฮอล 95 E10 ,E20 , แก๊สโซฮอล 91 ปรับตัวลดลง จากเดือนก่อน ที่ระดับ 1.40 , แก๊สโซฮอล 95 E85 ลดลง 0.80 บาท/ลิตร ส่วนดีเซลหมุนเร็วและดีเซล หมุนเร็ว B5 ลดลง 0.86 และ 1.90 บาท/ลิตร ตามลำดับ สำหรับเดือนตุลาคม 2552 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 39.72 , 34.12 , 30.52 , 28.22 , 18.72 , 29.72 , 26.70 และ 25.30 บาท/ลิตร โดยที่ เบนซิน 95 , 91 , แก๊สโซฮอล 95 E10 ,E20 , แก๊สโซฮอล 91 ปรับตัวลดลง ที่ระดับ 0.58 , แก๊สโซฮอล 95 E85 ลดลง 3.20 บาท/ลิตร ส่วนดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนเร็ว B5 ลดลง 0.13 และ 0.10 บาท/ลิตร ตามลำดับ ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 19 พฤศจิกายน 2552 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 40.94 , 35.34 , 31.74 , 29.44 , 18.72 , 30.94 , 28.19 และ 26.79 บาท/ลิตร ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ที่ระดับ 1.22 , 1.22 , 1.22 , 1.22 , 0.00 , 1.22 , 1.49 และ 1.49 บาท/ลิตร
4. สถานการณ์ LPG เดือนพฤศจิกายน 2552 ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 77 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาอยู่ที่ระดับ 660 เหรียญสหรัฐ/ตัน ตามราคาน้ำมันดิบและอุปทานในภูมิภาคลดลงส่งผลให้ปริมาณส่งออกในตลาดจรน้อยลง รัฐได้กำหนดราคาขายส่ง ณ คลัง ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ไว้ที่ระดับ 13.6863 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้มีการนำเข้าก๊าซ LPG ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน - 13 พฤศจิกายน 2552 รวมทั้งสิ้น 1,009,989 ตัน คิดเป็นภาระชดเชย 12,334 ล้านบาท ทำให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ณ กรุงเทพฯ อยู่ที่ 18.13 บาท/กิโลกรัม
5. สถานการณ์น้ำมันแก๊สโซฮอล ปัจจุบันมีผู้ประกอบการผลิตเอทานอลจำนวน 17 ราย แต่ผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเพียง 12 ราย โดยมีกำลังการผลิตรวม 2.73 ล้านลิตร/วัน มีปริมาณ การผลิตจริง 1.04 ล้านลิตร/วัน และราคาเอทานอลแปลงสภาพเดือนพฤศจิกายน 2552 อยู่ที่ 24.97 บาท/ลิตร
6. สถานการณ์น้ำมันไบโอดีเซล ปัจจุบันมีผู้ผลิตไบโอดีเซลที่ได้คุณภาพตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน จำนวน 13 ราย โดยมีกำลังการผลิตรวม 4.45 ล้านลิตร/วัน ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5 เดือนตุลาคม 2552 อยู่ที่ 20.70 ล้านลิตร/วัน โดยมีสถานีบริการรวม 3,571 แห่ง และราคาไบโอดีเซลในประเทศเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2552 อยู่ที่ 25.45 บาท/ลิตร
7. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 มีเงินสดในบัญชี 31,001 ล้านบาท มีหนี้สินกองทุน 10,489 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ค้างชำระเงินชดเชย 10,180 ล้านบาท และงบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว 309 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันสุทธิ 20,512 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 9 การทบทวนแผนการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV)
สรุปสาระสำคัญ
1. ครม. เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551 ได้เห็นชอบการเร่งส่งเสริมการใช้ NGV ทดแทนน้ำมันเบนซินและดีเซลให้ได้ถึงร้อยละ 20 ภายในปี 2555 โดยตั้งเป้าหมายให้ภายใน 4 ปี จำนวนรถที่ใช้ NGV จะเพิ่มเป็น 240,000 คัน รถบรรทุกโดยสาร 88,000 คัน และจำนวนสถานีบริการเพิ่มเป็น 725 แห่ง ทั่วประเทศ
2. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งปีแรกของ ปี 2551 คณะกรรมการติดตามการดำเนินการขยายบริการและส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถ ยนต์ (NGV) ได้จัดทำแผนการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV Roadmap) เพื่อเร่งรัดให้มีการขยายบริการและการใช้ NGV เพื่อทดแทนการใช้น้ำมัน โดยกำหนดให้มีปริมาณการใช้ NGV เพื่อทดแทนน้ำมันในภาคขนส่งร้อยละ 10 ในปี 2552 ร้อยละ 13 ในปี 2553 ร้อยละ 16 ในปี 2554 และร้อยละ 20 ในปี 2555
3. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 กพช. ได้รับทราบการปรับปรุงแผนการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) (พ.ศ. 2551-2555) ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปโดยให้มีการใช้ NGV เพื่อทดแทนน้ำมันทั้งเบนซินและดีเซลในปี 2552 ร้อยละ 8 จากแผนเดิมร้อยละ 10 และเพิ่มเป็นร้อยละ 13 ในปี 2555 จากแผนเดิมที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 20 ในปี 2555
4. สำหรับความก้าวหน้าการขยายบริการและการใช้ NGV ในช่วงปี 2551 จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2552 ปริมาณการจำหน่าย NGV เพิ่มขึ้นจาก 1,146 ตันต่อวัน ในเดือนมกราคม 2551 เป็น 3,972 ตันต่อวัน ณ เดือนพฤศจิกายน 2552 จำนวนรถ NGV เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2551 ที่ 60,415 คัน เป็น 157,917 คัน ณ เดือนพฤศจิกายน 2552 จำนวนสถานีบริการ NGV เพิ่มขึ้นจาก 169 สถานีในเดือนมกราคม 2551 เป็น 357 สถานี ครอบคลุม 49 จังหวัด และจำนวนรถขนส่งก๊าซ NGV เพิ่มขึ้นจาก 312 คัน ณ สิ้นปี 2550 เป็น 1,120 คัน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2552
5. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสแรกของปี 2552 ทำให้มีความจำเป็นต้องมีการทบทวนแผนฯ ดังกล่าวเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสามารถรองรับกับปริมาณรถที่จะหันมา ใช้ NGV มากขึ้น นอกจากนี้ ครม. เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 ที่ได้มีมติเห็นชอบมาตรการการช่วยเหลือกลุ่มรถแท็กซี่ที่ใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิงมาเป็นการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) เป็นเชื้อเพลิงแทนเพื่อลดปริมาณการนำเข้าก๊าซ LPG ในปัจจุบัน โดยปรับเปลี่ยนรถแท็กซี่ที่เหลืออยู่จำนวน 30,000 คัน ให้เปลี่ยนมาใช้ NGV จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนแผนฯ โดยคำนึงถึงปริมาณรถแท็กซี่ที่จะมาใช้ NGV เพิ่มขึ้น
6. คณะกรรมการติดตามการดำเนินการขยายบริการและส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถ ยนต์ (NGV) ได้ทำการปรับเป้าหมายการส่งเสริมการใช้ NGV ใหม่เพื่อปรับปรุงให้แผนการขยายโครงข่ายการให้บริการมีความสอดคล้องกับความ ต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2553 ที่ 72 เหรียญต่อบาร์เรล จากแผนเดิมที่ใช้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2553 ที่ 55 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่ง แผนการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV Roadmap) ใหม่ สามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้
ปี 52 | ปี 53 | ปี 54 | ปี 55 | ปี 56 | ปี 57 | |
จำนวนรถ NGV สะสม (คัน) | 162,200 | 212,310 | 236,360 | 257,250 | 275,950 | 291,540 |
Volume การใช้ NGV เฉลี่ยต่อปี (Ton/day) | 3,640 | 5,310 | 6,560 | 7,560 | 8,230 | 8,815 |
Volume การใช้ NGV เฉลี่ยต่อปี (MMCFD) | 131 | 191 | 236 | 272 | 296 | 317 |
ปริมาณทดแทนน้ำมันในภาคขนส่ง ณ สิ้นปี | 7% | 10.5% | 12.7% | 13.7% | 14.2% | 14.6% |
7. เพื่อให้สามารถรองรับกับปริมาณการใช้ก๊าซ NGV ที่จะเพิ่มสูงขึ้น จึงได้มีการจัดทำแผนการขยายสถานีบริการสำหรับปี 2552-2557 ดังนี้
สถานีจำหน่าย | 2552 | 2553 | 2554 | 2555 | 2556 | 2557 |
กรุงเทพฯ และปริมณฑล | 190 | 218 | 240 | 245 | 250 | 255 |
ภาคตะวันออก | 57 | 63 | 75 | 75 | 75 | 75 |
ภาคกลาง | 71 | 83 | 88 | 90 | 93 | 95 |
ภาคเหนือ | 23 | 28 | 30 | 31 | 33 | 35 |
ภาคตะวันออเฉียงเหนือ | 27 | 32 | 36 | 40 | 45 | 50 |
ภาคใต้ | 14 | 16 | 20 | 25 | 27 | 30 |
รวมสถานีจำหน่าย1 | 382 | 440 | 489 | 506 | 523 | 540 |
สถานีแม่ | 17 | 20 | 23 | 24 | 25 | 26 |
รวมทั้งหมด | 399 | 460 | 512 | 530 | 548 | 566 |
8. ในส่วนของแผนการจัดหารถขนส่งก๊าซ NGV นั้น ได้มีการวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนรถขนส่งก๊าซ NGV เพื่อรองรับกับสถานีบริการที่เพิ่มขึ้น รวมถึงป้องกันปัญหาก๊าซ NGV ขาด ซึ่งในแผนใหม่นี้จะมีรถขนส่งก๊าซ NGV ซึ่งเป็นของเอกชน (Third Party Logistic: TPL) ด้วย โดยจะเข้ามาในปี 2553 เป็นจำนวน 150 คัน สำหรับแผนการจัดหารถขนส่งก๊าซ NGV ใหม่ นั้นสรุปได้ตามตารางต่อไปนี้
2552 | 2553 | 2554 | 2555 | 2556 | 2557 | |
กรุงเทพฯ และปริมณฑล | 672 | 855 | 905 | 944 | 974 | 994 |
ภาคตะวันออก | 75 | 105 | 110 | 149 | 179 | 200 |
ภาคกลาง | 275 | 328 | 332 | 371 | 401 | 423 |
ภาคเหนือ | 102 | 145 | 150 | 189 | 219 | 241 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 81 | 107 | 113 | 152 | 190 | 214 |
ภาคใต้ | 45 | 65 | 70 | 109 | 139 | 163 |
รวม | 1,250 | 1,605 | 1,680 | 1,914 | 2,102 | 2,235 |
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 10 การขอความร่วมมือในการอนุรักษ์พลังงานในอาคารที่มีการขออนุญาตออกแบบก่อสร้างใหม่
1. กระทรวงพลังงาน (พน.) ได้ประกาศใช้กฎกระทรวง กำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ซึ่งออกตามความในมาตรา 19 แห่ง พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และความตามมาตรา 20 ได้กำหนดให้คณะกรรมการควบคุมอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารพิจารณาให้ความเห็นชอบที่จะนำมาใช้บังคับการ ควบคุมอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และหากคณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นชอบให้ถือว่ากฎกระทรวงฯ ดังกล่าว มีผลเสมือนเป็นกฎกระทรวงฯ ที่ออกตามมาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
2. เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฯ ดังกล่าว เนื่องจากอาคารเก่าที่ติดตั้งใช้งานแล้วไม่ได้ มีการออกแบบที่คำนึงถึงการประหยัดตั้งแต่ต้น ทำให้มีการใช้พลังงานอย่างสูญเสียและไม่มีประสิทธิภาพและการปรับปรุงอาคาร ที่ใช้งานอยู่มีความยุ่งยาก และในบางกรณีไม่คุ้มค่ากับการลงทุน พน. จึงได้ประกาศใช้กฎกระทรวงฯ ดังกล่าว โดยกำหนดให้อาคารที่จะขออนุญาตก่อสร้างใหม่ หรืออาคารเดิมที่ใช้งานอยู่ ที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป จะต้องออกแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงฯ โดยกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2552 เป็นต้นไป
3. พน. โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้มีหนังสือที่ พน. 0504/10056 ลงวันที่ 26 พ.ค. 2552 แจ้งให้กรมโยธาธิการและผังเมือง (ยผ.) นำกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวเสนอคณะกรรมการควบคุมอาคารพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อให้มีผลบังคับ ใช้ตามมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติควบคุมอาคารต่อไป
4. เพื่อให้กฎหมายมีผลบังคับใช้และให้เกิดผลในทางปฏิบัติในการพิจารณาให้การ อนุญาตก่อสร้างให้เป็นไปตามกฎหมาย จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยการสนับสนุนให้คณะกรรมการควบคุมอาคารให้ความเห็นชอบกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว รวมทั้ง การแจ้งประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ มท. โดยเฉพาะหน่วยงานท้องถิ่น ที่มีอำนาจหน้าที่ให้การอนุญาตในการก่อสร้าง ทราบและปฏิบัติ ซึ่งกรอบแนวทางการดำเนินงานในส่วนของ พน. และแนวทางการขอความร่วมมือจาก มท. มีรายละเอียด ดังนี้
4.1 กรอบกิจกรรมของกระทรวงพลังงานดำเนินการโดย พพ.
(1) ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปได้รับทราบถึงการ ประกาศใช้กฎหมายผลประหยัดที่จะได้รับจากการออกแบบอาคารให้เป็นไปตามมาตรฐาน
(2) จัดทำคู่มือเอกสารวิชาการในการออกแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงฯ รวมทั้งแบบฟอร์มในการยื่นขออนุญาต และคู่มือวิธีการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
(3) จัดให้มีการฝึกอบรม ให้ความรู้และวิธีการในการออกแบบและตรวจสอบแบบที่จะขออนุญาตให้เป็นไปตามกฎ กระทรวง ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ และพนักงานท้องถิ่นรวมทั้ง สถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร
4.2 การขอความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานท้องถิ่น
(1) ขอความร่วมมือให้คณะกรรมการควบคุมอาคารพิจารณาให้ความเห็นชอบกฎกระทรวง กำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 เพื่อให้กฎกระทรวงฯ มีผลบังคับใช้ตามมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ต่อไป
(2) ขอความร่วมมือจาก มท. ในการแจ้งให้หน่วยงานภายใต้ มท. ที่เกี่ยวข้องทั้ง ยผ. และหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆ ให้ความร่วมมือกับ พพ. ในการดำเนินการในทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งจะมีผลต่อการประหยัดพลังงาน ในแต่ละท้องถิ่นและเกิดการประหยัดโดยรวมของประเทศต่อไป
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 11 การเตรียมท่าทีของไทยเพื่อการเข้าร่วมประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายกษิต ภิรมย์) ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่านายกรัฐมนตรีและคณะผู้แทนไทย จะเข้าร่วมประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Conference) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 - 18 ธันวาคม 2552 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ราชอาณาจักรเดนมาร์ค โดยได้ขอให้กระทรวงพลังงานจัดเตรียมข้อมูล 2 เรื่อง ประกอบด้วย (1) การดำเนินการมาตรการประหยัดพลังงาน และ (2) แผนดำเนินการจัดหาพลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียน และขอให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดเตรียมข้อมูลด้านการวิจัยการประหยัดพลังงาน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้รับไปดำเนินการในการจัดเตรียมข้อมูลเรื่อง มาตรการประหยัดพลังงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วพร้อมตัวเลขที่ประหยัดได้ และแผนการจัดหาพลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียน
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องปัญหาการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจก (โครงการ CDM) ของประเทศไทย ว่าปัจจุบันประเทศไทยมีโครงการ CDM ที่ได้รับหนังสือรับรองโครงการ (Letter of Approval) แล้ว จำนวน 97 โครงการ และมีโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน (Registration) กับ Executive Board แล้ว จำนวน 18 โครงการ แต่มีเพียง 2 โครงการที่ขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Carbon Credit) ได้แล้ว สาเหตุเนื่องจากขณะนี้ทั่วโลกมีหน่วยงาน DOE (Designated Operational Entities) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ผู้ดำเนินโครงการต้องว่าจ้างให้ดำเนินการตรวจสอบและ ยืนยันการการลดก๊าซเรือนกระจก เพียง 27 หน่วยงาน ดังนั้น เพื่อให้โครงการ CDM ดำเนินการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนา DOE ของประเทศไทยต่อไป
เรื่องที่ 12 ความก้าวหน้าแผนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากประเทศกาตาร์
นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องการเดินทางไปเยือนประเทศการ์ตา (State of Qatar) อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 24 - 25 พฤศจิกายน 2552 เพื่อหารือในภาพรวมของความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและการ์ตา และนายกรัฐมนตรีแจ้งว่ารัฐบาลการ์ตา ได้สอบถามความก้าวหน้าของแผนการจัดซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ของประเทศไทย ซึ่ง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้มีการลงนามในข้อตกลงเบื้องต้น (Heads of Agreement : HOA) เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2551 รวมทั้ง ได้สอบถามเรื่องการกำหนดราคา LNG รองปลัดกระทรวงพลังงาน (นายณอคุณ สิทธิพงศ์) ได้ชี้แจงดังนี้
1. สูตรราคา LNG ที่ ปตท. เจรจากับบริษัทการ์ตาแก๊ส กำหนดเป็น 16%*JCC (Japanese Crude Cocktail) + 0.755 เหรียญสหรัฐฯ (ค่าขนส่ง) ต่อล้านบีทียู ซึ่งในปี 2551 เป็นระดับราคาที่เหมาะสม เนื่องจากที่ผ่านมา ตลาด LNG เป็นตลาดของผู้ขาย แต่ปัจจุบันตลาด LNG เป็นตลาดของผู้ซื้อราคา LNG ตามสูตรดังกล่าวสูงกว่าราคาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 6 - 7 เหรียญสหรัฐฯ/ล้านบีทียู ในส่วนของความก้าวหน้าการนำเข้า LNG จากประเทศการ์ตา ปตท. ได้ต่ออายุ HOA อีกหนึ่งปี ถึง 31 ธันวาคม 2553 ซึ่ง HOA เดิมจะหมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 นอกจากนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างปรับแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับ แผน PDP ฉบับใหม่ ซึ่งได้ทบทวนแผนการนำเข้า LNG จากประเทศการ์ตา เพื่อพิจารณาปริมาณการจัดหาให้เหมาะสมกับปริมาณความต้องการใช้ เพื่อป้องกันปัญหา Take or Pay
2. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าในช่วงปี 2551 - 2552 ความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ชะลอตัวลง ส่งผลให้ความต้องการก๊าซธรรมชาติลดลงด้วย จึงต้องมีการปรับปรุงข้อมูลการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกัน โดยในการจัดหาก๊าซธรรมชาติของ ปตท. จะมาจากแหล่งในอ่าวไทย JDA การนำเข้าจากพม่า (M9) และการนำเข้า LNG จากประเทศการ์ตาในช่วงปี 2554 - 2555 ซึ่งจะทำให้มีปริมาณเกินความต้องการได้ ทั้งนี้คาดว่าจะมีการนำเข้า LNG ในเบื้องต้น ปริมาณไม่เกิน 1 ล้านตัน/ปี อย่างไรก็ตาม บริษัท ปตท.สผ. ได้ลงทุนพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติในทะเลในต่างประเทศโดยใช้เทคโนโลยี Floating LNG (FLNG) ซึ่งจะสามารถขนส่งทางเรือมายังประเทศไทยได้ และในส่วนของราคาคาดว่า LNG จาก Floating LNG Plant ของ ปตท.สผ. จะสามารถแข่งขันกับราคานำเข้า LNG ในตลาดโลกได้ ซึ่งการดำเนินธุรกิจ FLNG ของ ปตท.สผ. นอกจากจะสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแล้ว ยังเป็นการนำเงินกลับเข้าประเทศอีกด้วย
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
- กพช. ครั้งที่ 128 - วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2552 (2033 Downloads)