มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ครั้งที่ 1/2542 (ครั้งที่ 16)
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2542 เวลา 11.00 น.
ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล
1. รายงานการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
4. คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับ
5. โครงการจัดซื้ออาคารถาวรเพื่อจัดทำโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงาน ของ สพช.
6. โครงการศึกษาเรื่องการกำหนดโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าและการจัดตั้ง ตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า
8. แผนปฏิบัติการโครงการโรงงานและอาคารที่อยู่ระหว่างการออกแบบ หรือก่อสร้าง ปี 2542
รองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ประธานกรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) กรรมการและเลขานุการ
เรื่องที่ 1 รายงานการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
เลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงรายงานเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ ของ สพช. บก. และ พพ. ตามแผนงานภาคบังคับ แผนงานภาคความร่วมมือ และแผนงานสนับสนุน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ซึ่งได้เบิกเงินเพื่อดำเนินงานตามแผนงานไปแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 468,528,810.36 บาท และมีงบประมาณคงเหลือเป็นเงินทั้งสิ้น 2,516,742,993.00 บาท
มติที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับ โครงการอาคารของรัฐ แผนงานภาคความร่วมมือ และแผนงานสนับสนุน ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานของแผนงานภาคบังคับ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับ ระหว่างปี 2538-2541 ดังนี้
1.1 อาคารควบคุมที่กำลังใช้งาน
1) อาคารควบคุมได้ยื่นขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ (บพท.1) เพื่อทำการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น จำนวนทั้งสิ้น 970 ราย และได้อนุมัติให้ดำเนินการแล้ว 836 ราย เป็นอาคารเอกชน 606 ราย และเป็นอาคารของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ 230 ราย เป็นเงิน 242,570,425 บาท
2) อาคารควบคุมส่งรายงานการตรวจสอบฯ ให้ พพ. จำนวน 524 ราย โดย พพ. ได้ให้ความเห็นชอบกับรายงานตรวจสอบฯ แล้ว จำนวน 309 ราย พบว่าอาคารเหล่านั้นมีการใช้พลังงานไฟฟ้า 1,611.45 ล้านหน่วยต่อปี มีศักยภาพที่จะอนุรักษ์พลังงานได้ 183.43 ล้านหน่วยต่อปี คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่จะประหยัดได้ปีละ 466.07 ล้านบาท โดยจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 1,707.97 ล้านบาท
1.2 โรงงานควบคุมที่กำลังใช้งาน
โรงงานควบคุมได้ยื่นขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ (บพท.1) เพื่อทำการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น จำนวนทั้งสิ้น 191 ราย และได้อนุมัติให้ดำเนินการแล้ว 81 ราย เป็นโรงงานเอกชน 79 ราย และเป็นโรงงานส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ 2 ราย เป็นเงิน 8.1 ล้านบาท
1.3 โครงการโรงงานและอาคารที่อยู่ระหว่างการออกแบบหรือก่อสร้าง
คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2541 (ครั้งที่ 16) มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการโครงการโรงงานและอาคารที่อยู่ระหว่างการออกแบบหรือก่อสร้างปี 2542 ตามที่ พพ. เสนอ
2. คณะอนุกรรมการกำกับดูแลโครงการอาคารของรัฐ
คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2541 (ครั้งที่ 15) เมื่อวันพุธที่ 14 ตุลาคม 2541 ได้มีมติเกี่ยวกับโครงการอาคารของรัฐ ระยะที่ 2 โดยเห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติการโครงการอาคารของรัฐ ระยะที่ 2 และอนุมัติให้ พพ. ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามแผนดังกล่าวฯ ในปีที่ 1 และอนุมัติเงินกองทุนฯ ให้ พพ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามแผนฯ ปีที่ 1 ในวงเงิน 592,920,000 บาท และให้ พพ. ปรับแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 ตามผลการประเมินโครงการฯ ของ สพช. และเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการในระยะที่ 2 ปีที่ 2 ต่อไป
คณะอนุกรรมการฯ ได้อนุมัติค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2542 ไปแล้วรวมเป็นเงิน 27,365,850 บาท เพียง ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2541 โดยแยกเป็น
1) ค่าใช้จ่ายเพื่อว่าจ้างตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงาน จำนวน 135 แห่ง เป็นเงินรวม 13,252,500 บาท
2) ค่าใช้จ่ายเพื่อว่าจ้างบริหารงานการตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงาน จำนวน 200 แห่ง เป็นเงินรวม 9,315,000 บาท
3) ค่าบริหารและประสานงานโครงการ เป็นเงินรวม 4,798,350 บาท
3. คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคความร่วมมือ
คณะอนุกรรมการฯ และคณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติโครงการภายใต้แผนงานภาคความร่วมมือ จำนวนทั้งสิ้น 63 โครงการ รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 1,323 ล้านบาท โดยแยกเป็น
โครงการที่ได้รับการอนุมัติในปีงบประมาณ | ||||||||
โครงการ | 2538-2540 | 2541 | 2542 | รวม | ||||
ราย | ล้านบาท | ราย | ล้านบาท | ราย | ล้านบาท | ราย | ล้านบาท | |
พลังงานหมุนเวียนฯ | 5 | 146.123819 | 3 | 380.3705 | - | - | 8 | 526.494319 |
ส่งเสริมธุรกิจฯ | 2 | 8.63876 | 3 | 332.88 | 1 | 80.00 | 6 | 421.51876 |
ศึกษาวิจัยฯ | 16 | 72.298352 | 23 | 213.568479 | 10 | 89.195473 | 49 | 375.062304 |
รวม | 23 | 227.060931 | 29 | 926.818979 | 11 | 169.195473 | 63 | 1323.075383 |
มีโครงการที่ได้ดำเนินงานเสร็จสมบูรณ์ตามแผนงานแล้ว จำนวน 12 โครงการ ดังนี้
1) โครงการส่งเสริมแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 1: ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ในวงเงิน 22,401,439 บาท
2) โครงการส่งเสริมแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 2 : เกษตรกรรายย่อย ในวงเงิน 10,653,200 บาท
3) โครงการประหยัดพลังงานในการบ่มใบยาสูบ ในวงเงิน 10,637,400 บาท
4) โครงการสาธิตระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย ในวงเงิน 4,774,000 บาท
5) โครงการวิจัยประยุกต์ประกอบการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน ในวงเงิน 2,555,000 บาท
6) โครงการศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้า ในวงเงิน 27,700,000 บาท
7) โครงการสาธิตวิธีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารห้องสมุด ในวงเงิน 100,000 บาท
8) โครงการทดสอบอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ระบบ STAC ในวงเงิน 300,000 บาท
9) โครงการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมเพื่อช่วยในการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานจากข้อมูลที่ใช้ประเมินค่า OTTV และ RTTV ตามพรบ.เพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในวงเงิน 4,252,000 บาท
10) โครงการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน ในวงเงิน 2,983,300 บาท
11) โครงการจัดทำแผนโครงการสวนพลังงาน (Energy Park) ในวงเงิน 300,000 บาท
12) โครงการจัดสรรทรัพยากรเครือข่ายสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ในวงเงิน 81,000 บาท
สพช. ได้ดำเนินการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้ทำการประเมินผลโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โดยครอบคลุมถึงความสามารถในการประหยัดพลังงาน ความเหมาะสมของเทคโนโลยี และเงินลงทุน ณ ปัจจุบันนี้มีโครงการที่ยื่นขอรับการสนับสนุนไว้กับ สพช. ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาให้การสนับสนุนอีก จำนวน 16 โครงการ คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 7,985 ล้านบาท
4. คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานสนับสนุน
4.1 โครงการพัฒนาบุคลากร มีโครงการได้รับการสนับสนุนจากเงินกองทุนฯ แล้ว จำนวน 6 โครงการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 349.3 ล้านบาท เพียง ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2541 ดังนี้
หน่วย:ล้านบาท
โครงการ | 2539 | 2540 | 2541 | รวม |
1) การพัฒนาหลักสูตรและ | 9.78 | 44.29 | 161.35 | 215.42 |
คู่มือการฝึกอบรมด้านอนุรักษ์พลังงาน | ||||
2) การฝึกอบรมบุคลากรระยะสั้นในประเทศ | 5.50 | 20.14 | 11.17 | 36.81 |
3) การส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมและ | 9.34 | 6.27 | 1.93 | 17.54 |
ดูงานระยะสั้นในต่างประเทศ | ||||
4) การส่งบุคลากรเข้ารับการศึกษา | 25.22 | 4.54 | 41.22 | 70.98 |
ระดับอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ | ||||
5) การให้ทุนวิจัยและพัฒนาแก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา | - | 1.14 | 4.97 | 6.12 |
6) อื่นๆ | - | 2.22 | 0.20 | 3.42 |
รวม | 49.84 | 78.6 | 220.85 | 349.3 |
4.2 โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีโครงการได้รับการสนับสนุนจากเงินกองทุนฯ แล้ว รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 655.56 ล้านบาท เพียง ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2541 ดังนี้
โครงการประชาสัมพันธ์ | 2538 | 2539 | 2540 | 2541 | รวม | |||
รายการ | จำนวนเงิน | รายการ | จำนวนเงิน | รายการ | จำนวนเงิน | รายการ | จำนวนเงิน | |
สำหรับประชาชนทั่วไป โดย สพช. |
10 | 210.14 | 11 | 49.68 | 53 | 190.6 | 74 | 450.42 |
สำหรับโรงงานควบคุม อาคารควบคุม อาคารของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดย พพ. | - | 40.59 | 18 | 75.65 | 21 | 88.9 | 39 | 205.14 |
รวม | 10 | 250.73 | 29 | 125.33 | 74 | 279.5 | 113 | 655.56 |
มติที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เลขานุการฯ แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ การประชุมครั้งที่ 3/2539 (ครั้งที่ 10) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2539 ได้มีมติให้ คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคความร่วมมือ คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานสนับสนุน คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับ และคณะอนุกรรมการกำกับดูแลโครงการอาคารของรัฐ มีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยในการยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามนัยข้อ 75 และข้อ 76 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำหรับโครงการที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการแต่ละชุดได้ตามที่เห็นสมควร และแจ้งให้คณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อทราบต่อไปนั้น คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานสนับสนุนและคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคความร่วมมือ ได้พิจารณาวินิจฉัยในการยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามนัยข้อ 75 และข้อ 76 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำหรับโครงการที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการฯ ไปแล้ว จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานสนับสนุน ในการประชุมครั้งที่ 9/2541 (ครั้งที่ 49) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2541 ได้อนุมัติให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พพ.) ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาในการตรวจสอบการดำเนินงานตาม พรบ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ในอาคารควบคุมและโรงงานควบคุม โดยเบิกจ่ายจากเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โครงการบริหารงานตามกฎหมาย สำหรับปีงบประมาณ 2541 โดยยกเว้นการปฏิบัติตามนัยข้อ 75 และข้อ 76 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้ตามที่ พพ. เสนอมา
2) คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานสนับสนุน ได้พิจารณาตามหนังสือเวียนขอความเห็นชอบคณะอนุกรรมการฯ ด่วนที่สุด ที่ นร 0905/ว 1530 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2541ได้อนุมัติให้สำนักงาน คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาของ สพช. เรื่องโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า โดยเบิกจ่ายจากเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โครงการบริหารงานตามกฎหมายสำหรับปีงบประมาณ 2542 โดยยกเว้นการปฏิบัติตามนัยข้อ 75 และข้อ 76 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้ตามที่ สพช. เสนอมา
3) คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคความร่วมมือ ในการประชุมครั้งที่ 9/2541 (ครั้งที่ 25) เมื่อวันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 2541 ได้มีมติอนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาในโครงการศึกษาแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยใช้เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน แผนงานภาคความร่วมมือ โครงการศึกษาวิจัย และพัฒนา โดยยกเว้นการปฏิบัติตามนัยข้อ75 และข้อ 76 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้ ตามที่ สพช. เสนอมา
มติที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 4 คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับ
เลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึง คำสั่งคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่ 3/2541 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับ ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2541 กำหนดให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (นายพรเทพ เตชะไพบูลย์) เป็นประธานอนุกรรมการ และผู้แทนกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเป็นอนุกรรมการและเลขานุการฯ ซึ่งเลขานุการฯ ได้แจ้งให้อนุกรรมการและเลขานุการฯ ทราบถึงคำสั่งดังกล่าวแล้ว
มติที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 5 โครงการจัดซื้ออาคารถาวรเพื่อจัดทำโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงาน ของ สพช.
เลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ตามที่คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในการประชุมครั้งที่ 3/2541 (ครั้งที่ 15) เมื่อวันพุธที่ 14 ตุลาคม 2541 ได้มีมติอนุมัติงบประมาณให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออาคารถาวรของ สพช. ภายในวงเงิน 450 ล้านบาท สพช. ได้ดำเนินการจัดซื้ออาคารถาวรดังกล่าวแล้ว โดยปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งการดำเนินการจัดซื้ออยู่ระหว่างการตกลงราคาที่จะซื้อขายอาคารกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ เอฟ ซี ที ไฟแนนซ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นอาคารที่ออกแบบและก่อสร้างเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานโดยแท้จริง เหมาะสมเป็นที่ทำงานและสาธิตเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานสำหรับอาคารสำนักงาน
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ เอฟ ซี ที ฯ ถูกกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมกิจการ โดยอยู่ระหว่างการควบรวมเป็นสถาบันการเงินเดียวกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) (KTT) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อื่นๆ และสหธนาคารฯ โดยมีการเสนอที่จะซื้อขายในราคาเบื้องต้น 270 ล้านบาท ซึ่งราคาดังกล่าวได้รวมค่าธรรมเนียมการโอน และค่าภาษีต่างๆ ไว้ทั้งหมดแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการขออนุมัติราคาขายขั้นสุดท้ายจากคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้แจ้งแนวทางดำเนินการในเรื่องดังกล่าวให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ เอฟ ซี ที ฯ ทราบแล้ว และขอให้ สพช. ติดต่อขอทราบราคาที่แน่นอนไปยังบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ เอฟ ซี ที ฯ ต่อไป ซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ เอฟ ซี ที ฯ ได้ประชุมเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2542 ให้โอนควบรวมกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ KTT โดยจะโอนทรัพย์สินทั้งหมดของ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ เอฟ ซี ที ฯ ไปเป็นของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ KTT ภายในสิ้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2542 และ สพช. จะได้รับผลสรุปที่ชัดเจนในต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 นี้
สพช. มีความเห็นว่าอาคารของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ เอฟ ซี ที ฯ มีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นสำนักงานของ สพช. พร้อมทั้งเป็นที่สาธิตการออกแบบและเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานสำหรับอาคารสำนักงาน และควรนำพื้นที่ชั้นล่างไว้ใช้เป็นศูนย์สาธิตการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับโครงการสาธิตเทคโนโลยีประสิทธิภาพพลังงานที่เสนอโดยสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ อนุมัติเงินกองทุนฯ ให้ดำเนินการโครงการดังกล่าวแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์ต่อแผนงานอนุรักษ์พลังงานโดยรวม และประหยัดงบประมาณของกองทุนฯ ได้อีกส่วนหนึ่งด้วย โดย สพช. จะใช้อาคารดังกล่าวเพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
2.1 เพื่อใช้เป็นอาคารสำนักงานถาวรของ สพช. และใช้ในการสาธิตเทคโนโลยีและวิธีการอนุรักษ์พลังงานสำหรับผู้ใช้อาคารสำนักงานทั่วไป
2.2 เพื่อใช้เป็นศูนย์สาธิตการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ กรุงเทพมหานคร โดยมีสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินโครงการฯ เพื่อทำหน้าที่รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงานและนำไปปฏิบัติให้เกิดผลในการอนุรักษ์พลังงาน
2.3 เพื่อใช้เป็นศูนย์ประชาสัมพันธ์โครงการรวมพลังหารสอง ของ สพช. ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับโครงการ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ
2.4 เพื่อเป็นสถานที่ทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนภายใต้โครงการขบวนการหาร 2 ที่ได้ทำกิจกรรมรณรงค์ให้เพื่อนเยาวชนหันมาประหยัดพลังงานแล้วตั้งแต่ปี 2541
2.5 เพื่อใช้เป็นศูนย์การศึกษา ฝึกอบรม และการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานหมุนเวียน สำหรับ สพช. และหน่วยงานอื่นๆ ที่ประสงค์จะใช้สถานที่
2.6 เพื่อใช้เป็นศูนย์ข้อมูลที่ใช้ในการค้นคว้า วิจัย การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา และส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและวางแผนพลังงาน
สพช. จึงได้จัดประชุมร่วมกันระหว่างคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานสนับสนุน ในการประชุมครั้งที่ 1/2542 (ครั้งที่ 52) และคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคความร่วมมือ ในการประชุมครั้งที่ 2/2542 (ครั้งที่ 27) เมื่อวันอังคารที่ 26 มกราคม 2542 เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว แล้วมีมติเห็นชอบให้ สพช. จัดซื้ออาคารถาวรเพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ตามมาตรา 25 แห่ง พรบ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และให้ สพช. นำเงินส่วนที่เหลือจากการซื้ออาคาร ไปเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอาคารดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ด้วย ในวงเงิน 350 ล้านบาท และเห็นชอบให้สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับการจัดสรรเงินกองทุนฯ จากแผนงานภาคความร่วมมือ มาใช้พื้นที่ของอาคารเพื่อจัดตั้งศูนย์สาธิตเทคโนโลยีประสิทธิภาพพลังงานด้วย
มติที่ประชุม
1. อนุมัติเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน แผนงานสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ 2542 ให้ สพช. เพื่อดำเนินการจัดซื้ออาคารถาวรเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารงาน และเป็นอาคารสาธิตเทคโนโลยีพลังงาน รวมถึงดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้และการอนุรักษ์พลังงาน ภายในวงเงิน 350 ล้านบาท (สามร้อยห้าสิบล้านบาทถ้วน) เพื่อใช้อาคารดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.1 เพื่อใช้เป็นอาคารสำนักงานถาวรของ สพช. และใช้ในการสาธิตเทคโนโลยีและวิธีการอนุรักษ์พลังงานสำหรับผู้ใช้อาคารสำนักงานทั่วไป
1.2 เพื่อใช้เป็นศูนย์สาธิตการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ กรุงเทพมหานคร โดยมีสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นผู้เพื่อดำเนินโครงการฯ ตามที่ได้รับอนุมัติแล้วจากคณะกรรมการกองทุนฯ และทำหน้าที่รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงานและนำไปปฏิบัติให้เกิดผลในการอนุรักษ์พลังงาน
1.3 เพื่อใช้เป็นศูนย์ประชาสัมพันธ์โครงการรวมพลังหารสอง ของ สพช. ที่ได้รับการอนุมัติแล้วจากคณะกรรมการกองทุนฯ ซึ่งทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ
1.4 เพื่อเป็นสถานที่ทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนภายใต้โครงการขบวนการหาร 2 ที่ได้ทำกิจกรรมรณรงค์ให้เพื่อนเยาวชนหันมาประหยัดพลังงานตั้งแต่ปี 2541
1.5 เพื่อใช้เป็นศูนย์การศึกษา ฝึกอบรม และการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานหมุนเวียน
1.6 เพื่อใช้เป็นศูนย์ข้อมูลที่ใช้ในการค้นคว้า วิจัย การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา และ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและวางแผนพลังงาน
2. อนุมัติให้ สพช. นำเงินส่วนที่เหลือจากการซื้ออาคารในข้อ 1 ไปเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอาคารดังกล่าว เพื่อให้อาคารสามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมของโครงการเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้ตามวัตถุประสงค์ในข้อ 1.1-1.6
เรื่องที่ 6 โครงการศึกษาเรื่องการกำหนดโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าและการจัดตั้ง ตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า
เลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 เห็นชอบแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อใช้เป็นกรอบในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ในสาขาที่สำคัญ 4 สาขา ประกอบด้วยสาขาโทรคมนาคม สาขาขนส่ง สาขาประปา และสาขาพลังงาน ซึ่งแผนแม่บทสาขาพลังงานดังกล่าวได้กำหนดกรอบในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้า โดยส่งเสริมให้มีการแข่งขันในกิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า กำหนดให้ กฟผ. แปลงสภาพโรงไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่จัดตั้งเป็นบริษัท จำกัด และลดสัดส่วนการถือหุ้นของ กฟผ. ในบริษัทผลิตไฟฟ้าลง เพื่อให้พ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจภายในปี 2544 จะได้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมในกิจการผลิตไฟฟ้า โดยผู้ผลิตไฟฟ้าจะซื้อขายไฟฟ้าผ่านตลาดซึ่งจะมีการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า (Wholesale Power Pool) ในปี 2546 และจะมีการจัดตั้งบริษัทระบบส่งไฟฟ้าแรงดันสูง (Transmission Company) และจัดตั้งหน่วยงานควบคุมระบบอิสระ (Independent System Operator) เพื่อทำหน้าที่สั่งการผลิตไฟฟ้า ซึ่งทั้งสองบริษัทจะต้องไม่มีโรงไฟฟ้าเป็นของตัวเอง เพื่อทำหน้าที่อย่างอิสระ โดยมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ (Independent Regulator) เป็นผู้กำกับดูแลบริษัทระบบส่งไฟฟ้า เพื่อให้มีการบริการระบบส่งไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและในราคาที่เป็นธรรม
คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคความร่วมมือ ในการประชุมครั้งที่ 1/2542 (ครั้งที่ 26) เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2542 ได้พิจารณาโครงการศึกษาเรื่องการกำหนดโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า ที่เสนอขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้การสนับสนุนโครงการฯ และให้นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติต่อไป
สพช. จะทำการศึกษาโครงการดังกล่าว โดยการจ้างผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย การจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า การให้คำปรึกษาในกิจกรรมของหน่วยต่างๆ ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า เช่น การผลิต ระบบส่ง ระบบจำหน่าย และการจัดจำหน่าย โดยเฉพาะการวางกฎเกณฑ์และนโยบายเพื่อเพิ่มการแข่งขัน และการกำกับดูแลการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ การปรับโครงสร้างและแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การให้คำปรึกษาด้านการเงินแก่หน่วยงานรัฐบาลในการทำการแปรรูป และรวมถึงประสบการณ์ในการขายหุ้นให้แก่พันธมิตรร่วมทุนด้วย โดย สพช. จะทำการคัดเลือกตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ซึ่งข้อ 75 และข้อ 76 กำหนดให้ส่วนราชการจ้างที่ปรึกษาไทยเป็นหลัก แต่เนื่องจากงานในลักษณะนี้ที่ปรึกษาในประเทศไทย อาจจะยังมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการกำหนดโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าไม่เพียงพอ สพช. จึงขอดำเนินการจ้างที่ปรึกษาดังกล่าว โดยขอยกเว้นการปฏิบัติตามนัยข้อ 75 และข้อ 76 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สพช. จะทำการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งจัดสัมมนาและทำประชาพิจารณ์ผลการศึกษาการกำหนดรูปแบบโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้า การกำหนดรายละเอียด เป็นระยะๆ ทั้งในเรื่องกฎเกณฑ์ กติกา เพื่อให้สามารถนำไปสู่การแข่งขันในกิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์เมื่อแล้วเสร็จ สพช. จะนำเสนอขออนุมัติจากรัฐบาลให้มีผลในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นอาจจะนำเสนอขออนุมัติจากรัฐบาลในบางเรื่องตามความเหมาะสมของสถานการณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้าด้วย
มติที่ประชุม
1. อนุมัติเงินจากกองทุนฯ แผนงานภาคความร่วมมือ โครงการศึกษา วิจัยและพัฒนาให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการศึกษาเรื่องการกำหนดโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า ในวงเงิน 113,793,560 บาท (หนึ่งร้อยสิบสามล้านเจ็ดแสนเก้าหมื่นสามพันห้าร้อยหกสิบบาทถ้วน)
2. อนุมัติให้ สพช. ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาในโครงการศึกษาเรื่องการกำหนดโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า โดยยกเว้นการปฏิบัติตามนัยข้อ 75 และข้อ 76 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในการประชุม ครั้งที่ 2/2540 (ครั้งที่ 12) เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2540 ได้มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการโครงการโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่กำลังใช้งาน (ในส่วนของโรงงานควบคุม) ระหว่างปี 2541-2546 ในวงเงินงบประมาณ 10,905.6 ล้านบาท และได้อนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายตามแผนฯ (ในส่วนของโรงงานควบคุมปี 2541 ในวงเงิน 11.1 ล้านบาท โดยให้ พพ. ปรับแผนค่าใช้จ่ายเพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายเป็นรายปี
จากผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ในปี 2541 ของ พพ. นั้น พพ. ได้พิจารณาเห็นชอบและอนุมัติค่าใช้จ่ายสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้นให้กับโรงงานควบคุมไปแล้ว จำนวน 49 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 4.9 ล้านบาท ดังนั้นในปีงบประมาณ 2542 พพ. ได้ดำเนินการปรับแผนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการโครงการโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่กำลังใช้งาน (ในส่วนของโรงงานควบคุม) ในปีงบประมาณ 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง โดยการจัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานของโรงงานควบคุม เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 267.5 ล้านบาท เสนอต่อคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับ ในการประชุมครั้งที่ 3/2541 (ครั้งที่ 3) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2541 ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบในแผนปฏิบัติการฯ ตามที่ พพ. เสนอ และให้ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอคณะกรรมการกองทุนเพื่อพิจารณา
มติที่ประชุม
อนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่กำลังใช้งาน (ในส่วนของโรงงานควบคุม) ประจำปี 2542 ในวงเงินทั้งสิ้น 267.5 ล้านบาท ตามมติของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับ
เรื่องที่ 8 แผนปฏิบัติการโครงการโรงงานและอาคารที่อยู่ระหว่างการออกแบบ หรือก่อสร้าง ปี 2542
เลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนแก่อาคารควบคุมที่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในรูปของเงินช่วยเหลือให้เปล่า ในการปรับปรุงและสมทบเพื่อปรับปรุงอาคารที่อยู่ระหว่างการออกแบบหรือก่อสร้าง และคณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2542 (ครั้งที่ 16) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2541 ได้มีมติมอบอำนาจให้คณะกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับสามารถอนุมัติเงินกองทุนฯ สนับสนุนให้แก่โครงการที่มีวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท และพิจารณากลั่นกรองโครงการที่มีวงเงินตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติต่อไป
มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นอาคารควบคุมส่วนราชการที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ของคณะเกษตรศาสตร์ โดยตามแบบเดิมระบบไฟฟ้าแสงสว่างได้ถูกออกแบบให้ใช้โคมไฟและบัลลาสต์ขดลวดแบบธรรมดาที่ใช้ในอาคารทั่วไป มีค่ากำลังไฟฟ้าส่องสว่าง 12.98 วัตต์/ตารางเมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ตามที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ (16 วัตต์/ตารางเมตร) จึงมีความประสงค์ที่จะทำการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่าง โดยเปลี่ยนจากโคมไฟธรรมดาเดิม จำนวน 1,639 โคม ไปเป็นโคมไฟที่ติดตั้งแผ่นเคลือบสารสะท้อนแสง และเปลี่ยนจากบัลลาสต์ขดลวดธรรมดามาเป็นบัลลาสต์ Low Watt Loss โดยใช้เงินลงทุนในการปรับปรุงทั้งหมดเป็นเงิน 2,060,629 บาท แต่เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีเงินงบประมาณเดิมอยู่แล้วจำนวน 740,898.50 บาท มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างของอาคารเรียนหลังใหม่ของคณะเกษตรศาสตร์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เป็นเงิน 1,319,730 บาท ซึ่งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับในการประชุมครั้งที่ 3/2541 (ครั้งที่ 3) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2541 ได้พิจารณาแล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบสนับสนุนเงินกองทุนฯ เป็นกรณีพิเศษให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับลงทุนปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างตามแบบที่ปรับปรุงใหม่ของอาคารคณะเกษตรศาสตร์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวงเงิน 1,319,730 โดยให้ใช้เงินจากโครงการโรงงานและอาคารที่อยู่ระหว่างการออกแบบหรือก่อสร้าง ที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้จัดสรรค่าใช้จ่ายไว้แล้วในแผนงานอนุรักษ์พลังงาน สำหรับปี 2542 เป็นเงิน 378 ล้านบาท
2. เห็นชอบให้ พพ. จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการโรงงานและอาคารที่อยู่ระหว่างออกแบบหรือก่อสร้าง ปี 2542 ในวงเงินงบประมาณ 180 ล้านบาท โดยให้ใช้เงินจากโครงการโรงงานและอาคารที่อยู่ระหว่างการออกแบบหรือก่อสร้าง ที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้จัดสรรค่าใช้จ่ายไว้แล้วในแผนงานอนุรักษ์พลังงาน สำหรับปี 2542 เป็นเงิน 378 ล้านบาท
มติที่ประชุม
1. อนุมัติแผนปฏิบัติการโครงการโรงงานและอาคารที่อยู่ระหว่างการออกแบบหรือก่อสร้าง ปี 2542 โดยใช้เงินกองทุนฯ แผนงานภาคบังคับ โครงการโรงงานและอาคารที่อยู่ระหว่างการออกแบบหรือก่อสร้าง ภายในวงเงิน 180 ล้านบาท
2. อนุมัติเงินกองทุนฯ แผนงานภาคบังคับ โครงการโรงงานและอาคารที่อยู่ระหว่างออกแบบหรือก่อสร้าง ให้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น สำหรับเป็นเงินช่วยเหลือให้เปล่าในการลงทุนปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างตามแบบที่ปรับปรุงใหม่ของอาคารคณะเกษตรศาสตร์ ในวงเงิน 1,319,730 บาท (หนึ่งล้านสามแสนหนึ่งหมื่นเก้าพันเจ็ดร้อยสามสิบบาทถ้วน)
3. อนุมัติให้คณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานภาคบังคับมีอำนาจอนุมัติเงินกองทุนฯ แผนงานภาคบังคับ โครงการโรงงานและอาคารที่อยู่ระหว่างการออกแบบหรือก่อสร้าง สำหรับเป็นเงินช่วยเหลือให้เปล่าแก่อาคารที่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมและมีความประสงค์จะปรับปรุงแบบและลงทุนตามแบบที่ปรับปรุงใหม่ในกรณีเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2540 (ครั้งที่ 11) เมื่อวันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม 2540 ได้มีมติ
1. อนุมัติให้ผู้ที่ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศที่ไม่ได้ใช้ในราชอาณาจักร ไม่มีหน้าที่ต้องเสียเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตามความในมาตรา 35 และมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และให้กองทุนฯ จ่ายเงินคืนแก่ผู้ค้าน้ำมัน ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันจ่ายเกินอันเนื่องจากการคำนวณผิดพลาด ในกรณีเติมสาร additive และในกรณีเงินที่ผู้ค้าน้ำมันส่งเข้ากองทุนฯ ในส่วนของน้ำมันคุณภาพไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากไม่มีสิทธิเรียกเก็บตามกฎหมาย
2. ให้กระทรวงการคลังแก้ไขระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยมอบอำนาจให้แก่กรมศุลกากรและกรมสรรพสามิตเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบรับรองความถูกต้องของเอกสารของการจ่ายคืนเงินที่ส่งเข้ากองทุนฯ และให้เบิกจ่ายจากกองทุนฯ ได้โดยตรง
3. อนุมัติจ่ายคืนเงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ให้บริษัทสยามสหบริการ จำกัด (มหาชน) ตามที่บริษัทฯ ได้ส่งเข้ากองทุนฯ ตามมาตรา 35 และมาตรา 36 โดยให้มีผลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา
กรมบัญชีกลางได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0526.9/2519 ลงวันที่ 28 กันยายน 2541 เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานว่าด้วย การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินและการเบิกจ่ายเงินกองทุน พ.ศ. 2537 ข้อ 9 กำหนดว่า "เงินกองทุนนี้ให้จ่ายได้ตามวัตถุประสงค์ เพื่อกิจการตามนัยมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติ ตามมติคณะกรรมการกองทุน..." ซึ่งการเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ เพื่อคืนให้แก่ผู้ค้าน้ำมันที่ผ่านมา กรมบัญชีกลางได้เบิกจ่ายตามมติคณะกรรมการกองทุนฯ ดังนั้นในการนี้หากคณะกรรมการกองทุนฯ มีมติมอบอำนาจให้กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบรับรองความถูกต้องของเอกสารการจ่ายคืนเงินที่ส่งเข้ากองทุนฯ โดยให้กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต เป็นผู้เบิกเงินจากกรมบัญชีกลางเพื่อนำไปจ่ายให้กับผู้ค้าน้ำมันโดยตรง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2541 เป็นต้นไปนั้น กรมบัญชีกลางก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไขระเบียบดังกล่าว
สพช. ได้แจ้งเรื่องการมอบอำนาจดังกล่าวให้กรมศุลกากรและกรมสรรพสามิตทราบ ตามลำดับ และเพื่อให้การเบิกจ่ายเงินคืนให้กับผู้ค้าน้ำมันดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว สพช. ได้ให้กรมศุลกากรและกรมสรรพสามิตพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องมีเงินเพื่อทดรองจ่ายสำหรับการดำเนินการดังกล่าว พร้อมทั้งประมาณการวงเงินที่คาดว่าจะต้องมีไว้เพื่อทดรองจ่าย แล้วแจ้งให้ สพช. ทราบ กรมศุลกากรได้แจ้งความประสงค์ในการขอเบิกเงินจากกองทุนฯ เพื่อนำไปทดรองจ่ายคืนแก่ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว ในวงเงิน 8,000,000 บาท (แปดล้านบาทถ้วน) และกรมสรรพสามิตได้แจ้งความประสงค์ในการขอเบิกเงินจากกองทุนฯ เพื่อนำไปทดรองจ่ายคืนแก่ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงฯ ในวงเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน)
มติประชุม
1. มอบอำนาจให้กรมศุลกากรและกรมสรรพสามิตเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบรับรองความถูกต้องของเอกสารการจ่ายคืนเงินที่ส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศที่ไม่ได้ใช้ในราชอาณาจักร นำส่งไว้เกินหรือไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 โดยให้กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต เป็นผู้เบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง เพื่อนำไปจ่ายให้กับผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงฯ โดยตรง
2. อนุมัติเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้แก่ กรมศุลกากร เพื่อทดรองจ่ายคืนให้ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงฯ ในวงเงิน 8,000,000 บาท ตามที่กรมศุลกากรเสนอมา
3. อนุมัติเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้แก่ กรมสรรพสามิต เพื่อทดรองจ่ายคืนให้ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงฯ ในวงเงิน 5,000,000 บาท ตามที่กรมสรรพสามิตเสนอมา
เลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าตามที่คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในการประชุมครั้งที่2/2540 (ครั้งที่12)เมื่อวันจันทร์ ที่ 6 ตุลาคม 2540 ได้เห็นชอบแผนแม่บทโครงการพัฒนาบุคลากรปี 2541-2543 ในวงเงิน 1,144.8 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยหมวดการพัฒนาหลักสูตร สื่อการสอน แบบเรียน คู่มือ และเครื่องมือที่ใช้ประกอบการฝึกอบรมการทํางานและห้องปฏิบัติการปีงบประมาณ 2541-2543 ในวงเงิน 624 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนการสอนเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในระดับอุดมศึกษา ในวงเงิน 189 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานสนับสนุน ได้อนุมัติเงินกองทุนฯ แผนงานสนับสนุน สำหรับโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในระดับอุดมศึกษา ดังนี้
การประชุม | โครงการ | หน่วยงาน | จำนวนเงิน (บาท) |
คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2541 (ครั้งที่ 14) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม 2541 |
โครงการร่วมในการผลิตบัณฑิตศึกษาและพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
ระยะเวลาโครงการ 5 ปี 2541 - 35,940,000 2542 - 38,320,000 2543 - 25,720,000 (2544 - 24,190,000) (2545 - 21,570,000) |
คณะอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 7/2541 (ครั้งที่ 17) มื่อวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2541 |
โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในระดับอุดมศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 4 มหาวิทยาลัย โดยแต่ละมหาวิทยาลัยมีงบประมาณไม่เกิน 5 ล้านบาท |
มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
2,030,000 2,600,000 850,000 2,729,000 |
คณะกรรมการกองทุนฯในการประชุมครั้งที่ 3/2541 (ครั้งที่ 15) เมื่อวันพุธที่ 14 ตุลาคม 2541 |
ส่งเสริมการเรียนการสอนเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในระดับอุดมศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 3 มหาวิทยาลัย โดยแต่ละมหาวิทยาลัยมีงบประมาณเกิน 5 ล้านบาท |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย |
5,960,000 12,000,000 5,566,000 |
รวมงบประมาณ 2541-2543 | 131,745,000 |
สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 8 สถาบัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในวงเงิน 233,242,000 บาท เสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ซึ่งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแผนงานด้านสนับสนุนในการประชุมครั้งที่ 1/2542 (ครั้งที่5) เมื่อวันอังคารที่ 26 มกราคม 2542 ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นควรให้ปรับลดวงเงินลง เนื่องจากงบประมาณโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องการอนุรักษ์พลังงานในระดับอุดมศึกษา ปี 2541-2543 ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติจัดสรรไว้ในวงเงิน 189 ล้านบาท นั้น ได้อนุมัติไปแล้วเป็นเงิน 131,745,000 บาท ซึ่งหากรวมงบประมาณที่ได้อนุมัติให้โครงการร่วมในการผลิตบัณฑิตศึกษาและพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม ปี 2544-2545 จะทำให้วงเงินงบประมาณตามแผนได้อนุมัติไปจนเต็มจำนวน จึงทำให้ไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะให้การสนับสนุนโครงการฯ ที่เสนอโดยสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะอนุกรรมการฯ กำกับดูแลแผนงานสนับสนุน จึงมีมติเห็นชอบให้ขยายวงเงินแผนแม่บทโครงการพัฒนาบุคลากร ปี 2542-2543 โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนเกี่ยวการอนุรักษ์พลังงานในระดับอุดมศึกษา โดยให้ปรับลดวงเงินลง 103,229,000 บาท คงเหลือวงเงินที่ให้ขยายเพิ่ม 130,013,000 บาท เพื่อให้การสนับสนุนโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในระดับอุดมศึกษาด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ และให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
มติที่ประชุม
เห็นชอบให้ สพช. ขยายวงเงินแผนแม่บทโครงการพัฒนาบุคลากร ปี 2542-2543 โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในระดับอุดมศึกษาเพิ่ม ในวงเงิน 130,013,000 บาท (หนึ่งร้อยสามสิบล้านหนึ่งหมื่นสามพันบาทถ้วน) เพื่อให้การสนับสนุนโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในระดับอุดมศึกษา