• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับองค์กร
    • เกี่ยวกับองค์กร
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และหน้าที่
    • โครงสร้างองค์กร
    • ติดต่อเรา
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ผังเว็บไซต์

    ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง

    • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • วิสัยทัศน์และนโยบายต่างๆ
    • การบริหารงานด้าน ICT
    • ข่าวสารจากซีไอโอ
    • ปฏิทินกิจกรรมซีไอโอ
  • นโยบายและแผน
    • คำแถลงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล
    • นโยบายด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
    • แผนแม่บทพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • แผนปฏิบัติราชการรายปี และแผนปฎิบติราชการระยะ 5 ปี

    แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB)

    • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
    • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
    • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
    • แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
    • แผนจัดหาก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)

    การติดตามและประเมินผล

    • รายงานผลการประเมินดัชนีชี้วัดด้านพลังงานของประเทศไทย
    • รายงานความก้าวหน้าตามแผนปฏิบัติราชการ
    • รายงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
    • การดำเนินงานด้านพลังงานของ สนพ.
    • โครงการภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • การดำเนินงานตามมติ กพช.

    ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    • สหประชาชาติ

      • กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (UNFCCC)
      • การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP)
      • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

        • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
        • Joint Implementation (JI)
        • Emission Trading (ET)
        • Clean Development Mechanism (CDM)
        • Paris Agreement Adopted
        • Bali Action Plan

          • Bali Action Plan
          • AWG-LCA
          • NAMAS
          • Sectoral Approach : SA
          • MRV
          • AWG-KP
          • Concun Agreement
          • ประเทศไทย

            • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2550
            • คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
            • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
            • แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
            • แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564
            • ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2551-2555
            • กระทรวงพลังงาน

              • คณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ
              • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
              • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
              • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
              • อภิธานศัพท์
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
    • พระราชบัญญัติ / พระราชกำหนด
    • คำสั่งนายกรัฐมนตรี
    • กฏกระทรวง
    • มติ ครม.ด้านพลังงาน
    • คำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้อง กับ สนพ.
    • ประกาศ/คำสั่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • การจัดทำสรุปสาระสำคัญและคำแปลกฎหมาย
    • การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
  • คณะกรรมการ/อนุกรรมการ
    • คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
    • คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
    • คณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม
    • คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)

    คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)

    • มติ
    • คำสั่ง
    • ประกาศ

    คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

    • มติ
    • คำสั่ง
    • ประกาศ

    คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กทอ.)

    • คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณกองทุนฯ
    • คณะอนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
    • มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • มติคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
  • บริการข้อมูลข่าวสาร
    • สถานการณ์พลังงาน
    • วารสารนโยบายพลังงาน
    • รายงานประจำปี
    • รายงานสถิติพลังงานประจำปี
    • รายงานผลการศีกษานโยบายพลังงาน
    • จดหมายข่าวอนุรักษ์พลังงาน
    • ข่าว สนพ.
    • ข่าวพลังงาน
    • ประชาสัมพันธ์
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศรับสมัครงาน
    • ห้องสมุด สนพ.
    • INFOGRAPHIC
    • FAQ
    • บริการประชาชน
    • ธรรมบาลข้อมูล

    เอกสารเผยแพร่ / หนังสือ / สาระน่ารู้

    • เอกสารเผยแพร่
    • หนังสือ
    • สาระน่ารู้
  • การกำกับดูแลองค์กร
    • การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
    • แผนปฏิบัติการดิจิทัล ของ สนพ.
    • ศูนย์ประสานราชการใสสะอาด
    • ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาค ระหว่างหญิงชาย
    • ศูนย์บริการร่วม
    • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
    • ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
    • กลุ่มงานจริยธรรม
    • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    การพัฒนาระบบบริหาร

    • นโยบายการกำกับองค์กรที่ดี
    • กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ
    • คำรับรองการปฏิบัติราชการ (KPI)
    • การควบคุมภายใน
    • การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
    • มาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงาน
    • แผนปฏิรูปองค์การ
    • การแบ่งส่วนราชการภายในกรม
    • ITA

      • ITA 2565
      • ITA 2566

    สรุปผลการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง

    • งบประมาณ
    • กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
วันอังคาร, 05 กรกฎาคม 2559 11:46

encon fund

มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ครั้งที่ 2/2548 (ครั้งที่ 41)
วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2548 เวลา 09.30 น.
ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล


1. รายงานงบการเงินประจำปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2547 และรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547-วันที่ 30 มิถุนายน 2548

2. คำสั่งแต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

3. ผลการประชุมคณะอนุกรรมการประเมินผลแผนอนุรักษ์พลังงาน

4. ขอความเห็นชอบในการจัดสรรเงินกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 ปีงบประมาณ 2549

5. การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนของกรมบัญชีกลาง

6. โครงการทุนหมุนเวียนสำหรับยานยนต์ NGV

7. การยื่นแบบและรับชำระภาษีผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายเมตตา บันเทิงสุข) กรรมการและเลขานุการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวิเศษ จูภิบาล) ผู้เข้าร่วมประชุม


เรื่องที่ 1 รายงานงบการเงินประจำปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2547 และรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547-วันที่ 30 มิถุนายน 2548

ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานงบการเงินที่กรมบัญชีกลางได้ส่งให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ ประจำปีสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2547 ซึ่งมีหนี้สินและส่วนของทุน รวมทั้งสิ้น 10,599 ล้านบาท และรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 - 30 มิถุนายน 2548 โดยมีเงินคงเหลือ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 รวมทั้งสิ้น 7,827 ล้านบาท

มติที่ประชุม

     ที่ประชุมรับทราบ


เรื่องที่ 2 คำสั่งแต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน"

ฝ่ายเลขานุการฯ แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2548 (ครั้งที่ 40) เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2548 ได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกคำสั่งคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่ 1/2547 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2547 และเห็นชอบให้แต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" ขึ้นแทน เพื่อทำหน้าที่ ในการพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ มอบหมาย โดยประธานคณะกรรมการกองทุนฯ (นายวิษณุ เครืองาม) ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุนฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2548 โดยองค์ประกอบ "คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" มีดังนี้

1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานอนุกรรมการ
2. ปลัดกระทรวงพลังงาน อนุกรรมการ
3. อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน อนุกรรมการ
4. ผู้แทนกรมบัญชีกลาง อนุกรรมการ
5. ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อนุกรรมการ
6. นายปิยะวัติ บุญ-หลง อนุกรรมการ
7. นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อนุกรรมการ
8. ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน อนุกรรมการและเลขานุการ

มติที่ประชุม

     ที่ประชุมรับทราบ


เรื่องที่ 3 ผลการประชุมคณะอนุกรรมการประเมินผลแผนอนุรักษ์พลังงาน

ฝ่ายเลขานุการฯ คณะอนุกรรมการประเมินผลฯ ได้ประเมินผลแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2 ช่วงปี 2543 - 2547 และได้นำผลการประเมิน ไปจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว และเห็นควรเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อทราบความเห็นและข้อเสนอของคณะอนุกรรมการประเมินผลฯ ดังต่อไปนี้

1. การพัฒนาพลังงานทดแทน

การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้า ไม่คุ้มค่าเชิงพาณิชย์ จึงควรสนับสนุน เป็นทางเลือกสุดท้าย ยกเว้นโครงการเพื่อการศึกษาวิจัยที่มีจุดประสงค์ชัดเจนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทน

ควรมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ให้เกิดเอกภาพในการดำเนินการพัฒนาพลังงานทดแทน

การพัฒนาพลังงานทดแทนที่สำคัญและเร่งด่วน ควรเน้น 4 เรื่อง ได้แก่ Gasohol NGV Biodiesel และกังหันลมขนาดใหญ่

2. การประหยัดพลังงาน

ควรดำเนินการให้มีการกำหนดค่ามาตรฐานการประหยัดพลังงานในอาคารมีผลในทางปฏิบัติ

การเก็บภาษีรถยนต์ ควรพิจารณาจากเกณฑ์การประหยัดพลังงาน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์พลังงาน

3. การวิจัยและพัฒนา

ควรส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในโครงการที่มีความเสี่ยงน้อย มีศักยภาพ และมีผลกระทบสูง

งานศึกษาวิจัยและพัฒนา ต้องมีการศึกษาวิจัยเชิงนโยบายก่อน เพื่อให้สามารถจัดสรรงบประมาณได้อย่างสอดคล้องชัดเจน

4. การพัฒนาบุคลากร

งบประมาณในการพัฒนาบุคลากรมีวงเงินสูง จึงควรกำหนดคุณสมบัติของผู้รับเงินสนับสนุนให้เป็นไปอย่างเหมาะสม

5. การบริหารงานกองทุนฯ

การกำหนดเป้าหมายของแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 ควรให้มีการปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์

เป้าหมายของโครงการที่ขอรับการสนับสนุน ควรระบุได้ชัดเจนว่าสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายของแผนอนุรักษ์ฯ ได้อย่างไร

ควรกำหนดเกณฑ์ความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ของโครงการให้ชัดเจนเหมาะสม เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกโครงการ

มติที่ประชุม

     ที่ประชุมรับทราบผลการประเมินฯ โดยที่ประชุมได้มีข้อสังเกต ดังนี้

1. การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้ายังคงเป็นทางเลือกในการใช้พลังงาน เพราะยังมีความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความความมั่นคง ซึ่งควรแยกให้ละเอียดว่า เหมาะสมกับระดับไหน และไม่เหมาะสมระดับไหน นอกจากนี้ การสรุปผลควรคำนึงถึงการให้กำลังใจกับภาคเอกชนที่เข้ามาลงทุนสร้างโรงงานในประเทศไทย เพื่อจะได้มีความต่อเนื่องในระยะยาวด้วย

2. การส่งเสริมบุคลากร โดยการให้ทุนเรียนทั้งในและต่างประเทศ ควรมีการกำหนดคุณสมบัติ ให้เหมาะสมและรัดกุม ไม่ควรให้ความสำคัญอันดับแรกกับหน่วยงาน ซึ่งอาจจะได้บุคคลที่ไม่เหมาะสม


เรื่องที่ 4 ขอความเห็นชอบในการจัดสรรเงินกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 ปีงบประมาณ 2549

ฝ่ายเลขานุการฯ ได้เสนอที่ประชุมพิจารณางบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2549 ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตามลำดับดังนี้

1. สถานภาพของกองทุนฯ ประมาณการ ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 สรุปได้ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

ยอดเงินคงเหลือยกมา ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2547 9,856.20
บวก ประมาณการรายรับ ถึงเดือน 30 กันยายน 2548
บวก ประมาณการรายรับ จากเงินทุนหมุนเวียน
2,103.66
240.00
       รวมเป็นเงิน (ก่อนหักรายจ่าย) 12,199.71
หัก รายจ่าย ณ เดือน 30 กันยายน 2548 4,749.57
  • รายจ่าย ตามแผนปี 38-47 3,958.57
  • รายจ่าย ตามแผนปี 48 791.00
      รวมเงินคงเหลือในบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 7,350.18
บวก เงินสดในมือ (สนพ. 583 +พพ. 610) 1,193.00
รวมเงินคงเหลือทั้งสิ้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 8,543.18
รายได้ รอรับคืน (เงินหมุนเวียน 2 ระยะ และ NGV ราชการ) 3,820.00
รายจ่าย ค้างจ่าย (ผูกพันตามแผนงานฯ ปี 2538-2539) 8,860.00

2. รายจ่ายผูกพันตามแผนฯ ปี 2538-2548 จำแนกตามแผนงาน ได้ดังนี้

หน่วย: ล้านบาท

ปีงบประมาณ 2549 2550 2551 2552 2553 2554 รวม
แผนงานภาคบังคับ 980 980 980 - - - 2,940
แผนงานสนับสนุน 272 137 137 - - - 546
แผนงานภาคความร่วมมือ 1,383 403 496 194 56 5 2,537
รวมผูกพันจากปี 38-47 2,635 1,520 1,613 194 56 5 6,023
แผนพลังงานทดแทน 285 - - - - - 285
แผนเพิ่มประสิทธิภาพ 435 - - - - - 435
แผนบริหารทางกลยุทธ์ 218 - - - - - 218
เงินทุนหมุนเวียนระยะที่ 2 800 600 600 - - - 2,000
รวมผูกพันปี 48 937 - - - - - 937
รวมผูกพันทั้งสิ้น 4,272 2,120 2,213 194 56 5 8,860

3. นโยบายการจัดสรรเงินกองทุนฯ ตามที่ คณะกรรมการกองทุนฯ (กทอ.) เห็นชอบเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2547 และ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2547 โดยให้ กทอ. สามารถพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนฯ ส่วนที่เกินจากประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า (ในวงเงิน 1,300 ล้านบาท) ได้ในวงเงิน 700 ล้านบาท (ตามระดับรายรับต่อปีของกองทุนฯ) หรือมากกว่านั้น สามารถสรุปได้ดังนี้

ka9

วัตถุประสงค์ของการจัดทำนโยบายการจัดสรรเงินกองทุนฯ

เพื่อควบคุมการใช้จ่ายเงินไม่สูงกว่ารายรับที่มีอยู่ โดยรายได้เฉลี่ยกองทุนฯ ประมาณ 2,000 ล้านบาท/ปี และเดิมกองทุนฯ มีรายจ่ายเฉลี่ย 1,847 ล้านบาท/ปี จึงมีการกำหนดขอบเขตการใช้จ่ายประมาณ 70% ของรายจ่ายเฉลี่ยเดิม หรือ 1,300 ล้านบาท เพื่อให้มีจำนวนเงินคงเหลือไว้ดำเนินการหากรัฐบาลมีนโยบายเพิ่มเติมในปีนั้นๆ ให้สามารถเพิ่มเติมรายจ่ายรายปีเกิน 1,300 ล้านบาท ได้ในวงเงิน 700 ล้านบาท หรือมากกว่านั้น ตามความจำเป็นและความเหมาะสม

เพื่อกำหนดทิศทางการใช้จ่ายให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และเป้าหมายของรัฐบาล โดยกำหนดสัดส่วนวงเงินใช้จ่ายในแต่ละแผนงานเป็นการจัดสรร ซึ่ง ณ ปี 2548 เน้นที่การพัฒนาพลังงานทดแทน 50% เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 35% และงานบริหารทางกลยุทธ์ 15%

โดย กพช. กำหนดให้ กทอ. มีอำนาจปรับปรุงแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข ลำดับความสำคัญ และการจัดสรรเงินตามแผนงานต่างๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

4. การจัดสรรเงินกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2548 ได้มีการจัดสรรทั้งสิ้น 4 ครั้ง รวมเป็นวงเงิน 1,901.49 ล้านบาท ตามรายละเอียดดังนี้

แผนงาน กรอบเงิน ร้อยละ อนุมัติ ร้อยละ
1. แผนพลังงานทดแทน 650.00 50.00 586.50 30.80
1.1 งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค 422.00 65.00 230.00 39.20
1.2 งานส่งเสริมและสาธิต 130.00 20.00 239.00 40.80
1.3 งานพัฒนาบุคลกรและประชาสัมพันธ์ 65.00 10.00 85.00 14.50
1.4 งานบริหารแผนงาน (พพ.) 33.00 5.00 32.5 5.50
2. แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 455.00 35.00 869.92 45.70
2.1 งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค 137.00 30.00 28.00 3.20
2.2 งานส่งเสริมและสาธิต 205.00 45.00 547.20 62.90
2.3 งานพัฒนาบุคลกรและประชาสัมพันธ์ 91.00 20.00 147.22 16.90
      PR เพิ่มเติม (Kick-off, ลดผลกระทบราคาน้ำมัน) - 125.00 14.40
2.4 งานบริหารแผนงาน (พพ.) 22.00 5.00 22.50 2.60
3. แผนงานบริหารทางกลยุทธ์ 195.00 15.00 445.07 23.40
3.1 งานศึกษาเชิงนโยบายและวิชาการ 65.00 33.00 250.50 56.30
3.2 งานบริหารจัดการ (สนพ.+บก.) 65.00 33.00 62.57 14.10
3.3 งานอื่นๆ (บรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมัน) 65.00 34.00 132.00 29.70
รวมงบประมาณปี 2548 1,300 100 1,901.49 100

* * โดยให้สามารถถัวจ่ายและเปลี่ยนแปลงรายการในแผนงานเดียวกันได้

การจัดสรรเงินกองทุนฯ ในปีงบประมาณ 2548 ไม่เป็นไปตามกรอบจัดสรรนั้น เนื่องมาจากกรอบนโยบายเดิมมุ่งเน้นสร้างงานวิจัยด้านพลังงานเพื่อเป็นองค์ความรู้ เมื่อนำกรอบมาปฏิบัติในปีงบประมาณ 2548 พบว่า สัดส่วนการจัดสรรเงินกองทุนฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมดังตารางข้างต้น เนื่องจาก ปี 2548 ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตด้านราคาน้ำมัน จึงต้องเน้นการแก้ปัญหาระยะสั้น ทำให้งานด้านการลดใช้พลังงานของประเทศ เป็นงานสำคัญเร่งด่วน โดยคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548 ได้เห็นชอบยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศและได้กำหนดให้การประหยัดการใช้พลังงานและการใช้ไฟฟ้า เป็นวาระแห่งชาติ

5. แผนอนุรักษ์พลังงานปี 2549

ในปี 2549 ประเทศยังประสบปัญหาวิกฤตด้านราคาน้ำมันอยู่ ทำให้การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2549 ยังเน้นที่การแก้ไขปัญหาระยะสั้น คือ การเน้นงานเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ดังนั้นกรอบแผนงาน/โครงการ ในปี 2549 สรุปได้ดังนี้

     5.1 เพิ่มประสิทธิภาพ ภาคขนส่ง (สนพ.) 40 ล้านบาท

ลดปัญหาจราจร และ Taxi วิ่งเที่ยวเปล่า (10 ล้านบาท)

ร่วมมือกับ กทม. จัดจุดจอด Taxi และระบบรับส่ง ผู้โดยสารในศูนย์การค้า โรงพยาบาล หน่วยราชการ

Park & ride (30 ล้านบาท)

ลดปริมาณรถเข้าเมือง โดยสร้าง Park & ride ชานเมือง (รถบุคคล / car pool รถโรงเรียน/รถหมู่บ้าน) นำร่อง 1 แห่ง พร้อมจัดระบบ Feeder

ปรับปรุง Park & ride ที่บางซื่อ เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อ รถขนส่งสาธารณะต่างจังหวัด และรถขนส่งพนักงานองค์กรขนาดใหญ่ กับระบบขนส่งสายหลัก

     5.2 เพิ่มประสิทธิภาพ อุตสาหกรรม/อาคาร/บ้านอยู่อาศัย (พพ.) 653 ล้านบาท

การอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม (313 ล้านบาท)

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

Tax Incentive (100 ล้านบาท)

สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร (100 ล้านบาท)

สนับสนุนการดำเนินงานตาม พรบ. (50 ล้านบาท)

การบริหารงานโครงการเงินทุนหมุนเวียน (10 ล้านบาท)

ศึกษาเกณฑ์การใช้พลังงานในอุตสาหกรรมและอาคารต่างๆ (SEC) (40 ล้านบาท)

การศึกษาจัดทำแผนการส่งเสริมเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (3.5 ล้านบาท)

การจัดตั้งเครือข่ายศูนย์ทดสอบวัสดุอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (6.5 ล้านบาท)

ศึกษาจัดทำเกณฑ์การสนับสนุนและดำเนินการส่งเสริมการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น Premium เบอร์ 5 (10 ล้านบาท)

นำร่องปรับปรุงบ้านพักอาศัยเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (20 ล้านบาท)

     5.3 ใช้พลังงานทดแทน 497.14 ล้านบาท

          5.3.1 ส่วนของ พพ. 492.1 ล้านบาท

ส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวมวล/ชีวภาพ 60.5 ล้านบาท

ส่งเสริมก๊าซชีวภาพในโรงงานอุตสาหกรรม (15 ล้านบาท)

ส่งเสริมก๊าซชีวภาพจากขยะระดับชุมชน (30 ล้านบาท)

พัฒนา/สาธิตระบบผลิตพลังงานจากชีวมวลชุมชน (7 ล้านบาท)

พัฒนาเตาเผาก๊าซชีวมวลในอุตสาหกรรมเซรามิค (1.5 ล้านบาท)

ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงถ่านหิน (7 ล้านบาท)

ส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ / ลม 60 ล้านบาท

พัฒนาเซลแสงแดดสู่ความเป็นเลิศ (30 ล้านบาท)

พัฒนามาตรฐานและทดสอบระบบเซลแสงอาทิตย์ (30 ล้านบาท)

ส่งเสริมเชื้อเพลิง ไบโอดีเซล/เอทานอล 95.64 ล้านบาท

ส่งเสริมไบโอดีเซลชุมชน (51 ล้านบาท)

ส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลใน กทม. และ เชียงใหม่ (30 ล้านบาท)

กำหนดคุณสมบัติแก๊สโซฮอล์ที่เหมาะสมหลังปี 2550 (6.4 ล้านบาท)

วงจรชีวิตการผลิตและใช้เอทานอลจากมันสำปะหลังและอ้อย (8.24 ล้านบาท)

ส่งเสริมพลังงานทดแทนอื่นๆ 276 ล้านบาท

ฐานข้อมูลการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนใน SME (5 ล้านบาท)

สาธิตเซลเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า SOFC (25 ล้านบาท)

สาธิตผลิตไฮโดรเจนจากขบวนการความร้อนทางเคมี (6 ล้านบาท)

พัฒนาระบบติดตาม / สำรวจการใช้พลังงานทดแทน (15 ล้านบาท)

พัฒนาศูนย์รวมองค์ความรู้พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (19 ล้านบาท)

ปรับปรุงระเบียบเพื่อการพัฒนาการผลิตการใช้พลังงาน (2 ล้านบาท)

ประเมินศักยภาพแหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทย (4 ล้านบาท)

วิจัยพัฒนาการใช้ Vanadium แบตเตอรี่ -พพ. (200 ล้านบาท)

          5.3.2 ส่วนของ สนพ. 5 ล้านบาท

ส่งเสริมพลังงานทดแทนอื่นๆ 5 ล้านบาท

ติดตามประเมินผล วิจัยพัฒนาการใช้ Vanadium -สนพ. (5 ล้านบาท)

     5.4 ใช้เชื้อเพลิงทางเลือก (สนพ.) 40.5 ล้านบาท

ส่งเสริมการใช้ NGV ด้วยระบบสินเชื่อ (22 ล้านบาท)

เรือประมงเล็ก 100 ลำ และรถส่วนบุคคล 10,000 คัน

สร้างความเชื่อมั่น NGV กับเครื่องยนต์ดีเซลโดยทดสอบชุด Kit แต่ละเทคโนโลยีกับเครื่องยนต์แต่ละประเภทของรถปิคอัพและรถตู้ (10 ล้านบาท)

พัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในภาคเหนือ (โครงการต่อเนื่องปี 2) (8.5 ล้านบาท)

     5.5 การดำเนินการเชิงนโยบาย (สนพ.) 34 ล้านบาท

ศึกษา/จัดทำ/ปรับปรุงนโยบายให้สอดคล้องสถานการณ์พลังงานโลก (20 ล้านบาท)

ศึกษานโยบาย เทคโนโลยีด้านพลังงานและด้านทางการจัดการปัญหาราคาน้ำมันของประเทศที่ประสบความสำเร็จ เพื่อนำมาปรับใช้กับประเทศไทย

บูรณาการแผนพลังงานกับแผนยุทธศาสตร์จังหวัด (24 ล้านบาท)

     5.6 รณรงค์การเปลี่ยนพฤติกรรมให้ประหยัดพลังงาน(สนพ.) 127 ล้านบาท

กระทรวงพลังงานจับมือพันธมิตร (50 ล้านบาท)

อสมท. กระทรวงวัฒนธรรม อาชีวศึกษา (Fix it Center) กระทรวงศึกษาธิการ (ต่อยอด MOU) กระทรวงคมนาคม บริษัทไปรษณีย์ไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Energy Fantasia ระยะที่ 2 (30 ล้านบาท)

บ้านประหยัดพลังงานร่วมกับธุรกิจบ้านจัดสรร (25 ล้านบาท)

PR ตามสถานการณ์ + ผลิตสื่อสนับสนุนอื่นๆ + ประเมินผล (22 ล้านบาท)

     5.7 รณรงค์การใช้พลังงานทดแทนน้ำมัน (สนพ.) 45 ล้านบาท

สร้างความรู้ความเข้าใจการใช้ NGV (15 ล้านบาท)

เผยแพร่ความสำเร็จของการใช้พลังงานทดแทน (30 ล้านบาท)

     5.8 การสร้างทรัพยากรบุคลากรด้านพลังงาน (สนพ.) 104 ล้านบาท

ให้ทุนการศึกษาใน+ต่างประเทศ (ข้าราชการ) ระดับ ตรี-โท-เอก

ให้ทุนวิจัย ทุนดูงาน/ฝึกอบรม (หน่วยงานต่างๆ)

อบรมข้าราชการไทย ลดใช้พลังงาน

อบรมอาชีวศึกษา Fix it center

อบรมบุคลากรเรื่องบูรณาการการเรียนการสอนด้านพลังงานระดับประถมและมัธยมศึกษา

     5.9 พัฒนาบุคลากรด้านพลังงาน (พพ.) 54.55 ล้านบาท

พัฒนาหลักสูตรอนุรักษ์พลังงาน/พลังงานทดแทน (10 ล้านบาท)

เอกสารเผยแพร่การอนุรักษ์พลังงาน (0.8 ล้าน)

อบรมและพัฒนาคุณภาพผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน (23.25 ล้านบาท)

อบรมเทคนิคพลังงานสำหรับราชการ (3 ล้านบาท)

จัดทำโปรแกรมจำลอง Mini Plant (3.5 ล้านบาท)

เผยแพร่เทคโนโลยีของอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ (3 ล้านบาท)

อบรม/ดูงาน/ประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ (7 ล้านบาท)

อบรมสร้างจิตสำนึก การใช้พลังงานอาคารราชการ (4 ล้านบาท)

     5.10 ประชาสัมพันธ์ (พพ.) 103.8 ล้านบาท

Feedback Report สำหรับโรงงาน/อาคารควบคุม (5 ล้านบาท)

รายงานสถานภาพการใช้พลังงานและผลการดำเนินงาน ของ พพ. (3.5 ล้านบาท)

ประกวดโรงงาน/อาคาร/บุคลากรด้านพลังงาน (9 ล้านบาท)

จัดกิจกรรมอนุรักษ์พลังงาน (9.5 ล้านบาท)

ประชาสัมพันธ์อนุรักษ์พลังงาน (10 ล้านบาท)

ศูนย์ปรึกษาการประหยัดพลังงาน (8 ล้านบาท)

พัฒนาหน่วยลูกค้าสัมพันธ์ (15 ล้านบาท)

ประชาสัมพันธ์พลังงานทดแทน (25 ล้านบาท)

เผยแพร่การอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน (10 ล้านบาท)

ค่าสมาชิกเว็บไซต์ (0.3 ล้านบาท)

จัดทำแผนและบริหารงานวิชาการด้านเพิ่มประสิทธิภาพและพลังงานทดแทน (8.5 ล้านบาท)

     5.11 งานบริหารจัดการ/บริหารแผนงาน 126.63 ล้านบาท

พพ. (55 ล้านบาท)

สนพ. (68.5 ล้านบาท)

บก. (3.13 ล้านบาท)

6. ผลประโยชน์ที่จะได้รับถึงปี 2549

เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (ขนส่ง อุตสาหกรรม บ้าน) 2,975 ktoe คิดเป็นมูลค่าประมาณ 47,600 ล้านบาท

ใช้พลังงานหมุนเวียน (เอทานอล ชีวมวล ฯลฯ) 1,402 ktoe ใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น 2,258 ktoe ทดแทนการนำเข้าพลังงาน 58,560 ล้านบาท

7. สรุปงบประมาณการรายจ่ายตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ประจำปี 2549

หน่วย : ล้านบาท

แผนงาน สนพ. พพ. บก. รวม* ร้อยละ
1. แผนพลังงานทดแทน 100.00 579.44 0.00 679.44 36.80
1.1 งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค 5.00 260.00 0.00 265.00 39.00
1.2 งานส่งเสริมและสาธิต 0.00 232.14 0.00 232.14 34.17
1.3 งานพัฒนาบุคลากร 50.00 11.00 0.00 61.00 8.98
และประชาสัมพันธ์ 45.00 43.80 0.00 88.80 13.07
1.4 งานบริหารจัดการ (พพ.) ** 0.00 32.50 0.00 32.50 4.78
2. แผนเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน 191.00 779.05 0.00 970.05 52.55
2.1 งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค 0.00 60.00 0.00 60.00 6.19
2.2 งานส่งเสริมและสาธิต 0.00 593.00 0.00 593.00 61.13
2.3 งานพัฒนาบุคลากร 54.00 43.55 0.00 97.55 10.06
และประชาสัมพันธ์ 137.00 60.00 0.00 197.00 20.30
2.4 งานบริหารจัดการ (พพ.) 0.00 22.50 0.00 22.50 2.32
3. แผนงานบริหารทางกลยุทธ์ 193.50 0.00 3.13 196.63 10.65
3.1 งานศึกษาเชิงนโยบายและวิชาการ 125.00 0.00 0.00 125.00 63.57
3.2 งานบริหารจัดการ (สนพ.+บก.) ** 68.50 0.00 3.13 71.63 36.43
3.3 งานอื่นๆ 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
รวมงบประมาณปี 2549 484.50 1,358.49 3.13 1,846.12 100.00

หมายเหตุ :
* โดยให้สามารถถัวจ่ายและเปลี่ยนแปลงรายการในแผน/งานเดียวกัน ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
** ให้มีผลบังคับใช้และสามารถเบิกจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548

ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ ในการประชุมพิจารณากลั่นกรองแผนงานปี 2549 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2548 ในโครงการ Vanadium Battery วงเงินงบประมาณ 205 ล้านบาทนั้น บัดนี้ พพ. ยังไม่สามารถลงนามในข้อผูกพันกับ สวทช. ได้ทันในปีงบประมาณ 2548 ซึ่งปัญหาเกิดจากขั้นตอน การเจรจาตกลงเรื่องสิทธิประโยชน์ ดังนั้น ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอขอคณะกรรมการกองทุนฯ อนุมัติใช้เงินปีงบประมาณ 2549 แทน โดยมีเงื่อนไขคือ หาก พพ.ไม่สามารถตกลงและลงนามในสัญญากับ สวทช.ได้ทันภายในเดือนธันวาคม 2548 ก็เห็นควรยกเลิกการสนับสนุนโครงการนี้ ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบในเงื่อนไขที่นำเสนอ

มติที่ประชุม

1. อนุมัติเงินกองทุนฯ ให้ สนพ. ในวงเงินรวม 479,500,000 บาท (สี่ร้อยเจ็ดสิบเก้าล้านห้าแสนบาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2549 ในส่วนที่ สนพ. รับผิดชอบ โดยแยกรายจ่ายตามแผน/งาน ได้ดังนี้

1. แผนพลังงานทดแทน
1.1 งานพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์ 95,000,000 บาท
2. แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
2.1 งานพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์ 191,000,000 บาท
3. แผนงานบริหารทางกลยุทธ์
3.1 งานศึกษาเชิงนโยบายและวิชาการ 125,000,000 บาท
3.2 งานบริหารจัดการ 68,500,000 บาท
รวมทั้งสิ้น 479,500,000 บาท

* โดยให้สามารถถัวจ่ายและเปลี่ยนแปลงรายการในแผนงาน/งานเดียวกัน ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

ทั้งนี้ สำหรับรายจ่ายงานบริหารจัดการ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548 โดยให้ สนพ. สามารถถัวจ่ายและเปลี่ยนแปลงรายการในหมวดต่างๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

2. อนุมัติเงินกองทุนฯ ให้ พพ. ในวงเงินรวม 1,158,490,000 บาท (หนึ่งพันหนึ่งร้อยห้าสิบแปดล้านสี่แสนเก้าหมื่นบาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2549 ในส่วนที่ พพ. รับผิดชอบ โดยแยกรายจ่ายตามแผน/งาน ได้ดังนี้

งาน แผนพลังงานทดแทน แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค 60,000,000 บาท 60,000,000 บาท
งานส่งเสริมและสาธิต 232,140,000 บาท 593,000,000 บาท
งานพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์ 54,800,000 บาท 103,550,000 บาท
งานบริหารแผนงาน 32,500,000 บาท 22,500,000 บาท
รวมทั้งสิ้น 379,440,000 บาท 779,050,000 บาท

* โดยให้สามารถถัวจ่ายและเปลี่ยนแปลงรายการในแผนงาน/งานเดียวกัน ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

ทั้งนี้ สำหรับรายจ่ายงานบริหารแผนงานพลังงานทดแทน และงานบริหารแผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548 โดย พพ. สามารถถัวจ่ายและเปลี่ยนแปลงรายการในหมวดต่างๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

3. อนุมัติเงินกองทุนฯ แผนงานบริหารทางกลยุทธ์ งานบริหารจัดการ ให้กรมบัญชีกลาง ในวงเงินรวม 3,130,000 บาท (สามล้านหนึ่งแสนสามหมื่นบาทถ้วน) ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2548 โดยกรมบัญชีกลางสามารถถัวจ่ายและเปลี่ยนแปลงรายการในหมวดต่างๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

4. อนุมัติเงินกองทุนฯ แผนพลังงานทดแทน งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค ปีงบประมาณ 2549 ให้ พพ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน "โครงการต้นแบบการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี Vanadium Redox Flow สำหรับการลดภาระกำลังไฟฟ้าสูงสุด การผลิตไฟฟ้าผสมผสานขนาดเล็ก รถประจำทางไฟฟ้า และเซลล์เชื้อเพลิงคาร์โบไฮเดรท" ในวงเงินรวม 200 ล้านบาท (สองร้อยล้านบาทถ้วน) ทั้งนี้ หากไม่สามารถดำเนินการได้ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2548 ก็ให้ยกเลิกการสนับสนุนโครงการนี้

5. อนุมัติเงินกองทุนฯ แผนพลังงานทดแทน งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค ปีงบประมาณ 2549 ให้ สนพ. ในวงเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน "โครงการติดตามประเมินผล โครงการต้นแบบการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี Vanadium Redox Flow สำหรับการลดภาระกำลังไฟฟ้าสูงสุด การผลิตไฟฟ้าผสมผสานขนาดเล็ก รถประจำทางไฟฟ้า และเซลล์เชื้อเพลิงคาร์โบไฮเดรท" ทั้งนี้ หาก พพ. ไม่สามารถดำเนินโครงการฯ ได้ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2548 ก็ให้ยกเลิกรายจ่ายโครงการนี้


เรื่องที่ 5 การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนของกรมบัญชีกลาง

1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า กระทรวงการคลังจะมีคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนเข้ามาประเมินผลกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยเริ่มตั้งแต่ ปีบัญชี 2549 เป็นต้นไป โดยเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2548 กรมบัญชีกลาง และ สนพ. ได้ประชุมหารือกรอบแนวทาง วิธีการ และขั้นตอนในการจัดทำร่างบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ซึ่งมีหลายหน่วยงานที่มี ส่วนเกี่ยวข้องในการใช้จ่ายเงินจากกองทุนฯ แล้ว และเห็นควรจัดตั้ง "คณะทำงานเตรียมการเพื่อดำเนินการตามระบบประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน" และให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกองทุนฯ รายงานเรื่องดังกล่าว ให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบด้วย

2. เพื่อให้การจัดทำวิสัยทัศน์ ภารกิจหลัก และวัตถุประสงค์หลักของกองทุนฯ รวมทั้งการจัดทำเกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน ตัวชี้วัด และเป้าหมายในการดำเนินงานของกองทุนฯ ตอบสนองต่อการดำเนินงานของกองทุนฯ และเป็นไปตามข้อกำหนดในการจัดทำบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเห็นควรให้มีการแต่งตั้ง "คณะทำงานเตรียมการเพื่อดำเนินการตามระบบประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน" เพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว โดยมีปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานคณะทำงาน และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินกองทุนฯ เป็นคณะทำงาน และผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นคณะทำงานและเลขานุการ

มติที่ประชุม

1. เห็นชอบให้แต่งตั้ง "คณะทำงานเตรียมการเพื่อดำเนินการตามระบบประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน" ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ และให้แต่งตั้ง นายพรายพล คุ้มทรัพย์ และ นายอัศวิน คงสิริ เป็นคณะทำงานในชุดดังกล่าวด้วย

2. เมื่อคณะทำงานเตรียมการเพื่อดำเนินการตามระบบประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ดำเนินการยกร่างบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อทราบก่อนเสนอประธานกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว


เรื่องที่ 6 โครงการทุนหมุนเวียนสำหรับยานยนต์ NGV

1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) เพื่อเป็นทางออกให้กับประเทศในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชนที่มีภาระในการใช้น้ำมันในราคาสูงเนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่สามารถใช้ทดแทนน้ำมันได้ทั้งหมด ก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศสูง ในขณะที่เชื้อเพลิงชีวภาพเป็นการทดแทนเพียงบางส่วนเท่านั้น ประมาณ 10% อีกทั้งระยะเวลาในการจัดหา และเตรียมเชื้อเพลิงสั้นกว่า เนื่องจากไม่ต้องรอระยะเวลาในการปลูกพืช ดังนั้น มาตรการหลักที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาทั้งในภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการขนส่งทางบก ทางรถไฟ ทางน้ำ เป็นต้น ซึ่งจากนโยบายดังกล่าว รัฐจึงได้ขยายเป้าหมาย การส่งเสริม NGV มาเป็นลำดับดังนี้

เป้าหมาย มติ ครม.
6 ม.ค.48
มติ ครม.
17 พ.ค. 48
29 ก.ย. 48
(รอนำเสนอ ครม. )
สถานี NG (แห่ง) 180 240 740
รถยนต์ (คัน) 61,000 180,000 500,000

2. รัฐบาลมอบหมายให้ ปตท. เป็นหน่วยงานหลักในการทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการให้นโยบายที่กำหนดไว้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็วที่สุด ซึ่งทำให้ ปตท. มีภาระทางการเงินอย่างสูงในการลงทุน ทั้งด้านการสร้างสถานีบริการ การจัดซื้ออุปกรณ์ การสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาใช้ก๊าซธรรมชาติ เช่น รถ Taxi รถยนต์ส่วนบุคคล รถเมล์ รถบรรทุก รถขยะ เรือประมง รถไฟ ภาคอุตสาหกรรม District cooling CHP ในอุตสาหกรรม เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ ปตท. สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่ขยายตัวไปอย่างมาก ปตท. จึงขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯ ในรูปเงินยืมเพื่อนำไปใช้เป็นทุนหมุนเวียน สร้างแรงจูงใจ ให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาติดตั้งอุปกรณ์ โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้

วงเงินทุนหมุนเวียน 7,000 ล้านบาท โดยมีแหล่งเงินสนับสนุนจาก
- ปตท. 5,000 ล้านบาท
- กองทุนฯ 2,000 ล้านบาท
วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้เจ้าของยานยนต์ใช้ในการดัดแปลง และ/หรือติดตั้งชุด Kit NGV รวมถึงค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มในการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์
การเรียกเก็บคืน เพิ่มจากราคาจำหน่าย NGV 5 บาท/กก. โดยมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เทียบเท่าธนาคารอื่นๆ ที่ให้สินเชื่อ NGV
ระยะเวลาเก็บคืน เฉลี่ย 2-3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทรถ การดัดแปลง และระยะการใช้งาน

มติที่ประชุม

1. อนุมัติเงินกองทุนฯ แผนพลังงานทดแทน งานส่งเสริมและสาธิต ให้ ปตท. ในวงเงินไม่เกิน 2,000 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน สำหรับยานยนต์ NGV โดยมีเงื่อนไขให้ ปตท. จัดทำรายละเอียดของโครงการฯ เสนอคณะอนุกรรมการฯ พิจารณา เช่น การเบิกจ่ายเงินจากกองทุนฯ เท่าที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละช่วงเวลา ระยะเวลาการส่งเงินคืนกองทุนฯ และ อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

2. เมื่อ ปตท. ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขดังกล่าวและได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการฯ แล้ว ให้ฝ่ายเลขานุการฯ รายงานผลให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบ ต่อไป


เรื่องที่ 7 การยื่นแบบและรับชำระภาษีผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า กรมสรรพสามิตแจ้งว่าเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันในการชำระภาษีสรรพสามิต กรมจึงมีนโยบายที่จะเพิ่มวิธีการนำส่งเงินค่าภาษีและการนำเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยจะให้ผู้เสียภาษีสามารถชำระค่าภาษีผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสามารถโอนเงินเข้าบัญชีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานโดยโอนผ่านทางธนาคารพาณิชย์ของรัฐหรือธนาคารพาณิชย์อื่นด้วยระบบอัตโนมัติ (Automatic Sweep) จึงขอให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์อื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่เป็นของรัฐเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีการยื่นแบบและชำระภาษีสรรพสามิตประเภทสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของผู้มีหน้าที่ เสียภาษี ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะทำให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้รับเงินเข้ากองทุนเร็วขึ้น (ภายในวันเดียวกันกับวันที่ผู้ประกอบการชำระเงิน) จากเดิมที่กองทุนจะได้รับเงินที่นำเข้าบัญชีโดยกรมสรรพสามิต ในวันที่ 2 นับจากวันที่ผู้ประกอบการน้ำมันนำเงินมาชำระ

มติที่ประชุม

1. อนุมัติให้กรมบัญชีกลาง (กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน) เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์อื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่เป็นของรัฐที่ได้รับมอบหมายจากกรมสรรพสามิตให้เป็นผู้ดำเนินโครงการรับชำระภาษีน้ำมันผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

2. มอบอำนาจให้กรมบัญชีกลาง (กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน) เข้าไปดูยอดเงินฝากจากบัญชีเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานที่ฝากไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นผู้ดำเนินการโครงการรับชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้

3. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเรื่องการขอเปิดบัญชีกับธนาคารพาณิชย์อื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่เป็นของรัฐเสนอขอความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและทรัพย์สิน และการเบิกจ่ายเงินของกองทุน พ.ศ. 2537 ข้อ 6

Read 4099 times Last modified on วันอังคาร, 05 กรกฎาคม 2559 14:12
Tweet
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400  โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364 Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เว็บนี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดบน Internet Explorer 11 Chrome และ Firefox ทุกเวอร์ชั่น

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์