- คณะกรรมการ/อนุกรรมการ
- คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
- คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
- คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
- คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
- คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กทอ.)
- คณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม
- คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)
คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่
ของคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
องค์ประกอบ
1. ปลัดกระทรวงพลังงาน | ประธานกรรมการ |
2. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | กรรมการ |
3. อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | กรรมการ |
4. อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม | กรรมการ |
5. อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง | กรรมการ |
6. เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | กรรมการ |
7. อัยการสูงสุด | กรรมการ |
8. ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน | กรรมการ |
9. ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | กรรมการ |
10. ผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง | กรรมการ |
11. ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค | กรรมการ |
12. ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน | กรรมการและเลขานุการ |
13. ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน | กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
14. ผู้แทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
อำนาจหน้าที่
1. บริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตามกรอบแนวทางการส่งเสริมและการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทาง เพื่อให้การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นไปตามกรอบที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบ
2. พิจารณาการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ให้เป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบ และกำกับ ติดตาม เร่งรัดการดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์ประสานการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าของหลายหน่วยงานให้ได้ข้อยุติและมีความพร้อมก่อนเสนอให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานพิจารณาออกใบอนุญาตต่อไป
3. ประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและรายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม
4. มีอำนาจเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจง รวมทั้งให้ข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
5. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน เพื่อช่วยดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ในขอบเขตของอำนาจหน้าที่ตามความจำเป็น
6. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ประธานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมอบหมาย